วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

กองพันรถถังร่วมเนเธอร์แลนด์-เยอรมนีรับมอบ Leopard 2A6MA2 คันแรก

Dutch-German tank battalion receives first Leopard 2A6MA2
The first of a total of 17 Leopard 2A6MA2s has been delivered to Panzerbataillon 414. Source: Bundeswehr
http://www.janes.com/article/80374/dutch-german-tank-battalion-receives-first-leopard-2a6ma2

กองพันรถถังที่414 (Panzerbataillon 414) กองทัพบกเยอรมนี(German Army, Heer) ซึ่งมีหน่วยขึ้นตรงคือกองร้อยรถถังเนเธอร์แลนด์ได้รับมอบรถถังหลัก Leopard 2A6MA2 คันแรกเมื่อเร็วๆนี้ ตามที่กองทัพเยอรมนี(Bundeswehr) ประกาศเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคมที่ผ่านมา
รถถังหลัก Lepard 2A6MA2 ที่เหลือ 16คันถูกกำหนดให้ส่งมอบแก่กองพันซึ่งมีที่ตั้งใน Lohheide ทางตอนเหนือของเยอรมนีภายในสิ้นเดือนมิถุนายนนี้รวมทั้งหมด 17คัน ตามที่กองทัพเยอรมนีเสริม

กองพันรถถังที่414 ซึ่งกองทัพบกเยอรมนีและกองทัพบกเนเธอร์แลนด์(Royal Netherlands Army, Koninklijke Landmacht) ร่วมจัดตั้งขึ้นในปี 2015
อยู่ภายใต้สายการบังคับบัญชาของ กองทัพน้อยยานเกราะที่43(43 Gemechaniseerde Brigade) กองทัพบกเนเธอแลนด์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกองพลยานเกราะที่1(1 Panzerdivision) กองทัพบกเยอรมนี

ผู้บังคับการกองพันรถถังที่414 พันโท Marco Niemeyer ได้อธิบายการ "ส่งมอบ-รับมอบ" ถ.หลัก Leopard 2A6MA2 ซึ่งจะประจำการในกองร้อยรถถังเยอรมนีว่าเป็นก้าวอย่างสำคัญของหน่วย
ในการบูรณาการร่วมกับระบบบริหารจัดการสนามรบ ELIAS(Essential Land based Information Application & Services) เนเธอร์แลนด์ ที่นำมาใช้ในการปฏิบัติงานร่วมกับกองทัพน้อยยานเกราะที่43

รถถังหลัก Leopard 2 ของกองพันรถถังที่414 จะยังได้รับการปรับปรุงเป็นมาตรฐาน Leopard 2A6MA2 และติดตั้งระบบ ELIAS นั้น
พวกมันจะปฏิบัติการรวมกับกองทัพน้อยยานเกราะที่43 ที่จะมีรถถังหลักที่ได้รับการปรับปรุงทั้งหมด 48คัน

เดิมทีกองทัพบกเนเธอร์แลนด์เคยมีหน่วยรถถังหลักในอัตราจัดคือ กรมทหารม้า Hussars Prince Alexander(Regiment Huzaren Prins Alexander) และ กรมทหารม้า Hussars van Sytzama(Regiment Huzaren van Sytzama)
อย่างไรก็เนื่องจากการตัดลดงบประมาณกลาโหมของรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ในช่วงปี 1990s-2010s ทำให้กองพันรถถังหลัก Leopard 2A4, Leopard 2A5 และ Leopard 2A6 หน่วยขึ้นตรงของทั้งสองกรมทหารม้าถูกทยอยยุบหน่วยจนหมด

นั่นทำให้ในช่วงต้นปี 2010s ที่ผ่านมานั้นกองทัพบกเนเธอร์แลนด์ไม่มีรถถังหลักประจำการอยู่เลยแม้แต่หน่วยเดียว อย่างไรตามการจัดตั้งกองทัพร่วมเนเธอร์แลนด์-เยอรมนี ทำให้หน่วยรถถังหลักถูกนำกลับมาจัดตั้งขึ้นมาใหม่อีกครั้ง
ซึ่งเป็นการตอบสนองต่อสถานการณ์ความมั่นคงของกลุ่มชาติสมาชิก NATO ที่ภัยคุกคามจากกองทัพรถถังและยานเกราะของรัสเซียต่อกลุ่มประเทศในยุโรปตะวันตกเริ่มมีมากขึ้นครับ

วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

เรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ LPH-6112 Marado เกาหลีใต้จะติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถี K-SAAM ของตนเอง

South Korea to deploy K-SAAM on second Dokdo class
K-SAAM on second Dokdo class seen here during its launch ceremony on 14 May. Source: RoKN
http://www.janes.com/article/80340/south-korea-to-deploy-k-saam-on-second-dokdo-class

เรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Dokdo ลำที่สอง(LPH: Landing Platform Helicopter) ของกองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลี(ROKN: Republic of Korea Navy) คือ LPH-6112 ROKS Marado
จะได้รับการติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศแบบ K-SAAM(Korean Surface-to-Air Anti-Missile) ที่พัฒนาในประเทศ ตามที่ตัวแทนที่ใกล้ชิดโครงการในภาคอุตสาหกรรมได้ยืนยันกับ Jane's

เรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ LPH-6112 ROKS Marado ที่มีพิธีปล่อยลงน้ำเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคมที่ผ่านมา(http://aagth1.blogspot.com/2018/05/lph-6112-marado.html, http://aagth1.blogspot.com/2018/05/lph-6112-marado_21.html)
เมื่อเข้าประจำการจะได้รับการติดตั้งแท่นยิงแนวดิ่ง(VLS: Vertical Launching System) แบบ K-VLS ที่พัฒนาในเกาหลีใต้สำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ K-SAAM ในส่วนท้ายสุดของดาดฟ้ายกของเรือ

K-SAAM เป็นอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศประจำเรือผิวน้ำต่อต้านอาวุธทางอากาศความยาว 3.07m ซึ่งนำวิถรด้วยระบบ inertial mid-course ช่วงโคจรเข้าสู่เป้าหมายและส่วนค้นหาคู่แบบ Microwave และสร้างภาพความร้อน Infrared สำหรับการนำวิถีระยะสุดท้ายสู่เป้าหมาย
โครงการพัฒนาในชื่อ Haegung หรือ Sea Bow(ศรทะเล) ในเกาหลีใต้เริ่มต้นในปี 2011 และทำการทดสอบการยิงครั้งแรกในปี 2013 นอกจากได้รับการพัฒนาเพื่อต่อต้านเป้าหมายทางอากาศแล้ว K-SAAM ยังมีขีดความสามารถในการต่อต้านเรือผิวน้ำและเป้าหมายภาคพื้นดินแบบจำกัดด้วย

เจ้าหน้าที่ของบริษัท LIG Nex1 สาธารณรัฐเกาหลีผู้พัฒนาระบบได้กล่าวกับ Jane's ในงานแสดงการบินและอาวุธยุทโธปกรณ์ ADEX 2015(Aerospace and Defense Exhibition) ว่า
อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ K-SAAM จะเข้าประจำการในกองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลีในปี 2018 นี้ และท้ายสุดจะถูกนำไปทดแทนอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้ Raytheon RIM-116 RAM(Rolling Airframe Missile) สหรัฐฯที่ติดบนเรือรบเกาหลีใต้

ระบบอาวุธดังกล่าวนี้เป็นส่วนหนึ่งของความแตกต่างหลายอย่างระหว่างเรือ ROKS Marado กับเรือพี่สาวลำแรกของชั้นคือ LPH-6111 ROKS Dokdo ซึ่งเข้าประจำการในปี 2007
ชุดภาพพิธีปล่อยเรือลงน้ำของเรือ ROKS Dokdo ได้เปิดเผยถึงการที่เกาหลีใต้ยังได้เลือกติดตั้งระบบตรวจจับที่ผสมระหว่างของในประเทศและอิสราเอลบนเรือ เป็นการแสดงถึงการนำระบบที่พัฒนาในประเทศมาใช้ในเรือของตนอย่างมาก

นี่รวมถึง Radar ตรวจการณ์ multifunction แบบ ELM-2248(MF-STAR) จากบริษัท ELTA Systems อิสราเอล แทน multibeam radar แบบ SMART-L จากบริษัท Thales ยุโรปที่ติดตั้งบนเรือ ROKS Dokdo
และRadar ตรวจการณ์อากาศและพื้นน้ำสามมิติแบบ SPS-550K จากบริษัท LIG Nex1 สาธาณรัฐเกาหลี แทน Radar ตรวจการณ์แบบ Thales MW08 ยุโรปที่ติดตั้งบนเรือ ROKS Dokdo ครับ

วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ตุรกีมองจะจัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-57 รัสเซียแทนถ้าสหรัฐฯจะไม่ส่งมอบ F-35A ให้

Turkey looking at buying Russian Su-57 fighter jets instead of US’ F-35’s — media
Nevertheless, according to Turkey’s YeniSafak newspaper, Ankara is not planning to abandon its right to US fighter jets, with deliveries expected to begin in June
http://tass.com/world/1006762



First Flight of Turkish Air Force's F-35A, 10 MAY 2018


ตุรกีกำลังมองหาแนวทางในการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 แบบ Sukhoi Su-57 รัสเซียแทน ในกรณีที่สหรัฐฯปฏิเสธที่จะส่งมอบเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 Lockheed Martin F-35A Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) ให้
ตามที่หนังสือพิมพ์ YeniSafak ตุรกีรายงานเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ที่ผ่านมา แต่กระนั้นรายงานระบุว่า รัฐบาลตุรกีไม่มีแผนที่จะทิ้งสิทธิในการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A จากสหรัฐฯแต่อย่างใด

เครื่องบินขับไล่ F-35A Lightning II เครื่องแรกของกองทัพอากาศตุรกี(Turkish Air Force) หมายเลข 18-0001 ซึ่งทำการบินครั้งแรกจากโรงงานอากาศยานของบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯ ที่ Fort Worth มลรัฐ Texas เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคมที่ผ่านมานั้น
มีกำหนดจะส่งมอบให้ตุรกีในวันที่ 21 มิถุนายนที่จะถึง ซึ่งตุรกีเป็นชาติสมาชิก NATO ที่เข้าร่วมโครงการ JSF ในระดับ Level 3 และขั้นการพัฒนาและสาธิตระบบ(SDD: System Development and Demonstration)

โดยตุรกีมีอุตสาหกรรมอากาศยานภายในของตนที่สามารถจะเป็นผู้ผลิตส่วนประกอบรายย่อยสำหรับ F-35 ให้กับผู้ใช้งานทั่วโลกตลอดอายุการใช้งานได้
อย่างไรก็ตามตุรกีได้เริ่มการหารือเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนแบบเครื่องไปจาก F-35A สหรัฐฯ ซึ่งเครื่องบินขับไล่ Su-57 รัสเซียกำลังถูกมองว่าเป็นตัวเลือกทดแทนที่ดี

ตามที่หนังสือพิมพ์ YeniSafak กล่าว เครื่องบินขับไล่ Su-57 รัสเซียมีราคาเครื่องเกือบจะเป็นครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับราคาต่อเครื่องของเครื่องบินขับไล่ F-35 สหรัฐฯ
แต่สื่อตุรกีไม่ได้ระบุว่าการหารือระหว่างตุรกีกับรัสเซียในเรื่องนี้ไปถึงขั้นใดแล้ว โดยขณะนี้รัฐบาลตุรกีไม่ได้แสดงความเห็นอย่างเป็นทางการใดๆออกมา

สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯแห่งรัฐสภา Congress ได้อนุมัติงบประมาณประจำปี 2019 สำหรับกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ(Pentagon) เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคมที่ผ่านมา ซึ่งรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯแจ้งถึงความเป็นไปได้ในการตัดการอนุมัติการขายอาวุธยุทโธปกรณ์ให้แก่ตุรกีออกไป
โดยไม่มีรายงานพิเศษเกี่ยวกับการจัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-400 Triumf จากรัสเซียของตุรกี(http://aagth1.blogspot.com/2017/10/s-400.html, http://aagth1.blogspot.com/2017/12/s-400.html)

ตุรกีกล่าวก่อนหน้านี้ว่ามีแผนที่จะจัดซื้อ F-35A มากกว่า 100เครื่อง ซึ่ง Turkish Aerospace Industries(TAI) ผู้พัฒนาและผลิตอากาศยานตุรกีมีแผนที่จะได้รับสิทธิบัตรการผลิต F-35 ในประเทศ เช่นเดียวกับที่ได้ผลิต F-16 ก่อนหน้า
รวมถึงมองความเป็นไปได้ในการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35B รุ่นบินขึ้นระยะสั้นและลงจอดทางดิ่ง(STOVL: Short Take-off and Vertical Landing) สำหรับปฏิบัติการจากเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ LHD(Landing Helicopter Dock) L408 TCG Anadolu ที่กำลังสร้าง(http://aagth1.blogspot.com/2017/12/harrier-f-35b-lhd-tcg-anadolu.html)

ทว่าแผนงบประมาณกลาโหมปี 2019 ของสหรัฐฯนั่นอาจจะทำให้แผนการจัดหา F-35 ของตุรกีต้องชะงัก ซึ่งมีผู้แทนราษฎรสหรัฐฯและวุฒิสมาชิกสหรัฐฯหลายคนที่เสนอแก่สภา Congress สหรัฐฯให้ระงับการขาย F-35 ให้ตุรกี
ขณะเดียวกันโฆษกกระทรวงการต่างประเทศตุรกี Hami Aksoy ได้กล่าวเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคมว่าประเทศของเขาอาจจะใช้มาตรการตอบโต้ต่อสหรัฐฯ ถ้าหากรัฐบาลสหรัฐฯจะละเมิดที่จะยกเลิกสัญญาการจัดหา F-35 ที่ตุรกีลงนามเข้าร่วมและจ่ายวงเงินให้โครงการไปแล้ว

แม้ว่า Su-57 จะเป็นเครื่องแบบเดียวที่เป็นทางเลือกทดแทน F-35 ของตุรกี แต่หลังการเสร็จสิ้นการทดสอบและส่งมอบเครื่องชุดแรกให้กองทัพอากาศรัสเซีย(VKS: Russian Aerospace Force) ในปี 2019 รัสเซียดูจะยังไม่ชัดเจนในการส่งออก Su-57 แก่ต่างประเทศ โดยเฉพาะถ้ามองการถอนตัวจากโครงการ FGFA ของอินเดีย(http://aagth1.blogspot.com/2018/04/fgfa.html)
ทั้งนี้ TAI ตุรกีเองก็มีโครงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 ของตนเองในประเทศในชื่อ TAI TFX ซึ่งอยู่ในระหว่างการศึกษาพัฒนา โดยคาดว่าเครื่องต้นแบบเครื่องแรกจะทำการบินได้ในราวปี 2023 ครับ

วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ออสเตรเลียปล่อยเรือพิฆาตป้องกันภัยทางอากาศชั้น Hobart ลำที่สามเป็นลำสุดท้ายลงน้ำ

Australia launches third and final Hobart-class Air Warfare Destroyer
Australian Chief of Navy Vice Admiral Tim Barrett in front of Hobart-class AWD Sydney. The ship is the third and final AWD launched for the RAN. Source: Australian DoD/Russell Millard
http://www.janes.com/article/80208/australia-launches-third-and-final-hobart-class-air-warfare-destroyer


ออสเตรเลียได้ทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำของเรือพิฆาตป้องกันภัยทางอากาศชั้น Hobart (AWD: Air Warfare Destroyer) ลำที่สามและเป็นลำสุดท้ายสำหรับกองทัพเรือออสเตรเลีย(RAN: Royal Australian Navy) คือ DDGH 42 HMAS Sydney
เรือพิฆาต DDGH 42 HMAS Sydney ความยาวตัวเรือ 146.7m ถูกปล่อยลงน้ำเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยพิธีมีผู้บัญชาการทหารเรือออสเตรเลีย พลเรือโท Tim Barrett เป็นประธาน ณ อู่เรือ Osborne ใน Adelaide ออสเตรเลีย

เรือพิฆาต HMAS Sydney ซึ่งถูกวางกระดูกงูเรือเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2015 มีกำหนดจะถูกส่งมอบให้กองทัพเรืออสเตรเลียเดือนธันวาคม 2019 หลังจากเสร็จสิ้นการทดลองเรือในทะเล
เรือลำแรกของชั้น DDGH 39 HMAS Hobart เข้าประจำการเมื่อเดือนกันยายน 2017(http://aagth1.blogspot.com/2017/06/hobart.html) และคาดว่าจะพร้อมปฏิบัติการเต็มอัตราภายหลังในปี 2018 นี้

ขณะที่เรือพิฆาตชั้น Hobart ลำที่สอง DDGH 41 HMAS Brisbane ซึ่งถูกปล่อยลงน้ำเมื่อเดือนธันวาคม 2016 กำลังอยู่ระหว่างการทดลองเรือในทะเล โดยมีกำหนดการส่งมอบเรือให้กองทัพเรือออสเตรเลียในเดือนกันยายน 2018
เรือฟริเกตชั้น Adelaide(ชั้น Oliver Hazard Perry สหรัฐฯ) ซึ่งยังคงประจำการอยู่ 2ลำคือ FFG 05 HMAS Melbourne และ FFG 06 HMAS Newcastle กำลังจะถูกปลดประจำการลงเพื่อหลีกทางให้กับเรือพิฆาตชั้น Hobart ที่จะเพิ่มขีดความสามารถทางการรบแก่กองทัพเรือออสเตรเลียมากขึ้น

เรือพิฆาตป้องกันภัยทางอากาศชั้น Hobart ออสเตรเลียมีพื้นฐานจากเรือฟริเกตชั้น F-100 Alvaro de Bazan ของ Navantia สเปน(โดยมีการดัดแปลงตามความต้องการของกองทัพเรือออสเตรเลียเป็นจำนวนมาก)
เรือพิฆาตชั้น Hobart ได้รับการติดตั้งระบบอำนวยการรบ Aegis ที่ทำงานร่วมกับ phased array radar แบบ AN/SPY-1D(V) ของ Lockheed Martin สหรัฐฯ

เรือพิฆาตป้องกันภัยทางอากาศชั้น Hobart กองทัพเรือออสเตรเลียติดตั้งแท่นยิงแนวดิ่ง Mk 41 VLS(Vertical Launch System) รุ่นความยาว Strike จำนวน 48ท่อยิงสำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยกลาง SM-2MR Block IIIA(Standard Missile-2 medium-range),
อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยไกล SM-2MR Block IIIB และอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยกลาง RIM-162 ESSM Block I(Evolved SeaSparrow Missiles) ในชุดบรรจุแบบแฝดสี่ต่อ1ท่อยิง

เรือพิฆาตชั้น Hobart ออสเตรเลียมีระวางขับน้ำเต็มที่ 6,350tons ยังติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ/โจมตีภาคพื้นดิน RGM-84 Harpoon Block II ของ Boeing สหรัฐฯ 8นัดในสองท่อยิงแฝดสี่,
ปืนใหญ่เรือ MK 45 MOD 4 5"/62cal ของ BAE Systems สาขาสหรัฐฯ 1กระบอกที่หัวเรือ และระบบป้องกันระยะประชิด(CIWS: Close-In Weapon System) Phalanx Block 1B 20mm ของ Raytheon สหรัฐฯ 1ระบบที่ท้ายเรือ,

ปืนใหญ่กล Orbital ATK M242 Bushmaster 25mm สหรัฐฯ 2กระบอกในแท่นยิง Remote แบบ Rafael Typhoon อิสราเอล และแท่นยิง Torpedo เบาแฝดสอง MK 32 MOD 9 ขนาด 324mm 2แท่นยิงสำหรับ Torpedo เบาปราบเรือดำน้ำ Eurotorp MU90 ฝรั่งเศส-อิตาลี
เรือพิฆาตชั้น Hobart ยังมีโรงเก็บและลาดจอดเฮลิคอปเตอร์ท้ายเรือ รองรับเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทางทะเล Sikorsky MH-60R Seahawk สหรัฐฯ 1เครื่องครับ

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ยูเครนเริ่มการพัฒนารถรบทหารราบสายพาน BMP-U ใหม่และรถถังหลักยุคอนาคต

UOP KHARKIV-MOROZOV DESIGN BUREAU WORKS ON BUILDING NEW COMBAT VEHICLE BMP-U AND PROMISING NEXT-GENERATION TANK



UKROBORONPROM SE "Kharkiv Morozov Machine-Building Design Bureau" is working to create next-generation combat vehicles that are to enter into service of the Ukrainian Army in 2020.
http://ukroboronprom.com.ua/en/media/hkbm-ukroboronpromu-pratsyuye-nad-stvorennyam-novoyi-bojovoyi-mashyny-bmp-u-ta-perspektyvnogo-tanka-novogo-pokolinnya.html

สำนักออกแบบ Kharkiv Morozov(KMDB) ผู้ออกแบบพัฒนาและผลิตยานเกราะและรถถังหลักยูเครน ในเครือ UKROBORONPROM รัฐวิสาหกิจด้านการจัดการอุตสาหกรรมความมั่นคงยูเครน
กำลังทำงานเพื่อออกแบบพัฒนาการสร้างรถรบสายพานยุคหน้าตระกูลใหม่ที่จะเข้าสู่สายการผลิตเพื่อประจำการในกองทัพยูเครนในปี 2020

นักออกแบบและวิศวกรของ KMDB ยูเครนกำลังมุ่งความสำคัญไปที่การพัฒนารถรบทหาราบสายพาน(IFV: Infantry Fighting Vehicle) แบบ BMP-U ใหม่ ซึ่งจะถูกนำมาทดแทนรถรบทหารราบรุ่นเก่าทั้ง BMP-1 และ BMP-2 ที่ประจำการมาตั้งแต่สมัยอดีตสหภาพโซเวียต
ขณะนี้ KMDB ได้เสร็จสิ้นการพัฒนาเอกสารการออกแบบแล้ว การผลิตรถต้นแบบและการทดสอบสมรรถนะคาดว่าจะมีขึ้นในปี 2019

รถรบทหารราบ BMP-U มีจุดประสงค์ในการพัฒนาเพื่อเป็นรถสายพานลำเลียงและยิงสนับสนุนสำหรับกองกำลังภาคพื้นดิน โดยมีความน่าเชื่อถือในการป้องกันกำลังพลประจำรถ 3นาย และทหารราบหรือทหารพลร่มที่บรรทุกไปกับรถได้ 7นาย
ตามการคำนวณระดับเกราะป้องกันของ BMP-U จะสูงมากกว่ายานเกราะล้อยาง BTR-4 8x8 ที่ 10-12% นอกจากนี้ห้องเครื่องยนต์และระบบส่งกำลังยังอยู่ด้านหน้าของตัวรถ ซึ่งจะรับประกันระดับการป้องกันกำลังพลในรถได้สูงมากยิ่งขึ้น

รถรบทหารราบ BMP-U จะติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซลกำลังขับ 735HP และระบบส่งกำลังอัตโนมัติ เพื่อให้มีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่และความเร็วสูงในสนามรบ
โดยรถมีน้ำหนักที่ 25-27tons มีอัตราส่วนแรงขับต่อน้ำหนักที่ 27-29hp/t ซึ่งสูงมากกว่ารถรบทหารราบ BMP-1(21-23hp/t) และแม้แต่รถถังหลักยุคปัจจุบันหลายแบบ BMP-U ยังสามารถเคลื่อนที่ผ่านสิ่งกีดขวางต่างๆและข้ามลำน้ำได้ด้วย

รถรบทหารราบ BMP-U จะติดตั้งป้อมปืนใหญ่กลใหม่แบบ BM-8 ที่พัฒนาขึ้นกว่ารุ่นก่อน ป้อมปืน BM-8 ติดตั้งปืนใหญ่กล 30mm, เครื่องยิงลูกระเบิดอัตโนมัติ, ปืนกลร่วมแกน และอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง Barrier
BMP-U ถูกออกแบบให้เป็นรูปแบบ Modular สามารถนำรถแคร่ฐานสายพานไปใช้งานได้หลายรูปแบบทั้ง รถที่บังคับการ, รถบัญชาการและควบคุม, รถลาดตระเวนสอดแนม, รถพยาบาล, รถกู้ซ่อม และอื่นๆที่จะถูกสร้างบนพื้นฐานของ BMP-U

สำนักออกแบบ KMBD ยูเครนยังได้กำลังพัฒนาการสร้างรถถังหลักยุคหน้า การทำงานที่ครอบคลุมการออกแบบรถถังหลักใหม่นี้ได้ถูกแบ่งเป็นหลายขั้นตอนแยกต่างหากจากกัน
ตั้งแต่การสร้างเครื่องยนต์และระบบส่งกำลังใหม่, การพัฒนาระบบอาวุธใหม่, กระสุนใหม่, ระบบป้องกันตัวใหม่ และระบบควบคุมการยิงใหม่ เช่นเดียวกับการนำระบบประมวลผลอัตโนมัติเป็นจำนวนมากมาใช้เพื่อลดจำนวนกำลังพลประจำรถจาก 3นาย เหลือเพียง 2นาย

การทำงานได้มีการวางแผนพัฒนามาแล้วหลายปี รวมถึงการนำหลักสำคัญของโครงการทั้งหมดมาใช้ ในปัจจุบันนี้ทีมพัฒนาของ KMDB ได้ดำเนินการพัฒนาขั้นพื้นฐานของห้องระบบส่งกำลังเครื่องยนต์ใหม่
และค่าการทำงานของเครื่องยนต์หลัก เช่นเดียวกับการทำงานในการผลิตสร้างระบบส่งกำลังตัวต้นแบบ

เครื่องยนต์ใหม่กำลัง 1,500HP จะสามารถใช้เชื้อเพลิงได้หลายแบบหรือเชื้อเพลิงที่ผสมกัน และจะยังสามารถปฏิบัติการได้ในสภาวะที่มีอุณหภูมิและสภาพอากาศที่สุดขั้วได้
ย.ใหม่จะมีขนาดกะทัดรัด สร้างในรูปแบบ Modular และทำงานจากการขับเคลื่อนโดยล้อหลัง เช่นเดียวกับการขับเคลื่อนด้วยล้อหน้า ผลที่ได้เครื่องยนต์แบบใหม่นี้จะถูกนำไปใช้ในการพัฒนาสร้างยานเกราะสายพานหนักตระกูลใหม่ครับ

วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ปากีสถานลงนามจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตี T129 ตุรกี 30เครื่อง

Pakistan signs for T129 attack helos
According to Turkey’s ruling party, Pakistan recently signed for 30 T129 attack helicopters. Source: TAI
http://www.janes.com/article/80336/pakistan-signs-for-t129-attack-helos

ปากีสถานได้ลงนามสัญญาอย่างเป็นทางการสำหรับการจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตี TAI T129 ATAK จากตุรกี ซึ่งได้รับการเปิดเผยเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคมที่ผ่านมา
การยืนยันการขายที่ได้รับการคาดไว้นี้ได้มีขึ้นโดยแถลงการณ์ทางการเมืองของพรรครัฐบาลตุรกี Justice and Development Party(AK Parti) ที่เผยแพร่ผลงานตามที่จะมีการจัดการเลือกตั้งทั่วไปของตุรกีที่จะมีกำหนดในเดือนมิถุนายน 2018 นี้

แถลงการณ์ของพรรครัฐบาลตุรกีกล่าวว่า "ในระยะเวลาอันสั้นที่ผ่านมาสัญญาสำหรับการขายเฮลิคอปเตอร์โจมตี 30เครื่องได้รับการลงนามกับปากีสถานแล้ว"
ไม่มีรายละเอียดเพิ่มเติม และ Turkish Aerospace Industries(TAI) ผู้พัฒนาและผลิตอากาศยานตุรกีไม่ได้ตอบรับการขอข้อมูลความเห็นใดๆขณะที่เขียนอยู่นี้

เป็นที่ทราบว่าปากีสถานได้มีการประเมินค่าเฮลิคอปเตอร์โจมตี T129 ตุรกีซึ่งมีพื้นฐานพัฒนาจากจากเฮลิคอปเตอร์โจมตี AgustaWestland A129 Mangusta อิตาลี
ในฐานะส่วนหนึ่งของการดำเนินการจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตีใหม่ของกองทัพบกปากีสถาน(Pakistan Army)

โดยกองทัพบกปากีสถานได้มีการสั่งจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตี Bell AH-1Z Viper สหรัฐฯจำนวน 12เครื่องไปก่อนหน้า(http://aagth1.blogspot.com/2017/09/mi-35m-ah-1z.html)
รวมถึงยังมีได้มีการทดลองใช้งานเฮลิคอปเตอร์โจมตี Z-10 จีนไปก่อนหน้าในปี 2014 ก่อนที่จะมีการทดลองประเมินค่า ฮ.โจมตี T129 ตุรกีในปี 2016

จากการพูดคุยต่อ Jane's และสื่อความมั่นคงอื่นๆก่อนหน้า ผู้บัญชาการกองบินทหารบกปากีสถาน(Pakistan Army Aviation) พลตรี Nasir Shah กล่าวเพียงว่า
จำนวนตัวเลือกแบบ ฮ.โจมตีกำลังได้รับการพิจารณาเพื่อเสริมการปฏิบัติการของเฮลิคอปเตอร์โจมตี Bell AH-1F Cobra สหรัฐฯที่มีอยู่ในปัจจุบัน, เฮลิคอปเตอร์โจมตี Mil Mi-35M รัสเซีย 4เครื่องที่เพิ่งได้รับมอบ และ ฮ.โจมตี AH-1Z Viper ที่จะได้รับมอบในเร็วๆนี้

"กองบินทหารบกปากีสถานได้วางแผนที่จะขยายขนาดจำนวนเฮลิคอปเตอร์โจมตีเพิ่มเติม และหลายทางเลือกกำลังได้รับการพิจารณาและประเมินค่า"
พล.ต.Shah กล่าวเมื่อ 31 มกราคมในงานสัมมนา IQPC Military Helicopter ที่ London

"ฮ.โจมตี AH-1(ที่มี 32เครื่อง) ได้นำประสิทธิภาพการสนับสนุนทางอากาศใกล้ชิดสำหรับการโจมตีของกำลังภาคพื้นดินเราในปฏิบัติการต่อต้านการก่อความไม่สงบ(COIN: Counterinsurgency)
แต่พวกมันไม่สามารถที่จะมีประสิทธิภาพในการนำไปวางกำลังปฏิบัติการในพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 8,000ft ได้" พล.ต.Shah เสริม โดยกองทัพบกปากีสถานได้เคยนำ ฮ.โจมตี AH-1F ในการโจมตีกลุ่มก่อการร้ายตามพรมแดนที่เป็นภูเขาสูงมาแล้ว

นอกจากปากีสถานแล้วบริษัท TAI ตุรกียังได้เสนอเฮลิคอปเตอร์โจมตี T129 ATAK ของตนเพื่อเข้าแข่งขันในโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตีแบบใหม่ของกองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army)(http://aagth1.blogspot.com/2017/11/tai-t-129-atak.html)
ซึ่งกองทัพบกไทยมีความต้องการจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตีใหม่ราว ๖-๘เครื่องเพื่อทดแทน ฮ.จ.๑ Bell AH-1F สหรัฐฯ ๗เครื่องที่ประจำการใน กองพันบินที่๓ กรมบิน ศูนย์การบินทหารบก(http://aagth1.blogspot.com/2017/09/blog-post_18.html) ครับ

วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ฟิลิปปินส์จะรับมอบเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-1F Cobra 2เครื่องจากจอร์แดน

Philippines to receive Cobra helos from Jordan
While Jordan is upgrading and retaining 12 Cobras for its own requirements, it is donating others to foreign air arms. The Philippine president has announced that his country is to receive two. Source: IHS Markit/Patrick Allen
http://www.janes.com/article/80285/philippines-to-receive-cobra-helos-from-jordan

ฟิลิปปินส์จะรับมอบเฮลิคอปเตอร์โจมตี Bell AH-1F Cobra สหรัฐฯ จำนวน 2เครื่อง ซึ่งได้รับบริจาคจากจอร์แดนตามที่สื่อฟิลิปปินส์รายงานล่าสุดเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคมที่ผ่านมา
การจัดหานี้ได้รับการยืนยันจากการประกาศของประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ Rodrigo Duterte แต่ไม่มีการให้รายละเอียดเพิ่มเติมใดๆออกมา

ปัจจุบันกองทัพอากาศจอร์แดน(Royal Jordanian Air Force) มีเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-1E และ AH-1F Cobra รวม 27เครื่อง ซึ่งรวม 16เครื่องที่ได้รับบริจาคจากอิสราเอลในปี 2014
โดยในจำนวนนี้มี AH-1F 12เครื่อง(น่าจะเป็นเครื่องที่บริจาคจากอิสราเอล) กำลังได้รับการปรับปรุงความทันสมัยเพื่อประจำการในกองทัพอากาศจอร์แดนต่อไป(http://aagth1.blogspot.com/2018/05/ah-1f-cobra.html)

ในจำนวน ฮ.โจมตี AH-1E/F Cobra ที่เหลือ 15เครื่องของจอร์แดน มีอย่างน้อย 3เครื่องที่ได้ถูกบริจาคให้เคนย่าแล้ว
และ ฮ.โจมตี Cobra อีก 2เครื่องกำลังจะถูกบริจาคให้กับฟิลิปปินส์ เช่นเดียวกับรถสายพานลำเลียง M113 จำนวนหนึ่ง(http://aagth1.blogspot.com/2018/04/m113-ah-1f.html)

แม้ว่าเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-1E/F Cobra ถือว่าค่อนข้างเก่าตามมาตรฐานปัจจุบัน แต่ ฮ.โจมตียุค 1970s นี้ยังคงเป็นระบบอากาศยานโจมตีที่มีศักยภาพสูงอยู่ โดยถูกออกมาเพื่อการโจมตีภาคพื้นดินโดยเฉพาะ
AH-1F ติดตั้งปืนใหญ่อากาศสามลำกล้องหมุน M197 20mm ที่หัวเครื่อง มีคานอาวุธข้างลำตัวติดตั้งจรวดไม่นำวิถี Hydra 70mm หรืออาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น BGM-71A TOW นำวิถีด้วยเส้นลวด และนักบินสองนายในห้องนักบินสองที่นั่งเรียงกันหุ้มเกราะ

เฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-1F Cobra เป็นระบบที่ได้รับการพิสูจน์ตนเองจากสนามรบทั่วโลกแล้วรวมถึงในตะวันออกกลาง โดยผู้ใช้งานหลายประเทศทั่วโลก
เช่น สหรัฐฯกับอิสราเอลที่ปลดประจำการไปแล้ว ตุรกี บาห์เรน ปากีสถาน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ที่มีแผนจะปลดประจำการลงในอนาคตหลังได้รับมอบเฮลิคอปเตอร์โจมตี Boeing AH-64 Apache ที่ใหม่และทันสมัยกว่า

การนำ ฮ.โจมตี AH-1F Cobra เข้าประจำการจะทำให้กองทัพอากาศฟิลิปปินส์(Philippine Air Force) มีขีดความสามารถในการรบเพิ่มขึ้นเสริม ฮ.ที่มีอยู่ เช่น เฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธ Boeing MD 520MG Defender สหรัฐฯ และ AgustaWestland AW109 อิตาลี
โดยฟิลิปปินส์จะเป็นประเทศที่สองในกลุ่ม ASEAN ที่มี ฮ.รุ่นนี้ใช้งานต่อจากกองทัพบกไทย(Royal Thai Army) ที่มี ฮ.จ.๑ Bell AH-1F Cobra ๗เครื่องที่ประจำการใน กองพันบินที่๓ กรมบิน ศูนย์การบินทหารบก ครับ(http://aagth1.blogspot.com/2017/09/blog-post_18.html)

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

สวีเดนจะปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ Gripen C/D ด้วยมาตรฐาน MS20

Sweden to upgrade MS20-standard Gripen C/Ds
The Swedish Air Force is to have its MS20-standard Gripen C/D fighter updated under a contract announced on 23 May. Source: MBDA
http://www.janes.com/article/80248/sweden-to-upgrade-ms20-standard-gripen-c-ds

บริษัท Saab สวีเดนได้รับสัญญาวงเงิน 224 million Swedish Krona เพื่อการปรับปรุงระบบของฝูงเครื่องบินขับไล่ JAS-39C/D Gripen ของกองทัพอากาศสวีเดน(SwAF: Swedish Air Force, Svenska flygvapnet)
สัญญาจากสำนักงานยุทโธปกรณ์กลาโหมสวีเดน(FMV) ได้ประกาศเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคมว่า บริษัท Saab จะเกี่ยวข้องกับการปรับปรุงบมาตรฐานชุดคำสั่ง MS20 ซึ่งเปิดตัวในปี 2016

โดยเฉพาะการปรับปรุงจะทำให้เครื่องมี 'ขีดความเป็นศูนย์กลาง' ที่รวมการค้นหาตรวจจับเป้าหมาย, การป้องกันตนเอง, การสื่อสาร และระบบส่วนติดต่อเครื่องจักร-มนุษย์(human-machine interface) เช่นเดียวกับการสนับสนุนที่สำคัญและระบบการฝึกหลายรายการ
การทำงานจะดำเนินการที่โรงงานของ Saab ใน Gothenburg, Järfälla, Linköping และ Arboga โดยการส่งมอบเครื่องจะมีขึ้นในช่วงระหว่างปี 2018-2020

กองทัพอากาศสวีเดนมีเครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดี่ยว JAS-39C Gripen C จำนวน 73เครื่อง และเครื่องบินขับไล่สองที่นั่ง JAS-39D Gripen D จำนวน 24เครื่อง ซึ่งทั้งหมดจะได้รับการการปรับปรุงมาตรฐาน MS20(เป็น block สุดท้ายสำหรับเครื่องบินขับไล่ Gripen C/D)
การปรับปรุงที่เป็นหลักสำคัญของชุดคำสั่งมาตรฐาน MS20 ได้ร่วมการบูรณาการระบบใหม่เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของเครื่องหลายประการ เช่น อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศระยะยิงนอกสายตา MBDA Meteor และระเบิดนำวิถีดาวเทียม Boeing GBU-39 Small Diameter Bomb I,

ปรับปรุง Mode การทำงานของ Radar, ขีดความสามารถการสนับสนุนทางอากาศใกล้ชิด(close-air support) digital, เพิ่มการเชื่อมโยงเครือข่าย Link 16, ขยายการนำร่องพลเรือน, การป้องกันนักบินจากนิวเคลียร์ ชีวะ รังสี เคมี(CBRN: Chemical Biological Radiological and Nuclear),
ขีดความสามารถการปฏิบัติการกลางคืนโดยใช้กระเปาะลาดตระเวน SPK 39 Modular Reconnaissance Pod II และระบบหลีกเลี่ยงการชนพื้น(GCAS: Ground Collision Avoidance System)

โดยที่เครื่องบินขับไล่ JAS-39E Gripen E รุ่นล่าสุด 60เครื่องที่จะเข้าประจำการในกองทัพอากาศสวีเดนช่วงปี 2022-2026 เดิมกองทัพอากาศสวีเดนตั้งใจที่จะปลดประจำการเครื่องบินขับไล่ Gripen C ของตนลงในช่วงเวลาเดียวกัน(ขณะที่เครื่องบินขับไล่ Gripen D จะยังถูกใช้ในภารกิจฝึกนักบิน)
อย่างไรก็ตามในเดือนพฤษภาคม 2017 กองทัพอากาศสวีเดนเปิดเผยกับ Jane's และสื่ออื่นๆว่า ตนจะมองหาทางเลือกในการคงจำนวนเครื่องเก่าไว้เพื่อไม่ให้เกิดการขาดจำนวนเครื่องขณะรอเครื่องบินขับไล่ Gripen E

นอกจากได้รับการสั่งจัดหาจากกองทัพอากาศสวีเดนแล้ว กองทัพอากาศบราซิล(Brazilian Air Force)ยังเป็นลูกค้าส่งออกรายแรกของเครื่องบินขับไล่ Gripen E/F จำนวน 36เครื่อง(Gripen E รุ่นที่นั่งเดี่ยว 28เครื่อง และ Gripen F รุ่นสองที่นั่ง 8เครื่อง)
โดย Saab หวังที่จะสามารถส่งออก Gripen E ได้ในโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ของหลายประเทศ เช่น สวิตเซอร์แลนด์(http://aagth1.blogspot.com/2018/03/2020.html), อินเดีย(http://aagth1.blogspot.com/2018/04/110.html), ออสเตรีย, แคนาดา, ฟินแลนด์ และโคลอมเบีย

รวมถึงเครื่องบินขับไล่ Gripen Aggressor สำหรับเสนอหน่วยบินข้าศึกสมมุติของสหราชอาณาจักรและสหรัฐฯ(http://aagth1.blogspot.com/2017/09/saab-gripen-aggressor.html)
และการเสนอเครื่องบินขับไล่ Gripen C/D ที่เปิดสายการผลิตใหม่หรือเครื่องที่ผ่านการใช้งานแล้วในเงื่อนไขการเช่าแก่ บอตสวานา, สโลวาเกีย(http://aagth1.blogspot.com/2018/04/f-16v-gripen.html), บัลแกเรีย รวมถึงฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย

Saab สวีเดนยังมีการเจรจาการเสนอปรับปรุงประเทศลูกค้าของเครื่องบินขับไล่ Gripen C/D ด้วยมาตรฐานชุดคำสั่ง MS20 แก่สาธารณรัฐเช็ก, ฮังการี, แอฟริกาใต้
รวมถึงกองทัพอากาศไทย(Royal Thai Air Force) ที่อยู่ในช่วงการเจรจาขั้นต้นเพื่อปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐ Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ สุราษฏร์ธานี ๑๑เครื่องด้วยชุดคำสั่งมาตรฐาน MS20 ครับ(http://aagth1.blogspot.com/2018/02/gripen-cd-ms20-software.html)

วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

พิธีครบรอบ ๔๐ปีเครื่องบินขับไล่ F-5E/F และเปิดตัวการปรับปรุง Super Tigris กองทัพอากาศไทย


Royal Thai Air Force Ceremony of 40th Anniversary F-5E/F since 1978 and Roll out newest upgraded F-5 Super Tigris at 211st Squadron, Wing 21 Ubon Ratchathani, 23 May 2018
https://www.facebook.com/sompong.nondhasa/posts/1244728528963589
https://www.facebook.com/sompong.nondhasa/posts/1244758728960569


Royal Thai Air Force's F-5E/F Tiger II first upgraded in 1988 with HUD/WAC(Head-Up Display/Weapon Aiming Computer) and Python-3 Air-to-Air Missile


Royal Thai Air Force's F-5T Tigris second upgraded 2000 with one Multi-Function Display in Cockpit, HOTAS(Hands On Throttle and Stick), Head-Up Display, DASH III(Display and Sight Helmet System) and Python-4 Air-to-Air Missile


Royal Thai Air Force's F-5ST Super Tigris third upgraded 2014 with Glass Cockpit 3 color Multi-Function Display, DASH IV Helmet and Python-5 and I-Derby Air-to-Air Missile

F-5 Super Tigris
“เพิ่มประสิทธิภาพในการรบ”



ปัจจุบันเครื่องบินขับไล่แบบ F-5E/F ของกองทัพอากาศ เป็น บ.ขับไล่ในยุคที่ 3 ซึ่งมีขีดความสามารถจำกัด ไม่สามารถใช้อาวุธไกลเกินระยะสายตา ประกอบกับมีเทคโนโลยีล้าสมัยไม่สามารถเผชิญกับภัยคุกคามในปัจจุบันได้
การปรับปรุงขีดความสามารถของ บ.ที่มีใช้งานอยู่ให้มีสมรรถนะสูงขึ้น จึงเป็นทางเลือกหนึ่งของ ทอ.ในการดำรงขีดความสามารถในการป้องกันประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง



ปรับปรุงขีดความสามารถ ให้สามารถใช้งานระบบอาวุธสมัยใหม่ที่มีความแม่นยำสูง มีระยะยิงไกล รวมทั้งติดตั้งระบบเรดาร์ที่มีประสิทธิภาพในการตรวจจับเป้าหมายเพียงพอต่อการปฏิบัติภารกิจ และเตรียมการติดตั้งระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี (Tactical Data Link) 
เพื่อใช้งานร่วมกับเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์สมรรถนะสูงแบบอื่นๆ ของ ทอ.และระบบป้องกันทางอากาศของ ทอ.ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
โดยจะต้องคำนึงถึงการส่งกำลัง และซ่อมบำรุงตลอดอายุการใช้งานของเครื่องบินที่ได้รับการปรับปรุงดังกล่าวหรืออย่างน้อย 15 ปี หลังการปรับปรุงแล้วเสร็จ



รายละเอียดของการปรับปรุง
- Mission Computer (MC) สามารถประมวลผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และติดตั้งซอฟต์แวร์ที่ทันสมัย
- มีระบบแสดงข้อมูล Color Moving Map บนจอ Horizontal Situation Display รวมทั้งติดตั้งจอภายในห้องนักบิน แบบ Multi Function Color Display (MFCD) จำนวน 2 จอ
- ติดตั้งเครื่องรับ-ส่งวิทยุ ให้มีระบบป้องกันการรบกวนทางอิเล็กทรอนิกส์ (ECCM) แบบ HAVE QUICK II
- ปรับปรุง Head Up Display (HUD) และติดตั้ง Up Front Control Panel (UFCP)
- ติดตั้งระบบ Digital Video and Data Recorder (DVDR) สามารถบันทึกภาพและเสียง รวมทั้งมีระบบบรรยายสรุปหลังการบิน (Debriefing System)
- ปรับปรุงระบบไฟฟ้าและระบบ Environment Control System (ECS) ของ บ.รวมทั้งระบบอื่นที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงขีดความสามารถ



ระบบอาวุธ
- สามารถใช้งานระบบอาวุธนำวิถีอากาศสู่อากาศ ที่ทันสมัยในระยะสายตา (Within Visual Range) ที่ ทอ.มีใช้งานในปัจจุบัน และติดตั้ง Software อาวุธนำวิถีอากาศสู่อากาศ ระยะไกลเกินสายตา (Beyond Visual Range) สำหรับรองรับ การใช้งานในอนาคต
- ติดตั้งอุปกรณ์ให้รองรับการใช้งาน Navigation/Targeting Pod ซึ่ง ทอ.มีการใช้งานอยู่ในปัจจุบัน
- สามารถใช้งานระบบอาวุธที่ ทอ.มีใช้งานในปัจจุบัน และจะจัดหาในอนาคตได้
- ระบบป้องกันตนเองโดยติดตั้งระบบ Electronics Warfare ที่ทันสมัย ซึ่งประกอบด้วย อุปกรณ์ Radar Warning Receiver (RWR) และ Countermeasure Dispenser System



Data Link
- ติดตั้ง ระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี (Tactical Data Link : TDL) แบบ Link -T ที่สามารถใช้งานในระบบบัญชาการและควบคุมหรือใช้ในระบบการปฏิบัติการทางอากาศของ ทอ.
- ติดตั้งระบบ Embedded GPS/INS แบบ Fiber Optic Gyro พร้อมด้วย GPS Antenna เพื่อความถูกต้อง และแม่นยำในการเดินอากาศ



Radar
- ติดตั้งระบบเรดาร์ที่ทันสมัย โดยมีขีดความสามารถตรวจจับเป้าหมายระยะไกล สามารถตรวจจับเป้าหมายที่เป็น บ.ขับไล่ ได้ระยะทางไม่ต่ำกว่า 40 ไมล์ทะเล รวมทั้งสนับสนุนใช้งานระบบอาวุธสมัยใหม่และมีขีดความสามารถ Synthetic Aperture Radar (SAR)



F-5E/F: Generation
ปัจจุบันเครื่องบินขับไล่ทั่วโลกส่วนใหญ่อยู่ในยุค 4 ถึง 5 แต่ F-5E/F ของ ทอ.จัดอยู่ในยุค 3 ซึ่งมีขีดความสามารถจำกัด ไม่พร้อมรับกับภัยคุกคาม 
โดยเมื่อทำการอัพเกรด จะมีระบบอาวุธเทียบเท่า เครื่องบินขับไล่ในยุค 4.5 ที่มีระบบเรดาร์ระยะไกล และระบบอาวุธระยะไกลเกินสายตา ตลอดจนระบบ Data Link



ด้านการฝึกอบรม
- ดำเนินการฝึกอบรม Difference Training สำหรับ นบ.พร้อมกำหนด
หลักสูตรและคู่มือการฝึกบินให้กับ ทอ.
- ดำเนินการฝึกอบรม Maintenance Training สำหรับ จนท.สนับสนุนการบิน และ จนท.การซ่อมบำรุงอากาศยาน บ.ข.๑๘ ข/ค 
โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่ได้รับการปรับปรุงหรือเปลี่ยนใหม่ (Modified or Replaced) รวมทั้งการฝึกอบรมให้เกิดความคุ้นเคย (Familiarization Course) ต่อระบบที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ด้วย



การถ่ายทอดเทคโนโลยี
เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนา ทอ.ในด้านต่างๆ ได้แก่ การพัฒนาด้านบุคลากรให้เท่าทันเทคโนโลยีปัจจุบันและอนาคต การถ่ายทอดเทคโนโลยีของอากาศยาน การฝึกศึกษาเพื่อให้สามารถดูแล และบำรุงรักษาอากาศยานได้บนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเอง 
ทอ.จะต้องสามารถพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีของอากาศยาน ระบบอาวุธ ระบบสื่อสารโทรคมนาคม หรือระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะช่วยให้สามารถพึ่งพาและพัฒนาได้ด้วยตนเองต่อไป
https://www.facebook.com/RTAFpage/posts/2050105961685650

นับตั้งแต่ที่เครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๘ ข/ค บ.ข.๑๘ข/ค Northorp F-5E/F-5F Tiger II ฝูงแรกเข้าประจำการใน ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ โคราช(รุ่น Round Nose) ปี พ.ศ.๒๕๒๑(1978) และฝูงที่สองเข้าประจำการใน ฝูงบิน๔๐๓ กองบิน๔ ตาคลี(รุ่น Shark Nose) ปี พ.ศ.๒๕๒๔(1981)
โดยต่อมาได้มีการปรับย้าย บ.ข.๑๘ F-5E/F จาก ฝูงบิน๑๐๒ ไป ฝูงบิน๗๑๑ กองบิน๗๑ สุราษฎร์ธานี ที่ต่อมาเปลี่ยนนามเป็นฝูงบิน ๗๐๑ กองบิน๗ และย้าย F-5E/F จากฝูงบิน๔๐๓ ไป ฝูงบิน๒๑๑ กองบิน๒๑ อุบลราชธานี
รวมถึง F-5E/F ที่เคยประจำการร่วมฝูงกับ บ.ข.๑๘/ก F-5A/F-5B ฝูงบิน๒๓๑ ระยะหนึ่งด้วยนั้น ก่อนที่เครื่องบินขับไล่ F-5E/F ทั้งหมดจะมารวมประจำที่ฝูงเดียวในปัจจุบันคือ ฝูงบิน๒๑๑
นับเป็นเวลาถึง ๔๐ปีแล้วที่เครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๘ข/ค F-5E/F ได้เข้าประจำการในกองทัพอากาศไทย และมีส่วนร่วมในการใช้กำลังทางอากาศปกป้องอธิปไตยของชาติในสงครามตามแนวชายแดนจริงหลายต่อหลายครั้ง นับเป็นอากาศยานที่มีความคุ้มค่าในการจัดหาอย่างมากแบบหนึ่ง

การปรับปรุงความทันสมัย F-5ST Super Tigris ที่ดำเนินการโดยบริษัท Elbit อิสราเอลในปี พ.ศ.๒๕๕๗(2014) ด้วยห้องนักบินแบบ Glass Cockpit พร้อมอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ Python-5 และ I-Derby ซึ่งได้มีการดำเนินการปรับปรุงโดยถ่ายทอด Technology ให้กับไทย
นับเป็นการปรับปรุงความทันสมัยหลักครั้งที่สามของ F-5E/F กองทัพอากาศไทย ตั้งแต่การปรับปรุงครั้งแรกในปี พ.ศ.๒๕๓๑(1988) โดยติดจอแสดงผลตรงหน้า/คอมพิวเตอร์ช่วยเล็ง HUD/WAC(Head-Up Display/Weapon Aiming Computer) และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ Python-3
การปรับปรุงครั้งที่สองในปี พ.ศ.๒๕๔๓(2000) แล้วเสร็จช่วงปี ๒๕๔๕-๒๕๔๖(2002-2003) ติดตั้ง HUD และ UFC(Up Front Control) ใหม่, จอแสดงผล Multi-Function Display ๑จอ, คันบังคับ HOTAS(Hands On Throttle and Stick) และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ Python-4
และล่าสุดครั้งที่สามที่ได้มีการเปิดตัวเครื่องต้นแบบ บ.ข.๑๘ค F-5F หมายเลข 21105 ไปพร้อมกับพิธีครบรอบ ๔๐ปีการเข้าประจำการนี้(http://aagth1.blogspot.com/2017/08/f-5-super-tigris.html)
ซึ่งเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๘ข/ค F-5E/F ฝูงบิน๒๑๑ ที่ผ่านการปรับปรุงในโครงการระยะที่๑ จำนวน ๑๐เครื่อง และระยะที่๒ จำนวน ๔เครื่อง รวม ๑๔เครื่อง จะประจำการต่อไปได้อีก ๑๕ปี ถึงปี พ.ศ.๒๕๗๖(2033) หรือมีอายุการใช้งานราว ๕๐-๕๕ปีขึ้นไปครับ

วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

อิสราเอลนำเครื่องบินขับไล่ F-35A ออกปฏิบัติการรบจริงครั้งแรก

The F-35 just made its combat debut
Two Israeli F-35 “Adirs” fly in formation in 2016. The F-35 recently made its combat debut with the Israel Defense Force. (U.S. Air Force/1st Lt. Erik D. Anthony)
https://www.defensenews.com/breaking-news/2018/05/22/the-f-35-just-made-its-combat-debut/

เครื่องบินขับไล่ยุคที่5 Lockheed Martin F-35A Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) ที่ผลิตโดยสหรัฐฯได้เข้าร่วมการปฏิบัติรบจริงครั้งแรก ตามการประกาศของกองทัพอิสราเอล(Israel Defense Forces) ทางช่อง Twitter ทางการว่า
กองทัพอากาศอิสราเอล(Israeli Air Force) ได้นำเครื่องบินขับไล่ F-35A Adir(ภาษาฮีบรูแปลว่า "ผู้ทรงฤทธา") ของตนใช้ในปฏิบัติการภารกิจจริงเป็นครั้งแรก

"เครื่องบินขับไล่ F-35A Adir ได้พร้อมปฏิบัติการและทำการบินในการปฏิบัติภารกิจแล้ว เรา(อิสราเอล)เป็นชาติแรกในโลกที่ใช้ F-35 ในการปฏิบัติการที่เกิดขึ้นจริง" Tweet อ้างคำกล่าวของผู้บัญชาการกองทัพอากาศอิสราเอล พลอากาศตรี Amikam Norkin
ตามที่ พล.อ.ต.Norkin กล่าวในหนังสือพิมพ์ Haaretz อิสราเอล กองทัพอิสราเอลได้ใช้เครื่องบินขับไล่ F-35A ในภารกิจโจมตีที่ซีเรียล่าสุดสองครั้ง

การใช้เครื่องบินขับไล่ F-35 ในปฏิบัติการรบจริงนับเป็นก้าวย่างหลักที่สำคัญของเครื่องนับตั้งที่ได้รับการพัฒนาจากเครื่องบินต้นแบบ X-35 ของบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯที่เป็นผู้ชนะในโครงการ JSF ตั้งแต่ช่วงปี 1990s
โดยที่ผ่านมาโครงการ F-35 JSF ได้รับความเสื่อมเสียชื่อเสียงจากทั้งค่าใช้จ่ายที่พุ่งสูงขึ้นและความล่าช้า แต่การโจมตีจากเหล่านักวิจารณ์ที่มีมาตลอดคือการตั้งคำถามว่าเครื่องบินขับไล่ไอพ่นแบบนี้มีขีดความสามารถในการรบได้จริงหรือไม่

การเปิดตัวในการรบจริงครั้งแรกเป็นเค้าลางที่ดีสำหรับเครื่องบินขับไล่ F-35 Lightning II ที่จะหาลูกค้ารายใหม่ได้เพิ่มขึ้นในอนาคต เฉพาะกองทัพอากาศอิสราเอลนั้นได้มีการลงนามสัญญาจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A Adir รวมแล้ว 50เครื่อง
อย่างไรก็ตามในปีที่แล้วรัฐสภาอิสราเอลได้เรียกร้องให้กระทรวงกลาโหมอิสราเอลดำเนินการวิเคราะห์แนวทางเลือกเครื่องบินขับไล่แบบอื่นๆก่อนที่จะเดินหน้าสั่งจัดหา F-35A เพิ่มเติม ซึ่งกองทัพอากาศอิสราเอลมีความต้องการเครื่องบินขับไล่เพิ่มอีก 25-50เครื่อง

แนวทางเลือกหนึ่งคือความเป็นไปได้ในการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Boeing F-15I Ra'am(ภาษาฮีบรูแปลว่า "ฟ้าร้อง") ใหม่จากสหรัฐฯเพิ่มเติมอีก 25เครื่อง(เป็นรุ่นหนึ่งของเครื่องบินขับไล่สองที่นั่ง F-15E Strike Eagle)
และจะทำการปรับปรุงความทันสมัยของเครื่องบินขับไล่ F-15I Ra'am ที่กองทัพอากาศอิสราเอลได้รับมอบในปี 1998-2000 จำนวน 25เครื่องประจำการในฝูงบิน69 เป็นมาตรฐาน F-15 Advance Eagle ใหม่ล่าสุดเช่นเดียวกับเครื่องชุดใหม่ที่จัดหาเพิ่ม ในวงเงินราว $4 billion

กองทัพอากาศอิสราเอลได้ประกาศความพร้อมรบขั้นต้นของเครื่องบินขับไล่ F-35A Adir 9เครื่องที่ประจำการในฝูงบิน140 ฐานทัพอากาศ Nevatim เมื่อเดือนธันวาคม 2017
โดย F-35A Adir เครื่องแรกของอิสราเอลได้เปิดตัวเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2016(http://aagth1.blogspot.com/2016/06/lockheed-martin-f-35.html)

อิสราเอลเป็นชาติที่สองที่ประกาศความพร้อมรบของเครื่องบินขับไล่ F-35 หลังจากนาวิกโยธินสหรัฐฯ(USMC: U.S. Marine Corps) ได้ประกาศการนำเครื่องบินขับไล่ F-35B รุ่นบินขึ้นระยะสั้นและลงจอดทางดิ่ง(STOVL: Short Take-off and Vertical Landing) วางกำลังนอกประเทศเป็นครั้งแรก
โดยเครื่องบินขับไล่ F-35B Lightning II ฝูงบินขับไล่โจมตีนาวิกโยธินที่121 VMFA-121 ได้ถูกส่งไปวางกำลัง ณ สถานีอากาศนาวิกโยธิน MCAS Iwankuni ที่ญี่ปุ่นในปี 2017(http://aagth1.blogspot.com/2017/01/f-35b.html)

ในส่วนของกองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: U.S. Air Force) มีแผนที่จะวางกำลังเครื่องบินขับไล่ F-35A Lightning II ที่ยุโรปเป็นครั้งแรกในช่วงต้นปี 2020
โดยจะมีที่ตั้ง ณ ฐานทัพอากาศ Lakenheath กองทัพอากาศสหราชอาณาจักร(RAF: Royal Air Force) ใน England สหราชอาณาจักร(http://aagth1.blogspot.com/2017/04/f-35a.html)

การตัดสินใจนำเครื่องบินขับไล่ F-35A Adir มาใช้ในปฏิบัติการรบจริงน่าจะมีผลมาจากการสูญเสียเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16I Sufa(ภาษาฮีบรูแปลว่า "พายุ") 1เครื่องเป็นเครื่องแรกตั้งแต่รับมอบชุดแรกในในปี 2004 จากระบบป้องกันภัยทางอากาศของซีเรียในเดือนกุมภาพันธ์ 2018
ทำให้เกิดคำถามในกลุ่มนักวิเคาระห์ทางทหารว่าทำไมกองทัพอากาศอิสราเอลไม่ใช้เครื่องบินขับไล่ที่มีคุณสมบัติตรวจจับได้ยาก(Stealth) ในการทำลายระบบป้องกันภัยทางอากาศซีเรีย

เครื่องบินขับไล่ F-35A Adir กองทัพอากาศอิสราเอลชุดแรกเป็นเครื่องในสายการผลิตระดับต่ำ(LRIP: Low-Rate Initial Production) ซึ่งได้รับการติดตั้งชุดคำสั่ง Block 3i โดยเครื่องที่มีและที่จะได้รับมอบต่อไปจะได้รับการปรับปรุงติดตั้งชุดคำสั่ง Block 3F ที่เพิ่มความสามารถของเครื่องขึ้น
มีรายงานว่า F-35A Adir ได้รับการติดตั้งระบบอุปกรณ์เฉพาะที่พัฒนาในอิสราเอลหลายส่วน รวมถึงการบูรณาการใช้อาวุธของอิสราเอลเองเช่น ระเบิดนำวิถีตระกูล Rafael Spice แต่ไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดครับ

สหรัฐฯส่งเรือลำเลียงความเร็วสูงชั้น Spearhead ร่วมการฝึก Pacific Partnership 2018 กับกองทัพไทย

US strengthens capacity building efforts across Asia Pacific with expeditionary fast transport ships


Expeditionary fast transport ship USNS Brunswick (T-EPF 6) sailing through the Gulf of Thailand en route to a ‘Pacific Partnership’ 2018 mission stop. Source: US Navy
http://www.janes.com/article/80183/us-strengthens-capacity-building-efforts-across-asia-pacific-with-expeditionary-fast-transport-ships


กองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy) ได้เพิ่มการนำเรือลำเลียงความเร็วสูง(EPF: Expeditionary Fast transport Ship) ของตนใช้งานโดยการเข้าร่วมการฝึกผสมนานาชาติ Pacific Partnership 2018 ร่วมกับกองทัพไทย(Royal Thai Armed Forces) ระหว่างวันที่ ๑๙-๒๔ พฤษภาคม
ซึ่งเป็นการทำให้กองทัพเรือสหรัฐฯสามารถเข้าถึงท่าเรือในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกได้ดียิ่งขึ้นในขณะที่เรือประเภทอื่นๆไม่สามารถเข้าถึงท่าเรือได้ดีเท่า

เรือลำเลียงความเร็วสูงชั้น Spearhead กองทัพเรือสหรัฐฯเป็นจุดเปลี่ยนด้านขีดความสามารถในการเพิ่มขยายความร่วมมือของสหรัฐฯกับหุ้นส่วนมิตรประเทศทั่วทั้งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
ตามที่เจ้าหน้าที่กองทัพเรือสหรัฐฯกล่าวกับ Jane's ระหว่างการเยี่ยมชมเรือลำเลียงความเร็วสูง T-EPF-6 USNS Brunswick

ก่อนหน้านั้นในเดือนพฤษภาคม 2018 เรือลำเลียงความเร็วสูง USNS Brunswick ได้เดินทางเยือนฐานทัพเรือ RSS Singapura หรือฐานทัพเรือ Changi กองทัพเรือสิงคโปร์(RSN: Republic of Singapore Navy) เป็นเวลาหลายวัน
ก่อนที่เดินทางถึงฐานทัพเรือสัตหีบ กองทัพเรือไทย(Royal Thai Navy) ที่จังหวัดชลบุรี ตั้งแต่วันที่ ๑๙ พฤษภาคมที่ผ่านมา เพื่อเข้าร่วมการฝึก Pacific Partnership 2018 ซึ่งเป็นภารกิจปลายทางของเรือ

Pacific Partnership เป็นชุดการฝึกผสมนานาชาติที่นำโดยสหรัฐฯเพื่อเตรียมความพร้อมในด้านภารกิจการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ(HADR: Humanitarian Assistance and Disaster Relief)
ที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2004 ในการตอบสนองต่อเหตุภัยพิบัติทสึนามิ(Tsuanmi) ในมหาสมุทรอินเดีย โดยปัจจุบันการฝึกมีมิตรประเทศเข้าร่วมมากกว่า 22ประเทศ และได้ทำการรักษาผู้ป่วยมากกว่า 300,000รายแล้วทั่วภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

ปี 2018 นับเป็นปีที่ใหญ่ที่สุดของกองทัพเรือสหรัฐฯในแง่ขอบเขตและคุณสมบัติการใช้ประโยชน์ทางเรือ และปัจจุบันได้มัการนำกำลังพลมากกว่า 800นายของกองทัพสหรัฐฯ, กองทัพมิตรประเทศ และเจ้าหน้าที่จากองค์การที่ไม่ใช่ภาครัฐระหว่างประเทศ(NGO: Non-Governmental Organisation)
โดยเริ่มต้นภารกิจในเดือนมีนาคม 2018 ที่เกาะ Yap สหพันธรัฐไมโครนีเซีย ต่อมาที่ Palau อินโดนีเซีย, ศรีลังกา, มาเลเซียตะวันตก, เวียดนาม และไทย

นอกจาก USNS Brunswick แล้ว เรือช่วยรบลำอื่นของกองทัพเรือสหรัฐฯที่เข้าร่วมการฝึกยังมีเรือพยาบาล T-AH-19 USNS Mercy ความยาวตัวเรือ 270m และเรือลำเลียงความเร็วสูงชั้น Spearhead อีกลำคือ T-EPF-3 USNS Millinocket
ทั้งนี้การฝึกผสม Pacific Partnership 2018 ที่มีกองทัพไทยเป็นเจ้าภาพร่วมครั้งแรก นับเป็นการกระชับความสัมพันธ์ที่แข็งเกร่งของมิตรประเทศที่เก่าแก่ที่สุดสหรัฐฯในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครับ

วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

เรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ LPH-6112 Marado เกาหลีใต้ติดตั้งระบบตรวจจับของในประเทศและอิสราเอล

South Korea selects mix of local, Israeli sensors for second Dokdo-class helicopter carrier


Marado, seen here during its ceremonial launch on 14 May 2018. Source: South Korean MND
http://www.janes.com/article/80105/south-korea-selects-mix-of-local-israeli-sensors-for-second-dokdo-class-helicopter-carrier


เรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Dokdo ลำที่สอง(LPH: Landing Platform Helicopter) ของกองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลี(ROKN: Republic of Korea Navy) คือ LPH-6112 ROKS Marado นั้น
เมื่อเข้าประจำการเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ ROKS Marado ได้รับการสร้างให้ติดตั้งระบบอาวุธและอุปกรณ์ตรวจจับที่ต่างออกไปจากเรือลำแรกของชั้นคือ LPH-6111 ROKS Dokdo

จากชุดภาพพิธีปล่อยเรือลงน้ำของเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ LPH-6112 ROKS Marado เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคมที่ผ่านมานั้น(http://aagth1.blogspot.com/2018/05/lph-6112-marado.html) ได้เปิดเผยว่า
เกาหลีใต้ได้เลือกติดตั้ง Radar ตรวจการณ์ multifunction แบบ ELM-2248(MF-STAR) จากบริษัท ELTA Systems อิสราเอล แทน multibeam radar แบบ SMART-L จากบริษัท Thales ยุโรปที่ติดตั้งบนเรือ ROKS Dokdo

เกาหลีใต้ยังได้เลือกติดตั้ง Radar ตรวจการณ์อากาศและพื้นน้ำสามมิติที่น่าจะเป็นแบบ SPS-550K จากบริษัท LIG Nex1 สาธาณรัฐเกาหลีบนเรือ ROKS Marado
แทนที่ Radar ตรวจการณ์แบบ Thales MW08 ยุโรปที่ติดตั้งบนเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ LPH-6111 ROKS Dokdo ลำแรกของชั้น

การเปลี่ยนแปลงที่สะดุดตายังรวมถึงแท่นยิงอาวุธปล่อยนำวิถี Raytheon Mk49 สหรัฐฯสำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้ RIM-116 RAM(Rolling Airframe Missile) ซึ่งติดตั้งเหนือสะพานเดินเรือของเรือ LPH Dokdo นั้น
บนเรือ LPH Marado ได้ถูกเปลี่ยนเป็นจานสัญญาณ Radar หน้าเดี่ยวตรึงประจำที่(single fixed-array face) ของ Radar แบบ MF-STAR อิสราเอลบนแท่นหน้าเสากระโดงเรือด้านบนหอเรือส่วนหน้า

ภาพวาดประกอบที่เผยแพร่โดยสำนักงานโครงการจัดหากลาโหม(DAPA: Defense Acquisition Program Administration) สาธารณรัฐเกาหลี ยังชี้ให้เห็นว่า
เรือ LPH Marado จะติดตั้งระบบป้องกันระยะประชิด(CIWS: Close-In Weapon System) ปืนใหญ่กลหกลำกล้องหมุน Phalanx 20mm จำนวน 2ระบบ ที่ตำแหน่งดาดฟ้าเรือด้านหัวเรือ 1ระบบ และที่ฐานยื่นออกจากท้ายเรือต่ำลงจากดาดฟ้าเรือ 1ระบบ

ระบบ CIWS เดิมของเรือ LPH Dokdo คือปืนใหญ่กลเจ็ดลำกล้องหมุน Thales Goalkeeper 30mm เนเธอร์แลนด์ ซึ่งติดตั้งบนด้านท้ายของดาดฟ้ายกหอเรือ 1ระบบ และที่ดาดฟ้าบินทางหัวเรือ 1ระบบ
การปรับปรุงต่างๆบนเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ Marado นั้นได้รับความร่วมมือจากกองทัพเรือเกาหลีใต้จากประสบการณ์ 11ปีที่ปฏิบัติการกับเรือลำแรกของชั้น ROKS Dokdo ครับ

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ฝรั่งเศสเปิดตัวยานเกราะล้อยาง Jaguar 6x6 รถต้นแบบ

Jaguar prototype unveiled








A Jaguar prototype was unveiled on 16 May. Source: IHS Markit/Nicholas Fiorenza
http://www.janes.com/article/80133/jaguar-prototype-unveiled
twitter.com/Tom_Antonov
twitter.com/justine_degez

รถต้นแบบของยานเกราะล้อยาง Jaguar 6x6(AFV: Armoured Fighting Vehicle) ฝรั่งเศสได้ถูกเปิดตัวครั้งแรกที่โรงงานของบริษัท Nexter ใน Satory ฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคมที่ผ่านมา
เป็นการเปิดตัวต่อสื่อมวลชนครั้งแรกก่อนที่ไปจัดแสดงในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์นานาชาติ Eurosatory 2018 ณ Paris ฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 11-15 มิถุนายน ที่จะถึง

ยานเกราะล้อยาง Jaguar เป็นโครงการร่วมระหว่างบริษัท Nexter ฝรั่งเศส, บริษัท Renault Trucks ฝรั่งเศส และบริษัท Thales ยุโรป ซึ่งรถคันที่เปิดตัวต่อสื่อนี้เป็นรถต้นแบบคันที่สองในจากสองคัน
ซึ่งในงานแสดง Eurosatory 2018 รถต้นแบบคันหนึ่งจะถูกจัดแสดงที่ส่วนจัดแสดงของ Nexter และรถต้นแบบอีกคันที่ส่วนจัดแสดงของกระทรวงกลาโหมฝรั่งเศสร่วมกับยานเกราะล้อยาง Griffon 6x6

ยานเกราะล้อยาง Jaguar และ Griffon นั้นเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Scorpion ของกองทัพบกฝรั่งเศส(Armée de terre) ซึ่งยังรวมถึงการปรับปรุงรถถังหลัก และการจัดหารถหุ้มเกราะล้อยาง VBMR léger 4x4 เพื่อทดแทนยานเกราะแบบเก่าที่มีอายุการใช้งานมานาน
รถรบเหล่านี้มีการใช้ระบบพื้นฐานร่วมกันคือ Scorpion vetronics(อุปกรณ์ไฟฟ้าของรถ) และแบ่งปันข้อมูลระหว่างกันผ่านระบบสื่อสารและข้อมูล Scorpion Communication and Information System(SICS) และเครือข่ายวิทยุ Contact

ยานเกราะล้อยาง Jaguar 6x6 ติดตั้งเครื่องยนต์กำลัง 500HP สามารถทำความเร็วได้สูงสุด 90km/h โดยมีพิสัยทำการไกลสุด 800km
มีคุณสมบัติใช้ระบบควบคุมการเลี้ยวด้วยเพลาล้อหลัง(rear-axle steering), ระบบปรับความสูงพื้นท้องรถ, และยางล้อรถแบบ 14R20 ที่มีคุณสมบัติปรับแรงดันอากาศภายในล้อ(central inflation system) และเคลื่อนที่ต่อไปได้แม้ยางแบน(run-flat)

ยานเกราะล้อยาง Jaguar มีอาวุธหลักเป็นป้อมปืนใหญ่มีระบบรักษาการทรงตัวแบบมีพลประจำ 2นาย พร้อมปืนใหญ่กล CTA 40mm และระบบอาวุธรองปืนกล 7.62mm ในป้อมปืน Remote
เช่นเดียวกับกระเปาะแท่นยิงอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง MMP(http://aagth1.blogspot.com/2018/04/mmp.html) 2นัดที่ทั้งสองด้านข้างป้อมปืน มีจรวดพร้อมยิง 4นัด และจรวดสำรอง 2นัด

ระบบที่ติดตั้งกับรถยังรวมถึง ระบบตรวจจับและหาที่ตั้งการถูกยิงด้วยอาวุธขนาดเล็ก, ระบบแจ้งเตือนการถูกเล็งด้วยแสง Laser(laser warning receiver) และป้องกันตัวด้วยการก่อกวนสัญญาณ(Barage jamming system)
และยานเกราะล้อยาง Jaguar ยังสามารถติดตั้งชุดป้องกันเสริมแบบ Modular, ระบบป้องกันเชิงรุก(APS: Active Protection System) Diamant และระบบแจ้งเตือนการถูกยิงด้วยอาวุธปล่อยนำวิถี(missile approach warning system) ครับ

วันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

บังคลาเทศจะจัดหาเครื่องบินลำเลียง C-130J มือสองของอังกฤษ 2เครื่อง

Bangladesh procurement of surplus UK C-130Js confirmed with support deal
Bangladesh is to receive two of the 10 short-bodied C-130Js that the UK is divesting itself of. Source: IHS Markit/Patrick Allen
http://www.janes.com/article/80083/bangladesh-procurement-of-surplus-uk-c-130js-confirmed-with-support-deal

การขายเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีสี่เครื่องยนต์ใบพัด Lockheed Martin C-130J Super Hercules จำนวน 2เครื่องที่เป็นเครื่องส่วนเกินที่ประจำการในกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร(RAF: Royal Air Force) แก่บังคลาเทศ
ได้รับการยืนยันโดยสัญญาการสนับสนุนที่ประกาศโดยบริษัท Marshall Aerospace and Defence Group สหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคมที่ผ่านมา

ขณะที่ข้อตกลงระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาลเกี่ยวกับการขายเครื่องบินลำเลียง C-130J รุ่นลำตัวสั้นจำนวน 2เครื่องจาก 10เครื่องที่เคยประจำการในกองทัพอากาศสหราชอาณาจักรแก่บังคลาเทศ
ได้รับการเปิดเผยก่อนหน้านี้จากการประกาศสัญญาสนับสนุนผูกพันหลายปีแก่บริษัท Marshall อังกฤษว่าสัญญาดังกล่าวได้รับการลงนามแล้ว

"การจัดหาเครื่องบินลำเลียง C-130J จากกองทัพอากาศสหราชอาณาจักรได้มอบกุญแจในการเปิดขยายศักยภาพด้านขีดความสามารถในการขนส่งทางอากาศของเราในปัจจุบัน"
ตัวแทนของกองทัพอากาศบังคลาเทศ(Bangladesh Air Force) ได้กล่าวในพิธีลงนามสัญญาที่มีขึ้นในวันเดียวกับที่มีการประกาศสัญญา ณ กองบัญชาการกองทัพอากาศบังคลาเทศใน Dhaka

เช่นเดียวกับการดำเนินการสนับสนุนภายในประเทศ บริษัท Marshall จะยังดำเนินการดัดแปลง C-130J ที่รวมการออกแบบ, พัฒนา และติดตั้งขีดความสามารถการส่งกลับทางสายแพทย์(MEDEVAC: Medical Evacuation)
เพื่อให้กองทัพอากาศบังคลาเทศสามารถดำเนินภารกิจส่งกลับทางสายแพทย์ด้วยเครื่องบินลำเลียงภายในประเทศและนอกประเทศในการสนับสนุนภารกิจของสหประชาชาติได้

การจัดหาเครื่องบินลำเลียง C-130J 2เครื่องนี้จะทำให้กองทัพอากาศบังคลาเทศสามารถปลดประจำการเครื่องบินลำเลียง C-130B จำนวน 4เครื่องที่เข้าประจำการในปี 2001 ได้(เป็นเครื่องมือสองที่จัดหาจากสหรัฐฯ)
เช่นเดียวกับที่จะเสริมการทำงานร่วมกับเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีขนาดกลางสองเครื่องยนต์ใบพัด Antonov An-32 ยูเครน(NATO กำหนดรหัส Cline) ที่เข้าประจำการในปี 1989 และเครื่องบินลำเลียงเบาสองเครื่องยนต์ใบพัด L-410UVP-200 สาธารณรัฐเช็ก ที่เข้าประจำการในปี 2015 ครับ

วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

นาวิกโยธินสหรัฐฯรับมอบเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหนัก CH-53K ใหม่เครื่องแรก

Sikorsky Begins CH-53 King Stallion Heavy Lift Helicopter Deliveries to the U.S. Marine Corps
Sikorsky delivered the first of 200 CH-53K King Stallion Helicopters to the USMC from West Palm Beach, Florida, on May 16. Image courtesy of U.S. Marine Corps.
https://news.lockheedmartin.com/2018-05-16-Sikorsky-Begins-CH-53-King-Stallion-Heavy-Lift-Helicopter-Deliveries-to-the-U-S-Marine-Corps#assets_all




บริษัท Sikorsky ในเครือบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯ ได้ส่งมอบเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหนัก Sikorsky CH-53K King Stallion เครื่องแรกแก่นาวิกโยธินสหรัฐฯ(USMC: U.S. Marine Corps) เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคมที่ผ่านมา ณ West Palm Beach มลรัฐ Florida สหรัฐ
เฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหนัก CH-53K นี่เป็นเครื่องแรกจาก 200เครื่องที่คาดว่าจะถูกสั่งจัดหาเข้าประจำการในฝูงบินเฮลิคอปเตอร์ของนาวิกโยธินสหรัฐฯ

CH-53K เป็นเฮลิคอปเตอร์ที่สร้างใหม่เพื่อทดแทนเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหนัก Sikorsky CH-53E Super Stallion นาวิกโยธินสหรัฐฯที่มีอายุการใช้งานมานาน
โดย ฮ.ลำเลียงหนัก CH-53E นั้นทำการบินครั้งแรกในปี 1974 และเข้าประจำการในนาวิกโยธินสหรัฐฯตั้งแต่ปี 1981

"การส่งมอบ CH-53K แก่นาวิกโยธินสหรัฐฯครั้งแรกของเราเป็นเครื่องหมายการเริ่มต้นการส่งมอบ ฮ.ลำเลียงหนักยุคใหม่ที่แท้จริงโดย Sikorsky ที่ไร้สิ่งใดเปรียบและขยายขีดความสามารถรอบสนามรบยุคใหม่
เพื่อส่งมอบความยืดหยุ่นทางภารกิจอันมหาศาล และประสิทธิภาพในการขนส่งกำลังรบ, ความช่วยเหลือทางด้านมนุษย์ธรรมและบรรเทาภัยภัยพิบัติแก่เหล่าผู้คนที่ต้องการ" Dan Schultz ประธานบริษัท Sikorsky สหรัฐฯและอดีตนักบิน ฮ.CH-53 กล่าว

"ด้วยเครื่องเพิ่มเติมอีก 18เครื่องที่พร้อมในหลายขั้นของสายการผลิตแล้ว ตลอดจนทุกทีมของ Sikorsky ในความเป็นหุ้นส่วนกับผู้จัดหาของเรา เรากำลังมองไปข้างหน้าเพื่อการส่งมอบเครื่องเพิ่มเติมเพื่อความพึงพอใจแก่ลูกค้าของเรา" Schultz กล่าว
ฮ.ลำเลียงหนัก CH-53K เครื่องแรกจะถูกนำเข้าประจำการ ณ สถานีอากาศนาวิกโยธิน(MCAS: Marine Corps Air Station) New River ใน Jacksonville มลรัฐ North Carolina สหรัฐฯ

ฮ.CH-53K จะเข้าสู่แผนทดสอบขีดความสามารถการสนับสนุน(Supportability Test Plan) โดยนาวิกโยธินสหรัฐฯจะดำเนินการประมินการส่งกำลังบำรุงทั้งในด้านการซ่อมบำรุง, การดำรงความพร้อม และการสนับสนุนทั้งหมดของ ฮ.King Stallion
การประเมินนี้จะเป็นการยืนยันการรับรองขั้นตอนการซ่อมบำรุงที่ถูกต้องโดยช่างเครื่องของนาวิกโยธินสหรัฐฯที่ดำเนินการปรนนิบัติ/บำรุงรักษาเครื่อง

แผนทดสอบขีดความสามารถการสนับสนุนจะทำให้มั่นใจในความพร้อมและการสนับสนุนของเส้นทางการบิน เมื่อ ฮ.CH-53K เข้าสู่การประจำการในนาวิกโยธินสหรัฐฯ
Sikorsky คาดว่าการส่งมอบเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหนัก CH-53K ชุดที่สองแก่นาวิกโยธินสหรัฐฯจะมีขึ้นในช่วงต้นปี 2019

โครงการทดสอบ ฮ.CH-53K ที่เสร็จสินแล้วได้ผ่านขั้นตอนสำคัญทั้ง การลำเลียงสัมภาระด้วยตะขอสายเกี่ยวจุดเดียวใต้เครื่องด้วยน้ำหนักบรรทุกสูงสุด 36,000lbs(16,329kg), การบินไปข้างหน้าด้วยความเร็ว 200knots, การบินเลี้ยวเอียงข้างทำมุม 60องศา,
การบินที่ระดับความสูง 18,500feet เหนือระดับน้ำทะเล(MSL: Mean Sea Level), การลงจอดและบินขึ้นจากพื้นที่ลาดเอียง 12องศา, การปลดสิ่งบรรทุกนอกลำตัวเครื่องอัตโนมัติ(auto-jettison) และการทดสอบยิงอาวุธปืนจากเครื่อง

"ผมภาคภูมิใจอย่างมากที่ประสบความสำเร็จในงานเพื่อส่งมอบเฮลิคอปเตอร์ที่ทรงพลังที่สุดที่เคยออกแบบมาให้กับนาวิกโยธินเรา และมั่นใจในทีมงานและการอุทิศตนในโครงการนี้ ซึ่งจะนำพาเราสู่ความพร้อมขีดความสามารถขั้นต้น(IOC: Initial Operational Capability)ในปีหน้า"
พลโท Steven Rudder รองผู้บัญชาการฝ่ายการบิน(Deputy Commandant for Aviation) กองบัญชาการนาวิกโยธินสหรัฐฯ(CMC: Commandant of the Marine Corps)กล่าว(ยศนาวิกโยธินสหรัฐฯเป็นแบบเดียวกับกองทัพบกสหรัฐฯ)

Sikorsky กำลังเตรียมสายการผลิตโรงงานอากาศยานของตนใน Stratford มลรัฐ Connecticut สหรัฐฯ เพื่อเป็นฐานในการผลิต ฮ.CH-53K ที่จะเริ่มขึ้นในฤดูร้อนปี 2018 นี้
เฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหนักใหม่นี้ได้เปิดตัวที่ต่างประเทศครั้งแรกในการแสดงการบินนานาชาติ ILA Berlin Air Show 2018 ที่เยอรมนีระหว่างวันที่ 25-29 เมษายนที่ผ่านมา

ตามโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหนัก Schweren Transporthubschrauber(STH) ของกองทัพอากาศเยอรมนี(Luftwaffe) เพื่อทดแทน ฮ.ลำเลียงหนัก CH-53G ที่มีอายุการใช้งานมานาน
Sikorsky CH-53K จะทำการแข่งขันกับเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหนัก Boeing CH-47F Chinook ที่เข้าประจำการในกองทัพบกสหรัฐฯ(U.S. Army) แล้ว(http://aagth1.blogspot.com/2017/04/sikorsky-ch-53k-boeing-ch-47f.html)

CH-53K King Stallion เป็นเฮลิคอปเตอร์ที่สร้างใหม่โดยใช้การออกแบบอัจฉริยะยุคใหม่ ให้มีความน่าเชื่อถือสูง, ต้องการการบำรุงรักษาต่ำ, มีความพร้อมปฏิบัติการสูง และเพิ่มการความอยู่รอดในการปฏิบัติการ จากฐานปฏิบัติการส่วนหน้าส่วนใหญ่ที่ยากลำบากและห่างไกล
สายการผลิตระดับต่ำ(LRIP: Low-rate initial production) 26เครื่องใน 4lot จะดำเนินไปจนถึงไตรมาสที่4ของปี 2023 และสายการผลิตเต็มอัตรา(Full-rate production) 126เครื่องจะเริ่มรับสัญญาจ้างใน Lotที่5 ไตรมาสที่4 ปี 2019 จนถึง Lotที่12 ในสิ้นปี 2031 ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

รัสเซียจะเตรียมนำระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-500 เข้าสู่สายการผลิต และเพิ่มศักยภาพอาวุธนิวเคลียร์

Putin calls to prepare S-500 missile system for mass production
The Russian leader also called for rearming 14 regiments with Yars ballistic missile systems
The Russian Ministry of Defense
http://tass.com/defense/1004464

ประธานาธิบดีรัสเซีย Vladimir Putin กล่าวเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคมที่ผ่านมาว่าความพยามต่อไปคือความจำเป็นเพื่อเพิ่มขีดความสามารถเครื่องมือสงครามต่อต้านอาวุธนำวิถีความแม่นยำสูง
และสั่งการให้เตรียมการนำระบบป้องกันภัยทางอากาศอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ S-500 เข้าสู่สายการผลิตจำนวนมาก

"หนึ่งในงานกุญแจสำคัญคือการเพิ่มพูนความสามารถสงครามต่อต้านอาวุธความแม่นยำสูง มันมีความจำเป็นจะต้องพัฒนาและเสริมสร้างงานรากฐานทางเทคโนโลยีในขอบเขตการป้องกันภัยทางอากาศ เพื่อเดินหน้าการปรับปรุงความทันสมัยของระบบ Pantsir
เพื่อเสร็จสิ้นการพัฒนาและเตรียมการสำหรับสายการผลิตของ S-500 ระบบใหม่ล่าสุดที่สามารถทำลายเป้าหมายที่ระดับเพดานบินสูงมากๆ รวมถึงขอบชั้นบรรยากาศโลกใกล้ห้วงอวกาศ" ประธานาธิบดี Putin กล่าวในการประชุมกลุ่มนายทหารระดับสูงกับผู้บริหารภาคอุตสาหกรมความมั่นคงรัสเซีย

การประชุมร่วมกับคณะผู้บัญชาการกองทัพรัสเซียและกลุ่มผู้บริหารภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงรัสเซียมีผู้เข้าร่วมประกอบด้วย รักษาการรัฐมนตรีกลาโหมรัสเซีย Sergei Shoigu,
หัวหน้าคณะเสนาธิการทหารกองทัพรัสเซีย พลเอก Valery Gerasimov, รองรัฐมนตรีกลาโหมรัสเซีย Yuri Borisov และเจ้าหน้าที่อื่นๆ

ประธานาธิบดี Putin ยังได้สั่งการให้เดินหน้าการปรับปรุงความทันสมัยของกองกำลังอาวุธนิวเคลียร์ทางยุทธศาสตร์ และเปลี่ยนแบบหน่วยขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ 14กรมให้ใช้ขีปนาวุธข้ามทวีป(ICBM: Intercontinental Ballistic Missile) แบบ Yars ก่อนสิ้นเดือนธันวาคม 2018
"กองกำลังนิวเคลียร์ทางยุทธศาสตร์เป็นกุญแจสำคัญต่อความมั่นคงและความปลอดภัย ตามโครงการยุทโธปกรณ์แห่งรัฐที่วางไว้ เราะเดินหน้าเปลี่ยนระบบขีปนาวุธ Topol ที่ล้าสมัยเป็นระบบ Yars ใหม่ล่าสุด และนำพวกมันเข้าไปในตารางยุทโธปกรณ์ของ 14กรมขีปนาวุธ" Putin กล่าว

ประธานาธิบดี Putin ยังกล่าวว่าระบบอาวุธนิวเคลียร์สามเหล่าทัพจะถูกเพิ่มศักยภาพขึ้น ด้วยการปรับปรุงเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ Tu-95MS และ Tu-160 ที่ติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนทางยุทธศาสตร์ Kh-101 และ Kh-102
Putin เสริมว่าการสร้างเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ชั้น Project 955 Borey(SSBN) ใหม่ 5ลำ ต้องเดินหน้าไปตามกำหนดการ

"ในหลายปีที่ผ่านมา เราได้ทำการเพิ่มศักยภาพของกองทัพหลายอย่าง โครงสร้างและจำนวนของกองทัพได้รับการปรับแต่ง การตรวจสอบความพร้อมโดยไม่แจ้งล่วงหน้าได้รับดำเนินการเป็นปกติในทุกเหล่าของกองทัพ หน่วยทหารได้รับอาวุธและยุทโธปกรณ์ใหม่ตามระเบียบปฏิบัติประจำ"
ประธานาธิบดี Putin กล่าวโดยเสริมว่าปี 2018 นี้ รัสเซียจะเปิดตัวระบบอาวุธขั้นก้าวหน้าหลายอย่างที่ไม่มีระบบของต่างประเทศใดจะทัดเทียมได้ "เรารู้ว่าพวกมันอยู่ในระดับของความสำเร็จที่หลากหลาย เราจะจับตาในประเด็นเหล่านี้" Putin กล่าว

ก่อนหน้านี้ระหว่างการแถลงผลงานของรัฐบาลประจำปีต่อสมัชชาแห่งชาติรัสเซียเมื่อวันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมา ประธานาธิบดี Putin ได้ประกาศถึงการพัฒนาและทดสอบระบบอาวุธทางยุทธศาสตร์ใหม่หลายอย่าง เช่น ขีปนาวุธข้ามทวีป Sarmat,
อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นความเร็วเหนือเสียง Hypersonic แบบ Kinzhal, อาวุธปล่อยนำวิถีร่อนนิวเคลียร์ และยานใต้น้ำไร้คนขับ(UUV: Unmanned Underwater Vehicle) ที่ติดอาวุธตามแบบและอาวุธนิวเคลียร์ได้ครับ(http://aagth1.blogspot.com/2018/03/ur-100n-avangard.html)

วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

จอร์แดนแสดงเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-1F Cobra สหรัฐฯที่ปรับปรุงใหม่

Upgraded Cobra takes a bow [SOFEX18D2]
Last month the first two AH- 1F Cobras to be upgraded for the Royal Jordanian Air Force were returned from rework at the Science & Engineering Services (SES) facility at Huntsville, Alabama, and one is on show at SOFEX in the outside display area.
http://www.janes.com/article/79924/upgraded-cobra-takes-a-bow-sofex18d2

เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา เฮลิคอปเตอร์โจมตี Bell AH-1F Cobra กองทัพอากาศจอร์แดน(Royal Jordanian Air Force) ชุดแรก 2เครื่องที่ได้รับการปรับปรุงความทันสมัยจากโรงงาน Science & Engineering Services(SES) ที่ Huntsville มลรัฐ Alabama สหรัฐฯ ได้ถูกส่งกลับมายังจอร์แดนแล้ว โดย AH-1F ที่ปรับปรุงใหม่ 1เครื่องได้ถูกจัดแสดงในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์และสัมมนาหน่วยปฏิบัติการพิเศษ SOFEX 2018 (Special Operations Forces Exhibition & Conference) ที่ Amman จอร์แดน ระหว่างวันที่ 8-10 พฤษภาคมที่ผ่านมา

ตามขั้นตอนการแข่งขันโครงการ SES สหรัฐฯได้รับสัญญาเพื่อดำเนินการปรับปรุงอย่างครอบคลุมหลายด้านต่อ ฮ.โจมตี AH-1F Cobra ดั้งเดิม 12เครื่องของกองทัพอากาศจอร์แดน โดยมี AH-1F ที่ปรับปรุงเสร็จแล้วอีก 3เครื่องอยู่ที่สหรัฐฯเพื่อรอการเสร็จสิ้นการบินทดสอบ
เฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-1F ที่ปรับปรุงแล้วทั้ง 12เครื่องมีกำหนดจะส่งกลับไปยังจอร์แดนก่อนสิ้นปี 2018 นี้ หลังการทดสอบยิงกระสุนจริงที่มีกำหนดการในฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งหลังจากนั้น ฮ.AH-1F จะพร้อมสำหรับการปฏิบัติการ

โครงการปรับปรุงของ SES นั้นครอบคลุมในสามส่วนคือ โครงสร้างอากาศยาน, ระบบ Avionic และระบบอาวุธ ขั้นแรกเฮลิคอปเตอร์ทั้งเครื่องจะถูกถอดชิ้นส่วนออกและทำการตรวจสอบและซ่อมแซมถ้าจำเป็น
โรงงาน SES ได้ทำงานกับโครงสร้างอากาศยาน OEM ของบริษัท Bell สหรัฐฯ และตัวแทนสนับสนุนเครื่องยนต์จากบริษัท Honeywell สหรัฐฯ เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ฮ.จะอยู่ในสถานะพร้อมสูงสุด รวมถึงการเดินสายภายในเครื่องใหม่

ขั้นต่อไป ฮ.โจมตี AH-1F Cobra จะได้รับการติดตั้งชุดระบบ Avionic ใหม่ที่มีพื้นฐานจากระบบ Avionic บูรณาการแบบ Northrop Grumman Integrated Avionics System
ซึ่งได้รับการติดตั้งกับเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป Bell UH-1Y Venom และเฮลิคอปเตอร์โจมตี Bell AH-1Z Viper ของนาวิกโยธินสหรัฐฯ(US Marine Corps) รวมถึงเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป Sikorsky UH-60V ของกองทัพบกสหรัฐฯ(US Army)

ห้องนักบินของ ฮ.โจมตี AH-1F ได้รับการติดตั้งจอแสดงผลเอนกประสงค์ขนาดใหญ่ 2จอภาพของบริษัท L-3 สหรัฐฯ และจอแสดงผลสำรองขนาดเล็กของบริษัท Rockwell Collins สหรัฐฯ
ระบบนำร่องได้การปรับปรุงติดตั้งระบบนำร่องดาวเทียม/แรงเฉื่อย GPS/INS จากบริษัท Northrop Grumman สหรัฐฯโดยมีพื้นฐานจากระบบ LN-251 ด้วยเข็มทิศ Gyro แบบ fibre-optic และติดตั้งวิทยุสื่อสาร Rockwell Collins AN/ARC-210

กล้องเล็งโทรทัศน์ดั้งเดิมของ ฮ.โจมตี AH-1F ที่ส่วนหัวเครื่องถูกแทนที่ด้วยแท่นกล้อง Electro-Optic/Infrared แบบ L-3 Wescam MX-15D แคนาดา
ระบบป้องกันตัวและต่อต้านได้รับการเสริมติดตั้งระบบแจ้งเตือนอาวุธปล่อยนำวิถี Orbital ATK AN/AAR-47 Missile Approach Warning System สหรัฐและเครื่องปล่อยเป้าลวง Chaff/Flare แบบ Extant Aerospace AN/ALE-47 สหรัฐฯ

อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นหลักสำหรับ ฮ.โจมตี Cobra เดิมคืออาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง BGM-71 TOW แต่ ฮ.โจมตี AH-1F ที่ปรับปรุงแล้วจะสามารถติดตั้งรางปล่อยอาวุธแบบ M310 สำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นต่อสู้รถถัง Lockheed Martin AGM-114R Hellfire
ฮ.โจมตี AH-1F Cobra ที่ปรับปรุงแล้วยังสามารถติดตั้งกระเปาะจรวดไม่นำวิถี Hydra 70 ขนาด 2.75"(70mm) ทั้งกระเปาะจรวด M260 ความจุ 7นัด และกระเปาะจรวด M261 ความจุ 19นัด

โดยกองทัพอากาศจอร์แดนมีความประสงค์ที่ใช้จรวดนำวิถี Laser แบบ BAE Systems APKWS (Advance Precision Kill Weapon System) กับ ฮ.โจมตี AH-1F Cobra ที่ปรับปรุงใหม่
และชุดคำสั่งที่จำเป็นสำหรับการรองรับจรวดนำวิถี Laser APKWS 2.75" กำลังอยู่ในการเตรียมการ โดยตั้งเป้าที่จะมีการทดสอบอาวุธภาคสนามในปลายปี 2018 นี้

SES ได้ทำการออกแบบและงานวิศวกรรมการดัดแปลงปรับปรุงเฮลิคอปเตอร์โจมตี Bell AH-1F Cobra ด้วยตนเอง และกำลังประชาสัมพันธ์ขีดความสามารถใหม่นี้แก่ผู้ใช้งาน ฮ.โจมตี AH-1F Cobra รายอื่นๆ
ที่นอกจากอิสราเอลที่ปลดประจำการไปแล้ว, ญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้ที่กำลังมีแผนจะปลดประจำการลงในอนาคต และตุรกีที่มีโครงการปรับปรุงของตนเองนั้น ยังมีผู้ใช้ ฮ.โจมตี AH-1 หลายประเทศ เช่น บาห์เรน ปากีสถาน รวมถึงเคนย่า และฟิลิปปินส์(เครื่องมือสองจากจอร์แดน)ด้วย(http://aagth1.blogspot.com/2018/04/m113-ah-1f.html)

โดยผู้ใช้งานอีกประเทศหนึ่งคือกองทัพบกไทย(Royal Thai Army) ที่มี ฮ.จ.๑ Bell AH-1F Cobra ๗เครื่องที่ประจำการใน กองพันบินที่๓ กรมบิน ศูนย์การบินทหารบก
ซึ่งกองทัพบกไทยมีโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตีแบบใหม่ทดแทนราว ๖-๘เครื่อง หรืออาจจะพิจารณาแนวทางปรับปรุง ฮ.จ.๑ AH-1F เพื่อใช้งานต่อไปครับ(http://aagth1.blogspot.com/2017/09/blog-post_18.html)

วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

เกาหลีใต้ทำพิธีปล่อยเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ LPH-6112 Marado ใหม่ลงน้ำ

South Korea's HHIC Launched V-22 Capable LPH Marado for ROK Navy


Launch ceremony for the second Landing Platform Helicopter (LPH) amphibious assault ship 'Marado' of the ROK Navy. DAPA picture
http://navyrecognition.com/index.php/news/defence-news/2018/may-2018-navy-naval-defense-news/6219-south-korea-s-hhic-launched-v-22-capable-lph-marado-for-rok-navy.html









DAPA press for LPH-6112 Marado
https://www.facebook.com/dapa.Korea/posts/1763144190411752

สำนักงานโครงการจัดหากลาโหม(DAPA: Defense Acquisition Program Administration), กองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลี(ROKN: Republic of Korea Navy) และบริษัทอู่ต่อเรือ Hanjin Heavy Industries and Construction(HHIC) ใน Yeongdo, Busan สาธารณรัฐเกาหลี
ได้ทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำของเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์(LPH: Landing Platform Helicopter) ลำใหม่ LPH-6112 Marado เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคมที่ผ่านมา

เมื่อเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ LPH-6112 Marado เข้าประจำการในปี 2020 จะเป็นเรือ LPH ชั้น Dokdo ลำที่สองของกองทัพเรือเกาหลีใต้ต่อจากเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ LPH-6111 Dokdo ที่เป็นลำแรกของชั้น
โดยพิธีปล่อยเรือลงน้ำนั้นได้มีแขกผู้มีเกียรติร่วมงานเช่น รัฐมนตรีกลาโหมสาธารณรัฐเกาหลี Song Young-moo และ พลเรือเอก Um Hyun-seong ผู้บัญชาการทหารเรือกองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลี

ในเดือนตุลาคม 2010 รัฐสภาสาธารณรัฐเกาหลีใต้ตัดสินใจอนมัติการสร้างเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Dokdo ลำที่สอง
ต่อมาหลังจากที่มีการชะลอการตัดสินใจของรัฐบาลเกาหลีใต้มาหลายครั้ง เมื่อ 23 ธันวาคม 2014 DAPA เกาหลีใต้ได้ลงนามสัญญากับบริษัท HHIC วงเงิน 417.5 billion Korean Won($380 million) เพื่อการสร้างเรือ LPH ลำที่สองนี้

HHIC เกาหลีใต้ได้เสร็จสิ้นการทบทวนการออกแบบทางเทคนิคของเรือในเดือนมีนาคม 2016 และทำพิธีตัดเหล็กแผ่นแรกในเดือนพฤศจิกายน 2016 เรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ LPH-6112 Marado ได้ทำพิธีวางกระดูกงูเรือเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2017
โดยอู่เรือ HHIC เป็นผู้ออกแบบและสร้างเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ LPH-6111 Dokdo ที่เข้าประจำการในกองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลีเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2007

LPH-6112 Marado มีพื้นฐานจากเรือ LPH ชั้น Dokdo โดยได้มีการปรับปรุงพัฒนาคุณสมบัติหลายประการของเรือให้สูงยิ่งขึ้น "Marado มีพื้นฐานที่เหมือนกับ Dokdo แต่ติดตั้งระบบและอุปกรณ์ที่ปรับปรุงเพิ่มขึ้น" เจ้าหน้าที่ของ DAPA เกาหลีใต้กล่าว
ตามข้อมูลจาก DAPA เรือ LPH Marado ติดตั้ง Radar นำร่องใหม่, อุปกรณ์ตรวจจับ Infrared และ Radar ตรวจการณ์ 3D(ในตำแหน่งของ Radar แบบ Thales SMART-L บนเรือ LPH Dokdo) ซึ่งทั้งหมดพัฒนาในเกาหลีใต้

กองทัพเรือเกาหลีใต้ยังได้กล่าวถึงระบบป้องกันอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำบนเรือด้วย "ระบบอาวุธยุทโธปกรณที่พัฒนาในประเทศ เช่น Radar นำร่อง, ระบบป้องกันอาวุธปล่อยนำวิถี และระบบอำนวยการรบที่พัฒนาขึ้นจะได้รับการติดตั้งในเกาหลี
ขีดความสามารถด้านการตรวจจับเพื่อการป้องกันภัยทางอากาศยังได้เพิ่มขึ้นโดยการติดตั้ง Radar ป้องกับภัยทางอากาศแบบตรึง นอกจากนี้อุปกรณ์และส่วนประกอบหลักเช่น ใบจักรและ lift ยังถูกผลิตในประเทศ ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงได้มาก" เอกสารประชาสัมพันธ์กล่าว

ดาดฟ้าบินของเรือ LPH-6112 Marado ยังถูกปรับแต่งให้สามารถรองรับการปฏิบัติการของอากาศยานใบพัดกระดก Bell Boeing V-22 Osprey สหรัฐฯ ซึ่งภาพวาดประชาสัมพันธ์จาก DAPA แสดงถึงภาพเรือที่มี V-22 Osprey บนดาดฟ้าเรือ
ระบบอาวุธของเรือ LPH Marado ที่ปรากฎจะมีระบบป้องกันระยะประชิด(CIWS: Close-In Weapon System) ปืนใหญ่กลหกลำกล้องหมุน  Raytheon Phalanx 20mm 2ระบบที่หัวเรือ 1ระบบ และท้ายเรือ 1ระบบ

เรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ LPH-6112 Marado มีความยาวตัวเรือ 199m กว้าง 31m ระวางขับน้ำ 14,500tons มีความเร็วสูงสุด 23knots พิสัยทำการไกลสุด 10,000nmi ที่ความเร็วมัธยัสถ์ 18knots และมีกำลังพลประจำเรือ 300นาย
สามารถบรรทุกทหารราบนาวิกโยธินพร้อมเครื่องสนามเต็มอัตราได้ 720นาย, รถถังหลัก 10คัน, รถยนต์บรรทุก 10คัน, รถสะเทินน้ำสะเทินบก AAV7 7คัน และปืนใหญ่อัตตาจร 3ระบบ

อู่ลอย(Well-Deck)ในตัวเรือ รองรับเรือระบายพลขนาดใหญ่ LCU(Landing Craft Utility) 2ลำ หรือยานเบาะอากาศ LCAC(Landing Craft Air Cushion) 2ลำ สำหรับการบรรทุกทหารและยานพาหนะทุกประเภทออกจากอู่ลอยท้ายเรือเพื่อยกพลขึ้นสู่ฝั่ง
โรงเก็บอากาศยานใต้ดาดฟ้าเรือสามารถรองรับเฮลิคอปเตอร์ได้ 15เครื่อง รวมถึง V-22 จำนวนหนึ่ง ดาดฟ้าบินบนเรือสามารถรองรับปฏิบัติการของเฮลิคอปเตอร์ที่มีประจำการในกลุ่มชาติสมาชิก NATO ได้ทุกแบบพร้อมกันสูงสุด 5เครื่อง

จะเห็นได้ว่า LPH-6112 Marado มีคุณสมบัติเรือใกล้เคียงกับ LPH-6111 Dokdo เดิม ยกเว้นระบบอุปกรณ์และระบบอาวุธเช่นเรือ LPH Dokdo ติดปืนใหญ่กลเจ็ดลำกล้องหมุน Goalkeeper CIWS 30mm และแท่นยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้ RIM-116 RAM ความจุ 21นัด
"เรือ Marado ได้สะท้อนถึงการพัฒนาของ Technology ทางทหารของเกาหลีใต้ ด้วยการใช้ Technology ของเกาหลีใต้สำหรับอุปกรณ์บนเรือที่มากที่สุด เราคาดว่านี่จะยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงลง" กองทัพเรือเกาหลีใต้และ DAPA แถลงครับ