วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๑-๗

Thailand to develop midget submarines

Concept Model of Naval Research & Development Office,Royal Thai Navy's Domestic Midget Submarine research and development programme at NAVY RESEARCH 2018 Exibition, 17 July 2018(http://aagth1.blogspot.com/2018/07/blog-post_20.html)

เมื่อ ๑๗ ก.ค.๖๑ สวพ.ทร.จัดงานนาวีวิจัย ๒๐๑๘ "ก้าวต่อไปเพื่อเป็นหนึ่งในท้องทะเล" ณ ห้องเจ้าพระยา หอประชุมกองทัพเรือ โดยมี พล.ร.อ.นริส ประทุมสุวรรณ ผบ.ทร. กรุณาให้เกียรติมาเป็นประธาน
พลเรือเอก นริส ประทุมสุวรรณ ผู้บัญชาการทหารเรือ รับมอบแบบจำลองแนวคิดเรือดำน้ำขนาดเล็กจาก พลเรือตรี ก่อเกียรติ ปั้นดี ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ

โครงการวิจัยและพัฒนาสร้างเรือดำน้ำขนาดเล็กของกองทัพเรือไทย โดย สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ สวพ.ทร. ที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017) เป็นโครงการที่ต่อยอดมาจากการพัฒนาระบบยานใต้น้ำที่มีมาก่อหน้านี้
ทั้งยานใต้น้ำไร้คนขับสำหรับฝึกปราบเรือดำน้ำ(UUV: Unmanned Underwater Vehicle) ชื่อ ไกรทอง วิชุดา สุดสาคร ช่วงปี พ.ศ.๒๕๕๕-๒๕๕๖(2012-2013) และยานใต้น้ำขนาดเล็ก(Small Underwater Vehicle) ช่วงปี พ.ศ.๒๕๕๕-๒๕๕๘(2012-2015)
โดยเรือดำน้ำขนาดเล็กกองทัพเรือไทยนี้จะได้รับการให้คำปรึกษาการออกแบบเรือจากบริษัท BMT Defence Services สหราชอาณาจักร และมีผ่านการทดสอบรับรองแบบเรือโดยสมาคมจัดชั้นเรือของสหราชอาณาจักรก่อน

ขั้นตอนการศึกษาออกแบบเรือดำน้ำขนาดเล็ก ระยะเวลา ๔ปี ที่ได้รับการอนุมัติงบประมาณจากคณะรัฐมนตรี รัฐบาลไทย ราว ๑๙๓ล้านบาท($5.7 million) นั้นถือว่าคุ้มค่ามากเมื่อเทียบกับองค์ความรู้ที่กองทัพเรือไทยจะได้รับ
ซึ่งเฉพาะในส่วนการทดสอบต่างๆของแบบเรือ เช่น ค่าสิทธิบัตรอุปกรณ์และ Software ที่เกี่ยวข้องก็เห็นว่ามีราคาหลายล้านแล้ว นี่จะเป็นจุดเริ้มต้นของการพึ่งพาตนเองของกองทัพเรือไทยในด้านวิทยาเรือดำน้ำต่อไป
แต่อย่างไรก็ตามแม้แต่โครงการพึ่งพาตนเองเช่นนี้ก็มีผู้ที่ไม่หวังดีต่อชาติบ้านเมืองโจมตีกองทัพเรือว่านำเงินไปใช้อย่างไร้สาระน่าจะเอาไปทำอย่างอื่นมากกว่า เห็นได้ว่าไม่ว่าไทยจะจัดซื้อเรือดำน้ำจากต่างประเทศหรือสร้างเองกลุ่มที่เป็นภัยความมั่นคงนี้ก็จะคัดค้านไม่เอาเรือดำน้ำทุกรูปแบบครับ

(แทบทุกประเทศในโลกไม่ว่าจะในยามสงบหรือยามสงครามจะมีกลุ่มคนที่เรียกว่า 'ผู้รู้เห็นเป็นใจให้ต่างชาติ' ทั้งที่ทำด้วยตนเองตามอุดมการณ์ความชอบส่วนตัวหรือเพราะได้รับผลประโยชน์ตอบแทน ที่จะใช้วิธีการต่างๆเพื่อให้ต่างประเทศที่ตนสนับสนุนมีความได้เปรียบในประเทศแม่ตนเอง
ซึ่งการคัดค้านการมีเรือดำน้ำของกองทัพเรือไทยในทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการจัดซื้อจากต่างประเทศหรือแม้แต่พัฒนาสร้างเองในประเทศ ก็เป็นวิธีการหนึ่งที่กลุ่มผู้ประสงค์ร้ายต่อกองทัพเรือไทยใช้ในการบ่อนทำลายความมั่นคงของชาติทางทะเล เพื่อจะได้เข้ามายึดครองหรือแบ่งประเทศได้สะดวกขึ้น
วาทกรรมที่ผู้ไม่หวังดีต่อชาติบ้านเมืองเหล่านี้มักยกมาใช้บ่อยๆในโฆษณาชวนเชื่อเพื่อขัดขวางการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยคือ "ดีแต่ซื้อของต่างชาติเพราะเงินทอนค่านายหน้ามันดี เลยไม่สนับสนุนของไทย" 
แต่ในความเป็นจริงนั้นการลงนามสัญญาจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์จากต่างประเทศ โดยเฉพาะชาติตะวันตกที่เจริญแล้วซึ่งมีระเบียบการทำงานของหน่วยงานรัฐและเอกชนที่มีธรรมาภิบาลเข้มแข็งนั้น การทุจริตต่างๆจะเกิดขึ้นได้ยากมากเพราะมีขั้นตอนการตรวจสอบที่รัดกุมเข้มงวด
และในทางกลับกัน งานวิจัยหรือการพัฒนาภายในประเทศนี่ต่างหากที่เอื้ออำนวยต่อการทุจริตมากกว่าทำสัญญาจัดหากับต่างประเทศ และบางครั้งบางบริษัทในประเทศเองก็ผลิตของที่หน่วยงานความมั่นคงไม่ต้องการหรือไม่มีคุณภาพที่ดีพอในการใช้งานจริงครับ)

Royal Thai Navy SEAL's Closed Circuit Rebreather Diving Gear at Ship Technology for the Next Decade (Ship Tech.III) Exibition 3-4 March 2016
http://aagth1.blogspot.com/2016/03/3rd-ship-technology-for-next-decade.html

Royal Thai Army has displayed Mil Mi-17V5 41st Aviation Battalion, Aviation Regiment, Army Aviation Center in Children's Day 2018 at 2nd Cavalry Division Royal Guard in Bangkok, 13 January 2018(My Own Photos)
Mi-17V5 Royal Thai Army was extensively used during Tham Luang Cave Chiang Rai province Joint Rescue Opertion 2018
http://aagth1.blogspot.com/2018/02/russian-helicopters.html

ความสำเร็จในการปฏิบัติร่วมนานาชาติกู้ภัยนักฟุตบอลเยาวชนและผู้ฝึกสอน ๑๓รายประสบภัยติดถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน จังหวัดเชียงราย ซึ่งมีหน่วยงานรับผิดชอบหลักที่ต้องยกย่องคือ นักทำลายใต้น้ำจู่โจม หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองทัพเรือไทย
ยังต้องรวมถึงการสนับสนุนจากจำนวนมากที่ไม่สามารถจะเอ่ยได้หมดจาก กองทัพบกไทย ทั้งเฮลิคอปเตอร์จาก ศูนย์การบินทหารบก, ทหารพลร่มรบพิเศษ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ กองทัพอากาศไทย ทั้ง ศูนย์สนับสนุนทางอากาศโดยตรงที่๓ ศสอต.๓, ฝูงบิน๔๑๖ สนามบินเชียงราย
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทั้งกองบินตำรวจ, ตำรวจพลร่ม กองร้อยกู้ชีพ กองกำกับการ๓ กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศตำรวจตระเวนชายแดน กองทัพมิตรประเทศเช่น สหรัฐฯและออสเตรเลีย และอาสาสมัครพลเรือนทั้งไทยและต่างประเทศ ที่ร่วมกันทำให้ภารกิจกู้ภัยครั้งนี้ประสบความสำเร็จ

แต่อย่างไรก็ตามภารกิจกู้ภัยครั้งชาวไทยและชาวโลกก็ต่างได้เห็นถึงธาตุแท้ของสื่อมวลชนที่ไร้จรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพและไม่หวังดีต่อชาติบ้านเมือง ทั้งที่เป็นสื่อหลักที่มีการลงทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย และสื่อปลอมที่อุปโลกน์ตั้งตนเองตาม Page Facebook และ Youtube Channal
ไม่ว่าจะในกรณีคนบิน Drone ช่องโทรทัศน์ Digital บินเข้าใกล้เฮลิคอปเตอร์ ฮ.ท.๑๗ Mi-17V5 กองพันบินที่๔๑ ศบบ.กองทับบกไทย ขณะกำลังบินส่งผู้ประสบภัย, ช่องโทรทัศน์ Digital ใช้ Application ดักฟังการสื่อสารวิทยุทางราชการแล้วรายงานออกอากาศ
จนถึงการแต่งนิยายที่ไร้มูลความจริง เช่น การค้ายาเสพติด เด็กที่ช่วยออกมาไม่ใช่ตัวจริง เด็กและผู้ฝึกสอนไม่ใช่คนไทย และอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งจัดว่าสื่อเหล่านี้ต่างหากที่เป็นภัยความมั่นคงอย่างแท้จริง ที่คอยจะบ่อนทำลายความน่าเชื่อถือของทหาร-ตำรวจตลอดเท่าที่มีโอกาสอำนวยครับ

Thai company TOP Engineering Corporation's Falcon-V FUVEC (Fixed wing Unmanned aerial vehicle with Vertical takeoff and landing Enabled Capability) at Ship Technology for the Next Decade (Ship Tech.III) Exibition 3-4 March 2016
http://aagth1.blogspot.com/2016/03/3rd-ship-technology-for-next-decade.html

พล.ร.อ.พิเชฐ ตานะเศรษฐ เสธ.ทร. เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนา "การควบคุม สั่งการ และสื่อสารอากาศยานไร้คนขับในเขตพื้นที่อ่าวไทย" ระหว่าง ทร.โดย สวพ.ทร., บมจ.ไทยคม และ บริษัท ท๊อป เอ็นจิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด
โดยมี พล.ร.ต.ก่อเกียรติ ปั้นดี ผอ.สวพ.ทร. ดร.สุพจน์ ชินวีระพันธุ์ รักษาการ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านกลยุทธ์องค์กร บมจ.ไทยคม คุณกรณรงค์ ถึงฝั่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท ท๊อป เอ็นจิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด 
ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงฯ ที่ สถานีดาวเทียมไทยคม ต.บางกระสอ อ.เมือง นนทบุรี
กลุ่มบริษัท TOP Engineering ประกอบด้วย บริษัท ท๊อป เอ็นจิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด และ บริษัท ท็อป เอ็นจิเนียริ่ง กรุ๊ป จำกัด ได้ก่อตั้งในปี 2553 
ด้วยภารกิจเริ่มต้น ในการทำลำตัวขึ้นการทำตัวเครื่องบิน (Air frame) ของเครื่องบินไร้คนขับ ขนาด 8 เมตร ให้กับ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (DTI) 
หลังจากนั้น บริษัทได้เล็งเห็นโอกาสในการพัฒนาต่อยอดให้เกิดอากาศ ยานไร้คนขับ เพื่อใช้ในกิจการที่จะเป็นประโยชน์ต่อภารกิจป้องกันประเทศและภารกิจของทางราชการ
กลุ่มบริษัท TOP Engineering เป็นบริษัทสัญชาติไทย ที่ก่อตั้งขึ้นโดยรวบรวมผู้เชี่ยวชาญ ด้านการบินเครื่องบินขนาดเล็ก ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบอากาศยานไร้คนขับ ทั้งด้านปีกนิ่ง และเครื่องบินไร้คนขับชนิดขึ้นลงทางดิ่ง 
โดยแบ่งออกเป็น 2 บริษัทคือ บริษัท ท็อป เอ็นจิเนียริ่ง กรุ๊ป จำกัด เป็นโรงงานผลิต ออกแบบ และวิจัย เครื่องบิน UAV ทั้งระบบหลักและระบบรอง ในหลายๆ แพลตฟอร์มของเครื่อง UAV และการผลิตเฉพาะส่วนลำตัวเครื่อง 
โดยมี บริษัท ท๊อป เอ็นจิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด รับผิดชอบทางด้านการตลาดและการเงินทั้งหมด
https://www.facebook.com/IOs.Thailand/posts/1065640093593281

โครงการอากาศยานไร้คนขับ FUVEC UAV ที่กองทัพเรือไทยร่วมกับ บริษัท TOP Engineering Corporation ไทยเจ้าของระบบอากาศยานไร้คนขับ Falcon-V และ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป. DTI(Defence Technology Institute)
ก็เป็นโครงการพัฒนาที่มีการดำเนินการทดสอบและสาธิจการใช้งานมาได้หลายปี โดยเป็นหนึ่งในการตอบสนองความต้องการในการจัดหาอากาศยานไร้คนขับหลายๆแบบของกองทัพเรือไทย
ซึ่งโครงการความร่วมมือนี้ก็เป็นการพิสูจน์ให้เห็นถึงการให้ความสำคัญกับการสนับสนุนอุตสาหกรรมความมั่นคงภายในประเทศของกองทัพเรือไทยอีกโครงการครับ

Naval Research & Development Office,Royal Thai Navy's NARAI VTOL UAV(Vertical Takeoff and Landing Unmanned Aerial Vehicle) have been produced and deliverd to service for more than 20 systems(https://www.facebook.com/Nrdo2015/posts/1864459106908693)

ด้านอากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่งตระกูล Narai ที่เป็นอีกผลงานของ สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ สวพ.ทร. ได้ผ่านการทดสอบและมีการผลิตเพื่อส่งมอบเข้าประจำการจริงในหน่วยผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก ซึ่งในปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017) มีการผลิตไม่ต่ำกว่า ๒๐ระบบ 
นอกจากในส่วนกองทัพเรือไทยคือ หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน(Royal Thai Marine Corps), หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง(Air and Coastal Defend Command), กองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด, กองทัพเรือภาคที่๑, กองทัพเรือภาคที่๒ และกองทัพเรือภาคที่๓
ยังรวม กองกำลังสุรนารี กองทัพภาคที่๒ และ กองกำลังผาเมือง กองทัพภาคที่๓ กองทัพบกไทย(Royal Thai Army) และยังได้รับการสั่งจัดหาจากกองบัญชาการกองทัพไทย(Royal Thai Armed Forces Headquarters) ด้วยครับ

Royal Thai Marine Corps, Royal Thai Navy's new PHANTOM 380-X1 Cobra MRAP(Mine Resistant Ambush Protected) 4x4 by Panus Assembly Co.,Ltd Thailand in field operation at Narathiwat

กรมการขนส่งทหารเรือได้ตั้งโครงการจัดซื้อรถเกราะล้อยางแบบ 4x4 จำนวน ๒คัน พร้อมการสนับสนุนการส่งกำลังและซ่อมบำรุง วงเงิน ๕๐ล้านบาทจาก บริษัท บริษัท พนัส แอสเซมบีย์ จำกัด 
เป็นที่เข้าใจว่ารถเกราะล้อยาง 4x4 ดังกล่าวน่าจะเป็นรถหุ้มเกราะล้อยาง Phantom 380-X1 ที่เป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งของบริษัทพนัสที่เข้าประจำการในนาวิกโยธินไทย กองทัพเรือไทย ที่ชายแดนภาคใต้แล้ว และมีรายงานว่ากำลังจะจัดหาเพิ่มเติมอีกจำนวนหนึ่ง
โดยการจัดหาที่เป็นในนาม กรมการขนส่งทหารเรือ นั้นก็เป็นไปตามระเบียบทางราชการ ที่ยานยนต์ที่จัดหามาใช้งานสามารถที่โอนเปลี่ยนย้ายหน่วยในภายหลังได้ 
อีกทั้งยังแสดงให้เห็นว่านาวิกโยธิน กองทัพเรือไทย มีความพยายามในการจัดซื้อรถหุ้มเกราะป้องกันทุ่นระเบิด MRAP(Mine Resistant Ambush Protected) มาใช้งานในรูปแบบที่เป็นการสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงในไทยด้วยครับ


Cessna U-17B Skywagon serial 1624 21st Aviation Battalion, Aviation Regiment, Army Aviation Center, Royal Thai Army(https://www.facebook.com/กองพันบินที่-๒๑-21st-Aviation-Battalion-860667027402830/)

Royal Thai Army Cessna U-17B Skywagon serial 1624 was crash at Mae Hong Son Province near border Shan State, Myanmar, 5 July 2018

จากเหตุการณ์เครื่องบินใช้งานทั่วไป บ.ท.๑๗ Cessna U-17B Skywagon กองพันบินที่๒๑ กรมบิน ศูนย์การบินทหารบก กองทัพบกไทย ประสบอุบัติเหตุตกบริเวณใกล้บ้านห้วยทรายขาว ตำบลห้วยผา อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ห่างชายแดนพม่า 4km
โดยมีผู้เสียชีวิตทันที ๓นายคือ ร้อยโท นฤพล พุกทอง นักบิน พัน.บ.๒๑, ร้อยโท วิโรจน์ แตงกระโทก นักบิน พัน.บ.๒๑ และ ร้อยโท เขมราช ดวงแก้ว ผู้บังคับหมวดปืนเล็กที่๑ กองร้อยทหารราบที่ ๑๗๔๓ กรมเฉพาะกิจทหารราบที่๑๗ ฐานปฏิบัติการห้วยผึ้ง
และมีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัสถูกนำส่งโรงพยาบาลคือ จ่าสิบเอก นัฐชนันท์ เขื่อนแก้ว นายสิบส่งกำลัง ร้อย.ร.๑๗๔๓ ฉก.ร.๑๗ ฐานปฏิบัติการกุงไม้สัก ซึ่งต่อมาได้เสียชีวิตลงรวมมีผู้เสียชีวิตทั้งหมด ๔นาย

บ.ท.๑๗ U-17B Skywagon เป็นเครื่องบินใช้งานทั่วไปที่มีพื้นฐานมาจากเครื่องบินโดยสารพลเรือนหกที่นั่ง Cessna A185E ซึ่งถูกใช้ในภารกิจงานธุรการและลาดตระเวนทางอากาศตามแนวชายแดนมานาน โดยเริ่มเข้าประจำการตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๔(1981) เดิมมี ๙เครื่อง
สำหรับภารกิจลาดตระเวนตรวจการณ์ทางอากาศนั้นถ้า ศบบ.ได้รับงบประมาณมากพอก็น่าจะจัดหาอากาศยานไร้คนขับระยะเวลาทำการนาน เช่น Hemes 450 UAV เพิ่มเติมเพื่อทดแทนได้
แต่ทว่าอุบัติเหตุครั้งนี้ก็เป็นอีกครั้งที่ผู้ไม่หวังดีต่อชาติบ้านเมืองและสื่อที่ไร้จรรยาบรรณโจมตีกองทัพบกว่ามีแต่เครื่องบินเก่าสมัยสงครามโลกที่ล้าสมัยแต่ยังบินได้ก็ตกได้ง่าย ซึ่งไม่เป็นความจริงและเป็นการใส่ร้ายเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานอย่างไม่เป็นธรรมครับ

Royal Thai Army's Autonomous Truck Mounted Mortar-ATMM 120mm Self-Propelled Mortar System was test firing at Artillery Firing Range, Artillery Center, Fort Phaholyothin(Phahonyothin), Lopburi Province, 4 July 2018

การทดสอบยิงเครื่องยิงลูกระเบิดอัตตาจรล้อยาง Autonomous Truck Mounted Mortar-ATMM ขนาด 120mm ที่ดำเนินการโดยศูนย์การทหารราบ ณ สนามฝึกยิงปืนใหญ่ ศูนย์การทหารปืนใหญ่ เขาพุโลน จังหวัดลพบุรีเมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๑(2018)
เป็นความคืบหน้าก้าวสำคัญของโครงการพัฒนา ค.อัตตาจรล้อยาง ภายในประเทศโดย ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ศอว.ศอพท. กระทรวงกลาโหมไทย ร่วมกับบริษัท Elbit Systems Land and C4I อิสราเอล(http://aagth1.blogspot.com/2017/11/atmm-120mm.html)
ที่เป็นการพัฒนาอาวุธร่วมระหว่างไทยและอิสราเอลโครงการที่สองต่อจากโครงการปรับปรุงพัฒนาปืนใหญ่แบบลากจูงให้เป็นแบบอัตตาจรล้อยาง ATMG: Autonomous Truck Mounted Gun 155mm ที่เข้าประจำการในกองทัพบกไทย และได้รับการจัดหาโดย นาวิกโยธิน กองทัพเรือไทย(http://aagth1.blogspot.com/2017/05/atmos.html, http://aagth1.blogspot.com/2018/04/atmg.html)

ก่อนหน้านี้มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าการนำรถยนต์บรรทุกทางทหาร TATA 715c 4x4 ขนาด 2.5tons อินเดียมาใช้เป็นรถแคร่ฐานว่า ทำไมไม่ใช้รถยนต์บรรทุกพลเรือนที่หาได้ง่ายในตลาดเช่นของ Isuzu หรือ Hino และการยิงแบบนี้จะทำให้รถโยกช่วงล่างพังไม่มีประสิทธิในการใช้งานจริง 
แต่จากชุดภาพที่เห็นแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของระบบแท่นยิงเครื่องยิงลูกระเบิด Elbit Soltam SPEAR ขนาด 120mm อิสราเอลที่เป็นพื้นฐานระบบว่าไม่มีปัญหาใดๆในการทำการยิงจริงตามที่มีการวิจารณ์
ซึ่งโครงการพัฒนาสร้างอาวุธในไทยโดยเฉพาะระบบที่มีความก้าวหน้าทาง Technology สูงนั้นยังมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการช่วยเหลือถ่ายทอด Technology จากต่างประเทศอยู่ ไม่สามารถทำได้เองในประเทศทั้งหมดครับ



Airbus Helicopters EC725(H225M) 203rd Squadron, Wing 2, Royal Thai Air Force with Emergency Floatation Gear on main landing gear and nose during Search and Rescue Mission around Phutket sea after tourist boats capsize in storm(https://www.facebook.com/RTAFpage/posts/2112016092161303, https://www.facebook.com/rach2511/posts/10216989284142432)

Royal Thai Air Force's EC725 Combat Search and Rescue(CSAR) Helicopters presentation

Floating for EC 725 in Air-Sea Rescue Training  (MODEL : F - W2)

จากเหตุการณ์เรือท่องเที่ยว ๒ลำ และเรือ Jet Ski ๑ ลำ ประสบอุบัติเหตุอับปางเนื่องจากกระแสคลื่นลมแรง ณ บริเวณเกาะไม้ท่อน-เกาะเฮ ตำบลราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๑(2018) ทำให้มีผู้สูญหายและผู้เสียชีวิตจำนวนมากนั้น
นอกจากกองทัพเรือไทยที่ได้ส่งเรือฟริเกต ร.ล.เจ้าพระยา เรือตรวจการณ์ปืน ร.ล.หัวหิน เรือตรวจการณ์ปราบเรือดำน้ำ ร.ล.ล่องลม เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง เรือ ต.992 เรือตรวจการณ์ชายฝั่ง เรือ ต.232 เรือระบายพลขนาดใหญ่ ร.ล.ทองหลาง เรือลากจูงขนาดกลาง ร.ล.ปันหยี
เครื่องบินลาดตระเวน บ.ลว.๑ Dornier Do 228 เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง ฮ.ลล.๔ S-76B และชุดปฏิบัติการพิเศษจาก หน่วยสงครามพิเศษทางเรือ และนักประดาน้ำกองทัพเรือ เจ้าหน้าที่เวชศาสตร์ใต้น้ำ จากกองประดาน้ำและถอดทำลายอมภัณฑ์ กรมสรรพาวุธทหารเรือแล้ว

กองทัพอากาศไทยยังได้ส่งเฮลิคอปเตอร์แบบที่๑๑ ฮ.๑๑ Airbus Helicopters EC725 จาก หน่วยบิน๒๐๓๗ ฝูงบิน๒๐๓ กองบิน๒ เข้าร่วมภารกิจค้นหาและกู้ภัยผู้ประสบภัยในทะเลจากกองบิน๗ สุราษฎร์ธานีด้วย
จากภาพการปฏิบัติการของเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางสำหรับค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่การรบ ฮ.๑๑ EC725 จะพบว่าที่ฐานล้อลงจอดหลักและส่วนหัวของเครื่องได้มีการติดตั้งทุ่นลอยน้ำสำหรับการลงฉุกเฉินบนพื้นน้ำระหว่างภารกิจการค้นหาและกู้ภัยในทะเล
ซึ่งการฝึกการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยกลางทะเลหรือในน้ำก็เป็นการฝึกที่นักบินและเจ้าหน้าที่เช่น พลร่มกู้ภัย PJ ที่ปฏิบัติการร่วมกับ ฮ.๑๑ EC725 ทำการฝึกเป็นประจำจนมีการการพัฒนาเครื่องมือในการช่วยฝึกใช้เองในประเทศไทย

ปัจจุบันกองทัพอากาศไทยได้มีการสั่งจัดหา ฮ.๑๑ EC725 แล้ว ๑๒เครื่อง โดยได้รับมอบเข้าประจำการแล้ว ๖เครื่อง ตามแผนที่จะจัดหา ๑๖เครื่องเพื่อทดแทนเฮลิคอปเตอร์แบบที่๖ ฮ.๖ Bell UH-1H
แบ่งเป็น โครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางสำหรับค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่การรบระยะที่๑ จำนวน ๔เครื่อง ที่ลงนามจัดหาในปี พ.ศ.๒๕๕๕(2012), ระยะที่๒ จำนวน ๒เครื่อง ที่ลงนามจัดหาในปี พ.ศ.๒๕๕๗(2014), 
ระยะที่๓ จำนวน ๒เครื่อง ที่ลงนามจัดหาในปี พ.ศ.๒๕๕๙(2016) ซึ่งจะได้รับมอบในปี พ.ศ.๒๕๖๒(2019) และล่าสุดคือระยะที่๔ อีก ๔เครื่อง ที่คาดว่าจะมีการลงนามในปี พ.ศ.๒๕๖๑(2018) นี้ โดยเข้าใจว่าจะได้รับมอบภายในปี พ.ศ.๒๕๖๔(2021) ครับ

Royal Thai Air Force in solving IUU(Illegal, Unreported and Unregulated) fishing. 
RTAF testing Aircraft's targeting systems for Maritime mission include F-16AM/BM EMLU fighters with Sniper ATP, Gripen C/D fighter with LITENING GIII pod,  SAAB 340B ERIEYE AEW&C, AU-23A, DA42 MPP and Aerostar UAV.

RTAF กับการแก้ปัญหา IUU Fishing การทดสอบอุปกรณ์ตรวจจับทางอากาศของ ทอ.ต่อเป้าหมายทางทะเล เพื่อร่วมแก้ปัญหา IUU Fishing By RTAF
กองทัพอากาศ ดำเนินการทดสอบขีดความสามารถในการตรวจจับเป้าหมายทางทะเลทั้งในเวลากลางวัน และกลางคืนต่อเนื่อง 20 ชั่วโมง เมื่อ 11 - 15 มิถุนายน 2561 
โดยจัดตั้งศูนย์บัญชาการและควบคุม Command and Control ณ ฝูงบิน 106 อู่ตะเภา ร่วมกับศูนย์ติดตามและควบคุมเรือประมง หรือ FMC : Fisheries Monitoring Center ของกรมประมง และศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล หรือ ศรชล. 
เพื่อทำหน้าที่ควบคุม และสั่งการเมื่อตรวจพบเรือที่กระทำผิดกฏหมาย รวมทั้งระบุและสอบทานเป้าหมาย ที่ได้รับสัญญาณจากระบบติดตามเรือประมง หรือ VMS : Vessel Monitoring System 
และระบบติดตามเรือพานิชย์ หรือ AIS : Automatic Identification System อันเป็นข้อมูลสำคัญในการกำหนดเป้าหมายให้แก่อากาศยาน
ทั้งนี้ ผลการปฏิบัติเพียงช่วงสั้นๆ กรมประมงได้รับหลักฐานที่สามารถใช้จับกุมดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดได้เป็นจำนวนมาก รวมทั้งข้อมูลข่าวสารที่เป็น Real Time 
ทำให้เจ้าหน้าที่บังคับคดีที่มีอำนาจสามารถเข้าจับกุมผู้กระทำผิดได้ในลักษณะซึ่งหน้าทันที ในภาพรวม ได้ตรวจพบจับกุม และยกเลิกใบอนุญาตเรือที่กระทำผิดกฏหมายเป็นจำนวนมาก รวมทั้งสนับสนุนข้อมูลให้กรมประมง เพื่อดำเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้องต่อไป
RTAF RECCE Campaign over Gulf of Thailand ปฏิบัติการต่อเนื่องเหนืออ่าวไทย 20 ชั่วโมง 2 คาบ โดยใช้ 7 ระบบตรวจจับ 6 ฝูงบิน 6 แบบอากาศยาน 14 เที่ยวบิน ต่อคาบ รวมปฏิบัติการไป 2 คาบ ชั่วโมงบินปฏิบัติการรวม 41.6 ชั่วโมงบิน ครอบคลุมพื้นที่ทั่วทั้งอ่าวไทย 
บิ๊กฉัตร”พร้อมคณะ ดูการฝึกสาธิตการใช้อากาศยานไร้คนขับกองทัพอากาศ แก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ระบุ กองทัพบูรณาการทำงานร่วมกันเป็นประโยชน์กับประเทศชาติ

การทดสอบอุปกรณ์ตรวจจับทางอากาศต่อเป้าหมายทางทะเลของกองทัพอากาศไทยเพื่อการแก้ไขปัญหาการประมงผิดกฎหมายและการกระทำที่ผิดกฎหมายทางทะเลแล้ว ซึ่งเป็นปัญหาระดับสากลแล้ว นอกจากการใช้งานอากาศยานตรวจการณ์ทางอากาศ เช่น
อากาศไร้คนขับตรวจการณ์ บ.รต.๑ Aerostar ฝูงบิน๔๐๔ กองบิน๔, เครื่องบินตรวจการณ์และฝึก บ.ตฝ.๒๐ DA42 MPP ฝูงบิน๔๐๒ กองบิน๔, เครื่องบินโจมตีธุรการ บ.จธ.๒ AU-23A ฝูงบิน๕๐๑ กองบิน๕ และควบคุมและแจ้งเตือน บ.ค.๑  SAAB 340B ERIEYE AEW&C ฝูงบิน๗๐๒ กองบิน๗
ยังได้มีการนำเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16AM/BM EMLU ฝูงบิน๔๐๓ กองบิน๔ ติดกระเปาะชี้เป้า Sniper ATP และเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐/ก Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๒ กองบิน๗ ติดกระเปาะชี้เป้า LITENING GIII มาใช้ในภารกิจตรวจจับทางทะเลสนับสนุนงานพลเรือน ซึ่งเป็นเรื่องน่าสนใจครับ