วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2567

อาร์เจนตินาลงนามจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-16AM/BM มือสองเดนมาร์ก 24เครื่อง

Argentina signs for F-16 fighters







The backdrop to the signing ceremony in Denmark was an F-16BM aircraft in Argentine Air Force markings. (Danish MoD)



อาร์เจนตินาได้เสร็จสิ้นการบรรลุข้อตกลงที่จะจัดหาเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16AM/BM Fighting Falcon ส่วนเกิน(surplus)จากเดนมาร์ก โดยมีการลงนามสัญญาเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2024 ที่ผ่านมา 
กระทรวงกลาโหมเดนมาร์กประกาศเหตุการณ์สำคัญกล่าวว่า รัฐมนตรีกลาโหมเดนมาร์กและรัฐมนตรีกลาโหมอาร์เจนตินา Luis Petri เสร็จสิ้นการสรุปผลสัญญา

สำหรับการโอนย้ายเครื่องบินขับไล่ F-16AM/BM Mid-Life Upgrade(MLU) ของกองทัพอากาศเดนมาร์ก(RDAF: Royal Danish Air Force, Flyvevåbnet) เดิมจำนวน 24เครื่อง
แก่กองทัพอากาศอาร์เจนตินา(Argentine Air Force, FAA: Fuerza Aérea Argentina) ระหว่างพิธีการลงนาม ณ ฐานทัพอากาศ Skrydstrup ในเดนมาร์ก

"ผมยินดีเป็นอย่างยิ่งที่เครื่องบินขับไล่ F-16 ของเดนมาร์ก ซึ่งเป็นเวลาหลายปีที่ได้รับใช้พวกเราเป็นอย่างดีและได้ผ่านการได้รับการบำรุงรักษาและการปรับปรุงทางด้านวิทยาการมาแล้ว ขณะนี้จะเป็นสิทธิประโยชน์แก่กองทัพอากาศอาร์เจนตินา" 
รองนายกรัฐมนตรีเดนมาร์กและรัฐมนตรีกลาโหมเดนมาร์ก Troels Lund Poulsen กล่าว การส่งมอบเครื่องบินขับไล่ F-16AM/BM แก่อาร์เจนตินาเป็นที่คาดว่าจะดำเนินการขึ้นภายหลังในปี 2024

เช่นเดียวกับการบรรลุผลการจัดซื้อจัดจ้าง พิธีลงนามได้เห็นเครื่องบินขับไล่สองที่นั่ง F-16BM หนึ่งเครื่องถูกแสดงเป็นครั้งแรกในการทำลวดลายและเครื่องหมายกองทัพอากาศอาร์เจนตินาอย่างเต็มรูปแบบ
เครื่องบินขับไล่สองที่นั่ง F-16BM สำหรับกองทัพอากาศอาร์เจนตินาที่ถูกจัดแสดงในพิธียังได้แสดงการติดตั้งอุปกรณ์ภารกิจและอาวุธหลายแบบกับตัวเครื่อง

รวมถึงกระเปาะชี้เป้าหมาย AN/AAQ-28(V) Litening, อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลาง AIM-120C AMRAAM, คานอาวุธบูรณาการเครื่องจ่ายเป้าลวง Pylon Integrated Dispenser Station(PIDS) ของบริษัท Terma A/S เดนมาร์ก, 
ระเบิดนำวิถีดาวเทียม GBU-31 JDAM(Joint Direct Attack Munition) ขนาด 2,000lbs และระเบิดนำวิถีดาวเทียม GBU-39 SBD(Small Diameter Bomb) ขนาด 250lbs และถังเชื้อเพลิงสำรองภายนอกขนาด 370 gallons

กองทัพอากาศเดนมาร์กกำลังทดแทนฝูงเครื่องบินขับไล่ F-16AM/BM จำนวน 40เครื่องของตนด้วยเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35A Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) จำนวน 27เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2023/09/f-35a.html)
อาร์เจนตินามีความพยายามมานานที่จะจัดหาเครื่องบินรบใหม่ทดแทนเครื่องบินขับไล่ Dassault Mirage IIIEA และเครื่องบินขับไล่ Israeli Aerospace Industries(IAI) Dagger ที่ปลดประจำการไปแล้ว และเครื่องบินโจมตี Lockheed Martin A-4AR Fightinghawk ที่มีปัญหาความพร้อมครับ(https://aagth1.blogspot.com/2021/09/jf-17.html)

วันศุกร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2567

เครื่องบินลำเลียง KC-390 ฮังการีเครื่องแรกเดินทางจากบราซิลมาถึงประเทศตนแล้ว

First KC-390 airlifter arrives in Hungary ahead of official handover







The first KC-390 for Hungary arrived in the country on 12 April to allow national personnel to become acquainted with the aircraft before it is officially handed over later in 2024. (Embraer)



เครื่องบินลำเลียงและเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ Embraer KC-390 Millennium เครื่องแรกจาก 2เครื่องสำหรับฮังการีได้เดินทางมาถึงฮังการีแล้วเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2024 ที่ผ่านมา
เหตุการณ์สำคัญซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะมอบระยะเวลาสร้างความคุ้นเคยแก่กองทัพฮังการี(Hungarian Defence Force) กับเครื่องบินลำเลียงและเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ KC-390 มีขึ้นก่อนหน้าส่งมอบอย่างเป็นทางการภายหลังในปี 2024 นี้

เหตุการณ์สำคัญนี้ได้มีขึ้น ณ ฐานทัพอากาศ Kecskemét ที่ได้เชิญเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลฮังการีและนายทหารกองทัพร่วมงาน รวมถึงรัฐมนตรีด้านนโยบายกลาโหมฮังการี Zsolt Kutnyánszky
"ช่วงเวลาอันสั้นนี้เป็นโอกาสที่ยอดเยี่ยมสำหรับมืออาชีพฮังการีที่จะทำความคุ้นเคยกับวิทยาการเป็นเวลานานก่อนเครื่องบินมาถึง(อย่างเป็นทางการ)" คำกล่าวของ Kutnyánszky ถูกอ้างถึงโดยกระทรวงกลาโหมฮังการี

ตามการเน้นในความเห็นของ Kutnyánszky เครื่องบินลำเลียงและเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ KC-390 เครื่องแรกนี้จะยังคงอยู่ในฮังการีเป็นระยะเวลาที่ไม่เปิดเผย
ก่อนจะเดินทางกลับไปยังโรงงานการผลิตอากาศยาน Gavião Peixoto ของบริษัท Embraer บราซิล ที่ซึ่งเครื่องถูกสร้างสำหรับงานขั้นสุดท้ายและการตรวจสอบ

หลังจากนั้นเครื่องบินลำเลียงและเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ KC-390 จะถูกส่งมอบอย่างเป็นทางการให้แก่กระทรวงกลาโหมฮังการีภายหลังในปี 2024 โดย KC-390 เครื่องที่สองจะส่งมอบตามมาในปี 2025
ฮังการีได้ลงนามสัญญาสำหรับเครื่องบินลำเลียงและเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ KC-390 จำนวน 2เครื่อง(กำหนดแบบเป็นเครื่องบินลำเลียง C-390 ในรูปแบบลำเลียงพื้นฐาน)ในเดือนพฤศจิกายน 2020(https://aagth1.blogspot.com/2020/11/embraer-kc-390.html)

C-390 สำหรับฮังการีจะถูกจัดรูปแบบโดยเฉพาะสำหรับปฏิบัติการลำเลียงทางยุทธวิธี, การเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศของเครื่องบินขับไล่ Saab Gripen C/D ของกองทัพอากาศฮังการี(HuAF: Hungarian Air Force)(https://aagth1.blogspot.com/2024/02/gripen-c-4.html)
และสำหรับภารกิจการส่งกลับทางสายแพทย์(เครื่องบินลำเลียง C-390 ของกองทัพอากาศฮังการีจะเป็นเครื่องบิบแบบแรกของรุ่นที่รวมการจัดเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับพื้นที่ห้องผู้ป่วยหนัก(ICU: Intensive Care Unit))

เครื่องบินลำเลียงและเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ KC-390 เครื่องแรกของฮังการีได้ทำการบินครั้งแรกของตนเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2024(https://aagth1.blogspot.com/2024/02/kc-390.html) ปัจจุบันนอกจากบราซิลผู้ผลิตที่สั่งจัดหาแล้ว 19เครื่อง 
ฮังการีเป็นลูกค้าส่งออกรายที่สองต่อจากโปรตุเกส 5เครื่อง และยังได้รับการจัดหาจากเนเธอร์แลนด์ 5เครื่อง, ออสเตรีย 4เครื่อง, สาธารณรัฐเช็ก 2เครื่อง และสาธารณรัฐเกาหลีที่ไม่เปิดเผยจำนวน รวมมีลูกค้าล่าสุดถึง 7ประเทศ สายการผลิตรวมแล้วถึง 40เครื่องครับ

วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2567

KAI เกาหลีใต้เสนอเครื่องบินขับไล่และฝึก บ.ขฝ.๒ T-50TH แก่กองทัพอากาศไทยสำหรับโครงการเครื่องบินขับไล่ใหม่

Update: KAI proposes T-50 for RTAF fighter requirement







The RTAF T-50TH during ATOC 2024 at Chandy Range, Lopburi, Thailand. (Royal Thai Air Force, Airlinesweek, ASTH)
The KAI T-50 is a tandem-seat multirole trainer aircraft that is in service with Indonesia, South Korea, and Thailand. (KAI)

บริษัท Korea Aerospace Industries(KAI) สาธารณรัฐเกาหลีได้เสนอการขายเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๒ บ.ขฝ.๒ T-50TH Golden Eagle แก่กองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force)
ซึ่งมองที่จะจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีใหม่ในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๘(2025)(https://aagth1.blogspot.com/2024/04/kai-fa-50.html)

โฆษกบริษัท KAI กล่าวกับ Janes เมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๗(2024) ว่า ข้อเสนอสำหรับรุ่นเครื่องบินขับไล่และฝึก บ.ขฝ.๒ T-50TH ได้ถูกยื่นในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๖(2023)
บ.ขฝ.๒ T-50TH กำลังเข้าแข่งขันสำหรับโครงการการจัดหาที่เป็นไปได้ ตามที่กองทัพอากาศไทย "ได้จัดซื้อและใช้งาน(เครื่องบิน)ในรุ่นเดียวกันแล้ว" โฆษกบริษัท KAI สาธารณรัฐเกาหลีกล่าว

โฆษก KAI เสริมว่าเครื่องบินขับไล่และฝึก บ.ขฝ.๒ T-50TH กำลังได้รับการเสนอในฐานะที่มันเป็นเครื่องบินรบพหุภารกิจที่ "ไม่เพียงแต่เหมาะสมสำหรับการฝึกขั้นก้าวหน้า แต่ยังมีขีดสามารถในการรบจริงในสถานการณ์เร่งด่วนต่างๆได้"
Janes เข้าใจว่าข้อเสนอของ KAI สาธารณรัฐเกาหลีเป็นการตอบสนองต่อเอกสารขอข้อเสนอ(RFP: Request for Proposals) อย่างไม่เป็นทางการที่ออกโดยกองทัพอากาศไทยในครึ่งหลังของปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023)

สมุดปกขาวของกองทัพอากาศไทย พ.ศ.๒๕๖๗ RTAF White Paper 2024(https://aagth1.blogspot.com/2024/03/rtaf-white-paper-2024.html) ได้ให้รายละเอียดแผนที่จะจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีใหม่จำนวน ๑๒-๑๔เครื่อง
เพื่อที่จะทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๙/ก บ.ข.๑๙/ก Lockheed Martin F-16A/B ADF ของฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ โคราช ที่มีอายุการใช้งานมานานระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๘-๒๕๗๗(2025-2034)(https://aagth1.blogspot.com/2024/03/f-16ab.html)

แผนการจัดซื้อจัดจ้างเครื่องบินขับไล่โจมตีใหม่ของกองทัพอากาศไทยได้ถูกนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีรัฐบาลไทยในวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๗ อย่างไรก็ตามแหล่งข่าวในกองทัพอากาศไทยกล่าวกับ Janes เมื่อวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๗ ว่า 
รัฐบาลไทยไม่ได้อนุมัติการร้องของบประมาณที่กองทัพอากาศไทยเสนอแต่อย่างใด "กองทัพอากาศไทยจะพยายามอีกครั้งในเดือนพฤษภาคม (พ.ศ.๒๕๖๗)" แหล่งข่าวเสริม

กองทัพอากาศไทยมองที่จะได้รับการจัดสรรงบประมาณระยะที่๑ เป็นวงเงิน ๒,๘๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($76.3 million) เพื่อจะจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีใหม่ระยะที่๑ จำนวน ๔เครื่อง แหล่งข่าวในกองทัพอากาศไทยกล่าวว่า
กำลังมีการพิจารณาการจัดหาระหว่างเครื่องบินขับไล่ SAAB Gripen E/F สวีเดน(https://aagth1.blogspot.com/2024/03/saab-gripen-e.html) และเครื่องบินขับไล่ F-16C/D Block 70/72 สหรัฐฯ(https://aagth1.blogspot.com/2024/03/f-16cd-block-70.html)

"อย่างไรก็ตามการตัดสินใจจะมีขึ้นโดยรัฐบาล" แหล่งข่าวในกองทัพอากาศไทยกล่าว Janes ประเมินว่าการนำเสนอเครื่องบินขับไล่และฝึก บ.ขฝ.๒ T-50TH แสดงถึงการประหยัดราคาอย่างมีนัยสำคัญสำหรับไทย
ตามข้อมูลจาก Janes Markets Forecast ราคาต่อเครื่องของเครื่องบินขับไล่โจมตีเบา FA-50 อยู่ที่เครื่องละ $30 million ซึ่งมีพื้นฐานร่วมกับเครื่องบินขับไล่และฝึก บ.ขฝ.๒ T-50TH ของกองทัพอากาศไทย

เครื่องบินขับไล่ Gripen E/F สวีเดนมีราคาต่อเครื่องที่เครื่องละ $65 million ขณะที่เครื่องบินขับไล่ F-16C/D Block 70/72 สหรัฐฯมีราคาต่อเครื่องที่เครื่องละ $73 million
Janes เข้าใจว่าด้วยงบประมาณที่กองทัพอากาศไทยร้องขอสำหรับการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีใหม่ระยะที่๑ จะสามารถจัดหา บ.ขฝ.๒ T-50TH ได้ถึง ๘เครื่อง ขณะที่จะจัดหา Gripen E/F หรือ F-16C/D Block 70/72 ได้เพียง ๔เครื่องเท่านั้น

ความเห็นวิเคราะห์
ปัจจุบันกองทัพอากาศไทยมีเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๒ บ.ขฝ.๒ T-50TH ประจำการในฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ ตาคลี แล้ว ๑๒เครื่อง โดยสั่งจัดหาเพิ่มแล้ว ๒เครื่องที่มีกำหนดจะส่งมอบในเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๗ นี้ซึ่งจะทำให้จำนวนเพิ่มเป็นรวม ๑๔เครื่อง
สมุดปกขาว RTAF White Paper 2024 ยังได้ให้รายละเอียดถึงแผนการจัดหา บ.ขฝ.๒ T-50TH เพิ่มเติมจำนวน ๒เครื่องระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๘-๒๕๗๑(2025-2028) ซึ่งจะทำให้จำนวนเครื่องในฝูงบิน๔๐๑ จะรวมเป็นทั้งหมด ๑๖เครื่อง

เครื่องบินขับไล่และฝึก บ.ขฝ.๒ T-50TH เป็นรุ่นสำหรับกองทัพอากาศไทยซึ่งมีพื้นฐานร่วมกับตระกูลเครื่องบินไอพ่น T-50 Golden Eagle ที่ประจำการในกองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลี(RoKAF: Republic of Korea Air Force) และอินโดนีเซีย
บ.ขฝ.๒ T-50TH กองทัพอากาศไทยยังได้รับการปรับปรุงขีดความสามารถมาตรฐานเครื่องบินขับไล่โจมตี FA-50 Block 10 รวมถึงกระเปาะชี้เป้า Sniper ATP แล้ว การยืนยันของโฆษก KAI ต่อ Janes ดูจะเป็นการมองการตลาดของตนว่าขณะนี้ไทยดูจะเหมาะกับเครื่องบินรบราคาประหยัดมากกว่า

เครื่องบินขับไล่โจมตี FA-50 Block 20 มาตรฐานใหม่ล่าสุดที่ได้รับการสั่งจัดหาโดยโปแลนด์และมาเลเซียจะมีขีดความสามารถการรบที่สูงยิ่งขึ้นรวมถึงการติดตั้งระบบเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ, ห้องนักบินแบบ glass cockpit พร้อมจอแสดงผลขนาดใหญ่(LAD: Large Area Display), 
หมวกนักบินติดจอแสดงผล(HMD: Helmet-Mounted Display) และ AESA(Active Electronically Scanned Array) radar แบบ PhantomStrike รองรับอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศระยะไกลกว่าสายตา(BVRAAM: Beyond Visual Range Air-to-Air Missile) เช่น AIM-120 AMRAAM

อย่างไรก็ตามความต้องการในสมุดปกขาว RTAF White Paper 2024 ของกองทัพอากาศไทยได้ระบุว่าเป็นการทดแทนเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ ซึ่งเป็นฝูงบินขับไล่สกัดกั้น(FIS: Fighter Interceptor Squadron) ที่เน้นการรบอากาศสู่อากาศ(air-to-air) เป็นหลัก
ทำให้ควรต้องเป็นเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจ(multirole fighter) สมรรถนะสูง เช่น Gripen E/F หรือ F-16C/D Block 70/72 มากกว่าเครื่องบินฝึกพหุภารกิจ(multirole trainer) อย่าง บ.ขฝ.๒ T-50TH(FA-50) ที่ขณะนี้ยังไม่มีการทดสอบการยิงอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ AIM-120 จริงครับ

วันพุธที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2567

Airbus ยุโรปเปิดตัวเครื่องบินลำเลียง A400M เครื่องแรกของคาซัคสถาน

Airbus rolls out first A400M for Kazakhstan





Aircraft MSN139, the first of two A400Ms for Kazakhstan, seen in the paint shop having its bespoke scheme and markings applied ahead of delivery later in 2024. (Airbus)

บริษัท Airbus ยุโรปได้เปิดตัวเครื่องบินลำเลียง A400M Atlas เครื่องแรกจาก 2เครื่องสำหรับสาธารณรัฐคาซัคสถาน ตามการประยุกต์ใช้การทำสีลวดลายเครื่องใหม่ของตน
ณ โรงงานประกอบขั้นสุดท้ายอากาศยานของบริษัท Airbus Defence & Space ใน Seville สเปน(https://aagth1.blogspot.com/2021/09/a400m.html)

ชุดภาพของเครื่องบินลำเลียง A400M รหัส MSN139 ถูกเผยแพร่เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2024 แสดงถึงเครื่องจะสร้างเสร็จตามที่สั่งในรุ่นสีมันวาวสูง 'เปียก' ของลวดลายสีเทาถูกพบเห็นได้ต่ำที่คุ้นเคย
เช่นเดียวกับการทำเครื่องหมายมาตรฐานของกองทัพคาซัคสถาน(Armed Forces of the Republic of Kazakhstan) ที่ถูกวาดมาตั้งแต่ในอดีตที่ประเทศยังอยู่ในอดีตสหภาพโซเวียต

คาซัคสถานได้สั่งจัดหาเครื่องบินลำเลียง A400M จำนวน 2เครื่องในปี 2021 โดยเครื่องรหัส MSN139 จะถูกส่งมอบภายหลังในปี 2024 นี้ ในการลงนามกับคาซัคสถานสำหรับ A400M
บริษัท Airbus ได้รับการสั่งจัดหาลูกค้าส่งออกรายแรกของตนสำหรับโครงการตั้งแต่ที่มาเลเซียเข้าร่วมโครงการนานาชาติในปี 2005(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/a400m.html)

ตามที่เน้นในการประกาศกองกำลังป้องกันทางอากาศคาซัคสถาน(KADF: Kazakhstan Air Defence Forces) จะเป็นผู้ใช้งานรายแรกของเครื่องบินลำเลียง A400M ที่ไม่ติดตั้งท่อรับเชื้อเพลิงกลางอากาศ
ตามที่เห็นกับเครื่องรหัส MSN139 ซึ่งเห็นได้มีการจัดเตรียมไว้แต่ไม่ได้ติดตั้งท่อ probe นอกเหนือจากการขาดท่อรับเชื้อเพลิงกลางอากาศ Airbus ก่อนหน้านี้ได้ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นเกี่ยวการระบุรูปแบบสำหรับเครื่องบินของคาซัคสถาน

กองกำลังป้องกันทางอากาศคาซัคสถานจะปฏิบัติการเครื่องบินลำเลียง A400M ควบคู่กับเครื่องบินลำเลียง Airbus C295 เช่นเดียวกับเครื่องบินลำเลียงสมัยอดีตสหภาพโซเวียต
อาทิ เครื่องบินลำเลียง Antonov An-12BP Cub(จะถูกทดแทนด้วยเครื่องบินลำเลียง C295), เครื่องบินลำเลียง An-24 Coke, เครื่องบินลำเลียง An-26 Curl, เครื่องบินลำเลียง An-72 Coale และเครื่องบินลำเลียง An-2 Colt

นอกกลุ่มชาติ NATO เบลเยี่ยม, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, ลักเซมเบิร์ก, ตุรกี และสหราชอาณาจักร(https://aagth1.blogspot.com/2022/12/a400m.html) มาเลเซียเป็นลูกค้าส่งออกรายแรกสำหรับเครื่องบินลำเลียง A400M จำนวน 4เครื่องที่เข้าประจำการแล้ว 
และลูกค้าส่งออกรายล่าสุดตามหลังรายที่สองคาซัคสถานคืออินโดนีเซียเป็นรายที่สามที่สั่งจัดหาเครื่องบินลำเลียง A400M Atlas จำนวน 2เครื่องในปี 2021 ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2021/11/airbus-a400m.html)

วันอังคารที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2567

เรือดำน้ำ Type 212 NFS อิตาลีเดินหน้าทดสอบระบบแบตเตอรี่ Li-ion

UDT 2024: Type 212 NFS lithium-ion battery system tests move forward



Italian Navy's Todaro (Type 212A)-class submarines. (Italian Navy)

A graphic depiction of the NFS U212 submarine. (OCCAR)

การทดสอบต่างๆของระบบ battery Lithium-ion(Li-ion) สำหรับเรือดำน้ำชั้น Todaro รุ่นปรับปรุง(Improved Todaro, Type 212 NFS) ของกองทัพเรืออิตาลี(Italian Navy, Marina Militare) กำลังเดินหน้า
ตามข้อมูลจากองค์การความร่วมมืออาวุธยุทโธปกรณ์ร่วม(OCCAR: Organisation for Joint Armament Co-operation) ยุโรป ซึ่งบริหารจัดการโครงการนี้

การพูดคุยในงานสัมมนาและนิทรรศการวิทยาการกลาโหมใต้ทะเล Undersea Defence Technology(UDT) 2024 ในกรุง London สหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2024
นาวาโท(Commander) Alessandro Irvia นายทหารระบบโครงการเรือดำน้ำในอนาคตอันใกล้ U212 NFS(Near Future Submarine) ยืนยันว่า(https://aagth1.blogspot.com/2023/03/type-212-nfs.html)

การทดสอบการแพร่กระจายความร้อน(thermal propagation) ที่ดำเนินการขึ้นเมื่อวันที่ 9 เมษายน 20224 ได้บรรลุผลลัพธ์ในเชิงบวก
การทดสอบการแพร่กระจายความร้อนเป็นการทดสอบล่าสุดในชุดการทดสอบต่างๆที่ได้รับการดำเนินการเพื่อสร้างความมั่นใจความปลอดภัยของระบบ battery Li-ion ใหม่

ระหว่างการทดสอบการแพร่กระจายความร้อน นาวาโท Irvia ยืนยันว่าไม่มีเปลวไฟหรือการระเบิดเกิดขึ้น มีเพียงแก๊สเท่านั้นที่ถูกปล่อยออกมา
เรือดำน้ำ Type 212 NFS จะมีคุณลักษณะรุ่นปรับปรุงของระบบความปลอดภัยต่างที่ถูกติดตั้งในปัจจุบันบนเรือดำน้ำชั้น Todaro(Type 212A) ในประจำการกองทัพเรืออิตาลี และจะมีขีดความสามารถการจัดการการปล่อยแก๊สดังกล่าว เขากล่าว

คุณลักษณะความปลอดภัยเพิ่มเติมต่างๆของระบบ battery Li-ion จะรวมถึงการใช้ของ electrolyte ที่เสถียรมาก, Cells ทรงกระบอก, การป้องกันเชิงรับใน cell เพื่อควบคุมอุณหภูมิ, วาล์วนิรภัย, และระบบจัดการแก๊สและระบบทำความเย็น เขากล่าว
เรือดำน้ำ Type 212 NFS จะยังมีคุณลักษณะระบบป้องกันอัคคีภัยที่ออกแบบใหม่สำหรับห้อง battery รวมถึงเครื่องดับเพลิง นาวาโท Irvia กล่าว

อู่เรือ Muggiano ของบริษัท Fincantieri อิตาลีใน La Spezia กำลังอยู่ระหว่างการสร้างเรือดำน้ำ Type 212 NFS จำนวน 3ลำสำหรับกองทัพเรืออิตาลี โดยมีตัวเลือกจัดหาเพิ่มอีก 1ลำ รวม 4ลำ
เรือดำน้ำชั้น Improved Todaro จะเข้าประจำการทดแทนเรือดำน้ำชั้น Sauro ที่กำลังทยอยปลดประจำการลง และเสริมเรือดำน้ำชั้น Todaro ที่กองทัพเรืออิตาลีมีประจำการแล้ว 4ลำตั้งแต่ปี 2027-2031 ครับ

วันจันทร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2567

ออสเตรเลียจะผลิตยานเกราะล้อยาง Boxer 8x8 ส่งออกเยอรมนี 100คัน

Australia orders Boxers to export to Germany





Australia ordered over 100 sWaTrg Inf heavy weapon carrier infantry vehicles from Rheinmetall on 10 April. (Rheinmetall)

รัฐบาลออสเตรเลียได้ลงนามข้อตกลงการผลิตกับบริษัท Rheinmetall Defence Australia ออสเตรเลีย-เยอรมนีเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2024 สำหรับรถทหารราบบรรทุกอาวุธหนัก(Heavy Weapon Carrier Infantry Vehicle)
แบบยานเกราะล้อยาง Boxer Schwerer Waffenträger Infanterie(sWaTrg Inf) 8x8 จำนวน 100คันเพื่อส่งออกแก่เยอรมนี(https://aagth1.blogspot.com/2020/10/boxer.html, https://aagth1.blogspot.com/2019/09/boxer.html)

บริษัท Rheinmetall Defence Australia กล่าวในสื่อประชาสัมพันธ์ประกาศถึงสัญญาภายหลังในวันเดียวกันว่านี่จะเป็นการส่งออกทหารทหารครั้งใหญ่ที่สุดของออสเตรเลียแก่เยอรมนี
ยานเกราะล้อยาง Boxer 8x8 กำลังได้รับการผลิตภายใต้จดหมายแสดงความจำนง(LOI: letter of intent) แบบรัฐบาลต่อรัฐบาลที่ลงนามโดยรัฐบาลออสเตรเลียใน Canberra และรัฐบาลเยอรมนีใน Berlin ในเดือนมีนาคม 2024

ศูนย์ยานยนต์ทางทหารเพื่อความเป็นเลิศ(MILVEHCOE: Military Vehicle Centre of Excellence) ของบริษัท Rheinmetall ใน Redbank รัฐ Queensland ออสเตรเลีย
จะผลิตยานเกราะล้อยาง Boxer sWaTrg Inf 8x8 โดยการส่งมอบแก่รัฐบาลเยอรมนีวางแผนมีขึ้นในปี 2026-2030 กระทรวงกลาโหมออสเตรเลียกล่าวในสื่อประชาสัมพันธ์เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2024

โฆษกของบริษัท Rheinmetall เยอรมนีกล่าวกับ Janes ว่า ยานเกราะล้อยาง Boxer sWaTrg Inf ชุดแรกจำนวน 20คันจะถูกผลิตในโรงงาน Kassel และ Unterluess ของบริษัทในเยอรมนี โดยการส่งมอบมีกำหนดการในปี 2025
ยานเกราะล้อยาง Boxer sWaTrg Inf 8x8 จะทดแทนยานเกราะสายพาน Wiesel 1 รุ่นบรรทุกอาวุธสนับสนุนการยิงตรงทางยุทธวิธีของกองทัพเยอรมนี(Bundeswehr) และนำเข้าประจำการในกองกำลังขนาดกลางแบบใหม่ของกองทัพบกเยอรมนี(German Army, Heer)

ยานเกราะล้อยาง Boxer sWaTrg Inf เยอรมนีจะมีพื้นฐานจากยานเกราะล้อยางลาดตระเวน Boxer CRV(Combat Reconnaissance Vehicle) 8x8 ของกองทัพบกออสเตรเลีย(Australian Army) ซึ่งได้รับการติดตั้ง module ภารกิจลาดตระเวน 
รวมถึงป้อมปืน digital แบบ Lance มีพลประจำป้อม 2นาย ติดตั้งอาวุธปืนใหญ่กล MK30-2 ขนาด 30mm พร้อมกระสุนแตกอากาศ(ABM: Airburst Munition) ของ Rheinmetall ที่ยังเป็นอาวุธหลักของรถรบทหารราบ Puma IFV(Infantry Fighting Vehicle) ของกองทัพบกเยอรมนี

ยานเกราะล้อยาง Boxer sWaTrg Inf จะยังติดตั้งด้วยระบบอาวุธปล่อยนำวิถีเบาขีดความสามารถพหุประสงค์ MELLS(Mehrrollenfähiges leichtes Lenkflugkörper, Multirole-capable Light Missile System)
ซึ่งเป็นการกำหนดแบบสำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง Spike LR ของกองทัพเยอรมนี(https://aagth1.blogspot.com/2022/12/puma-nato.html, https://aagth1.blogspot.com/2020/04/ffg-wiesel-1.html

กองทัพเยอรมนีได้สั่งจัดหายานเกราะล้อยาง Boxer sWaTrg Inf 8x8 จำนวน 123คันจากบริษัท Rheinmetall เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2024 
เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2024 รัฐสภาสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี(Bundestag) ได้อนุมัติการจัดซื้อจัดจ้างวงเงิน 1.95 billion Euros($2.1 billion) เพิ่มเติมด้วยสัญญาการให้บริการและการซ่อมบำรุงวงเงิน 746.9 million Euros ครับ

วันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2567

เฮลิคอปเตอร์ H225M และเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง CH-47F สิงคโปร์ประกาศความพร้อมปฏิบัติการเต็มอัตรา

Singapore's fleet of H225M, CH-47F helicopters attain full operational capability







A Republic of Singapore Air Force H225M and CH-47F seen here at a ceremony where full operational capability was declared for both aircraft types. (Ministry of Defence of Singapore)



กองทัพอากาศสิงคโปร์(RSAF: Republic of Singapore Air Force) ได้ประกาศความพร้อมปฏิบัติการเต็มอัตรา(FOC: Full Operational Capability) สำหรับฝูงบินเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงขนาดกลาง Airbus Helicopters H225M 
และเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงขนาดหนัก Boeing CH-47F Chinook ของตน(https://aagth1.blogspot.com/2022/02/h225m.html, https://aagth1.blogspot.com/2021/03/h225m.html, https://aagth1.blogspot.com/2020/07/rss-invincible-h225m-ch-47f-covid-19.html

พิธีที่เป็นเครื่องหมายถึงเหตุการณ์สำคัญได้ถูกจัดขึ้น ณ ฐานทัพอากาศ Sembawang เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2024 โดยเชิญรัฐมนตรีกลาโหมสิงคโปร์ Ng Eng Hen ร่วมเป็นประธานในพิธี
รัฐมนตรีกลาโหมสิงคโปร์อธิบายถึงเฮลิคอปเตอร์ในฐานะทรัพยากรที่จะเพิ่มขยายขีดความสามารถการลำเลียงทางทหารต่างๆของกองทัพสิงคโปร์(SAF: Singapore Armed Forces)

"พวกมันจะสร้างความแข็งแกร่งความสามารถของกองทัพสิงคโปร์ที่จะดำเนินการปฏิบัติการต่างๆที่หลากหลายรูปแบบ รวมถึงการปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัย(SAR: Rearch-and-Rescue),
การส่งกลับทางสายแพทย์ทางอากาศ และการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ(HADR: Humanitarian Assistance and Disaster Relief)" Ng กล่าวในการปราศัยของเขาต่อเครื่องหมายเหตุการณ์สำคัญ

"ที่สำคัญกว่า เฮลิคอปเตอร์แบบใหม่สองแบบเหล่านี้จะเพิ่มขยายการบูรณาการข้ามเหล่าทัพ ทำให้กองทัพอากาศสิงคโปร์จะสนับสนุนกองทัพบกสิงคโปร์(Singapore Army) 
และกองทัพเรือสิงคโปร์(RSN: Republic of Singapore Navy) ของเราในการเคลื่อนย้ายยุทโธปกรณ์ต่างๆได้ดียิ่งขึ้น" รัฐมนตรีกลาโหมสิงคโปร์ Ng เสริม

เฮลิคอปเตอร์ H225M จะประจำการในฝูงบินที่125(125 squadron) และฝูงบินที่126(126 squadron) ของกองทัพอากาศสิงคโปร์
และทยอยทดแทนฝูงบินเฮลิคอปเตอร์ AS332M Super Puma ที่มีอายุการใช้งานมานานซึ่งประจำการมาตั้งแต่ปี 1985 การส่งมอบเฮลิคอปเตอร์ H225M เครื่องแรกมีขึ้นในเดือนมีนาคม 2021

เฮลิคอปเตอร์ H225M มีความเร็วสูงสุดที่ 175knots มีน้ำหนักบินขึ้นสูงสุด(MTOW: Maximum Take-Off Weight) ที่ 11,200kg และมีระยะปฏิบัติการไกลสุดมากกว่า 400nmi
เฮลิคอปเตอร์ H225M รองรับการบรรทุกกำลังพลได้มากกว่า 20นาย รวมถึงผู้อพยพ 11คนบนเปลหาม และบรรทุกสัมภาระบนสายยึดโยงภายนอกได้ถึง 4,750kg

สำหรับเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง CH-47F การส่งมอบเครื่องแรกถูกประกาศโดยกองทัพอากาศสิงคโปร์ในเดือนพฤษภาคม 2021 และเฮลิคอปเตอร์ได้ถูกรับมอบโดยหน่วยส่วนแยกของกองทัพอากาศสิงคโปร์ใน Oakey ออสเตรเลีย
ที่ซึ่งกองทัพสิงคโปร์ดำรงการคงอยู่ของกำลังพลจำนวนราว 100นาย ณ ศูนย์การฝึกการบินทหารบกกองทัพบกออสเตรเลีย(Australian Army Aviation Training Centre)

เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง CH-47F จะประจำการในฝูงบินที่127(127 squadron) ของกองทัพอากาศสิงคโปร์ 
และทยอยทดแทนเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง CH-47D ที่มีอายุการใช้งานมานานซึ่งประจำการมาตั้งแต่ปี 1994 สิงคโปร์ได้สั่งจัดหาเฮลิคอปเตอร์ H225M และ CH-47F โดยไม่เปิดเผยจำนวนในปี 2016 ครับ

วันเสาร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2567

กองทัพอากาศบราซิลลงนามกับ Embraer เพื่อศึกษาการพัฒนาเครื่องบินลำเลียง C-390 รุ่นภารกิจพิเศษ

FIDAE 2024: Brazilian Air Force signs MOU with Embraer to study special mission C-390




An artist's conception of the C-390 in a maritime role. (Embraer)



กองทัพอากาศบราซิล(Brazilian Air Force, FAB: Força Aérea Brasileira) ประกาศการลงนามบันทึกความเข้าใจ(MOU: Memorandum of Understanding) กับบริษัท Embraer บราซิลเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2024
ณ งานแสดงการบินนานาชาติ FIDAE 2024 ในนครหลวง Santiago ชิลี เพื่อศึกษาการปรับเปลี่ยนเครื่องบินลำเลียง Embraer C-390 Millennium สำหรับภารกิจพิเศษต่างๆ(https://aagth1.blogspot.com/2024/02/kc-390.html)

การใช้งานที่เป็นไปได้ภายใต้การศึกษารวมถึงภารกิจการลาดตระเวนทางทะเล และข่าวกรอง ตรวจการณ์ และลาดตระเวน(ISR: Intelligence, Surveillance and Reconnaissance)
C-390 มีภารกิจหลักเป็นเครื่องลำเลียงและเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ โดยไม่มีรุ่นอื่นๆนอกเหนือจากนี้ในประจำการ(https://aagth1.blogspot.com/2023/12/kc-390.html)

บริษัท Embraer ได้ส่งมอบเครื่องบินลำเลียง C-390 จำนวน 6เครื่องแก่กองทัพอากาศบราซิลแล้ว Bosco da Costa Jr ประธานแผนก Embraer Defense and Security กล่าวกับ Janes ในงานแสดงการบิน FIDAE 2024
กองทัพอากาศบราซิลมีเครื่องบินลำเลียง C-390 เพิ่มเติมอีก 13เครื่องที่ถูกสั่งจัดหา ตามข้อมูลจาก Janes World Air Forces(https://aagth1.blogspot.com/2023/10/kc-390.html, https://aagth1.blogspot.com/2023/09/kc-390-c-130k.html)

การศึกษาการปรับเปลี่ยนของเครื่องบินลำเลียง C-390 จะ "มีความร่วมเหมือนกันอย่างสูงสุดและความเป็นอิสระด้านวิทยาการ" ผู้บัญชาการกองทัพอากาศบราซิล พลอากาศเอก(Lieutenant-Brigadier) Marcelo Kanitz Damasceno กล่าวในแถลงการณ์
บราซิลมีใช้งานด้วยฝูงบินของเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล Lockheed Martin P-3, เครื่องบินลำเลียง Embraer C-95 เครื่องบินลำเลียง C-95, เครื่องบินลำเลียง C-295 และอากาศยานแบบอื่นๆในภารกิจการตรวจการณ์ทางทะเล

บราซิลเป็นประเทศที่มีชายฝั่งกว้างใหญ่มากและมีผลประโยชน์ของชาตินอกชายฝั่งที่มีความสำคัญอย่างมาก รวมถึงความต้องการขีดความสามารถสงครามปราบเรือดำน้ำ(ASW: Anti-Submarine Warfare) และสงครามต่อต้านเรือผิวน้ำ(ASuW: Anti-Surface Warfare)
ตามข้อมูลจาก Janes World Air Forces ปัจจุบันกองทัพอากาศบราซิลมีประจำการด้วยเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล Lockheed P-3AM จำนวน 3เครื่อง ที่ได้รับการปรับปรุงเพื่อยืดอายุการใช้งานจนถึงปี 2030

กองทัพอากาศบราซิลยังมีประจำการด้วยเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล P-95 จำนวน 8เครื่องซึ่งเป็นการกำหนดแบบของกองทัพบราซิลสำหรับเครื่องบินลำเลียง Embraer EMB-111 ที่ติดตั้งระบบสงครามปราบเรือดำน้ำ ASW
ความต้องการเครื่องบินปราบเรือดำน้ำใหม่ของบราซิลถึง 6เครื่องได้มีหลายบริษัทที่ให้ความสนใจนำเสนอ รวมถึงเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล Boeing P-8A Poseidon สหรัฐฯครับ(https://aagth1.blogspot.com/2023/12/p-8a-poseidon.html)

วันศุกร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2567

เซอร์เบียกำลังเจรจาจัดหาเครื่องบินขับไล่ Rafale ฝรั่งเศส 12เครื่อง

Serbia set to acquire Rafale fighters from France







Serbia is negotiating the acquisition of 12 Rafale fighters from France. (French Air and Space Force)

เซอร์เบียและฝรั่งเศสจะบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างเครื่องบินขับไล่ Dassault Rafale สร้างใหม่จำนวน 12เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2022/04/eurofighter-typhoon-rafale.html)
สำหรับกองทัพอากาศเซอร์เบียและกองกำลังป้องกันภัยทางอากาศเซอร์เบีย(Serbian Air Force and Air Defense, RV i PVO: Ratno vazduhoplovstvo i protivvazduhoplovna odbrana) ในอีกสองเดือนข้างหน้า

ประธานาธิบดีเซอร์เบีย Aleksandar Vučić กล่าวกับสื่อเซอร์เบียในนครหลวง Paris เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2024 หลังเข้าพบกับประธานาธิบดีฝรั่งเศส Emmanuel Macron และตัวแทนของบริษัท Dassault Aviation ฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2024
สื่อที่ใกล้ชิดกับรัฐบาลเซอร์เบียได้รายงานว่าการเจรจาได้อยู่ในการดำเนินการเป็นเวลาเกือบสามปีแล้วสำหรับเครื่องบินขับไล่ Rafale รุ่นที่นั่งเดียวจำนวน 10เครื่อง และรุ่นสองที่นั่งจำนวน 2เครื่องสำหรับกองทัพอากาศเซอร์เบีย

ชุดระบบอาวุธที่คาดไว้จะรวมถึงอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศระยะไกลกว่าสายตา(BVRAAM: Beyond Visual Range Air-to-Air Missile) แบบ MICA(https://aagth1.blogspot.com/2024/01/rafale-42-18.html)
ในการเพิ่มเติมต่อเครื่องจำลองการบิน flight simulator, การฝึกของกำลังพลเจ้าหน้าที่นักบินและช่างเทคนิค และชุดการสนับสนุนการส่งกำลังบำรุงบูรณาการหลายปี(https://aagth1.blogspot.com/2023/10/rafale.html)

เมื่อประกาศการจัดซื้อจัดจ้างในปี 2023 ประธานาธิบดีเซอร์เบีย Vučić กล่าวว่าการจัดหาของฝูงบินเครื่องบินขับไล่ Rafale สร้างใหม่ของเซอร์เบียจะมีมูลค่าที่วงเงิน 3 billion Euros($3.3 billion)
ระหว่างการเดินทางเยือน Paris ฝรั่งเศส Vučić ยังได้หารือกับเจ้าภาพของเขาในความเป็นไปได้ของการจัดตั้งโรงงานในเซอร์เบียเพื่อติดอาวุธให้เฮลิคอปเตอร์ H145M ด้วยอาวุธต่างๆที่สร้างโดยเซอร์เบีย

ภายใต้การจัดเตรียมการข้อตกลงที่หลากหลายที่น่าจะได้เห็นเซอร์เบียจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ H145M เพิ่มมากขึ้นเพื่อจะทดแทนเฮลิคอปเตอร์ Gazelle ยุคอดีตยูโกสลาเวียของตน(https://aagth1.blogspot.com/2018/11/h145m-9.html)
เซอร์เบียได้ลงนามจัดหาเฮลิคอปเตอร์ H145M จำนวน 9เครื่องที่เป็นสำหรับกองทัพอากาศเซอร์เบีย 5เครื่องจากบริษัท Airbus Helicopters ยุโรปในปี 2016 โดยได้รับมอบเครื่องแรกในปี 2018 และสั่งจัดหาตามมาอีก 6เครื่อง

เฮลิคอปเตอร์ H145M ของกองทัพอากาศเซอร์เบียได้รับการติดตั้งระบบอาวุธ HForce(https://aagth1.blogspot.com/2023/12/h145m-62.html) อย่างไรก็ตามเซอร์เบียได้ติดตั้ง ฮ.H145M ในภารกิจเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธด้วยระบบอาวุธของตนเอง 
รวมถึงกระเปาะจรวด L80-07 ความจุ 7นัดพร้อมจรวดอากาศสู่พื้น S-8KOM ขนาด 80mm และกระเปาะปืนกลอากาศ GH-78 พร้อมปืนกลหนัก M87 ลำกล้องเดี่ยวขนาด 12.7mm ซึ่งพบเป็นครั้งแรกระหว่างการสาธิตฝึกใช้อาวุธในปี 2021

นอกจากเครื่องบินขับไล่ Rafale ฝรั่งเศส ในปี 2022 เซอร์เบียยังเจรจากับสหราชอาณาจักรสำหรับความเป็นไปได้ที่จะจัดหาเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon ทั้งสร้างใหม่หรือเครื่องส่วนเกินที่เก็บสำรองไว้ด้วย
ปัจจุบันกองทัพอากาศเซอร์เบียมีเครื่องบินขับไล่ Mikoyan MiG-29(NATO กำหนดรหัส Fulcrum) ที่ใช้มาตั้งแต่ยุคอดีตยูโกสลาเวียอยู่ราว 14เครื่อง ที่มีอายุการใช้งานมานานและล้าสมัย ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับบริจาคเครื่องส่วนเกินจากรัสเซียครับ