วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

อิหร่านมองความเป็นไปได้ในการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-30 และเปิดสายการผลิตภายในประเทศกับรัสเซีย

Iran eyes Su-30 procurement and production deal with Russia
Seen here in Russian service, the Su-30 would significantly bolster the Islamic Republic of Iran Air Force after decades of international sanctions and arms embargoes have severely hampered operations. Source: French MoD
http://www.janes.com/article/57942/iran-eyes-su-30-procurement-and-production-deal-with-russia

สำนักข่าว AP รายงานเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาว่า อิหร่านกำลังมองหาความเป็นไปได้ในการจัดหาเครื่องบินขับไล่สองที่นั่ง Sukhoi Su-30 (NATO กำหนดรหัส Flanker) จากรัสเซีย
ความเป็นไปได้ของข้อตกลงนี้ถูกเปิดเผยโดยรัฐมนตรีกลาโหมอิหร่าน พลจัตวา Hossein Dehghan ระหว่างการให้สัมภาษณ์สถานีโทรทัศน์แห่งชาติของอิหร่าน
ยังไม่มีการการเปิดเผยจำนวนเครื่องบินขับไล่ Su-30 ที่ต้องการจัดหา และกรอบระยะเวลาซึ่งรายละเอียดเหล่านี้หาข้อมูลได้ยาก นายพล Dehghan เปิดเผยว่าอิหร่านมองความเป็นไปได้ที่จะมีขีดความสามารถเป็นส่วนร่วมของการผลิตเครื่องบางส่วนด้วย

การแถลงข่าวนี้มีขึ้นล่าสุดจากความร่วมมือระหว่างรัฐบาล Moscow และ Tehran ด้านความร่วมมือข้อตกลงการจัดหายุทโธปกรณ์หลัก
ตามการยกเลิกการคว่ำบาตทางเศรษฐกิจต่อิหร่านอย่างเป็นทางการ เมื่อข้อตกลงการจำกัดการพัฒนาทางนิวเคลียร์ของอิหร่านถูกลงนามที่ Vienna ออสเตรีย เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2015 ที่ผ่านมา
ทำให้รัสเซียมีความตั้งใจชัดเจนที่จะทำการเสนอขายทั้งเครื่องขับไล่ MiG และ Sukhoi ทั้งเครื่องที่เก็บสำรองในคลังหรือเครื่องประกอบใหม่จากโรงงานให้กับพันธมิตรรายสำคัญในภูมิภาคตะวันออกกลางนี้
ขณะที่ข้อห้ามด้านอาวุธตามแบบของสหประชาชาติที่ครอบคลุมให้อิหร่านมีข้อจำกัดในโครงการพัฒนาขีปนาวุธของตนจะยังมีผลใน 5และ8ปี ตามที่มีการรับรองเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2015
(หรือจนกว่าวันที่สำนักงานพลังงานปรามาณูระหว่างประเทศ IAEA จะส่งผลรายงานยืนยันของอิหร่าน ซึ่งแล้วแต่ว่าจะก่อนหน้านั้นเมื่อไร)
นั่นทำให้ข้อยกเว้นในการขายอาวุธให้แก่อิหร่านจะได้รับอนุญาตตามแต่กรณีไปโดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ(ขึ้นอยู่กับการลงมติ รับหรือไม่รับ ของชาติสมาชิก)
ข้อยกเว้นนี้ทำให้อิหร่านสามารถจัดหายุทโธปกรณ์ทางทหารได้จากที่ถูกจำกัดโดยการคว่ำบาตจากสหรัฐฯและนานาชาติมาตลอดหลายสิบปี

กองทัพอากาศอิหร่าน(IRIAF: Islamic Republic of Iran Air Force) มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องจัดหาอากาศยานใหม่เพื่อทดแทนของเก่าที่ใช้งานมานานและล้าสมัย
ซึ่งกำลังอากาศยานของกองทัพอากาศอิหร่านหลายแบบส่วนใหญ่จะเป็นระบบที่จัดหาจากสหรัฐฯในช่องปี 1970s ก่อนการปฏิวัติอิสลามปี 1979 และบางส่วนจากกองทัพอากาศอิรักที่นักบินอิรักบินลี้ภัยไปอิหร่านช่วงยุทธการ Desert Storm ในปี 1991
เช่น เครื่องบินขับไล่ Grumman F-14A Tomcat, เครื่องบินขับไล่ McDonnell Douglas F-4D, F-4E และเครื่องบินขับไล่ลาดตระเวน RF-4E Phantom II, เครื่องบินขับไล่ Northrop F-5E/F Tiger II,
เครื่องบินลำเลียง Lockheed Martin C-130E/H Hercules, เครื่องบินโดยสาร Boeing 707, เครื่องตรวจการณ์ทางทะเล Lockheed Martin P-3F Orion,
เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง CH-47A Chinook, Bell UH-1 Iroquois และเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-1 Cobra เป็นต้นครับ