วันอาทิตย์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2560

อินโดนีเซียลดความต้องการเรือดำน้ำจาก 12ลำเหลือ 8ลำ

Indonesia reduces submarine requirements from 12 to 8 in revised modernisation plan
Indonesia's second Cakra (Type 209/1300)-class submarine, KRI Nanggala. (TNI-AL)
http://www.janes.com/article/76542/indonesia-reduces-submarine-requirements-from-12-to-8-in-revised-modernisation-plan

กองทัพเรืออินโดนีเซีย(TNI-AL: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Laut) ได้ลดจำนวนความต้องการเรือดำน้ำของตนที่จะจัดหาภายใต้แผนโครงร่างการปรับปรุงกองทัพ 'กองกำลังที่จำเป็นขั้นต่ำ'(MEF: Minimum Essential Force)
หลายแหล่งข่าวจากภายในกองบัญญาการกองทัพเรืออินโดนีเซียใน Cilangkap, East Jakarta ผู้ที่มีข้อมูลรายละเอียดลับเฉพาะของการประชุมที่ดำเนินโดยนายทหารระดับสูงของกองทัพเรืออินโดนีเซีย ได้ยืนยันกับ Jane's ว่า

แผนความต้องการที่จะมีเรือดำน้ำประจำการรวม 12ลำภายในปี 2024 ตามที่กำหนดให้แผนโครงร่าง MEF ขณะนี้ถูกลดจำนวนลงเหลือเป็น 8ลำแล้ว
ทำให้การแก้ไขแผนความต้องการดังกล่าวกองทัพเรืออินโดนีเซียขณะนี้จำต้องที่จะมีการจัดหาเรือดำน้ำเพิ่มเติมอีกเพียง 3ลำภายใต้เส้นตายที่กำหนดภายใต้แผน MEF

ปัจจุบันกองทัพเรืออินโดนีเซียมีเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้า(SSK) ชั้น Cakra(Type 209/1300) จากเยอรมนี 2ลำคือ KRI Cakra 401 และ KRI Nanggala 402 โดยเข้าประจำการมาตั้งแต่ปี 1981
และเรือดำน้ำชั้น Nagapasa(DSME 1400 หรือ Type 209/1400) ที่สั่งจัดหา 3ลำจากบริษัท Daewoo Shipbuilding and Marine Engineering(DSME) สาธารณรัฐเกาหลี

เรือดำน้ำชั้น Nagapasa ลำแรกคือ KRI Nagapasa 403 ที่สร้างโดยอู่เรือ DSME เกาหลีใต้ได้ถูกส่งมอบเข้าประจำการในกองทัพเรืออินโดนีเซียตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม 2017 แล้ว(http://aagth1.blogspot.com/2017/07/dsme1400.html)
อีกสองลำคือลำที่สอง KRI Ardadedali 404 มีกำหนดจะเข้าประจำการตามมาในปี 2018 และลำที่สาม KRI Alugoro 405 จะสร้างในอินโดนีเซียโดยรัฐวิสาหกิจอู่ต่อเรือ PT PAL ใน Surabaya ซึ่งมีกำหนดเข้าประจำการในปี 2021

และขณะนี้ได้มีขั้นตอนการจัดตั้งความต้องการสุดท้ายที่จะนำไปสู่งโครงการจัดหาเรือดำน้ำใหม่เพิ่มเติมแล้ว ตามที่ Jane's ได้รายงานไปตั้งแต่เดือนเมษายน 2017 กองทัพเรืออินโดนีเซียได้รับข้อเสนอในการเข้าแข่งขันโครงการจัดหาเรือดำน้ำจากหลายประเทศ
เช่น อู่เรือ Gölcük ตุรกีที่ส่งเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้าชั้น Reis(Type 2014) พร้อมระบบขับเคลื่อนแบบไม่ใช้อากาศ AIP(air-independent Propulsion)(http://aagth1.blogspot.com/2017/05/type-214-aip.html)

ตัวเลือกแบบเรือดำน้ำอื่นที่อยู๋ในการพิจารณายังมีเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าโจมตีชั้น Project 636 Varshavyanka(NATO กำหนดรหัส Improved Kilo) จากรัสเซีย(http://aagth1.blogspot.com/2017/08/kilo-type-209.html)
และเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าโจมตีแบบ Scorpène 1000 จากบริษัท Naval Group ฝรั่งเศส(http://aagth1.blogspot.com/2017/04/dcns-pt-pal-dsme.html)

การแก้ไขแผนความต้องการการจัดหาเรือดำน้ำเหลือรวม 8ลำนั้น เป็นการเปลี่ยนความสำคัญมุ่งเน้นไปที่การจัดหาเรือผิวน้ำขนาดใหญ่จำนวนมากขึ้น ตามที่กองทัพเรืออินโดนีเซียตัดสินใจเลื่อนการปลดประจำการเรือฟริเกตชั้น Ahmad Yani ทั้ง 6ลำออกไป
เพื่อที่กองทัพเรืออินโดนีเซียจะสามารถปฏิบัติการประจำสถานีในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ(EEZ: exclusive economic zones) ของตนโดยเฉพาะในทะเลจีนใต้ได้อย่างเพียงพอครับ(http://aagth1.blogspot.com/2017/10/ahmad-yani.html)