วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

กองทัพอากาศฟิลิปปินส์รับมอบเครื่องบินฝึกขับไล่ FA-50PH ชุดแรก

PH air force returns to supersonic age: Fighter jets arrive in Clark

NO LONGER A JOKE. Two FA-50PH aircraft arrive at the Air Force City base in Clark, Pampanga, on November 28, 2015. Photo by Edwardo Solo/Rappler

BAPTISM. Fire trucks give a 'water salute' to the new aircraft, following tradition, on November 28, 2015. Photo by Edwardo Solo/Rappler

DELIVERY. A South Korean pilot disembarks from a FA-50PH aircraft he flew to Air Force City base in Clark, Pampanga, on November 28, 2015. Photo by Edwardo Solo/Rappler

http://www.rappler.com/nation/114258-philippines-fa50-jets-arrive


วันที่ 28 พฤศจิกายนที่ผ่านมา กองทัพอากาศฟิลิปปินส์ได้ทำพิธีรับมอบเครื่องบินฝึกขับไล่ FA-50PH (LIFT: Lead-In Fighter Trainers) 2เครื่องแรกที่ฐานทัพอากาศ Clark จังหวัด Pampanga เกาะ Luzon
ในพิธีรับมอบนี้กองทัพอากาศฟิลิปปินส์ได้จัดเครื่องบินฝึกไอพ่น S-211 2เครื่องทำการบินหมู่ต้อนรับ FA-50 ที่ทำการบินส่งโดยนักบินเกาหลีเป็นรูปขบวนเพชร (Diamond Formation) และยิงเครื่องฉีดน้ำต้อนรับเมื่อเครื่องลงจอด

ฟิลิปปินส์ได้ลงนามจัดหาเครื่องบินฝึกขับไล่ KAI FA-50PH จากสาธารณรัฐเกาหลีจำนวน 12เครื่อง วงเงิน 18.9พันล้านเปโซฟิลิปปินส์ หรือ $401.6 million โดยอีก 10เครื่องจะทยอยส่งมอบตามมาในปี 2016 ถึงปี 2017
ซึ่งการจัดหา FA-50PH นี้ทำให้กองทัพอากาศฟิลิปปินส์มีเครื่องบินรบไอพ่นความเร็วเหนือเสียงประจำการในกองทัพอีกครั้งนับตั้งแต่ปลดประจำการเครื่องบินขับไล่ F-5A ไปในปี 2005
ทั้งนี้การจัดหาเครื่องบินฝึกขับไล่ FA-50 เป็นส่วนหนึ่งของแผนการปรับปรุงพัฒนาขีดความสามารถของกองทัพฟิลิปปินส์ตามนโยบายของประธานธิบดี  Benigno Aquino III วงเงิน $1.806 billion
ที่มีอีกโครงการใหญ่อีกโครงการหนึ่งของกองทัพฟิลิปปินส์คือโครงการจัดหาเรือฟริเกตวงเงิน $381.3 million ของกองทัพเรือฟิลิปปินส์ เพื่อเป็นการตอบสนองต่อภัยคุกคามจากจีนที่อ้างสิทธิครอบครองน่านน้ำทะเลจีนใต้ซึ่งเป็นข้อพิพาทพรมแดนกับฟิลิปปินส์

เครื่องฝึกขับไล่ FA-50 พัฒนาโดย KAI สาธารณรัฐเกาหลี ร่วมกับ Lockheed Martin สหรัฐฯ เป็นเครื่องบินฝึก/โจมตี/ขับไล่เบาสองที่นั่งเรียงกันเครื่องยนต์ไอพ่นความเร็วเหนือเสียงในตระกูล T-50 Golden Eagle โดย FA-50 เป็นเครื่องรุ่นที่มีขีดความสามารถทางการรบสูงสุด
ติดตั้งปืนใหญ่อากาศ 20mm ภายในลำตัว สามารถติดตั้งอาวุธอากาศสู่อากาศและอากาศสู่พื้นทั้งแบบธรรมดาและนำวิถีที่ตำบลอาวุธ 7จุด, Multi-Mode Radar, กล้องมองกลางคืน(NVIS), ระบบแจ้งเตือนการตรวจจับจาก Radar (RWR) และระบบปล่อยเป้าลวงต่อต้าน(CMDS)
โดย FA-50 เป็นตัวเลือกเครื่องบินรบที่มีราคาและค่าใช้จ่ายการบินประหยัดที่สุดสำหรับประเทศที่มีงบประมาณจำกัดอย่างฟิลิปปินส์ ถ้าเทียบกับเครื่องขับไล่แบบอื่น เช่น F-16 มือสองจากสหรัฐฯที่ฟิลิปปินส์ไม่เลือกจัดหาเนื่องจากประเมินว่ามีค่าใช้จ่ายสูงเกินไปครับ

วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Defense & Security 2015: อุตสาหกรรมอาวุธยุทโธปกรณ์ของตุรกี

งานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Defense & Security 2015 ซึ่งจัดขึ้นที่ IMPACT Hall 6-8 เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ ๒-๕ พฤศจิกายนนั้น
มาชมภาพบางส่วนของส่วนจัดแสดงของผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์จากตุรกีครับ

FNSS Defence Systems


FNSS ตุรกีแสดงผลิตภัณฑ์ยานยนต์ของตน เช่น รถรบทหารราบสายพาน ACV-15 AIFV(Armored Infantry Fighting Vehicle)
ซึ่งในกลุ่มประเทศ ASEAN สามารถส่งออกให้กับมาเลเซียพร้อมสิทธิบัติการผลิตในประเทศโดย DEFTECH ในชื่อ ACV-300 Adnan ติดป้อมปืนใหญ่กล 25mm Sharpshooter ๒๑๑คัน
และกองทัพบกฟิลิปปินส์ รุ่นรถสายพานลำเลียงสะเทินน้ำสะเทินบก(AAPC: Amphibious Armoured Personnel Carrier) ๖คันในปี 2010 ครับ

Mechanical and Chemical Industry Corporation (MKEK)






MKEK หรือ MKE ในความควบคุมของรัฐบาลตุรกี แสดงผลิตภัณฑ์ของตน
เช่นอาวุธปืนเล็กที่พัฒนาจากปืนที่ได้รับสิทธิบัตรการผลิตจากต่างประเทศ เช่น ปืนกลมือ ปืนเล็กสั้น และปืนเล็กยาว ที่พัฒนาจาก ปืนกลมือ HK MP5 ปืนเล็กยาว HK G3 และ HK33 ปืนกล HK MG3
เครื่องยิงจรวดต่อสู้รถถัง M72, เครื่องยิงลูกระเบิดกึ่งอัตโนมัติ 40x46mm เครื่องยิงลูกระเบิดอัตโนมัติ 40x53mm ระบบอาวุธปืนที่พัฒนาเองเช่น ปืนเล็กยาว MPT-76 7.62x51mm
เสื้อเกราะกันกระสุน กระสุนปืนเล็ก ลูกระเบิดยิงจากเครื่องลูกระเบิด กระสุนปืนใหญ่ และกระสุนปืนใหญ่รถถัง เป็นต้นครับ

ROKETSAN




บริษัท ROKETSAN ตุรกีแสดงข้อมูลและแบบจำลองผลิตภัณฑ์จรวด ระเบิดนำวิถี และอาวุธปล่อยนำวิถีของตน
เช่น อาวุธปล่อยนำวิถีร่อน SOM, ชุดระเบิดนำวิถีสำหรับระเบิดตระกูล Mk80s, จรวด T-122 Sakarya 122mm และ T-300 Kasirga 302mm
จรวดนำวิถี laser Cirit 2.75." และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นต่อต้านรถถัง Mizrak ครับ

Otokar




บริษัท Otokar ตุรกีแสดงข้อมูลและแบบจำลองผลิตภัณฑ์ยานยนต์ของตน เช่น
รถรบทหารราบสายพาน Tulpar ติดป้อมปืนใหญ่กล Mizrak 30mm, รถรบทหารราบล้อยาง Arma 8x8 ติดติดป้อมปืนใหญ่กล Mizrak 30mm
และรถเกราะล้อยาง 4x4 Cobra ติดป้อมปืน Remote แบบ Basok 7.62mm ครับ

ASELSAN





บริษัท ASELSAN ตุรกี แสดงผลิตภัณฑ์และแบบจำลองระบบยุทโธปกรณ์ Elctronic ของตน เช่น
ป้อมปืน Remote แบบ SMASH ติดตั้งปืนใหญ่กล 30mm Mk44 Bushmaster II สำหรับเรือผิวน้ำ, ป้อมปืน Remote แบบ SARP ติดตั้งปืนกล 12.7mm และ 7.62mm
ระบบตรวจการณ์ Eletro Optic แบบ FALCONEYE-MW และรถสายพานที่บังคับการ ระบบปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานอัตตาจร KORKUT 35mm ครับ

Turkish Aerospace Industries (TAI)



TAI ตุรกีแสดงข้อมูลและแบบจำลองผลิตภัณฑ์อากาศยานของตน เช่น
อากาศยานไร้คนขับ Anka MALE ISTAR UAV สำหรับภารกิจตรวจการณ์และรวบรวมข่าวกรอง เพดานบินกลางระยะทำการนาน
เครื่องบินฝึกใบพัด Hurkus และเฮลิคอปเตอร์โจมตี TAI/AgustaWestland T-129 ATAK ครับ

วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

กองทัพเรืออิสราเอลประสบความสำเร็จการทดสอบยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ Barak 8 ทำลายเป้าหมายครั้งแรก



WATCH: Navy carries out first successful interception test of Barak 8 ship defense missile 
http://www.jpost.com/Israel-News/Navy-IAI-carry-out-first-successful-interception-test-of-Barak-8-ship-defense-missile-435498


กองทัพเรืออิสราเอลและ Israel Aerospace Industries (IAI) ประสบความสำเร็จในการทดสอบยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศแบบ Barak 8 เข้าทำลายเป้าหมายได้เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายนที่ผ่านมา
การทดสอบยิงในทะเลจากเรือคอร์เวตชั้น Sa'aar 5 ชื่อ INS Lahav บริเวณทางใต้ของเมือง Haifa นั้น อาวุธปล่อยนำวิถี Barak 8 ประสบความสำเร็จในการทำลายเป้าอากาศในเวลา 7นาฬิกาตามเวลาท้องถิ่น
อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศแบบ Barak 8 เป็นโครงการร่วมระหว่างอิสราเอลและอินเดียในการพัฒนาระบบป้องกันทางอากาศสำหรับเรือผิวน้ำเพื่อสกัดกั้นภัยคุกคามจากอากาศยาน อาวุธปล่อยนำวิถี และจรวด
โดยบริษัท IAI อิสรเอลรับผิดชอบในการพัฒนาระบบควบคุมการยิง และ Rafael อิสราเอลรับผิดชอบการพัฒนาตัวอาวุธปล่อยนำวิถี ร่วมกับ DRDO อินเดีย
ซึ่ง Barak 8 มีขีดความสามารถและพิสัยการยิงมากกว่า 90km ไกลกว่า Barak 1 รุ่นแรกที่เป็นอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้ระยะยิงเพียง 12km ที่ประจำการในกองทัพเรืออิสราเอล กองทัพเรืออินเดีย กองทัพเรือสิงคโปร์ และกองทัพเรือชิลี

ทั้งนี้กองทัพเรืออิสราเอลจะนำ Barak 8 ติดตั้งในแท่นยิงแนวดิ่ง VLS 8-cell บนเรือคอร์เวตชั้น Sa'ar 5 จำนวน 3ลำที่ประจำการอยู่ร่วมกับระบบ Barak 1
และเรือคอร์เวตชั้น Sa'ar 6 จำนวน 4ลำที่สั่งต่อจากเยอรมนี(มีพื้นฐานจากเรือคอร์เวตชั้น Braunschweig กองทัพเรือเยอรมนี) ที่จะเริ่มเข้าประจำการในปี 2019
สำหรับภารกิจการป้องกันภัยทางอากาศและคุ้มครองแท่นขุดเจาะน้ำมันในเขตน่านน้ำของอิสราเอล
ส่วนกองทัพเรืออินเดียจะติดตั้งกับเรือของตนเช่น เรือพิฆาตชั้น Kolkata, เรือพิฆาตชั้น Visakhaptnam, เรือบรรทุกเครื่องบิน INS Vikramaditya, เรือบรรทุกเครื่องบิน INS Vikrant และเรือฟริเกตโครงการ Project 17A
โดยคาดว่าระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ Barak 8 จะพร้อมเข้าประจำการได้ในอีก 1-2ปีข้างหน้าครับ

วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Defense & Security 2015: อุตสาหกรรมอาวุธยุทโธปกรณ์ของอินเดีย

งานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Defense & Security 2015 ซึ่งจัดขึ้นที่ IMPACT Hall 6-8 เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ ๒-๕ พฤศจิกายนนั้น
มาชมภาพของส่วนจัดแสดงของผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์จากอินเดียบางส่วนครับ

Garden Reach Shipbuilders & Engineers Ltd (GRSE)



Mazagon Dock Limited (MDL)




BrahMos Aerospace Private Limited





Tata Motors Limited

TATA LPTA 715 4x4 Truck

ตัวแทนในอุตสาหกรรมอาวุธยุทโธปกรณ์ของประเทศอินเดียที่มาจัดแสดงในงานครั้งนี้ก็มากันเป็นจำนวนมากในพื้นที่ขนาดใหญ่ มีการจัดแสดงแบบจำลองและข้อมูลยุทโธปกรณ์หลายๆระบบ
ซึ่งจากการได้สอบถามเจ้าหน้าที่ประจำส่วนจัดแสดงชาวอินเดียของแต่ละบริษัทนั้นพวกเขามีความภูมิใจมากว่าแต่ละระบบที่นำมาจัดแสดงล้วนเป็นระบบที่ทำในอินเดียทั้งสิ้น(Made in India)
แม้ว่าระบบอาวุธยุทโธปกรณ์อาจจะยังไม่ได้รับความสนใจจากกองทัพไทยมากนักในขณะนี้ แต่จากการที่กองทัพบกไทยได้ทดสอบสมรรถนะของรถบรรทุก TATA LPTA 715 4x4 ไปล่าสุด
ทั้งการวิ่งบนถนน 3,000km, เคลื่อนที่ในบ่อโคลน เครื่องกีดขวาง บ่อทราย ข้ามน้ำ ที่ลาดชัน ขอนไม้(คอนกรีต), ทดสอบการบรรทุกบนรถพ่วงชานต่ำ การช่วยดึงตัวเองด้วยกว้าน,
การถอดและใส่เครื่องยนต์ และเครื่องเปลี่ยนความเร็ว, ทดสอบลากเครื่องยิงลูกระเบิด 120mm ปืนใหญ่ 105mm นั้น ก็ทำให้ TATA (ร่วมงานกับบริษัทชัยเสรีในปี ๒๕๕๖) หวังที่จะขายรถบรรทุกทางทหารของตนให้กับกองทัพไทยได้มากขึ้น
ซึ่งทางอินเดียเองก็สนใจที่จะเพิ่มความร่วมมือด้านความมั่นคงและการพัฒนาส่งออกอาวุธให้กับไทยมากกว่านี้ในอนาคตด้วยครับ

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

นาวิกโยธินสหรัฐฯเลือก BAE Systems และ SAIC เป็นผู้แข่งขันในโครงการจัดหารถเกราะล้อยางสะเทินน้ำสะเทินบก ACV

USMC selects BAE Systems, SAIC for Amphibious Combat Vehicle competition
BAE Systems and Iveco teamed up for the USMC's ACV competition. The vehicle has no axel, so it can distribute power among the eight-wheel stations. Source: IHS/Geoff Fein
http://www.janes.com/article/56226/usmc-selects-bae-systems-saic-for-amphibious-combat-vehicle-competition

นาวิกโยธินสหรัฐฯได้ประกาศเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายนที่ผ่านมาว่าได้เลือกทีมพัฒนาของ BAE Systems (Iveco SuperAV) และ SAIC (ST Kinetics Terrex 2) เป็นสองผู้แข่งขันในโครงการจัดหารถเกราะสะเทินน้ำสะเทินบกล้อยาง 8x8 Amphibious Combat Vehicle (ACV) 1.1
โดยผู้ที่เข้าแข่งขันรายอื่นที่ไม่ผ่านการคัดเลือกซึ่งส่งแบบรถของตนเข้าแข่งขันในโครงการตั้งแต่เดือนกันยายนที่ผ่านมานี้มี Advanced Defence Vehicle Systems, General Dynamics Land Systems และ Lockheed Martin
นาวิกโยธินสหรัฐฯได้ประกาศสัญญาจัดหารถต้นแบบสำหรับขั้นการพัฒนาวิศวกรรมและการผลิตของโครงการ ACV 1.1 โดย BAE Systems Land and Armaments ได้รับงบประมาณ $103.8 million และ SAIC ได้รับงบประมาณ $121.5 million

John Garner ผู้จัดการโครงการ Advanced Amphibious Assault ของนาวิกโยธินสหรัฐฯได้กล่าวต่อสื่อมวลชนว่า นาวิกโยธินสหรัฐฯจะจัดหารถต้นแบบสำหรับการทดสอบจำนวน 13คันจากแต่ละตัวแทนที่ถูกเลือก
และเมื่อได้รับงบประมาณเพิ่มเติมก็จะจัดซื่อเพิ่มอีก 3คันรวมเป็น 16คันสำหรับแต่ละตัวแทนบริษัทที่ถูกเลือก ซึ่งนี่หมายถึงระยะเวลาที่สั้นลงสำหรับช่วงเวลาทดสอบ
เพราะการจัดหารถเพิ่มในจำนวนมากขึ้นจะลดระยะเวลาที่ต้องแบ่งไปสำหรับการซ่อมแซมรถ และยังให้นาวิกโยธินสามารถฝึกการปฏิบัติการกับรถแต่ละแบบได้มากขึ้น
Garner กล่าวว่านาวิกโยธินสหรัฐฯจะเริ่มได้รับมอบรถต้นแบบในเดือนมกราคม 2017 และจะทดสอบรถทะเงการเคลื่อนที่ในน้ำ การป้องกันแรงระเบิด การขับเคลื่อนภาคพื้นดิน และการลำเลียงพล
การเข้าสู่ขั้นเปิดสายการผลิตระดับต่ำ(LRIP: Low-Rate Initial Production) คาดว่าจะมีขึ้นในเดือนมีนาคม หรือ เมษายน 2017 และการคัดเลือกบริษัทที่จะเป็นผู้สร้างรถเพิ่มอีก4คัน สำหรับการทดสอบยิงจริง
และตามด้วยสัญญาการผลิตรถในระดับสายการผลิตจริงอีก 204คันจะมีตามมาภายหลังในช่วงระหว่างการเปิดสายการผลิตระดับต่ำและสายการผลิตเต็มอัตราที่จะเริ่มส่งมอบราวปี 2020
คาดว่างบประมาณรวมในโครงการ ACV 1.1 ซึ่งเป็นรุ่นลำเลียงพลจะอยู่ที่ $1.2 billion โดยคาดว่าจะมีการประกาศผู้ชนะโครงการในปี 2018

โครงการ ACV ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อทดแทนโครงการรถเกราะสายพานสะเทินน้ำสะเทินบก Expeditionary Fighting Vehicle (EFV) ที่ถูกยกเลิกไปหลายปีก่อนหน้านี้เนื่องจากใช้ระยะพัฒนาเวลานานและงบประมาณบานปลาย
โดย EFV มีคุณสมบัติการเคลื่อนที่ขณะอยู่ในน้ำด้วยความเร็วสูง สามารถบรรทุกกำลังพลได้อย่างน้อย 10นาย โดยตั้งเป้าสูงสุดที่ 13นายหรือหนึ่งหมู่ปืนเล็กนาวิกโยธิน เพื่อทดแทนรถเกราะสะเทินน้ำสะเทินบก AAV7 ที่ใช้งานมานาน
ทั้งนี้นาวิกโยธินสหรัฐฯตั้งเป้าว่าจะได้รับมอบรถรบในโครงการ ACV 1.1 และ ACV 1.2 รวมถึงโครงการปรับปรุงรถเกราะสะเทินน้ำสะเทินบก AAV7A1 เพื่อใช้งานต่อไปอีกภายในปีงบประมาณ 2028 ครับ

วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Defense & Security 2015: อุตสาหกรรมอาวุธยุทโธปกรณ์ของรัสเซีย

งานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Defense & Security 2015 ซึ่งจัดขึ้นที่ IMPACT Hall 6-8 เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ ๒-๕ พฤศจิกายนนั้น
มาชมภาพของส่วนจัดแสดงของผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์จากรัสเซียครับ

JSC Rosoboronexport, TECMASH, RPA Bazalt, Rostec and Kalashnikov Concern














ระบบอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ตัวแทนจากรัสเซียนำมาจัดแสดงในงานปีนี้ดูจะเน้นไปที่ระบบอาวุธสำหรับทหารราบเป็นหลัก เช่น อาวุธขนาดเล็กและอาวุธเบา สำหรับทหารราบ
ตั้งแต่ปืนเล็กยาวจู่โจมตระกูล AK และ AN-94 ปืนกลมือ Vityaz ปืนเล็กยาวกึ่งอัตโมัติ ปืนเล็กสั้นกึ่งอัตโนมัติ ปืนลูกซองกึ่งอัตโนมัติตระกูล Saiga ปืนซุ่มยิง SVD และ SV-98
จนถึงเครื่องยิงลูกระเบิด DP-64 และเครื่องยิงจรวดต่อสู้รถถังอย่าง RPG-7, RPG-27, RPG-28, RPG-30, RPG-29 เป็นต้น
นอกนั้นจะเป็นการแสดงแบบจำลองตั้งแต่ กระสุนปืนใหญ่และระเบิด รถหุ้มเกราะล้อยาง BTR-82A รถถังหลัก T-90S เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง Mil และ Kamov เครื่องบินลำเลียง IL-76MD และเรือดำน้ำแบบ Kilo เป็นต้นครับ

วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

กองทัพเรือสหรัฐฯประสบความสำเร็จในการทดสอบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Harpoon Block II+

U.S. Navy Completes Flight Test of New Network-Enabled AGM-84N Harpoon Block II+ Missile
An F/A-18 carries the new AGM-84N Harpoon Block II+ missile during a free flight test Nov. 18 at Point Mugu's Sea Range in California. The Navy plans to deliver the Block II+ variant to the fleet in 2017. (U.S. Navy photo)
http://www.navyrecognition.com/index.php?option=com_content&task=view&id=3256

กองทัพเรือสหรัฐฯประสบความสำเร็จในทดสอบการบินแบบอิสระของอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำ AGM-84N Harpoon Block II+ ที่ติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่ F/A-18E/F Super Hornet
เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายนที่ผ่านที่สถานีทดสอบอาวุธทางทะเล Point Mugu มลรัฐ California

โดย AGM-84N Harpoon Block II+ เป็นการปรับปรุงล่าสุดของอาวุธปล่อยนำวิถีตระกูล Harpoon ที่เพิ่มขีดความสามารถในการรับข้อมูลระหว่างการบินเพื่อเพิ่มความสามารถในการค้นหาและโจมตีเป้าหมายที่กำลังเคลื่อนที่ทางทะเล
ผ่านทางระบบ Strike Common Weapon Data Link (SCWD) ผ่าน Interface Bus แบบ MIL-STD-1760 ปรับปรุงระบบนำวิถีและ Software ควบคุมการปฏิบัติการบิน แและการเชื่อมโยงและปรับปรุงเป้าหมายขณะทำการบิน
และเพิ่มขีดความสามารถด้วยระบบนำวิถีดาวเทียม GPS และระบบค้นหา Active Radar เพิ่มเติมจากรุ่น Harpoon Block II เดิม

"การทดสอบการบินอิสระที่ประสบความสำเร็จนี้เป็นความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ร่วมกันระหว่างทีมงานของ Boeing และกองทัพเรือ และยังสะท้อนถึงการทำงานอย่างหนักและการอุทิศตนของพวกเขาด้วย
เรามีกำหนดการส่งมอบขีดความสามารถอันสำคัญนี้ให้กับกองเรือภายในปี 2017 ซึ่งทำให้กองทัพเรือสหรัฐฯมีความได้เปรียบอย่างยิ่งในสงครามต่อต้านเรือผิวน้ำ"
นาวาโท Matt Farr รองผู้จัดการโครงการ Harpoon/Standoff Land Attack Missile-Extended Range กล่าว

ซึ่งการทดสอบการบินอิสระของอาวุธปล่อยนำวิถีนี้เป็นส่วนแรกของขั้นตอนการทดสอบการทำงานระบบแบบจากต้นจนจบ(end-to-end functionality test) ระหว่างที่ตัวจรวดใช้แรงเฉื่อยก่อนทำการบินจนเข้าชนเป้าหมาย
การทดสอบได้ยืนยันว่าอาวุธปล่อยนำวิถีสามารถรับข้อมูลตำแหน่งเป้าหมายที่มีการปรับปรุงข้อมูลใหม่จากเครื่องบินขับไล่ F/A-18 ขณะทำการบินผ่านเครือข่าย Datalink
โดยอาวุธปล่อยนำวิถียืนยันเป้าหมายที่กำลังเคลื่อนที่และเปิดระบบค้นหาแบบ Active Radar ของตัวจรวดและนำวิถีตัวมันเองอย่างอัตโนมัติพุ่งชนเป้าหมาย
การทดสอบนี้เป็นจุดสูงสุดของการทำงานร่วมของ 152ห้องทดสอบปฏิบัติงาน, การทดสอบอากาศยานภาคพื้นดิน 15ครั้ง และการบินทดสอบ 16เที่ยวบิน ตามมาด้วยการทดสอบตามความต้องการในการพัฒนาเพิ่มเติมในปีงบประมาณ 2016

"อาวุธปล่อยนำวิถี Harpoon เป็นผู้นำสูงสุดของระบบอาวุธต่อต้านเรือผิวน้ำที่ประจำการในวันนี้ และเรากำลังทำงานเพื่อให้แน่ใจว่ามันยังคงทำงานได้และเป็นอันตรายถึงตายต่อไปในอนาคต
Block II + เป็นขีดความสามารถอันสำคัญยิ่งสำหรับเรา และเราจะจัดการทุกอย่างที่จะมีโอกาสก้าวมาเป็นภัยคุกคามทางทะเล ด้วยการปรับปรุงเพิ่ม ระยะ ความอยู่รอด และความอันตรายของ Harpoon อย่างต่อเนื่อง"
นาวาเอก Jaime Engdah ผู้จัดการโครงการ Precision Strike Weapons กล่าว

อาวุธปล่อยนำวิถีตระกูล Harpoon เป็นระบบที่ออกแบบมาสำหรับการโจมตีเป้าหมายเรือผิวน้ำและเป้าหมายบนบกด้วยความแม่นยำสูงในพิสัยการยิงไกลเกินระยะขอบฟ้า
โดยเริ่มเข้าประจำการในกองทัพเรือสหรัฐฯตั้งแต่ปี 1977 ติดตั้งในหลายระบบยิงทั้งจากเรือรบผิวน้ำ อากาศยาน และเรือดำน้ำ ปัจจุบันมีการส่งมอบมากกว่า 7,500นัดให้กองทัพเรือสหรัฐฯและอีก 29ประเทศทั่วโลกรวมถึงกองทัพเรือไทยด้วยครับ

วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Defense & Security 2015: อุตสาหกรรมอาวุธยุทโธปกรณ์ของอิสราเอล

งานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Defense & Security 2015 ซึ่งจัดขึ้นที่ IMPACT Hall 6-8 เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ ๒-๕ พฤศจิกายนนั้น
มาชมบางส่วนของของส่วนจัดแสดงของผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์จากอิสราเอลครับ

Rafael Advanced Defense Systems
สำหรับบริษัท Rafael อิสราเอลในปีนี้ก็นำเสนอระบบยุทโธปกรณ์ของตนในงานบางส่วน เช่น



ระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังตระกูล SPIKE ซึ่งแม้ว่ากองทัพบกไทยจะเคยเลือกเป็นอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังแบบใหม่แทน M47 Dragon ที่ใช้งานมานานไป แต่เนื่องจากยังไม่มีงบประมาณจึงไม่ได้จัดหา
ทาง Rafael เองก็ยังเสนอระบบ SPIKE ให้กองทัพบกไทยอยู่ถ้าจะมีโครงการจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังใหม่ในอนาคต เช่นเดียวกับกองทัพบกสิงคโปร์ที่จัดหาไปใช้งาน
ซึ่งถ้าไปชมที่ส่วนจัดแสดงของ ST Kinetic สิงคโปร์จะมีการตั้งแสดงระบบ SPIKE MR และมีเจ้าหน้าสาธิตการใช้งานให้ทดลองด้วยตนเองซึ่งได้รับความสนใจจากเจ้าหน้าที่กองทัพไทยมากครับ

ส่วนระบบป้อมปืน Remote Weapon Station ตระกูล SAMSON RWS นั้นทาง Rafael ก็เสนอรุ่นขนาดต่างๆสำหรับติดตั้งกับรถเกราะของไทยที่มีอยู่
ตั้งแต่รุ่น SAMSON Mini ติดปืนกล 5.56mm, 7.62mm, 12.7mm, 14.5mm หรือเครื่องยิงลูกระเบิดอัตโนมัติ 40mm สำหรับรถเกราะล้อยาง 4X4 ขนาดเล็ก
จนถึง SAMSON 30mm ติดปืนใหญ่กล ATK Mk44 30x173mm หรือ 2A42 30x165ทท สำหรับรถเกราะล้อยาง 8x8 อย่าง DTI Black Widow Spider
พร้อมเสริมป้อมปืน SAMSON กับการติดระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง SPIKE ด้วยครับ




I-Derby/I-Derby ER และ Python 5 ทั้งรุ่นอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ ซึ่งคาดว่าจะเป็นอาวุธใหม่สำหรับโครงการปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ F-5 ของกองทัพอากาศไทย
และรุ่นพื้นสู่อากาศสำหรับระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศ SPYDER ซึ่งในภูมิภาค ASEAN นี้ได้รับการจัดหาจากกองทัพอากาศสิงคโปร์ และล่าสุดกองทัพประชาชนเวียดนามครับ

Israel Military Industries (IMI)
IMI อิสราเอล ได้แสดงผลงานระบบยุทโธปกรณ์ของตนในงานบางส่วน เช่น


LYNX - Advanced Artillery Rockets & Missile System ระบบควบคุมการยิงเครื่องจรวดหลายลำกล้องและอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นขั้นก้าวหน้าความแม่นยำสูง


120MM GMM(Guided Mortar Munition) ลูกระเบิดนำวิถีสำหรับเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 120mm ความแม่นยำสูง นำวิถีด้วย GPS หรือ Semi-Active Laser
ระยะยิงขีปนวิถีโค้ง 7.2km ระยะยิงแบบร่อนเข้าเป้าหมาย 9km ค่าความคลาดเคลื่อนจากเป้าหมาย CEP เมื่อนำวิถีด้วย GPS ไม่เกิน 10m เมื่อนำวิถีด้วย Laser ไม่เกิน 1.5m

MPRS - Multi-Purpose Rifle System ระบบควบคุมการยิงกระสุนลูกระเบิดสำหรับเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 40x46mm สำหรับปืนเล็กยาวมาตรฐาน NATO
ประกอบด้วยระบบควบคุมการยิงขั้นก้าวหน้าสำหรับกำหนดเป้าหมายด้วยเครื่องวัดระยะ Laser ระบบคำนวนขีปนวิถี และกล้องเล็งตรง เพื่อส่งข้อมูลให้กระสุนลูกระเบิดนำวิถี 40mm เล็งยิงทำลายเป้าหมายตามที่ตั้งไว้อย่างแม่นยำ
เช่นระเบิดแตกอากาศ ระเบิดเมื่อกระทบจุดที่กำหนด ระเบิดหน่วงเวลา และทำลายตนเองเป็นต้นครับ


RED SKY-2 ระบบควบคุมการยิงขั้นก้าวหน้าสำหรับติดตั้งประกอบกับระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้มาก(VSHORAD:Very Short Range Air Defense) แบบประทับบ่ายิง(MANPAD) ได้ทุกแบบ


สำหรับความคืบหน้าของโครงการปรับปรุงรถถังหลัก M60A1 ที่ทาง IMI เสนอให้กองทัพบกไทยนั้น ไม่ได้ข้อมูลเพิ่มอะไรมากนัก
ทางตัวแทนของ IMI กล่าวเพียงว่า ทาง IMI ได้มีความร่วมมือกับกองทัพบกไทยมานาน (เช่นการถ่ายทอด Technology การผลิตกระสุนปืนใหญ่รถถัง และการปรับปรุงปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน M163 TVADS Super Vulcan)
IMI เป็นบริษัทเดียวในขณะนี้ที่มีประสบการณ์จริงในการปรับปรุงรถถังหลักตระกูล Patton จำนวนมากทั้ง M48 และ M60 ทั้งที่ประจำการในกองทัพอิสราเอล และต่างประเทศ เช่น M60T Sabra ของกองทัพบกตุรกี
IMI หวังว่ากองทัพบกไทยจะพิจารณาข้อเสนอของบริษัทและมีความร่วมมือกันมากยิ่งขึ้นในอนาคตครับ

Aeronautics Defense Systems


Aeronautics อิสราเอลได้จัดแสดงข้อมูลผลิตภัณฑ์อากาศยานไร้คนบังคับหลายแบบในงาน
เช่น UAV ตระกูล Orbiter ที่เมื่อปี 2014 กองทัพประชาชนเวียดนามได้จัดหารุ่น Orbiter 2 สำหรับชี้เป้าหมายให้ปืนใหญ่สนาม และสนใจจะจัดหาเพิ่มเติม ในรุ่น Orbiter 3 ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น,
Aerostar ที่กองทัพอากาศไทยจัดหาไปประจำการฝูงบิน๔๐๔ กองบิน๔ จำนวน ๕เครื่อง ตามที่ได้เคยรายงานไป และ Dominator เป็นต้นครับ

Israel Aerospace Industries (IAI)
IAI จัดแสดงผลงานผลิตภัณฑ์บางส่วนในเครือของตนเช่น


เรือตรวจการณ์ความเร็วสูง SUPER DVORA Mk III ที่ประจำการในกองทัพเรืออิสราเอล และอีกหลายประเทศ ซึ่งล่าสุดได้รายงานข่าวกองทัพเรือพม่าสนใจจะจัดหาจำนวน ๖ลำ



ยานผิวน้ำไร้คนบังคับ KATANA USV และอากาศยานไร้คนบังคับ HERON UAV

Israel weapon industries (IWI)
IWI อิสราเอลได้จัดแสดงผลิตภัณฑ์อาวุธปืนของตนบางส่วนเช่น


ปืนกลมือ Uzi Pro 9x19mm



ปืนเล็กยาวจู่โจมตระกูล Galil ACE ทั้ง ACE 31 และ ACE 32 ขนาด 7.62x39mm ซึ่งกองทัพประชาชนเวียดนามจัดหาพร้อมสิทธิบัตรการผลิตในประเทศเพื่อทดแทนปืนเล็กยาวตระกูล AK-47
และ ACE-N 22 ขนาด 5.56x45mm ติดเครื่องยิงลูกระเบิด GL 40 ขนาด 40x46mm


ปืนพกตระกูล Jericho 9x19mm


ปืนกลเบา NEGEV SF ขนาด 5.56x45mm และ NEGEV NG-7 ขนาด 7.62x51mm



ปืนเล็กยาวตระกูล TAVOR แบบต่างๆเช่น TARVOR TAR และ X95


ปืนซุ่มยิงกึ่งอัตโนมัติ Galil Sniper S.A ขนาด 7.62x51mm


ปืนซุ่มยิงลูกเลื่อน DAN .338 ติดกล้องเล็งวัดระยะ Laser และระบบควบคุมการยิงแบบ MEPRO MESLAS กำลังขยาย 10x40




ผลิตภัณฑ์ของ Meprolight MEPRO อิสราเอล เช่น กล้องสร้างภาพความร้อน กล้องมองกลางคืน และกล้องช่วยเล็งอาวุธปืน


ระบบ Radar ตรวจจับวัตถุที่อยู่หลังกำแพงตระกูล CAMERO Xaver สำหรับภารกิจด้านความมั่นคงและการบังคับใช้กฎหมาย เช่นการช่วยตัวประกัน และเข้าตรวจค้นอาคารสถานที่ปิดครับ