วันอังคารที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560

สวีเดนเปิดเผยรายละเอียดการพัฒนาเครื่องยิงลูกระเบิดอัตตาจร Mjölner 120mm

Details of Sweden’s 120 mm Mjolner development emerge
Artist’s impression of the CV9040 fitted with the Mjolner twin 120 mm mortar turret. The hull and turret have been fitted with applique armour and clearly shows its extended turret bustle. Source: BAE Systems Hagglunds
http://www.janes.com/article/75278/details-of-sweden-s-120-mm-mjolner-development-emerge

การทดสอบการยิงโดยมีพลประจำรถของระบบเครื่องยิงลูกระเบิดอัตตาจรสายพาน Mjölner ลำกล้องแฝดสองขนาด 120mm ที่ใช้รถแคร่ฐานจากรถรบทหารราบสายพายตระกูล CV90 ของบริษัท BAE Systems Hägglunds สวีเดน กำลังอยู่ระหว่างการดำเนินงานตอนนี้
และเป็นที่คาดว่าการทบทวนการออกแบบที่สำคัญ(CDR: Critical Design Review) จะมีขึ้นในสิ้นปี 2017 ซึ่งจะนำไปสู่การออกแบบที่คงตัว(design freeze) และการอนุมัติสายการผลิตจะได้รับการเห็นชอบ

เมื่อโครงการเสร็จสิ้นระบบเครื่องยิงลูกระเบิดอัตตาจร Mjölner 120mm แฝดสองจะเข้าประจำการในกองทัพบกสวีเดน(Armén: Swedish Army) ในชื่อ GRKPBV90
พันตรี Nils Carlsson เจ้าหน้าที่องค์การพัฒนาเครื่องยิงลูกระเบิดอนาคตแห่งกองทัพบกสวีเดนได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ Mjölner ในการสัมมนา Defence IQ Future Mortar ที่ London สหราชอาณาจักร

การผลิตป้อมปืนของระบบเครื่องยิงลูกระเบิด Mjölner 120mm แฝดสอง จะเริ่มต้นในปี 2018 พร้อมกับการส่งมอบที่จะดำเนินการได้ในปลายปี 2018 หรือต้นปี 2019 จนถึงปี 2020
การทำงานนี้จะดำเนินการที่โรงงาน BAE Systems Hägglunds ที่ซึ่งระบบรถเกราะสายพานตระกูล CV90 กำลังได้รับการซ่อมยกเครื่อง

ตัวป้อมปืนที่ถูกสร้างโดย BAE Systems Hägglunds จะติดตั้งเครื่องยิงลูกระเบิดลำกล้องเรียบขนาด 120mm แฝดสองซึ่งมีแหล่งที่มาจากสโลวาเกีย
ในแต่ละกองพันยานเกราะ CV9040 ทั้ง 5กองพันของกองทัพบกสวีเดนจะมีระบบเครื่องยิงลูกระเบิดอัตตาจรสายพาน Mjölner 120mm แฝดสอง 8ระบบ

ค.อจ.Mjölner แต่ละระบบจะได้รับการสนับสนุนโดยรถสายพานบรรทุกกระสุนที่เคลื่อนที่ได้ทุกสภาพภูมิประเทศสำหรับการบรรทุกกระสุนลูกระเบิดยิง 120mm เพิ่มเติม
ระบบ CV90 Mjölner จะสามารถยิงกระสุนลูกระเบิดยิงขนาด 120mm ที่มีในปัจจุบันได้ทั้ง ระเบิดแรงสูง(HE: High-Explosive), ระเบิดควัน และกระสุนส่องแสง แม้ว่าในในระยะยาวจะมีกระสุน HE ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าพร้อมการเพิ่มการแตกสะเก็ดจะถูกผลิตขึ้นมาก็ตาม


เครื่องยิงลูกระเบิดอัตตาจร Mjölner ยังสามารถยิงลูกระเบิดยิงนำวิถี Strix 120mm ที่สามารถโจมตีเป้าหมายจากด้านบน ซึ่งขณะนี้พัฒนาโดยบริษัท Saab Dynamics สวีเดนและตอนนี้ได้ขายส่งออกให้สวิสเซอร์แลนด์แล้ว
Strix มีระยะยิงไกลสุด 7,500m ที่หัวลูกระเบิดยิงติดตั้งระบบค้นหาเป้าหมาย Infrared และหัวรบระเบิดแรงสูงต่อสู้รถถัง(HEAT: High-Explosive Anti-Tank) ซึ่งออกแบบมาเจาะเกราะทำลายผิวด้านบนของรถถังหลักและรถรบหุ้มเกราะอื่นๆครับ

วันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ตุรกียกเลิกโครงการพัฒนาเครื่องบินโดยสารไอพ่น TRJet

Turkey terminates local jet program worth billions

In 2015, the Turkish government committed to buying 50 TRJet aircraft that would have been based on the Dornier 328 aircraft, shown, and the Dornier 628. (Peter Muhly//AFP via Getty Images)
https://www.defensenews.com/air/2017/10/27/turkey-terminates-local-jet-program-worth-billions/


ตุรกีได้ยกเลิกโครงการพัฒนาการผลิตเครื่องบินโดยสายระดับภูมิภาคเครื่องยนต์ไอพ่น TRJet ของตนเองที่จะใช้งานทั้งทางพลเรือนและทางทหารวงเงินหลายพันล้านเหรียญสหรัฐฯแล้วอย่างเงียบๆ
เจ้าหน้าที่ในโครงการจัดหายืนยันว่าโครงการได้ถูกยกเลิกแล้ว หลังจากมีการวิจารณ์จำนวนมากที่พิสูจน์ว่าโครงการนี้ได้สูญเสีย 'ความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจ' ไปแล้ว
"ค่าใช้จ่ายและการประมาณการยอดขายไม่เป็นที่น่าพอใจ" เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องใกล้ชิดในโครงการกล่าว

ในปี 2015 รัฐบาลตุรกีมีความุ่งมั่นที่จะจัดซื้อเครื่องบินโดยสารไอพ่น TRJet จำนวน 50เครื่อง ซึ่งมีพื้นฐานจากเครื่องบินโดยสารเครื่องยนต์ใบพัด Turboprop แบบ Dornier 328 และ Dornier 628 เยอรมนี
โครงการนี้คาดว่าจะสามารถผลิตเครื่องบินโดยสารได้ 4แบบในท้ายที่สุดคือ เครื่องบินโดยสารไอพ่น TRJ328 และเครื่องบินโดยสารใบพัด TR328 ขนาด 32ที่นั่ง และเครื่องบินโดยสารไอพ่น TRJ628 และเครื่องบินโดยสารใบพัด TR628 ขนาด 60-70ที่นั่ง
Esen System Integration บริษัทตุรกีในเครือบริษัท Sierra Nevada Corporation สหรัฐฯที่จะได้เป็นผู้พัฒนาและสร้าง TRJet ตั้งเป้าที่จะขายเครื่องบินโดยสารไอพ่น TRJ328 เช่นเดียวกับ TRJ628 ได้ราว 500-1,000เครื่อง

ตุรกีได้จัดหาสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับเครื่องบินโดยสารใบพัด Dornier 328 และ Dornier 628 จากบริษัท Sierra Nevada
ซึ่งภายหลังได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจ(MOU: Memorandum of Understanding) กับ STM(Savunma Teknolojileri Mühendislik ve Ticaret A.Ş) ที่มีที่ตั้งใน Ankara
โดย STM ตุรกีเป็นรัฐวิสาหกิจด้านอุตสาหกรรมความมั่นคงในความควบคุมของรัฐบาลตุรกี เพื่อการทำงานร่วมในโครงการพัฒนาเครื่องบินโดยสารระดับภูมิภาค TRJet

แหล่งข้อมูลในอุตสาหกรรมอากาศยานกล่าวว่าการยกเลิกโครงการ TRJet เป็นข่าวร้ายสำหรับแวดวงอุตสาหกรรมอากาศยานของตุรกีในภาพรวมทั้งหมด
"โครงการนี้ควรจะสร้างธุรกิจสำหรับบริษัทของตุรกีในทุกขนาดเป็น 100ราย" ผู้บริหารบริษัทอากาศยานตุรกีกล่าว
ในต้นปี 2016 รัฐบาลตุรกีกล่าวว่าสัญญาสุดท้ายควรจะมีการลงนามกับ Sierra Nevada ในปีนั้น แต่ตั้งแต่นั้นมาพวกเขายังคงนิ่งเงียบในเรื่องนี้มาตลอดครับ

วันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ยูเครนเปิดตัวรถรบสายพานยิงสนับสนุน BMPT Strazh

Strazh fire support vehicle breaks cover




The Strazh on display at the Arms and Security Exhibition in Kiev, this image shows the quantity of ERA required to protect the basic T-64 hull against modern threats. Source: IHS Markit/Samuel Cranny-Evans (wikipedia.org)
http://www.janes.com/article/75201/strazh-fire-support-vehicle-breaks-cover

โรงงานยานเกราะ Zhytomyr ยูเครนได้เปิดตัวรถรบหุ้มเกราะสายพานยิงสนับสนุน Strazh(Sentinel) ใหม่ในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Arms and Security 2017 ที่ Kiev ระหว่างวันที่ 10-13 ตุลาคมที่ผ่านมา
ตามข้อมูลจากตัวแทนบริษัท รถรบ Strazh จะเข้าสู่การดำเนินการทดสอบโดยกระทรวงกลาโหมยูเครนในปีนี้ และหวังว่าจะได้รับการสั่งจัดหาในปี 2018 แม้ว่านี่จะขึ้นอยู่กับงบประมาณและลำดับความสำคัญในการจัดหาก็ตาม

รถหุ้มเกราะสายพานยิงสนับสนุน Strazh มีพื้นฐานจากรถถังหลัก T-64 และเป็นการแสดงถึงการย้ายการทำงานมาสู่ยานเกราะหนักของโรงงาน Zhytomyr
ที่จนถึงตอนนี้มุ่งการทำงานไปยังรถรบทหารราบ BMP-1 IFV(Infantry Fighting Vehicle) และยานเกราะล้อยางลำเลียงพลตระกูล BTR รุ่นต่างๆ

BMPT Strazh ถูกอธิบายว่าเป็นรถถังยิงสนับสนุน และมีรูปแบบภายนอกคล้ายคลึงกับรถรบหุ้มเกราะ BMPT-72 Terminator ของ UralVagonZavod รัสเซียที่มีพื้นฐานจากรถถังหลัก T-72
เห็นได้จากรถที่นำมาจัดแสดงในงานนั้นมีการเขียนคำว่า 'BMPT' บนด้านข้างของกระโปรงข้างรถ

Strazh ถูกออกแบบมาเพื่อประกอบกำลังหน่วยยานเกราะในการยิงสนับสนุนระยะประชิด และมีอำนาจการยิงอย่างมหาศาลในการต่อต้านหน่วยทหารราบที่วางกำลังพร้อมอาวุธต่อสู้รถถังในมือ
การออกแบบรถได้ยกประสบการณ์จากกองกำลังความมั่นคงของรัฐบาลยูเครนที่ปฏิบัติในภาค Dobrass ที่ซึ่งการรบกับกลุ่มติดอาวุธนิยมรัสเซียได้มีรถถังหลัก T-64 เป็นจำนวนมากที่สูญเสียไปในการรบเขตเมือง

รถรบ Strazh ติดตั้งป้อมปืนแบบไร้พลประจำป้อม Doublet ที่เปิดตัวในตลาดปี 2016(http://aagth1.blogspot.com/2016/05/duplet-kastet-cvrt-btr-3-120mm.html)
ซึ่งป้อมปืน Doublet มีระบบอาวุธหลักประกอบด้วย ปืนใหญ่กล ZTM-2 ขนาด 30mm 2กระบอก และปืนกล KT-7.62 ขนาด 7.62x54Rmm 2กระบอก

ด้านบนของป้อมปืนติดตั้งเครื่องยิงลูกระเบิดอัตโนมัติ KBA-117 ขนาด 30mm เช่นเดียวกับแท่นยิงอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง Bar’er-212 แฝดสองสองแท่นยิง 4นัด
โดยปืนใหญ่กล ZTM-2 นั้นเป็นปืนใหญ่กล 2A42 รัสเซียที่ยูเครนผลิตในประเทศ ซึ่งมีระบบป้อนกระสุนสองทางและกล่าวว่าสามารถทำลายเป้าหมายรถหุ้มเกราะเบา(อย่างยานเกราะล้อยาง BTR-70) ได้ในระยะ 1,500m และเป้าหมายบุคคลในระยะ 4,000m ครับ

วันเสาร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2560

สหรัฐฯทดสอบยิงเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้อง HIMARS จากเรืออู่ยกพลขึ้นบก LPD

HIMARS test advances USN surface-ship lethality potential
The demonstration on USS (LPD 23) consisted of HIMARS engaging a land-based target with a Guided Multiple Launch Rocket System Unitary (GMLRS-U) during Exercise ‘Dawn Blitz 2017’ on 22 October. Source: US Navy/MC2 Matthew Dickinson
http://www.janes.com/article/75155/himars-test-advances-usn-surface-ship-lethality-potential


การทดสอบการยิงของเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องอัตตาจรล้อยาง M142 HIMARS(High Mobility Artillery Rocket System) บนเรือผิวน้ำ เป็นความก้าวหน้าเพิ่มเติมในแผนของกองทัพเรือสหรัฐฯ(US Navy)
สำหรับการแพร่กระจายอำนาจการสังหารและยังแสดงให้เห็นถึงขีดความในการเคลื่อนย้ายระบบอาวุธปล่อยนำวิถีเพิ่มเติมของกองทัพสหรัฐฯด้วย

เครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องอัตตาจร HIMARS ได้ถูกทดสอบยิงเมื่อวันที่ 22 ตุลาคมที่ผ่านมาบนดาดฟ้าบินของเรืออู่ยกพลขึ้นบก(LPD: Landing Platform Dock) ชั้น San Antonio ของกองทัพเรือสหรัฐฯ
คือ LPD-23 USS Anchorage ระหว่างการฝึกซ้อมรบ Dawn Blitz 2017 ทางชายฝั่งตอนใต้ของ California สหรัฐฯ โดยระบบ HIMARS ที่ใช้ยิงมาจาก กองพันที่5 กรมนาวิกโยธินที่11 กองพลนาวิกโยธินที่1

M142 HIMARS เป็นเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องอัตตาจรบนรถยนต์บรรทุก FMTV ขนาด 5tons ที่มีประจำการในกองทัพบกสหรัฐฯ(US Army) และนาวิกโยธินสหรัฐฯ(USMC: US Marine Corps)
และสามารถทำการยิงจรวดนำวิถี GMLRS(Guided Multiple Launch Rocket System) ขนาด 227mm 6ท่อยิง ระยะยิง 15–70km หรือขีปนาวุธทางยุทธวิธี ATACMS(Army Tactical Missile System) 1นัด ระยะยิง 300km

ระหว่างการทดสอบบน USS Anchorage คจลก.อจ.HIMARS ได้ยิงโจมตีเป้าหมายบนภาคพื้นดินด้วยจรวดนำวิถี GMLRS ซึ่งเป็นการพิสูจน์ว่าเรือสามารถสนับสนุนการยิงเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องได้ และนั่นระบบและกำลังพลสามารถ
"มีผลการยิงที่ดีต่อเป้าหมาย เราสามารถทำลายเป้าหมายที่ระยะ 70km ขณะอยู่ในทะเล" พันตรี Adam Ropelewski จากกองทัพบกสหรัฐฯ หัวหน้าผู้วางแผนสำหรับการยิงบนฐานในทะเลนอกประเทศของกองกำลังนาวิกโยธินนอกประเทศที่1(MEF: Marine Expeditionary Force) แถลง

การทดสอบยังเป็นการช่วยสาธิตความเป็นไปได้ของการผสานระบบอาวุธเชิงรุกเช่นนี้กับตัวเรือยกพลขึ้นบก เป็นส่วนหนึ่งของการกระจายแนวคิดการสังหาร
ที่ผลักดันโดย พลเรือโท Thomas Rowden ผู้บัญชาการกองกำลังเรือผิวน้ำ(Naval Surface Forces) ในตลอดหลายปีที่ผ่านมานี้

แนวคิดของนายพลเรือ Rowden ได้รับการนำไปใช้ในฐานะอาวุธปล่อยนำวิถีและอาวุธเชิงรุกแบบอื่นๆจำนวนมาก ว่าเป็นไปได้ที่จะติดตั้งบนเรือผิวน้ำจำนวนมาก รวมถึงเรือยกพลขึ้นบก
ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ในการเปลี่ยนการคำนวนการรบทางทะเลดั้งเดิม และทำให้ข้าศึกต้องกังวลถึง "ตัวยิง" ต่อเป้าหมายที่มีมากขึ้น

ตามที่นายพลเรือ Rowden เคยโต้เถียง เรือที่มากขึ้นพร้อมอาวุธที่มากขึ้นจะทำให้กองทัพเรือสหรัฐฯมีอำนาจการครองทะเลที่ยิ่งใหญ่มากขึ้น
การนำระบบอาวุธลักษณะนี้วางบนเรือยกพลขึ้นบกจะช่วยให้กองทัพสหรัฐฯสามารถควบคุมพื้นที่ชายฝั่งได้ครับ

วันศุกร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2560

สหรัฐฯอนุมัติการขายเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป UH-1Y Venom ให้สาธารณรัฐเชค

US clears Venom sale to Czech Republic
A model of the UH-1Y in Czech national colours at the signing of an MoU between Bell Helicopter and national industry in 2016.
The potential sale of 12 such helicopters has now been approved by the US government. (HIS Markit/Gareth Jennings)
http://www.janes.com/article/75144/us-clears-venom-sale-to-czech-republic

กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯได้อนุมัติความเป็นไปได้ในการขายเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปแบบ Bell UH-1Y Venom ให้สาธารณรัฐเชค
ตามที่เอกสารของสำนักงานความร่วมมือด้านความปลอดภัยความมั่นคงสหรัฐฯ(DSCA: Defense Security Cooperation Agency) ประกาศเมื่อวันที่ 23 ตุลาคมที่ผ่านมา

รัฐบาลสาธารณรัฐเชคได้ร้องข้อความเป็นไปได้ในการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปและจู่โจม UH-1Y จำนวน 12เครื่องวงเงินประมาณ $575 million(489 million Euros) ในรูปแบบการขายแบบ Foreign Military Sale(FMS)
พร้อมเครื่องยนต์ Turboshaft แบบ General Electric T-700 GE 401C ที่ติดตั้งในเครื่อง 24เครื่อง และอะไหล่ 1เครื่อง และ ระบบนำร่อง Honeywell Embedded GPS/INS(EGI) 12ระบบ+อะไหล่ 1ระบบ

การร้อขอการจัดหายังรวมปืนกล M240 ขนาด 7.62x51mm NATO 12กระบอก, กล้องตรวจจับ EO/IR-FLIR(Electro-Optic/Infrared-Forward Looking Infrared) แบบ Brite Star II, อุปกรณ์ความอยู่รอดอากาศยาน(ASE: Aircraft Survivability Equipment) ประกอบด้วย
ระบบตรวจจับอาวุธปล่อยนำวิถีและ Laser AN/AAR-47, ระบบควบคุมเป้าลวง AN/ALE-47 CMDS(Counter Measure Dispensing System) และระบบแจ้งเตือนสัญญาน radar AN/APR-39 RWR(Radar Warning Receiver)

การจัดหาอื่นๆยังรวม ระบบวางแผนภารกิจร่วม Joint Mission Planning Systems, หมวกนักบินติดจอแสดงผล HMD(Helmet Mounted Display), ระบบสื่อสาร, อาวุธปืนลำกล้องเล็กประกอบด้วย
ปืนกล Gatling 6ลำกล้องหมุน M134 GAU-17A 7.62x51mm และปืนกลหนักอากาศ M3M GAU-21 12.7x99mm, ระบบสงคราม Elctronic, ระบบพิสูจน์ฝ่าย IFF(Identification Friend or Foe)

พร้อมทั้งอุปกรณ์สนับสนุน, ชุดบรรจุอะไหล่, ชิ้นส่วนอะไหล่และซ่อม, เครื่องมือและชุดทดสอบ, ข้อมูลทางเทคนิคและเอกสาร, การฝึกนักบินบินและช่างเครื่องและอุปกรณ์การฝึก
โดยผู้รับสัญญาหลักคือบริษัท Bell Helicopter ใน Textron, Fort Worth มลรัฐ Texas และบริษัท General Electric ใน Lynn มลรัฐ Massachusetts

การอนุมัติความเป็นไปได้ในการขายเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป UH-1Y Venom แก่สาธารณรัฐเชคเป็นสร้างเสริมความแข็งแกร่งในการป้องกันประเทศและการยับยั้งภัยคุกคามในภูมิภาคแก่ชาติพันธมิตร NATO ของสหรัฐฯในยุโรป
ก่อนหน้านี้ในเดือนมีนาคม 2017 คณะกรรมการร่วมกระทรวงกลาโหมเชคและกองทัพสาธารณรัฐเชค(ACR: Army of the Czech Republic)ได้อนุมัติการจัดหา ฮ.UH-1Y 12เครื่องสำหรับกองทัพอากาศเชค(Czech Air Force) วงเงิน 222 million Euros

ปัจจุบันกองทัพอากาศเชคมีแผนจะจัดหาเฮลิคอปเตอร์ใหม่แบบต่างๆประมาณ 30-35เครื่องเพื่อทดแทน ฮ.เก่าที่จัดหาจากสำนักออกแบบ Mil รัสเซีย เช่น เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง Mi-8/Mi-17(NATO กำหนดรหัส Hip) และเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-24/Mi-35(NATO กำหนดรหัส Hind)
ทั้งนี้สาธารณรัฐเชคจะเป็นประเทศแรกที่สหรัฐฯจะส่งออก UH-1Y ให้นอกจากผู้ใช้งานหลักคือนาวิกโยธินสหรัฐฯ(USMC: US Marine Corps) ซึ่งเชคยังให้ความสนใจเฮลิคอปเตอร์โจมตี Bell AH-1Z สหรัฐฯด้วยครับ

วันพฤหัสบดีที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560

สหรัฐฯเปิดตัวเครื่องบินลำเลียง C-130J ฝรั่งเศสเครื่องแรกในฝูงบินร่วมกับเยอรมนี

First French C-130J rolls out



The first Lockheed Martin C-130J Hercules for France is rolled out from the Marietta production line in Georgia on 20 October. Source: Ministère des Armées /Lockheed Martin
http://www.janes.com/article/75147/first-french-c-130j-rolls-out

เครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธี Lockheed Martin C-130J Hercules เครื่องแรกจากชุดแรก 4เครื่องสำหรับกองทัพอากาศฝรั่งเศส(Armée de l'air) ถูกเปิดตัวครั้งแรกจากสายการผลิตที่โรงงานอากาศยาน Marietta ในมลรัฐ Georgia สหรัฐฯเมื่อ 20 ตุลาคมที่ผ่านมา
เครื่องบินลำเลียง C-130J กองทัพอากาศฝรั่งเศสได้เปิดตัวต่อหน้าของกล้องเป็นครั้งแรกหลังจากทำสีและเครื่องหมายเช่นสีประจำชาติต่างๆบนเครื่องแล้ว

ฝรั่งเศสได้สั่งจัดหาเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีสี่เครื่องยนต์ใบพัด C-130J-30 2เครื่อง และเครื่องบินลำเลียงเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ KC-130J 2เครื่องร่วมกันเป็นวงเงิน $170 million
ที่นั่นรวมถึงการเปลี่ยนแปลงการปรับแต่งไปยังสัญญาเดิมในอดีต คาดว่าสัญญาจะเสร็จสิ้นได้ภายในวันที่ 30 สิงหาคม 2020

กองทัพอากาศฝรั่งเศสได้สั่งจัดหา C-130J และ KC-130J รวม 4เครื่องในปี 2015 เพื่อทดแทนเครื่องบินลำเลียงสองเครื่อยนต์ใบพัด Transall C-160 ที่มีอายุการใช้งานมานาน
และเพื่อชดเชยความล่าช้าในการจัดหาเครื่องบินลำเลียงทางยุทธศาสตร์สี่เครื่องยนต์ใบพัด Airbus Defence and Space A400M และความพร้อมปฏิบัติการที่ต่ำของฝูงเครื่องบินลำเลียง C-130H ในปัจจุบัน(http://aagth1.blogspot.com/2016/11/c-130.html)

การเปิดตัวเครื่องบินลำเลียง C-130J เครื่องแรกของฝรั่งเศสมีขึ้นสองวันหลังจากวันที่ 18 ตุลาคมที่รองหัวหน้าคณะเสนาธิการกลาโหมของกองทัพฝรั่งเศส พลเรือเอก Philippe Coindreau และกองทัพเยอรมนี พลเรือโท Joachim Rühle
ในการประชุมร่วมความร่วมมือทางทหารฝรั่งเศส-เยอรมนี ที่ได้ลงนามเห็นชอบในรายละเอียดที่จะจัดตั้งฝูงบินลำเลียง C-130J ร่วมกันระหว่างกองทัพอากาศฝรั่งเศสและกองทัพอากาศเยอรมนี(Luftwaffe)

กองทัพอากาศเยอรมนีได้สั่งจัดหาเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธี C-130J 6เครื่องในปี 2017 เพื่อทดแทนเครื่องบินลำเลียง Transall C-160 ที่มีอายุการใช้งานมานานเช่นเดียวกับกองทัพอากาศฝรั่งเศส
รวมถึงความล่าช้าในการสั่งจัดหาเครื่องบินลำเลียงทางยุทธศาสตร์ A400M ที่มีการลดจำนวนเครื่องลง และความต้องการเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีที่มีขนาดเล็กกว่าเช่นกันด้วย

ภายใต้ข้อตกลงดังกล่าวฝูงบินลำเลียงร่วมฝรั่งเศส-เยอรมนีที่ประกอบด้วย C-130J ของกองทัพอากาศฝรั่งเศส 4เครื่อง และของกองทัพอากาศเยอรมนี 6เครื่อง จะมีที่ตั้งที่ฐานทัพอากาศฝรั่งเศสใน Évreux แคว้น Normandy
ที่ตามกำหนดการจะมีความพร้อมปฏิบัติการขั้นต้นในปี 2021 และจะมีความพร้อมปฏิบัติการเต็มอัตราในปี 2024 ครับ

วันพุธที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2560

อิสราเอลจะจัดหาเรือดำน้ำชั้น Dolphin เยอรมนีเพิ่ม 3ลำท่ามกลางการสอบสวนคดีทุจริต

Israel signs MoU for 3 German submarines amid shipyard investigation
The German-made INS Rahav, the fifth Israeli Navy submarine, arrives at the military port of Haifa on Jan. 12, 2016. (Jack Guez/AFP via Getty Images)
https://www.defensenews.com/naval/2017/10/23/israel-signs-mou-for-3-german-submarines-amid-shipyard-investigation/

นายกรัฐมนตรีอิสราเอล นาย Benjamin Netanyahu ได้ประกาศเมื่อวันที่ 23 ตุลาคมว่ารัฐบาลอิสราเอลได้ลงนามบันทึกความเข้าใจกับเยอรมนีที่รอมานาน
เพื่อการจัดหาเรือดำน้ำโจมตีตามแบบดีเซล-ไฟฟ้าชั้น Dolphin พร้อมระบบขับเคลื่อนแบบไม่ใช้อากาศ(AIP: Air-Independent Propulsion) ชุดใหม่เพิ่มเติม 3ลำ

ถ้าข้อตกลงนี้ผ่านความเห็นชอบ การจัดหาเรือดำน้ำชั้น Dolphin ใหม่ 3ลำวงเงิน $1.3 billion จากบริษัท ThyssenKrupp Marine Systems(TKMS) เยอรมนีคาดว่าจะเข้าประจำการได้ภายในสิ้นทศวรรษหน้า(2020s)
เพื่อทดแทนเรือดำน้ำชั้น Dolphin ชุดแรก 3ลำ(INS Dolphin, INS Leviathan และ INS Tekumah เข้าประจำการช่วงปี 1999-2000)

จะทำให้กองทัพเรืออิสราเอลมีกองกำลังใต้น้ำทางยุทธศาสตร์ประกอบด้วยเรือดำน้ำ 6ลำ(ร่วมกับชั้น Dolphin2 AIP 3ลำแรก INS Tanin, INS Rahav และ INS Dakar เข้าประจำการในปี 2014, 2016 และ 2018 ตามลำดับ) ซึ่งทั้งหมดสร้างที่อู่เรือบริษัท TKMS ใน Kiel เยอรมนี
ภายใต้บันทึกความเข้าใจ(MOU: Memorandum of Understanding) รัฐบาลเยอรมนีจะสนับสนุนการสมทบวงเงินร้อยละ30 ในส่วนค่าใช้จ่ายของตัวเรือ, เครื่องจักร และระบบไฟฟ้า

"MOU เป็นความจำเป็นทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญต่อความมั่นคงของอิสราเอล การลงนามนี้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของเยอรมนีและนายกรัฐมนตรีเยอรมนี นาง Angela Merkel เพื่อความมั่นคงของอิสรเอล และความร่วมมือเชิงลึกระหว่างทั้งสองประเทศ"
นาย Benjamin Netanyahu นายกรัฐมนตรีอิสราเอลกล่าวย้ำในการแถลงเมื่อวันที่ 23 ตุลาคมที่ผ่านมา

อู่ต่อเรือ TKMS เยอรมนีซึ่งเป็นผู้สร้างเรือดำน้ำชั้น Dolphin และเรือคอร์เวตชั้น Sa'ar 6 ทั้ง 4ลำสำหรับกองทัพเรืออิสราเอลที่กำลังดำเนินภายใต้สัญญาตอนนี้ ยังคงมีคดีที่อยู่ในการสืบสวนของตำรวจอิสราเอลอย่างต่อเนื่องอยู่
ในข้อสงสัยต่อความผิดทางอาญาที่เกี่ยวข้องกับตัวแทนอิสราเอลของอู่ต่อเรือ, ทนายความส่วนตัวของนาย Netanyahu และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของอิสราเอล ซึ่งรวมถึงอดีตรองประธานสภาความมั่นคงแห่งชาติอิสราเอล และอดีตผู้บัญชาการกองทัพเรืออิสราเอล

ขณะที่การแถลงของนาย Netanyahu ไม่ได้กล่าวถึงกรณีที่อื้อฉาวนี้แต่อย่างใด แหล่งข่าวในกองทัพอิสราเอลกล่าวว่า รัฐบาลของทั้งสองประเทศคาดว่าจยังไม่บรรลุกข้อตกลงและลงนามสัญญาจัดหาจริง
จนกว่าจะมีการสรุปผลการสอบสวนคดีที่ดำเนินการคู่ขนานไปทั้งในอิสราเอลและเยอรมนี

เรือดำน้ำชั้น Dolphin กองทัพเรืออิสราเอลมีพื้นฐานพัฒนาจากเรือดำน้ำชั้น Type 209(U209) ของบริษัท Howaldtswerke-Deutsche Werft(HDW) ในเครือ TKMS เยอรมนี
ซึ่งมีการขยายแบบและดัดแปลงจนแตกต่างจากเรือ Type 209 ที่เยอรมนีสร้างส่งออกหลายประเทศเป็นอย่างมาก โดยเรือชั้น Dolphin เป็นเรือดำน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่เยอรมนีสร้างหลังสงครามโลกครั้งที่2

เรือดำน้ำชั้น Dolphin1 3ลำแรกมีตัวเรือยาว 57.3m ระวางขับน้ำขณะดำใต้น้ำ 1,900tons ทำความเร็วได้ 20knots และเรือดำน้ำชั้น Dolphin2 3ลำหลังมีตัวเรือยาว 68.6m ระวางขับน้ำขณะดำใต้น้ำ 2,400tons ทำความเร็วได้ 25knots พร้อมระบบขับเคลื่อน AIP
เรือดำน้ำชั้น Dolphin ดำได้ลึกสุดอย่างน้อย 350m มีกำลังพลประจำเรือ 35นาย เพิ่มเติมได้อีก 10นาย ระบบอาวุธมีท่อยิง Torpedo 533mm 6ท่อยิง และท่อยิง Torpedo 650mm 4ท่อยิง โดยเชื่อว่าสามารถทำการยิงอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนติดหัวรบนิวเคลียร์ได้ด้วยครับ

วันอังคารที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2560

เฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-28UB รัสเซียรุ่นฝึกชุดแรกพร้อมส่งมอบเข้าประจำการ

First batch of Mi-28UB combat and training choppers ready for delivery



A Russian Helicopters Mi-28UB combat helicopter (Credit: Russian Helicopters)
https://www.airrecognition.com/index.php/archive-world-worldwide-news-air-force-aviation-aerospace-air-military-defence-industry/global-defense-security-news/global-news-2017/october/3818-first-batch-of-mi-28ub-combat-and-training-choppers-ready-for-delivery.html
http://www.russianhelicopters.aero/ru/press/news/vr_mi-28ub_peredacha_mo_rf/

Russian Helicopters กลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตเฮลิคอปเตอร์รัสเซียประกาศว่าพร้อมส่งมอบเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mil Mi-28UB รุ่นสำหรับใช้ในการฝึกและการรบชุดแรกแก่กระทรวงกลาโหมรัสเซีย
โดย Mi-28UB ได้ผ่านชุดการทดสอบต่างๆจากโรงงานแล้ว ซึ่งเฮลิคอปเตอร์เครื่องแรกมีกำหนดจะส่งมอบให้หน่วยในกองทัพรัสเซียในเดือนพฤศจิกายน 2017 นี้

ข้อแตกต่างสำคัญของเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-28UB กับ ฮ.โจมตี Mi-28(NATO กำหนดรหัส Havoc) รุ่นก่อนหน้าคือระบบควบคุมสองทาง(Dual Control)
ซึ่งอนุญาตให้นักบินทั้งสองนายในที่นั่งหน้าและที่นั่งหลังสามารถทำการควบคุมการบังคับเครื่องได้ นี่มีความจำเป็นต่อการฝึกนักบินพร้อมรบสำหรับเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-28N Night Hunter

ยังรวมถึงความเป็นไปได้ในสถานการณ์รบที่ในกรณีฉุกเฉินนักบินที่สองในห้องนักบินหน้าซึ่งเป็นตำแหน่งพลยิงจะทำการควบคุมบังคับเครื่องได้ถ้านักบินที่หนึ่งในที่นั่งหลังไม่สามารถควบคุมเครื่องได้
ฮ.โจมตี Mi-28UB ยังติดตั้งระบบจำลองความล้มเหลวของระบบประจำเครื่องจากระยะไกล ซึ่งจะจำลองความล้มเหลวของอุปกรณ์ระหว่างการบินสำหรับนักบินฝึกในการเพิ่มประสบการณ์จากการฝึกในสถานการณ์วิกฤติ

"เรามีความยินดีที่จะประกาศความพร้อมส่งมอบเฮลิคอปเตอร์ Mi-28UB ชุดแรก แน่นอนเราได้ทำงานอย่างต่อเนื่องในการปรับปรุง ฮ.Mi-28 โดยคำนึงถึงประสบการณ์การใช้งานพวกมันที่ซีเรีย
การเกิดขึ้นของรุ่นฝึกและการรบส่งผลให้มีความเป็นไปได้อย่างแทบไม่จำกัดในแง่ของการปรับปรุงระบบการฝึกนักบินสำหรับ Mi-28N" Andrey Boginsky ผู้อำนวยการบริหารของ Russian Helicopters กล่าว

"ผมต้องการจะย้ำว่าโอกาสในการเรียนรู้ไม่ได้มาจากเครื่องฝึกจำลองการบิน(Flight Simulator) แต่มาจากเฮลิคอปเตอร์โจมตีของจริงที่เป็นข้อได้เปรียบสำคัญของนักบินกองทัพเมื่อเทียบกับนักบินทหารจากประเทศอื่น
เร็วๆนี้เราจะส่งมอบเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-28UB ให้ตัวแทนของกองทัพอากาศรัสเซีย(VKS: Russian Aerospace Force)" นาย Boginsky เสริม

เครื่องต้นแบบของเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-28UB ได้ถูกสร้างโดย Rostvertol รัสเซีย หลังจากเสร็จสิ้นการทดสอบหลักจากโรงงานอากาศยานและหน่วยงานรัฐบาลในสิ้นปี 2015 ฮ.ได้เริ่มเข้าสู่สายการผลิตจำนวนมาก
ฮ.โจมตี Mi-28UB ได้รับการปรับปรุงติดตั้งระบบ Avionic บูรณาการ การใช้ระบบใหม่นี้สามารถทำให้การค้นหา, ตรวจจับ, พิสูจน์ทราบ และโจมตีทำลายเป้าหมายทางอากาศและภาคพื้นดินมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

เพื่อทำให้ความต้องการระดับทางสรีรศาสตร์ของห้องนักบินดีขึ้น การออกแบบตัวโครงสร้างอากาศยานของ Mi-28UB จึงมีการปรับเปลี่ยนใหม่ โดยมีห้องนักบินที่ขยายขนาดขึ้น มีแผ่นเกราะขนาดใหญ่และปรับปรุงมุมมองจากห้องนักบินให้ดีขึ้น
และเพื่อเพิ่มความอยู่รอดในสนามรบให้สูงขึ้นเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-28UB ได้รับการติดตั้วระบบป้องกันตนเองแบบล่าสุดด้วยครับ

วันจันทร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2560

อินโดนีเซียเลื่อนการปลดประจำการเรือฟริเกตชั้น Ahmad Yani ท่ามกลางข้อพิพาททะเลจีนใต้

Indonesia delays decommissioning of Ahmad Yani-class frigates amid South China Sea obligations
TNI-AL's Ahmad Yani-class frigate, KRI Abdul Halim Perdanakusuma. Source: TNI-AL
http://www.janes.com/article/75032/indonesia-delays-decommissioning-of-ahmad-yani-class-frigates-amid-south-china-sea-obligations

กองทัพเรืออินโดนีเซีย(TNI-AL: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Laut) ได้ตัดสินใจที่จะเลื่อนการปลดประจำการของเรือฟริเกตชั้น Ahmad Yani ทั้ง 6ลำออกไป
ท่ามกลางความต้องการปฏิบัติการที่จำเป็นจะต้องให้เรือชั้นนี้ยังคงต้องประจำการต่อไปอีกหนึ่งปี ตามที่กองทัพเรืออินโดนีเซียยืนยันกับ Jane's

ตามการอ้างของแหล่งข่าวในกองบัญชาการกองเรือตะวันตก(KOARMABAR) Jane's ได้รายงานในเดือนกุมภาพันธ์ 2016 ว่ากองทัพเรืออินโดนีเซียมีแผนจะเริ่มการปลดประจำการเรือฟริเกตชั้น Ahmad Yani ลำแรกในปี 2017
การตัดสินใจนี้มีขึ้นตามแผนประชุมทบทวนการทำงานเทคนิคทางเรือและการส่งกำลังบำรุงประจำปี 2016 โดยมีจุดประสงค์ที่จะดำเนินการปลดเรือชั้นนี้ในอัตรา 1ลำต่อปีตั้งแต่ปี 2017-2022(http://aagth1.blogspot.com/2016/02/ahmad-yani-2017.html)

อย่างไรก็ตามจากการดำเนินการจัดหาเรือฟริเกตชั้น Martadinata 2ลำ ซึ่งอู่เรือรัฐวิสาหกิจ PT PAL อินโดนีเซียสร้างในประเทศโดยใช้แบบเรือ SIGMA 10514 ของบริษัท Damen Schelde เนเธอร์แลนด์ และข้อพิพาททางทะเลที่กำลังเกิดขึ้นกับสาธารณรัฐประชาชนจีน
กำหนดการปลดประจำการเรือจึงได้ถูกเลื่อนออกไปอีกราวหนึ่งปี เพื่อสร้างความมั่นใจว่าจะไม่เกิดช่องว่างด้านขีดความสามารถการวางกำลังกองเรือปฏิบัติการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ทะเล Natuna ทางทะเลจีนใต้ซึ่งขณะนี้มีจำนวนการลักลอบทำการประมงผิดกฎหมายมากขึ้น

กองทัพเรืออินโดนีเซียได้ประจำการเรือฟริเกตชั้น Martadinata ลำแรกคือ KRI Raden Eddy Martadinata(331) เมื่อ 7 เมษายน 2017 เรือลำที่สองคือ KRI IGusti Ngurah Rai(332) ถูกปล่อยลงน้ำที่อู่เรือ PT PAL ใน Surabaya เมื่อ 29 กันยายน 2016
เป็นที่คาดว่ากองทัพเรืออินโดนีเซียมีแผนที่จะจัดหาเรือฟริเกตชั้น Martadinata เพิ่มเติม แต่กระบวนการจัดหาอย่างเป็นทางการสำหรับเรือชั้นนี้เพิ่มเติมนั้นยังไม่ได้เริ่มต้นขึ้น(http://aagth1.blogspot.com/2016/09/sigma-10514.html)

เรือฟริเกตชั้น Ahmad Yani ของกองทัพเรืออินโดนีเซียนั้นเดิมคือเรือฟริเกตชั้น Van Speijk กองทัพเรือเนเธอร์แลนด์(RNLN: Royal Netherlands Navy) ที่เข้าประจำการในช่วงปี 1967-1968 เป็นเวลาราว 20ปี และขายต่อให้อินโดนีเซียในช่วงปี 1986-1989
ทั้ง 6ลำประกอบด้วย KRI Ahmad Yani(351), KRI Slamet Riyadi (352), KRI Yos Sudarso(353), KRI Oswald Siahaan(354), KRI Abdul Halim Perdanakusuma(355) และ KRI Karel Satsuit Tubun(356)

เรือฟริเกตชั้น Ahmad Yani มีความยาวเรือ 113.4m ความกว้าง 12.5m กินน้ำลึก 4.2m มีระวางขับน้ำสูงสุด 2,880tons และมีกำลังพลประจำเรือ 180นาย
อาวุธประจำเรือมีปืนใหญ่เรือ Oto Melara 76mm, ปืนกลหนัก 12.7mm, แท่นยิง Torpedo แฝดสาม Mk32 2แท่นสำหรับ Torpedo เบาปราบเรือดำน้ำ 324mm แบบ Mk46 และแท่นยิง Simbad 2แท่นยิงสำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้ Mistral ฝรั่งเศสแท่นละ2นัด

มีบางรายงานและภาพแสดงว่าเรือชั้น Ahmad Yani นี้ติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้่ำ Yakhont รัสเซีย 4นัดบนเรือ KRI Oswald Siahaan ส่วนอีก 5ลำติดอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้่ำ C-802 จีน 4นัด รวมถึงเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่จากกังหังไอน้ำเป็นเครื่องยนต์ดีเซลสองเครื่อง
แบ่งเป็น SEMT Pielstick กำลัง 11800HP ในเรือ KRI Oswald Siahaan, Caterpillar กำลัง 12000HP ในเรือ KRI Karel Satsuitubun และ Caterpillar กำลัง 16000HP ในเรือ KRI Ahmad Yani, KRI Slamet Riyadi, KRI Yos Sudarso 353 และ KRI Abdul Halim Perdanakusuma ครับ

วันอาทิตย์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2560

เรือดำน้ำ Type 212A เยอรมนีไม่มีความพร้อมปฏิบัติการทั้งหมดทุกลำ

All of Germany's submarines are currently down
The U-33, U-34 and U-36 submarines are seen at the Eckerfoerde German Navy base Oct. 10, 2016. (Morris MacMatzen/Getty Images)
https://www.defensenews.com/naval/2017/10/20/all-of-germanys-submarines-are-currently-down/

เรือดำน้ำชั้น Type 212A กองทัพเรือเยอรมนี(Deutsche Marine) ขณะนี้ไม่อยู่สถานะพร้อมประจำการทั้ง 6ลำ เนื่องจากเรือลำเดียวที่ออกปฏิบัติการได้คือ U-35 เกิดอุบัติเหตุนอกชายฝั่งนอร์เวย์ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคมที่ผ่านมา
เรือดำน้ำ U-35 ได้ถูกเคลื่อนย้ายมายังอู่ต่อเรือของบริษัท ThyssenKrupp Marine Systems(TKMS) ที่ Kiel หลังจากที่ใบจักรและหางเสือได้รับความเสียหายระหว่างการดำเนินกลยุทธ์นำเรือดำลงในใต้น้ำ ตามที่หนังสือพิมพ์ Kieler Nachrichten เยอรมนีรายงาน
โดย U-35 มีกำหนดจะเข้าร่วมการฝึกซ้อมรบที่ช่องแคบ Skagerrak ที่ตั้งอยู่ระหว่างทางตอนใต้ของนอร์เวย์ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของสวีเดน และทางตอนเหนือของเดนมาร์ก

U-35 เป็นเรือดำน้ำชั้น Type 212A หนึ่งใน 6ลำของกองทัพเรือเยอรมนีที่สร้างโดยอู่เรือบริษัท TKMS ประกอบด้วย U-31, U-32, U-33, U-34, U-35 และ U-36
โดยเยอรมนีได้ส่งออกเรือดำน้ำชั้น U212A ให้กองทัพเรืออิตาลี(Marina Militare) ในชื่อเรือดำน้ำชั้น Todaro 4ลำประกอบด้วย S526 Salvatore Todaro, S527 Scirè, S528 Pietro Venuti และ S529 Romeo Romei
ล่าสุดกองทัพเรือนอร์เวย์(Royal Norwegian Navy, Sjøforsvaret)ได้เลือกจัดหาเรือดำน้ำ Type 212A ใหม่ 4ลำ พร้อมกับที่เยอรมนีจะจัดหาเรือของตนเพิ่มอีก 2ลำ เช่นเดียวกับอิตาลีมีมีแผนจะจัดหาเรือเพิ่มเติมอีก(http://aagth1.blogspot.com/2017/02/tkms-ula.html, http://aagth1.blogspot.com/2017/05/type-212a.html, http://aagth1.blogspot.com/2017/05/type-212a_16.html)

ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า U-35 จะไม่สามารถปฏิบัติการได้จนถึงเมื่อไรในเวลานี้(20 ตุลาคม) เจ้าหน้าที่กองทัพเรือเยอรมนีหวังว่าจะมีการประเมินในสัปดาห์หน้าเกี่ยวกับขอบเขตของขนาดความเสียหาย
U-35 ได้เข้าซ่อมที่อู่เรือ Kiel ร่วมกับเรือดำน้ำอีก 3ลำที่กำลังทำการซ่อมยกเครื่อง(overhaul) ทาง Augen Geradeaus สื่อเกี่ยวกับกองทัพเยอรมนี(Bundeswehr) รายงานตามการอ้างข้อมูลจากเจ้าหน้าที่กองทัพเรือเยอรมนีว่า
U-31 จะอยู่ที่อู่จนถึงเดือนธันวาคม, U-33 และ U-36 จะอยู่ที่อู่เรือเพื่อซ่อมบำรุงจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2018 และเดือนพฤษภาคม 2018 ตามลำดับ นอกจากนี้ U-32 และ U-34 เรือไม่พร้อมปฏิบัติการและกำลังรอเข้าอู่เพื่อซ่อมบำรุงเรือแล้ว

กองทัพเรือเยอรมนีกล่าวโทษปัญหาคอขวดในกระบวนการจัดหาชิ้นส่วนอะไหล่สำหรับเรือดำน้ำที่หยุดชะงัก ขณะที่การคงชุดชิ้นส่วนอะไหล่ที่ครบถ้วนเป็นกุญแจสำคัญของการจัดหาใหม่ใดๆในช่วงสงครามเย็น
แต่มาตรการประหยัดค่าใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐของรัฐบาลเยอรมนีที่ใช้มาตลอดในช่วงหลายปีหลังมานั้น ส่งผลให้การสำรองชิ้นส่วนอะไหล่อาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆไม่สามารถที่จะทำได้
โฆษกกองทัพเรือเยอรมนี นาวาเอก Johannes Dumrese กล่าวกับกลุ่มหนังสือพิมพ์ SHZ

ตามการแถลงของกองทัพเรือเยอรมนีการจัดหาเรือดำน้ำ U-35 และ U-36 ทั้ง 2ลำ ที่เข้าประจำการในเดือนมีนาคม 2015 และเดือนตุลาคม 2016 ตามลำดับ จะนำไปสู่การปรับปรุงนโยบายการซ่อมบำรุง
เพิ่มเติมจากเรือชุดแรก 4ลำที่เข้าประจำการมาก่อน คือ U-31 และ U-32 ที่เข้าประจำการในเดือนตุลาคม 2005 และ U-33 และ U-34 ที่เข้าประจำการในเดือนมิถุนายน 2006 และเดือนพฤษภาคม 2007 ตามลำดับ
ขณะที่ยังไม่ทราบถึงชะตากรรมของ U-35 ในตอนนี้ กองทัพเรือเยอรมนีคาดว่าเรือดำน้ำชั้น Type 212A จำนวน 3ลำหรือ4ลำ จะพร้อมออกปฏิบัติการได้ภายในกลางปี 2018 ครับ

วันเสาร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2560

รัสเซียกำลังพัฒนาเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหนัก Mi-26 รุ่นใหม่

Russian defense contractor developing new heavy helicopter prototype
The new helicopter should be able to fly in any geographical region and any weather conditions
Valery Matytsin/TASS
http://tass.com/defense/971768

Russian Helicopters กลุ่มอุตสาหกรรมผู้พัฒนาและผลิตอากาศยานปีกหมุนรัสเซียจะทำทำการปรับปรุงความทันสมัยของเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหนัก Mil Mi-26 สำหรับกระทรวงกลาโหมรัสเซีย
และตอนนี้กำลังพัฒนาเครื่องต้นแบบของเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหนัก Mi-26T2V ตามที่ฝ่ายประสัมพันธ์ของบริษัทรายงานเมื่อ 20 ตุลาคมที่ผ่านมา

"บนพื้นฐานจากเอกสารออกแบบที่ถูกพัฒนาโดย Moscow Mil Helicopter บริษัท Rostvertol จะดำเนินงานงานเพื่อพัฒนาต้นแบบของเฮลิคคอปเตอร์ Mi-26T2V ใหม่ พร้อมกับบินทดสอบตามมาภายหลัง"
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของกลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตเฮลิคอปเตอร์ของรัสเซียกล่าว

ตามพื้นฐานความต้องการของลูกค้า ฮ.ลำเลียงหนัก Mi-26T2V ควรจะสามารถทำการบินได้ทุกภูมิภาคทางภูมิศาสตร์และทุกสภาพอากาศ
จำนวนลูกเรือประจำเครื่องของ ฮ.ลำเลียงหนัก Mi-26 ที่ได้รับการปรับปรุงใหม่จะยังคงเท่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลงคือ 5นาย ประกอบด้วย นักบินที่1 นักบินที่2 เจ้าหน้าที่นำร่อง  และช่างอากาศยาน

"เฮลิคอปเเตอร์ใหม่จะรวมแนวทางการแก้ไขปัญหาทางเทคนิคล่าสุดที่พิจารณาว่าจะใช้ในสภาพการรบ ผมต้องการย้ำว่าการพูดเกี่ยวกับการปรับปรุงของรุ่นทางทหารตรงๆของ ฮ.Mi-26 ค่อนข้างจะมากกว่า ฮ.Mi-26T ที่ถูกส่งออก"
คำพูดของ นาย Andrei Boginsky ผู้อำนวยการบริหารของ Russian Helicopters ถูกกล่าวโดยฝ่ายประชาสัมพันธ์ของบริษัท

เฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหนัก Mi-26T2V ที่ได้รับการปรับปรุงแล้วจะมีขีดความสามารถบรรทุกได้หนัก 20tons โดย ฮ.จะได้รับการติดตั้งระบบอุปกรณ์วิทยุ-ไฟฟ้าประจำเครื่องแบบ NPK90-2 รุ่นใหม่ที่ทันสมัย
และจะยังติดตั้งระบบป้องกันตนเองรุ่นใหม่ที่จะป้องกันตัวเครื่องจากภัยคุกคามของอาวุธปล่อยนำวิถีที่ใช้ระบบนำวิถีได้หลายแบบด้วย

ปัจจุบันนอกจากกองทัพอากาศรัสเซีย(VKS: Russian Aerospace Force) ซึ่งเป็นผู้ใช้งานหลักแล้ว รัสเซียยังได้ส่งออกเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหนัก Mi-26 ประจำการในกองทัพ หน่วยงานรัฐบาล และสายการบินประเทศต่างๆทั่วโลก
โดยในกลุ่มชาติ ASEAN ก็มีผู้ใช้งาน ฮ.Mi-26 คือ กรมทหารอากาศกองทัพประชาชนลาว 1เครื่อง และกองทัพอากาศกัมพูชา 2เครื่องครับ

วันศุกร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2560

KAI คัดกรองการปรับแต่งเครื่องบินขับไล่ KF-X เกาหลีใต้ และ IF-X อินโดนีเซีย

ADEX 2017: KAI refining KFX configuration ahead of key milestones
While the baseline twin-engined configuration for the KFX has been decided upon, the final refinements are being made ahead of upcoming design reviews. Source: IHS Markit/Gareth Jennings
http://www.janes.com/article/74976/adex-2017-kai-refining-kfx-configuration-ahead-of-key-milestones



บริษัท Korea Aerospace Industries(KAI) สาธารณรัฐเกาหลีกำลังอยู่ในอยู่กระบวนการกลั่นกรองการปรับแต่งขั้นสุดท้ายของโครงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ KF-X(Korean Fighter Experimental) มุ่งหน้าสู่เป้าหมายหลักสำคัญจำนวนมากที่กำลังดำเนินในเดือนหน้าและปีหน้าที่จะถึง
ตามที่ Jane's ได้รับการบอกเล่าเมื่อวันที่ 17 ตุลาคมที่ผ่านมาในงานแสดงการบินและยุทโธปกรณ์นานาชาติ Aerospace and Defence Exhibition 2017(ADEX 2017) ที่ Seoul ระหว่างวันที่ 17-22 ตุลาคม

เจ้าหน้าที่โครงการอาวุโสพูดว่า ขณะที่การปรับแต่งพื้นฐานสองเครื่องยนต์ไอพ่นได้รับเลือกแล้ว การกลั่นกรองขั้นสุดท้ายกำลังมีขึ้นเพื่อมุ่งหน้าไปสู่แผนการทบทวนการออกแบบเบื้องต้น(PDR: Preliminary Design Review) ในกลางปีหน้า(2018)
"เรากำลังวางสัมผัสสุดท้ายของการปรับแต่งและวางแผนที่จะมี PDR ในเดือนมิถุนายน 2018" เจ้าหน้าที่ผู้ที่ร้องขอให้ไม่ต้องการจะเปิดเผยชื่อกล่าว ซึ่ง KF-X จะติดตั้งเครื่องยนต์ไอพ่น General Electric F414 กำลังขับสูงสุด 22,000lbs สองเครื่อง

โดยเจ้าหน้าที่ได้เสริมว่า PDR ควรจะตามมาด้วยการทบทวนการออกแบบสำคัญ(CDR: Critical Design Review) ในเดือนกันยายน 2019 ตามมาด้วยการเปิดตัวเครื่องต้นแบบเครื่องแรกในปี 2022 และนำเครื่องเข้าสู่การประจำการในกองทัพได้ในปี 2026
โครงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ KF-X ของเกาหลีใต้ถูกเปิดเผยครั้งแรกโดย สำนักงานโครงการจัดหากลาโหม(DAPA: Defense Acquisition Program Administration) หน่วยงานด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ของรัฐบาลสาธารณรัฐเกาหลีในปี 2010

อินโดนีเซียได้เข้าร่วมโครงการ KF-X ในปี 2012 ซึ่งมีการลงนามบันทึกความเข้าใจ(MOU: Memorandum of Understanding) ครอบคลุมการพัฒนาร่วมกันของเครื่องบินขับไล่ที่ทางอินโดนีเซียเรียกว่า IF-X(Indonesian Fighter Experimental)
KAI สาธารณรัฐเกาหลีได้นำโครงการวงเงิน $8 billion เป็นหุ้นส่วนร่วมกับ Lockheed Martin สหรัฐฯ ร่วมด้วยอินโดนีเซียที่คาดว่าลงทุนในวงเงิน $1 billion เพื่อจัดหาเทคโนโลยีเครื่องบินขับไล่, องค์ความรู้ด้านเทคนิคการผลิต และทางเลือกในการจัดหาถึง 50เครื่องในภายหลัง

อินโดนีเซียยังควรจะได้รับผลประโยชน์จากการส่งออกเครื่องบินขับไล่ได้ในอนาคต ซึ่งภาคอุตสาหกรรมอากาศยานของอินโดนีเซียได้ส่งเจ้าหน้าที่มากกว่า 80นายเข้าร่วมงานในโครงการกับ KAI และ Lockheed Martin
แต่ทั้งนี้รูปแบบของเครื่องบินขับไล่ KF-X เกาหลีใต้จำนวน 120เครื่อง และเครื่องบินขับไล่ IF-X อินโดนีเซียจำนวน 80เครื่องจะมีความแตกต่างกัน

ขณะที่เครื่องบินขับไล่ KF-X/IF-X มีแผนจะมีความพร้อมการปฏิบัติการขั้นต้น(IOC: Initial Operational Capability) ในปี 2023
แต่ข้อจำกัดด้านงบประมาณและความกังวลด้านความเสี่ยงทางเทคนิคทำให้ KAI ปรับเปลี่ยนแนวทางโครงการจากการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 เป็นเครื่องบินขับไล่ยุคที่4.5 ที่มีความซับซ้อนน้อยลง

อย่างที่เห็นได้จากแบบจำลองที่แสดงในงานว่าเครื่องบินขับไล่ KF-X Block I จะไม่มีการเคลือบสารที่ทำให้มีคุณสมบัติตรวจจับได้ยาก(Stealth Coating)ที่ผิวตัวเครื่อง และไม่มีห้องเก็บอาวุธภายในตัวเครื่อง ซึ่งจะมีการพัฒนาในรุ่น Block II
ซึ่งการออกแบบรูปทรงพื้นฐานของตัวอากาศยานได้มีการทดสอบแบบจำลองในอุโมงค์ลม และการทดสอบพลศาสตร์การไหลของอากาศใน Computer แล้ว

สำนักงานเพื่อการพัฒนากลาโหม(ADD: Agency for Defense Development) และบริษัท Hanwha Systems สาธารณรัฐเกาหลีมีการพัฒนา AESA(Active Electronically Scanned Array) Radar ซึ่งได้รับการช่วยเหลือจากอิสราเอล
รวมถึงการพัฒนาระบบตรวจจับ IRST(Infrared Search and Track), กล้อง Electro-Optical และระบบสงคราม Electronic พร้อมระบบอาวุธที่เกาหลีใต้พัฒนาเองในประเทศด้วยครับ

วันพฤหัสบดีที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2560

KAI ผลักดันการขายเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ T-50TH เพิ่มเติมแก่กองทัพอากาศไทย

ADEX 2017: KAI pushes for additional T-50 sale to Thailand
First T-50TH Lead-In Fighter Trainer of 401st Squadron, Wing 4, Royal Thai Air Force at Korea Aerospace Industries facility(https://www.facebook.com/RTAFpage)

A model of the FA-50 on display at ADEX 2017, with the T-50 in the background. (HIS Markit /Gareth Jennings)
http://www.janes.com/article/74971/adex-2017-kai-pushes-for-additional-t-50-sale-to-thailand



Royal Thai Air Force former L-39ZA/ART of 401st Squadron Wing4 Takhli was transited to combine unit in 411st Squadron Wing41 Chiang Mai, 5 October 2017
http://www.wing41.rtaf.mi.th/readnews.php?catenews=3&newsid=1770

บริษัท Korea Aerospace Industries(KAI) สาธารณรัฐเกาหลีตั้งความหวังในการขายเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ T-50TH Golden Eagle ระยะที่๓ เพิ่มเติมแก่กองทัพอากาศไทย(Royal Thai Air Force) เพิ่มเติมจากที่มีการลงนามจัดหาแล้วสองระยะรวม ๑๒เครื่อง
Jane's ได้รับข้อมูลเมื่อ ๑๗ ตุลาคมว่า KAI เกาหลีใต้หวังที่จะมีการเจรจาในระยะอันสั้นสำหรับโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ T-50TH ระยะที่๓ อีก ๔เครื่อง ซึ่งมีความสำคัญในแผนการจัดหาดั้งเดิมให้ครบฝูงบิน ๑๖เครื่องของกองทัพอากาศไทย

โดย T-50TH ในโครงการจัดหาระยะที่๒ ๘เครื่อง วงเงินประมาณ ๘,๘๐๐ล้านบาท($258 million) ที่ลงนามเมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐(2017) นั้นกำลังอยู่ระหว่างการสั่งจัดหาขั้นต้นและน่าจะถูกส่งมอบได้พร้อมกับเครื่องชุดแรก
ซึ่ง T-50TH ในโครงการจัดหาระยะที่๑ ๔เครื่อง วงเงิน ๓,๗๐๐ล้านบาท($108 million) ที่ลงนามเมื่อเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๘(2015) จะมีการส่งมอบได้ตามกำหนดได้ภายในเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๖๑(2018)

"เราได้พูดกับผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศไทยที่แสดงความพร้อมและหวังจะเริ่มการเจรจาอย่างเป็นทางการในการจัดหาระยะที่สามในเร็วๆนี้"
Jake Jaehong Kim ผู้จัดการอาวุโสทีมพัฒนาธุรกิจภาคตะวันออกกลางและแอฟริการเหนืองของ KAI กล่าวในงานแสดงการบินและยุทโธปกรณ์นานาชาติ Aerospace and Defence Exhibition 2017(ADEX 2017) ที่ Seoul ระหว่างวันที่ ๑๗-๒๒ ตุลาคม

กองทัพอากาศไทยเคยถูกคาดว่าจะทำการจัดหาเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ KAI T-50TH ทั้งหมด ๑๖เครื่องในโครงการจัดหาเดียว
แต่กองทัพอากาศไทยถูกบังคับให้แบ่งการจัดหาเป็นสามระยะเนื่องจากข้อจำกัดของงบประมาณกลาโหมที่ได้รับในแต่ละปีที่ไม่ถูกเพิ่มให้เพียงพอสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง

เครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ T-50TH จะมีความพร้อมปฏิบัติการเต็มอัตราเพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๑ บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART สาธารณรัฐเชค ของ ฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ ตาคลี ที่ประจำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๗(1994)
ล่าสุดเมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๖๐(2017) ได้มีการโอนย้าย บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART ที่เหลือจากการปลดประจำการไปแล้วส่วนหนึ่งจาก ฝูงบิน๔๐๑ ไปรวมที่ ฝูงบิน ๔๑๑ กองบิน ๔๑ เชียงใหม่ ที่จะเป็นฝูงบินเดียวและฝูงบินสุดท้ายที่จะประจำการ L-39 ของกองทัพอากาศไทย

การเปิดเผยการคาดหวังถึงการจัดหา T-50TH ระยะที่๓ สำหรับกองทัพอากาศไทยมีขึ้นหลังจากการเปิดเผยเมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมาว่า
กองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลี(ROKAF: Republic of Korea Air Force) จะได้รับมอบเครื่องบินฝึก/โจมตีเบา TA-50 เพิ่มเติมโดยไม่เปิดเผยจำนวนในปี 2019 เพิ่มจากที่มีประจำการอยู่แล้วมากกว่า 70เครื่อง

นาย Kim บอก Jane's ว่าจำนวนเครื่องสุดท้ายยังไม่ได้มีการตัดสินใจ และเขาปฏิเสธที่จะคาดเดาว่าจะเป็นจำนวนเท่าไร แม้ว่าช่วงที่ผ่านมา KAI กำลังมีปัญหาในกรณีการสอบสวนการทุจริตและฉ้อโกงของอดีตผู้บริหารสำนักงานใหญ่โดยหน่วยงานทางกฎหมายของรัฐบาลเกาหลีใต้ก็ตาม
แต่บริษัทยังตั้งความหวังที่จะส่งออกเครื่องบินรบไอพ่นตระกูล Golden Eagle ทั้ง T-50, TA-50 และ FA-50 ให้ได้ถึง ๑๘เครื่องในครึ่งปีแรกของปี 2018 ครับ

วันอังคารที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2560

เครื่องบินขับไล่ F-35A สหรัฐฯเปิดตัวในงาน ADEX 2017 เกาหลีใต้ครั้งแรก

ADEX 2017: F-35 makes South Korean show debut
One of the two USAF F-35As that has made the journey from Hill AFB in Utah to Seoul for the type's ADEX debut. Source: IHS Markit/Gareth Jennings
http://www.janes.com/article/74922/adex-2017-f-35-makes-south-korean-show-debut


เครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35A Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) ได้เปิดตัวต่อสาธารณชนที่สาธารณรัฐเกาหลีเป็นครั้งแรกในงานแสดงการบินและความมั่นคงนานาชาติ Aerospace and Defence Exhibition 2017(ADEX 2017)
กองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) ได้ส่งเครื่องบินขับไล่ F-35A 2เครื่องจากฐานทัพอากาศ Hill ในมลรัฐ Utah เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการจอดจัดแสดงและทำการบินในงาน ADEX 2017 ที่จัดขึ้น ณ ฐานทัพอากาศ Seoul ระหว่างวันที่ 17-22 ตุลาคมนี้
เป็นการให้เกาหลีใต้ได้แอบส่องดูตัวอย่างของเครื่องบินขับไล่ใหม่ในอนาคตของตน ขณะเดียวกันก็เป็นการส่งสัญญาณเตือนที่ทันท่วงทีต่อรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีถึงขีดความสามารถและการแก้ปัญหาของสหรัฐฯในภูมิภาค

ในเดือนกันยายน 2014 สาธารณรัฐเกาหลีได้อนุมัติข้อตกลงในการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A จำนวน 40เครื่องวงเงินราว 7.3 trillion Korean Republic Won($6.5 billion) เพื่อตอบสนองความต้องการโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่อนาคต FX-III
การเจรจาสัญญาได้รวมการบรรลุข้อตกลงจากรัฐบาลสหรัฐฯต่อรัฐบาลสาธารณรัฐเกาหลีในการส่งมอบวิทยาการที่จำเป็นสำหรับโครงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ KFX(Korean Fighter Experiment) ของเกาหลีใต้เอง
การส่งมอบเครื่องบินขับไล่ F-35A Lightning II ให้กองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลี(ROKAF: Republic of Korea Air Force) จะเริ่มขึ้นในปี 2018

นอกเหนือจาาการจัดซื้อของกองทัพอากาศเกาหลีใต้และการมองก้าวหน้าไปยังเครื่องบินขับไล่อนาคตของตนแล้ว การปรากฎตัวของ F-35A ในงาน ADEX 2017 ยังสอดคล้องกับช่วงเวลาอันตึงเครียดที่สุดระหว่างสหรัฐฯและเกาหลีเหนือในรอบทศวรรษด้วย
ผู้นำสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี Kim Jong-un ได้ปฏิเสธที่จะยุติความทะเยอทะยานทางนิวเคลียร์ของตนสำหรับประเทศในการเผชิญหน้าต่อคำเตือนที่น่าสะพรึงกลัวจากคณะบริหารงานของประธานาธิบดีสหรัฐฯ Donald Trump ที่จะทำอะไรบางอย่าง
และเกาหลีเหนือยังคงยั่วยุด้วยการดำเนินการทดสอบการยิงระบบขีปนาวุธแบบต่างๆของตนอย่างต่อเนื่องมาแล้วหลายครั้งในปีนี้แทน

ในการตอบสนองต่อการทดสอบยิงขีปนาวุธของเกาหลีเหนือนี้ กองทัพสหรัฐฯในภูมิภาคได้ดำเนินการฝึกซ้อมรบและการดำเนินกลยุทธหลายครั้งเพื่อเสริมสร้างความมั่นใจต่อเครือข่ายชาติพันธมิตรและแสดงถึงการจัดการปัญหาต่อเกาหลีเหนือ
ซึ่งนั่นได้รวมถึงการนำเครื่องบินขับไล่ F-35 JSF มาวางกำลังในภูมิภาคนี้เป็นครั้งแรก ทั้งเครื่องบินขับไล่ F-35B นาวิกโยธินสหรัฐฯ(USMC: US Marine Corps) ที่วางกำลังนอกประเทศเป็นครั้งแรกที่ญี่ปุ่น(http://aagth1.blogspot.com/2017/01/f-35b.html)
ซึ่ง F-35B สหรัฐฯได้ทำการบินแสดงกำลังร่วมกับเครื่องบินทิ้งระเบิด Rockwell B-1B Lancer กองทัพอากาศสหรัฐฯ และเครื่องบินขับไล่ F-2 กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น(JASDF: Japan Air Self-Defense Force) ครับ

ญี่ปุ่นวางตำแหน่งเครื่องบินลำเลียง C-2 เพื่อการส่งออก

Japan positions C-2 transport aircraft for exports
Japan began deploying its C-2 aircraft from Miho Air Base in May. Source: Japanese Air Self-Defence Force
http://www.janes.com/article/74709/japan-positions-c-2-transport-aircraft-for-exports

กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกำลังเพิ่มความพยายามในการประชาสัมพันธ์เครื่องบินลำเลียงขนาดกลางสองเครื่องยนต์ไอพ่น C-2 ที่ผลิตโดย Kawasaki Heavy Industries(KHI) แก่ลูกค้าต่างประเทศ ตามที่มีการยืนยันเมื่อ 6 ตุลาคมที่ผ่านมา
กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกล่าวในการแถลงว่าเป็นครั้งแรกที่จะมีการนำเครื่องบินลำเลียง Kawasaki C-2 ทำการบินไปยังต่างประเทศเพื่อจัดแสดงให้ลูกค้าในตะวันออกกลางและนิวซีแลนด์

กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกล่าวเพิ่มว่ากองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น(JASDF: Japan Air Self-Defense Force) จะทำการบินเครื่องบินลำเลียง C-2 ไปยังสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์(UAE: United Arab Emirates)
เพื่อเข้าร่วมงานแสดงการบิน Dubai Airshow 2017 ที่จะมีขึ้นในช่วงวันที่ 12-16 พฤศจิกายนที่จะถึงนี้ ซึ่งกองทัพอากาศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์(United Arab Emirates Air Force) แสดงความสนใจที่จะจัดหา C-2 ญี่ปุ่นจำนวนหนึ่ง

หลังจากงาน Dubai Airshow 2017 ในเดือนพฤศจิกายนเช่นกัน เครื่องบินลำเลียง C-2 ญี่ปุ่นจะทำการบินยังนิวซีแลนด์เพื่อแสดงให้กองทัพอากาศนิวซีแลนด์(RNZAF: Royal New Zealand Air Force) ชม
โดยกองทัพอากาศนิวซีแลนด์กำลังอยู่ระหว่างการตั้งโครงการจัดหาเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีใหม่แทน Lockheed Martin C-130H Hercules และเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล Lockheed P-3K2 Orion ซึ่งญี่ปุ่นเสนอเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล Kawasaki P-1

ตามการอ้างคำกล่าวของรัฐมนตรีกลาโหมญี่ปุ่น นาย Itsunori Onodera ว่าขีดความสามารถของ C-2 ได้เป็นที่ดึงดูดความสนใจในตลาดอากาศยานนานาชาติ
และการตัดสินใจที่จะนำเครื่องไปจัดแสดงที่ตะวันออกกลางและนิวซีแลนด์นั้นเป็นโอกาสในการแสดงสาธิตความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการความมั่นคงของญี่ปุ่น

เครื่องบินลำเลียง KHI C-2 เข้าประจำการในกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนมีนาคม 2016 โดยปัจจุบันมีประจำการาว 4เครื่อง
แต่คาดว่าจะมีการสั่งจัดหาอีกประมาณ 60เครื่องเพื่อทดแทนเครื่องบินลำเลียงเก่า เช่น เครื่องบินลำเลียงสองเครื่องยนต์ไอพ่น Kawasaki C-1 ญี่ปุ่นและเครื่องบินลำเลียงสี่เครื่องยนต์ใบพัด C-130H สหรัฐฯ

ตามข้อมูลจาก Jane’s All The World's Aircraft: Development & Production เครื่องบินลำเลียง C-2 มีลำตัวยาว 44m ซึ่งเป็นเครื่องบินลำเลียงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่ประจำการในกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น
และมีพิสัยการบินไกลกว่าเครื่องบินลำเลียงเก่าที่จะถูกแทนที่อย่างมาก โดย C-2 มีพิสัยการบิน 3,024nmi(5,600km) เมื่อบรรทุกสัมภาระหนักสุด 30tons ครับ

วันจันทร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2560

รถถังหลัก K2 Black Panther เกาหลีใต้ใหม่จะใช้ระบบส่งกำลังจากต่างประเทศ

New K-2 battle tanks to use imported transmission: arms agency
The K-2 main battle tank produced by South Korea is shown in this photo provided by the Army. (Yonhap)
http://english.yonhapnews.co.kr/news/2017/10/13/0200000000AEN20171013004800315.html

สาธารณรัฐเกาหลีวางแผนที่จะเสร็จสิ้นสายการผลิตจำนวนมากและวางกำลังรถถังหลัง K2 Black Panther เพิ่มเติมภายในปี 2020 เป็นเวลา 3ปีที่ล่าช้าไปจากเป้าหมายกำหนดการดั้งเดิม เนื่องจากสาเหตุด้านความล้มเหลวทางเทคนิค
ตามที่ สำนักงานโครงการจัดหากลาโหม(DAPA: Defense Acquisition Program Administration) หน่วยงานด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ของรัฐบาลสาธารณรัฐเกาหลีได้แถลงเมื่อ 13 ตุลาคมที่ผ่านมา

ในขั้นต้น DAPA ต้องการจะจัดหาระบบขับเคลื่อนที่พัฒนาสร้างเองภายในเกาหลีใต้ ซึ่งประกอบด้วยระบบส่งกำลังและเครื่องยนต์ สำหรับสายการผลิตจำนวนมากของรถถังหลัก K2 ระยะที่สอง
ในความเอนเอียงไปทางระบบขับเคลื่อนที่ออกแบบโดยเยอรมนีซึ่งถูกใช้ใน ถ.หลัก K2 ในสายการผลิตรอบแรกโดยบริษัท Hyundai Rotem สาธารณรัฐเกาหลีที่เริ่มมาตั้งปี 2013

แต่ระบบส่งกำลังอัตโนมัติที่พัฒนาโดยบริษัท S&T Dynamics สาธารณรัฐเกาหลีนั้น ล้มเหลวต่อการทดสอบในด้านความน่าเชื่อถือและความทนทาน
ซึ่งรถถังหลัก K2 ในสายการผลิตระยะที่สองมีแผนจะใช้เครื่องยนต์ดีเซลขนาด 1,500HP ของบริษัท Doosan DSTสาธารณรัฐเกาหลีแทนเครื่องยนต์ดีเซล MTU-890 เยอรมนี

ในรายงานต่อคณะกรรมการกลาโหมของสมัชชาแห่งชาติเพื่อการตรวจสอบประจำปี DAPA กล่าวว่ามันเป็นการผลักดันสำหรับการจัดหาระบบส่งกำลังจากผู้รับสัญญาต่างประเทศ
และมันมีแผนที่จะนำเครื่องยนต์ที่พัฒนาและผลิตในเกาหลีใต้สำหรับระบบขับเคลื่อนของรถถังหลัก K2 อยู่ ซึ่งรถถังชุดแรกที่ใช้ ย.ดีเซล MTU-883 เยอรมนี และระบบส่งกำลัง Renk เยอรมนี

"สายการผลิตระยะที่สองและการนำเข้าประจำการจะเสร็จสิ้นได้ในช่วงระหว่างปี 2019-2020" ถ้าแผนดังกล่าวได้รับการอนุมัติโดยคณะกรรมการอุตสาหกรรมกลาโหมของรัฐบาลเกาหลีใต้
ซึ่งจะมีการแถลงการตัดสินใจในเดือนมกราคมปี 2018 ที่จะถึงนี้ ตามที่ DAPA เกาหลีใต้กล่าว

รถถังหลัก K2 Black Panther เป็นรถถังที่เป็นเอกลักษณ์ของเกาหลีใต้ ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อทดแทนรถถังหลัก K1 ที่เป็นรถถังหลักแบบแรกที่ออกแบบผลิตในเกาหลีใต้
K2 เป็นหนึ่งในรถถังหลักที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดในโลก โดยเกาหลีใต้หวังที่จะส่งออกรถถังหลัก K2 ของตนในราคาคันละราว $7.5 million ครับ

วันอาทิตย์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2560

รัสเซียซ่อมเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-35P กองทัพอากาศพม่าเครื่องแรกเสร็จแล้ว

Russian Helicopters repairs Mi-24P helicopter for Myanmar Air Force
A team of specialists will arrive at Myanmar in October to repair three remaining helicopters
http://tass.com/defense/970640

Myanmar Air Force Mi-35P Attack Helicopter with Rocket Pod(mmmilitary.blogspot.com)

Russian Helicopters กลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตเฮลิคอปเตอร์ของรัสเซียได้เสร็จสิ้นการซ่อมเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mil Mi-35P(Mi-24P รุ่นส่งออก NATO กำหนดรหัส Hind-F) กองทัพอากาศพม่า(Myanmar Air Force: Tatmadaw Lay) เครื่องแรกจากทั้งหมด 4เครื่อง
ภายใต้สัญญาที่ได้รับการดำเนินการก่อนหน้านี้ ที่จะดำเนินการซ่อม ฮ.โจมตี Mi-35P กองทัพอากาศพม่า 1เครื่องในรัสเซีย และอีก 3เครื่องในพม่า ตามที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของ Russian Helicopters กล่าวเมื่อวันที่ 13 ตุลาคมที่ผ่านมา

"สัญญานี้มีความสำคัญยิ่งสำหรับเรา เพราะนี่เป็นครั้งแรกเมื่อเรากำลังดำเนินการใช้รูปแบบการซ่อมยกเครื่อง(overhaul)ของเฮลิคอปเตอร์โจมตี ด้วยการนำผู้เชี่ยวชาญของบริษัทเดินทางไปยังดินแดนของประเทศลูกค้า
ความสำเร็จในการเสร็จสิ้นกิจการทั้งหมดจะเป็นพื้นฐานสำหรับการเดินหน้าความร่วมมือต่อไป และการลงนามในข้อตกลงใหม่กับหุ้นส่วนของเราจากพม่า" Russian Helicopters กล่าว

ทีมผู้เชี่ยวชาญของ Russian Helicopters จะเดินทางถึงพม่าในเดือนตุลาคมนี้เพื่อซ่อมเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-35P ที่เหลืออีก 3เครื่อง "โรงงานและอุปกรณ์อากาศยานได้รับซ่อมแซมแล้วในสหพันธรัฐรัสเซีย
และการฟื้นฟูความสามารถการปฏิบัติการของเฮลิคอปเตอร์ Mi-35 ได้ถูกส่งมอบให้ลูกค้าแล้วในเวลาขณะนี้ ด้วยการรับมอบหมายของครั้งหน้าระหว่างการยกเครื่องและอายุการใช้งานสำหรับพวกมัน" Russian Helicopters กล่าว

ปัจจุบันกองทัพอากาศพม่ามีเฮลิคอปเตอร์รัสเซียประจำการอยู่หลายแบบ นอกจากเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-35P จำนวนราว 9-10เครื่อง
คือเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป Mil Mi-2 จำนวนราว 21เครื่องซึ่งบางเครื่องสามารถติดอาวุธโจมตีภาคพื้นดินได้ และเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง Mil Mi-17 จำนวน 12เครื่อง(จัดหามารวม 13เครื่อแต่เกิดอุบัติเหตุตกไป 1เครื่อง)

ทั้งนี้จากภาพที่เปิดเผยล่าสุด มีเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-35P ของกองทัพอากาศพม่าอย่างน้อย 1เครื่องได้รับการปรับปรุงติดตั้งกล้องตรวจการณ์ชี้เป้าหมาย EO/FLIR ใหม่ที่น่าจะเป็นแบบ Controp iSky-50HD(DSP-HD) อิสราเอล(http://aagth1.blogspot.com/2017/10/mi-35p-tvflir.html)
โดยตั้งแต่จัดหามาในช่วงปี 2010-2011 กองทัพอากาศพม่าได้นำ ฮ.โจมตี Mi-35P ไปใช้ในปฏิบัติการโจมตีทางอากาศต่อกองกำลังติดอาวุธกลุ่มชาติพันธุ์มาแล้วหลายครั้ง เช่น กองกำลังติดอาวุธคะฉิ่น KIA ในรัฐคะฉิ่นทางตอนเหนือติดพรมแดนจีนปี 2013 และในรัฐฉาน เป็นต้นครับ

วันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ญี่ปุ่นทำพิธีปล่อยเรือพิฆาตชั้น Asahi ลำที่สอง DD-120 Shiranui ลงน้ำ

Japan MHI launched the Second 25DD/Asahi-class ASW Destroyer "Shiranui" for JMSDF


25DD-class ASW Destroyer Shiranui (hull number 120) was launched during a ceremony at MHI Nagasaki shipyard. Picture via ship spotter colleague @toma_san @tamotaro
https://navyrecognition.com/index.php/news/defence-news/2017/october-2017-navy-naval-forces-defense-industry-technology-maritime-security-global-news/5634-japan-mhi-launched-the-second-25dd-asahi-class-asw-destroyer-shiranui-for-jmsdf.html


อู่ต่อเรือบริษัท Mitsubishi Heavy Industries(MHI) ที่ Nagasaki ได้ทำพิธีตั้งชื่อเรือและปล่อยเรือลงน้ำของเรือพิฆาตชั้น Asahi(25DD) ลำที่สอง DD-120 JS Shiranui(26DD) ซึ่งเป็นลำสุดท้ายของชั้น
โดยเรือพิฆาต DD-120 Shiranui คาดว่าจะเข้าประจำการในกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น(JMSDF: Japan Maritime Self Defense Force) ในปี 2019
ตามเรือพี่สาวของเธอ DD-119 JS Asahi ที่ทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำเมื่อ 19 ตุลาคม 2016 เริ่มการทดลองเรือในทะเลเมื่อเดือนกรกฎาคม 2017 และจะเข้าประจำการในเดือนมีนาคม 2018

เรือพิฆาตชั้น Asahi เป็นเรือพิฆาตปราบเรือดำน้ำ(ASW: Anti-Submarine Warfare Destroyer) ที่มีพื้นฐานพัฒนาจากเรือพิฆาตชั้น Akizuki(19DD) ซึ่งถูกออกแบบมาเน้นด้านการเป็นเรือพิฆาตป้องกันภัยทางอากาศ(Anti-Air Warfare Destroyer) มากกว่า
เรือพิฆาตชั้น Akizuki ทั้ง 4ลำประกอบด้วย DD-115 Akizuki เข้าประจำการเมื่อ 14 มีนาคม 2012, DD-116 Teruzuki เข้าประจำการเมื่อ 7 มีนาคม 2013,
DD-117 Suzutsuki เข้าประจำการเมื่อ 12 มีนาคม 2014 และ DD-118 Fuyuzuki เข้าประจำการเมื่อ 13 มีนาคม 2014

เรือพิฆาตชั้น Asahi มีระวางขับน้ำมากกว่า 5,000tons ความยาวเรือ 151m กว้าง 18.3m และกินน้ำลึก 5.4m ขับเคลื่อนด้วยระบบเครื่องยนต์แบบ COGLAG(Combined Gas Turbine Electric and Gas Turbine)
ประกอบด้วยเครื่องยนต์กังหัน Gas Turbine แบบ General Electric/IHI LM2500IEC กำลัง 2,100MW/2,800HP สองเครื่อง กับ Motor ไฟฟ้ากำลัง 2.5MW/3,400HP สองเครื่อง
ซึ่งเป็นเรือลำแรกของกองกำลังป้องกันทางทะเลญี่ปุ่นที่ติดตั้งระบบ COGLAG ซึ่งเป็นระบบขับเคลื่อนแห่งอนาคตที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าระบบแบบเดิมอย่างมาก

เรือพิฆาตชั้น Asahi ติดตั้งระบบตรวจจับแบบต่างๆที่มีความล้ำสมัยสูง เช่น Radar เอนกประสงค์แบบ GaN-AESA(Gallium Nitride-Active Electronically Scanned Array) รุ่นใหม่ที่พัฒนาจาก AESA radar แบบ FCS-3A
โดย FCS-3A เช่นที่ติดตั้งบนเรือพิฆาตชั้น Akizuki นั้นมีจานสัญญาณตรึง4ด้าน(หน้าสอง หลังสอง)ทำงานย่านความถี่ C-Band (เป็นเรือรบชั้นแรกของญี่ปุ่นที่ติดตั้ง GaN-AESA radar และเป็นชั้นที่สองของโลกต่อจากเรือฟริเกตแบบ F125 ชั้น Baden-Württemberg กองทัพเรือเยอรมนีที่ติดตั้ง Radar แบบ TRS-4D)
เรือพิฆาตชั้น Asahi ยังติดตั้งระบบ Sonar ประกอบด้วย Sonar ที่ใต้ตัวเรือแบบ OQQ-24 และ Sonar ชักหย่อนด้านท้ายเรือปรับระดับความลึกได้แบบ OQR-4

ระบบอาวุธของเรือพิฆาตชั้น Asahi ประกอบด้วยเช่น แท่นยิงแนวดิ่ง Mk41 VLS(Vertical Launching System) 32ท่อยิงด้านหน้าเรือสำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ RIM-162 ESSM และจรวดปราบเรือดำน้ำ Type 07 VL-ASROC,
อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำ Type 90 แท่นยิง 8นัด และแท่นยิง Torpedo เบาปราบเรือดำน้ำแฝดสาม 2แท่นยิง ระบบอาวุธที่จะได้รับการติดตั้งในอนาคตอาจจะมีเช่น
อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ XSSM, อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ XRIM-4(ใช้ระบบตรวจจับ AESA radar เพื่อแทน ESSM), กระสุนปืนใหญ่เรือระยะยิงไกล และ Torpedo เบาปราบเรือดำน้ำแบบ Type 12(G-RX5) ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา

เรือพิฆาตชั้น Asahi ถูกออกแบบมาเพื่อมุ่งเน้นการลดค่าใช้จ่ายในการจัดหาขณะที่คงการพัฒนาและเติบโตต่อไปในอนาคต นั่นทำให้เรือชั้นนี้มีรูปแบบความคล้ายคลึงกับเรือพิฆาตชั้น Akizuki
คาดว่าเรือพิฆาต DD-119 Asahi มีกำหนดจะเข้าประจำการในเดือนมีนาคม 2018 โดยจะประจำการที่ฐานทัพเรือ Sasebo สังกัด หมวดเรือคุ้มกันที่2 กองเรือคุ้มกันที่2 ของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น
ทั้งนี้หลังจากนี้ญี่ปุ่นมีแผนจะสร้างเรือพิฆาตแบบ 33DD ใหม่ที่ออกแบบโดยบริษัท Kawasaki Heavy Industries โดยเรือลำแรกจะได้รับงบประมาณในปี 2021 และปล่อยเรือลงน้ำได้ในปี 2024 ซึ่งเรือพิฆาต 33DD มีขนาดใหญ่กว่าเรือชั้น Asahi และมีเสากระโดงแบบบูรณาการพร้อมตัวเรือแบบ CFRP ครับ

วันศุกร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2560

กองทัพสหรัฐฯจะส่งรถหุ้มเกราะล้อยาง Stryker รุ่นติดอาวุธหนักใหม่ไปยุโรป

AUSA 2017: Two new, more heavily armed Stryker variants heading to Europe
GDLS Stryker fitted with the Kongsberg MC-RCT armed with the latest Orbital ATK Armament Systems 30 mm XM813 dual feed automatic cannon. Source: GDLS
http://www.janes.com/article/74789/ausa-2017-two-new-more-heavily-armed-stryker-variants-heading-to-europe


AUSA 2017: US Army mulls new short-range air defence solutions
http://www.janes.com/article/74818/ausa-2017-us-army-mulls-new-short-range-air-defence-solutions


Boeing-General Dynamics Land Systems Stryker Mobile SHORAD Launcher(taskandpurpose.com, breakingdefense.com)

กองทัพบกสหรัฐฯ(US Army) จะนำรถหุ้มเกราะล้อยางลำเลียงพล Stryker Infantry Carrier Vehicle Dragoon รุ่นติดป้อมปืนใหญ่กล 30mm และรุ่นติดป้อมปืนพร้อมอาวุธปล่อยนำวิถี Javelin คันแรกของทั้งสองรุ่นไปทำการทดสอบการปฏิบัติการที่ยุโรปในเดือนธันวาคม
ตามที่เจ้าหน้าที่ได้กล่าวในระหว่างานแสดงยุทโธปกรณ์ Association of the US Army 2017 (AUSA 2017) ที่ Washington D.C ระหว่างวันที่ 9-11 ตุลาคมที่ผ่านมา
โดยผู้นำกองทัพบกสหรัฐฯได้เรียกแบบรถหุ้มเกราะล้อยาง Stryker ICV รุ่นติดป้อมปืนใหญ่กล 30mm ว่า 'Dragoon' และกำหนดแบบเป็น XM1296 Stryker ICV Dragoon

ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจบริษัท General Dynamics Land Systems(GDLS) นาย Mike Peck กล่าวกับ Jane's ว่าบริษัทกำลังสร้างรถหุ้มเกราะล้อยาง Stryker Dragoon ในอัตรา 10คันต่อเดือน และคาดว่าจะมีรถทั้งหมด 83คันที่สร้างเสร็จในเดือนพฤษภาคม 2018
ในเดือนธันวาคมที่จะถึงนี้ทหารกองทัพบกสหรัฐฯจะเริ่มได้รับ 'อุปกรณ์การฝึกใหม่' พร้อมกับรถหุ้มเกราะล้อยาง Stryker รุ่นติดปืนใหญ่กล นาย Peck กล่าว
การเพิ่มอำนาจการยิงนี้ถูกขับเคลื่อนผ่านการแถลงความต้องการปฏิบัติการจาก กรมทหารม้าที่2(2nd Cavalry Regiment หรือที่รู้จักในชื่อ Dragoons) ที่มีฐานที่ตั้งที่ Vilseck ในเยอรมนี ผู้นำกองทัพบกสหรัฐฯได้อนุมัติแผนนี้ในปี 2015

พันเอก Glenn Dean ผู้จัดการโครงการสำหรับชุดรบกองพลน้อย Stryker(Stryker Brigade Combat Team) กล่าวกับ Jane's ว่า กรมทหารม้าที่2 จะได้รับมอบรถเกราะ Stryker Dragoon 83คัน และ Stryker CROWS-J 87คัน
CROWS-Javelin หรือ CROWS-J เป็นการบูรณาการนำอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง Raytheon-Lockheed Martin FGM-148 Javelin เข้ากับป้อมปืน Remote แบบ Kongsberg CROWS II (Common Remotely Operated Weapon Station) นอร์เวย์
สำหรับ Dragoon บริษัท Orbital ATK Armament Systems ได้ส่งมอบปืนใหญ่กล XM813 Bushmaster ขนาด 30x173mm ป้อนกระสุนสองทาง ในความจริงจังต่อโครงการ

ปืนใหญ่กล XM813 Bushmaster 30mm ได้ถูกนำมาติดตั้งกับป้อมปืน MC-RCT(Medium Calibre Remote Controlled) ของบริษัท Kongsberg นอร์เวย์ และบูรณาการเข้ากับรถหุ้มเกราะล้อยาง Stryker ของบริษัท GDLS
Orbital ATK Armament Systems ได้รับสัญญาในการจัดส่งปืนใหญ่กล XM813 จำนวน 95กระบอกให้ GDLS ซึ่งการส่งมอบได้เริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา และมีกำหนดจะเสร็จสิ้นในเดือนมีนาคม 2018
ตามที่พันเอก Dean กล่าว กรมทหารม้าที่2 Dragoons กองทัพบกสหรัฐฯยังจะได้รับมอบรถหุ้มเกราะล้อยาง Stryker Scout ซึ่งติดตั้งระบบตรวจการณ์และตัวถังแบบสองชั้นรูปตัวV(double v-hull) ที่ดีกว่าสำหรับภารกิจลาดตระเวนด้วย

ในงาน AUSA 2017 บริษัท Boeing สหรัฐฯ และ General Dynamics Land Systems ยังได้ร่วมทีมเพื่อเสนอกองทัพบกสหรัฐฯในโครงการจัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศพิสัยใกล้ (SHORAD: Short-Range Air Defence) เพื่อทดแทนระบบ Avenger บนรถยนต์บรรทุก HMMWV
โดย Boeing-GDLS ได้เปิดตัว Stryker MSL(Mobile SHORAD Launcher) ซึ่งเป็นการปรับปรุงแท่นยิง AN/TWQ-1 Avenger ของ Boeing เข้ากับรถเกราะล้อยาง Stryker 8x8 พร้อมระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศแบบใหม่
เช่น Raytheon FIM-92 Stinger นำวิถี IR รุ่นปรับปรุงใหม่ในท่อยิง 4นัด, Lockheed Martin Longbow Hellfire นำวิถี radar 4นัด และ Raytheon AI-3 ซึ่งพัฒนาจากอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ AIM-9 Sidewinder นำวิถี IR 2นัดครับ

วันพฤหัสบดีที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2560

บราซิลเผยแผนการผลิตเครื่องบินขับไล่ Gripen E/F สวีเดน และแคนาดาสนใจ F/A-18A/B ออสเตรเลีย

Brazil reveals Gripen production schedule, Embraer’s manufacturing role
Brazil has signed for 36 Gripen E/F fighters under an initial contract. The Gripen E is shown here in a rendering. Source: Saab
http://www.janes.com/article/74696/brazil-reveals-gripen-production-schedule-embraer-s-manufacturing-role

กองทัพอากาศบราซิล(FAB, Brazilian Air Force) ได้เปิดเผยรายละเอียดแผนสายการผลิตสำหรับเครื่องบินขับไล่ SAAB Gripen E/F(หรือ F-39 ในกองทัพอากาศบราซิล) สวีเดน 36เครื่องที่ได้สั่งจัดหาในปี 2014 วงเงิน $5.4 billion
และได้กล่าวกับ Jane's เมื่อวันที่ 5 ตุลาคมที่ผ่านมาว่า การส่งมอบเครื่องบินขับไล่ Gripen E/F จะมีขึ้นในช่วงปี 2019-2024

เครื่องบินขับไล่ Gripen ของบราซิลจะเริ่มขั้นตอนการรับรองอากาศยานในเดือนมกราคม 2019 และ Gripen E รุ่นที่นั่งเดี่ยว และ Gripen F รุ่นสองที่นั่งที่เป็นเครื่องเที่ยวบินกับทดสอบเครื่องวัดประกอบการบินจะทำการบินครั้งแรกในเดือนกรกฎาคม 2019 และตุลาคม 2021 ตามลำดับ
บริษัท SAAB สวีเดนจะทำการผลิตเครื่องบินขับไล่ Gripen แบบเต็มทั้งเครื่องจำนวน 13เครื่อง และที่เหลืออีก 23เครื่องจะดำเนินการผลิตโดยที่บราซิลมีส่วนร่วม

สายการผลิตเครื่องบินขับไล่รุ่นที่นั่งเดี่ยว Gripen E ชุดแรก 11เครื่องจะมีการส่งมอบได้ในช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน 2021 และที่เหลืออีก 8เครื่องจะมีการสร้างขั้นต้นโดย Saab พร้อมกับการฝึกคนงานชาวบราซิลและประกอบขั้นสุดท้ายในบราซิล
ช่างอากาศยานบราซิลมากกว่า 350คนจะได้รับการฝึกที่สวีเดนจนถึงปี 2024 ตามที่โฆษกของ Saab กล่าวกับ Jane's

บริษัท Embraer Defense and Security บราซิลจะมีบทบาทสำคัญในโครงการและจะดำเนินการสายการผลิต Gripen E ที่นั่งเดี่ยว 8เครื่อง และ Gripen F สองที่นั่ง 7เครื่องแบบเต็มอัตราได้ในเดือนมิถุนายน 2020
โดยเครื่องบินขับไล่ Gripen E เครื่องแรกที่ประกอบโดย Embraer บราซิลจะส่งมอบได้ในเดือนสิงหาคม 2022 และ Gripen F เครื่องแรกที่ประกอบโดย Embraer จะส่งมอบได้ในเดือนกันยายน 2023 ครับ

Canada cements interest in Australian Hornets
Canada has formally expressed interest in Australia’s used Boeing F/A-18A/B Hornets, marking a significant development in the Royal Canadian Air Force’s search for a fighter that could temporarily fill the CF-18’s mission.
https://www.flightglobal.com/news/articles/canada-cements-interest-in-australian-hornets-441980/

Three Royal Australian Air Force F/A-18A Hornet s in 2013(wikipedia.org)

แคนาดาได้แสดงความสนใจอย่างเป็นทางการในการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Boeing F/A-18A/B Hornet ที่ผ่านการใช้งานแล้วของกองทัพอากาศออสเตรเลีย(RAAF: Royal Australian Air Force)
เป็นการแสดงพัฒนาการที่สำคัญของกองทัพอากาศแคนาดา(RCAF: Royal Canadian Air Force) ในการจัดหาเครื่องบินขับไล่ขั้นระยะชั่วคราวเพื่อเติมเต็มภารกิจของเครื่องบินขับไล่ CF-18 Hornet(CF-188 ในกองทัพอากาศแคนาดา)

เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมารัฐมนตรีกลาโหมแคนาดา Harjit Sajjan ได้แสดงความสนใจที่จะจัดหาเครื่องบินขับไล่ F/A-18A/B Hornet มือสองจากออสเตรเลียที่มีประจำการวมราว 71เครื่อง ซึ่งจะถูกทดแทนโดยเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35A Lightning II
ซึ่งเดิมกองทัพอากาศออสเตรเลียได้จัดหา F/A-18A 57เครื่อง และ F/A-18B 18เครื่อง รวม 75เครื่องในช่วงปี 1984-1990 โดยส่วนใหญ่ทำการประกอบโดยโรงงานอากาศยานรัฐบาลออสเตรเลีย(GAF: Government Aircraft Factories)

ตามการแถลงของรัฐบาลแคนนาดาเมื่อ 9 ตุลาคมที่ผ่านมา แคนาดาได้ยื่นการประกาศอย่างเป็นทางการในการแสดงถึงความสนใจนี้ต่อออสเตรเลีย โดยแคนาดาคาดว่าจะได้รับการตอบกลับภายในสิ้นปี 2017 เกี่ยวกับรายละเอียดของราคาเครื่องและจำนวนเครื่องที่จะจัดหาได้
โดยหลังที่รัฐบาลพรรคเสรีนิยมภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีแคนาดา Justin Trudeau ต้องการที่ถอนตัวจากโครงการ Joint Strike Fighter(JSF) ในการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A ทดแทน CF-18

แคนาดาได้แสดงความต้องการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Boeing F/A-18E/F Super Hornet ตามรายงานที่รัฐบาลสหรัฐฯได้อนุมัติความเป็นไปได้ในการขายให้(http://aagth1.blogspot.com/2017/09/fa-18ef-super-hornet.html)
แต่รัฐบาลแคนาดาได้ระงับการเจรจากับบริษัท Boeing สหรัฐหลังที่บริษัทกล่าวหาว่าบริษัท Bombardier แคนาดาทำการทุ่มตลาดเครื่องบินโดยสารไอพ่น CSeries ของตนในตลาดสหรัฐฯ

ทำให้กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯกำลังสอบสวนเพื่อตรวจสอบว่าบริษัท Bombardier แคนาดาได้รับเงินทุนอุดหนุนอย่างไม่เป็นธรรมจากรัฐบาลแคนาดาหรือไม่
อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ดังกล่าวคาดว่าจะไม่ทวีความร้อนแรงขึ้น หลังจากที่กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯตัดสินใจที่จะเพิ่มภาษีอีกร้อยละ80 ในสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากที่ได้เรียกเก็บภาษีอากรขาเข้าจากการนำเข้าเครื่องบินโดยสาร CS100 เป็นร้อยละ220 ครับ

วันพุธที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2560

กองทัพบกสหรัฐฯนำรถถังหลัก M1A2 ติด Trophy APS อิสราเอล และรับมอบเฮลิคอปเตอร์ UH-72A Lakota เครื่องสุดท้าย

US Army M1A2 Sep V2 MBT tanks fitted with Israeli Trophy active protection system 
Rafael Trophy active protection system mounted on Abrams M1A2 main battle tank

Israeli army Merkava IV main battle tank equipped with Rafael Trophy active protection ystem (Photo source Rafael)
https://www.armyrecognition.com/october_2017_global_defense_security_news_industry/us_army_m1a2_sep_v2_mbt_tanks_fitted_with_israeli_trophy_active_protection_system.html

กองทัพบกสหรัฐฯ(US Army) ได้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายในการติดตั้งระบบป้องกันเชิงรุก(APS: Active Protection System) แบบ Trophy ของบริษัท Rafael อิสราเอลเข้ากับรถถังหลัก M1A2 SEPV2 Abrams เพื่อตอบสนองความต้องการเร่งด่วน
ในเดือนกันยายน 2017 รัฐบาลสหรัฐฯได้เผยแพร่ใน Website ทางการถึงการประกาศสัญญากับบริษัท General Dynamics Land Systems Inc. เพื่อบูรณาการติดตั้งระบบ Rafael Trophy APS กับ ถ.หลัก M1A2 SEPV2 ของชุดรบกองพลน้อยยานเกราะ(Armor Brigade Combat Team)

กองทัพบกอิสราเอล(Ground Arm of Israel Defense Forces) ได้ติดตั้งระบบป้องกันเชิงรุก Trophy กับรถถังหลัก Merkava Mark IV ตั้งแต่ปี 2009
รวมถึงติดตั้งกับรถเกราะสายพานลำเลียงพลหนัก Namer และรถหุ้มเกราะล้อยาง Eitan 8x8 ที่มีกำหนดจะนำเข้าประจำการในกองพันทหารราบกองทัพอิสราเอลในปีหน้า

Trophy เป็นระบบหยั่งรู้สถานการณ์และระบบป้องกันเชิงรุกแบบ Hard-Kill ซึ่งสามารถนำมาติดตั้งกับรถรบได้สามรูปแบบคือ HV(รถรบหุ้มเกราะหนัก), MV(รถหุ้มเกราะขนาดกลาง) และ LV(รถหุ้มเกราะเบา)
ระบบทุกรูปแบบจะเพิ่มขีดความสามารถด้านความอยู่รอดและเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินกลยุทธของกำลังชุดรบได้มากยิ่งขึ้น

Trophy-HV สำหรับรถรบหนักมากกว่า 30tons และรถรบขนาดกลางน้ำหนักมากกว่า 15tons สามารถปกป้องรถจากภัยคุกคามได้ทั้ง จรวดต่อสู้รถถัง, อาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง(ATGM: Anti-Tank Guided Missile) และกระสุนระเบิดแรงสูงต่อสู้รถถัง(HEAT: High-Explosive Anti-Tank)
Trophy-HV ครอบคลุมการป้องกันรอบตัว 360องศาและขยายไปวังมุมยกขึ้น ขณะที่ยังคงพื้นที่ปลอดภัยต่อกำลังฝ่ายเดียวกันที่อยู่ใกล้รถ ขั้นตอนการทำลายภัยคุกคามจะมีขึ้นต่อเมื่อระบบประเมินแล้วว่าอาวุธจะยิงถูกรถเท่านั้น

ความสำเร็จในการนำไปใช้งานจริงของระบบ Trophy APS มีขึ้นในวันที่ 1 มีนาคม 2011 โดยระบบสามารถทำลายจรวด RPG(Rocket-Propelled Grenade) ที่ยิงใส่รถถังหลัก Merkava IV ในระยะใกล้ขณะปฏิบัติการในฉนวน Gaza ได้
ระบบ Trophy ยังคงได้รับการพิสูจน์การใช้งานจริงยังมีประสิทธิภาพหลายครั้ง เช่นในยุทธการ Protective Edge ปี 2014 ซึ่งไม่มีรถถังอิสราเอลสูญเสียแม้แต่คันเดียวในฉนวน Gaza ครับ

US Army completes Lakota deliveries
In the US Army service the Lakota is used for pilot training and 'behind-the-lines' support work. Source: US Army
http://www.janes.com/article/74722/us-army-completes-lakota-deliveries

กองทัพบกสหรัฐฯได้รับมอบเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป Airbus Helicopters UH-72A Lakota เครื่องที่ 400 ซึ่งเป็นเครื่องสุดท้ายสำหรับเป็นระบบฝึกและสนับสนุน ตามที่บริษัท Airbus Helicopters ประกาศเมื่อ 9 ตุลาคมที่ผ่านมา
เสร็จการส่งมอบเป็นเวลารวม 11ปีจากที่เฮลิคอปเตอร์รุ่นพลเรือน Eurocopter EC145(ปัจจุบันคือ Airbus Helicopters H145) ได้รับเลือกโดยกองทัพบกสหรัฐฯสำหรับเป็นเฮลิคอปเตอร์ฝึกนักบิน

ขณะที่การปฏิบัติในแนวหน้าจะใช้งานเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปเช่น Sikorsky UH-60 Black Hawk ได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องแบ่งจำนวนเครื่องมาใช้งานในแนวหลังอย่างในแผ่นดินใหญ่สหรัฐฯ
การจัดหา ฮ.UH-72A Lakota ทำให้กองทัพบกสหรัฐฯสามารถปลดประจำการเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปรุ่นเก่าอย่าง Bell UH-1 Huey และ OH-58A Kiowa ออกไปได้

จากที่ได้รับมอบ ฮ.UH-72A ชุดแรกในเดือนตุลาคม 2008 กองทัพบกสหรัฐฯได้ตั้งโครงการปรับปรุงจำนวนมากในสองปีให้หลังสำหรับนำไปใช้บทบาทการรักษาความั่นคงและการสนับสนุน(S&S: Security and Support) เช่น
การสนับสนุนการรักษากฏหมาย, การค้นหาและกู้ภัย, การแพทย์ฉุกเฉิน, การขนส่งบุคคลสำคัญ, การต่อต้านยาเสพติด, และการใช้งานธุรการทั่วไป

โดย ฮ.UH-72A Lakota ได้รับการติดตั้งกล้องตรวจการณ์ EO/IR(Electro-Optical Infrared) ที่กลางหัวเครื่อง, ไฟฉายค้นหากำลัง 30ล้านแรงเทียน, ระบบเชื่อมโยงวีดิทัศน์ analogue/digital, แผงควบคุมผู้ตรวจการณ์หลังพร้อมจอแสดงผล 15นิ้ว,
ชุดขยายการสื่อสารทางยุทธวิธี, รอกกว้านนอกตัวเครื่อง, ระบบบันทุกภาพวีดีทัศน์ digital, จอแสดงผลช่วย 10.4นิ้่วสำหรับนักบินที่1และนักบินที่2 และระบบบริหารจัดการภาพวีดิทัศน์

กองทัพบกไทย(Royal Thai Army)ได้เป็นประเทศส่งออกรายแรกนอกจากกองทัพบกสหรัฐฯที่จัดหาเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๗๒ UH-72A Lakota จำนวน ๖เครื่องในรูปการขายแบบ Foreign Military Sale(FMS)
กองทัพบกไทยได้รับมอบ ฮ.ท.๗๒ UH-72A ๖เครื่องในเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๕๘(2015) แต่เกิดอุบัติเหตุตก ๑เครื่องเมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๙(2016) ปัจจุบันมีประจำการใน กองพันบินที่๔๑ กรมบิน ศูนย์การบินทหารบก ๕เครื่องครับ

วันอังคารที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ตุรกีอาจจะยกเลิกสัญญาจัดหา S-400 ถ้ารัสเซียปฏิเสธแนวคิดการผลิตร่วม

Turkey says it may annul S-400 contract if Russia rejects idea of joint production
The Turkish foreign minister said that if some anti-Russia-minded countries do not want Turkey to purchase S-400 from it, then they must provide their alternative
Vitaliy Nevar/TASS
http://tass.com/defense/969633

รัฐบาลตุรกีอาจจะต้องล้มเลิกความตั้งใจที่จะจัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยไกล S-400 จากรัสเซีย ถ้าข้อตกลงการผลิตร่วมในตุรกีไม่ได้รับการบรรลุผล
ตามที่รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศตุรกี นาย Mevlut Cavusoglu กล่าวในการให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ Aksam ตุรกี เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม

"เราได้ทราบว่าไม่มีการปฏิเสธอย่างเป็นทางการในเรื่องนั้น (ประธานาธิบดีรัสเซีย) Vladimir Putin เคยบอกเราว่าเราอาจจะนำสู่ก้าวต่อไปสำหรับการผลิตร่วม องค์ความรู้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก แต่ถ้าทัศนะคติของรัสเซียเป็นไปในเชิงลบ เราอาจจะต้องหันไปเปิดข้อตกลงกับประเทศอื่น
เราจำเป็นต้องจัดซื้อพวกมัน(S-400) แต่ถ้าบางประเทศที่มีแนวคิดต่อต้านรัสเซียไม่ต้องการให้ตุรกีจัดซื้อ S-400 จากรัสเซีย ดังนั้นพวกเขาก็ต้องเสนอที่จะส่งมอบระบบทางเลือกของพวกเขาให้เรา" รัฐมนตรี Cavusoglu กล่าว

ก่อนหน้านี้ในวันที่ 12 กันยายน ประธานาธิบดีตุรกี Recep Tayyip Erdogan ว่ารัฐบาลตุรกีได้ลงนามสัญญาจัดหากับรัฐบาลรัสเซียในการจัดซื้อระบบป้องกันทางอากาศ S-400 และมีการวางวงเงินมัดจำแล้ว
ผู้ช่วยประธานธิบดีรัสเซียด้านเทคนิคทางทหาร Vladimir Kozhin ยืนยันเรื่องนี้ในเดือนกันยายน โดยเสริมว่าการส่งมอบองค์ความรู้ด้านการผลิตให้ตุรกีไม่ได้อยู่ในวาระการประชุม

ทั้งนี้ในอดีตเมื่อเดือนกันยายนปี 2013 ตุรกีได้เลือกที่จะจัดหาระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยไกล FD-2000 จาก China Precision Machinery Export-Import Corp(CPMEIC) สาธารณรัฐประชาชนจีน
ซึ่งเป็นรุ่นส่งออกของอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยไกล HQ-9(มีพื้นฐานจาก S-300 รัสเซีย) ที่ประจำการในกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน พร้อมการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตในตุรกีจากจีน

แต่จากการที่ NATO กังวลว่าการจัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศจากจีนของตุรกี จะทำให้จีนสามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญของระบบป้องกันภัยทางอากาศ NATO ได้ ทำให้ตุรกีต้องกลับมาพิจารณาถึงตัวเลือกระบบของประเทศกลุ่ม NATO
คือ Patriot จากบริษัท Raytheon กับ Lockheed Martin สหรัฐฯ และ Eurosam SAMP/T จาก MBDA/Thales Group ยุโรป จนต่อมาตุรกีแสดงความสนใจที่จะจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยไกล S-400 จากบริษัท Almaz-Antey รัสเซีย

นอกจากกองทัพรัสเซียที่เป็นผู้ใช้งานหลักของระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-400 รัสเซียยังได้ส่งออก S-400 ให้เบลารุส ซึ่งมีการส่งมอบแล้ว, จีนและอินเดียซึ่งมีการลงนามสัญญาจัดหาไปเมื่อช่วงปี 2015 และ 2016 ตามลำดับ
ล่าสุดซาอุดิอาระเบียและรัสเซียได้ลงนามบันทึกความเข้าใจในการจัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-400 ซึ่งรวมการสร้างในซาอุดิอาระเบียตามที่ได้รายงานไปด้วยครับ(http://aagth1.blogspot.com/2017/10/thaad-s-400.html)