วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

เรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ LPH-6112 Marado เกาหลีใต้จะติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถี K-SAAM ของตนเอง

South Korea to deploy K-SAAM on second Dokdo class
K-SAAM on second Dokdo class seen here during its launch ceremony on 14 May. Source: RoKN
http://www.janes.com/article/80340/south-korea-to-deploy-k-saam-on-second-dokdo-class

เรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Dokdo ลำที่สอง(LPH: Landing Platform Helicopter) ของกองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลี(ROKN: Republic of Korea Navy) คือ LPH-6112 ROKS Marado
จะได้รับการติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศแบบ K-SAAM(Korean Surface-to-Air Anti-Missile) ที่พัฒนาในประเทศ ตามที่ตัวแทนที่ใกล้ชิดโครงการในภาคอุตสาหกรรมได้ยืนยันกับ Jane's

เรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ LPH-6112 ROKS Marado ที่มีพิธีปล่อยลงน้ำเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคมที่ผ่านมา(http://aagth1.blogspot.com/2018/05/lph-6112-marado.html, http://aagth1.blogspot.com/2018/05/lph-6112-marado_21.html)
เมื่อเข้าประจำการจะได้รับการติดตั้งแท่นยิงแนวดิ่ง(VLS: Vertical Launching System) แบบ K-VLS ที่พัฒนาในเกาหลีใต้สำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ K-SAAM ในส่วนท้ายสุดของดาดฟ้ายกของเรือ

K-SAAM เป็นอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศประจำเรือผิวน้ำต่อต้านอาวุธทางอากาศความยาว 3.07m ซึ่งนำวิถรด้วยระบบ inertial mid-course ช่วงโคจรเข้าสู่เป้าหมายและส่วนค้นหาคู่แบบ Microwave และสร้างภาพความร้อน Infrared สำหรับการนำวิถีระยะสุดท้ายสู่เป้าหมาย
โครงการพัฒนาในชื่อ Haegung หรือ Sea Bow(ศรทะเล) ในเกาหลีใต้เริ่มต้นในปี 2011 และทำการทดสอบการยิงครั้งแรกในปี 2013 นอกจากได้รับการพัฒนาเพื่อต่อต้านเป้าหมายทางอากาศแล้ว K-SAAM ยังมีขีดความสามารถในการต่อต้านเรือผิวน้ำและเป้าหมายภาคพื้นดินแบบจำกัดด้วย

เจ้าหน้าที่ของบริษัท LIG Nex1 สาธารณรัฐเกาหลีผู้พัฒนาระบบได้กล่าวกับ Jane's ในงานแสดงการบินและอาวุธยุทโธปกรณ์ ADEX 2015(Aerospace and Defense Exhibition) ว่า
อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ K-SAAM จะเข้าประจำการในกองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลีในปี 2018 นี้ และท้ายสุดจะถูกนำไปทดแทนอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้ Raytheon RIM-116 RAM(Rolling Airframe Missile) สหรัฐฯที่ติดบนเรือรบเกาหลีใต้

ระบบอาวุธดังกล่าวนี้เป็นส่วนหนึ่งของความแตกต่างหลายอย่างระหว่างเรือ ROKS Marado กับเรือพี่สาวลำแรกของชั้นคือ LPH-6111 ROKS Dokdo ซึ่งเข้าประจำการในปี 2007
ชุดภาพพิธีปล่อยเรือลงน้ำของเรือ ROKS Dokdo ได้เปิดเผยถึงการที่เกาหลีใต้ยังได้เลือกติดตั้งระบบตรวจจับที่ผสมระหว่างของในประเทศและอิสราเอลบนเรือ เป็นการแสดงถึงการนำระบบที่พัฒนาในประเทศมาใช้ในเรือของตนอย่างมาก

นี่รวมถึง Radar ตรวจการณ์ multifunction แบบ ELM-2248(MF-STAR) จากบริษัท ELTA Systems อิสราเอล แทน multibeam radar แบบ SMART-L จากบริษัท Thales ยุโรปที่ติดตั้งบนเรือ ROKS Dokdo
และRadar ตรวจการณ์อากาศและพื้นน้ำสามมิติแบบ SPS-550K จากบริษัท LIG Nex1 สาธาณรัฐเกาหลี แทน Radar ตรวจการณ์แบบ Thales MW08 ยุโรปที่ติดตั้งบนเรือ ROKS Dokdo ครับ