วันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

สหรัฐฯมองหาอาวุธนำวิถีความแม่นยำสูงพิสัยไกลใหม่สำหรับเครื่องบินโจมตี Gunship และอากาศยานแบบอื่น

USSOCOM seeks powered stand-off precision-guided munition for gunships and other aircraft
A US Marine Corps KC-130J Harvest HAWK gunship showing the ramp-mounted tube launchers for the aft-firing AGM-176A Griffin A missile.
The Griffin could satisfy a new USSOCOM requirement to equip a number of air platforms, including US Air Force AC-130W/J gunships. Source: US Marine Corps
http://www.janes.com/article/78188/ussocom-seeks-powered-stand-off-precision-guided-munition-for-gunships-and-other-aircraft



กองบัญชาการปฏิบัติการพิเศษสหรัฐฯ(USSOCOM: US Special Operations Command) ได้ออกเอกสารขอข้อมูล(RFI: Request for Information) สำหรับการจัดหาอาวุธนำวิถีความแม่นยำสูงพิสัยไกล(SOPGM: Stand-Off Precision-Guided Munition) ที่ขับเคลื่อนด้วยตนเอง
สำหรับนำมาใช้งานกับเครื่องบินโจมตี Gunship ที่ดัดแปลงจากเครื่องบินลำเลียง Lockheed Martin C-130 Hercules และ Cessna Grand Caravan เช่นเดียวกับระบบอากาศยานอื่นๆที่ไม่มีการเปิดเผย

RFI ซึ่งถูกประกาศเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมามีขึ้นสำหรับโครงการจัดหาอาวุธนำวิถี SOPGM สำหรับติดตั้งบนเครื่องบินโจมตี Gunship ของกองบัญชาการปฏิบัติการพิเศษกองทัพอากาศ(AFSOC: Air Force Special Operations Command) กองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force)
คือเครื่องบินโจมตี Gunship แบบ AC-130W Dragon Spear/Stinger II และ AC-130J Ghostrider, เครื่องบินโจมตีเบา AC-208 Combat Caravan ของมิตรประเทศ และอากาศยานมีคนขับและอากาศไร้คนขับของหน่วยปฏิบัติการพิเศษ(SOF: Special Operations Forces) แบบอื่นๆ

ตามเอกสาร RFI อาวุธนำวิถี SOPGM ควรจะมีน้ำหนักตัวอาวุธที่ 50lbs(รวมน้ำหนักชุดท่อยิง CLT: Common Launch Tube ซึ่งตัวอาวุธจะถูกยิงออกมาแล้ว), ควรจะสามารถติดตั้งอาวุธได้ภายในลำตัวหรือภายนอกลำตัวอากาศยาน,
ควรจะสามารถสังหารเป้าหมายบุคคลที่อยู่ประจำที่หรือกำลังเคลื่อนที่ดำเนินกลยุทธ และทำลายยานยนต์ไม่หุ้มเกราะได้(ที่ความเร็วเกิน 60mph หรือ 97km/h สำหรับอย่างหลัง)

อาวุธนำวิถี SOPGM คววรจะสามารถให้ผู้ใช้งานเลือกรูปแบบชนวนที่จะใช้งานได้ทั้งแบบระเบิดแตกอากาศ(Air Burst) และแบบกระทบแตก(contact detonation)
และควรจะมีหัวรบแบบ Modular ที่สามารถเปลี่ยนนำออกหรือแทนที่ได้ตามความต้องการผู้ใช้งานโดยไม่ต้องการการดัดแปลงต่อส่วนประกอบของตัวอาวุธอื่นในสภาพแวดล้อมที่ไม่ใช่ระดับโรงงาน

อาวุธนำวิถี SOPGM จะต้องมีความพร้อมทางด้าน Technology (Technology Readiness Level) ระดับ9(คือระบบได้ถูกพิสูจน์การใช้งานในปฏิบัติการรบจริงแล้ว)
และความพร้อมทางด้านการบูรณาการ(Integration Readiness Level) ระดับ5(คือระบบควคุมขั้นส่วนพอประมาณระหว่างวิทยาการที่จำเป็นสำหรับการบูรณาการ) ตามลำดับ

และอาวุธนำวิถี SOPGM จะต้องได้รับการสาธิตความน่าเชื่อถือในระดับที่สูงกว่าร้อยละ90 และมีค่าความคลาดเคลื่อนที่เป็นไปได้ต่อความแม่นยำต่ำกว่ากว่า 2m ร้อยละ90(ได้ถึง 100 หรือมากกว่าในการปฏิบัติการที่เกี่ยวข้อง)
ทั้งนี้เครื่องบินโจมตี Gunship KC-130J Harvest HAWK นาวิกโยธินสหรัฐฯ(USMC: US Marine Corps), AC-130W และ AC-130J กองทัพอากาศสหรัฐฯได้มีการนำอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น AGM-176 Griffin ของบริษัท Raytheon สหรัฐฯมาทดสอบใช้แล้ว ซึ่งน่าจะตรงตามความต้องการโครงการ SOPGM ครับ

วันอังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

อินโดนีเซียจัดหาอากาศยานรบไร้คนขับ Wing Loong I UAV จีน 4ระบบ

Indonesia acquires four Wing Loong I UAVs from China
The Wing Loong I UAV seen here in PLAAF livery. Indonesia has acquired four UAVs of the same type from China. (IHS Markit/Kelvin Wong)
http://www.janes.com/article/78147/indonesia-acquires-four-wing-loong-i-uavs-from-china

รัฐบาลอินโดนีเซียได้สั่งจัดหาอากาศยานไร้คนขับติดอาวุธเพดานบินปานกลางระยะทำการนาน(MALE UAV: Medium-Altitude Long-Endurance Unmanned Aerial Vehicle) แบบ Wing Loong I จำนวน 4ระบบ
จาก Aviation Industry Corporation of China(AVIC) รัฐวิสาหกิจด้านอุตสาหกรรมอากาศยานของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยสัญญาจัดหามีการลงนามเมื่อปี 2017 ที่ผ่านมา

ระบบอากาศยานไร้คนขับ Wing Loong I UAV จะเข้าประจำการในกองทัพอากาศอินโดนีเซีย(TNI-AU: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Udara) ณ ฝูงบิน51(Skadron Udara 51)
หลายแหล่งข่าวในกองบัญชาการกองทัพแห่งชาติอินโดนีเซีย(TNI: Tentara Nasional Indonesia) ที่ Cilangkap ได้ต่างแยกกันยืนยันในช่วงระหว่างวันที่ 22-25 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

ฝูงบิน51 กองทัพอากาศอินโดนีเซีย มีที่ตั้งใกล้กับเมือง Pontianak ในจังหวัด Kalimantan ตะวันตก และฝูงบินใช้ทางวิ่งร่วมกับท่าอากาศยานนานาชาติ Supadio
ปัจจุบันฝูงบิน51 ประจำการด้วยระบบอากาศยานไร้คนขับทางยุทธวิธี Aerostar ของบริษัท Aeronautics อิสราเอล ซึ่งติดตั้งกล้องตรวจจับ EO/IR(Electro-Optic/Infrared) บนแท่น gimbal แบบรักษาการทรงตัวสำหรับภารกิจตรวจการณ์

การจัดหา Wing Loong I UAV จะทำให้ฝูงบิน51 เป็นฝูงบินผสมอากาศยานไร้คนขับที่มี UAV ที่ต่างกันสองแบบประจำการเป็นฝูงบินแรกของกองทัพอากาศอินโดนีเซีย เช่นเดียวกับมิตรประเทศในกลุ่ม ASEAN อย่าง
กองทัพอากาศไทย(Royal Thai Air Force) ที่ฝูงบิน๔๐๔ กองบิน๔ มีประจำการด้วยอากาศยานไร้คนขับ Aerostar BP และ Orbiter II อิสราเอล รวมถึง TEAGLE EYE II Small UAV, Sky Scout U-1 Tactical UAV และ Tiger Shark II Tactical UAV ที่พัฒนาภายในไทยเป็นต้น

Wing Loong I UAV ถูกพัฒนาและผลิตโดย Chengdu Aircraft Design and Research Institute(CADI) ในเครือ AVIC จีน มีความยาว 8.7m สูง 2.8m และมีปีกกว้าง 14m น้ำหนักบินขึ้นสูงสุด(MTOW: Maximum Take-Off Weight) 1,150kg และสามารถบรรทุกได้ 200kg
ติดตั้งเครื่องยนต์ลูกสูบ 1เครื่อง และสามารถทำเพดานบินสงสุด 7,500 m(24,600 ft) มีพิสัยทำการไกลสุด 108nmi(200km) ปฏิบัติการได้นานราว 20ชั่วโมง

ระบบตรวจจับที่ติดตั้งกับ Wing Loong I UAV มี Radar ค้นหาและกู้ภัย(SAR: Search-and-Rescue) แบบ DH-3010 และแท่นกล้องตรวจจับ EO/IR แบบ LE380 ของ AVIC Luoyang
และมีตำบลอาวุธใต้ปีกทั้งสองข้างรวมสองจุดที่สามารถติดตั้งอาวุธได้หลายแบบ เช่น อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นต่อต้านยานเกราะนำวิถี Laser แบบ Blue Arrow 7 หนัก 47kg และ Blue Arrow 9 หนัก 26.5 kg รวมถึงระเบิดนำวิถี Laser แบบ GB7 50kg เป็นต้น

นอกจากกองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAAF: People’s Liberation Army Air Force) ที่ประจำการ Wing Loong I UAV หรือในชื่อ GJ-1(Gongji-1) แล้ว จีนยังได้ส่งออกให้กับ Wing Loong UAV หลายประเทศทั่วโลก
เช่น อียิปต์, ซาอุดิอาระเบีย, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, คาซัคสถาน, อุซเบกิสถาน และไนจีเรีย ซึ่งถูกใช้ในปฏิบัติการรบจริงเช่นการโจมตีกลุ่มติดอาวุธก่อการร้ายมาแล้ว โดยมีอินโดนีเซียเป็นลูกค้าที่ได้รับการเปิดเผยล่าสุดและเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครับ

วันจันทร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

รถถังหลัก Challenger 2 อังกฤษใกล้คัดเลือกแบบแผนการปรับปรุงยืดอายุ

Challenger 2 MBT LEP selection draws closer
The British Army is updating its ageing Challenger 2 main battle tanks. Source: IHS Markit/Patrick Allen
http://www.janes.com/article/78099/challenger-2-mbt-lep-selection-draws-closer

ขั้นตอนการประเมินค่า(AP: Assessment Phase) เพื่อการตัดสินใจเลือกผู้ชนะการแข่งขันโครงการยืดอายุการใช้งาน(LEP: Life Extension Programme)
ของรถถังหลัก Challenger 2 กองทัพบกสหราชอาณาจักร(British Army) มีกำหนดจะเสร็จสิ้นภายในสิ้นปี 2018นี้

สองผู้เข้าแข่งขันในโครงการคือบริษัท BAE Systems สหราชอาณาจักรเป็นผู้นำร่วมทีมกับ General Dynamics Land Systems UK และบริษัท Rheinmetall เยอรมนี
กำลังแข่งขันสำหรับโอกาสการได้รับสัญญาปรับปรุงรถถังหลัก Challenger 2 จำนวน 227คัน ที่ประจำการในสามกองพลน้อยทหารราบยานเกราะเช่นเดียวกับกองการฝึกในแคนาดาและสหราชอาณาจักร

ทั้งสองบริษัทได้รับมอบ ถ.หลัก Challenger 2 จำนวน 2คันสำหรับแต่ละบริษัทเพื่อการประเมินผล โดยจะมีรถหนึ่งคันที่ได้การปรับปรุงตามแบบแผนอย่างเต็มรูปแบบ ขณะที่อีกหนึ่งคันจะเป็นรถสาธิตสำหรับระบบอุปกรณ์ใหม่ที่จะนำมาแทนที่อุปกรณ์เก่าในรถที่ล้าสมัยและหมดอายุการใช้งาน

อุปกรณ์เหล่านี้ประกอบด้วย ระบบกล้องเล็งรักษาการทรงตัวสำหรับผู้บังคับการรถและพลยิง ที่ประกอบด้วย คันบังคับควบคุม, อุปกรณ์ควบคุมปืน, ส่วนประกอบย่อยของระบบควบคุมการยิง และจอแสดงผลพลประจำรถ

Team Challenger 2 ของ BAE Systems จะนำส่วนประกอบของป้อมปืนที่พัฒนาสำหรับยานเกราะสายพาน Ajax ที่ถูกนำเข้าประจำการในกองทัพบกสหราชอาณาจักร
ขณะที่ Rheinmetall จะนำประสบการณ์การพัฒนาป้อมปืนสำหรับรถถังหลัก Leopard 2 และยานเกราะอื่นๆของตนมาใช้ ทั้งสองบริษัทยังคาดว่าจะนำเสนอการขยายศักยภาพอำนาจการยิงเช่นเดียวกับศักยภาพเสริมอื่นๆแก่การปรับปรุงรถถังหลัก Challenger 2 LEP

การเชิญเพื่อเป็นผู้แข่งขัน(ITT: Invitation to Tender) สำหรับขั้นตอนการสาธิต, การผลิต และเข้าประจำการ(DMI: Demonstration, Manufacture and In Service) คาดว่าจะมีการประกาศในเดือนสิงหาคม 2018
การตอบรับจากภาคอุตสาหกรรมจำเป็นที่จะต้องทำการยื่นเรื่องต่อกองยุทโธปกรณ์และการสนับสนุนกลาโหม(Defence Equipment and Support) กระทรวงกลาโหมสหราชอาณาจักรในเดือนธันวาคม 2018 โดยจะมีการประกาศผู้ที่ได้รับสัญญาในกลางปี 2019

กองทัพบกสหราชอาณาจักรมีรถถังหลัก Challenger 2 ประจำการด้วยกันสามกรมคือ กรมทหารม้า Hussars หลวง Queen's Royal Hussars, กรมทหารม้า Hussars หลวง King's Royal Hussars และกรมรถถังหลวง Royal Tank Regiment
ซึ่งแต่ละกรมมีรถถัง 56คัน แต่ละกรมมีสามกองพันรถถัง แต่ละกองพันมีรถถัง 18คัน รวมกับรถถัง 2คันในกองบัญชาการกรมตามลำดับ ทั้งนี้นอกจากกองทัพบกอังกฤษแล้วมีเพียงโอมานประเทศเดียวที่จัดหารถถังหลัก Challenger 2 เข้าประจำการครับ

วันอาทิตย์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

Saab สวีเดนเปิดตัวเครื่องบินแจ้งเตือนทางอากาศ GlobalEye เครื่องแรกของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

Saab rolls out first GlobalEye AEW&C aircraft
The first Saab GlobalEye AEW&C aircraft was rolled out at the company’s Linkoping production facility on 23 February, ahead of trials and delivery to the UAE. Source: Saab
http://www.janes.com/article/78117/saab-rolls-out-first-globaleye-aew-c-aircraft

บริษัท Saab สวีเดนได้เปิดตัวเครื่องบินแจ้งเตือนและควบคุมทางอากาศ GlobalEye AEW&C(Airborne Early Warning and Control) เครื่องแรกสำหรับกองทัพอากาศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์(UAEAF: United Arab Emirates Air Force)
โดยพิธีเปิดตัวอย่างเป็นทางการจัดขึ้น ณ โรงงานอากาศยานของ Saab ใน Linkoping สวีเดน เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา

เป็นครั้งแรกที่ระบบ GlobalEye AEW&C ซึ่งติดตั้งบนเครื่องบินโดยสารทางธุรกิจสองเครื่องยนต์ไอพ่น Bombardier Global 6000 แคนาดาถูกเปิดเผยต่อสาธารณชน และในเวลาอันสั้นจะเริ่มการรณรงค์ทดสอบภาคพื้นดินและการทดสอบการบิน
เพื่อเก็บข้อมูลทางอากาศพลศาสตร์เป็นขั้นตอนหนึ่งในการเดินหน้าโครงการพัฒนาและทดสอบที่กำลังดำเนินการ ก่อนส่งมอบให้สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

ในฐานะลูกค้าเปิดตัวรายแรก UAE ได้นามสัญญาจัดหา GlobalEye จำนวน 2เครื่องภายใต้ชื่อย่อว่า SRSS(Swing Role Surveillance System, ระบบตรวจการณ์ปรับเปลี่ยนบทบาท) เมื่อปลายปี 2015 ซึ่งเครื่องที่ 3ได้ถูกสั่งจัดหาเมื่อต้นปี 2017
(ในเวลาดียวที่ข้อตกลงถูกประกาศ มีการเปิดเผยว่าปัจจุบันกองทัพอากาศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีเครื่องบินแจ้งเตือนและควบคุมทางอากาศ Erieye AEW&C ซึ่งติดตั้งบนเครื่องบินโดยสารสองเครื่องยนต์ Saab 340 อยู่แล้ว 2เครื่องที่ยังจะถูกปรับปรุงความทันสมัย)

ระบบแจ้งเตือนและควบคุมทางอากาศ GlobalEye ถูกสร้างจากพื้นฐาน radar แบบ Saab Erieye ER(Extended Range) ขณะที่บริษัทยังคงรักษาจานสัญญาณ Radar ทรงครีบหลังภายนอกเครื่องของระบบ Erieye ดั้งเดิมไว้ แต่ระบบนี้ใช้วิทยาการใหม่ที่ขนาดใหญ่ขึ้นโดยไม่เป็นที่เปิดเผย
Saab กล่าวว่า Erieye ER radar เป็นระบบที่ทนทานต่อการถูกก่อกวน(Jamming) และมีการเพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังงานของ radar ขึ้นเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับ Erieye รุ่นก่อนหน้า

Erieye ER radar ยังมาพร้อมกับคุณสมบัติการทำงานทุกกาลอากาศในทุกรูปแบบพื้นที่ตรวจการณ์(อากาศ, ทะเล และภาคพื้นดิน) และมีอัตราการปรับปรุงการติดตามต่อเป้าหมายที่กำหนดให้อยู่ในความสนใจ(targets-of-interest)ในระดับ"สูงอย่างที่สุด"
บริษัทได้ให้ข้อมูลก่อนหน้านี้ว่าระยะการทำงานของ radar อยู่ที่มากกว่า 650km แต่ด้วยการใช้ระบบ AESA(Active Electronically Scanned Array) หมายความว่าระบบสามารถเพิ่มการเน้นพลังงานในพื้นที่จุดสนใจที่ต้องการเฉพาะได้

ระบบ Erieye ER radar ยังถูกกล่าวว่า "สามารถเปิดเผยตัวเครื่องบินที่มีคุณสมบัติตรวจจับได้ยาก Stealth" ได้ซึ่งหมายถึงขีดความสามารถในการตรวจจับอากาศยานที่มีค่าการถูกตรวจจับได้ต่ำ
และเมื่อรวมกับ Radar ค้นหา และกล้องตรวจการณ์ EO/IR(Electro-Optical/Infrared) ที่ติดตั้งใต้ตัวเครื่อง Saab GlobalEye ยังสามารถนำมาใช้ในภารกิจตรวจการณ์ทางทะเล(Maritime surveillance) และการค้นหาและกู้ภัย(Search and Rescue)ได้ด้วยครับ

วันเสาร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

รัสเซียส่งเครื่องบินขับไล่ Su-57 ต้นแบบใหม่ไปวางกำลังที่ซีเรีย

Russian Su-57 fifth-gen fighter prototypes touch down in Syria
A couple of examples of Russia's Su-57 fifth-generation fighter may now be undergoing experimental combat trials in Syria. (Sukhoi)
http://www.janes.com/article/78119/russian-su-57-fifth-gen-fighter-prototypes-touch-down-in-syria

twitter.com/WaelAlHussaini


กองทัพอากาศรัสเซีย(Russian Aerospace Forces, VKS: Vozdushno-Kosmicheskiye Sily) ได้ส่งเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 Sukhoi Su-57 จำนวน 2เครื่องไปวางกำลังที่ฐานทัพอากาศ Humaymim ในจังหวัด Latakia ซีเรีย
ภาพนิ่งและวิดีทัศน์ที่เผยแพร่ในสื่อสังคม Online เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์แสดงถึง Su-57 2เครื่องกำลังเตรียมนำเครื่องลงจอด(final approach)ในพื้นที่ภูมิประเทศที่สอดคล้องกับบริเวณโดยรอบของ Humaymim ฐานทัพอากาศหลักของกองทัพรัสเซียในซีเรีย

เครื่องบินขับไล่ Su-30 และเครื่องบินขับไล่ Su-35 ยังปรากฎในวิดีทัศน์ว่าทำการบินข้างเครื่องบินขับไล่ Su-57 ซึ่งโครงสร้างใต้ลำตัวเครื่องถูกเปิดออกเหมือนกับพวกมันมันกำลังจะลงจอด
วิดีทัศน์ที่เผยแพร่โดยแหล่งข่าวชาวซีเรียท้องถิ่นถูกติดตามภายหลังอย่างแพร่หลายโดยสื่อในความควบคุมของรัฐบาลรัสเซีย แต่กระทรวงกลาโหมรัสเซียไม่ได้ยืนยันการวางกำลังของ Su-57 ในเวลาที่เขียนนี้

เครื่องบินขับไล่ Su-57 หรือเดิมที่รู้จักในชื่อ Sukhoi T-50 หรือโครงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ PAK FA(Perspektivnnyi Aviatsionnyi Kompleks Frontovoi Aviatsyi: Prospective Aviation Complex for Frontal Aviation)
ได้ถูกดำเนินการพัฒนามาเป็นเวลากว่าสองทศวรรษ โดย Su-57 เครื่องต้นแบบเครื่องแรกได้ทำการบินครั้งแรกเมื่อปี 2010(http://aagth1.blogspot.com/2017/08/pak-fa-su-57-mig-29k.html)

เมื่อเดือนธันวาคม 2017 Jane's ได้รายงานว่าเครื่องบินขับไล่ Su-57 เครื่องต้นแบบ 10เครื่องได้ถูกส่งมอบแล้วจากเครื่องชุดต้นแบบขั้นต้น 12เครื่อง
โดยเครื่องต้นแบบเหล่านี้ถูกพบว่าทำการบินทดสอบต่างๆที่ศูนย์การบินทดสอบส่วนกลางของกองทัพอากาศรัสเซีย เช่นที่สถาบันวิจัยการบิน Gromov ที่ Zhukovskiy

เครื่องบินขับไล่ต้นแบบ Su-57 จำนวน 9เครื่องติดตั้งเครื่องยนต์ไอพ่นแบบ NPO Saturn Product 117S ซึ่งพัฒนาจากเครื่องยนต์ไอพ่น Turbofan มีสันดาปท้าย AL-41F-1S ที่พัฒนาสำหรับใช้กับเครื่องบินขับไล่ Su-35
ล่าสุดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2017 Su-57 เครื่องต้นแบบหนึ่งได้ทำการบินโดยเครื่องยนต์ไอพ่นแบบ "Product 30"ซึ่งเครื่องยนต์ใหม่นี้จะถูกนำมาใช้ในสายการผลิตมาตรฐานของ Su-57(http://aagth1.blogspot.com/2017/12/su-57.html)

Su-57 ยังไม่ได้ถูกประกาศความพร้อมปฏิบัติการโดยกองทัพอากาศรัสเซีย ดังนั้นการวางกำลังที่ซีเรียจึงน่าจะเป็นเพียงส่วนหนึ่งของโครงการทดสอบและประเมินค่าของเครื่องเท่านั้น
รองรัฐมนตรีกลาโหมรัสเซีย Yuri Borisov ประกาศเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ว่า Su-57 ได้เสร็จสิ้นการทดสอบการรับรองการบินขั้นแรกที่ดำเนินการโดยนักบินทดสอบที่รับสัญญาจ้างแล้ว

การปฏิบัติการทางทหารของกองทัพรัสเซียเพื่อสนับสนุนรัฐบาลซีเรียนั้น กองทัพอากาศรัสเซียได้มีการนำเครื่องบินรบแบบต่างๆมาวางกำลังปฏิบัติการจริงหลายแบบรวมถึงเครื่องบินขับไล่ที่เพิ่งเข้าประจำการใหม่ เช่น Su-35S และ Su-30SM
อย่างไรก็ตามยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าการนำเครื่องบินขับไล่ต้นแบบ Su-57 2เครื่องไปวางกำลังที่ซีเรียมีเพื่อจุดประสงค์ใดกันแน่ครับ

วันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ภาพ Oplot-T ที่ยูเครนล่าสุด-๑๘







Oplot Main Battle Tanks for Royal Thai Army include complete platform No.45, welded Turret No.47, 48,50 and Chassis No.48 for Royal Thai Army at Malyshev Plant, Kharkiv, Ukraine,

The largest manufacturer of armored vehicles - the Kharkov Malyshev Plant - earned over 110 million US dollars over the past year. This is a record amount for the last 10 years.
This year the tank builders plan not to slow down and expect another order for the domestic army. For the time being, they fulfill export contracts.

รายงานข่าวของสถานีโทรทัศน์ยูเครนภาคภาษารัสเซียที่ได้เยี่ยมชมโรงงาน Malyshev ที่ Kharkiv นี้แสดงถึงสายการผลิตและปรับปรุงรถถังหลักสำหรับกองทัพยูเครนและส่งออกต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง
โดยรายงานระบุว่าแผนสายการผลิตรถถังในโรงงานจะไม่ถูกทำให้ช้าลง และคาดว่าจะได้รับการสั่งจัดหาจากกองทัพและกองกำลังความมั่นคงรัฐบาลยูเครนเพิ่มติม

สำหรับสายการผลิตรถถังหลัก Oplot-T สำหรับกองทัพบกไทย(Royal Thai Army) ในโรงงาน Malyshev จะเห็นว่ามีรถถังอย่างน้อย ๑คันที่ปนะกอบเสร็จเกือบสมบูรณ์แล้วทั้งคันคือคันที่๔๕(No.45)
ป้อมปืนเชื่อม No.47 ที่ประกอบปืนใหญ่รถถัง KBA-3 และอุปกรณ์เกือยสมบูรณ์แล้ว ป้อมปืน No.48 และ No.50 ที่รอการประกอบชิ้นส่วน และตัวถังรถแคร่ฐาน No.48 ที่รอการประกอบป้อมปืน No.48

กองทัพบกไทยได้สั่งจัดหารถถังหลัก Oplot-T จำนวน ๔๙คัน วงเงิน ๗,๒๐๐ล้านบาท($240 million) จาก Ukroboronprom รัฐวิสาหกิจด้านการจัดการอุตสาหกรรมความมั่นคงยูเครน ในปี พ.ศ.๒๕๕๔(2011)
อย่างไรก็ตามตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๗(2014)ถึงปัจจุบัน(2018) ยูเครนได้ส่งมอบรถถังหลัก Oplot-T เข้าประจำการ กองพันทหารม้าที่๒ กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ รวม ๓๖คันแล้วเท่านั้น

โดยมีรายงานว่ารถถังหลัก Oplot-T คันที่ ๓๗-๔๓(No.37-No.43) คณะกรรมการของไทยได้ตรวจรับมอบรถที่ยูเครนไปเมื่อปีที่แล้ว(2017) และน่าจะมีการส่งมอบในเร็วนี้
ส่วน ถ.หลัก Oplot-T คันที่ ๔๔-๔๙(No.44-No.49) กำลังอยู่ในสายการผลิตที่โรงงาน Malyshev ที่ Kharkiv ยูเครนตามภาพในข้างต้นล่าสุด(ในภาพข่าวจะสังเกตได้ว่ามีภาพแมวลายส้มกับแมวลายเทาเขียวได้สองตัวในโรงงาน Malyshev)

ทั้งนี้ตามได้รายงานจากงาน Defense and Security 2017 ว่า UkrOboronProm ยูเครนยืนยันว่าการส่งมอบรถถังหลัก  Oplot-T ให้กองทัพบกไทยนั้นจะเสร็จสิ้นครบตามจำนวนที่สัญญาไว้ภายในปี พ.ศ.๒๕๖๑(2018) นี้
จากผลกระทบที่รัสเซียผนวก Crimea และสนับสนุนกลุ่มติดอาวุธในภาค Donbass ทำสงครามกับกองกำลังความมั่นคงรัฐบาลยูเครน ทำให้การผลิตรถให้กองทัพบกไทยมีความล่าช้ามาตลอดครับ(http://aagth1.blogspot.com/2017/11/btr-4e-oplot-t-2018.html)

เอสโตเนีย ลิทัวเนีย และยูเครนมองการเพิ่มขีดความสามารถด้านปืนใหญ่อัตตาจร

Baltic states boost artillery capabilities
When deployed, the ex-German Army 155 mm/52 calibre SP PzH 2000 artillery systems will provide Lithuania with a significantly improved indirect fire capability. Source: Lithuania Land Force

The Korean-made 155 mm/52 calibre K9 Thunder self-propelled artillery system seen during trials in Finland. Finland has ordered 48 systems. (IHS Markit/Peter Felstead)
http://www.janes.com/article/78072/baltic-states-boost-artillery-capabilities

Ukraine seeks improved artillery capabilities
A Russian 152 mm 2S19M1 in travelling configuration and with 152 mm ordnance in travel lock. Source: Christopher F Foss
http://www.janes.com/article/77996/ukraine-seeks-improved-artillery-capabilities

กองทัพบกเอสโตเนียและกองทัพบกลิทัวเนียกำลังปรับปรุงขีดความสามารถด้านระบบอาวุธยิงจำลอง(ปืนใหญ่)ของตน ตามที่เจ้าหน้าที่กองทัพของรัฐ Baltic ทั้งสองประเทศเน้นในงานสัมมนา IQPC Future Indirect Fires Eastern Europe Conference ที่ Bucharest โรมาเนีย
กองทัพบกเอสโตเนียปัจจุบันมีสองกองพลน้อยทหาร ซึ่งแต่ละกองพลน้อยมีหนึ่งกองพันทหารเป็นหน่วยขึ้นตรง ซึ่งขณะที่กองพันทหารปืนใหญ่เหล่านี้ประจำการด้วยอาวุธยิงลากจูง

กองพลน้อยทหารราบแรกมีปืนใหญ่วิถีโค้งลากจูง FH-70A1 155mm/39cal 24กระบอกซึ่งจัดหาจากเยอรมนีในปี 2003 ขณะที่กองพลน้อยทหารราบที่สองมีปืนใหญ่ลากจูง D-30 122mm รัสเซีย 18กระบอก จากฟินแลนด์ซึ่งกองทัพบกฟินแลนด์(Finnish Army)กำหนดแบบเป็น H-63
กองพันทหารปืนใหญ่ยังมีเครื่องยิงลูกระเบิด M41/D ขนาด 120mm ที่จัดหาจากสวีเดนเช่นเดียวกับเครื่องยิงลูกระเบิด M252 ขนาด 81mm ที่จัดหาจากสหรัฐฯ

คาดว่ากองทัพบกเอสโตเนียจะได้รับมอบปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน K9 Thunder ขนาด 155mm/52caliber จำนวน 24ระบบที่เคยประจำการในกองทัพบกสาธารณรัฐเกาหลี(ROKA: Republic of Korea Army)
ป.อัตตาจร K9 ซึ่งผลิตโดยบริษัท Hanwha Land Systems สาธารณรัฐเกาหลีจะถูกส่งมอบโดยแบ่งเป็นสองชุดชุละ 12ระบบ(http://aagth1.blogspot.com/2017/02/k9-thunder.html)

เอสโตเนียยังเน้นความสำคัญต่อระบบค้นหาเป้าหมาย, ระบบควบคุมและบัญชาการ Digital และระบบควบคุมการยิง ที่รวมถึงความเข้ากันได้กับประเทศพันธมิตร
ตัวอย่างเช่น ระบบปืนใหญ่ FH-70A1 ของตนที่สามารถใช้ประโยชน์จากการปรับการควบคุมการยิงได้

กองทัพบกลิทัวเนียมีปืนใหญ่วิถีโค้งลากจูง M101 105mm สหรัฐที่จัดหาจากเดนมาร์กในปี 2002 ซึ่งมีอายุการใช้งานมานาน
จากพื้นฐานที่ออกแบบมาเมื่อ 80ปีก่อน M101 ถึงเวลาที่จำเป็นต้องปลดประจำการ และระบบมีระยะยิงไกลสุดเพียง 11,270m เมื่อยิงด้วยกระสุนระเบิดแรงสูง M1 HE(High-Explosive)

M101 ลิทัวเนียจะถูกแทนที่ด้วยปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน PzH 2000 ขนาด 155 mm/52caliber จำนวน 21ระบบที่ผลิตโดยบริษัท Krauss-Maffei Wegmann เยอรมนี ซึ่งเคยประจำการในกองทัพบกเยอรมนี(Heer) มาก่อน
ภายใต้ข้อตกลงระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาลที่เยอรมนีและลิทัวเนียลงนามเมื่อเดือนกันยายน 2015(http://aagth1.blogspot.com/2015/10/pzh-2000.html)

ยูเครนมีแผนในระยะยาวที่จะนำปืนใหญ่ขนาด 155mm/52caliber NATO เป็นมาตรฐานขนาดลำกล้องตามแบบของกองกำลังปืนใหญ่ตามที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกองทัพยูเครนกล่าวในงานสัมมนา IQPC Future Indirect Fires Eastern Europe Conference
พลตรี Andrii Koliennikov รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์กลางเพื่ออาวุธยุโธปกรณ์ทางทหารยูเครนเน้นย้ำว่าปืนใหญ่อัตตาจรขนาด 155mm/52cal แบบใหม่ที่จะพัฒนาในประเทศสองแบบคือสายพานและล้อยางจะแทนที่ระบบปืนใหญ่ลากจูงและอัตตาจรที่มีประจำการทั้งหมด

แม้ว่ายูเครนจะได้พิสูจน์ขีดความสามารถในการออกแบบ พัฒนา และผลิตยานเกราะสายพานและยานเกราะล้อยางของตน ซึ่งมีพื้นฐานดั้งเดิมจากระบบปืนใหญ่ขนาดลำกล้อง 122mm และ 152mm รัสเซีย
มีเช่น ปืนใหญ่อัตตาจรสายพ่น 2S1 Gvozdika 122mm, 2S3 Akatsiya 152mm, 2S5 Giatsint-S 152mm, 2S19 Msta-S 152mm และ 2S7 Pion 203mm บางส่วน

ระบบปืนใหญ่ลากจูงมีเช่น D-30 122mm, 2A36 152mm และ 2A65 152mm ซึ่งต่างมีความเสี่ยงในการถูกยิงสวนกลับ ดังนั้นพวกมันจึงถึงเวลาที่จำเป็นต้องถูกปลดประจำการ
ยูเครนได้มีการนำระบบค้นหาเป้าหมายใหม่มาเป็นขีดความสามารถกับระบบอาวุธจากรัสเซีย เช่นระบบตรวจการใหม่สำหรับผู้ตรวจการณ์หน้า(FOO: Forward Observation Officer), ช่องทางข้อมูล, ระบบสื่อสาร และ Radar ค้นหาที่ตั้งปืนใหญ่

ระบบ Radar SNAR-10 รัสเซียที่ติดตั้งบนรถเกราะสายพาน MT-BL ได้ถูกเปลี่ยนเป็น Radar AN/TPQ-36, AN/TPQ-48 และ AN/TPQ-49 สหรัฐฯ เสริมด้วยระบบอากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle) ที่ยูเครนพัฒนาในประเทศ
การเปลี่ยนไปใช้กระสุนปืนใหญ่มาตรฐาน 155mm/52cal NATO ของยูเครนมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มจำนวนกองกำลังปืนใหญ่อาวุธปล่อยนำวิถี, เพิ่มขีดความสามารถการลาดตระเวนและการบริหารจัดการปืนใหญ่ เช่นเดียวกับการยิงตอบโต้ทำลาย และสร้างระบบลาดตระเวน/จู่โจมปืนใหญ่ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

อังกฤษขายเรือยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ HMS Ocean แก่บราซิลซึ่งลดจำนวนเครื่องบิน A-4 ที่ปรับปรุงใหม่ลง

UK confirms LPH sale to Brazil
The UK Royal Navy's landing platform helicopter HMS Ocean will be formally decommissioned in late March ahead of handover to the Brazilian Navy in June. Source: Crown Copyright
http://www.janes.com/article/78030/uk-confirms-lph-sale-to-brazil

Brazil cuts three aircraft from Skyhawk fighter upgrade
Embraer is upgrading A-4 Skyhawk combat aircraft that the Brazilian Navy procured from Kuwait in the late 1990s. (Embraer)
http://www.janes.com/article/78037/brazil-cuts-three-aircraft-from-skyhawk-fighter-upgrade

รัฐบาลสหราชอาณาจักรยืนยันการขายเรือยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์(LPH: Landing Platform Helicopter)L12 HMS Ocean แก่บราซิลในวงเงิน 84 million British Pound($117 million)
ภายใต้ข้อตกลงการขายที่ลงนามในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ กองทัพเรือบราซิล(Brazilian Navy, Marinha do Brasil) จะเป็นเจ้าของเรือยกพลขึ้นบกอากาศยานแบบพิเศษขนาด 22,000tons ในเดือนมิถุนายนปี 2018นี้

ข้อตกลงยังครอบคลุมการดัดแปลงเรือ LPH HMS Ocean ที่จะดำเนินการให้เสร็จสิ้นโดยบริษัท Babcock และ BAE Systems ในช่วงการส่งมอบเรือ
เรือยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ HMS Ocean เข้าประจำการในกองทัพเรือสหราชอาณาจักร(Royal Navy) เมื่อปี 1998 ได้ออกเดินเรือตลอดระเวลาประจำการเป็นระยะทางมากกว่า 450,000nmi

การตัดสินใจปลดประจำการเรือจากประจำการในปี 2018 ถูกยืนยันตามแแผนทบทวนยุทธศาสตร์กลาโหมและความมั่นคง 2015(SDSR15: Strategic Defence and Security Review 2015)
HMS Ocean ได้เสร็จสิ้นการวางกำลังครั้งสุดท้ายในเดือนธันวาคม 2017 และจะมีการปลดประจำการอย่างเป็นทางทางที่ Devonport ในสิ้นเดือนมีนาคมนี้

การขายเรือ HMS Ocean ให้บราซิลได้ถูกจัดการโดยฝ่ายการขายยุทโธปกรณ์กลาโหม(Defence Equipment Sales Authority) ซึ่งเป็นส่วนของกองยุทโธปกรณ์และการสนับสนุนกลาโหม(Defence Equipment and Support) กระทรวงกลาโหมสหราชอาณาจักร
โดยกองทัพเรือบราซิลต้องการจัดหาเพื่อทดแทนเรือบรรทุกเครื่องบิน A12 NAe Sao Paulo ที่ตัดสินใจปลดประจำการไป(http://aagth1.blogspot.com/2017/12/hms-ocean-2018.html)

สอดคล้องกันนั้นกองการบินทหารเรือบราซิลจะลดจำนวนรับมอบเครื่องบินโจมตี McDonnell Douglas A-4 Skyhawk ที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ลงตามสัญญาเดิมที่ลงนามไปกับบริษัท Embraer บราซิลในเดือนเมษายน 2009
คือจะรับมอบเครื่องบินขับไล่ AF-1B ที่นั่งเดี่ยว 3เครื่อง และเครื่องบินขับไล่ AF-1C สองที่นั่ง 3เครื่องจากแผนเดิม AF-1B 9เครื่อง และ AF-1C 3เครื่อง

การเปลี่ยนแปลงนี้่มีผลจากงบประมาณที่ถูกตัดลดลงของบราซิลจากการตัดสินใจปลดประจำการเรือบรรทุกเครื่องบิน Sao Paulo ในข้างต้น
และตัดความหวังที่จะคงรักษาขีดความสามารถในการปฏิบัติการอากาศยานประจำเรือบรรทุกเครื่องบินของบราซิลลง

AF-1C 1เครื่องจะถูกส่งมอบในสัปดาห์หน้าที่จะถึงนี้ และ AF-1B 1เครื่องจะถูกส่งมอบในเดือนสิงหาคมตามที่กองทัพเรือบราซิลให้ข้อมูลกับ Jane's
เครื่องบินขับไล่ AF-1B Skyhawk เครื่องแรกถูกส่งมอบเมื่อเดือนพฤษภาคม 2015 และเครื่องที่สองในเดือนเมษายน 2016 แต่ภายหลังเครื่องได้ตกในวันที่ 26 กรกฎาคม 2016 ครับ

วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

เครื่องบินขับไล่ Su-30SM กองทัพเรือรัสเซียฝึกเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศครั้งแรก

Russian Navy begins aerial refuelling training for its combat pilots
For the first time in the recent history of Russia, naval pilots have practiced in-flight refuelling on Su-30SM aircraft. Source: Ministry of Defence of the Russian Federation
http://www.janes.com/article/78023/russian-navy-begins-aerial-refuelling-training-for-its-combat-pilots


กองทัพเรือรัสเซีย(Russian Navy) ได้ทำการฝึกนักบินพร้อมรบของตนในด้านทักษะการเติมเชื้อเพลิงการอากาศเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ตามที่กระทรวงกลาโหมรัสเซียเปิดเผยเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
นักบินจากกองการบินทหารเรือรัสเซีย, กองเรือ Baltic และกองเรือทะเลดำ กองทัพเรือรัสเซียได้ทำการบินเครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-30SM(NATO กำหนดรหัส Flanker) และเครื่องบินโจมตีทิ้งระเบิด Su-24(NATO กำหนดรหัส Fencer) ได้ดำเนินการฝึกเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศกับเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ Ilyushin IL-78(NATO กำหนดรหัส Midas) มากว่า 100ครั้ง

ขณะที่กองทัพเรือชาติตะวันตกได้ทีการนำระบบการเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศมาใช้กับอากาศยานรบของตนเป็นเวลาหลายทศวรรษมาแล้ว โดยเป็นการเพิ่มขยายรัศมีการรบของเครื่องขับไล่และเครื่องบินโจมตีประจำเรือบรรทุกเครื่องบินได้เป็นอย่างมาก
รูปแบบมีทั้งแบบ Buddy-Buddy โดยติดตั้งกระเปาะเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศกับเครื่องบินประจำเรือบรรทุกเครื่องบิน จนถึงการใช้เครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศจากฐานบินบนฝั่งเมื่อสามารถใช้ดำเนินการได้

อย่างไรก็ตามกองทัพเรือรัสเซียมีหลักนิยมที่จะเรือบรรทุกเครื่องบิน Admiral Kuznetsov ที่มีเพียงลำเดียวสำหรับการป้องกันกองเรือมากกว่าที่จะใช้เป็นฐานอากาศยานปีกตรึงโจมตี
เช่นที่เครื่องบินขับไล่ประจำเรือบรรทุกเครื่องบิน Su-33 และ MiG-29K(NATO กำหนดรหัส Fulcrum) ไม่จำเป็นต้องทำการบินระยะไกลเพื่อโจมตีเป้าหมายชายฝั่งเช่นเดียวเรือบรรทุกเครื่องบินตะวันตกโดยทั่วไป

ดังนั้นเครื่องบินขับไล่ประจำเรือบรรทุกบินรัสเซียจึงไม่มีขีดความสามารถในการใช้ระบบเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศทั้งแบบ Buddy-Buddy หรือเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศจากฐานบินบนฝั่งเหมือนของชาติตะวันตก
เห็นได้จากปฏิบัติการโจมตีทางอากาศที่ซีเรียของเรือบรรทุกเครื่องบิน Admiral Kuznetsov เมื่อปี 2016 นั้นพบว่า Su-33 และ MiG-29K มักปฏิบัติการจากฐานทัพอากาศ Humaymim บนฝั่งมากว่าจากเรือในทะเล Mediterranean(http://aagth1.blogspot.com/2016/12/su-33-admiral-kuznetsov.html)

อากาศยานรบในกองการบินทหารเรือรัสเซียรวมถึง Su-30SM และ Su-24 นั้นเครื่องบินที่ปฏิบัติการจากฐานบินบนบก และสามารถเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศจากเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศจากฐานบินบนบกได้
โดยรัสเซียได้มีการขยายกำลังทางทหารใน Kaliningrad โดยการนำเครื่องบินขับไล่ Su-30SM ไปวางกำลังเป็นส่วนหนึ่งของกองเรือ Baltic เมื่อ 13 ธันวาคม 2016(http://aagth1.blogspot.com/2016/12/su-30sm-baltic-2017-ka-52-2020.html)

Su-30SM เป็นเครื่องบินขับไล่หนักสองที่นั่งพหุภารกิจรุ่นล่าสุดในตระกูลเครื่องบินขับไล่ยุคที่ 4+ ซึ่งมีความคล่องแคล่วทางการบินสูง ติดตั้ง Phased Array Radar แบบ Bars-R, เครื่องยนต์ปรับทิศทางแรงขับ Thrust Vectoring และ Canard แพนหางระดับรักษาเสถียรภาพที่ส่วนหัวเครื่อง
มีขีดความสามารถในการติดตั้งใช้อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศและอากาศสู่พื้นขั้นก้าวหน้าที่มีอยู่หรือกำลังพัฒนาได้หลายแบบ มีพิสัยทำการเมื่อไม่ทำการเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศและติดถังเชื้อเพลิงสำรองไกลถึง 3,000km ครับ

วันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

Boeing สหรัฐฯได้รับสัญญาพัตนาถังเชื้อเพลิง CFT สำหรับเครื่องบินขับไล่ F/A-18E/F Super Hornet

Video: Boeing Wins US Navy Contract to Develop CFT for Super Hornet
Scale model of the Block III Super Hornet at Sea Air Space 2017. Note the CFTs on top of the aircraft.

Scale model of the new Block III Super Hornet at Sea Air Space 2017. Note the IRST.

Detailed view: New satellite link/GPS antenna

Detailed view: RCS improvements

The new Advanced Cockpit System by Elbit Systems on display at Sea Air Space 2017.
https://navyrecognition.com/index.php/news/defence-news/2018/february-2018-navy-naval-defense-news/5961-video-boeing-wins-us-navy-contract-to-develop-cft-for-super-hornet.html


กองบัญชาการะบบอากาศนาวี(NAVAIR: Naval Air Systems Command) กองทัพเรือสหรัฐฯ(US Navy) ได้ประกาศสัญญาว่าจ้างแก่บริษัท Boeing สหรัฐฯ
สำหรับการออกแบบ, พัฒนา, ทดสอบ และบูรณาการติดตั้งถังเชื้อเพลิงแบบแนบลำตัวเครื่อง CFT(Conformal Fuel Tanks) สำหรับเครื่องบินขับไล่ Boeing F/A-18E/F Super Hornet

แผนการนำถังเชื้อเพลิง CFT มาติดตั้งกับ Super Hornet ปรากฎขึ้นครั้งในปีที่แล้วระหว่างานแสดงอาวุธทางเรือ Sea-Air-Space 2017 ของสันนิบาตนาวี ที่ Boeing ได้เปิดตัวแบบแผนเครื่องบินขับไล่ F/A-18E/F Super Hornet Block III รุ่นใหม่เป็นครั้งแรก
Super Hornet Block III ประกอบไปด้วยการปรับปรุงหลายรายการสำหรับเครื่องรุ่น Block II ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งการปรับปรุงเหล่านี้(ที่ Boeing แสดง 5รายการ) จะเพิ่มขีดความสามารถที่มากยิ่งขึ้นสำหรับเครื่องบินขับไล่ F/A-18E/F ที่มีค่าใช้จ่ายเหมาะสมและได้รับการสูจน์ในการรบจริงแล้ว(เช่นเดียวกับเครื่องบินโจมตีสงครามอิเล็กทรอนิกส์ EA-18G Growler)

การปรับปรุงที่เห็นได้ชัดที่สุดคือถังเชื้อเพลิง CFT ซึ่งจะทำให้เครื่องเพิ่มพิสัยการบินมากขึ้น, ระยะเวลาทำการบินที่มากขึ้น และมีแรงต้านอากาศที่น้อยลง โดยเป็นถังเชื้อเพลิงเสริมภายนอกที่ติดแนบไปกับโครงการลำตัวเครื่องเพื่อเพิ่มและพิสัยและระยะเวลาการประจำสถานี(time on station)
CFT จะลดการเสียคุณลักษณะทางอากาศพลศาสตร์เมื่อเทียบกับถังเชื้อเพลิงภายนอกและยังทำให้เครื่องไม่เสียตำบลอาวุธทำให้สามารถติดตั้งอาวุธและอุปกรณ์ได้มากขึ้น คาดว่าพิสัยการรบของเครื่องรุ่น Block III จะเพิ่มขึ้นอย่างน้อน 150nmi เมื่อเทียบกับถังเชื้อเพลิงแบบดั้งเดิม

ระบบตรวจจับ IRST(Infrared Search and Track) ประกอบด้วยตัวตรวจจับ IRST21 ของบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯ, ชุดประกอบถังเชื้อเพลิง GE Aviation FPU-13 และระบบควบคุมสภาพแวดล้อม Environmental Control unit ของ Meggitt Defense Industry
ระบบกระเปาะ IRST ดังกล่าวได้รับการสาธิตว่าความพร้อมในการผลิต ตามที่มีได้มีการทดสอบปรนะเมินค่าและสรุปผลมาแล้วหลายรายการ รวมถึงการทดสอบการทำการบิน กระเปาะ IRST Block I ได้คาดว่าจะนำมาวางกำลังร่วมกับ Super Hornet ในปี 2017

ระบบตรวจจับ IRST มีความสำคัญมากในการเพิ่มขีดความสามารถในการตรวจจับภัยคุกคามทางทางกาศ โดยขยายความสามารถในการตรวจจับหลายเป้าหมายในความละเอียดสูงเมื่อเทียบกับ Radar เพิ่ทางเลือกในการแยกแยะรูปแบบภัยคุกคามจากระยะไกลที่สูงมากยิ่งขึ้น
ข้อมูลจากระบบตรวจับ IRST จะถูกรวมเข้าข้อมูลจากระบบตรวจจับอื่นๆที่ติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่ F/A-18E/F เพื่อเพิ่มการหยั่งรู้สถานการณ์ของนักบินพร้อมรบประจำเครื่องให้สูงที่สุด

ระบบ Compters และระบบเครือข่าย Datalink ใหม่ทำให้ Super Hornet Block III สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลจำนวนมากกับเครื่องโจมตีสงครามอิเล็กทรอนิกส์ Growler และเครื่องบินแจ้งเตือนควบคุมทางอากาศ E-2D Advanced Hawkeyes
ผ่านทางเครือข่ายการชี้เป้าหมายทางยุทธวิธี TTNT(Tactical Targeting Network Technology) และได้รับข้อมูลในเวลาจริง

F/A-18E/F Super Hornet Block III ยังได้รับการปรับแต่งเล็กน้อยเพื่อลดระดับค่าภาคตัดขวาง Radar(RCS: Radar Cross Section) เพื่อลดการสะท้อนคลื่น Radar ให้ถูกตรวจจับได้ยากขึ้น
ประกอบด้วยการออกแบบส่วนช่องยิงปืนใหญ่อากาศหกลำกล้องหมุน M61A2 Vulcan 20mm ที่หัวเครื่องใหม่ เช่นเดียวกับการปรับปรุงระบบตรวจจับมุมโจมตี(angle of attack sensors เครื่องวัดมุมองศาที่ต่างกันระหว่างหัวเครื่องกับทิศทางการเคลื่อนที่ของเครื่อง ที่ติดตั้งด้านข้างของหัวเครื่อง)

ระบบห้องนักบิน All Glass Cockpit ขั้นก้าวหน้า แบบ Advanced Cockpit System(ACS) ที่ออกแบบโดยบริษัท Elbit Systems USA อิสราเอลสาขาสหรัฐฯ ประกอบไปด้วยระบบประมวลผลภารกิจ, จอภาพตรงหน้า (HUD: Head-Up Display) แบบความโดดดเด่นต่ำ
และจอแสดงผลความละเอียด HD แบบ touch screen ขนาด 10x19" พร้อมความสามารถ picture-in-picture  ปรับแต่งจอแสดงผลสถานการณ์ทางยุทธวิธี, ประมวลผล applications ขั้นก้าวหน้า และแสดงภาพวีดิทัศน์จากระบบตรวจจับขั้นก้าวหน้าในความละเอียดสูง

ตามที่ Navy Recognition ได้พูดคุยกับตัวแทนของ Boeing ในงาน Sea-Air-Space 2017 เครื่องบินขับไล่ F/A-18E/F Super Hornet Block III จะกลายเป็นจุดศูนย์รวมอัจฉริยะของเครือข่ายข้อมูลจำนวนมากและเพิ่มพิสัยทำการและระยะที่เพิ่มมากขึ้น
ทั้งนี้ปัจจุบันกองทัพเรือสหรัฐฯแล้ว เครื่องบินขับไล่ F/A-18F และเครื่องบินโจมตีอิเล็กทรอนิกส์ EA-18G ยังถูกส่งออกประจำการในกองทัพอากาศออสเตรเลีย(RAAF: Royal Australian Air Force) และเสนอ F/A-18E/F ให้กับคูเวต 40เครื่อง และในโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ของหลายประเทศทั่วโลกครับ

วันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

กองทัพเรือสหรัฐฯประกาศสัญญาจ้างออกแบบเรือฟริเกตใหม่ FFG(X) แก่5บริษัท

Navy awards design contracts for future frigate
A rendering of Lockheed Martin's concept for FFG(X), debuted at Surface Navy Association's National Symposium in January. (Courtesy of Lockheed Martin)
https://www.defensenews.com/naval/2018/02/16/navy-awards-design-contracts-for-for-future-frigate/

กองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy) ได้ประกาศสัญญาจ้างแก่ 5บริษัทวงเงิน $15 million สำหรับการออกแบบแนวคิดโครงการจัดหาเรือฟริเกตใหม่ FFG(X)
ประกอบด้วยบริษัทของสหรัฐฯ 4บริษัทคือ Huntington Ingalls, Lockheed Martin, Austal USA, General Dynamics Bath Iron Works และบริษัท Fincantieri ในเครือ Leonardo อิตาลี

ซึ่งทุกบริษัทที่ได้รับสัญญาจะต้องส่งการเสนอแบบเรือที่สมบูรณ์แล้วภายใน 16เดือนข้างหน้า ก่อนที่กองทัพเรือสหรัฐฯจะเลือกรายละเอียดแบบเรือเพียงแบบเดียวและลงนามสัญญาการจัดหาเพื่อสร้างเรือ
ทุกสัญญาประกอบด้วยทางเลือกที่สามารถขยายวงเงินโครงการได้ระหว่าง $22-23 million ตามที่มีการประกาศสัญญา คาดว่าการดำเนินการดังกล่าวจะเสร็จสิ้นภายในเดือนมิถุนายน 2019

กองทัพเรือสหรัฐฯต้องการที่จะประกาศสัญจัดหาเรือฟริเกต FFG(X) ลำแรกในปี 2020 โดยจะจัดหาเรือ 1ลำในปี 2020 และอีก 1ลำในปี 2021 ตามมาด้วยปีละ 2ลำในปีถัดไปจากนั้น
ตามแผนการสร้างเรือต่อเนื่องระยะ 30ปีล่าสุดของกองทัพเรือสหรัฐสำหรับความต้องการเรือรบผิวน้ำขนาดเล็กจำนวน 52ลำ ซึ่งส่วนมากจะเป็นเรือแบบ LCS(Littoral Combat Ship)

บริษัท Austal สหรัฐฯ และบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯได้แข่งขันเสนอแบบเรือฟริเกตใหม่ที่มีพื้นฐานพัฒนาจากเรือ LCS ของทั้งคู่ คือเรือ LCS ชั้น Freedom ของ Lockheed Martin และเรือ LCS ชั้น Independence ของ Austal
บริษัท Huntington Ingalls สหรัฐฯเสนอแบบเรือฟริเกตใหม่ที่ที่มีพื้นฐานพัฒนาจากเรือตัดน้ำแข็ง NCS(National Security Cutter) ชั้น Legend ของหน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ(USCG: US Coast Guard)

บริษัท Fincantieri อิตาลีเสนอแบบเรือฟริเกต FREMM ซึ่งมีประจำการในกองทัพเรืออิตาลี(เรือฟริเกตชั้น Carlo Bergamini) กองทัพเรือฝรั่งเศส(เรือฟริเกตชั้น Aquitaine) กองทัพเรือโมร็อกโก(Mohammed VI) และกองทัพเรืออียิปต์(Tahya Misr เดิมคือเรือฟริเกต D651 Normandie ฝรั่งเศส)
บริษัท General Dynamics สหรัฐฯได้ร่วมเป็นหุ้นส่วนกับบริษัท Navantia สเปนเสนอแบบเรือฟริเกต F100 ซึ่งซึ่งมีประจำการในกองทัพเรือสเปน(เรือฟริเกตชั้น Alvaro de Bazan) และกองทัพเรือออสเตรเลีย(เรือพิฆาตชั้น Hobart)

กองทัพเรือสหรัฐฯกำลังมองหาผู้สร้างเรือที่สามารถรักษาสมดุลด้านงบประมาณและขีดความสามารถ ตามการแถลงของกองบัญชาการระบบเรือทางทะเล(NAVSEA: Naval Sea Systems Command)
"ตลอดการเร่งขั้นตอนการจัดหาสำหรับโครงการ FFG(X) กองทัพเรือสหรัฐฯจะสร้างแรงจูงใจต่อภาคอุตสาหกรรมเพื่อสมดุลราคาและความสามารถ และบรรลุแนวทางด้านราคาที่ดีที่สุดสำหรับผู้เสียภาษีชาวอเมริกัน" แถลงของ NAVSEA กล่าวครับ

รัสเซียเสร็จสิ้นการทดสอบเครื่องบินขับไล่ MiG-35

Russian defense contractor completes trials of new-generation fighter jet
MiG-35 plane/Sergey Bobylev/TASS
The flight tests of MiG-35 fighter aircraft began on January 26
http://tass.com/defense/990389

MiG Aircraft Corporation ผู้ออกแบบผลิตอากาศยานรัสเซียได้เสร็จสิ้นการทดสอบระดับโรงงานสำหรับเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจยุคหน้า Mikoyan MiG-35 ตามที่ฝ่ายประสัมพันธ์ของบริษัทกล่าวกับ TASS เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
"การทดสอบระดับโรงงานของเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจ MiG-35 เพื่อสร้างความสนใจแก่กระทรวงกลาโหมสหพันธรัฐรัสเซียได้เสร็จสิ้นแล้ว การลงนามรับรองการเสร็จสิ้นการทดสอบมีขึ้นในเดือนธันวาคม 2017" ฝ่ายประสัมพันธ์ของ MiG กล่าว

ระหว่างการทดสอบ ผู้เชี่ยวชาญของ MiG ได้ตรวจสอบระบบที่ติดตั้งกับเครื่องทั้งอุปกรณ์วิทยุ-ไฟฟ้า, ระบบเครื่องวัดและนำร่อง,Radar, เครื่องยนต์ และระบบอื่นๆบนเครื่อง
งานได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2017 โดยได้รับความช่วยเหลือจากนักบินทดสอบของกระทรวงกลาโหมรัสเซีย

"ด้วยศักยภาพการรบของมัน ขอบเขตและประสิทธิภาพของภารกิจของมัน และอัตราส่วนราคาต่อคุณภาพ MiG-35 เป็นเครื่องบินรบที่เหมาะที่สุดในปัจจุบันสำหรับการปฏิบัติการในความขัดแย้งทางทหารที่มีความตึงเครียดสูง
 เครื่องบินถูกสร้างให้เป็นไปได้ในการใช้อาวุธในทุกรูปแบบที่มีอยู่และที่กำลังจะมาถึงทั้งของรัสเซียและต่างประเทศ รวมถึงอาวุธที่ออกแบบมาสำหรับเครื่องบินขับไล่หนัก " Ilya Tarasenko ผู้อำนวยการบริหารของ MiG กล่าว

MiG-35 เป็นเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจยุคที่ 4++ ที่พัฒนาจากสายการผลิตที่มีอยู่แล้วของเครื่องบินขับไล่ประจำเรือบรรทุกเครื่องบิน MiG-29K/KUB และเครื่องบินขับไล่ MiG-29M/M2
การบินทดสอบครั้งแรกของเครื่องบินขับไล่ MiG-35 มีขึ้นเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2017 ตามด้วยการเปิดตัวต่อสาธารณชนทีมีขึ้นในภาค Moscow ในวันที่ 27 มกราคม 2017(http://aagth1.blogspot.com/2017/01/mig-35.html)

โครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของรัฐบาลรัสเซียจนถึงปี 2020 กำหนดให้มีการส่งมอบเครื่องบินขับไล่ MiG-35 แก่กองทัพอากาศรัสเซีย(Russian Aerospace Force)
ตามที่ Yuri Slyusar ประธาน United Aircraft Corporation กลุ่มอุตสาหกรรมอากาศยานรัสเซียกล่าวนอกรอบในการประชุมการลงทุนของรัสเซียเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ว่า สัญญาการจัดหาเครื่องบินขับไล่ MiG-35 แก่กองทัพอากาศรัสเซียน่าจะมีการลงนามภายในปี 2018 นี้

ทั้งนี้ยังมีหลายประเทศทั่วโลกที่แสดงความสนใจในการจัดหาเครื่องบินขับไล่ MiG-35 เช่น เปรู บังคลาเทศ และกองทัพอากาศพม่า(Myanmar Air Force, Tatmadaw Lei)(http://aagth1.blogspot.com/2017/08/su-35-mig-35.html)
โดยกองทัพอากาศพม่ามีเครื่องบินขับไล่ MiG-29B/UB/SE ประจำการรวมราว 30เครื่องซึ่งเป็นเครื่องที่เคยประจำการในกองทัพอากาศรัสเซียมาก่อน และล่าสุดได้สั่งจัดหาเครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-30 จำนวน 6เครื่องจากรัสเซียครับ(http://aagth1.blogspot.com/2018/01/su-30-6.html)

วันเสาร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

อินโดนีเซียลงนามสัญญาจัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-35 รัสเซีย

Update: Indonesia finalises contract to procure Su-35 fighter aircraft
Indonesia's Ministry of Defence has signed a contract for the Sukhoi Su-35 'Flanker-E' multirole combat aircraft. Source: United Aircraft Corporation
http://www.janes.com/article/77962/update-indonesia-finalises-contract-to-procure-su-35-fighter-aircraft

กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียได้ลงนามสัญญาจัดหาเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจ Sukhoi Su-35(NATO กำหนดรหัส Flanker-E) จากรัสเซีย
โดยได้รับการยืนยันว่าสัญญาดังกล่าวได้รับการลงนามเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และมีเนื้อหาเพื่อการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-35 จำนวน 11เครื่อง

กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียยังไม่มีการแถลงอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับสัญญาจัดหากับรัสเซียนี้ แต่แหล่งข่าวของ Jane's ในกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียยืนยันถึงความคืบหน้านี้
ตามที่โฆษกทางการของกองทัพแห่งชาติอินโดนีเซีย(TNI: Tentara Nasional Indonesia) ได้ถูกอ้างคำพูดยืนยันการลงนามสัญญาในสื่อท้องถิ่นของอินโดนีเซีย

ขณะนี้ยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดขั้นตอนการจัดหาออกมา แม้ว่าจะเป็นที่เข้าใจว่ารัสเซียจะส่งมอบเครื่องบินขับไล่ Su-35 ชุดแรกจำนวน 2เครื่องแก่กองทัพอากาศอินโดนีเซีย(TNI-AU: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Udara) ในเดือนตุลาคม 2018 นี้
ซึ่งเป็นไปได้ว่าเครื่องบินขับไล่ Su-35 ใหม่ของกองทัพอากาศอินโดนีเซียจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการโดยเป็นส่วนหนึ่งในอาวุธยุทโธปกรณ์ที่จะเข้าร่วมพิธีสวนสนามวันกองทัพอินโดนีเซียในวันที่ 5 ตุลาคม 2018

เจ้าหน้าที่กลาโหมอินโดนีเซียและรัสเซียได้ยืนยันกับ Jane's เมื่อเร็วๆว่าสัญญาการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-35 วงเงิน 1.1billion อยู่ภายใต้การเจรจาที่เข้มข้น(http://aagth1.blogspot.com/2018/01/kf-xif-x-su-35.html)
อย่างไรก็ตาม Jane's เข้าใจว่าจุดปักหมุดสำคัญในการเจรจาล่าสุดคือความต้องการระบบการค้าต่างตอบแทนของทางอินโดนีเซีย ซึ่งอยู่ในกรอบของกฎหมายท้องถิ่น(http://aagth1.blogspot.com/2017/08/su-35-mig-35.html)

กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียยืนยันว่าครึ่งหนึ่งของวงเงินในสัญญาจัดหา Su-35 จะต้องมีแหล่งที่มาจากสินค้าส่งออกที่ผลิตจากภายในอินโดนีเซียไปยังรัสเซีย
อีกเพิ่มเติมร้อยละ35 ของวงเงินในสัญญาจะมีแหล่งที่จากชุดการชดเชย(offset package) โดยรัฐบาลอินโดนีเซียจะจ่ายวงเงินในส่วนที่เหลือประมาณ $170 million ในรูปแบบเงินสด

กองทัพอากาศอินโดนีเซียมีความต้องการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-35 เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ Northrop F-5E Tiger II สหรัฐฯที่เก่าและล้าสมัยซึ่งประจำการมาตั้งแต่ปี 1980 โดยเป็นประเทศที่สองที่รัสเซียส่งออก Su-35 ให้ต่อจากกองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAAF: People's Liberation Army Air Force)
ทั้งนี้กองทัพอากาศอินโดนีเซียมีเครื่องบินขับไล่ Su-27SK(NATO กำหนดรหัส Flanker) 5เครื่อง และ Su-30MK2(NATO กำหนดรหัส Flanker-C) 11เครื่อง รวม 16เครื่อง ที่จัดหาจากรัสเซียประจำการอยู่ก่อนกว่าสิบปีแล้วครับ

วันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

กองทัพเรือไทยทำพิธีปล่อยเรือตรวจการณ์ชายฝั่งชุดเรือ ต.265 ลงน้ำ

Royal Thai Navy launching ceremony of new 5 T.265 class Inshore Patrol Craft from Marsun shipyard Thailand, 15 Feburay 2018

กองทัพเรือจัดพิธีปล่อยเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง ชุดเรือ ต.265 จำนวน 5 ลำ ลงน้ำ




วันนี้ (15 กุมภาพันธ์ 2561) เวลา 15.39 น. พลเรือเอก นริส ประทุมสุวรรณ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีปล่อยเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง ชุดเรือ ต.265 จำนวน 5 ลำ ลงน้ำ 
โดยมี นางเกสรา ประทุมสุวรรณ นายกสมาคมภริยาทหารเรือ ในฐานะภริยาผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นสุภาพสตรีผู้ประกอบพิธีปล่อยเรือ ณ อู่ต่อเรือ บริษัท มาร์ซัน จำกัด ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ

ตามยุทธศาสตร์ กองทัพเรือ พ.ศ.2551 - 2560 กำหนดความต้องการเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง (ตกช.) รวม 24 ลำ เพื่อใช้ในภารกิจต่าง ๆ โดยมีแผนปลดเรือตรวจการณ์ชายฝั่งที่ใช้ราชการมานานและครบกำหนดปลดระวาง ตั้งแต่ปี 2558 - 2560 รวม 14 ลำ 
จึงมีความจำเป็นต้องการจัดหาเรือตรวจการณ์ชายฝั่งทดแทนเรือที่จะปลดระวาง ซึ่งการจัดหาครั้งนี้เป็นการจัดหาเรือตรวจการณ์ชายฝั่งเพิ่มเติมให้เพียงพอต่อการใช้งาน เพื่อตอบสนองต่อภารกิจตามยุทธศาสตร์กองทัพเรือ 
สำหรับการจัดและเตรียมกำลังสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของทัพเรือภาคและหน่วยเฉพาะกิจของกองเรือยุทธการ และให้การสนับสนุนอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง

การดำเนินโครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ชายฝั่งที่ผ่านมา กองทัพเรือได้ทยอยจัดหาเรือตรวจการณ์ชายฝั่งทดแทนมาอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือ 
โครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง ชุดเรือ ต.228 (ต.228 - ต.230) จำนวน 3 ลำ ผูกพันงบประมาณ 3 ปี (2554 - 2556) ได้รับมอบตามสัญญาฯ เรียบร้อยแล้ว เมื่อปี พ.ศ.2556 
โครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง ชุดเรือ ต.232 (ต.232 - ต.237) จำนวน 6 ลำ ผูกพันงบประมาณ 3 ปี(2557 - 2559) ได้รับมอบตามสัญญาฯ เรียบร้อยแล้ว เมื่อปี พ.ศ.2559 
โครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง จำนวน 4 ลำ (ต.261 - ต.264) ได้รับมอบตามสัญญาเรียบร้อยแล้วเมื่อปี 2560 
และโครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง จำนวน 5 ลำ (ต.265 - ต.269) ที่ได้มีพิธีปล่อยลงน้ำในวันนี้

สำหรับการจัดหาเรือตรวจการชายฝั่ง โดยการว่าจ้างให้ บริษัท มาร์ซัน จำกัด เป็นผู้ดำเนินการนับได้ว่าเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมการต่อเรือภายในประเทศ อีกทั้งยังเป็นการประหยัดงบประมาณมากกว่าการจัดหาจากต่างประเทศ 
โดยเรือตรวจการณ์ชายฝั่งจะเข้าประจำการใน กองเรือยามฝั่ง กองเรือยุทธการ มีภารกิจในการตรวจการณ์ สกัดกั้น ลาดตระเวน ป้องกันการแทรกซึมทางทะเลและชายฝั่ง คุ้มครองเรือประมง และเรือพาณิชย์ 
ป้องกันและคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติบริเวณชายฝั่งทะเลในอ่าวไทย และทะเลอันดามัน รักษากฎหมายในทะเลตามอำนาจหน้าที่ที่กองทัพเรือได้รับมอบหมาย รวมถึงการถวายความปลอดภัยแด่พระบรมวงศานุวงศ์




คุณลักษณะที่สำคัญของเรือตรวจการณ์ชายฝั่งชุดใหม่ของกองทัพเรือ
ขีดความสามารถปฏิบัติการรบ (Combat Capabilities) สามารถปฏิบัติภารกิจได้ครอบคลุมพื้นที่ปฏิบัติการบริเวณชายฝั่งในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน สามารถตรวจจับ ติดตามและพิสูจน์ทราบเป้าผิวน้ำ 
สามารถป้องกันตนเองจากเรือผิวน้ำและอากาศยานข้าศึกได้ตามสมรรถนะของอาวุธประจำเรือ สามารถปฏิบัติการทางเรืออย่างต่อเนื่อง โดยไม่ต้องรับการส่งกำลังบำรุงเพิ่มเติมได้ไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง สามารถปฏิบัติงานได้ในสภาพทะเลไม่น้อยกว่า Sea State 2 
สามารถตรวจค้นเรือที่ต้องสงสัย ค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ และมีความสามารถการทรงตัวที่ดีในการบังคับเรือ และบังคับเลี้ยวในการปฏิบัติงานที่ความเร็วสูง (Maneuverability)

คุณลักษณะทั่วไปของเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง (Ship System Performance) 
ระวางขับน้ำเต็มที่โดยประมาณ 45ตัน ขนาดของเรือ ความยาวตลอดลำ 21.40เมตร ความกว้างสูงสุด ของเรือ 5.56เมตร ความลึกของเรือ (Molded Depth) 3.15เมตร กินน้ำลึกตัวเรือ (Molded Draught) 1.05เมตร 
ความเร็วสูงสุดต่อเนื่องที่ระวางขับน้ำเต็มที่ไม่น้อยกว่า 30 นอต กำลังพลประจำเรือ 9 นาย สามารถปฏิบัติงานในทะเลได้ต่อเนื่องได้ไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง โดยไม่ต้องรับการส่งกำลังบำรุง 
ระยะปฏิบัติการไม่น้อยกว่า 350 ไมล์ทะเล ด้วยความเร็วเดินทางมัธยัสถ์ (15 นอต) ที่ระวางขับน้ำเต็มที่ (Full Load Displacement) 
ขนาดและสัดส่วนของโครงสร้างตัวเรือได้รับการตรวจสอบ และรับรองจากสมาคมจัดชั้นเรือ DNV แห่งประเทศนอร์เวย์ โดยโครงสร้างตัวเรือและแผ่นเปลือกเรือทำด้วยอลูมินัมอัลลอยเกรดที่ใช้ในการต่อเรือโดยเฉพาะ (Marine Grade) 
ระบบขับเคลื่อนประกอบด้วย เครื่องจักรใหญ่ดีเซลเรือตราอักษร MAN รุ่น D2862 LE463 พร้อมเพลาใบจักร จำนวน 2 ชุด ซึ่งผลิตกำลังได้เครื่องละ 1,029 กิโลวัตต์ ทำให้มีกำลังเครื่องจักรรวม 2,058 กิโลวัตต์ 
ขับเพลาใบจักรและใบจักรผ่านชุดคลัชท์และเกียร์ทด จำนวน 2 ชุด โดยที่ระบบเพลาและใบจักรซ้าย-ขวาเป็นแบบ Fixed Pitch Propeller (FPP) จำนวน 2 ชุด



อาวุธประจำเรือ
อาวุธปืนหลัก ปืนกลขนาด 20 มิลลิเมตร จำนวน 1 กระบอก บริเวณหัวเรือ
อาวุธปืนรอง ปืนกลขนาด .50 นิ้ว จำนวน 1 กระบอก พร้อมกับเครื่องยิงลูกระเบิด 81 มิลลิเมตร ร่วมแกน จำนวน 1 กระบอก ติดตั้งบริเวณท้ายเรือ

พิธีปล่อยเรือลงน้ำ เป็นพิธีที่มีมาตั้งแต่ครั้นโบราณกาล เมื่อถึงเวลาปล่อยเรือเดินทะเลลงน้ำจะต้องทำพิธี เพื่อให้เกิดสวัสดิมงคลแก่ตัวเรือเสียก่อน 
ในสมัยปัจจุบันพิธีปล่อยเรือลงน้ำ แบบสากล ให้สุภาพสตรีเป็นผู้ประกอบพิธีโดยวิธีปล่อยขวดแชมเปญกระทบหัวเรือ 
การนี้สืบเนื่องมาจากการดื่มอวยพรด้วยถ้วยเงิน เมื่อดื่มแล้วก็ขว้างถ้วยขึ้นไปบนเรือปรากฏว่าสิ้นเปลืองมาก จึงเปลี่ยนเป็นขว้างขวดกับหัวเรือแทน 
คราวหนึ่งสุภาพสตรีผู้ประกอบพิธีได้ขว้างขวดแชมเปญไม่ถูกหัวเรือ แต่กลับไปถูกแขกที่มาในงานพิธีบาดเจ็บ จึงได้ใช้เชือกผูกคอขวดเสียก่อนเสมอ 
จนถึงปัจจุบันนี้พิธีปล่อยเรือลงน้ำของราชนาวี เฉพาะที่มีหลักฐานปรากฏในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพิธีปล่อยเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ลงน้ำ เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2454 
ส่วนเรือหลวงที่สร้างจากต่างประเทศที่มีหลักฐานปรากฏ ได้แก่ เรือหลวงเสือคำรณสินธุ์ ประเภทเรือพิฆาต มีพิธีปล่อยเรือลงน้ำ เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2453 ณ อู่กาวาซากิ เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น 
สำหรับเรือหลวง ตัวเรือเป็นเหล็ก สร้างโดยกรมอู่ทหารเรือที่มีพิธีปล่อยเรือลงน้ำเป็นครั้งแรก คือ เรือหลวงสัตหีบ (ลำที่ 1)
 ซึ่งมีคุณหญิงวิจิตรา ธนะรัชต์ ภริยา จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (ในขณะนั้น) เป็นสุภาพสตรีผู้ประกอบพิธีปล่อยเรือลงน้ำ เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2500

กองประชาสัมพันธ์สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ
https://www.facebook.com/prthainavy/posts/1807845772600104
https://www.facebook.com/prthainavy

เรือตรวจการณ์ชายฝั่งชุดเรือ ต.265 จำนวน ๕ลำประกอบด้วย ต.265, ต.266, ต.267, ต.268 และ ต.269 ซึ่งทำพิธีวางกระดูกเมื่อ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๙(http://aagth1.blogspot.com/2016/04/blog-post_25.html) ได้มีการทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำในวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
ซึ่งอู่ต่อเรือบริษัท Marsun ไทยยังคงดำเนินการสร้างเรือตรวจการณ์ชายฝั่งชุดเรือ ต.270 จำนวน ๕ลำประกอบด้วย ต.270, ต.271, ต.272, ต.273 และ ต.274 ที่ทำพิธีวางกระดูกเมื่อ ๑๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๐ (http://aagth1.blogspot.com/2017/03/261-4-5.html)
ทำให้ขณะนี้กองทัพเรือไทยมีเรือตรวจการณ์ชายฝั่งชุดเรือ ต.228 ประกอบด้วยเรือ ต.228, ต.229 และ ต.230 รวม ๓ลำ, ชุดเรือ ต.232 ประกอบด้วย ต.232, ต.233, ต.234, ต.235, ต.236 และ ต.237 รวม ๖ลำ และชุดเรือ ต.261 ประกอบด้วย ต.261, ต.262, ต.263 และ ต.264 รวม ๔ลำ
เมื่อรวมกับชุดเรือ ต.265 ๕ลำที่น่าจะมีการรับมอบเรือภายในปี พ.ศ.๒๕๖๑(2018) นี้จะรวมเป็น ๑๘ลำ และเมื่อรวมกับชุดเรือ ต.270 อีก ๕ลำในอนาคต และเรือ ต.227 ที่เข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๕๐(2007) จะทำให้กองทัพเรือมีเรือตรวจการณ์ชายฝั่งใหม่รวมทั้งหมด ๒๔ลำครับ

เรือฟริเกต Admiral Gorshkov รัสเซียเครื่องยนต์ขัดข้องขณะทดลองเรือในทะเล

Russian Project 22350 Frigate 'Admiral Gorshkov' Suffers Engine Break Down 
Project 22350 Admiral Gorshkov frigate
https://navyrecognition.com/index.php/news/defence-news/2018/february-2018-navy-naval-defense-news/5953-russian-project-22350-frigate-admiral-gorshkov-suffers-engine-break-down.html

Admiral Gorshkov เรือลำแรกของเรือฟริเกตติดอาวุธปล่อยนำวิถีชั้น Project 22350 Admiral Gorshkov ของกองทัพเรือรัสเซียประสบปัญหาระบบขับเคลื่อนหลักเครื่องยนต์ดีเซลขัดข้องขณะการทดลองการยอมรับเรือในทะเล
แหล่งข่าวภายในกองทัพเรือรัสเซีย(Russian Navy) กล่าวกับ FlotProm สื่อ Online ว่าเรือได้กลับไปที่อู่ต่อเรือ Severnaya Verf ใกล้มหานคร Sanit Petersburg ทันทีด้วยเครื่องยนต์ที่ยังทำงานได้เพียงเครื่องเดียวเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2017

ปัญหาเครื่องยนต์ขัดข้องของเรือฟริเกต Admiral Gorshkov นี้แหล่งข่าวในกองทัพเรือรัสเซียไม่ได้ให้รายละเอียดใดๆ มีข้อมูลเพิ่มเติมภายหลังว่าส่วนที่ขัดข้องคือเครื่องยนต์ดีเซล 10D49 กำลัง 5,200shp ซึ่งผลิตโดย Kolomna รัสเซีย
โดยเครื่องยนต์ดีเซล 10D49 2เครื่องเป็นส่วนหนึ่งของระบบขับเคลื่อน CODAG(Combined Diesel and Gas) แบบ M55R ร่วมกับเครื่องยนต์ Gas Turbine แบบ UTG 15000+ กำลัง 27,500shp 2เครื่องของ Zorya-Mashproekt ยูเครน

ซึ่งเดิมทีเรือฟริเกตชั้น Admiral Gorshkov 2ลำแรกคือ Admiral Gorshkov และ Admiral Kasatonov ได้รับการออกแบบให้ติดตั้งเครื่องยนต์ Gas Turbine UTG 15000+ ยูเครน
แต่จากการตัดความสัมพันธ์ทางทหารระหว่างรัสเซีย-ยูเครนหลังจากที่รัสเซียเข้าผนวก Crimea และแทรกแซงสนับสนุนกลุ่มติดอาวุธทำสงครามในภาค Donbass ยูเครนในปี 2014 ทำให้รัสเซียยกเลิกการจัดหาเครื่องยนต์จากยูเครน

แหล่งข่าวในภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงรัสเซียกล่าวว่าเครื่องยนต์ Gas Turbine UTG 15000+ ยูเครนนั้นเป็นตัวลดประสิทธิภาพการทำงานของระบบขับเคลื่อน M55R CODAG ลง
โดยรัสเซียได้เปลี่ยนไปใช้เครื่องยนต์ Gas Turbine แบบ MR90FR กำลัง 27,500shp 2เครื่องที่ผลิตโดย NPO Saturn รัสเซียในเครือ United Engine Corporation(UEC) แทนในเรือชั้น Admiral Gorshkov ที่กำลังสร้างใหม่ 2ลำคือ Admiral Golovko และ Admiral Isakov

แหล่งข่าวใน Transmashholding รัสเซียซึ่งมี Kolomna เป็นบริษัทในเครือกล่าวกับ FlotProm ว่าผู้เชี่ยวชาญของ Kolomna กำลังซ่อมแซมเครื่องยนต์ดีเซล 10D49 ที่ได้รับความเสียหายในห้องเครื่องของเรือฟริเกต Admiral Gorshkov ที่อู่เรือ
แหล่งข่าวยังกล่าวอีกว่าเรือฟริเกต Admiral Gorshkov จะไม่จำเป็นที่จะต้องถูกผ่าตัวเรือเพื่อเครื่องยนต์ออกมาแต่อย่างใด โดยชิ้นส่วนประกอบบางส่วนของเครื่องยนต์รวมถึงเพลาข้อเหวี่ยง(Crankshaft) จะถูกส่งไปยังโรงงานของ Kolomna เพื่อซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่

ทั้งนี้กองทัพเรือรัสเซียมีแผนที่จะสั่งจัดหาเรือฟริเกตติดอาวุธปล่อยนำวิถีชั้น Admiral Gorshkov เข้าประจำการอย่างน้อย 6ลำ ซึ่งขณะนี้มีเรือที่สร้างเสร็จแล้ว 2ลำคือ Admiral Gorshkov และ Admiral Kasatonov
อย่างก็ตามจากปัญหาการยกเลิกการใช้เครื่องยนต์ยูเครนในข้างต้นทำให้โครงการสร้างเรือชั้นนี้มีความล่าช้ามาตลอด ซึ่งปัญหาเครื่องยนต์ที่ผลิตในรัสเซียขัดข้องล่าสุดนี้จะทำให้ความพร้อมปฏิบัติการของเรือฟริเกตชั้น Admiral Gorshkov มีความล่าช้าลงไปอีกครับ

วันพฤหัสบดีที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

BAE Systems เสนอเงินทุนจากอังกฤษแก่มาเลเซียถ้าเลือกจัดหาเครื่องบินขับไล่ Typhoon

BAE proposes UK government financing to Malaysia for Typhoon jet deal
FILE PHOTO: A member of staff works in the cockpit of an aircraft on the Eurofighter Typhoon production line at BAE systems Warton plant near Preston, northern England September 7, 2012. REUTERS/Phil Noble

FILE PHOTO: Four British Eurofighter Typhoons from the Royal Air Force arrive at Bodoe Main Air Station on the first day of the NATO Arctic Challenge Exercise, May 25, 2015. REUTERS/Thorbjoern Kjosvold/Norwegian Armed Forces/Handout/NTB Scanpix
https://uk.reuters.com/article/uk-bae-systems-malaysia/bae-proposes-uk-government-financing-to-malaysia-for-typhoon-jet-deal-idUKKBN1FX0E2

บริษัท BAE Systems จะเสนอการมอบเงินทุนสนับสนุนจากรัฐบาลสหราชอาณาจักรแก่มาเลเซียถ้าตัดสินใจเลือกจัดหาเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon
เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่เดิมที่มีอยู่ของกองทัพอากาศมาเลเซีย(RMAF: Royal Malaysian Air Force, TUDM: Tentera Udara Diraja Malaysia) ตามที่ทางบริษัทกล่าว

เป็นเวลาหลายปีที่กองทัพอากาศมาเลเซียชั่งน้ำหนักตัดสินใจเลือกระหว่างเครื่องบินขับไล่ Dassault Rafale ฝรั่งเศส หรือ Eurofighter Typhoon ผลิตโดย BAE Systems สหราชอาณาจักร
ตามโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ MRCA(Multirole Combat Aircraft) จำนวน 18เครื่องเพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ MiG-28N รัสเซียที่จัดหาในปี 1995 ซึ่งปัจจุบันทั้ง 12เครื่องที่เหลืออยู่ส่วนใหญ่อยู่ในสภาพถูกงดบิน

การแข่งขันที่คาดว่าจะมีมูลค่าถึงมากกว่า $2 billion(1.44 billion British Pound) เป็นหนึ่งในโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่รายการใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย แม้ว่าการตัดสินใจในโครงการที่จะเลื่อนออกไปจากทั้งการเลือกใหญ่ของมาเลเซียที่กำลังมีขึ้น
และการที่กองทัพอากาศมาเลเซียให้ความสำคัญกับการจัดหาเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลเพื่อรับมือภัยคุกคามจากกลุ่มติดอาวุธก่อการร้ายที่เพิ่มสูงขึ้นในภูมิภาค ASEAN(http://aagth1.blogspot.com/2017/07/mrca.html, http://aagth1.blogspot.com/2017/12/blog-post_22.html)

"เราได้ให้ข้อเสนอที่ต่อรองได้ มันเป็นราคาที่แข่งขันได้และเราได้เสนอเงินทุนจากรัฐบาลสหราชอาณาจักร ดังนั้นรัฐบาลมาเลเซียสามารถแบ่งจ่ายการชำระเงินกู้ในระยะยาวได้ เราสามารถให้การฝึก, การเป็นหุ้นส่วนของภาคอุตสาหกรรมท้องถิ่น และงานอีกเป็นจำนวนมาก"
Alan Garwood ผู้อำนวยการกลุ่มการพัฒนาธุรกิจของ BAE Systems กล่าวในการให้สัมภาษณ์ที่ Kuala Lumpur มาเลเซีย โดยเงินทุนจะถูกดำเนินการมอบผ่านทาง UK Export Finance สำนักงานสินเชื่อเพื่อการส่งออกของรัฐบาลสหราชอาณาจักร

BAE Systems ซึ่งเป็นผู้นำในการรณรงค์การขายเครื่องบินขับไล่ Typhoon ในภูมิภาคนี้ซึ่งเป็นเครื่องที่สร้างร่วมกัยโดย BAE Systems สหราชอาณาจักร, Leonardo อิตาลี และ Airbus เยอรมนี-สเปน
บริษัทได้มองการขับเคลื่อนทางการตลาดเพิ่มเติมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ ด้วยการขายเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจของตนแก่มาเลเซีย โดยเชื่อว่าการตัดสินใจเลือกแบบเครื่องบินขับไล่ใหม่จะมีขึ้นหลังการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในเดือนสิงหาคม 2018 นี้

"ผู้รู้สึกว่าที่นั่นต้องการที่จะมุ่งไปข้างหน้าในอีกไม่กี่หลายปีจากนี้ เราต้องการที่จะเห็นความคืบหน้าบางอย่างเกิดขึ้นในปีนี้หลังการเลือกตั้ง เพราะว่ามีแนวโน้มว่ารัฐบาลจะมีการตัดสินเรื่องแบบนี้ก่อนหน้าเล็กน้อยในช่วงที่ดำรงตำแหน่งมากว่าที่จะเกิดขึ้นภายหลัง"
เราคิดว่ามันมีหน้าต่างของโอกาสที่นั่นตามสถานะทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งขึ้น" John Brosnan ผู้อำนวยการการจัดการภาคมาเลเซียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ BAE Systems กล่าว

สภาพเศรษฐกิจของมาเลเซียได้รับการฟื้นฟูในเวลาหลายปีหลังมานี้ จากที่ก่อนหน้าหลายปีมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ช้าและค่าเงิน Ringgit ที่เปลี่ยนแปลงที่มีผลจากราคาน้ำมันที่อ่อนตัวลง
BAE Systems สหราชอาณาจักรยังคงต้องแข่งขันกับ Dassault Aviation ฝรั่งเศส ซึ่งจนถึงล่าสุดนี้เครื่องบินขับไล่ Rafale ได้ถูกมองว่ามีความได้เปรียบนำหน้า Typhoon อยู่

นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย Najib Razak กล่าวเมื่อเดือนมีนาคม 2017 ว่าข้อตกลงในการจัดหา Rafale ได้อย่ในประเด็นการหารือระหว่างที่ประธานาธิบดีฝรั่งเศส Francois Hollande เดินทางเยือนกลุ่มชาติ ASEAN แต่มาเลเซีย "ยังไม่พร้อมที่จะตัดสินใจ"
ทั้งนี้บริษัท Dassault ฝรั่งเศสได้รับสัญญาจัดหาเครื่องบินขับไล่ Rafale 36เครื่องแก่กองทัพอากาศอินเดีย(Indian Air Force) และทางบริษัทยังคงกำลังอยู่ในระหว่างการเจราจากับรัฐบาลอินเดียเพื่อการจัดหา Rafale เพิ่มเติมครับ

วันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

Lockheed Martin สหรัฐฯส่งมอบเครื่องบินลำเลียง C-130J เครื่องที่400แล้ว

Strength in Numbers: Lockheed Martin Delivers 400th C-130J Super Hercules Aircraft
Lockheed Martin delivered the 400th C-130J Super Hercules aircraft on Feb. 9, 2018. This milestone Super Hercules was delivered to the U.S. Air Force, which is the largest C-130J operator in the world. Photo by Amanda Mills, Lockheed Martin.
https://news.lockheedmartin.com/2018-02-12-Strength-in-Numbers-Lockheed-Martin-Delivers-400th-C-130J-Super-Hercules-Aircraft#assets_20295_128401-117:19454

บริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯได้ก้าวเข้าสู่หลักชัยอันสำคัญด้วยการส่งมอบเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีสี่เครื่องยนต์ใบพัด C-130J Super Hercules เครื่องที่400 แก่ลูกค้า
โดย C-130J เครื่องที่400 ดังกล่าวเป็นรุ่นเครื่องบินลำเลียงปฏิบัติการพิเศษ MC-130J Commando II ที่จะเข้าประจำการในกองบัญชาการปฏิบัติการพิเศษกองทัพอากาศสหรัฐฯ(AFSOC: Air Force Special Operations Command, USAF: U.S. Air Force)

C-130J Super Hercules เป็นเครื่องในสายการผลิตปัจจุบันของตระกูลเครื่องบินลำเลียง C-130 Hercules อันเป็นตำนาน ซึ่งมีผู้ใช้งานทั่วโลก 17ประเทศ
ปัจจุบันฝูงบินเครื่องลำเลียง C-130J ทุกชาติทั่วโลกได้มีชั่วโมงบินสะสมมากกว่า 1.7ล้านชั่วโมงบินแล้วในการสนับสนุนแทบจะทุกภารกิจตามความต้องการ ทุกเวลา ทุกที่

"เราฉลองความสำเร็จนี้กับพนักงานของเรา, หุ้นส่วนภาคอุตสาหกรรมของเรา, และกลุ่มผู้ใช้งาน Super Hercules ที่มีถึง 17ประเทศ C-130J เครื่องที่400เครื่องแรกเหล่านี้ตรงตามความต้องการทั่วโลกเพื่อพิสูจน์สมรรถนะและความสามารถอันหลายหลายที่มีเฉพาะกับ Super Hercules เท่านั้น
ความทนทาน, ความสอดคล้อง และขีดความสามารถของมันจะคงต่อเนื่องใน C-130J ทุกเครื่องในฐานะตัวเลือกเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีระดับโลกในทศวรรษหน้าที่จะถึง " George Shultz รองประธานและผู้จัดการทั่วไปแผนกการขนส่งทางอากาศและทางทะเลของ Lockheed Martin กล่าว

C-130J ถูกจัดว่าเป็นเครื่องบินลำเลียงที่มีความสามารถอันหลากหลาย โดยปัจจุบัน C-130J สามารถถูกปรับแต่งเครื่องเพื่อรองรับภารกิจที่แตกต่างกันได้ 17รูปแบบ
ทั้งการลำเลียงขนส่ง(ทางทหารและทางการค้าพลเรือน), การดับเพลิง, การค้นหาและกู้ภัย, การปฏิบัติการพิเศษ, การลาดตระเวนสำรวจสภาพอากาศ และการเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ เป็นต้น

C-130J เครื่องที่400 นี้มีความแตกต่างไป โดยมันจะเป็นเครื่องรุ่น MC-130J เครื่องที่13 ที่ถูกดัดแปลงเป็นเครื่องบินลำเลียงโจมตี(Gunship) แบบ AC-130J Ghostrider ที่จะเข้าประจำการ ณ กองบินปฏิบัติการพิเศษที่1 ใน Hurlburt Field มลรัฐ Florida
AC-130J เป็นการนำเครื่องบินลำเลียง C-130J มาดัดแปลงอย่างมากหลายรายการเพื่อใช้ในภารกิจการสนับสนุนทางอากาศใกล้ชิด(close air support), การขัดขวางทางอากาศ(air interdiction) และการลาดตระเวนติดอาวุธ

รัฐบาลสหรัฐฯเป็นผู้ใช้งานเครื่องบินลำเลียง C-130J Super Hercules รายใหญ่ที่สุดในโลก การส่งมอบเครื่องล่าสุดยังคงมีอย่างต่อเนื่องสำหรับทุกรุ่นทั้งใน
กองบัญชาการขนส่งทางอากาศ(AMC:Air Mobility Command), AFSCOC และกองบัญชาการยุทธทางอากาศ (ACC: Air Combat Command) กองทัพอากาศสหรัฐฯ, นาวิกโยธินสหรัฐฯ(USMC: U.S. Marine Corps) และหน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ(USCG: U.S. Coast Guard)

กองกำลังพิทักษ์ชาติทางอากาศ(ANG: Air National Guard) และกำลังสำรองทางอากาศ(AFRC: Air Force Reserve Command) ยังคงมีใช้งานทั้ง C-130J และเครื่องรุ่นก่อนเช่น C-130H ซึ่งเริ่มใกล้จะถูกปลดประจำการลงตาม C-130E
ซึ่ง Lockheed Martin ได้ส่งมอบ C-130 ทุกรุ่นรวมมากกว่า 2,500เครื่องแก่ลูกค้ากว่า 70ประเทศทั่วโลกนับตั้งแต่ที่เครื่องต้นแบบ Lockheed YC-130 ทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 1954

ทั้งนี้แม้ว่าจะเปิดสายการผลิตมาเป็นเวลาเกือบ 70ปีแล้ว แต่ Lockheed Martin สหรัฐฯยังคงได้รับสัญญาจัดหาเครื่องบินลำเลียง C-130J จากทั้งในและต่างประเทศอยู่อย่างต่อเนื่องซึ่งทำให้สามารถเปิดสายการผลิตต่อไปได้ไม่ต่ำกว่าอีก 10ปีข้างหน้า
สำหรับในส่วนของกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) ที่มีเครื่องบินลำเลียง บ.ล.๘ C-130H และ C-130H-30 ฝูงบิน๖๐๑ กองบิน๖ ทั้ง ๑๒เครื่องที่เข้าประจำการมาตั้งปี พ.ศ.๒๕๒๓(1980) นั้น C-130J สหรัฐฯก็เป็นหนึ่งในแบบตัวเลือกเพื่อทดแทนครับ(http://aagth1.blogspot.com/2017/11/lockheed-martin-c-130j.html)

วันอังคารที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

เกาหลีเหนือเปิดตัวขีปนาวุธพิสัยใกล้ที่เหมือน Iskander-M SRBM รัสเซีย

North Korea parades elements of Iskander-like SRBM system
North Korea paraded on 8 February six TELs belonging to what appears to be a new SRBM system equipped with missiles that are similar in appearance to those that can be used by the Russian 9K720 Iskander-M. Source: KCNA

North Korea displayed its Hwaseong-15 ICBM during a military parade held on 8 February in Pyongyang. (KCNA)
http://www.janes.com/article/77777/north-korea-parades-elements-of-iskander-like-srbm-system


ในการแสดงสวนสนามในวันครบรอบการก่อตั้งกองทัพประชาชนเกาหลี(KPA: Korean People's Army) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีครบรอบ 70ปีเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา
เป็นครั้งแรกที่มีการพบระบบขีปนาวุธพิสัยใกล้(SRBM: Short-Range Ballistic Missile) ที่ติดตั้งบนรถแคร่ฐานยิงอัตตาจรล้อยาง ซึ่งตัวขีปนาวุธมีความคล้ายคลึงว่าเหมือนและสามารถใช้ขีปนาวุธพิสัยใกล้ 9K720 Iskander-M รัสเซียได้

ฐานแท่นยิงแบบยกตั้งอัตตาจร(TEL: Transport-Erector-Launcher) ซึ่งติดตั้งขีปนาวุธพิสัยใกล้แบบใหม่ 6ระบบของเกาหลีเหนือที่เข้าร่วมการส่วนสนามล่าสุดนี้มีลักษณะรถยนต์บรรทุกหนัก 8x8ล้อแบบสี่เพลา
ซึ่งสามารถติดตั้งขีปนาวุธได้สองนัดที่ดูเหมือนขีปนาวุธแบบ 9M723 และ 9M723-1 ที่ใช้กับระบบขีปนาวุธพิสัยใกล้  Iskander-M ของรัสเซีย

การสวนสนามวันครบรอบ 70ปีการก่อตั้งกองทัพประชาชนเกาหลีดังกล่าวมีขึ้นก่อนจะเริ่มการจัดการแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว 2018(Winter Olympics) ที่ Pyeongchang สาธารณรัฐเกาหลีระหว่างวันที่ 9-25 กุมภาพันธ์
ยังเป็นครั้งแรกที่เกาหลีเหนือได้นำขีปนาวุธข้ามทวีป(ICBM: Intercontinental Ballistic Missile) แบบ Hwaseong-14 และ Hwaseong-15 มาร่วมการสวนสนามด้วย

ระบบขีปนาวุธข้ามทวีป Hwaseong-15 จำนวน 4ระบบถูกติดตั้งเป็นฐานยิงอัตตาจรแบบรถบรรทุกหนักล้อยางเก้าเพลา 18x18 ตามข้อมูลจากสำนักข่าว KCNA(Korean Central News Agency) ของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี
เกาหลีเหนือได้ทดสอบยิงขีปนาวุธ Hwaseong-15 ซึ่งใช้จรวดเชื้อเพลิงเหลวแบบสองท่อนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2017 สามารถทำความสูงได้ 4,475km โคจรเป็นวิถีโค้งระยะทาง 950km ก่อนตกในทะเลญี่ปุ่น(หรือทะเลตะวันออกตามที่เกาหลีเรียก)

ตามที่เกาหลีเหนืออ้างขีปนาวุธดังกล่าว "สามารถยิงโจมตีได้ทุกที่ในสหรัฐฯ" และชี้ให้เห็นว่าการพัฒนาระบบอาวุธนี้เป็นการแสดงถึงขีดความสามารถในการโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ของกองกำลังขีปนาวุธกองทัพประชาชนเกาหลี
ระบบขีปนาวุธข้ามทวีป Hwaseong-14 จำนวนหนึ่งยังได้ถูกแสดงตัวจรวดวางบนรถบรรทุกพวกชานต่ำ แทนที่จะเป็นฐานยิงอัตตาจร TEL ในการสวนสนาม

เป็นที่ทราบว่าการทดสอบยิงขีปนาวุธ Hwaseong-14 มีขึ้นครั้งแรกเมื่อ 4 กรกฎาคม 2017 โดยจรวดสามารถทำความสูงได้ 2,802km และโคจรเป็นวิถีโค้งระยะทาง 933km ก่อนตกในทะเลญี่ปุ่น
การยิงครั้งที่สองของ Hwaseong-14 มีขึ้นในวันที่ 28 กรกฎาคม 2017 โดยจรวดทำความสูงได้ 3,725km โคจรเป็นวิถีโค้งระยะทาง 998km ก่อนตก ตามการอ้างของสำนักข่าว KCNA บ่งชี้ว่าขีปนาวุธมีพิสัยยิงที่มากกว่าถึง 10,000km

เกาหลีเหนือยังได้เปิดตัวอาวุธอีกหลายแบบในงานสวนสนามเช่น รถถังหลัก Songun-ho II ติดปืนใหญ่รถถัง 125mm(เหมือน 2A46 รัสเซีย) พร้อมเกราะปฏิกิริยาแรงระเบิด(ERA: Explosive Reactive Armour) อาวุธปล่อยวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้ 2นัด และอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง 2นัด
รถถังหลัก Pokpung-ho IV รุ่นใหม่ซึ่งติดตั้งอาวุธปล่อยวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้ 2นัด และอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง 2นัดที่ป้อมปืนปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน Chuche-Po(M-1991) 122mm(จะเห็นว่ายานเกราะของเกาหลีเหนือส่วนใหญ่จะติด SAM พิสัยใกล้ และป้อมปืนกลหนักแฝดสอง)

ยานเกราะล้อยางลำเลียงพล M-2010 แบบ 6x6 และ 8x8 ติดป้อมปืนกลหนัก 14.5mm แฝดสอง(เหมือนมีพื้นฐานจาก BTR-80 รัสเซีย) ระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้อัตตาจรสายพานแบบใหม่ที่ปรากฎเป็นครั้งแรก(เหมือนดัดแปลงจาก 9K35 Strela-10 รัสเซีย)
เครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องอัตตาจรล้อยาง KN-09 300m 8ท่อยิงรุ่นใหม่ และหน่วยรบพิเศษของกองทัพประชาชนเกาหลีซึ่งถืออาวุธประจำกายที่เหมือนปืนเล็กยาวติดเครื่องยิงลูกระเบิดแบบตั้งค่าการยิงได้ ZH-05(QTS-11) จีน เป็นต้นครับ