วันพฤหัสบดีที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

Airbus เสนอ C295 รุ่นตรวจการณ์ทางทะเลแก่กองทัพเรือไทย และไทยกับเกาหลีใต้ขยายความร่วมมือทางกลาโหมร่วมกัน

Airbus touts C295 maritime aircraft to Royal Thai Navy


Airbus is promoting its C295 maritime surveillance aircraft (seen here in Brazilian Air Force colours) to countries in the Asia-Pacific. (Airbus)
http://www.janes.com/article/72035/airbus-touts-c295-maritime-aircraft-to-royal-thai-navy

บริษัท Airbus ได้ประชาสัมพันธ์การนำเสนอเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลแบบ C295 MSA(Maritime Surveillance Aircraft) แก่กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy)
ซึ่งเป็นการเปิดตัวครั้งแรกของการเดินสายประชาสัมพันธ์ระบบอากาศยานที่มีขีดความสามารถด้านข่าวกรอง, ลาดตระเวน และตรวจการณ์(ISR: Intelligence, Reconnaissance, and Surveillance)ของบริษัท ต่อลูกค้าผู้ใช้งานที่เป็นไปได้ในกองทัพประเทศเอเชีย

เครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล C295 MSA กองทัพอากาศบราซิลได้เดินทางมาถึงฐานทัพอากาศอู่ตะเภาของกองทัพเรือไทยที่ชลบุรีเมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ก่อนจะเดินทางไปประชาสัมพันธ์ที่เวียดนาม, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์ และสาธารณรัฐเกาหลีต่อไป
ซึ่งทุกประเทศที่กล่าวมาได้เริ่มตั้งโครงการจัดหาเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลใหม่ของตน พร้อมกันนั้น Airbus จะประชาสัมพันธ์ C295 MSA ให้กลุ่มผู้ใช้งานในประเทศกลุ่มอเมริกาเหนือด้วย

"ระหว่างการเดินสาย C295 จะสาธิตขีดความสามารถ ISR ที่ก้าวหน้าของตน เช่นเดียวกับความคล่องตัวและเหมาะสมของระบบสำหรับผู้ใช้งานที่เป็นไปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชีย" Airbus กล่าว
ทาง Airbus ยังประชาสัมพันธ์เครื่องให้ตรงกับความต้องการในภูมิภาคทั้งการขยายความสามารถการตรวจการณ์, ค้นหาและกู้ภัย, การขนส่ง, การส่งกลับทางสายแพทย์ และภารกิจด้านมนุษยธรรม

Airbus กล่าวว่า C295 MSA รุ่นเดียวกับที่ส่งมอบให้กองทัพอากาศบราซิลที่ได้นำมาแสดงที่ไทยนี้จะตรงความต้องการในภารกิจค้นหาและกู้ภัย และการตรวจการณ์ทางทะเล
โดย Airbus มองเห็นโอกาสในการขาย C295 MSA ให้กับกองทัพเรือไทยในการจัดหาเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลแบบใหม่ เพื่อทดแทนเครื่องที่ปลดประจำการไปแล้ว และคาดว่าใกล้จะปลดประจำการในอนาคตอันใกล้

ปัจจุบันกองการบินทหารเรือได้ปลดประจำการเครื่องตรวจการณ์ทางทะเล บ.ตผ.๒ P-3T Orion ๒เครื่อง และ UP-3T Orion ๑เครื่องที่เข้าประจำการเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๖(1992) โดยปลดประจำการไปเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๗(2014) แล้ว
โดยยังมีเครื่องตรวจการณ์ทางทะเล บ.ตผ.๑ Fokker F-27 Mk200 ๔เครื่อง ที่ประจำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๐(1987) และเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล บ.ลว.๑ Dornier Do-228-212 ๗เครื่อง ที่ประจำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๔(1991) ซึ่งต่างมีอายุการใช้งานมานาน

นอกจากนี้ Airbus ยังมองหาแนวทางการขายเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธี C295 รุ่นลำเลียงทางทหารให้กับกองทัพไทย(Royal Thai Armed Force) เพิ่มเติม
ตามที่กองทัพบกไทย(Royal Thai Army) ได้จัดหาเครื่องบินลำเลียง บ.ล.๒๙๕ C-295W ๑เครื่องที่ส่งมอบไปเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๙ โดยเข้าใจว่ากองทัพบกไทยน่าจะมีความต้องการ C295 เพิ่มเติมอีก ๓เครื่องครับ
(http://aagth1.blogspot.com/2016/06/c-295w.html, http://aagth1.blogspot.com/2016/08/c-295w.html)

Thailand and South Korea collaborate on defence management
South Korea’s Defense Acquisition Programme Administration (DAPA) and Thailand’s Ministry of Defence (MoD) are looking to expand collaboration across a range of defence management functions.
http://www.janes.com/article/72006/thailand-and-south-korea-collaborate-on-defence-management



S&T Motiv Firearms manufacturer of Republic of Korea at Defense & Security 2015(My Own Photo)

สำนักงานโครงการจัดหากลาโหม(DAPA: Defense Acquisition Program Administration) สาธารณรัฐเกาหลี และกระทรวงกลาโหมไทยกำลังมองหาแนวทางการขยายความร่วมมือด้านการบริหารจัดการทางกลาโหมร่วมกันในหลายๆด้าน
การพบกันระหว่างทั้งสองฝ่ายที่มีขึ้นที่สำนักงานใหญ่ DAPA ใน Seoul เมื่อปลายเดือนมิถุนายน และถูกร้องขอโดยกระทรวงกลาโหมไทย ตามที่ DAPA เกาหลีใต้กล่าวในการแถลง
โดยมีหน่วยงานจากกระทรวงกลาโหมไทยที่เดินทางเยือนเกาหลีใต้ประกอบด้วย สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป. (DTI: Defence Technology Institute) และ กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม วท.กห.(DSTD: Defence Science and Technology Department)

ตัวแทนจากฝ่ายไทยที่นำโดย พลตรี สมบัติ ประสานเกษม รองเจ้ากรม วท.กห. และนักวิจัยจาก สทป. DTI ได้เยี่ยมชมหน่วยงานและภาคส่วนอุตสาหกรรมความมั่นคงของเกาหลีใต้หลายแห่งเช่น
บริษัท S&T Motiv ผู้ผลิตอาวุธปืนให้กองทัพสาธาณรัฐเกาหลีเช่นปืนเล็กยาว K2 ขนาด 5.56x45mm และปืนกลเอนกประสงค์ K12 ขนาด 7.62x51mm กับบริษัท Poongsan ผู้ผลิตกระสุนและลูกระเบิดให้กองทัพสาธาณรัฐเกาหลี
และสำนักงานกลาโหมเพื่อเทคโนโลยีและคุณภาพ(DTaQ: Defense Agency for Technology and Quality) ที่มีหน้าที่กำหนดมาตรฐานและรับรองคุณภาพของอาวุธยุทโธปกรณ์ที่จะนำเข้าประจำการในกองทัพสาธารณรัฐเกาหลี

ปัจจุบันกองทัพไทยได้มีการจัดหาระบบอาวุธยุทโธปกรณ์จากเกาหลีใต้หลายหลายการ เช่น เรือฟริเกตชั้น ร.ล.ท่าจีน(DW3000H) โดยบริษัทอู่เรือ Daewoo Shipbuilding and Marine Engineering(DSME) สำหรับกองทัพเรือไทย ที่ลำแรกปล่อยลงน้ำแล้วและมีแผนจะต่ออีก ๑ลำในไทย
และเครื่องบินขับไล่ฝึกขั้นก้าวหน้า T-50TH โดยบริษัท Korea Aerospace Industries(KAI) สำหรับกองทัพอากาศไทยซึ่งมีการส่งนักบินและช่างอากาศยานไปทำการฝึกที่เกาหลีใต้แล้ว และเครื่องแรก ๔เครื่องจะส่งมอบได้ในเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๖๑(2018)
เกาหลีใต้ได้มุ่งเป้าที่จะเสนอความร่วมมือในการถ่ายทอดวิทยาการทางทหารและการศึกษาให้ไทยหลายรายการ และมองหาการขยายความร่วมมือด้านอุตสากรรมความมั่นคงเพื่อกระชับความสัมพันธ์กับไทยให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นครับ