วันจันทร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561

เครื่องบินลำเลียง IL-112V รัสเซียทดสอบการเคลื่อนที่บนทางวิ่งครั้งแรก




The first prototype of Ilyushin IL-112V transport aircraft made the first trial taxiing on the runway of VASO PJSC (part of UAC Transport Aviation Division) in Voronezh. Photo: Igor Stryuk / PJSC "VASO"
https://russianplanes.net/id243161
https://twitter.com/PAO_Ilyushin/status/1078936790751477761


เครื่องบินลำเลียงเบาทางยุทธวิธีสองเครื่องยนต์ใบพัด Ilyushin IL-112V เครื่องต้นแบบเครื่องแรก ได้เริ่มการทดสอบการเคลื่อนที่(Taxi) บนทางวิ่ง(Runway) เป็นครั้งแรก ณ โรงงานอากาศยาน VASO ใน Voronezh รัสเซีย เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2018
โดยคาดว่า United Aircraft Corporation(UAC) กลุ่มอุตสาหกรรมอากาศรัสเซียที่มีสำนักออกแบบ Ilyushin ในเครือกำลังเตรียมการสำหรับการทำการบินครั้งแรกของเครื่องบินลำเลียง IL-112V ในเร็วๆนี้

เครื่องบินลำเลียงเบา IL-112V ได้ถูกเลือกโดยกระทรวงกลาโหมรัสเซียตั้งแต่ปี 2003  เพื่อทดแทนเครื่องบินลำเลียงสองเครื่องยนต์ใบพัด Antonov An-26(NATO กำหนดรหัส Curl) และ An-24 (NATO กำหนดรหัส Coke) ที่ประจำการมาตั้งแต่สมัยอดีตสหภาพโซเวียต
โดยมีแผนที่จะสร้างเป็นสองรุ่นคือรุ่นเครื่องบินลำเลียงทางทหาร IL-112V มากกว่า 100เครื่องเพื่อเข้าประจำการในกองทัพอากาศรัสเซีย(Russian Aerospace Force) และ IL-112T รุ่นพลเรือนสำหรับภาคธุรกิจการบินเอกชน

IL-112V เป็นเครื่องบินลำเลียงเบาทางยุทธวิธีที่ถูกออกแบบมาสำหรับการขนส่งกำลังพล, ยุทโธปกรณ์ทางทหาร, กระสุนและสัมภาระอื่นๆหลายแบบ ติดตั้งเครื่องยนต์ใบพัด Turboprop แบบ Klimov TV7-117ST แบบหกกลีบใบพัดจำนวนสองเครื่อง กำลังเครื่องละ 3,500 hp
IL-112V มีน้ำหนักบรรทุกสูงสุด 5tons ทำความเร็วเดินทางได้ที่ 550km/h มีพิสัยทำการ 1,200km สามารถทำการบินได้จากสนามบินที่ไม่มีการเตรียมการทั้งแบบทางวิ่งปูคอนกรีตและดินอัด

รัสเซียได้เคยระงับโครงการพัฒนาเครื่องบินลำเลียง IL-112V เพราะเหตุผลด้าน 'ข้อบกพร่องในการออกแบบ' และ 'ขาดความน่าสนใจ' โดยกระทรวงกลาโหมรัสเซียได้ระงับงบประมาณโครงการ IL-112V ในเดือนพฤษภาคม 2010
ซึ่งกระทรวงกลาโหมรัสเซียในขณะนั้นได้เลือกที่จะจัดหาเครื่องบินลำเลียงเบา Antonov An-140T ยูเครนซึ่งเป็นรุ่นลำเลียงทางยุทธวิธีของเครื่องบินโดยสายสองเครื่องยนต์ใบพัด An-140 ยูเครน

แต่ทว่าผลจากการตัดความสัมพันธ์ทางทหารระหว่างรัสเซียและยูเครน หลังจากที่รัสเซียเข้าผนวก Crimea และสนับสนุนกลุ่มติดอาวุธทำสงครามต่อกองกำลังความมั่นคงยูเครนในภาค Donbass ตั้งแต่ปี 2014 เป็นต้นมา
ทำให้รัสเซียยกเลิกการจัดหาเครื่องบินลำเลียง An-140 ทุกรุ่นเพิ่มเติม และกระทรวงกลาโหมรัสเซียได้กลับมาให้งบประมาณโครงการเครื่องบินลำเลียง IL-112V อีกครั้งในปี 2014

เครื่องบินลำเลียง IL-112V เครื่องต้นแบบเครื่องแรกได้เปิดตัวออกจากโรงงานอากาศยาน Voronezh ไปเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2018 ที่ผ่านมา และได้เริ่มการทดสอบการเคลื่อนที่ในทางวิ่งในปลายเดือนธันวาคม 2018 ในข้างต้น
เดิม IL-112V มีกำหนดการทำการบินครั้งแรกภายในสิ้นปี 2018 นี้(https://aagth1.blogspot.com/2017/06/ilyushin-il-112v-2018.html) แต่อย่างไรก็ตามการพัฒนามีความล่าช้าและถูกเลื่อนกำหนดการมาแล้วหลายครั้ง ทำให้คาดว่าการบินครั้งแรกของเครื่องน่าจะมีขึ้นภายในปี 2019 ครับ

วันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2561

รัสเซียส่งมอบเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป Mi-17V5 ชุดใหม่ ๒เครื่องให้กองทัพบกไทยแล้ว


Royal Thai Army's new two Mil Mi-17V5 transport helicopters was delivered by Ilyushin IL-76TD Strategic Airlifter registration number 'RA-76842' of Aviacon Zitotrans airline at U-Tapao Royal Thai Navy Airfield/International Airport in late December 2018
https://www.facebook.com/GeneralSupportAviationBattalion

Thailand shows interest in Russian helicopters
Thailand has shown interest in Russia’s helicopters Ansat, Mi171A2 and Ka-32
http://tass.com/defense/1038221

ช่วงปลายเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๑(2018) ที่ผ่านมาได้ปรากฎภาพถ่ายเครื่องบินลำเลียงหนักไอพ่น IL-76TD รหัสทะเบียน RA-76842 ของสายการบิน Aviacon Zitotrans รัสเซีย มาทำการลงจอด ณ สนามบินอู่ตะเภา ประเทศไทย
ซึ่งจากภาพจะเห็นว่าห้องบรรทุกของเครื่องบินลำเลียง IL-76TD สายการบิน Aviacon Zitotrans รัสเซีย ได้ทำการขนส่งเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๑๗ Mil Mi-17V5 กองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army) ซึ่งยืนยันได้จากสีพรางและเครื่องหมายบนตัวเครื่อง

ทำให้เป็นที่เข้าใจว่านี่น่าจะเป็น ฮ.ท.๑๗ Mi-17V5 ชุดใหม่จำนวน ๒เครื่องที่กองทัพบกไทยได้สั่งจัดหาในปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017) เพื่อเข้าประจำการใน กองพันบินที่๔๑ กรมบิน ศูนย์การบินทหารบก(https://aagth1.blogspot.com/2017/11/mi-17-ka-52-mi-35m.html)
โดยกองทัพบกไทยได้จัดหา ฮ.ท.๑๗ Mi-17V5 เข้าประจำการก่อนหน้าแล้ว ๕เครื่องแบ่งเป็นชุดแรก ๓เครื่องในปี พ.ศ.๒๕๕๑(2008) เข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๕๔(2011) ชุดที่สอง ๒เครื่องในปี พ.ศ.๒๕๕๗(2014) เมื่อรวมกับชุดล่าสุดอีก ๒เครื่องนี้จะรวมเป็น ๗เครื่อง

ประเทศไทยยังได้แสดงความสนใจเฮลิคอปเตอร์ของรัสเซีย เช่น Ansat, Mil Mi-171A2 และ Kamov Ka-32 ตามที่ Andrei Boginsky ผู้อำนวยการทั่วไปของบริษัท Russian Helicopters ในเครือกลุ่มอุตสาหกรรมความมั่นคงรัสเซีย Rostec กล่าวกับ TASS เมื่อวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๖๑
"เท่าที่เกี่ยวข้องกับไทย เฮลิคอปเตอร์ Ansat และ Mi-171A2 ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก สำนักงานตำรวจแห่งชาติไทย(Royal Thai Police) กำลังสนใจที่จะจัดซื้อ ฮ.Ansat ยังรวมถึง ฮ.Mi-171A2 ในรุ่นค้นหาและกู้ภัยด้วย" Boginsky กล่าวขณะที่เขาอยู่ระหว่างการเยือนประเทศไทย

"นอกจากนี้เรากำลังอยู่ระหว่างการเจรจาการขายเฮลิคอปเตอร์ Ka-32 ที่กำลังเป็นที่ต้องการอย่างมากของไทย ไทยหุ้นส่วนของรัสเซียเราได้พวกมันระหว่างการใช้งานในเกาหลีใต้และจีนแล้ว
ฮ.Ka-32 สามารถถูกใช้ในการดับเพลิงได้ มันมีขีดความสามารถในการเคลื่อนย้ายระบบดับเพลงแนวนอนได้" Boginsky เสริมโดยเขาจำได้ว่าก่อนหน้านี้ Russian Helicopters รัสเซียได้บรรลุข้อตกลงในการขาย ฮ.ท.๑๗ Mi-17V-5 ให้กองทัพบกไทยก่อนหน้านี้แล้ว

ภายใต้ข้อตกลงที่บรรลุไปก่อนหน้านี้บริษัท Russian Helicopters รัสเซียได้ส่งมอบเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๑๗ Mi-17V-5 จำนวน ๒เครื่องให้กับลูกค้าคือกองทัพบกไทยไปแล้วเมื่อวันที่ ๒๗ ธันวาคมที่ผ่านมา
"พวกมันได้รับการประกอบและทดสอบแล้ว ขั้นตอนการส่งมอบได้รับการดำเนินการแล้ว เฮลิคอปเตอร์ได้รับการโห่ร้องแสดงชัยชนะ(ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) คือวิถีทางที่เราเข้าใจมัน" Boginsky กล่าวย้ำ

ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ Russian Helicopters รัสเซียได้จัดสาธิตเฮลิคอปเตอร์ Ansat และเฮลิคอปเตอร์ Mi-171A2 ของตน ณ สนามบินอู่ตะเภา กองการบินทหารเรือ กองทัพเรือไทย(https://aagth1.blogspot.com/2018/11/mi-171a2-ansat.html)
โดยเป็นส่วนหนึ่งของการเดินสายประชาสัมพันธ์โครงการ South Asian Heli Tour ซึ่ง Russian Helicopters รัสเซียได้นำ ฮ.ทั้งสองแบบของตนไปประสัมพันธ์ต่อลูกค้าพลเรือนและกองทัพกลุ่มประเทศ ASEAN ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งเวียดนาม, กัมพูชา, ไทย และมาเลเซีย

เป็นที่เข้าใจว่ากองทัพบกไทยมีความต้องการจัดหา ฮ.ท.๑๗ Mi-17V5 เพิ่มเติมรวม ๑๒เครื่อง เพื่อทดแทนเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง ฮ.ล.๔๗ Boeing CH-47D Chinook สหรัฐฯ ๖เครื่องที่เคยประจำการในกองบินสนับสนุนทั่วไป(ปัจจุบันกองพันบินที่๔๑) โดยได้มีการนำเครื่องไปแลกกับเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๖๐ UH-60A Black Hawk(Refurbished) ๓เครื่อง
ทั้งนี้บริษัท Russian Helicopters รัสเซียและบริษัท Datagate ไทยซึ่งเป็นหุ้นส่วนของรัสเซียยังได้มองโอกาสความเป็นไปได้ในการสร้างศูนย์ให้บริการเฮลิคอปเตอร์รัสเซียในประเทศไทยด้วยครับ(https://aagth1.blogspot.com/2018/02/russian-helicopters.html)

วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2561

เครื่องบินฝึกไอพ่น L-39NG สาธารณรัฐเช็กที่สร้างใหม่ทำการบินครั้งแรก

PICTURES & VIDEO: Aero Vodochody L-39NG completes first flight




The first pre-production L-39NG jet trainer (msn 7001) completed its maiden flight on 22 December from Vodochody airport in the Czech Republic.
https://www.flightglobal.com/news/articles/pictures-video-aero-vodochody-l-39ng-completes-fi-454646/


เครื่องบินฝึกไอพ่นและโจมตีเบา L-39NG เครื่องต้นแบบเครื่องแรกในสายการผลิต Pre-Production บริษัท Aero Vodochody สาธารณรัฐเช็ก ได้เสร็จสิ้นการทำการบินครั้งแรกจากสนามบิน Vodochody เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2018 ที่ผ่านมา
L-39 เป็นเครื่องบินฝึกไอพ่นรุ่นใหม่ล่าสุดในตระกูล L-39 Albatross ที่เข้าประจำการมาตั้งแต่ปลายปี 1960s ได้ถูกทำการบินโดยนักบินทดสอบของบริษัทคือ David Jahoda และ Vladimír Továre

การบินครั้งแรกของเครื่องบินฝึกไอพ่น L-39NG มีขึ้นเป็นเวลา 26นาที โดยรวมการบินไต่ระดับไปที่เพดานบิน 5,000ft(1,525m) ซึ่งมีการดำเนินการชุดการทดสอบทางการพัฒนาหลายรายการ
เที่ยวบินครั้งแรกของเครื่องมีขึ้นในเวลาให้หลังเพียงสองเดือนหลังจากที่ L-39NG เครื่องแรกที่สร้างใหม่ทั้งเครื่องเปิดตัวจากสายการผลิตเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2018(https://aagth1.blogspot.com/2018/10/l-39ng.html)

"L-39NG ได้ทำงานอย่างดีเยี่ยมมากๆและตรงตามที่เราคาดไว้อย่างเต็มรูปแบบในแง่ความมีเสถียรภาพและความสามารถในการควบคุม เราสามารถที่จะทำการทดสอบบางอย่างเพิ่มได้
เช่น การเปลี่ยนแปลงการกำหนดค่าการเร่งความเร็วไปที่ 200knots, การเลี้ยวในมุม 30องศา, 45องศา และ 60องศา และการลดความเร็วเพื่อเข้าสู่ความเร็วการเตรียมลงจอด(approach speed)" Jahoda นักบินทดสอบกล่าวหลังการบิน

บริษัท Aero Vodochody กล่าวว่า L-39NG ได้ทำการบินในรูปแบบตัวแทนของเครื่องในสายการผลิต ที่รวมการปรับสุดท้ายในส่วนปีกแบบมีถังเชื้อเพลิงภายใน(wet wing) และท่อรับอากาศเข้า(air inlets) บริษัทตั้งเป้าที่จะได้รับการรับรองการบินภายในสิ้นปี 2019
"การบินครั้งแรกของเครื่องชุดเตรียมสายการผลิตเป็นตัวแทนถึงก้าวย่างที่สำคัญในการส่งข้อควาที่สำคัญต่อสูงค้าของเรา เราสามารถเติมเต็มพันธกรณีของเราได้อย่างเต็มรูปแบบ และเราจะพร้อมที่จะส่งมอบเครื่องแรกได้ภายในไตรมาสแรกของปี 2020" Giuseppe Giordo ประธานและผู้อำนวยการบริหารของ Aero Vodochody Aerospace กล่าว

ลูกค้าเปิดตัวของ L-39NG คือ LOM Praha รัฐวิสาหกิจสาธารณรัฐเช็ก, ฝูงบินผาดแผลงเอกชน Breitling Jet Team ฝรั่งเศส, ฝูงบินผาดแผลง Black Diamond Jet Team ของบริษัท Draken International สหรัฐฯ(https://aagth1.blogspot.com/2015/06/l-39ng.html)
บริษัท SKYTECH โปรตุเกส และบริษัท RSW Aviation สหรัฐฯ(https://aagth1.blogspot.com/2018/07/fa-259-l-39ng.html) รวมถึงกองทัพอากาศเซเนกัล(Senegalese Air Force) 4เครื่อง และกระทรวงกลาโหมเช็กสำหรับกองทัพอากาศเช็ก(Czech Air Force) 6เครื่อง

L-39NG เป็นเครื่องบินไอพ่นเครื่องยนต์เดี่ยวติดตั้งเครื่องยนต์ไอพ่น Turbofan แบบ Williams International FJ44-4M สหรัฐฯ แทนเครื่องยนต์ไอพ่น Ivchenko AI-25TL ยูเครนที่ติดตั้งใน L-39 รุ่นก่อน
L-39NG ยังได้รับการติดตั้งห้องนักบินแบบ Glass Cockpit, ระบบการฝึกเสมือนจริงภายในตัวเครื่อง และหมวกนักบินติดจอแสดงผล(Helmet Mounted Display) มีจุดแข็ง 5ตำบลอาวุธ(เทียบกับ 4ตำบลใน L-39 รุ่นเดิม) สำหรับอาวุธอากาศสู่อากาศและอากาศสู่พื้นหลายแบบ รวมถึงระบบตรวจจับ

นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐเช็ก Andrej Babis ได้ประกาศเมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๑(2018) ว่ากระทรวงกลาโหมไทยได้แสดงความสนใจในการจัดหา L-39NG โดยไม่ระบุจำนวน
โดยนายกรัฐมนตรีเช็ก Babis มีกำหนดการที่จะเดินทางเยือนราชอาณาจักรไทยในเดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๖๒(2019) ที่จะถึง หนึ่งในหัวข้อหารือคือประเด็นที่สาธารณรัฐเช็กขาดดุลการค้ากับไทยค่อนข้างสูง(https://aagth1.blogspot.com/2018/11/l-39ng.html)

กองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) ได้จัดหาเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๑ บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART Albatros สาธารณรัฐเช็ก ๓๖เครื่องที่ได้รับการปรับปรุงระบบโดยบริษัท Elbit อิสราเอล เข้าประจำการตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๗(1994) ต่อมาจัดหาเพิ่มอีก ๔เครื่องรวมทั้งสิ้น ๔๐เครื่อง
ปัจจุบันมี บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART ๒๔เครื่องประจำการ ณ ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ เชียงใหม่(https://aagth1.blogspot.com/2017/10/kai-t-50th.html) ซึ่งบางส่วนถูกทดแทนโดยเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๒ บ.ขฝ.๒ Korea Aerospace Industries(KAI) T-50TH Golden Eagle สาธารณรัฐเกาหลี ประจำการ ณ ฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ ตาคลีครับ(https://aagth1.blogspot.com/2018/04/t-50th.html)

วันศุกร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2561

Sikorsky-Boeing สหรัฐฯเปิดเผยภาพเฮลิคอปเตอร์ SB>1 DEFIANT เครื่องต้นแบบ

Sikorsky, Boeing Provide First Look at SB>1 DEFIANT
Sikorsky and Boeing provided the first look at the new SB>1 DEFIANT helicopter. The helicopter is one of two designs participating in the U.S. Army’s Joint Multi-Role-Medium Technology Demonstrator Program. Courtesy Sikorsky-Boeing Team.

Sikorsky and Boeing provided the first look at the new SB>1 DEFIANT helicopter. The aircraft’s rotor system will allow it to fly about twice as fast and twice as far as today’s conventional helicopters. Courtesy Sikorsky-Boeing Team.
https://news.lockheedmartin.com/2018-12-26-Sikorsky-Boeing-Provide-First-Look-at-SB-1-DEFIANT-TM

บริษัท Sikorsky สหรัฐฯ ในเครือบริษัท Lockheed Martin สหรัฐ และบริษัท Boeing สหรัฐฯ ได้เปิดเผยภาพชุดแรกของเฮลิคอปเตอร์ SB>1 DEFIANT เครื่องต้นแบบสาธิต
ซึ่งทั้งสองบริษัทได้ร่วมกันพัฒนาขึ้นสำหรับโครงการสาธิตทางเทคโนโลยี JMR-TD(Joint Multi-Role Technology Demonstrator) ของกองทัพบกสหรัฐฯ(U.S. Army)(https://aagth1.blogspot.com/2017/04/sikorsky-boeing-fvl.html)

เฮลิคอปเตอร์ SB>1 DEFIANT ถูกออกแบบให้สามารถบินด้วยความเร็วและพิสัยทำการมากกว่าเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับเฮลิคอปเตอร์ตามแบบในปัจจุบัน และมีความคล่องตัวและความคล่องแคล่วในระดับก้าวหน้า
ฮ.SB>1 DEFIANT ที่ได้เข้าร่วมโครงการสาธิต JMR-TD นี้ ข้อมูลที่ได้จะช่วยให้กองทัพบกสหรัฐฯพัฒนาความต้องการสำหรับเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปแบบใหม่ในโครงการ FVL(Future Vertical Lift) ที่คาดว่าจะเข้าประจำการในช่วงต้นปี 2030s

ชุดภาพที่ปรากฏนั้น ฮ.SB>1 DEFIANT มีรหัสทะเบียน N100FV ทำการจอดอยู่บนทางวิ่งที่โรงงานอากาศยานของ Sikorsky ใน West Palm Beach มลรัฐ Florida
การปรากฎภาพเครื่องต้นแบบของ ฮ.SB>1 DEFIANT นี้ทำให้เป็นที่เข้าใจว่า ทีม Sikorsky-Boeing น่าจะได้เริ่มต้นการทดสอบภาคพื้นดินของเครื่องแล้ว

เดิมเฮลิคอปเตอร์ SB>1 DEFIANT มีกำหนดที่จะทำการบินครั้งแรกในปี 2018 แต่กลางเดือนธันวาคม 2018 ทีม Sikorsky-Boeing ได้ตัดสินใจเลื่อนการทำการบินครั้งแรกของเครื่องเป็นภายในต้นปี 2019
ความล่าช้าดังกล่าวมาจากปัญหาของระบบส่งกำลังที่ถูกพบขณะทำการทดสอบที่จะต้องได้รับการแก้ไขก่อนการทำการบินครั้งแรก ซึ่งจำเป็นจะต้องได้รับการทดสอบอย่างน้อย 15ชั่วโมงเพื่อให้คณะกรรมการความปลอดภัยด้านการบินอนุมัติสำหรับการบินเที่ยวแรก


ขณะที่อากาศยานใบพัดกระดก Bell V-280 Valor ที่พัฒนาโดยบริษัท Bell Helicopter สหรัฐฯ ในเครือบริษัท Textron Inc. สหรัฐฯ ที่เป็นผู้เข้าแข่งขันอีกรายในโครงการ JMR-TD ของกองทัพบกสหรัฐฯนั้น
ได้ทำการบินครั้งแรกไปเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2017 แล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2017/12/bell-v-280-valor.html) โดยในช่วงปี 2018 ที่ผ่านมาได้มีความคืบหน้าในชุดการทดสอบการบินแล้วหลายรายการ

ตามที่ Bell V-280 Valor และ SB>1 DEFIANT ได้ถูกเลือกในโครงการ JMR-TD เมื่อเดือนตุลาคม 2014 ตวามความต้องการขีดความสามารถ Capability Set 3 (Assault)/FVL-Medium สำหรับอากาศยานขึ้นลงทางดิ่งใช้งานทั่วไปแบบใหม่
ที่มีความเร็วมากกว่า 230knots และบรรทุกทหารพร้อมเครื่องสนามเต็มอัตราได้ 12นาย เฮลิคอปเตอร์ SB>1 DEFIANT มีน้ำหนัก 14,515kg และบรรทุกกำลังพลทหารได้ 18นาย

เฮลิคอปเตอร์ SB>1 DEFIANT ของทีม Sikorsky-Boeing นั้นใช้รูปแบบใบพัดรวมแกนส่วนทางกัน เพื่อให้มีแรงยกและแรงหมุนด้านข้างที่สมดุล และมีใบพัดท้ายที่ส่วนหางของเครื่องเพื่อเพิ่มแรกขับไปข้างหน้า ที่นำมาจากเครื่องต้นแบบสาธิต X2 และ S-97 Raider ที่พัฒนาโดย Sikorsky
ส่วนอากาศยานใบพัดกระดก V-280 Valor ของทีม Bell นั้นใช้ระบบใบพัดกระดกสองเครื่องยนต์ที่ปรับมุมขึ้นลง 90องศาได้ ซึ่งในการทดสอบการบินในช่วงปี 2018 ที่ผ่านมา V-280 สามารถทำความเร็วแท้จริงได้สูงสุดถึง 250knots ซึ่งเป็นความเร็วที่ X2 และ S-97 สามารถทำได้เช่นกันครับ

วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2561

กองทัพบกไทยรับมอบรถถังหลัก VT4 จีนใหม่ ๑๐คัน และจะจัดหาเพิ่ม ๑๔คัน







Public Relations Presentation of Royal Thai Army's VT4 Main Battle Tanks from NORINCO during exercise.
Royal Thai Army 2018: the Next Generation Army 'Smart Soldier Strong Army'
https://www.facebook.com/KODETAHARN/posts/2058953727727986

Royal Thai Army Ordnance Department's request approval document for third batch of 14 VT4 MBT include related ammunitions, 15 November 2018
http://ordnancerta.com/images/purchase/VT4-2.pdf

มีรายงานเมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๑(2018) ว่า กองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army) ได้รับรถถังหลัก VT4(MBT-3000) ที่ผลิตโดย NORINCO รัฐวิสาหกิจด้านอุตสาหกรรมความมั่นคงของสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นชุดที่๒ จำนวน ๑๐คันแล้ว
รถถังหลัก VT4 ชุดล่าสุดนี้ถูกขนส่งมาทางเรือที่ท่าเรือทุ่งโปร่ง สัตหีบ ชลบุรี ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๑ และได้มีขนส่งทางรถยนต์บรรทุกพ่วงชานต่ำมายัง ศูนย์การทหารม้า ค่ายอดิศร สระบุรี เพื่อดำเนินการทดสอบสมรรถนะก่อนการตรวจรับมอบในเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๑

ตามโครงการจัดหารถถังหลัก VT4 ระยะที่๑ ๒๘คัน วงเงิน ๔,๙๘๔ล้านบาท($147 million) ในปี พ.ศ.๒๕๕๙(2016) โดยได้รับมอบเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๐(2017)(https://aagth1.blogspot.com/2017/10/vt4-ah-1f.html, https://aagth1.blogspot.com/2017/07/vt4-norinco.html)
การจัดหารถถังหลัก VT4 ระยะที่๒ ๑๑คันวงเงินราว ๒,๐๐๐ล้านบาท($60 million)ในปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017) ที่ได้มีการส่งมอบแล้วในข้างต้นทำให้ขณะนี้กองทัพบกไทยมี ถ.หลัก VT4 รวม ๓๙คัน(รวมรถเกราะกู้ซ่อมด้วย) มูลค่าโครงการเป็นวงเงินราว ๗,๐๐๐ล้านบาท($218 million)

ล่าสุดจากเอกสารของกรมสรรพาวุธทหารบกในวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๑ ได้มีการจัดสรรงบประมาณสำหรับโครงการจัดหารถถังหลัก VT4 ระยะที่๓ จำนวน ๑๔คัน วงเงิน ๒,๓๙๒,๒๑๘,๐๗๐บาท($70,559,355) พร้อมสิ่งอุปกรณ์ประเภทที่๕ สป.๕ ชนิดและขนาดต่างๆ ประกอบด้วย
กระสุนปืนใหญ่รถถังขนาด 125mm ชนิดเจาะเกราะทิ้งเปลือกทรงตัวด้วยหางส่องวิถี(APFSDS-T: Armor Piercing Fin Stabilized Discarding Sabot-Tracer) ๑๙๐นัด, ชนิดระเบิดต่อสู้รถถังส่องวิถี(HEAT-T: High-Explosive Anti-Tank-Tracer) ๖๐นัด, ชนิดระเบิดส่องวิถี(HE-T: High Explosive-Tracer) ๑๕๐นัด และกระสุนปืนกลขนาด 12.7x108mm ชนิดเจาะเกราะเพลิง(API: Armor Piercing Incendiary) พร้อมข้อต่อสายกระสุน ๕,๘๓๐นัด

ถ้าการขออนุมัติการจัดหารถถังหลัก VT4 ระยะที่๓ อีก ๑๔คันได้รับการอนุมัติและลงนามสัญญาจัดหา จะทำให้กองทัพบกไทยมีรถถังหลัก VT4 และรถเกราะกู้ซ่อมสายพานในตระกูลเดียวกันรวม ๕๓คัน เป็นส่วนหนึ่งในการทดแทนรถถังเบา M41A3 สหรัฐฯที่ประจำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๕(1962)
นอกจากรถถังหลัก VT4 ในส่วนการฝึกศึกษาของ โรงเรียนทหารม้า ศูนย์การทหารม้า และโรงเรียนสรรพาวุธทหารบก แล้ว รถถังหลัก VT4 จะถูกนำเข้าประจำการในสองกองพันทหารม้ารถถังของ กรมทหารม้า๖ ที่เป็นหน่วยขึ้นตรงของ กองพลทหารม้าที่๓ โดยจ่ายรถคู่ขนานกันไปในทั้งสอง พัน.ม.ถ.

คือ กองพันทหารม้าที่๖ ขอนแก่น(เดิมใช้รถถังเบา ถ.เบา.๓๒ Stingray ที่โอนไป กองพันทหารม้าที่๙ กองพลทหารราบที่๔ แทน ถ.เบา M41A3 ที่ปลดไป) และกองพันทหารม้าที่๒๑ ร้อยเอ็ด(เดิมใช้รถถังหลัก M48A5 ที่โอนไป กองพันทหารม้าที่๑๖ กองพลทหารราบที่๕ แทน M41A3 ที่ปลดไป)
พล.ม.๓ มี กรมทหารม้าที่๗ เป็นหน่วยขึ้นตรงอีกกรม โดย ม.๗ มี กองพันทหารม้าที่๘ นครราชสีมา ใช้ ถ.หลัก M48A5(เดิมใช้ M41A3) ที่โอนจาก กองพันทหารม้าที่๒ กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ ที่ได้รับรถถังหลัก Oplot-T ครบแล้ว และกองพันทหารม้าที่๑๔ เป็นกองพันทหารม้าบรรทุกยานเกราะใช้รถสายพานลำเลียง รสพ.M113 เป็นหน่วยขึ้นตรง

ตามอัตราจัดใหม่ของกองทัพบกไทย กองพันทหารม้ารถถังจะมีรถถัง ๔๕คัน(จากเดิม ๔๙คัน) โดย อจย.ใหม่เข้าใจว่า ๑หมวดรถถังมี ๔คัน, ๑กองร้อยรถถังมี ๓xมว.ถ.+รถรอง ผบ.มว.+รถ ผบ.มว. รวม ๑๔คัน, ๑กองพันรถถังมี ๓xร้อย.ถ.+รถรอง ผบ.พัน.+รถ ผบ.พัน รวม ๔๔คัน(+รถกู้ซ่อม ๑คัน)
แต่อัตราจัดของกองพลทหารม้าที่๓ นั้นอยู่ในรูปแบบหย่อยกำลังคืนมีหน่วยขึ้นตรง ๒กรมทหารม้า แต่ละกรมมี ๒กองพันทหารม้า โดยในส่วนกองพันทหารม้ารถถังก็มีอัตราจัดแบบหย่อยกำลังเข้าใจว่ามีรถถังเพียง ๓๔คัน(๒xร้อย.ถ.+๑มว.ถ.+รถรอง ผบ.พัน.+รถ ผบ.พัน) หรือ ๓๘คัน(๒xร้อย.ถ.+๒มว.ถ.+รถรอง ผบ.พัน.+รถ ผบ.พัน) หรือไม่แน่นอน

ไทยและจีนยังได้มีความคืบหน้าในแผนการจัดตั้งโรงงานภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงร่วมกันในไทย ที่จะมุ่งเน้นไปยังการสนับสนุนระบบอาวุธยุทโธปกรณ์จีนที่ถูกใช้ปฏิบัติงานโดยกองทัพบกไทย ทั้งรถถังหลัก VT4 และยานเกราะล้อยางลำเลียงพล VN1 8x8 ที่เป็นผลิตภัณฑ์ของ NORINCO
ที่รวมแผนการจัดตั้งโรงงานศูนย์ซ่อมบำรุงที่ขอนแก่นเพื่อสนับสนุนการใช้งานในระยะยาว(https://aagth1.blogspot.com/2018/06/vt4-vn1.html, https://aagth1.blogspot.com/2018/01/vt4-vn1.html) จะเห็นได้ว่าจีนมีขีดความสามารถในการสร้างรถถังใหม่ส่งมอบให้ไทยได้อย่างรวดเร็วครับ

วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ญี่ปุ่นต้องการจะขายเครื่องบินขับไล่ F-15J ให้สหรัฐฯไปขายต่อชาติ ASEAN

Japan wants to sell old F-15s to US to fund F-35 purchases
An F-15 jet takes off from a Self-Defense Forces base in Ibaraki Prefecture. Japan's oldest F-15s began service in the early 1980s.

Washington considers reselling the used jets to Southeast Asian governments
https://asia.nikkei.com/Politics/Japan-wants-to-sell-old-F-15s-to-US-to-fund-F-35-purchases


รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังพิจารณาการขายเครื่องบินขับไล่ Mitsubishi F-15J/DJ Eagle บางส่วนให้สหรัฐฯ เพื่อเพิ่มงบประมาณสำหรับการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35 Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) เพิ่มเติมของตน(https://aagth1.blogspot.com/2018/12/izumo-f-35.html)
ตามที่ Nikkei ได้ทราบ โดยในทางกลับกันรัฐบาลสหรัฐฯกำลังชั่งน้ำหนักที่จะขายเครื่องบินขับไล่ F-15J ของกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น(JASDF: Japan Air Self Defense Force) ที่ล้าสมัยเหล่านี้ให้กลุ่มชาติ ASEAN ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เจ้าหน้าที่ทางการญี่ปุ่นหลายรายได้เปิดเผยว่าการหารือกำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการ สำหรับการขายอาวุธยุทโธปกรณ์กลาโหมที่ผ่านการใช้งานแล้วของกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น(JSDF: Japan Self Defense Forces) ให้สหรัฐฯเป็นครั้งแรก
รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังดูท่าทีของรัฐบาลสหรัฐฯในความเป็นไปได้ของการขายดังกล่าว ในฐานะส่วนหนึ่งของการเจรจาจัดซื้อเครื่องบิน F-35 เพิ่มรวม 105เครื่องจากสหรัฐฯ ทั้งสองประเทศกำลังพยายามที่จะหาข้อสรุปรายละเอียดของจำนวน F-15J ที่จะขายและราคาของพวกมัน

จากที่ญี่ปุ่นสั่งจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A รุ่นขึ้นลงตามแบบ CTOL(Conventional Take-Off and Landing) ไปก่อนแล้ว 42เครื่อง การจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A 63เครื่อง และเครื่องบินขับไล่ F-35B รุ่นบินขึ้นระยะสั้นลงจอดทางดิ่ง STOVL(Short Take-Off Vertical Landing) 42เครื่อง
จะทำให้ญี่ปุ่นมีเครื่องบินขับไล่ F-35 Lightning II รวมเป็นจำนวนถึง 147เครื่อง นับเป็นผู้ใช้งานรายใหญ่อันดับสามของโลก รองจากอันดับหนึ่งสหรัฐฯ และอันดับสองสหราชอาณาจักร

โดยรูปแบบการขายเช่นนี้กับรัฐบาลสหรัฐฯ รัฐบาลญี่ปุ่นหวังที่จะระงับการวิพากษ์วิจารณ์ของประชาชนเกี่ยวกับการขยายงบประมาณด้านกลาโหม ท่ามกลางความพยายามในการรวมงบประมาณให้มั่นคงขึ้น
ในทางด้านรัฐบาลสหรัฐฯก็ควรน่าจะให้ความช่วยเหลือแก่ญี่ปุ่น ในฐานะที่ญี่ปุ่นเองขาดประสบการณ์ในการขายอาวุธยุทโธปกรณ์ของตนส่งออกให้ประเทศที่สาม

กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่นมีเครื่องบินขับไล่ F-15J/DJ อยู่ราว 200เครื่อง เป็นกำลังหลักในด้านขีดความสามารถการป้องกันภัยทางอากาศของญี่ปุ่น ซึ่งมีพื้นฐานจากเครื่องบินขับไล่ McDonnell Douglas F-15C/D Eagle สหรัฐฯ
โดยมีเครื่องบินขับไล่ F-15J รุ่นที่นั่งเดียว 139เครื่อง และเครื่องบินขับไล่ F-15DJ รุ่นสองที่นั่ง 25เครื่อง ถูกทำการผลิตในประเทศภายใต้สิทธิบัตรของบริษัท McDonnell Douglas(ปัจจุบัน Boeing) โดยบริษัท Mitsubishi Heavy Industries(MHI) ญี่ปุ่นที่เปิดสายการผลิตในช่วงปี 1981-1997

ประมาณครึ่งหนึ่งของฝูงเครื่องบินขับไล่ F-15J ญี่ปุ่นได้รับการปรับปรุงความทันสมัยแบบยกเครื่องใหม่ รวมถึงการปรับปรุงอุปกรณ์ไฟฟ้า แต่มีเครื่องจำนวน 100เครื่องหรือมากว่านั้นที่จะถูกขายต่อเนื่องจากเป็นเครื่องแบบเก่าที่ไม่สามารถรองรับการปรับปรุงระบบไฟฟ้าได้
รัฐบาลญี่ปุ่นได้ตัดสินใจในการประชุมคณะรัฐมนตรีล่าสุดเมื่อ 18 ธันวาคม 2018 ว่า จะทยอยทดแทนเครื่องบินขับไล่  F-15J รุ่นเก่าเหล่านี้ด้วยเครื่องบินขับไล่ F-35 ที่มีขีดความสามารถสูงกว่า

แม้ว่าเครื่องบินขับไล่ F-15J เครื่องที่เก่าที่สุดจะเข้าประจำการครั้งแรกในปี 1981 แต่ก็ยังคงอยู่ในสภาพปฏิบัติการได้ถ้าชิ้นส่วนได้รับการเปลี่ยนใหม่ตามที่จำเป็น ซึ่งสหรัฐฯบอกกับฝ่ายญี่ปุ่นว่าตนจะพิจารณาขาย F-15J/DJ เหล่านี้ให้กับประเทศที่มีกองทัพอากาศที่อ่อนแอ
การเตรียมการดังกล่าวจะทำให้สหรัฐฯสามารถส่งมอบเครื่องบินขับไล่ F-15J ญี่ปุ่นให้กลุ่มชาติ ASEAN ในราคาตัดลดเป็นพิเศษ ตามที่กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน(PLA: People's Liberation Army) ขยายการแสดงตนทางทหารในทะเลจีนใต้

แผนการจัดซื้อ F-35 ของญี่ปุ่นเป็นผลมาจากความพยายามกดดันอย่างหนักจากประธานาธิบดีสหรัฐฯ Donald Trump เพื่อลดระยะห่างของความไม่สมดุลด้านการค้าทวิภาคีของทั้งสองประเทศให้แคบลง โดยการที่จะให้ญี่ปุ่นซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์จากสหรัฐฯให้มากขึ้น
รัฐบาลญี่ปุ่นหวังที่จะเอาใจประธานาธิบดีสหรัฐฯ Trump โดยการใช้การขาย F-15J เพื่อที่จะให้อาวุธยุทโธปกรณ์ที่จะจัดซื้อจากสหรัฐฯ รวมถึงเครื่องบินขับไล่ F-35 มีราคาที่ถูกลง

รัฐบาลญี่ปุ่นยังถูกตัดสินว่าขาดประสบการณ์ในการส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ จึงจะเป็นการรอบคอบมากกว่าที่จะทำงานนี้ทางอ้อมโดยผ่านสหรัฐฯซึ่งประสบความสำเร็จในการขายอาวุธส่งออกประเทศต่างๆทั่วโลก แทนที่ญี่ปุ่นจะพยายามขายเครื่องบินขับไล่ด้วยตนเองโดยตรงให้ประเทศที่สาม
ภายใต้รัฐธรรมนูญสันติภาพหลังสงครามโลกครั้งที่สองญี่ปุ่นถูกห้ามการส่งออกอาวุธเป็นเวลาหลายทศวรรษจนถึงปี 2014 เมื่อคณะรัฐมนตรีกำหนดหลักการให้สามารถทำได้ภายใต้เงื่อนไขบางประการ โดยยังคงห้ามส่งออกยุทโธปกรณ์ให้ประเทศที่มีการใช้กำลังในความขัดแย้ง แต่ก็อนุญาตให้ส่งออกประเทศเหล่านั้นได้ต่อเมื่อมีส่วนช่วยเพื่อให้ญี่ปุ่นเกิดความมั่นคงเป็นต้นครับ

วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ลาวน่าจะได้รับเครื่องบินฝึกไอพ่น Yak-130 รัสเซียเครื่องแรกแล้ว


the first Yakolev Yak-130 advanced jet trainer and light attack aircraft serial 044 was delivered to Lao People's Air Force from 'IRKUT Corporation' on board Ilyushin IL-76TD transport aircraft (registration number RA-78765) of Russian airline 'Aviacon Zitotrans' at Wattay International Airport, Vientiane in 20 December 2018.



ภาพที่ปรากฎเผยแพร่ในสื่อสังคม Online ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2018 แสดงถึงเครื่องบินลำเลียงทางยุทธศาสตร์สี่เครื่องยนต์ไอพ่นแบบ Ilyushin IL-76TD รหัสทะเบียน RA-78765 ของสายการบิน Aviacon Zitotrans รัสเซีย
กำลังลำเลียงเครื่องบินฝึกไอพ่นขั้นก้าวหน้า/โจมตีเบาแบบ Yakolev Yak-130 หมายเลขเครื่อง 044 สีพรางเขียว-เทา-น้ำตาล ที่น่าจะเป็นของกองทัพอากาศประชาชนลาว(Lao People's Air Force) ณ สนามบินนานาชาติ Wattay(สนามบินสากลวัดไต) นครหลวง Vientiane(เวียงจันทน์)

แม้ว่าจะยังไม่มีการให้รายละเอียดข้อมูลการจัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่น Yak-130 ของลาวอย่างเป็นทางการจากรัสเซีย แต่มีการรายงานโดยสื่อรัสเซียตั้งแต่ช่วงปี 2016 แล้วว่าลาวแสดงความสนใจที่จะจัดหา Yak-130 รัสเซียจำนวน 16-20เครื่อง
การส่งมอบ Yak-130 เครื่องแรกของลาวนี้มีขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากที่กองทัพประชาชนลาว(Lao People's Army) ได้รับมอบรถถังหลัก T-72B1MS ชุดแรกจากรัสเซีย(https://aagth1.blogspot.com/2018/12/t-72b1ms.html) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปรับปรุงความทันสมัยของกองทัพ

Yak-130 ถูกออกแบบโดยสำนักออกแบบ Yakolev ในเครือ Irkut Corporation ในกลุ่มอุตสาหกรรมอากาศยาน United Aircraft Corporation(UAC) รัสเซีย เพื่อทดแทนเครื่องบินฝึกไอพ่น Aero L-39 Albatros สาธารณรัฐเช็กที่ประการในกองทัพอากาศรัสเซีย(Russian Air Force)
ในภารกิจโจมตี Yak-130 มีตำบลอาวุธรวม 9จุดแข็ง(ปลายปีก 2 ใต้ปีก 6 กลางลำตัว 1) รองรับอาวุธได้หนักถึง 3,000kg เช่น อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ R-73E, ระเบิดถึงขนาด 500kg, จรวดอากาศสู่พื้น S-8 80mm S-13 122mm S-25 340mm และกระเปาะปืนใหญ่อากาศ GSh-23L 23mm

การจัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่น/โจมตีเบา Yak-130 ทำให้กองทัพอากาศประชาชนลาวได้กลับมามีอากาศยานรบไอพ่นอีกครั้ง หลังจากที่เคยมีเครื่องบินขับไล่ Mikoyan-Gurevich MiG-21 ประจำการในอดีต แต่ปัจจุบันเป็นที่เข้าใจว่า MiG-21 ของลาวได้อยู่ในสถานะถูกงดบินทั้งหมดแล้ว
โดยในช่วงหนึ่งกองทัพอากาศประชาชนลาวได้ปรับลดขนาดหน่วยลงเป็น กรมทหารอากาศลาว ซึ่งมีฐานะเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพบกประชาชนลาว ก่อนที่จะมีการยกระดับขึ้นกลับมาเป็นกองทัพอากาศประชาชนลาวในปัจจุบัน

ตามข้อมูลที่ปรากฎในแหล่งข้อมูลเปิด ปัจจุบันกองทัพอากาศประชาชนลาวมีอากาศยานแบบต่างๆประจำการจำนวนหนึ่ง เช่น เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป Mil Mi-17-1V รัสเซียซึ่งบางเครื่องสามารถติดตั้งคานอาวุธข้างลำตัวได้, เฮลิคอปเตอร์ Kamov Ka-32T รัสเซีย, เฮลิคอปเตอร์ Harbin Z-9 จีน,
เฮลิคอปเตอร์ Airbus Helicopter EC155 B1 ฝรั่งเศส, เฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหนัก Mil Mi-26 รัสเซีย รวมถึงเครื่องบินฝึกใบพัด Ilyushin IL-103 รัสเซีย, เครื่องบินลำเลียงใบพัด Antonov An-26 ยูเครน, เครื่องบินลำเลียงใบพัด Xian MA60 จีน และเครื่องบินลำเลียงไอพ่น Antonov An-74 ยูเครน

ลาวนับเป็นลูกค้ารายล่าสุดสำหรับเครื่องบินฝึกไอพ่น Yak-130 รัสเซียในกลุ่มชาติ ASEAN ที่มีกองทัพอากาศพม่า(Myanmar Air Force, Tatmadaw Lay) สั่งจัดหา 12เครื่องโดยได้รับมอบแล้ว 6เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2017/12/yak-130-atr-42-mpa-fokker-70.html)
นอกจากกองทัพอากาศรัสเซียที่ใช้ในภารกิจฝึกนักบินพร้อมรบที่จะไปทำการบินกับเครื่องบินขับไล่ยุคที่4+ เช่น Sukhoi Su-35 และยุคที่5 เช่น Sukhoi Su-57 แล้ว เครื่องบินฝึกไอพ่น Yak-130 ยังสามารถส่งออกให้กับ เบลารุส 8เครื่อง, แอลจีเรีย 16เครื่อง และบังคลาเทศ 16เครื่องครับ

วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ฮังการีจะจัดหารถถังหลัก Leopard 2A7+ ปืนใหญ่อัตตาจร PzH 2000 เยอรมนี และรับมอบปืนเล็กยาว CZ BREN 2 สาธารณรัฐเช็ก

Hungary signs deal to buy dozens of tanks, howitzers from Germany’s KMW
An armored unit with KMW-made Leopard 2 A7 main battle tanks of the German armed forces drives through the mud during the "Land Operation Exercise 2017" drill at the military training area in Munster, northern Germany, on Oct. 13, 2017.
(Photo by Patrik Stollarz/AFP/Getty Images)
https://www.defensenews.com/global/europe/2018/12/20/hungary-signs-deal-to-buy-dozens-of-tanks-howitzers-from-germanys-kmw/




Hungarian Ceska Zbrojovka CZ806 Bren 2 assault rifles, Scorpion EVO3 submachine guns and P-09 semi-automatic pistols(http://www.kormany.hu/hu/honvedelmi-miniszterium/hirek/uj-magyarorszagon-osszeszerelt-fegyvereket-kaptak-a-katonak)

Hungarian Defence Forces receive CZ BREN 2 rifles
https://www.janes.com/article/85372/hungarian-defence-forces-receive-cz-bren-2-rifles

ในฐานะส่วนหนึ่งของแผนการปรับปรุงความทันสมัยของกองทัพฮังการี(Hungarian Defence Forces) และทดแทนอาวุธยุทโธปกรณ์เก่าจากรัสเซียสมัยอดีตสหภาพโซเวียตของกองทัพบกฮังการี(Hungarian Ground Forces)
กระทรวงกลาโหมฮังการีได้ลงนามสัญญาจัดหารถถังหลัก Leopard 2A7+ จำนวน 44คัน และปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน PzH 2000 จำนวน 24ระบบจากบริษัท Krauss-Maffei Wegmann(KMW) เยอรมนี
นอกจากนี้ฮังการีจะจัดซื้อรถถังหลัก Leopard 2A4 ที่เคยประจำการในกองทัพบกเยอรมนี(Heer) สำหรับใช้ในการฝึก ตามที่บริษัท KMW เยอรมนีกล่าวแถลง

สัญญาจัดหาวงเงินมากว่า 160 billion Hungarian forint($565 million) ได้รับการลงนาม ณ Budapest ฮังการีเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2018 ที่ผ่านมา
ระหว่างการลงนามรัฐมนตรีกลาโหมฮังการี Tibor Benkő ได้เข้าพบกับผู้อำนวยการบริหาร KMW เยอรมนี Frank Haun ตามที่กระทรวงกลาโหมฮังการีกล่าวในแถลงการณ์
รัฐมนตรีกลาโหมฮังการี Benkő กล่าวว่าเขาหวังว่าสัญญานี้จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งในความร่วมมือระหว่างกองทัพฮังการีและกองทัพเยอรมนี(Bundeswehr) โดยการส่งมอบรถชุดแรกจะมีขึ้นอย่างเร็วในปี 2020 เป็นต้นไป แหล่งข่าวในกระทรวงกลาโหมฮังการีระบุ

ความคืบหน้าล่าสุดนี้มีขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากที่กระทรวงกลาโหมฮังการีได้ลงนามจัดหาเฮลิคอปเตอร์พหุบทบาท Airbus Helicopters H225M จำนวน 16เครื่อง และเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปทางทหาร Airbus Helicopters H145M จำนวน 20เครื่อง
ซึ่งเฮลิคอปเตอร์ H225M และเฮลิคอปเตอร์ H145M ที่ฮังการีสั่งจัดหาจะได้รับการติดตั้งการติดตั้งระบบอำนวยการจัดการอาวุธ HForce Generic Weapon System(GWS) ด้วย(https://aagth1.blogspot.com/2018/12/h225m-h145m.html)
ในวันที่ 17 ธันวาคม 2018 ฮังการีและบริษัท Airbus Helicopters ยุโรปได้ลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อเริ่มต้นความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมในโครงการอากาศยานระยะยาวร่วมกัน โดยมุ่งเน้นไปที่การผลิตชิ้นส่วนสำหรับระบบพลวัตรของเฮลิคอปเตอร์

ก่อนหน้านี้ในวันที่ 11 ธันวาคม 2018 กองทัพฮังการีได้รับมอบปืนเล็กยาวจู่โจม CZ806 Bren 2 ขนาด 5.56x45mm, ปืนกลมือ CZ Scorpion EVO 3 ขนาด 9x19mm และปืนพกกึ่งอัตโนมัติ CZ P-07 และ CZ P-09 ขนาด 9x19mm ณ ค่าย Petőfi ใน Budapest
ภายใต้สัญญาวงเงิน 100 million Euros ที่ลงนามเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2018 อาวุธปืนทั้งหมดที่ได้รับสิทธิบัตรจากบริษัท Ceska Zbrojovka(CZ) สาธารณรัฐเช็ก จะทำการประกอบในฮังการีโดยรัฐวิสาหกิจ HM Arzenál ใน Kiskunfélegyháza ตามแผนจำนวน 200,000กระบอกจนถึงปี 2028
สัญญาล่าสุดต่างๆเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการปรับปรุงความทันสมัยของกองทัพฮังการี Zrinyi 2026 ระยะเวลา 10ปี ซึ่งมีเป้าหมายหลักเพื่อการปรับปรุงอาวุธและยุทโธปกรณ์ของกองทัพฮังการีครับ

วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2561

บัลแกเรียพร้อมที่จะเลือกเครื่องบินขับไล่ F-16V สหรัฐฯใหม่ทดแทน MiG-29

UPDATE 1-Bulgaria ready to choose F-16 fighter jets for its airforce
https://www.reuters.com/article/bulgaria-defence-jets/update-1-bulgaria-ready-to-choose-f-16-fighter-jets-for-its-airforce-idUSL8N1YQ4UM

Artist impression of Lockheed Martin F-16V Block 70 Fighting Falcon(https://www.lockheedmartin.com/en-us/products/f-16.html)

คณะกรรมการของกระทรวงกลาโหมบัลแกเรียได้ให้คำแนะนำว่ารัฐบาลบัลแกเรียจะเริ่มต้นเจรจากับสหรัฐฯเพื่อการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16V Block 70 Fighting Falcon
ในการปรับปรุงความเข้ากันได้ของกองทัพอากาศบัลแกเรีย(Bulgarian Air Force) ให้เป็นไปตามมาตรฐาน NATO รัฐมนตรีกลาโหมบัลแกเรีย Krasimir Karakachanov กล่าวเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2018 ที่ผ่านมา

สหรัฐฯ, สวีเดน และอิตาลีได้เข้าแข่งขันในโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่จำนวน 8เครื่องของกองทัพอากาศบัลแกเรียเพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ MiG-29 รัสเซียที่มีอายุการใช้งานมานานในวงเงินราว 1.8 billion levs($1.05 billion)(https://aagth1.blogspot.com/2018/10/gripen-mig-29.html)
"การจัดหาเครื่องบินขับไล่พหุบทบาทใหม่เช่น F-16V Block 70 จากสหรัฐฯที่ติดตั้ง Radar และอาวุธรุ่นใหม่ล่าสุดจะเพิ่มขีดความสามารถการรบที่สำคัญของกองทัพอากาศบัลแกเรีย" รัฐมนตรีกลาโหมบัลแกเรีย Karakachanov กล่าวต่อสื่อ

รัฐบาลบัลแกเรียจะต้องตัดสินใจตามรายงานของคณะกรรมการกลาโหมบัลแกเรียในเดือนมกราคม 2019 และการอนุมัติจะขึ้นอยู่กับมติของรัฐสภาบัลแกเรีย รัฐบาลบัลแกเรียจึงสามารถเริ่มเจรจาข้อตกลงดังกล่าวได้ รัฐมนตรีกลาโหมบัลแกเรียกล่าว
นอกจากเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16V ของแล้วสหรัฐฯยังเสนอเครื่องบินขับไล่ Boeing F/A-18E/F Super Hornet ด้วย อย่างไรก็ตามกระทรวงกลาโหมบัลแกเรียกล่าวว่าข้อเสนอของบริษัท Boeing สหรัฐฯไม่ตรงกับความต้องการแข่งขันของตน

รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ Mike Pompeo ได้กล่าวในสัปดาห์นี้ว่ารัฐบาลสหรัฐฯได้มุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกับรัฐบาลบัลแกเรียในการปรับแต่งขอบเขตข้อตกลงสุดท้ายให้ตรงตามความต้องการด้านงบประมาณและการปฏิบัติการของบัลแกเรีย
เพื่อที่จะเป็นผู้ชนะในการแข่งขันสวีเดนได้เสนอเครื่องบินขับไล่ Saab Gripen C/D สร้างใหม่จำนวน 10เครื่องจากเดิม 8เครื่องในราคาเท่าเดิม ส่วนอิตาลีเสนอเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon ที่เคยประจำการในกองทัพอากาศอิตาลี(Italian Air Force)มาก่อน

NATO ได้ดำเนินการสนับสนุนชาติสมาชิกในกลุ่มยุโรปตะวันตกเพื่อการพัฒนา, จัดซื้อ และปฏิบัติงานด้วยระบบอาวุธยุทโธปกรณ์ใหม่ที่ผลิตโดยชาติพัฒนามิตรในกลุ่ม NATO แตคำถามเรื่องการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ใหม่นั้นได้เป็นที่รบกวนต่อรัฐบาลชุดต่างๆของบัลแกเรียมานานกว่าทศวรรษแล้ว
โดยในเดือนเมษายน 2017 รัฐบาลบัลแกเรียชุดก่อนได้เคยเลือกเครื่องบินขับไล่ Gripen C/D ใหม่สวีเดน(https://aagth1.blogspot.com/2017/04/gripen.html) แต่การแข่งขันได้ถูกยกเลิกเช่นเดียวกับการแข่งขันก่อนหน้าในปี 2011 และถูกจัดขึ้นใหม่อีกครั้งในข้างต้น

ถ้าบัลแกเรียเลือกจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-16V Block 70 สหรัฐฯจริงก็จะเป็นลูกค้ารายที่สามของ F-16 รุ่นใหม่ล่าสุดนี้ ต่อจากรายแรกคือกองทัพอากาศบาห์เรน(Royal Bahraini Air Force) ที่สั่งจัดหาจำนวน 16เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2018/06/f-16v-16.html)
และรายที่สองคือกองทัพอากาศสโลวาเกีย(Slovak Air Force) ที่เป็นชาติสมาชิก NATO เช่นกันที่สั่งจัดหา 14เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2018/12/f-16v.html) ทำให้บริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯสามารถเปิดสายการผลิตเครื่องบินขับไล่ F-16 ที่ยาวนานมากกว่า 40ปีต่อไปได้ครับ

วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2561

พิธีปล่อยเรือลงน้ำของเรือดำน้ำ Scorpene บราซิลลำแรก S40 Riachuelo เป็นก้าวสำคัญของโครงการ

PROSUB achieves key milestone with launch of first S-BR submarine


Riachuelo seen post-launch on 14 December. The boat was lowered into the water using a shiplift. Source: Richard Scott/NAVYPIX
https://www.janes.com/article/85306/prosub-achieves-key-milestone-with-launch-of-first-s-br-submarine



S40 Riachuelo เรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้าแบบ Scorpène ฝรั่งเศสลำแรกจากสี่ลำ(S-BR) ที่ถูกสร้างภายใต้โครงสร้างสร้างเรือดำน้ำในประเทศ PROSUB(Programa de Desenvolvimento de Submarinos) ได้ถูกปล่อยลงน้ำแล้วโดย Itaguaí Construções Navais(ICN) บราซิล
เรือดำน้ำ S40 Riachuelo ถูกยกลงน้ำ ณ ศูนย์อุตสาหกรรมทางเรือ Itaguaí ห่างจาก Rio de Janeiro ไปทางตะวันตกราว 70km เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2018(https://aagth1.blogspot.com/2018/12/scorpene-s40-riachuelo.html)

เรือดำน้ำ Riachuelo ตอนนี้จะมีดำเนินการทดสอบและเข้าประจำการไปพร้อมกัน ก่อนที่จะเริ่มการทดลองเรือในทะเลในปี 2019 โดยการส่งมอบให้กองทัพเรือบราซิล(Brazilian Navy, Marinha do Brasil) ตามแผนจะมีขึ้นตามมาในปี 2020
การสร้างบนข้อตกลงยุทธศาสตร์กลาโหมได้รับการลงนามโดยรัฐบาลบราซิลและรัฐบาลฝรั่งเศสในเดือนธันวาคม 2008 บริษัท Naval Group(DCNS เดิม) ฝรั่งเศสผู้สร้างเรือ, ระบบ และการให้บริการได้รับสัญญาในเดือนกันยายน 2009 เพื่อส่งมอบเรือดำน้ำโครงการ PROSUB บราซิล

ขอบเขตของการจัดส่งครอบคลุมสามองค์ประกอบหลัก หนึ่งชุดการถ่ายทอด Technology สำหรับการสร้างเรือดำน้ำ Scorpène S-BR ในประเทศบราซิล
สองการบริการออกแบบและสร้างที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบที่ไม่ใช่ระบบนิวเคลียร์ของเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ลำแรกของบราซิล(SN-BR) และสามการสนับสนุนสำหรับการออกแบบและการสร้างโรงงานอู่ต่อเรือดำน้ำใหม่และฐานทัพเรือใน Itaguaí บราซิล

บริษัท ICN เป็นการลงทุนร่วมกันที่จัดตั้งโดยบริษัท Odebrecht บราซิล(สัดส่วนการถือครองหุ้นร้อยละ59) และบริษัท Naval Group ฝรั่งเศส(ถือหุ้นร้อยละ41) แม้ว่าภายหลังจะมีหน้าที่รับผิดชอบในการควบคุมการปฏิบัติการ
กองทัพเรือบราซิลยังคงครองสิทธิการถือหุ้นในรูปแบบ 'golden share' ผ่านทางรัฐวิสาหกิจ EMGEPRON(Empresa Gerencial de Projetos Navais) บราซิล

โครงการเรือดำน้ำ S-BR บราซิลมีพื้นฐานจากเรือดำน้ำแบบ Scorpène ฝรั่งเศส ซึ่งรุ่นก่อนหน้านี้ได้มีขายส่งออกให้กับชิลี, อินเดีย(https://aagth1.blogspot.com/2017/06/scorpene-kalvari-ins-khanderi.html) และมาเลเซีย(https://aagth1.blogspot.com/2018/03/34-2040.html)
เรือดำน้ำ S-BR บราซิลมีการขยายความยาวตัวเรือจาก 66.4m เป็น 71.6m เพื่อให้ตรงความต้องการของกองทัพเรือบราซิลสำหรับการขยายพิสัยทำการ, ระยะเวลาทำการมากว่า 45วัน และรองรองกำลังพลประจำเรือที่มากขึ้น

เรือดำน้ำ S-BR บราซิลมี S40 Riachuelo เป็นเรือลำแรกของชั้น โดยเรือดำน้ำชั้น Riachuelo ประกอบด้วยเรือทั้งหมด 4ลำคือ S40 Riachuelo, S41 Humaitá, S42 Tonelero และ S43 Angostura
ซึ่งเรือสามหลังหลังทั้งหมดจะถูกสร้างภายในบราซิลอย่างเต็มรูปแบบ โดยมีกำหนดการส่งมอบให้กองทัพเรือบราซิลในปี 2021, ปี 2022 และปี 2023 ตามลำดับครับ

วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ฟิลิปปินส์และตุรกีลงนามสำหรับการจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตี T129


TAI T129 ATAK Attack helicopter model at signing of the Memorandum of Understanding on Defense Industry Cooperation between the Department of National Defense of the Republic of the Philippines and Presidency of Defence Industries of Republic of Turkey, Colonel Jesus Villamor Air Base, Manila, 18 December 2018.
https://twitter.com/SavunmaSanayii/status/1074918780000702465

วันที่ 18 ธันวาคม 2018 ตุรกีและฟิลิปปินส์ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ(MOU: Memorandum of Understanding) สำหรับความร่วมมือด้านกลาโหมร่วมกัน ณ ฐานทัพอากาศ Colonel Jesus Villamor ในเมืองหลวง Manila ฟิลิปปินส์
ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวได้รวมความเป็นไปได้ในการจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตี T129 ATAK จากบริษัท Turkish Aerospace(TAI: Turkish Aerospace Industries) สำหรับกองทัพอากาศฟิลิปปินส์(PAF: Philippine Air Force)

ข้อตกลง MOU ที่ได้รับการลงนามระหว่างหัวหน้าสำนักงานอุตสาหกรรมกลาโหมตุรกี(Presidency of Defence Industries, SSB: Savunma Sanayii Başkanlığı) Ismail Demir และรัฐมนตรีกลาโหมฟิลิปปินส์ Delfin Lorenzana
เป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปรบ(CUH: combat utility helicopter) ของกองทัพอากาศฟิลิปปินส์ที่รวมความต้องการจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตีใหม่จำนวน 24เครื่อง

กลุ่มทำงานทางเทคนิค(TWG: Technical Working Group) ที่กองทัพอากาศฟิลิปปินส์จัดตั้งได้ระบุก่อนหน้านี้ว่า เฮลิคอปเตอร์โจมตี T129 ATAK ตุรกีเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด(https://aagth1.blogspot.com/2018/12/t129.html)
อย่างไรก็ตามเนื่องจากข้อจำกัดด้านงบประมาณกลาโหมของฟิลิปปินส์ ทำให้คาดว่าจำนวนเฮลิคอปเตอร์โจมตีใหม่สำหรับกองทัพอากาศฟิลิปปินส์ที่สามารถจัดหาได้จะลดลงเป็นเพียง 8-10เครื่อง

ก่อนหน้านี้ในเดือนพฤษภาคม 2018 สื่อฟิลิปปินส์ได้รายงานว่ากองทัพอากาศฟิลิปปินส์ได้รับการบริจาคเฮลิคอปเตอร์โจมตี Bell AH-1F Cobra สหรัฐฯ จำนวน 2เครื่องที่เคยประจำการในกองทัพอากาศจอร์แดน(Royal Jordanian Air Force)
ทำให้กองทัพอากาศฟิลิปปินส์มีเฮลิคอปเตอร์โจมตีแท้ประจำการเป็นครั้งแรก เพื่อเสริมปฏิบัติการกับเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธที่มีอยู่ เช่น Boeing MD 520MG Defender สหรัฐฯ และ AgustaWestland AW109 อิตาลี(https://aagth1.blogspot.com/2018/05/ah-1f-cobra-2.html)

โดยโครงการ CUH ของกองทัพอากาศฟิลิปปินส์ยังได้รวมถึงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป Sikorsky UH-60 Black Hawk สหรัฐ ที่กระทรวงกลาโหมฟิลิปปินส์ได้ประกาศเลือกเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2018
หลังยกเลิกการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป Bell 412EPI แคนาดา 16เครื่อง จากการที่รัฐบาลแคนาดาทบทวนสัญญาโดยกังวลว่า ฮ.จะถูกนำไปใช้ในการต่อต้านกลุ่มก่อความไม่สงบในฟิลิปปินส์(https://aagth1.blogspot.com/2018/04/bell-bell-412epi.html)

ปัจจุบันบริษัท TAI ตุรกีได้ส่งมอบเฮลิคอปเตอร์โจมตี T129 ให้กับกองทัพบกตุรกี(Turkish Army) และกองบัญชาการกองกำลัง Gendarmerie(Gendarmerie General Command) และประสบความสำเร็จในการส่งออก ฮ.โจมตี T129 แก่ปากีสถาน 30 เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2018/05/t129-30.html)
นอกจากฟิลิปปินส์แล้วในกลุ่มชาติ ASEAN ตุรกียังหวังที่ได้รับเลือกในโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตีใหม่ของกองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army) จำนวน ๖-๘เครื่อง เพื่อทดแทนเฮลิคอปเตอร์โจมตี ฮ.จ.๑ Bell AH-1F Cobra ๗เครื่องด้วยครับ(https://aagth1.blogspot.com/2018/07/tai-t129.html, https://aagth1.blogspot.com/2018/06/ah-1f.html, https://aagth1.blogspot.com/2017/11/tai-t-129-atak.html)

วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2561

เกาหลีใต้เปิดตัวเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธ LAH เครื่องต้นแบบ

S. Korean aircraft maker unveils prototype of light armed helicopter


A ceremony takes place to unveil the prototype of a Korean-made light armed helicopter at the headquarters of Korea Aerospace Industries Co. (KAI) in Sacheon, 440 kilometers south of Seoul, on Dec. 18, 2018, in this photo provided by KAI. (Yonhap)
https://en.yna.co.kr/view/AEN20181218008000320



วันที่ 18 ธันวาคม 2018 บริษัท Korea Aerospace Industries(KAI) สาธารณรัฐเกาหลีผู้ผลิตอากาศยานรายเดียวของประเทศได้ทำพิธีเปิดตัวเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธ Light Armed Helicopter(LAH) เครื่องต้นแบบ
พิธีเปิดตัวเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธ LAH ได้จัดขึ้น ณ โรงงานอากาศยานของบริษัท KAI ใน Sacheon ที่ห่างออกไป 440km ทางตอนใต้ของนครหลวง Seoul

บริษัท KAI เกาหลีใต้ได้เริ่มการพัฒนาโครงการเฮลิคอปเตอร์ติดอาวุธเบา LAH ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2015 และทำการประกอบเครื่องต้นแบบเครื่องแรกในเดือนพฤศจิกายน 2018 ที่ผ่านมา โดยตั้งเป้าที่จะเสร็จสิ้นการพัฒนาในปลายปี 2022
และส่งมอบให้กองทัพบกสาธารณรัฐเกาหลี(ROKA: Republic of Korea Army) ได้ในปี 2023 เพื่อทดแทนเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธ McDonnell Douglas MD 500 Defender เก่าราว 200เครื่อง และเฮลิคอปเตอร์โจมตี Bell AH-1S Cobra ราว 70เครื่อง

"บริษัทจะดำเนินการชุดการทดสอบภาคพื้นดินตั้งแต่เดือนมกราคม 2019 เพื่อให้ว่าเครื่องยนต์และระบบอื่นๆของเครื่องทำงานได้อย่างถูกต้องหรือไม่ ก่อนจะทำการทดสอบการบินในเดือนพฤษภาคม 2019 จนถึงกรกฎาคม 2022" โฆษกของบริษัท KAI กล่าว
"LAH เป็นความสำเร็จครั้งสำคัญในภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงภายในประเทศ(เกาหลีใต้) เพราะมันเป็นเฮลิคอปเตอร์ที่มีความคล่องตัวสูง และมีอุปกรณ์นำร่องที่ก้าวหน้า" Suh Choo-Suk รองรัฐมนตรีกลาโหมสาธารณรัฐเกาหลีกล่าวแถลงในงาน

ฮ.ลาดตระเวนติดอาวุธ LAH มีพื้นฐานมาจากเฮลิคอปเตอร์ Airbus Helicopters H155(Eurocopter EC155) ซึ่งเป็นเฮลิคอปเตอร์โดยสารขนาดกลางสองเครื่องยนต์ ที่มีใช้งานในหลายประเทศทั่วโลก
เช่น เฮลิคอปเตอร์ EC155 B1 กองบินตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติไทย(Royal Thai Police) และเฮลิคอปเตอร์ EC155 B1 กรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย(Royal Thai Armed Forces)

ฮ.ลาดตระเวนติดอาวุธ LAH มีน้ำหนักบินขึ้นสูงสุด 4.9tons ติดตั้งเครื่องยนต์ Turboshaft แบบ Safran/Hanwha Techwin Arriel 2L2 สองเครื่อง กำลังเครื่องละ 1024shp สามารถทำความเร็วได้สูงสุด 175knots
มีนักบินประจำเครื่อง 2นาย สามารถบรรทุกกำลังพลได้ 6-10นาย ติดตั้งกล้องตรวจการณ์และชี้เป้าหมาย Eletro-Optic ที่จมูกหัวเครื่อง ใต้หัวเครื่องติดตั้งปืนใหญ่อากาศสามลำกล้องหมุนขนาด 20mm

ฮ.ลาดตระเวนติดอาวุธ LAH มีคานอาวุธข้างลำตัวสองตำบล รองรับการติดตั้งกระเปาะจรวดอากาศสู่พื้นขนาด 70mm ความจุ 7นัด ได้สองกระเปาะ หรืออาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นต่อสู้รถถังได้สูงสุด 4นัด
บริษัท Hanwha Techwin สาธารณรัฐเกาหลีกำลังพัฒนาอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง TAiper(Tank Sniper) LAH-AGM(Light Armed Helicopter Air-to-Ground Missile) ระยะยิง 8km ทดแทนอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง TOW รุ่นอากาศสู่พื้น ซึ่งคาดว่าจะเปิดสายการผลิตได้ในปี 2023 ครับ

วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ญี่ปุ่นจะเปลี่ยนเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo เป็นเรือบรรทุกเครื่องบิน และจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35 เพิ่ม

Japan to spend more than USD240 billion on defence over next five years
Japanese helicopter carrier JS Izumo (DDH-183). Tokyo formally approved plans on 18 December to convert the country's two Izumo-class vessels into multirole aircraft carriers from which F-35Bs can be operated. Source: JMSDF


Tokyo will also buy an additional 63 conventional take-off and landing (CTOL) F-35As and 42 short take-off and vertical landing (STOVL) F-35Bs over the coming decade.
https://www.janes.com/article/85299/japan-to-spend-more-than-usd240-billion-on-defence-over-next-five-years

คณะรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น Shinzo Abe ได้อนุมัติแผนงบประมาณกลาโหมวงเงิน 27.47 trillion Yen ในอีก 5ปีข้างหน้าเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2018 แต่ก็หวังว่าวงเงินดังกล่าวจะสามารถลดลงได้ประมาณ 1.97 trillion Yen ผ่านการใช้มาตรการลดค่าใช้จ่าย
โครงร่างนโยบายกลาโหมใหม่ของรัฐบาลญี่ปุ่นซึ่งจะดำเนินการจากปีงบประมาณ 2019-2023 เนื้อหาสำคัญเหนือทุกเรื่องคือการปรับเปลี่ยนเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo ให้เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินพหุบทบาท

เรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo ทั้งสองลำของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น(JMSDF: Japan Maritime Self-Defense Force) คือ DDH-183 JS Izumo และ DDH-184 JS Kaga(https://aagth1.blogspot.com/2018/11/f-35b-izumo.html)
จะถูกปรับเปลี่ยนเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินพหุบทบาท ซึ่งเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35B Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) รุ่นบินขึ้นระยะสั้นลงจอดทางดิ่ง STOVL(Short Take-Off Vertical Landing) สหรัฐฯสามารถปฏิบัติการได้

แนวทางโครงการกลาโหมแห่งชาติ(NDPG: National Defense Program Guidelines) ที่ได้รับการการอนุมัติในวันที่ 18 ธันวาคม และสมทบด้วยแผนกลาโหมกลางวาระ(MTDP: Mid-Term Defense Plan) ยังเน้นความแข็งแกร่งในขอบเขตด้านกลาโหมใหม่
คือ Cyber, อวกาศ และสงคราม Electronic(EW: Electronic Warfare) ซึ่งคาดว่าจะถูกจัดตั้งเป็นส่วนหนึ่งของ "กองกำลังป้องกันหลากมิติแบบบูรณาการ"(Multidimensional Integrated Defence Force) ใหม่ของญี่ปุ่น

รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังมองที่ดำเนินการ "ยุทธศาสตร์ข้ามขอบเขต"(cross-domain strategy) โดยมุ่งไปที่การสร้างความเหนือกว่าในอากาศ, ทะเล, พื้นดิน และนอกอวกาศ เช่นเดียวกับในขอบเขตสงคราม Electronic และ Cyberspace
รัฐบาลญี่ปุ่นได้กล่าวในการสรุปต่อสื่อว่ากระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นว่าจะจัดหาเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35A Lightning II รุ่นขึ้นลงตามแบบ CTOL(Conventional Take-Off and Landing) เพิ่มเติม และเครื่องบินขับไล่ F-35B STOVL รวม 105เครื่อง

เครื่องบินขับไล่ F-35A จำนวน 63เครื่อง และเครื่องบินขับไล่ F-35B จำนวน 42เครื่องที่ญี่ปุ่นจะจัดหาในทศวรรษหน้าที่จะมาถึง จะถูกนำมาทดแทนเครื่องบินขับไล่ Boeing-Mitsubishi F-15J/DJ Eagle จำนวน 99เครื่องจากทั้งหมด 201เครื่องของกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น(JASDF: Japan Air Self Defense Force)
เครื่องบินขับไล่ F-35 ใหม่เหล่านี้จะถูกนำมาเสริมกับ F-35A จำนวน 42เครื่องที่กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่นได้จัดหามาก่อนหน้าเพื่อทดแทนฝูงเครื่องบินขับไล่ McDonnell Douglas-Mitsubishi F-4EJ Kai Phantom II ที่มีอายุการใช้งานมานาน

ทางการกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นยังได้ชี้ให้เห็นอีกว่า ญี่ปุ่นจะหยุดการใช้สายการผลิต FACO( Final Assembly and Check Out ) สำหรับการผลิตเครื่องบินขับไล่ F-35A ในประเทศ(https://aagth1.blogspot.com/2017/06/f-35a.html)
โดยโรงงานบริษัท Mitsubishi Heavy Industries(MHI) จะยุติการผลิต F-35A ในญี่ปุ่นตั้งแต่ปีงบประมาณ 2019 และเริ่มการจัดซื้อ F-35A และ F-35B ที่สร้างสมบูรณ์ทั้งเครื่องจากสหรัฐฯเพื่อลดค่าใช้จ่ายในกระบวนการจัดหา(ผลิตเครื่องบินเองในประเทศราคาแพงกว่าซื้อจากต่างประเทศ)ครับ

ลาวอาจจะได้รับรถถังหลัก T-72B1MS จากรัสเซียแล้ว




Photos claim that  T-72B1MS (Object 184-1MS) 'Belyy Orel' (White Eagle) Main Battle Tanks was shipping from Russia to Vietnam's Port and transpot to Laos on road by Lowboy trailer trucks. it seems likely that a new MBTs for Lao People's Armed Forces.
https://andrei-bt.livejournal.com/1030405.html

ชุดภาพถ่ายที่เผยแพร่ในสื่อสังคม Online ของเวียดนามได้ถูกอ้างว่าเป็นการเคลื่อนย้ายรถถังหลัก T-72B1MS (Object 184-1MS) 'Belyy Orel'("White Eagle" "อินทรีขาว" ในภาษารัสเซีย) ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการปรับปรุงความทันสมัยของรถถังหลัก T-72B เดิมของรัสเซีย
โดยรถถังหลัก T-72B1MS ดังกล่าวถูกขนส่งมาทางเรือจากรัสเซียถึงท่าเรือของเวียดนามในเวลากลางคืน และถูกเคลื่อนย้ายต่อด้วยรถยนต์บรรทุกพ่วงชานต่ำเพื่อขนส่งทางถนนไปยังจุดหมายคือลาว ทำให้คาดว่านี่คือรถถังหลักใหม่จากรัสเซียของกองทัพประชาชนลาว(Lao People's Army)

ก่อนหน้านี้รายงานข่าวของสถานีโทรทัศน์ Zvezda รัสเซียที่มีการเผยแพร่เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2018 ได้แสดงถึงการเยี่ยมชมโรงงานซ่อมแซมรถถังที่มหานคร St.Petersburg รัสเซียของคณะตัวแทนของกระทรวงป้องกันประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและกองทัพประชาชนลาว
ที่นำโดยรัฐมนตรีกระทรวงป้องกันประเทศลาว พลโท จันสะหมอน จันยาลาด ในการเยี่ยมชมโรงงานรวมถึงชมการสาธิตรถถังหลัก T-72B1MS ที่ปรับปรุงใหม่(https://aagth1.blogspot.com/2018/04/t-72b1ms.html)

รถถังหลัก T-72B1MS มีการปรับปรุงสำคัญที่เห็นได้ชัดคือการติดตั้งกล้องตรวจการณ์ Panoramic ขนาดใหญ่ที่ด้านซ้ายของป้อมปืน และปรับปรุงระบบควบคุมการยิงและกล้องเล็งใหม่ในสถานีพลยิงและสถานีผู้บังคับการรถ รวมถึงระบบแสดงผลในสถานีพลขับ
อย่างไรก็ตาม ถ.หลัก T-72B1MS ยังคงใช้เครื่องยนต์ดีเซล V-84 กำลัง 840HP เช่นเดิม รวมถึงเกราะป้องกันยังคงเป็นเกราะเหล็กกล้าวัสดุผสมเสริมด้วยเกราะปฏิกิริยาแรงระเบิด(ERA: Explosive Reactive Armor) แบบ Kontakt-1 รุ่นเก่า

รัสเซียได้ส่งออกรถถังหลัก T-72B1MS White Eagle ที่ได้รับการปรับปรุงใหม่แก่กองทัพบกนิการากัว(Nicaragua Army Ground Force) จำนวน 50คัน วงเงินราว $80 million ในปี 2015
ซึ่งกองทัพบกนิการากัวได้รับมอบ ถ.หลัก T-72B1MS ชุดแรกจำนวน 20คันในปี 2016 ซึ่งได้มีการเปิดตัวต่อสาธารณชน รวมถึงได้เข้าร่วมในพิธีสวนสนามของกองทัพแห่งชาตินิการากัว(Fuerzas Armadas de Nicaragua) มาแล้ว

ขณะที่รถถังหลัก T-72B3 ที่เข้าประจำการในกองทัพรัสเซียแล้วได้รับการปรับปรุงติดเกราะ ERA แบบ Kontakt-5 หรือรุ่นใหม่กว่าแบบ Relikt และกล้องเล็งพลยิงแบบ Sosna-U ใหม่ ทำให้มีสมรรถนะการป้องกันที่ดีกว่า
โดยลาวเป็นชาติแรกในกลุ่มประเทศ ASEAN ที่ใช้ ถ.หลัก T-72B3 รัสเซียในการแข่งขันรถถังนานาชาติ Tank Biathlon 2017 และ 2018(https://aagth1.blogspot.com/2017/08/tank-biathlon-2017-5-6.html, https://aagth1.blogspot.com/2018/08/tank-biathlon-2018-asean.html)

ปัจจุบันกองทัพประชาชนลาวมีรถถังรัสเซียที่จัดหามาตั้งแต่สมัยอดีตสหภาพโซเวียตประจำการอยู่หลายแบบ เช่น รถถังกลาง T-34-85(https://aagth1.blogspot.com/2018/12/t-34-85.html) รถถังเบา PT-76 และรถถังหลัก T-54/T-55 ที่ต่างมีอายุการใช้งานมานานและล้าสมัย
เป็นที่เข้าใจว่ารถถังหลัก T-72B1MS ใหม่นี้พร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์ใหม่อื่นๆ น่าจะถูกเปิดตัวในงานสวนสนามครบรอบ 70ปีการก่อตั้งกองทัพประชาชนลาวที่จะจัดขึ้นในวันที่ 20 มกราคม 2019 ครับ

วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ฮังการีสั่งจัดหาเฮลิคอปเตอร์ H225M และ H145M

Hungary orders 16 H225M multi-role helicopters
The H225Ms selected by Hungary will be equipped with state-of-the-art communication capabilities and will be used for transport, combat search and rescue, and special operations missions.
https://www.airbus.com/newsroom/press-releases/en/2018/12/hungary-orders-16-h225m-multi-role-helicopters.html

Hungary orders 20 H145Ms 
The H145M is a tried-and-tested light twin-engine helicopter that was first delivered in 2015 to the German Armed Forces and has since been ordered by Thailand and the Republic of Serbia.
https://www.airbus.com/newsroom/press-releases/en/2018/06/hungary-orders-20-h145ms-.html


กระทรวงกลาโหมฮังการีได้สั่งจัดหาเฮลิคอปเตอร์พหุบทบาท Airbus Helicopters H225M จำนวน 16เครื่อง ที่ได้รับการติดตั้งระบบอำนวยการจัดการอาวุธ HForce Generic Weapon System(GWS)
พร้อมกับการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ H225M บริษัท Airbus ยุโรปยังจะมอบชุดการฝึกการการสนับสนุนที่ครอบคลุมเพื่อให้มั่นใจได้ว่าเครื่องจะมีความพร้อมปฏิบัติการในระดับสูงสุด

"ผมขอบคุณสำหรับความเชื่อมั่นที่รัฐบาลฮังการีได้มอบให้บริษัทของเราเพื่อสนับแผนการปรับปรุงความทันสมัยของกองทัพฮังการี Zrinyi 2026 ทีมของเราได้เห็นความเป็นมืออาชีพและความกระตือรือร้นของผู้เชี่ยวชาญและนักบินฮังการีซึ่งมีส่วนร่วมสำคัญในการทำให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จ
สัญญาใหม่นี้ได้ยืนยัน ฮ.H225M ในฐานะระบบเฮลิคอปเตอร์พหุบทบาทที่ได้รับพิสูจน์ในการรบ ที่ถูกใช้ปฏิบัติงานโโยความต้องการของลููกค้ากองทัพทั่วโลก" Bruno Even ผู้อำนวยการบริหารบริษัท Airbus Helicopters ยุโรปกล่าว

ก่อนหน้านี้กระทรวงกลาโหมฮังการีได้สั่งจัดหาเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปทางทหาร Airbus Helicopters H145M จำนวน 20เครื่อง ที่ได้รับการติดตั้งระบบอาวุธ HForce พร้อมชุดการฝึกการการสนับสนุนที่ครอบคลุม แผนการปรับปรุงความทันสมัยกองทัพ Zrinyi 2026
"กองทัพฮังการีจะสามารถพึ่งพา ฮ.H145M/H225M ที่มีประสิทธิภาพสมราคาควบคู่กันที่จะทำให้พวกเขาครอบคลุมภารกิจหลักของกองทัพได้ทั้งหมด ตั้งแต่การใช้งานทั่วไปทางธุรการเบา, การลำเลียงทางยุทธวิธี, การค้นหาและกู้ภัยในพื้นที่การรบ จนถึงการโจมตีเบา" Even เสริม

เฮลิคอปเตอร์ H225M ที่ถูกเลือกโดยฮังการีจะได้รับการติดตั้งขีดความสามารถระบบสื่อสารที่ล้ำสมัยและสามารถใช้ในภารกิจลำเลียง, ค้นหาและกู้ภัยการรบ และปฏิบัติการพิเศษ มีระบบ Avionic ที่ล้ำยุคและนักบินกลสี่แกน, พิสัยทำการและน้ำหนักบรรทุกที่มากเป็นพิเศษ
การผสานห้องโดยสารขนาดใหญ่สามารถบรรทุกกำลังพลได้ถึง 28นาย และปืนกลอากาศ, ปืนใหญ่อากาศ จรวดอากาศสู่พื้น และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น เช่นเดียวกับระบบสงคราม Elctronic และรองรับกล้องมองกลางคืนทำให้ H225M รองรับความต้องการภารกิจส่วนใหญ่ได้ทุกกาลอากาศ

ด้วยน้ำหนักบินขึ้นสูงสุด 3.7tons เฮลิคอปเตอร์ H145M สามารถูกใช้งานได้หลากหลายแบบ รวมถึงการขนส่งกำลังพล, ธุรการ, ตรวจการณ์, กู้ภัยทางอากาศ, ลาดตระเวนติดอาวุธ และส่งกลับทางสายแพทย์
ฮ.H145M ของฮังการีจะได้รับการติดตั้งอุปกรณ์ทั้งระบบเชือกโรยตัว, กล้องสมรรถนะสูง, อุปกรณ์ยิงสนับสนุน, เกราะกันกระสุน เช่นเดียวกับระบบมาตรการต่อต้าน Electronic เพื่อสนับสนุนความต้องการการปฏิบัติการส่วนใหญ่

ด้วยเครื่องยนต์ Turboshaft แบบ Safran Arriel 2E สองเครื่อง H145M ติดตั้งระบบควบคุมเครื่องยนต์แบบ Digital(FADEC: Full Authority Digital Engine Control) และชุดระบบ Digital Avionic แบบ Helionix
รวมถึงระบบนักบินอัตโนมัติ 4แกนสมรรถนะสูง เพิ่มความปลอดภัยและลดภาระของนักบิน H145M มีระดับการสร้างเสียงจากเครื่องที่ต่ำทำให้เป็นเฮลิคอปเตอร์ที่เงียบมากที่สุดในกลุ่ม ฮ.ระดับเดียวกัน

ปัจจุบัน ฮ.H225M มีประจำการทั่วโลกโดยมีการส่งมอบไปแล้ว 88เครื่อง ที่ล่าสุดได้ผ่านการบินรวมกว่า 100,000ชั่วโมงบิน ตั้งแต่การส่งมอบครั้งแรกให้กองทัพอากาศฝรั่งเศสในปี 2006 ฮ.ขนาด 11tons นี้ได้รับการพิสูจน์ความน่าเชื่อถือและทนทานในหลายสภาพการรบและพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ว
ฮังการีเป็นประเทศที่9 ที่เลือกจัดหา H225M ที่ปัจจุบันมีประจำการใน ฝรั่งเศส, บราซิล, เม็กซิโก,มาเลเซีย, อินโดนีเซีย และกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force)(https://aagth1.blogspot.com/2018/10/ec725.html, https://aagth1.blogspot.com/2018/09/ec725.html) และได้รับการสั่งจัดหาโดยคูเวต และสิงคโปร์

H145M เป็นเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปขนาดเบาที่ได้รับการทดลองและทดสอบแล้ว ที่ส่งมอบให้กองทัพเยอรมนีเป็นครั้งแรกในปี 2015 และมีกองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) เป็นลูกค้าส่งออกรายแรกที่ได้รับมอบในปี 2016(https://aagth1.blogspot.com/2016/11/h145m.html)
รวมถึงเซอร์เบียที่ได้รับมอบเครื่องชุดแรก(https://aagth1.blogspot.com/2018/11/h145m-9.html) และยังได้รับการสั่งจัดหาจากฮังการี และลักเซมเบิร์ก โดยความพร้อมปฏิบัติภารกิจของเฮลิคอปเตอร์H145M อยู่ที่มากกว่าร้อยละ95 ครับ

วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2561

กองทัพอากาศพม่าทำพิธีประจำการเครื่องบินขับไล่ JF-17












Myanmar Air Force has Commissioned Ceremony for four JF-17 Thunder jet fighter with PL-5EII short-range air-to-air missile, SD-10A beyond-visual-range air-to-air missile and C-802AK air-launched anti-ship missile, two ATR 72-500 transport aircraft and one Airbus Helicopters AS365 Dauphin Search and Rescue helicopter in the 71th Anniversary of Myanmar Air Force, 15 December 2018(https://www.facebook.com/MyanmarAF/posts/2047983515263450)

Clip: Myanmar Air Force 2018 Music Video
https://www.facebook.com/MyanmarAF/videos/272498913434285/

วันที่ 15 ธันวาคม 2018 ณ ฐานทัพอากาศ Meiktila ซึ่งเป็นวันครบรอบการก่อตั้งกองทัพอากาศพม่า(Tatmadaw Lay) ครบรอบปีที่71 ได้มีการทำพิธีรับมอบอากาศยานใหม่เข้าประจำการในกองทัพอากาศพม่า(Myanmar Air Force)
ประกอบด้วยเครื่องบินขับไล่ JF-17 Thunder จำนวน 4เครื่อง เครื่องบินลำเลียงโดยสาร ATR 72-500 จำนวน 2เครื่อง และเฮลิคอปเตอร์ค้นหาและกู้ภัย Airbus Helicopters AS365 Dauphin จำนวน 1เครื่อง

พลเอกอาวุโส(Senior General) Min Aung Hlaing ผู้บัญชาการสูงสุดกองทัพพม่าได้เป็นประธานในพิธีรับมอบอากาศยานใหม่ พร้อมด้วย พลอากาศเอก(General) Maung Maung Kyaw ผู้บัญชาการกองทัพอากาศพม่า
รวมถึงนายทหารระดับสูงอื่นๆ เช่น พลเรือเอก(Admiral) Tin Aung San ผู้บัญชาการกองทัพเรือพม่า(Myanmar Navy) คณะภริยานายทหาร และเจ้าหน้าที่รัฐบาลร่วมงาน

กองทัพอากาศพม่าน่าจะได้รับมอบเครื่องบินขับไล่ JF-17 ที่พัฒนาโดย Pakistan Aeronautical Complex(PAC) ปากีสถาน และ Chengdu Aircraft Industry Corporation(CAC) สาธารณรัฐประชาชนจีน ชุดแรกอย่างน้อย 6เครื่องแล้ว
ซึ่งก่อนหน้านี้สื่อสังคม Online ของพม่าได้มีการเผยแพร่ภาพวีดิทัศน์ของ JF-17 ที่ถูกระบุว่าถูกบันทึกได้ที่ฐานทัพอากาศ Pathein ใกล้เมือง Pathein(พะสิม) ทางใต้ห่างจากนคร Yangon ไปทางตะวันตก 190km(https://aagth1.blogspot.com/2018/10/jf-17.html)

เป็นที่เชื่อว่ากองทัพอากาศพม่าน่าจะนำเครื่องบินขับไล่ JF-17 เข้าประจำการทดแทนเครื่องบินขับไล่ F-7M ที่จัดหาจากจีน(ลอกแบบเครื่องบินขับไล่ MiG-21 รัสเซีย)ในช่วงปี 1990s จำนวน 36เครื่อง ซึ่งเก่าและล่าสมัย โดยปัจจุบันมีข้อมูลว่ายังคงมีประจำการอยู่ราว 22เครื่อง
โดยกองทัพอากาศพม่าได้สั่งจัดหาเครื่องบินขับไล่ JF-17 จีน-ปากีสถานจำนวน 16เครื่อง และมีแผนที่จะเปิดสายการผลิตประกอบ JF-17 ภายในพม่าด้วย(https://aagth1.blogspot.com/2017/02/jf-17.html)

เครื่องบินขับไล่ JF-17 กองทัพอากาศพม่าที่ปรากฎในวีดิทัศน์ประชาสัมพันธ์ยังได้มีการจัดแสดงอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ PL-5EII นำวิถีด้วยความร้อน Infrared, อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลาง SD-10A(PL-12 จีนรุ่นส่งออก) นำวิถีด้วย Active Radar
และอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ C-802AK ซึ่งเป็นอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำแบบแรกของกองทัพอากาศพม่า ที่นับเป็นภัยคุกคามอย่างมากต่อกองทัพเรือของประเทศที่มีพื้นที่ติดต่อกันในการควบคุมทะเลทางอากาศเหนืออ่าว Bengal และทะเล Andaman

เฮลิคอปเตอร์ Airbus Helicopters AS365 Dauphin ฝรั่งเศส 1เครื่องที่กองทัพอากาศพม่าทำพิธีเข้าประจำการในวันเดียวกันปรากฎให้เห็นว่ามีการติดตั้งรอกกว้าน(Hoist) และไฟฉายค้นหา(Search Light) สำหรับภารกิจค้นหาและกู้ภัย(SAR: Search and Rescue) โดยสามารถลงจอดบนเรือของกองทัพเรือพม่าที่มีลานจอด ฮ.ท้ายเรือได้
รวมถึงเครื่องบินลำเลียงโดยสาร ATR 72-500 ฝรั่งเศส/อิตาลี 2เครื่องทำพิธีเข้าประจำการพร้อมกัน เป็นที่เข้าใจว่าน่าจะเป็นเครื่องใหม่ที่จะถูกดัดแปลงเป็นเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล เช่นเดียวกับ ATR 42 MPA(Maritime Patrol Aircraft) ที่กองทัพอากาศพม่านำเข้าประจำการก่อนหน้าครับ