วันเสาร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2558

กองทัพรัสเซียเลือก AK-12 และ AK-103-4 เป็นปืนเล็กยาวจู่โจมประจำกายใหม่

Russia selects new assault rifles
Russia has selected the AK-12 (pictured) and the AK-103-4 as the new service rifles for the Ratnik soldier modernisation programme. Source: Izhlife
http://www.janes.com/article/48463/russia-selects-new-assault-rifles

กระทรวงกลาโหมรัสเซียได้ประกาศเลือกแบบปืนเล็กยาวใหม่สองแบบของ Kalashnikov Concern (Izhmash เดิม) ให้เป็นส่วนของโครงการปรับปรุงระบบทหารราบยุคอนาคต Ratnik
"เราได้ทำข้อตกลงและเลือกปืนเล็กยาวจู่โจมจาก Izhmash แล้ว มันมีประสิทธิภาพคุ้มค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ยังมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับได้สำหรับเรา"
Yuriy Borisov รัฐมนตรีช่วยกระทรวงกลาโหมรัสเซียกล่าว
ปืนเล็กยาวทั้งสองแบบของ Kalashnikov ที่ถูกเลือกคือ AK-12 ขนาด 5.45x39mm และ AK-103-4 ขนาด 7.62x39mm

AK-12 เป็นปืนเล็กยาวตระกูล AK รุ่นที่5 ที่จะมาแทน AK-74M ซึ่งเป็นปืนเล็กยาวมาตฐานกองทัพรัสเซียในปัจจุบันที่ใช่กระสุนขนาดเดียวกัน โดย AK-12 มีราคาแพงกว่า AK-74M ประมาณร้อยละ25
AK-12 มีการออกแบบให้มีแรงถอยขณะยิงต่ำกว่า AK-74M มีการปรับปรุงระบบควบคุมปืนให้ใช้งานได้ดีขึ้น สามารถใช้ซองกระสุนขนาด 30นัดเดิมของ AK-74 ได้ทันทีและมีซองกระสุนขนาด 60นัดและ95นัดให้เลือกใช้
ซึ่ง AK-12 รุ่นปืนเล็กสั้นที่ใช้กระสุนขนาด 7.62mm ได้ถูกเลือกโดยหน่วยอารักขาบุคคลสำคัญ FSO(Federal Protective Service) แทนปืนเล็กสั้นพิเศษ AKS-74U, ปืนเล็กยาว AK-103 และปืนเล็กสั้น AK-104
ส่วน AK-103-4 เป็นปืนเล็กยาวที่ปรับปรุงมาจาก AK-47 แบบล่าสุดซึ่งติดตั้งราง Picatinny ใช้พานท้ายแบบปรับระดับและพับเก็บได้ และอุปกรณ์ที่ปากกระบอกปืนแบบใหม่


โดย AK-12 จะถูกนำมาใช้ในหน่วยรบระดับชั้นสุดยอดที่ใช้ระบบทหารราบยุคอนาคต Ratnik เท่านั้น ซึ่งระบบ Ratnik ได้เปิดตัวไปในงาน Oboronexpo เดือนสิงหาคม ปี 2014
ระบบ Ratnik ประกอบไปด้วยชิ้นส่วนอุปกรณ์ย่อยต่างๆกว่า 50ระบบ ซึ่งจะทำให้ทหารราบมีขีดความสามารถในการรบที่สูงขึ้น
ทั้งการป้องกันกระสุน การหยั่งรู้สถานการณ์ การเล็งและยิงอาวุธประจำการ การติดต่อสื่อสารและการนำทาง
(หน่วยรบหลักหน่วยแรกๆของกองทัพรัสเซียที่จะได้รับระบบ Ratnik ใช้งานน่าจะเป็นหน่วยรบพิเศษ Spetsnaz หน่วยต่างๆ และทหารพลร่ม VDV)
ทั้งนี้ Borisov รัฐมนตรีช่วยกระทรวงกลาโหมรัสเซียกล่าวว่าจะเพิ่มการจัดหาระบบ Ratnik จาก 50,000ระบบ เป็น 70,000ระบบด้วย
ในส่วนของทหารหน่วยอื่นในกองทัพรัสเซียจะยังคงใช้ปืนเล็กยาว AK-74M จะมีโครงการปรับปรุงให้ทันสมัยขึ้นโดย Kalashnikov Concern

A-545 assault rifle being trailed by Russian forces in 2014/2015.

ในการแข่งขันแบบปืนเล็กยาวใหม่สำหรับระบบ Ratnik นอกจาก AK-12 และ AK-103-4 ของ Kalashnikov Concern ยังมี A-545 และ A-762 ของ Degtyarev Plant ที่ปรับปรุงมาจาก AEK-971/973 อีกแบบ
ซึ่ง AEK-971/973 ถูกออกแบบในช่วงต้นปี 1980s ในโครงการจัดหาปืนเล็กยาวใหม่แทน AK-74 แต่แพ้ให้กับ Nikonov AN-94 แต่ AN-94 เองไม่ได้ถูกเปิดสายการผลิตจำนวนมากแต่อย่างใด
โดย A-545 นั้นเป็นปืนที่มีการออกแบบเป็นระบบใหม่หมดที่ทันสมัยกว่า ซึ่งอ้างว่ามีแรงถีบขณะยิงที่น้อยกว่าร้อยละ 10-15 เมื่อเทียบกับ AK-12
ขณะที่ AK-12 นั้นเริ่มงานออกแบบในเดือนสิงหาคม 2011 และเปิดตัวครั้งแรกในวันที่ 24 มกราคม 2012 ซึ่งถูกทดสอบโดยกองทัพรัสเซียอย่างไม่เป็นทางการมาระยะหนึ่ง
ซึ่งทั้ง AK-12 และ A-545 นั้นได้ถูกกระทรวงกลาโหมรัสเซียประกาศให้เป็นแบบปืนที่ถูกคัดเลือกในการแข่งขันของโครงการเมื่อ 23 ธันวาคม 2014
เหตุผลหนึ่งที่ AK-12 ถูกเลือกเป็นผู้ชนะในโครงการนี้แทนที่จะเป็นปืนของ Degtyarev มีการวิเคราะห์ว่าน่าจะเป็นเหตุผลด้านราคาในสายการผลิตที่ถูกกว่าคู่แข่งและอาจจะมีเรื่องการเมืองภายในด้วย

คาดว่า AK-12 จะถูกเริ่มนำมาทดสอบในกองทัพรัสเซียอย่างเป็นทางการในเดือนมีนาคม 2015 นี้ครับ

วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2558

เยอรมนีเสนอเรือดำน้ำ U209/1400mod และ U210mod ให้กองทัพเรือไทย


บริษัท TKMS ประเทศเยอรมนี เข้ามาบรรยายข้อมูลเรือดำน้ำ Class 210mod และเรือดำน้ำ Class 209/1400mod โดยมี พล.ร.ท.ไพฑูรย์ ประสพสิน รองเสนาธิการทหารเรือ เป็นประธานเข้ารับฟัง
https://www.facebook.com/222887361082619/photos/a.646128485425169.1073741837.222887361082619/844177662286916/?type=1
https://www.facebook.com/pages/Submarine-Squadron-กองเรือดำน้ำ-กองเรือยุทธการ/222887361082619

บริษัท ThyssenKrupp Marine Systems เยอรมนี นับเป็นบริษัทที่สามแล้วที่มาทำการบรรยายนำเสนอข้อมูลแบบเรือดำน้ำของตนให้กองทัพเรือไทยรับทราบ
อย่างที่ทราบกันอยู่แล้วครับว่ากองทัพเรือไทยในยุคใหม่นั้นได้มีการส่งเจ้าหน้าที่ไปทำการฝึกศึกษาวิทยาการด้านเรือดำน้ำจากกองทัพเยอรมนีเป็นประเทศหลักมาหลายนายหลายรุ่นแล้ว
การจัดตั้งกองเรือดำน้ำในปัจจุบันของกองทัพเรือนั้นระบบหลายๆอย่างก็มีที่มาจากเยอรมนี เช่น เครื่องฝึกศูนย์ยุทธการเรือดำน้ำ ที่ตั้งอยู่ที่กองบัญชาการเรือดำน้ำก็เป็นระบบของเยอรมนีเป็นต้น
แต่นับจากที่ไม่ประสบความสำเร็จในโครงการจัดหาเรือดำน้ำแบบ U206A ๖ลำ ซึ่งกองทัพเรือเยอรมนีปลดประจำการลงและเสนอขายให้ไทยในราคามิตรภาพและมีความคุ้มค่าสูง
ประกอบสถานการณ์ภายในของไทยในช่วงหลายปีมานี้ ทำให้ความเป็นไปได้ในการที่จะจัดหาเรือดำน้ำจากเยอรมนีถูกมองว่าดูจะเป็นไปได้ยาก
อย่างไรก็ตามการที่ TKMS มาบรรยายเสนอข้อมูลเรือดำน้ำแบบ U209/1400mod และ U210mod ให้กองทัพเรือไทยนั้น ก็แสดงให้เห็นว่าเยอรมนียังต้องการที่จะขายเรือดำน้ำให้ไทยแข่งขันกับตัวแทนบริษัทประเทศอื่นอยู่
ทีนี้มาดูข้อมูลรายละเอียดเบื้องต้นของแบบเรือดำน้ำที่ TKMS เยอรมนีเสนอมากันครับ

South African submarines, SAS Charlotte Maxexe and SAS Queen Modjadji 1, accompanies Los Angeles-class submarine USS San Juan (SSN 751), into False Bay in Simon's Town, South Africa, Nov. 4, 2009.

Tikuna arriving at U.S. Navy Mayport with the USS John F. Kennedy (CV-67).

Type 209/1400mod หรือ U209/1400 นั้นเป็นแบบแผนเรือดำน้ำรุ่นล่าสุดของ U209 ที่เป็นแบบเรือดำน้ำสำหรับส่งออกที่ประสบความสำเร็จในการสร้างและส่งออกมาตั้งแต่ช่วงปี 1970s
เป็นผลงานออกแบบของ Howaldtswerke-Deutsche Werft ซึ่งเป็นบริษัทอู่ต่อเรือในเมือง Kiel เยอรมนีที่อยู่ในเครือ TKMS
โดยอู่ HDW นั้นมีประสบการณ์ในการต่อเรือดำน้ำให้กองทัพเรือเยอรมนีและกองทัพเรือต่างประเทศอย่างยาวนาน ไม่ว่าจะเป็น U205, U206, U212A ของกองทัพเรือเยอรมนีเอง
รุ่นส่งออกเช่นชั้น Todaro(U212) กองทัพเรืออิตาลี, ชั้น Dolphin(U800) กองทัพเรืออิสราเอล, U209 รุ่นต่างๆที่ส่งออกถึง๖๓ลำในกองทัพเรือ ๑๔ประเทศทั่วโลก และ U214 ในกองทัพเรืออีก ๔ประเทศ ซึ่งเฉพาะชั้น Son Won-il กองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลีก็สั่งต่อไป ๙ลำแล้ว

โดย U209/1400mod นั้นได้มีการสร้างสำหรับส่งออกให้กับกองทัพเรือแอฟริกาใต้คือชั้น Heroine จำนวน ๓ลำ เข้าประจำการช่วงปี 2005-2008 และกองทัพเรือบราซิล ๑ลำคือ S-34 Tikuna ซึ่งเข้าประจำการในปี 2005
U209/1400mod ตัวเรือมีความยาว 62m ระวางขับน้ำที่ผิวน้ำ 1,450tons ขณะดำใต้น้ำ 1,586tons เครื่องยนต์ดีเซล-ไฟฟ้า สามารถเลือกติดตั้งระบบ AIP เพิ่มเติมได้ ทำความเร็วผิวน้ำได้สูงสุด 11knots ขณะดำใต้น้ำสูงสุด 22knots
ติดตั้งท่อยิง Torpedo ขนาด 533mm ๘ท่อยิง พร้อม Torpedo เช่นแบบ SUT ๑๔นัด หรือทุ่นระเบิด และสามารถเพิ่มขีดความให้สามารถยิงอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ UGM-84 Sub-Harpoon จากใต้น้ำได้
ลูกเรือ ๓๐นาย สามารถปฏิบัติการได้สูงสุด ๕๐วัน พิสัยทำการไกลสุดเมื่อดำใต้น้ำโดยใช้ท่อ Snorkel ที่ 8,000nmi ดำน้ำได้ลึกสุด 500m


ซึ่งสำหรับกองทัพเรือไทยเองนั้นให้ความสนใจเรือดำน้ำแบบ U209 ในการศึกษาพิจารณาการจัดหาเรือดำน้ำมาตั้งแต่ช่วงปี 1980s หลังจากที่กองทัพเรืออินโดนีเซียจัดหาเรือชั้น Cakra U209/1300 แล้ว
โดย U209/1400mod มีความแตกต่างจากเรือแบบ DSME DW1400T ซึ่งมีพื้นฐานจากเรือชั้น Chang Bogo U209/1200 ในโครงการ KSS-I ของกองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลี ที่อินโดนีเซียสั่งต่อ ๓ลำ โดยจะต่อหนึ่งลำในประเทศ
ตรงที่แบบเรือของเกาหลีใต้มีขนาดเล็กกว่าคือตัวเรือยาว 56-61m ระวางขับน้ำ 1,285tons ที่ผิวน้ำ และแบบเรือ DSME DW1400T ที่ต่อส่งออกจะใช้ระบบบางส่วนที่เป็น Technology ของเกาหลีใต้เองด้วยครับ
https://www.thyssenkrupp-marinesystems.com/en/hdw-class-209-1400mod.html

August 27, 2003, Utstein participated in the exercise Odin-One

Type 210mod หรือ U210mod นั้นเป็นแบบแผนเรือดำน้ำสำหรับส่งออกซึ่งปรับปรุงมาจากเรือชั้น Ula U210 กองทัพเรือนอร์เวย์ ที่เป็นโครงการร่วมของ Nordseewerke บริษัทอู่ต่อเรือในเมือง Emden เยอรมนีในเครือ TKMS กับบริษัท Kongsberg นอร์เวย์
โดยกองทัพเรือนอร์เวย์สั่งต่อเรือชั้่น Ula ๖ลำเข้าประจำการในช่วงปี 1989-1992 และมีแผนจะประจำการไปจนถึงราวปี 2020 ซึ่งก็ได้เคยรายงานข่าวการตั้งโครงการจัดหาเรือดำน้ำใหม่ทดแทนของกองทัพเรือนอร์เวย์ในปี 2014 ไปแล้ว


U210mod มีแบบแผนเรือที่ขนาดเล็กกว่า U209 โดยตัวเรือมีความยาว 58.5m ระวางขับน้ำที่ผิวน้ำ 1,150tons ใช้หางเสือรูปตัว X เครื่องยนต์ดีเซล-ไฟฟ้า สามารถติดตั้ง motor ไฟฟ้า PERMASYN ได้ ทำความเร็วผิวน้ำสูงสุด 11knots ขณะดำใต้น้ำสูงสุด 23knots
ติดตั้งท่อยิง Torpedo ขนาด 533mm ๔ท่อยิง พร้อม Torpedo ๑๔นัด พิสัยทำการไกลสุด 5,000nmi ที่ความเร็วใต้น้ำ 8knots ดำได้ลึกสุดมากกว่า 200m ลูกเรือสำหรับเวรยามสองผลัด ๑๕นาย และเวรยามสามผลัด ๒๑นาย


U210mod จึงเป็นแบบเรือดำน้ำขนาดเล็กที่ออกแบบสำหรับการรบในพื้นที่ชายฝั่งและทะเลลึก สามารถเลือกติดตั้งระบบอุปกรณ์ที่ทันสมัยต่างๆได้หลายอย่างได้ตามความต้องการ
ถ้าดูจากที่นอร์เวย์ซึ่งมีภูมิศาสตร์ทางทะเลใกล้เคียงกับไทยคือมีด้านหนึ่งติดทะเล Baltic ซึ่งเป็นอ่าวปิด กับมหาสมุทร Atlantic ที่เป็นทะเลเปิดกว้างใหญ่แล้ว U210mod น่าจะเป็นแบบเรือที่เหมาะกับกองทัพเรือไทยแบบหนึ่งครับ
https://www.thyssenkrupp-marinesystems.com/en/hdw-class-210mod.html

เป็นที่น่าสังเกตุว่าเพียงภายในเดือนมกราคม ๒๕๕๘ ซึ่งเป็นเดือนแรกของปี ก็มีตัวแทนบริษัทจากสามประเทศมาเสนอบรรยายข้อมูลเรือดำน้ำให้กองทัพเรือไทยรับทราบข้อมูลแล้ว
จึงมีความเป็นได้มากกว่าการผลัดดันโครงการจัดหาเรือดำน้ำใหม่ของกองทัพเรือกำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้และมีการแข่งขันที่สูงมาก
แต่อย่างไรก็ตามก็เหมือนกับที่เคยกล่าวมาหลายครั้งครับว่า ยังมีปัจจัยที่เป็นตัวแปรที่จะทำให้การผลักดันโครงการเรือดำน้ำมีความไม่แน่นอนอยู่ โดยเฉพาะกระแสต่อต้านจากประชาชนทั่วไปที่ขาดความเข้าใจในเรื่องความมั่นคงของชาติทางทะเล
งานของกองเรือดำน้ำซึ่งเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการโดยตรงและกองทัพเรือไทยจึงมีงานหนักรออยู่ในการที่จะต้องผลักดันการจัดหาเรือดำน้ำให้ประสบความสำเร็จให้ได้
เพราะความมั่นคงของชาติทางทะเลของประเทศไทยนั้นส่วนหนึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้อำนาจการรบของเรือดำน้ำครับ

กองทัพอากาศเอกวาดอร์สูญเสียเฮลิคอปเตอร์ Dhruv จากอุบัติเหตุเป็นเครื่องที่4ในรอบ5ปี

Ecuador loses another Dhruv helo to crash
As the only export customer of the type, Ecuador has now lost four of its seven Dhruv helicopters to accidents. India, which manufactures and also operates the helicopter (pictured), has grounded the Dhruv on several occasions over safety concerns. Source: HAL
http://www.janes.com/article/48382/ecuador-loses-another-dhruv-helo-to-crash

กองทัพอากาศเอกวาดอร์ซึ่งเป็นลูกค้ารายเดียวของเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปขนาดเบา Dhruv รุ่นสำหรับกองทัพซึ่งออกแบบและสร้างโดย Hindustan Aeronautics Limited (HAL) อินเดีย
ได้สูญเสีย ฮ. Dhruv จากอุบัติเหตุไปแล้ว 4เครื่อง จากจำนวน 7เครื่อง ซึ่งอุบัติเหตุครั้งล่าสุดนี้มีรายงานว่าเกิดขึ้นวันที่ 27 มกราคม 2015 ใกล้เมือง Tena ซึ่งเป็นพื้นที่ห่างไกลภายในประเทศเอกวาดอร์
อย่างไรก็ตามอุบัติเหตุในครั้งล่าสุดนี้นักบินและผู้โดยสารในเครื่องทั้ง 4นายทางการรายงานว่าไม่ได้รับบาดเจ็บร้ายแรงแต่อย่างใด แต่ในสื่อท้องถิ่นกลับระบุว่าทั้งหมดเสียชีวิต
โดยกองทัพอากาศเอกวาดอร์ได้สูญเสีย ฮ.Dhruv ไปจากอุบัติเหตุครั้งแรกวันที่ 28 ตุลาคม 2009 ครั้งที่สอง 22 กุมภาพันธ์ 2014 และครั้งที่สามเมื่อ 13 มกราคม 2015 นี้เอง

เอกวาดอร์ได้ลงนามจัดหา ฮ.HAL Dhruv จากอินเดียจำนวน 7เครื่องในปี 2008 และเริ่มได้รับมอบเครื่องในปี 2009 วงเงิน $45 million
โดยมีแผนจะจัดส่งเป็นชุดมาทำการประกอบในเอกวาดอร์ แต่มีการยกเลิกแผนการดังกล่าว โดย ฮ.ทั้งหมดถูกประกอบสร้างในอินเดีย
ซึ่งกองทัพอากาศเอกวาดอร์นำ ฮ.Dhruv ประจำการที่ ฝูงบินรบ 2211 กองบินรบ 221 ฐานทัพอากาศ Simon Bolivar
อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นสี่ครั้งทำให้กองทัพอากาศเอกวาดอร์เหลือ ฮ.Dhruv อยู่เพียง 5เครื่อง นับเป็นการสูญเสียถึงร้อยละ60 ภายในเวลาเพียง 5ปีที่นำเครื่องเข้าประจำการ
ในการสอบสวนการเกิดอุบัติเหตุมีอย่างน้อยกรณีหนึ่งระบุสาเหตุว่ามาจากความผิดพลาดของนักบิน

อย่างไรก็ตามกองทัพอินเดียทั้งสามเหล่าทัพซึ่งเป็นผู้ใช้งานรายใหญ่สุดของ ฮ.Dhruv เองตั้งแต่นำเครื่อเข้าประจำการในปี 2002ก็มีการสูญเสีย ฮ.ไปแล้วหลายเครื่องเช่นกัน
และอินเดียเคยมีการสั่งงดบิน ฮ.Dhruv เพื่อตรวจสอบความปลอดภัยเครื่องมาแล้วหลายครั้ง ทำให้ภาพลักษณ์ความน่าเชื่อถือของเครื่องดูแย่มาก
นั่นทำให้ความเป็นไปได้ของการส่งออก ฮ.Dhruv ให้กับลูกค้ารายใหม่ได้เพิ่มเติมนั้นดูจะไม่มีโชคเอาเสียเลยครับ

วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

กองทัพบกไทยชมการสาธิตรถเกราะล้อยางติดป้อมปืนใหญ่รถถัง 90mm แบบ BTR-3E 90CSE

เมื่อวันที่ 27 ม.ค.58 พ.อ.สันติพงศ์ ธรรมปิยะ รอง ผบ.กกล.บูรพา, รอง เสธ.กกล.บูรพา (1), (2) และ ฝสธ กกล.บูรพา ร่วมชมการสาธิตทดลองรถยานเกราะล้อ แบบ BTR- 3E- 90CSE ณ บ.ภักดีแผ่นดิน ม.8 ต.หนองหมากฝ้าย อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว



ที่มา Page กองกำลังบูรพา
https://www.facebook.com/188890007933310/photos/pcb.443058289183146/443057355849906/?type=1&permPage=1
https://www.facebook.com/pages/กองกำลังบูรพา/188890007933310

BTR-3 ติดปืนใหญ่รถถังแรงดันต่ำขนาด 90mm ที่ว่าน่าจะใช่ของ Cockerill ตามที่เคยมีการนำเสนอมาก่อนหน้านี้ครับ
ซึ่งทาง Ukroboronprom ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านการส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ของยูเครน และ CMI Defence เบลเยียม ก็ได้มีการนำเสนอแบบแผนรถ BTR-3E ที่ติดตั้งป้อมปืนของ Cockerill มาหลายปีแล้ว
ซึ่งระบบป้อมปืน Cockerill CSE 90LP ที่ติดตั้งกับ BTR-3E1 นั้นจัดเป็นระบบที่ทันสมัยทีเดียว โดยป้อมปืนนั้นใช้พลประจำป้อมสองนาย(เช่นเดียวกับ V-150 ติด ปถ.90mm ของ Cockerill เช่นกัน)
แต่ป้อมปืนรุ่นใหม่ของ Cockerill นี้ได้ติดตั้งระบบกล้องเล็งและระบบควบคุมการยิง Digital ที่ก้าวหน้าสูง สามารถทำการยิงได้อย่างแม่นยำทั้งกลางวันและกลางคืนทุกสภาพอากาศ
มีตัวป้อมปืนมีการออกแบบเกราะป้องกันตัวที่ดีกว่ารุ่นก่อนมากขึ้นอย่างการเสริมแผ่นเกราะ Kevlar เป็นต้น

ด้านกระสุนขนาด 90mm นั้นก็มีให้เลือกใช้หลายแบบทั้ง กระสุนเจาะเกราะสลัดครอบแบบมีครีบทรงตัว APFSDS-T, กระสุนระเบิดแรงสูงต่อสู้รถถัง HEAT-T, กระสุนระเบิดแรงสูงกระเทาะเกราะ HESH-T
, กระสุนระเบิดแรงสูงส่องวิถี HE-T, กระสุนลูกปรายต่อต้านบุคคล CANISTER และ กระสุนควันฟอสฟอรัสขาว SMK-WP-T
ซึ่งเคยนำเสนอข้อมูลในหัวข้อ "ศักยภาพในการต่อสู้รถถังหลักของยานเกราะเหล่าทหารม้ากองทัพบกไทย" มาแล้ว

http://www.cmigroupe.com/en/p/cockerill-cse-90lp
http://www.cmigroupe.com/en/news-view/359/idex-2013%3A-the-cockerill-cse-90lp-turret-integrated-with-the-btr-3e-8x8-vehicle
http://www.armyrecognition.com/idex_2013_news_coverage_report_pictures_video/new_infantry_8x8_armoured_vehicle_btr-3e_with_cmi_defence_turret_cockerill_cse_90_lp_2002132.html

ซึ่ง LUCH ยูเครน ผู้ผลิตอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังทั้ง BARRIER กับ SKIF ที่ติดตั้งกับรถเกราะล้อยาง BTR-3E1 กับ BTR-3RK และ KOMBAT 125mm ที่ใช้ยิงจากปืนใหญ่ของรถถังหลัก Oplot นั้น
ยังเป็นผู้ผลิตอาวุธปล่อยนำวิถี FALARICK 90 และ FALARICK 105 ที่ยิงจากป้อมปืนใหญ่ของ Cockerill ที่ใช้ปืนใหญ่ขนาด 90mm และ 105mm ด้วย
โดย FALARICK 90 ซึ่งนำวิถีด้วย Laser แบบ SACLOS ระยะยิง 4km นั้นซึ่งก็ได้มีการทดสอบการยิงแล้วด้วยป้อมปืน Cockerill LCTS 90MP ซึ่งมีระบบ Autoloader และระบบควบคุมการยิงอาวุธปล่อยนำวิถีไปแล้ว
แต่อย่างไรก็ตามส่วนเข้าใจว่าสำหรับป้อมปืน Cockerill CSE 90LP ที่ติดตั้งกับ BTR-3E1 นั้นอาจจะยังไม่สามารถทำการยิง FALARICK 90 ได้ถ้ายังไม่ได้รับการติดตั้งระบบควบคุมการยิงอาวุธปล่อยนำวิถีเพิ่มเติม
ซึ่งก็ไม่ทราบว่าจะทำได้หรือไม่เพราะ Cockerill CSE 90LP เป็นป้อมปืนขนาดเล็กน้ำหนักเบาและออกแบบสำหรับการยิงสนับสนุนมากกว่าการต่อสู้รถถัง
อีกทั้งป้อมปืน LCTS 90MP และ CSE 90LP ยังใช้ปืนใหญ่รถถังคนละแบบคือ ปถ.Mk.8 ความดันสูง และ ปถ.Mk.3 ความดันต่ำ(แบบเดียวกับ V-150 กองทัพบกไทย) ซึ่งใช้กระสุนคนละแบบไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ด้วย
ดังนั้นทางยูเครนเองอาจจะไม่ได้เสนอกระสุน FALARICK 90 สำหรับ BTR-3E 90CSE ในการสาธิตให้กองทัพบกชมครั้งนี้ครับ


http://www.luch.kiev.ua/index.php/en/production/antitank-guided-missiles-and-guidance-systems/falarick-90-round-comprising-antitank-guided-missile

อย่างไรก็ตามการสาธิตทดลองรถยานเกราะล้อแบบ BTR-3E 90CSE ให้กองกำลังบูรพาชมในครั้งนี้ไม่แน่ใจว่าจะเป็นการทดสอบให้ชมก่อนการจัดหาจริง หรือเป็นการสาธิตให้ชมสมรรถนะระบบของบริษัทเพียงเท่านั้นครับ
ดูจากสีพรางระบบตัวรถต้นแบบที่สาธิตจะเห็นได้ว่าเป็นลายพราง Digital แบบเดียวกับรถเกราะ BTR-3E1 ที่ประจำการในกองพันทหารราบของ กรมทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ และ กรมทหารราบที่๒๑ รักษาพระองค์ อยู่แล้ว
(แต่ก็เป็นรูปแบบลายพรางที่ใช้ในรถเกราะ BTR-3E1 ของกองกำลังความมั่นคงยูเครนในปัจจุบันเช่นกัน)
แต่ก็เป็นได้มากว่ากองทัพบกน่าจะมีความสนใจในการจัดหา BTR-3E ติดปืนใหญ่รถถังขนาด 90mm มาใช้ เพราะกองทัพบกเองก็มีความต้องการระบบลักษณะนี้อยู่
โดย BTR-3E 90CSE นั้นน่าจะถูกจัดเป็นระบบอาวุธยิงสนับสนุนมากกว่าจะเป็นระบบต่อสู้รถถังครับ
เพราะกองทัพบกมีระบบต่อสู้รถถังของรถเกราะตระกูล BTR-3E1 คือ BTR-3RK ที่ติดอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง SKIF อยู่แล้ว และ ปถ.90mm ก็ดูจะอ่อนอานุภาพเกินไปที่จะจัดการรถังหลักยุคใหม่ได้แล้วด้วย
แต่ ปถ.90mm ก็มีประโยชน์มากในการสนับสนุนกำลังทหารราบในการดำเนินกลยุทธ์หลายรูปแบบ เช่น การทำลายที่มั่นดัดแปลงแข็งแรง ต่อต้านทหารราบเป็นกลุ่มก้อน และการต่อต้านยานเกราะขนาดเบารวมถึงรถถังหลักรุ่นเก่า เป็นต้น

ซึ่งถ้ากองทัพบกจะมีการจัดหา BTR-3E 90CSE จริงก็เข้าใจว่าน่าจะมาลงในหน่วยขึ้นตรงของ กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ ซึ่งเป็นกำลังหลักของกองกำลังบูรพาที่นำระบบมาสาธิตให้ชม
อีกทั้งน่าจะเป็นการยืนยันได้อีกทางหนึ่งว่าทางยูเครนยังมีขีดความสามารถในการผลิตและส่งมอบรถเกราะล้อยางตระกูล BTR-3E1 ให้กองทัพบกไทยอยู่ด้วยแม้จะกำลังทำสงครามกับกลุ่มติดอาวุธนิยมรัสเซียอย่างหนักก็ตามครับ

Picatinny พัฒนาศูนย์เล็งขั้นก้าวหน้าสำหรับเครื่องยิงลูกระเบิดของกองทัพสหรัฐฯ

Picatinny engineers use advanced sensor technologies
http://armytechnology.armylive.dodlive.mil/index.php/2015/01/01/picatinny-engineers-use-advanced-sensor-technologies/

วิศวกรของ Picatinny ได้พัฒนาระบบศูนย์เล็งแบบ Weaponized Universal Lightweight Fire Control หรือ WULFสำหรับเครื่องยิงลูกระเบิดของทหารสหรัฐฯเพื่อให้ทำการยิงได้รวดเร็วและแม่นยำขึ้น
เดิมทีทหารสหรัฐฯจะใช้ระบบคำนวนขีปนวิถี Lightweight Handheld Mortar Ballistic Computer กับศูนย์เล็งที่ติดกับเครื่องยิงลูกระเบิดซึ่งเป็นระบบเล็งที่ใช้มาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่๒ในการทำการยิง
โดยการยิง ค.81mm นั้นชุดยิงจะต้องใช้เวลาเตรียมการยิงจนพร้อมยิงได้ในเวลา 4นาที 30วินาทีโดยประมาณ และมีระยะเวลาในการยิงแบบต่อเนื่องที่ 20วินาทีต่อนัด
แต่เมื่อทำการติดตั้งศูนย์เล็ง WULF ของ Picatinny ลงไป การเตรียมการยิงจะเหลือเพียง 1นาทีเท่านั้น และจะลดเวลาในการยิงต่อเนื่องเหลือเพียง 1-2วินาทีต่อนัดเท่านั้น

อย่างไรก็ตามระบบศูนย์เล็ง WULF ที่พัฒนาในช่วงแรกยังคงจำกัดการติดตั้งได้กับ ค.120mm เท่านั้นเนื่องจากกล่องระบบตรวจจับมีขนาดใหญ่
แต่จะมีการพัฒนาให้เล็กลงเพื่อสามารถติดตั้งได้กับ ค.60mm และ ค.81mm ต่อไปเพื่อให้เครื่องยิงลูกระเบิดทั้งสามขนาดที่กองทัพสหรัฐฯมีประจำการสามารถใช้งานร่วมกันได้
ซึ่งการพัฒนาล่าสุดนั้นสามารถลดน้ำหนักระบบควบคุมการยิงที่ใช้กับ ค.120mm เดิมจาก 150pound เหลือเพียง 10pound แล้ว
เมื่อนำ Technology อีกหลายระบบที่หลายบริษัทและหน่วยงานร่วมพัฒนาทั้ง กล้อง Optical หันตรงหน้า, เครื่องมือวัดการหมุนวน Micro-Electro-Mechanical (MEM) เครื่องวัดความเร่ง MEM
และเข็มทิศสวรรค์(celestial compass) แทนเข็มทิศแม่เหล็กเดิม จะทำให้ระบบการยิงเครื่องยิงลูกระเบิดยุคใหม่นี้มีประสิทธิภาพสูงสุด

คาดว่าระบบ WULF ซึ่งพัฒนาจากแนวคิดของ Collabortaion Innovation Lab ซึ่งสนับสนุนทุนโดย ARDEC(Armament Research, Development and Engineering Center) กองทัพบกสหรัฐฯ
จะสามารถนำมาใช้งานในกองทัพบกสหรัฐฯได้จริงในปีงบประมาณ 2017 ครับ

วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2558

กองทัพอากาศโคลัมเบียเริ่มมองการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่แทน Kfir

Kfir Colombian Air Force and F-16 USAF

http://www.fuerzasmilitares.org/noticias/colombia/fuerza-aerea/5502-nuevos-cazas-colombia.html

นายพล Guillermo Leon Leon ผู้บัญชาการกองทัพอากาศโคลัมเบียได้ให้สัมภาษณ์สื่อถึงการประกาศแนวทางการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่แทน Kfir C.12 และ TC.10 จำนวน 24เครื่อง
ซึ่งเครื่องบินขับไล่ Kfir ที่ผลิตและได้รับการปรับปรุงโดย IAI อิสราเอลนั้นมีอายุการใช้งานมากและมีปัญหาด้าน Technic โดยกองทัพอากาศโคลัมเบียสูญเสีย Kfir จากอุบัติเหตุไปแล้วอย่างน้อย 4เครื่อง
กองทัพอากาศโคลัมเบียจึงเริ่มการศึกษาถึงความต้องการเครื่องบินขับไล่แบบใหม่ในการป้องกันประเทศ ทั้งแหล่งจัดหา งบประมาณ และการประเมินภัยคุกคามในอนาคต
ยังไม่มีการกำหนดว่าจะมีเครื่องบิบขับไล่แบบใดบ้างที่กองทัพอากาศโคลัมเบียสนใจ แต่แบบเครื่องที่เป็นไปได้แบบหนึ่งคือ F-16 จากสหรัฐฯ
ซึ่งก็รวมไปถึงการจัดหาอากาศยานทดแทนในส่วนเครื่องบินโจมตี OV-10A 9เครื่อง และ A-37B 15เครื่อง ที่ใกล้จะหมดอายุการใช้งานด้วย
โดยมีการจัดหาเครื่องบินโจมตีใบพัด A-29B Super Tucano 24เครื่องทดแทนในบางส่วนแล้ว
นายพล Leon กล่าวว่าหน่วยแรกที่จะได้รับมอบเครื่องบินขับไล่ใหม่ต้องใช้เวลาอีกราว 5ปีข้างหน้า เพื่อให้กองทัพอากาศโคลัมเบียคุ้มกันน่านฟ้าได้ต่อไปในอนาคต
โดยเครื่องบินฝึกสองที่นั่ง Kfir TC.10 จะยังคงใช้งานต่อไปจากนี้อีกหลายปีครับ

วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2558

กองทัพอากาศสหรัฐฯปรับปรุงห้องอาวุธเครื่องบินทิ้งระเบิด B-52 ให้รองรับระเบิดนำวิถี


http://www.armedforces-int.com/news/usaf-b-52-smart-bomb-weapons-bay-mods-begin.html?

เครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ B-52H นับเป็นอากาศยานรบที่มีอายุการใช้งานนานที่สุดของกองทัพอากาศสหรัฐฯและมีการปรับปรุงใหญ่และย่อยมาหลายครั้งด้วยกัน
แผนการปรับปรุง B-52H ล่าสุดของกองทัพอากาศสหรัฐฯคือการปรับปรุงห้องเก็บอาวุธภายในตัวเครื่องให้รองรับการติดตั้งอาวุธนำวิถีแบบต่างๆได้
ซึ่งเดิมทีระบบอาวุธนำวิถีจะสามารถติดตั้งได้ที่ตำบลอาวุธใต้ปีกเครื่องเท่านั้นทำให้มีข้อจำกัดด้านจำนวนอาวุธที่ B-52 สามารถบรรทุกไปได้
เช่น ระเบิดนำวิถีดาวเทียมตระกูล JDAM, อาวุธปล่อยนำวิถีร่อน AGM-158 JASSM และเป้าลวง ADM-160 MALD เป็นต้น
การปรับปรุงให้ B-52H สามารถติดตั้งระเบิดนำวิถีภายในห้องอาวุธได้จะเพิ่มขีดความสามารถในการบรรทุกอาวุธได้มากขึ้นและประหยัดเชื้อเพลิงกว่าการติดตั้งอาวุธที่ปีกด้วย
B-52 เครื่องแรกบินขึ้นครั้งแรกในปี 1952 โดยมีจำนวนการสร้างทุกรุ่นรวม 744เครื่อง มีพิสัยการบินไกล 8,764nmi บรรทุกอาวุธได้หนักราว 70,000lbs ทั้งระเบิด อาวุธปล่อยนำวิถี และอาวุธนิวเคลียร์
ซึ่งกองทัพอากาศสหรัฐฯมีแผนจะประจำการ B-52 ไปจนถึงราวปี 2040 เลยครับ

วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2558

Antonov ยูเครนเข้าพบ NATO อย่างเป็นทางการ


Antonov meets with NATO official
http://www.janes.com/article/48098/antonov-meets-with-nato-official

Antonov บริษัทผู้ผลิตอากาศยานรายใหญ่ของยูเครนได้เข้าพบผู้นำระดับสูงของ NATO อย่างเป็นทางการเพื่อหาโอกาสของบริษัทในการเปิดตลาดในกลุ่มประเทศตะวันตก
โดยเมื่อวันที่ 15 มกราคมที่ผ่านมา Patrick Auroy รองเลขาธิการทั่วไปของ NATO ได้เข้าพบผู้บริหารระดับสูงของ Antonov โดยส่วนหนึ่งของการแถลงอย่างเป็นทางการในวันที่ 16 มกราคมกล่าวว่า
"Antonov ได้แสดงความเห็นในการเข้าร่วมการพัฒนาอากาศยานขนส่งทางทหาร"
Antonov ยังได้กล่าวถึงการยื่นข้อเสนอที่มีศักยภาพสำหรับโครงการ Open Sky เช่นเดียวกับเครื่องบินลำเลียงและเครื่องบินตอบสนองเหตุภัยพิบัติด้วย

เดิมที Antonov ยูเครนมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับรัสเซียในด้านอุตสาหกรรมอากาศยานทางทหารซึ่งกองทัพอากาศรัสเซียเป็นผู้ใช้อากาศยานของ Antonov รายใหญ่หลังการแยกประเทศเมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลาย
เช่นโครงการพัฒนาเครื่องบินลำเลียงทางทหารทดแทนเครื่องบินลำเลียงและเครื่องบินโดยสารรุ่นเก่าอย่างโครงการเครื่องบินลำเลียงขนาดกลาง An-70 ที่จะทดแทน An-12
ล่าสุดกองทัพอากาศยูเครนได้นำ An-70 เข้าประจำการอย่างเป็นทางการในวันที่ 20 มกราคม 2015 ที่ผ่านมา หลังจากสิ้นสุดการทดสอบในเดือนเมษายนปี 2014
โดยกองทัพอากาศรัสเซียเองมีแผนที่จะสั่งจัดหา An-70 เข้าประจำการราว 60เครื่อง ซึ่ง An-70 ก็ได้ไปแสดงตัวในงาน MAKS 2013 ที่รัสเซียมาแล้ว


แต่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เลวร้ายลงหลังรัสเซียผนวก Crimea และเข้าแทรกแซงสนับสนุนกลุ่มติดอาวุธในภาค Donbass ทำให้ยูเครนต้องยุติความสัมพันธ์ทางทหารกับรัสเซียลง
ซึ่งนั่นรวมไปถึงโครงการพัฒนาและจัดหาอากาศยานจาก Antonov ของกองทัพอากาศรัสเซียหรือภาคเอกชนเช่นเครื่องบินโดยสาร An-140 และ An-148 ที่อนาคตดูไม่แน่นอนมากขึ้น
โดยในส่วนกองทัพอากาศรัสเซียนั้นได้หันไปพัฒนาเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีภายในประเทศเองเป็นหลัก ทั้งเครื่องบินลำเลียงทางยุทธศาสตร์ IL-76MD-90A รุ่นปรับปรุงใหม่ที่เครื่องต้นแบบเพิ่งจะทำการบินไป
หรือเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีขนาดเบา IL-112 ที่จะทดแทน An-26 ที่เคยระงับโครงการไประยะหนึ่งก็กลับมาเริ่มโครงการใหม่เป็นต้น
ทั้งหมดจึงเป็นเหตุผลที่ Antonov ได้หันไปมองหาความร่วมมือจาก NATO และมองหาลูกค้ากลุ่มใหม่แทนรัสเซียและประเทศที่ใช้ระบบอากาศยานรัสเซียเดิมครับ

วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558

ภาพ Oplot-T ที่โรงงาน Malyshev ยูเครนล่าสุด-๓





รายงานข่าวสั้นจากสถานีโทรทัศน์ช่อง 5 Channel ยูเครน รายงานเมื่อวันที่ 16 มกราคมที่ผ่านมา
แสดงให้เห็นถึงการทำงานในโรงงาน Malyshev เมือง Kharkov ซึ่งกำลังเร่งการผลิตรถถังและยานเกราะถึงสามกะงาน
โดยในภาพข่าวจะเห็นว่ามีรถถังหลัก Oplot ที่ประกอบน่าจะเสร็จสมบูรณ์ทั้งคันอย่างน้อย 2คัน และส่วนที่เป็นแคร่รถ1คัน
แต่ก็ไม่ทราบว่านี่จะเป็นรถของกองทัพบกไทยหรือไม่ครับ

กองทัพเรือสหรัฐฯเปลี่ยนการกำหนดแบบเรือ LCS เป็นเรือฟริเกต

USS Freedom

USS Independence

http://www.defensenews.com/story/defense/naval/ships/2015/01/15/lcs-navy-frigate/21801559/

ตั้งแต่เปิดตัวโครงการในปี 2001 เรือ Littoral Combat Ship ที่สร้างออกมาทั้งสองชั้นคือชั้น Freedom และชั้น Independence กองทัพเรือสหรัฐฯมีแผนที่จะนำเรือ LCS เข้าประจำการแทนเรือรุ่นเก่าที่จะปลดระวางลง
เช่นเรือฟริเกตชั้น Oliver Hazard Perry เรือล่าทำลายทุ่นระเบิด และเรือตรวจการณ์เป็นต้น
แต่อย่างไรก็ตามเลขานุการกองทัพเรือ Ray Mabus ได้คิดถึงเหตุผลของการกำหนดแบบเรือ LCS ว่าทำให้มีความสับสนและเข้าใจผิดเกี่ยวกับคุณสมบัติและหน้าที่ของตัวเรือ
ซึ่งการตั้งชื่อเรือลักษณะนี้ก็มีเช่น  Joint High Speed Vessel (JHSV), Mobile Landing Platform (MLP) และ Afloat Forward Staging Base (AFSB) เป็นต้น
ดังนั้นแบบเรือ LCS ก็ควรจะเปลี่ยนการกำหนดแบบการเรียกตัวเรือให้เป็นแบบตามที่เคยมีมาก่อนแล้วและเป็นที่เข้าใจในทางสากลได้มากกว่า
"ในเมื่อมันเหมือนฟริเกตทำไมเราไม่เรียกมันว่าฟริเกตล่ะ" Mabus กล่าวต่อลูกเรือการรบผิวน้ำในห้องประชุมสมาคมกองทัพเรือผิวน้ำในงานสัมมนาประจำปีนอก Washington
"เราจะเปลี่ยนการกำหนดแบบตัวเรือจาก LCS เป็น FF มันยังคงเป็นเรือลำเดียวกันโครงการเดียวกันในบันทึก เพียงแต่ใช้ชื่อที่เหมาะสมตามแบบดั้งเดิม" Mabus กล่าว

วันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2558

กองทัพบกสหรัฐฯพัฒนาลูกระเบิดนำวิถี SAGM 40mm สำหรับทหารราบ

40mm SAGM Grenade Prototype.

Smart grenade seeks out bad guys 
http://www.foxnews.com/tech/2015/01/15/smart-grenade-seeks-out-bad-guys/

จากประสบการณ์ในการรบยุคปัจจุบันเช่นที่อัฟกานิสถานซึ่งกองกำลังติดอาวุธมักจะทำการยิงต่อสู้จากที่กำบังซึ่งส่วนใหญ่ทหารราบที่ปฏิบัติการมักจะไม่มีมุมยิงที่เหมาะสมเมื่อใช้เครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 40mm เข้าโจมตี
กองทัพบกสหรัฐฯจึงได้เริ่มโครงการพัฒนา SAGM (Small Arms Grenade Munitions) ซึ่งเป็นลูกระเบิดขนาด 40mm แบบใหม่ที่สามารถค้นหาและทำลายเป้าหมายได้ด้วยตนเอง
โดยลูกระเบิด SAGM 40mm สามารถทำการยิงจากเครื่องยิงลูกระเบิด 40mm ที่เป็นอาวุธประจำกายทหารราบกองทัพบกสหรัฐฯทั้ง M203 และ M320 ได้เช่นเดียวกับลูกระเบิด 40x46mm ความเร็วต่ำที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน
ซึ่งเมื่อทำการยิงเข้าใส่เป้าหมายในที่กำบัง SAGM จะทำการค้นหาและนำวิถีตนเองเข้าหาเป้าหมายและจุดระเบิดแบบแตกอากาศทำลายเป้าหมายอย่างเหมาะสมแม้ว่าจะทำการยิงโดยไม่มีมุมยิงต่อเป้าโดยตรงก็ตาม


ทั้งนี้กองทัพบกสหรัฐฯเองมีโครงการ XM25 Counter Defilade Target Engagement (CDTE) ซึ่งเป็นเครื่องยิงลูกระเบิดกึ่งอัตโนมัติขนาด 25x40mm โดยใช้ Laser วัดระยะคำนวณการโจมตีเป้าหมาย
ซึ่ง XM25 CDTE ได้มีการทดสอบในสนามจริงที่อัฟกานิสถานตั้งแต่ปี 2010 แล้วแต่นำออกไปจากแนวรบในปี 2013 เนื่องจากพบข้อผิดพลาดในการทำงาน เช่นเครื่องยิงเกิดระเบิดขณะทำการฝึกจนทหารบาดเจ็บเล็กน้อย
และคาดว่า XM25 จะเข้าประจำการได้ในปลายปี 2015 นี้แม้ว่าจะถูกตัดงบประมาณการจัดหาก็ตาม ซึ่งนั่นอาจจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่กองทัพบกสหรัฐฯพัฒนา SAGM 40m เป็นทางเลือก
โดย XM25 เป็นระบบยิงตรง(Direct Fire) สำหรับเป้าหมายเป็นจุดระยะ500mm และเป็นพื้นที่ระยะ 700mm แต่ SAGM เป็นระบบยิงเล็งจำลอง(Indirect Fire)ระยะยิงเป้าหมายเป็นจุด 150m และเป็นพื้นที่ 350mครับ

วันเสาร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2558

รัสเซียเสนอเรือดำน้ำ Project 636 Kilo และ Amur 1650 ให้กองทัพเรือไทยอีกครั้ง

บริษัท Rosoboronexport สหพันธรัฐรัสเซีย เข้ามาบรรยายสรุปข้อมูลเรือดำน้ำชั้น Kilo (Project 636) และ Amur 1650 โดยมี พล.ร.ท.ประดิษฐ์ ศิริคุปต์ รองเสนาธิการทหารเรือ เป็นประธานเข้ารับฟัง เมื่อ 16 ม.ค.58


https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=837946006243415&id=222887361082619
https://www.facebook.com/pages/Submarine-Squadron-กองเรือดำน้ำ-กองเรือยุทธการ/222887361082619

รัสเซียนับเป็นประเทศที่สองในปี ๒๕๕๘ นี้ต่อจากจีนที่เข้ามาบรรยายเสนอแบบเรือดำน้ำของตนคือ Project 636 Kilo และ Amur 1650 ให้กองทัพเรือไทยรับทราบข้อมูล
ซึ่งนี่นับเป็นอีกหลายๆครั้งที่รัสเซียมานำเรือดำน้ำของตนให้กองทัพเรือไทย โดยครั้งล่าสุดก็เพิ่งจะเสนอไปเมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๕๗ ปีที่แล้วนี้เอง
(ซึ่งส่วนตัวก็ได้เขียนบทความวิเคราะห์ไปแล้วเช่นกัน ท่านสามารถกลับไปอ่านได้ครับ)

ในแถบภูมิภาค ASEAN และและกลุ่มประเทศที่มีพื้นที่ทางภูมิภาคใกล้เคียงจะมีสามประเทศที่มีเรือดำน้ำแบบ Kilo ประจำการเป็นจำนวนมากครับ คือ

กองทัพเรืออินเดียชั้น Sindhugosh เป็นเรือแบบ Project 877EKM รุ่นเก่าที่เข้าประจำการในช่วงปลายปี 1980sถึงปี 2000 จำนวน ๑๐ลำ
แต่หลายท่านคงจะทราบเรือเรือชั้น Sindhugosh ของกองทัพเรืออินเดียนี้ผ่านการปรับปรุงไปในช่วงสิบปีมานี้ จนถึงกรณีเกิดอุบัติเหตุเช่นไฟไหม้เรือระเบิดที่ท่า
จนปัจจุบันนี้ดูเหมือนว่ากองทัพเรืออินเดียจะเหลือเรือชั้น Sindhugosh ที่พร้อมรบ ๘ลำ
หลังจาก S63 Sindhurakshak ระเบิดจมที่ท่าเรือมุมไบปี 2013 และ S61 Sindhukirti ที่จะเข้าประจำการใหม่หลังปรับปรุงได้ใน ๓๑ มีนาคมปี 2015นี้ ตามที่เคยรายงานไปแล้ว

อีกประเทศคือกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน มีเรือแบบ Project 877EKM Kilo ๒ลำ, Project 636 ๒ลำ และ Project 636M ๖ลำรวม ๑๐ลำ
ซึ่งสั่งเข้าประจำการในช่วงปี 1994-1995,1997-1998 และ 2005-2006


และประเทศล่าสุดคือกองทัพเรือประชาชนเวียดนาม สั่งจัดหา Project 636M รวม ๖ลำ
มี HQ-182 Ha Noi, HQ-183 Ho Chi Minh City, HQ-184 Hai Phong, HQ-185 Da Nang, HQ-186 Khanh Hoa และ HQ-187 Ba Ria-Vug Tau
โดยเริ่มส่งมอบเข้าประจำการในปี 2014 และจะครบจำนวนทุกลำในปี 2016


ในด้านกองทัพเรือรัสเซียเองก็สั่งต่อเรือดำน้ำ Project 636.3 Varshavyanka เข้าประจำการเองเช่นกันครับ
โดยสองลำแรก B-261 Novorossiysk และ B-237 Rostov-on-Don เข้าประจำการเมื่อปี 2014 ที่ผ่านมา
และอีก ๔ลำที่เหลือคือ B-262 Stary Oskol และ B-265 Krasnodar จะต่อเสร็จเข้าประจำการปี 2015 นี้
ส่วน B-268 Veliky Novgorod และ B-271 Kolpino จะเข้าประจำการในปี 2016 ทั้งหมดสังกัดกองเรือทะเลดำ

ซึ่งจะเห็นได้ว่าแบบเรือดำน้ำ Project 636 Improved Kilo นั้นเป็นเรือดำน้ำรัสเซียที่มียอดการสั่งต่อจัดหาจำนวนมากจากหลายประเทศทั่วโลก
เช่นล่าสุดที่กองทัพเรือแอลจีเรียสั่งจัดหาเรือ Project 636M Kilo จากรัสเซียเพิ่มอีก๒ลำในปี 2018
หลังจากนำเรือชุดแรก๒ลำเข้าประจำการเมื่อปี 2010 แล้ว โดยกองทัพเรือแอลจีเรียก็มีเรือแบบ Project 877EKM รุ่นเก่าอยู่ ๒ลำ ประจำการตั้งแต่ปี 1987 เช่นกัน
http://www.janes.com/article/47827/algeria-to-get-new-subs-in-2018


แต่โดยความเห็นส่วนตัวแล้วคิดว่าเรือดำน้ำแบบ Project 636 Kilo นั้นค่อนข้างจะมีระวางขับน้ำใหญ่เกินไปหน่อยคือราว 2,350tons บนผิวน้ำ และ 4,000tons ขณะดำใต้น้ำ
โดยการใช้งานของกองทัพเรือไทยในฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามันแล้วเราน่าจะต้องการเรือดำน้ำที่มีระวางขับน้ำย่อมลงมากว่านี้สักหน่อย
ซึ่งแบบเรือที่รัสเซียเสนอมาพร้อมกันคือ Amur 1650 ระวางขับน้ำ 1765tons และ 2,700tons ขณะดำใต้น้ำ น่าจะเหมาะสมกว่า
อย่างไรก็ตามเรือดำน้ำแบบ Amur นี้ยังมีไม่มีลูกค้าจัดหาจึงยังไม่มีการต่อจริงขึ้นมาสักลำ แต่ก็ตามที่เคยรายงานข่าวไปเมื่อปีที่แล้วครับรัสเซียได้เสนอเรือดำน้ำแบบ Amur ให้หลายประเทศ
ซึ่งที่ให้ความสนใจล่าสุดก็มีเช่น กองทัพเรืออินเดียสำหรับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งจากความล่าช้าของโครงการสร้างเรือดำน้ำแบบ Scorpene ๖ลำในประเทศที่ล่าช้า
และจีนให้ความสนใจที่จะจัดหาเรือดำน้ำแบบ Amur พร้อมระบบ AIP ๔ลำ แม้ว่าจะยังไม่มีการยืนยันทางการที่ชัดเจนเหมือข่าวการที่จีนจะจัดหา Su-35 จากรัสเซียด้วย
(ซึ่งทั้งสองข่าวก็ได้เคยรายงานไปในปีที่ผ่านมาแล้วเช่นกัน)
ตรงนี้จึงมองว่าถึงแม้ว่าแบบเรือดำน้ำ Amur 1650 จะยังไม่มีประเทศใดลงนามจัดหาอย่างเป็นทางการในตอนนี้ แต่โดยคุณสมบัติตัวเรือแล้วน่าจะเหมาะสมกว่า Kilo สำหรับกองทัพเรือไทยครับ

จะเห็นได้ว่าในเดือนมกราคมนี้มีบริษัทจากสองประเทศคือจีนและรัสเซียได้นำเสนอบรรยายข้อมูลเรือดำน้ำของตนแก่กองทัพเรือไทยแล้ว
และก็น่าเชื่อได้ว่าจะยังมีบริษัทจากอีกหลายประเทศที่จะนำเสนอแบบเรือดำน้ำของตนให้กองทัพเรือรับทราบข้อมูลตามมาอีกจากนี้ครับ
แต่การผลักดันโครงการเรือดำน้ำครั้งใหม่ของกองทัพเรือไทยนั้นจะประสบผลสำเร็จหรือไม่ก็ไม่อาจจะทราบได้ เพราะยังมีหลายปัจจัยที่เป็นอุปสรรคอยู่
อย่างไรก็ตามก็คงต้องกล่าวเหมือนเดิมซ้ำอีกครั้งครับ คือหวังว่ากองทัพเรือและกองเรือดำน้ำจะสามารถจัดตั้งโครงการจัดหาเรือดำน้ำได้โดยมีการพิจารณาเลือกแบบเรือที่มีเหมาะสมได้ประโยชน์สูงสุด
เพราะในขณะที่กองทัพเรือในกลุ่มประเทศ ASEAN รอบไทยมีเรือดำน้ำกันแทบจะหมดแล้ว แต่กองทัพเรือไทยยังไม่มีเรือดำน้ำ
ยิ่งถ้ากองทัพเรือมีเรือดำน้ำประจำการช้าเท่าไร ประเทศไทยเราจะยิ่งเสียเปรียบทางด้านยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศทางทะเลมากขึ้นจนเป็นอันตรายต่อความมั่นคงชาติอย่างร้ายแรงครับ

วันศุกร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2558

กองทัพเรือสหรัฐฯเปลี่ยนแบบปืนรองของเรือพิฆาตชั้น Zumwalt จาก Mk110 เป็น Mk46

PACIFIC OCEAN (July 21, 2010) The littoral combat ship USS Freedom (LCS 1) fires one of its Mk-46 30mm chain guns during a live-fire exercise off the coast of Kauai, Hawaii. Freedom is participating in Rim of the Pacific (RIMPAC) 2010, the world's largest international maritime exercise. (U.S. Navy photo by Lt. Ed Early/Released)

https://www.defenseindustrydaily.com/dead-aim-or-dead-end-the-usas-ddg1000-zumwalt-class-program-02574/

กองทัพเรือสหรัฐฯได้ตัดสินใจเปลี่ยนปืนรองประจำเรือพิฆาตชั้น DDG-1000 Zumwalt จาก BAE Systems Mk110 57mm เป็น General Dynamic Mk46 RWS 30mm
โดยให้เหตุผลว่าแม้ปืนใหญ่กล Mk46 จะมีระยะยิงสั้นกว่าคือราว 1mile ถ้าเทียบกับระยะยิง 4-6mile ของ Mk110 โดยตัวป้อมปืนมีน้ำหนักที่จะติดตั้งกับตัวเรือต่างกันมากกว่า 10tons ก็ตาม
แต่กระสุน 30mm มีความเหมาะสมในการเป้าหมายที่เป็นจุดประสงค์ในการใช้งานปืน เช่น การโจมตีเรือยนต์ขนาดเล็กมากกว่ากระสุน 57mm หรือแม้แต่กระสุน 76mm ปืนใหญ่เรือแบบ Mk75
ทั้งนี้เป็นผลจากการเก็บข้อมูลในการทดสอบยิงจริงแล้วว่ากระสุน 30mm มีความเหมาะสมต่อรูปแบบภัยคุกคามของเรือมากกว่ากระสุน 57mm นำมาสู่การเปลี่ยนแบบปืนรองในที่สุด
ในเดือนมกราคม 2015 General Dynamics การผลิตและปรับปรุงปืนใหญ่กล Mk46 RWS วงเงิน $26.2 million สำหรับที่จะติดตั้งกับเรือพิฆาตชั้น Zumwalt และเรือ LCS ชั้น Freedom และ Independence
ซึ่งปืนใหญ่กล Mk46 จำนวน 38กระบอกจะพร้อมส่งมอบให้กองทัพเรือสหรัฐฯตามกำหนดการณ์ในปลายปี 2016 ครับ

วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2558

Raytheon ทดสอบ Radar AN/APG-79(V)X ใหม่เพื่อยืดอายุ F/A-18C/D กองทัพเรือสหรัฐฯ

Raytheon Tests New APG-79(V)X AESA Radar to Lengthen US Navy F/A-18C-D Hornet Relevance 
ARABIAN GULF (Feb. 25, 2012) From top; an F/A-18F Super Hornet assigned to Strike Fighter Squadron (VFA) 22, flown by Lt. Cmdr. Warren Tomlinson and Lt. j.g. Josh Raymond, an F/A-18E Super Hornet assigned to Strike Fighter Squadron (VFA) 81 flown by Lt. Daniel Solfelt, an F/A-18C Hornet assigned to Strike Fighter Squadron (VFA) 113, flown by Cmdr. Craig Sicola, and an F/A-18C Hornet assigned to Strike Fighter Squadron (VFA) 25 flown by Lt. Taylor Hesse, fly over the Arleigh Burke-class guided missile destroyer USS John Paul Jones during a mission flown from the Nimitz-class aircraft carrier USS Carl Vinson (CVN 70). Carl Vinson and CVW 17 are deployed to the U.S. 5th Fleet area of responsibility. (U.S. Navy photo by Mass Communication Specialist 2nd Class James R. Evans/Released)
http://www.navyrecognition.com/index.php?option=com_content&task=view&id=2323

Raytheon ประสบความสำเร็จในการบินทดสอบ Radar AESA แบบ AN/APG-79(V)X รุ่นใหม่สำหรับเครื่องบินขับไล่ F/A-18C/D Hornet กองทัพเรือสหรัฐฯเพื่อยืดอายุการใช้งานต่อไป
โดย AN/APG-79(V)X นั้นเป็นการเพิ่มขีดความสามารถการปฏิบัติการรบของ F/A-18C/D ที่เดิมติดตั้ง Pulse-Doppler Radar แบบ AN/APG-73 รุ่นเก่ามากขึ้นเช่น
เพิ่มระยะการตรวจจับ การติดตามและโจมตีเป้าหมายทางอากาศและภาคพื้นดินได้พร้อมกัน เพิ่มขีดความสามารถในการสร้างแผนที่ภาคพื้้นดินแบบ SAR(Synthetic Aperture Radar) และเพิ่มความน่าเชื่อถือระบบ

"เราติดตั้ง AESA Radar ที่มีขีดความสามารถสูงล่าสุดของเราเพื่อการทดสอบและมันทำงานได้เกินความคาดหมาย AN/APG-79(V)X ของเราเป็นการรวมคุณสมบัติของ AESA Radar ที่ดีที่สุด
เพื่อให้แน่ใจว่ามีความเสี่ยงต่ำและทำให้ F/A-18C/D มีขีดความสามารถทางยุทธวิธีที่ก้าวหน้าขึ้นในอีก 15-20ปีข้างหน้า"
 Mike "Ponch" Garcia ผู้อำนวยการด้านการพัฒนาธุรกิจแผนกระบบอากาศยานทางยุทธวิธีฝ่ายพัฒนาระบบอากาศยานและอวกาศของ Raytheon กล่าว ซึ่งเขาเคยเป็นนักบินและครูฝึก F/A-18E/F Super Hornet มาก่อน
"Raytheon ได้รับการบันทึกว่าเป็นบริษัทแรกที่ส่งมอบ AESA Radar สำหรับติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่ตั้งแต่ปี 2000 ผลงานของ AESA Radar ทางยุทธวิธีเรามีชั่วโมงการปฏิบัติการขณะนี้มากกว่า 500,000ชั่วโมงแล้ว
เราจะยังคงนำ Technology นี้ให้ก้าวหน้าต่อไปเพื่อให้เครื่องบินรบของเรามีความได้เปรียบทางยุทธวิธีให้มากที่สุดที่เป็นไปได้"
Roy Azevedo รองประธานฝ่ายระบบอากาศยานและอวกาศของ Raytheon กล่าว

Raytheon ได้ส่งมอบ AESA Radar ทางยุทธวิธีสำหรับอากาศยานไปแล้วมากกว่า 500ระบบ เช่น
AN/APG-79 สำหรับ F/A-18E/F, AN/APG-63(V)3 สำหรับการปรับปรุง F-15C/D และ AN/APG-82(V)1 สำหรับการปรับปรับปรุง F-15E
เฉพาะในส่วนกองทัพเรือสหรัฐฯนั้น AESA Radar แบบ AN/APG-79 ถูกนำมาติดตั้งกับ F/A-18E/F Super Hornet และ EA-18G Growler ตั้งแต่ปี 2006 แล้วครับ

วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2558

จีนเสนอเรือดำน้ำแบบ S26T ให้กองทัพเรือไทย

บริษัท CSOC สาธารณรัฐประชาชนจีน เข้ามาบรรยายสรุปข้อมูลเรือดำน้ำแบบ S26T (Yuan Class) โดยมี พล.ร.อ.ธนะรัตน์ อุบล เสนาธิการทหารเรือ เป็นประธานเข้ารับฟัง เมื่อ 12 ม.ค.58




https://www.facebook.com/pages/Submarine-Squadron-กองเรือดำน้ำ-กองเรือยุทธการ/222887361082619

จีนนับเป็นประเทศแรกในปี ๒๕๕๘ นี้ที่ส่งตัวแทนบริษัทมาเสนอแบบเรือดำน้ำให้กองทัพเรือครับ
โดย CSOS(China Shipbuilding & offshore International Co., Ltd) นั้นก็เป็นบริษัทด้านการสร้างเรือรบในเครือของ CSIC(China Shipbuilding Industry Corporation)
ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจด้านอุตสาหกรรมต่อเรือรายใหญ่ของจีน

เรือดำน้ำแบบ S26T ก็น่าจะเป็นแบบเรือสำหรับการส่งออกโดยเฉพาะเหมือนเรือดำน้ำแบบ S20 ที่เคยมีการนำเสนอข้อมูลให้กองทัพเรือไทยไปครับ
โดย S26T นี่ดูจากการตั้งชื่อรุ่นแบบเรือแล้วน่าจะเป็นที่ออกแบบมาสำหรับเพื่อส่งออกให้กองทัพเรือไทยโดยเฉพาะ
เพราะการตั้งชื่อรุ่นแบบเรือนี้เป็นอย่างเดียวกับเรือฟริเกต Type 053T ชุด ร.ล.เจ้าพระยา, Type 053HT ชุด ร.ล.กระบุรี และ F25T ชุด ร.ล.นเรศวร เป็นต้น
ซึ่ง S26T นี่ก็น่าจะเหมือนกับ S20 ที่มีพื้นฐานที่ย่อส่วนมาจากเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าแบบ Type 039A Yuan ของกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน
เรือชั้น Yuan เป็นเรือดำน้ำลาดตระเวนเดินสมุทรขนาดใหญ่ระวางขับน้ำ 3,600tons ยาว 75m มี Torpedo ๖ท่อยิง กำลังพล ๖๕นาย ซึ่งใช้ Technology ขั้นสูงเช่นระบบ AIP เป็นต้น
แต่คุณสมบัติแบบเรือ S26T ตอนนี้ยังค้นข้อมูลไม่ได้ครับ แต่ถ้าที่ CSOS เสนอข้อมูลว่าคือเรือชั้น Yuan สำหรับกองทัพเรือไทย
ก็ไม่แน่ใจว่าเรือแบบ S26T นี่จะมีความใกล้เคียงกับเรือชั้น Yuan ที่จีนใช้เองมากที่สุดและก้าวหน้าที่สุดในรุ่นส่งออกหรือไม่ครับ
(คงต้องรอข้อมูลเพิ่มเติมจากกองเรือดำน้ำก่อน)

ตรงนี้โดยความเห็นส่วนตัวเองแล้วมองว่ากองทัพเรือไม่ควรจะจัดหาเรือดำน้ำจากจีนครับ ด้วยสองเหตุผลหลักคือ
ประการแรกปัจจุบันจีนมีนโยบายที่จะไม่ส่งออกระบบอาวุธที่ใช้งานในกองทัพปลดปล่อยประชาชนเองให้กับประเทศอื่นยกเว้นมิตรประเทศที่ใกล้ชิดมากๆแต่ก็เพียงบางระบบเท่านั้น
ซึ่งเฉพาะในส่วนระบบเรือดำน้ำจีนเองก็แทบจะไม่มีลูกค้าประเทศอื่นที่สนใจจะจัดหาไปใช้เลยแม้ว่าจะทำการตลาดประชาสัมพันธ์มานานหลายปีแล้ว
ตามที่เคยรายงานไปก็มีบังคลาเทศที่จะจัดหาเรือดำน้ำ Type 035 Ming มือสองสองลำซึ่งเก่าและล้าสมัยมากพอสมควร
หรือปากีสถานที่จะจัดหาเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าจากจีน ๖ลำ ตอนนี้ก็ยังไม่มีการต่อและส่งมอบ
การที่กองทัพเรือไทยจะเลือกจัดหาเรือดำน้ำจากจีนซึ่งเป็นเรือแบบใหม่ที่ยังไม่เคยมีการสร้างจริงมากและที่ผ่านมาแทบจะไม่มีลูกค้าเลยเป็นเรื่องที่ค่อนข้างเสี่ยงเกินไปมาก

ประการที่สองคือที่ผ่านมาตั้งแต่ที่กองทัพเรือจัดหาเรือรบจากจีนมาในช่วง ๒๕ปีมานี้กองทัพเรือก็ประสบปัญหาการใช้งานที่ไม่น่าพอใจของเรือรบจีนหลายชุด
เช่นชุด ร.ล.เจ้าพระยา และชุด ร.ล.กระบุรีที่ตัวเหล็กเรือคุณภาพไม่ดี เคยมีรายงานเรือชนขยะที่ลอยในทะเลขณะเดินเรือจนเรือบุบน้ำทะเลรั่วเข้าเรือในห้องพักลูกเรือ แต่โชคดีอุดปะค้ำยันได้ทันเรือจึงไม่จม
ระบบอำนวยการของเรือชุด ร.ล.เจ้าพระยา และชุด ร.ล.กระบุรี เช่น ZJK-3 ก็ล้าสมัยลงอย่างรวดเร็ว
โดยในส่วนระบบควบคุมปืนใหญ่เรือของเรือชุด ร.ล.เจ้าพระยานั้นกองทัพเรือได้พัฒนาระบบ Software ควบคุมการยิงใหม่แทนระบบจีนเดิมที่เสื่อมสภาพใช้งานไม่ได้แล้ว
ส่วนของชุด ร.ล.กระบุรีนั้นมีการปรับปรุงติดตั้งระบบใหม่ เช่น อาวุธปล่อยนำวิถี C-802A ปืนใหญ่เรือ 100mm แฝดสอง และปืนใหญ่กลรอง 37mm แฝดสองระบบควบคุมการยิงใหม่จากจีนไปแล้ว
แต่เนื่องจากเรือทั้งสองชุดเป็นเรือรุ่นเก่าจึงมีพื้นที่จำกัดติดตั้งปรับปรุงอะไรใหม่ไม่ได้มาก
ด้านเรือชุด ร.ล.นเรศวรทั้ง ๒ลำเองที่เดิมเป็นระบบผสมระหว่างระบบจีนและระบบตะวันตกก็มีปัญหาการบูรณาการระบบที่ล่าช้ากว่าเรือจะมีความพร้อมรบหลังรับมอบเรือที่ต่อเสร็จจากจีนมา
จนต่อมาจึงมีโครงการปรับปรุงเรือใหม่เอาระบบจีนออกหมด เช่น ระบบอำนวยการรบ ZJK-5, Radar ตรวจการณ์ Type 360, ปืนใหญ่กลรอง Type 76A 37mm แฝดสอง กับระบบควบคุมการยิง Type 347G
และติดตั้งระบบตะวันตกใหม่ทั้งหมด เช่น ระบบอำนวยการรบ SAAB 9LV, Radar ตรวจการณ์สามมิติ SAAB SEA GIRAFFE AMB, Radar ควบคุมการยิง SAAB CEROS200 CWI
ปืนใหญ่กลรอง MSI DS30MR และแท่นยิง Mk41 VLS 8-cell พร้อม RIM-162 ESSM เป็นต้น
และเรือที่ใช้ระบบตะวันตกล้วนแต่ยังต่อที่อู่ในจีนคือเรือชุด ร.ล.ปัตตานีนั้น ก็มีรายงานว่าการเก็บงานเช่นการเดินสายไฟภายในเรือและคุณภาพเหล็กตัวเรือที่เป็น Mild Steel ค่อนข้างแย่มากครับ

ทั้งสองประการที่กล่าวมาก็น่าจะเป็นเหตุผลประกอบที่กองทัพเรือน่าจะพิจารณาจากประสบการณ์ใช้งานจริงประกอบว่าเรือรบจีนนั้นมีปัญหาเรื่องคุณภาพตัวเรือที่ยังขาดความน่าเชื่อถืออยู่
การที่จะจัดหาเรือดำน้ำซึ่งเป็นเรือรบที่มีชิ้นส่วนจำนวนมากกว่าเรือผิวน้ำหลายเท่าและมีความซับซ้อนด้าน Technology ที่สูงด้วยแล้ว ยิ่งจำเป็นต้องพิจารณาให้รอบคอบอย่างยิ่ง
เพราะไม่เช่นนั้นเรือดำน้ำที่จะจัดหามาจะไม่มีความคุ้มค่าในการใช้งานในระยะยาวและอาจจะไม่มีความปลอดภัยต่อกำลังพลที่จะรับมอบเรือไปประจำการด้วยครับ

อย่างไรก็ตามก็เหมือนกับในปี ๒๕๕๗ ที่ผ่านมาแล้วว่ามีตัวแทนบริษัทจากหลายประเทศคือ
Rosoboronexport รัสเซียเสนอแบบเรือ Project 636 KILO และ AMUR 1650
DSME สาธารณรัฐเกาหลีเสนอแบบเรือ DSME1400
และ DCNS ฝรั่งเศสเสนอแบบเรือ Scropene 1000 และ Scropene 2000 นั้น
ต่างเป็นเพียงการเสนอข้อมูลให้กองทัพเรือรับทราบเท่านั้น การยื่นข้อเสนอเพื่อแข่งขันในโครงการจัดหายังไม่ได้เกิดขึ้นครับ
(ตรงนี้จะได้จากภาพการนำเสนอในข้างต้นที่จอภาพฉายอยู่ว่าเป็น "Proposal" หรือ "ข้อเสนอ" เท่านั้น)
ซึ่งก็ไม่ทราบว่ากองทัพเรือจะสามารถจัดตั้งโครงการจัดหาเรือดำน้ำได้ใหม่ภายในปีนี้หรือไม่ เพราะว่ามีปัจจัยอยู่หลายประการที่จะเป็นอุปสรรคต่อโครงการอยู่
ก็หวังกองทัพเรือและกองเรือดำน้ำจะสามารถจัดตั้งโครงการจัดหาเรือดำน้ำได้ตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้ โดยมีการพิจารณาเลือกแบบเรือที่มีคุณสมบัติดีเหมาะสมและได้ประโยชน์สูงสุด
เพราะตามที่เคยกล่าวไปว่าถ้ากองทัพเรือมีเรือดำน้ำประจำการช้าเท่าไร ประเทศไทยจะยิ่งเสียเปรียบทางด้านยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศทางทะเลมากขึ้นเท่านั้นครับ

วันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2558

กองทัพบกสหรัฐฯปฏิเสธข้อเสนอปืนพก M9A3 โดยจะจัดหาปืนพกแบบใหม่แทน

Army Rejects M9A3 Proposal, Opts for New Pistol 
http://www.military.com/daily-news/2015/01/09/army-rejects-m9a3-proposal-opts-for-new-pistol.html



กองทัพบกสหรัฐฯปฏิเสธที่จะรับข้อเสนอของ Beretta USA ในการทดสอบประเมินผลปืนพก M9A3 รุ่นปรับปรุง โดยจะดำเนินโครงการจัดหาปืนพกแบบใหม่
เมื่อเดือนธันวาคมปี 2014 Beretta USA ผู้ผลิตปืนพก M9(Beretta 92FS) ซึ่งเป็นปืนพกประจำกายของกองทัพบกสหรัฐฯมานานกว่า 30ปี
ได้เสนอแบบปืนพก M9A3 ซึ่งเป็นรุ่นปรับปรุงใหม่ของปืน M9 ที่ใช้ศูนย์เล็งแบบใหม่ มีรางติดอุปกรณ์เสริมเช่นไฟฉาย และปรับปรุงทรงปืนใหม่เหมาะกับร่างกายผู้ใช้และมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น
ทั้งนี้ทาง Beretta USA ได้ไม่ได้รับการแจ้งอย่างเป็นทางการจากกองทัพบกสหรัฐฯถึงการปฏิเสธข้อเสนอในการทดสอบประเมิน M9A3
ทางด้าน Gabriele De Plano รองประธานฝ่ายการตลาดและการขายผลิตภัณฑ์ทางทหารของ Beretta USA ได้แสดงความเห็นตอบโต้ในเรื่องนี้ว่า
"M9A3 อาจจะไม่ใช่ปืนที่ดีเลิศ แต่อย่างน้อยกองทัพบกก็ควรจะประเมินมัน"
แต่อย่างไรก็ตามกองทัพบกสหรัฐฯได้ปฏิเสธข้อเสนอทางเลือกนี้และมุ่งเน้นว่าโครงการ Modular Handgun System ซึ่งเป็นการจัดหาปืนพกแบบใหม่แทน M9 จะเป็นปืนแบบใหม่
โครงการ MHS นั้นได้เริ่มขึ้นในช่วงต้นปี 2013 โดยมีบริษัทผู้ผลิตปืนชั้นนำยื่นข้อเสนอแบบปืนเข้าแข่งขั้นในโครงการจัดหาปืนพกใหม่จำนวน 500,000กระบอกของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ
เฉพาะในส่วนของกองทัพบกสหรัฐฯนั้นต้องการปืนพกใหม่ขนาดมาตรฐานมากกว่า 280,000กระบอก ภายในปี 2017 ซึ่งอาจจะรวมถึงรุ่น Sub-Compact อีก 7,000กระบอก
และอาจจะจัดหาเพิ่มเติมอีก 212,000กระบอก ซึ่งโครงการ MHS ใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า $350 million ครับ

วันเสาร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2558

การจัดแสดงยุทโธปกรณ์ในวันเด็ก ๒๕๕๘ ที่กองพลทหารม้าที่๒ รักษาพระองค์

วันเด็กในเสาร์ที่สองของเดือนมกราคมของทุกปีก็อย่างที่ทราบครับว่ากองทัพจะนำยุทโธปกรณ์และจัดกิจกรรม
ปีนี้เลือกไปกองพลทหารม้าที่๒ รักษาพระองค์ที่สนามเป้าครับ เพราะมียุทโธปกรณ์แบบใหม่มาจัดแสดงให้ประชาชนทั่วไปชมเป็นครั้งแรก




มาหน้าค่ายก็ต้องมาถ่ายรูปกับ รถถังเบา M24 Chaffee ซึ่งเป็นรถถังเบาแบบแรกของกองทัพบกไทยที่จัดหาจากสหรัฐฯในปี ๒๔๙๕
แต่ส่วนตัวคิดว่าไม่น่าทำสีลายพราง Digital แบบนี้เลย น่าจะทำเป็นเขียวขี้ม้าดั้งเดิมเหมือนตอนนำเข้าประจำการเพื่อเป็นการอนุรักษ์มากกว่า











มาถึงตัวเด่นประจำงานนี้ครับ รถถังหลัก T-84 Oplot กองพันทหารม้าที่๒ กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์
พยายามจะถ่ายเจาะให้ได้ทุกมุมให้มากที่สุดครับ แต่เด็กกับคนเดินกันเต็มเต็นท์ที่ร่มมากหามุมถ่ายดีๆแทบไม่ได้เลย แถมฝนตกปรอยๆสภาพแสงแย่ด้วย
แต่เท่าที่สัมผัสตัวรถดูจะเห็นได้ว่ามีร่องรอยการใช้งานมาอย่างหนักมากแม้ว่าเพิ่งจะเข้าประจำการมาได้เพียงหนึ่งปี
คือเต็มไปด้วยรอยขีดข่วน สีถลอก รอยเลอะ แสดงว่ากองทัพบกทำการทดสอบรถถัง BM Oplot ชุดแรกทั้ง ๕คันอย่างหนักมาตลอดครับ
แต่ไม่ได้มีโอกาสถามคำถามกับเจ้าหน้าที่ว่ารถชุดใหม่จะมาเมื่อไร หรือมีการทดสอบยิงอาวุธปล่อยนำวิถี KOMBAT ไปหรือยัง
เพราะเจ้าหน้าที่ต้องดูแลความปลอดภัยของเด็กๆที่ปีนป่ายจับโน่นจับนี่บนรถตลอดซึ่งสำคัญกว่ามาก
อีกทั้งรถไม่ได้เปิดป้อมให้เข้าไปดูภายในตัวรถด้วยครับ


ถ้าเทียบกับ M60A3 กองพันทหารม้าที่๑๗ รักษาพระองค์ ที่ตั้งแสดงอยู่ข้างๆกันแล้ว
ถึงแม้ว่าจะเป็นรถมือสองที่จัดหามาในปี ๒๕๔๐ แต่ M60A3 ทำสีพรางและมีความสะอาดกว่า Oplot มาครับ
คุณภาพเนื้องานตัวรถถ้าเทียบแล้ว M60A3 จะเก็บงานเรียบละเอียดกว่า Oplot ที่งานเนื้อโลหะค่อนข้างหยาบกว่าพอสมควร
แต่ Oplot มีความทันสมัยกว่า M60A3 ขั้นหนึ่งครับ





ยุทโธปกรณ์ยานยนต์ที่จัดแสดงในงานส่วนใหญ่เป็นของ พล.ม.๒รอ. กับ พล.๑ และมี พล.ร.๒ รอ. บ้างครับ
อย่างรถถังเบา ๒๑ Scorpion รถยนต์บรรทุก HMMWV รถสายพานลำเลียง M113 และ Type 85 และรถหุ้มเกราะล้อยาง BTR-3E1
มีการจัดแสดงเครื่องยิงลูกระเบิด 120mm และปืนใหญ่สนาม 105mm และอาวุธยิงสนับสนุนการรบอื่นๆอยู่ ๓-๔แบบ
อาวุธปืนประจำการที่นำมาแสดงเป็นของ กองพันทหารราบที่๓ กรมทหารราบที่๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์
มีหลักๆคือ ปลย.๕๐ Tavor TAR-21 ปก.๓๘ FN MAG-58 ชุดใหม่ที่มีราง Picatinny และ M16A1









อากาศยานที่จัดแสดงปีนึ้มาน้อยครับมีแค่สามแบบ ตัวเด่นที่สุดในงานอันดับรองคือ ฮ.ท.๒๑๒ Bell 212 กองบินปีกหมุนที่๒ ศูนย์การบินทหารบก
ซึ่งได้รับการปรับปรุงใหม่เป็น ฮ.ใช้งานทางยุทธวิธี จะเห็นได้ว่าทาสีดำแบบเดียวกับ ฮ.ลว./อว.๕๕๐ AS550 C3 ซึ่งเป็นสีดูดกลืน Radar และตรวจจับได้ยากในเวลากลางคืน







อากาศยานตัวเด่นสุดในงานคือ ฮ.ท.๖๐ UH-60M กองบินปีกหมุนที่๙(ผสม) ศูนย์การบินทหารบก เป็น ฮ.รุ่นใหม่ล่าสุดครับ
จะเห็นว่าห้องนักบินเป็นแบบ Glass Cockpit มี Hoist ติดมากับเครื่อง และมีอุปกรณ์ทันสมัยรุ่นใหม่ติดกับเครื่องหลายแบบ




ตัวใหญ่ที่สุดในงาน ฮ.ท.๑๗ Mi-17V5 กองบินสนับสนุนทั่วไป ศูนย์การบินทหารบก ไม่มีอะไรใหม่เพราะออกงานต่างๆแทบตลอดครับ

ภาพน้อยและไม่ค่อยดีนอกจากสภาพอากาศแล้วอีกส่วนก็เพราะกล้องด้วยส่วนหนึ่ง 
ใช้กล้อง CCD Sensor รุ่นเก่าเมื่อ ๑๐ปีที่แล้วที่ Battery Life ถ่ายได้ต่อเนื่องแค่ 150ภาพ ใน๒-๓ชั่วโมง การตอบสนองช้าและคุณสมบัติการใช้งานต่ำ 
ซึ่งน่าเบื่อมากปีนี้ต้องพยายามหากล้องใหม่ให้ได้ครับ