วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2559

เกาหลีใต้อาจจะจัดหาเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล P-8 Poseidon สหรัฐฯ และ Hyundai ได้รับสัญญาโครงการเรือฟริเกตกองทัพเรือฟิลิปปินส์

South Korea mulls purchase of four Boeing P-8 Poseidon aircraft, says report
South Korea may buy four Boeing P-8 Poseidon maritime surveillance aircraft (similar to this one) to counter North Korea's growing submarine threat, according to a media report. Source: Boeing
http://www.janes.com/article/63366/south-korea-mulls-purchase-of-four-boeing-p-8-poseidon-aircraft-says-report

รายงานของหนังสือพิมพ์ Korea JoongAng Ilbo ได้ลงข้อความของเจ้าหน้าที่ระดับสูงในรัฐบาลสาธารณรัฐเกาหลีว่า เมื่อวันที่ 1 กันยายนที่ผ่านมาว่า กองทัพสาธารณรัฐเกาหลีอาจจะมีแผนจัดซื้อเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล Boeing P-8 Poseidon จำนวน 4เครื่อง
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการตอบสนอภัยคุกคามจากกองทัพเรือประชาชนเกาหลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี ที่ประสบความสำเร็จในการทดสอบยิงขีปนาวุธจากเรือดำน้ำ SLBM(Submarine-Launched Ballistic Missile) เมื่อวันที่ 24 สิงหาคมที่ผ่านมา

"เกาหลีเหนือได้เตรียมแนวทางยุทธศาสตร์เป็นจำนวนมากในการโจมตีเกาหลีใต้โดยการใช้กองเรือดำน้ำที่พัฒนาติดตั้งขีปนาวุธ SLBM
เรากำลังหารือกันว่าจะจัดซื้อเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลแบบใหม่ล่าสุดเพื่อตรวจจับเรือดำน้ำเกาหลีเหนือในการป้องกันการโจมตีแบบฉับพลันจากใต้น้ำ" เจ้าหน้าที่ทางการเกาหลีใต้กล่าว
เจ้าหน้าที่รัฐบาลเกาหลีใต้ได้ให้ข้อมูลกับหนังสือพิมพ์ว่า เกาหลีใต้มีความจำเป็นที่ต้องขยายขอบเขตการตรวจการณ์ทางทะเลของตนที่มาจาก "ข้อจำกัดของเครื่องบินตรวจการณ์ปราบเรือดำน้ำที่ล้าสมัยซึ่งยังคงประจำการในกองทัพเรือ"

โดยปัจจุบันกองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลีมีเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล Lockheed Martin P-3C/CK Orion ประจำการอยู่ 16เครื่องที่เริ่มเข้าประจำการมาตั้งแต่ปี 1995
"เราจำเป็นต้องตรวจพบเรือดำน้ำข้าศึกเมื่อมันขึ้นสู่ผิวน้ำในน่านน้ำของเรา การทำเช่นนั้นจำเป็นต้องมีเครื่องบินปราบเรือดำน้ำที่มีพื้นที่ตรวจการณ์ครอบคลุมกว่าและมีความเร็วสูง
P-8 Poseidon ที่ติดตั้ง Technology ตรวจจับล่าสุดสามารถขยายขีดความสามารถการปฏิบัติการของเราได้" เจ้าหน้าที่กองทัพเรือเกาหลีใต้ให้ข้อมูลต่อหนังสือพิมพ์

P-8A Poseidon เป็นเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลสองเครื่องยนต์ไอพ่นแบบใหม่ที่เข้าประจำการในกองทัพเรือสหรัฐฯตั้งแต่ปี 2013 เพื่อทดแทนเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล P-3 Orion ซึ่งได้มีการส่งออกไปแล้วหลายประเทศ
เช่น P-8I Neptune กองทัพเรืออินเดียจำนวน 8เครื่องโดยสั่งจัดหาเพิ่มอีก 4เครื่อง, P-8A กองทัพอากาศออสเตรเลีย 8เครื่องโดยสั่งจัดหาเพิ่มอีก 4เครื่อง และ P-8A กองทัพอากาศสหราชอาณาจักรที่สั่งจัดหา 9เครื่องครับ

Hyundai wins USD337 million frigate contract from Philippine Navy
The Republic of Korea Navy's first-of-class Incheon (FFX-I) frigate. The Philippine Navy is set to receive a variant of the ship to meet its new frigate acquisition requirements. Source: Hyundai Heavy Industries
http://www.janes.com/article/63401/hyundai-wins-usd337-million-frigate-contract-from-philippine-navy

บริษัท Hyundai Heavy Industries(HHI) หนึ่งในอู่ต่อเรือรายใหญ่ของสาธารณรัฐเกาหลี ได้รับเลือกอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลฟิลิปปินส์ให้เป็นผู้รับสัญญาโครงการจัดหาเรือฟริเกตใหม่ 2ลำสำหรับกองทัพเรือฟิลิปปินส์
สัญญาโครงการวงเงิน 15,744,571,584 Philippine Peso($337 million) ได้รับการลงนามโดยรัฐมนตรีกลาโหม Delfin Lorenzana ร่วมกับผู้จัดการทั่วไปอาวุโส แผนกการสร้างทางเรือและพิเศษของ HHI คือ Ki Yeong Sung
กระทรวงกลาโหมฟิลิปปินส์ได้ประกาศโครงการจัดหาเรือฟริเกตจำนวน 2ลำ เมื่อเดือนตุลาคม ปี2013 ตามความต้องการในการเพิ่มขีดความสามารถการตรวจการณ์ทางทะเลระยะไกล, การลาดตระเวน และการขัดขวางทางทะเลของกองทัพเรือฟิลิปปินส์

บริษัท HHI เกาหลีใต้ได้เสนอแบบเรือฟริเกตเอนกประสงค์ HDF-3000 ซึ่งมีพื้นฐานจากเรือฟริเกตชั้น Incheon(FFX-I) ของกองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลีเข้าแข่งขันในโครงการจัดหาเรือฟริเกตของกองทัพเรือฟิลิปปินส์
ตามข้อมูลของบริษัทเรือฟริเกต HDF-3000 ตัวเรือมีความยาว 114.3m กว้าง 14m และกินน้ำลึก 4m มีระวางขับน้ำปกติประมาณ 3,000tons
และสามารถเลือกใช้ระบบขับเคลื่อนแบบ CODOG(Combined Diesel or Gas) ได้ โดยเรือสามารถทำความเร็วได้สูงสุด 30knots มีพิสัยทำการปกติ 4,500nmi ที่ความเร็วมัธยัสถ์ 18knots

ระบบอาวุธของเรือสามารถติดตั้งปืนใหญ่เรือ 127mm, แท่นยิงอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ 2ตำแหน่งในแนวทแยงกลางลำเรือ, แท่นยิง Torpedo เบาปราบเรือดำน้ำแฝดสาม 2แท่นยิง พร้อมระบบควบคุมการยิง
ทั้งนี้ยังไม่ทราบว่าระบบอาวุธที่กองทัพเรือฟิลิปปินส์จะเลือกติดตั้งนั้นมีอะไรบ้าง แต่จากรายการความต้องการของโครงการที่ปรับปรุงล่าสุดเมื่อต้นปี 2016
ระบุว่าจะต้องไม่มีการลดขีดความสามารถด้านการต่อสู้อากาศยานและการต่อต้านเรือผิวน้ำในสภาวะการคงทนคลื่นลมในทะเลระดับ Sea State 5  และจะไม่มีการลดขีดความสามารถสงครามต่อต้านเรือดำน้ำในสภาวะการคงทนคลื่นลมในทะเลระดับ Sea State 4

ก่อนหน้ารัฐบาลฟิลิปปินส์ได้เลือกบริษัท Garden Reach Shipbuilders & Engineers Ltd.(GRSE) รัฐวิสาหกิจอู่ต่อเรือของกระทรวงกลาโหมอินเดีย เป็นผู้ชนะในการคัดเลือกโครงการจัดหาเรือฟริเกตใหม่ของกองทัพเรือฟิลิปปินส์ เนื่องจากเสนอราคาโครงการต่ำสุดเป็นอันดับหนึ่ง
แต่ต่อมาในวันที่ 29 มิถุนายน ฟิลิปปินส์ได้ตัดสิทธิ์บริษัท GRSE อินเดียออกจากโครงการจัดหาเรือฟริเกตของกองทัพเรือฟิลิปปินส์ เนื่องจากพบว่าอู่ต่อเรืออินเดียขาดคุณสมบัติตามความต้องการของโครงการที่กำหนดไว้
ทำให้บริษัท HHI เกาหลีใต้ซึ่งเป็นผู้เสนอราคาโครงการต่ำรองลงมาเป็นอันดับที่สองได้รับคัดเลือกแทน โดยมีการพิจารณาว่าแบบเรือฟริเกตของเกาหลีใต้มีความเหมาะสมกว่าครับ