วันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560

สรุปความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๕๙

Thailand looks to China to develop defence production facility
http://www.janes.com/article/66250/thailand-looks-to-china-to-develop-defence-production-facility

NORINCO to demonstrate VT4(MBT-3000) Main Battle Tank at Zhuhai Air Show 2016, 1-6 November 2016

รองนรม.และรมว.กห.ได้เดินทางเข้าเยี่ยมคำนับ พล.อ.ฉาง ว่านฉวน รมว.กห.สปจ. ณ กระทรวงกลาโหม โดยได้รับการต้อนรับด้วยมิตรภาพที่คุ้นเคยกันดีอย่างอบอุ่นยิ่ง 
ทั้งสองฝ่ายได้หารือร่วมกันถึง การขยายความร่วมมือทางทหารระหว่างสองประเทศให้มีขอบเขตครอบคลุมความร่วมมือด้านต่างๆให้มากขึ้น

โดย พล.อ.ประวิตรฯ รองนรม.และรมว.กห. เสนอความเป็นไปได้ถึงความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ที่ประสงค์ให้จีนสนับสนุนการจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมซ่อมสร้างยุทโธปกรณ์ทางทหารในไทย 
พร้อมทั้งถ่ายทอดเทคโนโลยีและขีดความสามารถในการพัฒนาและดูแลอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ผลิตในจีนที่มีประจำการในประเทศไทย และภูมิภาค 
พร้อมกับ เชิญชวนและเสนอให้จีน พิจารณาความพร้อมในการเข้าร่วมฝึก Cobra Gold ผ่านความร่วมมือด้านการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ และความร่วมมือทางการแพทย์ทหาร 
ขณะเดียวกันได้แสดงถึงความพร้อมของกห.ไทย ที่จะทำหน้าที่ร่วมกับจีนในฐานะประธานร่วมคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านการต่อต้านการก่อการร้ายภายใต้กรอบการประชุมรมว.กห.อาเซียนและรมว.กห.ประเทศคู่เจรจาในวงรอบ ปี 60-62

พล.อ.ฉาง ว่านฉวน รมว.กห.สปจ.ได้กล่าวแสดงความขอบคุณและพร้อมสนับสนุนให้กองทัพของทั้งสองประเทศ แลกเปลี่ยนความร่วมมือทางทหารในสาขาต่างๆให้มากขึ้น โดยเสนอให้มีการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน 3 ประการ ประกอบด้วย 
1) ความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับต่างๆ 2) ความร่วมมือในการฝึกร่วม ทั้งทวิภาคี ไตรภาคีและพหุภาคี 3) ความร่วมมือกันด้านการป้องกันประเทศ พร้อมทั้งแสดงท่าทีเชิงบวกและการสนับสนุนอย่างเต็มที่ต่อข้อเสนอของไทยทุกเรื่อง 
โดยเฉพาะการจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมซ่อมสร้างยุทโธปกรณ์ทางทหารในไทย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่ออาวุธยุทโธปกรณ์ที่ผลิตในจีน ที่มีประจำการในไทยและภูมิภาค 
โดยทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะจัดตั้งคณะทำงาน ประสานงานและทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด ผ่านกลไกทางการทูตทหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=551917518348416&id=304086039798233
https://www.facebook.com/โฆษกกระทรวงกลาโหม-304086039798233/

ช่วงวันที่ ๑๒-๑๓ ธันวาคมที่ผ่านมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมไทย พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ และคณะซึ่งมีตัวแทนจากกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และตำรวจได้เดินทางเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน
โดยหัวข้อการพูดคุยหารือร่วมกันระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีนหลายเรื่องในการเยือนครั้งนี้นั้น เฉพาะส่วนที่เกี่ยวของกับการจัดหายุทโธปกรณ์หลักน่าจะมีเรื่องโครงการจัดหารถถังหลัก VT4(MBT-3000) ของกองทัพบกไทย และโครงการจัดหาเรือดำน้ำ S26T ของกองทัพเรือไทย
รวมถึงการหารือด้านความร่วมมือด้านอุตสากรรมความมั่นคงของทั้งสองประเทศ ในความเป็นไปได้ที่จีนจะสนับสนุนการจัดตั้งโรงงานซ่อมบำรุงและสร้างอาวุธโธปกรณ์โดยการถ่ายทอด Technology ให้กับไทย

ทั้งนี้เองมองว่าความเป็นไปได้ในในความร่วมมือการจัดตั้งโรงงานศูนย์ซ่อมบำรุงอาวุธยุทโธปกรณ์ของจีนในไทยใน มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้กองทัพไทยสามารถซ่อมบำรุงรักษาดูแลยุทโธปกรณ์ที่จัดหาจากจีนได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้น
ซึ่งที่ผ่านมายุทโธปกรณ์ที่จัดหาจากจีนในแต่ละเหล่าทัพโดยเฉพาะกองทัพบกนั้นส่วนหนึ่งเป็นระบบรุ่นเก่าที่เมื่อกองทัพไทยใช้งานไปนานหลายปีแล้วกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนเองก็เลิกใช้
หรือเป็นยุทโธปกรณ์รุ่นส่งออกที่เมื่อผ่านไปนานหลายปีแล้วจีนก็ยกเลิกสายการผลิตรวมถึงชิ้นส่วนในการซ่อมบำรุง ทำให้ไทยไม่มีอะไหล่ที่จะซ่อมบำรุงรักษาจนเมื่ออาวุธยุทโธปกรณ์แบบนั้นเสื่อมสภาพก็ต้องปลดประจำการในที่สุด
(ตัวอย่างที่ดีคือรถถังหลัก ถ.๓๐ Type 69-II ที่กองทัพบกไทยจัดหาจากจีนในราคาถูกพิเศษ แต่ติดเงื่อนไขจากจีนในเรื่องการคงคลังชิ้นส่วนอะไหล่และการบำรุงรักษาอื่นๆ
ทำให้เมื่อกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนเลิกใช้รถถังรุ่นนี้แล้ว กองทัพบกก็มีปัญหาในบำรุงรักษาจนต้องปลดประจำการในไทยสุด ขณะที่ประเทศที่ใช้รถถังจีนรุ่นที่เก่ากว่าไทยอย่าง Type 59M กองทัพบกพม่ายังได้รับการปรับปรุงและใช้งานได้อยู่)

ในส่วนการพัฒนาสร้างอาวุธยุทโธปกรณ์เองของไทยกับจีนอาจจะต้องดูเป็นกรณีๆไปอย่างโครงการจรวดหลายลำกล้อง DTI-1 และจรวดหลายลำกล้องนำวิถี DTI-1G ที่สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป.(DTI: Defence Technology Institute) ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากจีน
แต่การคาดหวังว่าจะถึงขั้นสร้างรถถังหลัก VT4 ในไทยได้เองคงจะยังไม่น่าจะถึงขั้นนั้นในอนาคตอันใกล้ เพราะความเป็นไปได้ที่น่าจะตั้งเป้าไว้คือการที่ไทยจะเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงอาวุธจีนในภูมิภาคนี้(ซึ่งในภาพรวมทั้งหมดนั้นดูแล้วทางจีนจะได้ประโยชน์เต็มๆ)
โดยโครงการความร่วมมือในการผลิตยุทโธปกรณ์ในไทยอย่างที่ยูเครนเสนอให้เปิดสายการผลิตรถหุ้มเกราะล้อยาง BTR-3E1 ในไทยนั้น ก็มีการพูดคุยมานานแล้วแต่ยังไม่เห็นผลเป็นรูปธรรมในตอนนี้
การจะบอกว่าไทยเราจะสร้างรถถังหลักหรือแม้แต่เรือดำน้ำในไทยได้เองโดยความช่วยจากจีนนั้นอาจจะเป็นการกล่าวที่ดูเกินไปไม่ตรงกับความเป็นจริง

Thailand commits to accelerating defence industrial development in 2017
http://www.janes.com/article/66607/thailand-commits-to-accelerating-defence-industrial-development-in-2017

อย่างไรก็ตามในการสัมนาเชิงปฏิบัติการแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศที่เป็นรูปธรรมในปี ๒๕๖๐(2017) ซึ่งมี พลเอก อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธีเปิดนั้น
กระทรวงกลาโหมมีแนวคิดนโยบายที่จะผลักให้มีการจัดตั้งโรงงานผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ในพิ้นที่ของกองทัพ(กำลังศึกษาเช่นพื้นที่นครสวรรค์ หรือสัตหีบ ชลบุรี) และกำหนดแบบการกระจายงานให้ภาคเอกชนในการออกแบบผลิตยุทโธปกรณ์
โดยผลักดันให้ไทยสามารถผลิตชิ้นส่วนอะไหล่สำหรับยุทโธปกรณ์ที่มีใช้งานจำนวนมากได้เอง พัฒนาออกแบบและเปิดสายการผลิตอาวุธของคนไทย และส่งเสริมอุตสาหกรรมความมั่นคงในประเทศทั้งใช้เองและส่งออก
นี่น่าเป็นเรื่องดีในระยะยาวที่เราจะมีแผนนโยบายในการผลักดันเรื่องอุตสาหกรรมความมั่นคงนี้อย่างชัดเจน ซึ่งก็ต้องติดตามความคืบหน้ากันต่อไปครับ

M142 High Mobility Artillery Rocket System(HIMARS) 227mm wheeled Self-Propelled Multiple Rocket Launcher(wikipedia.org)

มีข่าวล่าสุดเกี่ยวกับโครงการจัดหาเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องอัตตาจร HIMARS ขนาด 227mm ๖ท่อยิง จากสหรัฐฯซึ่งมีข่าวว่ากองทัพบกไทยสนใจจะจัดหามาแล้วหลายปีก่อนหน้านี้แต่ก็ไม่มีการจัดหาเสียที
ล่าสุดระบุว่าตัวแทนบริษัทที่อยู่ในโครงการจัดหา คจลก.HIMARS จะขยายระยะเวลาโครงการออกไปเป็นในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๑-๒๕๖๒(2018-2019)
ซึ่งถ้ามีการจัดหามาได้จริงกองทัพบกไทยจะเป็นประเทศที่สองใน ASEAN ที่จัดหา HIMARS มาใช้ต่อจากกองทัพบกสิงคโปร์ที่มีประจำการอยู่ ๑๘ระบบ
แต่ทั้งนี้การขยายระยะเวลานั้นมีผู้อธิบายว่า ถ้ามีการเสนอโครงการมาแต่ยังไม่ได้รับการอนุมัติบรรจุลงแผน งป.ปีใดก็จะขยายระยะเวลาไปเรื่อยๆไม่ก็ปิดโครงการไป ซึ่งก็ต้องรอดูกันต่อไปครับว่าจะจัดหา HIMARS ได้จริงหรือจะเงียบหายไปอีกครั้งครับ

Royal Thai Army's Elbit Systems ATMG(Autonomous Truck Mounted Gun) 155mm/39caliber Self-Propelled Howitzer 6x6 at Factory in Thailand

อีกข่าวคือความคืบหน้าโครงการจัดหาปืนใหญ่อัตตาจรล้อยางแบบ ATMG(Autonomous Truck Mounted Gun หรือ ATMOS 2000) ขนาด 155mm/39caliber ของกองทัพบกไทยจากบริษัท Elbit Systems อิสราเอล
ซึ่งหลังจากการจัดหาระยะแรกที่ ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ศอว.ศอพท. ได้รับการถ่ายทอด Technology จากอิสราเอลในการสร้าง ป.อัตตาจร ATMG ระยะที่๑ จำนวน ๖ระบบในไทย
ล่าสุดขณะนี้โครงการจัดหาปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง ATGM 155mm ระยะที่๒ จำนวน ๖ระบบ วงเงินประมาณ ๘๖๐ล้านบาท ได้เริ่มต้นแล้ว โดยกองทัพบกมีความต้องการปืนใหญ่อัตตาจรล้อยางเพิ่ม ๑๒ระบบ(สองกองร้อยปืนใหญ่) +๒ระบบ(น่าจะเป็นต้นแบบศึกษา) รวม ๑๔ระบบ 
ถ้ารวมกับปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง Caesar 155mm/52caliber ของ Nexter ฝรั่งเศสที่กองทัพบกจัดหามาประจำการใน กองพันทหารปืนใหญ่ที่๗๒๑ กองพลทหารปืนใหญ่ จะทำให้กองทัพบกมีปืนใหญ่อัตตาจรล้อยางรวมทั้งหมด ๒๐ระบบครับ 

Royal Thai Army M109A5 155mm Self-Propelled Howitzer Rebuild Team

ด้านปืนใหญ่อัตตาจรอีกแบบคือปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน ปกค.๓๗ M109A5 และรถสายพานบรรทุกกระสุน M992A1 ซึ่งปัจจุบันประจำการที่ กองพันทหารปืนใหญ่ที่๑๒ รักษาพระองค์ กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ นั้น
ก็มีเอกสารข้างต้นออกมาว่าในวันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๙(2016) ว่าจะดำเนินการปรับปรุง ป.อจ.M109A5 ๑๐หน่วยยิง(๑๐ระบบ) และรถจ่ายกระสุน M992A1 ๑๐คันครับ

Royal Thai Army Mi-17V5 at Chiang Mai International Airport

เอกสารของกองจัดหา กรมการขนส่งทางบกในข้างต้นระบุ โครงการจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปขนาดหนัก จำนวน ๒เครื่อง พร้อมเครื่องช่วยติดเครื่องยนต์, อุปกรณ์เพิ่มเติม, ชิ้นส่วนซ่อมควบคู่, เครื่องมือซ่อมบำรุงบริภัณฑ์ภาคพื้น และคู่มือ วงเงิน $48,540,558.23 หรือ ๑,๖๙๘,๙๑๙,๕๓๙ล้านบาท จากรัสเซีย วันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๙(2016)
ตรงนี้เข้าใจว่าน่าจะเป็นการสั่งจัดหาเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๑๗ Mi-17V5 เพิ่มเติมอีก ๒เครื่องซึ่งปัจจุบัน กองพันบินที่๔๑(กองบินสนับสนุนทั่วไปเดิม) ศูนย์การบินทหารบก มี Mi-17V5 ประจำการอยู่แล้ว ๕เครื่อง
อีกส่วนคือการจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ระหว่างไทยกับรัสเซียนั้นใช้เงิน Dollar เหรียญสหรัฐฯในการซื้อไม่ได้ใช้เงิน Ruble รัสเซียครับ 

Royal Thai Army Leonardo-Finmeccanica AgustaWestland AW149 first flight at Italy
Photos strictly Copyright 2016 Marco Bianchi and reproduced here with permission(http://helihub.com/2016/12/09/exclusive-royal-thai-army-buys-aw149-and-six-aw139s/)

มีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปขนาดกลางแบบที่๒ ฮ.ท.๑๔๙ AW149 ว่ามีการทำสัญญาจัดหาตั้งแต่วันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๙ จัดหา ฮ.AW149 จำนวน ๕เครื่อง วงเงิน ๓,๕๔๘ล้านบาท ส่งมอบภายในปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017)  
ฮ.ท.๒ หรือ ฮ.ท.๑๔๙ AW149 นี้จะถูกนำมาใช้งานเป็นเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงทางยุทธวิธีแทน ฮ.ท.๑ UH-1H ที่ประจำการมานานกว่า ๔๐ปี ซึ่งไม่มีสายการผลิตอะไหล่มานานหลายปีแล้วจำเป็นต้องปลดประจำการหาอากาศยานแบบใหม่ทดแทน
โดย AW149 สามารถติดอาวุธเช่นปืนกล 7.62mm หรือเสริมด้วยกระเปาะจรวด 70mm และกระเปาะปืนกลหนักอากาศ 12.7mm หรือกระเปาะปืนใหญ่อากาศ 20mm ได้(แต่เข้าใจว่าเบื้องต้นน่าจะติดแค่ ปก.7.62mm ยิงจากข้างประตูเหมือน ฮ.ท.๖๐ UH-60L/UH-60M)
ซึ่งนอกจากเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๑๓๙ AW139 ชุดใหม่ ๖เครื่องที่จะเข้าประจำการในกองพันบินที่๑(กองบินปีกหมุนที่๑ เดิม) ศูนย์การบินทหารบกแล้ว กองทัพบกก็จะได้รับมอบเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๑๔๕ Airbus Helicopters H145 ใหม่ ๖เครื่องด้วยครับ

Conventional Submarine model of China Shipbuilding Industry Corporation(CSIC) and China Shipbuilding & offshore International(CSOC) at Ship Tech.III 2016 (My Own Photo)

เฉพาะในส่วนของโครงการจัดหาเรือดำน้ำแบบ S26T ตามที่ได้รายงานไปว่าทางกระทรวงกลาโหมไทยและกองทัพเรือไทยจำเป็นที่จะต้องเจรจารายละเอียดข้อตกลงกับจีนใหม่
เนื่องจากหลังที่ทางสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สนช.ได้อนุมัติแผนงบประมาณปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017) สำหรับโครงการจัดหาเรือดำน้ำของกองทัพเรือที่วงเงิน ๗๐๐ล้านบาท ซึ่งต้องรอให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติงบประมาณผูกพันข้ามปีในส่วนที่เหลือนั้น

จากเอกสารการจัดซื้อจัดจ้างของศูนย์ข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างและราคากลางกองทัพเรือเรื่อง โครงการจัดหาจัดหาเรือดำน้ำ ในลักษณะรัฐบาลต่อรัฐบาล หน่วยงานเจ้าของโครงการคือกองทัพเรือไทยนั้น
ระบุรายละเอียดในส่วนการจัดหาเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าแบบ S26T จำนวน ๑ลำ(ลำที่๑) พร้อมระบบอาวุธและส่วนสนับสนุน อะไหล่ และสิ่งอุปกรณ์ประจำเรือ เอกสาร การทดสอบทดลอง น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่น การฝึกอบรมและการถ่ายทอด Technology
การตรวจรับ การส่งมอบ และพิธีกรรมต่างๆ รวมทั้งการบริการที่เกี่ยวข้อง โดยเป็นราคายกเว้นค่าอากรทางศุลกากรแต่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีอากรอื่นๆ ค่าขนส่ง และค่าใช้จ่ายอื่นๆทั้งปวงแล้ว วงเงินรวม ๑๓,๕๐๐ล้านบาท กำหนดราคากลางวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๙(2016) ยื่นซองประมูลภายในวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๐(2017)

การที่กระทรวงกลาโหมและกองทัพเรือต้องการจะจัดหาเรือดำน้ำ S26T ขั้นต้นระยะที่๑ เพียง ๑ลำ แทนที่จะจะจัดหาที่เดียว ๓ลำ วงเงิน ๓๖,๐๐๐ล้านบาทนั้น
ตามที่ได้รายงานไปว่าทางจีนดูจะไม่พอใจความต้องการของทางไทยที่จะสั่งต่อเรือดำน้ำแค่ลำเดียวก่อน เพราะไม่คุ้มค่าในแง่ค่าใช้จ่ายการลงทุนในการสร้างเรือที่งบประมาณรวมต่อการสร้างเรือดำน้ำเพียงลำหนึ่งแทนที่จะเป็นหลายลำพร้อมกันเหมือนโครงการของปากีสถาน
(รายละเอียดโครงการจัดหาเรือดำน้ำของปากีสถานและของไทยนั้น ยังเป็นข้อมูลปกปิดที่ยังไม่มีการเปิดเผยออกมาแต่อย่างใด เราจึงไม่ทราบอะไรมาก)
นั่นก็เป็นเรื่องที่จะต้องมีการพูดคุยกันระหว่างจีนกับไทย เพราะถ้ายังตกลงกันไม่ได้โครงการจัดหาเรือดำน้ำของกองทัพเรือไทยก็ยังจะเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนดอีก ซึ่งทางฝ่ายที่เกี่ยวของกับโครงการของไทยต้องการจะผลักดันให้เรียบร้อยภายในต้นปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017) นี้ครับ

กองทัพเรือ จัดพิธีลงนามข้อตกลงความเข้าใจร่วมกัน (MOU) การพัฒนาอู่เรือแบบยั่งยืนของราชอาณาจักรไทย
วันนี้ (14 ธันวาคม 2559) เวลา 10.00 น. พลเรือเอก นริส ปทุมสุวรรณ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานฝ่ายกองทัพเรือในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการพัฒนาอู่เรือแบบยั่งยืนของราชอาณาจักรไทย 
โดยมี นาวาเอกพิชาเยนทร์ ตันประเสริฐ กรรมการผู้จัดการบริษัทอู่กรุงเทพ จำกัด และ Mr.Hein Van Ameijden บริษัท DAMEN Schelde Naval Shipbuilding จำกัด ร่วมลงนามฯ 
โดยมีพลเรือเอกยุทธนา ฟักผลงาม สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และประธานคณะอนุกรรมการการภพัฒนาพาณิชยนาวีและคมนาคมทางน้ำแห่งชาติ พลเรือโทสุทธินันท์ สกุลภุชพงษ์ เจ้ากรมอู่ทหารเรือ พลเรือตรี สมารมภ์ ชั้นสุวรรณ เจ้ากรมพัฒนาการช่าง กรมอู่ทหารเรือ 
เป็นสักขีพยานในพิธีลงนามฯ ณ ห้องรับรอง กองบัญชาการกองทัพเรือ พระราชวังเดิม

กองทัพเรือ ได้ศึกษาข้อมูล ประสานงาน และประชุมหารือกับอู่เรือในต่างประเทศขนาดใหญ่ 3 ราย ได้แก่ 
DAEWOO Shipbuilding & Marine Engineering CO., LTD. (DSME) ของสาธารณเกาหลี DAMEN Schelde Naval Shipbuilding (DAMEN) ของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ และ Chaina Shipbuilding Industry Corperation (CSIC) ของสาธารณรัฐประชาชนจีน 
โดยที่ผ่านมากองทัพเรือได้มีการจัดทำบันทึกความเข้าใจฯ ร่วมกับบริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด บริษัท DSME จำกัด และ บริษัท ไฮเทค เอเจ โฮลดิ้ง จำกัด (บริษัทผู้แทนในประเทศไทยของบริษัท DSME จำกัด) ในด้านความร่วมมือลักษณะดังกล่าวนี้มาครั้งหนึ่งแล้ว เมื่อ 30 กันยายน 2559
สำหรับการลงนามข้อตกลงความเข้าใจร่วมกัน (MOU) มีวัตถุประสงค์เพื่อความเป็นการร่วมมือกันในการพัฒนาอู่เรือแบบยั่งยืน โดยกองทัพเรือ มอบหมายให้กรมอู่ทหารเรือเป็นหน่วยรับผิดชอบดำเนินโครงการพัฒนาอู่เรือแบบยั่งยืนของราชอาณาจักรไทย 
ซึ่งมุ่งเน้นในการแสวงหาความร่วมมือ เพื่อให้เกิดการพัฒนาขีดความสามารถในการซ่อม สร้าง และดัดแปลงเรือ ของกรมอู่ทหารเรือให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 
ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนากองทัพเรือตามยุทธศาสตร์กองทัพเรือ พ.ศ.2558 - 2567 ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และระบบสนับสนุน และยังช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมการเดินเรือและอู่เรือของไทย ให้ครอบคลุมพื้นที่ปฏิบัติการทั้งฝั่งอ่าวไทย และทะเลอันดามัน 
และสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ของรัฐบาล ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคและมุ่งเน้นการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ที่มา: ข้อมูล กรมอู่ทหารเรือ

ความก้าวหน้าล่าสุดของแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมทางเรือและความมั่นคงทางทะเลของไทยที่กองทัพเรือไทยและกรมอู่ทหารเรือดำเนินการคือ แผนการพัฒนาอู่เรือแบบยั่งยืนของราชอาณาจักรไทย 
ซึ่งมีบริษัทอุตสาหกรรมทางเรือชั้นนำต่างประเทศที่ลงนามความร่วมือกับกองทัพเรือแล้วคือ DSME เกาหลีใต้, DAMEN เนเธอร์แลนด์ รวมกับบริษัทของไทยคือ บริษัทอู่กรุงเทพ(Bangkok Dock) และบริษัท High-Tech AJ Holding และรวมถึง CSIC จีนในอนาคตด้วย
นี่จึงน่าจะเป็นเรื่องที่ดีในระยะยาวสำหรับการพัฒนาขีดความสามารถด้านอุตสาหกรรมความมั่นคงของกรมอู่ทหารเรือและกองทัพเรือไทย ที่มีแผนจะต่อเรือฟริเกตได้เองในประเทศเช่นเดียวกับประเทศในกลุ่มเพื่อนบ้าน ASEAN ที่มีศักยภาพด้านนี้ก่อนไทยแล้ว ทั้ง สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และพม่าครับ

Marsun Shipyard's M58 Patrol Gun Boat Royal Thai Navy HTMS Laemsing class Model at Ship Tech III 2016(My Own Photo)

Thai shipbuilder Marsun plans IPO to support expansion

เรื่องน่ายินดีอีกเรื่องในภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมทางเรือของไทยคือการที่บริษัท Marsun มีแผนจะระดมทุนเข้าตลาดหลักทรัพย์ 
โดยจะขายหุ้นของบริษัทให้ประชาชนที่ไม่เกินร้อยละ๒๕ ของหุ้นทั้งหมดในบริษัทในปี พ.ศ.๒๕๖๑(2018) ซึ่งการระดมทุนครั้งใหม่นี้จะถูกนำไปพัฒนาศูนย์ซ่อมบำรุงและขายอุปกณ์และเครื่องจักรทางเรือที่ภูเก็ตขยายเป็นอู่ต่อเรือต่อไป
โดยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับทางทหารนั้นทาง Marsun ก็มีการพูดคุยกับบริษัท Blohm+Voss ในเครือ ThyssenKrupp Marine Systems(TKMS) ในการถ่ายทอด Technology พัฒนาเรือรบตั้งแต่เรือตรวจการณ์จนถึงเรือฟริเกตในการลงทุนอัตราส่วน 50:50
ปัจจุบันเครื่องบริษัท Marsun นอกจากธุรกิจการต่อเรือพาณิชย์และเรือรบกลุ่มเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง, เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง และเรือตรวจการณ์ปืนแล้ว ทาง Marsun ยังสนใจที่ขยายผลิตภัณฑ์ของตนไปด้านอื่นเช่น ยานไร้คนขับ(Unmanned Vehicles)
บริษัทของไทยนั้นจะมีข้อได้เปรียบด้านราคาแรงงานที่ไม่สูงมากขณะที่มีทักษะสูงแต่ก็ยังขาดในเรื่ององค์ความรู้ด้านวิทยาการระดับสูง ถ้าการดำเนินแผนของทาง Marsun เป็นไปตามที่คาดหวังก็จะเป็นผลดีอย่างมากครับ 

กองบิน ๗ เปิดอบรมระบบอาวุธต่อสู้อากาศยานระยะปานกลาง KS-1C
นาวาอากาศเอก พุทธพงศ์ ผลชีวิน รองผู้บังคับการกองบิน ๗(๒) เป็นประธานเปิดการฝึกอบรม โครงการอบรมระบบต่อสู้อากาศยานระยะปานกลางแบบ KS-1C ณ ห้องประชุมโรงซ่อมอากาศยาน ฝูงบิน ๗๐๑ เมื่อ ๖ ธันวาคม ๒๕๕๙

ตรงนี้ก็ชัดเจนครับว่าระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยกลางแบบ KS-1C ที่จัดหาจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ๑ระบบ ประกอบด้วย Radar, รถฐานยิง ๔คัน หนึ่งฐานยิงมีจรวด ๒นัดในกล่องสี่เหลี่ยม, ลูกจรวด และระบบสนับสนุน มีระยิงยิง 70km
จะไปประจำการที่ กองร้อยทหารต่อสู้อากาศยาน กองพันทหารอากาศโยธิน กองบิน๗ สุราษฎร์ธานี คาดว่าน่าจะมีการส่งมอบในเดือนธันวาคมที่ผ่านมาหรือในต้นปีนี้
เป็นที่ทราบว่าในโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐ Gripen C/D 'Peace Suvarnabhumi' ของกองทัพอากาศไทยนั้น บริษัท SAAB สวีเดนได้มีการปรับปรุงระบบสนับสนุนของกองบิน๗ ในฐานะส่วนหนึ่งของชุดการบูรณาการระบบให้รองรับเครื่องบินขับไล่ Gripen ด้วย
ซึ่งนำทำให้ในช่วงแรกที่มีรายงานความต้องการจัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศประจำกองบิน๗ นั้นระบุว่ามีการเสนอระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศแบบ IRIS-T SLM/SLS ของบริษัท Diehl BGT Defence เยอรมนีซึ่งรองรับการบูรณาการเข้ากับระบบของ SAAB Gripen ได้

Turkmenistan KS-1C Surface to Air Missile durring Independence Day military parade, 27 October 2016(https://www.youtube.com/watch?v=Enqk25paOQQ)

แต่อย่างไรก็ตามการจัดหา KS-1C จีนเพื่อเป็นระบบป้องกันภัยทางอากาศประจำกองบิน๗ ซึ่ง KS-1C เป็นระบบที่ทำงานเอกเทศเฉพาะไม่ได้มีการรับรองความเข้ากันได้กับระบบสนับสนุนพื้นฐานของเครือข่ายป้องกันภัยทางอากาศบูรณาการของ SAAB นั้น
ก็ได้แสดงให้เห็นครับว่าการจัดหายุทโธปกรณ์ของอากาศโยธิน กองทัพอากาศนั้นยังคงมีความสำคัญเป็นอันดับรองลงมาจากอากาศยานซึ่งเป็นกำลังรบหลักของกองทัพอากาศ 
ซึ่งนั่นนำมาสู่ข้อจำกัดด้านงบประมาณในการจัดหาระบบต่อสู้อากาศที่ต้องเลือกจัดหาระบบที่มีประสิทธิภาพต่อราคาในระดับที่ประหยัดงบประมาณมากกว่าครับ

ตรวจเยี่ยมโครงการปรับปรุงขีดความสามารถ บ.ข. ๑๘ ข/ค
พลอากาศโท ภานุพงศ์ เสยยงคะ รองเสนาธิการทหารอากาศ และคณะเดินทางมาตรวจเยี่ยมโครงการปรับปรุงขีดความสามารถ บ.ข.๑๘ ข/ค และ ประชุม Program Menagement Review ครั้งที่ ๗ (PMR 7 ) ณ กองบิน ๒๑ ระหว่างวันที่ ๖-๗ ธันวาคม ๒๕๕๙ 
ในการนี้ นาวาอากาศเอก ฐานันดร์ ทิพเวส ผู้บังคับการ กองบิน ๒๑ ให้การต้อนรับ

Royal Thai Air Force F-5E Tigris with Python-4  

สำหรับความคืบหน้าของโครงการปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ F-5E/F ฝูงบิน๒๑๑ กองบิน๒๑ อุบลราชธานี ซึ่งเป็นฝูงบิน F-5 ฝูงเดียวในปัจจุบันของกองทัพอากาศไทยนั้นก็ยังคงอยู่ในระหว่างการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งในขณะที่หลายประเทศกำลังเริ่มเข้าสู่ขั้นตอนการปลดประจำการ F-5E/F ภายในสิ้นปี 2020 เป็นต้นไปแล้ว แต่ทางกองทัพอากาศไทยน่าจะยังประจำการ บ.ข.๑๘ข/ค ไปอีกหลายปีครับ