วันพฤหัสบดีที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้อาจปรับปรุงเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ของตนให้รองรับเครื่องบินขับไล่ F-35B ซึ่งจีนแถลงตอบโต้

Japan, South Korea may refit naval ships for F-35 fighters
An F-35B Lightning II takes off on the flight deck of USS Wasp (LHD-1) during routine daylight operations, a part of Operational Testing 1, May 22. (Marine Corps photo by Cpl. Anne K. Henry/RELEASED)
https://www.defensenews.com/global/asia-pacific/2017/12/26/japan-south-korea-may-refit-naval-ships-for-f-35-fighters/

China urges Japan to ‘act cautiously’ on considerations to refit Izumo class for F-35Bs
Japan’s first Izumo-class helicopter carrier, JS Izumo (DDH-183) Source: JMSDF
http://www.janes.com/article/76659/china-urges-japan-to-act-cautiously-on-considerations-to-refit-izumo-class-for-f-35bs

ท่ามกลางความตึงเครียดที่เพิ่มสูงขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ทั้งญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลีได้มีรายงานออกมาว่า
ทั้งสองประเทศกำลังตรวจสอบแนวทางเลือกที่จะนำเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35B Lightning II Joint Strike Fighter รุ่นบินขึ้นระยะสั้นขึ้นลงทางดิ่ง STOVL(Short Take-Off Vertical Landing) มาปฏิบัติการบนเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ของตน

ตามรายงานที่อ้างจากแหล่งข่าวที่ไม่ระบุชื่อของทั้งสองประเทศ สำนักข่าว Kyodo ญี่ปุ่น และสำนักข่าว Yonhap สาธารรัฐเกาหลีได้รายงานว่า เครื่องบินขับไล่ F-35B STOVL กำลังถูกนำมาพิจารณาสำหรับการปฏิบัติการร่วมกับ
เรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo ของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น(JMSDF: Japan Maritime Self-Defense Force) และเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Dokdo ของกองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลี(ROKN: Republic of Korea Navy) เพื่อเปลี่ยนให้เรือทั้งสองชั้นเป็นเรือบรรทุกเครื่องบิน

Kyodo ญี่ปุ่นยังได้รายงานว่าเครื่องบินขับไล่ F-35B สามารถที่จะนำมาใช้ปกป้องญี่ปุ่นในพื้นที่หมู่เกาะที่ห่างไกลทางตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งสนามบินในพื้นที่มีความยาวทางวิ่งไม่รองรับปฏิบัติการของเครื่องบินขับไล่ขึ้นลงตามแบบ CTOL(Conventional Take-Off and Landing)
ยุทธศาสตร์ดังกล่าวถูกพิจารณาว่าเพื่อเป็นตอบสนองภัยคุกคามจากขีปนาวุธและอาวุธนิวเคลียร์ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี เช่นเดียวกับการปรับปรุงความทันสมัยและขยายแสนยานุภาพทางทหารของจีนที่มีขึ้นอย่างรวดเร็ว ที่ต่างเป็นภัยคุกคามหลักของทั้งญี่ปุ่นและเกาหลีใต้

เมื่อถามเกี่ยวกับรายงานของสื่อเมื่อวันที่ 26 ธันวาคมที่ผ่านมา รัฐมนตรีกลาโหมญี่ปุ่น Itsunori Onodera รายงานปฏิเสธแผนใดๆที่จะทำการดัดแปลงให้เรือชั้น Izumo สามารถปฏิบัติการ F-35B ได้
ก่อนที่จะไปไกลกว่านั้นกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นได้ยืนยันมาโดยตลอดถึง "การดำเนินการประเมินค่าการศึกษาต่างๆของขีดความสามารถในการป้องกันประเทศของญี่ปุ่น"

การดัดแปลงเรือเพื่อรองรับการปฏิบัติการกับ F-35B จะเป็นเพิ่มความอ่อนตัวและขยายพิสัยทำการของภารกิจ ตามที่ Yonhap เกาหลีใต้ได้อ้างจากแหล่งข่าวที่กล่าวว่ากองทัพสาธารณรัฐเกาหลีกำลังมองไปยัง "การทำให้เรือมีขีดความสามารถด้านคุณค่าทางยุทธศาสตร์สูงสุด"
โดยในปฏิบัติการปกติเรือทั้งสองชั้นจะบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ไปกับเรือได้หลายเครื่อง ซึ่งเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo ถูกออกแบบให้บรรทุกเฮลิคอปเตอร์ได้สูงสุด 14เครื่อง และเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Dokdo สามารถบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ได้สูงสุด 10เครื่อง

อย่างไรก็ตามทั้งเรือชั้น Izumo ญี่ปุ่นและเรือชั้น Dokdo เกาหลีใต้จำเป็นที่จะต้องได้รับการดัดแปลงอย่างทั้งภายในและภายนอกตัวเรือเพื่อรองรับการปฏิบัติการของเครื่องบินขับไล่ F-35B
ที่รวมการเคลือบสารป้องกันความร้อนที่พื้นผิวของดาดฟ้าบินของเรือให้ทนทานต่อความร้อนจากไอพ่นของ F-35B ขณะทำการลงจอดในแนวดิ่ง และเป็นไปได้ที่จะปรับเปลี่ยนรูปแบบดาดฟ้าบินเพื่อช่วยในการวิ่งขึ้นของเครื่องให้ดีขึ้น

เรือทั้งสองชั้นยังจำเป็นที่จะต้องมีคลังเก็บอาวุธ-กระสุนที่ได้รับการหุ้มเกราะป้องกันและมีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อรองรับระบบอาวุธของ F-35B ขณะที่คลังเก็บเชื้อเพลิงอากาศยานของเรือน่าจะยังจำเป็นต้องขยายให้ใหญ่ขึ้นเพื่อรองรองการใช้เชื้อเพลิงที่สิ้นเปลืองมากกว่าเมื่อเทียบกับเฮลิคอปเตอร์
สำนักข่าว Reuters สหราชอาณาจักรได้ให้ข้อสังเกตว่าการติดตั้งทางวิ่ง Ski-Jump ที่หัวเรืออาจจะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการปรับปรุงเรือชั้น Izumo ญี่ปุ่นให้รองรับ F-35B ซึ่งน่าจะเป็นไปได้เช่นเดียวกันกับเรือชั้น Dokdo เกาหลีใต้

อย่างไรก็ตามเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo ญี่ปุ่นที่มีความยาวเรือ 248m และเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Dokdo เกาหลีใต้ที่มีความยาวเรือ 199m เรือทั้งสองชั้นต่างมีดาดฟ้าบินที่มีความยาวมากพอสำหรับรองรับการบินขึ้นของ F-35B โดยไม่จำเป็นต้องใช้ Ski-Jump
เช่นเดียวกับ F-35B นาวิกโยธินสหรัฐฯ(USMC: US Marine Corps) ที่ปฏิบัติการจากเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Wasp (LHD: Landing Helicopter Dock) และเรือยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์จู่โจมชั้น America (LHA: Landing Helicopter Assault) ของกองทัพเรือสหรัฐฯ(US Navy)

ปัจจุบันกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นมีเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo ประจำการแล้ว 2ลำคือลำแรก DDH-183 JS Izumo เข้าประจำการเมื่อ 25 มีนาคม 2015 และลำที่สอง DDH-184 JS Kaga เข้าประจำการเมื่อ 22 มีนาคม 2017(http://aagth1.blogspot.com/2017/03/izumo-ddh-184-kaga.html)
ส่วนกองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลีมีเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Dokdo ประจำการแล้ว 1ลำคือ LPH-6111 ROKS Dokdo เข้าประจำการเมื่อ 3 กรกฎาคม 2007 โดยลำที่สอง LPH-6112 ROKS Marado กำลังอยู่ระหว่างการสร้างคาดว่าจะเข้าประจำการได้ในปี 2020

ทั้งญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ต่างเป็นผู้ใช้งานเครื่องบินขับไล่ F-35A CTOL อยู่แล้ว โดยกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น(JASDF: Japan Air Self Defense Force) ได้สั่งจัดหา F-35A 42เครื่องพร้อมสิทธิบัตรการผลิตในญี่ปุ่น(http://aagth1.blogspot.com/2017/06/f-35a.html)
ขณะที่กองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลี(ROKAF: Republic of Korea Air Force) ได้สั่งจัดหา F-35A 40เครื่อง และกำลังมองแผนการจัดหาเพิ่มเติมอีก 20เครื่อง(http://aagth1.blogspot.com/2017/12/f-35a.html)

นอกจากนี้ญี่ปุ่นถึงยังพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการที่จะอนุญาตให้นาวิกโยธินสหรัฐฯนำเครื่องบินขับไล่ F-35B ของตนร่วมปฏิบัติการบนเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ของญี่ปุ่นเพื่อใช้เป็นสถานีเติมเชื้อเพลิงกลางทะเล
ซึ่งสหรัฐฯและญี่ปุ่นได้มีความร่วมมือในการปฏิบัติการรวมกันอยู่ก่อนแล้ว เช่นการนำอากาศยานใบพัดกระดก MV-22B Osprey นาวิกโยธินสหรัฐฯปฏิบัติการบนเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Hyuga ญี่ปุ่น โดยญี่ปุ่นเองก็ได้จัดหา V-22  5เครื่องที่ได้รับมอบในอนาคตอันใกล้

การมีเรือบรรทุกเครื่องบินในครอบครองของญี่ปุ่นจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในการวางตัวด้านการป้องกันประเทศ และน่าจะกลายเป็นประเด็นที่เป็นที่ถกเถียงในการวิจารณ์ว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญสันติภาพของญี่ปุ่นที่ไม่อนุญาตให้ญี่ปุ่นจัดหาสิ่งที่ถูกเรียกว่า 'ศักย์สงคราม'(War Potential)
แต่ Corey Wallace ผู้ที่จบการศึกษาตามหลัง Albert Einstein จากบัณฑิตวิทยาลัยการศึกษาเอเชียตะวันออก ของมหาวิทยาลัย Freie Universitat ใน Berlin เยอรมนี ได้เขียนในการประชุมเอเชียตะวันออกว่า

รัฐธรรมนูญของญี่ปุ่นไม่ได้กำหนดการห้ามอย่างชัดเจนในทางขีดความสามารถเฉพาะว่าเป็นเชิงรุกหรืออย่างอื่นหรือไม่ ดูเหมือนว่ารัฐบาลญี่ปุ่นจะตีความคำว่า 'ศักย์สงคราม' ในการกล่าวถึงภาพรวมความแข็งแกร่งของกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น(JSDF: Japan’s Self-Defence Forces) ทั้งหมด
เมื่อเทียบภัยคุกคามที่เป็นไปได้และสภาพการณ์ต่างๆในระดับนานาชาติ และไม่เกี่ยวว่าจะเป็นการนำไปสู่การมีขีดความสามารถเป็นการรุกหรือการรับเป็นส่วนใหญ่

รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนได้แสดงท่าทีตอบโต้ญี่ปุ่นต่อกรณีที่ญี่ปุ่นอาจจะกำลังพิจารณาให้เรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo ของตนสามารถรองรับปฏิบัติการของ F-35B ได้
โดยโฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน Hua Chunying ได้แถลงการณ์อย่างแข็งกร้าวเรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นดำเนินการใดๆ 'ด้วยความระมัดระวัง' ต่อประเด็นทางการทหารที่ส่งผลต่อสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย โดยขอให้ญี่ปุ่นเรียนรู้จากบทเรียนของประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา

ท่าทีตอบโต้ของรัฐมนตรีกลาโหมญี่ปุ่น Itsunori Onodera นั้นกล่าวว่าตนไม่ได้ให้ความสำคัญรายงานที่ออกมาจากสื่อตามข้างต้น  แต่จากแถลงการณ์ของรัฐบาลจีนที่แข็งกร้าวต่อกรณีนี้แสดงให้เห็นว่าจีนมีความรู้สึกอ่อนไหวต่ออากาศยาน STOVL
ทั้งนี้กองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People's Liberation Army Navy)มีเรือบรรทุกเครื่องบินประจำการแล้วลำแรกคือ Type 001 CV-16 Liaoning โดยลำที่2 Type 001A CV-17 ใกล้เสร็จเข้าประจำการในอนาคตอันใกล้ และลำที่3 Type 002 กำลังอยู่ระหว่างสร้างครับ