วันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

เอสโตเนีย ลิทัวเนีย และยูเครนมองการเพิ่มขีดความสามารถด้านปืนใหญ่อัตตาจร

Baltic states boost artillery capabilities
When deployed, the ex-German Army 155 mm/52 calibre SP PzH 2000 artillery systems will provide Lithuania with a significantly improved indirect fire capability. Source: Lithuania Land Force

The Korean-made 155 mm/52 calibre K9 Thunder self-propelled artillery system seen during trials in Finland. Finland has ordered 48 systems. (IHS Markit/Peter Felstead)
http://www.janes.com/article/78072/baltic-states-boost-artillery-capabilities

Ukraine seeks improved artillery capabilities
A Russian 152 mm 2S19M1 in travelling configuration and with 152 mm ordnance in travel lock. Source: Christopher F Foss
http://www.janes.com/article/77996/ukraine-seeks-improved-artillery-capabilities

กองทัพบกเอสโตเนียและกองทัพบกลิทัวเนียกำลังปรับปรุงขีดความสามารถด้านระบบอาวุธยิงจำลอง(ปืนใหญ่)ของตน ตามที่เจ้าหน้าที่กองทัพของรัฐ Baltic ทั้งสองประเทศเน้นในงานสัมมนา IQPC Future Indirect Fires Eastern Europe Conference ที่ Bucharest โรมาเนีย
กองทัพบกเอสโตเนียปัจจุบันมีสองกองพลน้อยทหาร ซึ่งแต่ละกองพลน้อยมีหนึ่งกองพันทหารเป็นหน่วยขึ้นตรง ซึ่งขณะที่กองพันทหารปืนใหญ่เหล่านี้ประจำการด้วยอาวุธยิงลากจูง

กองพลน้อยทหารราบแรกมีปืนใหญ่วิถีโค้งลากจูง FH-70A1 155mm/39cal 24กระบอกซึ่งจัดหาจากเยอรมนีในปี 2003 ขณะที่กองพลน้อยทหารราบที่สองมีปืนใหญ่ลากจูง D-30 122mm รัสเซีย 18กระบอก จากฟินแลนด์ซึ่งกองทัพบกฟินแลนด์(Finnish Army)กำหนดแบบเป็น H-63
กองพันทหารปืนใหญ่ยังมีเครื่องยิงลูกระเบิด M41/D ขนาด 120mm ที่จัดหาจากสวีเดนเช่นเดียวกับเครื่องยิงลูกระเบิด M252 ขนาด 81mm ที่จัดหาจากสหรัฐฯ

คาดว่ากองทัพบกเอสโตเนียจะได้รับมอบปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน K9 Thunder ขนาด 155mm/52caliber จำนวน 24ระบบที่เคยประจำการในกองทัพบกสาธารณรัฐเกาหลี(ROKA: Republic of Korea Army)
ป.อัตตาจร K9 ซึ่งผลิตโดยบริษัท Hanwha Land Systems สาธารณรัฐเกาหลีจะถูกส่งมอบโดยแบ่งเป็นสองชุดชุละ 12ระบบ(http://aagth1.blogspot.com/2017/02/k9-thunder.html)

เอสโตเนียยังเน้นความสำคัญต่อระบบค้นหาเป้าหมาย, ระบบควบคุมและบัญชาการ Digital และระบบควบคุมการยิง ที่รวมถึงความเข้ากันได้กับประเทศพันธมิตร
ตัวอย่างเช่น ระบบปืนใหญ่ FH-70A1 ของตนที่สามารถใช้ประโยชน์จากการปรับการควบคุมการยิงได้

กองทัพบกลิทัวเนียมีปืนใหญ่วิถีโค้งลากจูง M101 105mm สหรัฐที่จัดหาจากเดนมาร์กในปี 2002 ซึ่งมีอายุการใช้งานมานาน
จากพื้นฐานที่ออกแบบมาเมื่อ 80ปีก่อน M101 ถึงเวลาที่จำเป็นต้องปลดประจำการ และระบบมีระยะยิงไกลสุดเพียง 11,270m เมื่อยิงด้วยกระสุนระเบิดแรงสูง M1 HE(High-Explosive)

M101 ลิทัวเนียจะถูกแทนที่ด้วยปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน PzH 2000 ขนาด 155 mm/52caliber จำนวน 21ระบบที่ผลิตโดยบริษัท Krauss-Maffei Wegmann เยอรมนี ซึ่งเคยประจำการในกองทัพบกเยอรมนี(Heer) มาก่อน
ภายใต้ข้อตกลงระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาลที่เยอรมนีและลิทัวเนียลงนามเมื่อเดือนกันยายน 2015(http://aagth1.blogspot.com/2015/10/pzh-2000.html)

ยูเครนมีแผนในระยะยาวที่จะนำปืนใหญ่ขนาด 155mm/52caliber NATO เป็นมาตรฐานขนาดลำกล้องตามแบบของกองกำลังปืนใหญ่ตามที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกองทัพยูเครนกล่าวในงานสัมมนา IQPC Future Indirect Fires Eastern Europe Conference
พลตรี Andrii Koliennikov รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์กลางเพื่ออาวุธยุโธปกรณ์ทางทหารยูเครนเน้นย้ำว่าปืนใหญ่อัตตาจรขนาด 155mm/52cal แบบใหม่ที่จะพัฒนาในประเทศสองแบบคือสายพานและล้อยางจะแทนที่ระบบปืนใหญ่ลากจูงและอัตตาจรที่มีประจำการทั้งหมด

แม้ว่ายูเครนจะได้พิสูจน์ขีดความสามารถในการออกแบบ พัฒนา และผลิตยานเกราะสายพานและยานเกราะล้อยางของตน ซึ่งมีพื้นฐานดั้งเดิมจากระบบปืนใหญ่ขนาดลำกล้อง 122mm และ 152mm รัสเซีย
มีเช่น ปืนใหญ่อัตตาจรสายพ่น 2S1 Gvozdika 122mm, 2S3 Akatsiya 152mm, 2S5 Giatsint-S 152mm, 2S19 Msta-S 152mm และ 2S7 Pion 203mm บางส่วน

ระบบปืนใหญ่ลากจูงมีเช่น D-30 122mm, 2A36 152mm และ 2A65 152mm ซึ่งต่างมีความเสี่ยงในการถูกยิงสวนกลับ ดังนั้นพวกมันจึงถึงเวลาที่จำเป็นต้องถูกปลดประจำการ
ยูเครนได้มีการนำระบบค้นหาเป้าหมายใหม่มาเป็นขีดความสามารถกับระบบอาวุธจากรัสเซีย เช่นระบบตรวจการใหม่สำหรับผู้ตรวจการณ์หน้า(FOO: Forward Observation Officer), ช่องทางข้อมูล, ระบบสื่อสาร และ Radar ค้นหาที่ตั้งปืนใหญ่

ระบบ Radar SNAR-10 รัสเซียที่ติดตั้งบนรถเกราะสายพาน MT-BL ได้ถูกเปลี่ยนเป็น Radar AN/TPQ-36, AN/TPQ-48 และ AN/TPQ-49 สหรัฐฯ เสริมด้วยระบบอากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle) ที่ยูเครนพัฒนาในประเทศ
การเปลี่ยนไปใช้กระสุนปืนใหญ่มาตรฐาน 155mm/52cal NATO ของยูเครนมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มจำนวนกองกำลังปืนใหญ่อาวุธปล่อยนำวิถี, เพิ่มขีดความสามารถการลาดตระเวนและการบริหารจัดการปืนใหญ่ เช่นเดียวกับการยิงตอบโต้ทำลาย และสร้างระบบลาดตระเวน/จู่โจมปืนใหญ่ครับ