วันจันทร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ยูกันดาเปิดเผยภาพรถถังหลัก T-90S รัสเซีย กับ Type 85-IIM จีน และผลการแข่ง Tank Biathlon 2017 วันที่1-2

Ugandan president reveals T-90 and Chinese tanks
A T-90 (left) and the probable Type 85-IIM (right) are seen at the Karama Armoured Warfare Training School. Source: @KagutaMuseveni
http://www.janes.com/article/72655/ugandan-president-reveals-t-90-and-chinese-tanks

T-72B3 Uganda team(Group1 4th place with 'Disqualified' follow 1st Tajikistan, 2nd Angola and 3rd Laos) in Day1 race of Tank Biathlon 2017(TV Zvezda tvzvezda.ru/)








T-72B3 Laos People's Army team(Group1 3rd place) in Day1 race of Tank Biathlon 2017(TV Zvezda tvzvezda.ru/)

การจัดหารถถังหลัก T-90S จากรัสเซียของกองกำลังป้องกันประชาชนยูกันดา(Ugandan People Defence Force) ได้รับการยืนยันเมื่อ 23 กรกฎาคมที่ผ่านมาจากภาพใน Twitter ของประธานาธิบดียูกันดา Yoweri Museveni
ยูกันดาได้จัดหารถถังหลัก T-90S จำนวน 44คันวงเงินประมาณ $119 million ในปี 2011 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการจัดหาอาวุธจากรัสเซียรวม $740 million ตั้งแต่ปี 2010 ตามข้อมูลจากสถาบันวิจัยสันติภาพนานาชาติ SIPRI(Stockholm International Peace Research Institute)

แต่ภาพถ่ายที่โรงเรียนฝึกสงครามยานเกราะ Karama ใกล้ Kabamba ในตอนกลางของประเทศซึ่งประธานาธิบดียูกันดา Museveni ได้กล่าวเปิดการฝึกผสมกองกำลังทางบกและกองกำลังป้องกันทางอากาศนั้น เป็นการเปิดเผยการมีรถถังหลัก T-90S ของยูกันดาครั้งแรก
โดยยูกันดานำรถถังหลัก T-90S ประจำการในกองพันรถถังของกองทัพน้อยพิทักษ์ประธานาธิบดี ซึ่งเป็นหน่วยในกองบัญชาการปฏิบัติการพิเศษ กองกำลังป้องกันประชาชนยูกันดา

ในภาพเดียวกันนั้นยังปรากฏรถถังหลัก T-72B โดยมีรายงานว่ายูกันดาได้จัดหารถถถังหลัก T-72B มือสองที่รัสเซียเก็บสำรองไว้จำนวนหนึ่ง(คาดว่าประมาณ 60คัน) โดยได้รับมอบในราวปี 2015-2016 
ซึ่งก่อนหน้านี้มีภาพการฝึกของรถถังหลัก T-72B ยูกันดาที่โรงเรียนยานเกราะ Karama ออกมาบ้างแล้ว

และที่น่าแปลกใจที่สุดคือภาพล่าสุดนี้ได้ปรากฎรถถังหลัก Type 85-IIM จากสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีภาพรถถังจีนรุ่นนี้ประจำการในยูกันดา
Type 85-IIM นั้นเป็น ถ.หลักจีนแบบแรกที่ติดตั้งปืนใหญ่รถถังขนาด 125mm พร้อมระบบบรรจุกระสุนอัตโนมัติก่อนจะพัฒนาเป็น Type 96 ที่ประจำการในกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนเอง โดย Type 85-IIM มีประจำการกองทัพบกปากีสถาน และซูดาน

ทั้งนี้ในการแข่งขันรถถังนานาชาติ Tank Biathlon 2017 ที่สนามฝึก Alabino, Moscow รัสเซีย ในการแข่งขันทางทหารนานาชาติ International Army Games 2017 นั้น ยูกันดาได้ลงแข่งขันในกลุ่มที่1 ร่วมกับ ทาจิกิสถาน แองโกลา และลาวซึ่งเป็นชาติ ASAEN เดียวที่ลงแข่งในปีนี้เป็นปีแรก
ผลการแข่งวันที่1(29 กรกฏาคม) ผลของกลุ่ม1 อันดับที่1 ทาจิกิสถาน ที่2 แองโกลา ที่3 ลาว และที่4 ยูกันดา ผลของกลุ่มที่2 ที่แข่งในวันเดียวกัน อันดับที่1 จีน ที่2 มองโกเลีย ที่3 อาเซอร์ไบจาน ที่4 คูเวต ซึ่งจีนใช้รถถังหลัก Type 96B ของตนเองส่วนชาติอื่นใช้ T-72B3 ที่ยืมรัสเซียมา

ส่วนผลการแข่งวันที่2(30 กรกฎาคม) ผลของกลุ่มที่3 อันดับที่1 เบรารุส ที่2 คาซัคสถาน ที่3 อิหร่าน และที่4 ซิมบับเว โดยเบลารุสใช้รถถังหลัก T-72BME ที่ตนปรับปรุงเองในประเทศ ผลของกลุ่มที่4 อันดับที่1 รัสเซีย ที่2 คีร์กีซสถาน และที่3 เซอร์เบีย และผลกลุ่มที่5 อันดับที่1 อินเดีย ที่2 อาร์มีเนีย ที่3 เวเนซุเอลา และที่4 นิการากัว โดยอินเดียใช้รถถังหลัก T-90S ของตนเอง
ทำให้ผลคะแนนรวมของการแข่งสองวันแรกคืออันดับที่1 รัสเซีย ที่2 จีน ที่3 คาซัคสถาน ที่4 เบลารุส ที่5 อินเดีย โดยยูกันดา ซึ่งถูกตัดสิทธิ(Disqualified) อยู่อันดับท้ายสุดร่วมไปครับ

วันอาทิตย์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

เครื่องบินขับไล่ยุคที่6รัสเซียจะติดอาวุธ Laser ปืนแม่เหล็กไฟฟ้า Microwave และ Photonic Radar

Russia’s 6th-generation fighter jet to get lasers capable of burning missile homing heads
In addition to electromagnetic guns, the Russian sixth-generation fighter jet will also get guided electronic munitions
Yuri Smityuk/TASS
http://tass.com/defense/958026

เครื่องบินขับไล่ยุคที่6ของรัสเซียจะได้รับการติดตั้ง Laser ที่มีความสามารถทางกายภาพในการเผาอาวุธปล่อยนำวิถีข้าศึกที่หันหัวเข้ามา ที่ปรึกษารองผู้อำนวยการบริหารอันดับที่หนึ่งของกลุ่มวิทยาการวิทยุ-ไฟฟ้า KRET นาย Vladimir Mikheyev กล่าวกับ TASS เมื่อ 27 กรกฎาคม
รองนายกรัฐมนตรีรัสเซีย Dmitry Rogozin กล่าวเมื่อเดือนมีนาคม 2016 ว่า รัสเซียได้เริ่มงานพัฒนาเครื่องบินขับไล่ยุคที่6 แล้ว โดย KRET กำลังพัฒนาอุปกรณ์ประจำเครื่องและอาวุธแม่เหล็กไฟฟ้าสำหรับเครื่องบินขับไล่ยุคอนาคตที่ตนริเริ่มเอง

"เราได้ติดตั้งระบบป้องกัน Laser กับเครื่องบินและเฮลิคอปเตอร์แล้ว และตอนนี้เรากำลังพูดคุยเกี่ยวกับการพัฒนาในขอบเขตของพลังงาน Laser ที่จะสามารถทำลายอาวุธปล่อยนำวิถีที่เข้าโจมตีทางกายได้
กล่าวอย่างคราวๆ เราจะสามารถเผาผลาญ 'ดวงตา' ของอาวุธปล่อยนำวิถีที่ 'มองมายังเรา' โดยธรรมชาติระบบเช่นนี้จะถูกติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่ยุคที่6 เช่นเดียวกัน" ที่ปรึกษากล่าวเสริม

ปัจจุบัน KRET ได้ส่งมอบระบบป้องกันตัวอากาศยาน President-S ซึ่งประกอบด้วยสถานี Laser ของการต่อต้าน Elctro-Optical ด้วยการประสานระบบต่อต้านและพลุไฟ(Flare) President-S สามารถป้องกันอาวุธปล่อยนำวิถีข้าศึกได้หลายแบบให้หันหัวบินผ่านเครื่องบินและเฮลิคอปเตอร์
นอกจากปืนแม่เหล็กไฟฟ้า(Microwave Electromagnetic Gun) เครื่องบินขับไล่ยุคที่6 จะยังได้รับอมภัณฑ์ไฟฟ้านำวิถี(Guided Electronic Munition)ด้วย ตามที่ที่ปรึกษารองผู้อำนวยการบริหารอันดับที่หนึ่งของ KRET กล่าว

เครื่องบินขับไล่ยุคที่6 จะมีรูปแบบหมู่บินที่มีอากาศยานมีคนขับ 1-2เครื่อง บินร่วมกับอากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle) 20-30เครื่องที่สามารถติดตั้งอาวุธแบบต่างๆได้
"Drone เครื่องหนึ่งในหมู่บินนั้นจะติดตั้งอาวุธคลื่น Microwave รวมถึงอาวุธไฟฟ้านำวิถี ขณะที่ Drone เครื่องอื่นจะติดตั้งระบบต่อต้านและทำลายวิทยุ-ไฟฟ้า และ UAV เครื่องที่สามจะติดกลุ่มอาวุธมาตรฐาน  ภารกิจเฉพาะแต่ละอย่างขึ้นกับอาวุธที่ติดตั้งแตกต่างกัน" เขากล่าว

ที่ปรึกษาของ KRET ไม่ได้ระบุรูปแบบของอมภัณฑ์ไฟฟ้านำวิถีหรือ mode การปฏิบัติงานของพวกมัน Mikheyev เคยกล่าวกับ TASS ก่อนหน้าว่า UAV ในรุ่นเครื่องบินขับยุคที่6นั้นจะติดตั้งปืนแม่แหล็กไฟฟ้า(Microwave Gun)
ตามที่เขาอธิบายในตอนนั้น ปืน Microwave จะรวมจุดและเปลี่ยนทิศทางการแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อเพิ่มความร้อนให้วัตถุ เช่น สายอากาศ และทำลายมันทางกายภาพ

ขนาดของหมู่บินอาจจะมีการปรับเมื่องานพัฒนาเครื่องต้นแบบจริงเริ่มขึ้น เครื่องบินขับไล่ยุคที่6 รุ่นไร้คนบังคับจะสามารถติดตั้งปืนแม่เหล็กไฟฟ้าหรือปืน Microwave นาย Mikheyev กล่าว
"การใช้อาวุธ Microwave เป็นปัญหาใหญ่สำหรับเครื่องที่มีนักบินซึ่งจำเป็นต้องรักษาชีวิตของเขา แต่ถ้าเราพัฒนาระบบเพิ่มเติมในการปกป้องนักบินจาก Microwave ของเราเอง เราจะเสียพื้นที่และน้ำหนักของตัวเครื่องไปมาก นอกนี้แม้ระบบที่ซับซ้อนและมีประสิทธิภาพอาจไร้ประสิทธิภาพได้"

เครื่องบินขับไล่ยุคที่6 นั้นจะถูกนำมาทดแทนเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 Sukhoi PAK FA T-50 ที่จะสามารถสร้างภาพ radar ของเครื่องบินข้าศึกและระบุประเภทและอาวุธของพวกมันได้โดยไม่จำเป็นต้องมีส่วนร่วมของมนุษย์
KRET ได้พัฒนาระบบ Radar วิทยุ-Photonic สำหรับเครื่องบินรบยุคอนาคต บริษัทได้พร้อมสร้างต้นแบบทดลองและแบบจำลองเท่าของจริง ระบบ Radar ใหม่นี้จะมีความเหนือกว่า Radar ที่มีแบบใดๆทั้งพลังและระยะทำการ

"Radio-Photonic Radar จะมีการมองเห็นที่ไกลกว่า Radar ใดๆที่มีอยู่ตามที่เราคาด และเช่นที่เราแพร่คลื่นใส่ข้าศึกด้วยความถี่ระยะกว้างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน เราจะรู้ตำแหน่งพวกมันด้วยความแม่นยำสูงสุด และหลังจากขั้นตอนนี้เราจะได้รับภาพเกือบทั้งหมดของมันในมุมมองวิทยุ
นี่เป็นสิ่งสำคัญในการระบุประเภท(ของอากาศยาน) Computer ของเครื่องจะระบุวัตถุบินทันทีและอัตโนมัติ เช่น F-18 พร้อมอาวุธปล่อยนำวิถีที่ติดมา" Mikheyev กล่าว

Radar ใหม่ยังมีขีดความสามารถที่ดีกว่าในการต่อต้านการถูกรบกวนสัญญาณ ด้วยแถบคลื่นความถี่สูงยิ่งและตัวรับสัญญาณ Dynamic Range มหาศาล มันยังมีความสามารถเพิ่มเติมภารกิจสงคราม Electronic การส่งข้อมูล และทำการสื่อสาร Mikheyev ย้ำว่า
เครื่องบินขับไล่ยุคที่6 จะยังได้รับ "ระบบกล้อง Multi-Spectral พลังสูง ทำงานได้หลายแบบทั้ง Laser, Infrared, Ultraviolet และแท้จริงในแถบ Optical ซึ่งอย่างไรก็ตามช่วง Spectrum มันเกินกว่าที่ตามมนุษย์จะมองเห็นได้" กล้อง Optic ใหม่นี้จะเป็นส่วนหนึ่งของ Radio-Photonic Radar

KRET ได้พัฒนาต้นแบบทดลองของ Radio-Photonic Radar สำหรับเครื่องบินขับไล่ยุคที่6 ทั้งต้นแบบตัวส่งสัญญาณ, ตัวรับสัญญาณ และตัวประมวลผลสัญญาณ การดำเนินการพัฒนาอุปกรณ์วิทยุไฟฟ้าสำหรับเครื่องบินขับไล่ยุคที่6 โดยเฉพาะจานสัญญาณค้นหา Radio- Optical Photonic
"ทั้งตัวส่งสัญญาณและตัวรับสัญญาณได้ถูกสร้างในพื้นฐานต้นแบบทดลองในฐานะส่วนหนึ่งของงานวิจัยและพัฒนา การทำงานทั้งหมดนี้ดำเนินในที่ตั้ง เราปล่อยสัญญาณความถี่สูงยิ่ง มันสะท้อนกลับและเรารับ-ประมวลผลมันและได้ภาพ radar ของวัตถุ เราเห็นว่าเราจำเป็นต้องทำให้มันดีที่สุด"

"ตอนนี้แบบจำลองเต็มตัวของจานสัญญาณ Radio-Photonic Radar ได้ถูกพัฒนาขึ้นในฐานะส่วนหนึ่งของงานวิจัยและพัฒนา ซึ่งทำให้เราสามารถทดสอบคุณลักษณะของชุดต้นแบบ เราจะสามารถเข้าใจได้ว่าอะไรที่ Radar ควรเป็นในขนาดทรงเรขาคณิต และระยะและพลังอะไรที่ควรเป็น"
KRET ยังได้ทดสอบเทคโนโลยีของ Radar ใหม่ในส่วนประกอบเฉพาะ ทั้งตัวส่งสัญญาณ(Emitter), Photonic Crystal, ส่วนรับสัญญาณ(Receiver) และตัวสะท้อนสัญญาณ(Resonator)

รองนายกรัฐมนตรีรัสเซีย Dmitry Rogozin ได้เข้าไปรับผิดชอบในส่วนกลาโหมโดยประกาศเมื่อเดือนมีนาคม 2016 เกี่ยวกับการเริ่มการทำงานของเครื่องบินขับไล่ยุคที่6
ตามที่หัวหน้าคณะกรรมการเพื่อโครงการอากาศยานทางทหารที่ United Aircraft Corporation(UAC) นาย Vladimir Mikhailov กล่าวกับ TASS เมื่อเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว เครื่องบินขับไล่ยุคที่6 เครื่องต้นแบบของรัสเซียจะทำการบินครั้งแรกก่อนปี 2025

ในการให้สัมภาษณ์กับ TASS ก่อนหน้า ที่ปรึกษา KRET นาย Mikheyev กล่าวว่าเครื่องบินขับไล่ใหม่จะมีสองรุ่นแบบมีคนขับกับไร้คนขับ เครื่องบินขับไล่ใหม่จะปฏิบัติการเป็นหมู่บินนำโดยเครื่องมีคนขับ สามารถติดปืนแม่เหล็กไฟฟ้า บินด้วยความเร็วเหนือเสียง Hypersonic และบินไปอวกาศได้
เวลานี้ Mikheyev เสริมว่า รุ่น UAV จะมีความคล่องแคล่วในระดับที่เครื่องที่มีนักบินบังคับทำไม่ได้จากข้อจำกัดของมนุษย์ที่ทนรับมากเกินไปไม่ได้ เครื่องทั้งสองรุ่นจะสร้างบนพื้นฐานเหมือนกัน ต่างกันที่ระบบอาวุธ อุปกรณ์ และรูปร่างภายนอกครับ


Russian ultra-high frequency guns are now ‘the real thing,’ developer asserts
Electromagnetic weapons are to be installed on a remote-controlled configuration of the sixth generation fighter jet
Donat Sorokin/TASS
http://tass.com/defense/957945

ปืนแม่เหล็กไฟฟ้า(Electromagnetic Gun) ที่มีสามารถเผาอุปกรณ์ไฟฟ้าและอาวุธได้กำลังถูกทดสอบโดยห้องทดลองของรัสเซีย โดยบริษัทวิทยุ-ไฟฟ้า KRET อย่างเดินหน้าไม่ถดถอย
ตามที่ที่ปรึกษารองผู้อำนวยการบริหารอันดับที่หนึ่งของ KRET นาย Vladimir Mikheyev กล่าวกับ TASS ในการให้สัมภาษณ์

"อาวุธคลื่นความถี่สูงยิ่ง(UHF: Ultra-High Frequency) เป็นความจริง ห้องทดลองพวกเรากำลังดำเนินการทดสอบอย่างไม่หยุด ตัวอย่างเช่น เราอาจจะเผาอุปกรณ์ไฟฟ้าบางอย่างเพื่อให้เห็นว่าพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าที่ต้องการจะมากน้อยเท่าไร" เขากล่าว
Mikheyev ยังกล่าวว่ามีหลายประเทศได้กำลังทดสอบอาวุธแบบเดียวกันนี้อยู่ด้วย ดังนั้น KRET จึงยังคงทำงานกับระบบในการปกป้องจากอาวุธ UHF ของศัตรู

"อุปกรณ์รับสัญญาณอาจจะต้องติดตั้งด้วยตัวกั้นกรองพลังงานที่จะเข้ามา จากนั้นระบบตรวจจับจะรับเฉพาะข้อมูลและสัญญาณอื่นๆที่เป็นประโยชน์เท่านั้น
ระบบป้องกันเหล่านี้จะถูกนำไปปรับใช้กับ computer ซึ่งจะป้องกันศัตรูจากการระบุช่องโหว่ที่เป็นไปได้ในตัวกรอง เรากำลังดำเนินการในประเภทนี้และการวิจัยด้วย" Mikheyev กล่าว

อาวุธแม่เหล็กไฟฟ้าจะถูกนำไปติดตั้งกับป้องอาวุธแบบ Remote ที่จะปรับแต่งสำหรับใช้กับเครื่องบินขับไล่ยุคที่6 ตามที่รองนายกรัฐมนตรีรัสเซีย Dmitry Rogozin กล่าวเมื่อฤดูใบไม้ผลิที่แล้วว่า
งานพัฒนาสำหรับอากาศยานไร้คนขับ(Drone)ลักษณะดังกล่าวได้กำลังดำเนินการอยู่แล้ว KRET กำลังพัฒนาอุปกรณ์ประจำเครื่องสำหรับเครื่องบินขับไล่ยุคที่6 และอาวุธปืนแม่เหล็กไฟฟ้าคลื่นความถี่สูงยิ่งที่ริเริ่มด้วยตนเอง

อย่างไรก็ตามเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 ของรัสเซียคือ Sukhoi PAK FA T-50 นั้นจะยังได้รับการติดตั้งปืนใหญ่อากาศ 9A1-4071K GSh-301 ขนาด 30x165mm อยู่เหมือนเครื่องบินขับไล่รัสเซียส่วนใหญ่ในปัจจุบัน
โดยตั้งแต่ทำการบินครั้งแรกในปี 2010 มีการสร้างเครื่องต้นแบบ PAK FA T-50 แล้วประมาณ 9เครื่อง โดยกำลังอยู่ในขั้นตอนการทดสอบการบินขั้นสุดท้าย และการเปิดสายการผลิตเต็มอัตราและส่งมอบเครื่องชุดแรกให้กองทัพอากาศรัสเซีย 12เครื่องจะมีขึ้นในปี 2019 ครับ

วันเสาร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

การผลิตและทดสอบรถถังหลัก VT4 กองทัพบกไทยที่โรงงาน Norinco จีน

The Economic Code of Strong Army 20170727 King of Land Battle: Armored Tank CCTV 
August 1st of every year is the Army Day memorising the establishment of Chinese Workers' and Peasants' Red Army.






























Production Line, Testing in Terrain and Firing range of VT4(MBT-3000) Main Battle Tank for Royal Thai Army

สารคดีพิเศษของสถานีโทรทัศน์ CCTV สาธารณรัฐประชาชนจีนที่ออกอากาศในวันที่ ๒๘ กรกฎาคมที่ผ่านมา ได้รายงานการพัฒนารถถังหลักยุคใหม่ของจีนในโอกาสครบรอบวันกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน(People's Liberation Army Day)ที่จะถึงในวันที่ ๑ สิงหาคมนี้
รายงานพิเศษของ CCTV ได้แถลงถึงสายการผลิต การทดสอบการขับเคลื่อนในถนนและภูมิประเทศ รวมถึงการทดสอบยิงปืนใหญ่รถถังของรถถังหลัก VT4(MBT-3000) ที่ผลิตโดยโรงงาน Norinco ในจีน
ซึ่งก็ตามที่ทราบว่ารถถังหลัก VT4 จีนนั้นมีประเทศลูกค้าส่งออกปัจจุบันคือกองทัพบกไทยที่สั่งจัดหาชุดแรกจำนวน ๒๘คันในวงเงิน วงเงิน ๔,๙๘๔ล้านบาท ที่ลงนามสัญญาในปี พ.ศ.๒๕๕๙(2016) และชุดที่สอง ๑๑คัน วงเงินประมาณ ๒พันล้านบาท ในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐(2017) นี้

จากที่เห็นได้ในชุดภาพของสารคดีจะเห็นว่ามีรถถังหลัก VT4 ในสีรองพื้นสีเขียวเข้มประกอบเสร็จทำการทดสอบในภูมิประเทศและทดสอบยิงปืนใหญ่รถถังไปแล้วถึงรถที่ทำสีเครื่องหมายเลขที่ 16 โดยติดตั้งระบบต่างๆตามรถต้นแบบล่าสุด เช่นป้อมปืนกลหนัก Remote Weapon Station
อีกทั้งมีรถถังที่ประกอบเสร็จอย่างน้อยหนึ่งคันที่ทำสีพรางสามสีคล้าย Woodland NATO ซึ่งตรงกับข้อมูลที่ว่าทางหน่วยที่รับมอบรถต้องการให้ทำลายพรางสีนี้ ที่น่าจะคือ กองพันทหารม้าที่๖ กรมทหารม้าที่๖ กองพลทหารม้าที่๓
ระบบภายในรถถังหลัก VT4 ที่แสดงในภาพนับว่าดูทันสมัยมาก โดยสถานีผู้บังคับการรถและสถานีพลยิงมีจอแสดงผลสี พร้อมแผนที่ระบบอำนวยการสนามรบ(Battlefield Management System) ระดับเดียวกับรถถังหลักยุคใหม่ ทั้ง M1A2, Leopard 2A7, Leclerc และ T-90MS เป็นต้น(แต่จะมีประสิทธิภาพระดับเดียวกันหรือไม่ก็ไม่ทราบ)

ด้วยอัตราการผลิตเช่นที่ปรากฎในภาพของสารคดีเป็นไปได้มากว่าจีนจะสามารถส่งมอบรถถังหลัก VT4 ชุดแรกให้กองทัพบกไทยได้ในปีนี้พร้อมทั้งการถ่ายทอด Technology ซึ่งดูแล้วมีความรวดเร็วและดูทันสมัยกว่ารถถังหลัก Oplot จากยูเครนที่จัดหามาก่อนพอสมควร
โดยนับตั้งแต่ได้รับมอบรถชุดแรกในปี พ.ศ.๒๕๕๗(2014) ขณะนี้ กองพันทหารม้าที่๒ กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ มีรถถังหลัก Oplot ประจำการอยู่ ๒๕คัน ซึ่งยังทดแทนรถถังหลัก M48A5 ได้ไม่ครบทั้งกองพัน
ยังรวมถึงการปรับปรุงรถถังหลัก M60A3 โดยบริษัท Elbit Systems อิสราเอล ของกองพันทหารม้าที่๕ รักษาพระองค์ กองพลทหารม้าที่๒ รักษาพระองค์ ซึ่งมีการติดตั้งจอแสดงผลสีสำหรับการเล็งยิงภายในรถ ที่จะมีการทยอบปรับปรุงตามที่งบประมาณเอื้ออำนวยด้วยครับ

วันศุกร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

อินโดนีเซียเตรียมรับมอบเรือดำน้ำ DSME1400 เกาหลีใต้ลำแรกที่ล่าช้า และจะจัดหาเรือดำน้ำขนาดเล็กลำแรกที่สร้างเอง

DSME prepares to handover Indonesia’s first Type 209/1400 submarine after initial delays
Nagapasa, during its launch ceremony in March 2016. (DSME)
http://www.janes.com/article/72649/dsme-prepares-to-handover-indonesia-s-first-type-209-1400-submarine-after-initial-delays

กองทัพเรืออินโดนีเซีย(TNI-AL: Tentara Nasional Indonesia–Angkatan Laut) และกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียกำลังอยู่ระหว่างการเตรียมการรับมอบเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้าแบบ DSME 1400T(Type 209/1400) ลำแรก(พัฒนามาจากชั้น Chang Bogo หรือ Type 209/1200)
คือ KRI Nagapasa หมายเลข403 จากบริษัท Daewoo Shipbuilding and Marine Engineering(DSME) สาธารณรัฐเกาหลี ตามที่แหล่งข่าวในกองทัพเรืออินโดนีเซียให้ข้อมูลกับ Jane's เมื่อ 27 กรกฎาคมที่ผ่านมา

ข้อมูลนี้ได้รับการยืนยันจากเจ้าหน้าที่ของ DSME เกาหลีใต้ผู้ซึ่งยืนยันว่าการเตรียมการสำหรับพิธีการส่งมอบเรือกำลังดำเนินการอยู่
"ในตอนนี้(งานของ) Nagapasa ได้เสร็จสิ้นลงหมดแล้ว และ(เรือ)พร้อมสำหรับการส่งมอบในวันที่ 2 สิงหาคม 2017" เจ้าหน้าที่ DSME กล่าวกับ Jane's ในวันเดียวกัน

KRI Nagapasa 403 เป็นเรือดำน้ำลำแรกของชั้นที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการจัดหาเรือดำน้ำจำนวน 3ลำวงเงิน 1.3 trillion Korean Won($1.1billion) ที่ลงนามสัญญาโดย DSME เกาหลีใต้และรัฐบาลอินโดนีเซียในเดือนธันวาคม 2011
สัญญาได้รวมถึงข้อตกลงการถ่ายทอด Technology ซึ่งเรือลำแรก KRI Nagapasa 403 และเรือลำที่สอง KRI Ardadedali 404 ได้สร้างที่อู่ในเกาหลีใต้ ส่วนเรือลำที่สาม KRI Alugoro 405 จะสร้างในอินโดนีเซียโดยรัฐวิสาหกิจอู่ต่อเรือ PT PAL ใน Surabaya อินโดนีเซีย

เรือดำน้ำชั้น Nagapasa(DSME 1400T) มีระวางขับน้ำที่ผิวน้ำประมาณ 1,280tons และระวางขับน้ำขณะดำใต้น้ำ 1,400tons ตัวเรือยาว 61.2m กว้าง 6.25m และกินน้ำลึก 5.5m
ติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซล MTU 12V493 สี่เครื่อง ทำความเร็วได้สูงสุด 21.5knots ขณะดำใต้น้ำ และ 11knots ที่ผิวน้ำ มีพิสัยทำการใกล้สุดที่ประมาณ 10,000nmi ที่ความเร็วมัธยัสถ์ 10knots ที่ผิวน้ำ ตามข้อมูลคุณสมบัติจาก DSME

อย่างไรก็ตามโครงการจัดหาเรือดำน้ำ 3ลำจากเกาหลีใต้ของกองทัพอินโดนีเซียนั้นมีความล่าช้าเนื่องจากต้องมีการดัดแปลงปรับแต่งตัวเรือใหม่หลังจากที่มีผลการทดลองเรือในทะเลหลังปล่อยเรือลงน้ำเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2016
นอกจากเรือดำน้ำชั้น Cakra (Type 209/1300)2ลำคือ KRI Cakra 401 และ KRI Nanggala 402 ที่ได้รับการปรับปรุงความทันสัยและยืดอายุการใช้งานออกไปแล้ว กองทัพเรืออินโดนีเซียยังมีแผนการจัดหาเรือดำน้ำเพิ่มอีกรวมทั้งหมด 12ลำตามที่ได้เคยรายงานไปครับ
(http://aagth1.blogspot.com/2017/04/dcns-pt-pal-dsme.html, http://aagth1.blogspot.com/2017/05/type-214-aip.html)

Indonesia in talks to procure first mini-submarine
A model of the 22 m mini-submarine concept on display at Indo Defence 2016. (IHS Markit/Patrick Allen)
http://www.janes.com/article/72643/indonesia-in-talks-to-procure-first-mini-submarine

กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียกำลังอยู่ระหว่างการสรุปสัญญากับอู่ต่อเรือ PT Palindo Marine ใน Batam อินโดนีเซียสำหรับการจัดหาเรือดำน้ำขนาดเล็กลำแรกของกองทัพเรืออินโดนีเซ๊ย ตามที่แหล่งข่าวให้ข้อมูลกับ Jane's เมื่อ 26 กรกฎาคม
ข้อมูลนี้ได้รับการยืนยันจากเจ้าหน้าที่ของ PT Palindo อินโดนีเซียผู้ซึ่งยืนยันในวันเดียวกันว่า การหารือเกี่ยวกับสัญญากำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการอยู่กับเจ้าหน้าที่จากกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียและกองทัพเรืออินโดนีเซีย

"การเจรจาเรื่องการจัดหากำลังคงดำเนินอยู่ตามที่เราพูด เราจะทำการประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อสัญญาได้รับการยืนยันและลงนามแล้ว" Mukti Syarif Rivai สถาปนิกเรือ PT Palindo ได้สนทนาทางโทรศัพท์กับ Jane's
ตามข้อมูลจาก PT Palindo เรือดำน้ำขนาดเล็กจะมีพื้นฐานจากแนวคิดแบบที่เปิดเผยครั้งแรกโดยแผนกวิจัยและพัฒนาของกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2016 ในงานแสดงยุทโธปกรณ์ Indo Defence 2016 ใน Jakarta

แนวคิดแบบเรือดำน้ำขนาดเล็กดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่าง PT Palindo Marine กับกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซีย ประสานกับกระทรวงกิจการทางทะเลอินโดนีเซีย
และสถาบันการศึกษาอินโดนีเซียคือ สำนักงานการประเมินและประยุต์ใช้เทคโนโลยี(BPPT:Badan Pengkajian dan Penerapan Teknologi) สถาบันเทคโนโลยี(ITS: Institut Teknologi Sepuluh Nopember) และมหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย(UI: University of Indonesia)

แนวคิดแบบเรือดำน้ำขนาดเล็กมีความยาวเรือ 22m กว้าง 3m สูง 2.5m มีระวางขับน้ำบนผิวน้ำประมาณ 117ton และระวางขับน้ำขณะดำใต้น้ำ 127tons ดำน้่ำปฏิบัติการได้ลึกที่สุด 150m มีระยะปฏิบัติการ 6วัน ทำความเร็วสูงสุดขณะดำใต้น้ำได้ 10knots มีกำลังพลประจำเรือ 5นาย และมีพื้นที่รองรับกำลังพลได้เพิ่มอีก 9นาย
ซึ่งเรือดำน้ำขนาดเล็กนี้น่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่ถูกนำมาเติมเต็มความต้องการของกองทัพเรืออินโดนีเซียจะมีเรือดำน้ำประจำการรวมทั้งหมด 12ลำภายในปี 2024 ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ญี่ปุ่นและเยอรมนีจะร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีทางทหาร เช่นยานเกราะล้อยาง Komatsu 8x8 ใหม่

Japan and Germany to jointly develop military technologies
Collaboration is expected to take place on the new Komatsu 8x8 armoured personnel carrier. Source: Japanese MoD
http://www.janes.com/article/72540/japan-and-germany-to-jointly-develop-military-technologies


ญี่ปุ่นและเยอรมนีได้ลงนามข้อตกลงระหว่างรัฐบาลเพื่อความร่วมมือด้านยุทโธปกรณ์ทางทหารและวิทยาการรากฐาน ตามที่ Jane's ได้ทราบ
ข้อตกลงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากสองประเทศได้ขาดการกระชับความสัมพันธ์ทางทหารในยุคใหม่ และความร่วมมือด้านวิทยาการที่เกี่ยวข้องที่มีความอ่อนไหวมานาน ด้วยเหตุผลเหล่านี้นั้นทั้งสองประเทศจึงยังไม่ได้มีการเปิดเผยข้อตกลงฉบับใหม่นี้ต่อสาธารณะอย่างเต็มรูปแบบ

อย่างไรก็ตามโฆษกของ สำนักงานการจัดซื้อจัดจ้าง, เทคโนโลยี และการส่งกำลังบำรุง(ATLA: Acquisition, Technology and Logistics Agency) กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่น ยืนยันกับ Jane's เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคมที่ผ่านมาว่า
ข้อตกลงยุทโธปกรณ์กลาโหมและเทคโนโลยีญี่ปุ่น-เยอรมนีได้ลงนามไปแล้วเมื่อเร็วๆนี้ และนั้นทำให้สองประเทศกำลังสำรวจจุดมุ่งเน้นสำหรับความร่วมมือระหว่างกัน

เมื่อข้อกำหนดของความร่วมมือเสร็จสิ้นแล้ว หน่วยงานวิจัยทางทหารของญี่ปุ่นและเยอรมนีกำลังคาดว่าจะดำเนินโครงการพัฒนาร่วมกัน ด้วยการสนับสนุนจากฝ่ายอุตสาหกรรมความมั่นคงของทั้งสองประเทศ
"(ญี่ปุ่นและเยอรมนี) กำลังพิจารณาความเป็นได้ทุกรูปแบบสำหรับความร่วมมือด้านยุทโธปกรณ์กลาโหมและเทคโนโลยี ยังไม่การกำหนดเฉพาะใดๆตอนนี้" โฆษก ATLA ญี่ปุ่นกล่าว

กระทรวงกลาโหมสหพันธรัฐเยอรมนีได้รับการติดต่อสำหรับการตอบสนอนในเรื่องนี้ แต่ตามเวลาที่เผยแพร่นี้ยังไม่มีการตอบกลับมา
Jane's เข้าใจว่าข้อตกลงกลาโหมได้ถูกลงนามที่ Berlin โดยตัวแทนของจากกระทรวงกลาโหมของทั้งสองประเทศ เป็นที่เข้าใจว่าทั้งสองประเทศจะมองไปยังการใช้ข้อตกลงในกรอบความร่วมสำหรับการพัฒนาระบบภาคพื้นดินร่วมกัน

โดยเฉพาะการพัฒนาระบบเครื่องยนต์สำหรับยานยนต์ทางทหาร ที่รวมถึงยานเกราะล้อยางลำเลียงพล(APC: Armoured Personnel Carrier) 8x8 แบบใหม่ที่กำลังพัฒนาโดยบริษัท Komatsu ญี่ปุ่น
ซึ่งเข้าใจว่ายานเกราะล้อยาง Kamatsu 8x8 แบบใหม่จะถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อทดแทนยานเกราะล้อยางลำเลียงพล Type 96 8x8 APC ของ Komatsu เช่นกัน ที่ประจำการในกองกำลังป้องกันตนเองทางบกญี่ปุ่น(JGSDF: Japan Ground Self-Defense Force) ครับ

วันพุธที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

วิเคราะห์กองทัพไทยเข้าแข่งขันพลซุ่มยิง Sniper Frontier 2017 ใน Army Games 2017

Sniper Frontier 2017
http://armygames2017.mil.ru/sniper_frontier_en

Countries participating in the International Army Games 2017
http://armygames2017.mil.ru/countries_participants_en

Royal Thai Army SR-25 Sniper Rifle

Royal Thai Navy SEAL's Sniper Rifle include SR-25 7.62x51mm NATO, Barrett M98B .338 Lapua Magnum(8.58x70mm) and Barrett M95 .50 BMG(12.7x99mm)(https://www.facebook.com/Combat-Zones-226312960785639/)

การแข่งขันทางทหารนานาชาติ International Army Games 2017 ระหว่างวันที่ ๒๙ กรกฎาคม-๑๒ สิงหาคม ซึ่งริเริ่มโดยกระทรวงกลาโหมรัสเซียและกองทัพรัสเซีย ซึ่งปีนี้มีการจัดหลายประเภทการแข่งขันในหลายพื้นที่ของหลายประเทศทั้งใน รัสเซีย จีน และคาซัคสถาน เป็นต้นนั้น
มีเรื่องน่าสนใจที่ทางกระทรวงกลาโหมและกองทัพไทยดูจะยังไม่ได้ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ให้ทราบโดยทั่วไปคือ กองทัพไทยได้ส่งตัวแทนเข้าแข่งขันทางทหาร Army Games 2017 ปีนี้เป็นปีแรกในประเภทการแข่งพลซุ่มยิง Sniper Frontier 2017 
ซึ่งกองทัพไทยเป็นหนึ่งในสองชาติกลุ่มประเทศ ASEAN ที่เข้าแข่งขัน International Army Games 2017 โดยอีกประเทศคือ กองทัพประชาชนลาว ที่จะเข้าการแข่งขันรถถังนานาชาติ Tank Biathlon 2017
(ทหารรถถังลาวได้มีการฝึกกับรถถังหลัก T-72 ที่รัสเซียแล้ว โดยการแข่งรอบแรกลาวอยู่กลุ่มที่๑ รวมกับ แองโกลา ทาจิกิสถาน และยูกันดา ซึ่งต่างใช้ T-72B3 ที่ยืมจากรัสเซียเหมือนหลายชาติที่ลงแข่ง)

การแข่งขันพลซุ่มยิงนานาชาติ Sniper Frontier 2017 จะจัดขึ้นที่สนามฝึกใช้อาวุธ Gvardeisky ของกองทัพคาซัคสถานใน Otar คาซัคสถาน มีรายชื่อประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขันดังนี้คือ
รัสเซีย, คาซัคสถาน, จีน, เวเนซุเอลา, เบลารุส, อิหร่าน, อาเซอร์ไบจาน, ซิมบับเว, อาร์มีเนีย, อุซเบกิสถาน, มองโกเลีย, อินเดีย, คีร์กีซสถาน, กรีซ, ซาอุดิอาระเบีย, ซีเรีย, แอฟริกาใต้ และไทย
ซึ่งประเทศที่เข้าแข่งขันเกือบทั้งหมดจะใช้ปืนเล็กยาวซุ่มยิงกึ่งอัตโนมัติ Dragunov SVDM ขนาด 7.62x54Rmm ซึ่งเป็นอาวุธประจำกายนักแม่นปืนที่ประกอบกำลังในหน่วยทหารราบรัสเซีย
แต่บางประเทศจะนำปืนซุ่มยิงที่มีประจำการในกองทัพตนมาใช้ในการแข่ง เช่น จีน(อาจจะเป็นปืนเล็กยาวซุ่มยิง Type 85 หรือรุ่นใหม่กว่า), กรีซซึ่งเป็นชาติ NATO เดียวในการแข่ง และไทยที่มีข้อมูลว่าน่าจะใช้ปืนเล็กยาวซุ่มยิง SR-25 หรือ M110 SASS ในการแข่ง

ผู้เข้าแข่งขันจะเป็นทีม ๑๑นาย ประกอบด้วยหัวหน้าทีม ๑นาย, รองหัวหน้าทีม(ผู้ตัดสิน) ๑นาย, ผู้ฝึกสอน(Team Coach) ๑นาย และชุดพลซุ่มยิง ๔คู่ยิงรวม ๘นาย
ในส่วนของกองทัพไทยนั้นไม่ทราบว่าจะจัดชุดจาก กองทัพบก(Royal Thai Army), กองทัพเรือ(Royal Thai Navy), กองทัพอากาศ(Royal Thai Air Force) หริอสามเหล่าทัพรวมกัน โดยแต่ละเหล่าทัพของไทยมีหน่วยรบพิเศษที่มีพลซุ่มยิงในหน่วย
การแข่งจะเป็นในส่วนระดับแต่ละบุคคล, การแข่งเป็นคู่ชุดพลซุ่มยิง และการแข่งขันเป็นทีม โดยอาวุธที่ใช้ในการแข่งตามมาตราฐานกลุ่มประเทศพันธมิตรรัสเซียประกอบด้วย
๑.ปืนเล็กยาวซุ่มยิง SDV 7.62mm พร้อมกล้องเล็งกลางวันและกลางคืน ๒.ปืนพก Makarov 9x18mm ๓.ลูกระเบิดขว้างฝึก RGD-5(เข้าใจว่ากองทัพไทยจะใช้ปืนซุ่มยิงและปืนพกของตนเอง)

การแข่งในสนามยิงระยะ 1km จะประกอบด้วย

ด่านบุคคล STAGE1

สนามวงรอบ
๑.ยืนยิงเป้าหมายวงกลมสามเป้าหมายในระยะ 25m ด้วยปืนพกกระสุน ๓นัด
๒.นอนยิงเป้าหมายบุคคลครึ่งตัว(หัว-อก)สามเป้าในระยะ 300m ด้วยปืนซุ่มยิงกระสุน ๓นัด
๓.ทำลายเป้าหมายบุคคลเต็มตัวในระยะ 25m ด้วยลูกระเบิดขว้าง ๒ลูก

ทดสอบสมรรถนะการยิง
นอนยิงเป้าหมายบุคคลครึ่งตัว(หัว-อก)หนึ่งเป้าในระยะ 300m ด้วยปืนซุ่มยิงกระสุน ๑๐นัดต่อเนื่องจนกระสุนหมด

ทดสอบการตั้งรับ ในท่านอนยิงด้วยปืนซุ่มยิงกระสุน ๑๐นัดต่อเนื่องจนกระสุนหมด
๑.ยิงเป้าหมายรูปพลปืนกลเบาในระยะ 700-800m ๒๐คะแนน
๒.ยิงป้าหมายบุคคลเต็มตัวในระยะ 500-600m ๑๕คะแนน
๓.ยิงเป้าหมายบุคคลครึ่งตัว(หัว-อก)ในระยะ 300-400m ๑๐คะแนน

ทดสอบการรุก ด้วยปืนซุ่มยิงกระสุน ๑๐นัดต่อเนื่องจนกระสุนหมด
๑.ยิงเป้าหมายรูปพลปืนกลเบาในระยะ 300-400m ด้วยท่ายืนยิง ๑๐คะแนน
๒.ยิงเป้าหมายบุคคลเต็มตัวในระยะ 700-800m ด้วยท่านอนยิง ๒๐คะแนน
๓.ยิงเป้าหมายบุคคลครึ่งตัว(หัว-อก)ในระยะ 500-600m ด้วยท่าคุกเข่ายิง ๑๕คะแนน

ทดสอบการยิงกลางคืน ในท่านอนยิงด้วยปืนซุ่มยิงกระสุน ๑๐นัดต่อเนื่องจนกระสุนหมด
๑.ยิงเป้าหมายรูปพลปืนกลเบาในระยะ 500-600m ๒๐คะแนน
๒.ยิงป้าหมายบุคคลเต็มตัวในระยะ 300-400m ๑๕คะแนน
๓.ยิงเป้าหมายบุคคลครึ่งตัว(หัว-อก)ในระยะ 200-250m ๑๐คะแนน

ด่านคู่ยิง STAGE2

เป้าอากาศยาน ด้วยปืนซุ่มยิงกระสุน ๑๐นัดต่อเนื่องจนกระสุนหมด
๑.ยิงเป้า UAV ในระยะ 150-200m ด้วยท่านอนยิง ๒๐คะแนน
๒.ยิงเป้าภาพเงาหัวในระยะ 200-300m ด้วยท่านอนยิง ๑๕คะแนน
๓.ยิงป้าหมายบุคคลเต็มตัวในระยะ 500-600m ด้วยท่านอนยิง ๑๐คะแนน

การค้นหาและทำลาย 
ยิงเป้าภาพเงาหัวสามเป้าในระยะ 300-600m ด้วยปืนซุ่มยิงกระสุน ๑๐นัดต่อเนื่องจนกระสุนหมดในท่านอนยิง เป้าละ ๑๐คะแนน

การยิงพิเศษ
ยิงหัวเป้าผู้ก่อการร้ายห้าเป้าที่ซ่อนในกลุ่มเป้าตัวประกัน ด้วยปืนซุ่มยิงกระสุน ๕นัดต่อเนื่องจนกระสุนหมดในท่านอนยิง
๕คะแนน สำหรับ ๑เป้า ผกก., ๑๐คะแนน สำหรับ ๒เป้า ผกก., ๑๕คะแนน สำหรับ ๓เป้า ผกก., ๒๐คะแนน สำหรับ ๔เป้า ผกก. และ ๒๕คะแนน สำหรับ ๕เป้า ผกก.
ถ้ายิงถูกเป้าตัวประกัน ตัด-๒๕คะแนน

การยิงด้วยการปรับเล็งเฉพาะจุด
ยิงเป้าหมายบุคคลครึ่งตัว(หัว-อก)ในระยะ 400-800m ด้วยปืนซุ่มยิงกระสุน ๙นัดต่อเนื่องจนกระสุนหมดในท่านอนยิง ๑๐คะแนสำหรับเป้าหมายแต่ละจุด

ด่านทีมยิง STAGE3

ชุดพลซุ่มยิง ๓คู่ยิง(สำรอง ๑คู่ยิง) ยิงเป้าหมายโดย
๑.วิ่งผ่านสนาม obstacles ๔สถานีประกอบด้วย กำแพงและกำแพงมีช่องผ่าน, รั้วลวดหนาม, สนามเพลาะ และอุโมงค์ลวดหนาม 
๒.ยิงเป้าหมายประกอบด้วย
-ยิงปืนพกโดยกำลังพลนายแรกของคู่ยิง
-ยิงปืนซุ่มยิงโดยกำลังพลนายที่สองของคู่ยิง
-ขว้างลูกระเบิดขว้างโดยกำลังพลนายใดนายหนึ่งในคู่ยิง
๓.หลังยิงตรวจสอบอาวุธรายงานผู้ตัดสินในทีม
๔.วิ่งผ่านสนาม obstacles ๔สถานีประกอบด้วย กำแพงล้อยางรถยนต์, บันไดเอียง, ล้อยางรถยนต์วิบาก และเคลื่อนย้ายกล่องกระสุน
๕.เมื่อคู่ยิงแรกผ่านจบสนาม ชุดคู่ยิงที่สองจะเข้าสานามผ่านด่านต่างตามลำดับจนจบ แล้วตามด้วยคู่ยิงที่สาม

อย่างไรก็จากการที่ได้ติดตามการแข่งประเภทต่างๆใน International Army Games 2016 ปีที่แล้วนั้น ต้องขอเรียนตามตรงว่าคงจะคาดหวังไม่ได้ว่าทีมแข่งพลซุ่มยิงของไทยจะสามารถทำคะแนนได้ดีจนเข้ารอบลึกๆหรืออยู่ในอันดับต้นๆได้
เพราะว่ากันตามตรงการแข่งขันทางทหารนี้ก็มีประเด็นเรื่องความชำนาญของกลุ่มเจ้าภาพที่คุ้นเคยกับสนามฝึกของตนเอง รูปแบบการฝึก และสภาพแวดล้อมท้องถิ่นอย่างมาก
โดยผลการแข่ง Sniper Frontier 2016 ปีที่แล้วนั้น ผู้ชนะเลิศอันดับหนึ่งคือคาซัคสถาน(เจ้าภาพ) รองชนะลิศอันดับสองคือรัสเซีย อันดับสามคือเบลารุส โดยจีนได้อันดับที่สี่ ส่วนกรีซเป็นชาติ NATO เดียวที่ลงแข่ง Sniper Frontier 2016 นั้นได้ที่โหล่สุดอันดับที่๑๒ ใน STAGE1(http://eng.armygames2016.mil.ru/page191561.html
ดังนั้นคงต้องทำความเข้าใจล่วงหน้าว่ากองทัพไทยเราจะไปแข่งเพื่อหาประสบการณ์และเพื่อมิตรภาพระหว่างมิตรประเทศ ไม่ได้หวังแข่งเพื่อชนะเอารางวัลครับ