วันพุธที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2561

ไทยและจีนเสร็จสิ้นแผนจัดตั้งโรงงานซ่อมบำรุงร่วมทั้งรถถังหลัก VT4 และยานเกราะล้อยาง VN1

Thailand and China finalising plans for joint maintenance facility
Thailand is planning to establish a MRO facility for Chinese-made vehicles, including the VT-4 MBT, seen here. Source: IHS Markit/Patrick Allen
http://www.janes.com/article/77443/thailand-and-china-finalising-plans-for-joint-maintenance-facility

Royal Thai Army has displayed Chinese NORINCO VT4(MBT-3000) Main Battle Tank for first time in Children's Day 2018 at 2nd Cavalry Division Royal Guard in Bangkok, 13 January 2018(My Own Photo)
http://aagth1.blogspot.com/2018/01/vt4-oplot-m60a3.html


China North Industries Corporation or NORINCO has showcased Model of VN1 8x8 Armoured Personnel Carrier with new Unmaned Remote Weapon Station Turret for Royal Thai Army
at Defense and Security 2017 exhibition in Bangkok Thailand on 6-9 November.(My Own Photo)
http://aagth1.blogspot.com/2017/11/norinco-vn1.html

ไทยได้รับรองแผนความร่วมมือกับจีนในการจัดตั้งโรงงานบำรุงรักษา, ซ่อมแซม, และยกเครื่อง(MRO: Maintenance, Repair, and Overhaul) ยานยนต์ทางทหารสำหรับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ข้อเสนอในการจัดตั้งโรงงานซ่อมบำรุงในไทยนี้ถูกวางไว้เพื่อสนับสนุนการขยายจำนวนการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์จากจีนของกองทัพบกไทย(Royal Thai Army)
ซึ่งรวมถึงรถถังหลัก VT4 และยานเกราะล้อยางลำเลียงพล VN1 8x8 ที่รถทั้งสองแบบผลิตโดย China North Industries Corporation หรือ Norinco รัฐวิสากิจอุตสาหกรรมความมั่นคงของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน

ตามที่ได้มีการให้สัมภาษณ์สื่อในการสาธิตการแสดงสมรรถนะของรถถังหลัก VT4 ที่ศูนย์การทหารม้า ค่ายอดิศร จังหวัดสระบุรี เมื่อวันที่ ๒๖ มกราคมที่ผ่านมา
ผู้บัญชาการทหารบกไทย พลเอก เฉลิมชัย สิทธิสาท ได้ให้สัมภาษณ์ความเห็นในรายงานของสื่อไทยว่า รัฐบาลจีนและรัฐบาลไทยได้เสร็จสิ้นการบรรลุแผนการจัดตั้งศูนย์โรงงานบำรุงรักษา, ซ่อมแซม, และยกเครื่องในไทยแล้ว
พลเอก เฉลิมชัย สิทธิสาท กล่าวว่าการจัดตั้งโรงงานใหม่จะสนับสนุนความร่วมมือในการซ่อมและบำรุงรักษารถถังหลัก VT4 และยานยนต์ทางทหารอื่นๆทั้งไทยและประเทศอื่นในภูมิภาคนี้

ศูนย์ซ่อมบำรุง MRO ในไทยยังสามารถทำให้ไทยเปิดสายการผลิต เช่นเดียวกับการซ่อมแซมและบำรุงรักษาในชิ้นส่วนประกอบและระบบย่อยของอาวุธยุทโธปกรณ์ได้
ผบ.ทบ.เสริมว่าโครงการจัดหารถถังหลัก VT4 ระยะที่๑ ๒๘คัน วงเงิน ๔,๙๘๔ล้านบาท($147 million) ปี พ.ศ.๒๕๕๙(2016) และระยะที่๒ ๑๐คันวงเงินราว ๒,๐๐๐ล้านบาท($60 million) ปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017) รวม ๓๙คันวงเงินราว ๗,๐๐๐ล้านบาท($200 million) นั้น
เป็นที่สนใจของกองทัพบกไทยเพราะระบบอาวุธจีนนั้นมีราคาแพงน้อยกว่าระบบอาวุธตะวันตกที่ประสิทธิภาพเทียบเท่ากัน(VT4 ราคาคันละ ๑๗๒ล้านบาทหรือ $5.2 million ถือว่าไม่แพงมาก) และโครงการจัดหายังรวมถึงการสนับสนุนการถ่ายทอด Technology แก่ไทยจากจีนด้วย

รถถังหลัก VT4 ของ Norinco จีนซึ่งมีกองทัพบกไทยเป็นลูกค้าส่งออกรายแรกนั้น รถชุดแรกในโครงการจัดหาระยะที่๑ จำนวน ๒๘คันได้ถูกส่งมอบให้กับกองทัพบกไทยเมื่อปลายปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017)(http://aagth1.blogspot.com/2017/10/vt4-ah-1f.html,http://aagth1.blogspot.com/2017/07/vt4-norinco.html)
รถถังหลัก VT4 ชุดแรก ๒๘คันจะเข้าประจำการใน กองพันทหารม้าที่๖ ขอนแก่น และกองพันทหารม้าที่๒๑ ร้อยเอ็ด ซึ่งเป็นหน่วยขึ้นตรงของ กรมทหารม้าที่๖ กองพลทหารม้าที่๓ กองพันละ ๑๓คัน
โดยมี ถ.หลัก VT4 ๑คันที่ศูนย์การทหารม้า และอีก ๑คันที่กรมสรรพาวุธทหารบกเพื่อใช้ในการฝึกศึกษา รวมถึงรถกู้ซ่อมอีก ๑คัน สอดคล้องกับแผนการจัดตั้งโรงงานศูนย์ซ่อมบำรุงที่ขอนแก่น

โครงการจัดหายานเกราะล้อยางใหม่ของกองทัพบกไทยได้เลือกยานเกราะล้อยาง NORINCO VN1 8x8 ระยะที่๑ จำนวน ๓๔คันวงเงินประมาณ ๒,๓๐๐ล้านบาท($68 million) ติดป้อมปืนใหญ่กล 30mm และปืนกลร่วมแกน 7.62mm พร้อมการจัดหากระสุน
คาดว่าหน่วยที่จะได้รับมอบ VN1 น่าจะเป็นกองพันทหารม้าลาดตระเวนหน่วยขึ้นตรงของ กรมทหารม้า๒ กองพลทหารม้าที่๑ เพื่อทดแทน V-150 คือ กองพันทหารม้าที่๑๐ และ กองพันทหารม้าที่๗ ส่วนกองพันทหารม้าที่๑๒ นั้นคาดว่าจะมีการจัดหาในระยะต่อไป
ซึ่งรัฐบาลจีนและ NORINCO ยังมีความยินดีที่จะถ่ายทอด Technology ยานเกราะล้อยาง VN1 เพื่อเปิดสายการผลิตประกอบรถภายในไทย เช่นเดียวกับการจัดตั้งศูนย์ซ่อมบำรุง MRO สำหรับรถถังหลัก VT4 ด้วย

ทั้งนี้ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้คาดว่ากองทัพบกไทยจะมีการสั่งจัดหารถถังหลัก VT4 ระยะต่อไปเพื่อให้ ม.พัน.๖ และ ม.พัน.๒๑ มีรถครบจำนวนทั้งสองกองพัน(น่าจะอย่างน้อยกองพันละ ๓๙คัน สามกองร้อยรถถัง ร้อย.ถ.ละ ๑๓คัน สามหมวดรถถัง มว.ถ.ละ ๔คัน+๑รถถัง ผบ.ร้อย)
โดยรถถังเบา ถ.เบา.๓๒ Stingray ม.พัน.๖ เดิมจะถูกย้ายไป กองพันทหารม้าที่๙ กองพลทหารราบที่๔ เช่นเดียวกับรถถังหลัก M48A5 ม.พัน.๒๑ เดิมที่จะโอนไป กองพันทหารม้าที่๑๖ กองพลทหารราบที่๕
ซึ่งในแผนระยะยาวกองทัพบกไทยมีควมต้องการในการจัดหารรถังหลักใหม่ถึงราว ๑๕๐คัน มาทดแทนรถถังเบา M41A3 สหรัฐฯที่ประจำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๕(1962) ตามที่ ถ.เบา.M41A3 จะถูกปลดประจำการจาก ม.พัน.๙ และ ม.พัน.๑๖ ครับ

วันอังคารที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2561

เครื่องบินขับไล่ F-35B นาวิกโยธินสหรัฐฯทดสอบการลงจอดทางดิ่งบนพื้นลาดเอียง

F-35 Pax River ITF Expands Expeditionary Envelope For USMC 
The F-35 Patuxent River Integrated Test Force team brings the U.S. Marine Corps’ F-35B one step closer to initial operational test
and evaluation as they wrap up testing of the F-35B STOVL envelope with sloped surface vertical landing tests January and February at Marine Corps Auxiliary Landing Field (MCALF) Bogue, N.C.
https://www.f35.com/news/detail/f-35-pax-river-itf-expands-expeditionary-envelope-for-usmc

ทีมกองกำลังทดสอบบูรณาการ F-35 Patuxent River Integrated Test Force(ITF) ได้นำเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35B Lightning II JSF(Joint Strike Fighter) นาวิกโยธินสหรัฐฯ( U.S. Marine Corps) เข้าใกล้ความพร้อมปฏิบัติการขั้นต้นและประเมินค่า
โดยการทดสอบ F-35B รุ่นบินขึ้นระยะสั้นขึ้นลงทางดิ่ง STOVL(Short Take-Off Vertical Landing) ลงจอดทางดิ่งบนพื้นที่ลาดเอียงในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ ณ สนามลงจอดอากาศยานนาวิกโยธิน(MCALF: Marine Corps Auxiliary Landing Field) Bogue มลรัฐ North Carolina

"นาวิกโยธินเป็นกำลังรบนอกประเทศที่สามารถวางกำลังในระยะเวลาอันสั้นต่อวิกฤตการณ์ทั่วโลกแม้แต่ในสภาพแวดล้อมที่มีข้อจำกัดอย่างที่สุด และ F-35 ขีดความสามารถด้านการวางกำลังรบนอกประเทศที่เป็นข้อยกเว้นพิเศษ"
พันตรี Michael Lippert(นาวิกโยธินสหรัฐฯ) นักบินทดสอบ F-35 ITF สถานีอากาศนาวี Patuxent River(NAS: Naval Air Station) และเจ้าหน้าที่ส่วนแยกในการปฏิบัติงานกล่าว

"การดำเนินการทดสอบที่สนาม Bogue ทำให้นาวิกโยธินมีโอกาสในการเดินหน้าทดสอบและพัฒนา F-35 ในรูปแบบ(ขึ้นระยะสั้นขึ้นลงทางดิ่ง) ขณะที่องค์ประกอบการฝึกไปพร้อมกันของตอนการรบทางอากาศ(Marine Air-Ground Task Force กองกำลังเฉพาะกิจอากาศ-ภาคพื้นดินนาวิกโยธิน)
โดยเฉพาะฝูงบินสนับสนุนกองบินนาวิกโยธิน(Marine Wing Support Squadrons) ที่ Bogue และสถานีอากาศนาวิกโยธิน(MCAS: Marine Corps Air Station) Cherry Point" พันตรี Lippert(นาวิกโยธินสหรัฐฯ) กล่าว

ขีดความสามารถประจำตัวของอากาศยานไอพ่น STOVL ทำให้นาวิกโยธินสหรัฐฯสามารถปฏิบัติการในสภาวะเลวร้ายและจากพื้นที่ห่างไกลที่มีสนามบินที่เพียงพอสำหรับอากาศยานขึ้นลงตามแบบน้อยมาก จากทางวิ่งที่ถูกทิ้งหรือเก่าหมดสภาพ หรือบนถนนที่ทอดยาว
อากาศยานยังสามารถปฏิบัติการได้จากสถานที่ที่นาวิกโยธินก่อสร้างทางวิ่งนอกประเทศตนเอง หรือแผ่นปูลงจอด AM-2 matting แบบเดียวกับที่ใช้ระหว่างการทดสอบลงจอดบนพื้นผิวลาดเอียง

ตามชุดการฝึกทดสอบดำเนินกลยุทธการลงจอดทางดิ่งในการจำลองสถานการณ์การวางกำลังรบนอกประเทศ เป้าหมายสุดท้ายของทีมตอนนี้จะง่ายขึ้นในความต้องการการลงจอดทางดิ่งบนพื้นที่ลาดเอียงสำหรับ F-35
"เราหวังที่จะสามารถผ่อนปรนข้อจำกัดการรับรองที่ลานจอดในกรอบของแนวลาดเอียง/ไล่ระดับไม่เท่ากันสูงสุดในบริบทของลานจอดนอกประเทศที่มีอยู่และในอนาคต" Bob Nantz ผู้ชำนาญการทางเทคนิคประสิทธิภาพ/สภาพแวดล้อม F-35 Pax River ITF กล่าว

โดยนาวิกโยธินจากกองบินนาวิกโยธินที่2(2nd Marine Aircraft Wing) ได้กำลังจับการเรียนรู้ในเวลาจริง ผลการทดสอบบางส่วนจะมีผลในทันที
อย่างไรก็ตามข้อมูลจำนวนมากจะจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ที่สำคัญก่อนการปรับปรุงใดที่สามารถเกิดขึ้นกับหน่วยบิน พันตรี Lippert(นาวิกโยธินสหรัฐฯ) กล่าว

Pax River ITF จะวิเคราะห์ข้อมูลทดสอบมากกว่า 200จุดเพื่อประเมินว่า F-35B จะปฏิบัติการได้ดีแค่ไหนบนพื้นลาดเอียงที่หลากหลาย, การกระแทกที่หัวและท้ายเครื่อง, และผลกระทบที่จุดศูนย์ถ่วงในจุดตัดด้านท้ายร่วมกับพื้นดินลาดเอียง
"การปรับปรุงเหล่านี้จะทำอากาศยานของเราทำมันได้ในที่สุด ขณะที่ขีดความสามารถของ F-35 จะเดินหน้าในการเปลี่ยนรูปแบบวิถีการบินของเราและนำไปสู่ชัยชนะ" พันตรี Lippert(นาวิกโยธินสหรัฐฯ) กล่าวครับ

วันจันทร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2561

เครื่องบินขับไล่ F-35B เครื่องแรกที่ประกอบในอิตาลีถูกส่งมอบแล้ว

First Italian-Built F-35B Delivered To Italian Ministry Of Defense At Cameri Production Facility 

Photo credit: Italian Ministry of Defense
CAMERI, ITALY, January 25, 2018 – The first Short Take-Off/Vertical Landing (STOVL) F-35B Lightning II aircraft, assembled outside the United States, was delivered to the Italian Ministry of Defense
and assigned to the Italian Navy at the Final Assembly and Check Out (FACO) facility here today.
https://www.f35.com/news/detail/first-italian-built-f-35b-delivered-to-italian-ministry-of-defense-at-camer

เครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35B Lightning II JSF(Joint Strike Fighter) รุ่นบินขึ้นระยะสั้นขึ้นลงทางดิ่ง STOVL(Short Take-Off Vertical Landing) เครื่องแรกที่ทำการประกอบเครื่องนอกสหรัฐฯ
ได้ถูกส่งมอบให้กระทรวงกลาโหมอิตาลี และเข้าประจำการในกองทัพเรืออิตาลี(Marina Militare) แล้ว ณ โรงงานประกอบขั้นสุดท้ายและตรวจสอบ FACO(Final Assembly and Check Out) ใน Cameri อิตาลีเมื่อ 25 มกราคมที่ผ่านมา

เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นผลการการดำเนินความเป็นหุ้นส่วนที่แข็งแกร่งระหว่างกระทรวงกลาโหมอิตาลีรวมกับหุ้นส่วนภาคอุตสาหกรรมระหว่างบริษัท Leonardo อิตาลีร่วมกับบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯ
โรงงาน FACO ที่ดำเนินการโดย Leonardo อิตาลี ร่วมกับ LM ที่มีบุคลากรแรงงานที่มีทักษะกว่า 800คนได้ดำเนินการประกอบอย่างเต็มอัตราของเครื่องบินขับไล่ F-35A รุ่นบินขึ้นลงตามแบบ CTOL(Conventional Take-Off Landing), F-35B STOVL และการผลิตส่วนปีกของ F-35A

พลเอก Claudio Graziano หัวหน้าคณะเสนาธิการกลาโหมอิตาลี, พลเรือเอก Valter Girardelli ผู้บัญชาการกองทัพเรืออิตาลี, พลอากาศโท Francesco Langella ผู้อำนวยการ ARMAEREO สำนักยุทโธปกรณ์ทางอากาศอิตาลี
พลอากาศจัตวา Charles Docherty เจ้าหน้าที่สำนักงานโครงการร่วม F-35, Filippo Bagnato ผู้อำนวยการแผนกอากาศยาน Leonardo และ Mr. Doug Wilhelm รองประธานบริหารจัดการโครงการ F-35 Lockheed Martin ได้ร่วมกล่าวในเหตุการณ์สำคัญนี้

"สายการผลิตของ F-35B เครื่องแรกซึ่งเป็นรุ่นทีมีความซับซ้อนทางเทคนิคมากที่สุดที่โรงงาน FACO ที่อิตาลีแห่งนี้เป็นเครื่องพิศุจน์ถึงขีดความสามารถและคณภาพที่เยี่ยมยอดของภาคอุตสาหกรรมอากาศยานของอิตาลี
โรงงาน Cameri FACO เดินหน้าเพื่อพิสูจน์ตนเองในฐานะศูนย์รวมความดีเลิศของ F-35 ในภาคยุโรป" นาย Wilhelm กล่าว

ณ เวลานี้ F-35A 9เครื่อง และ F-35B 1เครื่องได้ถูกส่งมอบจากโรงงาน Cameri FACO อิตาลีแล้ว ซึ่งเป็นโรงงานอากาศยานแห่งเดียวนอกสหรัฐฯที่มีสายการผลิต F-35
F-35A และ F-35B เหล่านี้ 4เครื่องอยู่ที่ฐานทัพอากาศ Luke ในมลรัฐ Arizona สหรัฐฯเพื่อทำการฝึกนักบินร่วมนานาชาติ และอีก 5เครื่องอยู่ที่ฐานทัพอากาศ Amendola ที่อิตาลี

โรงงานอากาศยาน Cameri FACO ยังมีโครงการที่จะผลิตเครื่องบินขับไล่ F-35A จำนวน 29เครื่องสำหรับกองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์(Royal Netherlands Air Force)
และยังคงมีขีดความสามารถในการผลิต F-35 ส่งมอบให้กลุ่มประเทศหุ้นส่วนในยุโรปที่สั่งจัดหา F-35 ได้ถ้าได้รับการสั่งจัดหา ทั้งเดนมาร์ก และนอร์เวย์

F-35 Lightning II เป็นเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 ที่ผสมผสานการตรวจจับได้ยากขั้นก้าวหน้า(advanced stealth) กับความเร็วของเครื่องบินขับไล่ และความแคล่วคล่อง, ระบบภารกิจขั้นก้าวหน้า, ข้อมูลระบบตรวจจับผสมเต็มอัตรา, ปฏิบัติการแบบเครือข่าย และการดำรงสภาพที่ล้ำยุค
F-35 ทั้งสามรุ่น(F-35A F-35B F-35C) จะถูกนำมาทดแทนเครื่องบินขับไล่และเครื่องบินโจมตีรุ่นก่อนที่ประจำการในสหรัฐฯและอีกอย่างน้อย 11ประเทศทั่วโลก

ทั้งเครื่องบินโจมตี A-10 และเครื่องบินขับไล่ F-16 สำหรับกองทัพอากาศสหรัฐฯ(U.S. Air Force) เครื่องบินขับไล่ F/A-18 สำหรับกองทัพเรือสหรัฐฯ(U.S. Navy) F/A-18 และเครื่องบินโจมตี AV-8B Harrier II สำหรับนาวิกโยธินสหรัฐฯ(U.S. Marine Corps)
สำหรับอิตาลี F-35A และ F-35B จะถูกนำมาทดแทนเครื่องบินขับไล่โจมตี Panavia Tornado, เครื่องบินโจมตี AMX และ AV-8B

ปัจจุบันสายการผลิต F-35 ทั้งสามรุ่นมากกว่า 265เครื่องได้เริ่มส่งมอบให้ผู้ใช้ประเทศต่างๆแล้วทั่วโลก
และมีนักบิน F-35 ที่ได้รับการฝึกแล้ว 550นาย ที่มีชั่วโมงทำการบินรวมกันมากกว่า 120,000ชั่วโมงบินครับ

วันอาทิตย์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2561

อินโดนีเซียเผชิญความเสี่ยงโครงการเครื่องบินขับไล่ KF-X/IF-X กับเกาหลีใต้ และหารือการจัดหา Su-35 รัสเซีย

Indonesia faces risks over involvement in fighter programme
Indonesia’s involvement in the KFX/IFX programme could be readjusted due to funding issues. Source: IHS Markit/Patrick Allen
http://www.janes.com/article/77332/indonesia-faces-risks-over-involvement-in-fighter-programme

Russian delegation in Indonesia is discussing Sukhoi-35 contract — source
Sukhoi-35 is a generation 4++ highly maneuverable multirole fighter jet
http://tass.com/defense/986870

ขอบเขตการมีส่วนร่วมการลงทุนในอนาคตของอินโดนีเซียกับโครงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ยุคหน้าร่วมกับสาธาณรัฐเกาหลีคือ KF-X/IF-X(Korean Fighter Xperiment/Indonesia Fighter Xperiment) อาจจะถูกปรับเปลี่ยนแปลงได้เนื่องจากการขาดเงินทุนอย่างต่อเนื่อง
เจ้าหน้าที่กลาโหมอินโดนีเซียได้แถลงความห็นล่าสุดต่อสื่อท้องถิ่นว่าปัจจุบันมีการขาดงบประมาณราว 1.85 trillion Indonesian Rupiah($140 million) ที่จำเป็นจะต้องจะต้องจ่ายให้เกาหลีใต้ เพื่อการแลกเปลี่ยนสำหรับการลงทุนในโครงการตามข้อตกลงทางการเงินที่ลงนามในปี 2015

แหล่งข่าวในภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีองค์ความรู้โดยตรงของโครงการยังได้ยืนยันกับ Jane's ว่าการจ่ายวงเงินของอินโดนีเซียในโครงการยังมีการดำเนินการได้ไม่มากพอเนื่องจากการขาดแคลนงบประมาณกลาโหมอินโดนีเซียที่เพิ่มขึ้น
Jane's เข้าใจว่าเจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหมของเกาหลีใต้และอินโดนีเซียกำลังมีการเจรจาใหม่ในด้านการเงินลงทุนในโครงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ KF-X/IF-X ของอินโดนีเซีย(http://aagth1.blogspot.com/2017/10/kai-kf-x-if-x.html) และนั่นควรจะนำไปสู่การลดบทบาทในโครงการ

อย่างไรตามเป็นที่เข้าใจว่ารัฐบาลอินโดนีเซียยังไม่ได้ตัดสินใจที่จะถอนตัวออกจากโครงการ KF-X/IF-X การชำระค่าใช้จ่ายในโครงการของอินโดนีเซียปัจจุบันจะตามหลังอยู่ราวร้อยละ40 จากข้อตกลงที่มีผลผูกพัน แหล่งข่าวกล่าวกับ Jane's
แม้จะมีปัญหานี้โครงการยังคงเดินหน้าต่อ โดยวิศวกรและช่างเทคนิคราว 82คนจากบริษัทอุตสากรรมอากาศยานอินโดนีเซีย PT Dirgantara(PTDI) ยังคงอยู่ที่เกาหลีใต้ซึ่งมีความร่วมมือเป็นหุ้นส่วนกับ Korea Aerospace Industries(KAI) ผู้นำในการพัฒนาโครงการ KF-X/IF-X

การลงทุนเพื่อการมีส่วนรวมของอินโดนีเซียในโครงการได้อยู่ในการล้อมรั้ว(ring-fenced) ในปี 2018 แม้ว่าดูเหมือนมีการจ่ายตั้งแต่ปี 2015 นี่ได้เป็นหัวข้อในการตัดวงเงินที่ขึ้นอยู่ความความแข็งแกร่งของงบประมาณกลาโหมอินโดนีเซีย
การตัดงบประมาณจะมีผลให้เกิดการขาดเงินทุน ซึ่งมีเจตนาโดยรัฐบาลอินโดนีเซียที่จะสร้างความแตกต่างในภายหลังเมื่อสามารถหาเงินทุนได้มากกว่านี้ Jane's เข้าใจว่าในกรอบของการชำระเงินนี้จำเป็นจะต้องได้รับการเจรจาครับ

คณะตัวแทนของรัสเซียในอินโดนีเซียกำลังดำเนินการเจรจาเกี่ยวกับสัญญาการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-35(NATO กำหนดรหัส Flanker-E) ตามที่แหล่งข่าวในภาความร่วมมือด้านเทคนิคทางทหารกับต่างประเทศกล่าวกับ TASS เมื่อวันที่ 25 มกราคมที่ผ่านมา
"ตัวแทนของรัสเซียในอินโดนีเซียกำลังเจรจาในกรอบของสัญญาเพื่อการจัดหาเครื่องบินขับไล่ SU-35 แก่อินโดนีเซียหุ้นส่วนของเรา" แหล่งข่าวกล่าว ฝ่ายบริการสหพันธรัฐเพื่อความร่วมมือทางทหารรัฐบาลรัสเซียได้งดแสดงความเห็นในเรื่องนี้

ตามรายงานก่อนหน้านี้อินโดนีเซียมีความต้องการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-35 เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ Northrop F-5E Tiger II สหรัฐฯที่เก่าและล้าสมัยซึ่งประจำการในกองทัพอากาศอินโดนีเซีย(TNI-AU: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Udara) มาตั้งแต่ปี 1980
โดย Rostec กลุ่มอุตสาหกรรมความมั่นคงรัสเซียได้กล่าวในข้อเสนอทางการค้าภายหลังว่าจะมีการเสนอส่งมอบเครื่องบินขับไล่ SU-35 จำนวน 11เครื่องให้อินโดนีเซีย

Su-35 เป็นเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจยุคที่ 4++ ที่มีความคล่องแคล่วทางการบินสูงสุด ติดตั้ง Phased Arry Radar และเครื่องยนต์ปรับทิศทางแรงขับ(TVC: Thrust Vector Control)ได้ ทำความเร็วได้สูงสุด 2,500km/h มีพิสัยการบินไกลสุด 3,400km และมีรัศมีการรบ 1,600km
ระบบอาวุธของ Su-35 ติดตั้งปืนใหญ่อากาศ 30mm ความจุ 150นัดในลำตัวเครื่อง พร้อมตำบลอาวุธที่ปีกและใต้ลำตัวร่วม 12จุดแข็ง ซึ่งสามารถติดตั้งระเบิดและอาวุธปล่อยนำวิถีได้หลายแบบครับ

วันเสาร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2561

รัสเซียเพิกเฉยข้อกล่าวหาของสหรัฐฯต่อการขายเครื่องบินขับไล่ Su-30 ให้กองทัพอากาศพม่า

Russia ignores US charges over Sukhoi fighter jet supplies to Myanmar — Kremlin
Marina Lystseva/TASS
Russian weaponry has earned good reputation with Myanmar’s armed forces
http://tass.com/defense/987050

Foreign ministry slams State Department’s comment on Russian arms deliveries to Myanmar
Moscow also pointed to the losses and destruction that US weapons had inflicted on Southeast Asian countries during multiple wars
http://tass.com/politics/987094

รัฐบาลรัสเซียไม่ได้ให้ความสนใจต่อข้อกล่าวหาของรัฐบาลสหรัฐฯต่อกรณีการขายเครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-30 จำนวน 6เครื่องแก่กองทัพอากาศพม่า(Myanmar Air Force, Tatmadaw Lay)
ตามที่รัฐมนตรีกลาโหมรัสเซีย นาย Sergey Shoigu ได้บรรลุข้อตกลงกับรัฐบาลสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ระหว่างการเดินทางเยือนพม่าเมื่อวันที่ 22 มกราคมที่ผ่านมา

"รัสเซียได้ปฏิบัติตามบรรทัดฐาน, กฏเกณฑ์ และหลักการของกฏหมายสากลอย่างเสมอมา(ในกรอบความร่วมมือทางทหาร-เทคนิค) และจะยังคงเดินหน้าเช่นนั้นต่อไปในอนาคต
มันคงไม่จำเป็นที่จะต้องกล่าวว่า สำหรับเหตุผลนี้เราไม่สามารถที่จะให้ความสนใจต่อข้อกล่าวหาเช่นนี้(โดยสหรัฐฯต่อการจัดหาเครื่องบินขับไล่ให้พม่า)ได้" Dmitry Peskov โฆษกประจำตัวประธานาธิบดีรัสเซียกล่าวต่อสื่อเมื่อวันที่ 26 มกราคมที่ผ่านมา

พลโท Alexander Fomin รองรัฐมนตรีกลาโหมรัสเซีย ได้กล่าวเมื่อวันที่ 22 มกราคมที่ผ่านมาถึงการบรรลุข้อตกลงในการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-30 จำนวน 6เครื่องแก่พม่า
พลโท Fomin เชื่อว่าเครื่องบินขับไล่ Su-30 เหล่านี้ "จะกลายเป็นเครื่องบินขับไล่หลักของกองทัพอากาศพม่าเพื่อปกป้องบูรณภาพแห่งดินแดนและกำจัดภัยคุกคามการก่อการร้ายใดๆของประเทศพม่า"(http://aagth1.blogspot.com/2018/01/su-30-6.html)

ทั้งนี้ระบบอาวุธยุทโธปกรณ์ของรัสเซียได้รับการตอบรับที่ดีจากกองทัพพม่า(Myanmar Armed Forces, Tatmadaw) โดยเฉพาะในส่วนของกองทัพอากาศพม่าได้มีการจัดหาอากาศยานของรัสเซียมาประจำการแล้วหลายแบบ
เช่น เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป Mil Mi-17 12เครื่อง, เฮลิคอปเตอร์โจมตี Mil Mi-35P 10เครื่อง, เครื่องบินขับไล่ Mikoyan MiG-29B/MiG-29UB/MiG-29SE ราว 31เครื่อง และเครื่องบินฝึกรบไอพ่น Yakolev Yak-130 ที่สั่งจัดหา 12เครื่องได้รับมอบแล้ว 6เครื่อง

โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ นาง Heather Nauert กล่าวกับ TASS ว่า รัสเซียควรจะแสดงความเป็นหนึ่งเดียวกับประเทศอื่นๆ และความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่พม่า ขณะที่การส่งมอบอาวุธดังกล่าวให้พม่าอาจจะทำให้สถานการณ์ดังกล่าวเลวร้ายลงได้
กระทรวงการต่างประเทศรัสเซียได้ตอบโต้การแถลงของสหรัฐฯว่าได้รับอิทธิพลอย่างมากจากการ 'จินตนาการที่สมบูรณ์อย่างมาก' ต่อการที่สถานการณ์ของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

"ความร่วมมือในกรอบทางทหารและเทคนิคเป็นองค์ประกอบที่ถูกต้องตามกฎหมายของความสัมพันธ์ระหว่างรัฐถ้ามันไม่ได้เป็นการต่อต้านการตัดสินใจของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
การส่งมอบยุทโธปกรณ์ทางทหารของรัสเซียแก่พม่าได้มุ่งหมายที่จะเสริมสร้างยกระดับขีดความสามารถด้านการป้องกันของประเทศนี้" กระทรวงการต่างประเทศรัสเซียเน้นย้ำ

"คู่สัญญากับกระทรวงการต่างประเทศเท่านั้นที่มี 'จินตนาการที่สมบูรณ์อย่างมาก' อาจจะเห็นการเชื่อมโยงระหว่างการระบุภาระงานและภัยคุกคามของ 'ความทุกข์ทรมานอย่างมหาศาล' ของประชากรพลเรือน"
กระทรวงการต่างประเทศรัสเซียชี้ให้เห็นว่าการสูญเสียและการทำลายล้างจากอาวุธสหรัฐฯได้ลุกลามไปทั่วกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างหลายๆสงคราม

"อย่างไรก็ตามมันไม่ได้ห้ามปรามรัฐบาลสหรัฐฯจากการขายอาวุธสังหารแก่กลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และการสร้างการแสดงอำนาจทางทหารในพื้นที่ใกล้เคียงต่อทั่วทั้งภูมิภาคเฉพาะ" กระทรวงการต่างประเทศรัสเซียเน้นหนัก
สหรัฐฯและกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปได้แสดงความกังวลต่อสถานการณ์ความรุนแรงและการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่า ที่กองทัพพม่าได้มีการปฏิบัติการรบกับกองกำลังติดอาวุธกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆโดยมีการใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยซึ่งส่วนใหญ่จัดหาจากรัสเซียและจีน

Su-30SM เป็นเครื่องบินขับไล่สองที่นั่งพหุภารกิจยุคที่ 4+ ที่มีความคล่องแคล่วทางการบินสูง ติดตั้ง Phased Array Radar แบบ Bars-R เครื่องยนต์ปรับทิศทางแรงขับ Thrust Vector Control และ Canard แพนหางระดับรักษาเสถียรภาพที่หัวเครื่อง
ติดตั้งปืนใหญ่อากาศ 30mm ความจุ 150นัด และสามารถติดตั้งใช้อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศและอากาศสู่พื้นขั้นก้าวหน้าที่มีอยู่หรือกำลังพัฒนาได้หลายแบบ มีพิสัยทำการเมื่อไม่ทำการเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศและติดถังเชื้อเพลิงสำรองไกลถึง 3,000km ครับ

วันศุกร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2561

เรือบรรทุกเครื่องบิน Type 001A จีนลำใหม่อาจจะใกล้เริ่มการทดลองเรือในทะเล

Support ship for Type 001A's sea trials arrives in Dalian


This image shows Chinese carrier trials support ship No 89 berthed in Dalian next to the country’s second aircraft carrier, which is commonly referred to as the Type 001A. Source: Via Sina.com
http://www.janes.com/article/77246/support-ship-for-type-001a-s-sea-trials-arrives-in-dalian

การมาถึงของเรือสนับสนุนการทดลองเรือบรรทุกเครื่องบินหมายเลขเรือ 89 ที่อู่เรือใน Dalian ซึ่งจอดเทียบท่าใกล้กับเรือบรรทุกเครื่องบิน Type 001A เรือบรรทุกเครื่องบินลำที่สองของกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People’s Liberation Army Navy)
ได้เป็นการเร่งให้เกิดการคาดการณ์ว่ากองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนและอู่ต่อเรืออาจจะกำลังเตรียมการทดลองเรือเรือบรรทุกเครื่องบินลำใหม่ของตนในอนาคตอันใกล้นี้
การคาดการณ์ได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติมจากชุดภาพการปล่อยไอเสียจากการเดินเครื่องยนต์ของเรือบรรทุกเครื่องบิน Type 001A ซึ่งคาดว่าน่าจะมีการดำเนินการทดสอบระบบขับเคลื่อนของเรือควบคู่กันไปด้วย

ระหว่างการทดลองเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนคือ Type 001 CV-16 Liaoning ความยาวเรือ 304.5m ในขั้นต้น(เดิมคือเรือบรรทุกเครื่องชั้น Admiral Kuznetsov ชื่อ Varyag ที่จีนซื้อจากยูเครนในสภาพที่สร้างไม่เสร็จ และจีนนำมาสร้างใหม่เข้าประจำการในปี 2012)
เป็นเวลาเกือบตลอดการทดลองเรือที่เรือสนับสนุนการทดลอง Xu Xiake หมายเลขเรือ 88 ซึ่งสามารถบรรทุกกำลังพลที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติการได้ 2,500นาย อยู่ใกล้กับเรือบรรทุกเครื่องบิน Liaoning
การพบภาพเรือสนับสนุนหมายเลข 89 ซึ่งเป็นเรือน้องสาวในชั้น Xu Xiake ซึ่งถูกสร้างที่อู่ต่อเรือ Longxue ในอู่ต่อเรือนานาชาติ Guangzhou ที่พบครั้งแรกในกลางปี 2017 จึงเป็นที่คาดว่าเรือสนับสนุนลำใหม่นี้จะมีบทบาทเดียวกันในการทดลองเรือชั้น Type 001A

นอกจากที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก เรือสนับสนุนลำใหม่นี้น่าจะมีพื้นที่ทำงาน(เช่น สำนักงาน, ห้องบรรยายสรุป และส่วนแผนกวิเคราะห์) สำหรับวิศวกร, ผู้ควบคุม และผู้ปฏิบัติงานจำนวนมาก
ที่จำเป็นต่อการดำเนินการทดลองเรือบรรทุกเครื่องบินในทะเล และการยืนยันพิสูจน์ว่าระบบพลังงาน, ระบบขับเคลื่อน, ระบบอาวุธ และระบบเสริมที่เกี่ยวของเรือที่ติดตั้งนั้นมีความถูกต้องในการทำงานในทะเลตามที่วางไว้
ถึงจะมีการคาดการณ์เช่นนั้นก็ตาม แต่ยังไม่มีการกำหนดอย่างเป็นทางการว่าเรือบรรทุกเครื่องบิน Type 001A ที่ถูกปล่อยลงน้ำเมื่อ 26 เมษายน 2017 นั้น(http://aagth1.blogspot.com/2017/04/type-001a_26.html) จะมีการทดลองเรือในทะเลเมื่อไร

ชุดภาพถ่ายที่เผยแพร่ใน Online Forums จีนนั้นแสดงถึงก้าวย่างสำคัญในการติดตั้งระบบอาวุธและอุปกรณ์ตรวจจับของเรือบรรทุกเครื่องบิน Type 001A ซึ่งเสร็จสมบูรณ์ในเดือนพฤศจิกายน 2017 ด้วยการติดตั้งแผ่นจานสัญญาณของ Radar หลักแบบ Type 346A
ชุดภาพถ่ายอื่นยังประกอบไปด้วยการติดตั้งสายอากาศสื่อสารดาวเทียมซึ่งถูกติดตั้งในกลางเดือนธันวาคม 2017 ตามด้วยสายอากาศระบบตรวจจับสัญญาณไฟฟ้า(electronic support measure) และระบบต่อต้านรบกวนสัญญาณ electronic(electronic counter-measure)
ความรวดเร็วในการก่อสร้างเรือจะทำให้กองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนมีเรือบรรทุกเครื่องบินประจำการ 2ลำในระยะเวลาอันใกล้ รวมถึงกำลังมีการก่อสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินลำที่3 ในอนาคตคือ Type 002 ด้วยครับ

วันพฤหัสบดีที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2561

พิธีต้อนรับเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ T-50TH กองทัพอากาศไทยสองเครื่องแรก
















Royal Thai Air Force's Welcome Ceremony of first two of Korea Aerospace Industries (KAI) T-50TH Golden Eagle Lead-In Fighter Trainers(LIFT) serial 40101 and 40102, 401st Squadron, Wing 4 Takhli, Nakhon Sawan, Thailand, 25 January 2018

กองทัพอากาศรับเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นแบบ T-50TH ระยะที่ ๑

วันนี้ (วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๖๑) พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นประธานในพิธีต้อนรับเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นแบบ T-50TH จำนวน ๒ เครื่อง (จากทั้งหมด ๔ เครื่อง) 
พร้อมทั้งแสดงความยินดีกับนักบินของกองทัพอากาศ จำนวน ๖ คน ซึ่งจบหลักสูตร T-50TH จากบริษัท Korea Aerospace Industries, Ltd. (KAI) สาธารณรัฐเกาหลี และนักบินสาธารณรัฐเกาหลีที่ทำการบินนำส่งเครื่องบิน จำนวน ๔ คน ณ กองบิน ๔ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์

ตามที่กองทัพอากาศ ได้ดำเนินโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น ทดแทนเครื่องบินขับไล่/ฝึกแบบที่ ๑ หรือ L-39 ZA/ART ที่ใช้ในการฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นของกองทัพอากาศ ซึ่งบรรจุประจำการมาตั้งแต่ปี ๒๕๓๗ 
ปัจจุบันได้ทยอยปลดประจำการเนื่องจากมีความพร้อมปฏิบัติการลดลง มีข้อขัดข้องด้านการส่งกำลังและซ่อมบำรุงเครื่องยนต์ มีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเพิ่มขึ้น ไม่คุ้มค่าในการยืดอายุการใช้งาน 
และมีเทคโนโลยีที่ไม่ทันสมัย ไม่สามารถตอบสนองต่อภารกิจการฝึกกับเครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูงของกองทัพอากาศต่อไปได้

ดังนั้นกองทัพอากาศจำเป็นต้องจัดหาเครื่องบินขับไล่/ฝึกที่มีขีดความสามารถในการปฏิบัติการที่ดีกว่า เพื่อให้สามารถฝึกนักบินให้มีความคุ้นเคยกับเทคโนโลยีที่กองทัพอากาศมีอยู่ในปัจจุบันและในอนาคตได้ 
จึงได้พิจารณาจัดหาเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นแบบ T-50TH ที่มีขีดความสามารถ และมีเทคโนโลยีระบบการฝึกนักบินขับไล่ที่ทันสมัย และมีระบบ Embedded Tactical Training System (ETTS) ทำให้นักบินสามารถทำการฝึกบินได้อย่างเสมือนจริงและทุกสภาพอากาศ 
ก่อให้นักบินขับไล่ของกองทัพอากาศมีขีดความสามารถและทักษะเพิ่มสูงขึ้น การใช้ระบบเทคโนโลยีให้กับนักบินที่ทำการฝึกกับ Simulator นี้ ก่อให้เกิดความคุ้มค่า และสามารถประหยัดงบประมาณในการฝึกบินให้กับกองทัพอากาศได้ 
นอกจากนี้เครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น แบบ T-50TH สามารถปฏิบัติภารกิจครอบคลุมได้ทั้งการฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น และมีขีดความสามารถสูงใช้ปฏิบัติภารกิจการรบจริงได้ด้วย อีกทั้งตอบสนองการปฏิบัติภารกิจทั้งกิจเฉพาะหลัก 
ได้แก่ การฝึกนักบินขับไล่/โจมตีขั้นต้น และกิจเฉพาะรอง ได้แก่ การโจมตีทางอากาศ และการค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่การรบ โดยมีความสามารถในการติดตั้งใช้งานระบบอาวุธ ติดตั้งระบบเรดาร์ที่ทันสมัยเพื่อสามารถรองรับระบบอาวุธที่มีระยะไกลเกินสายตา

กองทัพอากาศได้พิจารณาจัดหาเครื่องบิน แบบ T-50TH จำนวน ๑๒ เครื่อง (ระยะที่ ๑ จำนวน ๔ เครื่อง และระยะที่ ๒ จำนวน ๘ เครื่อง) จากบริษัท Korea Aerospace Industries สาธารณรัฐเกาหลี 
โดยจัดทำเป็นโครงการผูกพัน ใช้งบประมาณเสริมสร้างกำลังกองทัพของกองทัพอากาศ ที่ได้รับในแต่ละปีมาจัดทำโครงการ สำหรับระยะที่ ๑ ใช้ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ปี ๒๕๕๘ – ๒๕๖๑ 
โดยได้จัดหาเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น แบบ T-50 TH รวม ๔ เครื่อง พร้อมอะไหล่ อุปกรณ์เครื่องมือที่จำเป็น โดยเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นแบบ T-50 TH ๒ เครื่องแรก ได้มาถึงประเทศไทยในวันนี้ (๒๕ มกราคม ๒๕๖๑) 
ส่วนเครื่องที่ ๓ และ ๔ จะมาถึงในต้นเดือน มีนาคม ๒๕๖๑ และจะมีพิธีบรรจุประจำการอย่างเป็นทางการหลังการตรวจรับขั้นสุดท้ายแล้วเสร็จ

สำหรับการพัฒนากำลังพลให้มีความพร้อม กองทัพอากาศได้ส่งนักบิน จำนวน ๖ คน เข้ารับการฝึกบินกับเครื่องบินแบบ T-50TH ณ สาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งขณะนี้นักบินดังกล่าวได้สำเร็จหลักสูตรครูการบิน และนักบินลองเครื่อง กับเครื่องบินแบบ T-50TH เป็นที่เรียบร้อยแล้ว 
โดยมีผลการฝึกอบรมอยู่ในเกณฑ์ดีเยี่ยม พร้อมปฏิบัติภารกิจกับเครื่องบิน T-50TH ทันทีเมื่อเครื่องบินได้รับการส่งมอบและบรรจุประจำการ
https://www.facebook.com/rtafnew/posts/961502034026072
https://www.facebook.com/rach2511/posts/10215524636927167
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1887821067955445.1073742494.768315146572715
https://www.facebook.com/กองบิน-4-Land-Of-The-King-Cobra-768315146572715/

Clip: นาทีประวัติศาสตร์ T-50TH Golden Eagle ครั้งแรก..บนผืนแผ่นดินไทย ณ กองบิน 4 (ตาคลี) นครสวรรค์ 25 มกราคม 2561
https://www.facebook.com/RTAFpage/videos/1917575634938684/

“ชั่วโมงการฝึกที่เท่ากัน ลงทุนด้วยงบประมาณที่น้อยกว่า และสามารถทำให้นักบินเก่งมากขึ้น” ด้วย Fighter Lead-in เครื่องบินฝึกขับไล่ขั้นต้น T-50TH Golden Eagle
https://www.facebook.com/RTAFpage/posts/1916558751707039

มีข้อมูลที่น่าสนใจอยู่หลายประการในส่วนระบบอาวุธของเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น Korea Aerospace Industries T-50TH Golden Eagle ๒เครื่องแรกหมายเลข 40101 และ40102
ที่กองทัพอากาศไทยจะนำเข้าประจำการ ณ ฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ ตาคลี ทดแทนเครื่องบินขับไล่และฝึก บ.ขฝ.๑ Aero Vodochody L-39ZA/ART Albatros สาธารณรัฐเชคที่ได้โอนย้ายไปรวมฝูงเดียวเป็นฝูงสุดท้ายที่ ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑๑ เชียงใหม่

จะเห็นได้จากภาพถ่ายระยะใกล้(Close-Up) ของ T-50TH ใหม่ทั้งสองเครื่องว่า ช่องของปืนใหญ่อากาศสามลำกล้องหมุน A-50 ขนาด 20mm ความจุกระสุน ๒๐๕นัดนั้น จะมีแผ่นบังในส่วนด้านบนของช่อง ปญอ.ซึ่งต่างจากเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙ Lockheed Martin F-16 Fighting Falcon
ซึ่งจากตำแหน่งช่องปืนกับฝาครอบนักบิน(Canopy)ของ T-50 ที่ห่างน้อยกว่า F-16 เข้าใจว่าแผ่นบังช่องปืนดังกล่าวน่าจะเพื่อกันสะเก็ด เขม่า และความร้อนที่เกิดระหว่างการยิงปืนใหญ่อากาศไม่ให้ถูกห้องนักบินโดยตรง

ในส่วนขีดความสามารถในการใช้ระบบอาวุธของเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ T-50TH นั้นนับว่ามีความก้าวหน้ามากอย่างมากเมื่อเทียบกับ บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART ที่ได้รับการปรับปรุงระบบอาวุธและ Avionnic ให้เป็นมาตรฐาน NATO โดยบริษัท Elbit อิสราเอล
ซึ่งเข้าประจำการตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๗(1994) ๓๖เครื่องในฝูงบิน๑๐๑ ฝูงบิน๑๐๒ และฝูงบิน๔๐๑ ต่อมามีการจัดหาเพิ่มอีก ๔เครื่องรวม ๔๐เครื่องทดแทนเครื่องที่สูญเสียไปจากอุบัติเหตุในการฝึก จนทยอยปลดเครื่องที่หมดอายุการใช้งานและมารวมที่ฝูงบิน๔๑๑ เป็นฝูงสุดท้ายในข้างต้น

L-39ZA/ART นั้นถูกกำหนดแบบเป็นเครื่องบินขับไล่และฝึกเนื่องจากสมรรถนะของเครื่องแม้ว่าจะติดตั้งเครื่องยนต์ Ivchenko AI-25TL กำลังขับ 3,800lbf ทำความเร็วสูงสุด 405knot ซึ่งต่ำกว่าความเร็วเสียง และไม่ติด Radar ควบคุมการยิงก็ตาม
แต่ L-39ZA/ART นั้นมีปืนใหญ่อากาศสองลำกล้อง GSh-23L 23mm สามารถติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ AIM-9 Sidewinder รวมถึงจรวดอากาศสู่พื้น 2.75" และระเบิดทำลาย Mk80s จึงมีสมรรถนะการรบใกล้เคียงกับเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๘/ก F-5A/B ที่ยังคงประจำการในช่วงนั้น

ในส่วนของระบบการฝึกนักบินพร้อมรบแบบบูรณาการที่กองทัพอากาศไทยและบริษัท KAI สาธารณรัฐเกาหลีประชาสัมพันธ์มาโดยตลอดแล้ว การนำเสนอแบบจำลองของ T-50TH นั้นถูกจัดแสดงในรูปแบบเครื่องบินขับไล่/โจมตีเบา FA-50 ที่มีขีดความสามารถในการใช้อาวุธสูงที่สุด
นอกจาก AIM-9, Hydra 70 และ Mk80s ที่ใช้กับ L-39 เดิมแล้ว T-50TH ยังรองรับอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น AGM-65 Maverick, ระเบิดนำวิถีอมภัณฑ์ย่อยนำ CBU-105 และระเบิดนำวิถีดาวเทียม GBU-38/GBU-32 JDAM เป็นต้นด้วย

ทั้งนี้จากการประชาสัมพันธ์ของกองทัพอากาศไทยที่แสดงว่าระบบ Radar ควบคุมการยิงของ T-50TH นั้นน่าจะเป็นแบบ EL/M-2032 อิสราเอล เช่นเดียวกับโครงการปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๘ ข/ค F-5E/F Super Tigris ๑๔เครื่องของ ฝูงบิน๒๑๑ กองบิน๒๑ อุบลราชธานี
(http://aagth1.blogspot.com/2017/08/f-5-super-tigris.html)
กองทัพอากาศไทยอาจจะมีความต้องการที่จะให้ T-50TH สามารถรองรับอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลางระยะยิงเกินสายตา(BVR: Beyond Visual Range) ที่ FA-50 เองยังไม่มีการทดสอบรองรับในตอนนี้ไม่ว่าจะเช่น AIM-120 AMRAAM หรือ Rafael I-Derby ครับ

วันพุธที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2561

กองทัพอากาศไทยเตรียมรับมอบเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ T-50TH



Royal Thai Air Force(RTAF) has announced that first two of Korea Aerospace Industries (KAI) T-50TH Golden Eagle Lead-In Fighter Trainers(LIFT) serial 40101 and 40102, 401st Squadron, Wing 4
to be ferry flight delivery from Royal Malaysian Air Force Base Kuantan(Sultan Ahmad Shah Airport),Pahang, Malaysia, to Wing 4 RTAF Base Takhli, Nakhon Sawan, Thailand in 25 January 2018

25 ม.ค. 61, 10.45น. เตรียมพบกับ บ.ฝึก แบบใหม่ของกองทัพอากาศ (T-50TH)จากประเทศเกาหลีใต้ สำหรับ บ.ฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นแบบ T-50TH เป็น บ.ที่
1.ใช้เทคโนโลยีระบบการฝึกนักบินขับไล่ที่ทันสมัยที่สุดในโลก
2.มีความคุ้มค่าและใช้งบประมาณในการฝึกต่ำลง เนื่องจากมีระบบ Embedded Tactical Training System
3.นบ. ขับไล่ของ ทอ. มีขีดความสามารถและทักษะที่สูงขึ้น
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1886642681406617.1073742493.768315146572715
https://www.facebook.com/กองบิน-4-Land-Of-The-King-Cobra-768315146572715/

"T-50TH Golden Eagle" คลายข้อสงสัย การเลื่อนกำหนดการส่งมอบครั้งที่ผ่านมา
https://www.facebook.com/RTAFpage/posts/1916886905007557

นาทีประวัติศาสตร์... "T-50TH Golden Eagle" ครั้งแรกบนผืนแผ่นดินไทย! ณ กองบิน4 จว.นครสวรรค์
ขอเชิญร่วมต้อนรับน้องใหม่เขี้ยวเล็บแห่งทัพฟ้าไทย ได้โดยติดตามชมผ่านทาง facebook live ในวันที่ 25 ม.ค.61 เวลา 10.45 น.
https://www.facebook.com/RTAFpage/posts/1916736735022574
https://www.facebook.com/RTAFpage

กองทัพอากาศไทยได้ประกาศยืนยันว่าเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ T-50TH Golden Eagle ๒เครื่องแรก(หมายเลข 40101 และ 40102) ที่ขณะนี้อยู่ที่ฐานทัพอากาศ Kuantan กองทัพอากาศมาเลเซีย(RMAF: Royal Malaysian Air Force, TUDM: Tentera Udara Diraja Malaysia) นั้น
มีกำหนดทำการบินเดินทางส่งมอบมายัง กองบิน๔ ตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ประเทศไทย ในเวลา ๑๐๔๕น. ของวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๑(2018) เพื่อทำพิธีต้อนรับเครื่อง

เดิม T-50TH ของกองทัพอากาศไทยมีกำหนดจะบินเดินทางมาถึง กองบิน๔ ตาคลี ในวันที่ ๑๑ มกราคม ต่อมาเนื่องจากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยจึงถูกเลื่อนเป็นวันที่ ๑๒ มกราคม
และต่อมามีการตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์ไอพ่น Turbofan แบบ General Electric GE F404 พบว่าส่วนใบพัดกังหันมีรอยบิ่นเล็กน้อยที่เกิดจากการบินผ่านสภาพอากาศที่แปรปรวนอย่างรุนแรง การบินส่งมอบจึงถูกเลื่อนออกไปจนกว่าเครื่องจะได้รับการเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่

โดยเส้นทางการบินเดินทางส่งมอบ T-50TH ๒เครื่องแรกของไทยนั้นเริ่มจากฐานทัพอากาศ Sacheon กองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลี(Republic of Korea Air Force)ใน Gyeongsangnam-do สาธารณรัฐเกาหลีเมื่อวันที่ ๘มกราคม(http://aagth1.blogspot.com/2018/01/t-50th_9.html)
แวะพักจุดแรกที่ท่าอากาศยานนานาชาติ Kaohsiung ไต้หวัน เมื่อวันที่ ๙ มกราคม(http://aagth1.blogspot.com/2018/01/t-50th_10.html) จากนั้นเดินทางต่อไปแวะพักจุดที่สองที่ฐานทัพอากาศ Clark กองทัพอากาศฟิลิปปินส์(Philippine Air Force) บนเกาะ Luzon ฟิลิปปินส์

จากนั้นไปจุดแวะพักที่สามที่ฐานทัพอากาศ Labuan กองทัพอากาศมาเลเซีย รัฐ Sabah ทางตะวันออกของมาเลเซีย และจุดแวะพักที่สี่ซึ่งเป็นจุดแวะพักสุดท้ายที่ฐานทัพอากาศ Kuantan ที่รัฐ Pahang มาเลเซีย ในวันที่ ๑๐ มกราคม(http://aagth1.blogspot.com/2018/01/t-50th_11.html)
ซึ่งช่วงระหว่างการเดินทางจาก Labuan ไป Kuantan นั้น สภาพอากาศในพื้นที่มีความแปรปรวนรุนแรงและเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก จึงเป็นที่เข้าใจว่าปัจจัยด้านสภาพอากาศซึ่งเป็นเหตุทางธรรมชาติที่ไม่สามารถควบคุมได้จะเป็นสาเหตุที่เครื่องยนต์ได้รับความเสียหายดังกล่าว

บริษัท Korea Aerospace Industries(KAI) สาธารณรัฐเกาหลีผู้ผลิตเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ T-50TH ได้ดำเนินการซ่อมโดยเปลี่ยนเครื่องยนต์ที่เสียหายเป็นเครื่องใหม่ และมีการทดสอบว่าระบบสมบูรณ์เรียบร้อยขณะที่ทั้ง ๒เครื่องยังจอดที่ฐานทัพอากาศ Kuantan มาเลเซียแล้ว
โดยก่อนที่กองทัพอากาศไทยจะรับมอบเครื่องนั้น T-50TH จะยังอยู่ความรับผิดชอบของบริษัท KAI เกาหลีใต้ ที่จะดำเนินการให้การบริการสนับสนุนต่อเพื่อสร้างความมั่นใจลูกค้า(http://aagth1.blogspot.com/2018/01/t-50th_21.html)

กองทัพอากาศไทยลงนามสัญญากับบริษัท KAI เกาหลีใต้ในโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น T-50TH ระยะที่๑ จำนวน ๔เครื่อง วงเงิน ๓,๗๐๐ล้านบาท($108 million) เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๘(2015)
ต่อมากองทัพอากาศไทยได้ลงนามสัญญาจัดหาT-50TH ระยะที่๒ จำนวน ๘เครื่อง วงเงิน ๘,๘๐๐ล้านบาท($258 million) เมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐(2017) รวม ๑๒เครื่อง โดย ๒เครื่องหลัง(หมายเลข 40103 และ 40104)มีกำหนดส่งมอบเดือนมีนาคม ๒๕๖๑(2018) และอีก ๘เครื่องในเดือนตุลาคม ๒๕๖๒(2019)

โดยกองทัพอากาศไทยนับเป็นลูกค้ารายล่าสุดของเครื่องบินฝึกไอพ่น/โจมตีเบาตระกูล KAI T-50 Golden Eagle ของเกาหลีใต้ในกลุ่มประเทศ ASEAN(ซึ่งเส้นทางบินเดินทางส่งมอบเครื่องไทยนั้นเป็นเส้นทางที่เคยบินส่งมอบให้ประเทศกลุ่มนี้มาก่อน)
ต่อจากกองทัพอากาศอินโดนีเซีย(Indonesian Air Force, Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Udara)รุ่นเครื่องบินฝึกไอพ่น T-50I ๑๖เครื่อง และกองทัพอากาศฟิลิปปินส์(Philippine Air Force) รุ่นเครื่องบินขับไล่/โจมตีเบา FA-50PH ๑๒เครื่อง

เครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ T-50TH จะเข้าประจำการที่ฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ เป็นฝูงแรกเพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ฝึก บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART สาธารณรัฐเชคที่เข้าประจำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๗(1994) ที่ปัจจุบันโอนย้ายไปรวมที่ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ เชียงใหม่ เป็นฝูงสุดท้ายฝูงเดียว
ทั้งนี้ทาง KAI เกาหลีใต้หวังให้กองทัพอากาศไทยมีการสั่งจัดหา T-50TH ระยะที่๓ เพิ่มอีก ๔เครื่องในเร็วๆนี้ เพื่อให้ฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ มีจำนวนเครื่องเข้าประจำการครบอัตรา ๑๖เครื่องครับ(http://aagth1.blogspot.com/2017/11/kai-t-50th-2018-2019.html)

สหรัฐฯอนุมัติการขายเครื่องบินขับไล่ F-35A แก่เบลเยียม

US approves potential F-35 sale to Belgium
The US government has approved the potential sale of 34 F-35A fighters to Belgium to replace the country's F-16s. (Benoit Denet)
http://www.janes.com/article/77216/us-approves-potential-f-35-sale-to-belgium

รัฐบาลสหรัฐฯได้อนุมัติความเป็นไปได้ในการขายเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35A Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) แก่เบลเยียม
การอนุมัติซึ่งได้รับการผ่านความเห็นชอบโดยกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯและมีการประกาศโดยสำนักงานความร่วมมือด้านความปลอดภัยความมั่นคงสหรัฐฯ(DSCA: Defense Security Cooperation Agency) เมื่อวันที่ 19 มกราคมที่ผ่านมา

เอกสารที่ประกาศโดย DSCA ครอบคลุมการอนุมัติการขายเครื่องบินขับไล่ F-35A จำนวน 34เครื่อง, เครื่องยนต์ Turbofan แบบ Pratt & Whitney F135 จำนวน 38เครื่อง
อะไหล่, ระบบอุปกรณ์เสริม เช่นระบบสงคราม Electronic ระบบควบคุมและบัญชาการ ระบบสื่อสาร ระบบนำร่องและพิสูจน์ฝ่าย, เครื่องฝึกจำลองการบิน และการสนับสนุนในวงเงิน $6.53 billion

กองทัพอากาศเบลเยียม(BAC: Belgian Air Component) มีความต้องการในการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ทดแทนเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16AM รุ่นที่นั่งเดียว 44เครื่อง และ F-16BM รุ่นสองที่นั่ง 10เครื่อง
โดยในกรอบระยะเวลาช่วงปี 2023-2030 กองทัพอากาศเบลเยียมมีความต้องการจัดหาเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจใหม่ 34เครื่อง

F-35A สหรัฐฯ และ Eurofighter Typhoon ยุโรป เป็นเครื่องบินขับไล่สองแบบที่เป็นที่ทราบในขณะนี้ว่าเป็นตัวเลือกในการพิจารณาของกองทัพอากาศเบลเยี่ยมในการทดแทนเครื่องบินขับไล่ F-16AM/BM ของตน
ก่อนหน้านี้บริษัท Boeing สหรัฐฯได้ถอนตัวจากการเสนอเครื่องบินขับไล่ F/A-18E/F Super Hornet จากการแข่งขัน โดย Boeing อ้างว่ามีคู่แข่งรายหนึ่งที่มีข้อได้เปรียบอย่างไม่เป็นธรรมกับผู้แข่งขันรายอื่น(คือ F-35A)

ขณะที่บริษัท Saab สวีเดนก็ได้ถอนตัวการนำเสนอเครื่องขับไล่ Gripen E ของตนเช่นกันเนื่องจากเหตุผลด้านการเมือง(http://aagth1.blogspot.com/2017/07/gripen-e.html)
(มีการเปิดเผยว่าเบลเยียมน่าจะใช้เครื่องบินขับไล่ใหม่ในภารกิจทางนิวเคลียร์ของตน ซึ่งอาจจะหมายถึงขีดความสามารถในการใช้อาวุธนิวเคลียร์หรือกิจกรรมทางด้านนิวเคลียร์อื่นๆ)

อีกทั้งยังมีความสับสนในสถานะของเครื่องบินขับไล่ Dassault Rafale ฝรั่งเศสซึ่งไม่เคยมีการถูกส่งเสนอให้เบลเยี่ยมอย่างเป็นทางการ(http://aagth1.blogspot.com/2017/09/dassault-rafale.html)
แต่มีอยู่ในส่วนหนึ่งของชุดความร่วมมือระหว่างกันวงเงิน 20 billion Euros($24.4 billion) ที่ฝรั่งเศสเสนอให้เบลเยียมถ้าเครื่องบินขับไล่ Rafale ได้รับเลือกจากกองทัพอากาศเบลเยียม

การอนุมัติการขายเครื่องบินขับไล่ F-35A ให้เบลเยียมของรัฐบาลสหรัฐฯไม่ได้เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าเบลเยียมได้เลือกหรือแม้แต่ได้ตัดสินใจจัดหา F-35 แล้วแต่อย่างใด
แต่เป็นขั้นตอนการบริหารจัดการตามปกติที่ต้องทำการดำเนินการก่อนล่วงหน้าสำหรับการขายอาวุธยุทโธปกรณ์ให้กับรัฐบาลต่างประเทศของรัฐบาลสหรัฐฯ

อย่างไรก็ตามเครื่องบินขับไล่ F-35A เป็นที่ชื่นชอบอย่างมากในการทำให้เบลเยียมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเครื่องบินขับไล่นานาชาติ MNFP(Multinational Fighter Program)
ที่รวมสหรัฐฯและชาติยุโรปส่วนให้ที่เป็นผู้ใช้งานเครื่องบินขับไล่ F-16AM/BM ทั้งเบลเยี่ยม เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ และนอร์เวย์ ที่จะถูกทดแทนด้วย F-35A ครับ

วันจันทร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2561

กองทัพอากาศพม่าจะจัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-30 รัสเซีย 6เครื่อง

Moscow to deliver six Su-30 fighter aircraft to Myanmar
Russia will supply six Su-30 fighter jets to Myanmar
Marina Lystseva/TASS
http://tass.com/defense/986222

รัสเซียจะทำการส่งมอบเครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-30 จำนวน 6เครื่องให้กองทัพอากาศพม่า(Myanmar Air Force, Tatmadaw Lay) โดยการบรรลุข้อตกลงระหว่างที่รัฐมนตรีกลาโหมรัสเซีย นาย Sergey Shoigu เดินทางเยือนสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
ตามที่ พลโท Alexander Fomin รองรัฐมนตรีกลาโหมรัสเซียกล่าวเมื่อวันที่ 22 มกราคมที่ผ่านมา "ระหว่างการเดินทางเยือนของรัฐมนตรีกลาโหมรัสเซียข้อตกลงได้รับบรรลุ ซึ่งภายใต้ข้อตกลงนี้พม่าจะจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ Su-30 6เครื่อง" เขากล่าว

พลโท Fomin ยังเสริมว่าเครื่องบินขับไล่ Su-30 เหล่านี้ "จะกลายเป็นเครื่องบินขับไล่หลักของกองทัพอากาศพม่าเพื่อปกป้องบูรณภาพแห่งดินแดนและกำจัดภัยคุกคามการก่อการร้ายใดๆของประเทศพม่า"
ตามที่รองรัฐมนตรีกลาโหมรัสเซียกล่าว อาวุธยุทโธปกรณ์จากรัสเซียได้รับการพิสูจน์ถึงขีดความสามารถของพวกมันในการนำไปใช้ในปฏิบัติการของกองทัพพม่า(Myanmar Armed Forces, Tatmadaw) แล้ว

"ระบบอาวุธรัสเซียที่กองทัพพม่ามีโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เฮลิคอปเตอร์โจมตี Mil Mi-35P และเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป Mil Mi-17 เช่นเดียวกับเครื่องบินขับไล่ Mikoyan MiG-29 เครื่องบินฝึกรบไอพ่น Yakolev Yak-130
รวมถึงระบบป้องกันภัยทางอากาศอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ Pechora-2 และอาวุธยุทโธปกรณ์อื่นๆ" พลโท Fomin ระบุชี้ชัด

พลโท Fomin ยังได้รายงานอีกว่า เจ้าหน้าที่ทหารของกองทัพพม่ามากกว่า 600นายกำลังอยู่ระหว่างการเรียนที่สถาบันการศึกษาทางทหารชั้นสูงของกองทัพรัสเซีย
"ทั้งหมดนี้เป็นการช่วยกระชับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และขอบมหาสมุทรแปซิฟิก" พลโท Fomin สรุป

ในวันที่ 20-22 มกราคมที่ผ่านมา รัฐมนตรีกลาโหมรัสเซีย Shoigu ได้เดินทางเยือนพม่าอย่างเป็นทางการ ข้อตกลงระหว่ารัฐบาลทั้งประเทศเกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกให้เรือรบของกองทัพเรือรัสเซียสามารถใช้งานท่าเรือของพม่าได้ได้รับการลงนานระหว่างการเยือนนี้
และการพูดคุยหารือระหว่างผู้บัญชาการสูงสุดกองทัพพม่า พลเอกอาวุโส(Senior General) Min Aung Hlaing กับรัฐมนตรีกลาโหมรัสเซีย Shoigu ได้มีขึ้นเช่นกัน

Su-30SME เป็นเครื่องบินขับไล่หนักสองที่นั่งพหุภารกิจรุ่นส่งออกในกลุ่มเครื่องบินขับไล่ยุคที่ 4+ ของรัสเซีย มีความคล่องแคล่วทางการบินสูง ติดตั้ง Phased Array Radar แบบ Bars-R เครื่องยนต์ปรับทิศทางแรงขับ Thrust Vectoring และ Canard แพนหางระดับรักษาเสถียรภาพที่หัวเครื่อง
มีขีดความสามารถในการติดตั้งใช้อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศและอากาศสู่พื้นขั้นก้าวหน้าที่มีอยู่หรือกำลังพัฒนาได้หลายแบบ มีพิสัยทำการเมื่อไม่ทำการเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศและติดถังเชื้อเพลิงสำรองไกลถึง 3,000km

ปัจจุบันกองทัพอากาศพม่านอกจากเครื่องบินขับไล่ MiG-29B/MiG-29UB/MiG-29SE ราว 31เครื่อง, เครื่องบินฝึกรบไอพ่น Yak-130 ที่สั่งจัดหารวม 12เครื่องโดยได้รับมอบแล้ว 6เครื่อง(http://aagth1.blogspot.com/2017/12/yak-130-atr-42-mpa-fokker-70.html)
และเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-35P 10เครื่องที่ได้รับการซ่อมบำรุงจากรัสเซีย(http://aagth1.blogspot.com/2017/10/mi-35p.html) และปรับปรุงติดกล้อง FLIR ที่น่าจะเป็นแบบ Controp iSky-50HD(DSP-HD) อิสราเอลนั้น(http://aagth1.blogspot.com/2017/10/mi-35p-tvflir.html)

การจัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-30 ใหม่ 6เครื่องจากรัสเซียนับเป็นการทวีกำลังขีดความสามารถของกองทัพอากาศพม่าในการมีเครื่องบินขับไล่ครองอากาศโจมตีทางลึกตระกูล Su-30 ที่มีประจำการในหลายประเทศ ASEAN
เช่น Su-30MKM กองทัพอากาศมาเลเซีย(Royal Malaysian Air Force) Su-30MK2 กองทัพอากาศประชาชนเวียดนาม(Vietnam People's Air Force) และ Su-30MK/Su-30MK2 กองทัพอากาศอินโดนีเซีย(Indonesian Air Force)

ก่อนหน้านี้เองก็มีรายงานว่ากองทัพอากาศพม่าให้ความสนใจเครื่องบินขับไล่ Mikoyan MiG-35 ซึ่งเป็น MiG-29 รุ่นที่มีความก้าวหน้าสูงใหม่ล่าสุดด้วย(http://aagth1.blogspot.com/2017/08/su-35-mig-35.html)
ทั้งนี้กองทัพอากาศพม่ากำลังอยู่ระหว่างการรับมอบเครื่องบินขับไล่ JF-17 จีน-ปากีสถานที่สั่งจัดหา 16เครื่องในเร็วๆนี้(http://aagth1.blogspot.com/2017/06/jf-17.html) โดยมีแผนที่จะเปิดสายการผลิตประกอบ JF-17 ในพม่าด้วยครับ(http://aagth1.blogspot.com/2017/02/jf-17.html)

อินโดนีเซียนำ KC-46A Pegasus และ Airbus A330 MRTT เป็นตัวเลือกเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ

Indonesia puts KC-46A Pegasus, Airbus A330 in frame for aerial tanker requirement
An Airbus A330 MRTT of the Royal Australian Air Force. Indonesia is studying the platform for a possible procurement in the 2020–24 timeframe. Source: Airbus
http://www.janes.com/article/77173/indonesia-puts-kc-46a-pegasus-airbus-a330-in-frame-for-aerial-tanker-requirement

กองทัพอากาศอินโดนีเซีย(TNI-AU: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Udara) ได้เริ่มการศึกษาเพื่อขยายขีดความสามารถด้านการเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศของกองทัพ
ด้วยการมองการตั้งโครงการจัดหาเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศอย่างเป็นทางการจำนวน 2เครื่องในปี 2024 ตามที่ทางกองทัพอากาศอินโดนีเซียกล่าวกับ Jane's เมื่อ 18 มกราคมที่ผ่านมา

แบบเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศที่ถูกนำมาเป็นตัวเลือกในการศึกษาคือ Airbus A330 MRTT(Multirole Tanker-Transport) ยุโรป(มีพื้นฐานจากเครื่องบินโดยสารไอพ่น Airbus A330)
และ Boeing KC-46A Pegasus สหรัฐฯ ซึ่งเป็นรุ่นทางทหารพัฒนามาจากเครื่องบินโดยสารไอพ่น Boeing 767

หัวข้อที่จะถูกนำมาพิจารณาในการศึกษาประกอบด้วยความเหมาะสมกับความต้องการในการปฏิบัติการของอินโดนีเซีย ความเข้ากับได้กับระบบเติมเชื้อเพลิงของอากาศยานที่กองทัพอากาศอินโดนีเซียมีประจำการอยู่
การทำงานร่วมกันกับสิ่งที่มีอยู่เดิมและในอนาคต และค่าใช้จ่ายตลอดอายุการใช้งาน

ดังนั้นการที่จะได้รับพิจารณาจึงมีความเป็นไปได้ต่อทางเลือกการลงทุนภายในอินโดนีเซียและต่างประเทศที่สามารถเคาะตามได้ และศักยภาพสำหรับข้อตกลงการถ่ายทอด Technology ต่อบริษัทในอินโดนีเซีย
เช่น PT Dirgantara Indonesia(PTD) รัฐวิสาหกิจด้านอุตสาหกรรมอากาศยานของรัฐบาลอินโดนีเซีย ตามที่ กองทัพอากาศอินโดนีเซียกล่าว

การเสร็จสิ้นการศึกษานี้จะเป็นการปูทางไปการยังกำหนดการตั้งค่าของโครงการ และกองทัพอากาศอินโดนีเซียคาดว่าจะตั้งโครงการจัดหาอย่างเป็นทางการและได้รับงบประมาณจากกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียในปี 2020-2024
โดยคาดว่านี่จะเป็นโครงการจัดหาอากาศยานด้านการส่งกำลังบำรุงหลักที่สำคัญครั้งหน้าของกองทัพอากาศอินโดนีเซียหลังจากการสั่งจัดหาเครื่องบินลำเลียง Airbus A400M Atlas 5เครื่องเมื่อปี 2017(http://aagth1.blogspot.com/2017/01/airbus-a400m-5.html)

ช่วงก่อนเดือนมิถุนายน 2015 กองทัพอากาศอินโดนีเซียมีเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ Lockheed KC-130B สหรัฐฯ 2เครื่องที่ติดตั้งกระเปาะเติมเชื้อเพลิงที่ได้รับมอบเข้าประจำการมาตั้งแต่ต้นปี 1960s
KC-130B เครื่องหนึ่งเกิดอุบัติเหตุตกที่ Medan เมื่อ 30 มิถุนายน 2015 หลังจากที่มีปัญหาเครื่องยนต์ขัดข้อง และจากนั้นมากองทัพอากาศอินโดนีเซียต้องพึ่งพา KC-130B ที่เหลือเพียงเครื่องเดียวในการเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ

เครื่องบินเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ KC-130B ที่เหลือเพียงเครื่องเดียวปัจจุบันประจำการอยู่ที่ฝูงบิน32(Skadron Udara 32) ฐานทัพอากาศ Abdul Rachman Saleh ใน Malang
ทั้งนี้กองทัพอากาศอินโดนีเซียมีอากาศยานที่ใช้ระบบเติมเชื้อเพลิงทางอากาศที่แตกต่างกันหลายแบบ เช่น เครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16A/B/C/D สหรัฐที่ใช้ระบบ boom กับเครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-27SK/Su-30MK รัสเซียที่ใช้ระบบ probe and drogue ครับ

วันอาทิตย์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2561

เครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ T-50TH กองทัพอากาศไทยกำลังรอเปลี่ยนเครื่องยนต์ที่เสียหายใหม่

Thailand seeks engine replacement for damaged T-50 aircraft
initial two T-50TH Golden Eagle lead-in fighter trainers (LIFT) are currently parked at the Royal Malaysian Air Force’s Kuantan Airbase after their flight from South Korea was disrupted and diverted due to extreme turbulent weather, said the Royal Thai Air Force (RTAF).
http://www.janes.com/article/77138/thailand-seeks-engine-replacement-for-damaged-t-50-aircraft
https://www.facebook.com/nan4249

กองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) ยืนยันว่าการส่งมอบเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ T-50TH Golden Eagle ๒เครื่องแรกให้กองทัพอากาศไทย(หมายเลข 40101 และ 40102) นั้นได้ถูกทำให้ล่าช้าออกไป
เนื่องจากเครื่องยนต์ไอพ่น Turbofan แบบ General Electric GE F404 ของเครื่องได้รับความเสียหายระหว่างที่ทั้งสองเครื่องทำการบินเดินทางเพื่อส่งมอบจากสาธารณรัฐเกาหลีมาไทย

T-50TH ทั้งสองเครื่องขณะนี้กำลังจอดอยู่ที่ฐานทัพอากาศ Kuantan กองทัพอากาศมาเลเซีย((RMAF: Royal Malaysian Air Force, TUDM: Tentera Udara Diraja Malaysia) หลังจากเครื่องทำการบินส่งมอบจากเกาหลีใต้
โดยเครื่องยนต์ในส่วนใบพัดกังหันถูกตรวจพบว่ามีสภาพผิดปกติที่เกิดจากการบินผ่านสภาพอากาศที่แปรปรวนอย่างรุนแรงสุดขั้วระหว่างทำการบินเดินทางตามที่กองทัพอากาศไทยกล่าว

ขณะนี้เป็นที่เข้าใจว่ากองทัพอากาศไทยกำลังหารือกับบริษัท Korea Aerospace Industries(KAI) สาธารณรัฐเกาหลีผู้ผลิตเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ T-50TH เกี่ยวกับการเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่ก่อนการรับมอบเครื่องเข้าประจำการอย่างเป็นทางการซึ่งเป็นความรับผิดชอบในการบริการของบริษัท
ซึ่งเดิม T-50TH ของกองทัพอากาศไทยมีกำหนดจะบินเดินทางมาถึง กองบิน๔ ตาคลี ในวันที่ ๑๑ มกราคม ต่อมาเนื่องจากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยจึงถูกเลื่อนเป็นวันที่ ๑๒ มกราคม และจากการตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์จึงถูกเลื่อนออกไปจนกว่าเครื่องจะได้รับการเปลี่ยน ย.ใหม่

สำหรับเส้นทางการบินเดินทางส่งมอบ T-50TH ๒เครื่องแรกของกองทัพอากาศไทยนั้นเริ่มจากฐานทัพอากาศ Sacheon กองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลี(Republic of Korea Air Force)ใน Gyeongsangnam-do สาธารณรัฐเกาหลีเมื่อวันที่ ๘มกราคม(http://aagth1.blogspot.com/2018/01/t-50th_9.html)
แวะพักจุดแรกที่ท่าอากาศยานนานาชาติ Kaohsiung ไต้หวัน เมื่อวันที่ ๙ มกราคม(http://aagth1.blogspot.com/2018/01/t-50th_10.html) จากนั้นเดินทางต่อไปแวะพักจุดที่สองที่ฐานทัพอากาศ Clark กองทัพอากาศฟิลิปปินส์(Philippine Air Force) บนเกาะ Luzon ฟิลิปปินส์

จากนั้นเดินทางไปจุดแวะพักที่สามที่ฐานทัพอากาศ Labuan กองทัพอากาศมาเลเซีย ที่รัฐ Sabah ทางตะวันออกของมาเลเซีย และจุดแวะพักที่สี่ซึ่งเป็นจุดแวะพักสุดท้ายที่ฐานทัพอากาศ Kuantan กองทัพอากาศมาเลเซีย ที่รัฐ Pahang มาเลเซีย ในวันที่ ๑๐ มกราคม(http://aagth1.blogspot.com/2018/01/t-50th_11.html)
ซึ่งช่วงระหว่างการเดินทางจาก Labuan ไป Kuantan นั้น สภาพอากาศในพื้นที่มีความแปรปรวนอย่างรุนแรงและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาก จึงเป็นที่เข้าใจว่าปัจจัยด้านสภาพอากาศซึ่งเป็นเหตุสุดวิสัยทางธรรมชาติจะเป็นสาเหตุที่เครื่องยนต์ได้รับความเสียหาย

(การบินเดินทางจากไต้หวันผ่านทะเลจีนใต้เข้ามามาที่ไทยผ่านทางเวียดนาม ลาว หรือกัมพูชา เป็นเส้นทางบินที่ไม่สามารถกระทำได้เนื่องจากไม่มีสนามบินให้แวะระหว่างเส้นทาง รวมถึงทะเลจีนใต้เป็นพื้นที่พิพาททางพรมแดนของหลายประเทศไม่เหมาะที่จะให้เครื่องบินรบเดินทางผ่าน
รวมถึงการใช้เส้นทางจากเกาหลีใต้ผ่านทางแผ่นดินใหญ่จีนมายังไทยนั้นก็ไม่สามารถทำได้ เนื่องจาก T-50TH ติดตั้งระบบอุปกรณ์ที่ทันสมัยของตะวันตกหลายอย่าง การบินผ่านจีนไม่น่าจะได้รับการยินยอมจากประเทศผู้ผลิตอุปกรณ์ด้วยเหตุผลด้านการรักษาความลับของระบบ)

เครื่องยนต์ไอพ่น GE F404-102 กำลังขับเมื่อใช้สันดาปท้าย 17,700lbs ที่ติดตั้งกับเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ KAI T-50TH นั้นถูกผลิตภายใต้สิทธิบัตรจากบริษัท General Electric สหรัฐฯโดยบริษัท Hanwha Techwin(Samsung Techwin เดิม) สาธารณรัฐเกาหลี
โดย ย.ไอพ่น GE F404 เป็นเครื่องยนต์ที่มีความน่าเชื่อถือสูงและถูกติดตั้งเป็นเครื่องยนต์หลักของเครื่องบินขับไล่ชั้นนำ เช่น Boeing F/A-18A/B/C/D Hornet สหรัฐฯ HAL Tejas อินเดีย และถูกพัฒนาเป็นเครื่องยนต์ไอพ่น Volvo RM12 สำหรับเครื่องบินขับไล่ SAAB Gripen สวีเดน

กองทัพอากาศไทยลงนามสัญญากับบริษัท KAI เกาหลีใต้ในโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น T-50TH ระยะที่๑ จำนวน ๔เครื่อง วงเงิน ๓,๗๐๐ล้านบาท($108 million) เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๘(2015)
ต่อมากองทัพอากาศไทยได้ลงนามสัญญาจัดหาT-50TH ระยะที่๒ จำนวน ๘เครื่อง วงเงิน ๘,๘๐๐ล้านบาท($258 million) เมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐(2017) รวมสั่งจัดหาแล้ว ๑๒เครื่อง

ทั้งนี้เครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ T-50TH ระยะที่๑ ชุด ๒เครื่องหลัง(หมายเลข 40103 และ 40104)มีกำหนดส่งมอบในเดือนมีนาคม ๒๕๖๑(2018) และระยะที่๒ อีก ๘เครื่องมีกำหนดส่งมอบในเดือนตุลาคม ๒๕๖๒(2019)
ซึ่งทาง KAI เกาหลีใต้หวังให้กองทัพอากาศไทยมีการสั่งจัดหา T-50TH ระยะที่๓ เพิ่มอีก ๔เครื่องในเร็วๆนี้ เพื่อให้ฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ ที่จะได้รับมอบเครื่องเข้าประจำการมีจำนวนครบอัตรา ๑๖เครื่อง(http://aagth1.blogspot.com/2017/11/kai-t-50th-2018-2019.html)

อย่างไรก็ตามสำหรับโครงการจัดหา T-50TH เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ฝึก บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART สาธารณรัฐเชคที่เข้าประจำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๗(1994) ที่ปัจจุบันถูกโอนย้ายไปรวมที่ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ เชียงใหม่ ฝูงเดียวเป็นฝูงสุดท้ายนั้น
ผู้บัญชาการทหารอากาศไทย พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง ได้ให้สัมภาษณ์สื่อว่ากองทัพอากาศไทยมีความเข้มงวดสูงสุดในมาตรฐานการตรวจรับมอบอากาศยานเข้าประจำการ ซึ่งถ้าเครื่องไม่สมบูรณ์พร้อมที่จะส่งมอบก็จะไม่มีการรับมอบเครื่องครับ

วันเสาร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2561

เฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-1W นาวิกโยธินสหรัฐฯจะถูกขายต่อให้ลูกค้านานาชาติ

USMC SuperCobras to be sold off to international customers
ith the USMC retiring its AH-1W SuperCobras (pictured) in favour of the AH-1Z Viper, the US government is to begin selling off the surplus helicopters to international customers. Source: IHS Markit/Patrick Allen
http://www.janes.com/article/77142/usmc-supercobras-to-be-sold-off-to-international-customers

รัฐบาลสหรัฐฯได้เสนอที่จะขายเฮลิคอปเตอร์โจมตี Bell AH-1W SuperCobra ของนาวิกโยธินสหรัฐฯ(USMC: US Marine Corps) ที่เป็นส่วนเกินที่เก็บรักษาไว้แก่ลูกค้ามิตรประเทศนานาชาติในการขายรูปแบบ Foreign Military Sales(FMS) หรือ Direct Commercial Sale(DCS)
เฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-1W SuperCobra กำลังอยู่ในขั้นตอนการทยอยปลดประจำการจากนาวิกโยธินสหรัฐฯจนหมดในปี 2020 เนื่องจากได้รับมอบเฮลิคอปเตอร์โจมตี Bell AH-1Z Viper รุ่นใหม่ล่าสุดที่มีความทันสมัยกว่า

ตามการอ้างจาก Website Federal Business Opportunities(FedBizOpps) ว่ารายการที่วางแผนขาย ฮ.โจมตี AH-1W ออกไปจะเป็นครั้งแรกที่ติดตั้งห้องนักบินแบบ Glass Cockpit และการฝึกนักบิน/ช่างซ่อมบำรุงที่จะมอบให้แก่ลูกค้าในอนาคต
กองบัญชาการระบบอากาศนาวี(NAVAIR: Naval Air Systems Command) ได้อยู่ในการสนับสนุนสำนักงานโครงการเฮลิคอปเตอร์โจมตีเบา H-1(PMA-276) ที่จะจัดงานวันอุตสาหกรรมในวันที่ 24 มกราคมสำหรับกลุ่มผู้สนใจงานปรับปรุงนี้

AH-1W ได้เข้าประจำการในนาวิกโยธินสหรัฐฯตั้งแต่ปี 1986 โดยเป็น ฮ.โจมตีรุ่นที่มีขีดความสามารถสูงในตระกูล AH-1 Cobra ที่ถูกนำมาใช้ครั้งแรกในสมัยสงครามเวียดนาม(AH-1G รุ่นเครื่องยนต์เดี่ยว และ AH-1J SeaCobra รุ่นสองเครื่องยนต์) และยังคงประจำการในหลายประเทศทั่วโลก
เช่น บาเรนห์(AH-1E), อิหร่าน(AH-1J), จอร์แดน(AH-1E/AH-1F), เคนย่า(AH-1F), ปากีสถาน(AH-1F/AH-1Z), สาธารณรัฐเกาหลี(AH-1S/AH-1F), ไต้หวัน(AH-1W), ญี่ปุ่น(AH-1S), ตุรกี(AH-1F/AH-1W) และกองทัพบกไทย(Royal Thai Army AH-1F)

การขาย ฮ.โจมตี AH-1W SuperCobra ส่วนเกินเหล่านี้สามารถเป็นได้ทั้งการเสริมกำลังต่อฝูงบินเฮลิคอปเตอร์โจมตีที่มีอยู่ของลูกค้าเดิม หรือมอบขีดความสามารถด้านอากาศยานโจมตีปีกหมุนแก่ลูกค้ารายใหม่
ซึ่งหลายประเทศที่เป็นลูกค้า ฮ.โจมตีตระกูล AH-1 Cobra เดิมก็ได้มีโครงการจัดหา ฮ.โจมตีแบบใหม่มาทดแทนไปแล้ว หรืออยู่ระหว่างการตั้งโครงการจัดหา ฮ.โจมตีใหม่(เช่นกองทัพบกไทย http://aagth1.blogspot.com/2017/09/blog-post_18.html)

AH-1W ติดตั้งเครื่องยนต์ Turboshaft แบบ General Electric T700-GE-401 สองเครื่อง สามารถทำความเร็วได้สูงสุด 147knots พิสัยทำการ 256nmi(474km) เพดานบินสูงสุด 18,700ft(จำกัดที่ 10,000ft จากความต้องการ Oxygen) ในทุกรูปแบบการรบพื้นฐาน
ด้วยน้ำหนักบินขึ้นสูงสุด 6,697kg ฮ.โจมตี AH-1W ติดตั้งปืนใหญ่อากาศ Gatling สามลำกล้องหมุน M197 ขนาด 20mm ความจุกระสุน 750นัด ที่ใต้หัวเครื่อง และมีคานตำบลอาวุธภายนอกสี่จุด

AH-1W สามารถติดตั้งกระเปาะจรวดอากาศสู่พื้น Hydra 70mm และ Zuni 127mm, อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นต่อสู้รถถัง TOW และ AGM-114 Hellfire, อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ AIM-9 Sidewinder และอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านการแพร่คลื่น radar AGM-122 Sidearm
AH-1W ยังติดตั้งระบบชี้เป้าหมายเวลากลางคืน/กล้องสร้างภาพความร้อน(FLIR: Forward Looking Infrared) Radar ซึ่งมี Laser วัดระยะ/กำหนดเป้าหมาย และกล้องถ่ายภาพครับ

วันศุกร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2561

รัสเซียเริ่มการส่งมอบระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-400 ให้จีน

Russia begins delivery of S-400 missile systems to China — source
Vitaliy Nevar/TASS
Moscow has begun the delivery of the S-400 Triumf air defense missile systems to China under the 2014 contract
http://tass.com/defense/985601

รัสเซียได้เริ่มการส่งมอบระบบป้องกันภัยทางอากาศอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ S-400 Triumf ให้กับสาธารณรัฐประชาชนจีนภายใต้สัญญาที่ลงนามในปี 2014 ตามที่แหล่งข่าวในภาคความร่วมมือทางทหารรัสเซียเปิดเผยกับ TASS เมื่อวันที่ 18 มกราคม
"การดำเนินการปฏิบัติตามสัญญาได้เริ่มขึ้นแล้ว การจัดส่งระบบชุดแรกได้ถูกส่งไปยังจีนแล้ว" แหล่งข่าวกล่าว

ตามข้อมูลจากแหล่งข่าวการจัดส่งประกอบด้วยสถานีที่บังคับการ, สถานี Radar, อุปกรณ์พลังงานและสนับสนุน, ชิ้นส่วนอะไหล่ เครื่องมือหลายแบบ และส่วนประกอบอื่นๆของระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-400
แหล่งข่าวยังให้ข้อมูลอีกว่าสัญญากับจีนที่ระบุไว้นั้นไม่มีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับทั้งการถ่ายทอด Technology หรือสิทธิบัตรการผลิตของ S-400 แก่จีนแต่อย่างใด

ในปี 2017 รัสเซียได้ทำการฝึกอบรมกำลังพลของกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน(PLA: People’s Liberation Army) เพื่อการใช้งานระบบ S-400
แต่ขณะเดียวกันฝ่ายบริการเพื่อความร่วมมือทางทหารของสหพันธรัฐรัสเซียได้ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นใดๆ

ในเดือนพฤศจิกายน 2014 มีการประกาศว่ารัสเซียและจีนได้ลงนามสัญญาจัดหาระบบ S-400 และเดือนพฤศจิกายน 2015 ผู้ช่วยประธานาธิบดีรัสเซียด้านความรวมมือทางทหาร Vladimir Kozin ได้ยืนยันถึงสัญญาดังกล่าว(http://aagth1.blogspot.com/2014/04/s-400.html)
ในเดือนมิถุนายน 2016 ประธาน Rostec กลุ่มอุตสาหกรรมความมั่นคงรัสเซีย Sergei Chemezov กล่าวว่าจีนจะได้รับมอบระบบ S-400 ภายในไม่เกินปี 2018 และล่าสุด 7 ธันวาคม 2017 Chemezov กล่าวว่าการส่งมอบจะมีขึ้นในอนาคตอันใกล้

จีนเป็นลูกค้าส่งออกรายแรกที่จัดซื้อระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-400 จากรัสเซีย ขณะที่ลูกค้ารายที่สองคือตุรกี ที่ในเดือนกรกฎาคม 2017 ประธานาธิบดีตุรกี Recep Tayyip Erdogan แถลงว่า "เอกสารที่เกี่ยวข้อง" ในการจัดซื้อระบบ S-400 ได้รับการลงนามแล้ว
โดยวันที่ 12 กันยายน 2017 รัสเซียได้ยืนยันว่าได้มีสัญญาจัดหากับตุรกีแล้ว โดยตุรกีเป็นประเทศสมาชิก NATO ชาติแรกที่จัดหาระบบ S-400 Triumf รัสเซีย(http://aagth1.blogspot.com/2017/10/s-400.html, http://aagth1.blogspot.com/2017/12/s-400.html)

S-400 Triumf(NATO กำหนดรหัส SA-21 Growler) เป็นระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยานพิสัยไกลที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดที่เข้าประจำการในกองทัพรัสเซียเมื่อปี 2007
S-400 ถูกออกแบบเพื่อการทำลายอากาศยาน อาวุธปล่อยนำวิถีร่อน และขีปนาวุธ รวมถึงอาวุธปล่อยนำวิถีพิสัยกลาง และเป้าหมายภาคพื้นดิน S-400 สามารถโจมตีเป้าหมายหลายเป้าหมายได้พร้อมกันในระยะยิงไกลถึง 400km และที่เพดานยิงสูงถึง 30km

ปัจจุบันมีเพียงกองทัพรัสเซียเท่านั้นที่มีระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-400 ประจำการโดยกำลังจะมีกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนเป็นผู้ใช้งานรายที่สองและลูกค้าส่งออกรายแรกในอนาคตอันใกล้ ทั้งนี้รัสเซียมีแผนที่จะส่งออก S-400 ให้กับสี่ประเทศคือจีนกับตุรกีตามข้างต้น
อินเดีย(http://aagth1.blogspot.com/2016/10/s-400-triumf-s-300.html,http://aagth1.blogspot.com/2017/02/pak-fa-2017-5-s-400-50.html) และซาอุดิอาระเบียครับ(http://aagth1.blogspot.com/2017/10/thaad-s-400.html)

วันพฤหัสบดีที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2561

TKMS เยอรมนีเริ่มการสร้างเรือดำน้ำ Type 218SG ของสิงคโปร์ลำที่3 และ4

TKMS begins work on Singapore’s third and fourth Type 218SG submarines



A computer-generated cross section image of the Type 218SG. Source: Ministry of Defence, Singapore
http://www.janes.com/article/77100/tkms-begins-work-on-singapore-s-third-and-fourth-type-218sg-submarines

บริษัท ThyssenKrupp Marine Systems(TKMS) เยอรมนีได้เริ่มต้นการสร้างเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้าตามแบบติดระบบขับเครื่องแบบไม่ใช้อากาศ AIP(Air-Independent Propulsion) ชั้น Type 218SG ลำที่3 และลำที่4 สำหรับกองทัพเรือสิงคโปร์(RSN: Republic of Singapore Navy)
พิธีตัดแผ่นเหล็กของเรือดำน้ำชั้น Type 218SG ชุดล่าสุดมีขึ้นที่เยอรมนีเมื่อวันที่ 12 มกราคมที่ผ่านมาตามการประกาศของกระทรวงกลาโหมสิงคโปร์เมื่อวันที่ 15 มกราคมที่ผ่านมา

กระทรวงกลาโหมสิงคโปร์เปิดเผยครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม 2017 ว่าได้มีการสั่งจัดหาเรือดำน้ำชั้น Type 218SG เพิ่มเติม 2ลำ หลังจากที่ก่อนหน้าได้มีการสั่งจัดหาเรือดำน้ำ U218SG 2ลำแรกกับ TKMS เยอรมนีในปี 2013(http://aagth1.blogspot.com/2017/05/type-218sg-2.html)
เรือดำน้ำชั้น Type 218SG 2ลำแรกได้มีพิธีตัดเหล็กเมื่อปี 2015 และมีกำหนดส่งมอบให้กองทัพเรือสิงคโปร์ในปี 2021 และ 2022 ตามลำดับ โดยเรือลำที่ 3 และลำที่4 คาดว่าจะถูกส่งมอบให้ได้ตั้งแต่ปี 2024 เป็นต้นไป

"เรือดำน้ำ Type 218SG จะมีระเวลาปฏิบัติการนาน, มีระบบตรวจจับที่ดีกว่า และมีหมัดที่ยิ่งใหญ่กว่าเป็นชุด เช่นเดียวกับขีดความสามารถที่ล้ำยุคอื่นๆ
ทุกการออกแบบเพื่อประสบผลประสิทธิภาพการรบที่สูงขึ้นในสภาพแวดล้อมปฏิบัติการที่เป็นเอกลักษณ์ของเรา" กระทรวงกลาโหมสิงคโปร์กล่าวในการแถลงเมื่อ 15 มกราคม

แม้ว่าทั้งกระทรวงกลาโหมสิงคโปร์และกองทัพเรือสิงคโปร์จะไม่ได้ให้รายละเอียดของเรือนอกเหนือจากคำอธิบายข้างต้นนี้ แต่จากแบบจำลองของ Type 218SG ที่ TKMS จัดแสดงในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ทางเรือ IMDEX 2015 และ IMDEX 2017 นั้น
เรือดำน้ำชั้น Type 218SG มีลำตัวเรือยาวประมาณ 70m ตัวเรือความดันมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6.3m และจะมีระวางขับน้ำประมาณ 2,000tons เมื่อเรืออยู่ผิวน้ำ

Type 218SG มีพื้นฐานพัฒนามาจากเรือดำน้ำชั้น Type 214 ขณะที่มีการนำคุณสมบัติต่างๆจากเรือดำน้ำชั้น Type 212A มาใช้
โดย Type 218SG มีหางเสือท้ายเรือเป็นรูปตัว X ซึ่งช่วยให้เรือมีความคล่องตัวในการเคลื่อนที่ในเขตน้ำตื้นมากขึ้น ตรงข้ามกับเรือที่ใช้หางเสือแบบรูปเครื่องหมาย +

ปัจจุบันกองทัพเรือสิงคโปร์มีเรือดำน้ำชั้น Archer 2ลำคือ RSS Archer และ RSS Swordsman เข้าประจำการในปี 2011 และ 2013 ตามลำดับ ซึ่งเดิมคือเรือดำน้ำชั้น A17 Västergötland กองทัพเรือสวีเดนที่ได้รับปรับปรุงใหม่
ส่วนเรือดำน้ำชั้น Challenger ทั้ง 4ลำคือ RSS Challenger, RSS Conqueror, RSS Centurion และ RSS Chieftain ที่เดิมคือเรือดำน้ำชั้น A12 Sjöormen กองทัพเรือสวีเดน ที่เป็นเรือดำน้ำชุดแรกของกองทัพเรือสิงคโปร์ที่เข้าประจำการในปี 1997-2004 นั้น

RSS Challenger และ RSS Centurion ได้ถูกปลดประจำการตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม 2015 และเป็นที่เข้าใจว่า RSS Conqueror และ RSS Chieftain น่าจะใกล้ถูกปลดประจำการลงในอนาคตอันใกล้เช่นกัน
ทั้งนี้เมื่อรวมเรือดำน้ำชั้น Archer ทั้ง 2ลำ กับเรือดำน้ำชั้น Type 218SG ที่กำลังสร้างอยู่ 4ลำ จะทำให้กองทัพเรือสิงคโปร์คงกำลังรบเรือดำน้ำของตนที่จำนวน 6ลำต่อไปในอนาคตครับ