วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๕๘-๓

รายงานความคืบหน้าโครงการจัดหายุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในช่วงเดือนกรกฎาคม

การตรวจสอบการยิงก่อนรับมอบรถถัง แบบ T-84 Oplot-M ม.พัน2 สนามจังหวัดสระแก้ว วันที่ 7/7/58
https://www.youtube.com/watch?v=YhKs2-XPb9I






ส่วนของกองทัพบกรถถังหลัก Oplot ชุดที่สองจำนวน ๕คัน ที่ขนส่งจากยูเครนมาถึงไทยแล้วตามที่รายงานไปก่อนนั้น กำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบก่อนการรับมอบ
โดยใน Clip เป็นการทดสอบการเคลื่อนที่และการยิงปืนใหญ่รถถังขนาด 125mm ในสนามฝึกใช้อาวุธเวลากลางวันและกลางคืน
ซึ่งเมื่อมีการรับมอบเข้าประจำการใน กองพันทหารม้าที่๒ กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ แล้ว จะทำให้กองทัพบกไทยมีรถถัง Oplot ประจำการรวมกับชุดแรกเป็น ๑๐คัน
โดยมีข้อมูลว่าอาจจะมีการส่งมอบรถชุดใหม่เพิ่มเติมภายในปีนี้

จากข่าวในที่งบประมาณประจำปี ๒๕๕๙ จะปรับลดลง โดยงบประมาณของกระทรวงกลาโหมนั้น ในส่วนของกองทัพบกจะมีงบประมาณสำหรับโครงการจัดหารถถังหลักใหม่ และโครงการจัดเฮลิคอปเตอร์มาแทน ฮ.เก่าที่ใช้มานานหลายแบบ
ซึ่งการจัดหารถถังหลักใหม่ตามแผนการเสริมสร้างกำลังของกองทัพบกนั้น ก็น่าจะเป็นไปการแผนการปรับปรุงการจัดกำลังเหล่าทหารม้าตามที่เคยมีการลงข้อมูลไป โดยแบ่งเป็นสองส่วนคือ

ส่วนที่๑
รถถังหลักใหม่ที่จะมาประจำการแทนรถถังเบา M41A3 ในส่วนกองพันทหารม้ารถถังประจำกองพลทหารราบ
ซึ่งถ้ายังเป็นตามแผนเดิมที่วางไว้ กองพันทหารม้าที่๒ กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ จะได้รับมอบรถถังหลัก Oplot ครบทั้งกองพัน ๔๙คัน
และจะมีการโอนรถถังหลัก M48A5 เดิมไปประจำการที่ กองพันทหารม้าที่๘ กองพลทหารราบที่๓ แทน ถ.เบา M41A3 ที่ปลดประจำการลง
โดยตามแผนแล้วอีก พัน.ม.(ถ.) ที่ใช้ ถ.M48A5 คือ กองพันทหารม้าทหารม้าที่๒๑ กองพลทหารราบที่๖ จะมีการโอน ถ.M48A5 ไปที่ กองพันทหารม้าที่๑๖ กองพลทหารราบที่๕ แทน M41A3 ที่จะปลดลงทั้งหมดเช่นกัน
ซึ่งนอกจาก ม.พัน.๒๑ที่ต้องจัดหา ถ.หลักใหม่ ก็ยังมี พัน.ม.(ถ.) พล.ร. อีกอย่างน้อยหนึ่งกองพันที่จะต้องจัดหารถถังหลักใหม่มาแทน ถ.เบา M41A3 คือ กองพันทหารม้าที่๔ รักษาพระองค์

ส่วนที่๒
คือรถถังหลักใหม่ที่เข้าประจำการในหน่วยขึ้นตรงของกองพลทหารม้าที่๓
สำหรับ พล.ม.๓ นั้นมีอัตราจัด นขต.ที่วางแผนไว้เบื้องต้นคือ ๒กรมทหารม้า คือ กรมทหารที่๖ ที่ย้ายมาจากกองพลทหารม้าที่๑ และกรมทหารม้าที่๗ ที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่
ซึ่งหลังจากที่มีการโอนย้ายรถถังเบาแบบ๓๒ Stingray จาก กองพันทหารม้าที่๖ ไป กองพันทหารม้าที่๙ กองพลทหารราบที่๔แล้ว (กองพันทหารม้าที่๒๖ ยังคงใช้ ถ.เบา.๓๒ Stingray เช่นเดิม)
จะมีการแปรสภาพ ม.๖ ให้เป็นกรมทหารม้าแบบที่๑ ตามแผนการจัดกำลังกรม ม.ใหม่ คือประกอบด้วยสองกองพันทหารม้ารถถัง และหนึ่งกองพันทหารม้าบรรทุกยานเกราะ
ส่วน ม.๗ จะเป็นกรม ม.แบบที่๒ คือประกอบด้วย ๒พัน.ม.(ก.) และ๑พัน.ม.(ถ.)
ซึ่งนั่นหมายความว่าในขั้นต้นจะต้องมีการจัดหา ถ.หลักใหม่มาแทน Stingray ในส่วน ม.พัน.๖ หนึ่งกองพัน และไม่นับรวมกับ พัน.ม.(ถ.)ที่จะตั้งใหม่อีกอย่างน้อยสองกองพันที่ต้องจัดหา ถ.หลักใหม่เพิ่มด้วย

ดังนั้นถ้านับเฉพาะในส่วนกองพันทหารม้ารถถังที่จะต้องจัดหารถถังหลักใหม่มาแทน ถ.เบาM41A3 และ นขต.ที่ตั้งใหม่ในส่วน พล.ม.๓ ก็รวมแล้วไม่ต่ำกว่า ๓-๕กองพัน
แต่ตรงนี้คาดว่าถ้าจะมีการจัดตั้งโครงการจัดหารถถังหลักในใน งป.๒๕๕๙ ก็น่าจะได้เบื้องต้นเพียงหนึ่งกองพัน
ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่ากองทัพบกจะจัดเลือกจัดหา ถ.หลัก Oplot ต่ออีกกองพัน หรือเปลี่ยนไปเลือกแบบรถถังหลักแบบใหม่ครับ (ซึ่งช่วงนี้จะมีกระแสเกี่ยวกับรถถังหลักจีนอย่าง MBT-3000 หรือ VT4 อยู่)

ที่มา รัชต์ รัตนวิจารณ์
Credit ภาพ กองทัพบก
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10207327231197147&set=a.1536942381618.78377.1176621495&type=1&theater

ในส่วนของโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพบกนั้น ล่าสุดเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปแบบ ฮ.ท.๗๒ UH-72A ชุดแรกจำนวน ๖เครื่องได้ส่งมอบถึงไทยที่ท่าเรือแหลมฉบังแล้ว
คาดว่าหลักการประกอบเครื่อง ทำการบินไปศูนย์การบินทหารบกที่ลพบุรี แล้วการตรวจสอบการรับมอบเครื่อง และพิธีการนำเครื่องเข้าประจำการคงจะมีตามมาในเร็วๆนี้
ตามข้อมูลที่ออกมา ฮ.ท.๗๒ UH-72A จะเข้าประจำการใน กองร้อยบิน ประจำกองพล (อาจจะแทน ฮ.ท.๒๐๖ Bell 206) ครับ








เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการจัดหาเรือดําน้ำของกองทัพเรือ
https://www.facebook.com/prthainavy/posts/1005002922884397
ที่มา Page กองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ

ส่วนของกองทัพเรือหลังจากมีการแถลงการณ์โดยผู้บัญชาการทหารเรือ พลเรือเอก ไกรสร จันทร์สุวานิชย์  เรื่องคณะกรรมการของกองทัพเรือเลือกแบบเรือดำน้ำจีนในโครงการจัดหาเรือดำน้ำ
โดยมีรายละเอียดว่าคณะกรรมการ ๑๔ท่านเลือกแบบเรือดำน้ำจีน(S26T) ๒ท่านเลือกเรือดำน้ำเยอรมนี(U209/1400mod หรือ U210mod) และ ๑ท่านเลือกแบบเรือดำน้ำสวีเดน(A26) นั้น
ก็มีความเห็นที่หลากหลายจากภาคประชาชน โดยเฉพาะประเด็นความเหมาะสมในการพิจารณาในสถานการณ์ปัจจุบันซึ่งประเทศกำลังเผชิญภัยแล้งและปัญหาผู้อพยพหลบหนีเข้าเมืองชาวอุยกูร์จากจีน
และจากข่าวการพิจารณางบประมาณประจำปี ๒๕๕๙ ล่าสุดที่มีการตัดลดวงเงินลงนั้น ในส่วนของงบประมาณของกระทรวงกลาโหมนั้น ส่วนของกองทัพเรือไม่ได้มีการจัดงบประมาณสำหรับโครงการจัดหาเรือดำน้ำโดยเฉพาะด้วย
(ก็อาจจะตีความได้คราวๆว่า คณะรัฐมนตรีอาจจะยังไม่อนุมัติโครงการจัดหาเรือดำน้ำภายในปีงบประมาณ ๒๕๕๘-๒๕๕๙ นี้)

แรงกดดันเหล่านี้ทำให้ดูเหมือนว่าจะส่งผลโดยตรงต่อกองทัพเรือคือ
เมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ ประธานคณะกรรมการตรวจสอบการใช้งบประมาณภาครัฐ (คตร.) กล่าวว่า
กองทัพเรือยังไม่ได้ส่งเรื่องโครงการจัดหาเรือดำน้ำให้ คตร.พิจารณา เนื่องจากทางกำลังอยู่ระหว่างการวางแผนจัดทำรายละเอียดงบประมาณให้เสร็จก่อนจะส่งให้ คตร. พิจารณาก่อนจะส่งให้ ครม.ตามขั้นตอนต่อไป
ประกอบกับวันที่ ๑๕ กรกฎาคม พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้กล่าวว่าเรื่องโครงการจัดหาเรือดำน้ำนั้นยังไม่ได้ดำเนินการนำเข้าวาระที่ประชุมคณะรัฐมนตรี
โดยให้ทางกองทัพเรือไปสร้างการรับรู้ให้มากขึ้นก่อน พร้อมให้ไปศึกษาให้ชัดเจนถึงผลประโยชน์ทางทะเล ๒ล้านล้านบาท ว่าการจัดหาเรือดำน้ำนั้นมีความเหมาะสมต่อศักยภาพของกองทัพมากน้อยแค่ไหน

ตรงนี้แสดงให้เห็นว่าโครงการจัดหาเรือดำน้ำของกองทัพเรือในขณะนี้อยู่ในสถานะถูกชะลอออกไปก่อน แต่ยังไม่ได้ยกเลิกโครงการ
โดย ผบ.ทร.ได้มอบหมายให้ พลเรือเอก ณรงค์พล ณ บางช้าง ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณาโครงการจัดซื้อเรือดำน้ำ
ไปดำเนินการจัดทำเอกสารชี้แจงต่อสาธารณชนและสื่อมวลชนที่เรียกว่า "สมุดปกเขียว" ขึ้นมา
ซึ่งล่าสุด(๒๙ กรกฎาคม)ได้มีการออกเอกสารขนาด ๙หน้ากระดาษ A4 ชี้แจงเหตุผลความจำเป็นของจัดหาเรือดำน้ำรวมถึงความคุ้มค่าในการจัดซื้อของกองทัพเรือ ทยอยชี้แจงต่อสื่อมวลชนและเผยแพร่ต่อสาธารณชน

ตามเอกสารขนาด ๙หน้ากระดาษข้างต้นมีการชี้แจงประเด็นข้อสงสัยเกี่ยวกับสมรรถนะและความปลอดภัยของเรือดำน้ำแบบ S26T ของจีนในบางเรื่องเช่น
-ระบบขึ้นสู่ผิวน้ำแบบฉุกเฉินเป็นของยุโรป อาจจะเช่น ชุดหลบหนีใต้น้ำฉุกเฉิน Submarine Escape Immersion Equipment suit (SEIE suit) ตามมาตรฐานสากล

-กองทัพเรือชี้แจงว่าตัวเรือแบบสองชั้น(Double Hull) มีกำลังลอยตัวสำรองสูงกว่าตัวเรือแบบชั้นเดียว(Single Hull)
(แต่ในทางกลับกัน เรือดำน้ำแบบตัวเรือสองชั้นนั้นมีพื้นที่ภายในน้อยกว่า และมีความยุ่งยากในการซ่อมบำรุงระยะยาวมากกว่าเรือแบบตัวเรือชั้นเดียวมาก
ซึ่งเรือดำน้ำชั้นใหม่ๆของตะวันตกในปัจจุบันส่วนใหญ่จะถูกสร้างเป็นแบบตัวเรือชั้นเดียว ขณะที่เรือดำน้ำแบบ Kilo รัสเซียและ Type 039A จีน เป็นเรือดำน้ำแบบตัวเรือสองชั้น
แต่ทางรัสเซียและจีนก็มีแผนการพัฒนเรือดำน้ำแบบใหม่ที่ใช้ตัวเรือชั้นเดียวเช่นกัน อย่างโครงเรือดำน้ำ Kalina ของรัสเซียเป็นต้น)

-มีการออกแบบผนังกั้นน้ำภายในเรือ และช่องทางออกจากตัวเรือที่สมบูรณ์ และช่องทางออกของเรือดำน้ำสามารถใช้งานเชื่อมต่อกับยานกู้ภัยใต้น้ำ (Underwater Search and Recovery Vessel) มาตรฐาน NATO ได้
มีข้อมูลว่าจีนได้จัดหายานกู้ภัยใต้น้ำ (DSRV: Deep Submergence Rescue Vehicle) แบบ LR7 จากอังกฤษในปี 2008 มาใช้กับเรือสนับสนุนเรือดำน้ำ(เรือพี่เลี้ยง) ชั้น Type 926
โดยมีการฝึกปฏิบัติกู้ภัยด้วยการเชื่อมต่อยาน DSRV กับช่องทางออกหนีภัยฉุกเฉินใต้น้ำแบบปรับแรงดันแล้ว
ทั้งนี้จีนได้เคยพัฒนายานกู้ภัยใต้น้ำของตนเองแบบ Type 7103 ตั้งแต่ปี 1970s แล้ว ซึ่งคาดว่าคงจะมีการพัฒนายาน DSRV รุ่นใหม่ออกมาแทนหลังจากจัดหา LR7 มาใช้


จากภาพถ่ายมุมสูงของเรือดำน้ำชั้น Type 39A/AG/B/C หรือ Type 041 หรือ NATO กำหนดรหัสว่า Yuan นี้จะเห็นรูปแบบช่องทางออกของตัวเรือที่ทำเครื่องหมายวงกลมสีขาวไว้นั้นมีสองตำแหน่ง คือบริเวณหัวเรือกับท้ายเรือ
ซึ่งใกล้เคียงกับเรือดำน้ำชั้น Kilo มาก และการปฏิบัติในการหลบหนีออกจากตัวเรือกรณีฉุกเฉินของจีนในยุคใหม่และอนาคตก็น่าะเป็นในลักษณะเดียวกับของรัสเซีย คือใช้ได้ทั้งชุดหลบหนีใต้น้ำฉุกเฉิน SEIE หรือเชื่อมต่อกับยานกู้ภัยใต้น้ำ DSRV
อย่างที่เคยได้ชมในสารคดีของสถานีโทรทัศน์รัสเซียจะเห็นการฝึกการกู้ภัยจากเรือดำน้ำชั้น Kilo ในเขตน้ำตื้นประมาณน้อยกว่า 250m
ด้วยการให้ลูกเรือสวมชุด SEIE suit และการสาธิตใช้ยานกู้ภัยใต้น้ำเชื่อมต่อกับช่องทางออกฉุกเฉินของเรือ ซึ่งเรือชั้น Kilo มีสองจุดคือที่หัวเรือกับท้ายเรือซึ่งวาดวงกลมสีขาวไว้
(ถ้าเป็นเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์เช่นเรือดำน้ำนิวเคลียโจมตีร์ชั้น Yasen เห็นมีการทดสอบระบบ escape chamber อยู่)
โดยทางกองทัพเรือรัสเซียมีการตื่นตัวในการพัฒนาระบบการกู้ภัยของเรือดำน้ำครั้งใหญ่ตั้งแต่ช่วงหลังปี 2000s เป็นต้นมา ซึ่งเป็นผลจากกรณีโศกนาฏกรรมเรือดำน้ำ Kursk ในปี 2000 ซึ่งคร่าชีวิตลูกเรือทั้งลำถึง ๑๑๘นาย
(ทางจีนเองก็น่าจะได้รับผลในการพัฒนาระบบกู้ภัยเรือดำน้ำของตนจากกรณีโศกนาฏกรรมเรือดำน้ำชั้น Type 035G Ming หมายเลข 361 ในปี 2003 เช่นกัน)

ตรงนี้อาจจะพอคาดเดาได้ประการว่านอกจากตัวเรือ ระบบอำนวยการบ และระบบอาวุธของเรือดำน้ำ S26T ที่น่าจะเป็นระบบจีนล้วนแล้ว กองทัพเรืออาจจะมีการจัดหาระบบอุปกรณ์บางส่วนจากตะวันตกมาติดตั้งใช้กับเรือดำน้ำชุดนี้
โดยเฉพาะระบบที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและการกู้ภัยในกรณีฉุกเฉินของเรือ ซึ่งไม่น่าจะจัดเป็นอุปกรณ์ที่เป็นความลับทางทหารที่ทางตะวันตกจะห้ามไม่ให้ส่งออกมาทางจีน หรือกองทัพเรืออาจจะจัดหามาใช้ภายหลังได้

แต่โดยความเห็นส่วนตัวแล้วมองว่าการออก "สมุดปกเขียว" เพื่อชี้แจงความจำเป็นและเหตุผลในโครงการจัดหาของกองทัพเรือต่อประชาชนนั้น อาจจะไม่ได้มีผลตอบรับที่ดีอย่างที่ควรจะเป็นมากเท่าไรนัก
เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ยังมีความเชื่อว่าผลประโยชน์ของชาติทางทะเลเป็นเรื่องไกลตัวจากชีวิตประจำวันของผู้คนส่วนมาก (โดยเฉพาะสงครามซึ่งถูกมองว่า "ไม่มีทางเกิดขึ้นอีกแล้ว")
ซึ่ง "เรือดำน้ำ" เป็นยุทโธปกรณ์ที่ไม่มีความจำเป็นสำหรับไทยแต่อย่างใด ถ้าไม่นับความเชื่ออื่นๆเช่น ทะเลไทยน้ำตื้นเกินไป ภาวะเศรษฐกิจ ภัยแล้ง น้ำท่วม การรวมเป็นประชาคมเศรษฐกิจ ASEAN หรือ AEC ไทยไม่ได้ไปรบกับใคร เป็นต้น
ดังนั้นถึงกองทัพเรือจะออกเอกสารชี้แจงไปก็คงจะเป็นที่รับรู้เฉพาะในวงจำกัดเท่านั้น คงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแนวทางการเขียนข่าวของสื่อกระแสหลัก และสร้างการรับรู้เปลี่ยนแปลงความเชื่อของประชาชนได้มากนักอยู่ดี

ตรงนี้ตามความรู้สึกส่วนตัวจึงค่อนข้างเชื่อว่าโอกาสที่โครงการจัดหาเรือดำน้ำแบบ S26T จากจีนจะไม่ประสบความสำเร็จนั้น ยังมีความเป็นไปได้อยู่
(การเปลี่ยนแบบเรืออาจจะไม่ใช่ทางเลือกตามการตัดสินใจในขณะนี้ เพราะมีการตัดสินใจแน่ชัดแล้วว่าเลือกแบบเรือดำน้ำของจีนเท่านั้น)
เหมือนอย่างที่เคยตั้งประเด็นข้อสงสัยไปก่อนหน้านี้ครับว่า การที่กองทัพเรือสามารถจัดหาเรือดำน้ำมาเข้าประจำการในกองเรือดำน้ำได้ ถึงแม้ว่าจะเป็นเรือดำน้ำจีนที่มีประเด็นสงสัยในประสิทธิภาพความน่าเชื่อถือ
กับการที่กองทัพเรือไม่สามารถจัดหาเรือดำน้ำเข้าประจำการได้ ทำให้กองเรือดำน้ำต้องรอโอกาสใหม่ในโครงการจัดหาเรือดำน้ำต่อไปในอนาคตนั้น อย่างไรจะเหมาะสมกว่ากัน

ทั้งนี้กองทัพเรือมีความพยายามให้โครงการจัดหาเรือดำน้ำนี้สามารถพิจารณาได้ทันใน ครม.ชุดนี้และภายในปีงบประมาณนี้ คือต้องจัดซื้อได้ให้เร็วที่สุดภายในปี ๒๕๕๘ นี้
เพราะกว่าจะได้รับมอบเรือมาก็ไม่ต่ำกว่า ๖ปี รวมการฝึกอีกกว่าจะมีความพร้อมรบก็ไม่ต่ำกว่า ๘ปี ถ้ามีความล่าช้าออกไปโครงการเรือดำน้ำของกองทัพเรือก็จะตั้งอยู่บนความเสี่ยงต่อความไม่แน่นอนมากขึ้น

ก็ได้มีข่าวออกมาจากบางแหล่งว่าถ้าโครงการจัดหาเรือดำน้ำครั้งนี้ไม่ประสบความสำเร็จ กองทัพเรืออาจจะเปลี่ยนไปตั้งโครงการจัดหาเรือยกพลขึ้นบกระยะที่๒ แทน
โดยจะเป็นเรืออู่ยกพลขึ้นบก Landing Platform Dock ชุดใหม่แทนการต่อเรือชุด ร.ล.อ่างทอง(ลำที่๓) เพิ่ม เนื่องจากประสบการณ์ปัญหาความล่าช้าของอู่ ST Marine สิงคโปร์ในการแก้แบบเรือให้ตรงความต้องการของกองทัพเรือที่ผ่านมา
มีกระแสข่าวว่าอาจจะเป็นเรือจีน ซึ่งเป็นรุ่นส่งออกที่มีพื้นฐานจากเรือชั้น Type 071 ของกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน ระวางขับน้ำ 18,500tons ที่ประจำการแล้ว ๓ลำ กำลังสร้างอีก ๓ลำ
อย่างที่จีนเสนอต่อเรือ LPD ให้กองทัพเรือมาเลเซียที่ต้องการเรือขนาดประมาณ 13,000tons ตรงนี้ก็คงต้องมาดูอีกที เรื่องคุณสมบัติกับระบบอาวุธและอุปกรณ์ประจำเรือ
สำหรับโครงการจัดหาเรือยกพลขึ้นบกระยะที่๒ นี่ ส่วนตัวมองว่ากระแสต่อต้านของภาคประชาชนน่าจะน้อยกว่าโครงการจัดหาเรือดำน้ำเยอะครับ
เพราะกองทัพเรือสามารถกล่าวได้อย่างเต็มที่ว่า เรือ LPD สามารถนำมาใช้ในภารกิจช่วยเหลือประชาชนได้ อย่างการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางธรรมชาติ การกู้ภัยทางทะเล และอื่นๆตามที่มีข่าวออกมาตลอด
ถ้าโครงการจัดหาเรือดำน้ำถ้าไปต่อไม่ได้แล้วจริงๆ ส่วนตัวก็สนับสนุนให้ต่อเรือ LPD ใหม่มากกว่าครับ



https://www.facebook.com/172901006098345/photos/a.606279542760487.1073741827.172901006098345/905237066198065/?type=1&theater
ที่มา Page Air Traffic Control U-tapao
https://www.facebook.com/pages/Air-Traffic-Control-U-tapao/172901006098345
https://www.facebook.com/akares.yimmak

สำหรับความคืบหน้าโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงและกู้ภัยทางอากาศของกองทัพอากาศนั้น
ล่าสุดเครื่องบินลำเลียงหนัด An-124 ของยูเครนขนส่ง ฮ.๑๑ E725 เครื่องที่๔ หมายเลข 20304 จากฝรั่งเศสมาที่สนามบินอู่ตะเภาเมื่อเร็วๆนี้ คาดว่าจะมีการทำการประกอบและบินไปกองบิน๒ แล้ว
โดยก่อนหน้านี้ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ผู้บัญชาการทหารอากาศ พลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง ก็ได้เดินทางไปดูสายการผลิตของ ฮ.EC725 ที่โรงงาน Airbus Helicopters ที่ฝรั่งเศสไป
ซึ่งเครื่องที่ส่งมาที่ฝูงบิน๒๐๓ กองบิน๒ ก่อนหน้านี้ ๓เครื่องนั้น ก็เห็นภาพการฝึกศึกษารับคำแนะนำการติดตั้งอุปกรณ์เพื่อการปฏิบัติงานโดยเจ้าหน้าที่ฝูงกับหน่วยปฏิบัติการพิเศษพลร่มกู้ภัย(PJ/CCT)แล้วด้วย













https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=856963014351455&id=190797907634639
ที่มา Page พีเจ:พลร่มกู้ภัย กองทัพอากาศ
https://www.facebook.com/pages/พีเจพลร่มกู้ภัย-กองทัพอากาศ/190797907634639

ตามกำหนดการณ์ที่มีออกมาเข้าใจว่ากองทัพอากาศจะทำพิธีรับมอบเครื่องชุดแรกทั้ง๔เครื่องภายในเดือนสิงหาคมนี้ครับ