ได้เข้าไปอ่านราชกิจจานุเบกษามาครับ
เลยเห็นว่ามีชื่อคนรู้จัก ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานยศ เลื่อนเป็นนายทหารสัญญาบัตรชั้นนายพันแล้ว
ยินดีด้วยนะครับ ขอให้ประสบความสำเร็จเจริญในหน้าที่การงานยิ่งๆขึ้นไป
เลยวาดรูปนี้ไว้เป็นที่ระลึก(เป็นรูปบุคคลสมมุติ ไม่ได้มีตัวตนอยู่จริง)
นอกจากเครื่องแบบสนามแล้ว ผมมักจะชอบวาดทหารในเครื่องแบบปกติกากีคอแบะบ่อยๆ
แต่โดยส่วนตัวเครื่องแบบที่ผมชอบที่สุดคือเครื่องแบบปกติขาวครับ
เพราะเป็นเครื่องแบบที่ทหารตำรวจสี่เหล่าทัพแต่งแล้วมีความต่างกันน้อยที่สุด
คือเป็นข้าราชการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเหมือนกันทุกนายโดยไม่แบ่งสีแบ่งเหล่า
วันเสาร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
วันศุกร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
ยูเครนจะซ่อมปรับปรุง S-300PS เข้าประจำการใหม่
Ukroboronservice to Repair Air Defense Missile S-300PS of Ukraine Armed Forces
(Source: Ukroboronservice; issued May 27, 2014)
Ukroboronservice, being incorporated with Ukroboronprom State Concern, together with Command of Air Forces of Armed Forces of Ukraine signed the acceptance certificate of air-defense system S-300PS after an intermediate repair on life extension by 5 years.
The next air-defense system S-300PS, the repairing of which is currently being finalized at Ukroboronservice, will have been transferred to a unit of Air Forces of Armed Forces of Ukraine by the end of June with the extension of life service by 7 years.
In the beginning of July the transfer of another air-defense system ‘Buk-M1’ is expected. During the repair of the next ‘Buk-M1’ air-defense system it is envisaged that Ukroboronservice’s specialists will for the first time mount on it a modern Ukrainian radar station, developed at State Enterprise Scientific and Production Complex ‘Iskra’, instead of Russian one.
“Under the conditions of stable financing, Ukroboronprom’s companies are able in sufficiently close perspective to upgrade air defense system of Ukraine qualitatively,” Yuriy Tereshchenko, Ukroboronprom’s Temporary Acting Director General said.
He emphasized that actions towards the strengthening the sky space of the country is the important direction of Concern’s activity.
http://www.defense-aerospace.com/article-view/release/154236/upgraded-s_300ps-air_defense-missiles-for-ukraine.html
Ukroboronservice หน่วยงานจัดหายุทโธปกรณ์ของยูเครน ร่วมกับ Ukroboronprom หน่วยงานด้านอุตสาหกรรมความมั่นคง และกองบัญชาการกองทัพอากาศยูเครน
มีการลงนามข้อตกลงที่จะปรับปรุงระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศแบบ S-300PS เป็นการซ่อมขั้นระยะเพื่อยืดอายุการใช้งานอีกราว 5-7ปี
โดยระบบที่ทำการซ่อมปรับปรุงแล้วจะถูกส่งให้ Ukroboronservice ตรวจสอบในขั้นตอนสุดท้าย ก่อนจะส่งมอบให้หน่วยในกองทัพอากาศยูเครนภายในเดือนมิถุนายน
ยุทโธปกรณ์ที่จะทำการซ่อมปรับปรุงอีกระบบที่เริ่มส่งมอบในเดือนกรกฎาคมคืออาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ Buk-M1
ซึ่งจะทำการติดตั้งระบบ Radar แบบใหม่ที่พัฒนาโดย "Iskra" ของยูเครนเองแทนระบบของรัสเซียเดิม
สถานการณ์ปัจจุบันในภาคตะวันออกของยูเครนตามนโยบายที่จะไม่เจรจากับผู้ก่อการร้ายของว่าที่ประธานาธิบดีคนใหม่ นาย Petro Poroshenko
กองกำลังความมั่นคงของยูเครนไปรุกพื้นที่ในเขต Donetsk ปะทะกับกลุ่มติดอาวุธแบ่งแยกดินแดนนิยมรัสเซียอย่างหนักจนมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 50คนแล้ว
ล่าสุดที่เมือง Sloviansk กลุ่มแบ่งแยกดินแดนนิยมรัสเซียได้ยิง ฮ.ลำเลียงกองทัพอากาศยูเครนตกมีผู้เสียชีวิต 14นาย ซึ่งรวมถึงนายพลระดับสูงของหน่วยพิทักษ์รัฐด้วย
ยูเครนจึงมีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงยุทโธปกรณ์ที่มีอย่างเร่งด่วนเพื่อรับมือกับความเป็นไปได้ที่รัสเซียจะส่งกำลังทหารเข้าแทรกแซงโดยตรงครับ
วันพุธที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
อาเซอร์ไบจันจะซื้ออาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือ Bal-E จากรัสเซีย
http://www.kommersant.ru/doc/2479531?isSearch=True
รายงานของสื่อรัสเซียกล่าวถึงการจัดหาอาวุธจากรัสเซียของอาเซอร์ไบจันที่เพิ่มวงเงินจาก $4 billion ในปี 2010 เป็น $5 billion ในปีนี้
โดยระบบอาวุธใหม่ที่จะจัดหาในปีนี้คือ อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือ Bal-E (3K60) จำนวนหนึ่งกองพัน
ซึ่ง Bal-E เป็นรุ่นยิงจากฐานยิงชายฝั่งของอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือตระกูล Kh-35 และ Uran (3M24) ที่ถูกใช้ในรัสเซียและอีกหลายประเทศครับ
วันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
ฝรั่งเศสอาจจะระงับการส่งมอบเรือยกพลขึ้นบก Mistral ลำที่สองของรัสเซีย
http://www.defensenews.com/article/20140523/DEFREG01/305230022/France-Might-Withhold-2nd-Mistral-Ship-From-Russia
ตลอดช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์ในยูเครน สหภาพยุโรปโดยมีเยอรมนีและฝรั่งเศสเป็นผู้นำมีท่าทีชัดเจนในการตอบโต้รัสเซียที่เข้าไปแทรกแซงยูเครน
โดยส่วนหนึ่งของการตอบโต้คือการระงับความร่วมมือทางการทหารกับรัสเซีย
อย่างไรก็ตามในส่วนโครงการต่อเรือยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Mistral หรือที่รัสเซียสั่งต่อและซื้อสิทธิบัตรเพื่อต่อในประเทศเป็นชั้น Vladivostok
นอกจากเรือลำแรกคือ Vladivostok ที่ต่อเสร็จที่อู่เมือง Saint-Nazaire ทดสอบการเดินเรือเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2014 และมีกำหนดเข้าประจำการในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2014 นั้น
ฝรั่งเศสอาจจะพิจารณาที่ระงับการส่งมอบเรือลำที่สองคือ Sevastopol ซึ่งปล่อยเรือลงน้ำไปเมื่อเดือนตุลาคมปี 2013
โดยนอกจากที่รัสเซียอาจจะไม่สามารถต่อเรือภายใต้สิทธิบัตรเพิ่มเติมอีกสองลำที่อู่เมือง St. Petersburg แล้ว
ฝรั่งเศสอาจจะมีแผนจะขายเรือที่ต่อเสร็จแล้วให้มิตรประเทศอื่นแทนรัสเซียด้วยครับ
ตลอดช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์ในยูเครน สหภาพยุโรปโดยมีเยอรมนีและฝรั่งเศสเป็นผู้นำมีท่าทีชัดเจนในการตอบโต้รัสเซียที่เข้าไปแทรกแซงยูเครน
โดยส่วนหนึ่งของการตอบโต้คือการระงับความร่วมมือทางการทหารกับรัสเซีย
อย่างไรก็ตามในส่วนโครงการต่อเรือยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Mistral หรือที่รัสเซียสั่งต่อและซื้อสิทธิบัตรเพื่อต่อในประเทศเป็นชั้น Vladivostok
นอกจากเรือลำแรกคือ Vladivostok ที่ต่อเสร็จที่อู่เมือง Saint-Nazaire ทดสอบการเดินเรือเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2014 และมีกำหนดเข้าประจำการในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2014 นั้น
ฝรั่งเศสอาจจะพิจารณาที่ระงับการส่งมอบเรือลำที่สองคือ Sevastopol ซึ่งปล่อยเรือลงน้ำไปเมื่อเดือนตุลาคมปี 2013
โดยนอกจากที่รัสเซียอาจจะไม่สามารถต่อเรือภายใต้สิทธิบัตรเพิ่มเติมอีกสองลำที่อู่เมือง St. Petersburg แล้ว
ฝรั่งเศสอาจจะมีแผนจะขายเรือที่ต่อเสร็จแล้วให้มิตรประเทศอื่นแทนรัสเซียด้วยครับ
วันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
โอกาสในการจัดหารถถังหลักใหม่ของกองทัพบกไทยหลังความไม่แน่นอนของ Oplot
กองทัพบกไทยจัดหารถถังหลักเข้าประจำการครั้งล่าสุดคือ M60A3 TTS จากสหรัฐฯจำนวน 125คัน ในปี ๒๕๔๐ งบประมาณราว $100 Million
เข้าประจำการใน กองพันทหารม้าที่ ๕ รักษาพระองค์ และ กองพันทหารม้าที่ ๑๗ รักษาพระองค์ กองพลทหารม้าที่ ๒ รักษาพระองค์ และอีกหนึ่งกองร้อยที่ กองพันทหารม้าที่ ๒๒ ศูนย์การทหารม้า
โดยตามแผนการปรับปรุงกำลังของรถรบเหล่าทหารม้าที่มีเอกสารเปิดเผยออกมานั้น
นอกจากกำลังของ พล.ม.๒ รอ. ที่จะคงไว้เช่นเดิม และการจัดตั้งกองพลทหารม้าที่ ๓ แล้ว
กองทัพบกมีความจำเป็นที่จะต้องจัดหารถถังหลักแบบใหม่เพื่อทดแทนรถถังเบา M41A3 ในกองพันทหารม้ารถถังประจำกองพลทหารราบ
เช่นที่ประจำการอยู่คือ กองพันทหารม้าที่ ๔ รักษาพระองค์, กองพันทหารม้าที่ ๘, กองพันทหารม้าที่๙ และ กองพันทหารม้าที่ ๑๖
เดิมทีกองทัพบกไทยมีแนวคิดในการจัดหารถถังหลักแบบใหม่ทดแทน M41A3 ซึ่งเข้าประจำการมาตั้งแต่ปี ๒๕๐๕ นานแล้ว
เช่นให้ความสนใจในการจัดหารถถังหลัก Panzer 68/88 พร้อมรถสายพานลำเลียง M113 ที่กองทัพบกสวิตเซอร์แลนด์ ปลดประจำการในปี ๒๕๔๖
แต่อย่างไรตามรถถังหลัก Pz 68/88 นี้เป็นรถถังมือสองที่มีสวิตเซอร์แลนด์ใช้เพียงผู้เดียวในโลก และระบบอาวุธส่วนหนึ่งก็เป็นระบบเฉพาะของสวิส
เช่นปืนกลขนาด 7.5 Swiss ซึ่งใช้ก่อนที่กองทัพสวิสจะเปลี่ยนไปใช้กระสุนมาตรฐาน NATO
ดังนั้นแนวความคิดดังกล่าวจึงถูกล้มเลิกไป โดยงบประมาณสำหรับการจัดหา Pz 68/88 ได้ถูกโอนไปในการจัดหา ฮ.โจมตี ฮ.จ.๑ AH-1F EDA จำนวน 7เครื่องหรือรับมอบจริง 4เครื่องแทน
ต่อมานานอีกหลายปีกองทัพบกได้มีการจัดตั้งโครงการจัดหารถถังหลักใหม่เพื่อเข้าประจำการใน กองพันทหารม้าที่ ๒ กองพลทหารราบที่ ๒ รักษาพระองค์
ซึ่งตามแผนการปรับปรุงอัตราการจัดกำลังรถรบทหารม้า จะมีการย้ายรถถังหลัก M48A5 ไปประจำที่ ม.พัน.๘
เช่นเดียวกับที่ M48A5 ที่ประจำการใน กองพันทหารม้าที่ ๒๑ จะโอนย้ายไป ม.พัน.๑๖ เมื่อได้รับมอบรถถังหลักแบบใหม่
ซึ่งในตัวเลือกสองในสามแบบสุดท้ายคือ K1A1 และ T-90S นั้นกองทัพบกได้เลือก BM Oplot จากยูเครนไปในที่สุด
แต่ก็อย่างที่ทราบกันในปัจจุบันว่านอกจากรถถังชุดแรก 5คันที่ส่งให้กองทัพบกทดสอบที่ศูนย์การทหารม้าเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ปี ๒๕๕๗ นั้น
สถานการณ์ยูเครนตั้งแต่การแยกตัวของ Crimea ไปรวมกับรัสเซีย และในภาคตะวันออกโดยเฉพาะที่ Donetsk และ Luhansk
ที่มีการปะทะรุนแรงระหว่างกองกำลังความมั่นคงยูเครนกับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนนิยมรัสเซียนั้น ส่งผลต่อการผลิตและส่งมอบรถถังหลัก Oplot ให้ไทยอย่างเลี่ยงไม่ได้
ซึ่งถ้าสถานการณ์หลังการเลือกตั้งในยูเครนวันที่ 25 พฤษภาคมนี้ยังไม่คลี่คลายในทางที่ดีขึ้นแล้ว
เกรงว่าหลังจากนี้อีกราว 2ปี กองทัพบกอาจจะจำเป็นต้องพิจารณาตั้งโครงการจัดหารถถังหลักแบบอื่นแทน ถ้ายูเครนไม่สามารถส่งมอบรถได้ตามสัญญา
คำถามคือกองทัพบกยังมีตัวเลือกสำหรับรถถังหลักใหม่แบบอื่นนอกจาก Oplot หรือไม่?
กองทัพบกตั้งคุณสมบัติรถถังหลักใหม่ที่ต้องการไว้ชัดเจนว่าต้องเป็นรถสร้างใหม่จากโรงงานไม่ใช่รถมือสอง
ซึ่งในงบประมาณจำกัดไม่เกิน ๗,๐๐๐ล้านบาทกว่าๆ เป็นอย่างมากต้องจัดหาไห้ได้ครบหนึ่งกองพันประมาณ ๕๐คัน
เพราะฉะนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยสำหรับรถถังหลักจากประเทศยุโรปตะวันตกและสหรัฐฯซึ่งราคาแพงมาก
และสถานการณ์การเมืองในไทยเองกลุ่มชาติตะวันตกก็จะระงับเรื่องความช่วยเหลือทางการทหารต่อไทยเป็นการชั่วคราวสักระยะอยู่แล้วด้วย
(เป็นนโยบายที่เราจะไม่พาดพิงถึงเรื่องการเมืองไทยใน Blog นี้ เพราะแค่กล่าวถึงเรื่องในวงการ Cartoons กับ Games ก็ไม่ได้ โอ๊ย! พอเถอะ!)
กองทัพบกอาจจะหันกลับไปมองรถถังหลักที่เป็นตัวเลือกรองอันดับถัดจากที่เลือก Oplot โดยมีข่าวลือออกมาว่า K1A1 และ T-90S อาจจะเป็นตัวเลือกอีกครั้ง
แต่จะเป็นไปได้แค่ไหนในเมื่อตามข้อมูลนั้น K1A1 ปิดสายการผลิตไปตั้งแต่ปี 2010 แล้ว และก็ไม่สามารถหาลูกค้าส่งออกได้เลย
http://kookbang.dema.mil.kr/kookbangWeb/m/view.do?ntt_writ_date=20140522&parent_no=82&bbs_id=BBSMSTR_000000000138&nav=1&nav2=5
ตามรายงานเอกสารของกระทรวงกลาโหมสาธารณรัฐเกาหลี จะมีการปรับปรุงรถถังหลัก K1 และ K1A1 เพื่อให้มีขีดความสามารถและสมรรถนะสูงขึ้น
โดยจะทำการปรับปรุง K1 เป็น K1E1 จำนวน 1,027 ซึ่งรถที่เข้าประจำการมาตั้งแต่ปี 1986 จะประจำการไปจนถึงปี 2026
และ K1A1 จะทำการปรับปรุงเป็น K1A2 หรือเดิมคือ K1A1 PIP จำนวน 484 คันโดยจะเสร็จสิ้นภายในปี 2022
การปรับปรุงนี้จะใช้ Techonology ส่วนหนึ่งจากโครงการรถถังหลัก K2 เช่นระบบกล้อง Panoramic รุ่นใหม่ ระบบควบคุมการยิงใหม่ และ C4I
ซึ่ง K2 เองหลังจากมีความล่าช้าในการพัฒนามาในช่วงไม่กี่ปีมานี้ก็จะเข้าประจำการได้จริงในเดือนมิถุนายนนี้เพื่อทดแทน M48A3K ในกองทัพเกาหลีใต้
สำหรับกองทัพบกไทยนั้น K2 เป็นรถถังหลักรุ่นใหม่ล่าสุดของเกาหลีใต้ที่มีสมรรถนะสูงสุดและออกแบบโดยใช้ Technology ของเกาหลีใต้ล้วนเกือบทั้งหมด
นั่นทำให้ถ้าเทียบกับ K1 ซึ่งมีสิทธิบัตรและบางระบบที่ต้องขออนุญาตการส่งออกจากสหรัฐฯแล้ว K2 อาจจะดีกว่า Oplot ก็จริง
แต่ K2 ก็มีราคาตัวรถที่แพงเกินไปสำหรับกองทัพบกไทยเช่นกัน และเช่นกันเกาหลีใต้ก็ไม่น่าจะมีการผลิต K1A2 ใหม่ทั้งคันจากโรงงานอีกแล้ว
ในขณะที่สถานการณ์ขัดแย้งกับเกาหลีเหนือยังคงตึงเครียดเสมอเช่นกรณีล่าสุดที่เกาหลีเหนือยิงปืนใหญ่ใส่เรือเกาหลีใต้นั้น
เกาหลีใต้จึงไม่น่าจะแบ่งรถถัง K1 ในกองทัพบกและนาวิกโยธินมาขายในแบบมือสองครับ
อีกตัวเลือกหนึ่งในอันดับรองลงมาคือ T-90S จากรัสเซียซึ่งรุ่นส่งออกล่าสุดคือ T-90MS ที่แสดงตัวในหลายๆงานมาแล้วค่อนข้างน่าสนใจอยู่มากทีเดียว
แต่ถ้าจะเปรียบเทียบ T-90MS กับ Oplot-T ของไทยแบบตัวต่อตัวแล้ว T-90MS อาจจะมีข้อเสียเปรียบบ้างในบางจุด
เช่นเครื่องยนต์ที่ใช้มีกำลังน้อยกว่าเล็กน้อยคือ V-92F2S กำลัง 1130HP เทียบกับ 6TD-2 กำลัง 1200HP
T-90MS ไม่มีระบบ Active Protection Systems แบบ Soft-Kill อย่าง Varta ที่ติดตั้งกับ Oplot
รวมถึงข้อสงสัยว่าระบบควบคุมการยิงที่เลือกใช้ของตะวันตกได้เช่นของ Thales ฝรั่งเศสจะไม่ส่งมอบให้รัสเซียหรือไม่ ซึ่งนั่นก็อาจจะต้องใช้ระบบรัสเซียล้วน
รวมถึงสมรรถนะระบบขับเคลื่อนเช่น Gear ถอยหลัง ซึ่ง Oplot ทำความเร็วได้ดีกว่า T-90 อยู่
แต่ปืนใหญ่รถถังรุ่นใหม่ 2A46M-5 ของ T-90MS ก็ดูจะมีประสิทธิภาพสูงกว่า KBA3 ของ Oplot อยู่ระดับหนึ่ง
ทำให้ในภาพรวม T-90MS เป็นตัวเลือกที่น่าจะพอแทน Oplot ได้แม้ว่าจะราคาแพงกว่าบ้างก็ตาม
ส่วนรถถังจากจีนนั้นจากประสบการณ์ที่กองทัพบกเคยจัดหา ถ.๓๐ Type 69-II มาคงจะไม่นำมาเป็นตัวเลือกแล้วครับ
อย่างไรก็ตามที่เคยได้กล่าวไปแล้วว่ายังเร็วเกินไปที่จะสรุปได้ว่าโครงการจัดหารถถังหลัก Oplot จะล้มเหลวโดยสิ้นเชิงในขณะนี้ แต่ความล่าช้าย่อมมีแน่อย่างเลี่ยงไม่ได้
และด้วยสถานการณ์ในไทยเอง ส่วนตัวเกรงว่าถ้ากองทัพบกไม่ได้รับ Oplot มาจริงก็คงจะส่งผลให้ไม่มีโครงการจัดหารถถังใหม่ไปอีกนานหลายปี
ซึ่งผลกระทบโดยตรงต่อเหล่าทหารม้าคือ กำลังหลายกองพันที่ใช้ M41A3 อยู่อาจจะต้องพิจารณาการปรับอัตราจัดกำลังกันใหม่
ซึ่งนั่นอาจจะร่วมถึงการพิจารณาที่จะยุบ หรือแปรสภาพ หรือเปลี่ยนแนวคิดหลักนิยม ของกองพันรถถังประจำกองพลทหารราบก็ได้ถ้ามีความจำเป็นจริงๆครับ
แถม! การฝึกพลประจำรถถังหลัก K1A2 กองทัพบกสาธารณรัฐเกาหลี
ดูเป็นรายการที่จับเอาดารากับนักร้องเกาหลีมาฝึกทหารครับ
Playlist เต็มรายการ
http://www.youtube.com/playlist?list=PLtqYizcPqxZTCtUso58q7QPokR5orZ1CP
เข้าประจำการใน กองพันทหารม้าที่ ๕ รักษาพระองค์ และ กองพันทหารม้าที่ ๑๗ รักษาพระองค์ กองพลทหารม้าที่ ๒ รักษาพระองค์ และอีกหนึ่งกองร้อยที่ กองพันทหารม้าที่ ๒๒ ศูนย์การทหารม้า
โดยตามแผนการปรับปรุงกำลังของรถรบเหล่าทหารม้าที่มีเอกสารเปิดเผยออกมานั้น
นอกจากกำลังของ พล.ม.๒ รอ. ที่จะคงไว้เช่นเดิม และการจัดตั้งกองพลทหารม้าที่ ๓ แล้ว
กองทัพบกมีความจำเป็นที่จะต้องจัดหารถถังหลักแบบใหม่เพื่อทดแทนรถถังเบา M41A3 ในกองพันทหารม้ารถถังประจำกองพลทหารราบ
เช่นที่ประจำการอยู่คือ กองพันทหารม้าที่ ๔ รักษาพระองค์, กองพันทหารม้าที่ ๘, กองพันทหารม้าที่๙ และ กองพันทหารม้าที่ ๑๖
เดิมทีกองทัพบกไทยมีแนวคิดในการจัดหารถถังหลักแบบใหม่ทดแทน M41A3 ซึ่งเข้าประจำการมาตั้งแต่ปี ๒๕๐๕ นานแล้ว
เช่นให้ความสนใจในการจัดหารถถังหลัก Panzer 68/88 พร้อมรถสายพานลำเลียง M113 ที่กองทัพบกสวิตเซอร์แลนด์ ปลดประจำการในปี ๒๕๔๖
แต่อย่างไรตามรถถังหลัก Pz 68/88 นี้เป็นรถถังมือสองที่มีสวิตเซอร์แลนด์ใช้เพียงผู้เดียวในโลก และระบบอาวุธส่วนหนึ่งก็เป็นระบบเฉพาะของสวิส
เช่นปืนกลขนาด 7.5 Swiss ซึ่งใช้ก่อนที่กองทัพสวิสจะเปลี่ยนไปใช้กระสุนมาตรฐาน NATO
ดังนั้นแนวความคิดดังกล่าวจึงถูกล้มเลิกไป โดยงบประมาณสำหรับการจัดหา Pz 68/88 ได้ถูกโอนไปในการจัดหา ฮ.โจมตี ฮ.จ.๑ AH-1F EDA จำนวน 7เครื่องหรือรับมอบจริง 4เครื่องแทน
ต่อมานานอีกหลายปีกองทัพบกได้มีการจัดตั้งโครงการจัดหารถถังหลักใหม่เพื่อเข้าประจำการใน กองพันทหารม้าที่ ๒ กองพลทหารราบที่ ๒ รักษาพระองค์
ซึ่งตามแผนการปรับปรุงอัตราการจัดกำลังรถรบทหารม้า จะมีการย้ายรถถังหลัก M48A5 ไปประจำที่ ม.พัน.๘
เช่นเดียวกับที่ M48A5 ที่ประจำการใน กองพันทหารม้าที่ ๒๑ จะโอนย้ายไป ม.พัน.๑๖ เมื่อได้รับมอบรถถังหลักแบบใหม่
ซึ่งในตัวเลือกสองในสามแบบสุดท้ายคือ K1A1 และ T-90S นั้นกองทัพบกได้เลือก BM Oplot จากยูเครนไปในที่สุด
แต่ก็อย่างที่ทราบกันในปัจจุบันว่านอกจากรถถังชุดแรก 5คันที่ส่งให้กองทัพบกทดสอบที่ศูนย์การทหารม้าเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ปี ๒๕๕๗ นั้น
สถานการณ์ยูเครนตั้งแต่การแยกตัวของ Crimea ไปรวมกับรัสเซีย และในภาคตะวันออกโดยเฉพาะที่ Donetsk และ Luhansk
ที่มีการปะทะรุนแรงระหว่างกองกำลังความมั่นคงยูเครนกับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนนิยมรัสเซียนั้น ส่งผลต่อการผลิตและส่งมอบรถถังหลัก Oplot ให้ไทยอย่างเลี่ยงไม่ได้
ซึ่งถ้าสถานการณ์หลังการเลือกตั้งในยูเครนวันที่ 25 พฤษภาคมนี้ยังไม่คลี่คลายในทางที่ดีขึ้นแล้ว
เกรงว่าหลังจากนี้อีกราว 2ปี กองทัพบกอาจจะจำเป็นต้องพิจารณาตั้งโครงการจัดหารถถังหลักแบบอื่นแทน ถ้ายูเครนไม่สามารถส่งมอบรถได้ตามสัญญา
คำถามคือกองทัพบกยังมีตัวเลือกสำหรับรถถังหลักใหม่แบบอื่นนอกจาก Oplot หรือไม่?
กองทัพบกตั้งคุณสมบัติรถถังหลักใหม่ที่ต้องการไว้ชัดเจนว่าต้องเป็นรถสร้างใหม่จากโรงงานไม่ใช่รถมือสอง
ซึ่งในงบประมาณจำกัดไม่เกิน ๗,๐๐๐ล้านบาทกว่าๆ เป็นอย่างมากต้องจัดหาไห้ได้ครบหนึ่งกองพันประมาณ ๕๐คัน
เพราะฉะนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยสำหรับรถถังหลักจากประเทศยุโรปตะวันตกและสหรัฐฯซึ่งราคาแพงมาก
และสถานการณ์การเมืองในไทยเองกลุ่มชาติตะวันตกก็จะระงับเรื่องความช่วยเหลือทางการทหารต่อไทยเป็นการชั่วคราวสักระยะอยู่แล้วด้วย
(เป็นนโยบายที่เราจะไม่พาดพิงถึงเรื่องการเมืองไทยใน Blog นี้ เพราะแค่กล่าวถึงเรื่องในวงการ Cartoons กับ Games ก็ไม่ได้ โอ๊ย! พอเถอะ!)
กองทัพบกอาจจะหันกลับไปมองรถถังหลักที่เป็นตัวเลือกรองอันดับถัดจากที่เลือก Oplot โดยมีข่าวลือออกมาว่า K1A1 และ T-90S อาจจะเป็นตัวเลือกอีกครั้ง
แต่จะเป็นไปได้แค่ไหนในเมื่อตามข้อมูลนั้น K1A1 ปิดสายการผลิตไปตั้งแต่ปี 2010 แล้ว และก็ไม่สามารถหาลูกค้าส่งออกได้เลย
http://kookbang.dema.mil.kr/kookbangWeb/m/view.do?ntt_writ_date=20140522&parent_no=82&bbs_id=BBSMSTR_000000000138&nav=1&nav2=5
ตามรายงานเอกสารของกระทรวงกลาโหมสาธารณรัฐเกาหลี จะมีการปรับปรุงรถถังหลัก K1 และ K1A1 เพื่อให้มีขีดความสามารถและสมรรถนะสูงขึ้น
โดยจะทำการปรับปรุง K1 เป็น K1E1 จำนวน 1,027 ซึ่งรถที่เข้าประจำการมาตั้งแต่ปี 1986 จะประจำการไปจนถึงปี 2026
และ K1A1 จะทำการปรับปรุงเป็น K1A2 หรือเดิมคือ K1A1 PIP จำนวน 484 คันโดยจะเสร็จสิ้นภายในปี 2022
การปรับปรุงนี้จะใช้ Techonology ส่วนหนึ่งจากโครงการรถถังหลัก K2 เช่นระบบกล้อง Panoramic รุ่นใหม่ ระบบควบคุมการยิงใหม่ และ C4I
ซึ่ง K2 เองหลังจากมีความล่าช้าในการพัฒนามาในช่วงไม่กี่ปีมานี้ก็จะเข้าประจำการได้จริงในเดือนมิถุนายนนี้เพื่อทดแทน M48A3K ในกองทัพเกาหลีใต้
สำหรับกองทัพบกไทยนั้น K2 เป็นรถถังหลักรุ่นใหม่ล่าสุดของเกาหลีใต้ที่มีสมรรถนะสูงสุดและออกแบบโดยใช้ Technology ของเกาหลีใต้ล้วนเกือบทั้งหมด
นั่นทำให้ถ้าเทียบกับ K1 ซึ่งมีสิทธิบัตรและบางระบบที่ต้องขออนุญาตการส่งออกจากสหรัฐฯแล้ว K2 อาจจะดีกว่า Oplot ก็จริง
แต่ K2 ก็มีราคาตัวรถที่แพงเกินไปสำหรับกองทัพบกไทยเช่นกัน และเช่นกันเกาหลีใต้ก็ไม่น่าจะมีการผลิต K1A2 ใหม่ทั้งคันจากโรงงานอีกแล้ว
ในขณะที่สถานการณ์ขัดแย้งกับเกาหลีเหนือยังคงตึงเครียดเสมอเช่นกรณีล่าสุดที่เกาหลีเหนือยิงปืนใหญ่ใส่เรือเกาหลีใต้นั้น
เกาหลีใต้จึงไม่น่าจะแบ่งรถถัง K1 ในกองทัพบกและนาวิกโยธินมาขายในแบบมือสองครับ
อีกตัวเลือกหนึ่งในอันดับรองลงมาคือ T-90S จากรัสเซียซึ่งรุ่นส่งออกล่าสุดคือ T-90MS ที่แสดงตัวในหลายๆงานมาแล้วค่อนข้างน่าสนใจอยู่มากทีเดียว
แต่ถ้าจะเปรียบเทียบ T-90MS กับ Oplot-T ของไทยแบบตัวต่อตัวแล้ว T-90MS อาจจะมีข้อเสียเปรียบบ้างในบางจุด
เช่นเครื่องยนต์ที่ใช้มีกำลังน้อยกว่าเล็กน้อยคือ V-92F2S กำลัง 1130HP เทียบกับ 6TD-2 กำลัง 1200HP
T-90MS ไม่มีระบบ Active Protection Systems แบบ Soft-Kill อย่าง Varta ที่ติดตั้งกับ Oplot
รวมถึงข้อสงสัยว่าระบบควบคุมการยิงที่เลือกใช้ของตะวันตกได้เช่นของ Thales ฝรั่งเศสจะไม่ส่งมอบให้รัสเซียหรือไม่ ซึ่งนั่นก็อาจจะต้องใช้ระบบรัสเซียล้วน
รวมถึงสมรรถนะระบบขับเคลื่อนเช่น Gear ถอยหลัง ซึ่ง Oplot ทำความเร็วได้ดีกว่า T-90 อยู่
แต่ปืนใหญ่รถถังรุ่นใหม่ 2A46M-5 ของ T-90MS ก็ดูจะมีประสิทธิภาพสูงกว่า KBA3 ของ Oplot อยู่ระดับหนึ่ง
ทำให้ในภาพรวม T-90MS เป็นตัวเลือกที่น่าจะพอแทน Oplot ได้แม้ว่าจะราคาแพงกว่าบ้างก็ตาม
ส่วนรถถังจากจีนนั้นจากประสบการณ์ที่กองทัพบกเคยจัดหา ถ.๓๐ Type 69-II มาคงจะไม่นำมาเป็นตัวเลือกแล้วครับ
อย่างไรก็ตามที่เคยได้กล่าวไปแล้วว่ายังเร็วเกินไปที่จะสรุปได้ว่าโครงการจัดหารถถังหลัก Oplot จะล้มเหลวโดยสิ้นเชิงในขณะนี้ แต่ความล่าช้าย่อมมีแน่อย่างเลี่ยงไม่ได้
และด้วยสถานการณ์ในไทยเอง ส่วนตัวเกรงว่าถ้ากองทัพบกไม่ได้รับ Oplot มาจริงก็คงจะส่งผลให้ไม่มีโครงการจัดหารถถังใหม่ไปอีกนานหลายปี
ซึ่งผลกระทบโดยตรงต่อเหล่าทหารม้าคือ กำลังหลายกองพันที่ใช้ M41A3 อยู่อาจจะต้องพิจารณาการปรับอัตราจัดกำลังกันใหม่
ซึ่งนั่นอาจจะร่วมถึงการพิจารณาที่จะยุบ หรือแปรสภาพ หรือเปลี่ยนแนวคิดหลักนิยม ของกองพันรถถังประจำกองพลทหารราบก็ได้ถ้ามีความจำเป็นจริงๆครับ
แถม! การฝึกพลประจำรถถังหลัก K1A2 กองทัพบกสาธารณรัฐเกาหลี
ดูเป็นรายการที่จับเอาดารากับนักร้องเกาหลีมาฝึกทหารครับ
Playlist เต็มรายการ
http://www.youtube.com/playlist?list=PLtqYizcPqxZTCtUso58q7QPokR5orZ1CP
วันเสาร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
รัสเซียรุกล้ำน่านฟ้าฟินแลนด์บ่อยครั้งขึ้น
http://yle.fi/uutiset/authorities_probe_suspected_violations_of_finnish_airspace/7253752
http://www.mtv.fi/uutiset/kotimaa/artikkeli/haglund-ukkonen-voi-selittaa-venalaiskoneiden-ilmatilaloukkauksia/3390112
สถานการณ์ในยุโรปเหนือและเขตรัฐบอลติกเหมือนจะกลับเข้าสู่ยุคสงครามเย็นใหม่อีกครั้ง
เมื่อมีรายงานว่าอากาศยานกองทัพอากาศรัสเซียได้รุกล้ำน่านฟ้าฟินแลนด์ซึ่งเป็นประเทศเป็นกลางถึงสองครั้งในวันที่20 พฤษภาคมที่ผ่านมา
โดยประชาชนฟินแลนด์กังวลถึงการทำ Sonic Boom ระหว่างเครื่องขับไล่ F/A-18 ของกองทัพอากาศฟินแลนด์เข้าสกัดกั้นเครื่องรัสเซียเหนือพื้นที่เขตชุมชน
ก่อนหน้านี้ไม่นานก็มีรายงานที่เครื่องบินขับไล่ Typhoon ของกองทัพอากาศอังกฤษเข้าสกัดกั้นอากาศยานกองทัพอากาศรัสเซียในเขตรัฐบอลติกมาแล้ว
ซึ่งการเผชิญหน้าระหว่างฝ่าย NATO ที่ส่งกำลังเข้าไปเพิ่มในยุโรปตะวันออกและรัฐบอลติกต่อรัสเซียที่กำลังแทรกแซงสถานการณ์ในยูเครน
จะส่งผลกระทบด้านความมั่นคงของประเทศเป็นกลางอย่างฟินแลนด์และสวีเดนอย่างเลี่ยงไม่ได้ครับ
วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
รัฐบาลยูเครนสั่งจัดหา BTR-4 194คัน
http://news2000.com.ua/news/sobytija/v-ukraine/251308
http://kh.vgorode.ua/news/223361/
แหล่งข่าวภายในยูเครนรายงานว่ากระทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาไทยยูเครนจะมีการจัดหารถหุ้มเกราะล้อยาง BTR-4E จำนวน 154คัน และ 40คัน
Ukraine's new National Guard is set to receive BTR-4 armoured fighting vehicles Source: Ukroboronprom
http://www.janes.com/article/36447/ukraine-national-guard-to-receive-btr-4s
ซึ่งถ้าอ้างอิงแหล่งข่าวของ Jane's เมื่อต้นเดือนเมษายน รัฐบาลรักษาการณ์ของยูเครนมีการจัดตั้งกองกำลังพิทักษ์รัฐและจะจัดหา BTR-4 จำนวน 74คัน
โดยชุดแรก 58คัน แบ่งเป็น BTR-4E รุ่นลำเลียงพล 41คัน BTR-4K และ BTR-4KSh รุ่นบัญชาการ 7 และ 2คัน และ BTR-4S รุ่นกู้ซ่อม 8คัน
แต่จะมีเพียง 29คันเท่านั้นที่ติดตั้งอาวุธและอุปกรณ์ทุกระบบในระดับพร้อมรบ
เป็นที่น่าสังเกตุว่าในขณะที่ยูเครนยังมีรัฐบาลรักษาการและเกิดการปะทะกับกลุ่มแบ่งแย่งดินแดนนิยมรัสเซียในภาคตะวันออกของประเทศนั้น
แต่ยูเครนกลับมีการจัดหา BTR-4E มาเพื่อใช้เป็นการภายในทั้งๆที่รัฐบาลไม่น่าจะมีอำนาจการอนุมัติ หรือโรงงานของ KMDB สามารถผลิตรถได้ในสถานการณ์ขณะนี้
โดยข่าวการจัดหาล่าสุดของ BTR-4 นั้นคืออินโดนีเซียสั่งจัดหาจำนวน 50คันสำหรับหน่วยนาวิกโยธินกองทัพเรืออินโดนีเซีย เมื่อต้นปีที่ผ่านมา
แต่จากสถานการณ์ภายในยูเครนทำให้อินโดนีเซียยกเลิกสัญญาจัดหาไปเมื่อเร็วๆนี้
จึงมีข่าวลือว่ารถ BTR-4E ที่ยูเครนจะจัดหาเองบางส่วนเป็นรถที่มีประเทศสั่งจัดหาผลิตไว้แต่มีการปฏิเสธไม่ส่งรับมอบเช่นของอิรัก
(มีข่าวลืออีกว่ามีรถ BTR-4 ต้นแบบ 5คัน ถูกส่งให้อินโดนีเซียแล้วแต่ไม่มีการยืนยันความถูกต้องเช่นกัน)
แต่อย่างไรก็ตามในสถานการณ์ที่ประเทศเกิดการปะทะระหว่างกองกำลังฝ่ายความมั่นคงรัฐและกลุ่มแบ่งแยกดินแดน รวมถึงการแทรกแซงจากชาติมหาอำนาจ
การจัดหาอาวุธที่ผลิตเองภายในประเทศเท่าที่จะสามารถทำได้เป็นการเร่งด่วนก็เป็นสิ่งที่ยูเครนจำเป็นต้องทำอยู่ดีครับ
http://kh.vgorode.ua/news/223361/
แหล่งข่าวภายในยูเครนรายงานว่ากระทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาไทยยูเครนจะมีการจัดหารถหุ้มเกราะล้อยาง BTR-4E จำนวน 154คัน และ 40คัน
Ukraine's new National Guard is set to receive BTR-4 armoured fighting vehicles Source: Ukroboronprom
http://www.janes.com/article/36447/ukraine-national-guard-to-receive-btr-4s
ซึ่งถ้าอ้างอิงแหล่งข่าวของ Jane's เมื่อต้นเดือนเมษายน รัฐบาลรักษาการณ์ของยูเครนมีการจัดตั้งกองกำลังพิทักษ์รัฐและจะจัดหา BTR-4 จำนวน 74คัน
โดยชุดแรก 58คัน แบ่งเป็น BTR-4E รุ่นลำเลียงพล 41คัน BTR-4K และ BTR-4KSh รุ่นบัญชาการ 7 และ 2คัน และ BTR-4S รุ่นกู้ซ่อม 8คัน
แต่จะมีเพียง 29คันเท่านั้นที่ติดตั้งอาวุธและอุปกรณ์ทุกระบบในระดับพร้อมรบ
เป็นที่น่าสังเกตุว่าในขณะที่ยูเครนยังมีรัฐบาลรักษาการและเกิดการปะทะกับกลุ่มแบ่งแย่งดินแดนนิยมรัสเซียในภาคตะวันออกของประเทศนั้น
แต่ยูเครนกลับมีการจัดหา BTR-4E มาเพื่อใช้เป็นการภายในทั้งๆที่รัฐบาลไม่น่าจะมีอำนาจการอนุมัติ หรือโรงงานของ KMDB สามารถผลิตรถได้ในสถานการณ์ขณะนี้
โดยข่าวการจัดหาล่าสุดของ BTR-4 นั้นคืออินโดนีเซียสั่งจัดหาจำนวน 50คันสำหรับหน่วยนาวิกโยธินกองทัพเรืออินโดนีเซีย เมื่อต้นปีที่ผ่านมา
แต่จากสถานการณ์ภายในยูเครนทำให้อินโดนีเซียยกเลิกสัญญาจัดหาไปเมื่อเร็วๆนี้
จึงมีข่าวลือว่ารถ BTR-4E ที่ยูเครนจะจัดหาเองบางส่วนเป็นรถที่มีประเทศสั่งจัดหาผลิตไว้แต่มีการปฏิเสธไม่ส่งรับมอบเช่นของอิรัก
(มีข่าวลืออีกว่ามีรถ BTR-4 ต้นแบบ 5คัน ถูกส่งให้อินโดนีเซียแล้วแต่ไม่มีการยืนยันความถูกต้องเช่นกัน)
แต่อย่างไรก็ตามในสถานการณ์ที่ประเทศเกิดการปะทะระหว่างกองกำลังฝ่ายความมั่นคงรัฐและกลุ่มแบ่งแยกดินแดน รวมถึงการแทรกแซงจากชาติมหาอำนาจ
การจัดหาอาวุธที่ผลิตเองภายในประเทศเท่าที่จะสามารถทำได้เป็นการเร่งด่วนก็เป็นสิ่งที่ยูเครนจำเป็นต้องทำอยู่ดีครับ
วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
สวิสเซอร์แลนด์ลงประชามติไม่รับการจัดหา Gripen
Swiss Reject Gripen Buy
http://www.bloomberg.com/news/2014-05-18/swiss-reject-world-s-highest-wage-gripen-purchase-srf.html
ผลการลงประชามติของชาวสวิสต่อการที่รัฐบาลกลางสมาพันธรัฐจะจัดหาเครื่องขับไล่ Gripen E/F วงเงิน 3.1 billion-franc ($3.5 billion) ในวันที่ 18 พฤษภาคมนั้น
ผลที่ออกมาคือชาวสวิสลงคะแนนคัดค้านไม่รับการจัดหาอยู่ที่ราวร้อยละ 52-53 ซึ่งนั้นจะเป็นผลให้โครงการจัดหาน่าจะถูกยกเลิกต่อไปในอนาคต
SAAB สวีเดนผู้พัฒนามีความหวังว่าจะขายเครื่องบินขับไล่ Gripen E/F 22เครื่อง ในโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ทดแทน F-5E/F ของกองทัพอากาศสวิสเซอร์แลนด์
แต่การที่ผลประชามติออกมาเช่นนี้ทั้งที่รัฐสภา(Standerat) และชาติสภา(Nationalrat) ของสวิสเซอร์แลนด์ฝ่านมติการจัดหาไปแล้วนั้น
จะทำให้เหลือเพียงโครงการ F-X2 ของบราซิลจำนวน 36เครื่องที่ยังหวังการส่งออกได้ ไม่รวมกับที่กองทัพอากาศสวีเดนจะจัดหาอีกราว 60-70เครื่องครับ
วันอาทิตย์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
โปแลนด์ได้รับมอบ Leopard2A5 ชุดแรก
http://www.altair.com.pl/news/view?news_id=13457
โปแลนด์ได้รับมอบรถถังหลัก Leopard2A5 ชุดแรก 11คันขนส่งมาจากเยอรมนีจากจำนวนที่จัดหา 105คัน และ Leopard2A4 เพิ่มเติมอีก14คัน
Leopard2A5 ที่โปแลนด์จัดหานั้นเดิมเป็นรถที่ประจำการในกองทัพบกเยอรมนีมาก่อน
ซึ่งก่อนหน้านี้โปแลนด์ก็ได้จัดหา Leopard2A4 เข้าประจำการแล้ว 128คัน โดยจะมีการปรับปรุงเป็น Leopard2PL ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
กองทัพบกโปแลนด์จะได้รับมอบ Leopard2A5 ชุดใหม่ครบในราวปี 2015 เพื่อทดแทน T-72 รุ่นเก่าราว 379คันที่จะปลดในปี 2018ครับ
โปแลนด์ได้รับมอบรถถังหลัก Leopard2A5 ชุดแรก 11คันขนส่งมาจากเยอรมนีจากจำนวนที่จัดหา 105คัน และ Leopard2A4 เพิ่มเติมอีก14คัน
Leopard2A5 ที่โปแลนด์จัดหานั้นเดิมเป็นรถที่ประจำการในกองทัพบกเยอรมนีมาก่อน
ซึ่งก่อนหน้านี้โปแลนด์ก็ได้จัดหา Leopard2A4 เข้าประจำการแล้ว 128คัน โดยจะมีการปรับปรุงเป็น Leopard2PL ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
กองทัพบกโปแลนด์จะได้รับมอบ Leopard2A5 ชุดใหม่ครบในราวปี 2015 เพื่อทดแทน T-72 รุ่นเก่าราว 379คันที่จะปลดในปี 2018ครับ
วันศุกร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
SAAB เปิดตัว Radar ตระกูล Giraffe แบบใหม่
Saab's first Giraffe 4A radar
http://aviationweek.com/blog/thats-what-i-call-confidence
SAAB ได้เปิดตัว Radar ตรวจการร์ทางอากาศแบบใหม่ในตระกูล Giraffe หลายแบบ ซึ่งระบบหลักในสายที่ออกมาแล้วคือ Giraffe 4A
ซึ่งเป็น Radar ภาคพื้นดินแบบ AESA(Active Electronically Scanned Array) ที่ใช้ Module ที่สร้างจาก gallium-nitride (GaN) 2,000ตัว
มีข้อมูลว่ามีลูกค้าที่สนใจจัดหาแล้วประเทศหนึ่งซึ่งไม่เปิดเผยจะได้รับมอบระบบภายในปี 2016
และในรุ่นใช้งานทางทะเล Sea Giraffe 4A นั้นมีการวิเคราะห์ว่าจะเป็นรุ่นที่ติดตั้งกับโครงการเรือฟริเกตใหม่ของกองทัพเรือไทยด้วยครับ
http://www.saabgroup.com/en/About-Saab/Newsroom/Press-releases--News/2014---5/Saab-launches-five-new-radars-for-total-air-domain-awareness
http://www.saabgroup.com/Global/Documents%20and%20Images/Campaigns/Radar/product%20folders%20low/Saab_EDS_foldrar_Sea_GIRAFFE_4A_Uppdatering_2_low.pdf
http://aviationweek.com/blog/thats-what-i-call-confidence
SAAB ได้เปิดตัว Radar ตรวจการร์ทางอากาศแบบใหม่ในตระกูล Giraffe หลายแบบ ซึ่งระบบหลักในสายที่ออกมาแล้วคือ Giraffe 4A
ซึ่งเป็น Radar ภาคพื้นดินแบบ AESA(Active Electronically Scanned Array) ที่ใช้ Module ที่สร้างจาก gallium-nitride (GaN) 2,000ตัว
มีข้อมูลว่ามีลูกค้าที่สนใจจัดหาแล้วประเทศหนึ่งซึ่งไม่เปิดเผยจะได้รับมอบระบบภายในปี 2016
และในรุ่นใช้งานทางทะเล Sea Giraffe 4A นั้นมีการวิเคราะห์ว่าจะเป็นรุ่นที่ติดตั้งกับโครงการเรือฟริเกตใหม่ของกองทัพเรือไทยด้วยครับ
http://www.saabgroup.com/en/About-Saab/Newsroom/Press-releases--News/2014---5/Saab-launches-five-new-radars-for-total-air-domain-awareness
http://www.saabgroup.com/Global/Documents%20and%20Images/Campaigns/Radar/product%20folders%20low/Saab_EDS_foldrar_Sea_GIRAFFE_4A_Uppdatering_2_low.pdf
วันอังคารที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
บราซิลตั้งคณะกรรมการติดตามโครงการ FX-2 เพื่อจัดหา Gripen
http://www.defenseworld.net/news/10506/Brazil_Forms_Committee_To_Monitor_FX_2_Project#.U3ExyPl_vEc
บราซิลจัดตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อติดตามโครงการ FX-2 ในการจัดหา Gripen E/F จำนวน 36เครื่องของกองทัพอากาศบราซิล ซึ่งมีการประชุมที่กระทรวงกลาโหมบราซิลเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคมที่ผ่านมา
คณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากกระทรวงการคลัง, กระทรวงการพัฒนา, กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าระหว่างประเทศ, กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม และกระทรวงการต่างประเทศ
จะติดตามประเมินผลโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ FX-2 ในด้านต่างๆ เช่นการจัดตั้งอุตสาหกรรมความมั่นคงแห่งชาติ การถ่ายทอด Technology เป็นต้น ซึ่งจะมีการประชุมทุกๆ 60วัน
ทั้งนี้ระหว่างการจัดหา Gripen E/F สวีเดนจะให้กองทัพอากาศบราซิลเช่า Gripen C 10เครื่อง และ Gripen D 2เครื่อง ใช้เป็นเครื่องขั้นระยะระหว่างการปลดเครื่อง Mirage ในปี 2016-2017
โดยการฝึกบุคลากรในโครงการจะประกอบด้วยนักบิน 10นาย เจ้าหน้าที่ Technic 30นาย และช่างเครื่อง 20นาย
ซึ่งนักบินสองนายจะเริ่มฝึกในอีก2ปีข้างหน้าหลังการลงนามในสัญญาจัดหาราวเดือนธันวาคมปี 2014 นี้ครับ
วันจันทร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
Sikorsky เปิดตัว CH-53K King Stallion เครื่องแรก
เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคมที่ผ่านมา Sikorsky ได้เปิดตัวเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหนัก YCH-53K King Stallion เครื่องต้นแบบเครื่องแรกที่ประกอบเสร็จจากโรงงาน
CH-53K King Stallion เป็น ฮ.ในตระกูล Stallion นับตั้งแต่ CH-53 Sea Stallion (S-65) และ CH-53E Super Stallion (S-80)
โดย CH-53K จะถูกเข้าประจำการในหน่วยบินนาวิกโยธินสหรัฐฯ ทดแทน ฮ.CH-53E รุ่นเก่าที่ใช้มานาน
ซึ่ง CH-53K ได้รับการออกแบบใหม่มีสมรรถนะทางการบินสูงกว่าเช่นการพื้นที่สูงและร้อน การลำเลียงด้วย C-17 และเพิ่มขีดความสามารถในการบรรทุกและเอาตัวรอด
YCH-53K เครื่องต้นแบบมีกำหนดที่จะทำการบินครั้งแรกในราวปลายปีนี้จากจำนวนที่จะสร้าง 4เครื่องโดยจะมีความพร้อมในการปฏิบัติการขั้นต้นในราวปี 2019ครับ
วันเสาร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
F-16D เครื่องแรกสำหรับกองทัพอากาศอิรักเปิดตัวทำการบิน
http://foxtrotalpha.jalopnik.com/iraqs-f-16s-have-a-cool-paint-job-but-antiquated-weapon-1573085398
F-16D Block 52 หรือที่รู้จักในชื่อ F-16IQ สำหรับกองทัพอากาศอิรักเครื่องแรกได้ออกจากโรงงานของ Lockheed Martin และทำการบินทดสอบไปเมื่อไม่กี่วันมานี้
กองทัพอากาศอิรักยุคใหม่นั้นถูกสร้างขึ้นหลังการล่มสลายของระบอบ Saddam หลังสงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งที่2ในปี 2003 ซึ่งอากาศยานเกือบทั้งหมดถูกทำลายราบคาบ
การจัดหา F-16 จากสหรัฐฯจำนวน 18เครื่องวงเงิน $4.3 billion ในปี 2011 และจะจัดหาเพิ่มเติมอีกในวงเงิน $830 million รวม 36เครื่อง ยังไม่นับเครื่องบินฝึกโจมตี T-50 อีก 24เครื่อง
ถือเป็นการเสริมสร้างกำลังของกองทัพอากาศอิรักยุคใหม่หลังจากที่สหรัฐฯและพันธมิตรถอนทหารออกจากอิรักไปแล้ว
อย่างไรก็ตามถึง F-16 ที่อิรักจัดหาจะเป็น F-16C/D Block 52 ก็ตามแต่ก็เป็น F-16 ที่ถูกลดคุณสมบัติต่างๆลงไปอย่างมาก
เช่นอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้และพิสัยกลางจะได้รับมอบ AIM-9L/M Sidewinder รุ่นเก่า และ AIM-7M Sparrow แบบ Semi-Active Radar รุ่นเก่ามาก
รวมถึงอาวุธอากาศสู่พื้นก็จะมีเพียงระเบิดธรรมดา จรวดไม่นำวิถี ระเบิดนำวิถี Laser Paveway และ AGM-65D/G/H/K Maverick เท่านั้น
ถ้าเทียบกับแม้แต่ F-16A/B Block 15 eMLU ที่ผ่านการปรับปรุงของกองทัพอากาศไทยแล้ว F-16 ของอิรักก็ดูด้อยกว่าบ้าง เพราะของไทยมีทั้ง IRIS-T, AIM-120C AMRAAM
นอกจากเรื่องปัญหาการทุจริตของเจ้าหน้าที่รัฐที่ทำให้ถูกโจมตีว่าอิรักจัดหาอาวุธในราคาแพงกว่าปกติแล้ว
ก็ดูเป็นความจริงที่ว่าตะวันตกโดยเฉพาะสหรัฐฯขายอาวุธให้อิรักโดยลดสมรรถนะลงเพื่อลดความเสี่ยงถ้ารัฐบาลอิรักที่นิยมตะวันตกต้องล่มสลายลงและอาวุธตกในมือของฝ่ายตรงข้าม
นั่นก็เป็นสาเหตุที่อิรักหันกลับไปจัดหาอาวุธจากรัสเซียอีกครั้งครับเช่น ฮ.โจมตี Mi-28NE และระบบต่อสู้อากาศยาน Pantsir-S1 เป็นต้นครับ
วันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
ชุดเรื่องสั้น: การ์ตูนไทยรายสัปดาห์ (๔เรื่อง ๔๐บาท)
ประวัติศาสตร์คราวๆของวงการการ์ตูนไทยยุคใหม่เท่าที่ผมทราบมาบ้างเล็กน้อยน่าจะเริ่มต้นขึ้นจากยุคที่วงการการ์ตูนไทยในภาพรวมเข้าสู่ยุคการ์ตูนลิขสิทธิ์เต็มตัว
ซึ่งนอกจากการ์ตูนดังจากญี่ปุ่นที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องในไทยแล้ว
การ์ตูนไทยยุคใหม่ที่เขียนในลักษณะการ์ตูนญี่ปุ่น(manga) ก็เริ่มต้นขึ้นในช่วงใกล้เคียงกันด้วยน่าจะตั้งแต่นิตยสาร
Thai Comic ของวิบูลย์กิจ ในปี ๒๕๓๖
การ์ตูนไทยยุคบุกเบิกที่ลงใน BOOM ของ Nation หรือใน C-Kids ของ Siam Inter Comics ยุคต้นๆ พอเข้าช่วงปี ๒๕๔๐กว่าก็มี Manga Katch ของ B
Boyd CG เริ่มเข้าสู่ยุคทองช่วงปี ๒๕๔๓ เช่น CX, SEED ของ Future View, Comic Quest, Cosmic Comic, Cereal Comix, Let’s
Comic, Adenium Comic เป็นต้น
แต่เข้ายุคปัจจุบันปี
๒๕๕๗ นี้ นิตยสารหลายหัวในข้างต้นจนถึงตัวสำนักพิมพ์เองก็มีได้มีการปิดตัวลงไปมากแล้ว
คำถามคือเกิดอะไรขึ้น? เหตุผลหนึ่งน่าจะมาจากสภาพโดยรวมของตลาดสื่อสิ่งพิมพ์และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป
อีกส่วนหนึ่งก็อาจจะเพราะ...
เรื่องที่ผมจะเล่าต่อไปนี้ผมไม่ได้บอกว่าเป็นเรื่องจริงของใครบางคน
หรือไปฟังใครเขาเล่ามาให้ได้ยินอีกทีนะครับ
อ่านแล้วก็คิดว่าเป็นเรื่องราวสมมุติในโลกจินตนาการอะไรสักอย่างแล้วกันนะครับ
เรื่องที่๑ หน้าที่ต้องเขียน
ผมชื่อปัญจวรรษ แต่แฟนๆนักอ่านการ์ตูนหลายคนจะรู้ผมดีในชื่อ
‘ริวคิโตะ’
นักเขียนการ์ตูนที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งตั้งแต่สมัยที่ผมเปิดตัวผลงานตัวเองในตลาดโดจินเมื่อสักเกือบ
๑๐ปีก่อน (แหม..อย่างมองผมแบบนั้นสิครับ ผมไม่ได้เขียนเรื่อง ‘อย่างว่า’ หรอก)
อาจจะเป็นการอวดตัวไปสักนิด
แต่ปัจจุบันผมได้ทำงานเป็นนักเขียนประจำสำนักพิมพ์สุวรรณสาสน์
ซึ่งเป็นบริษัทมหาชนขนาดใหญ่ที่มีสื่อในสังกัดหลายแขนงทั้ง หนังสือพิมพ์
และการ์ตูนที่ซื้อลิขสิทธิ์จากต่างประเทศ ผมเองก็เขียนการ์ตูนออริจินอลของตนลงตีพิมพ์ในนิตยสาร
NGen-Comic ซึ่งเป็นนิตยสารรายสัปดาห์ที่ลงการ์ตูนของญี่ปุ่น
และเพิ่งจะมีการเพิ่มหมวดการ์ตูนไทยเข้าไปเมื่อสัก ๕ปีก่อน ผมได้รับโอกาสเข้ามาเป็นนักเขียนประจำจากการประกวดนักเขียนมือใหม่ของ
NGen เองเมื่อ ๒ปีก่อน
ซึ่งก่อนหน้านี้ผมก็เคยได้ยินชื่อเสียงของ บก.ชู
ซึ่งเป็นบรรณาธิการของแผนกการ์ตูนไทยที่พยายามผลักดันวงการการ์ตูนไทยมาตลอดกว่า ๑๐ปี
และวิสัยทัศน์ของ คุณ วิโรจน์ หรือ เสี่ยง้วน ซึ่งเป็นฝ่ายบริหารของ NGen ที่ประกาศว่าจะผลักดันการ์ตูนไทยให้ไปสู่ตลาดสากล ทำให้ผมมีความศรัทธาต่อสิ่งที่ผมทำเป็นอย่างยิ่งจากประสบการณ์ตั้งแต่เด็กๆที่ไม่ว่าจะผู้ปกครองหรือครูมองว่าการ์ตูนเป็นเรื่องไร้สาระมาตลอด…แต่สิ่งที่ผมเห็นและเรื่องราวที่เกิดขึ้นต่อไปนี้มันทำให้ผมไม่แน่ใจแล้วละครับ
มันเป็นวันที่ผมจะซื้อ NGen ฉบับล่าสุดที่วางแผงมาเก็บไว้ถึงแม้ว่างานของผมเองจะลงตีพิมพ์แบบสัปดาห์เว้นสัปดาห์ก็เถอะ
และการ์ตูนญี่ปุ่นที่ลงในนั้นผมก็อ่านต้นฉบับจากแผนกแปลมาแล้ว (แฮะๆ)...แต่สิ่งที่ผมพบ
NGen ฉบับนี้ทำให้ผมต้องเดินจ้ำมาหา
บก.ชู ที่แผนกการ์ตูนไทยทันที
“พี่ชู! นี่หมายความไง!” ผมยืน NGen ฉบับล่าสุดให้ชายร่างท้วมในชุดเสื้อเชิ้ทลายทาง
“ทำไมวะไอ้ริว แล้วต้นฉบับมึงละ!?”
“ต้นฉบับเอาไว้ก่อน พี่ดูนี่!”
ผมเปิดหน้าโฆษณาประชาสัมพันธ์ซึ่งข่าวในหน้านั้นมีอยู่ว่า ‘Kraiserdom กำลังจะถูกทำเป็นเกม
RPG’ ซึ่ง Kraiserdom นี้ก็คือเรื่องที่ผมกำลังวาดอยู่และวาดมาได้
๒ปี และก็ออกรวมเล่มหลายฉบับแล้ว บก.ชู หันมายักไหล่ให้ผมนิดหนึ่ง
“ก็ดีนิ? การ์ตูนกูอย่างว่าแต่เป็นเกมเลย
หลายเรื่องตีพิมพ์ไม่ถึงปี รวมเล่มบางเรื่องยังไม่มีเลย...”
“ไม่พี่!
ปัญหามันอยู่ที่ว่าการ์ตูนผมจะเป็นเกมทำไมผมถึงไม่รู้เรื่องละ!?”
“เสี่ยง้วนแกอาจจะอยากเซอร์ไพร์มึงก็ได้นี้หวา”
บก.ชูกกลับไปนั่งที่โต๊ะแล้วพูดกับผมแบบสบายๆ
“ไม่พี่!" ผมมอง บก.ชูด้วยสายตาจริงจัง “ผมไม่ว่าอะไรหรอกถ้าจะเอาการ์ตูนผมไปทำเป็นเกม
ผมดีใจด้วยซ้ำ แต่! ถ้าเขาจะบอกผมก่อน!”
“มันเป็นเรื่องของผู้ใหญ่เขา
มึงก็สงบสติก่อน...” บก.ชูตอบดูเหมือเขาพยายามพูดให้ผมใจเย็นลง
“ไม่! ผมเป็นเจ้าของเรื่องนะ!
ทำแบบนี้มันไม่ได้ให้เกียรติ..”
“งั้นมึงก็ไปคุยกับเสี่ยง้วนเองไป!”
บก.ชูตัดบทการคุยกัน ผมในตอนนั้นซึ่งเลือดขึ้นหน้าก็ตัดสินใจทันที่ว่า
“ได้พี่! ผมจะไปคุยกับเสี่ยง้วน” ก่อนที่ผมจะเดินออกไป
บก.ชู ตะโกนมาหาผมว่า
“เฮ้ย ริว! ต้นฉบับเสร็จยัง”
“วางบนโต๊ะแล้วพี่!” ตอนนั้นไม่มีใครคิดหรอกว่าผมจะไปพบกับเสี่ยง้วนจริงๆ
ผ่านไปสี่วันก่อนที่กำหนดการส่งต้นฉบับของตอนต่อไป
ผมรอการเข้าพบของเสี่ยง้วนเป็นเวลานาน
ทุกวันผมต้องเจอเลขาหน้าห้องหน้าใสและสมองฝ่อพูดให้ผมต้องกลับไปทุกครั้งอย่างเช่น
“วันนี้เสี่ยไปประชุมร่วมกับคณะกรรมการบริษัทนะคะ”
“วันนี้เสี่ยต้องบินไปเจรจาลิขสิทธิ์หนังสือที่ญี่ปุ่นนะคะ”
“วันนี้เสี่ยลาพักไปออกรอบกับเพื่อนค่ะ”
และวันนี้ความพยายามของผมก็สามารถเอาชนะเสี่ยง้วนได้เมื่อเสี่ยยอมคุยกับผมเป็นเวลา
๑๐นาทีในช่วงเย็นก่อนออฟฟิสจะปิด
“เชิญค่ะ คุณปัญจวรรษ” ผมได้ยินคำพูดอื่นจากยัยเลขาสมองน้อยนี่เสียที
“นั่งก่อนสิ!”
หลังจากปิดประตูชายวัยกลางคนร่างสูงรูปร่างค่อนข้างผอม
เชิญผมที่นั่งเก้าอี้หน้าโต๊ะทำงานด้วยน้ำเสียงเป็นมิตร เหมือนกับพนักงานในบริษัทใหญ่ๆทั่วไป
ผมเองแทบจะไม่ได้พูดคุยกับเสี่ยง้วนโดยตรงเลย
นอกจากครั้งล่าสุดที่ผมได้รับรางวัลนักเขียนการ์ตูนหน้าใหม่เมื่อสองปีก่อน
“เอาละ! เข้าเรื่องเลยละกันนะ”
เสี่ยง้วนนั่งลงที่เก้าอี้ทรงสูงตัวใหญ่ มันดูภูมิฐานสมกับคนระดับผู้บริหาร
แต่เสี่ยก็พูดกับผมอย่างค่อนข้างจะเป็นกันเอง
“ผมต้องขอโทษคุณด้วยที่ไม่ได้บอกเรื่องที่จะเอางานของคุณไปทำเป็นเกม”
ผมกำลังจะอ้าปากถามถึงเหตุผลเสี่ยก็พูดต่อทันที
“ต้องเขาใจนะว่าผมเองก็มีงานที่ต้องรับผิดชอบมาก
ผมอาจจะดูแลหรือแจ้งอะไรไปไม่ทั่วถึง ผมต้องขอโทษที่ทำให้คุณไม่สบายใจนะ” มันเป็นคำพูดที่ออกจะเป็นทางการอย่างไรไม่ทราบ
ไม่รู้สิ! เป็นผมเป็นนักเขียนการ์ตูนไม่นักธุรกิจ แต่..ผมรู้อย่างหนึ่งว่า
“จริงๆประเด็นมันคือว่าเรื่องของผมถูกนำไปเจรจากับบริษัททำเกม
โดยที่ทำไมผมไม่ได้รับทราบหรือเข้าประชุมด้วยละครับ”
“คุณควรทราบนะว่า
นั่นเป็นหน้าที่ในการดำเนินธุรกิจของฝ่ายบริหาร การตลาด”
เสี่ยง้วนพยายามอธิบายให้ผมเข้าใจเรื่องของธุรกิจแบบง่ายๆให้นักเขียนการ์ตูนอย่างผมทราบ
“มันไม่ควรจะเป็น อย่างนั้นครับ!” เสี่ยง้วนหยุดนิ่งไปพักหนึ่ง
“...แล้ว”
“มันเป็นงานผม!
ผมควรจะมีสิทธิในการตัดสินใจสิว่าผมจะอนุญาตให้นำงานของผมไปทำอะไรได้บ้าง”
“เดี๋ยวก่อนสิคุณ..”
เสี่ยวง้วนเริ่มโบกมือปราม แต่ผมก็ยังพูดต่อ
ไม่ใช่ให้บริษัทมาตัดสินใจเองโดยที่ไม่มีผมที่เป็นเจ้าของผลงาน..."
"หุบปากนะ! ไอ้เด็กบ้า!!" เสี่ยง้วนลุกขึ้นตวาดใส่หน้าผมดังลั่นห้อง
“ลื้อคิดว่าลื้อเป็นใครวะหา! อั๊วะให้การ์ตูนบ้าๆไร้สาระของลื้อพิมพ์ในหนังสืออั๊วะก็บุญเท่าไรแล้ว!
ลื้อเป็นพนักงานประจำของอั๊วะ! กินเงินเดือนอั๊วะ! อั๊วะจะทำอะไรกับงานลื้อก็ได้! จะบอกให้นะถ้าคิดว่าลื้อรับไม่ได้แล้วจะออกจากที่นี่ก็เชิญเว้ย!
อั๊วะไม่ง้อ! อั๊วะซื้อการ์ตูนญี่ปุ่นมาขายเดือนเดียวได้เงินมากกว่ารวมเล่มการ์ตูนห่วยๆของลื้อทั้งปีอีก!
อย่าว่าแต่ที่นี่เลย ต่อให้สำนักพิมพ์อื่นในไทยหรือที่ญี่ปุ่นเขาก็ใช้ระบบแบบนี้ทั้งนั้น!
อั๊วะไม่ได้ทำการ์ตูนไทยเพื่อช่วยชาตินะโว้ย! ทำเอาเงินเข้าใจไหม! จะบอกให้อีกอย่าง
ทางบอร์ดบริหารข้างบนนะเขาอยากให้อั๊วะยุบแผนกการ์ตูนไทยควายๆไม่ทำกำไรนี้นานแล้วโว้ย!
แต่เห็นแก่ว่าลื้อเป็นเด็กใหม่ มาคุยกับอั๊วะตรงๆ
อั๊วะจะยังใจดีไม่ไล่ลื้อออก ออกจากห้องอั๊วะไปได้แล้วไป!”
ตอนนั้นผมรู้สึกชาไปหมดหลังจากออกจากสำนักพิมพ์ขึ้นรถเมล์กลับหอพักดื่มเบียร์ย้อมใจสักสี่กระป๋อง
แต่ผมก็ยังเบลอและงงกับสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ดี มันชัดเจนขึ้นอีกครั้งเมื่อวันรุ่งขึ้นผมเข้าไปที่แผนกการ์ตูนไทย
บก.ชู รอผมอยู่
“มึงไปทำบ้าอะไรมาเมื่อวาน!”
เขาถามผมด้วยน้ำเสียงไม่เป็นมิตรแววตาแข็งกร้าว
“คิดว่าตัวเองดังเลยปีกกล้าขาแข็งได้ใช่ไหม!”
บก.ชูพูดใส่ผมเป็นชุด
"ทำอะไรไว้นะคนซวยนะกูเว้ย!
กูยังมีเมีย มีลูกจะขึ้น ป.๓ กับหมาอีก ๒ตัวที่ต้องดูแล
กูยังไม่อยากตกงานเพราะมึงนะโว้ย! หรือว่าอยากให้กูสั่ง 'ตัดจบ' เรื่องของมึงดีละ
จะได้รู้สำนึกว่าที่นี่ใครใหญ่!”
ผมเคยได้ยินเรื่องราวของ บก.ชู
ที่นักเขียนรุ่นเดียวกันที่เลิกเขียนไปบ้างแล้วเล่าไว้เกี่ยวกับพฤติกรรมบางอย่างของเขา
ตอนนี้ผมพอจะรู้แล้วละว่าจริงๆแล้วเขาคืออะไรกันแน่?
“อ้อ! ต้นฉบับเสร็จยัง?”
บก.ชูพูดเรื่องประจำนี้อีกครั้ง
“ยังเหลืออีก ๖หน้าครับ”
“ทำให้เสร็จภายในบ่ายสองวันนี้!”
บก.ชูก็ยักไหล่แล้วเดินจากไป หลังจากนั้นผมก็ไม่เคยเรียกเขาว่า
‘พี่’ และเขาก็ไม่เคยคุยกับผมอีกเลย ยกเว้นเรื่องงาน ผมนั่งลงที่โต๊ะ
หยิบกระดาษขาวเอ๔ ดูเนมที่ทำไว้แล้ว ร่างภาพ เอาจีเพ็นจุมหมึก
ตัดเส้น...ยังเหลืออีก ๖หน้าที่ต้องทำ!
เรื่องที่๒ เขียนมาอย่างอยาก
ขอแนะนำให้รู้จัก "New Think Publication" หรือ NTP สำนักพิมพ์น้องใหม่ที่ก่อตั้งโดยกลุ่มคนรุ่นใหม่
พวกเขากำลังรับสมัครเฟ้นหานักเขียนการ์ตูนไทยรุ่นใหม่ที่พร้อมจะพัฒนาวงการการ์ตูนไทยให้ก้าวหน้าด้วยผลงานแนวใหม่นอกกรอบ
และนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับสำนักพิมพ์นี้เมื่อมีนักเขียนใหม่ส่งผลงานเข้ามาสมัครด้วยตนเองรายหนึ่ง
หนุ่มร่างเล็กผมสั้นอายุน่าจะเพิ่ง ๒๐ต้นๆ
เดินเข้ามาพบกับหัวหน้า บก.นิตยสารการ์ตูนหัวใหม่ของ NTP ที่กำลังจะเปิดตัวเร็วนี้
“พี่ชื่อติ๊กนะ ไหนแนะนำตัวเองหน่อยสิ"”บก.ร่างท้วมซึ่งเป็นอดีตนักเขียนที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งในวงการเอยปากขึ้น
“ผมไม่ขอบอกชื่อจริงเพราะผมมีโจทก์เยอะ
เรียกผมว่า 'Tentacle
Night' แล้วกัน”
มาอีกแล้วพวกติสต์แตก...บก.ติ๊กคิดในใจ
“โอเค
ไหนเอางานที่น้องจะเสนอมาให้ดูสิ” บก.ติ๊กรับซองเอกสารสีน้ำตาลเปิดออกอ่านต้นฉบับ
หน้าแรกเป็นหน้าสีภาพกลุ่มเด็กสาววัยประถมน่ารักสามคน ซึ่งจัดได้ว่าทั้งลายเส้น
การลงสี และการวางองค์ประกอบอยู่ในระดับมืออาชีพทีเดียว
“อืม...วาดได้ดีนี้!
ปีนี้น้องอายุเท่าไร” เด็กหนุ่มเจ้าของงานเงียบไปสักครู่ก่อนจะตอบแบบไม่เต็มใจ
“๒๖”
“ตอนนี้เรียนหรือทำงานอยู่ที่ไหน”
บก.ติ๊กอ่านงานไปที่ละหน้าอย่างรวดเร็วแต่ก็จับรายละเอียดทุกส่วนได้ครบถ้วน
“..เป็นพนักงานคอมพิวเตอร์...ของธุรกิจส่วนตัวของที่บ้าน” ชายหนุ่มดูเหมือนว่าจะไม่อยากตอบคำถามเรื่องส่วนตัวมากนัก
เขาจึงนั่งเงียบๆ แต่ บก.ติ๊กเดาทันทีว่า อ้อ! พวกอยู่กับบ้านเฉยๆไม่มีงานประจำทำ
บก.ติ๊กได้งานเรื่องสั้นจนครบ
๖๔หน้า แล้วคิดในใจ โอ้! ตายแล้ว มันเอาบ้าอะไรมาให้กูอ่านว่ะ! ถ้าจะให้กล่าวตามตรงแล้วเนื้อหาของงานเรื่อนี้คือ...เด็กสาววัยประถมสามคนที่เล่นเป็นนางพยาบาลแล้วมีเพศสัมพันธ์แบบกามวิปริตวิตถารกับพี่ชายของพวกเธอเอง!
แล้วจบด้วยการที่พี่ชายจับเด็กสาวนั่งเก้าอี้ไฟฟ้า!
แล้วน้องสาวเอามีดดาบแทงฆ่ากันเลือดสาดใส้ทะลัก! ใช่! มันคือการ์ตูนโป๊แนวเลือดสาด!!
หนุ่มผมสั้นเจ้าของงานเอยปากขึ้นหลังจากที่
บก.ติ๊ก อ่านหน้าสุดท้ายจบ
“เป็นไงบ้าง” บก.ติ๊กใช้ความคิดชั่วครู่ก่อนที่ก่อนจะพูด
“น่าเสียดายนะ...น้องมีฝีมือในการวาดที่ดีมาก
แต่น้องน่าจะวาดเรื่องอื่นที่มัน...เออ...ดีกว่านี้” ชายหนุ่มชักสีหน้าทันที
มีเสียงหัวเราะในลำคอ เขามอง บก.ติ๊กด้วยแววตาที่เหยียดหยัน
“หึหึหึ
คุณก็เหมือนกับที่อื่นๆที่ผมเคยไปนั่นแหละ เป็นพวกไดโนเสาร์เต่าล้านปี!”
“มันไม่ใช่เรื่องนั้นนะ” บก.ติ๊กแย้ง
“คือไอ้งานแบบนี้มันลงตีพิมพ์ไม่ได้...ซึ่งมันเกี่ยวกับหลายๆเรื่องเช่นกฎหมาย...”
“เหอะๆ! เพราะว่าไอ้ประเทศเน่าๆอย่างไทยนี่มันมีข้อจำกัดเยอะคุณถึงต้องยอมมันงั้นเหรอะ?
ทำไมที่ญี่ปุ่นที่วงการการ์ตูนเขาเจริญกว่าไทยมากๆเขาทำเรื่องพวกนี้ขายได้ละ?”
หนุ่มผมสั้นเริ่มออกอาการชวนตีรวนเอาสีข้างเข้าถู ป่วยการจะอธิบายเหตุผลกับคนพรรค์นี้
บก.ติ๊กจึงพูดตัดบทไปว่า
“ทำไม!? คุณ 'อยาก' นักเหรอะ!” ชายหนุ่มหน้าบึ้งคิ้วขมวดเกร็ง
ตอนนี้เขาดูไม่ต่างอะไรกับเด็กตัวเล็กๆที่โกรธเพราะไม่ได้ดั่งใจ เขากระชากผลงานที่เขาเชื่อว่าเขาใช้พลังอันสูงส่งในการสร้างเก็บใส่ซอง
แล้วพูดเหมือนคำรามในลำคอพร้อมสบถใส่ บก.ติ๊ก
“ถุย! ไอ้กาก! จะบอกให้นะทีหลังอย่ามาบอกใครต่อใครว่าจะพัฒนาวงการหน่อยเลย
เชิญจมปลักย่ำอยู่กับประเทศไทยที่กำลังจะล่มสลายนี่ต่อไปเถอะ!” เขาสบัดก้นเดินเอาส้นเท้ากระแทกพื้นเสียงดังตึงตังจากไป
แน่นอนไม่มีใครในกอง บก.อยากให้เขากลับมา!
เรื่องที่๓ ยังเขียนไม่จบแต่ต้องจบ
“น้าๆ ขอตังส์หน่อย”
เด็กชายในชุดนักเรียนผิวคล้ำอายุประมาณ ๑๐กว่าขวบแบมือขอเงินจากชายหนุ่มร่างสูงผมประบ่าใส่เสื้อเชิ้ทลายตารางที่ริมถนนย่านธุรกิจใจกลางเมือง
"ขอบคุณครับน้า"
เขาให้เงินเด็กคนนั้นไป ๒๐บาท มืออีกข้างของเขาถือกระเป๋าใส่แฟ้มเอกสาร หลังจากนั้นเขาก็เดินไปอีกสัก
๓๐มตรเพื่อจะเข้าสำนักงาน
"เฮ้ย! ไอ้เติ้ล!
มึงไปให้เงินมันทำไมว่ะ!?" ชายร่างท้วมใส่แว่นตาสี่เหลี่ยมสวมเสื้อสีแสดเรียกเขาจากข้างหลัง
เขายกมือไหว้
“หวัดดีครับพี่โจ๋ย”
ชายร่างท้วมรับไหว้รุ่นน้อง
“มึงก็รู้นี่ว่าไอ้เด็กพวกนี้มันหนีเรียนมาเล่นเกมส์
เงินหมดมันก็มาไล่ไถ่เงินเอากับคนแถวนี้” ชายร่างท้วมพูดพลางขยับแว่นไป
“ก็ถือว่าทำบุญละครับ
เรามีเราก็ให้เขา” เขาพูดเจือยิ้มหน่อยๆ “แล้ววันนี้พี่ก็มาที่สำนักพิมพ์ด้วยหรือครับ”
เขาถาม
“ก็ บก.เขาเรียนนักเขียนปะจำที่ลง XP มาทุกคน
กูก็ต้องมาอยู่แล้ว” ชายร่างท้วมตอบ แต่เขาก็ยังรู้สึกสงสัยอยู่เล็กน้อย
“แล้ว
บก.เขาเรียกเรามาด่วนกลางเดือนนี้เรื่องอะไรละครับ” ชายร่างท้วมขยับแว่นเล็กน้อย
“กูว่ากูพอรู้นะ” ก่อนที่ทั้งคู่จะเดินเข้าประตูใหญ่ของสำนักงานสำนักพิมพ์
World Continental Book (WCB) ทั้งเขาและพี่โจ๋ยต่างเป็นนักเขียนประจำของ
XPerience นิตยสารการ์ตูนไทย
รายปักษ์ ที่ลงผลงานของนักเขียนประจำ ๕เรื่อง สิ่งที่พี่โจ๋ยต่างจากเขาคือ
พี่โจ๋ยเป็นนักเขียนรุ่นเก๋าในวงการที่เคยมีผลงานตีพิมพ์ลงหนังสือมาแล้วก่อนหน้านี้สองสำนักพิมพ์ แต่เขาเพิ่งจะมีผลงานลงตีพิมพ์ประจำที่
XP เป็นที่แรก
เขาก็เหมือนกับนักเขียนหน้าใหม่ที่เริ่มจากการส่งผลงานเรื่องสั้นไปยังสำนักพิมพ์ต่างๆและหวังว่าจะได้รับการตีพิมพ์
หลายปีที่ผ่านมานั้นเขาทุ่มเทกับการ์ตูนอย่างหนัก
ถึงแม้ว่าทางบ้านจะไม่สนับสนุนเพราะมองว่ามันเป็นอาชีพที่ไม่มีความแน่นอนก็ตาม แต่การที่เขาได้เขียนเรื่องยาว
‘วินมอร์เตอร์ไซค์ใจสิงห์’ ลง XP นั้นเขาได้แสดงให้ทางบ้านเห็นว่าเขาประสบความสำเร็จและสามารถเลี้ยงชีพด้วยการเขียนการ์ตูนได้ แต่ทว่า...
“ผมต้องเรียนตามตรงนะครับว่า
ทางผู้ใหญ่ตัดสินใจแล้วว่า XP จะปิดตัวลงในเล่มที่ ๒๔แล้วครับ”บก.ผู้ดูแลนิตยสาร
XP กล่าวในที่ประชุมกับนักเขียนประจำกับพนักงานที่เกี่ยวข้อง
“เพราะฉนั้นหลังจากเล่มที่ ๒๒
ออกไปในวันที่ ๑๖นี้ ในส่วนของนักเขียนก็ไปเขียนปิดเรื่องของพวกคุณภายในสองตอนสุดท้ายที่จะลงเล่ม
๒๓ กับ ๒๔นี้นะครับ”
อะไรกัน!!? เขาคิดด้วยความตกใจและงุนงน
“กูไม่แปลกใจเลยว่ะ!”
พี่โจ๋ยพูดกับเขาขณะรับประทานอาหารที่ร้านข้าวมันไก่ซึ่งมากินประจำเวลามาติดต่องานกับ
WCB
“มึงคิดดูกูเคยไปคุยกับสายส่ง
หนังสือส่งคืนกลับเพียบ! ร้านหนังสือแถวบ้านกูก็ไม่มีรับมาขายสักร้าน
แล้วมันจะไปรอดได้ยังไง!”
“แล้วพี่จะเอาไงต่อละครับ”
เขาถามรุ่นพี่ซึ่งมีประสบการณ์ในวงการมานาน
“ต้นเดือนนี้กูพึ่งไปสมัครตำแหน่งกราฟิกบริษัทโฆษณามา
เขารับกูแล้วด้วย เดือนหน้าก็เริ่มงานได้” ชายแว่นร่างท้วมดื่มน้ำโอเลี้ยงแก้คอแห้ง
“แล้วเรื่อง 'ก๊วนจิ๋วจอมซ่าสยบสงครามเวหา' ของพี่ละ”
เขาถามชายร่างท้วมที่กำลังเติมน้ำเปล่าลงในแก้ว
“เฮ้ย! จะไปยากอะไร กูมีตอนสต็อกไว้สองสามตอน
ก็ลงๆให้มันจบแค่นั้น” พี่โจ๋ยขยับแว่นและจิบน้ำไปพลางพูดไปพลาง
“นี่กูจะบอกอะไรมึงให้ไอ้เติ้ล!
กูไม่ได้เจอเรื่องพวกนี้ครั้งแรก สำนักพิมพ์แรกที่กูอยู่ก็เป็นพวกอยู่ไปวันๆ
เขียนไปก็ไม่เจริญ พอกูออกมาลงอีกสำนักพิมพ์แม่งนึกจะปิดก็ปิดเฉยไม่บอกไม่กล่าว!
ที่ WCB นี่ถือว่าดีกว่าเยอะ
มีตั้งหลายเรื่องที่กูเขียนไม่จบ
แต่กูก็ทิ้งไปเขียนเรื่องใหม่เลยเพราะมันไม่ได้สำคัญอะไร ไปทำอย่างอื่นก่อนแล้วค่อยดูโอกาสหาที่เขียนใหม่ก็ได้
แต่พูดตรงๆนะกูเบื่อเต็มทีแล้ว กูอาจจะเลิกไปเลยก็ได้”พูดจบพี่โจ๋ยก็ดื่มน้ำจนหมดแก้ว เขานิ่งและถอนหายใจเบาๆ
“แต่ผมทำอย่างนั้นไม่ได้...เรื่อง'วินมอร์ไซค์ฯ' ยังไปได้อีกหลายร้อยตอน...”
เขาหยุดคิดอีกสักครู่
“ผมทุ่มเทไปมากหลายปีกว่าจะให้ทางบ้านยอมรับได้
ถ้าหยุดไปคราวนี้ไม่รู้ทางบ้านจะยอมอีกหรือเปล่า...” เขาถอนหายใจอีกครั้ง
“ผมฝันมาตลอดชีวิตว่าจะเป็นนักเขียนการ์ตูน
ผมไม่อยากทำอย่างอื่นนอกจากเขียนการ์ตูน”
“มึงจะบ้าเหรอะว่ะไอ้เติ้ล!?” พี่โจ๋ยขึ้นเสียงใส่เขา
“คนเราต้องหาเงินมาซื้อข้าวกินนะเว้ย
ไอ้ความฝันอย่างเดียวมันไม่ได้ช่วยทำให้ท้องมึงอิ่มหรอก!” ชายแว่นร่างท้วมเคี้ยวก้อนน้ำแข็งตอบอย่างไม่ยี่ระ
“ทำตัวให้เหมือนแมลงสาบซิ
ปรับตัวง่ายตายยาก! ดูกูนี่ตกงานก็ไปหางานใหม่ทำแค่นั้น” พี่โจ๋ยขยับตัวมาตบบ่าเขาเบาๆ
“ขืนมัวแต่เลือกแต่งานที่อยากทำก็อดตายพอดี
ไม่งั้นมึงก็ได้แต่ต้องเกาะพ่อเกาะแม่กินต่อไป!”
“น้าๆ ขอตังส์หน่อย”
ผ่านไปสามเดือนเขาเจอเด็กชายในชุดนักเรียนผิวคล้ำคนเดิมอีกครั้ง
แต่คราวนี้เขาเดินจากไปโดยไม่ให้เงิน มีเสียงตะโกนเล็กๆจากเด็กชายคนนั้นไล่หลังเขามาว่า
“ไอ้เหี้ยเอ๊ย!”
เรื่องที่๔ เรื่องนี้เคยเขียนส่งไปนานแล้ว
เมื่อสัก
๑๐กว่าปีก่อนมีนักเรียนชายวัยรุ่น ม.๔ คนหนึ่งอาศัยอยู่ในหมู่บ้านชนบทของจังหวัดเลย
เขาเป็นคนชอบเครื่องบินรบมาก แล้วก็ชอบเขียนการ์ตูน แน่นอนการ์ตูนเรื่องโปรดของเขาก็จะเป็นการ์ตูนสงครามทางอากาศอย่าง
Area 88 (คลาสสิคมาก)
เขาอยากเป็นนักเขียนการ์ตูนที่เขียนเรื่องเกี่ยวกับสงครามทางอากาศของไทยบ้าง
เขาเลยเขียนการ์ตูนเรื่อง ‘มัจจุราชเวหา’ เป็นเรื่องเกี่ยวกับนักบินนิรนามในสงครามลับในลาวสมัยสงครามเวียดนาม เป็นเรื่องสั้นยาว
๔๐หน้าอย่างทุ่มเทมาก ถึงแม้เขาจะใช้ปากกาพิกมาวาดบนกระดาษถ่ายเอกสารขาวธรรมดา
ไม่ได้ใช้หัวจีเพ็นราคาแพง หมึกนำเข้าจากญี่ปุ่น กระดาษสำหรับเขียนการ์ตูนโดยเฉพาะ
และสกรีนโทนราคาแพงๆก็ตาม พอเขียนจบแล้วเขาได้อ่านเจอจากนิตยสารการ์ตูนรายสัปดาห์หัวหนึ่งที่ไปซื้อมาตอนเข้าไปเรียนตัวเมือง(ไม่ได้ซื้อประจำทุกเล่ม)
ว่าในเล่มลงการ์ตูนไทยและมีหน้าประกาศรับผลงานเรื่องสั้นขนาดไม่เกิน ๔๐หน้าของนักเขียนจากทางบ้าน
‘เราสร้างนักเขียนชื่อดังมาแล้วหลายคน
และคุณอาจจะเป็นคนต่อไป’
ข้อความนี้ทำให้เด็กหนุ่มมีความหวังมาก
พอถึงช่วงปิดเทอมเดือนตุลาคม เขาโทรศัพท์จากตู้โทรศัพท์ในตลาดไปติดต่อนัดกองบรรณาธิการการ์ตูนไทยจากนิตยสารหัวนั้นตอน
๑๐โมงเช้ากว่าๆ
“คลิ้ก(เสียงยกหูโทรศัพท์)
ฮัลโหล?”
“สวัสดีครับ กอง
บก.การ์ตูนไทย ใช่ไหมครับ”
“ใช่!”(เสียงพูดแบบห้วนๆแสดงความเบื่อหน่ายสุดๆ)
“ผมจะมาเสนองานนะครับ
ไม่ทราบว่า...”
“มาสัปดาห์หน้าสักบ่าย๑
เลือกเอาวันไหนก็ได้!” (พูดแบบรีบๆแสดงถึงความเบื่อสุดขีด)
“เออ..งั้นวันอังคารสัปดาห์หน้าแล้วกันครับ
เออ คือไม่ทราบว่า...”
“คลิ้ก!(เสียงกระแทกวางสายโทรศัพท์)
ตู้ดๆๆๆ...”
เด็กหนุ่มจดวันนัดหมายลงในปฏิทินอย่างตื่นเต้น
เตรียมตัวต้นฉบับเก็บใส่ซองเอกสารอย่างดี ซื้อตั๋วรถทัวร์เดินทางออกจากจังหวัดเลยไปสำนักพิมพ์ที่กรุงเทพฯตั้งแต่ตี๒
แต่เด็กหนุ่ม ม.ปลายไม่ได้เฉลียวใจเลยว่ามันมีอะไรทะแม่งๆตั้งแต่ตอนโทรศัพท์นัดแล้ว
ในวันนัดดูงานที่กรุงเทพฯ
เด็กหนุ่มเดินขาลากเพราะนั่งรถเมล์มาลงผิดป้ายทำให้ต้องเดินไกลกว่าจะถึงสำนักพิมพ์บริษัทมหาชนยักษ์ใหญ่ติดถนนใหญ่
แลกบัตรกับ รปภ.และขึ้นลิฟท์ไปชั้นที่ ๒๕ แล้วเขาก็รออยู่สัก
๒๐กว่านาทีในตอนบ่าย๑เป๊ะว่าจะมีใครมาออกมารับเขาหรือไม่ ไม่มี! เขาเดินวนๆดูรอบชั้นนี้ของตึกจนกระทั้งเจอกองบรรณาธิการการ์ตูนไทยเป็นสำนักงานเล็กๆมีพนักงานทำงานอยู่ราว
๑๐กว่าคน
พอเด็กหนุ่มเปิดประตูเขาไปในกอง
บก. บางคนก็ก้มหน้าวาดต้นฉบับ บางคนนั่งจับกลุ่มคุยกัน แต่ไม่มีใครสนใจเขาเลย
เด็กหนุ่มรู้สึกตื่นเต้นมากที่เห็นการทำงานของนักเขียนการ์ตูนจริงๆเป็นครั้งแรก
เขาเดินวนไปรอบๆกอง บก.จนกระทั้งมีพนักงานในกอง
บก.คนหนึ่งรู้สึกถึงตัวตนของเด็กหนุ่ม มันเดินเข้ามาหาเด็กหนุ่มแล้วพูดกึ่งตะคอกใส่เขา
“น้องมาทำอะไร!?” เด็กหนุ่มตอบว่า
“เออ...มาเสนองานครับ”
มันทำหน้าเหย่เกแล้วหันไปตะโกนคุยกับพวกเพื่อนของมันว่า
“เฮ้ยไอ้...มีเด็กมาเสนองานนัดไว้ตั้งแต่เมื่อไหรวะ!?”
“กูไม่รู้เว้ย! ไอ้...”
พวกมันคนหนึ่งตะโกนสวนตอบกลับมา มันมองเด็กหนุ่มอย่างเหยียดๆแล้วพูดกึ่งตะคอกสำทับว่า
“มาเสนองานทีหลังอย่างเดินดุ่มๆเข้ามาเอง
โทรฯนัดก่อนสิน้อง!”
“...ก็ผมนัดพวกพี่ไปตั้งแต่อาทิตย์ที่แล้วนี่ครับ?”
มันไม่สนใจ มันชี้นิ้วไปที่โต๊ะตัวหนึ่งบอกให้เด็กหนุ่มนั่งลง
เด็กหนุ่มกุลีกุจอเปิดกระเป๋าเดินทางและวางต้นฉบับผลงานของตนเองบนโต๊ะต่อหน้ามัน
“เขียนมากี่หน้า?”
มันถามเด็กหนุ่มแบบห้วนๆ
“๔๐หน้าครับ”
“สำหรับเรื่องสั้นจากทางบ้าน
เรารับ ๒๐หน้าเท่านั้น!” พอมันพูดจบเด็กหนุ่มก็หน้าเหวอ
“เดี๋ยวสิครับพี่
ก็ใน(ชื่อนิตยสาร)เล่มนี้ลงว่าไม่เกิน ๔๐หน้าไม่ใช่หรือครับ?”
เด็กหนุ่มยืนนิตยสารการ์ตูนที่ลงกติกาในการรับผลงานให้มัน
“เล่มนี้มันตั้งแต่เดือนมีนาคมแล้ว! เขาเปลี่ยนรายละเอียดใหม่แล้ว!” มันตอบกลับด้วยการตะคอก
“อ้าว!
แล้วผมจะไปรู้ได้ไงครับพี่?” เด็กหนุ่มตอบมันไปแบบซื่อๆ
“ทำไมไม่ศึกษาข้อมูลมาก่อน! อินเตอร์เนทก็มีไม่ใช่เรอะทำไมไม่ไปดู?”
เด็กหนุ่มตัวแข็งด้วยความโกรธ ผมอยู่บ้านนอกไม่มีอินเตอร์เนทหรือคอมพิวเตอร์ให้ใช้ครับ! แล้วมันก็พูดตะคอกใส่เขาต่อเป็นชุด
“น้องไม่เคารพกติกาเท่ากับไม่เคารพเรา
อย่างนี้ทำงานด้วยกันไม่ได้หรอก! น้องไปที่อื่นเถอะไป!”
“...แล้วจะไม่ดูงานผมหรือครับ”
“ไม่ดู!!”
มันพูดตัดรอนน้ำใจเด็กหนุ่มอย่างเด็ดขาด
เขาเดินทางจากเลยเข้ากรุงเทพฯเพื่อมาเจอกับเรื่องแบบนี้หรือ?
เด็กหนุ่มโกรธและเสียใจมาก เขาเก็บผลงานของเขาใส่กระเป๋าเดินทางเพื่อออกจากกอง
บก.ไป แต่ก่อนจะไปนั้นมีมันตัวหนึ่งที่น่าจะเป็นหัวหน้า บก.เดินมาหาเขาและพูดด้วยน้ำเสียงเรียบเฉยว่า
“เดี๋ยวผมจะไปส่งน้องให้นะครับ” เหมือนจะทำเป็นมีน้ำใจ
แต่เด็กหนุ่มตอบกลับเป็นภาษาถิ่นไปว่า
“บ่ต้องครับ! ไล่กันเหมือนหมูเหมือนหมาแล้ว ผมไปต่าวเองได้”
สิบกว่าปีผ่านไปเด็กหนุ่มคนนั้นได้สอบเข้าโรงเรียนนายเรืออากาศ
และปัจจุบันเป็นนักบินเครื่องบินขับไล่ยศเรืออากาศเอก ทุกครั้งที่เอยถึงเรื่องการเสนองานการ์ตูนครั้งนั้นเขาจะพูดประมาณว่า
“ถ้ารู้ว่าจะโดนแบบนี้แต่แรก
กูไม่น่าไปเสียเวลาไร้สาระกับพวกมันเลย!”
…
อย่างที่กล่าวไปในข้างต้นครับว่า
อ่านจบแล้วก็คิดเสียว่า เป็นเรื่องราวสมมุติในโลกจินตนาการอะไรสักอย่างแล้วกันนะครับ
ขอบคุณครับ