วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Defense & Security 2015: อุตสาหกรรมอาวุธยุทโธปกรณ์ของสาธารณรัฐเกาหลี

งานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Defense & Security 2015 ซึ่งจัดขึ้นที่ IMPACT Hall 6-8 เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ ๒-๕ พฤศจิกายนนั้น
มาชมภาพบางส่วนของส่วนจัดแสดงของผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์จากสาธารณรัฐเกาหลีกันครับ

Korea Aerospace Industries (KAI)





บริษัท KAI สาธารณรัฐเกาหลีมีการจัดแสดงผลิตภัณฑ์อากาศยานตน โดยตัวที่เด่นที่สุดย่อมจะเป็น KAI T-50 Golden Eagle ซึ่งกองทัพอากาศไทยได้ลงนามจัดหาชุดแรกไป ๔เครื่องตามที่ได้เคยรายงานไปแล้ว

จากการสอบถามข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ของ KAI ชาวเกาหลีใต้และการแสดงแบบจำลองส่วนตัวค่อนข้างเชื่อว่าเครื่อง T-50TH รุ่นที่กองทัพอากาศไทยจะจัดหานั้นน่าจะเป็นรุ่นติดอาวุธ TA-50 LIFT (Lead-In Fighter Trainer) หรือ FA-50 Combat Aircraft
ซึ่งมีขีดความสามารถในการใช้อาวุธในระดับเครื่องบินขับไล่/โจมตีเบา โดยติดตั้งปืนใหญ่อากาศ General Dynamics A-50 สามลำกล้องหมุนขนาด 20mm Vulcan ความจุ ๒๐๕นัด ภายในลำตัว
และมีขีดความสามารถในการใช้อากาศสู่อากาศอย่างน้อยคืออาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ AIM-9 Sidewinder รวมถึงอาวุธอากาศสู่พื้นแบบนำวิถีและไม่นำวิถีต่างๆ เช่น
ระเบิดธรรมดาตระกูล Mk80s เช่น Mk82 500lbs, Mk83 1000lbs และ Mk84 2000lbs, จรวด 2.75" FFAR ในกระเปาะจรวด LAU-68 ๗นัด หรือ LAU-3A ๑๙นัด, ระเบิดอมภัณฑ์ย่อย Mk20 Rockeye II, CBU-52, CBU-58 และ CBU-71
อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น AGM-65 Maverick โดยในรุ่นเครื่องบินขับไล่ FA-50 สามารถใช้ระเบิดนำวิถีดาวเทียม JDAM และระเบิดอมภัณฑ์ย่อยมีระบบตรวจจับและเข้าทำลายเป้าหมาย SFW(Sensor Fuzed Weapon) เช่น CBU-103, CBU-104 และ CBU-105 WCMD(Wind Corrected Munitions Dispenser)
ทั้งนี้ T-50TH ของกองทัพอากาศไทยจะเป็นรายแรกที่จัดหาพร้อมระบบการฝึก Embedded Tactical Training System (ETTS) แต่ยังไม่มีข้อมูลว่าระบบ Radar ที่จะติดตั้งกับเครื่องจะเป็น AN/APG-67 (T-50) หรือ EL/M-2032 (TA-50 และ FA-50)

มีเรื่องน่าสนใจอีกอย่างคือที่ส่วนจัดแสดงของ Lockheed Martin สหรัฐฯที่เป็นผู้ออกแบบ T-50 Golden Eagle ร่วมกับ KAI
โดย Lockheed Martin นั้นยังเป็นหุ้นส่วนร่วมกันกับ KAI ในการเสนอ T-50 Golden Eagle แข่งขันในโครงการจัดหาเครื่องบินฝึก T-X ของกองทัพอากาศสหรัฐฯทดแทน T-38 Talon
ได้มีการนำเครื่องจำลองการบิน T-50 Golden Eagle Simulator มาทำการสาธิตในงานด้วย(แอบอยู่ในห้องด้านใน)
แต่เนื่องจากว่าผมไม่แน่ใจว่าทาง Lockheed Martin จะนำเครื่อง Simulator สาธิตให้เฉพาะเจ้าหน้าที่ของกองทัพเท่านั้นหรือไม่ ประกอบกับข้อจำกัดของเวลาก็เลยไม่ได้มีโอกาสทดสอบขับ T-50 Golden Eagle
ก็หวังว่างาน Defense & Security 2017 ซึ่งใกล้กับปีที่จะส่งมอบ T-50TH ชุดแรกของกองทัพอากาศไทยในเดือนมีนาคม 2018 ทาง Lockheed Martin หรือ KAI จะนำ T-50 Golden Eagle Simulator มาจัดแสดงสาธิตอีกครั้ง
สำหรับผลิตภัณฑ์อื่นๆของ KAI เช่น เครื่องบินฝึกใบพัด KT-1 และเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง KUH-1 นั้น ทาง KAI ก็หวังว่าทางกองทัพไทยจะให้ความสนใจในอนาคตด้วยครับ

Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering (DSME)









บริษัท DSME สาธารณรัฐเกาหลีก็มาจัดแสดงแบบจำลองผลิตภัณฑ์ของตนบางส่วน เช่นเรือฟริเกต FFX, เรือพิฆาต KDX-II และ KDX-III, เรือดำน้ำ DSME 1400 และ KSS III รวมถึงเรือส่งกำลังบำรุงและสนับสนุนการรบ
อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวความคืบหน้าของโครงการเรือฟริเกตสมรรถนะสูง DW3000H ที่กองทัพเรือไทยสั่งต่อ โดยแบบจำลองเรือที่แสดงในงานยังเป็นแบบเรือเก่าที่ยังไม่ได้ปรับแบบเรือแก้ไขตำแหน่งอาวุธและอุปกรณ์ใหม่อยู่
หลังจากที่ได้มีพิธีตัดแผ่นเหล็กเรือฟริเกตสมรรถนะสูงลำแรก เมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคมที่ผ่านมา การก่อสร้างก็กำลังดำเนินการอยู่ตามกำหนดการที่วางไว้หลังการปรับปรุงแบบเรือและขยายระยะเวลาดำเนินการส่งมอบโครงการอีก ๖๐วัน รวมเป็น ๑,๘๖๐วัน

DSME discusses second frigate and submarine procurement with Royal Thai Navy
http://www.janes.com/article/55737/dsme-discusses-second-frigate-and-submarine-procurement-with-royal-thai-navy

ทั้งนี้ตามรายงานของ Jane's นั้นทางบริษัท DSME คาดหวังที่จะให้กองทัพเรือไทยมีการลงนามสัญญาจัดหาเรือฟริเกต DW3000H ลำที่สองภายในปี 2016(พ.ศ.๒๕๕๙)
โดยตามข้อตกลงเรือฟริเกตสมรรถนะสูงลำที่๒นี้ ทาง DSME จะมีการถ่ายทอด Technology และดำเนินการสร้างภายในอู่ของไทย

อีกทั้งในส่วนของโอกาสของเรือดำน้ำแบบ DSME 1400 นั้นก็ได้สอบถามไปยังตัวแทนของ DSME ครับว่า ในเมื่อกองทัพเรือแลือกแบบเรือดำน้ำ S26T ของจีนไปแล้ว จะมีความเป็นไปได้มากแค่ไหนที่กองทัพเรือจะพิจารณา DSME 1400
ทาง DSME กล่าวว่ากองทัพเรือประเทศหนึ่งไม่จำเป็นต้องมีเรือดำน้ำเพียงชั้นเดียวประจำการ ซึ่งแบบเรือดำน้ำ DSME 1400 ก็ยังคงจะเป็นตัวเลือกหนึ่งที่ทาง DSME ยังเสนอให้ไทยอยู่
(ตัวอย่างเช่นกองทัพเรืออินเดียซึ่งมีเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าทั้ง U209, Kilo และ Scorpene ยังไม่รวมเรือดำน้ำโจมตีนิวเคลียร์ Akula ที่เช่าจากรัสเซีย และเรือดำน้ำนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ Arihant ที่ออกแบบสร้างเอง)

แต่ตรงนี้ส่วนตัวมองว่าอาจจะเป็นไปได้ยากที่กองทัพเรือไทยจะมองแผนการจัดหาเรือดำน้ำมาประจำการสองชุด นอกจาก S26T เพราะนั้นย่อมหมายถึงงบประมาณที่ต้องใช้อีกเป็นจำนวนมาก ที่ขนาด S26T ตอนนี้เรื่องก็ดูเงียบๆไปแล้ว
แต่ในอีกแง่คือการตัดสินใจของกองทัพเรือก็ยังมีโอกาสเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคตครับ

S&T Motiv





บริษัท S&T Motiv สาธารณรัฐเกาหลีแสดงผลิตภัณฑ์อาวุธปืนของตนที่เข้าประการในกองทัพสาธารณรัฐเกาหลีและเพื่อส่งออก เช่น
ปืนพก LH9 9mm, ปืนกลมือเก็บเสียง K7 9mm, ปืนเล็กสั้น K2Carbine 5.56mm, ปืนซุ่มยิง K-14 7.62mm, ปืนกลเบา K3PARA 5.56mm, ปืนกล K12 7.62mm และปืนกลหนัก K6 12.7mm

Hanwha and Hanwha Thales


บริษัท Hanwha และ Hanwha Thales สาธารณรัฐเกาหลีแสดงผลิตภัณฑ์เครื่องกระสุนและอุปกรณ์ตรวจจับ

Poongsan Corporation


บริษัท Poongsan สาธารณรัฐเกาหลีแสดงผลิตภัณฑ์เครื่องกระสุน ลูกระเบิด และกระสุนปืนใหญ่



เกาหลีใต้เป็นประเทศหนึ่งที่ให้ความสำคัญจริงจังในการจัดแสดงนำเสนอผลงานผลิตภัณฑ์อาวุธยุทโธปกรณ์ของตนต่อกลุ่มประเทศ ASEAN
โดยเฉพาะกับไทยที่มีความสัมพันธ์ทางทหารอย่างแนบแน่นนับตั้งแต่ที่ไทยส่งกำลังทหารเข้าร่วมรบเป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังสหประชาชาติในสงครามเกาหลีเมื่อ ๖๕ปีก่อน
ทางเกาหลีใต้เองก็จึงหวังที่จะเปิดตลาดอาวุธในไทยและกลุ่ม ASEAN ได้มากกว่านี้ในอนาคตครับ