วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2559

กองทัพบกสหรัฐฯเปิดตัวรถหุ้มเกราะล้อยาง Stryker ติดป้อมปืนใหญ่กล 30mm

US Army's new 'upgunned' Stryker unveiled
The US Army's 2nd Cavalry Regiment is getting 30 mm cannon integrated on Stryker flat-bottom hull ICVs. (IHS)
http://www.janes.com/article/64988/us-army-s-new-upgunned-stryker-unveiled


วันที่ 27 ตุลาคมที่ผ่านมา กองทัพบกสหรัฐฯและบริษัท General Dynamics Land Systems(GDLS) สหรัฐฯได้เปิดตัวรถต้นแบบรถหุ้มเกราะล้อยางลำเลียง Stryker Infantry Carrier Vehicle(ICV) ที่เพิ่มขนาดอาวุธด้วยการติดตั้งป้อมปืนใหญ่กล 30mm
รถต้นแบบคันแรกจาก 8คันซึ่งติดป้อมปืนใหญ่กล 30mm เป็นที่รับรู้เรื่อง 'ช่องว่างด้านขีดความสามารถ' ในยุโรปที่กองทัพบกสหรัฐฯวางกำลังอยู่ ที่เป็นไปได้ว่าอาจจะต้องเผชิญหน้ากับกองทัพบกรัสเซียที่มีรถหุ้มเกราะล้อยางซึ่งมีอำนาจการยิงสูงด้วยป้อมปืนใหญ่กล 30mm เช่น BTR-82A ติดป้อมปืน BPPU และ Bumerang K-17 IFV(Infantry Fighting Vehicle) ติดป้อมปืน Bumerang-BM(Epoch) เป็นต้น
ขณะที่รถเกราะล้อยาง Stryker M1126 ICV สหรัฐฯติดป้อมปืน Remote Weapon Station แบบ M151 PROTECTOR พร้อมปืนกลหนัก M2 .50cal, เครื่องยิงลูกระเบิดอัตโนมัติ Mk19 40mm หรือปืนกล M240 7.62x51mm เท่านั้นซึ่งมีอำนาจการยิงด้อยกว่ารถหุ้มเกราะล้อยางรัสเซีย
ชุดรถต้นแบบจะถูกนำไปดำเนินชุดการทดสอบโดยฝ่ายอุตสาหกรรม ก่อนจะส่งมอบให้กองทัพบกสหรัฐฯตามสัญญาในเดือนธันวาคม ซึ่งมีการให้ข้อมูลเพิ่มเติมจากเจ้าหน้าที่ว่าการทดสอบรถโดยรัฐบาลสหรัฐฯจะเริ่มขึ้นในเดือนมกราคม ปี 2017

บริษัท GDLS ได้รับสัญญาวงเงิน $329 million เมื่อเดือนพฤษภาคมในการดัดแปลงนำระบบปืนใหญ่กล 30m ติดตั้งกับรถหุ้มเกราะล้อยาง Stryker 8x8 เพื่อเพิ่มอำนาจการสังหาร
กองทัพบกสหรัฐฯกล่าวว่า 'การดำเนินการตามสัญญา' ครอบคลุมถึงการผลิตรถหุ้มเกราะล้อยาง Stryker ICV ที่ได้รับการติดปืนใหญ่กล 30mm จำนวน 83คัน เช่นเดียวกับการสนับสนุนทางเทคนิค(ให้รัฐบาลสหรัฐฯ) เพื่อการทดสอบและช่วยเหลือการส่งกำลังบำรุงผลิตภัณฑ์
GDLS ได้เลือกบริษัท Kongsberg นอร์เวย์สำหรับการจัดหาป้อมปืน Remote Weapon Station อาวุธลำกล้องขนาดกลาง(medium caliber)แบบ MCT-30 ซึ่งสามารถสั่งควบคุมปฏิบัติการได้จากสถานีผู้บังคับการรถ
โดยเลือกใช้ปืนใหญ่กล XM813 Bushmaster 30mm ของบริษัท Orbital ATK สหรัฐฯ (เดิมถูกพัฒนาขึ้นสำหรับโครงการ Future Combat Systems) กับป้อมปืน MCT-30 (เช่นเดียวกับป้อมปืน Protector RWS ที่เป็นผลิตภัณฑ์ของของ Kongsberg นอร์เวย์ และ Thales Group ฝรั่งเศส)
ตามข้อมูลของ Jane's นั้น XM813 เป็นปืนใหญ่กลกึ่งอัตโนมัติ ป้อนกระสุนได้สองทาง(dual-fed) อัตราการยิง 200นัดต่อนาที สามารถใช้กระสุนขนาด 30x173mm ได้ทุกแบบ

ผู้นำในกองทัพบกสหรัฐฯเรียกรถเกราะล้อยาง Stryker ที่ได้รับการปรับปรุงนี้ว่า 'Dragoon' โดยกำหนดแบบเป็น XM1296 Infantry Carrier Vehicle-Dragoon หรือ Stryker ICV Dragoon
ตามฉายาของกรมทหารม้าที่2(2nd Cavalry Regiment) ที่รู้จักในชื่อ '2nd Dragoons' ซึ่งมีฐานที่ตั้งใน Vilseck เยอรมนี ซึ่งผู้นำเจ้าหน้าที่ได้รับการอนุมัติแผนดำเนินการในปี 2015
นาย Mike Peck หัวหน้าฝ่ายพัฒนาธุรกิจของ GDLS กล่าวกับ Jane's ก่อนหน้านี้ในต้นเดือนตุลาคมว่า รถต้นแบบชุดแรกจะถูกส่งมอบให้กรมทหารม้าที่2 ใช้ปฏิบัติการในเดือนเมษายน ปี 2017
ทั้งนี้ตามแถลงการเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม กองทัพบกสหรัฐฯกล่าวว่าการวางกำลังจะมีความขีดความสามารถพร้อมปฏิบัติการ มีกำหนดความต้องการให้เป็นภายในเดือนพฤษภาคมปี 2018 ครับ

วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ระบบป้องกันภัยทางอากาศ Buk-M3 รุ่นใหม่เข้าประจำการในกองทัพรัสเซีย

Buk-M3 SAM enters Russian service
A convoy of Buk-M3 components was shown on Russian TV on 24 October after it was announced the type had entered Russian service. Source: TV Zvezda

The Buk-M3 9A317M TELAR vehicle carries six containerised 9M317M missiles. (TV Zvezda)

Shot of the inside of the Buk-M3 system. (TV Zvezda)
http://www.janes.com/article/64945/buk-m3-sam-enters-russian-service


รัฐมนตรีกลาโหมรัสเซีย นาย Sergei Shoigu ได้ประกาศว่ากองทัพรัสเซียได้รับมอบระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยกลาง Buk-M3 (SAM: Surface to Air Missile)ชุดแรกแล้ว
ซึ่งระบบป้องกันภัยทางอากาศ Buk-M3 ใหม่นี้ได้เปิดเผยตัวต่อสาธารณชนครั้งแรกในรายการโทรทัศน์ Sluzhu Rossii!(I Serve Russia!) ของสถานีโทรทัศน์ TV Zvezda รัสเซียที่ออกกอากาศเมื่อวันที่ 23 ตุลาคมที่ผ่านมา
โดยก่อนหน้านี้ในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Army 2016 ที่ Kubinka เมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมานั้น พบว่ามีภาพการจัดแสดง Buk-M3 SAM ในส่วนจัดแสดงปิดสำหรับผู้ร่วมงานที่ได้รับอนุญาตเป็นพิเศษได้ชมเท่านั้น
ตามข้อมูลของรัฐมนตรีกลาโหม Shoigu กองพันอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยานกองพันหนึ่งได้รับมอบ Buk-M3 SAM ใหม่เข้าประจำการแล้ว
สองกองพันอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยานที่เคยใช้อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ Buk-M2 รุ่นเก่าในกองทัพบกรัสเซียและกองกำลังพลร่มรัสเซียจะเริ่มนำระบบใหม่มาใช้ในช่วงกลางเดือนตุลาคม

Buk-M3 มีความแตกต่างจากรุ่นก่อนโดยมีตัวอาวุธปล่อยนำวิถีนั้นถูกบรรจุในชุดท่อยิงบรรจุแทนการติดจรวดกับรางยิงโดยตรงแบบรุ่นก่อน และสามารถบรรทุกจรวดได้จำนวนมากขึ้นจากเดิม
อาวุธปล่อยนำวิถี 9M317M และชุดบรรจุท่อยิงรุ่นใหม่ที่ใช้กับ Buk-M3 นั้นเชื่อว่าน่าจะเป็นระบบเดียวกับระบบ Buk รุ่นที่ใช้งานกับเรือรบผิวน้ำแบบใหม่คือ 3S90M
ตัวอาวุธปล่อยนำวิถีรุ่นใหม่มีการปรับปรุงต่างจากรุ่นก่อน(อย่าง 9M38 และ 9M317) ที่มีเพียงระบบพื้นผิวควบคุมทางอากาศพลศาสตร์แบบติดตรึง โดยการใช้ท่อไอพ่นที่ปรับทิศทางแรงขับได้
นั่นทำให้อาวุธปล่อยนำวิถี Buk-M3 มีน้ำหนักจรวดที่เบาและมีความเร็วมากขึ้นกว่า Buk รุ่นก่อน และมีพิสัยการยิงที่ไกลขึ้นเป็น 70km จากเดิม 30-35km ในรุ่น Buk-M1 และ 42-50km ในรุ่น Buk-M2 และสามารถต่อต้านเป้าหมายที่กำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงได้มากยิ่งขึ้น

ระบบมาตรฐานของ Buk-M3 ซึ่งมีแท่นยิงอาวุธปล่อนำวิถีและ Radar อัตตาจร(TELAR: Transporter Erector Launcher and Radar) แบบ 9A317M จะติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีในชุดบรรจุท่อยิงได้ 6นัดจากเดิม 4นัดใน Buk รุ่นก่อน คู่กับ Radar ที่มีระบบพิสูจน์ฝ่าย(IFF: Identification Friend or Foe)
ซึ่งชุดบรรจุท่อยิงอาวุธปล่อยนำวิถีใหม่นี้สามารถนำมาปรับปรุงใช้กับแท่นยิงอาวุธปล่อยนำวิถีอัตตาจรแบบ 9A316M ให้ติดอาวุธปล่อยนำวิถีได้ 12นัดจากเดิม 8นัดของ Buk รุ่นก่อน
จากภาพที่ออกอากาศของสถานี TV Zvezda ยังมีปรากฎภาพของระบบลำเลียงและบรรจุอาวุธปล่อยนำวิถีอัตตาจรแบบ 9T243M, Radar ตรวจจับเพดาบินต่ำ และสถานีที่บังคับการและควบคุมการยิงด้วย

สำหรับการส่งออกระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ Buk-M3 ให้ลูกค้าต่างประเทศของรัสเซียนั้น มีรายงานว่าอียิปต์สนใจที่จะจัดหาระบบ Buk-M3 จำนวนหนึ่งเพื่อปรับปรุงระบบป้องกันภัยทางอากาศของตน
ทั้งนี้กองกำลังป้องกันภัยทางอากาศอียิปต์(Egyptian Air Defense Forces) กองทัพอียิปต์เองก็มีระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ Buk-M1 และ Buk-M2E รุ่นส่งออกที่จัดหาจากรัสเซียประจำการอยู่แล้วครับ

วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2559

รถหุ้มเกราะล้อยาง First Win 4x4 กับป้อมปืน Remote Weapon Station และระบบอาวุธแบบต่างๆ

Chaiseri First Win 4x4 Reconnaissance(front) and FIRST WIN 4x4 Infantry Fighting Vehicle or Deftech AV4 for Malaysian Army(back) at Defense & Security 2015(My Own Photo)

บริษัท Chaiseri ประเทศไทยได้มีการเปิดตัวและพัฒนารถหุ้มเกราะล้อยางตระกูล First Win มาแล้วหลายรุ่น เช่น First Win 4x4 APC(Armored Personal Carrier) และ First Win E
ซึ่งประสบความสำเร็จในการจัดหาเข้าประจำการในกองทัพและหน่วยงานความมั่นคงทั้งไทย เช่น กองทัพบกไทย, กรมสอบสวนคดีพิเศษ, กรมราชฑัณฑ์ และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เป็นต้น
และต่างประเทศคือ กองทัพบกมาเลเซีย ร่วมกับ Deftech มาเลเซียโดยการถ่ายทอดสิทธิบัตรการผลิตและเทคโนโลยีในชื่อ AV4 และ First Win รุ่นพวงมาลัยซ้ายเพื่อการประเมินค่าสำหรับกองทัพฟิลิปปินส์

Chaiseri First Win E (Reconnaissance) with IMI WAVE 2000 Remote Weapon Station at Defense & Security 2015(My Own Photo)

ในส่วนความต้องการรถยนต์บรรทุกของกองทัพบกไทย เช่นในหมวดลาดตระเวน กองร้อยทหารม้าลาดตระเวน กองพันทหารม้าลาดตระเวน เพื่อทดแทน รยบ.HMMWV, รยบ.๕๐ และ รยบ.M151 ในอนาคตนั้น
ศูนย์การทหารม้า กองทัพบกไทยก็เคยได้รับรถหุ้มเกราะล้อยาง First Win E 4x4 จากบริษัทชัยเสรีไปประเมินค่าทดสอบเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๘(2015)
ซึ่งรถเกราะล้อยาง First Win E ในการทดสอบได้ติดตั้งป้อมปืน Remote Weapon Station แบบ IMI WAVE 2000 อิสราเอล สำหรับปืนกลหนัก M2 .50cal(12.7x99mm) และชุดเครื่องยิงระเบิดควัน 76mm สามท่อยิง ๔ชุด รวม ๑๒ท่อยิง

ทั้งนี้แนวทางการพัฒนาของรถยนต์บรรทุกหุ้มเกราะ 4x4 กลุ่ม MRAP(Mine Resistant Ambush Protected) นั้นมีแนวโน้มจะถูกนำมาใช้งานเป็นยานยนต์เบาทางยุทธวิธี(Light Tactical Vehicle) ทดแทนรถยนต์บรรทุกแบบเดิม
เช่นที่เห็นได้จากโครงการรถยนต์บรรทุก Oshkosh JLTV(Joint Light Tactical Vehicle) ของกองทัพบกสหรัฐฯและนาวิกโยธินสหรัฐฯ ทดแทนรถยนต์บรรทุก HMMWV ที่ประจำการมาตั้งปีช่วงปี 1980s
หรือรถยนต์บรรทุกหุ้มเกราะ GAZ Tigr 4x4, Rys(Iveco LMV อิตาลี) และ Kamaz Typhoon 4x4 ของกองทัพรัสเซีย และกองทัพหลายประเทศทั่วโลกก็มีแนวโน้มพัฒนาไปในรูปแบบใกล้เคียงกัน

Azerbaijan's Sand Cat 4x4 with Rafael Samson MLS Remote Weapon Station 12.7x108mm and Spike LR Anti-Tank Missile 

Rafael Samson RWS with SPIKE LR at Defense & Security 2015(My Own Photo)

ส่วนด้านพัฒนาการระบบอาวุธของรถหุ้มเกราะเบา 4x4 นั้น ในงาน Defense & Security 2015 เมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๘ นั้น บริษัท Rafael อิสราเอลได้เสนอความร่วมมือกับไทยในการพัฒนาขีดความสามารถของระบบอาวุธประจำยานยนต์ของไทย
โดยการติดตั้งระบบป้อมปืน Remote Weapon Station แบบ Samson RWS รุ่นล่าสุดพร้อมปืนกลหนักขนาด 12.7mm(NSVT หรือ Kord ขนาด 12.7x108mm หรือ M2 HB .50cal) และอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง Spike LR กับรถหุ้มเกราะล้อยาง Chaiseri First Win 4x4
ซึ่งระบบ Samson MLS RWS รุ่นล่าสุดนี้ได้ถูกนำไปติดตั้งกับรถยนต์บรรทุกหุ้มเกราะ Plasan Sand Cat 4x4 อิสราเอล(มีพื้นฐานจากรถยนต์ Ford F-Series) สำหรับกองทัพอาเซอร์ไบจานแล้ว
ถ้ามีการทดสอบบูรณาการป้อมปืน Remote ติดปืนกลหนักและอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังกับรถเกราะล้อยาง First Win ก็น่าจะสามารถนำมาใช้ทดแทนรถยนต์บรรทุก 4x4 ติดอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง เช่น HMMWV ติด TOW ได้ในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ

Oshkosh JLTV with EOS R-400S-MK2 remote weapon station and Orbital ATK M230LF 30mm automatic cannon(http://oshkoshdefense.com)

An Oshkosh Defense M-ATV fitted with Moog Reconfigurable Integrated-weapons Platform armed with 5.56 mm machine gun, 30 mm M230LF cannon, and Javelin ATGW. Source: IHS/Patrick Allen 

พัฒนาการของระบบอาวุธของรถหุ้มเกราะทางยุทธวิธีขนาดเบาอีกทางของกองทัพชั้นนำหลายประเทศคือการนำอาวุธปืนใหญ่กลขนาดกลาง(Medium Caliber กระสุนขนาดตั้งแต่ 20mm-50mm)มาติดตั้ง
ซึ่งมีอำนาจการยิงที่สูงกว่าปืนกล 7.62mm, ปืนกลหนัก 12.7mm และ 14.5mm หรือมีอำนาจการทำลายเทียบเท่าเครื่องยิงลูกระเบิดอัตโนมัติ 40mm แต่มีระยะยิงไกลกว่าและเจาะเกราะได้สูงกว่า
เช่นที่บริษัท Oshkosh สหรัฐฯสาธิตรถยนต์หุ้มเกราะ JLTV ติดป้อมปืน Remote Weapon Station แบบ EOS R-400S-MK2 พร้อมปืนใหญ่กล M230LF ขนาด 30x113mm กระสุน 75นัด 
และรถยนต์หุ้มเกราะ M-ATV ติดป้อมปืน Moog RIwP(Reconfigurable Integrated-weapons Platform) พร้อมปืนใหญ่กล M230LF 30mm, ปืนเล็กกล 5.56x45mm และอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง Javelin 

Unmanned Ground Vehicle Tigr-M with 2A72 30mm cannon Turret(http://www.vitalykuzmin.net)

Kamaz K4386 Typhoon-VDV 4x4 armoured vehicle with 30mm Turret for Russian airborne troops(bmpd.livejournal.com)

ทางด้านกองทัพรัสเซียนั้นก็มีรูปแแบบการพัฒนาระบบอาวุธของรถหุ้มเกราะเบา 4x4 ของตนสำหรับสนับสนุนปฏิบัติการพิเศษอย่างหน่วยพลร่ม VDV และชุดลาดตระเวนหน่วยรบพิเศษ Spetsnaz หน่วยต่างๆ
เช่น รถยนต์บรรทุกหุ้มเกราะ VPK-233114 Tigr-M 4x4 รุ่นไร้คนขับ(UGV: Unmanned Ground Vehicle) และรถยนต์บรรทุกหุ้มเกราะ Kamaz K4386 Typhoon-VDV 4x4 ที่ติดตั้งป้อมปืนใหญ่กล 2A72 ขนาด 30x165mm พร้อมปืนกลร่วมแกน 7.62x54Rmm 
ซึ่งป้อมปืนของรัสเซียจะเป็นป้อมเต็มรูปแบบและใช้พื้นที่ภายในตัวรถส่วนหนึ่งไม่ได้วางบนหลังคารถอย่างเดียวแบบป้อมปืน RWS ทำให้รถหุ้มเกราะล้อยาง 4x4 รัสเซียมีอำนาจการยิงและจำนวนกระสุนและเกราะป้องกันเกือบเทียบเท่ารถรบทหารราบ(IFV:Infantry Fighting Vehicle)

Chaiseri First Win 4x4 series drawing dimension

รถหุ้มเกราะล้อยางทางยุทธวิธีขนาดเบา 4x4 ในปัจจุบันนั้นสามารถจะติดตั้งระบบอาวุธมีมีน้ำหนักได้มากขึ้นและมีอำนาจการยิงสูงมากขึ้น เนื่องจากความก้าวหน้าในการพัฒนาระบบยานยนต์ที่มีสมรรถนะที่สูงขึ้นในมิติขนาดไม่ใหญ่มากนัก
สำหรับรถหุ้มเกราะล้อยาง 4x4 ขนาด 8-12tons ในปัจจุบันสามารถที่จะติดตั้งป้อมปืน Remote Weapon Station บนหลังคารถได้ตั้งแต่น้ำหนัก 160-200kg จนถึงไม่เกินประมาณ 500kg ซึ่งรองรับอาวุธได้หลากหลากตั้งแต่ปืนกลหนัก 12.7mm จนถึงปืนใหญ่กล 30mm และอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง
แม้ว่าในขณะนี้จะยังไม่มีความชัดเจนจากกองทัพบกไทยถึงแนวทางการพิจารณาจัดหาระบบยานยนต์หุ้มเกราะเบาทางยุทธวิธีแบบใหม่ที่จะทดแทนรถยนต์บรรทุก 4x4 อย่าง HMMWV ในส่วนทหารม้าลาดตระเวน ทหารราบยานยนต์ จนถึงหน่วยรบพิเศษก็ตาม
แต่โดยความเห็นส่วนตัวมองว่าน่าเป็นแนวคิดที่ดีถ้าบริษัท Chaiseri จะมีการทดสอบรถหุ้มเกราะล้อยาง First Win กับระบบอาวุธป้อมปืนแบบต่างๆ เพื่อการเสนอทางเลือกให้กับลูกค้าต่างประเทศเป็นพัฒนาอุตสาหกรรมความมั่นคงของไทยสู่ตลาดสากลครับ  

วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2559

กาตาร์ได้รับมอบรถถังหลัก Leopard 2A7+ จากเยอรมนี

Qatar takes delivery of Leopard 2A7+ MBTs
Leopard 2A7+ for Qatar clearly showing the turret-mounted Krauss-Maffei Wingman FLW200 remote weapon station armed with a .50 M2 HB machine gun. In this image the combat side skirts are not fitted. Source: Krauss-Maffei Wegmann
http://www.janes.com/article/64957/qatar-takes-delivery-of-leopard-2a7-mbts

บริษัท Krauss-Maffei Wegmann(KMW) เยอรมนีได้ส่งมอบรถถังหลัก Leopard 2A7+ ให้กองทัพบกกาตาร์ไปแล้วเกือบครึ่งจากจำนวนที่สั่งจัดหา 62คัน
ซึ่งนับเป็นการส่งออกอาวุธหลักประเภทรถรบหุ้มเกราะขนาดหนักครั้งแรกต่อลูกค้าในตะวันออกกลางของบริษัท KMW

นอกจากนี้สัญญายังครอบคลุมการส่งมอบปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน PzH 2000 ขนาด 155mm/52caliber จำนวน 24ระบบ, รถลาดตระเวน Fennek 4x4 32คัน, และรถยนต์บรรทุกหุ้มเกราะ Dingo Heavy Duty 4x4 ซึ่งแบ่งเป็นสามรุ่นอีกจำนวนหนึ่ง,
รวมถึงรถสนับสนุน FFG Wisent 6คัน, รถบรรรทุกพ่วงชานต่ำสำหรับขนส่งรถถัง Mercedes-Benz Actros 4058 6x6 จำนวน 100คัน และชุดการฝึกและการสนับสนุนให้กองทัพกาตาร์ด้วย
บริษัท Rheinmetall Waffe Munition เยอรมนีกำลังทำการจัดส่งกระสุนปืนใหญ่รถถังขนาด 120mm ซึ่งรวมถึงกระสุนระเบิดแรงสูงแบบตั้งค่าได้ DM11 ล่าสุดสำหรับรถถังหลัก Leopard 2A7+ กาตาร์
ขณะที่บริษัท Rheinmetall Denel Munition แอฟริกาใต้กำลังจัดส่งชุดกระสุนปืนใหญ่ 155mm ที่รวมลูกกระสุน, ระบบดินส่งกระสุนแยกส่วน และตัวจุดชนวนสำหรับปืนใหญ่อัตตาจร PzH 2000 กาตาร์

ระบบรถถังหลัก Leopard 2A7+ ของกองทัพบกกาตาร์นับเป็นรถถังหลัก Leopard 2 รุ่นที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดที่ KMW สร้าง โดยถูกปรับแต่งให้สามารถปฏิบัติในเขตอุณหภูมิสูงในตะวันออกกลาง
นอกจากระบบปรับอากาศกำลังสูงและเกราะป้องกันรถแบบล่าสุดแล้ว ยังติดตั้งป้อมปืน Remote FLW200 RWS(Remote Weapon Station) พร้อมปืนกลหนัก M2 HB .50cal ที่หลังคารถ
เพิ่มเติมด้วยช่องเก็บสัมภาระภายนอกป้อมปืน และระบบแหล่งกำเนิดพลังงานสำรอง(APU: Auxiliary Power Unit) กำลัง 17kW ภายในด้านหลังตัวถังรถด้านขวา
ระบบขับเคลื่อนได้รับการปรับแต่งให้มีกำลังรอบเครื่องยนต์มากเป็นพิเศษสำหรับปฏิบัติการในเขตทะเลทราย แต่ก็ทำให้ความเร็วสูงสุดลดลงเป็น 68km/h จากปกติ 72km/h

สายการผลิตของรถถังหลัก Leopard 2A7+ นั้นในส่วนโครงสร้างแคร่รถฐานและป้อมปืนถูกผลิตในกรีซ
ซึ่งป้อมปืนจะถูกส่งมาที่โรงงาน KMW ใน Kassel เยอรมนีเพื่อทำการประกอบอุปกรณ์ควบคุมปืนด้วยไฟฟ้า, ระบบควบคุมการยิงคอมพิวเตอร์, ระบบกล้องเล็งแบบมีระบบรักษาความเสถียรของสถานีผู้บังคับการรถและสถานีพลยิง และระบบอาวุธ
ป้อมปืนที่ประกอบเสร็จแล้วจะถูกส่งต่อมาที่โรงงานผลิตและประกอบหลักของ KMW ที่ Munich เยอรมนีเพื่อเชื่อมติดตั้งกับรถแคร่ฐานต่อไป

ปัจจุบันกองทัพบกกาตาร์มีอัตราจัดกำลังหน่วยยานเกราะหลักคือหนึ่งกองพลน้อยยานเกราะซึ่งมีหนึ่งกองพันรถถังเป็นหน่วยขึ้นตรง
โดยรถถังหลัก AMX-30 จำนวนประมาณ 30-44คันที่จัดหาจากฝรั่งเศสในช่วงปี 1980s ซึ่งเคยทำการรบในสงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งที่หนึ่งปี 1991 จะถูกแทนที่ด้วยรถถังหลัก Leopard 2A7+ เช่นเดียวกับปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน Mk F3 155mm ฝรั่งเศสที่จะถูกแทนที่โดย PzH 2000 ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2559

Airbus Helicopters เปิดตัวเฮลิคอปเตอร์ H225M ติดอาวุธปล่อยนำวิถี Exocet สำหรับกองทัพเรือบราซิล

Airbus rolls out first Exocet-armed H225M helo for Brazilian Navy

An Airbus Helicopters H225M (EC725) fitted with Exocet missiles performing a demo flight at the Helibras facility in Brazil on 25 October 2016. Source: IHS/Gareth Jennings
http://www.janes.com/article/64935/airbus-rolls-out-first-exocet-armed-h225m-helo-for-brazilian-navy

วันที่ 25 ตุลาคมที่ผ่านมา บริษัท Airbus Helicopters ได้เปิดตัวเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงขนาดกลางสองเครื่องยนต์ H225M(เดิมคือ EC725) เครื่องแรกที่ติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ MBDA AM39 Exocet
พิธีเปิดตัวจัดขึ้นที่โรงงานบริษัท Helibras ใน Itajuba บราซิล ซึ่งแสดง H225M ติด Exocet หนึ่งใน 5เครื่องแรกสำหรับกองทัพเรือบราซิล(MB: Marinha do Brasil) ตามโครงการ H-XBR
Didier Cormary หัวหน้าโครงการ H-XBR ของ Airbus Helicopters กล่าวในการแถลงในงานว่า ฮ.H225M จำนวน 50เครื่องที่ถูกสั่งจัดหาโดยกองทัพบราซิลนั้น
การปรับแต่ง Operacio MB สำหรับกองทัพเรือบราซิลไม่ใช่เพียงการปรับแต่งหลักล่าสุดที่ถูกพัฒนาขึ้นสำหรับประเทศลาตินอเมริกา แต่มันยังมีศักยภาพอย่างมากที่สุด "การปรับแต่งนี้มีเขี้ยวเล็บ" เขากล่าว

ตามที่นาย Cormary อธิบายการปรับแต่ง Operacio MB สำหรับ H225M ประกอบด้วยการติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ AM39 Block 2 Mod 2 Exocet ที่รางอาวุธข้างตัวเครื่อง, Radar ตรวจการณ์ผิวน้ำ Telephonics APS-143 ใต้หัวเครื่อง,
ระบบแจ้งเตือนการถูกยิงด้วยอาวุธปล่อยนำวิถี(MAWS: Missile Approach Warning Sensors), กล้อง FLIR electro-optic/infrared (EO/IR) แบบ Star SAFIRE III ที่หัวเครื่อง และ สถานีควบคุมทางยุทธวิธี(Tactical Console workstation) ที่ห้องโดยสาร
"การปรับแต่ง Operacio MB สามารถยิง Exocet ได้หนึ่งหรือสองนัด และสามารถบินแบบอสมมาตรโดยมีอาวุธปล่อยนำวิถีหนึ่งนัดติดอยู่ด้านข้างและมีท่อรับเชื้อเพลิงกลางอากาศอีกข้างหนึ่ง
นี่ถือว่าเป็นความสำเร็จอย่างยิ่ง(สำหรับการติดตั้งระบบอาวุธขนาดใหญ่หนัก 655kg อย่าง Exocet กับเครื่อง)" นาย Cormary กล่าว

ขณะที่ชิลีและซาอุดิอาระเบียได้รับการปรับแต่งเฮลิคอปเตอร์ Super Puma ของตนให้ติดตั้งอาวุธปล่อนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Exocet ได้
นาย Cormary อธิบายว่ามันเป็นความสำเร็จเมื่อราว 20ปีที่แล้ว และเป็นเรื่องที่ของเฮลิคอปเตอร์ที่มีความก้าวหน้าน้อยกว่าทั้งระบบและเทคโนโลยี
โดยก่อนหน้านี้กองทัพเรือบราซิลได้ติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Exocet Block 1 Mod 1 รุ่นเก่ากับเฮลิคอปเตอร์ Sikorsky Sea King ที่ปลดประจำการไปแล้ว
การพัฒนาการปรับแต่ง Operacio MB ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2013 เมื่อรัฐบาลบราซิลลงนามสัญญาจัดหา ฮ.H225M ครับ

วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2559

อินเดียจะเช่าเรือดำน้ำนิวเคลียร์ชั้น Akula ลำที่สองจากรัสเซีย

India to lease second Russian 'Akula'-class SSN
INS Chakra: the first 'Akula'-class SSN to be leased by the Indian Navy (IN). India has furthered plans to lease a second Russian SSN for the IN for around 10 years. Source: Indian Navy
http://www.janes.com/article/64913/india-to-lease-second-russian-akula-class-ssn

อินเดียมีแผนใหญ่ที่จะเช่าเรือดำน้ำโจมตีพลังงานนิวเคลียร์(SSN)จากรัสเซียเพิ่มสำหรับกองทัพเรืออินเดียเป็นเวลา 10ปี ในวงเงินประมาณ $1.5-2 billion
แหล่งข่าวทางการกล่าวกับ Jane's ว่ารัฐบาล Moscow และรัฐบาล New Delhi ได้มีการตกลงไปในการประชุมอินเดีย-รัสเซียที่ Goa เมื่อวันที่ 15 ตุลาคมที่ผ่านมาว่า
อินเดียจะเช่าเรือดำน้ำโจมตีพลังงานนิวเคลียร์ชั้้น Project 971 Akula ระวางขับน้ำ 8,140tons ซึ่งสร้างเสร็จไปครึ่งหนึ่ง ในช่วงปี 2021-2022
ซึ่งการสร้างเรือให้เสร็จสมบูรณ์จนถึงการทดลองเรือในทะเลจะมีการออกเงินทุนโดยอินเดีย

โดยเรือดำน้ำโจมตีนิวเคลียร์ชั้น Akula ลำหนึ่งที่สร้างไม่เสร็จในช่วงต้นปี 1990s เนื่องจากการล่มสลายของอดีตสหภาพโซเวียตนี้เดิมรู้จักในชื่อ K152 Nerpa
ซึ่งต่อมาเรือลำนี้ถูกสร้างจนเสร็จสมบูรณ์และเข้าประจำการในกองทัพอินเดียในชื่อ INS Chakra เมื่อเดือนเมษายน 2012 โดยทำการเช่าจากรัสเซียเป็นเวลา 10ปีในวงเงิน $962 million
การเจรจาเพื่อเช่าเรือดำน้ำนิวเคลียร์ INS Chakra เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 1996 และมีข้อตกลงสัญญาในเดือนกันยายน 2001 เมื่อการก่อสร้างเรือใหม่ได้เริ่มขึ้นอีกครั้งเนื่องจากได้รับการสนับสนุนเงินอย่างน้อยบางส่วนจากอินเดีย
แหล่งข่าวระดับสูงในกองทัพเรือกล่าวว่าเรือดำน้ำโจมตีนิวเคลียร์ลำใหม่ซึ่งมี Torpedo และอาวุธปล่อยนำวิถีโจมตีภาคพิ้นดินจะถูกส่งมอบให้อินเดียช่วงต้นปี 2022
ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่เรือดำน้ำโจมตีนิวเคลียร์ INS Chakra หมดสัญญาเช่าและปลดประจำการจากกองทัพเรืออินเดียกลับไปประจำการในกองทัพเรือรัสเซีย

กองทัพเรืออินเดียได้เจรจาการเช่าเรือดำน้ำนิวเคลียร์ชั้น Akula ลำที่สองมาหลายปีเช่นในปี 2015 อย่างไรก็ตามการนำเรือชั้นนี้เข้าประจำการชั่วคราวได้เปลี่ยนแปลงไป
จากการที่กองทัพเรือรัสเซียจัดหาเรือดำน้ำโจมตีพลังงานนิวเคลียร์ชั้น Project 885/885M Yasen ที่มีความก้าวหน้ามากกว่าเข้าประจำการในกลางปี 2014 ซึ่งรัสเซียได้มีการสั่งจัดหาเรือชั้นนี้จำนวน 5-7ลำแล้ว
และทางกองทัพเรืออินเดียต้องการให้ช่างเทคนิคของตนเข้ามีส่วนร่วมในการสร้างเรือดำน้ำนิวเคลียร์ชั้น Yasen โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีประสบการณ์และองค์ความรู้ที่จำเป็นในการสร้างเรือดำน้ำโจมตีพลังงานอินเดียที่ออกแบบและเองในประเทศ
ซึ่งอินเดียมีโครงการสร้างเรือดำน้ำโจมตีพลังงานนิวเคลียร์จำนวน 3-5ลำวงเงิน 1ล้านล้านรูปี($15.15 billion) ที่กระทรวงกลาโหมอินเดียอนุมัติโครงการในปี 2015
เข้าประจำการร่วมกับเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธ(SSBN)ชั้น Arihant ที่อินเดียออกแบบสร้างเองในประเทศ ซึ่งเรือลำแรก INS Arihant เข้าประจำการไปเมื่อเดือนสิงหาคมปี 2016 นี้ครับ

วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559

Hyundai เปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมของเรือฟริเกตใหม่กองทัพเรือฟิลิปปินส์ และ DSME ทำพิธีปล่อยเรือดำน้ำลำที่สองของกองทัพเรืออินโดนีเซีย

Hyundai discloses further details of Philippine Navy's new frigates
Computer generated image of the Philippine Navy's new frigate released by Hyundai Heavy Industries on the occasion of the programme's contract signing in October 2016. Source: Hyundai Heavy Industries
http://www.janes.com/article/64864/hyundai-discloses-further-details-of-philippine-navy-s-new-frigates

บริษัท Hyundai Heavy Industries(HHI) หนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมสร้างเรือรายใหญ่ของสาธารณรัฐเกาหลี ได้เปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมของเรือฟริเกตใหม่ 2ลำที่จะมีการสร้างสำหรับกองทัพเรือฟิลิปปินส์
รายละเอียดดังกล่าวถูกเปิดเผยต่อสื่อเมื่อวันที่ 24 ตุลาคมที่ผ่านมาตามการประกาศการลงนามสัญญาการสร้างเรืออย่างเป็นทางการโดยรัฐมนตรีกลาโหมฟิลิปปินส์ Delfin Lorenzana
ซึ่ง HHI เกาหลีใต้ได้รับสัญญาวงเงิน 15,744,571,584 Philippine Peso($311 million) จากกระทรวงกลาโหมฟิลิปปินส์เมื่อต้นปี 2016

ตามรายงานก่อนหน้านี้ของบริษัท HHI แบบเรือฟริเกตเอนกประสงค์ HDF-3000 ที่ชนะในโครงการเรือฟริเกตใหม่กองทัพเรือฟิลิปปินส์มีความยาวตัวเรือรวม 114.3m โดยมีพื้นฐานจากเรือฟริเกตติดอาวุธปล่อยนำวิถีชั้น Incheon(FFX-I) ของกองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลี
HHI เปิดเผยข้อมูลต่อสื่อว่าเรือฟริเกตใหม่ของกองทัพเรือฟิลิปปินส์จะมีความยาวตัวเรือ 107m ระวางขับน้ำปกติ 2,600tons มีสามารถปฏิบัติการและอยู่รอดต่อความคงทนทะเลในระดับคลื่มลม Sea State 5
เรือฟริเกตจะใช้เครื่องยนต์ CODAD(Combined Diesel and Diesel) สามารถทำความเร็วได้สูงสุด 25knots มีพิสัยทำการไกลสุด 4,500nmi ที่ความเร็วมัธยัสถ์ 15knots ซึ่งสืบทอดคุณสมบัติการออกแบบหลักจากเรือฟริเเกตชั้น Incheon แม้จะมีระวางขับน้ำเบากว่า

HHI ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดระบบอาวุธของเรือฟริเกตใหม่ของฟิลิปปินส์แต่กล่าวเพียงว่าเรือฟริเกตจะติดตั้ง "อาวุธหนักซึ่งมีทั้งอาวุธปล่อยนำวิถี, Torpedo, ปืนเรือ และระบบตรวจจับ"
โดยเรือฟริเกตจะมีขีดความสามารถในการต่อต้านอากาศยาน, ต่อต้านเรือผิวน้ำ, ต่อต้านเรือดำน้ำ และสงคราม Electronic
อย่างไรก็ตามจากภาพ 3D CG ที่นำมาประกอบแสดงให้เห็นว่าเรือฟริเกตมีระบบแท่นยิงแนวดิ่ง VLS(Vertical Launching System) 8ท่อยิงที่ด้านหน้าเรือ และติดอาวุธหลักที่น่าจะเป็นปืนใหญ่เรือขนาด 76mm มีอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้่ำ 8นัด และ Torpedo เบาปราบเรือดำน้ำ แท่นยิงแฝดสาม 2ระบบ ท้ายเรือมีปืนใหญ่กลเหนือโรงเก็บและลานจอดเฮลิคอปเตอร์รองรับ ฮ.AW159 ที่กองทัพเรือฟิลิปปินส์สั่งจัดหาครับ

DSME launches 2nd submarine for Indonesia
Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering (DSME) officials pose with Indonesian Navy officers during a ceremony to launch a second submarine built for the Southeast Asian country at DSME's shipyard on Geoje Island, South Gyeongsang Province.
/ Courtesy of DSME
http://www.koreatimes.co.kr/www/news/biz/2016/10/123_216676.html

บริษัท Daewoo Shipbuilding and Marine Engineering(DSME) สาธารณรัฐเกาหลีได้ทำพิธีปล่อยเรือดำน้ำลำที่สองที่ได้รับสัญญาสร้างจากกองทัพเรืออินโดนีเซีย(TNI-AL: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Laut)
เรือดำน้ำแบบ DSME1400 ลำที่สองของกองทัพเรืออินโดนีเซียหมายเลข 404 ชื่อ KRI Ardadedali ได้ทำพิธีปล่อยลงน้ำที่อู่ต่อเรือของบริษัท DSME ที่เกาะ Geoje จังหวัด Gyeongsang ใต้เมื่อวันที่ 24 ตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งคาดว่าจะเข้าประจำการได้ในราวเดือนตุลาคมปี 2017
โดยเรือดำน้ำแบบ DSME1400 ลำแรกของกองทัพเรืออินโดนีเซียหมายเลข 403 ชื่อ KRI Nagapasa ได้ทำพิธีปล่อยลงน้ำเมื่อวันที่ 24 มีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการทดลองเรือคาดว่าจะเข้าประจำการได้ในเดือนมีนาคมปี 2017

เมื่อเดือนธันวาคมปี 2011 รัฐบาลอินโดนีเซียได้ลงนามสัญญาจัดหาวงเงิน 1.3 trillion Korean Won($1.1 billion) กับบริษัท DSME เกาหลีใต้ในการจัดหาเรือดำน้ำจำนวน 3ลำสำหรับกองทัพเรืออินโดนีเซีย
ทั้งนี้เรือดำน้ำแบบ DSME1400 ลำที่สามกำลังดำเนินการก่อสร้างที่ PT PAL รัฐวิสาหกิจอู่ต่อเรือของรัฐบาลอินโดนีเซียใน Surabaya โดยการถ่ายทอด Technology จาก DSME เกาหลีใต้
ซึ่งเรือดำน้ำลำที่สามได้ทำการวางกระดูกงูเรือไปเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา และคาดว่าจะทำการปล่อยเรือได้ในธันวาคมนี้ ซึ่งคาดว่ากองทัพเรืออินโดนีเซียจะได้รับมอบเรือเข้าประจำการในปี 2018ครับ

วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2559

Airbus Helicopters และ DCNS จะพัฒนาอากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่งสำหรับกองทัพเรือฝรั่งเศส

Airbus teams with DCNS to develop VTOL UAV for French Navy
An artist's impression of the Airbus Helicopters-DCNS VSR700 VTOL UAV being developed for the French Navy's Système de Drones Aériens de la Marine requirement. Source: Airbus Helicopters
http://www.janes.com/article/64806/airbus-teams-with-dcns-to-develop-vtol-uav-for-french-navy

บริษัท Airbus Helicopters และบริษัท DCNS ฝรั่งเศสกำลังจะเสนออากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่ง(VTOL UAV: Vertical Take-Off and Landing Unmanned Aerial Vehicle)ที่ออกแบบใหม่แต่ต้นสำหรับกองทัพเรือฝรั่งเศส(Marine Nationale)
ความร่วมมือนี้ประกาศขึ้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคมในการพัฒนาเฮลิคอปเตอร์ยานไร้คนขับเพื่อตอบสนองโครงการ SDAM(Système de Drones Aériens de la Marine) ของกองทัพเรือฝรั่งเศส
สืบต่อจากระบบที่มีใช้อยู่แล้วจากเฮลิคอปเตอร์เบา Hélicoptères Guimbal Cabri G2 คือ VSR700 VTOL UAV จะมีเทคโนโลยีอัตโนมัติที่ได้ทดสอบใช้งานแล้วของ Airbus Helicopters ซึ่งรวมถึงขีดความสามารถด้านการรับรู้และหลบหลีก

โดย Airbus Helicopters จะเป็นผู้ออกแบบระบบที่กำหนดแบบเป็น VSR7000 ทาง DCNS จะรับผิดชอบในการบูรณาการกับระบบปฏิบัติการบนเรือ ซึ่งรวมถึงการพัฒนาและการตรวจสอบความถูกต้องกับระบบภารกิจ เช่นเดียวกับการบรรทุก และการเชื่อมโยง Datalink ภารกิจ
ขณะนี้ยังไม่มีการเปิดเผยการกำหนดคุณสมบัติขีดความสามารถของ VSR700 VTOL UAV ออกมา โดย ฮ.Cabri G2 ที่จะนำมาเป็นพื้นฐานนั้น
Cabri G2 ใช้เครื่องยนต์ลูกสูบ Lycoming O-360 กำลัง 180hp(ลดกำลังลงเป็น 145HP) มีน้ำหนักเครื่อง 700kg ความเร็วสูงสุด 185km/h พิสัยทำการ 700km เพดานบินต่ำกว่า 13,000ft ครับ

วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2559

เฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-28NM รัสเซียรุ่นปรับปรุงใหม่จะสามารถใช้อาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังที่เพิ่มระยะยิงได้

Upgraded Night Hunter to be armed with extended range anti-tank missiles
Dmitriy Serebriakov/TASS
When upgraded, the helicopter will acquire the capability to use the missiles round the clock and in any weather, including poor visibility
http://tass.com/defense/907978

Valery Kashin นักออกแบบทั่วไปของสำนักออกแบบการสร้างเครื่องจักร(Machine-Building Design Bureau) ให้ข้อมูลกับสำนักข่าว TASS รัสเซียว่า
เฮลิคอปเตอร์โจมตี Mil Mi-28NM รุ่นปรับปรุงใหม่จะสามารถติดตั้งใช้งานอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังที่เพิ่มระยะยิงให้ไกลขึ้นได้

"สำนักออกแบบกำลังดำเนินการปรับปรุงอาวุธปล่อยนำวิถี Ataka และ Khrizantema ให้มีขีดความสามารถในการพิสูจน์ทราบ, ติดตาม และทำลายล้างเป้าหมายในระยะที่ไกลขึ้น
โดยเฉพาะกับเฮลิคอปเตอร์ Mi-28NM ระบบควบคุมอาวุธปล่อยนำวิถีบนเครื่องจะได้รับการปรับปรุงเป็นอย่างมากเพื่อให้เข้ากันได้กับการรับค่าข้อมูลของอาวุธปล่อยนำวิถีใหม่" นาย Kashin กล่าว
เมื่อได้รับการปรับปรุงเฮลิคอปเตอร์จะได้รับขีดความสามารถในการใช้อาวุธปล่อยนำวิถีได้ทุกกาลอากาศรวมถึงในสภาพทัศนวิสัยที่แย่
แหล่งข่าวภายในอุตสาหกรรมความมั่นคงรัสเซียกล่าวกับ TASS ว่าอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นต่อสู้รถถัง Ataka จะมีพิสัยการยิงเพิ่มขึ้นจาก 6km เป็น 8km แต่ไม่ได้กล่าวถึงรายละเอียดของอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง Khrizantema รุ่นใหม่

การพัฒนาเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-28NM Night Hunter รุ่นปรับปรุงใหม่เริ่มขึ้นในปี 2009 โดย ฮ.โจมตี Mi-28NM เครื่องต้นแบบได้ทดสอบการทำการบินครั้งแรกไปเมื่อวันที่ 12 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยบริษัท Russian Helicopters ผู้ผลิตคาดว่าจะส่งมอบ ฮ.ชุดแรกได้ในปี 2018
โดยการปรับปรุงหลักของ ฮ.โจมตี Mi-28NM มีเช่น ติดตั้ง Radar ใหม่, กล้อง Panoramic มุมมอง 360องศาใหม่ และอุปกรณ์อื่นๆ ที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการใช้อาวุธความแม่นยำสูงได้มากยิ่งขึ้นครับ

วันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2559

Safran ฝรั่งเศสประสบความสำเร็จในการทดสอบระบบนำร่อง Sigma 40 กับอาวุธปล่อยนำวิถี Harpoon สำหรับกองทัพเรือไทย


Royal Thai Navy's DSME DW3000H Frigate and Second Krabi class Offshore Patrol Vessel to integration with Safran Sigma 40 inertial navigation system for Harpoon II Anti-Ship Missiles.(My Own Photo)

Safran’s Sigma 40 inertial navigation system aces integration tests with AGM-84 Harpoon antiship missile system
http://www.safran-electronics-defense.com/media/safrans-sigma-40-inertial-navigation-system-aces-integration-tests-agm-84-harpoon-antiship-missile-system-20161019

งานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ทางเรือ Euronaval 2016 ที่จัดขึ้นที่ศูนย์จัดแสดง Le Bourget ใน Paris ระหว่างวันที่ ๑๗-๒๑ ตุลาคมที่ผ่านมานั้น
บริษัท Safran Electronics & Defense ฝรั่งเศสได้ประกาศความสำเร็จในการบูรณาการติดตั้งทดสอบระบบนำร่องประจำเรือผิวน้ำแบบ Sigma 40 เชื่อมโยงกับอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Boeing AGM-84 Harpoon Block II
เพื่อสำหรับนำมาใช้งานกับเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.กระบี่ ลำที่๒ ที่กำลังดำเนินการสร้างในไทย และเรือฟริเกตสมรรถนะสูงที่กำลังดำเนินการสร้างที่สาธารณรัฐเกาหลี ของกองทัพเรือไทย

การทดสอบนี้เป็นไปตามสัญญาที่ลงนามไว้ระหว่างบริษัท Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering(DSME) สาธารณรัฐเกาหลีเจ้าของแบบเรือฟริเกต DW3000H(มีพื้นฐานจากเรือพิฆาต KDX-I) ร่วมกับบริษัท Boeing สหรัฐฯผู้รับสัญญาหลักของอาวุธปล่อยนำวิถี Harpoon Block II
ซึ่งก่อนหน้านี้บริษัท DSME เกาหลีใต้ซึ่งเป็นผู้ได้รับสัญญาในการสร้างเรือฟริเกตสมรรถนะสูงลำแรกให้กองทัพเรือไทยได้เลือกระบบนำร่องเข็มทิศ Laser Gyro แบบ Raytheon Anschutz MINS-II 4000 สำหรับติดตั้งในเรือฟริเกตไทย
แต่ทางบริษัท Boeing สหรัฐฯได้แนะนำให้เปลี่ยนเป็นระบบนำร่องเข็มทิศ Laser Gyro แบบ Safran Sigma 40 แทน เนื่องจากเข็มทิศไยโร MINS-II 4000 นั่นไม่สามารถส่งค่าข้อมูลให้ Harpoon II ได้ครบทุกค่าซึ่งจะลดทอนขีดความสามารถของระบบอาวุธปล่อยนำวิถี
ดังนั้นทาง DSME จึงได้มีการมีการปรับเปลี่ยนสัญญาในส่วนงบประมาณและระยะเวลาให้กองทัพเรือไทยเห็นชอบในการเปลี่ยนมาใช้ระบบนำร่อง Safran Sigma 40 กับเรือตั้งแต่วันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๖(2013) แล้ว

นอกจากเรือฟริเกตสมรรถณะสูงที่กำลังต่อที่อู่ต่อเรือ Okpo-Dong ของ DSME นั้น กองทัพเรือไทยจะมีการติดตั้งระบบนำร่อง Sigma 40 กับเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.กระบี่ ลำที่๒ ซึ่งกำลังดำเนินการก่อสร้างในไทยด้วย
โดยโครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ไกลฝรั่งชุด ร.ล.กระบี่ ลำที่๒ นั้นยังคงใช้แบบเรือ 90m OPV(Offshore Patrol Vessel) ตามสิทธิบัตรของบริษัท BAE Systems สหราชอาณาจักร ที่บริษัทอู่กรุงเทพ(Bangkok Dock) ไทยจัดซื้อมา
ซึ่งเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.กระบี่ ลำที่๒นี้ มีการปรับปรุงแบบเพิ่มเติมจาก ร.ล.กระบี่ ที่สำคัญคือการติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Boeing RGM-84 Harpoon Block II จำนวน ๘นัดบนเรือ
ทั้งนี้จากความสำเร็จในการบูรณาการทดสอบ ระบบนำร่อง Sigma 40 นั่นมีประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือสูง ง่ายต่อการติดตั้ง โดยพร้อมที่จะถูกนำมาติดตั้งใช้งานบนเรือรบของกองทัพเรือไทยได้ทุกลำ

Sigma 40: laser gyro technology inertial navigation system
http://www.safran-electronics-defense.com/file/download/d1492e_sigma_40_sai.pdf

Safran Sigma 40 เป็นระบบนำร่องแรงเฉื่องแบบเข็มทิศไยโร Laser(RLG: Ring Laser Gyro) ซึ่งมีความแม่นยำและยืดหยุ่นสูง มีขนาดกะทัดรัดพร้อมส่วนอุปกรณ์และชุดคำสั่งที่ปรับเปลี่ยนได้ สำหรับการนำร่องเรือและรักษาเสถียรภาพระบบตรวจจับและระบบอาวุธบนเรือ
ระบบนำร่องแรงเฉื่อยในตระกูล Sigma ได้ถูกนำไปติดตั้งบนเรือรบของกองทัพเรือชั้นนำหลายประเทศทั่วโลกแล้วมากกว่า ๕๐๐ลำ เช่น เรือบรรทุกเครื่องบิน Charles de Gaulle กองทัพเรือฝรั่งเศส, เรือฟริเกตชั้น Horizon และเรือฟริเกตแบบ FREMM กองทัพเรือฝรั่งเศสและกองทัพเรืออิตาลี,
เรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้าตามแบบชั้น Ula กองทัพเรือนอร์เวย์, เรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้าตามแบบชั้น Collins กองทัพเรือออสเตรเลีย เรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าแบบ Scorpene และเรือดำน้ำโจมตีพลังงานนิวเคลียร์ชั้น Barracuda กองทัพเรือฝรั่งเศส เป็นต้นครับ

วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2559

DCNS เปิดตัวแบบแผนเรือฟริเกต FTI ใหม่สำหรับกองทัพเรือฝรั่งเศส

Euronaval 2016: French Navy's new frigate design unveiled
DCNS' FTI concept design for the French Navy. Source: Luca Peruzzi
http://www.janes.com/article/64763/euronaval-2016-french-navy-s-new-frigate-design-unveiled

งานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ทางเรือ Euronaval 2016 ที่ Paris ระหว่างวันที่ 17-21 ตุลาคมนี้ บริษัท DCNS ฝรั่งเศสได้เปิดตัวแบบแผนการออกแบบเรือฟริเกต Frégate de Taille Intermédiaire(FTI) ใหม่เป็นครั้งแรก โดยมีการเปิดตัวแบบจำลองเรือเมื่อวันที่ 18 ตุลาคมที่ผ่านมา
ซึ่งมีรัฐมนตรีกลาโหมฝรั่งเศส Jean-Yves Le Drian ได้ร่วมกับ Laurent Collet-Billon ประธานสำนักงานการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ฝรั่งเศส DGA(Direction Generale des Armaments) และ Hervé Guillou ผู้อำนวยการบริหารบริษัท DCNS ร่วมพิธี

แนวคิดการจัดหาเรือฟริเกตขนาดกลางใหม่ 5ลำสำหรับกองทัพเรือฝรั่งเศสคือโครงการ FTI ถูกประกาศขึ้นเมื่อกลางปี 2015 ซึ่งรวมอยู่ในแผนโครงการจัดหาผูกพันต่อเนื่องหลายปี LPM(Loi de Programmation Militaire) ช่วงปี 2014-2019
วงเงินงบประมาณอยู่ที่ 3.8 billion Euros สำหรับการจัดหาเรือฟริเกต 5ลำ โดยเรือลำแรกมีแผนจะรับมอบในปี 2023 โดยระยะเวลาของโครงการเป็นที่รับรู้ของกระทรวงกลาโหมฝรั่งเศสว่าเป็นที่ตั้งความคาดหวังไว้สูง
ตามบันทึกในสมุดปกขาวแผนกลาโหม 2013 เช่นเดียวกับแผน LPM เรือฟริเกต FTI ทั้ง 5ลำจะถูกนำเข้าประจำการแทนเรือฟริเกตชั้น La Fayette 5ลำที่ประจำการอยู่
และจะเข้าประจำการร่วมกับเรือฟริเกตเอนกประสงค์ FREMM 8ลำ(ประกอบไปด้วยรุ่นปราบเรือดำน้ำ 6ลำ และรุ่นป้องกันภัยทางอากาศ 2ลำ) และเรือฟริเกตป้องกันภัยทางอากาศชั้น Horizon 2ลำ จะทำให้กองทัพเรือฝรั่งเศสมีกำลังเรือฟริเกต 15ลำในปี 2030

เรือฟริเกต FTI มีระวางขับน้ำ 4,250tons ตัวเรือยาว 122.25m กว้าง 17.7m กำลังพลประจำเรือ 125นาย พร้อมเจ้าหน้าที่อากาศยาน 15นาย และกำลังพลเพิ่มเติมอื่นๆอีก 50นาย
ติดตั้งเครื่องยนต์ CODAD ทำความเร็วได้สูงสุด 27knots พิสัยทำการ 5,000nmi ระบบตรวจจับเช่น Sea Fire digital radar และ Sonar ลากท้าย CAPTAS-4 Compact จาก Thales มีลานจอดและโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์รองรับ ฮ.NH90 และอากาศยานไร้คนขับขึ้นลงแนวดิ่ง VTOL UAV
ระบบอาวุธประจำเรือมี ปืนใหญ่เรือ OTO Melara 76/62, อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Exocet MM40 Block 3 จำนวน 8นัด, อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ Aster 30 ในแท่นยิงแนวดิ่ง 4-cell VLS 2ระบบ 8นัด, Torpedo เบาปราบเรือดำน้ำ MU90 และป้อมปืน Remote แบบ Nexter Narwhal 20mm
เรือฟริเกต FTI ถูกออกแบบบมาสำหรับสงครามปราบเรือดำน้ำ, ต่อต้านเรือผิวน้ำ และต่อต้านภัยทางอากาศ สนับสนุนปฏิบัติการหน่วยรบพิเศษ มีขีดความสามารถปฏิบัติการสงครามอสมมาตร สนับสนุนกองกำลังผสมนานาชาติด้วยตัวเรือเองลำเดียว ปฏิบัติการแสดงกำลังทางเรือ ขัดขวางทางทะเล และรวบรวมข่าวกรอง

ทั้งนี้ DCNS ยังได้นำเสนอแบบแผนตระกูลเรือฟริเกต Digital แบบ BELH@RRA สำหรับส่งออกต่างประเทศ โดยเรือถูกออกแบบมาในลักษณะ Modular สามารถปรับปรุงระบบที่ติดตั้งได้ตามความต้องการของลูกค้า พร้อมทั้งการถ่ายทอด Technology ด้วย
ซึ่งมีเรือฟริเกต FTI กองทัพเรือฟริเกตฝรั่งเศสอยู่ในตระกูลเรือฟริเกต BELH@RRA ที่คาดว่าจะเริ่มการสร้างเรือลำแรกได้ในราวปี 2017 ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2559

TKMS เยอรมนีจะซ่อมปรับปรุงเรือดำน้ำชั้น Tridente กองทัพเรือโปรตุเกส

TKMS to refit Portugal's attack submarines
Portugal's two Tridente-class 209PN air independent propulsion powered attack submarines will be reiftted by TKMS in Germany and Portugal. Source: Portuguese Navy
http://www.janes.com/article/64744/tkms-to-refit-portugal-s-attack-submarines

กระทรวงกลาโหมโปรตุเกสอนุมัติให้กองทัพเรือโปรตุเกสทำสัญญากับบริษัท Thyssenkrupp Marine Systems(TKMS) เยอรมนีในวงเงินไม่เกิน 47.99 million Euros ในการซ่อมปรับปรุงเรือดำน้่ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้าตามแบบชั้น Tridente 2ลำ
ซึ่งเรือชั้น Tridente นี้ถูกกำหนดแบบเป็นเรือดำน้ำแบบ Type 209PN(U209PN) ซึ่งในความเป็นจริงแล้วคือเรือดำน้ำแบบ Type 214(U214) โดยเรือทั้ง 2ลำเข้าประจำการในปี 2010

เรือลำแรกคือ S160 NRP Tridente จะดำเนินการซ่อมปรับปรุงในเยอรมนีช่วงปี 2016-2018 ขณะที่เรือลำที่สอง S161 NRP Arpão บริษัท TKMS และ Arsenal do Alfeite อู่ต่อเรือรัฐวิสากิจของรัฐบาลโปรตุเกสจะดำเนินการปรับปรุงเรือในโปรตุเกสช่วงปี 2018-2020
ซึ่ง Systems Sunlight กรีซยังได้รับสัญญาจากกองทัพเรือโปรตุเกสในการเปลี่ยน Battery หลักของเรือดำน้ำชั้น Tridente ทั้งสองลำด้วย

โครงการปรับปรุงเรือดำน้ำถูกกำหนดขึ้นจากกฎหมายโครงการกองทัพโปรตุเกสล่าสุดที่อนุมัติในเดือนพฤษภาคมปี 2015 ซึ่งการซ่อมปรับปรุงจะเป็นงานหลักในการบำรุงรักษามากกว่าการปรับปรุงสมรรถนะ
ทั้งนี้เรือดำน้ำชั้น Tridente ทั้งสองลำมีกำหนดล่าสุดที่จะเข้ารับการปรับปรุงครึ่งอายุช่วงปี 2022-2025 ที่จะร่วมการปรับปรุงระบบภายในเรือวงเงิน 106.12 million Euros ตามกฎหมายโครงการกองทัพครับ

วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2559

จีนปลดประจำการเรือดำน้ำนิวเคลียร์ชั้น Type 091 Han และจีนยืนยันการส่งออกเรือดำน้ำ 8ลำให้ปากีสถาน

A starboard view of the People's Liberation Army Navy Type 091 Han class nuclear-powered attack submarine No. 405 underway 1993.(wikipedia.org)

China's first nuclear-powered submarine decommissioned
http://www.janes.com/article/64724/china-s-first-nuclear-powered-submarine-decommissioned

สำนักข่าว Xinhua จีนรายงานคำพูดของเจ้าหน้าที่กองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People's Liberation Army Navy)เมื่อวันที่ 16 ตุลาคมที่ผ่านมาว่า
เรือดำน้ำโจมตีพลังงานนิวเคลียร์ชั้นแรกของจีนคือ Type 091(NATO กำหนดรหัสชั้น Han) ลำแรกได้ถูกปลดประจำการแล้วหลังประจำการมานานกว่า 40ปี
หลังจากขั้นตอนปลดอาวุธและเชื้อเพลิงนิวเคลียร์(Denuclearisation) เรือดำน้ำจะถูกนำไปจัดแสดงที่ท่าเรือพิพิธภัณฑ์ทหารเรือ Qingdao เพื่อให้สาธารณชนเข้าชม

ตามข้อมูลของ Jane's Fighting Ships กองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนมีเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์อย่างน้อย 10ลำประจำการอยู่ในปัจจุบัน
โดยเรือชั้น Type 091 Han เป็นเรือดำน้ำนิวเคลียร์ชั้นแรกของจีนที่ออกแบบและสร้างในเอเชีย ซึ่งมีการสร้างขึ้นมาทั้งหมด 5ลำ โดยสองลำแรกคือหมายเลข 401 และ 402 ที่มีข้อมูลว่าปลดประจำการในช่วงต้นปี 2000s แล้ว
ซึ่งการปลดประจำการเรือดำน้ำนี้น่าจะเป็นลำหนึ่งในสามลำของเรือดำน้ำโจมตีพลังงานนิวเคลียร์ชั้น Type 091 Han ที่ยังคงประจำการอยู่ 3ลำ คือเรือหมายเลข 403, 404 และ 405 ซึ่งเรือชั้นนี้มีแผนจะปลดประจำการลงทั้งหมดภายในสิ้นทศวรรษนี้ครับ

China confirms plans to export eight submarines to Pakistan
China has marketed the Type 039A Yuan overseas as the S20 submarine. (IHS/Patrick Allen)
http://www.janes.com/article/64719/china-confirms-plans-to-export-eight-submarines-to-pakistan

China Shipbuilding Industry Corporation(CSIC) รัฐวิสาหกิจผู้สร้างเรือของสาธารรัฐประชาชนจีนได้ยืนยันโครงการการส่งออกเรือดำน้ำโจมตีตามแบบ 8ลำให้กองทัพเรือปากีสถาน
ตามข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ People's Daily Online เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม บริษัท CSIC จีนได้จัดการประชุมหารือเกี่ยวกับรายละเอียดของการจัดหาแล้ว
จากรายงานของสื่อก่อนหน้านี้เรือดำน้ำแบบ S20P 4ลำแรกจะถูกสร้างในจีนและส่งมอบให้กองทัพเรือปากีสถานได้ในช่วงกลางปี 2022-2023
และเรือดำน้ำอีก 4ลำ จะถูกสร้างที่อู่ต่อเรือ Karachi Shipbuilding and Engineering Works(KSEW) ในปากีสถานโดยการถ่ายทอดทาง Technology ซึ่งจะส่งมอบให้กองทัพเรือปากีสถานได้ในปี 2028 ครับ

วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559

กองทัพเรือเยอรมนีจะจัดหาเรือคอร์เวต K130 เพิ่ม 5ลำ

German Navy to receive five additional K130 corvettes
The German Navy is to receive an additional five K130 class corvettes. (PIZ Marine)
http://www.janes.com/article/64665/german-navy-to-receive-five-additional-k130-corvettes

ตามที่รัฐบาลผสมสหพันธรัฐเยอรมนีประกาศเมื่อวันที่ 14 ตุลาคมที่ผ่านมา กองทัพเรือเยอรมนี(Deutsche Marine)จะจัดซื้อเรือคอร์เวตชั้น Braunschweig หรือเรือคอร์เวตชั้น K130 เพิ่มอีก 5ลำในปี 2017
เพื่อทดแทนความล่าช้าในการดำเนินการของโครงการเรือรบเอนกประสงค์ MKS 180(Mehrzweckkampfschiff 180) หรือ MRCS(Multi-Role Combat Ship)
"เพื่อตอบสนองความจำเป็นด้านความมั่นคงใหม่ในทะเล Baltic ในทะเล Mediterranean และทั่วโลก รัฐบาลผสมมีแผนจะจัดซื้อเรือคอร์เวตใหม่ 5ลำวงเงิน 1.5 billion Euros($1.64 billion) สำหรับกองทัพเรือเยอรมนี"
สองผู้รายงานการประชุมของคณะกรรมการงบประมาณของรัฐสภาซึ่งมีอิทธิพลในพรรคร่วมรัฐบาลคือ Johannes Kahrs และ Eckhard Rehberg กล่าวในการแถลงการณ์ร่วม

ตามข่าวที่รัฐมนตรีกลาโหมเยอรมนี นาง Ursula von der Leyen แจ้งต่อรัฐสภาเยอรมนีในต้นเดือนตุลาคมนั้น
การเจรจาสัญญาขั้นสุดท้ายสำหรับการจัดหาเรือ MKS 180 MRCS จำนวน 4ลำจำเป็นที่จะต้องมีการยืดระยะเวลาออกไปอีก ซึ่งจะทำให้โครงการมีความล่าช้าไปอีกไม่ต่ำกว่า 6เดือน
โดยแนวงบประมาณใหม่ 1.5 billion Euros ของโครงการนี้จะถูกเพิ่มลงในงบประมาณปี 2017 จึงเป็นที่ตั้งข้อสังเกตว่าเรือคอร์เวต 5ลำดังกล่าถูกดึง งป.มาจากโครงการ MKS 180 และเป็นการเพิ่มขึ้นของงบประมาณกลาโหม
การเปลี่ยนงบประมาณของโครงการ MKS 180 ไปเป็นการจัดหาเรือคอร์เวต K130 ใหม่ 5ลำนี้จะถูกนำเสนอในการประกาศงบประมาณปี 2017 ที่จะมาถึงในเดือนพฤศจิกายนนี้ โดยเรือคอร์เวต 2ลำแรกจะถูกส่งมอบได้ในปี 2019 และอีก 3ลำตามมาในปี 2023

ความล่าช้าไม่ได้เป็นการทำให้โครงการ MKS 180 ถึงจุดจบ แต่ก็หมายถึงว่านั่นจะขึ้นอยู่กับรัฐบาลใหม่และรัฐสภาชุดใหม่ของเยอรมนีจากการเลือกตั้งที่จะมีตามมาในปลายปี 2017 จะเป็นผู้ประเมินโครงการใหม่
Jane's เข้าใจว่าทั้งกองทัพเรือเยอรมนีและกระทรวงกลาโหมเยอรมนีต้องการที่จะคงแผนการจัดหาเรือ MKS 180 จำนวน 4ลำ และทางเลือกจัดหาเพิ่มอีก 2ลำอยู่
โดยแผนการจัดหาเรือคอร์เวต K130 เพิ่มเติมนั้นเป็นความพยายามป้องกันไม่ให้เกิดช่องว่างด้านขีดความสามารถที่เกิดจากความล่าช้าของโครงการ MKS 180 และเป็นการเพิ่มจำนวนเรือให้มากขึ้นในเวลาเดียวกัน
โครงการ MKS 180 MRCS หรือที่เคยมีการเรียกว่า K131 เป็นโครงการจัดหาเรือฟริเกตเอนกประสงค์ระวางขับน้ำราว 5,800tons ขึ้นไป มีกำลังพลประมาณ 180นาย เดิมโครงการมีความต้องการเรือจำนวน 8ลำ แต่ต่อมาลดลงเป็น 6ลำ และเหลือ 4ลำในที่สุด

ปัจจุบันกองทัพเรือเยอรมนีมีเรือคอร์เวตชั้น Braunschweig หรือ K130 ประจำการอยู่แล้ว 5ลำคือ F260 Braunschweig, F261 Magdeburg, F262 Erfurt, F263 Oldenburg และ F264 Ludwigshafen am Rhein เข้าประจำการในช่วงปี 2008-2013
เรือคอร์เวตชั้น Braunschweig มีระวางขับน้ำ 1,840tons ความยาวตัวเรือ 89m ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ดีเซล MTU กำลัง 14.8MW สองเครื่อง ทำความเร็วได้สูงสุด 26knots พิสัยทำการ 4,000nmi ระยะเวลาปฏิบัติการ 21วัน กำลังพลประจำเรือ 65นาย
ระบบอาวุธ ปืนใหญ่เรือ OTO Melara 76/62, ปืนใหญ่กล Mauser BK-27 2กระบอก, อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ RBS-15 Mk.3 4นัด, อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้ RAM 21นัด 2แท่นยิง และเครื่องวางทุ่นระเบิด มีลานจอดและโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ท้ายเรือครับ

วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ภาพเปิดเผยรถถังเบาแบบใหม่สำหรับส่งออกของจีน






Transportation of probably new Chinese Light Tank for export

มีชุดภาพเผยแพร่ในสื่อสังคม Online ของจีนล่าสุดสำหรับภาพรถถังแบบใหม่ที่ใช้ลายพรางลักษณะเดียวกับรถถังหลัก Type 96B กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนในการแข่งขันรถถังนานาชาติ Tank Biathlon 2016 ที่รัสเซียเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งทีมจีนได้ที่สอง
บางแหล่งข่าวของจีนระบุว่ารถถังในภาพที่ปรากฎนี้เป็นรถถังเบาแบบใหม่ที่พัฒนาขึ้นสำหรับส่งออกของ NORINCO สาธารณรัฐประชาชนจีน ที่คาดว่าน่าจะเปิดตัวในงานแสดงอาวุธ Zhuhai Air Show 2016 ที่ Zhuhai, Guangdong ระหว่างวันที่ 1-6 พฤศจิกายนที่จะถึงนี้

ยังมีไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจนออกมาในขณะนี้แต่ถ้าดูจากภาพ รถถังเบาดังกล่าวน่าจะมีพื้นฐานมาจากรถถังเบา ZTQ ของ NORINCO ซึ่งพัฒนาขึ้นทดแทนรถถังเบา Type 62 เพื่อใช้งานในภูมิประเทศภูเขาสูงแถบทิเบต หรือพื้นที่ดินโคลนอ่อนและทุ่งนาทางมณฑลตอนใต้ของจีน
โดยรถถังเบาแบบดังกล่าวน่าจะมีน้ำหนักรถประมาณ 35tons ติดเกราะวัสดุผสมและเกราะปฏิกิริยาแรงระเบิด ERA(Explosive Reactive Armour) ที่แคร่รถฐานและป้อมปืน  มีกล้องเล็งสำหรับพลยิงและกล้อง Panoramic สำหรับผู้บังคับการรถที่ทันสมัย
ระบบอาวุธน่าจะเป็นปืนใหญ่รถถังขนาด 105mm ที่มีพื้นฐานลอกแบบจากปืนใหญ่รถถัง L7 อังกฤษที่ใช้ในรถถังหลัก Type 80/Type 88(ปถ.ลำกล้องเกลียว Type 83 105mm), ปืนกลร่วมแกน 7.62mm และป้อมปืนใหญ่กล Remote Weapon Station 12.7mm ครับ

วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2559

โปแลนด์อาจจะเลือกจัดหาเรือดำน้ำแบบ A26 จาก Saab สวีเดน

Poland Likely to Award Sub Deal to Saab
Polish Defence Ministry is most likely to purchase three A26-class submarines from Sweden’s Saab. (Photo Credit: Saab)
http://www.defensenews.com/articles/poland-to-award-sub-deal-to-saab

จากกรณีที่รัฐบาลโปแลนด์ยกเลิกสัญญาการจัดหาและผลิตเฮลิคอปเตอร์ H225M Caracals กับ Airbus Helicopters ฝรั่งเศส จำนวน 70เครื่อง โดยจะมองทางเลือกการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงแบบอื่นแทน 50เครื่อง
และเลือกที่จะจัดหาเฮลิคอปเตอร์ Sikorsky S-70i Blackhawk สหรัฐฯซึ่งผลิตภายใต้สิทธิบัตรโดย PZL Mielec โปแลนด์จำนวน 20-21เครื่องเพื่อสนับสนุนปฏิบัติการของหน่วยรบพิเศษโปแลนด์นั้น
ทำให้ความสัมพันธ์ด้านอุตสาหกรรมความมั่นคงและการทูตระหว่างฝรั่งเศสและโปแลนด์อยู่ในภาวะขัดแย้งรุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์อื่นๆของทั้งสองประเทศ
โดยตอนนี้ทางประธานาธิบดีฝรั่งเศส นาย Francois Hollande ได้ยกเลิกการเยือนโปแลนด์ในวันที่ 13 ตุลาคมที่ผ่านมา และทางตัวแทนของโปแลนด์ก็จะไม่ได้รับเชิญเข้าร่วมงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Euronaval 2016 ระหว่างวันที่ 17-21 ตุลาคมที่ Paris ด้วย

ตามข้อมูลจากกระทรวงกลาโหมโปแลนด์ต่อสื่อโปแลนด์ DCNS ฝรั่งเศสที่ส่งเรือดำน้ำแบบ Scropene เข้าแข่งขันนั้นไม่ได้อยู่ในตัวเลือกในโครงการจัดหาเรือดำน้ำใหม่ของกองทัพเรือโปแลนด์วงเงิน 10 billion zloty($2.6 billion) อีกต่อไป
และ ThyssenKrupp Marine Systems(TKMS) เยอรมนีที่เสนอแบบเรือของ Howaldtswerke-Deutsche Werft(HDW) ในเครือของตนที่น่าจะเป็นเรือดำน้ำชั้น U212A/Type 212A ก็มีโอกาสไม่มากนักที่จะชนะการแข่งขัน
นั่นทำให้ดูเหมือนจะมีความเป็นได้มากว่ากระทรวงกลาโหมโปแลนด์อาจจะเลือกจัดหาเรือดำน้ำแบบ A26 จาก Saab Kockums สวีเดนจำนวน 3ลำ
เพื่อทดแทนเรือดำน้ำชั้น Kobben มือสองจากนอร์เวย์ 4ลำ ที่ประจำการมาตั้งแต่ปี 2002 ซึ่งจะปลดประจำการในราวปี 2021 ตามแผนปรับปรุงกองทัพ Orka ของกระทรวงกลาโหมโปแลนด์ครับ

วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2559

อินเดียจะลงนามจัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-400 Triumf อิหร่านรับมอบ S-300 ครบ และตุรกีสนใจจัดซื้อระบบป้องกันภัยทางอากาศจากรัสเซีย

Russia, India to sign deal on S-400 Triumf air defense systems delivery
Marina Lystseva/ITAR-TASS
The agreement will be signed on Saturday, October 15
http://tass.com/defense/906326

นาย Yuri Ushakov ผู้ช่วยประธานาธิบดีรัสเซียได้กล่าวเมื่อวันที่ 13 ตุลาคมที่ผ่านมาว่า อินเดียจะมีการลงนามกับรัสเซียในสัญญาจัดหาระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยไกลแบบ S-400 Triumf ในวันที่ 15 ตุลาคมนี้
"ตามผลการเจรจาระหว่างประธานาธิบดีรัสเซีย Vladimir Putin ของเรา และนายกรัฐมนตรีอินเดีย Narendra Modi จะมีการลงนามข้อตกลงการจัดหาระบบอาวุธปล่อยนำวิถีป้องกันภัยทางอากาศ S-400 Triumf
เช่นเดียวกันกับเอกสารอื่นบางส่วน ซึ่งส่วนของเอกสารจะถูกลงนามหลังประตูที่ปิด" นาย Ushakov ผู้ช่วยประธานาธิบดีปฏิเสธที่จะให้ความเห็นในรายละเอียดข้อตกลง โดยมีการตั้งข้อสังเกตุว่าเอกสารแรกอาจจะมีการลงนามไปก่อนแล้ว

S-400 Triumf เป็นระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยไกลที่ก้าวหน้าที่สุดซึ่งประจำการในกองทัพรัสเซียตั้งแต่ปี 2007
โดยระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-400 สามารถทำลายเป้าหมายอากาศยานและอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนได้ในระยะ 400km และทำลายเป้าหมายขีปนาวุธที่ความเร็ว 4.8km/s ได้ในระยะ 60km
จีนเป็นประเทศแรกที่รัสเซียส่งออกระบบ S-400 เพื่อเข้าประจำการในกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน ซึ่งจีนและรัสเซียได้ลงนามสัญญาจัดหาไปเมื่อฤดูใบไม้ผลิปี 2015 โดยมีรายงานว่าเป็นวงเงินประมาณ $3 billion

นอกจากนี้รัสเซียยังมีแผนที่ลงนามข้อตกลงความร่วมมือในการสร้างเรือฟริเกตแบบ Project 11356 ให้กับกองทัพเรืออินเดีย และจัดตั้งความร่วมมือในการผลิตเฮลิคอปเตอร์ Kamov Ka-226T ในอินเดีย
รวมถึงความร่วมมือด้านความมั่นคงอื่นๆ เช่นความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้าย เศรษฐกิจการค้า และพลังงาน เช่น การพัฒนาโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียและรัสเซียที่สถาปนาการทูตครบรอบ 70ปี
แต่ทั้งนี้ทางรัสเซียก็กังวลที่อินเดียแสดงความไม่พอใจในกรณีที่ กองทัพรัสเซียและกองทัพปากีสถานได้จัดการซ้อมรบร่วมระหว่างกันเป็นครั้งแรกในชื่อ Friendship 2016 ระหว่างวันที่ 26 กันยายน ถึง 10 ตุลาคมที่ผ่านมาที่เขตทหารภาคใต้ของรัสเซียครับ

Russia completes supplies of S-300 air defense systems to Iran
Dmitriy Rogulin/ITAR-TASS
The contract for selling S-300 to Iran was concluded back in 2007 and resumed in 2015
http://tass.com/defense/906269

จากการตอบคำถามต่อสื่อของเจ้าหน้าที่ความร่วมมือด้านเทคนิคทางทหารสหพันธรัฐรัสเซีย รัสเซียได้เสร็จสิ้นการส่งมอบระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-300 ทั้งหมดให้อิหร่านแล้ว "ใช่มันผ่านการจัดส่งครบแล้ว" เจ้าหน้าที่กล่าว
เมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา รัฐมนตรีกลาโหมอิหร่าน Hossein Dehghan กล่าวว่ารัฐบาล Tehran หวังว่าระบบ S-300 จะถูกจัดส่งมาครบภายในหนึ่งเดือน
สัญญาการจัดซื้อระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-300 ระหว่างรัสเซียกับอิหร่านได้เริ่มขึ้นในปี 2007 แต่ถูกระงับในปี 2010 เมื่อรัสเซียปฏิบัติตามมติการคว่ำบาตการขายอาวุธให้อิหร่านของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
และเริ่มต้นใหม่ในฤดูใบไม้ผลิปี 2015 เมื่อประธานาธิบดีรัสเซีย Vladimir Putin ยกเลิกการห้ามขาย S-300 ให้อิหร่าน โดยสัญญามีผลเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2015

S-300 เป็นตระกูลระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยไกลที่พัฒนาโดย NPO Almaz รัสเซีย ซึ่งมีรุ่นพื้นฐานดั้งเดิมรุ่นแรกคือ S-300P
โดยมีรายงานว่าอิหร่านจัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-300 ทั้งหมดจำนวน 4กองพัน แต่ไม่มีการยืนยันระบบที่อิหร่านจัดหาเป็นรุ่น S-300PM1 หรือ S-300PMU2
ระบบ S-300 ถูกพัฒนาเพื่อใช้เป็นระบบป้องกันอากาศยานและอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนสำหรับกองกำลังป้องกันภัยทางอากาศโซเวียต โดยรุ่นต่อมาถูกพัฒนาให้สมารถยิงสกัดกั้นขีปนาวุธได้
S-300 ถูกนำเข้าประจำการในอดีตสหภาพโซเวียตในปี 1979 เพื่อเป็นระบบป้องกันภัยทางอากาศในพื้นที่โรงานอุตสาหกรรมและภาคการบริหารขนาดใหญ่, ฐานทัพ และควบคุมห้วงอากาศต่อต้านการถูกโจมตีจากอากาศยานข้าศึกครับ

Turkey 'positive' about puchasing Russian air defense systems — official
Dmitriy Rogulin/ITAR-TASS
Erdogan's representative explained that Turkey might be prepared to sign an agreement with the country that proves capable of meeting its demand for air defense systems
http://tass.com/world/906490

นาย Ibrahim Kalyn โฆษกประธานาธิบดีตุรกีให้ข้อมูลต่อสื่อเมื่อวันที่ 14 ตุลาคมที่ผ่านมาว่า ตุรกีและรัสเซียกำลังหารือเพื่อสร้างแนวทางความร่วมมือในกรอบเทคนิคทางทหารร่วมกัน
โดยความร่วมมือทั้งสองประเทศนี้มีขึ้นจากการเยือน Istanbul ของประธานธิบดีรัสเซีย นาย Vladimir Putin และประธานาธิบดีตุรกี Recep Tayyip Erdogan เมื่อวันที่ 10 ตุลาคมที่ผ่านมา
"การเจรจาที่ Istanbul ได้สร้างความสำเร็จของข้อตกลงในการพัฒนาความร่วมมือกับรัสเซียด้านอุตสาหกรรมความมั่นคง หน่วยงานที่เกี่ยวกำลังทำรายละเอียดอยู่ ภาคส่วนอุตสาหกรรมความมั่นคงของตุรกีกำลังพูดคุยกับคู่ค้ารัสเซียเกี่ยวกับแนวทางความร่วมมือ" นาย Kalyn กล่าว
โฆษกประธานาธิบดีตุรกีได้ถูกซักถามถึงความเป็นไปได้ที่ตรุกีจะจัดซื้่อระบบป้องกันภัยทางอากาศพิสัยไกลจากรัสเซีย "ตามหลักการเรามีความเห็นเชิงบวกในเรื่องนี้" เขาตอบ
นาย Kalyn เสริมว่า เมื่อมีความมั่นคงของชาติเป็นเดิมพันตุรกีควรจะเตรียมตัวในโต๊ะเจรจาที่จะมาถึง และลงนามข้อตกลงกับประเทศที่สามารถพิสูจน์ความสามารถที่ตรงความต้องการสำหรับระบบป้องกันภัยทางอากาศ

ก่อนหน้านี้ในเดือนกันยายนปี 2013 ตุรกีได้เลือกข้อเสนอในการจัดหาระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยไกลแบบ FD-2000 จาก China Precision Machinery Export-Import Corp(CPMEIC) สาธารณรัฐประชาชนจีน
ซึ่ง FD-2000 เป็นรุ่นส่งออกของอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ HQ-9(มีพื้นฐานจาก S-300 รัสเซีย) ที่ประจำการในกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน พร้อมการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตในตุรกีจากจีน
แต่จากการที่ NATO กังวลว่าการจัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศจากจีนของตุรกี จะทำให้จีนสามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญของระบบป้องกันภัยทางอากาศ NATO ได้ ทำให้ตุรกีต้องกลับมาพิจารณาถึงตัวเลือกระบบที่มีความเข้ากันได้อยู่แล้วจากผู้แข่งขันอีกสองรายคือ
Patriot จากบริษัท Raytheon และ Lockheed Martin สหรัฐฯ และ Eurosam SAMP/T จาก MBDA ฝรั่งเศสและ Thales Group ยุโรป ซึ่งพัฒนามาจากอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ Aster 30 ที่ใช้กับเรือผิวน้ำ
มีข้อมูลว่ารัสเซียได้เสนอระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ S-300VM หรือ Antey-2500 จากบริษัท Almaz-Antey รัสเซีย โดยทางตุรกีต้องการการถ่ายทอดเทคโนโลยีสำหรับการผลิตร่วมในประเทศตนครับ

Russia may consider delivering air defense systems to Turkey
Grigory Sysoyev/TASS
The Kremlin spokesman confirmed that "various air defense systems were mentioned" during the negotiations
http://tass.com/politics/906527

ด้านโฆษกประธานาธิบดีรัสเซีย นาย Dmitry Peskov ก็ได้แถลงยืนยันเมื่อวันที่ 14 ตุลาคมที่ผ่านเช่นกันว่า รัฐบาลรัสเซียอาจจะพิจารณาส่งมอบระบบป้องกันภัยทางอากาศให้ตรุกี
"ที่จริงแล้วหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือทางทหารและทางเทคนิคนั้นอยู่ในวาระการประชุมติดต่อระหว่างประธานาธิบดี Putin และประธานาธิบดี Erdogan โดยมีระบบป้องกันภัยทางอากาศหลายแบบได้ถูกกล่าวถึง
ถ้าทางตุรกีแสดงถึงความต้องการรัสเซียก็อาจจะพิจารณาความเป็นไปได้ในการส่งมอบระบบแก่ตุรกีโดยมีการปรับเปลี่ยนในหลายอย่างสำหรับพวกเขา แต่นี่เป็นปัญหาในเชิงพาณิชย์อย่างเดียวที่เป็นพื้นที่อ่อนไหวมากของความร่วมมือ" นาย Peskov กล่าว

ก่อนหน้านี้โฆษกรัฐบาล Kremlin ได้กล่าวว่าประธานาธิบดี Putin และประธานาธิบดี Erdogan ไม่ได้มีการหารือร่วมกันในหัวข้อการสร้างระบบป้องกันภัยทางอากาศร่วมกัน
ซึ่งผู้นำรัสเซียได้กล่าวต่อสื่อหลังการประชุมเมื่อวันที่ 10 ตุลาคมที่ผ่านมาว่ารัสเซียพร้อมที่จะเดินหน้าการพูดคุยกับตุรกีในกรอบความร่วมมือทางทหารและเทคนิคที่เต็มไปด้วยโครงการสำคัญที่มีความสนใจร่วมกัน
โดยประธานาธิบดี Putin กล่าวว่าข้อเสนอสำหรับทั้งสองฝ่ายกำลังอยู่ระหว่างการเริ่มการศึกษาและทั้งหมดยังอยู่ในช่วงตั้งต้นการดำเนินการครับ

วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559

รัสเซียกำลังพัฒนารถยนต์บรรทุกหุ้มเกราะ Typhoon-VDV สำหรับหน่วยพลร่ม และยูเครนเปิดตัวรถหุ้มเกราะล้อยาง BKM และยานยนต์รบไร้คนขับ Phantom




Kamaz K4386 Typhoon-VDV 4x4 armoured vehicle for Russian airborne troops in Testing.(bmpd.livejournal.com)
http://bmpd.livejournal.com/2175630.html


KamAZ รัสเซียหนึ่งผู้ผลิตรถยนต์บรรทุกรายหลักในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์รัสเซียกำลังพัฒนารถยนต์บรรทุกหุ้มเกราะ 4x4 แบบ K4386 Typhoon-VDV สำหรับกองกำลังพลร่มกองทัพรัสเซีย(VDV: Russian Airborne Troops)
Typhoon-VDV พัฒนาโดยบริษัท OJSC ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ KamAZ มีพื้นฐานมาจากรถบรรทุกหุ้มเกราะ K53949 Typhoon-K 4x4 ที่เปิดตัวไปเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการพัฒนารถบรรทุกหุ้มเกราะตระกูล Typhoon หลายรูปแบบของ KamAZ และ Ural รัสเซีย(UralAZ)
โดยรถบรรทุกหุ้มเกราะ K4386 Typhoon-VDV ถูกพัฒนาภายใต้สัญญาจากกระทรวงกลาโหมรัสเซียสำหรับการจัดหารถหุ้มเกราะล้อยาง 4x4 แบบใหม่สำหรับหน่วยพลร่มรัสเซีย
ซึ่งมีการสร้างรถต้นแบบขึ้นมาสองคันในระยะเวลาน้อยกว่า 6เดือน ซึ่งจะเริ่มการทดสอบเบื้องต้นภายในสิ้นปี 2016นี้ และคาดว่าจะเสร็จสิ้นการทดสอบภาคสนามขั้นแรกตามความต้องการของหน่วยพลร่มรัสเซียภายในสิ้นปี 2018

รถบรรทุกหุ้มเกราะ Typhoon-VDV มีน้ำหนักรถ 11tons ติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซลกำลัง 350HP พร้อมระบบส่งกำลังอัตโนมัติ ทำความเร็วบนถนนได้สูงสุด 105km/h มีพิสัยทำการไกลสุด 1,200km
ตัวรถหุ้มเกราะป้องกันระดับมาตรฐาน NATO STANAG 4569 Level 3 ป้องกันการยิงด้วยกระสุนเจาะเกราะขนาด 7.62x51mm NATO และทนต่อการถูกโจมตีด้วยทุ่นระเบิดต่อสู้รถถังขนาด 8kg ได้
รถหุ้มเกราะ Typhoon-VDV สามารถบรรทุกกำลังพล(รวมพลขับ)ได้ระหว่าง 6-8นาย ซึ่งรถถูกออกแบบให้สามารถทำการส่งทางอากาศโดยการทิ้งร่มจากเครื่องบินลำเลียงได้
ระบบอาวุธของ Typhoon-VDV ติดตั้งป้อมปืนหุ้มเกราะประกอบด้วยปืนใหญ่กล 2A72 ขนาด 30mm และปืนกลร่วมแกน PKTM ขนาด 7.62x54Rmm พร้อมเครื่องยิงระเบิดควัน 6ท่อยิงที่ป้อมปืนครับ





Ukrainian Azov BKM 4x4 armoured vehicle personnel carrier
http://dambiev.livejournal.com/533327.html

ในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์และความมั่นคง Arms and Security 2016 ซึ่งจัดขึ้นที่ Kiev ระหว่างวันที่ 11-14 ตุลาคมนั้น
บริษัท Azov ยูเครนได้เปิดตัวรถหุ้มเกราะลำเลียงพลล้อยาง 4x4 แบบ BKM ซึ่งมีพื้นฐานมาจากรถหุ้มเกราะล้อยาง BRDM-2 สมัยอดีตสหภาพโซเวียตแต่นำมาออกแบบใหม่กว่าร้อยละ 85
Azov ได้ออกแบบและพัฒนารถหุ้มเกราะล้อยาง BKM ต้นแบบเสร็จสิ้นภายในเวลาน้อยกว่า 3เดือนและมีแผนจะนำไปทำการทดสอบสมรรถนะในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

รถหุ้มเกราะล้อยาง BKM มีการออกแบบตัวถังรถใหม่ให้ยาวขึ้น โดยมีประตูข้างซ้ายและขวาด้านละหนึ่งประตูและประตูท้ายรถขนาดใหญ่เปิดทางด้านขวาเพิ่ม มีกล้อง Periscope กลางวันรอบตัวรถ และช่องยิงอาวุธจากภายในรถ
BKM มีน้ำหนัก 8tons ใช้ตัวถังใต้ท้องรถแบบ V-Shaped สามารถป้องกันการถูกยิงจากกระสุนปืนเล็กขนาด 7.62mm และทุ่นระเบิด สามารถเพิ่มเกราะเสริมกันกระสุนขนาด 12.7mm ได้ มีกำลังพลประจำรถ 3นาย บรรทุกทหารได้ 6นาย
BKM ใช้เครื่องยนต์ดีเซลของ General Motors กำลัง 215HP ทำความเร็วบนถนนได้สูงสุด 100km/h เคลื่อนที่ขณะลอยตัวในน้ำด้วยความเร็ว 10-12km/h โดยใช้สองใบพัดด้านท้ายรถซึ่งพับเก็บเข้าไปในตัวรถได้ถ้าไม่ใช้งาน ปีนที่ลาดชั้นได้สูงสุด 30องศา ปีนที่ลาดเอียงได้สุงสุด 25องศา ข้ามคูได้กว้างสุด 1.5m พิสัยทำการไกลสุด 650km
รถหุ้มเกราะล้อยาง BKM เปลี่ยนระบบอาวุธประจำรถจากปืนกลหนัก KPVT 14.5mm เป็นป้อมปืนกลหนัก KT-12.7(NSVT) ขนาด 12.7mm กระสุน 400นัด พร้อมปืนกลร่วมแกน KT-7.62(PKT) ขนาด 7.62x54Rmm กระสุน 1,500นัด และเครื่องยิงระเบิดควัน 4ท่อยิงครับ


Ukrainian Phantom 6x6 Unmanned Combat Ground Vehicle at Arms and Security 2016
https://www.facebook.com/ukroboronprom/posts/1004880226302040
https://www.facebook.com/ukroboronprom/posts/1005429709580425
https://www.facebook.com/ukroboronprom


ในงานแสดงยุทโธปกรณ์ความมั่นคง Arms and Security 2016 เช่นกัน Ukroboronprom รัฐวิสาหกิจด้านอุตสาหกรรมความมั่นคงยูเครนก็ได้จัดแสดงระบบยานยนต์รบไร้คนขับแบบ Phantom ในงานซึ่งเคยมีการเปิดตัวไปเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา
Phantom UGV(Unmanned Ground Vehicle) พัฒนาโดย SpetsTehnoEksport ในเครือ Ukroboronprom เป็นยานยนต์ไร้คนขับทางยุทธวิธี 6x6 ที่ถูกออกแบบมาตามแนวคิดสงครามยุคอนาคต
ยานยนต์ไร้คนขับ Phantom สามารถปฏิบัติการโดยใช้สถานีควบคุมจากระยะไกลบนรถหุ้มเกราะล้อยาง Dozor-B 4x4 ผ่านสัญญาณวิทยุเข้ารหัสได้ไกลสุด 20km หรือผ่านสาย Fiber Optic ยาว 5km โดยใช้เครื่องยนต์ Hybrid กำลังขับ 30kw ทำความเร็วได้สูงสุด 38km/h
Phantom 6x6 สามารถบรรทุกสัมภาระได้หนักสุด 350kg ซึ่งรวมถึงทหารที่ได้รับบาดเจ็บเพื่อส่งกลับทางสายแพทย์ มีไฟฉายและกล้องตรวจการณ์กลางวัน/กลางคืนเห็นได้ในระยะ 2km/1km และป้อมปืน Remote สำหรับปืนกลหนัก KT-12.7(NSV) ขนาด 12.7x108mm ครับ