วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

กัมพูชากำลังเจรจาเพื่อจัดหาเรือรบจากจีน

Cambodia in talks to buy warships from China
http://www.phnompenhpost.com/national/cambodia-talks-buy-warships-china

หนังสือพิมพ์ The Phnom Penh Post รายงานการเปิดเผยข้อมูลของ พลเรือเอก Tea Vinh ผู้บัญชาการทหารเรือกัมพูชาว่า กองทัพเรือกัมพูชาได้เจรจากับจีนเพื่อจัดหาเรือรบขนาดหนักความยาว 140m ติดตั้งระบบอาวุธที่ทันสมัยจำนวน 2ลำ

โดยพลเรือเอก Tea Vinh ได้ให้ข้อมูลนี้ต่อสื่อระหว่างการประชุมกับ พลเรือตรี Yu Manjiang จากกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน ณ กองบัญชาการกองทัพเรือกัมพูชาที่กรุง Phnom Penh
"กองทัพเรือกัมพูชาจำเป็นต้องการเรือรบสองลำ แต่การสื่อสารกำลังอยู่ในขั้นตอนของสองรัฐมนตรีกลาโหม เราจะไม่ใช้พวกเธอเพื่อสงคราม เราจะใช้พวกเธอเพื่อปกป้องเขตอธิปไตยของเราเท่านั้น กัมพูชาไม่ควรจะถูกมองอย่างดูถูกจากประเทศเพื่อนบ้าน" พลเรือเอก Tea Vinh กล่าว
ระหว่างการประชุม พล.ร.อ.Vinh ยังได้กล่าวย้ำกับ พล.ร.ต.Manjiang ว่ากัมพูชาอยู่ข้างเดียวกับจีนในกรณีพิพาททะเลจีนใต้
โดยนายพลเรือ Vinh กล่าวว่าเขาไม่ได้พูดคุยเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวนี้เนื่องจาก "กองทัพเรือกัมพูชามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับจีนและเคารพต่อนโยบายจีนเดียว"

ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 22-26 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา หมู่เรือกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนประกอบด้วย เรือฟริเกตชั้น Type 054A 2ลำคือ FFG-573 Liuzhou และ FFG-574 Sanya และเรือส่งกำลังบำรุง Qianghaihu
ที่กลับจากเข้าร่วมงานสวนสนามทางเรือนานาชาติ International Fleet Review 2016 ที่ Visakhapatnam อินเดีย วันที่ 4-8 กุมภาพันธ์
ได้เยือนกัมพูชาจอดเทียบท่าที่จังหวัด Preah Sihanouk(Sihanoukville) และหมู่เรือจีนได้มีการฝึกซ้อมรบร่วมกับกองทัพเรือกัมพูชาก่อนออกเดินทางต่อ
(เช่นเดียวกับก่อนหน้านี้ในวันที่ 17-21 กุมภาพันธ์ หมู่เรือกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนดังกล่าวได้จอดเทียบท่าที่ ท่าเรือแหลมฉบัง อำเภอศรีราช จังหวัดชลบุรี และฝึก PASSEX กับ ร.ล.บางปะกง กองทัพเรือไทย)

กองทัพเรือกัมพูชาในปัจจุบันเป็นกองทัพเรือขนาดเล็กมีกำลังพลประมาณ 2,800นายรวมนาวิกโยธินกัมพูชา มีฐานทัพเรือหลักที่ Ream กำลังทางเรือหลักประกอบด้วยเรือตรวจการณ์ปราบเรือดำน้ำชั้น Type 037 2ลำ และเรือตรวจการณ์ปืนชั้น Type 062 15ลำ ซึ่งได้รับมอบจากจีน
ยังไม่มีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแบบเรือรบที่กัมพูชาต้องการจะจัดหาจากจีนว่าเป็นเรือแบบใด แต่มีความเป็นไปได้ว่าน่าจะเป็นเรือฟริเกตติดอาวุธปล่อยนำวิถี ทั้งเรือต่อใหม่หรือเรือเก่ามือสอง


แบบเรือที่ใกล้เคียงและทันสมัยที่สุดก็มีเช่นแบบเรือฟริเกต Stealth "High Performance Frigate" ของ CSOC(China Shipbuilding & Offshore International Co.) ขนาด 135m ระวางขับน้ำ 3,700tons กำลังพล 110นาย มีลาดจอดและโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์สำหรับ ฮ.Z-9EC
ติดปืนใหญ่เรือ H/PJ-26 76mm 1กระบอก ปืนใหญ่กล H/PJ-13 CIWS 30mm 2กระบอก อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้ FL-3000N 1แท่นยิง 24นัด แท่นยิง VLS 32ท่อยิงสำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยกลาง LY-80(HQ-16) อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ 8นัด และแท่นยิง Torpedo เบาปราบเรือดำน้ำแฝดสาม 2แท่นสำหรับ Torpedo Yu-7 ขนาด 324mm 6นัด
(สมรรถนะใกล้เคียงกับเรือฟริเกตชั้น Type 054A ซึ่งจีนเคยเสนอให้กองทัพเรือไทย 3ลำในโครงการเรือฟริเกตสมรรถนะสูงแต่กองทัพเรือไทยเลือกแบบเรือ DSME DW3000H สาธารณรัฐเกาหลี)
ซึ่งถ้ากัมพูชาบรรลุข้อตกลงจัดหาเรือรบใหม่จากจีนจริงจะเป็นการยกศักยภาพของกองทัพเรือกัมพูชาเข้าสู่ยุคใหม่อย่างก้าวกระโดดครับ

รัสเซียเดินหน้าแผนปรับปรุงอาวุธยุทโธปกรณ์กองทัพใหม่คืบหน้าร้อยละ50

Russia's rearmament 50% ahead of plan — official
Evgeniy Kurskov/TASS
Instead of rearming the Russian Armed Forces, including the Arctic Strategic Command by 30% Russia has achieved 47% implementation
http://tass.ru/en/defense/859099

รองนายกรัฐมนตรีรัสเซีย Dmitry Rogozin กล่าวแถลงต่อสภาสหพันธรัฐรัสเซียว่าแผนการปรับปรุงอาวุธยุทโธปกรณ์ใหม่ของกองทัพบกรัสเซียและกองทัพเรือรัสเซียภายในปี 2020 ได้ดำเนินการคืบหน้าไปแล้วร้อยละ50
"เรารักษาสถานการณ์ภายใต้การควบคุมจากจุดยืนของการดำเนินผลงานโครงการรัฐสำหรับยุทโธปกรณ์ที่ขยายไปจนถึงปี 2020 เรากำลังเดินหน้าตามเวลา
การจัดหายุทโธปกรณ์ใหม่แทนที่ในกองทัพรัสเซียรวมถึงกองบัญชาการยุทธศาสตร์ Artic ร้อยละ30 เราได้ประสบความสำเร็จในการดำเนินงานร้อยละ47 หรือในอีกความหมายหนึ่งเรากำลังเข้าใกล้เป้าหมายของเราไปร้อยละ50แล้ว" นาย Rogozin กล่าว
รองนายกรัฐมนตรีรัสเซีย Rogozin ยังได้ขอบคุณสภารัฐสภารัสเซียที่สนับสนุนงบประมาณกลาโหมในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจของรัสเซียอยู่ในความยากลำบาก
อีกทั้งนาย Rogozin ยังจำได้อีกว่ามันยังไม่ได้มีการอนุญาตอย่างเต็มที่เพื่อให้การเบิกใช้งบประมาณมีประสิทธิภาพ โดยให้ความเห็นว่าตัวอย่างการทุจริตนั้นเป็นกรณีที่หาได้ยากครับ

ศาลรัสเซียปฏิเสธคำร้องขอล้มละลายของ Kurganmashzavod ผู้ผลิตรถถรบทหารราบ BMP-3

BMP-3 Moscow May Parade 2008(wikipedia.org)

Urals arbitration court rejects claim to bankrupt major Russian armour producer
http://www.janes.com/article/58356/urals-arbitration-court-rejects-claim-to-bankrupt-major-russian-armour-producer

ศาลอนุญาโตตุลาการรัสเซียใน Kurgan เขต Urals ใต้ได้ตัดสินว่าไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จะให้บริษัท Kurganmashzavod ผู้ผลิตรถรบทหารราบตระกูล BMP รายเดียวของรัสเซียประกาศสภาพล้มละลาย
โดย Kurganmashzavod เป็นบริษัทย่อยในเครือกลุ่มโรงงาน Tractor Plants Group
"ศาลได้พิจารณาบทกฎหมายการล้มละลายที่กำหนดขั้นตอนเป็นพิเศษสำหรับกรณีขั้นต้นเกี่ยวกับการล้มละลายของผู้ประกอบการที่สำคัญทางยุทธศาสตร์ของอุตสาหกรรมความมั่นคงรัสเซีย" ทางบริษัทกล่าว
คำร้องขอประกาศภาวะล้มละลายของ Kurganmashzavod ถูกส่งให้ศาลอนุญาโตตุลาการ Kurgan เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาโดยกลุ่ม MTE Group ที่มีฐานใน Moscow
โดยอ้างการฟ้องเนื่องจากว่ามีการค้างการชำระสัญญาเช่าที่สองบริษัทมีการลงนามกันไว้เรื่องค่าก๊าซตามที่เคยรายงานข่าวไปครับ

วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

จีนเปิดสายการผลิตอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง 9M119M Reflex รัสเซีย

China has launched the production of Russian-made 9M119 AT-11 Sniper anti-tank guided missile.
3UBK14F1 ammunition with 9M119F1 guided high explosive missile. (Wikipedia Vitaly Kuzmin)

จากข้อมูลของสถาบันวิจัยสันติภาพนานาชาติ Stockholm(SIPRI: Stockholm International Peace Research Institute) ในส่วนฐานข้อมูลการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์มีรายงานว่า
สาธารณรัฐประชาชนจีนได้เปิดสายการผลิตอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังแบบ 9M119M Reflex ขนาด 125mm (NATO กำหนดรหัส AT-11 Sniper) หรือที่กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนกำหนดแบบว่า GP7 แล้ว

ตามรายงานในฐานข้อมูลของ SIPRI จีนได้ลงนามสัญญาจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง 9M119 ในปี 1998 และเริ่มได้รับมอบตั้งแต่ปี 2001
ในปี 2015 จีนได้จัดตั้งสายการผลิตของ 9M119M ภายในประเทศภายใต้การกำหนดแบบว่า GP7 มีความเป็นไปได้ว่าอาวุธปล่อยนำวิถีรุ่นนี้จะถูกผลิตหรือลอกแบบในจีนตั้งแต่ก่อนปี 2015
คาดว่ากองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนมีอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง 9M119M/GP7 อยู่ราว 1,500นัด โดยใช้เป็นกระสุนนำวิถียิงจากปืนใหญ่รถถังสำหรับรถถังหลัก Type 99 ซึ่งใช้ปืนใหญ่รถถังขนาด 125mm ที่ใช้กระสุนขนาดเดียวกับรถถังหลักรัสเซีย

อาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง 9M119M Reflex ถูกออกแบบพัฒนาโดยสำนักออกแบบเครื่องมือ Tula KBP ซึ่งเป็นผู้ออกแบบผลิตอาวุธความแม่นยำสูงของกองทัพรัสเซีย โดยออกแบบมาตั้งแต่ช่วงปี 1980s
อาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังตระกูล 9M119 นำวิถีแบบไต่ลำ Laser หัวรบ Tandem เจาะเกราะเหล็กกล้า RHA ได้หนา 850-900mm เมื่อผ่านเกราะแรงระเบิดปฏิกิริยา ERA มีระยะยิง 5,000m (9M119F เป็นแบบกระสุนระเบิดแรงสูงต่อต้านบุคคล)
ทำการยิงจากปืนใหญ่รถถังตระกูล 2A46 ที่ติดกับรถถังหลัก T-72(9M119 Svir), T-80 และ T-90(9M119M Reflex) และปืนใหญ่รถถัง 2A75 ที่ติดตั้งกับรถถังหลัก T-14 Armata
นอกจากจีนแล้วรัสเซียยังได้ขายสิทธิบัตรให้ Bharat Dynamic Limited อินเดียผลิต 9M119 ในประเทศตนด้วยครับ

iXBlue จะจัดส่งระบบนำร่อง MARINS สำหรับเรือดำน้ำแบบ A26 สวีเดน

iXBlue to Provide MARINS Inertial Navigation Systems for Swedish Navy A26 Submarines
Artist impression of the future A26-class submarine
http://www.navyrecognition.com/index.php/news/defence-news/2016/february-2016-navy-naval-forces-defense-industry-technology-maritime-security-global-news/3604-ixblue-to-provide-marins-inertial-navigation-systems-for-swedish-navy-a26-submarines.html

บริษัท iXBlue ผู้ผลิตระบบนำร่อง หาที่เรือ และภาพถ่ายนานาชาติชั้นนำของโลก จะจัดส่งระบบนำร่อง Inertial Navigation System แบบ MARINS สำหรับติดตั้งในเรือดำน้ำแบบ A26 ของกองทัพเรือสวีเดน
เรือดำน้ำแบบ A26 เป็นเรือดำน้ำยุคอนาคตใหม่ล่าสุดที่ออกแบบสร้างโดย SAAB ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง 2ลำมีกำหนดเข้าประจำการในปี 2024 เป็นเรือดำน้ำที่ออกแบบเป็นระบบ Modular ล้ำสมัยที่สุดในกลุ่มเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้ายุคปัจจุบัน
SAAB ได้เคยมองหาระบบนำร่องใต้ทะเลที่มีสมรรถนะและความน่าเชื่อถือสูงสุดสำหรับเรือดำน้ำ A26 ซึ่งถูกสร้างเป็นพิเศษสำหรับปฏิบัติการใต้น้ำได้เป็นเวลานาน มีความคล่องตัวสูงในทุกน่านน้ำ ระบบนำร่องที่ติดตั้งกับเรือจึงต้องพิสูจน์ว่ามีความทนทาน น่าเชื่อถือ และแม่นยำสูง

iXBlue จึงเป็นตัวเลือกของ SAAB ซึ่งทั้งสองบริษัทนั้นได้มีความร่วมมือเป็นหุ้นส่วนที่แข็งแกร่งระหว่างกันมาหลายปีแล้ว ในปี 2015 iXBlue ได้จัดส่งระบบนำร่อง MARINS 7ชุดให้กองทัพเรือสวีเดนสำหรับการปรับปรุงเรือดำน้ำชั้น Gotland
นอกจากนั้นความสัมพันธ์ที่ไว้วางใจที่สองหุ้นส่วนบริษัทสร้างขึ้นนั้น ทำให้ SAAB พึ่งพอใจกับคุณภาพและประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ที่สมบูรณ์แบบตามความต้องการ
การพิสูจน์ความเชี่ยวชาญและความน่าเชื่อถือของ iXBlue ทำให้พวกเขามั่นใจที่ได้รับเลือกให้เป็นบริษัทด้าน Technology ขั้นสูงของฝรั่งเศสสำหรับโครงการนวัตกรรมหลักสำคัญนี้

การเลือกระบบนำร่อง INS แบบ MARINS ทำให้เรือมีคุณสมบัติในการนำร่องด้วยตนเองแบบตรวจจับได้ยาก มีความแม่นยำสูงในการหันหัวเรือ หมุน ก้มเงย ปรับระดับความเร็ว และเปลี่ยนตำแหน่ง ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ปราศจาก GNSS
Jan Aadland ผู้จัดการฝ่ายขายของ iXBlue กล่าวด้วยความยินดีว่า "เราภูมิใจที่อุปกรณ์ของเราได้ถูกเลือกให้ติดตั้งกับเรือดำน้ำในปัจจุบันและอนาคตของกองทัพสวีเดน ความเป็นหุ้นส่วนระหว่างเรากับ SAAB จะทวีความแนบแน่น ด้วยความเข้าใจร่วมกันของลูกค้าของเรา ผลิตภัณฑ์ของ iXBlue นั้นมีเฉพาะตัวที่เป็นกุญแจไปสู่ความสำเร็จของเรา"
ปัจจุบันบริษัท iXBlue มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว และผลิตภัณฑ์ระบบนำร่องของ iXBlue ได้ถูกไว้วางใจให้ติดตั้งในเรือของกองทัพเรือกว่า10ประเทศในยุโรปครับ

วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

BAE Systems ตั้งเป้าเสนอยานรบทหารช่าง Terrier ให้ลูกค้ากลุ่มประเทศเอเชีย-แปซิฟิก

BAE Systems pitching Terrier to Asia-Pacific customers
BAE Systems is marketing its Terrier CEV to militaries in the Asia-Pacific region. Source: IHS/Patrick Allen
http://www.janes.com/article/58250/bae-systems-pitching-terrier-to-asia-pacific-customers

BAE Systems สหราชอาณาจักรตั้งเป้าการขายยานรบทหารช่าง(CEV: Combat Engineer Vehicle) แบบ Terrier รุ่นปรับปรุงล่าสุดให้กับกองทัพกลุ่มประเทศภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
Jane's ได้รับข้อมูลในงาน Singapore Airshow 2016 เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของงานแสดง โดยนาย Rory Breen หัวหน้าฝ่ายส่งออกของ BAE Systems Land (UK) กล่าวว่า
ทางบริษัทมองเห็น "โอกาสที่แข็งแกร่ง" ในการขายยานรบทหารช่าง Terrier ให้กับประเทศในภูมิภาคนี้ ในการพุ่งเป้าการส่งออก BAE Systems ได้พูดคุยกับลูกค้าที่มีความเป็นได้หลายประเทศรวมถึง สิงคโปร์ และออสเตรเลีย

"เราเห็นโอกาสในสิงคโปร์และเช่นเดียวกับตลอดทั้งภูมิภาคนี้ เราได้รับความสนใจจากอีกอย่างน้อยสองประเทศ(ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้)
และเราได้ตอบรับเอกสารขอข้อมูล(RFI: Request for Information) ของออสเตรเลียซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Land 400 ในการจัดหายานยนต์สนับสนุนการรบของพวกเขา
ทางสิงคโปร์ได้แสดงความสนใจถึงยานยนต์ของเราอย่างแน่นอนและเราได้พูดคุยกับพวกเขาแล้ว" นาย Breen กล่าว

นาย Breen กล่าวว่านั่นเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันการขายยานรบทหารช่าง Terrier ในภูมิภาคนี้ โดยทาง BAE Systems ยังได้เสนอความร่วมมือกับบริษัทในแต่ละประเทศเพื่อปรับแต่งรถให้ตรงกับความต้องการของแต่ละประเทศ
"แนวทางการส่งออกของเราคือการทำงานร่วมกับอุตสาหกรรมท้องถิ่น ดังนั้นผมจะขอเสนอว่าประเทศซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโลกนี้น่าจะต้องการเพิ่มขีดความสามารถบางประการ อย่างเช่นระบบวิทยุของพวกเขาเองให้กับรถหรือดำเนินการปรับแต่งรถในส่วนย่อย"
การสนับสนุนรถก็ควรจะมาจากแหล่งในท้องถิ่นด้วย นาย Breen กล่าวเสริม

สำหรับตัวยานรบทหารช่าง Terrier CEV เอง นาย Breen กล่าวว่าสิ่งน่าดึงดูดของรถต่อภูมิภาคนี้ได้รับการปรับเพิ่มโดยการขยายช่วงของบทบาทที่รถสามารถทำการได้ ซึ่งเขากล่าว่าขีดความสามารถของรถตอนนี้ได้รับการปรับปรุงหลายส่วน
เช่นระบบทำลายทุ่นระเบิดใหม่ที่นำมาแทนที่ตักดิน Hydraulic มาตรฐานด้านหน้า, แขนยกจับแบบยาวซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นสำหรับใช้กับตัวหยั่งและเครื่องขุดสิ่งต้องสงสัยใต้ดิน อีกทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการลุยน้ำจากเดิมลึก 1.5m เป็น 2m ด้วยครับ

ST Kinetics สิงคโปร์เปิดตัวยานยนต์ไร้คนขับตระกูล Jaeger และเปิดตัวแนวคิด "สายพานเหนือล้อ" สำหรับรถเกราะล้อยาง Terrex

Singapore Airshow 2016: ST Kinetics unveil Jaeger unmanned ground vehicle family
The Jaeger 8 unmanned ground vehicle prototype on display is equipped with a stabilised remote weapon station.
It is also capable of carrying a range of stores to support deployed troops. Source: IHS/Kelvin Wong
http://www.janes.com/article/58215/singapore-airshow-2016-st-kinetics-unveil-jaeger-unmanned-ground-vehicle-family

Singapore Technologies (ST) Kinetics ผู้พัฒนาระบบภาคพื้นดินในเครือ ST Engineering บริษัทด้านอุตสาหกรรมความมั่นคงของสิงค์โปร์
ได้เปิดตัวระบบยานยนต์ไร้คนขับ UGV(Unmanned Ground Vehicles) ตระกูล Jaeger ในงาน Singapore Airshow 2016 เมื่อวันที่ 16-21 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

UGV ตระกูล Jaeger หลายแบบถูกพัฒนาโดยแผนก Kinetics Advanced Robotics ของบริษัท ST Kinetics ซึ่งขณะนี้มีเช่นรุ่น
Jaeger 6 ระบบล้อยาง 6x6 ยาว 2.4m กว้าง 1.45m น้ำหนัก 730kg บรรทุกได้หนัก 250kg และ Jaeger 8 ระบบล้อยาง 8x8 ยาว 2.9m กว้าง 1.6m น้ำหนัก 1tons บรรทุกได้หนัก 680kg
Jaeger UGV ถูกออกแบบให้เป็นยานยนต์ระบบ Modular มีพื้นฐานจากชุดตีนตะขาบกันลื่นที่ใช้งานในเชิงพาณิชย์ตามท้องตลาด ซึ่งทางบริษัท ST Kinetics ปฏิเสธที่จะเปิดเผยต้นกำเนิดของระบบ UGV นี้
แต่จากรถ Jaeger 8 8x8 UGV ที่แสดงในงานดูจะมีความคล้ายคลึงกับ Amstaf UGV ของอิสราเอล ซึ่งมีพื้นฐานจากรถสะเทินน้ำสะเทินบก ATV(All-Terrain Vehicle) แบบมีคนขับ

อย่างไรก็ตาม ST Kinetics ได้ดัดแปลง Jaeger UGV ด้วยระบบขับเคลื่อน hybrid electric ประกอบไปด้วย Battery Lithium-Ion และเครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซล
โดย Jaeger UGV สามารถทำความเร็วได้ 16km/h เป็นเวลา 4ชั่วโมงเมื่อใช้ระบบขับเคลื่อนไฟฟ้า และยืดเวลาออกไปเป็น 24ชั่วโมงถ้าใช้แหล่งกำเนิดพลังงานในตัวรถประจุไฟฟ้า
Jaeger UGVสามารถทำการควบคุมได้สองวิถีคือใช้การควบคุมแบบเห็นในระยะสายตาโดยตรงด้วยชุดควบคุมแบบพกพาได้ในระยะ 1km
หรือแบบนำร่องกึ่งด้วยตนเองโดยใช้ระบบผสมตรวจจับแสงและภาพสองมิติ  2D LiDAR(light detection and imaging) และดาวเทียม global positioning system(GPS) สำหรับหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวางและนำทาง

Tan Kat Chui วิศวกรหลักของ Kinetics Advanced Robotics ให้ข้อมูลกับ Jane's ว่า กำลับปรับปรุงขีดความสามารถของ Jaeger ในส่วนระบบควบคุมตนเองและระบบนำร่องให้ดีขึ้น
รวมถึงการพิจารณาตัวเลือกในระบบควบคุมที่เป็นไปได้อย่างคำสั่ง 'ตามฉันมา'(Follow Me) ด้วยครับ

Singapore Airshow 2016: ST Kinetics debuts 'track over wheels' concept on Terrex armoured vehicle
ST Kinetics displayed a variant of the 8 x 8 Terrex armoured vehicle to showcase its latest vehicle systems.
This model incorporates a number of features that are relevant to the Australian ASLAV vehicle replacement programme that the company is pursuing in partnership with Elbit Systems of Australia. Source: IHS/Kelvin Wong
http://www.janes.com/article/58212/singapore-airshow-2016-st-kinetics-debuts-track-over-wheels-concept-on-terrex-armoured-vehicle

Singapore Technologies (ST) Kinetics สิงคโปร์ได้เปิดตัวแนวคิดใหม่ในการปรับปรุงขีดความสามารถในการเคลื่อนที่ของยานยนต์ทางทหารเหนือภูมิประเทศดินอ่อนและยากลำบากในงาน Singapore Airshow 2016

แนวคิดดังกล่าวถูกเรียกว่าระบบ 'สายพานเหนือล้อ'(track over wheels) โดยมีการแสดงรถเกราะล้อยาง Terrex 8x8 ที่ดัดแปลงเป็นพิเศษที่มีการทำสีพรางของกองทัพบกออสเตรเลียกำหนดแบบว่า Terrex 1+
เป็นรูปแบบหนึ่งในจำนวนคุณสมบัติที่ต้องการของกระทรวงกลาโหมออสเตรเลียในโครงการ Land 400 Phase 2
สำหรับจัดหารถเกราะล้อยางลาดตระเวน(CRV: Combat Reconnaissance Vehicle) 225คันทดแทนรถเกราะล้อยาง ASLAV(Australian Light Armoured Vehicle) ที่ใช้งานมานาน
ซึ่ง ST Kinetics เสนอรถเกราะล้อยาง Terrex 2 ขนาด 30tons รุ่นใหม่ที่ปรับปรุงเพิ่มเติมจากรถเกราะ Terrex เดิมขนาด 24tons สำหรับโครงการของกองทัพบกออสเตรเลีย

รถเกราะ Terrex ที่จัดแสดงแนวคิดในงานประกอบด้วยป้อมปืน Remote แบบ Adder ติดตั้งปืนใหญ่กล 30mm, ปืนกลร่วมแกน 7.62mm และอาวุธปล่อยนำวิถี NLOS(Non Line Of Sight) ที่นั่งกันแรงระเบิด ล้อยางสำรองที่ติดกับตัวถังรถ
ในส่วนสองล้อหน้าด้านขวาของรถถูกหุ้มด้วยสายพานยางของ caterpillar ซึ่งทาง ST Kinetics อ้างว่าเป็นการออกแบบเพิ่มขีดความสามารถในการเคลื่อนที่ของรถในภูมิประเทศดินอ่อนและยากลำบากได้ดียิ่งขึ้น
"แนวคิดนี้ถูกนำมาจากอุตสาหกรรมการเกษตรและป่าไม้ ซึ่งสายพานถูกนำมาติดกับล้อที่มีเพื่อเอาชนะความสูญเสียของการชักลากในบริเวณพื้นดินอ่อนหรือโคลน นี่ควรจะเป็นทางเลือกที่(กองทัพ)ต้องพิจารณาในอนาคต"
ผู้จัดแสดงของ ST Kinetics ในงานกล่าวกับ Jane's

Jane's เข้าใจว่าขั้นตอนการติดตั้งสายพานแบบนี้ที่ต้องการเวลาเตรียมการและติดตั้งน้อยที่สุดคือ รถจะถูกดันไปข้างหน้าเข้าตำแหน่งเหนือสายพานที่วางไว้ก่อนจะจัดให้ม้วนล้อมรอบชุดล้อที่ต้องการและเชื่อมข้อต่อสายพานเข้าด้วยกันครับ

วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

อินโดนีเซียระงับโครงการเรือเร็วโจมตี Stealth ชั้น Klewang และ SAAB เสนออาวุธและระบบอำนวยการรบสำหรับเรือสนับสนุนการยิงแบบ X18

Singapore Airshow 2016: Indonesia halts Klewang-class stealth attack craft programme
A model of the Klewang-class trimaran on display at DSA 2014. Source: IHS/Ridzwan Rahmat
http://www.janes.com/article/58162/singapore-airshow-2016-indonesia-halts-klewang-class-stealth-attack-craft-programme

กองทัพเรืออินโดนีเซีย(TNI-AL: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Laut) ได้ยกเลิกโครงการสร้างเรือเร็วโจมตี Stealth ทรง Trimaran ขนาด 63m หรือที่รู้จักในชื่อชั้น Klewang และจะไม่มีการจัดหาเรือชั้นนี้เพิ่มเติมไปจากเรือหนึ่งลำที่กำลังสร้างอยู่

รองประธานและหัวหน้า SAAB Indonesia นาย Peter Carlqvist ได้ให้ข้อมูลกับ Jane's ในงาน Singapore Airshow 2016 ว่าทางบริษัทจะไม่มีการดำเนินการติดตั้งระบบอาวุธและอุปกรณ์กับเรือชั้นนี้ที่กำลังสร้างที่อู่ PT Lundin ใน Banyuwangi ชวาตะวันออก
ก่อนหน้านี้ SAAB เคยกล่าวว่าเรือเร็วโจมตีชั้น Klewang อินโดนีเซียจะติดตั้งระบบของบริษัท เช่น
ระบบอำนวยการรบ 9LV Mk4 พร้อมแผงควบคุม4ชุด, Radar ตรวจการณ์ Sea Giraffe 1X, ระบบตรวจจับการแพร่คลื่น Radar Electronic SME-150 และ Radar ควบคุมการยิง CEROS 200
ทั้งนี้เรือเร็วโจมตีชั้น Klewang จะติดตั้งระบบอาวุธประกอบด้วย ปืนใหญ่เรือ BAE Systems Bofors 40mm Mk4 ป้อมปืนทรง Stealth และอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Saab RBS 15 Mk3

"SAAB จะยังคงประชาสัมพันธ์แนวคิดเรือทรง trimaran ที่ติดตั้งระบบการรบของเรากับลูกค้ารายอื่นต่อไป และเราจะยังเปิดกว้างสำหรับการผลิตระบบรูปแบบนี้กับผู้สร้างเรือในประเทศอื่นๆ
เราได้รับการถูกเรียกจาก ศูนย์ปฏิบัติการชายฝั่งสหรัฐฯ(สถาบันการศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรีทางเรือสหรัฐฯ) และพวกเขาแสดงควาสนใจอย่างมากต่อแนวคิดเรือทรง trimaran ซึ่งเรายังมองในแง่ที่ดี"
นาย Carlqvist กล่าวโดยให้ความเห็นเสริมว่าแนวคิดนี้ได่รับบ่งชี้ความสนใจที่เข็งแกร่งอย่างมากจากอีกหลายประเทศทั่วโลก
แม้ว่าเรือลำแรกที่อู่ PT Lundin ต่อขึ้นมาคือ KRI Klewang จะเกิดเหตุไฟไหม้เรือจนตัวเรือถูกทำลายและจมลงทั้งลำโดยมีผู้เสียชีวิตทั้งที่ปล่อยลงน้ำไปได้ไม่นานเมื่อปี 2012 หลังจากนั้นเป็นต้นมาโครงการนี้ก็ประสบความล่าช้ามาตลอด

อย่างไรก็ตามการระงับโครงการเรือเร็วโจมตีชั้น Klewang นี้อาจจะเป็นส่งสัญญาณถึงการเปลี่ยนแปลงแนวทางการให้ความสำคัญในการจัดหาเรือของผู้บัญชาการทหารเรืออินโดนีเซียคนใหม่ที่รับตำแหน่งมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2014 ครับ

Singapore Airshow 2016: Saab to provide weapon, battle system for Indonesia's 'tank boat'
A model of the X18 fire support vessel on display at IndoDefence 2014. Source: IHS/Ridzwan Rahmat
http://www.janes.com/article/58133/singapore-airshow-2016-saab-to-provide-weapon-battle-system-for-indonesia-s-tank-boat

บริษัท SAAB สวีเดนให้ข้อมูลกับ Jane's ในงาน Singapore Airshow 2016 ว่าทางบริษัทจะเสนอระบบอาวุธควบคุมด้วย Remote และระบบอำนวยการรบสำหรับเรือสนับสนุนการยิงต้นแบบ X18 Fire Support Vessel(FSV) ซึ่งถูกสั่งจัดหาโดยกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซีย

เรือสนับสนุนการยิง X18 FSV หรือที่มักจะถูกเรียกว่า 'เรือรถถัง' เป็นแนวคิดเรือขนาด 18m ที่ออกแบบโดย PT Lundin ซึ่งเปิดตัวแบบจำลองในงานแสดง IndoDefence 2014 ที่ Jarkarta
"เรือต้นแบบจะเป็นความร่วมมือกันระหว่างส่วนอุตสาหกรรมความมั่นคงของอินโดนีเซียและผู้ผลิตจากต่างประเทศบางส่วน SAAB จะจัดส่งระบบสถานีอาวุธ Remote แบบ Trackfire และระบบอำนวยการรบที่เป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัทเรา"
นาย Peter Carlqvist รองประธานและหัวหน้า SAAB Indonesia กล่าวโดยให้ความเห็นเพิ่มว่าระบบอำนวยการรบที่เสนอให้นี้จะมีรูปแบบเดียวกับระบบอำนวยการรบ 9LV

เรือสนับสนุนการยิง X18 FSV มีความกว้างตัวเรือรวม 6.1m กินน้ำลึก 0.9m ทำความเร็วได้สูงสุด 30kt. จุเชื้อเพลิงได้ 6,000liter
มีพิสัยทำการมาตรฐานที่ 350nm เมื่อใช้ความเร็ว 25kt. และ 900nm ที่ความเร็ว 9kt.
อาวุธประจำเรือหลักคือปืนใหญ่รถถังแรงดันสูง Cockerill 105mm HP ของบริษัท CMI Defence เบลเยี่ยม

แม้ว่าสัญญาจัดหาสำหรับเรือต้นแบบจะยังไม่ได้รับการลงนามอย่างเป็นทางการในขณะนี้ กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียได้ให้ความเห็นชอบว่าจะให้มีการเริ่มการสร้างเรือ
"เราคาดหวังว่าจะมีสัญญาจัดหาอย่างเป็นทางการในเร็วๆนี้" นาย Carlqvist กล่าวโดยเพิ่มเติมว่ากำหนดการที่เรือต้นแบบจะสร้างเสร็จและถูกทดสอบจะใช้เวลาประมาณ 24เดือน
เรือต้นแบบ X18 FSV จะถูกนำไปใช้ในการประเมินรูปแบบความเหมาะสมที่ของโครงการจัดหาต่อไปในภายหน้าครับ

Rheinmetall และกองทัพเยอรมนีประสบความสำเร็จการทดสอบอาวุธ Laser พลังงานสูงในทะเล

Rheinmetall and Bundeswehr Conduct Successful Test of HEL Laser Weapon at Sea
To carry out the test, Rheinmetall mounted a 10-kilowatt high-energy laser (HEL) effector on a MLG 27 light naval gun. Picture: Rheinmetall
http://www.navyrecognition.com/index.php/news/defence-news/2016/february-2016-navy-naval-forces-defense-industry-technology-maritime-security-global-news/3589-rheinmetall-and-bundeswehr-conduct-successful-test-of-hel-laser-weapon-at-sea.html

บริษัท Rheinmetall และกองทัพเยอรมนี(Bundeswehr) ประสบความสำเร็จในการทดสอบอาวุธ Laser พลังงานสูง (HEL: High Energy Laser) ซึ่งถูกติดตั้งบนเรือรบของกองทัพเรือเยอรมนีในทะเลหลวง
โดย Rheinmetall ได้ติดตั้งเครื่องยิง Effector อาวุธ Laser ขนาดกำลัง 10 kilowatt เข้ากับปืนใหญ่กล MLG 27 ขนาด 27mm
การทดสอบนั้นได้รวมการตรวจจับเป้าหมายที่เป็นไปได้ทั้ง อากาศยานไร้คนขับ UAV(Unmanned Aerial Vehicle) และยานผิวน้ำขนาดเล็กมาก ก่อนหน้านั้นอาวุธ Laser พลังงานสูง HEL ได้เคยทดสอบกับเป้าหมายนิ่งประจำที่ภาคพื้นดินมาแล้ว
นอกจากความสำเร็จในการติดตั้งอาวุธ Laser HEL Effector 10kW กับแท่นยิงปืนใหญ่กล MLG 27 โครงการทดสอบสาธิตนี้ยังครั้งแรกของการแสดงประสิทธิภาพทางวิทยาการของ Rheinmetall HEL สำหรับปฏิบัติการทางทะเล
โครงการทดสอบนี้เป็นการเปิดเผยข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญซึ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนาระบบอาวุธ Laser พลังงานสูงใช้งานทางทะเลต่อไปในอนาคตครับ

วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Rheinmetall เปิดเผยแผนพัฒนารถถังหลักยุคอนาคต MGCS และการปรับปรุงรถถังหลัก Leopard 2

Rheinmetall future MBT main battle tank MGCS Main Ground Combat System with 130mm cannon
New concept MGCS Main Ground Combat System with 130mm gun

Rheinmetall MBT Technologietraeger

Modernization program for main battle tank
http://www.armyrecognition.com/february_2016_global_defense_security_news_industry/rheinmetall_future_mbt_main_battle_tank_mgsc_main_ground_combat_system_with_130mm_cannon_11802161.html

ระหว่างงาน Capital Market Day 2015 บริษัท Rheinmetall เยอรมนีได้นำเสนอโครงการใหม่ในการพัฒนารถถังหลักยุคอนาคต
ด้วยการปรับปรุงปืนใหญ่รถถัง 120mm แรงดันสูง และเปลี่ยนเป็นปืนใหญ่รถถังใหม่ขนาด 130mm ภายใต้ชื่อโครงการ MGCS 2030+ (Main Ground Combat System)

การปรับปรุงรถถังหลัก Leopard 2 ใหม่ของ Rheinmetall นี้ดูเหมือนจะมีพื้นฐานจากโครงการ MBT Technologietraeger และ Technology ใหม่ ตามแหล่งข่าวทางทหาร ปืนใหญ่รถถัง 120mm จะมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นร้อยละ20
ส่วนปืนใหญ่รถถัง 130mm ใหม่นั้นจะเป็นระบบหลักสำคัญของโครงการ MGCS ซึ่งปัจจุบันได้เริ่มการพัฒนาภายใต้ความร่วมมือของเยอรมนีและฝรั่งเศสเพื่อพัฒนารถถังหลักแบบใหม่ทดแทน Leopard 2 และ Leclerc ซึ่ง Rheinmetall คาดว่าจะมีประเทศอื่นสนใจเข้าร่วมการพัฒนาด้วย
โดยโครงการ MGCS นี้ทางเยอรมนีและฝรั่งเศสลงนามไปตั้งแต่ปี 2012 แล้ว หากว่าเพิ่งจะเป็นที่รู้จักแพร่หลายหลังจากที่รัสเซียได้เปิดตัวรถถังหลัก T-14 Armata ในงานสวนสนามชัยชนะสงครามโลกครั้งที่2 เมื่อเดือนพฤษภาคม 2015
เป็นที่เข้าใจได้ว่าโครงการ MGCS ตอนนี้กำลังอยู๋ในขั้นตอนการรวบรวมแนวคิด ซึ่งแนวคิดต่างๆจะถูกนำมาสร้างและประเมิน ขณะที่ Technology ใหม่จะถูกวิจัยและทดสอบ ซึ่งขั้นตอนรวบรวมแนวคิดนี้คาดว่าจะต้องใช้เวลาอย่างไม่ต่ำกว่าถึงปี 2017

Rheinmetall เสนอโครงการปรับปรุงรถถังหลักใหม่สามระยะจนถึงปี 2030 ประกอบด้วย
การปรับปรุงรถถังหลักที่มีอยู่ด้วยปืนใหญ่รถถัง 120mm และกระสุนแบบใหม่ ซึ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพขึ้นร้อยละ20, ระบบป้อมปืนหลักแบบ Digital, ระบบการหยั่งรู้สถานะการณ์ และระบบป้องกันเชิงรุก ADS(Active Defence System)
ขั้นที่สองเป็นการติดตั้งรถถังหลักด้วยปืนใหญ่รถถัง 130mm ใหม่ซึ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพการเจาะเกราะและประสิทธิผลขึ้นอีกร้อยละ50 ซึ่งขั้นตอนการตลาดจะเริ่มในปี 2016 นี้
ขั้นที่สามเป็นแผนการปรับปรุงในระยะกลางและระยะยาวของรถถังหลักยุคอนาคตใหม่ตามแนวคิดโครงการ MGCS ซึ่งยังอยู่ในขั้นตอนแนวคิดจนถึงปี 2017
โดยเป็นความร่วมมือของส่วนอุตสาหกรรมความมั่นคงเยอรมนีและอีกหลายชาติในการพัฒนารถถังหลักยุคอนาคตทดแทนรถถังหลัก Leopard 2 เยอรมนี และรถถังหลัก Leclerc ฝรั่งเศสครับ

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

กองทัพบกไทยอาจมีแผนจัดหาเฮลิคอปเตอร์ Mi-17V5 จากรัสเซียเพิ่มเติม

Thailand plans to buy additional batch of Russian Mi-17V-5 helicopters
Sergei Bobylev/TASS
The helicopter is one of the most advanced modifications of the Mi-17 family
http://tass.ru/en/defense/857555

สำนักข่าว TASS รัสเซียได้รายงานข้อมูลจากแหล่งข่าวภาคส่วนความร่วมมือด้านเทคนิคทางทหารของรัสเซียว่า กองทัพบกไทยอาจจะสั่งจัดหาเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง Mi-17V5 (NATO กำหนดรหัส Hip) ชุดใหม่จากรัสเซียเพิ่มเติม

"ก่อนหน้านี้ประเทศไทยได้จัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ Mi-17V5 จำนวน ๖เครื่อง ซึ่งผลิตโดยโรงงานเฮลิคอปเตอร์ Kazan เราหวังว่ามันจะมีการสั่งจัดหาเพิ่มอีกชุด
การเจรจานั้นดำเนินการผ่านทาง Rosoboronexport(รัฐวิสาหกิจด้านการส่งออกยุทโธปกรณ์รัสเซีย) เราหวังว่าการเจรจาจะประสบผลสำเร็จเร็ววันภายในปีนี้" แหล่งข่าวกล่าว
กองทัพบกไทยได้จัดหาเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงทั่วไป ฮ.ท.๑๗ Mi-17V5 เข้าประจำการในกองบินสนับสนุนทั่วไป ศูนย์การบินทหารบก ชุดแรกจำนวน ๓เครื่อง ปี พ.ศ.๒๕๕๔ และชุดที่๒จำนวน ๒เครื่อง ปี พ.ศ.๒๕๕๘
ฮ.Mi-17V5 ที่ออกแบบสร้างโดย JSC Kazan รัสเซียนั้นเป็นเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงที่มีการปรับปรุงให้มีความก้าวหน้าที่สุดใน ฮ.ตระกูล Mi-17 ซึ่งในภูมิภาค ASEAN นอกจากไทยก็มีอินโดนีเซียที่สั่งจัดหา Mi-17V5 เป็นรายแรกในปี 2008
ซึ่งเฮลิคอปเตอร์ Mi-17V5 เป็นอากาศยานจากรัสเซียแบบแรกที่ได้รับการจัดซื้อจากกองทัพบกไทยจากเดิมที่จัดหาจากสหรัฐฯและยุโรปมาตลอด

ในงาน Singapore Airshow 2016 ที่กำลังจัดอยู่นั้นทางรัสเซียก็ได้ประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์อากาศยานของตน เช่น เครื่องบินขับไล่ Su-30SME รุ่นใหม่ล่าสุด ซึ่งรัสเซียหวังที่จะขยายตลาดอาวุธยุทโธปกรณ์ของตนในภูมิภาค ASEAN นี้ให้เพิ่มมากขึ้นครับ

Northrop Grumman เสร็จสิ้นขั้นตอนทบทวนการออกแบบที่สำคัญโครงการปรับปรุงเฮลิคอปเตอร์ UH-60V

Northrop Grumman complete CDR of UH-60V
Digital cockpit upgrade for the US Army's UH-60L Black Hawk. Source: Northrop Grumman
http://www.janes.com/article/58056/northrop-grumman-complete-cdr-of-uh-60v

Northrop Grumman สหรัฐฯประกาศเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาว่าประสบความสำเร็จการดำเนินงานขั้นตอนทบทวนการออกแบบที่สำคัญ(CDR: Critical Design Review)
สำหรับเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงใช้งานทั่วไป UH-60V Black Hawk ซึ่งเป็นโครงการการปรับปรุงติดตั้งระบบห้องนักบินแบบ Glass Cockpit

กองทัพบกสหรัฐฯได้ประกาศเมื่อปีที่แล้วว่าเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง Sikorsky UH-60L Black Hawk จะได้รับการปรับปรุงติดตั้งห้องนักบินใหม่ ซึ่งจะรวมถึงอุปกรณ์ Avionic ภารกิจใหม่
ภายใต้ข้อตกลงกับ Northrop Grumman ที่จะเปลี่ยนระบบอุปกรณ์เครื่องวัดประกอบการบินแบบ Analog บน ฮ.รุ่น UH-60L ที่มีอยู่เดิมให้เป็นแบบ Digital
การปรับปรุงนี้จะเปลี่ยนการกำหนดแบบของ ฮ.UH-60L เป็น UH-60V ซึ่งห้องนักบินแบบใหม่นี้จะมีความเหมือนกับห้องนักบินของรุ่น UH-60M ใหม่ทำให้นักบิน Black Hawk ของกองทัพบกสหรัฐฯสามารถทำการฝึกภายใต้สภาพแวดล้อมเดียวกันได้
โดยการสาธิต CDR นี้แสดงถึงการออกแบบที่ครบถ้วนของ UH-60V และเป็นการตรวจสอบว่าระบบมีความพร้อมที่จะโอนย้ายเข้าสู่ขั้นการประกอบสร้างและบูรณาการ
การทบทวนการประเมินผลเปิดในส่วน การออกแบบที่ปรับขนาดได้ ชุดข้อมูลทางเทคนิค ประสิทธิภาพระบบนำร่อง และความสามารถในการพกพาของชุดคำสั่งประยุกต์

ภายใต้สัญญาจัดหาที่ลงนามไว้ตั้งแต่ไตรมาสที่3 ปี 2014 Northrop Grumman คาดว่าจะสามารถส่งมอบจอแสดงผลเครื่องวัดแบบ digital electronic สำหรับเฮลิคอปเตอร์ได้จำนวน 700-900เครื่อง
ตามข้อมูลของ Northrop Grumman เฮลิคอปเตอร์ UH-60V เครื่องแรกคาดว่าจะสามารถทำการบินครั้งแรกได้ราวเดือนมกราคม 2017 ครับ

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Antonov ยูเครนเสร็จสิ้นการประกอบส่วนลำตัวของเครื่องบินลำเลียง An-132

11-02-2016 / Assembly of the AN-132D aircraft-demonstrator has been completed
http://www.antonov.com/news/441

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2016 บริษัท Antonov ผู้ผลิตอากาศยานยูเครนได้เสร็จสิ้นการประกอบส่วนลำตัวของเครื่องบินลำเลียงแบบใหม่ An-132D ซึ่งเป็นเครื่องต้นแบบสาธิต
โดยงานประกอบเพื่อให้เสร็จสมบูรณ์ทั้งเครื่อง(ในการประกอบชิ้นส่วนหลักของเครื่องเข้าด้วยกันทั้ง ปีก, ชุดแพนหาง, pylon ใต้ปีก และเครื่องยนต์) กำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการ

"ขั้นต่อไปของการสร้าง An-132 เครื่องแรกได้ดำเนินการตามกำหนดการที่วางไว้ ดังนั้นเราจึงได้ทำตามข้อผูกมัดต่อหุ้นส่วนของเราและคงกำหนดเวลาของโครงการพัฒนา" Mykhaylo Gvozdov ประธานบริษัท Antonov กล่าว
เครื่องบินลำเลียง An-132 มีกำหนดประกอบเสร็จสมบูรณ์ในสิ้นปี 2016 หลังจากการทดสอบการบิน Antonov และหุ้นส่วนโครงการคือ King Abdulaziz City for Science and Technology และ Taqnia Aeronautics Co. ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย จะส่งมอบเครื่องให้ซาอุดีอาระเบีย
"ประเทศของเราต้องการอากาศยานแบบนี้ ตลาดมีความเป็นไปได้สูงมาก การสร้าง An-132 ทำให้เราได้สร้างกลุ่มอุตสาหกรรมการบินในพื้นที่เดียว เราได้ศึกษาการคาดการณ์จำนวนที่เหมาะสำหรับอากาศยานนี้เพื่อจะนำไปใช้ในซาอุดีอาระเบีย"
Dr.Khaled Abdullah Alhussain ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีการบินแห่งชาติ KACST(King Abdulaziz City for Science and Technology) กล่าว

ทั้งนี้ได้มีการให้ข้อมูลว่ามีกลุ่มผู้ใช้งานอากาศยานจากประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และลาตินอเมริกาให้ความสนใจ An-132 ด้วย
สำหรับคำถามเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันในโครงการ An-132 ,การพัฒนา และการตั้งต้นความร่วมมือ จะถูกให้ความเห็นโดยบริษัท Antonov ในงาน AFED 2016 ซึ่งจะจัดที่ Riyadh ซาอุดีอาระเบียช่วงวันที่ 21-28 กุมภาพันธ์ 2016 ครับ

วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

อิหร่านพร้อมผลิตรถถังหลัก Karrar ที่พัฒนาเองในประเทศซึ่งมีสมรรถนะเทียบเท่ารถถังหลัก T-90 รัสเซีย

Iran ready to produce local-made Karrar main battle tank with features similar to Russian T-90 MBT.
Russian-made T-90 main battle tank at RAE 215 Defense Exhibition in Nhizny Tagil, Russia.
http://www.armyrecognition.com/february_2016_global_defense_security_news_industry/iran_ready_to_produce_local-made_karrar_main_battle_tank_with_features_similar_to_russian_t-90_mbt_11402161.html

รองผู้บัญชาการทหารบกอิหร่าน พลจัตวา Kioumars Heidari ประกาศว่ากองทัพบกอิหร่านจะนำรถถังหลักที่อิหร่านพัฒนาเองในประเทศคือรถถังหลัก Karrar เข้าประจำการซึ่งมีความนำสมัยสูงระดับเดียวกับรถถังหลัก T-90 ของรัสเซีย
"รถถังหลัก Karrar ได้เริ่มถูกส่งมอบให้กับหน่วยรบของกองทัพบกแล้ว" นายพล Heidari กล่าวต่อสื่อที่ Tehran เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา อีกทั้งยังได้เน้นย้ำแผนการติดตั้งระบบขั้นก้าวหน้าที่ทันสมัยกับรถถังหลัก Karrar และรถถังหลัก Zulfiqar ด้วย
เมื่อสอบถามถึงความสำเร็จของกองทัพบกอิหร่านในการสร้างระบบต่อต้านยานเกราะ นายพล Heidari กล่าวว่า "เรามียุทโธปกรณ์ยุคใหม่ที่มีประสิทธิภาพอันทันสมัย ซึ่งสามารถถูกใช้ในสงครามตัวแทนได้"

อิหร่านได้ประกาศไปก่อนในต้นสัปดาห์แล้วว่ากำลังพัฒนาสร้างรถถังหลักแบบใหม่ที่ชื่อ Karrar ซึ่งมีความร้ายกาจเทียบเท่ารถถังหลัก T-90 ของรัสเซีย
"ภาคส่วนอุตสาหกรรมความมั่นคงได้ออกแบบและสร้างรถถังหลักใหม่จากแบบร่าง ถึงถ้ามันไม่ดีกว่ามันก็ยังมีอานุภาพร้ายกาจเทียบเท่า T-90 ของรัสเซีย"
รัฐมนตรีกลาโหมอิหร่าน พลจัตวา Hossein Dehgan กล่าวขณะให้สัมภาษณ์สื่อโทรทัศน์ของรัฐบาลอิหร่านเมื่อค่ำวันอังคารที่แล้ว และนายพล Dehgan ยังกล่าวว่ารถถังหลัก Karrar นั้นยืนอยู่ในระดับเท่ากันท่ามกลางรถถังหลักที่ทันสมัยล่าสุดทั่วโลก

เป็นการย้ำคำกล่าวของผู้บัญชาการทหารบกอิหร่าน พลจัตวา Ahmad Reza Pourdastan ที่ให้สัมภาษณ์เมื่อสัปดาห์ก่อนว่า อิหร่านไม่มีความสนใจที่จะจัดซื้อรถถังหลัก T-90 จากรัสเซียอีกต่อไป โดยมีแผนจัดหาตามความต้องการด้วยรถถังหลักที่พัฒนาและสร้างเองภายในประเทศ
"ครั้งหนึ่งเราเคยสนใจที่จะซื้อรถถังรัสเซีย แต่ตอนนี้เราสามารถที่จะสร้างรถถังแบบเดียวกันภายในประเทศเองได้ และเราวางแผนที่จะทำในอนาคตอันใกล้ ข้อตกลงนี้เป็นอันยุติแล้ว" นายพล Pourdastan กล่าว
ซึ่งนายพล Pourdastan ยังกล่าวอีกว่าอิหร่านมีขีดความสามารถและองค์ความรู้ทางวิทยาการเพียงพอที่จะสร้างรถถังหลักยุคใหม่และยุทโธปกรณ์ทางทหารที่ก้าวหน้าทันสมัยได้เองในประเทศ ดังนั้นมันจึงไม่เข้าท่าหากจะไปซื้อจากประเทศอื่นครับ

วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

แนวทางโครงการจัดหารถถังหลักใหม่ของกองทัพบกไทยในปี ๒๕๕๙

ประเด็นที่เป็นกระแสในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาของกองทัพบกไทยคือ โครงการพิจารณาแบบเพื่อจัดหารถถังหลักใหม่ทดแทนรถถังเบา M41A3 ที่ประจำการมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๕(1962) ประมาณ ๕๐คัน
เพิ่มเติมจากโครงการจัดหารถถังหลัก Oplot ยูเครนที่สั่งจัดหาไปก่อนแล้ว ๔๙คัน และกำลังส่งมอบอยู่(อย่างล่าช้า) โดยมีการรับมอบแล้ว ๑๐คันสำหรับ กองพันทหารม้าที่๒ กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์
มีสื่อบางรายลงข่าวไปว่ามีการตั้งงบประมาณผูกพันโครงการปี พ.ศ.๒๕๕๙-๒๕๖๑ ที่วงเงิน ๘,๙๙๗,๔๕๐,๐๐๐บาท โดยมีตัวเลือกรถถังหลักที่พิจารณาสามแบบคือ T-90A หรือ T-90S รัสเซีย, VT4(MBT-3000) จีน และ K1A1 สาธารณรัฐเกาหลี
ซึ่งสื่อแต่ละแห่งรายงานข่าวไม่ตรงกันครับ บางแหล่งก็ว่ารถถังหลักจีนมีโอกาสสูงเพราะมีราคาและประสิทธิภาพเหมาะสมพร้อข้อเสนอที่น่าสนใจ แต่บางแหล่งก็ว่ารถถังหลักจากรัสเซียมีความเป็นไปได้ที่จะได้รับเลือกเพราะกองทัพบกไม่พอใจคุณภาพรถถังจีน

BTR-82A and T-90S model at Defense & Security 2015 (My Own Photo)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และคณะรัฐมนตรีอีกหลายท่าน ซึ่งมีกำหนดการเยือนรัสเซียในวันที่ ๒๓-๒๗ กุมภาพันธ์นั้น
ทาง รมต.กลาโหมได้ปฏิเสธข่าวการจัดซื้อรถถังหลัก T-90 และ T-14 ARMATA จากรัสเซียต่อสื่อไปก่อนแล้วครับ โดยให้เหตุผลว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องภายในของทางกองทัพบกที่จะต้องพิจารณาความจำเป็นในการใช้งานของหน่วย ซึ่งยังไม่ได้มีเสนอเรื่องมายังกลาโหม
ประกอบกับทางโฆษกกองทัพบก พันเอก วินธัย สุวารี ได้แถลงชี้แจงกรณีที่สื่อบางฉบับลงข่าวไปว่ากองทัพบกจะจัดซื้อรถถังหลัก T-90A จากรัสเซียแล้วว่าไม่เป็นความจริงและเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
ตรงนี้น่าจะพอสรุปได้เบื้องต้นครับว่า ตอนนี้ทางกองทัพบกยังไม่ได้มีการพิจารณาแบบรถถังหลักใหม่ซึ่งจะเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานยุทโธปกรณ์ กยม. และเสนอเรื่องมาทางกลาโหมในตอนนี้
แต่ทั้งนี้เองก็มีรายงานว่าทางกระทรวงกลาโหมให้ความสนใจยุทโธปกรณ์บางแบบของรัสเซีย เช่น เครื่องบินดับเพลิง(อย่างเครื่องบินทะเล Beriev Be-200 Altair) และยานรบทหารช่าง(อย่าง IMR-3M ที่ใช้แคร่รถฐานของ ถ.หลัก T-90)

A Russian specification T-90A (wikipedia.org)

ประเด็นที่ว่ารัสเซียจะเสนอขายรถถังหลัก T-90A ซึ่งเป็นรุ่นที่มีใช้งานเฉพาะกองทัพบกรัสเซียเท่านั้น
เนื่องจากว่ากองทัพบกรัสเซียมีแผนที่จะจัดหารถถังหลัก รถเกราะ และรถรบรุ่นใหม่เข้าประจำการแทนรถรุ่นเก่าที่ใช้มาตั้งแต่สมัยสงครามเย็น โดยเฉพาะรถถังหลัก T-14 Armata ที่มีแผนจะจัดหาราว ๒,๓๐๐คัน ตั้งแต่ช่วงหลังปี 2020 เป็นต้นไป
ทำให้กระทรวงกลาโหมรัสเซียจะไม่มีการสั่งจัดหารถถังหลัก T-90 เพิ่มเติม และจะทำให้สายการผลิตรถถังหลักรุ่นส่งออกทั้ง T-90SA และ T-90MS อาจจะต้องปิดตัวลงในอนาคตนั้น
อย่างไรก็ตามในความเป็นจริงดูเหมือนว่าแผนการใช้กำลังรถถังหลักของกองทัพบกรัสเซียในตอนนี้ยังจำเป็นที่จะต้องคงกำลังรถถังหลักที่มีอยู่เดิมแล้วส่วนหนึ่งอยู่ครับ
เช่น การปรับปรุงรถถังหลัก T-72B ให้เป็นมาตรฐาน T-72B3 และ T-72B3M ที่บริษัท Uralvagonzavod ยังคงได้รับคำสั่งจัดหาจากกระทรวงกลาโหมรัสเซียอยู่
ซึ่งกองทัพบกรัสเซียได้รับมอบ T-72B3 ที่ปรับปรุงใหม่ตั้งแต่ปี 2013 แล้วมากกว่า ๕๖๔คัน เข้าประจำการในเขตภาคทหารต่างๆตั้งแต่สิ้นปี 2015 และมีแผนจะจัดหาอีกรวมกว่า ๑,๐๐๐คัน ตามแผนปรับโครงสร้างกำลังกองทัพรถถังตามที่รายงานไป
รวมถึงรถถังหลัก T-90A กองทัพบกรัสเซียซึ่งคงยังไม่น่าจะปลดประจำการลงในช่วงเร็วๆนี้แม้จะไม่มีการจัดหาเพิ่ม ถึงจะหลังจากที่รถถังหลัก T-14 เริ่มเข้าประจำการอย่างเป็นทางการในช่วงต้นแล้วก็ตาม
โดยทั้งรถถังหลัก T-14 Armata และรถรบแบบใหม่อื่นๆ เช่น รถรบทหาราบหนัก BMP T-15 Armata, รถหุ้มเกราะสายพาน Kurganets และรถหุ้มเกราะล้อยาง Bumerang 8x8
ยังต้องใช้เวลาอีกหลายปีกว่าจะผ่านการทดสอบและยอมรับความพร้อมปฏิบัติการจริงโดยกองทัพรัสเซียและเริ่มสายการผลิตจำนวนมากได้

Syrian Army T-90A During Battle in northern aleppo, February 2016 (wikipedia.org)


แต่จากรายงานภาพและวีดิทัศน์ล่าสุดที่การพบว่าในปฏิบัติการรบของกองทัพรัฐบาลซีเรียต่อกลุ่มติดอาวุธฝ่ายต่อต้านนั้น กองทัพรัฐบาลซีเรียมีรถถังหลัก T-90A ใช้งานในปฏิบัติการรบ เช่นการรบที่เมือง Aleppo ล่าสุดเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา
ตรงนี้ก็ไม่ทราบรายละเอียดครับว่า T-90A ที่กองทัพรัฐบาลซีเรียใช้นั้นรัสเซียมอบให้โดยมีเงื่อนไขข้อตกลงอย่างไร โดยตามข้อมูลที่มีปัจจุบันกองทัพบกรัสเซียมี ถ.หลัก T-90A ประจำการ ๕๔๓คัน และเก็บสำรองไว้ราว ๒๐๐คัน
แน่นอนว่าทั้งรัฐบาลซีเรียนั้นเป็นพันธมิตรหลักสำคัญของรัสเซียในตะวันออกกลางที่ย่อมได้รับความช่วยเหลือทางการทหารแบบใกล้ชิดแนบแน่นเป็นพิเศษพอที่รัสเซียจะมอบรถถังของตนให้ใช้แบบ Hot Transfer
แต่สำหรับไทยแล้วส่วนตัวมองว่าเราไม่ได้สนิทกับรัสเซียมากพอที่รัสเซียจะส่งมอบรถถังของตนในคลังราว ๕๐คันให้ไทยแบบซีเรียครับ รวมถึงจะเป็นข้อโจมตีจากภาคประชาชนด้วยว่ากองทัพบกไทยจะจัดหารถถังมือสองอีกแล้ว
และทาง Rosoboronexport รัฐวิสาหกิจการส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ของรัสเซียเอง ก็ยังคงประชาสัมพันธ์เสนอขายรถถังหลัก T-90MS, รถรบทหารราบสายพาน BMP-3 และรถเกราะล้อยาง BTR-82A เป็นหลักอยู่
นั่นทำให้ดูแล้วทางรัสเซียยังไม่พร้อมที่จะส่งออกระบบรถรบรุ่นใหม่ล่าสุดอย่าง ถ.หลัก T-14 Armata ที่ยังไม่ได้เข้าประจำการในกองทัพรัสเซียอย่างเป็นทางการในช่วงเร็วๆนี้แม้ว่าจะมีหลายประเทศสนใจก็ตามครับ

VT4(MBT-3000) on 4410A Heavy Transporter model at Defense & Security 2015 (My Own Photo)

อีกประเด็นคือเรื่องที่ว่าจีนจะเสนอการถ่ายทอด Technology และสิทธิบัตรเพื่อจัดตั้งสายการผลิตโรงงานประกอบรถถังในไทยถ้ากองทัพบกไทยเลือกจัดหารถถังหลักจีนนั้น
ประเด็นสำคัญคือว่าเรื่องสิทธิบัตรการผลิตนี่จะเป็นความเป็นไปได้จริงหรือไม่ ส่วนตัวคิดว่าไม่น่าจะเป็นไปได้มากนักครับ
เพราะประเทศที่จะประกอบรถถังหลักที่ซื้อสิทธิบัตรจากต่างประเทศได้นั้นจะต้องมีพื้นฐานมาระดับหนึ่งแล้ว ซึ่งคงต้องจะมาดูตัวอย่างในประเทศอื่นก่อน เช่น
อินเดียที่ประกอบรถถังหลักมาหลายแบบ เช่น Vijayanta (Vickers Mk.1) กับ T-72 Ajeya(T-72M1) มาตั้งแต่ช่วงปี 1960s-1970s มาแล้วถึงจะมาประกอบ T-90S ในปี 2000s ได้
หรืออย่างอิหร่านเองก็มีการซื้อสิทธิบัตรการผลิตรถถังหลัก T-72S จากรัสเซียในช่วงปี 1993-2001
ที่ได้รายงานไปว่าทางบริษัท Uralvagonzavod รัสเซียเสนอสิทธิบัตรสายการผลิต T-90S ให้อิหร่าน ถ้าไม่ติดที่รัฐบาลรัสเซียยังคงระงับความช่วยเหลือทางทหารบางส่วนกับอิหร่านตามมติ UN ปี 2010 อยู่
แต่ทั้งนี้อิหร่านต้องการจะพัฒนารถถังหลักของตนเองมากกว่าเช่นเดียวกับรถถังหลักตระกูล Zulfiqur โดยล่าสุดรัฐมตรีกลาโหมอิหร่าน พลจัตวา Hossein Dehqan ได้ประกาศว่าอิหร่านกำลังพัฒนารถถังหลักใหม่ชื่อ Karrar ซึ่งออกแบบจากแบบร่างและมีความร้ายกาจเท่า T-90 รัสเซีย

Al-Khalid (MBT-2000) Pakistan Army

กรณีศึกษาที่น่าสนใจอีกประเทศก็คือโครงการรถถังหลัก Al-Khalid ซึ่งเป็นโครงการร่วมระหว่างจีนกับปากีสถาน
โดย ถ.หลัก Al-Khalid ปากีสถานนั้นมีพื้นฐานพัฒนามาจากรถถังหลัก Type 90-II ของจีน ทำการประกอบสร้างที่โรงงาน Heavy Industries Taxila
ซึ่งก่อนหน้านั้นโรงงาน Taxila ปากีสถานนี้ได้ทำการสร้างรถถังหลัก Type 69-II และ Type 85-IIAP ภายใต้สิทธิบัตรของจีนมาแล้ว
ถ.หลัก Al-Khalid ของปากีสถานนั้นนอกจากระบบหลักๆจากจีนก็มีการนำระบบจากแหล่งอื่นมาใส่ในรถถัง เช่น เครื่องยนต์ดีเซล 6TD-2 กำลัง 1200HP จากยูเครนแบบเดียวกับที่ใช้กับรถถังหลัก Oplot เป็นต้น
ตรงนี้มองว่าถ้าจะมีการตั้งสายการผลิตประกอบรถถังหลักจีนตามสิทธิบัตรจริง การจัดตั้งโรงงานและระบบพื้นฐานอาจจะทำได้โดยเป็นโครงการความร่วมมือร่วมกับจีน

อย่างไรก็ตามก็คงจะขึ้นอยู่ด้วยว่ากองทัพบกจะสั่งจัดหารถถังจำนวนกี่คัน ซึ่งถ้าเพียงแค่กองพันเดียวประมาณ ๕๐คัน คงจะไม่คุ้มกับการที่จะตั้งสายการผลิตในไทย
และตอนนี้ไทยเรายังไม่มีระบบโรงงานอุตสาหกรมความมั่นคงขนาดใหญ่พอสำหรับรองรับสายการผลิตของรถถังหลักเป็นจำนวนมากๆแบบต่างประเทศอย่าง อินเดีย ปากีสถาน และอิหร่านที่ได้ยกตัวอย่างมา
รถถังหลักยุคที่๓ นั้นมี Technology สูง และมีความซับซ้อนของระบบมากกว่ารถเกราะล้อยางกันทุ่นระเบิด MRAP อย่าง First Win 4x4 ของบริษัทชัยเสรี (Chaiseri)
และรถหุ้มเกราะล้อยาง Black Widow Spider 8x8 ของบริษัทปรีชาถาวร ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ(DTI) ที่ไทยมีประสบการณ์บ้างแล้วแต่ก็เพิ่งที่จะเริ่มต้นมาก
ถึงจะเป็นการประกอบแบบ Knock-Down Kits ที่ส่งชิ้นส่วนต่างที่เสร็จแล้วจากจีนมาประกอบเป็นรถที่สมบูรณ์ในไทยก็ตาม เพราะตอนนี้ไม่ว่าทั้งสายการผลิตประกอบ BTR-3E1 และ DTI Black Widow Spider ที่ยังไม่ได้เริ่มระดับสายการผลิตจำนวนมากเลย
ถ้าจะตั้งสายการผลิตประกอบรถถังหลักกันจริงๆ ต้องใช้เวลาจัดตั้งสถานที่ ระบบเครื่องจักร และฝึกคนงานกันพอสมควร แต่ถ้าจะทำจริงก็มองว่าไทยเรามีศักยภาพที่จะทำได้ครับแต่ต้องใช้เวลาและความตั้งใจที่จะลงมือทำจริงๆ
(ไม่แน่ใจว่าจะมีเพียงแค่ข้อเสนอจากทางจีนรายเดียวหรือไม่ที่เสนอสิทธิบัตรและการจัดตั้งโรงงานประกอบรถถังหลักให้ไทย เพราะรัสเซียเองก็ควรที่จะมีข้อเสนอสิทธิบัตรการเปิดสายการผลิตรถถังหลักของตนอย่าง T-90 ให้ไทยด้วย
แต่อาจจะติดที่รัสเซียยังไม่เชื่อถือไทยสนิทมากพอที่จะถ่ายทอด Technology ระดับนี้ให้ ถ้าเทียบกับจีนที่ใกล้ชิดกับไทยมากกว่า)

Type 69-II with 105mm Tank gun Upgraded Royal Thai Army

ทั้งนี้ในกรณีที่รถถังหลักจีนถูกเลือกจัดหามาจริงก็ต้องดูเรื่องความเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบันด้วยครับ
เพราะว่ากรณีรถถังหลัก Type 69-II ที่จัดหาจากจีนเมื่อปี ๒๕๓๐ นั้นเป็นรถถังที่ถูกจัดหามาในราคาถูกมากเป็นพิเศษแบบเร่งด่วนในตอนนั้น เพื่อเพิ่มกำลังหน่วยรถถังของกองทัพบกในการต่อต้านกองทัพประชาชนเวียดนามที่ยึดครองกัมพูชาในขณะนั้น
การปรับปรุง ถ.๓๐ Type 69-II ของกองทัพบกไทยครั้งสุดท้ายคือการนำไปปรับปรุงติดปืนใหญ่รถถัง 105mm NATO ของจีน(ลอกแบบ ปถ.L7) ที่เคยเห็นรถต้นแบบอยู่ที่ กองพันทหารม้าที่๒๒ ศูนย์การทหารม้านั้น ไม่แน่ใจว่ารถต้นแบบคันดังกล่าวยังคงอยู่ที่ ม.พัน.๒๒ หรือไม่
แต่เท่าที่ทราบคือเหตุผลที่กองทัพบกไม่เลือกที่จะทำการปรับปรุง ถ.๓๐ ที่ยังคงประจำการอยู่ในตอนนั้นให้เป็นมาตรฐานรุ่นนี้ ก็เพราะประเมินว่าไม่มีความคุ้มค่าพอที่จะดำเนินการปรับปรุงครับ
คือรถถังรุ่นนี้มี Technology ที่ล้าสมัย และไม่มีอะไหล่แล้วเพราะทางจีนก็จะเลิกใช้แล้ว ประกอบกับรถถังหลักที่ใช้ ปถ.105mm อยู่เช่น ถ.เบา๓๒ Stingray(L7) M48A5 และ M60A1 M60A3 (M68) ก็ยังใช้งานได้ดีอยู่ ณ ขณะนั้น จึงไม่มีความจำเป็นสำหรับการปรับปรุง ถ.๓๐
(แต่บางประเทศเช่นกองทัพบกพม่ายังคงใช้รถถังหลัก Type 59D/M ซึ่งเป็นรุ่นที่เก่ากว่า Type 69-II ของกองทัพบกไทย โดย ถ.หลัก Type 59D/M ของพม่าได้รับการปรับปรุงใกล้เคียงกับ Type 69-II ที่ได้รับการปรับปรุง คือติด ปถ.105mm และรถถังพม่าติดเกราะ ERA เสริมด้วย)

Type 99A People's Liberation Army Victory Day parade 2015

Type 96A People's Liberation Army in Tank Biathlon 2014 

หลักนิยมในการใช้รถถังหลักของกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนดูจะมีความคล้ายคลึงกับหลักนิยมของกองทัพบกโซเวียตสมัยสงครามเย็นครับ คือมีรถถังหลักใช้งานสองแบบคือแบบมาตรฐานทั่วไป(Type 96)กับแบบสมรรถนะสูงสำหรับหน่วยที่มีความสำคัญ(Type 99)
ดังนั้นการส่งออกรถถังหลักของจีนให้มิตรประเทศก็ดูจะใช้นโยบายเดียวกับอดีตสหภาพโซเวียตเช่นกันที่ส่งออกเฉพาะ ถ.หลัก T-72 รุ่นลดสมรรถนะแล้ว และเก็บ T-80 ไว้ใช้เองเท่านั้น
แต่จะว่าไปแล้วทั้งรถถังหลัก Type 96 และรถถังหลัก Type 99 เองก็มีความแตกต่างภายนอกที่ดูเผินๆแล้วไม่ชัดเจนมากนัก
ซึ่งรถถังหลักทั้งสองแบบถูกพัฒนาและผลิตโดย China North Industries Corporation หรือ NORINCO และโรงงานเครื่องจักรมองโกเลียในที่หนึ่ง (First Inner Mongolia Machinery Factory)
การพัฒนารถถังหลักยุคที่๓ ของกองทัพปลดปลดปล่อยประชาชนจีนนั้นมีการกล่าวอ้างว่ามาจากการศึกษาแบบรถถังหลัก T-72M1 ที่จีนได้จากโรมาเนียที่ให้เพื่อแลกกับเครื่อง Plasma Spray
โดยสายการพัฒนาเริ่มจาก Type 85-IIA ซึงเป็นรถถังหลักแบบแรกที่ติดปืนใหญ่รถถัง 125mm ต่อมาคือ Type 85-IIM/Type 88C และมาเป็น Type 96/Type 96A ในที่สุด
อีกสายที่พัฒนาจาก Type 90-II คือ Type 98 และต่อมาพัฒนาเป็น Type 99, Type 99G และ Type 99A เป็นรถถังหลักที่ติดตั้งเครื่องยนต์ เกราะป้องกัน และระบบควบคุมการยิงดีกว่า Type 96

Type 99 Tank (two in front) and Type 96 Tank (one in back)

ความแตกต่างในส่วนรถแคร่ฐานนั้น Type 99 จะมีบางส่วนคล้าย T-72 แต่ก็ไม่เหมือนในหลายส่วนเช่นตำแหน่งเครื่องยนต์และชุดส่งกำลัง ต่างจาก Type 96 ซึ่งจะเป็นอีกแบบที่มีพื้นฐานจาก Type 85/88 รุ่นก่อน
ส่วนเครื่องยนต์ Type 99 ใช้ ย.ดีเซลกำลัง 1500HP ขณะที่ Type 96 ใช้ ย.ดีเซลกำลัง 1000HP ตำแหน่งสถานีพลขับนั้น Type 96 จะอยู่ด้านซ้ายของหน้ารถ ส่วน Type 99 จะอยู่กึ่งกลางตัวรถ(เหมือน T-72)
ป้อมปืนของรถถังหลักทั้งสองแบบเป็นแบบเชื่อมใช้เกราะเหล็กกล้ากับวัสดุผสมและเกราะปฏิกิริยาระเบิด ERA(Explosive Reactive Armor) แบบ Modular
แต่ป้อมปืนของ Type 99 นั้นจะมีขนาดใหญ่และยาวกว่า Type 96 อีกทั้ง Type 99 ยังติดตั้งระบบเกราะป้องกันระดับที่ก้าวหน้าสูงกว่า Type 96
Type 99 มีการติดตั้งระบบกล้อง Panoramic Sight สำหรับสถานีผู้บังคับการรถ และระบบกล้องเล็งพลยิงที่มีขีดความสามารถในการรบแบบ Hunter-Killer รวมถึงติดตั้งระบบป้องกันเชิงรุก Active Protection System (เป็นแท่นกล่องสี่เหลี่ยมบนหลังคารถ) ซึ่งรถถังหลัก Type 99A ที่เปิดตัวในปี 2015 นั้นติด APS รุ่นใหม่(ทรงกระบอกเหลี่ยม)
ขณะที่ Type 96A ที่มีการปรับปรุงล่าสุดโดยติดตั้งเกราะ ระบบควบคุมการยิง และกล้องเล็งใหม่เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการรบเพิ่มสูงขึ้น แต่ก็ดูจะเป็นระบบที่พื้นฐานกว่าที่ติดตั้งกับ Type 99
สิ่งที่เห็นได้ชัดอีกอย่างหนึ่งว่ารถถังหลักจีนได้แนวทางพัฒนามาจากรถถังหลัก T-72 คือระบบบรรจุกระสุนอัตโนมัติในป้อมปืนซึ่งมีกระสุนพร้อมรบ ๒๒นัด และบรรจุหัวกระสุนและดินส่งกึ่งครบนัดเข้ารังเพลิงปืนใหญ่ถังสองจังหวะเหมือน T-72
(เหตุผลหนึ่งที่จีนยังคงประจำการทั้ง Type 96 และ Type 99 คือราคาของ Type 99 ที่แพงกว่าทำให้จีนไม่สามารถจะสั่งจัดหาแทนรถถังหลักเก่าให้ครบทุกหน่วยได้ หลายหน่วยจึงได้รับมอบ Type 96 ซึ่งมีราคาถูกกว่าที่ผลิตมาก่อน Type 99
ถ้าเทียบกับรถถังหลักรัสเซียในปัจจุบันแบบคร่าวๆ Type 96 ก็เทียบเท่า T-72B ซึ่งเป็นรถถังหลักยุคที่๒.๕ Type 96A เทียบเท่า T-72B3 ซึ่งได้รับการปรับปรุงเกราะและระบบควบคุมการยิงใหม่ให้ใกล้เคียงรถถังหลักยุคที่๓
ส่วน Type 99/Type 99A ก็อาจเทียบได้กับ T-90A/T-90AM ซึ่งเป็นรถถังหลักยุคที่๓/๓.๕ ที่มีขีดความสามารถสูงสุด ปัจจุบันรัสเซียได้พัฒนารถถังหลักยุคที่๔ คือ T-14 Armata ออกมาแล้วซึ่งทางจีนยังไม่มีข้อมูลว่ามีโครงการพัฒนาเช่นเดียวกันหรือไม่)

NORINCO VT4 MBT-3000

VT4 during combat trials in Pakistan(wikipedia.org)


แต่สำหรับรถถังหลักจีนยุคใหม่ที่ถูกสร้างมาสำหรับส่งออกโดยตรงอย่าง VT4 MBT-3000 คงเป็นคนละเรื่องกับ Type 69-II ครับ
เพราะ Technology ต่างยุคสมัยกันเกินกว่าที่จะมาสรุปได้โดยเร็วในตอนนี้ว่าจะมีสภาพเหมือนกันกับที่เคยจัดหาก่อน รถถังหลักจีนยุคที่๓ ที่เป็นรุ่นส่งออกต่างประเทศอย่าง VT1 MBT-2000 ที่มีลูกค้าอยู่บ้างนี่ หลายประเทศก็ยังใช้งานไม่เกิน ๑๐ปีครับ
ใกล้ๆบ้านเราก็เช่นกองทัพบกพม่าที่มีรถถังหลัก VT1A MBT-2000 ประจำการ (อาจจะเว้น Al-Khalid ของปากีสถานที่ร่วมพัฒนากับจีนซึ่งประจำการมานานกว่า)
ในกรณีของจีนสำหรับรถถังหลักยุคที่๓ คือการพัฒนารุ่นสำหรับส่งออกต่างประเทศโดยตรง เช่น VT1A(MBT-2000) และ VT4(MBT-3000) ซึ่งต่างมีพื้นฐานจาก ถ.หลัก Type 90-II แต่ใช้ Technology ใหม่บางส่วนที่มาจาก ถ.หลัก Type 99 ที่ลดระดับลงสำหรับการส่งออก
เช่น VT1A(MBT-2000) หรือ Al-Khalid ที่ติดกล้อง Panoramic Sight และติดเกราะERA เสริมป้อมปืนและแคร่รถฐานส่วนหน้า อย่างเห็นใช้งานในปากีสถาน, บังคลาเทศ, โมร็อกโก และกองทัพบกพม่า และทดสอบในเปรู
(เปรูนั้นเคยเลือกจัดหารถถังหลัก VT1A/MBT-2000 เพื่อทดแทน T-55 มาแล้ว แต่รัฐบาลเปรูขณะนั้นถูกโจมตีจากสื่อว่าโครงการไม่โปร่งใส และยูเครนซึ่งส่ง Oplot เข้าแข่งขันในโครงการปฏิเสธที่จะส่งเครื่องยนต์ 6TD-2 ให้ใช้กับรถของเปรู
เปรูจึงยกเลิกการสั่งซื้อ VT1A/MBT-2000 และตั้งโครงการจัดหารถถังหลักใหม่ ซึ่งโครงการใหม่นี้จีนส่ง VT4/MBT-3000 เข้าแข่งขันโดยใช้ระบบของจีนล้วนโดยเฉพาะเครื่องยนต์ดีเซลกำลัง 1300HP)
ส่วน VT4(MBT-3000) ใช้เกราะวัสดุผสมและเกราะ ERA แบบใหม่ในป้อมปืนและแคร่รถฐาน(มีพื้นฐานจากเกราะที่ใช้กับ Type 99A) และติดกล้องเล็งและระบบควบคุมการยิงใหม่ พร้อมเลือกติดตั้งป้อมปืน Remote Weapon Station 12.7mm และระบบ APS แบบ GL5 ได้เป็นต้น
(ไม่นับรถถังหลัก VT2 ซึ่งเป็นรุ่นส่งออกของ Type 96A ซึ่ง NORINCO วางระดับของรถถังหลักรุ่นนี้ไว้เป็นรุ่นใช้ Technology พื้นฐานรองลงมาจาก VT1A ซึ่ง ถ.หลัก VT2 มีราคาถูกที่สุดเหมาะสำหรับประเทศที่มีงบประมาณจำกัด
อาจจะกล่าวได้ว่าตอนนี้ NORINCO จีนมีผลิตภัณฑ์รถถังหลักของตนล่าสุดสองแบบคือ VT2 คือ Type 96A รุ่นส่งออก และ VT4 ที่อาจจะเป็นเหมือน Type 99A รุ่นส่งออก ดูได้จากการสาธิตสมรรถนะผลิตภัณฑ์ในงาน NORINCO Armour Day 2014 ตาม Clip ข้างต้น)
แต่นั่นละที่ว่ารถถังหลักรัสเซียคือ T-90 นั้นอาจจะมีความน่าเชื่อถือในเรื่อง Technology และจำนวนลูกค้าที่ส่งออกได้มากกว่ารถถังหลักจีน ก็ต้องดูไปนานๆหลายปีกว่านั้นครับว่ารถถังหลักจีนเหล่านี้จะมีปัญหาที่ทำให้ปลดประจำการเร็วกว่าที่ควรหรือไม่ครับ

K1A2 Republic of Korea Army

ส่วนตัวเลือกอีกแบบคือรถถังหลัก K1A1 สาธารณรัฐเกาหลีนั้นยิ่งดูไม่น่าจะมีความเป็นไปได้มากเท่าใดนักเช่นกันครับ
เนื่องจาก K1A1 นี่เคยเป็นตัวเลือกหนึ่งร่วมกับ T-84 Oplot-M และ T-90S ในโครงการจัดหารถถังหลักของกองพันทหารม้าที่๒ กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์มาแล้ว
ซึ่ง K1A1 ถูกคัดออกเนื่องจากระบบอุปกรณ์หลายส่วนของรถมาจากสหรัฐฯซึ่งจะต้องให้รัฐบาลสหรัฐฯอนุมัติการส่งออกก่อน(เหมือนเครื่องบินฝึกไอพ่น KAI T-50 ของกองทัพอากาศไทย แต่ทางกองทัพบกคงไม่อยากทำให้การจัดหามีขั้นตอนยุ่งยาก)
อีกทั้งสายการผลิตของ K1A1 นั้นได้สิ้นสุดลงในปี 2010 ดังนั้นเมื่อเหลือตัวเลือกเพียง Oplot กับ T-90S แล้วกองทัพบกจึงเลือก Oplot เนื่องจากมีราคาถูกกว่าและประสิทธิภาพบางอย่างเหนือกว่า T-90S
ทั้งนี้ทางเกาหลีใต้เองไม่น่าจะมีการส่งออก ถ.หลัก K1A1 มือสองให้ต่างประเทศในเร็วๆนี้ด้วยครับ 
เนื่องจากสถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลีมีความตึงเครียดสูงจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีที่เอาแน่เอานอนไม่ได้และมีการปะทะเกิดขึ้นได้ตลอด เกาหลีใต้จำเป็นต้องคงกำลังรถถังหลักไว้ยันเกาหลีเหนืออยู่
โดยรถถังหลัก K1 รุ่นแรกที่ใช้ปืนใหญ่รถถัง KM68A1 105mm จะได้รับการปรับปรุงเป็นมาตรฐานรุ่น K1E1 ตั้งแต่ปี 2013 และจะปรับปรุงจนครบทุกคันในปี 2026
ส่วนรถถังหลัก K1A1 ที่ใช้ปืนใหญ่รถถัง KM256 120mm เองก็จะไรับการปรับปรุงเป็นมาตรฐานรุ่น K1A2 ตั้งแต่ปี 2012 และจะปรับปรุงจนครบทุกคันในปี 2022
และล่าสุดรถถังหลัก K2 Black Panther รุ่น Batch1 คันที่ 100 ก็เพิ่งจะออกจากโรงงาน และรถถัง K2 Batch2 ที่จะเปลี่ยนไปใช้เครื่องยนต์ดีเซล Doosan DV27K 1500HP ของเกาหลีใต้เอง แทน ย.ดีเซล MTU-890 เยอรมนีก็กำลังพัฒนาสร้างอยู่ครับ
ล่าสุดในการฝึกยกพลขึ้นบกของการฝึกผสมนานาชาติ Cobra Gold 2016 ในไทยช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา นาวิกโยธินสาธารณรัฐเกาหลีได้ส่งรถถังหลัก K1 ๑คันเข้าร่วมฝึกนอกจากรถเกราะสะเทินน้ำสะเทินบก KAAV-7A1

ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าแบบรถถังหลักใหม่ที่กองทัพบกอาจจะมีการจัดหาในอนาคตนั้นจะนำมาเข้าประจำการในกองพันทหารม้ารถถังหน่วยใด
ซึ่งตอนนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจนครับว่าจะเป็นในส่วนกองพันทหารม้ารถถังใน กองพลทหารราบ หรือในกรมทหารม้า กองพลทหารม้าที่๓ แต่ตอนนี้อาจจะยังเร็วเกินไปที่จะบอกได้ครับ

วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

อิรักมองความเป็นไปได้ในการจัดหาเครื่องบินขับไล่ MiG-29 รัสเซีย

Iraq eyes potential MiG-29 procurement
Iraq is said to be interested in procuring a small number of MiG-29 'Fulcrum' combat aircraft, with negotiations reported to be ongoing. Source: Slovakian MoD
http://www.janes.com/article/57971/iraq-eyes-potential-mig-29-procurement

อิรักกำลังพิจารณาความเป็นไปได้ในการจัดหาเครื่องบินขับไล่ MiG-29 (NATO กำหนดรหัส Fulcrum) จำนวนน้อยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของกำลังอากาศยานรบปีกตรึง
หนังสือพิมพ์ Kommersant รัสเซียได้รายงานการเดินทางเยือนอิรักของรองนายกรัฐมนตรีรัสเซีย นาย Dmitry Rogozin เป็นเวลาสองวันเพื่อเจรจาการขยายความร่วมมือทางธุรกิจและการทหารของทั้งสองประเทศ
แต่ทั้งนี้ยังไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนเครื่องที่เป็นไปได้ ระยะเวลา และระบบอาวุธอุปกรณ์ออกมาในขณะนี้

กองทัพอากาศอิรักในปัจจุบันกำลังอยู่ในช่วงระหว่างกลางของการดำเนินการจัดหาอากาศยานใหม่หลายแบบจำนวนมาก
ระยะสั้นคืออากาศยานสำหรับภารกิจต่อต้านการก่อความไม่สงบ(COIN: Counterinsurgency) และระยะยาวคืออากาศยานตามแบบในภารกิจป้องกันภัยทางอากาศและโจมตี
อากาศยานปีกตรึงที่กองทัพอิรักมีประจำการในปัจจุบันประกอบด้วย
เครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16IQ Fighting Falcon (F-16C/D Block 52) จำนวน 6เครื่องจากที่สั่งจัดหา 36เครื่อง ,เครื่องบินโจมตี Sukhoi Su-25 (NATO กำหนดรหัส Frogfoot) 10เครื่อง,
เครื่องบินฝึกและโจมตีเบาไอพ่น Aero L-159A ALCA ที่นั่งเดี่ยว และ L-159B Albatross IIs สองที่นั่ง รวม 4เครื่องจากจำนวนที่สั่งจัดหา 15เครื่อง ซึ่งนักบินอิรักกำลังทำการฝึกที่สาธารณรัฐเชค,
เครื่องบินลำเลียง Lockheed Martin C-130E 3เครื่องและ C-130J Hercules 6เครื่อง, เครื่องบินลำเลียง Antonov An-32 (NATO กำหนดรหัส Cline) 6เครื่อง,
เครื่องบินธุรการ Beechcraft King Air 350ER 1เครื่อง, เครื่องบินตรวจการณ์/ลาดตระเวน Seeker SB7L-360 2เครื่อง, เครื่องบินตรวจการณ์/ลาดตระเวน SAMA CH2000 MTSA 8เครื่อง,
เครื่องบินฝึก/โจมตีเบาใบพัด Cessna Textron 208B Grand Caravan 11เครื่อง, เครื่องบินฝึกใบพัด Beechcraft T-6C Texan II 15เครื่อง, เครื่องบินฝึกใบพัด Lasta 95 20เครื่อง, เครื่องบินฝึกใบพัด Cessna 172 18เครื่อง
และกำลังจะได้รับมอบเครื่องบินฝึกและโจมตีเบาไอพ่น KAI T-50IQ ชุดแรกจากจำนวนที่สั่งจัดหา 24เครื่อง ในเดือนเมษายน 2016 นี้

ในช่วงขีดความสามารถระหว่างอากาศยานต่อต้านการก่อความไม่สงบ COIN และอากาศายานรบตามแบบ MiG-29 มีคุณสมบัติในระดับสูงของเครื่องบินรบตามแบบที่ออกแบบโดยอดีตสหภาพโซเวียตให้เป็นเครื่องบินขับไล่เอนกประสงค์ความเร็วเหนือเสียง
แม้ว่าเมื่อเทียบกับเครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-27 (NATO กำหนดรหัส Flanker) แล้วสมรรถนะโดยรวมของ MiG-29 จะด้อยกว่าก็ตาม
แต่ขีดความสามารถการโจมตีภาคพื้นดินซึ่งปัจจุบันที่กองทัพอากาศอิรักกำลังทำการรบกับกลุ่มติดอาวุธก่อการร้ายภายในประเทศนั้น MiG-29 มีความเหมาสมกับกองทัพอากาศอิรัก โดย MiG-29 สามารถติดตั้งอาวุธได้เช่น
ปืนใหญ่อากาศ Gryazev/Shipunov GSh-301 (TKB-687/9A4071K) ขนาด 30mm ภายในตัวเครื่องพร้อมกระสุน AO-18 จำนวน 150นัด
ผสมกับอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น Kh-31A/P (NATO กำหนดรหัส AS-17 Krypton) 4นัด หรือ Kh-35 (NATO กำหนดรหัส AS-20 Kayak) 4นัด หรือ Kh-29T (NATO กำหนดรหัส AS-14 Kedge) 4นัด หรือระเบิดนำวิถี KAB-500KR 4ลูก ซึ่งเพียงพอต่อภารกิจโจมตีเป้าหมายภาคพื้นดินด้วยความแม่นยำครับ

วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

อิหร่านมองความเป็นไปได้ในการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-30 และเปิดสายการผลิตภายในประเทศกับรัสเซีย

Iran eyes Su-30 procurement and production deal with Russia
Seen here in Russian service, the Su-30 would significantly bolster the Islamic Republic of Iran Air Force after decades of international sanctions and arms embargoes have severely hampered operations. Source: French MoD
http://www.janes.com/article/57942/iran-eyes-su-30-procurement-and-production-deal-with-russia

สำนักข่าว AP รายงานเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาว่า อิหร่านกำลังมองหาความเป็นไปได้ในการจัดหาเครื่องบินขับไล่สองที่นั่ง Sukhoi Su-30 (NATO กำหนดรหัส Flanker) จากรัสเซีย
ความเป็นไปได้ของข้อตกลงนี้ถูกเปิดเผยโดยรัฐมนตรีกลาโหมอิหร่าน พลจัตวา Hossein Dehghan ระหว่างการให้สัมภาษณ์สถานีโทรทัศน์แห่งชาติของอิหร่าน
ยังไม่มีการการเปิดเผยจำนวนเครื่องบินขับไล่ Su-30 ที่ต้องการจัดหา และกรอบระยะเวลาซึ่งรายละเอียดเหล่านี้หาข้อมูลได้ยาก นายพล Dehghan เปิดเผยว่าอิหร่านมองความเป็นไปได้ที่จะมีขีดความสามารถเป็นส่วนร่วมของการผลิตเครื่องบางส่วนด้วย

การแถลงข่าวนี้มีขึ้นล่าสุดจากความร่วมมือระหว่างรัฐบาล Moscow และ Tehran ด้านความร่วมมือข้อตกลงการจัดหายุทโธปกรณ์หลัก
ตามการยกเลิกการคว่ำบาตทางเศรษฐกิจต่อิหร่านอย่างเป็นทางการ เมื่อข้อตกลงการจำกัดการพัฒนาทางนิวเคลียร์ของอิหร่านถูกลงนามที่ Vienna ออสเตรีย เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2015 ที่ผ่านมา
ทำให้รัสเซียมีความตั้งใจชัดเจนที่จะทำการเสนอขายทั้งเครื่องขับไล่ MiG และ Sukhoi ทั้งเครื่องที่เก็บสำรองในคลังหรือเครื่องประกอบใหม่จากโรงงานให้กับพันธมิตรรายสำคัญในภูมิภาคตะวันออกกลางนี้
ขณะที่ข้อห้ามด้านอาวุธตามแบบของสหประชาชาติที่ครอบคลุมให้อิหร่านมีข้อจำกัดในโครงการพัฒนาขีปนาวุธของตนจะยังมีผลใน 5และ8ปี ตามที่มีการรับรองเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2015
(หรือจนกว่าวันที่สำนักงานพลังงานปรามาณูระหว่างประเทศ IAEA จะส่งผลรายงานยืนยันของอิหร่าน ซึ่งแล้วแต่ว่าจะก่อนหน้านั้นเมื่อไร)
นั่นทำให้ข้อยกเว้นในการขายอาวุธให้แก่อิหร่านจะได้รับอนุญาตตามแต่กรณีไปโดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ(ขึ้นอยู่กับการลงมติ รับหรือไม่รับ ของชาติสมาชิก)
ข้อยกเว้นนี้ทำให้อิหร่านสามารถจัดหายุทโธปกรณ์ทางทหารได้จากที่ถูกจำกัดโดยการคว่ำบาตจากสหรัฐฯและนานาชาติมาตลอดหลายสิบปี

กองทัพอากาศอิหร่าน(IRIAF: Islamic Republic of Iran Air Force) มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องจัดหาอากาศยานใหม่เพื่อทดแทนของเก่าที่ใช้งานมานานและล้าสมัย
ซึ่งกำลังอากาศยานของกองทัพอากาศอิหร่านหลายแบบส่วนใหญ่จะเป็นระบบที่จัดหาจากสหรัฐฯในช่องปี 1970s ก่อนการปฏิวัติอิสลามปี 1979 และบางส่วนจากกองทัพอากาศอิรักที่นักบินอิรักบินลี้ภัยไปอิหร่านช่วงยุทธการ Desert Storm ในปี 1991
เช่น เครื่องบินขับไล่ Grumman F-14A Tomcat, เครื่องบินขับไล่ McDonnell Douglas F-4D, F-4E และเครื่องบินขับไล่ลาดตระเวน RF-4E Phantom II, เครื่องบินขับไล่ Northrop F-5E/F Tiger II,
เครื่องบินลำเลียง Lockheed Martin C-130E/H Hercules, เครื่องบินโดยสาร Boeing 707, เครื่องตรวจการณ์ทางทะเล Lockheed Martin P-3F Orion,
เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง CH-47A Chinook, Bell UH-1 Iroquois และเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-1 Cobra เป็นต้นครับ

วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

กองทัพเรืออินโดนีเซียจะปลดประจำการเรือฟริเกตชั้น Ahmad Yani ในปี 2017

Indonesia to retire Ahmad Yani-class frigates from 2017
The TNI-AL's Ahmad Yani-class guided missile frigate, KRI Abdul Halim Perdanakusuma.
According to a schedule decided at the 2016 iteration of an annual naval technical and logistics work plan meeting, the class will be retired at a rate of one ship a year from 2017. Source: TNI-AL
http://www.janes.com/article/57928/indonesia-to-retire-ahmad-yani-class-frigates-from-2017

กองทัพเรืออินโดนีเซีย(TNI-AL: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Laut) มีกำหนดที่จะปลดประจำการเรือฟริเกตชั้น Ahmad Yani ลำแรกจากทั้งหมด 6ลำ ในปี 2017
กำหนดการนี้ได้ถูกตัดสินใจในปี 2016 จากการทบทวนซ้ำในการประชุมประจำปีด้านทางtechnicทางเรือและงานแผนการส่งกำลังบำรุงที่มีขึ้นเมื่อต้นเดือนมกราคมที่กองบัญชาการกองเรือตะวันตก(KOARMABAR) ที่ Jakarta
"เรือฟริเกตชั้น Ahmad Yani จะถูกปลดประจำการในอัตราหนึ่งลำต่อปีตั้งแต่ปี 2017 ถึงปี 2022" แหล่งข่าวภายในกองทัพเรืออินโดนีเซียกล่าวต่อ Jane's

จากข้อมูลใน IHS Jane's Fighting Ships เดิมทีเรือฟริเกตชั้นนี้ถูกประจำการครั้งแรกในกองทัพเรือเนเธอร์แลนด์ช่วงระหว่างเดือนสิงหาคม 1967 และเดือนพฤษภาคม 1968 ในชื่อชั้น Van Speijk และถูกส่งมอบให้กองทัพเรืออินโดนีเซียระหว่างปี 1986-1989
เรือฟริเกตชั้น Ahmad Yani มีความยาวตัวเรือรวม 113.4m ความกว้างตัวเรือรวม 12.5m กินน้ำลึก 4.2m มีระวางขับน้ำสูงสุด 2,880tons และมีกำลังพลประจำเรือ 180นาย
อาวุธประจำเรือมีปืนใหญ่เรือ Oto Melara 76mm, ปืนกลหนัก 12.7mm สำหรับป้องกันตัวเฉพาะจุด ติดแท่นยิง Torpedo เบาปราบเรือดำน้ำ Mk 32 แฝดสาม 2แท่นสำหรับ Torpedo เบาขนาด 324mm แบบ Mk46
เรือฟริเกตชั้นนี้ได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่จากเครื่องยนต์กังหังไอน้ำเป็นเครื่องยนต์ดีเซล โดยแบ่งเป็น
เครื่องยนต์ดีเซล SEMT Pielstick กำลัง 11800HP สองเครื่องในเรือ KRI Oswald Siahaan 354
เครื่องยนต์ดีเซล Caterpillar กำลัง 12000HP สองเครื่องในเรือ KRI Karel Satsuitubun 356
เครื่องยนต์ดีเซล Caterpillar กำลัง 16000HP  สองเครื่องในเรือ KRI Ahmad Yani 351, KRI Slamet Riyadi 352, KRI Yos Sudarso 353 และ KRI Abdul Halim Perdanakusuma 355
มีการติดตั้งแท่นยิง Simbad 2แท่นยิงสำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้ Mistral ฝรั่งเศสแท่นละ2นัด
มีบางรายงานและภาพแสดงว่าเรือชั้นนี้ติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้่ำ Yakhont รัสเซีย 4นัดบนเรือ KRI Oswald Siahaan 354 ส่วนอีก5ลำติดอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้่ำ C-802 จีน 4นัด

การปลดประจำการเรือฟริเกตชั้น Ahmad Yani น่าจะเป็นไปตามแผนการรองรับเรือฟริเกตแบบ SIGMA 10514 ของ Damen เนเธอร์แลนด์ ความยาว 105m ระวางขับน้ำ 2,365tons ซึ่งกำลังถูกต่อที่อู่ PT PAL อินโดนีเซียภายใต้สิทธิบัตร 2ลำ
โดยเรือลำแรกคือ KRI RE Martadinata 331 เพิ่งถูกปล่อยลงน้ำเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2016 ที่ผ่านมาโดยมีจะเข้าประจำการในปี 2017 และเรือลำที่สอง KRI IG Ngurah Rai 332 จะเข้าประจำการตามภายหลัง
อย่างไรก็ตามทางกองทัพเรืออินโดนีเซียไม่ได้ระบุว่าเรือฟริเกตชั้น Ahmad Yani ลำใดใน 6ลำ ถูกถูกปลดประจำการเป็นลำแรกในปี 2017 ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Kurganmashzavod ผู้ผลิตรถรบทหารราบ BMP-3 รัสเซียยื่นเรื่องต่อศาลขอล้มละลาย

Russia’s only infantry fighting vehicle manufacturer files for bankruptcy
Alexander Alpatkin/TASS
KMZ in 2015 struck a long-term contract with Russia’s Defense Ministry to supply in 2015-2017 more than 200 BMP-3 infantry fighting vehicles to Russian army units
http://tass.ru/en/defense/855565

คำร้องขอการล้มละลายของบริษัท Kurganmashzavod (KMZ) ผู้ผลิตรถรบทหารราบตระกูล BMP รายเดียวของรัสเซียได้รับการยื่นเรื่องต่อศาลอนุญาโตตุลาการเขต Kurgan
ตามฝ่ายประชาสัมพันธ์ของศาลกล่าวต่อสำนักข่าว TASS ผู้ยื่นคำร้องคือ MTE Group ซึ่งจดทะเบียนใน Moscow

"คำร้องนั้นเชื่อมโยงกับการค้างชำระสัญญาเช่าของ MTE Group และ KMZ ก่อนหน้านี้บริษัทได้ติดข้อตกลงฉันมิตรภายใต้เงื่อนไขที่ KMZ เคยจะต้องจ่ายในสองระยะวงเงิน 41 million Rubles($515,000)
จากหนี้ทั้งหมดในการชำระค่าเช่าและบางส่วนของค่าปรับการยกเลิกอีก 1.9 million Rubles($23,800)"  ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของศาลกล่าว
ศาลกล่าวว่า Kurganmashzavod จ่ายเพียง 276,000 Rubles($3,460) จากหนี้ "นั่นเป็นเหตุว่าทำไม MTE Group เรียกร้องให้โรงงานได้ถูกยอมรับภาวะล้มละลายและจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการสถานะล้มละลาย"
คำร้องถูกยื่นฟ้องต่อศาลตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาและยังไม่ได้รับการยอมรับการรับทราบ ซึ่ง TASS ยังไม่ได้ความเห็นจากทางโรงงาน KMZ  ณ ขณะนี้

KMZ เป็นส่วนหนึ่งของเครือโรงงานรถสายพาน ซึ่งเป็นบริษัทอุตสาหกรรมเดียวของรัสเซียที่เป็นผู้ผลิตรถรบทหารราบสายพานที่มีใช้งานในกองทัพต่างๆกว่า 30ประเทศทั่วโลก
ในปี 2015 KMZ ติดสัญญาระยะยาวกับกระทรวงกลาโหมรัสเซียในการผลิตรถรบทหารราบ BMP-3 จำนวนมากกว่า 200คัน ส่งมอบให้กับกองทัพบกรัสเซียช่วงปี 2015-2017
ซึ่ง KMZ มีการค้างชำระค่าจ้างและหนี้สำหรับค่าก๊าซของบริษัท Gazprom mezhregiongaz Kurgan ครับ

วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

กองทัพบกรัสเซียเสร็จสิ้นการปรับโครงสร้างจัดตั้งกองทัพรถถังพิทักษ์รัฐที่1

Russia completes reformation of 1st Guards Tank Army
The 1st Guards Tank Army is to be equipped with the T-72B3 (pictured) and T-80 MBTs. Source: Russian MoD
http://www.janes.com/article/57828/russia-completes-reformation-of-1st-guards-tank-army

กระทรวงกลาโหมรัสเซียประกาศว่า กองทัพบกรัสเซียเสร็จสิ้นการจัดตั้งกองทัพรถถังพิทักษ์รัฐที่1 (1st Guards Tank Army) ขึ้นมาใหม่อีกครั้งในสังกัดเขตภาคทหารตะวันตก และจะจัดตั้งกองพลยานเกราะใหม่อีกสองกองพล
วาระการประชุมของคณะกรรมการกระทรวงกลาโหมรัสเซียโดยมีรัฐมนตรีกลาโหมรัสเซีย นาย Sergei Shoigu ได้เสนอให้จัดตั้งกำลังกลับมาใหม่นี้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนากองกำลังตอบโต้เร็วของกองทัพรัสเซีย
อีกส่วนคือการจัดตั้งกองพลยานเกราะใหม่อีกสองกองพล ซึ่งจะมีที่ตั้งใกล้กับเมือง Voronezh เขตภาคทหารตะวันตก และเมือง Chelyabinsk เขตภาคทหารกลาง ภายในปี 2016
ตามแถลงของกระทรวงกลาโหมรัสเซีย กองทัพรถถังพิทักษ์รัฐที่1 ที่ถูกปรับโครงสร้างใหม่จะมีการนำรถถังหลัก T-72B3 และรถถังหลัก T-80 เข้าประจำการ โดยตามอัตราจัดทั่วไปกองทัพรถถังของกองทัพบกรัสเซียจะมีรถถังหลักประจำการ 500คัน
ซึ่งบริษัท Uralvagonzavod ผู้ผลิตรถถังรัสเซียได้รับคำสั่งซื้อจากกระทรวงกลาโหมรัสเซียในการปรับปรุงรถถังหลัก T-72 ที่มีอยู่ให้เป็นรุ่นมาตรฐาน T-72B3 จำนวนมากกว่า 564คัน เข้าประจำการในเขตภาคทหารต่างๆแทน T-72B1 รุ่นเก่า ตั้งแต่สิ้นปี 2015

อย่างไรก็ตาม พลโท(Colonel General) Vladimir Zarudnitsky ผู้บัญชาการเขตภาคทหารกลาง ได้กล่าวว่า
กำลังหลักของกองพลยานเกราะใหม่ที่จะจัดตั้งขึ้นใกล้เมือง Chelyabinsk นั้นควรจะได้รับมอบรถถังหลักยุคใหม่ล่าสุดมากกว่า ซึ่งเมือง Chelyabinsk นั้นอยู่ใกล้กับเมือง Nizhny Tagil ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงงานและบริษัท Uralvagonzavod
และนายพล Zarudnitsky ได้ให้ความเห็นว่าจะเป็นการดีที่กองพลยานเกราะใหม่นี้จะเป็นหน่วยแรกที่ได้รับมอบรถถังหลัก T-14 Armata รุ่นใหม่ล่าสุดและรถรบในสายตระกูล Armata เช่นรถรบทหารราบหนัก T-15 เข้าประจำการ
เช่นเดียวกับกองพลยานเกราะใหม่ใกล้เมือง Voronezh ซึ่งในเขตเดียวกันนี้มี กองพลน้อยยานเกราะอิสระที่1 ซึ่งมีที่ตั้งในเมือง Boguchar ตั้งแต่ปี 2015 มีความเป็นไปได้ว่ากองพลน้อยนี้อาจจะได้รับการปรับโครงสร้างยกระดับเป็นกองพลยานเกราะ
แต่ทั้งนี้กำลังรถถังหลักของกองทัพบรัสเซียยังจะคงเป็นรถถังหลัก T-72, T-80 และ T-90 ต่อไปอีกนานหลายปี แม้ว่าจะเริ่มมีการนำรถถังหลักใหม่คือ T-14 เข้าประจำการที่ยังต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะผ่านการทดสอบความพร้อมปฏิบัติการรบและเปิดสายการผลิตจำนวนมากได้ครับ

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

กองทัพบกสวีเดนนำปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง Archer เข้าประจำการ

Archer SPA enters Swedish Army service
Four Archer 155 mm self-propelled artillery (SPA) systems have now entered service with the Swedish Army's A 9 regiment. (Swedish Armed Forces)
http://www.janes.com/article/57781/archer-spa-enters-swedish-army-service

สำนักงานจัดหายุทธภัณฑ์รัฐบาลสวีเดน(FMV) ได้ประกาศเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาว่า ระบบปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง 6x6 แบบ BAE Systems FH-77 BW L52 Archer นั้นได้เข้าประจำการในกองทัพบกสวีเดนแล้ว
โดยปืนใหญ่อัตตาจร Archer 4ระบบแรกจะเข้าประจำการใน กรมทหารปืนใหญ่ที่9 (Artilleriregementet A 9) ซึ่งมีที่ตั้งที่ Boden ทางตอนเหนือของสวีเดน ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

ระบบปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง Archer ถูกพัฒนามาตั้งแต่ปี 1995 โดยมีกองทัพบกสวีเดนและกองทัพบกนอร์เวย์สั่งจัดหาประเทศละ 24ระบบในปี 2010
ซึ่งระบบ Archer ทำการดัดแปลงมาจากปืนใหญ่ลากจูง BAE Systems FH-77 155mm โดยมีปืนใหญ่ FH-77 9กระบอกถูกสั่งปลดประจำการจากกองทัพและถูกนำมาดัดแปลงเป็นระบบ Archer สำหรับเข้าประจำการในสวีเดนและนอร์เวย์
ปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง Archer ระบบแรกก่อนสายการผลิตถูกส่งมอบให้ FMV ในปี 2013 และระบบแรกในสายการผลิตจริงถูกส่งมอบให้ FMV เมื่อเดือนตุลาคม 2015
ทั้งนี้ปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง Archer ที่เหลือ 20ระบบสำหรับ2กองพันทหารปืนใหญ่ในกรมทหารปืนใหญ่ที่9 จะเริ่มส่งมอบในปี 2016 จนครบทั้งหมดในปี 2017
ตามข้อมูลที่ Jane's ได้รับจาก FMV กล่าวว่ากองพันทหารปืนใหญ่ที่ได้รับมอบทั้งนี้ปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง Archer จะมีความพร้อมปฏิบัติการขั้นต้นในครึ่งหลังปี 2016 และจะมีความพร้อมปฏิบัติการตรงอัตราเมื่อไดรับมอบระบบทั้งหมดครบในปี 2017

แต่ความล่าช้าในการพัฒนาและส่งมอบระบบที่เกิดขึ้นทำให้นอร์เวย์ถอนตัวจากโครงการจัดหาและเริ่มโครงการจัดหาปืนใหญ่อัตตาจรใหม่ของตนเองเพื่อทดแทนปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน M109A3GN 14ระบบที่ใช้มานาน โดยล่าสุดมีตัวเลือกระบบปืนใหญ่อัตตาจรใหม่ 4แบบคือ
ปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน Samsung Techwin K9 Thunder สาธารณรัฐเกาหลี, ปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง Nexter Systems Caesar ฝรั่งเศส, ปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน KMW PzH 2000 เยอรมนี และปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน M109 ที่ปรับปรุงโดย RUAG สวิสเซอร์แลนด์ ครับ

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

กองทัพบกฟิลิปปินส์ศึกษาความเป็นไปได้ในการปรับปรุงรถสายพานลำเลียง M113A2 ติดป้อมปืนใหญ่กล 25mm

Philippines Army is looking the possibility to upgrade M113A2 APC with 25mm automatic cannon. 
Philippines army M113A2 APC armoured personnel carrier
http://www.armyrecognition.com/february_2016_global_defense_security_news_industry/philippines_army_is_looking_the_possibility_to_upgrade_m113a2_apc_with_25mm_automatic_cannon_10602163.html

กองพลทหารราบยานเกราะ กองทัพบกฟิลิปปินส์ กำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการติดตั้งป้อมปืนใหญ่กลขนาด 25mm กับรถสายพานลำเลียง M113A2 ของตน
ซึ่งกองทัพบกฟิลิปปินส์เพิ่งเริ่มได้รับมอบรถเกราะสายพานลำเลียงพล M113A2 จำนวน 114คัน ซึ่งเดิมเป็นของกองทัพบกสหรัฐฯที่ผ่านการซ่อมคืนสภาพใหม่เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
"เรากำลังมองหาแนวทางการปรับแต่งสำหรับรถสายพานลำเลียงบางคันให้เป็นรถรบทหารราบ นั่นหมายความว่าปืนกลหนัก .50cal จะถูกเปลี่ยนเป็นปืนใหญ่กล 25mm ซึ่งจะทำให้พวกมันสามารถใช้ในปฏิบัติการรักษาความมั่นคงภายในและการปกป้องพื้นที่อธิปไตยได้"
พลตรี Edgar Gonzales ผู้บัญชาการกองพลทหารราบยานเกราะ กองทัพบกฟิลิปปินส์กล่าว

ปืนใหญ่กล 25mm นั้นมีความรุนแรง ระยะยิง และอำนาจการสังหารมากกว่าปืนกลหนัก .50cal ที่ติดตั้งบนป้อมปืน Remote Weapon Station ที่ติดกับ รสพ.M113A2 ของกองทัพบกฟิลิปปินส์ตอนนี้
พลตรี Gonzales ปฏิเสธที่จะให้รายละเอียดว่าจะมี รสพ.M113A2 กี่คันจากจำนวน 114คัน ที่จะได้รับการปรับปรุงเป็นรถรบทหารราบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับงบประมาณที่จะได้รับในอนาคต
แต่ถ้าโครงการปรับปรุงรถรบทหารราบมีการเดินหน้า พลตรี Gonzales กล่าวว่าเครื่องยนต์ขนาด 212HP ที่ใช้อยู่จะถูกเปลี่ยนเป็นเครื่องยนต์ขนาด 265HP เพื่อรองรับน้ำหนักรถที่เพิ่มขึ้นหลังการติดตั้งปืนใหญ่กล 25mm
รถสายพานลำเลียง M113A2 ถูกออกแบบมาให้เป็นยานเกราะสายพานเบาที่มีความอยู่รอดและน่าเชื่อถือสำหรับภารกิจลำเลียงทหารราบภายใต้เกราะกำบังเข้าสู่สนามรบครับ

วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ฟินแลนด์อนุมัติการจัดซื้อจรวดนำวิถีจากสหรัฐฯสำหรับเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้อง M270

Finland approves MLRS missile purchase
Finland has decided to purchase new missiles for its Lockheed Martin M270 Multiple Launch Rocket Systems (MLRS). Source: Finnish Defence Forces
http://www.janes.com/article/57776/finland-approves-mlrs-missile-purchase

กระทรวงกลาโหมฟินแลนด์ประกาศเมื่อวันที่ 4 มกราคมที่ผ่านมาว่า ได้ตัดสินใจอนุมัติการจัดซื้อจรวดนำวิถีสำหรับเครื่องจรวดหลายลำกล้องอัตตาจรสายพาน Lockheed Martin M270 MLRS(Multiple Launch Rocket System) ที่กองทัพบกฟินแลนด์ประจำการอยู่ 22ระบบ
โครงการจัดหาจรวดนำวิถีขนาด 227mm วงเงิน 70 million Euros ประกอบด้วยทั้งจรวดนำวิถี M31A1 หัวรบระเบิดแรงสูง(HE: High-Explosive) 90นัด และจรวดนำวิถี M30A1 หัวรบอมภัณฑ์ย่อยแบบ M85 404ลูก 150นัด โดยจรวดทั้งสองแบบนำวิถีด้วย GPS/INS มีระยะยิง 70km
ซึ่งมีบันทึกว่ารัฐบาลสหรัฐฯอนุมัติการส่งออกตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2015 โดยรัฐมตรีกลาโหมฟินแลนด์ Jussi Niinisto และคณะกรรมการงบประมาณรัฐบาลฟินแลนด์อนุมัติเห็นชอบการจัดหาเมื่อวันที่ 4 มกราคมที่ผ่านมา
คาดว่าการส่งมอบจรวดนำวิถีดังกล่าวให้ฟินแลนด์จะมีขึ้นภายในปี 2016 นี้และจะส่งมอบครบทั้งหมดภายในปี 2018 ครับ

มาเลเซียมีแผนปรับปรุงกำลังยานเกราะของตน

Malaysia to upgrade armoured vehicles
Rheinmetall MAN Military Vehicles Condor 4x4 APC used by Malaysia fitted with a Thales FVT900 one-person turret armed with a 20 mm cannon and 7.62 mm co-axial MG. Source: Rheinmetall
Export Alvis Scorpion fitted with a two-person turret armed with 90 mm gun, 7.62 mm co-axial MG, and roof-mounted 0.50 calibre M2 HB MG, excluding flotation screen. (BAE Systems)
http://www.janes.com/article/57715/malaysia-to-upgrade-armoured-vehicles

กองทัพบกมาเลเซียกำลังมองหาแนวทางในการปรับปรุงกำลังยานยนต์หุ้มเกราะที่มีอยู่เพื่อยืดอายุการใช้งานออกไป ระหว่างที่รอรับมอบรถหุ้มเกราะล้อยาง AV8 8x8 จำนวน 257คันเข้าประจำการ
ซึ่งบริษัท DEFTECH มาเลเซียได้สิทธิบัตรเพื่อเปิดสายการผลิตรถเกราะล้อยาง AV8 เป็นจำนวนมากภายในประเทศจากบริษัท FNSS ตุรกี
จากการพูดคุยในงานสัมมนา IQPC International Armoured Vehicles (IAV) 2016 ที่ London เมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา กับ Dr. Yazid Ahmad ผู้อำนวยการภาคเทคโนโลยีเครื่องจักรและอากาศยานแห่งสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อความมั่นคง
(STRIDF:Science and Technology Research Institute for Defence)
Dr.Ahmad ได้เปิดเผยว่ามาเลเซียมีแผนที่จะปรับปรุงรถถังเบา Alvis Scorpion 90 และรถหุ้มเกราะล้อยางลำเลียงพล Rheinmetall MAN Condor 4x4 จำนวนหนึ่ง

กองทัพบกมาเลเซียได้รับมอบรถหุ้มเกราะล้อยาง SIMBAS 6x6 จากเบลเยียมในช่วงปี 1983-1984 จำนวน 186คัน (ประกอบด้วยรุ่นติดปืนใหญ่รถถัง Cockerill 90mm 162คัน และรุ่นรถกู้ซ่อม 24คัน) ซึ่งจะแทนที่ด้วยรถเกราะล้อยาง AV8 8x8 ในอนาคต
เช่นเดียวกับรถหุ้มเกราะล้อยางลำเลียงพล Condor 4x4 จากเยอรมนีจำนวน 459คัน ซึ่งจะถูกแทนทีด้วยรถเกราะล้อยาง AV8 และรถหุ้มเกราะล้อยาง AV4 หรือ First Win 4x4 ที่ DEFTECH ได้สิทธิบัตรการผลิตจากบริษัท Chaiseri Defence ประเทศไทย
และรถถังเบา Scorpion 90 จำนวน 26ในปี 1983 ซึ่งติดตั้งป้อมปืนที่ใช้พลประจำป้อมปืน 2นาย พร้อมปืนใหญ่รถถัง Cockerill 90mm และปืนกลร่วมแกน 7.62mm
เดิมทีรถถังเบา Scorpion 90 กองทัพบกมาเลเซียนั้นติดตั้งฉากลอยตัวในน้ำสำหรับเคลื่อนที่ในปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบกแต่ภายหลังได้ถูกถอดออกไป

ตามแผนการปรับปรุงจากการประเมินสภาพรถถังเบา Scorpion 90 ที่มีอยู่ซึ่งใช้เครื่องยนต์ดีเซลของ Perkins จะมีการเปลี่ยนชุดเครื่องส่งกำลัง(Transmission) จาก TN15 เป็น TN15DE ซึ่งน่าเชื่อถือกว่า และเปลี่ยนสายพานเป็นแบบสายพานข้อเดียว
ตัวถังรถที่เป็น Aluminium จะได้รับการซ่อมคืนสภาพ และรถ Scorpion 90 จำนวน 7คันจาก 14คัน จะถูกเปลี่ยนไปใช้ป้อมปืน Thales UK FVT900 แบบใช้พลประจำป้อม 1นายติด ปืนใหญ่กล 20mm และปืนกลร่วมแกน 7.62mm
ซึ่งป้อมปืน FVT900 นี้ถูกถอดมาจากรถหุ้มเกราะสายพานลำเลียงพล Alvis Stormer ที่กองทัพบกมาเลเซียจัดหาจากสหราชอาณาจักรจำนวน 25คัน
โดยรถเกราะสายพาน Stormer 12คันติดตั้งป้อมปืน FVT900 ส่วนที่เหลือ 13คนติดตั้งป้อมปืนแบบ Rheinmetall TH-1 ใช้พลประจำป้อม 1นายพร้อมปืนกล 7.62mm 2กระบอกครับ

วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

รถถังเบาแบบใหม่ของจีนถูกเปิดเผยข้อมูลมากขึ้น

More details emerge on new Chinese light tank
The first close-up view of China's new 105 mm gun-armed 35-tonne light tank shows detachable armour on the bow and turret. Source: FYJS web page
http://www.janes.com/article/57682/more-details-emerge-on-new-chinese-light-tank

Jane's ได้รายงานข้อมูลเพิ่มเติมล่าสุดของรถถังเบาแบบใหม่ของกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนที่มีการเผยแพร่ใน Website Sina.com ของจีนตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม ที่ผ่านมา
โดยรายงานข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับการพัฒนารถถังเบาแบบใหม่ของกองทัพปลดปล่อยประชาชนนี้เริ่มมีเผยแพร่ออกมาตั้งแต่ปลายปี 2011 แล้ว

ตามข้อมูลที่ลงใน Sina.com รถถังเบาแบบใหม่นี้พัฒนาโดย NORINCO (อาจจะมีรหัสรุ่นว่า ZTQ สำหรับรถถังเบา) มีน้ำหนักรถประมาณ 35tons มีพลประจำรถ 4นาย
ติดตั้งปืนใหญ่รถถังขนาด 105mm ซึ่งมีการตั้งข้อสังเกตุว่าถ้ามีการติดตั้งระบบบรรจุกระสุนอัตโนมัติจะสามารถทำให้ลดพลประจำรถลงได้หนึ่งนาย
ซึ่งปืนใหญ่รถถัง 105mm นี้สามารถยิงกระสุนเจาะเกราะแกน Tungsten ที่สามารถเจาะเกราะเหล็กกล้า RHA ได้ที่ 500mm และสามารถยิงอาวุธปล่อยนำวิถีจากปืนใหญ่รถถังได้
ระบบกล้องเล็งของผู้บังคับการรถและพลยิงคาดว่าจะเป็นรุ่นที่พัฒนามาจากระบบกล้องเล็งที่ใช้กับรถถังหลัก Type 99A2 และมีการติดตั้ง Radar ตรวจจับวิถีกระสุนที่ปลายกระบอกปืน
ป้อมปืนและด้านหน้าแคร่ฐานรถของรถถังเบาติดตั้งเกราะปฏิกิริยา(Reactive Armour)เสริมแบบถอดออกได้ พร้อมระบบตรวจจับ Laser รวมถึงป้อมปืนสามารถติดตั้งเครื่องยิงลูกระเบิดควันได้
ตัวฐานรถถังเบาอาจจะใช้ระบบกันกระเทือนช่วงล่าง(suspension) แบบของเหลว-ก๊าซ ซึ่งสามารถทำให้รถถังเบาสามารถ "หมอบ" ได้เพื่อใช้ภูมิประเทศเป็นที่กำบัง และยังสามารถในการลดพื้นที่เพื่อการขนส่งด้วยรถไฟและอากาศยาน

ทั้งนี้กองทัพบกปลดปล่อยประชาชนจีนมีแนวคิดในการพัฒนารถถังเบาสำหรับทำการในเขตภูเขามาตั้งแต่ปี 1950s แล้ว
โดยเฉพาะการปฏิบัติการรบในเขตภูเขาสูงในทิเบตซึ่งเคยมีกรณีพิพาททางพรมแดนจนมีการปะทะกับอินเดีย และเขตป่าภูเขาทางมณฑลตอนใต้เต็มไปด้วยถนนดินลูกรังไม่มีการราดยางมะตอยหรือเทคอนกรีต สะพานที่รับน้ำหนักได้ต่ำ และทุ่งนาข้าว
รถถังแบบแรกที่ถูกพัฒนาคือรถถังเบา Type 62/WZ131 ในปี 1962 แต่อย่างไรก็ตามผลการใช้ปฏิบัติการรบจริงในสงครามจีน-เวียดนาม ปี1979 นั้นรถถังเบารุ่นนี้มีประสิทธิภาพไม่น่าพอใจนัก ปัจจุบันรถถังเบา Type 62 ได้ถูกปลดประจำการลงทั้งหมดในราวปี 2013
ต่อมาในช่วงปี 1990s จีนได้ให้ความสำคัญในการพัฒนารถถังเบาสะเทินน้ำสะเทินบกสำหรับสนับสนุนปฏิบัติการยกพลขึ้นเป็นหลัก เพื่อตอบสนองในกรณีพิพาทเช่นการส่งกองทัพปลดปล่อยประชาชนเข้ายึดครองไต้หวัน
จนมาถึงในช่วงต้นปี 2000s แผนการพัฒนารถถังเบาสำหรับการรบในเขตภูเขาจึงได้รับความสำคัญอีกครั้ง และรวมถึงแผนการพัฒนารถเกราะและรถถังเบาสำหรับส่งทางอากาศด้วยครับ

รัสเซียเสนอสิทธิบัตรการเปิดสายการผลิตรถถังหลัก T-90S ให้อิหร่าน

Russia proposes to Iran to organize licensed production of Russian T-90S tanks
ITAR-TASS/Vitaly Ivanov
Russia’s main battle gun launcher-armed tank T-90S is equipped with an automated fire control system
http://tass.ru/en/defense/854186

Alexey Zharich รองผู้อำนวยการทั่วไปบริษัท Uralvagonzavod ผู้ผลิตรถถังและยานเกราะรัสเซีย กล่าวเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ว่า
Uralvagonzavod พร้อมที่ดำเนินงานบริหารจัดการถ่ายทอดสิทธิบัตรการผลิตรถถังหลัก T-90S ให้อิหร่าน ถ้าหากว่าข้อกำจัดด้านความร่วมมือในการถ่ายทอด Technology ทางทหารให้กับอิหร่านจะถูกยกเลิกไป

รถถังหลัก T-90S น้ำหนักพร้อมรบ 46.5tons เป็นรถถังหลักที่ติดตั้งปืนใหญ่รถถังขนาด 125mm พร้อมระบบบรรจุกระสุนอัตโนมัติ และระบบควบคุมการยิงสมรรถนะสูง มีรูปทรงรถที่มีความเด่นชัดน้อยเพิ่มความอยู่รอดในสนามรบ
อย่างไรก็ตามเนื่องจากความร่วมมือทางการทหารระหว่างรัสเซียกับอิหร่านนั้นได้ถูกระงับด้วยข้อจำกัดจากมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 1020 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2010
"ความร่วมมือกับอิหร่านได้ถูกระงับลงตามความเห็นสอดคล้องของประธานาธิบดี แต่ถ้าข้อจำกัดเกี่ยวกับความร่วมมือทางเทคนิคทางทหารกับอิหร่านได้ถูกยกเลิกไป
ความร่วมมือระหว่างกันของบริษัทกับ Rosoboronexport (รัฐวิสาหกิจด้านการจัดการส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ของรัสเซีย) ก็พร้อมที่จะให้ความร่วมมือ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสิทธิบัตรการผลิตของรถถังหลัก T-90S ซึ่งเป็นรุ่นที่พัฒนามาจากรถถังหลัก T-72S ที่พวกเขา(อิหร่าน)มีขีดความสามารถในการผลิตอยู่" นาย Zharich กล่าว
อิหร่านได้มีการการซื้อสิทธิบัตรการผลิตรถถังหลัก T-72S เองภายในประเทศจากรัสเซียในช่วงปี 1993-2001 เป็นจำนวนหลายร้อยคัน

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 2กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ผู้บัญชาการกองทัพบกอิหร่าน พลจัตวา Ahmad Reza Pourdatan ได้กล่าวว่า อิหร่านไม่ต้องการจะจัดซื้อรถถังหลัก T-90 จากรัสเซีย แต่จะดำเนินการเพื่อจะจัดตั้งสายการผลิตรถถังที่มีสมรรถนะเช่นเดียวกันนี้ภายในประเทศอิหร่าน
ซึ่งอิหร่านมีองค์ความรู้ด้าน Technology รถถังหลักสูงพอที่จะดำเนินการพัฒนาได้ด้วยตนเอง เช่นการพัฒนารถถังหลักตระกูล Zulfiqar ที่อิหร่านพัฒนาเองมาอย่างน้อยสามรุ่นแล้วครับ

วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

อิสราเอลเปิดตัวรถหุ้มเกราะสายพาน Namer ที่ติดตั้งระบบป้องกันเชิงรุก Trophy

Israel rolls out Trophy protection on new Namers
The Israeli MoD released the first photos of the Trophy HV fitted to a Namer on 28 January. Source: Israeli MoD
The Trophy system fitted to the Namer appears to have a new drop-down cover over its hard-kill countermeasures dispenser. (Israeli MoD)
http://www.janes.com/article/57558/israel-rolls-out-trophy-protection-on-new-namers

กองบริหารงานรถถังหลัก Merkava กระทรวงกลาโหมอิสราเอลเปิดเผยข้อมูลเมื่อวันที่ 28 มกราคมที่ผ่านมาถึงความสำเร็จในการติดตั้งระบบป้องกันเชิงรุก(Active Protection System) แบบ Rafael Trophy HV บนรถหุ้มเกราะสายพานลำเลียงพล Namer
"ในสัปดาห์นี้เราประสบความสำเร็จในการบูรณาการและปรับแต่งระบบ Trophy เข้ากับรถเกราะ Namer เราจะรับนโยบายของกระทรวงกลาโหมโดยการติดตั้งระบบนี้กับรถเกราะ Namer ทุกคันในสายการผลิต ซึ่งนี่เป็นระบบป้องกันเชิงรุกแบบเดียวในโลกที่มีการใช้งานจริง"
พลจัตวา Baruch Matzliach ผู้อำนวยการกองบริหารงานรถถังหลัก Merkava กล่าว อย่างไรก็ตามยังไม่มีการออกแผนระยะนี้ว่าจะมีการติดตั้งระบบ Trophy บนรถเกราะ Namer ที่มีอยู่ในตอนนี้
ทั้งนี้รถหุ้มเกราะสายพานลำเลียงพล Namer เป็นรถรบที่พัฒนามาจากแคร่รถฐานของรถถังหลัก Merkava มีกำลังพลประจำรถ 3นาย(ผู้บังคับการรถ พลขับ พลยิง) บรรทุกทหารไปกับรถได้ 9นาย มีป้อมปืน Remote Weapon Station ติดปืนกลหนัก M2 .50cal เป็นอาวุธป้องกันตัว

การทดสอบการใช้งานจริงภาคสนามของรถเกราะสายพาน Namer ที่ติดตั้งระบบ Trophy APS มีขึ้นในปี 2015 ที่ศูนย์ฝึกกองทัพน้อยยานเกราะทางตอนใต้ของอิสราเอล ซึ่งการทดสอบระบบป้องกันประสบความสำเร็จด้วยดี
ทางเจ้าหน้าที่กลาโหมอิสราเอลให้ข้อมูลว่าภายในช่วงหลายเดือนต่อจากนี้จะมีการอบรบหลักสูตรระยะสั้นให้กับทหารในกองทัพอิสราเอลเพื่อให้มีความชำนาญในการใช้งานระบบ
ซึ่งระบบป้องกันเชิงรุก Trophy สามารถตรวจจับและติดตามจรวดหรืออาวุธปล่อยนำวิถีที่ถูกยิงเข้าโจมตีรถและทำการยิงกระสุนระเบิดจำนวนมากเข้าทำลายภัยคุกคามดังกล่าวได้
โดยที่ผ่านมารถถังหลัก Merkava IV ที่ติดตั้งระบบ Trophy APS ได้ถูกนำไปใช้ปฏิบัติการรบจริงในยุทธการ Protective Edge ปี 2014 ในการรบกับกลุ่มติดอาวุธที่ฉนวน Gaza มาแล้วครับ