วันพฤหัสบดีที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๐-๕



Oplot-T Main Battle Tank at Kharkiv-based Malyshev factory, State Enterprise Ukroboronprom announces delivery plan for next batch of Oplot tanks to Thailand

ทางด้านโครงการจัดหารถถังหลัก Oplot-T จากยูเครนต่อกองทัพบกไทย ทางโรงงาน Malyshev ก็กำลังผลิตรถถังหลัก Oplot ให้กองทัพบกไทยอยู่ ตามที่ปัจจุบัน กองพันทหารม้าที่๒ กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ ได้รับมอบ ถ.หลัก Oplot แล้ว ๒๐คัน 
ทางยูเครนเองได้ข้อมูลต่อสื่อตนว่าภายในปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017) นี้จะส่งมอบรถชุดใหม่ให้กองทัพบกไทยได้ครบ ๒๙คันที่เหลือ ซึ่งรถชุดใหม่ได้มีการขนส่งมาทางเรือเมื่อเร็วๆนี้แล้ว
อย่างไรก็ตามจากภาพข่าวการทำงานของโรงงาน Malyshev ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้นั้นจะเห็นได้ว่างานหลักของโรงงานคือการซ่อมคืนสภาพและปรับปรุงรถถังหลัก T-80 ให้ทันสมัยขึ้นสำหรับกองทัพบกยูเครนเอง
นั่นจึงยังไม่อาจแน่ใจได้ว่าจนถึงปี พ.ศ.๒๕๖๑(2018) แล้ว ยูเครนจะสามารถส่งมอบ ถ.หลัก Oplot ที่เหลือ ๒๙คันให้ครบได้ทั้งหมดจึงหรือไม่ ในขณะที่จีนสามารถส่งมอบรถถังหลัก VT4 ให้กองทัพบกไทยได้เร็วกว่าและจำนวนมากกว่าครับ

VT4 picture show with poem at 6th Carvaly Battalion, 6th Carvaly Regiment Royal, 3rd Cavalry Division, Royal Thai Army

ตามที่มีรายงานจากสำนักข่าว Xinhua ที่อ้างอิงจาก Bangkok Post อีกทีว่ากองทัพบกไทยได้สั่งจัดหารถถังหลัก VT4(MBT-3000) จาก NORINCO สาธารณรัฐประชาชนจีน ในระยะที่๓ อีก ๑๐คันนั้น มีการตรวจสอบแล้วว่ารายงานข่าวนี้ดูจะไม่ตรงกับความจริงครับ
โดยโครงการจัดหารถถังหลัก VT4 ระยะที่๑ จำนวน ๒๘คัน วงเงิน ๔,๙๘๔ล้านบาท ที่ลงนามสัญญาในปี พ.ศ.๒๕๕๙(2016) เพิ่งจะมีส่งตัวแทนเจ้าหน้าที่จาก กรมสรรพาวุธทหารบก ไปดูงานการผลิตที่โรงงาน NORINCO ที่จีนเมื่อราวเดือนเมษายนที่ผ่านมา
ซึ่งเงินในปีงบประมาณ ๒๕๕๙ ของโครงการระยะที่๑ นั้นเพิ่งจ่ายไปได้ร้อยละ๑๕ โดยการจ่ายอีกร้อยละ๔๕ จะเป็นหลังจากที่คณะกรรมการตรวจสอบการผลิตของ สพ.ทบ.เขียนรายงานความคืบหน้าการผลิตเสร็จแล้ว
ส่วนโครงการ ถ.หลัก VT4 ระยะที่๒ อีก ๑๑คัน รวมกับรถกู้ซ่อม ๑คัน และรถบริการจำนวนหนึ่งวงเงิน วงเงินประมาณ ๒พันล้านบาท ในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐(2017) นี้นั้นก็เพิ่งจ่ายเงินในในปีงบประมาณ ๒๕๖๐ ไปได้ร้อยละ๑๕เท่านั้น

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าจากข้อจำกัดด้านค่าใช้จ่ายในแต่ละปีงบประมาณของกองทัพบก การพิจารณาอนุมัติโครงการจัดหารถถังหลัก VT4 ระยะที่๓ นั้นจะต้องเป็นในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๑(2018) หรือปีหน้า
ซึ่งขณะนี้รถถัง VT4 ชุดแรก ๒๘คันยังผลิตไม่เสร็จ ยังไม่มีการตรวจรับมอบที่คาดว่าจะมีในราวเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนนี้ และระยะที่๒ อีก ๑๑คันก็จะตามมาในปีถัดไป ฉะนั้นการที่ Xinhua ระบุว่ากองทัพบกได้ใช้งาน ถ.หลัก VT4 จนเป็นที่พอใจจึงสั่งเพิ่มนั้นจึงไม่น่าจะตรงกับความจริง
อีกทั้งก็มีข้อมูลว่าเหล่าทหารม้ากองทัพบกไทยมีแผนจะปรับอัตราจัดกำลัง กองพันทหารม้ารถถัง ใหม่จากเดิมที่มีรถถังใน ม.พัน.ถ.จำนวน ๔๙คัน เหลือเป็น ๔๔คัน ซึ่งจะทำให้การจัดหา ถ.หลัก VT4 ระยะที่๓ อาจจะมีเพียงแค่ ๕คันด้วย
ทั้งนี้ก็มีรายงานมากขึ้นว่าการจัดหารถถังหลัก VT4 นั้นหน่วยแรกที่น่าจะได้รับมอบคือ กองพันทหารม้าที่๖ กรมทหารม้าที่๖ กองพลทหารม้าที่๓ ที่เดิมใช้รถถังเบา Stingray ที่จะย้าย ถ.เบา๓๒ Stingray ไปประจำการที่ กองพันทหารม้าที่๙ กองพลทหารราบที่๔ ครับ

Thailand, China vow to further enhance bilateral defence ties
http://www.janes.com/article/70980/thailand-china-vow-to-further-enhance-bilateral-defence-ties

ทั้งนี้การเยือนไทยอย่างเป็นทางการของ พลเอก Fang Fenghul ประธานกรมเสนาธิการร่วม คณะกรรมาธิการทหารกลาง กองทัพปลดปล่อยประชาชน สาธารณรัฐประชาชนจีน และคณะในฐานะแขกของกองทัพไทย
ก็มีพูดคุยเรื่องการกระชับความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างไทยและจีนหลายด้านเช่นประสบการณ์จีนที่มีในการพัฒนาโครงข่ายระบบคมนาคม ทั้งการแลกเปลี่ยนระดับสูงในทุกภาคส่วน และการฝึกร่วมการต่อต้านการก่อการร้ายร่วมกัน
นั่นเป็ฯเรื่องที่ดีในการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมความั่นคงในประเทศที่ดีมากขึ้นในอนาคต แต่ก็ขึ้นอยู่กับว่าจะทำขึ้นมาได้จริงหรือไม่มากน้อยแค่ไหนครับ

AASAM welcomes Commander Army Training Command, Lieutenant General Nathaphon Sriswasdi of the Royal Thai Army who was impressed with the speed of his soldiers on the obstacle course!
#AASAM2017 #Marksmanship #Combatshooting #YourADF #AustralianArmy Images by LSIS Peter Thompson
https://www.facebook.com/AASAMAustralianArmy/posts/1310387045735727

https://www.facebook.com/AASAMAustralianArmy/videos/1312666345507797/
MEET THE TEAMS: The Royal Thai Army has stood out with its excellent fitness and teamwork.
They tackled exhausting obstacle courses with ease. Some of its most senior military leaders have visited Puckapunyal to see the progress of the soldiers as they learn important lessons to improve their #Combatshooting
https://www.facebook.com/AASAMAustralianArmy/

การแข่งขันทักษะการใช้อาวุธทางยุทธวิธีทหารราบร่วมนานาชาติ AASAM 2017 (Australian Army Skill at Arms Meeting 2017) ที่กองทัพบกออสเตรเลียเป็นเจ้าภาพ โดยกองทัพไทยได้ส่งชุดแข่งขันด้วยนั้น
เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากว่านอกจากเช่น เครื่องแบบสนาม Combat Shirt หมวกสนามแบบมีรางติดอุปกรณ์เสริม Tactical Rail Helmet และเสื้อกั๊กทางยุทธวิธี Tactical Vest แบบใหม่แล้ว
ยังมีการพบว่าทีมปืนเล็กยาวกองทัพบกไทยมีการนำปืนเล็กยาวแบบ FN SCAR-L 5.56mm เข้าร่วมการฝึกเป็นครั้งแรกด้วย ซึ่งเป็นปืนเล็กยาวแบบใหม่ที่พบเห็นว่าแจกจ่ายในบางหน่วยขึ้นตรงของ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ กองทัพบกไทยครับ

Royal Thai Navy Officers visited Royal Thai Army's Elbit Systems ATMG(Autonomous Truck Mounted Gun) 155mm/39caliber Self-Propelled Howitzer 6x6 at Factory in Thailand

มีเรื่องน่ายินดีทั้งในส่วนความร่วมมือระหว่างกองทัพบกและกองทัพเรือและภาคส่วนอุตสาหกรรมความมั่นคงของไทยว่า นาวิกโยธิน กองทัพเรือไทยมีแผนจะจัดหาปืนใหญ่อัตตาจรล้องยางแบบ ATMG แบบเดียวกับที่กองทัพบกไทยมีใช้งาน
ซึ่ง ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ศอว.ศอพท. ได้รับการถ่ายทอด Technology จาก Elbit Systems อิสราเอลในการสร้าง ป.อัตตาจร ATMG ระยะที่๑ จำนวน ๖ระบบในไทย ที่ล่าสุดมีการสั่งจัดหาระยะที่๒ จำนวน ๖ระบบเพิ่มแล้ว
โดยทาง นย.ได้เริ่มการเจรจารายละเอียดความต้องการกับ ทบ.ไปแล้ว(เห็นว่านาวิกโยธินไทยต้องการปืนลำกล้อง 155mm/52cal) และจะมีการสั่งจัดหา ป.อจ.ที่ทำการประกอบในไทยในราวปีหน้า(2018)
กรมทหารปืนใหญ่ กองพลนาวิกโยธิน กองทัพเรือนั้นมีความต้องการจัดหาระบบปืนใหญ่อัตตาจรมานาน ตามความต้องการทางยุทธการและทดแทนระบบปืนใหญ่ที่เริ่มมีอายุการใช้งานมากและล้าสมัย
การที่ ศอว.ศอพท.และกองทัพบกจะดำเนินการประกอบปืนใหญ่อัตตาจรล้องยาง ATMG ภายใต้สิทธิบัตรจากอิสราเอลให้นาวิกโยธินกองทัพเรือนั้น นับว่าเป็นความก้าวหน้าในด้านความร่วมมือภายในเหล่าทัพและอุตสาหกรรมความมั่นคงของไทยอย่างมากครับ

แต่เป็นที่น่าเสียดายอย่างมากที่ว่าสื่อกระแสหลักของไทยได้รายงานข่าวการจัดหาปืนใหญ่อัตตาจรของกองทัพไทยในทำนองที่ว่า "ซื้ออาวุธมาอีกแล้ว จะไปรบกับใคร สิ้นเปลืองงบประมาณรัฐจากภาษีประชาชน"
อีกทั้งยังเติมข้อมูลเท็จเข้าไปเอง อย่างว่าจะซื้อระบบป้องกันภัยทางอากาศจาก Elbit อิสราเอลพร้อมกับปืนใหญ่ ทั้งๆที่ Elbit ไม่มีผลิตภัณฑ์ระบบป้องกันภัยทางอากาศโดยตรง และเป็นความร่วมมือในการถ่ายทอดวิทยาการเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมความมั่นคงของไทยด้วย
ซึ่งจะเห็นได้จากรายงานการจัดหารถถังหลัก VT4 ในข้างต้นมาแล้วว่า สื่อกระแสหลักของไทยทั้งหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์นั้นมักจะนำเสนอข้อมูลที่ไม่มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่มากเพียงพอ เพราะไม่มีความรู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่ตนเองทำข่าวนั่นจริงๆ
และนั่นเป็นตอกย้ำถึงความไร้จรรยาบรรณและขาดความน่าเชื่อถือของสื่อมวลชนหลักของไทย ที่มุ่งขายข่าวฉาบฉวยเพื่อชี้นำประชาชนไปในทางที่ผิดเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง โดยไม่คำนึงถึงความจริงและเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของประเทศครับ


Office of The Naval Attache, Office of the Defence and Air Attache of Royal Thai Embassy Beijing visited VN16 Amphibious Light Tank demonstration at NORINCO factory in Chongqing, China 

ผชท.ทร.ไทย/ปักกิ่ง พร้อมด้วย ผชท.ทบ. และ ผชท.ทอ. ร่วมชมการสาธิต รถสะเทินน้ำสะเทินบกแบบ VN16 ของบริษัท Norinco ที่พื้นที่ทดสอบรถ นครฉงชิ่ง ระหว่าง 9 - 11 ม.ค.60 

เรื่องน่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงกำลังรบของนาวิกโยธิน กองทัพเรือไทย คือการที่ผู้ช่วยทูตทหารเรือ พร้อมผู้ช่วยทูตทหารบก และผู้ช่วยทูตทหารอากาศ ประจำสถานทูตไทยประจำสาธารณรัฐประชาชนจีน 
ได้ชมการสาธิตของรถถังเบาสะเทินน้ำสะเทินบก NORINCO VN16 เมื่อ ๙-๑๑ มกราคม ที่ผ่านมา ทำให้เป็นที่น่าสนใจว่า กองทัพเรือน่าจะมีความสนใจในรถถังเบารุ่นนี้ ซึ่งมีการสงออกให้นาวิกโยธินเวเนซุเอลาไปแล้ว
โดย ถ.เบา VN16 ซึ่งเป็นรุ่นส่งออกของรถถังเบาสะเทินน้ำสะเทินบก ZTD05 ที่นาวิกโยธินกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAMC: People's Liberation Army Navy Marine Corps) มีใช้งานเองก็เคยมาฝึกซ้อมรบในการฝึก Blue Strike 2016 ในไทยมาแล้ว
(ซึ่งในความเห็นของเจ้าหน้าที่นาวิกโยธินไทยที่ร่วมการฝึกไม่ได้พอใจนัก ถ.เบา ZTD05 และรถรบทหารราบสะเทินน้ำสะเทินบก ZBD05 ที่จีนนำมาร่วมฝึก เนื่องจากรถมีปัญหาให้เห็นตั้งแต่เครื่องยนต์ดับก่อนสาธิตลงน้ำต้องเปลี่ยนคันใหม่ และปัญหาจุกจิกเล็กๆน้อยๆอื่นๆ)

โดยรถถังเบา ZTD05 ใช้พื้นฐานรถแคร่ฐานของรถรบทหารราบสะเทินน้ำสะเทินบก ZBD05 ซึ่ง ZBD05 จีนนั้นใช้แนวคิดการออกแบบจากรถเกราะสายพานสะเทินน้ำสะเทินบกความเร็วสูง EFV(Expeditionary Fighting Vehicle) นาวิกโยธินสหรัฐฯที่ยกเลิกโครงการไปแล้ว
ถ.เบา ZTD05 ถูกออกแบบมาเพื่อทดแทนรถถังเบาสะเทินน้ำสะเทินบก Type 63 และ Type 63A ที่จีนลอกแบบจากรถถังเบาสะเทินน้ำสะเทินบก PT-76 รัสเซีย ซึ่ง PT-76 มีประจำการในกองทัพประชาชนเวียดนามและเคยทำการรบในสงครามมาแล้ว(เช่นการปะทะชายแดนตะวันออกกับไทย)
ถ.เบา Type 63 มีประจำการในกองทัพบกพม่า ซึ่งกองทัพพม่ามีการนำมาใช้ฝึกร่วมกับเรือยกพลขึ้นบกบ่อยๆ ส่วน Type 63A ที่ปรับปรุงรูปทรงรถและติดตั้งเครื่องยนต์ใหม่ให้แรงขึ้นวิ่งในน้ำได้เร็ว และมีป้อมปืนใหญ่รถถังขนาด 105mm พร้อระบบควบคุมการยิงที่ทันสมัย
(จำได้ว่าจีนเคยเสนอรถถังเบาสะเทินน้ำสะเทินบก Type 63A ให้ไทยเมื่อ ๑๐กว่าปีก่อน แต่ตอนนั้นนาวิกโยธินไทยไม่มีงบประมาณพอจะจัดตั้งโครงการจัดหารถถังใหม่ได้ กองทัพเรือไทยเลยไม่ได้ให้ความสนใจ)

ASCOD Pizarro LT-105 Light Tank

รถถังเบาเป็นหนึ่งในความต้องการของ กองพันรถถัง กองพลนาวิกโยธินมานาน ตั้งแต่โครงการจัดหารถถังเบา LT105 ASCOD ติดป้อมปืนใหญ่ 105mm สเปนที่ยกเลิกไปเนื่องจากปัญหาขาดแคลนงบประมาณจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจในช่วงปี พ.ศ.๒๕๔๐(1997)
โดยเดิมทีเมื่อช่วงปี พ.ศ.๒๕๓๙-๒๕๔๑(1996-1998) พัน.ถ.นย.มีแผนจะจัดหา ถ.เบา ASCOD LT-105  จากสเปนจำนวน ๑๕คันสำหรับ ๑กองร้อยรถถัง ตั้งวงเงินไว้ที่คันละ $2-3 million รวมราว ๑,๐๕๐ล้านบาทในเวลานั้น
ซึ่งปัจจุบัน พัน.ถ.นย.ก็มีรถถังหลักแบบ ๓๐ Type 69-II หนึ่งหมวดรถถัง จำนวน ๕คันที่โอนมาจากจากกองทัพบกเท่านั้น ทำให้ ถ.เบา VN16 จึงดูเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจที่สุดในแง่ของสมรรถนะและจำนวนผู้ใช้งาน เมื่อเทียบกับรถถังเบาอื่นๆในตลาด
เช่น 2S25 Sprut-SD รัสเซียที่ยังไม่มีลูกค้าส่งออก รถรบทหารราบ K21 สาธารณรัฐเกาหลีติดป้อมปืนใหญ่รถถัง Cockerill XC-8 105mm/120mm เบลเยียม กับ CV90120 สวีเดนติดปืนใหญ่รถถัง 120mm ซึ่งต่างมีเพียงรถต้นแบบเท่านั้น
ฉะนั้นจึงเข้าใจว่าถ้านาวิกโยธิน กองทัพเรือไทย จะตั้งโครงการจัดหารถถังใหม่ก็น่าจะเกิน ๑๕คัน แต่ก็ขึ้นอยู่กับสภาพงบประมาณด้วยว่าจะมีได้รับมาหรือไม่ ที่เดิมเคยมีการตั้งไว้ราว ๒,๕๐๐ล้านบาท สำหรับ ๑กองร้อยรถถังนาวิกโยธินจำนวน ๑๕คันครับ

FAC-322 HTMS Vitiyakom, Ratcharit-class fast attack craft missile boat firing Exocet

การปรับปรุงกำลังรบของกองทัพเรือ จากรายงานแผนการปลดประจำการเรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีชุด ร.ล.ปราบปรปักษ์ และชุด ร.ล.ราชฤทธิ์ ในอีกสิบปีข้างหน้า(http://aagth1.blogspot.com/2017/01/blog-post_19.html)นั้น
มีข้อมูลเพิ่มเติมล่าสุดว่ากองทัพเรืออาจจะเร่งระยะเวลาในการปลดประจำการเรือ รจอ.ที่มีอยู่ทั้งสองชุดให้เร็วขึ้น ซึ่งมีการกล่าวว่า ร.ล.วิทยาคม ซึ่งเป็นเรือลำที่สองของเรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีชุด ร.ล.ราชฤทธิ์ นั้นได้ถูกปลดประจำการแล้ว
โดยเรือ รจอ.ชุด ร.ล.ราชฤทธิ์ ทั้งสามลำคือ ร.ล.ราชฤทธิ์ 321, ร.ล.วิทยาคม 322 และ ร.ล.อุดมเดช 323 นั้นสร้างโดยอู่เรือ Cantiere Navale Breda อิตาลี เข้าประจำการช่วงปี พ.ศ.๒๕๒๒-๒๕๒๓(1979-1980) หรือ ๓๗-๓๘ปีแล้ว

เรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีเช่นชุด ร.ล.ราชฤทธิ์ นั้นเป็นเรือขนาดเล็กติดตั้งเครื่องยนต์ขับเคลื่อนกำลังขับสูงทำให้มีมีความเร็วมาก และติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Exocet MM38 ฝรั่งเศส ๔นัด
นั่นทำให้เมื่อมีอายุการใช้งานมาขึ้นเรือก็มีสภาพทรุดโทรมเกินที่ซ่อมบำรุงให้งานต่อไปได้ ประกอบกับหลักนิยมในการใช้กำลังของกองเรือตรวจอ่าวนั้นถูกเปลี่ยนไปใช้เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งแทน ทำให้เรือ รจอ.ที่ล้าสมัยและมีอายุการใช้งานมานานจำเป็นต้องปลดประจำการไปครับ
(สมัยจัดหาเรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีชุด ร.ล.ราชฤทธิ์ จาก Cantiere Navale Breda อิตาลีนั้นมีการวิจารณ์จากนายทหารเรือที่ไปดูงานว่าอู่เรืออิตาลีมีปัญหาในการต่อเรือ แต่เรือเร็วโจมตีปืนชุด ร.ล.ชลบุรีที่ต่อโดยอิตาลีเช่นกันนั้นตัวเรือใหญ่กว่าทำให้มีปัญหาในการซ่อมบำรุงน้อยกว่า)

FAC-313 HTMS Soo Pirin, Prabbrorapak-class fast attack craft missile boat converted to fast attack craft gun boat

Marsun Shipyard's M58 Patrol Gun Boat Royal Thai Navy HTMS Laemsing class Model at Ship Tech III 2016(My Own Photo)

ด้านเรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีชุด ร.ล.ปราบปรปักษ์ ทั้งสามลำคือ ร.ล.ปราบปรปักษ์ 311, ร.ล.หาญหักศัตรู 312 และ ร.ล.สู้ไพรินทร์ 313 สร้างโดยอู่เรือ Singapore Technologies Marine สิงค์โปร์ เข้าประจำการมาช่วงปี พ.ศ.๒๕๑๙-๒๕๒๐(1976-1977) หรือ ๔๐-๔๑ปีแล้ว
ที่เดิมทีติดตั้งอาวุธปล่อยนำนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำแบบ Gabriel อิสราเอล ๕นัด แต่เมื่ออาวุธปล่อยนำวิถี Gabriel หมดอายุการใช้งานก็ถอดแท่นยิงออกปรับเป็นเรือเร็วโจมตีปืนไปหลายสิบปีนั้น มีข้อมูลล่าสุดว่ามีแผนจะปลดประจำการลงภายในปีนี้(2017) หรือปีหน้า(2018) 
ทั้งนี้กองเรือตรวจอ่าวกำลังพิจารณาอนาคตของการมีเรือ รจอ.ในอนาคต ซึ่งถ้าจะยังคงเรือแบบนี้ไว้อยู่ก็จะมีแบบเรือที่มองไว้เช่น เรือตรวจการณ์ปืนชุด ร.ล.แหลมสิงห์ (M58 Patrol Gun Boat)ของ Marsun ประเทศไทยที่ออกแบบให้ติดอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ C-704 จีนได้ครับ

Conventional Submarine model of China Shipbuilding Industry Corporation(CSIC) and China Shipbuilding & offshore International(CSOC) at Ship Tech.III 2016 (My Own Photo)

สำหรับโครงการจัดหาเรือดำน้ำ S26T จากสาธารณรัฐประชาชนจีน ระยะที่๑ จำนวน ๑ลำ ตามที่ได้รายงานไปอย่างต่อเนื่องก่อนหน้านั้น
แม้ว่าจะมีการลงนามสัญญาจัดหาไปเมื่อ ๕ พฤษภาคมที่ผ่านมา(http://aagth1.blogspot.com/2017/05/s26t.html) และทางสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน สตง.ได้แถลงถึงผลการตรวจสอบโครงการว่าไม่มีปัญหาอะไรไปแล้วก็ตาม
แต่นั่นก็ไม่เป็นการรับประกันได้แต่อย่างใดว่าโครงการเรือดำน้ำจะประสบความสำเร็จได้เรือมาแน่จริงๆ เพราะจากอดีตที่ผ่านมามีหลายโครงการที่ลงนามสัญญาไปแล้วก็ถูกยกเลิกในภายหลัง
หรือแม้แต่วางกระดูกงูเรือหรือปล่อยเรือลงน้ำไปแล้วก็ถูกปฏิเสธไม่รับมอบด้วยเหตุผลต่างๆ ซึ่งระยะเวลาในการดำเนินการที่นาน ๖ปีนั้นนานพอที่จะมีเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงไปได้อีกมากจนไม่สามารถจะจัดหาเรือดำน้ำมาประจำการได้จริง ก็ติดตามกันต่อไปครับ

Korea Aerospace Industries T-50TH(FA-50) model at Defense & Security 2015(MY OWN PHOTO)


พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง ผู้บัญชาการทหารอากาศ ให้โอวาทและแนะนำแนวทางการปฏิบัติแก่คณะนักบิน จำนวน ๖ คน ที่จะเดินทางไปเข้ารับการฝึกบิน T-50TH ณ สาธารณรัฐเกาหลี ระหว่างวันที่ ๒๑ พฤษภาคม - ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๐ 
โดยมี พลอากาศตรี ชานนท์ มุ่งธัญญา ผู้อำนวยการ สำนักนโยบายและแผน กรมยุทธการทหารอากาศ เป็นผู้นำคณะเข้ารับฟังโอวาท เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ณ กองบัญชาการกองทัพอากาศ

การดำเนินการข้างต้นเป็นไปตามโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น (ระยะที่ ๑) โดยจัดทำสัญญากับบริษัท Korea Aerospace Industries Limited (KAI) เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๘ เพื่อจัดซื้อเครื่องบินแบบ T-50TH จำนวน ๔ เครื่อง 
ซึ่งในสัญญากำหนดให้มีการฝึกอบรมนักบิน รวมจำนวน ๖ คน เพื่อปฏิบัติหน้าที่ครูการบิน และนักบินลองเครื่อง

สำหรับโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่นขั้นก้าวหน้า KAI T-50TH ของกองทัพอากาศไทย ก็มีการส่งนายทหารนักบินชุดแรก ๖นาย เข้ารับการฝึกบินเปลี่ยนแบบที่สาธารณรัฐเกาหลีระหว่างวันที่ ๒๑ พฤษภาคม-๒๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๐(2017) แล้ว
ซึ่งนายทหารทั้ง ๖นายนี้จะเป็นนักบิน T-50TH ชุดแรกของกองทัพอากาศไทยที่จะเป็นครูการบินของนักบินรุ่นต่อไป ซึ่ง T-50TH กองทัพอากาศไทยก็คงจะมีการเปิดตัวเครื่องแรกจาก ๔เครื่องแรกในสายการผลิตในปีนี้ ก่อนจะส่งมอบได้ในเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๖๑(2018)
ทั้งนี้ตามที่ที่ได้กองทัพอากาศไทยได้มีการลงนามสัญญาจัดหา KAI T-50TH ระยะที่๑ จำนวน ๔เครื่อง วงเงิน ๓,๗๐๐ล้านบาท เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๘(2015) นั้น
คาดว่าโครงการจัดหา T-50TH ระยะที่๒ จำนวน ๘เครื่อง วงเงินประมาณ ๙,๐๐๐ล้านบาท น่าจะมีขึ้นในเร็วๆนี้ โดยจะทำให้จำนวน T-50TH ที่จัดหากองทัพอากาศไทยรวมเป็น ๑๒เครื่องครับ

สัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การวิจัยและพัฒนาลูกระเบิดร่อนนำวิถี (GBU-12)”
สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การวิจัยและพัฒนาลูกระเบิดร่อนนำวิถี (GBU-12)” โดยมี พล.อ.อ.สุรศักดิ์  มีมณี ที่ปรึกษา สทป. เป็นประธานเปิดงาน 
ผู้ร่วมสัมมนาฯ มีหน่วยงานภาครัฐ อาทิเช่น วท.กห., ยก.ทหาร, ยก.ทอ., ยก.ทบ., ศอว.ทอ., สถาบันการศึกษา และเครือข่ายความร่วมมือของ สทป. ให้ความสนใจเข้าร่วมงานเพื่อแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ เป็นจำนวนมาก 
ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก พล.อ.ท.สราวุธ กลิ่นพันธุ์ ผอ.ศวอ.ทอ. บรรยายประสบการณ์ จากการค้นคว้าวิจัยพัฒนาเกี่ยวกับลูกระเบิดร่อนนำวิถี (GBU-12) ของกองทัพอากาศ 
และมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับหน่วยงานอื่นๆ เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการวิจัยพัฒนาลูกระเบิดร่อนนำวิถี (GBU-12) ในลำดับต่อไป ณ ห้องสยามปฐพีพิทักษ์ สทป. เมื่อวันที่ 5 พ.ค. 60 

F-16A 403rd Squadron carry GBU-12 with domestic Wing adaptor kit developed by Research And Development Centre For Space And Aeronautical Science And Technology, Royal Thai Air Force

โครงการพัฒนาลูกระเบิดนำวิถีร่อน โดย ศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบินและอวกาศ กองทัพอากาศ(ศูนย์วิทยาศาสตร์และพัฒนาระบบอาวุธ กองทัพอากาศ เดิม) นั้นเป็นโครงการที่มีการวิจับพัฒนามาตั้งแต่ราวปี พ.ศ.๒๕๔๐-๒๕๔๘(1997-2005) แล้ว
ซึ่งแนวคิดคือการติดตั้งชุดปีกบินเข้ากับระเบิดนำวิถี Laser แบบ GBU-12 ขนาด 500lbs เพื่อเพิ่มระยะยิงด้วยการร่อนเข้าสู่เป้าหมายได้ไกลขึ้น(เหมือระบบ Lockheed Martin Longshot สหรัฐฯ) โดยก็มีการทดสอบกับ F-16A/B Block 15 OCU ฝูงบิน๔๐๓ ไปแล้ว 
ถ้าจะมีการพัฒนาเพิ่มเติมให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและมีความทันสมัยขึ้น ใช้งานร่วมกับเครื่องบินขับไล่หรือเครื่องบินโจมตีแบบอื่นเช่น Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ หรือ T-50TH ฝูงบิน๔๐๑ โดยสามารถผลิตได้เป็นจำนวนมากก็จะเป็นเรื่องที่ดีมากครับ

เรื่องสุดท้ายที่ขอกล่าวถึงเล็กน้อยคือเดี๋ยวนี้มีการทำ Clip เกี่ยวกับข่าวสารข้อมูลอาวุธยุทโธปกรณ์ความมั่นคงบน Youtube ในลักษณะ Clickbait คือตั้งหัวข้อชื่อเกินจริงล่อให้คนกดเข้าไปดู ที่มีเนื้อหาในตัว Clip ที่มั่วซั่วแต่งเติมเกินจริงและไร้ความน่าเชื่อถือ
ทุกวันนี้นอกจากสื่อไร้จรรยาบรรณบนหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ที่มีช่อง Youtube เป็นของตนเอง และกลุ่มก่อการร้ายที่มีพฤติกรรมเป็นภัยความมั่นคงต่อสถาบันหลักของชาติอยู่แล้ว 
ยังมีช่อง Youtube แย่ๆพวกนี้มาสร้าง Clip ไม่มีคุณภาพและหลอกคนเข้ามาดูได้เป็นหมื่นๆคน แถมช่อง Youtube พวกนี้ยังมีหน้ามาขอรับเงินบริจาคทำตัวอย่างกับขอทานเพื่อหาเงินเข้าตัวล้วนๆ มาเสริมทัพให้คนหลงเชื่อในสิ่งที่ไม่เป็นความจริงอีกครับ