วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

อินเดียต้องการจัดหาเครื่องบินทะเล US-2i 15เครื่องจากญี่ปุ่น


http://www.financialexpress.com/news/india-to-acquire-15-us2i-aircraft-from-japan-after-defence-minister-s-visit/1199911

นาย Itsunori Onodera รัฐมนตรีกลาโหมญี่ปุ่นมีแผนจะเดินทางเยือนอินเดียในเร็วๆนี้เพื่อกระชับความร่วมมือด้านความมั่นคงร่วมกันของทั้งสองประเทศ
หนึ่งในเรื่องนั้นคือการที่กองทัพเรืออินเดียต้องการจะจัดหาเครื่องบินทะเลแบบ US-2i จากญี่ปุ่น 15เครื่อง
US-2 เป็นเครื่องบินทะเลขนาดใหญ่สี่เครื่องยนต์ผลิตโดย ShinMaywa ซึ่งถูกออกแบบมาสำหรับภารกิจกู้ภัยทางทะเล
อินเดียและญี่ปุ่นมีแผนเจรจาความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมการบินร่วมกัน
ซึ่งก็รวมถึงการถ่ายทอด Technology เครื่องบินทะเล US-2i ซึ่งจะสร้างตามความต้องการของอินเดียด้วยครับ

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

SM-6 เข้าสู่ระดับความพร้อมปฏิบัติการขั้นต้น

SM-6 Achieves Initial Operational Capability

November 26, 2013 2:44 PM

WASHINGTON - The Standard Missile-6 (SM-6) tactical missile has reached initial operation capability, the Navy announced in a Nov. 26 release, with SM-6s successfully loaded onboard guided-missile destroyer USS Kidd in San Diego.

The SM-6 is designed to provide naval vessels with extended range protection against cruise missiles, unmanned aerial vehicles and fixed and rotary wing aircraft.

“We’re very pleased to achieve [initial operational capability] on schedule,” said Capt. Mike Ladner, the major program manager of Surface Ship Weapons, whose portfolio includes SM-6. “The SM-6, with its ability to extend the battle space, truly improves shipboard air defense capability. I’m very proud of the entire Standard Missile team on this historic achievement.”

SM-6 has entered full-rate production and the program has already delivered 50 missiles ahead of schedule and under budget. Follow-on test and evaluation will continue into 2014 to validate the integrated fire control capability in an operationally realistic environment.

Program Executive Office for Integrated Warfare Systems, an affiliated program executive office of the Naval Sea Systems Command, manages surface ship and submarine combat technologies and systems and coordinates Navy enterprise solutions across ship platforms.

http://www.seapowermagazine.org/stories/20131126-sm6.html

กองทัพเรือสหรัฐฯได้ประกาศว่าอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศแบบ SM-6 ได้เข้าสู่ระดับความพร้อมปฏิบัติการขั้นต้น(Initial Operational Capability)
โดยได้ทำการติดตั้ง SM-6 กับเรือพิฆาต DDG-100 USS Kidd ที่ฐานทัพเรือซานดิเอโก้
SM-6 เป็นระบบอาวุธปล่อยทางยุทธวิธีสำหรับเรือผิวน้ำซึ่งเพิ่มระยะยิงและประสิทธิภาพในการต่อต้านภัยคุกคามทางอากาศ ทั้งอากาศยานปีกตรึง อากาศยานปีกหมุน UAV และอาวุธปล่อยนำวิถีร่อน
ทั้งนึ้ SM-6 ได้เข้าสู่สายการผลิตเต็มอัตราส่งมอบให้กองทัพเรือสหรัฐฯแล้ว 50นัดตามงบประมาณจัดหา
และจะมีการทดสอบระบบควบคุมการยิงในสภาวะการปฏิบัติการรบจริงต่างๆไปจนถึงปี 2014 ก่อนจะเข้าสู่ความพร้อมรบที่สมบูรณ์ครับ

วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สเปนเปิดเผยแบบจำลองเรือฟริเกต F110

http://rpdefense.over-blog.com/2013/11/spain%E2%80%99s-revolutionary-new-frigate-the-f-110.html

Navantia สเปนเปิดเผยแบบจำลองเรือฟริเกตใหม่ F110 ซึ่งวางแผนจะนำม่ประจำการแทนเรือชั้น Santa Maria(Oliver Hazard Perry)ทั้ง 6ลำที่ใกล้จะปลดประจำการ
โดย F110 จะเป็นเรือที่มีสมรรถนะระหว่างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งแบบ BAM และเรือฟริเกตป้องกันภัยทางอากาศชั้น Alvaro de Bazan
เรือฟริเกตแบบ F110 จะมีคุณสมบัติครบทั้งการทำภารกิจต่อต้านเป้าหมายผิวน้ำ ใต้น้ำ และอากาศ
รวมถึงรองรับปฏิบัติการของยานไร้คนขับผิวน้ำ USV และอากาศยานประจำเครื่องทั้งอากาศยานปีกหมุนและ UAV ด้วย
คาดว่าถ้ากองทัพเรือสเปนเลือกจัดหา F110 จะเข้าประจำการได้ในปี 2025 ครับ

Defense&Security 2013:ระบบต่อสู้อากาศยาน-1



ส่วนจัดแสดงของ Diehl BGT Defence ในงาน D&S 2013 นอกจากแบบจำลองตัวอาวุธปล่อยนำวิถี IRIS-T แล้ว
ยังมีแบบจำลองระบบแท่นยิง IRIS-T SLM และฐาน Radar แบบ SAAB Giraffe AMB ด้วยครับ
ซึ่งระบบดังกล่าวมีข้อมูลว่ากองทัพอากาศไทยสนใจจะจัดหามาประจำการครับ






CPMIEC จากจีนก็ไปออกส่วนจัดแสดงขนาดใหญ่ในงาน D&S 2013 ครับ ซึ่งระบบที่นำไปแสดงก็มีทั้งรถหุ้มเกราะล้อยางกันระเบิด
และแบบจำลอง ปตอ.ลจ.ขนาด 35mm แฝด ซึ่งก็มีข้อมูลว่ากองทัพบกกำลังจะวางแผนจัดหาระบบ ปตอ.ขนาด 35mm ทั้งแบบลากจูงอยู่
รวมถึงระบบ Radar และอาวุธปล่อยพื้นสู่อากาศนานาชนิดอย่าง HQ-9 หรือในชื่อส่งออก FD-2000 และ FL-3000N กับ FK-1000
ซึ่งเสนอจะขายพร้อมถ่ายทอดTechnology ให้ไทยด้วย
แต่ตรงนี้ก็ยังไม่ชัดเจนครับว่าการนำเสนอระบบดังกล่าวจะเป็นของเหล่าทัพใด และเป็นไปได้มากแค่ไหน


Rosoboronexport รัสเซียมี Pantsir-S1 ตั้งแสดง ซึ่งเป็นระบบป้องกันภัยทางอากาศพิสัยใกล้ที่ได้รับความสนใจ ซึ่งรัสเซียส่งออกได้แล้วหลายประเทศครับ

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Defense&Security 2013: SAAB เสนอ RBS 70 NG ให้ไทย

ภาพ RBS 70 NG ในส่วนจัดแสดงของ SAAB ในงาน Defense&Security 2013

http://www.saabgroup.com/th/Markets/Saab-Thailand/Defense--Security-2013/Saab-at-Defence-And-Security-2013-Proud-Partners-Of-Thai-Defence/-RBS-70-NG-/

ส่วนจัดแสดงของ SAAB ในงาน Defense&Security 2013 เป็นส่วนจัดแสดงที่ใหญ่มาก
ซึ่งใน Link ข้อมูลข้างต้น SAAB ได้นำระบบ RBS 70 NG มาจัดแสดงในงานเสนอกองทัพไทยด้วย
ก็ไม่ทราบว่ากองทัพอากาศไทยมีแผนจะปรับปรุง RBS 70 ที่มีอยู่ให้ใช้ระบบควบคุมการยิงใหม่และลูกจรวดใหม่ BOLIDE หรือไม่ครับ
ซึ่งถ้าใช้ร่วมกับ IRIS-T SLM ผ่านระบบอำนวยรบร่วมกับ SAAB Giraffe AMB จะกลายเป็นระบบป้องกันภัยทางอากาศหลายชั้นที่ค่อนข้างสมบูรณ์ทีเดียวครับ

RBS 70 NG Transforming the Battlefield 
http://www.youtube.com/watch?v=5FtnHG6Togw

Defense&Security 2013: ระบบอาวุธต่อสู้รถถัง-1

ในงาน Defense&Security 2013 ที่เพิ่งจบไปนี้มีบริษัทจากหลายประเทศนำระบบอาวุธต่อสู้รถถังมาแสดงในงานครับ
ทั้งระบบที่มีชื่อเสียงจากกลุ่มตะวันตก อิสราเอล รัสเซียและระบบที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักนักจากแถบยุโรปตะวันออก
แต่ส่วนใหญ่จะนำภาพกับข้อมูลอย่างย่อๆมาให้ชมเท่านั้นนะครับ


ระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง SAAB BILL 2 นำวิถีแบบ SACLOS แบบเส้นลวดระยะยิง 2.2km

ปืนไร้แรงสะท้อน Carl Gustav M3 ด้านหลังเครื่องยิงจรวด AT4

ที่ส่วนจัดแสดงของ Ukrspecexport มีอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังมาแสดงหลายตัว เช่น


SKIF นำวิถี Laser SACLOS ระยะยิง 5km


กลุ่มกระสุนอาวุธปล่อยนำวิถีที่ยิงจากปืนใหญ่รถถังขนาดต่างๆ

มีอีกตัวที่ไม่ได้ถ่ายภาพมาคืออาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังขนาดเบาCorsar ระยะยิง 2.5km น้ำหนักลูกจรวด 13.5kg น้ำหนักเมื่อรวมกับแท่นยิง 18kg
http://en.uos.ua/produktsiya/vooruzhenie-i-boepripasi/137-legkiy--protivotankoviy--raketniy--kompleks--korsar
เห็นมีภาพผู้ใหญ่ท่านหนึ่งชมการสาธิตตัวจรวดอยู่ครับ

อาวุธปล่อยนำวิถีจาก Yugoimport SDPR เซอร์เบีย
มี Bumbar, Shershen และเครื่องยิงจรวดต่อสู้รถถังน่าจะแบบ M90 120mm

Rosoboronexport รัสเซียมี Kornet-E ตั้งแสดง

Rafale อิสราเอลเองก็มีการนำแบบจำลองของ SPIKE-MR/LR กับ SPIKE-ER มาแสดงครับ

มีข้อมูลว่ากองทัพบกไทยสนใจจะจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังแบบ SPIKE-LR ซึ่ง ST Dynamics สิงคโปร์ได้สิทธิบัตรในการผลิต
ตรงนี้ถ้าข้อมูลที่ว่าเป็นโครงการจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังขนาดกลางที่ SPIKE แข่งกับ Javelin จริง
ก็น่าแปลกใจอยู่ว่า Javelin เป็น ATGM ขนาดเบากว่าระยะยิงสั้นกว่าคือ 2.5km สำหรับทหารราบ
ซึ่งควรจะมาแทน M47 Dragon แข่งกับ SPIKE-MR ซึ่งมีน้ำหนักและระยะยิงใกล้เคียงกัน
แต่ SPIKE-LR นั้นเป็นระบบที่หนักถึง 40kg มีระยะยิง 4km ซึ่งควรจะมาแทน TOW มากกว่า และกองทัพบกไทยเองคงน่าจะยังใช้ TOW ไปอีกนานพอสมควร
ส่วนตัวเข้าใจว่าถ้า SPIKE-LR จะมาแทน TOW แล้ว ก็อาจจะมีการจัดหา SPIKE-MR มาแทน M47 Dragon เพิ่มเติมด้วยก็ได้ครับ

Defense&Security 2013: แบบเรือโครงการเรือตรวจการณ์ปืนใหม่จากบริษัท Marsun

Review งาน Defense&Security 2013 ที่ผมได้มีโอกาสได้ไปเข้าชมงานมาจะค่อยทยอยลงภาพและข้อมูลตามที่มีเวลาสะดวกจะจัดทำครับ
และก็ต้องมีการคัดกรองภาพและข้อมูลเสียก่อนด้วยครับ
(ถ่ายภาพมาเกือบ 150ภาพ เกือบสามชั่วโมงเต็มๆ ถ่ายจน Battary กล้องหมด อันนี้ก็กลัวๆอยู่ว่าเผยแพร่ไปแล้วเกิดมีภาพไม่เหมาะสมขึ้นมาจะเป็นปัญหาเหมือนกัน)


ตามข้อมูลการให้สัมภาษณ์ของทางตัวแทนบริษัท Marsun ที่แสดงในงานนั้น
กองทัพเรือได้คัดเลือกแบบเรือโครงการเรือตรวจการณ์ปืนแบบใหม่แล้ว
คือแบบเรือ M58 ของบริษัท Marsun ซึ่งคาดว่าจะมีการลงนามสัญญาจัดหาในเร็วๆนี้ครับ
คุณสมบัติของเรือ ตกป.ใหม่ก็ตามนี้ครับ




แบบเรือ ตกป.แบบ M58 นั้นมีขนาดเล็กกว่าแบบเรือ M65 ซึ่งใหญ่กว่าและด้านท้ายเรือสามารถติดอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำขนาดเบาได้
แต่แบบ M58 นั้นมีการออกแบบจริงเสร็จเรียบร้อยแล้วในขณะที่ M65 ยังเป็นแบบเรือแนวคิดอยู่ ซึ่งกองทัพเรือก็ได้เลือกแบบเรือ M58 ระวางขับน้ำประมาณ 530ตันไป
ดูเหมือนว่าระบบควบคุมการยิงและระบบอำนวยการรบน่าจะใกล้เคียงกับเรือ ตกป.ชุด ร.ล.สัตหีบ ๓ลำแรกที่ปรับปรุงไปไปคือใช้ของ Thales เป็นหลัก
เช่น ระบบอำนวยการรบ TATICOS และระบบควบคุมการยิง EO แบบ Mirador
อาวุธมีปืนใหญ่เรือ OTO Melara 76/62 ที่หัวเรือ ท้ายเรือ MSI DS-30 1กระบอก ดาดฟ้ายกกลางลำด้านท้ายติด ปก.50cal กราบละ 1กระบอก
และยังออกแบบส่วนห้องบรรทุกรองรับภารกิจได้อย่างยืดหยุ่นหรือจะติดอาวุธปล่อยนำวิถีเบาต่อต้านเรือผิวน้ำได้ด้วย

จากตัวแทนของบริษัท Marsun กล่าวว่าโครงการเรือตรวจการณ์ปืนใหม่นี้จะเป็นการนำมาประจำการแทนเรือชุด ร.ล.หัวหิน
ซึ่งเรือ ตกป.ชุด ร.ล.หัวหินทั้งสามลำคือ ร.ล.หัวหิน(541) ร.ล.แกลง(542) และ ร.ล.ศรีราชา(543) นั้นเป็นเรือที่ต่อในไทยโดยอู่ Asian Marine Services 2ลำ และอู่ราชนาวี 1ลำ
เข้าประจำการพร้อมกันเมื่อปี ๒๕๔๔ ติดอาวุธปืนใหญ่เรือควบคุมด้วยมือคือ ปืน 76/50 และ ปืน Bofors 40/60
ส่วนตัวได้สอบถามไปยังตัวแทนบริษัท Marsun ในงานว่า เรือชุด ร.ล.หัวหินนั้นเพิ่งจะประจำการมาได้เพียง 12ปี(ในปี๒๕๕๖) ทำไมถึงปลดเร็วจัง
คำตอบคือทางบริษัทก็ไม่ทราบเช่นกันครับ (ถ้ามีโอกาสจะสอบถามเจ้าหน้าที่จากกองทัพเรือที่ทราบอีกทีถ้าสามารถสอบถามได้)

แต่อย่างไรก็ตามนี้เป็นเรื่องดีอย่างยิ่งมากที่กองทัพเรือจะสั่งต่อเรือที่ออกแบบและสร้างเองโดยคนไทยอีกครั้ง
เป็นการต่อเนื่องในชุดเรือตรวจการณ์ปืนที่ผ่านมาตั้งแต่เรือชุด ร.ล.สัตหีบ เข้าประจำการเมือปี ๒๕๒๖ ครับ(๓๐ปีพอดี)
ซึ่งตามโครงการจะต่อ ๑ลำใช้งบประมาณ ๗๐๐ล้านบาทครับ