วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ญี่ปุ่นทำพิธีปล่อยเรือพิฆาตป้องกันภัยทางอากาศลำใหม่ลงน้ำ DDG-179 Maya

Japan launches first Improved Atago-class destroyer


Japan launched on 30 July the first of two Improved Atago-class destroyers on order for the JMSDF. Source: Kosuke Takahashi
http://www.janes.com/article/82066/japan-launches-first-improved-atago-class-destroyer



วันที่ 30 กรกฎาคม 2018 ญี่ปุ่นได้ทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำของเรือพิฆาตป้องกันภัยทางอากาศชั้นใหม่ลำแรกจากสองลำที่ได้รับการสั่งจัดหาจากกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น(JMSDF: Japan Maritime Self-Defense Force) ที่ปรับปรุงจากเรือพิฆาตติดอาวุธปล่อยนำวิถีชั้น Atago
คือเรือพิฆาตติดอาวุธปล่อยนำวิถี DDG-179 Maya ความยาวเรือ 170m ถูกปล่อยลงน้ำ ณ อู่เรือบริษัท Japan Marine United(JMU) ญี่ปุ่นใน Yokohama และคาดว่าจะเข้าประจำการได้เดือนมีนาคม 2020

DDG-179 Maya ซึ่งจะเป็นเรือพิฆาตลำที่7 ของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นที่ติดตั้งระบบอำนวยการรบ Aegis สหรัฐฯ มีความยาวตัวเรือยาวกว่าเรือพิฆาตชั้น Atago ที่ 5m
เรือพิฆาต DDG-179 Maya จะใช้ระบบอำนวยการรบ Aegis Baseline J7 ซึ่งรองรับการใช้งาน Radar แบบ Lockheed Martin AN/SPY-1D

DDG-179 Maya ซึ่งมีราคาตามโครงการจัดหาเรือพิฆาตติดอาวุธปล่อยนำวิถี 27DDG ที่ 68 billion Yen($1.51 billion) จะถูกสร้างให้มีคุณสมบัติระบบขีดความสามารถร่วมมือโจมตี(CEC: Cooperative Engagement Capability) ที่พัฒนาโดยสหรัฐฯ
ซึ่งจะทำให้เธอทำตนเป็นส่วนหนึ่งของ 'ตาข่าย' อันกว้างของระบบตรวจจับและอาวุธที่ทำให้เรือที่ติดตั้งระบบ CEC สามารถแบ่งปันข้อมูลการตรวจการณ์และเป้าหมายระหว่างกันได้

กองกำลังป้องตนเองทางทะเลญี่ปุ่นมีแผนที่จะนำเรือพิฆาต Maya และเรือน้องสาวของเธอที่คาดว่าจะเข้าประจำการในปี 2021 ซึ่งมีขีดความสามารถในการแลกเปลี่ยนข้อมูลโดยการติดตั้งระบบเช่นเดียวกัน
เพื่อใช้ในการต่อต้านภัยคุกคามที่ดียิ่งขึ้น เช่นที่ถูกวางไว้สำหรัยต่อต้านภัยคุกคามจากขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ

เรือพิฆาต DDG-179 Maya มีระวางขับน้ำปกติที่ 8,200tons ซึ่งหนักกว่าเรือพิฆาตชั้น Atago ราว 400tons ติดตั้งเครื่องยนต์ Gas Turbine แบบ General Electric LM2500
ในรูปแบบระบบขับเคลื่อนแบบ COGLAG(Combined Gas Turbine-Electric and Gas Turbine) เรือสามารถทำความเร็วได้สูงสุดที่ 30knots

เรือพิฆาต DDG-179 Maya ซึ่งมีกำลังพลประจำเรือราว 300นาย ยังติดตั้งระบบ Sonar ลากท้าย Multifunction Towed Array(MFTA) และมีขีดความสามารถสงคราม Electronic(EW: Electronic Warfare)
เรือพิฆาต DDG-179 Maya ยังมีขีดความสามารถในการยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศสกัดกั้นขีปนาวุธ SM-3 Block IIA (Standard Missile 3) ด้วย

โฆษกของกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นใน Tokyo กล่าวกับ Jane's ว่า ถึงแม้ว่าเรือพิฆาต DDG-179 Maya นี้จะยังมีขีดความสามารถในการใช้อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศป้องกันภัยทางอากาศ SM-6(Standard Missile 6)
แต่ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าพวกเธอจะได้รับการติดตั้ง SM-6 เป็นอาวุธยุทโธปกรณ์ของเรือพิฆาตชั้นใหม่ทั้ง 2ลำหรือไม่ครับ

อังกฤษพิจารณาทางเลือกทดแทนอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Harpoon ด้วยระบบที่มีขายแล้ว

UK considers options for possible off-the-shelf Harpoon replacement
The GWS60 Harpoon is due to be retired from RN service in 2023. Source: Royal Navy
http://www.janes.com/article/82025/uk-considers-options-for-possible-off-the-shelf-harpoon-replacement

สหราชอาณาจักรอาจจะมองที่จะจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้น(SSGW: Surface-to-Surface Guided Weapon) ที่มีพร้อมวางขายในตลาดแล้วเพื่อเป็นสะพานเชื่อมช่องว่าง
ระหว่างการปลดประจำการอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Harpoon และแผนการนำอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Future Cruise/Anti-Ship Weapon(FC/ASW) เข้าประจำการ

การให้ปากคำเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคมที่ผ่านมาต่อสำนักคณะกรรมาธิการกลางกลาโหมสหราชอาณาจักร(HCDC: House of Commons Defence Committee)/สมัชชาแห่งชาติฝรั่งเศส(French National Assembly) ต่อการสอบถามสำหรับโครงการ FC/ASW
เจ้าหน้าที่อาวุโสของกระทรวงกลาโหมสหราชอาณาจักรยืนยันว่ากิจกรรมการสำรวจตลาดได้พร้อมอยู่ในการดำเนินการแล้ว

เรือฟริเกตชั้น Type 23 ทั้ง 13ลำ และเรือพิฆาตชั้น Type 45 จำนวน 3ลำจากทั้งหมด 6ลำของกองทัพเรือสหราชอาณาจักร(RN: Royal Navy) นั้นติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ GWS 60/Harpoon Block 1C SSGW
ระบบดังกล่าวถูกจัดหาในปี 1980s ภายใต้ความต้องการคณะเสนาธิการ(ทางทะเล) Staff Requirement (Sea) 6548 ซึ่งเดิมมีแผนจะปลดประจำการในปี 2018(http://aagth1.blogspot.com/2016/11/harpoon-2018.html) แต่อาวุธได้ถูกยืดอายุการใช้งานออกไปถึงปี 2023

ความมุ่งหมายที่จะนำเข้าประจำการในกรอบระยะเวลา 2030 อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ FC/ASW ปัจจุบันเป็นหัวข้อกิจกรรมขั้นแนวคิดระยะสามปี ที่ร่วมทุนโดยรัฐบาลฝรั่งเศสและรัฐบาลสหราชอาณาจักร เริ่มต้นนำโดยบริษัท MBDA ยุโรป
สหราชอาณาจักรได้มองหาแนวทางคู่ขนาดสำหรับหลายทางเลือกของระบบทีมีในตลาดอยู่แล้ว ในฐานะส่วนหนึ่งของขั้นตอนแนวความคิดเพื่อรับทราบถึงข้อมูลแนวทางที่เป็นไปได้อื่นๆ

การให้ปากคำต่อคณะกรรมการร่วม Simon Bollom หัวหน้ากองยุทโธปกรณ์และการสนับสนุนกลาโหม(Defence Equipment and Support) กล่าวว่าการยืดอายุการใช้ใดๆเพิ่มเติมของอาวุธปล่อยนำวิถีจะเป็นเรื่องยาก
"ความท้ายทายใหญ่ที่สุดกับระบบอาวุธนี้คือ พลังงาน, ระบบขับเคลื่อน และหัวรบ เรามาถึงจุดที่มีปัญหายากลำบากกับอายุขัยที่จำกัด และส่วนประกอบทางเคมีของพวกมันที่เห็นได้ชัด การประเมินของเราในขั้นนี้คือการจะไปเกินปี 2023 จะเป็นความท้าทาย" เขากล่าว

ตาม พลโท Mark Poffley รองหัวหน้าคณะเสนาธิการ(ด้านขีดความสามารถทางทหาร) อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้น SSGW ใหม่ได้สันนิษฐานว่ามีลำดับความสำคัญสูงกว่าภายในโครงการยุทโธปกรณ์
"เรารู้เราต้องการอาวุธพื้นสู่พื้น เราต้องมีบางตัวเลือกเพื่อทำให้รู้ว่ามันน่าจะมาจากไหน และเรารู้ดีว่ามันมีแรงกดดันอย่างมากกับงบประมาณที่เหลืออยู่" พลโท Poffley กล่าวครับ

วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

อิหร่านเปิดสายการผลิตอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ Fakour

Iran announces mass production of Fakour air-to-air missile





Six Fakour missiles are seen during the ceremony announcing that the type has entered mass production. Source: Defapress.ir
http://www.janes.com/article/81942/iran-announces-mass-production-of-fakour-air-to-air-missile


Iranian F-14A Tomcats armed with multiple missiles including AIM-9 Sidewinder, AIM-7 Sparrow, AIM-54 Phoenix and MIM-23 Hawk, 1986.(wikipedia.org)

อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศนำวิถีด้วย Radar แบบ Fakour ขณะนี้ได้เข้าสู่สายการผลิตจำนวนมากแล้ว ตามที่กองทัพอิหร่านประกาศเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคมที่ผ่านมา
พิธีเปิดสายการผลิตที่จัดขึ้นโดยเชิญรัฐมนตรีกลาโหมอิหร่าน Amir Hatami ร่วมงานได้เป็นเครื่องหมายแสดงถึงการประกาศดังกล่าว

ในพิธีมีอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ Fakour อย่างน้อย 6นัดถูกจัดแสดง เช่นเดียวกับชิ้นส่วนด้านหน้าของจรวดอีก 5นัด
รัฐมนตรีกลาโหมอิหร่าน Hatami กล่าวว่าอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ Fakour สามารถติดตั้งใช้งานได้กับอากาศยานหลายแบบ

เมื่อถูกเปิดตัวในชื่อ Fakour-90 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2013 อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศแบบนี้ได้ถูกกล่าวว่า
อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ Fakour ถูกพัฒนาสำหรับใช้งานกับเครื่องบินขับไล่ Grumman F-14 Tomcat กองทัพอากาศอิหร่าน(IRIAF: Islamic Republic of Iran Air Force)

สื่ออิหร่านรายงานว่าอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ Fakour มีพิสัยการยิง 150km มีความเร็ว Mach 5 และมีระบบนำวิถีที่สามารถยิงถูกเป้าหมายได้อย่างอิสระจากระบบ Radar ของอากาศยานที่ทำการยิง
เป็นที่เชื่อว่า Fakour มีพื้นฐานการพัฒนาจากอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยไกล AIM-54 Phoenix สหรัฐฯซึ่งเป็นอาวุธเฉพาะของเครื่องบินขับไล่ F-14

กองทัพอากาศอิหร่านในฐานะประเทศเดียวที่สหรัฐฯส่งออกเครื่องบินขับไล่ F-14 ให้และเป็นผู้ใช้งานเครื่องบินขับไล่แบบนี้รายเดียวในปัจจุบัน
มีพยายามอย่างมากในการรักษาขีดความสามารถในการใช้งานเครื่องที่ได้รับผลกระทบจากการคว่ำบาตหลังการปฏิวัติอิสลามในปี 1979

เคยมีการพบเห็นว่ากองทัพอากาศอิหร่านได้นำอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ MIM-23 Hawk สหรัฐฯ และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลาง R-27 รัสเซียมาติดตั้งใช้กับ F-14 ของตนแต่ประสบความสำเร็จไม่มากนัก
โดยอิหร่านมีขีดความสามารถในการซ่อมบำรุง ปรับปรุง และผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ที่ขาดแคลนสำหรับเครื่องบินขับไล่ F-14 ที่มีแผนจะยืดอายุการใช้งานประจำไปจนถึงปี 2030 ครับ

วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

เฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64E และเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง CH-47F เครื่องแรกของอินเดียทำการบินครั้งแรก

First Boeing Apache, Chinook helicopters for India complete inaugural flights



The first AH-64E Apache and The first CH-47F(I) for India recently completed its first flight. Boeing will deliver 22 AH-64E Apache and 15 CH-47F(I) Chinook helicopters to India beginning in 2019. (Boeing photo)
http://boeing.mediaroom.com/2018-07-27-First-Boeing-Apache-Chinook-helicopters-for-India-complete-inaugural-flights


บริษัท Boeing สหรัฐฯ และอินเดียล่าสุดได้เข้าสู่ย่างก้าวสำคัญในการปรับปรุงความทันสมัยของฝูงบินเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพอากาศอินเดีย(Indian Air Force)
โดยการเสร็จสิ้นการทำการบินครั้งแรกของเฮลิคอปเตอร์โจมตี Boeing AH-64E Apache และเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง Boeing CH-47F(I) Chinook สำหรับกองทัพอากาศอินเดีย เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม และวันที่ 23 กรกฎาคม ที่ผ่านมาตามลำดับ

"เรามองไปข้างหน้าเพื่อส่งมอบขีดความสามารถอันน่ามหัศจรรย์นี้แก่อินเดีย จากปฏิบัติการชายฝั่งถึงภารกิจบนเทือกเขาระดับเพดานสูง อากาศยานเหล่านี้จะเป็นตัวเล่นบทบาทสำคัญกับกองทัพอินเดีย"
David Koopersmith รองประธานและผู้จัดการทั่วไปแผนกอากาศยานขึ้นลงทางดิ่ง Boeing Vertical Lift กล่าว

เมื่อวันที่ 28 กันยาน 2015 อินเดียได้ลงนามสัญญาจัดหาเฮลิคอเตอร์โจมตี AH-64E Apache จำนวน 22เครื่อง พร้อมกับเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหนัก CH-47F(I) จำนวน 15เครื่องสำหรับกองทัพอากาศอินเดีย
โครงการจัดหา ฮ.โจมตี AH-64E และ ฮ.ลำเลียง CH-47F(I) ของอินเดียที่มีวงเงินรวมราว $3 billion นี้มีกำหนดจะเริ่มการส่งมอบเครื่องได้ในปี 2019

เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2018 ตามที่เอกสารของสำนักงานความร่วมมือด้านความปลอดภัยความมั่นคงสหรัฐฯ(DSCA: Defense Security Cooperation Agency)กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯได้อนุมัติความเป็นไปได้
ในการขายเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64E Apache จำนวน 6เครื่องวงเงินประมาณ $930 million สำหรับกองทัพบกอินเดีย(Indian Army) เพิ่มเติมจากส่วนของกองทัพอากาศอินเดียข้างต้น(http://aagth1.blogspot.com/2018/06/ah-64e-apache-6.html)

บริษัท Boeing สหรัฐฯยังได้จัดตั้งการลงทุนร่วมกับบริษัท Tata Sons ในเครือ Tata Group อินเดียในปี 2008 ในชื่อ Tata Boeing Aerospace
เพื่อการผลิตชิ้นส่วนลำตัว ฮ.โจมตี Apache ที่โรงงานอากาศยานใน Hyderabad เมื่อเดือนมีนาคม 2018 และได้มีการส่งมอบโครงสร้างอากาศยานชุดแรกเมื่อ 8 มิถุนายน 2018 ที่ผ่านมาด้วยครับ

วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ฟิลิปปินส์จะจัดหาเครื่องบินโจมตีใบพัด OV-10 เพิ่ม และอาจจัดหาเครื่องบินโจมตีลำเลียง BT-67

Philippines to bolster airborne COIN capabilities with Broncos, potentially Baslers
The Philippine Air Force is set to receive four additional OV-10 Bronco aircraft from the United States to help bolster its COIN capabilities. Source: US DoD
http://www.janes.com/article/81975/philippines-to-bolster-airborne-coin-capabilities-with-broncos-potentially-baslers

ฟิลิปปินส์กำลังจะเร่งเสริมขีดความสามารถทางอากาศในการต่อต้านการก่อความไม่สงบ(COIN: Counterinsurgency) ด้วยการจัดหาเครื่องบินโจมตีสองเครื่องยนต์ใบพัด Rockwell OV-10 Bronco ที่เป็นเครื่องส่วนเกินจำนวน 4เครื่องจากสหรัฐฯ
และอาจมีความเป็นไปได้ที่จะจัดหาเครื่องบินโจมตีและลำเลียงสองเครื่องยนต์ใบพัด Basler BT-67 ที่กำลังได้รับการเสนอโดยบริษัท Basler Turbo Conversions สหรัฐฯ

แหล่งข่าวในกองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) ได้พบการแจ้งเตือนสำหรับการส่งมอบเครื่องบินโจมตีใบพัด OV-10A จำนวน 2เครื่อง และเครื่องบินโจมตี OV-10G+ จำนวน 2เครื่อง
แก่ลูกค้าที่ไม่ระบุชื่อในการขายรูปแบบ Foreign Military Sales(FMS) ซึ่งพบเห็นครั้งแรกโดย Jane's เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคมที่ผ่านมา

ขณะที่ Basler Turbo Conversions สหรัฐฯบอกกับ Jane's เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคมที่ผ่านมาว่าตนได้มีการเสนอเครื่องบินโจมตีลำเลียงใบพัด BT-67
ในฐานะส่วนหนึ่งของชุดข้อเสนอที่หลากหลายที่ยังรวมถึงรูปแบบเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล BT-67 MPA(Maritime Patrol Aircraft) ด้วย

ในแง่ของ OV-10 กองทัพอากาศฟิลิปปินส์(PAF: Philippine Air Force) ปัจจุบันเป็นผู้ใช้งานทางทหารรายเดียวของเครื่องบินโจมตีใบพัด OV-10A 1เครื่อง และ OV-10C 4เครื่องที่ได้รับมอบจากกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force)
กองทัพอากาศสหรัฐฯไม่ได้ตอบรับการร้องขอข้อมูลจาก Jane's ในการส่งมอบ OV-10 เครื่องส่วนเกิน 4เครื่อง แต่แหล่งข่าวในภูมิภาคระบุว่ากองทัพอากาศฟิลิปปินส์เป็นลูกค้าต่อ Mike Yeo จาก Defense News

เนื่องจากกองทัพอากาศฟิลิปปินส์กำลังจะทดแทนเครื่องบินโจมตี OV-10 ที่มีอยู่ด้วยเครื่องบินโจมตีเบาใบพัด Embraer EMB-314 Super Tucano บราซิลตั้งแต่ปี 2019(http://aagth1.blogspot.com/2017/12/super-tucano.html)
แต่ด้วยการส่งมอบเครื่องบินโจมตี OV-10 เพิ่มเติมจะมีกำหนดในเวลาที่ใกล้เคียงกัน จึงเป็นไปได้ว่ากองทัพอากาศฟิลิปปินส์จะใช้งานทั้ง OV-10 และ Super Tucano ในช่วงเวลาดังกล่าว

เครื่องบินลำเลียงใบพัด BT-67 โดยหลักเป็นการเปลี่ยนเครื่องบินลำเลียงใบพัด Douglas DC-3 Dakota โดยติดตั้งเครื่องยนต์ใบพัด turboprop และปรับปรุงติดระบบอื่นๆ
เช่น ระบบ Digital Avionic, ห้องนักบินที่เข้ากันได้กับกล้องมองกลางคืน(NVG: Night-Vision Goggle), Radar ตรวจการณ์สภาพอากาศ และระบบตรวจจับกล้อง FLIR(Forward-Looking Infrared)

ก่อนหน้านี้ Basler Turbo Conversions สหรัฐฯได้เสนอ BT-67 แก่ฟิลิปปินส์เมื่อปลายปี 2016 แต่ข้อเสนอไม่ได้รับการตอบรับในเวลานั้น
ถ้าการจัดหา OV-10 เพิ่มเติม และ BT-67 มีขึ้น เครื่องทั้งสองแบบน่าจะปฏิบัติการร่วมกับเครื่องบินโจมตีใบพัด Super Tucano ที่จะมีการส่งมอบในปลายปี 2019

เช่นเดียวกับเครื่องบินลำเลียงใบพัดเครื่องยนต์เดียว Cessna 208B Grand Caravan EX ที่ถูกดัดแปลงให้ทำภารกิจข่าวกรอง ตรวจการณ์ และลาดตระเวน(ISR: Intelligence, Surveillance and Reconnaissance) และอาจจะทำภารกิจโจมตีภาคพื้นดินได้
และเครื่องบินขับไล่โจมตีเบา Korea Aerospace Industries (KAI) FA-50PH Fighting Eagle ที่ปัจจุบันกองทัพอากาศฟิลิปปินส์มี 12เครื่องครับ(http://aagth1.blogspot.com/2018/06/fa-50ph.html)

วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

สวีเดนใช้เครื่องบินขับไล่ Gripen ทิ้งระเบิดนำวิถี GBU-49 ดับไฟป่า

Saab JAS 39C Gripen of Swedish Air Force dropped 500 lbs bomb on forest fire
Saab 39 Gripen C with GBU-49 Enhanced Paveway II (Picture source: Swedish air force)
http://www.airrecognition.com/index.php/archive-world-worldwide-news-air-force-aviation-aerospace-air-military-defence-industry/global-defense-security-news/global-news-2018/july/4420-saab-jas-39c-gripen-of-swedish-air-force-dropped-500-lbs-bomb-on-forest-fire.html


พื้นที่ไฟป่าของสวีเดนขณะนี้กำลังลุกไหม้รุนแรงที่เป็นผลจากสภาพอากาศร้อนอย่างมากเป็นประวัติการณ์ที่เชื่อมโยงกับการเปลี่ยนสภาพอากาศหรือภาวะโลกร้อน โดยพื้นที่เกิดไฟป่าบางส่วนได้กลายเป็นพื้นที่อันตรายที่ยากต่อการเข้าถึงแล้ว
ความพยายามที่จะระงับการขยายตัวไฟป่าในพื้นที่โดยรอบของสนามฝึกใช้อาวุธทางทหารในเทศบาลเมือง Älvdalen เจ้าหน้าที่ป้องกันภัยฉุกเฉินสวีเดนตัดสินใจที่จะขอความช่วยเหลือจากกองทัพอากาศสวีเดน(Swedish Air Force, Svenska flygvapnet)

เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2018 เครื่องบินขับไล่ JAS-39C Gripen กองบิน F17 กองทัพอากาศสวีเดนได้ทิ้งระเบิดนำวิถี Laser/ดาวเทียม GPS แบบ GBU-49/B Enhanced Paveway II ขนาด 500lbs ลงพื้นที่ส่วนหนึ่งที่กำลังเกิดไฟป่าลุกไหม้
ไฟป่าที่เกิดขึ้นในสนามฝึกใช้อาวุธนั้นเกิดขึ้นราวสองสัปดาห์แล้ว ได้สร้างความหวาดกลัวแก่ชุมชนใกล้เคียงและต้องสั่งอพยพประชาชนออกจากพื้นที่ประสบภัย

"มันเป็นความพยายามที่จะดึง oxygen ของจากไฟ ซึ่งเป็นความเป็นไปได้เพียงอย่างเดียวเพราะไฟเกิดขึ้นบนสนามฝึกใช้อาวุธทางทหาร โดยมุมมองของเราไฟนี้มีเอกลักษณ์เฉพาะและด้วยเหตุนี้เราจึงต้องใช้วิธีการดับเพลิงแบบนอกแบบ"
Johan Szymanski รายงานข่าวจากพื้นที่เกิดไฟป่ากล่าวตามการแถลงจากสถานีโทรทัศน์สาธารณะแห่งชาติสวีเดน SVT

ปัญหาเร่งด่วนที่มากที่สุดคือสนามฝึกใช้อาวุธนั้นเต็มไปด้วยวัตถุระเบิดที่ยังไม่ระเบิดกระจัดกระจายไปทั่วที่จะเป็นภัยร้ายแรงต่อนักดับเพลิงที่อยู่บนพื้น
อันตรายที่เกิดไม่ได้มีแต่เพียงการต่อสู้กับไฟแต่อาจจะเป็นการไปสะดุดกับบางอย่างและได้รับบาดเจ็บ อีกทั้งความร้อนจากไฟอาจจะกระสุนหรือระเบิดที่หลงเหลืออยู่เกิดระเบิดขึ้น

"นี่เป็นความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาที่มีเอกลักษณ์เฉพาะในความยากที่จะเข้าถึงพื้นที่ ตามการร้องขอ...เราพบว่าความพยายามนี้อาจจะทำให้เกิด(ระเบิดเพลิง)" Szymanski รายงานเสริม
เพื่อความมั่นใจ GBU-49/B เป็นระเบิดที่มีระบบนำวิถีสองแบบคือ Laser และดาวเทียม GPS/แรงเฉื่อย INS(Inertial Navigation System) ทำให้กองทัพอากาศสวีเดนมุ่งความสนใจไปยังจุดเฉพาะมากๆได้ และผลข้างเคียงจากการใช้อาวุธยังจำกัดมากพอที่หลีกเลี่ยงการสร้างไฟไหม้เพิ่มเติมด้วย

ยังไปเป็นที่ชัดเจนว่ารัฐบาลสวีเดนจะระดับนักดับเพลิงของตนเพื่อดับไฟป่าเพิ่มขึ้นอีกหรือไม่ในอนาคตเร็วๆนี้ Szymanski ไม่ได้กล่าวว่าแนวคิดการปฏิบัติการได้รับการตรวจสอบแล้วและจะมีการพิจารณาทำอีกครั้งต่อไปในอนาคต
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่กองทัพสวีเดน(Swedish Armed Forces, Försvarsmakten) ใช้อาวุธจริงในการดับไฟป่าในสนามฝึกใช้อาวุธ ตามแถลงอย่างเป็นทางการก่อนหน้านี้กองทัพบกสวีเดน(Swedish Army, Armén) เคยใช้ปืนใหญ่ระดมยิงเพื่อตัด oxygen จากไฟป่ามาแล้วครับ

จีนรับมอบระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-400 รัสเซียชุดแรก

China receives first batch of Russian S-400 missile systems — source
Russia’s S-400 Triumf is designed to destroy aircraft, cruise and ballistic missiles, including medium-range missiles, and surface targets
Sergei Malgavko/TASS
http://tass.com/defense/1014857

กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAF: People’s Liberation Army)ได้รับมอบระบบป้องกันภัยทางอากาศอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ S-400 Triumf จากรัสเซียชุดแรก ตามที่แหล่งข่าวทางการทูตทางทหารกล่าวกับ TASS เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคมที่ผ่านมา
"สัปดาห์ที่แล้วการรับรองการยอมรับได้รับการลงนามสำหรับระบบ S-400 ชุดแรกที่ถูกส่งมอบจากรัสเซียทางทะเลในเดือนพฤษภาคม 2018(http://aagth1.blogspot.com/2018/05/s-400.html) ระบบถูกส่งผ่านให้จีนเป็นเจ้าของเมื่อเอกสารได้รับการลงนาม" แหล่งข่าวกล่าว

กองบริการสหพันธรัฐเพื่อความร่วมมือทางทหาร-เทคนิค(FSMTC: Federal Service for Military-Technical Cooperation) รัฐบาลรัสเซียได้งดเว้นที่จะให้ความเห็นต่อข้อมูลดังกล่าวนี้
ตามรายงานรัสเซียได้ลงนามสัญญาสำหรับการขายระบบ S-400 ให้จีนในเดือนพฤศจิกายน 2014(http://aagth1.blogspot.com/2014/04/s-400.html)

ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน 2015 ผู้ช่วยประธานนาธิบดีรัสเซียด้านความร่วมมือเทคนิคทางทหาร Vladimir Kozhin ได้ยืนยันการจัดหาระบบ S-400 ของจีน
จีนได้กลายเป็นลูกค้าส่งออกต่างประเทศรายแรกของระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-400 และจะได้รับมอบระบบจำนวนสองชุด

S-400 Triumf(NATO กำหนดรหัส SA-21 Growler) เป็นระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยานพิสัยไกลรุ่นล่าสุดของรัสเซียที่ถูกนำเข้าประจำการในกองทัพรัสเซียในปี 2007
S-400 ถูกออกแบบเพื่อทำลายอากาศยาน, อาวุธปล่อยนำวิถีร่อน และขีปนาวุธ รวมถึงอาวุธปล่อยนำวิถีพิสัยกลาง และเป้าหมายภาคพื้นดิน

ระบบ S-400 สามารถยิงถูกเป้าหมายทางอากาศได้ในระยะถึง 400km และเป้าหมายขีปนาวุธทางยุทธวิธีที่โคจรด้วยความเร็ว 4.8km/s ที่ระยะห่างไกลถึง 60km เป้าหมายทางอากาศยังรวมถึง อาวุธปล่อยนำวิถีร่อน, อากาศยานทางยุทธวิธี อากาศยานทางยุทธศาสตร์ และหัวรบขีปนาวุธ
Radar ของระบบ S-400 สามารถตรวจจับเป้าหมายทางอากาศได้ในระยะไกลถึง 600km อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ 48N6E3 สามารถสามารถยิงถูกเป้าหมายทางอากาศได้ในเพดานบินถึง 10,000-27,000m และเป้าหมายขีปนาวุธที่ระดับความสูง 2,000-25,000m

ตุรกีเป็นลูกค้าส่งออกต่างประเทศรายที่สองจะจัดหาระบบ S-400 รัสเซีย โดยจะได้รับมอบชุดแรกก่อนสิ้น 2019(http://aagth1.blogspot.com/2017/10/s-400.html, http://aagth1.blogspot.com/2017/12/s-400.html)
ขณะที่อินเดียกำลังอยู่ระหว่างการเจรจา(http://aagth1.blogspot.com/2016/10/s-400-triumf-s-300.html,http://aagth1.blogspot.com/2017/02/pak-fa-2017-5-s-400-50.html) เช่นเดียวกับซาอุดิอาระเบียที่กำลังเจรจา(http://aagth1.blogspot.com/2017/10/thaad-s-400.html)ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

Ukrinmash ยูเครนเสนอแบบเรือคอร์เวต Project 58300 แก่บราซิล

Ukrainian state firm Ukrinmash details design bid for Brazilian corvette competition
Ukrinmash's Project 58300 design proposal for the Brazilian corvette competition. Source: Ukrinmash
http://www.janes.com/article/81897/ukrainian-state-firm-ukrinmash-details-design-bid-for-brazilian-corvette-competition

Ukrinmash รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมทางเรือในเครือ Ukroboronprom กลุ่มอุตสาหกรรมความมั่นคงของรัฐบาลยูเครนกำลังเสนอแบบเรือคอร์เวต Project 58250 ของตนสำหรับโครงการจัดหาเรือคอร์เวตชั้น Tamandaré ของกองทัพเรือบราซิล(Brazilian Navy, Marinha do Brasil)
แบบเรือคอร์เวตยูเครน Project 58300 Amazonas ที่เข้าแข่งขันในโครงการจัดหาเรือคอร์เวตใหม่ของบราซิลมีพื้นฐานการออกแบบโดยศูนย์วิจัยออกแบบการสร้างเรือของรัฐ Nikolayev(Mykolaiv) ที่ถูกปรับปรุงให้ตรงตามความต้องการของบราซิล

Ukrinmash ยูเครนได้ร่วมทีมกับรัฐวิสาหกิจอู่ต่อเรือบราซิล Arsenal de Marinha do Rio de Janeiro(AMRJ) ในความพยายามที่จะเป็นผู้ชนะในการแข่งขันโครงการจัดหาเรือคอร์เวตชั้น Tamandaré จำนวน 4ลำที่มีงบประมาณล่าสุด 2 billion Brazilian Real($518.5 million)
Ukrinmash กล่าวกับ Jane's ว่าถ้าแบบเรือของตนได้รับเลือก ตนก็จะพร้อมที่จะส่งมอบเรือในฐานะทรัพย์สินทางปัญญาของกองทัพเรือบราซิล

บริษัทอื่นที่เข้าร่วมข้อเสนอโครงการของยูเครนประกอบด้วย Atlas Elektronik เยอรมนี, Rohde & Schwarz เยอรมนี, Thales ยุโรป, Leonardo อิตาลี-สหราชอาณาจักร, Zeppelin เยอรมนี, Caterpillar สหรัฐฯ, อู่เรือ Chernomorsky ยูเครน, Transas สหราชอาณาจักร,
ศูนย์วิจัยออกแบบการสร้างเรือรัฐยูเครน, China Precision Machinery Import-Export Corporation(CPMIEC) จีน, อู่เรือ Mykolayiv ยูเครน, ศูนย์วิจัยและออกแบบ Gas Turbine Zorya-Mashproekt ยูเครน และสำนักออกแบบของรัฐ Yuzhnoye ยูเครน

Ukrinmash ยูเครนได้เสนอระบบอำนวยการรบ(CMS: Combat Management System) ตระกูล Thales Nederland TACTICOS เนเธอร์แลนด์สำหรับแบบเรือคอร์เวต Project 58300 Amazonas ของตนด้วย
คุณลักษณะสำคัญของแบบเรือคอร์เวต Project 58300 มีระวางขับน้ำ 2,650tons ความยาวเรือ 112m กว้าง 13.5m พิสัยทำการถึง 4,000nmi ที่ความเร็วมัธยัสถ์ 14knots ความเร็วสูงสุด 30knots

แบบเรือคอร์เวต Project 58300 มีโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์รองรับการปฏิบัติการของเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทางทะเลขนาดกลางได้หนักถึง 11tons มีที่พักสำหรับกำลังพลประจำเรือ 110นาย มีระยะเวลาปฏิบัติการได้ถึง 30วัน
อาวุธที่ติดตั้งประกอบด้วยอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นแฝดสี่ 2แท่นยิง, แท่นยิงแนวดิ่ง VLS(Vertical Launching System) สำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ, ปืนใหญ่เรือ 76mm ปืนใหญ่กล 35mm 2กระบอก, แท่นยิง Torpedo เบา 324mm แฝดสาม 2แท่น และปืนกลหนัก 12.7mm 2กระบอก

ระบบตรวจจับและอุปกรณ์ที่ติดตั้งประกอบด้วย แท่นยิงเป้าลวงและ Chaff, Radar ตรวจการณ์สามมิติพิสัยกลางและพิสัยไกล, Sonar หัวเรือและลากท้าย, ระบบสะพานเดินเรือบูรณาการ,
ระบบศูนย์อำนวยการควบคุมการยิง, อุปกรณ์สื่อสาร นำร่อง และสงคราม Electronic, Radar ชี้เป้าหมายระยะไกล และชุดระบบกล้องตรวจการณ์ electro-optical ครับ

วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

กองทัพเรือไทยทำพิธีปล่อยเรือตรวจการณ์ชายฝั่งชุดเรือ ต.270-ต.274 ลงน้ำ

Royal Thai Navy launching ceremony of new 5 T.270 class Inshore Patrol Craft from Marsun shipyard Thailand, 24 July 2018

Model of Marsun M21 Patrol Boat Royal Thai Navy T.228-class, T.232-class, T.261-class, T.265-class  and T.270-class(My Own Photo)
http://aagth1.blogspot.com/2017/11/marsun-usv.html

กองทัพเรือจัดพิธีปล่อยเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง ชุดเรือ ต.270 – ต.274 จำนวน 5 ลำ ลงน้ำ


วันนี้ (24 กรกฎาคม 2561) เวลา 15.39 น. พลเรือเอก นริส ประทุมสุวรรณ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีปล่อยเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง ชุดเรือ ต.270 – ต.274 จำนวน 5 ลำ ลงน้ำ 
โดยมี นางเกสรา ประทุมสุวรรณ นายกสมาคมภริยาทหารเรือ ในฐานะภริยาผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นสุภาพสตรีผู้ประกอบพิธีปล่อยเรือ ณ อู่ต่อเรือ บริษัท มาร์ซัน จำกัด ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ


ตามยุทธศาสตร์ กองทัพเรือ พ.ศ.2551 - 2560 กำหนดความต้องการเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง (ตกช.) รวม 24 ลำ เพื่อใช้ในภารกิจต่าง ๆ โดยมีแผนปลดเรือตรวจการณ์ชายฝั่งที่ใช้ราชการมานานและครบกำหนดปลดระวาง ตั้งแต่ปี 2558 - 2560 รวม 14 ลำ 
จึงมีความจำเป็นต้องการจัดหาเรือตรวจการณ์ชายฝั่งทดแทนเรือที่จะปลดระวาง ซึ่งการจัดหาครั้งนี้เป็นการจัดหาเรือตรวจการณ์ชายฝั่งเพิ่มเติมให้เพียงพอต่อการใช้งาน เพื่อตอบสนองต่อภารกิจตามยุทธศาสตร์กองทัพเรือ 
สำหรับการจัดและเตรียมกำลังสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของทัพเรือภาคและหน่วยเฉพาะกิจของกองเรือยุทธการ และให้การสนับสนุนอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง


การดำเนินโครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ชายฝั่งที่ผ่านมา กองทัพเรือได้ทยอยจัดหาเรือตรวจการณ์ชายฝั่งทดแทนมาอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือ 
โครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง ชุดเรือ ต.228 (ต.228 - ต.230) จำนวน 3 ลำ ผูกพันงบประมาณ 3 ปี (2554 - 2556) ได้รับมอบตามสัญญาฯ เรียบร้อยแล้ว เมื่อปี พ.ศ.2556 
โครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง ชุดเรือ ต.232 (ต.232 - ต.237) จำนวน 6 ลำ ผูกพันงบประมาณ 3 ปี (2557 - 2559) ได้รับมอบตามสัญญาฯ เรียบร้อยแล้ว เมื่อปี พ.ศ.2559 
โครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง จำนวน 4 ลำ (ต.261 - ต.264) ได้รับมอบตามสัญญาเรียบร้อยแล้วเมื่อปี 2560 
โครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง จำนวน 5 ลำ (ต.265 - ต.269) ได้รับมอบตามสัญญาฯ เรียบร้อยแล้วเมื่อต้นปี 2561 
และโครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง จำนวน 5 ลำ (ต.270 - ต.274) ที่ได้มีพิธีปล่อยลงน้ำในวันนี้


สำหรับการจัดหาเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง โดยการว่าจ้างให้ บริษัท มาร์ซัน จำกัด เป็นผู้ดำเนินการนับได้ว่าเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมการต่อเรือภายในประเทศ อีกทั้งยังเป็นการประหยัดงบประมาณมากกว่าการจัดหาจากต่างประเทศ 
โดยเรือตรวจการณ์ชายฝั่งจะเข้าประจำการในกองเรือยามฝั่ง กองเรือยุทธการ มีภารกิจในการตรวจการณ์ สกัดกั้น ลาดตระเวน ป้องกันการแทรกซึมทางทะเลและชายฝั่ง คุ้มครองเรือประมงและเรือพาณิชย์ 
ป้องกันและคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติบริเวณชายฝั่งทะเลในอ่าวไทย และทะเลอันดามัน รักษากฎหมายในทะเลตามอำนาจหน้าที่ที่กองทัพเรือได้รับมอบหมาย รวมถึงการถวายความปลอดภัยแด่พระบรมวงศานุวงศ์


คุณลักษณะที่สำคัญของเรือตรวจการณ์ชายฝั่งชุดใหม่ของกองทัพเรือ

ขีดความสามารถปฏิบัติการรบ (Combat Capabilities) 
สามารถปฏิบัติภารกิจได้ครอบคลุมพื้นที่ปฏิบัติการบริเวณชายฝั่งในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน 
สามารถตรวจจับ ติดตาม และพิสูจน์ทราบเป้าผิวน้ำ 
สามารถป้องกันตนเองจากเรือผิวน้ำและอากาศยานข้าศึกได้ตามสมรรถนะของอาวุธประจำเรือ
สามารถปฏิบัติการทางเรืออย่างต่อเนื่อง โดยไม่ต้องรับการส่งกำลังบำรุงเพิ่มเติมได้ไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง 
สามารถปฏิบัติงานได้ในสภาพทะเลไม่น้อยกว่า Sea State 2 
สามารถตรวจค้นเรือที่ต้องสงสัย ค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ 
และมีความสามารถในการทรงตัวที่ดีในการบังคับเรือ และบังคับเลี้ยวในการปฏิบัติงานที่ความเร็วสูง (Maneuverability)


คุณลักษณะทั่วไปของเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง (Ship System Performance)
ระวางขับน้ำเต็มที่โดยประมาณ 45 ตัน 
ขนาดของเรือ ความยาวตลอดลำ 21.40 เมตร ความกว้างสูงสุด ของเรือ 5.56 เมตร ความลึกของเรือ (Molded Depth) 3.15 เมตร กินน้ำลึกตัวเรือ (Molded Draught) 1.05 เมตร 
ความเร็วสูงสุดต่อเนื่อง ที่ระวางขับน้ำเต็มที่ไม่น้อยกว่า 30 นอต
กำลังพลประจำเรือ 9 นาย 
สามารถปฏิบัติงานในทะเลได้ต่อเนื่องได้ไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง โดยไม่ต้องรับการส่งกำลังบำรุง 
ระยะปฏิบัติการไม่น้อยกว่า 350 ไมล์ทะเล ด้วยความเร็วเดินทางมัธยัสถ์ (15 นอต) ที่ระวางขับน้ำเต็มที่ (Full Load Displacement) 
ขนาดและสัดส่วนของโครงสร้างตัวเรือได้รับการตรวจสอบ และรับรองจากสมาคมจัดชั้นเรือ DNV แห่งประเทศนอร์เวย์ โดยโครงสร้างตัวเรือและแผ่นเปลือกเรือทำด้วยอลูมินัมอัลลอยเกรดที่ใช้ในการต่อเรือโดยเฉพาะ (Marine Grade) 
ระบบขับเคลื่อนประกอบด้วย
เครื่องจักรใหญ่ดีเซลเรือตราอักษร MAN รุ่น D2862 LE463 พร้อมเพลาใบจักร จำนวน 2 ชุด ซึ่งผลิตกำลังได้เครื่องละ 1,029 กิโลวัตต์ ทำให้มีกำลังเครื่องจักรรวม 2,058 กิโลวัตต์ ขับเพลาใบจักรและใบจักรผ่านชุดคลัชท์และเกียร์ทด จำนวน 2 ชุด 
โดยที่ระบบเพลาและใบจักรซ้าย-ขวาเป็นแบบ Fixed Pitch Propeller (FPP) จำนวน 2 ชุด


อาวุธประจำเรือ
อาวุธปืนหลัก ปืนกลขนาด 20 มิลลิเมตร จำนวน 1 กระบอก บริเวณหัวเรือ
อาวุธปืนรอง ปืนกลขนาด .50 นิ้ว จำนวน 1 กระบอก พร้อมกับเครื่องยิงลูกระเบิด 81 มิลลิเมตร ร่วมแกน จำนวน 1 กระบอก ติดตั้งบริเวณท้ายเรือ


พิธีปล่อยเรือลงน้ำ เป็นพิธีที่มีมาตั้งแต่ครั้นโบราณกาล เมื่อถึงเวลาปล่อยเรือเดินทะเลลงน้ำจะต้องทำพิธี เพื่อให้เกิดสวัสดิมงคลแก่ตัวเรือเสียก่อน ในสมัยปัจจุบันพิธีปล่อยเรือลงน้ำ แบบสากล ให้สุภาพสตรีเป็นผู้ประกอบพิธีโดยวิธีปล่อยขวดแชมเปญกระทบหัวเรือ 
การนี้สืบเนื่องมาจากการดื่มอวยพรด้วยถ้วยเงิน เมื่อดื่มแล้วก็ขว้างถ้วยขึ้นไปบนเรือปรากฏว่าสิ้นเปลืองมาก จึงเปลี่ยนเป็นขว้างขวดกับหัวเรือแทน คราวหนึ่งสุภาพสตรีผู้ประกอบพิธีได้ขว้างขวดแชมเปญไม่ถูกหัวเรือ แต่กลับไปถูกแขกที่มาในงานพิธีได้รับบาดเจ็บ จึงได้ใช้เชือกผูกคอขวดเสียก่อนเสมอ
จนถึงปัจจุบันนี้พิธีปล่อยเรือลงน้ำของราชนาวี เฉพาะที่มีหลักฐานปรากฏในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว ได้มีพิธีปล่อยเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ลงน้ำ เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2454 
ส่วนเรือหลวงที่สร้างจากต่างประเทศที่มีหลักฐานปรากฏ ได้แก่ เรือหลวงเสือคำรณสินธุ์ ประเภทเรือพิฆาต มีพิธีปล่อยเรือลงน้ำ เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2453 ณ อู่กาวาซากิ เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น 
สำหรับเรือหลวง ตัวเรือเป็นเหล็ก สร้างโดยกรมอู่ทหารเรือที่มีพิธีปล่อยเรือลงน้ำเป็นครั้งแรก คือ เรือหลวงสัตหีบ (ลำที่ 1) ซึ่งมีคุณหญิงวิจิตรา ธนะรัชต์ ภริยา จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (ในขณะนั้น) เป็นสุภาพสตรีผู้ประกอบพิธี

กองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ
https://www.facebook.com/prthainavy/posts/1998962090155137

เรือตรวจการณ์ชายฝั่งชุดเรือ ต.270 จำนวน ๕ลำประกอบด้วย ต.270, ต.271, ต.272, ต.273 และ ต.274 ได้ทำพิธีวางกระดูกเมื่อ ๑๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๐(2017)(http://aagth1.blogspot.com/2017/03/261-4-5.html)
และได้ทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำเมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๑(2018) นี้นับเป็นความคืบหน้าล่าสุดของโครงการจัดหาเรือตรวจการชายฝั่งของกองทัพเรือไทยโดยภาคอุตสาหกรรมทางเรือภายในประเทศไทย
ซึ่งอู่ต่อเรือบริษัท Marsun ไทยยังคงดำเนินการสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.114 จำนวน ๒ลำที่ทำการวางกระดูกเรือไปเมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๑(http://aagth1.blogspot.com/2018/06/114.html)

ทำให้ขณะนี้กองทัพเรือไทยมีเรือตรวจการณ์ชายฝั่งชุดเรือ ต.228 ประกอบด้วยเรือ ต.228, ต.229 และ ต.230 รวม ๓ลำ, ชุดเรือ ต.232 ประกอบด้วย ต.232, ต.233, ต.234, ต.235, ต.236 และ ต.237 รวม ๖ลำ,
ชุดเรือ ต.261 ประกอบด้วย ต.261, ต.262, ต.263 และ ต.264 รวม ๔ลำ และชุดเรือ ต.265 ประกอบด้วย ต.265, ต.266, ต.267, ต.268 และ ต.269 รวม ๕ลำ และชุดเรือ ต.270 รวม ๕ลำ
เมื่อรวมกับเรือ ต.227 ที่เข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๕๐(2007) จะทำให้กองทัพเรือมีเรือตรวจการณ์ชายฝั่งใหม่รวมทั้งหมด ๒๔ลำครับ

วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

สาธารณรัฐเช็กเปิดตัวเครื่องบินโจมตีเบา F/A-259 และขายเครื่องบินฝึกไอพ่น L-39NG ได้เพิ่มขึ้น

Farnborough 2018: Aero reveals F/A-259 light attack jet
The F/A-259 is the latest iteration of the L-159 light attack jet that first entered service in the 1990s. Source: Aero Vodochody via IHS Markit/Gareth Jennings
http://www.janes.com/article/81774/farnborough-2018-aero-reveals-f-a-259-light-attack-jet

Farnborough 2018: Aero Vodochody announces new L-39NG sales, backlog increase
Aero Vodochody has announced that SKYTECH and RSW Aviation have signed for the L-39NG. Source: Aero Vodochody
http://www.janes.com/article/81813/farnborough-2018-aero-vodochody-announces-new-l-39ng-sales-backlog-increase

Aero Vodochody ผู้ผลิตอากาศยานของสาธารณรัฐเช็กได้เปิดตัวเครื่องบินโจมตีเบา L-159 ที่มีขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้นโดยกำหนดแบบคือ F/A-259 Striker
การเปิดตัวภาพวาดประกอบและข้อมูลสมรรถนะของเครื่องบินไอพ่นที่นั่งเดี่ยว F/A-259 นี้มีขึ้นครั้งแรกในงานแสดงการบินนานาชาติ Farnborough International Airshow 2018 ณ สหราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 16-22 กรกฎาคม ที่ผ่านมา

F/A-259 ถูกสร้างจากพื้นฐานเครื่องบินโจมตีเบาเครื่องยนต์ไอพ่นเดี่ยว L-159 ALCA(Advanced Light Combat Aircraft) ซึ่งได้ถูกนำเข้าประจำการตั้งแต่ช่วงต้นปี 1990s
ตามการเน้นโดย Aero สาธารณรัฐเช็กเครื่องบินโจมตีเบา F/A-259 ใหม่นี้ได้ถูกพัฒนาโดยความร่วมมือกับบริษัท Israel Aerospace Industries(IAI) อิสราเอล

F/A-259 ติดตั้งเครื่องยนต์ไอพ่น Turbofan แบบ Honeywell/ITEC F124-GA-100 หนึ่งเครื่องที่ให้สมรรถนะอัตราส่วนแรงขับต่อน้ำหนักที่สูงในกลุ่มเครื่องบินโจมตีไอพ่นระดับเดียวกัน และยังทำงานร่วมกับกล้องมองกลางคืน(NVG: Night-Vision Goggle)
ที่เข้ากันได้กับห้องนักบินแบบ Glass Cockpit ที่ติดจอแสดงผลเอนกประสงค์สี รวมกับคันบังคับ HOTAS(Hands-on-Throttle-and-Stick) Datalinks และระบบตรวจจับ Synthetic Aperture Radar/Ground Moving Target Indication(SAR/GMTI)

รายการการปรับปรุงเพิ่มเติมโดย Aero ยังรวมถึงหมวกนักบินติดจอแสดงผล HMD(Helmet-Mounted Display), Radar แบบ AESA(Active Electronically Scanned Array) ระบบเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ และระบบสื่อสารดาวเทียม
ระบบอาวุธประกอบด้วยลูกระเบิดทำลายเอนกประสงค์ไม่นำวิถี, ระเบิดนำวิถี Laser, จรวดไม่นำวิถี, อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้, อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น และกระเปาะปืนใหญ่อากาศแฝดสอง 20mm โดยยังสามารถจะติดตั้งกระเปาะลาดตระเวนและชี้เป้าได้

สมรรถนะของเครื่องบินโจมตีเบา F/A-259 Striker ตามข้อมูลของบริษัท มีความเร็วสูงสุด 0.82 Mach อัตราไต่ระดับสูงสุด 10,400 ftต่อนาที, เพดานบินสูงสุด 43,000ft และทนแรง G ได้ที่ +8/-4G
โดย Aero Vodochody สาธารณรัฐเช็กได้ตั้งเป้าที่จะนำ F/A-259 Striker เข้าแข่งขันในโครงการจัดหาเครื่องบินโจมตีสนับสนุนทางอากาศใกล้ชิดใหม่ OA-X ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) ด้วย

Aero Vodochody ได้ประกาศการลงนามสัญญากับสองบริษัทผู้ให้บริการการฝึกทางอากาศสำหรับการจัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่น L-39NG ในงานแสดงการบิน Farnborough Airshow 2018
บริษัท SKYTECH โปรตุเกสได้ลงนามลงนามข้อตกลงที่มีผลผูกพันสำหรับการจัดหา L-39NG จำนวน 10เครื่อง เช่นเดียวกับทางเลือกสำหรับการจัดหาเพิ่มเติมอีก 6เครื่อง โดยที่ตั้งสำหรับเครื่องของบริษัทยังอยู่ระหว่างการเจรจา

Mal Sandford รองประธานอาวุโสของ SKYTECH กล่าวว่าบริษัทจะทำงานเพื่อสร้างรูปแบบของสัญญาหลายรูปแบบสำหรับลูกค้าที่มีความเป็นไปได้ รวมทั้งทางเลือกการจ่ายแบบรายชั่วโมง และการเช่า
"มันมีความขาดแคลนในการฝึก มันมีความขาดแคลนในทรัพยากรบุคคลสำหรับกองทัพอากาศ และมันมีความขาดแคลนในงบประมาณ ดังนั้นเราจะมอบแนวทางนวัตกรรมอย่างมากเพื่อทำให้กองทัพอากาศสามารถมาและบินสิ่งนี้ได้ ไม่ใช่ในแง่ของโรงเรียนฝึก แต่ทำให้รัฐบาลเข้าถึงเครื่องบินเหล่านี้ในระดับที่ราคาถูกกว่า" Sandford กล่าว

บริษัทการฝึกอากาศยานของสหรัฐฯ RSW Aviation ยังได้ลงนามจดหมายแสดงความจำนง(Letter of Intent) สำหรับการจัดหา L-39NG จำนวน 12เครื่อง และยังรวมถึงการปรับปรุงเครื่องบินฝึกไอพ่น L-39 รุ่นดั้งเดิม 6เครื่องให้เป็นรุ่น L-39CW
ปัจจุบันบริษัท RSW Aviation มีเครื่องบินฝึก L-39 ใช้งานเช่นเดียวกับเครื่องบินฝึกใบพัด Shorts Tucano,เครื่องบินโดยสารใบพัด Cessna 172, เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป Bell 206 และเครื่องบินโดยสารใบพัด Beechcraft King Air สำหรับการฝึกนักบินและช่างซ่อมบำรุง บริษัทมีที่ตั้งสำนักงานใหญ่ในมลรัฐ Arizona และมีสถานที่ฝึกใน Roswell มลรัฐ New Mexico

ตามข้อมูลจาก Giuseppe Giordo ผู้อำนวยการบริหาร Aero Vodochody สาธารณรัฐเช็ก บริษัทได้รับรายการการสั่งซื้อ L-39NG รวมแล้ว 38เครื่องที่จะขายสายการผลิตออกไปได้ถึงปี 2022 อย่างไรก็ตามคำสั่งซื้่ออีก 22เครื่องนั้นคาดว่าจะมีการยืนยันในสิ้นปี 2018
เมื่อการจัดหาเหล่านี้ได้รับการยืนยันรายการสั่งซื้อคาดว่าจะพุ่งขึ้นเป็น 58เครื่อง บริษัทคาดว่าการบินครั้งแรกของเครื่องจะมีขึ้นในสิ้นปี โดยชุดการรับรองเครื่องคาดว่าจะเป็นในปี 2019 และการส่งมอบคาดว่าจะเริ่มขึ้นได้ในปี 2020 ครับ

วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ภาพเปิดเผยความเป็นไปได้ที่นาวิกโยธินจีนได้รับรถถังเบาใหม่ ZTQ-15

PLAN possibly equipping marine corps with new lightweight battle tank
An image has emerged showing a Chinese lightweight battle tank painted in PLAN Marine Corps camouflage being driven at an undisclosed location. Source: Via fyjs.cn website
http://www.janes.com/article/81844/plan-possibly-equipping-marine-corps-with-new-lightweight-battle-tank

ภาพที่ถูกเผยแพร่ใน website online forums ของจีน fyjs.cn เมื่อช่วงกลางเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาทำให้เกิดข้อสังเกตว่า กองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People’s Liberation Army Navy)
อาจจะนำรถถังเบาแบบใหม่ประจำการในหน่วย นาวิกโยธินกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน(PLA Marine Corps) ของตน โดยรถถังเบาที่จีนพัฒนาเองในประเทศนี้มักถูกเรียกโดยทั่วไปในชื่อรถถังเบา ZTQ-15

รถถังเบา ZTQ-15 ซึ่งเป็นที่เชื่อว่าจะถูกนำเข้าประการในกองทัพบกปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAGF: People’s Liberation Army Ground Force) แล้วนี้(http://aagth1.blogspot.com/2017/01/ztq.html, http://aagth1.blogspot.com/2017/07/ztq.html)
ภาพที่ถูกเผยแพร่ออกมานั้นแสดงถึงรถถังเบาที่ทำสีพรางของนาวิกโยธินจีน และรถถังที่ปรากฎภาพกำลังถูกขับเคลื่อนในบริเวณที่น่าจะเป็นถนนสาธารณะซึ่งไม่ถูกระบุสถานที่

ตามข้อมูลจาก Jane’s Land Warfare Platforms: Armoured Fighting Vehicles รถถังเบา ZTQ-15 เป็นการกำหนดแบบรถซึ่งยังไม่ถูกยืนยันโดยกระทรวงกลาโหมจีน
รถถังเบา ZTQ-15 ได้ถูกออกแบบมาสำหรับปฏิบัติการในเขตภูเขาสูงเช่นทิเบต และบนภูมิประเทศที่ต้องการรถรบที่มีแรงกดสายพานต่ำเช่นพื้นที่ดินอ่อนโคลนทางมณฑลตอนใต้ของจีน

รถถังเบา ZTQ-15 ติดตั้งปืนใหญ่รถถังขนาด 105mm มีเกราะป้องกันตนเองจากอาวุธต่อสู้รถถังแบบพกพาด้วยบุคคล และเชื่อว่าติดตั้งเครื่องยนต์ขับเคลื่อนกำลังสูงที่สามารถสร้างความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่อย่างแข็งแกร่งบนทางวิบาก
ตามรายงานของจีนรถถังเบา ZTQ-15 มีน้ำหนักราว 35tons และมีพลประจำรถ 4นาย แม้จะมีการคาดการณ์ว่าจะมีการติดตั้งระบบบรรจุกระสุนอัตโนมัติ Autoloader เพื่อตัดตำแหน่งพลบรรจุออกไป 1นาย เหลือพลประจำรถ 3นาย

ปถ.105mm ของ ถ.เบา ZTQ-15 คิดว่าน่าจะสามารถยิงกระสุนเจาะเกราะสลัดครอบแบบมีครีบทรงตัว(APFSDS: Armour-Piercing Fin-Stabilised Discarding Sabot) ที่น่าจะสามารถเจาะเกราะหนา 500mm ได้จากระยะยิงในการรบปกติ
ตามข้อมูลจาก Jane’s World Armies รถถังเบา ZTQ-15 มีป้อมปืนทรงรูปลิ่มซึ่งสามารถติดตั้งแผ่น Block เกราะปฏิกิริยาแรงระเบิด ERA(Explosive Reactive Armour) แบบถอดออกได้ และเครื่องตรวจจับ Laser ขณะที่ตะแกรงใส่ของที่ป้อมปืนติดเครื่องยิงลูกระเบิดควัน

รถถังเบา ZTQ-15 อาจจะมีระบบกันสะเทือนแบบของเหลวทำให้สายพานรถสามารถปรับระดับขึ้นลงเพื่อหมอบซ่อนตัวรถพรางไปกับภูมิประเทศได้ และช่วยในการขนส่งทางรางรถไฟและขนส่งทางอากาศ
ผลจากการใช้สายพานแบบกว้างทำให้มีรายงานว่า ZTQ-15 มีมีแรงกดพื้นของรถในระดับเดียวกับรถถังเบา Type 62 ที่จีนปลดประจำการไปแล้วซึ่งต่ำพอจะใช้เคลื่อนที่รบในทุ่งนา โดยเกราะเสริมที่ถอดออกได้ยังจะทำให้น้ำหนักรถลดลงไปด้วยครับ

วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

อิหร่านจะผลิตรถถังหลัก Karrar ใหม่และปรับปรุงรถถังหลัก Zolfaghar รวม 700-800คัน

Iran reportedly to produce 700–800 tanks
Although it appears to be influenced by Russia’s T-90, the Karrar is an upgraded T-72. Source: Islamic Republic News Agency

and the Zolfaghar (Zulfiqar), several prototypes of which have been displayed over the years.
http://www.janes.com/article/81843/iran-reportedly-to-produce-700-800-tanks

กองทัพอิหร่านจะได้รับมอบรถถังหลักที่ผลิตใหม่และปรับปรุงรถถังหลักที่มีอยู่เดิมถึง 800คัน ตามที่สำนักข่าวอิหร่าน Tasnim รายงานเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคมที่ผ่านมา
โดยอ้างคำกล่าวของ Reza Mozaffariniya รองรัฐมนตรีด้านอุตสาหกรรมในกระทรวงกลาโหมและการส่งกำลังบำรุงกองทัพอิหร่าน(MODAFL: Ministry of Defence and Armed Forces Logistics)

Mozaffariniya กล่าวว่ากระทรวงกลาโหมและการส่งกำลังบำรุงกองทัพอิหร่านกำลังมีแผนที่จะปรับปรุงและผลิตรถถังหลักใหม่ 700-800คัน ที่ส่วนใหญ่ดำเนินการที่โรงงานใน Dorud
โดยมีรถถังหลัก 50-60คันที่กำลังทำการผลิตต่อเนื่องในแต่ละปีสำหรับกองทัพประจำการและกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิสลาม(Islamic Revolution Guards Corps) ซึ่งจำเป็นต้องการรถถังใหม่อย่างเร่งด่วน

Mozaffariniya ไม่ได้ระบุว่ารถถังหลักแบบใดที่จะถูกนำเข้าในโครงการ แต่ Tasnim เน้นว่าน่าจะเป็นไปได้ที่เขาอ้างถึงรถถังหลัก Karrar ซึ่งมีพื้นฐานพัฒนาปรับปรุงจากรถถังหลัก T-72 รัสเซีย
และรถถังหลัก Zolfaghar(Zulfiqar) ที่ต่างมีรถต้นแบบจำนวนหลายคันที่ถูกนำมาจัดแสดงตลอดช่วงหลายปีมานี้

รถถังหลัก Karrar เมื่อเปิดตัวในเดือนมีนาคม 2017 ถูกอธิบายโดยสื่ออิหร่านว่ารถถังหลักใหม่นี้เป็น "รถถังอิหร่าน 100%" ที่มีความเหนือชั้นกว่ารถถังหลัก T-90 รัสเซียในบางด้าน(http://aagth1.blogspot.com/2017/03/karrar.html)
อย่างไรก็ตามเป็นที่ชัดเจนว่าการปรับปรุงรถถังหลัก T-72 ด้วยป้อมปืนแบบเชื่อมใหม่ยังคงใช้ปืนใหญ่รถถังลำกล้องเรียบตระกูล 2A46 ขนาด 125mm รัสเซียดั้งเดิมอยู่

การแสดงที่ครอบคลุมของสื่ออิหร่านยังรวมถึงระบบควบคุมและบังคับบัญชา Computer ที่ปรากฎการรวมระบบควบคุมการยิง, การนำร่อง, และระบบวินิจฉัยรถ
รวมทั้งยังปรากฎระบบตรวจวัดสภาพอากาศบนหลังคาป้อมปืน และ Laser วัดระยะบนกล้องเล็งพลยิงที่น่าจะยังถูกใช้ในการกำหนดเป้าหมายสำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังยิงจากปืนใหญ่รถถัง

มันถูกระบุในเวลานั้นว่ารถถังหลัก Karrar ได้พร้อมการเริ่มต้นเข้าสู่สายการผลิต ณ ศูนย์อุตสาหกรรมยานเกราะ Bani-Hashem ทางตะวันตกของ Dorud
ที่อ้างการสนับสนุนจากภาพวีดิทัศน์ทางโทรทัศน์แสดงถึงตัวถังของรถถังหลัก T-72 จำนวน 6คันในโรงงานครับ(http://aagth1.blogspot.com/2017/12/karrar.html)

วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

TAI ตุรกีมองการส่งออกเฮลิคอปเตอร์โจมตี T129 เพิ่มหลังปากีสถานลงนามจัดหา

FARNBOROUGH: Turkish Aerospace eyes more Atak deals after Pakistan win
Turkish Aerospace is confident of more international sales for its T129 attack helicopter, given the demanding process that Pakistan put the rotorcraft through prior to its recent 30 aircraft order.
https://www.flightglobal.com/news/articles/farnborough-turkish-aerospace-eyes-more-atak-deals-450461/


Turkish Aerospace (เดิม TAI: Turkish Aerospace Industries) รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมอากาศยานตุรกีมั่นใจมากขึ้นสำหรับการขายเฮลิคอปเตอร์โจมตี T129 ATAK ของตนในระดับนานาชาติ
หลังจากที่ปากีสถานเพิ่งลงนามสัญญาจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตี T129 ATAK ตุรกีจำนวน 30เครื่อง ซึ่งเป็นยอดจำนวนส่งออกล่าสุด(http://aagth1.blogspot.com/2018/05/t129-30.html)

การส่งมอบ ฮ.โจมตี T129 แก่ปากีสถานยังไม่ได้รับการกำหนดในตอนนี้ ตามที่ยังคงมีระเบียบปฏิบัติที่จำเป็นต้องได้รับการคัดแยกโดยกระทรวงกลาโหมตุรกีและกระทรวงกลาโหมอิตาลี ตามที่ Gorkem Bilgi ผู้จัดการการตลาดของ Turkish Aerospace ตุรกีกล่าว
เนื่องจาก ฮ.โจมตี T-129 มีพื้นฐานจากเฮลิคอปเตอร์โจมตี Leonardo/AgustaWestland AW129 Mangusta อิตาลี นอกจากนี้เครื่องยนต์ Turboshaft แบบ T800 ยังเป็นผลิตภัณฑ์ของ LHTEC(Light Helicopter Turbine Engine Company) ที่เป็นกลุ่มร่วมทุนระหว่าง Honeywell สหรัฐฯ และ Rolls-Royce สหราชอาณาจักร

Bilgi กล่าวกับ FlightGlobal ที่ส่วนจัดแสดงของ Turkish Aerospace ตุรกีในงานแสดงการบินนานาชาติ Farnborough International Airshow 2018 ณ สหราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 16-22 กรกฎาคมว่า เมื่อขั้นตอนพิธีการต่างๆได้รับการสะสางการส่งมอบจะเริ่มต้นขึ้นได้ใน 3เดือน
ข้อตกลงได้ร่วมการส่งมอบเฮลิคอปเตอร์โจมตี T129 สิ่งสนับสนุน การฝึกและอาวุธ เขากล่าวว่าข้อตลกลงการขายกับปากีสถานเป็นแหล่งต้นน้ำสำหรับภาคอุตสาหกรรมอากาศยานของตุรกี

"นอกจากปากีสถานยังมีอีกหลายประเทศที่เรากำลังเจรจาด้วย ปากีสถานเป็นลูกค้าที่แข็งแกร่ง เราได้ไปที่เทือกเขา Himalayas สำหรับการทดสอบในเพดานบินสูง เราไปที่ทะเลทรายเพื่อทดสอบในสภาพอากาศร้อยที่ 52องศาเซลเซียส
พวกเขาทดสอบเฮลิคอปเตอร์เราเป็นเวลา 4ปี มันเป็นประกาศนียบัตรรับรองประเภทหนึ่ง ถ้าคุณขาย ฮ.ให้ปากีสถานได้จากนั้นทุกประเทศจะให้ความสนใจ" Bilgi กล่าว

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง T-129 ATAK ตุรกีได้เข้าแข่งขันในโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตีหลายประเทศ เช่น โมร็อกโก ที่มองการจัดหา ฮ.โจมตี 24เครื่อง ขณะที่บังคลาเทศยังไม่มีการตัดสินใจว่าจะจัดหา ฮ.โจมตีจำนวนกี่เครื่อง
และกองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army) ที่ต้องการเฮลิคอปเตอร์โจมตีแบบใหม่อย่างน้อย ๖เครื่อง เพื่อทดแทนเฮลิคอปเตอร์โจมตี ฮ.จ.๑ Bell AH-1F Cobra ที่มีอายุการใช้งานมานาน(http://aagth1.blogspot.com/2018/06/ah-1f.html, http://aagth1.blogspot.com/2017/11/tai-t-129-atak.html)

ขณะที่ Bilgi กล่าวถึงความสัมพันธ์กับบริษัท Leonardo อิตาลีซึ่งให้ความช่วยเหลือในการพัฒนา ฮ.โจมตี T129 ที่แข็งแกร่ง ทั้งสองบริษัทได้ดำเนิรเส้นทางการพัฒนาเฮลิคอปเตอร์โจมตีที่แตกต่างกันในอนาคต
โดย Turkish Aerospace ตุรกีมุ่งยังโครงการพัฒนาเฮลิคอปเตอร์โจมตีแบบใหม่ ATAK II ของตน(http://aagth1.blogspot.com/2017/10/atak-2.html) ขณะที่ Leonardo อิตาลีมีโครงการพัฒนาเฮลิคอปเตอร์โจมตีแบบใหม่ AW249 เพื่อทดแทน A129 Mangusta(http://aagth1.blogspot.com/2017/01/leonardo-a129-mangusta-m345-het.html)

"T129 ATAK เป็นตัวอย่างที่สำคัญของความร่วมมือระดับทวิภาคีในอุตสาหกรรมความมั่นคง ในทางกลับกันพวกเขากำลังทำงานกับโครงการพัฒนาใหม่ และเราก็กำลังทำงานกับโครงการพัฒนาใหม่เช่นกัน
ณ วันนี้เรามีการพูดคุยบางอย่าง แต่ในอนาคตอันใกล้มันยากเล็กน้อยที่จะให้ความเห็นใดๆ" Bilgi เสริม

เพิ่มเติมจากนี้ Turkish Aerospace ตุรกีจะเริ่มการทำการระยะเวลา 10ปีสำหรับการสร้างเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป Sikorsky UH-60 Black Hawk สหรัฐฯจำนวน 109เครื่องภายใต้สิทธิบัตรการผลิต
ภายใต้การกำหนดแบบชื่อเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป T-70I ตุรกีจะได้รับการติดตั้งอุปกรณ์ต่างที่ที่ผลิตโดยภาคอุตสาหกรรมภายในตุรกีจำนวนมาก เช่น ห้องนักบินแบบ Glass Cockpit ที่ผลิตโดย Aselsan ตุรกี ซึ่งตุรกียังมองเห็นโอกาสการส่งออก ฮ.ท.T-70I ที่ตนผลิตแก่ต่างประเทศด้วยครับ

วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

กองทัพเรือไทยได้รับงบประมาณสำหรับการศึกษาเพื่อสร้างเรือดำน้ำขนาดเล็กในประเทศ




British company BMT Defence Services Limited to be consult as supervisor for Naval Research & Development Office, Royal Thai Navy's Domestic Midget Submarine research and development programme.
company products include VIDAR-7 small submarine concept that designed to cover a multitude of covert roles and flexibly meet requirements within an increasingly challenging economic and operational climate.
http://www.bmtdsl.co.uk/bmt-design-portfolio/submarines/bmt-vidar-submarines/

Royal Thai Navy's Exibition 'NAVY RESEARCH 2018' in 17 July 2018




Royal Thai Navy's Naval Research & Development Office was approved budget about 193 million Baht($5.7 million) from Thai Goverment for Design Phase of Domestic Midget Submarine research and development programme.
https://www.facebook.com/media/set/?set=oa.2136715329906479

ในงานนาวีวิจัย 2018 กองทัพเรือไทย ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๑(2018) นาวาเอก ดอกเตอร์ สัตยา จันทรประภา หัวหน้าโครงการวิจัยและพัฒนาสร้างเรือดำน้ำขนาดเล็ก สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ สวพ.ทร. ได้เปิดเผยว่า
คณะรัฐมนตรี รัฐบาลไทย ได้อนุมัติงบประมาณราว ๑๙๓ล้านบาท สำหรับการศึกษาออกแบบเรือดำน้ำขนาดเล็ก ระยะเวลา ๔ปี โดยโครงการวิจัยและพัฒนาการสร้างเรือดำน้ำขนาดเล็กกองทัพเรือไทย(Midget Submarine) ได้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017)

โครงการวิจัยและพัฒนาสร้างเรือดำน้ำขนาดเล็กของกองทัพเรือ โดย สวพ.ทร. มีวัตถุประสงค์เพื่อ
๑.เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้จากโครงการวิจัยยานใต้น้ำขนาดเล็กของกองทัพเรือ มาพัฒนาต่อยอด
๒.เพื่อสร้างเรือดำน้ำขนาดเล็กสนับสนุนปฏิบัติการทางเรือ และการปฏิบัติการพิเศษ

ขอบเขตของการวิจัย กำหนดความต้องการทางยุทธการเบื้องต้น ดังนี้
คุณลักษณะทั่วไป
-ระวางขับน้ำ 150-300tons
-ระบบขับเคลื่อน
-ระบบควบคุมบังคับตามยุทธวิธีเรือดำน้ำ
-ระบบสื่อสาร ระบบตรวจจับ และระบบนำเรือผิวน้ำ และใต้น้ำ
-รัศมีปฏิบัติการไม่ต่ำกว่า 350nmi

ขีดความสามารถทางยุทธการ
-การหาข่าว สอดแนม
-การสนับสนุนการฝึกปราบเรือดำน้ำ
-สนับสนุนชุดปฏิบัติการพิเศษได้ไม่น้อยกว่า ๗นาย
-ปฏิบัติการในระดับความลึกได้ถึง 80m
-รองรับลูกเรือไม่น้อยกว่า ๓นาย

ประโยชน์ที่ได้รับ
๑.บุคลากรได้รับองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านการออกแบบการสร้างเรือดำน้ำขนาดเล็กและงานด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในด้านความมั่นคงการป้องกันประเทศ 
เนื่องจากเทคโนโลยีเรือดำน้ำเป็นความลับและบางสถานการณ์ไม่สามารถจัดซื้อได้จึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาสร้างองค์ความรู้นี้ขึ้นภายในประเทศเพื่อนำไปสู่การพึ่งพาตนเอง รวมทั้งจะเป็นประโยชน์มีองค์ความรู้ในการดำเนินโครงการจัดหาเรือดำน้ำของกองทัพเรือต่อไป
๒.ได้แบบเรือดำน้ำขนาดเล็กสำหรับใช้สร้างต้นแบบเรือดำน้ำขนาดเล็ก ซึ่งเมื่อการวิจัยสำเร็จจะสามารถสร้างเรือดำน้ำในจำนวนเพิ่มขึ้นตามความต้องการใช้งาน
๓.ได้ต้นแบบเรือดำน้ำขนาดเล็กที่มีขีดความสามารถทางยุทธการ และคุณลักษณะเบื้องต้นตามที่กำหนด
๔.กองทัพเรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงภาคเอกชน ได้เริ่มต้นวางรากฐานการเสริมสร้างพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเรือดำน้ำ ยานปฏิบัติการใต้น้ำต่างๆ ซึ่งสามารถขยายผลไปสู่อุตสาหกรรมระดับประเทศได้ต่อไป

รายละเอียดการดำเนินการโครงการแบ่งกรอบระยะเวลาดังนี้
๑.ศึกษาออกแบบ สัมมนาดูงาน และพบที่ปรึกษา
   ๑.๑.อบรมหลักสูตรออกแบบเรือดำน้ำในต่างประเทศ ช่วงไตรมาสที่๑ พ.ศ.๒๕๖๑(Q1 2018), ไตรมาสที่๑ พ.ศ.๒๕๖๒(Q1 2019) และไตรมาสที่๑ พ.ศ.๒๕๖๓(Q1 2020)
   ๑.๒.สัมมนาดูงาน ช่วงไตรมาสที่๓ พ.ศ.๒๕๖๒(Q3 2019) และไตรมาสที่๓ พ.ศ.๒๕๖๓(Q3 2020)
   ๑.๓.พบที่ปรึกษา ช่วงไตรมาสที่๓ พ.ศ.๒๕๖๑ ต่อเนื่องถึงไตรมาสที่๔ พ.ศ.๒๕๖๔(Q3 2018 - Q4 2021)
๒.คำนวนและออกแบบเบื้องต้น 
   ๒.๑.Conceptual Design ช่วงไตรมาสที่๒ พ.ศ.๒๕๖๑ ต่อเนื่องถึงไตรมาสที่๔ พ.ศ.๒๕๖๒(Q2 2018 - Q4 2019)
   ๒.๒.Preliminaly Design ช่วงไตรมาสที่๑ ต่อเนื่องถึงไตรมาสที่๔ พ.ศ.๒๕๖๓(Q1-Q4 2020)
   ๒.๓.Basic & Detailed Design ช่วงไตรมาสที่๑ ต่อเนื่องถึงไตรมาสที่๔ พ.ศ.๒๕๖๔(Q1-Q4 2021)
๓.จัดทำแผนการสร้างเรือ ช่วงไตรมาสที่๑ ต่อเนื่องถึงไตรมาสที่๔ พ.ศ.๒๕๖๔(Q1-Q4 2021)
๔.จัดทำแผนการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ และประมาณราคาปี ช่วงไตรมาสที่๑ ต่อเนื่องถึงไตรมาสที่๔ พ.ศ.๒๕๖๔(Q1-Q4 2021)
๕.ออกแบบเพื่อสร้าง(Design for Construction) ช่วงไตรมาสที่๑ ต่อเนื่องถึงไตรมาสที่๔ พ.ศ.๒๕๖๕(Q1-Q4 2022)  
๖.ดำเนินการสร้าง และจัดหาวัสดุและอุปกรณ์ ช่วงไตรมาสที่๑ พ.ศ.๒๕๖๕ ต่อเนื่องถึงไตรมาสที่๔ พ.ศ.๒๕๖๖(Q1 2022 - Q4 2023)
๗.ทดสอบ ทดลอง และฝึก ช่วงไตรมาสที่๑ ต่อเนื่องถึงไตรมาสที่๔ พ.ศ.๒๕๖๗(Q1-Q4 2024)

ทั้งนี้ พลเรือโท สมชาย ณ บางช้าง รองเสนาธิการทหารเรือ(ยก.) และประธานคณะทำงานบริหารโครงการ นำคณะทำงานบริหารโครงการและคณะวิจัยรวม ๑๗นาย 
เดินทางไปร่วมงาน Undersea Defence Technology Conference 2018 ณ Glasglow, Scotland สหราชอาณาจักร เมื่อ ๒๖-๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๑(2018)
โดยก่อนหน้าคณะนักวิจัยโครงการวิจัยและพัฒนาสร้างเรือดำน้ำขนาดเล็ก จำนวน ๕นาย ได้เดินทางไปเข้ารับการอบรมหลักสูตรการออกแบบเรือดำน้ำเบื้องต้น(Submarine Design Course) ที่๊ University College London(UCL) สหราชอาณาจักร
และรวมประชุมกับที่ปรึกษาด้านการออกแบบจากบริษัท BMT Defence Services Limited สหราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ ๖ ตุลาคม-๑๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๐(2017)

แม้ว่าปัจจุบันกองทัพเรือสหราชอาณาจักร(Royal Navy) เองจะมีประจำการเฉพาะเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ เช่น เรือดำน้ำโจมตีนิวเคลียร์ชั้น Astute แต่สหราชอาณาจักรก็เป็นประเทศที่มีการสั่งสมความรู้ด้านวิทยาการเรือดำน้ำมาต่อเนื่องตั้งแต่อดีต
โดยการศึกษาหลักสูตรการออกแบบเรือดำน้ำ(Submarine Design) ในขั้นต้นเพื่อให้มีความรู้พื้นฐานก่อนที่จะได้รับการคำปรึกษาทางการออกแบบเรือจากการถ่ายทอด Technology โดยบริษัทสร้างเรือดำน้ำของสหราชอาณาจักรต่อไป
ซึ่งแบบเรือดำน้ำขนาดเล็กที่ออกแบบมาจะต้องได้รับการผ่านการรับรองที่จัดทำโดยสมาคมจัดชั้นเรือของสหราชอาณาจักรก่อน ขั้นตอนการทำงานดังกล่าวนี้จะเป็นการยืนยันได้ว่าแบบเรือดำน้ำของไทยจะมีความน่าเชื่อถือสูง
BMT Defence Services เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมทางเรือของสหราชอาณาจักรที่มีประวัติมายาวนาน ที่เกี่ยวกับเรือดำน้ำก็เช่นการมีส่วนร่วมในโครงการเรือดำน้ำนิวเคลียร์ชั้น Astute และเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าชั้น Victoria(Upholder) กองทัพเรือแคนาดา(Royal Canadian Navy) เป็นต้น

ผลิตภัณฑ์หนึ่งของบริษัท BMT คือแบบแผนเรือดำน้ำตระกูล VIDAR ที่มีแบบแผนเรือดำน้ำขนาดเล็ก VIDAR-7 ความยาว 46m ระวางขับน้ำที่ผิวน้ำ 700tons ระวางขับน้ำที่ใต้น้ำ 950tons พิสัยทำการ 4,000nmi  มีกำลังพลประจำเรือ 15นาย รองรับชุดปฏิบัติการพิเศษเพิ่มได้ ๖นาย รวม ๒๑นาย
เรือดำน้ำขนาดเล็กแบบ VIDAR-7 มีท่อ Torpedo จำนวน ๔ท่อยิง และ Payload Tube แบบปรับแต่งได้รองรับการปล่อยและรับกลับยานใต้น้ำส่งนักประดาน้ำ(SDV: Swimmer Delivery Vehicle) ของหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ(Royal Thai Navy SEAL)
อย่างไรก็ตามจากข้อกำหนดความต้องการในข้างต้น แบบแผนเรือดำน้ำขนาดเล็กของกองทัพเรือไทยน่าจะมีขนาดเล็กกว่าเรือดำน้ำแบบ VIDAR-7 และมีสมรรถนะและการบรรทุกอุปกรณ์ กำลังพล อาวุธที่น้อยกว่า หรืออาจจะไม่ติดอาวุธเลย
เรือดำน้ำขนาดเล็กลำแรกที่ออกแบบและสร้างโดยกองทัพเรือไทยน่าจะเสร็จสิ้นโครงการได้ในปี พ.ศ.๒๕๖๗(2024) รวมเป็นเวลา ๗ปีหลังเริ่มจัดตั้งโครงการในปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017) คาดว่าค่าใช้จ่ายในโครงการทั้งหมดจะอยู่ที่ราว ๑พันล้านบาท($30 million)ครับ