วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๕๙-๙

UH-1H and Bell 212 EDA of 2nd Airmobile Company, Aviation Battalion, Army Aviation Center, Royal Thai Army 
ฮ.ท.๑ UH-1H และ ฮ.ท.๒๑๒ Bell 212 EDA กองบินปีกหมุนที่๒ การซ้อมพิธีเทิดเกียรติและอำลาชีวิตรับราชการนักบินทหารบกชั้นนายพลประจำปี๒๕๕๙

ฮ.ท.๒๑๒ Bell 212 EDA กองบินปีกหมุนที่๒ การซ้อมพิธีเทิดเกียรติและอำลาชีวิตรับราชการนักบินทหารบกชั้นนายพลประจำปี๒๕๕๙

ฮ.ท.๑ UH-1H กองบินปีกหมุนที่๒ การซ้อมพิธีเทิดเกียรติและอำลาชีวิตรับราชการนักบินทหารบกชั้นนายพลประจำปี๒๕๕๙
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1807719302782309&id=100006327702559


http://news.thaipbs.or.th/content/255817
http://www.matichon.co.th/news/288092

อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับ ฮ.ท.๑ UH-1H หมายเลข019 กองบินปีกหมุนที่๒ ตกกระแทกพื้นขณะลงจอดจนเกิดเพลิงไหม้เครื่องและมีผู้บาดเจ็บ ๔นาย ที่ลานจอดหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส เมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน ที่ผ่านมา
ในภารกิจสนับสนุน พบตรี เอกรัตน์ ช้างแก้ว ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส, พันเอก พสิษฐ์ ชาญเลขา ผู้บังคับการกรมทหารพรานที่๔๖ และคณะไปปฏิบัติภารกิจในพื้นที่ อำเภอ แจะแนะ จังหวัดนราธิวาส นั้น
นับเป็นการสูญเสียอากาศยานของศูนย์การบินทหารบกอีกครั้งในรอบไม่กี่เดือนนี้ โดยตามการแถลงของ พันเอก ยุทธนาม เพชรม่วง รองโฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภาค๔ส่วนหน้า กล่าวว่า
เบื้องต้นน่าจะมาจากระบบเครื่องขัดข้องจนนักบินไม่สามารถควบคุมเครื่องได้แม้จะทำตามขั้นตอนนิรภัยการบินทุกอย่างแล้วจนต้องลงจอดฉุกเฉินและเกิดอุบัติเหตุในที่สุด โดยจะมีตรวจสอบและการสอบสวนสาเหตุต่อไป
ซึ่งจากที่สังเกต UH-1H กองบินปีกหมุนที่๒ ที่เกิดอุบัติเหตุครั้งนี้ทำสีเครื่องใหม่เป็นสีดำเหมือน ฮ.ท.Bell 212 EDA กองบินปีกหมุนที่๒ ที่ได้รับการปรับปรุงระบบใหม่เมื่อไม่กี่ปีมานี้่ครับ(อากาศยานปีกหมุนสังกัดกองบินปีกหมุนที่๒ ปลายหางเครื่องจะทาสีเหลืองตามภาพข้างต้น)




Thailand's deputy defence minister General Udomdej Sitabutr visited UKROBORONPROM Ukraine's Malyshev Factory and Kyiv Armored Plant

ความคืบหน้าของโครงการจัดหารถถังหลัก Oplot ยูเครน ทางคณะกรรมการของกระทรวงกลาโหมไทยโดย พลเอก อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมก็ได้เดินทางไปยูเครนเพื่อเยี่ยมชมภาคส่วนอุตสาหกรรมความมั่นคง
ซึ่งก็รวมถึงโรงงาน Malyshev ที่ Kharkiv เพื่อดูสายการผลิตรถถัง Oplot และโรงงาน Kyiv เพื่อดูสายการผลิตรถหุ้มเกราะล้อยาง BTR-3E1 ที่กำลังดำเนินการผลิตให้กองทัพบกไทยอยู่ และยุทโธปกรณ์อื่นๆเช่น รถหุ้มเกราะล้อยาง BTR-4 และรถหุ้มเกราะล้อยาง Dozor-B
นอกนั้นก็เป็นเรื่องที่ทางยูเครนพยายามให้ความเชื่อมั่นกับไทยเรื่องการส่งมอบรถถัง Oplot และรถเกราะล้อยาง BTR-3E1 ให้ครบจำนวนตามสัญญาที่ลงนามไว้ (แต่ถ้าดูจากรายงานข่าวว่าทางคองโกยกเลิกการจัดหารถถังหลัก T-64B1M มือสองปรับปรุงใหม่กับยูเครนแล้วก็น่ากังวลอยู่) 
และเพิ่มความร่วมมือด้านกลาโหมและอุตสาหกรรมความมั่นคงของทั้งสองประเทศ อย่างแผนโครงการจัดตั้งโรงงานประกอบยานเกราะล้อยาง BTR-3E1 ในไทยและการถ่ายทอด Technology รถถังหลัก Oplot เป็นต้น ดังนั้นโดยรวมจึงไม่ค่อยมีความคืบหน้าใหม่มากนัก
โดยรายงานล่าสุดจากพิธีสวนสนามเทิดเกียรติอำลาชีวิตราชการของนายทหารชั้นนายพลทหาราบกกองทัพบกที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าวันที่ ๒๙ กันยายน ที่ผ่านมามีรายงานว่า 
กองพันทหารม้าที่๒ กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ฯ ได้รับมอบรถถังหลัก Oplot-T ชุดใหม่อีก ๕คันซึ่งตรวจรับมอบแล้ว ทำให้กองทัพบกมีรถถังหลัก Oplot ล่าสุด ๑๕คันแล้วครับ
ทั้งนี้จากที่ได้รายงานข่าวยูเครนส่งมอบรถหุ้มเกราะล้อยาง BTR-4M จำนวน 5คันให้นาวิกโยธินอินโดนีเซียทดสอบใช้งานไป มีกระแสข่าวออกมาเพิ่มว่ายูเครนอาาจะส่ง BTR-4 มาให้ไทยทดสอบประเมินค่าด้วยครับ










H145M 202nd Squadron, Wing 2, Royal Thai Naval Air Division, Royal Thai Fleet, Royal Thai Navy
เขี้ยวเล็บใหม่ของกองทัพเรือ เฮลิคอปเตอร์ลำเลียงแบบ H145 M มาถึงแล้ว

เมื่อวานนี้ (8 กันยายน 2559) เวลา 05.30 น. เฮลิคอปเตอร์ลำเลียงแบบ H145 M ที่กองทัพเรือจัดหามาใหม่จำนวน 5 ลำได้เดินทางถึงสนามบินอู่ตะเภาแล้ว 
โดยเข้าประจำการในฝูงบิน 202 กองบิน 2 กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ และจะมีพิธีรับมอบในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนนี้
โดยกองทัพเรือได้เซ็นต์สัญญากับบริษัทแอร์บัสเฮลิคอปเตอร์(Airbus Helicopters) ซื้อเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงแบบ H145 M 5 ลำ 
ซึ่งทำให้กองทัพเรือไทย เป็นแห่งแรกที่มี เฮลิคอปเตอร์ขนส่งทหารขนาดเบา ทันสมัยที่สุดและก้าวหน้าที่สุดของค่ายยุโรปในขณะนี้

แอร์บัสเฮลิคอปเตอร์ กล่าวในเว็บไซต์ว่า กองทัพเรือไทยได้เป็นลูกค้ารายแรก สำหรับ H145M ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นส่งออก ที่แตกต่างไปจาก EC145T2 ที่ผลิตออกมาใช้สำหรับฝ่ายพลเรือน 
และ ยังเป็นรุ่นทันสมัยที่สุด ใหม่ล่าสุด ของ เฮลิคอปเตอร์ขนาดเบาสองเครื่องยนต์ในครอบครัว EC145 
เฮลิคอปเตอร์ H145M ได้รับการอัปเกรดระบบส่งกำลัง (เกียร์) ใหม่ ใช้โรเตอร์หางแบบหุ้ม เฟเนสตรอน (Fenestron) ที่เพิ่มความปลอดภัยในการลงจอดและขณะบิน ลดความดังของเสียงและการสั่นสะเทือน 
ควมคุมการต้านแรงบิดของเครื่องยนต์ได้ดีขึ้นมากลดการใช้พลังงานขณะบินตรงไปข้างหน้า และควบคุมง่ายขึ้นทั้งในขณะยกตัว และขณะบินความเร็วสูง อันเป็นสิทธิบัตรเฉพาะของแอร์บัสเฮลิคอปเตอร์ 
ห้องนักบินของ H145M ยังเป็นดิจิตอลทั้งหมด สามารถเข้ากับระบบกล้องไนท์วิชั่น (Night Vision Goggle) สำหรับนักบินที่ออกปฏิบับัติการในเวลากลางคืนได้
นอกจากนั้น ยังติดตั้งเฮลิโอนิกส์สูท (Helionix Suit) ซึ่งก็คือ ระบบเอวิโอนิกส์เฉพาะของแอร์บัสฯ พร้อมระบบบินอัตโนมัติแบบ 4 แกน ( Four-Axis Digital Autopilot) ของแอร์บัสฯ เช่นกัน 

เฮลิคอปเตอร์ลายพรางราชนาวีไทย H145M สุดทันสมัย
เฮลิคอปเตอร์ H145M ของกองทัพเรือไทยที่จัดซื้อเป็นเวอร์ชั่นทางการทหาร H145M จึงมีแท่นสำหรับติดตั้งอาวุธ ติดมาด้วยจำนวน 2 แท่น สามารถถอดได้ 
พร้อมระบบคอมพิวเตอร์ควบคุม ระบบหาพิกัด/ชี้เป้าด้วยเลเซอร์ และระบบดิสเพลย์อินฟราเรด/อีเล็กโตรอ็อปติกส์ และ ระบบแจ้งเตือนสำหรับนักบิน ให้มาครบ 
ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นระบบและอุปกรณ์ ที่ทำให้ H145M สามารถปฏิบัติการในทะเลได้ ในทุกสภาพอากาศ แม้อยู่ภายใต้ทัศนะวิสัยที่เลวร้าย 
ปลายปี 2556 แอร์บัสฯ เคยนำ EC145T2 จำนวน 1 ลำ พร้อมกับรุ่นอื่นอีก 1 ลำ มาแสดงและบินสาธิตที่สนามบินทหารดอนเมือง ระหว่างการออกทำโรดโชว์ทางการตลาดในหลายประเทศย่านนี้ 
โดยพุ่งเป้าไปที่กลุ่มลูกค้าในอุตสาหกรรมการผลิตน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ การให้บริการฉุกเฉินทางการแพทย์ การค้นหาและช่วยชีวิต ภารกิจอื่นๆ ตามความต้องการของรัฐบาลและเอกชน 
แต่นี่เป็นครั้งแรกที่วงการ ได้เห็นตัวตนเวอร์ชั่นทหาร ของ ฮ.ขนาดเบาอเนกประสงค์สองเครื่องยนต์รุ่นนี้

อย่างไรก็ตาม กองทัพไทยคุ้นเคยกับ ฮ.รุ่นนี้เป็นอย่างดี นับตั้งแต่กองทัพบกได้ดำเนินการจัดหา เฮลิคอปเตอร์แบบ UH-72A “ลาโคตา” (Lakota) จำนวน 6 ลำในปลายปี 2556 
ซึ่งเป็น ฮ.อเนกประสงค์ EC145 อีกเวอร์ชั่นหนึ่ง ของแอร์บัสเฮลิคอปเตอร์ ที่ผลิตจากโรงงานในรัฐมิสซิสซิปปี สหรัฐ แอร์บัสฯ รายงานในเว็บไซต์ก่อนหน้านี้ว่า “ลาโคตา” ทั้ง 6 ลำ จัดแต่ง ทำคอนฟิกูเรชั่นเป็นแบบ เฮลิคอปเตอร์วีไอพีทั้งหมด 
กองทัพบกไทยจัดซื้อภายใต้โครงการ FMS (Foreign Military Sales) ซึ่งเป็นความร่วมมือ ระหว่างกระทรวงการต่างประเทศ และ กระทรวงกลาโหมสหรัฐ กับชาติพันธมิตรที่มีความใกล้ชิดทั่วโลก

กองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ
ที่มา:ภาพจากนาวาโทพัฒน์สมิทธ์ นิ่มเรือง 

กองทัพเรือไทยได้ลงนามสัญญาจัดหาเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง H145M(EC645 T2 เดิม) จำนวน ๕เครื่องจากบริษัท Airbus Helicopters เมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๗(2014)
โดย Airbus Helicopters ได้มีการเปิดตัวและทดสอบการบินของ H145M ทั้ง ๕เครื่องของกองทัพเรือไทยไปเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาตามที่ได้รายงานไป ซึ่งกองทัพเรือไทยเป็นลูกค้าต่างประเทศรายแรก นอกจากกองทัพเยอรมนีที่จัดหา H145M ไปใช้สนับสนุนหน่วยรบพิเศษ KSK
ฮ.H145M ทั้ง ๕เครื่องจะเข้าประจำการใน ฝูงบิน๒๐๒ กองบิน๒ กองการบินทหารเรือ ซึ่งเข้าใจว่าน่าจะกำหนดแบบเป็น เฮลิคอปเตอร์ลำเลียงแบบที่๖ ฮ.ลล.๖ และจะมีพิธีรับมอบเข้าประจำการอย่างเป็นทางการในวันที่ ๑๐ พฤศจิกายนนี้ ตามรายงานข่าวในข้างต้น 
คาดว่าการจัดหา ฮ.ลล.๖ H145M นี้น่าจะมาทนแทน ฮ.ลล.๒ Bell 212 ๖เครื่องที่ประจำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๑(1978) ในภารกิจลำเลียงทางธุรการ ปฏิบัติการร่วมกับเรือผิวน้ำ และสนับสนุนกำลังนาวิกโยธินและหน่วยสงครามพิเศษทางเรือครับ
(ตรงนี้ก็ขอกล่าวถึงการไร้ความรับผิดชอบในการรายงานข่าวของสื่อสังคม Online หน่อย เห็นมาตั้งแต่ข่าวการส่งมอบ C-295W ของกองทัพบกที่ติดธงชาติสเปนบนเครื่อง และ H145M ที่ขนส่งโดยเครื่องบินลำเลียง Antonov An-124 ยูเครนแล้ว
เพราะเครื่องเหล่านี้ถูกโจมตีว่ากองทัพไทยซื้อแบบมือสองจากสเปนและเยอรมนีในราคาแพง ทั้งๆที่ข้อเท็จจริงเป็นเครื่องประกอบสร้างใหม่จากโรงงาน และการติดธงชาติประเทศผู้ผลิตก็เพราะเป็นขั้นตอนการลงทะเบียนอากาศยานที่ยังเป็นความรับผิดชอบของประเทศผู้สร้าง ก่อนที่จะส่งมอบลูกค้าคือไทยเข้าประจำการอย่างเป็นทางการ 
แต่ก็อย่างว่ามี Page บน Facebook และสื่อสังคม Online อื่นๆ ที่เสนอข้อมูลข่าวสารทางทหารอย่างไม่มีคุณภาพและมาตรฐานเยอะแยะ ทั้งคัดลอกข่าวจาก Blog มาตรงๆไม่ให้แหล่งที่มาแล้วอ้างว่าเขียนเอง รวมถึงเต้าข่าวโดยมีวัตถุประสงค์อื่น แต่ทำอะไรไม่ได้เพราะมีความเป็น 'คนดัง' เป็นเกราะกำบังตน) 

S26T Conventional Submarine Proposal for Royal Thai Navy 

สำหรับความคืบหน้าโครงการจัดหาเรือดำน้ำแบบ S26T จากสาธารณรัฐประชาชนจีนนั้น จากรายงานล่าสุด สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.๒๕๖๐ ในวาระที่สาม
ซึ่งรวมถึงงบประมาณของกระทรวงกลาโหม ๒๑๐,๗๗๗,๔๖๑,๔๐๐บาท ซึ่งรวมงบประมาณในส่วนของกองทัพเรือไทยที่น่าจะมีงบประมาณสำหรับโครงการจัดหาเรือดำน้ำระยะที่๑ จำนวน ๑ลำ วงเงินประมาณ ๑๑,๐๐๐ล้านบาทด้วย
อย่างไรก็ตามทาง คณะกรรมาธิการวิสามัญ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้มีการตั้งข้อสังเกตถึงโครงการจัดหาเรือดำน้ำของกองทัพเรือว่าเป็นอาวุธทางยุทธศาสตร์ที่ใช้วงเงินสูง รัฐบาลต้องจัดการไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการรักษาและเสริมสร้างศักยภาพโดยรวมของกองทัพเรือ
ตรงนี้มองว่าก็ขึ้นอยู่กับเวลาครับว่าจะมีการการแถลงการลงนามจัดหาเรือดำน้ำจีนอย่างเป็นทางการหรือไม่และเมื่อไร เพราะโดยปกติการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์หลักจากต่างประเทศของกองทัพเรือนั้นจะมีการรายงานข่าวให้สาธารณชนทราบอยู่
แต่ก็ไม่ทราบว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงใดๆที่อาจจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ ก็คงต้องติดตามกันต่อไปครับ

Royal Thai Navy Commissioning Ceremony PGB-561 HTMS Laemsing, Marsun M58 Patrol Gun Boat

ข้อมูลที่ได้มาเพิ่มเติมจาก บก.สมพงษ์ นนท์อาสา หลังพิธีรับมอบเรือขึ้นระวางประจำการของเรือตรวจการณ์ปืน ร.ล.แหมสิงห์ เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน ที่ผ่านมา คือข้อมูลจากบริษัท Marsun เจ้าของแบบเรือตรวจการณ์ M58 ว่า
นอกจากทางบริษัทจะหวังที่จะได้รับสัญญาต่อเรือตรวจการณ์ปืนชุดนี้เพิ่มอีก ๒ลำแล้ว เรือตรวจการณ์แบบ M58 นี้ยังมีที่ว่างสำหรับออกแบบให้ติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำขนาดเล็กอย่าง C-705 จีนด้วย
แต่อย่างไรก็ตามตั้งแต่แบบเรือตรวจการณ์อื่นๆของ Marsun เองอย่างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.991 และเรือ ต.994 แม้จะออกแบบให้ติดอาวุธปล่อยนำวิถีได้ แต่ทุกวันนี้ยังไม่มีแผนจะติดตั้ง
อีกทั้งก็ได้เพิ่งจะรายงานข่าวการฝึกทางเรือ Armada Jaya 2016 ของกองทัพเรืออินโดนีเซีย ที่ล้มเหลวในการทดสอบยิงอาวุธปล่อยนำวิถี C-705 จากเรือเร็วโจมตีแบบ KCR-40 ทั้งสองลำโดยยิงไม่โดนเรือเป้าไป
โดยกองทัพเรือไทยเองก็มีประสบการณ์เดียวกันตอนจัดหาและทดสอบยิงอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ C-801 ที่ติดตั้งบนเรือฟริเกตชุด ร.ล.เจ้าพระยา ช่วงแรกๆเมื่อ ๒๐กว่าปีก่อนที่ทดสอบยิงบางนัดแล้วจรวดมุดน้ำไม่ถูกเป้าหมายมาแล้ว
ฉะนั้นการพิจารณาจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีจากจีนมาบูรณาการกับเรือตรวจการณ์ของไทยก็ควรจะต้องพิจารณาระบบจากแหล่งอื่นที่อาจจะน่าเชื่อถือกว่าประกอบด้วยครับ

กองทัพเรือ จัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการพัฒนาอู่เรือแบบยั่งยืนของราชอาณาจักรไทย
วันนี้ (30 กันยายน 2559) เวลา 10.30 น. พลเรือเอก ณะ อารีนิจ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานฝ่ายกองทัพเรือในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการพัฒนาอู่เรือแบบยั่งยืนของราชอาณาจักรไทย 
โดยมี นาวาเอกพิชาเยนทร์ ตันประเสริฐ กรรมการผู้จัดการบริษัทอู่กรุงเทพ จำกัด MR.Deog-Soo Kim รองประธานบริษัทแดวูชิปบิลดิ้งแอนด์ มารเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด(DSME) และนายอนุรักษ์ อินทรภูวศักดิ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท ไฮ-เทค เอเจ โฮลดิ้ง จำกัด ร่วมลงนามฯ 
โดยมีพลเรือโทสุทธินันท์ สกุลภุชพงษ์ เจ้ากรมอู่ทหารเรือ พลเรือตรีสมารมภ์ ชั้นสุวรรณ เจ้ากรมพัฒนาการช่าง กรมอู่ทหารเรือ เป็นสักขีพยานในพิธีลงนามฯ ณ ห้องรับรอง กองบัญชาการกองทัพเรือ พระราชวังเดิม
สำหรับพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการพัฒนาอู่เรือแบบยั่งยืนของราชอาณาจักรไทย ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อความเป็นการร่วมมือกันในการพัฒนาอู่เรือแบบยั่งยืนระหว่าง กองทัพเรือ บริษัทอู่กรุงเทพ จำกัด บริษัท แดวูชิปบิลดิ้งแอนด์ มารีเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด และ บริษัท ไฮ - เทค เอเจ โฮลดิ้ง จำกัด 
โดยกองทัพเรือ มอบหมายให้กรมอู่ทหารเรือเป็นหน่วยรับผิดชอบดำเนินโครงการพัฒนาอู่เรือแบบยั่งยืนของราชอาณาจักรไทย 
ซึ่งมุ่งเน้นในการแสวงหาความร่วมมือ เพื่อให้เกิดการพัฒนาขีดความสามารถในการซ่อม สร้าง และดัดแปลงเรือ ของกรมอู่ทหารเรือให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนากองทัพเรือตามยุทธศาสตร์กองทัพเรือพ.ศ.2558 - 2567 
ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และระบบสนับสนุนให้ครอบคลุมพื้นที่ปฏิบัติการทั้งฝั่งอ่าวไทย และทะเลอันดามัน และสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ของรัฐบาล 
ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคและมุ่งเน้นการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

กองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ
ที่มา:กรมอู่ทหารเรือ
https://th-th.facebook.com/prthainavy/posts/1285636294821057

สำหรับความร่วมมือล่าสุดระหว่างกองทัพเรือไทยร่วมกับกรมอู่ทหารเรือ กับบริษัทอู่กรุงเทพ, Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering(DSME) สาธารณรัฐเกาหลี และ High-Tech AJ Holding ในการพัฒนาอู่ต่อเรือของไทยนั้น
ตรงนี้ก็ไม่ทราบว่าจะเกี่ยวข้องกับแผนโครงการจัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสูงระยะที่๒ ซึ่งอาจจะดำเนินการสร้างในไทยโดยตรงหรือไม่ (เรือฟริเกตสมรรถนะสูงระยะที่๑ แบบเรือ DSME DW3000H กำลังต่อที่เกาหลีใต้)
แต่ก็น่าจะเป็นเรื่องดีในการพัฒนาขีดความสามารถด้านอุตสาหกรรมการต่อเรือของกองทัพเรือไทยและเอกชนไทยครับ

Airbus A340-500 Royal Thai Force test flight at Don Mueang International Airport, 8 September 2016.

วันที่ ๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๙(2016) กองทัพอากาศไทยได้ทำการบินทดสอบเครื่องบินลำเลียง Airbus A340-500 ณ ท่าอากาศดอนเมือง ซึ่งกองทัพอากาศได้ทำการจัดซื้อต่อจากการบินไทย(ชื่อเครื่อง 'พิษณุโลก' ทะเบียน 698 HS-TLC) ในวงเงิน ๑,๗๔๕,๓๒๘,๒๐๐ล้านบาท
จากภาพจะเห็นว่าเครื่องบินโดยสาร Airbus A340-500 หมายเลข 60204 ได้ทำสีเครื่องและเครื่องหมายของกองทัพอากาศไทยแล้ว เข้าใจว่าน่าจะเข้าประจำการเป็น เครื่องบินลำเลียงแบบที่๑๙(บ.ล.๑๙) ประจำการในฝูงบิน๖๐๒ รักษาพระองค์ กองบิน๖ ดอนเมือง
ทั้งนี้ Airbus A340-500 นั้นไม่ใช่เครื่องบินโดยสารไอพ่นสี่เครื่องยนต์พิสัยการบินไกลแบบแรกที่เข้าประจำการในกองทัพอากาศไทย โดยก่อนหน้านี้กองทัพอากาศเคยมีเครื่องบินลำเลียงแบบที่๑๐ Douglas DC-8-62 อยู่ ๓เครื่องในฝูงบิน๖๐๑ ซึ่งปลดประจำการเมื่อราว ๒๕ปีที่แล้ว
ตรงนี้ก็มองว่าการที่กองทัพอากาศไทยจัดหา Airbus A340 มาใช้งานนั้นจะช่วยแบ่งเบาภารกิจที่ต้องบินไปต่างประเทศไกลๆได้มาก ทั้งการส่งเจ้าหน้าที่ไปฝึกต่างประเทศ การขนย้ายคนไทยจากต่างประเทศกลับไทยในกรณีฉุกเฉิน รวมถึงการขนส่งบุคคลสำคัญไปต่างประเทศด้วย
การจะมองว่าการจัดหาเครื่องบินโดยสารขนาดใหญ่แบบนี้มาใช้เป็นการสิ้นเปลืองในการช่วยเหลือการบินไทยแบบเตี้ยอุ้มค่อม ส่วนตัวคิดว่าดูจะไม่ยุติธรรมกับกองทัพอากาศเกินไปครับ

People's Liberation Army Air Force Y-9 Transport Aircraft at U-Tapao Royal Thai Navy Air Base to joint AM-HEx 2016 Thailand.

Royal Australian Air Force Lockheed Martin C-130J-30 Super Hercules at Point Cook(wikipedia.org)

Ukrainian Antonov An-70

ความคืบหน้าสำคัญของโครงการจัดหาเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีแบบใหม่ของกองทัพอากาศไทยเพื่อทดแทน บ.ล.๘ C-130H/C-130H-30 จำนวน ๑๒เครื่องที่ประจำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๓ ซึ่งจะหมออายุการใช้ในอีกราว ๕ปีข้างหน้าก็เริ่มมีความชัดเจนขึ้น
ในช่วงปลายวาระดำรงตำแหน่งของผู้บัญชาการทหารอากาศท่านปัจจุบันคือ พลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง ที่เติบโตมาในสายนักบินลำเลียง และจะเกษียณอายุราชการในวันที่ ๓๐ กันยายนนี้โดย พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง จะรับตำแหน่ง ผบ.ทอ.ท่านต่อไปในวันที่ ๑ ตุลาคมนี้
จากรายงานจากสื่อหลายแหล่ง เช่น Xinhua ระบุว่ากองทัพอากาศไทยกำลังพิจารณาระหว่าง Shaanxi Y-9 จีน และ Lockheed Martin C-130J Super Hercules สหรัฐฯ อีกแหล่งระบุว่ามี Antonov An-70 ยูเครนอีกแบบที่สมใจจะเข้าแข่งขันในโครงการจัดหาของกองทัพอากาศไทย

โดยทาง Lockheed Martin มั่นใจว่า "Hercules ต้องทดแทนด้วย Super Hercules" จากความสำเร็จในการเปิดสายการผลิตมากว่า ๒๐ปีตั้งแต่ปี 1996 จำนวนมากกว่า ๓๐๐เครื่อง กับกองทัพมากกว่า ๑๙ประเทศทั่วโลก โดยมีราคาส่งออกเฉลี่ยเครื่องละ $100-120 million
ขณะที่เครื่องบินลำเลียง Y-9 จีนนั้นพัฒนามาจาก Y-8 ที่ลอกแบบจาก Antonov An-12 รัสเซีย-ยูเครนสมัยอดีตสหภาพโซเวียต ซึ่งเพิ่งเข้าประจำการในกองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีนเมื่อปี 2012 ยังไม่ทราบราคาส่งออกถ้ากองทัพอากาศไทยจะเป็นลูกค้ารายแรก
อีกทั้ง An-70 เป็นเครื่องบินลำเลียงที่มีสมรรถนะสูงสุดในตัวเลือกที่น่าจะเข้าแข่งขันในโครงการตอนนี้คือมีน้ำหนักบรรทุกสูงสุด 47tons ขณะที่ C-130J-30 มีน้ำหนักบรรทุกสูงสุด 20tons และ Y-9 มีน้ำหนักบรรทุกสูงสุด 25tons
แต่อย่างไรก็ตาม An-70 นั้นเคยเป็นโครงการร่วมระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งทางรัสเซียยกเลิกการจัดหาเข้าประจำการหลังการตัดความสัมพันธ์ทางการทหารจากการที่รัสเซียผนวก Crimea ในปี 2014 และแทรกแซงสนับสนุนกลุ่มติดอาวุธในภาค Donbass ของยูเครน 
นั่นทำให้เครื่องบินลำเลียง An-70 ยูเครนซึ่งตอนนี้มีเพียงต้นแบบ ๒เครื่องและกองทัพอากาศยูเครนเองก็ไม่มีงบประมาณในการจัดหาเป็นจำนวนมาก(น่าจะมีไม่ถึง ๑๐เครื่อง)  
ประกอบกับปัญหาความล่าช้าในการผลิตรถถังหลัก Oplot และรถหุ้มเกราะล้อยาง BTR-3E1 ของกองทัพบกไทยด้วยนั้น ดูจะทำให้ An-70 มีความน่าเชื่อถือน้อยกว่า เครื่องบินลำเลียง Y-9 จีนที่กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนได้สั่งจัดหาผลิตจำนวนหลายเครื่องต่อเนื่องแล้ว
อย่างไรก็ตามอากาศยานจีนนั้นยังถือเป็นระบบที่ใหม่มากสำหรับกองทัพอากาศไทยที่แม้ว่าอาจจะมีราคาถูกกว่าอากาศยานจากตะวันตก ซึ่งยังต้องพิสูจน์ข้อสงสัยเรื่องความน่าเชื่อถือจากตัวอย่างที่เห็นในการส่งออกต่อกลุ่มประเทศแอฟริกาและละตินอเมริกาที่ไม่ค่อยน่าประทับใจนักครับ

แต่ทั้ง An-70 และ Y-9 ถ้ากองทัพอากาศจะจัดหามาจะก็เป็นลูกค้าต่างประเทศรายแรกของเครื่องทั้งสองรุ่นนั้น ถ้าไม่นับ C-130J ก็ยังน่าจะมีตัวเลือกเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีแบบอื่นๆที่มีความน่าเชื่อถือด้านลูกค้าที่ส่งออกแล้วอยู่ครับ
และที่ผ่านมาการตัดสินใจทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของรัฐบาลในช่วงนั้นค่อนข้างจะมีผลต่อการตัดสินใจเลือกแบบอากาศยานเข้าประจำการของกองทัพอากาศไม่มาก 
เพราะที่ผ่านมากองทัพอากาศจะพิจารณาแบบอากาศยานจากสมรรถนะความเหมาะสมจำเป็นคุ้มค่าเป็นหลัก โดยเฉพาะอากาศยานรบและอากาศยานทางยุทธวิธีที่เป็นกำลังรบหลักของกองทัพอากาศไทยที่นักบินพร้อมรบจะต้องปฏิบัติงานด้วยตลอดระยะเวลาที่บรรจุประจำฝูงบิน
เว้นแต่ในส่วนของหน่วยใช้กำลังที่มีความสำคัญรองลงมาที่มีการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ใช้งบประมาณไม่มากที่มีประสิทธิภาพยอมรับได้ อย่างอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้ QW-2 และอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยกลาง KS-1C จากจีนของหน่วยบัญชาการอากาศโยธิน
ตรงนี้มองว่าการตัดสินใจโครงการน่าจะมีขึ้นอย่างเร็วในช่วงของท่านผู้บัญชาการทหารอากาศท่านใหม่นี้ โดย พล.อ.อ.จอม รุ่งสว่าง นั้นจะมีเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ.๒๕๖๑(ท่านจบจากวิทยาลัยป้องกันประเทศญี่ปุ่น โดยเชี่ยวชาญภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่น รวมถึงตำราพิชัยสงครามของซุนวู)
ซึ่ง บ.ล.๘ C-130H เองก็น่าจะมีกำหนดปลดประจำการในราวปี พ.ศ.๒๕๖๓(2020) ดังนั้นการตั้งโครงการและพิจารณาและตัดสินใจเลือกแบบเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีใหม่ทดแทนก็ควรจะดำเนินการอย่างรอบคอบ ซึ่งคงต้องใช้เวลาสักระยะไม่ใช่ในเร็วๆนี้ครับ


C-130H Royal Thai Force with Thai Aviation Industries(TAI) Glass Cockpit Upgrade

ตรงนี้ก็ไม่แน่ใจว่ากองทัพอากาศมีแผนจะปรับปรุงโครงสร้างของ C-130H เพื่อยืดอายุการใช้งานต่อไปอีกหรือไม่ หลังการปรับปรุง บ.ล.๘ C-130H ทั้ง ๑๒เครื่องล่าสุดคือการปรับปรุงระบบ Avionic ที่ดำเนินการโดย TAI ร่วมกับ Rockwell Collins ในปี พ.ศ.๒๕๕๓(2010)
เพราะถ้าดูจากอายุการใช้งานของอากาศยานลำเลียงแบบต่างที่ประจำการในกองทัพอากาศช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่๒ หรือ บ.ล.๕ Avro 748 ที่ประจำการมา ๕๐ปี ตั้งแต่ปี ๒๕๐๙(1966)เพิ่งปลดประจำการในปี ๒๕๕๙(2016) นี้เอง
อย่าง บ.ล.๒ C-47 เป็นเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีแบบหนึ่งที่ประจำการนานที่สุดของกองทัพอากาศไทยคือตั้งแต่ปี ๒๔๙๐-๒๕๓๔ ประมาณ๔๔ปี (ยังไม่นับ บ.ล.๒ก BT-67 ที่นำ C-47 มาดัดแปลงใหม่ที่ยังประจำการในฝูงบิน๔๖๑ กองบิน๔๖ พิษณุโลก ปัจจุบัน)
นั่นหมายความว่ามีความเป็นได้ที่ระหว่างการจัดตั้งโครงการจัดหาเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีใหม่ทดแทน บ.ล.๘ C-130H นั้น C-130H เองอาจจะต้องประจำการต่อไปอีกสักหลายปีระหว่างการพิจารณาแบบเครื่อง ลงนามจัดหา และส่งมอบ
ถ้าดูจากระยะเวลาและข้อจำกัดด้านงบประมาณที่กองทัพอากาศจะจัดหาอากาศยานใหม่เป็นชุดเพียง ๒-๔เครื่องหลายระยะต่อเนื่องตามปีงบประมาณจนกว่าจะครบตามจำนวนที่ต้องการแล้ว 
ก็เป็นไปได้มากที่ บ.ล.๘ C-130H อาจจะต้องประจำการต่อไปจนมาอายุการใช้งานมากกว่า ๔๕-๕๐ปี ดังนั้นการปรับปรุงยืดอายุโครงสร้างเครื่องอาจจะเป็นสิ่งที่น่าจะควรพิจารณาเป็นทางเลือกครับ

พลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง ผู้บัญชาการทหารอากาศ ประกอบพิธีประดับเครื่องหมายแสดงความสามารถในการบินกองทัพอากาศและมอบประกาศนียบัตรนักบินประจำกอง 
แก่ศิษย์การบินฝ่ายยุทธการ ฝูงบิน ๖๐๔ กองบิน ๖ รุ่นที่ ๑ (นักบินหญิง) เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๙ ณ ห้องรับรองกองทัพอากาศ กองบัญชาการกองทัพอากาศ

ขอแสดงความยินดีกับนักบินหญิง 2 คนแรกของกองทัพอากาศ ว่าที่เรืออากาศตรีหญิง สิรีธร ลาวัลย์เสถียร และ ว่าที่เรืออากาศตรีหญิง ชลนิสา สุภาวรรณพงศ์
ในโอกาสที่ได้รับการประดับเครื่องหมายความสามารถในการบินและรับประกาศนียบัตรนักบินประจำกองของกองทัพอากาศ

ภาพถ่ายโดย นาวาอากาศตรี ณัฐนันท์ ยืนยง

วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๙ พลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง ผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้เป็นประธานพิธีประดับเครื่องหมายความสามารถการบินให้กับนักบินหญิงรุ่นที่๑ ของกองทัพอากาศไทยสองท่านแรก
คือ เรืออากาศตรีหญิง ชลนิสา สุภาวรรณพงศ์ และ เรืออากาศตรีหญิง สิรีธร ลาวัณย์เสถียร ซึ่งเป็นศิษย์การบินนีกบินหญิงรุ่นที่๑ ของ ฝูงบิน๖๐๔ กองบิน๖ ดอนเมือง ซึ่งเป็นฝูงบินฝึกนักบินลำเลียงของกองทัพอากาศ
โดยนักบินหญิงทั้งสองท่านเป็นผู้ที่จบหลักสูตรการศึกษาด้านการบินพลเรือนมีใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรี(CPL)ก่อนแล้ว และผ่านหลักสูตรนายทหารชั้นผู้บังคับหมวด, หลักสูตรเวชศาสตร์การบิน และการดำรงชีพในป่า เพื่อบรรจุเป็นนายทหารสัญญาบัตรของกองทัพอากาศ
มีรายงานว่านักบินหญิงที่งสองนายจะบรรจุเป็นนักบินพร้อมรบทำการบินกับเครื่องบินลำเลียง บ.ล.๘ C-130H ฝูงบิน๖๐๑ กองบิน๖ เช่นเดียวกับนักบินชายที่จบจากโรงเรียนนายเรืออากาศและโรงเรียนการบิน
ตามคำให้สัมภาษณ์ของ ผบ.ทอ.ท่านก่อน(พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจ้ง) กองทัพอากาศมีแผนที่จะเปิดรับสมัครนักบินหญิงเพิ่มต่อเนื่องสามปีรับปีละ ๕ท่าน รวม๑๕ท่านครับ

นักบินหลักสูตร Air Lift Lead-In รุ่นที่ ๑๑ จบหลักสูตรและได้รับประกาศนียบัตรนักบินพร้อมรบ (COMBAT READY) พร้อมที่จะเป็นนักบินลำเลียงทางอากาศของกองทัพอากาศต่อไป 
ในโอกาสนี้นาวาอากาศเอก วสุ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้บังคับการกองบิน ๖ เป็นประธานในพิธีและร่วมแสดงความยินดี ณ โรงเก็บเครื่องบิน ฝูงบิน ๖๐๔ กองบิน ๖ เมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๙

พลอากาศตรี รัชชาพงษ์ สมนาม ผู้บัญชาการโรงเรียนการบิน เป็นประธานพิธีรับโอนเครื่องบินฝึกแบบที่.๒๐ เข้าประจำการ จากกองบิน ๖ 
โดยมี นาวาอากาศเอก อธิราช ศิริทรัพย์ เสนาธิการกองบิน ๖ เป็นผู้ส่งมอบ ณ บริเวณลานจอดอากาศยาน โรงเรียนการบิน เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๕๙

ทั้งนี้ล่าสุดก็ได้มีการโอนย้ายเครื่องบินฝึก บ.ฝ.๒๐ DA-42 Diamond จากฝูงบิน๖๐๔ กองบิน๖ ดอนเมือง ไปยัง ฝูงบินขั้นปลาย โรงเรียนการบิน กำแพงแสน 
โดยนักบินพร้อมรบ(COMBAT READY PILOT) หลักสูตร Air Lift Lead-In รุ่นที่๑๑ ที่ทำการฝึกบินกับ บ.ฝ.๒๐ DA-42 เป็นรุ่นสุดท้าย ก็เพิ่งจะสำเร็จหลักสูตรไปเมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๙ ที่ผ่านมา
ซึ่งดูเหมือนว่าในส่วนของฝูงบินลำเลียง ฝูงบินฝึกพลเรือน และฝูงบินฝึกนักบินพร้อมรบ น่าจะมีการปรับเปลี่ยนแปลงโครงสร้างไปในหลายๆทาง
อีกส่วนหนึ่งโครงการจัดหาอากาศต่อเนื่องของกองทัพอากาศไทย เช่น โครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์กู้ภัย ฮ.๑๑ EC725 นั้นท่านผู้บัญชาการทหารอากาศท่านใหม่(พล.อ.อ.จอม รุ่งสว่าง)ก็กล่าวว่าจะต้องมีการดำเนินการต่อจนครบจำนวนความต้องการด้วยครับ

ส่วนข่าวล่าสุดเกี่ยวกับการพัฒนากำลังรบเครื่องบินขับไล่กองทัพอากาศไทยก็มีรายงานภาพออกมาว่า 
เครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16AM/BM EMLU ฝูงบิน๔๐๓ กองบิน๔ ตาคลี ที่ได้รับการปรับปรุงครึ่งอายุโดย Thai Aviation Industries(TAI) ประเทศไทย ได่รับการติดตั้งกระเปาะตรวจการณ์ชี้เป้าหมายแบบ AN/AAQ-33 Sniper Advanced Targeting Pod แล้ว
ซึ่งเดิมที F-16A/B Block 15 OCU ฝูงบิน๑๐๓ กองบิน๑ โคราช และฝูงบิน๔๐๓ นั้นสามารถติดตั้งกระเปาะนำร่องแบบ Rubis และกระเปาะชี้เป้าหมายแบบ Altis II สำหรับการบินเวลากลางคืนและชี้เป้าหมายให้อาวุธนำวิถี เช่น ระเบิดนำวิถี Laser 
เช่นเดียวกับเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐/ก Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ สุราษฎร์ธานี ที่ได้มีการจัดหากระเปาะตรวจการณ์ชี้เป้าหมายแบบ LITENING GIII แล้วเช่นกัน
โดยทั้ง F-16AM/BM EMLU ที่ติดกระเปาะ Sniper ATP และ Gripen C/D ที่ติดกระเปาะ LITENING GIII ถูกพบเห็นและถ่ายภาพในการฝึกซ้อมก่อนพิธีรับส่งหน้าที่ผู้บัญชาการทหารอากาศในวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๙ ณ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช
แต่เนื่องจากสภาพอากาศปิดในวันพิธีจริง จึงมีการยกเลิกการแสดงการบินของอากาศยานไปเพื่อความปลอดภัย จึงยังไม่สามารถลงและหาภาพยืนยันที่ชัดเจนจริงๆได้มากพอในตอนนี้ครับ

สำหรับเดือนตุลาคมนี้ก็เป็นเดือนแรกของปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐(2017) แล้ว ความเคลื่อนไหวและคืบหน้าของโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยก็น่าจะมีข้อมูลออกมาหลังจากนี้ครับ