วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Defense & Security 2015: อุตสาหกรรมอาวุธยุทโธปกรณ์ของจีนและญี่ปุ่น

งานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Defense & Security 2015 ซึ่งจัดขึ้นที่ IMPACT Hall 6-8 เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ ๒-๕ พฤศจิกายนนั้น
มาชมภาพบางส่วนของส่วนจัดแสดงของผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์จากสาธารณรัฐประชาชนจีนและญี่ปุ่นครับ

NORINCO (China North Industries Corporation)










ผู้จัดแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์จากจีนอาจจะไม่ได้มาออกงานในครั้งนี้มากนัก โดยผู้จัดแสดงหลักของจีนในงานคือ Norinco ซึ่งแสดงแบบจำลองผลิตภัณฑ์สำหรับส่งออกต่างประเทศของตนในงาน
เช่น รถถังหลัก VT4, รถหุ้มเกราะล้อยาง 8x8 VN1, รถหุ้มเกราะล้อยาง 4x4 VN4, รถหุ้มเกราะเบากันทุ่นระเบิด 4x4 VP11, รถบรรทุกพ่วงชานต่ำ 4410A
ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานอัตตาจรล้อยาง 35mm แฝดสอง FW2, อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยกลาง Sky Dragon 50
เครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องนำวิถี AR3 300mm/370mm, เครื่องยิงจรวดหลายลำกล้อง SR4 122mm และ ปืนใหญ่เบาวิถีโค้ง AH4 155mm เป็นต้น
ซึ่ง Norinco และผู้ผลิตยุทโธปกรณ์จากจีนรายอื่นพยายามนำเสนอระบบอาวุธที่มีความทันสมัยและก้าวหน้าสู่สำหรับส่งออกต่างประเทศครับ


Fujitsu


Kawasaki Heavy Industries (KHI)



Mitsubishi Electric


Teijin Corporation(Thailand)


งาน Defense & Security 2015 ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ตัวแทนบริษัทด้านความมั่นคงของญี่ปุ่นได้มาเปิดตัวจัดแสดงในงาน ตั้งแต่ที่ญี่ปุ่นได้แก้ไขกฎหมายเพื่อลดข้อจำกัดในการส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ให้มิตรประเทศ
และจัดตั้ง องค์กรการจัดหาเทคโนโลยีและพลาธิการ (Acquisition Technology and Logistics Agency) ของกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นเพื่อดูแลด้านการส่งออกยุทโธปกรณ์ให้ต่างประเทศ
ซึ่งไทยและประเทศอื่นๆในกลุ่ม ASEAN ก็เป็นกลุ่มที่ญี่ปุ่นแสวงหาความร่วมมือด้านความมั่นคงเพื่อเพิ่มความสัมพันธ์นอกจากด้านเศรษฐกิจที่ญี่ปุ่นเป็นผู้ลงทุนรายหลักสำคัญในภูมิภาคนี้

แต่ถ้าเทียบส่วนจัดแสดงของประเทศอื่นในงานแล้ว ก็เห็นได้ชัดว่าส่วนจัดแสดงของญี่ปุ่นมีขนาดค่อนข้างจะเล็กกว่ามาก โดยที่ได้มีโอกาสไปชมทุกตัวแทนที่จัดแสดงมา ระบบที่ตัวแทนบริษัทญี่ปุ่นมาเสนอในงานจะเน้นระบบเชิงป้องกันทางรับเป็นหลัก
เช่น เสื้อเกราะ ชุดกันไฟ ร่มชูชีพ ระบบควบคุมสั่งการและบังคับบัญชา ระบบช่วยการฝึก ระบบรับสัญญาณดาวเทียม SATCOM ติดตั้งบนเฮลิอปเตอร์ของ Mitsubishi Electric
ที่เห็นเป็นยุทโธกรณ์ทางทหารขนาดใหญ่ก็เห็นจะมีแค่ของ Kawasaki Heavy Industries ที่มาเสนอเครื่องบินลำเลียง C-2 สำหรับกองทัพอากาศไทย และเครื่องบินตรวจการทางทะเล P-1 สำหรับกองทัพเรือไทยเท่านั้น
(อาจจะรวมเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง BK-117 สำหรับหน่วยงานราชการไทย กับรถจักรยานยนต์ Super Bike Ninja ZX ด้วย สำหรับหน่วยปฏิบัติการพิเศษของแต่ละเหล่าทัพ)

ซึ่งก็ต่างจากงานแสดงอาวุธในต่างประเทศอย่าง PACIFIC 2015 ที่ออสเตรเลียเมื่อเดือนตุลาคมมีการเสนอระบบยุทโธปกรณ์ขั้นสูงมากกว่า
เช่น Mitsubishi Heavy Industries ที่เสนอแบบเรือดำน้ำชั้น Soryu และเรือฟริเกตแบบ 30DEX สำหรับสำหรับโครงการเรือดำน้ำ SEA 1000 และโครงการเรือฟริเกต SEA 5000 ของกองทัพเรือออสเตรเลีย
ตรงนี้ส่วนตัวเลยมองว่าญี่ปุ่นเองยังคงวางตัวรูปแบบยุทโธปกรณ์ที่สามารถส่งออกหรือมีความร่วมมือกับไทยได้เฉพาะระดับที่มีโอกาสความเป็นได้มากพอเท่านั้น เช่นเป็นระบบที่มีอุตสาหกรรมรองรับในไทยแล้วเป็นต้นครับ