Redesign for Spain's troubled S 80 programme ready by end of 2015
The Spanish Navy expects to have a definitive redesign for its S 80 submarine programme ready by the end of 2015. Source: Navantia
http://www.janes.com/article/53241/redesign-for-spain-s-troubled-s-80-programme-ready-by-end-of-2015
กองทัพเรือสเปน(Armada)ได้แถลงอย่างเป็นทางการถึงปัญหาความล่าช้าในโครงการเรือดำน้ำแบบ S80 ว่าการออกแบบตัวเรือใหม่จะมีกำหนดเสร็จสิ้นภายในสิ้นปี 2015 นี้
ตามที่ พลเรือโท Fernando Zumalacarregui ผู้บัญชาการฐานทัพเรือดำน้ำกองทัพเรือสเปนที่ Cartagena กล่าวว่า ทาง Navantia ผู้ออกแบบสร้างเรือจะกลับมาสร้างเรือต่อได้ตามสายการผลิตปกติภายในปี 2016
โดยทางบริษัท Navantia สเปนเองก็ได้ยืนยันตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคมว่า "การออกแบบใหม่ดูเหมือนจะเสร็จ(ภายในสิ้นปีนี้) แม้ว่ายังไม่มีการกำหนดวันส่งมอบเรือ"
ทั้งนี้พลเรือโท Zumalacarregui ได้ให้ความเห็นเพิ่มว่า "กองทัพเรือสเปนกำลังผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบาก" ต่อสื่อในงานสวนสนามภายในเมือง Cartagena ซึ่งเป็นสถานที่ที่เรือแบบ S80 ถูกสร้างควบคู่ไปกับฐานทัพเรือดำน้ำ
โครงการเรือดำน้ำแบบ S80 ของกองทัพเรือสเปนซึ่งกำลังมีการก่อสร้างตัวเรือและติดตั้งอุปกรณ์ทั้ง 4ลำในอู่ ได้ประสบปัญหาความล่าช้ามานานหลายปี ก่อนจะมีการกลับมาเริ่มสร้างใหม่อีกครั้งหลังเสร็จสิ้นการออกแบบใหม่ภายในสิ้นปีนี้
โดยเหตุผลหลักที่ทำให้เกิดความล้าช้าขึ้นคือการพบปัญหาเรื่องน้ำหนักและสมดุลของเรือ ซึ่งเป็นปัญหาที่อันตรายร้ายแรงมากสำหรับเรือดำน้ำ ทำให้เดิมที่การส่งมอบเรือดำน้ำทั้ง 4ลำควรจะเป็นตั้งแต่ปี 2012 ต้องล่าช้าออกไป
ซึ่งความเห็นสุดท้ายของพลเรือโท Zumalacarregui ถูกเชื่อว่าเป็นการออกมาให้ข้อมูลเป็นครั้งแรกของนายทหารระดับสูงของกองทัพเรือสเปนเกี่ยวกับโครงการนี้ต่อสาธารณชน
รัฐบาลสเปนได้อนุมัติวงเงินเพิ่มเติมสำหรับค่าใช้จ่ายของโครงการที่สูงขึ้นอีก 759 million Euros ไปแล้วตั้งแต่ปลายปี 2014 โดยรัฐมนตรีกลาโหมสเปน Pedro Arguelles หวังว่าการส่งมอบเรือดำน้ำ S80 ขั้นแรกควรจะเริ่มได้ในปี 2018
แต่ทั้งนี้รัฐมนตรีกลาโหมสเปน Arguelles ก็ได้กล่าวว่ายากที่จะคาดการณ์ได้ และหวังว่างบประมาณขั้นต้นของโครงการจะไม่เกินวงเงิน 2.1 billion Euros ไปมากกว่านี้แล้วครับ
วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
Gryf อากาศยานไร้คนขับทางยุทธวิธีใหม่ของโปแลนด์จะมีพื้นฐานจากแบบของอิสราเอล
Thales Watchkeeper WK450 Remotely Piloted Air System (RPAS)
The new Polish Tactical UAV will be based on Israeli technology
http://i-hls.com/2015/07/the-new-polish-tactical-uav-will-be-based-on-israeli-technology/
Thales และ WB Electronics ได้ลงนามความร่วมมือในการพัฒนาสร้างอากาศยานไร้คนขับทางยุทธวิธีแบบ Gryf (Grifon) ให้โปแลนด์ในวันที่ 8 กรกฎาคม 2015
โดยมีพื้นฐานทาง Technology จากประสบการณ์ของ Thales ในการพัฒนา UAV แบบ Watchkeeper WK450 ให้กองทัพบกอังกฤษ ซึ่งมีพื้นฐานจากระบบ Elbit Hermes 450 ของอิสราเอล
จุดประสงค์สำคัญของโครงการนี้คือการปรับปรุงกองทัพโปแลนด์ให้ทันสมัยขึ้นด้วยการจัดหา UAV ทางยุทธวิธีพิสัยกลางมาใช้งาน ตามความต้องการของกระทรวงกลาโหมโปแลนด์
จากการเจรจาเป็นเวลาสามปีโปแลนด์ต้องการที่จะสร้าง UAV เองในประเทศด้วยอุตสาหกรรมภายในประเทศของตน โดยเป็นสัญญาลงนามแบบรัฐต่อรัฐ(G to G)
Thales UK Watchkeeper WK450 เป็นระบบอากาศยานไร้คนขับทางยุทธวิธีแบบปฏิบัติการได้ทุกกาลอากาศ ที่เริ่มการพัฒนาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2005
สำหรับภารกิจข่าวกรอง ตรวจการณ์ ชี้เป้าหมาย และลาดตระเวน (ISTAR: Intelligence, Surveillance, Target Acquisition and Reconnaissance)
ซึ่งกองทัพบกอังกฤษได้จัดหา Watchkeeper WK450 เข้าประจำการแบบจำนวนจำกัด และได้นำไปทดสอบการปฏิบัติการจริงที่อัฟกานิสถานมาแล้วในเดือนกันยายนปี 2014
โดยคาดว่ากองทัพบกอังกฤษจะได้รับมอบ Watchkeeper WK450 จำนวน 30ระบบ และเพิ่มเติมอีก 24ระบบในอนาคตครับ
The new Polish Tactical UAV will be based on Israeli technology
http://i-hls.com/2015/07/the-new-polish-tactical-uav-will-be-based-on-israeli-technology/
Thales และ WB Electronics ได้ลงนามความร่วมมือในการพัฒนาสร้างอากาศยานไร้คนขับทางยุทธวิธีแบบ Gryf (Grifon) ให้โปแลนด์ในวันที่ 8 กรกฎาคม 2015
โดยมีพื้นฐานทาง Technology จากประสบการณ์ของ Thales ในการพัฒนา UAV แบบ Watchkeeper WK450 ให้กองทัพบกอังกฤษ ซึ่งมีพื้นฐานจากระบบ Elbit Hermes 450 ของอิสราเอล
จุดประสงค์สำคัญของโครงการนี้คือการปรับปรุงกองทัพโปแลนด์ให้ทันสมัยขึ้นด้วยการจัดหา UAV ทางยุทธวิธีพิสัยกลางมาใช้งาน ตามความต้องการของกระทรวงกลาโหมโปแลนด์
จากการเจรจาเป็นเวลาสามปีโปแลนด์ต้องการที่จะสร้าง UAV เองในประเทศด้วยอุตสาหกรรมภายในประเทศของตน โดยเป็นสัญญาลงนามแบบรัฐต่อรัฐ(G to G)
Thales UK Watchkeeper WK450 เป็นระบบอากาศยานไร้คนขับทางยุทธวิธีแบบปฏิบัติการได้ทุกกาลอากาศ ที่เริ่มการพัฒนาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2005
สำหรับภารกิจข่าวกรอง ตรวจการณ์ ชี้เป้าหมาย และลาดตระเวน (ISTAR: Intelligence, Surveillance, Target Acquisition and Reconnaissance)
ซึ่งกองทัพบกอังกฤษได้จัดหา Watchkeeper WK450 เข้าประจำการแบบจำนวนจำกัด และได้นำไปทดสอบการปฏิบัติการจริงที่อัฟกานิสถานมาแล้วในเดือนกันยายนปี 2014
โดยคาดว่ากองทัพบกอังกฤษจะได้รับมอบ Watchkeeper WK450 จำนวน 30ระบบ และเพิ่มเติมอีก 24ระบบในอนาคตครับ
วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
เกาหลีใต้เปิดเผยแผนโครงการพัฒนารถถังหลักรุ่นใหม่ล่าสุด XK3
Hyundai Rotem K2 Black Panther
นิตยสารทางทหาร Military Review ฉบับเดือนกรกฎาคม 2015 การได้มีการลงบทความเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับโครงการพัฒนารถถังหลักรุ่นล่าสุดของกองทัพสาธารณรัฐเกาหลี คือโครงการรถถังหลัก XK3
(ท่านที่สนใจต้องการอ่านนิตยสาร Military Review ของเกาหลีใต้เล่มจริง อาจจะสามารถสั่งซื้อผ่านช่องทาง Online ได้เช่นที่
http://www.kyobobook.co.kr/product/detailViewKor.laf?ejkGb=KOR&mallGb=KOR&barcode=3904000144917&orderClick=LAA#N)
มีการระบุว่าโครงการรถถังหลัก XK3 นี้ได้เริ่มขึ้นหลังจากที่รถถังหลัก K2 Black Panther ซึ่งเป็นรถถังหลักรุ่นที่สองที่เกาหลีใต้พัฒนาและผลิตเองในประเทศ เข้าสู่สายการผลิตแบบจำนวนมากเต็มอัตรา
แม้จะอยู่ในขั้นต้นของการศึกษาและวิจัย แต่มีการกล่าวถึงข้อมูลว่า ถ.หลัก XK3 จะเป็นรถถังหลักยุคอนาคตที่มีคุณสมบัติและสมรรถนะที่ล้ำยุค
ระบบเกราะของรถถังหลัก XK3 จะเป็นเกราะวัสดุผสมรุ่นใหม่ล่าสุด ซึ่งพัฒนาจากเกราะ KSAP(Korean Special Armour Plate) รุ่นที่หนึ่งที่ใช้กับรถถังหลัก K1, KSAP รุ่นที่สองที่ใช้กับรถถังหลัก K1A1 และ KSAP รุ่นที่สามที่ใช้กับรถถังหลัก K2
ที่เป็นผลจากการศึกษาวิจัยเกราะรถถังหลักหลายแบบของเกาหลีใต้ในช่วงปี 1990s เช่น T-72 ที่ได้จากประเทศแถบยุโรปตะวันออก และ T-80U ที่ได้จากรัสเซียโดยตรง
ซึ่งนอกจากเกราะวัสดุผสมและเกราะปฏิกิริยาแรงระเบิด(Explosive Reactive Armor) และเกราะปฏิกิริยาแบบไม่ระเบิด NERA(Non-Explosive Reactive Armor) แล้ว
รถถังหลัก XK3 จะติดตั้งระบบป้องกันตนเองแบบเกราะแม่เหล็กไฟฟ้า(Electromagnetic Armor) และระบบการพรางตัวแบบตรวจจับได้ยาก(STEALTH) ซึ่งยังไม่มีรายละเอียดในขณะนี้อีกด้วย
Korean's ADD 120mm Electro Thermal-Chemical Tank Gun
ด้านระบบอาวุธหลักของรถถังหลัก XK3 นั้น จะเปลี่ยนจากปืนใหญ่รถถังขนาด 120mm/55cal ของ ถ.หลัก K2 มาเป็นปืนใหญ่ไฟฟ้าเคมีความร้อน(ETC: Electro Thermal-Chemical Gun) หรือปืนรางแม่เหล็กไฟฟ้า Railgun
ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการวิจัยและพัฒนาโดยสำนักงานพัฒนาด้านความมั่นคง (ADD: Agency of Defense Development) ของกระทวงกลาโหมสาธารณรัฐเกาหลี
โดยปืนใหญ่รถถังไฟฟ้าเคมีความร้อนแบบใหม่นี้สามารถยิงกระสุนเจาะเกราะสลัดครอบมีครีบทรงตัว(APFSDS: Armour Piercing Fin Stabilized Discarding Sabot) ได้ที่ความเร็ว 2,100m/s เจาะเกราะเหล็กกล้า RHA หนา 1,000mm ได้ที่ระยะ 1,000m
เมื่อเทียบกับปืนใหญ่รถถัง Rheinmetal 120mm/L44 ของ ถ.K1A1 เมื่อยิงกระสุน APFSDS แบบ K276 สามารถทำความเร็วได้ที่ 1,615m/s และ ปถ.120mm/L55 ของ ถ.K2 ที่ความเร็ว 1,800m/s
ซึ่ง ปถ.ETC นี้มีแผนที่จะนำมาติดตั้งในการการปรับปรุงรถถังหลัก K2 ในอนาคต ส่วนปืนใหญ่รถถัง Railgun นั้น สำหรับปืนต้นแบบขนาด 40mm ที่พัฒนาโดย ADD นั้นสามารถทำความเร็วในการยิงกระสุนได้ถึง 3,400m/s เลยทีเดียว
การพัฒนารถถังหลัก XK3 ใหม่ของเกาหลีใต้นี้เป็นตามแผนการพัฒนาประเทศด้านความมั่นคงในอนาคตระยะยาวช่วงปี 2030
ซึ่งระยะเวลานั้นรถถังหลัก K1 รุ่นแรกที่เข้าประจำการมาตั้งแต่ช่วงปี 1980s จะมีอายุการใช้งานราว 45ปี ซึ่งจำเป็นต้องปลดประจำการลง
อีกทั้งยังมีข่าวลือว่ากองทัพประชาชนเกาหลีแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี ซึ่งเป็นภัยคุกคามนั้นอาจจะมีแผนที่จะจัดหารถังหลัก T-72 พร้อมเกราะ ERA มาประจำการราว 200คัน
ดังนั้นกองทัพเกาหลีใต้จึงจำเป็นต้องพัฒนาระบบรถถังหลักของตนให้เหนือกว่าเกาหลีเหนือมากกว่าหลายขั้น เพื่อเป็นการรับประกันว่าถ้ามีสงครามเกิดขึ้นเกาหลีใต้จะมีแสนยานุภาพเหนือกว่าและสามารถเอาชนะได้ครับ
นิตยสารทางทหาร Military Review ฉบับเดือนกรกฎาคม 2015 การได้มีการลงบทความเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับโครงการพัฒนารถถังหลักรุ่นล่าสุดของกองทัพสาธารณรัฐเกาหลี คือโครงการรถถังหลัก XK3
(ท่านที่สนใจต้องการอ่านนิตยสาร Military Review ของเกาหลีใต้เล่มจริง อาจจะสามารถสั่งซื้อผ่านช่องทาง Online ได้เช่นที่
http://www.kyobobook.co.kr/product/detailViewKor.laf?ejkGb=KOR&mallGb=KOR&barcode=3904000144917&orderClick=LAA#N)
มีการระบุว่าโครงการรถถังหลัก XK3 นี้ได้เริ่มขึ้นหลังจากที่รถถังหลัก K2 Black Panther ซึ่งเป็นรถถังหลักรุ่นที่สองที่เกาหลีใต้พัฒนาและผลิตเองในประเทศ เข้าสู่สายการผลิตแบบจำนวนมากเต็มอัตรา
แม้จะอยู่ในขั้นต้นของการศึกษาและวิจัย แต่มีการกล่าวถึงข้อมูลว่า ถ.หลัก XK3 จะเป็นรถถังหลักยุคอนาคตที่มีคุณสมบัติและสมรรถนะที่ล้ำยุค
ระบบเกราะของรถถังหลัก XK3 จะเป็นเกราะวัสดุผสมรุ่นใหม่ล่าสุด ซึ่งพัฒนาจากเกราะ KSAP(Korean Special Armour Plate) รุ่นที่หนึ่งที่ใช้กับรถถังหลัก K1, KSAP รุ่นที่สองที่ใช้กับรถถังหลัก K1A1 และ KSAP รุ่นที่สามที่ใช้กับรถถังหลัก K2
ที่เป็นผลจากการศึกษาวิจัยเกราะรถถังหลักหลายแบบของเกาหลีใต้ในช่วงปี 1990s เช่น T-72 ที่ได้จากประเทศแถบยุโรปตะวันออก และ T-80U ที่ได้จากรัสเซียโดยตรง
ซึ่งนอกจากเกราะวัสดุผสมและเกราะปฏิกิริยาแรงระเบิด(Explosive Reactive Armor) และเกราะปฏิกิริยาแบบไม่ระเบิด NERA(Non-Explosive Reactive Armor) แล้ว
รถถังหลัก XK3 จะติดตั้งระบบป้องกันตนเองแบบเกราะแม่เหล็กไฟฟ้า(Electromagnetic Armor) และระบบการพรางตัวแบบตรวจจับได้ยาก(STEALTH) ซึ่งยังไม่มีรายละเอียดในขณะนี้อีกด้วย
Korean's ADD 120mm Electro Thermal-Chemical Tank Gun
ด้านระบบอาวุธหลักของรถถังหลัก XK3 นั้น จะเปลี่ยนจากปืนใหญ่รถถังขนาด 120mm/55cal ของ ถ.หลัก K2 มาเป็นปืนใหญ่ไฟฟ้าเคมีความร้อน(ETC: Electro Thermal-Chemical Gun) หรือปืนรางแม่เหล็กไฟฟ้า Railgun
ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการวิจัยและพัฒนาโดยสำนักงานพัฒนาด้านความมั่นคง (ADD: Agency of Defense Development) ของกระทวงกลาโหมสาธารณรัฐเกาหลี
โดยปืนใหญ่รถถังไฟฟ้าเคมีความร้อนแบบใหม่นี้สามารถยิงกระสุนเจาะเกราะสลัดครอบมีครีบทรงตัว(APFSDS: Armour Piercing Fin Stabilized Discarding Sabot) ได้ที่ความเร็ว 2,100m/s เจาะเกราะเหล็กกล้า RHA หนา 1,000mm ได้ที่ระยะ 1,000m
เมื่อเทียบกับปืนใหญ่รถถัง Rheinmetal 120mm/L44 ของ ถ.K1A1 เมื่อยิงกระสุน APFSDS แบบ K276 สามารถทำความเร็วได้ที่ 1,615m/s และ ปถ.120mm/L55 ของ ถ.K2 ที่ความเร็ว 1,800m/s
ซึ่ง ปถ.ETC นี้มีแผนที่จะนำมาติดตั้งในการการปรับปรุงรถถังหลัก K2 ในอนาคต ส่วนปืนใหญ่รถถัง Railgun นั้น สำหรับปืนต้นแบบขนาด 40mm ที่พัฒนาโดย ADD นั้นสามารถทำความเร็วในการยิงกระสุนได้ถึง 3,400m/s เลยทีเดียว
การพัฒนารถถังหลัก XK3 ใหม่ของเกาหลีใต้นี้เป็นตามแผนการพัฒนาประเทศด้านความมั่นคงในอนาคตระยะยาวช่วงปี 2030
ซึ่งระยะเวลานั้นรถถังหลัก K1 รุ่นแรกที่เข้าประจำการมาตั้งแต่ช่วงปี 1980s จะมีอายุการใช้งานราว 45ปี ซึ่งจำเป็นต้องปลดประจำการลง
อีกทั้งยังมีข่าวลือว่ากองทัพประชาชนเกาหลีแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี ซึ่งเป็นภัยคุกคามนั้นอาจจะมีแผนที่จะจัดหารถังหลัก T-72 พร้อมเกราะ ERA มาประจำการราว 200คัน
ดังนั้นกองทัพเกาหลีใต้จึงจำเป็นต้องพัฒนาระบบรถถังหลักของตนให้เหนือกว่าเกาหลีเหนือมากกว่าหลายขั้น เพื่อเป็นการรับประกันว่าถ้ามีสงครามเกิดขึ้นเกาหลีใต้จะมีแสนยานุภาพเหนือกว่าและสามารถเอาชนะได้ครับ
วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
ความเป็นไปได้ที่กองกำลังชนกลุ่มน้อยในพม่าจะจัดหาอาวุธหนักมาใช้ เมื่อว้าแดงได้รับมอบปืนใหญ่สนามจากจีน
People's Liberation Army Type 96 122mm Howitzer (Plastic model Art Cover)
Wa army fielding new Chinese artillery, ATGMs
http://www.janes.com/article/53155/wa-army-fielding-new-chinese-artillery-atgms
ก็เคยได้ตั้งคำถามไปก่อนหน้านี้เมื่อราว๒ปีที่แล้วครับว่า มีความเป็นไปได้หรือไม่ที่กองกำลังชนกลุ่มน้อยจะสามารถจัดหาอาวุธหลักที่มีขนาดใหญ่กว่าอาวุธสนับสนุนทหารราบอย่าง เครื่องยิงลูกระเบิด หรือปืนต่อสู้อากาศยานขนาดเบาได้
และก็เป็นไปตามข่าวของ Jane's ครับว่าขณะนี้กองทัพสหรัฐว้า UWSA (United Wa State Army หรือว้าแดง)
ได้รับมอบปืนใหญ่สนาม Type 96 ขนาด 122mm(ลอกแบบ D-30 122mm โซเวียต) และอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังนำวิถีเส้นลวด HJ-8 จากจีนมาใช้งานแล้ว
จากภาพที่ถูกถ่ายได้จากเขตพิเศษ๒ (SR2: Special Region 2) ที่ปางซาง เมืองหลวงของกองกำลังว้าแดง UWSA ในรัฐฉานทางตอนเหนือติดกับพรมแดนจีน
UWSA and HJ-8 ATGM?
HJ-8 of the Sri Lankan military
พวก ATGM นี่อาจจะไม่มากเท่าไร แต่ปืนใหญ่สนามขนาด 122mm นี่สิ
แสดงให้เห็นว่าจากตัวอย่างที่กองทัพรัฐบาลพม่าเจรจาหยุดยิงกับกองกำลังโกก้าง MNDAA(Myanmar National Democratic Alliance Army) ไปเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
ซึ่งจีนได้รับผลกระทบจากการปะทะโดยตรงจนทำให้มีชาวจีนเสียชีวิต ตามที่ทางรัฐบาลจีนอ้างว่ากองทัพอากาศพม่าทิ้งระเบิดข้ามพรมแดนมาตกใส่ชาวบ้านในฝั่งจีนนั้น
ทำให้จีนตัดสินใจสนับสนุนกลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์ที่อยู่ในเครือข่ายสนับสนุนตนในพม่าด้วยอาวุธที่หนักและทันสมัยมากขึ้น
โดยเฉพาะกองกำลัง UWSA ซึ่งมีกำลังพลกว่า ๒๐,๐๐๐-๒๕,๐๐๐นาย ถือว่ามีความเข้มแข็งมากที่สุดกองกำลังหนึ่งในเขตรัฐฉาน (และเกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติด)
ซึ่งหลายสิบปีที่ผ่านมานี้ว้าแดงก็มีการเจรจาหยุดยิงกับรัฐบาลพม่า ช่วยรัฐบาลพม่าโจมตีกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ เช่นการโจมตีกองกำลังกู้ชาติไทยใหญ่ SSA(Shan State Army) และก็หันกลับมาต่อสู้กับพม่าเมื่อมีข้อขัดแย้งด้านผลประโยชน์
ตอนนี้ทางพม่าเองก็กำลังเดินหน้าการเจรจากับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆเพื่อให้ยุติการปะทะสู้รบ เพื่อให้รับกับการเลือกตั้งใหญ่ที่จะมีขึ้นในวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ นี้
เช่นการดำเนินการเจรจากับกลุ่มชาติของศูนย์สันติภาพ ซึ่งเป็นองค์กรอิสระของพม่าที่ได้รับการยอมรับจากทางตะวันตกอย่างสหภาพยุโรป เพื่อผลักดันให้เกิดการหยุดยิงทั่วประเทศและสร้างสันติภาพถาวรขึ้นในพม่า
แต่การเสริมกำลังของกองกำลังว้าแดงซึ่งมีจีนสนับสนุน โดยเห็นจากสิ่งที่เกิดขึ้นกับการปะทะระหว่างทหารรัฐบาลพม่ากับกองกำลังโกก้าง MNDAA ที่เพิ่งลงนามหยุดยิงไปข้างต้น
และล่าสุดกับกองกำลังกระเหรี่ยง DKBA(Democratic Karen Benevolent Army หรือเดิมคือกระเหรี่ยงพุทธ Democratic Karen Buddhist Army ) และ KNLA(Karen National Liberation Army) ที่มีตั้งแต่ช่วงต้นเดือนกรกฎาคม
โดยที่กองทัพรัฐบาลพม่าได้รับการสนับสนุนจากกองกำลังพิทักษ์ชายแดน(กาก่วยเย BGF: Border Guard Force) กลุ่มชาติพันธุ์กระเหรี่ยงที่สนับสนุนรัฐบาลกลางพม่าสู้กับกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกัน
และล่าสุดกับการปะทะครั้งใหม่กองกำลังคะฉิ่น KIA (Kachin Independence Army)ในช่วงกลางเดือนกรกฎาคมนั้น ยิ่งดูจะเป็นการตอกย้ำว่าสงครามระหว่ากองทัพรัฐบาลพม่ากับกองกำลังชนกลุ่มน้อยจะยิ่งมีแนวโน้มที่รุนแรงมากขึ้น
UWSA ZFB05 4x4 Light Armored Vehicle
ถ้าจีนส่งปืนใหญ่สนามมาให้ว้าแดงใช้ได้ ในอนาคตถ้าว้าแดงจะมีรถถัง(รุ่นเก่าๆจากจีน)นอกจากยานเกราะล้อยางที่มีใช้บ้างแล้วส่วนหนึ่ง จนถึง ฮ.Mi-17 ที่จีนจัดหาให้พร้อมอาวุธ หรืออากาศยานแบบอื่นๆเพิ่มก็คงไม่น่าแปลกใจแล้ว
ซึ่งยิ่งถ้าเกิดการรบระหว่างกองทัพรัฐบาลพม่ากับกองกำลังชนกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้และรุนแรงด้วยการใช้อาวุธหนักที่ทันสมัยมากยิ่งขึ้น ไทยคงย่อมได้รับผลกระทบตามมาอย่างเลี่ยงไม่ได้ครับ
Wa army fielding new Chinese artillery, ATGMs
http://www.janes.com/article/53155/wa-army-fielding-new-chinese-artillery-atgms
ก็เคยได้ตั้งคำถามไปก่อนหน้านี้เมื่อราว๒ปีที่แล้วครับว่า มีความเป็นไปได้หรือไม่ที่กองกำลังชนกลุ่มน้อยจะสามารถจัดหาอาวุธหลักที่มีขนาดใหญ่กว่าอาวุธสนับสนุนทหารราบอย่าง เครื่องยิงลูกระเบิด หรือปืนต่อสู้อากาศยานขนาดเบาได้
และก็เป็นไปตามข่าวของ Jane's ครับว่าขณะนี้กองทัพสหรัฐว้า UWSA (United Wa State Army หรือว้าแดง)
ได้รับมอบปืนใหญ่สนาม Type 96 ขนาด 122mm(ลอกแบบ D-30 122mm โซเวียต) และอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังนำวิถีเส้นลวด HJ-8 จากจีนมาใช้งานแล้ว
จากภาพที่ถูกถ่ายได้จากเขตพิเศษ๒ (SR2: Special Region 2) ที่ปางซาง เมืองหลวงของกองกำลังว้าแดง UWSA ในรัฐฉานทางตอนเหนือติดกับพรมแดนจีน
UWSA and HJ-8 ATGM?
HJ-8 of the Sri Lankan military
พวก ATGM นี่อาจจะไม่มากเท่าไร แต่ปืนใหญ่สนามขนาด 122mm นี่สิ
แสดงให้เห็นว่าจากตัวอย่างที่กองทัพรัฐบาลพม่าเจรจาหยุดยิงกับกองกำลังโกก้าง MNDAA(Myanmar National Democratic Alliance Army) ไปเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
ซึ่งจีนได้รับผลกระทบจากการปะทะโดยตรงจนทำให้มีชาวจีนเสียชีวิต ตามที่ทางรัฐบาลจีนอ้างว่ากองทัพอากาศพม่าทิ้งระเบิดข้ามพรมแดนมาตกใส่ชาวบ้านในฝั่งจีนนั้น
ทำให้จีนตัดสินใจสนับสนุนกลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์ที่อยู่ในเครือข่ายสนับสนุนตนในพม่าด้วยอาวุธที่หนักและทันสมัยมากขึ้น
โดยเฉพาะกองกำลัง UWSA ซึ่งมีกำลังพลกว่า ๒๐,๐๐๐-๒๕,๐๐๐นาย ถือว่ามีความเข้มแข็งมากที่สุดกองกำลังหนึ่งในเขตรัฐฉาน (และเกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติด)
ซึ่งหลายสิบปีที่ผ่านมานี้ว้าแดงก็มีการเจรจาหยุดยิงกับรัฐบาลพม่า ช่วยรัฐบาลพม่าโจมตีกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ เช่นการโจมตีกองกำลังกู้ชาติไทยใหญ่ SSA(Shan State Army) และก็หันกลับมาต่อสู้กับพม่าเมื่อมีข้อขัดแย้งด้านผลประโยชน์
ตอนนี้ทางพม่าเองก็กำลังเดินหน้าการเจรจากับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆเพื่อให้ยุติการปะทะสู้รบ เพื่อให้รับกับการเลือกตั้งใหญ่ที่จะมีขึ้นในวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ นี้
เช่นการดำเนินการเจรจากับกลุ่มชาติของศูนย์สันติภาพ ซึ่งเป็นองค์กรอิสระของพม่าที่ได้รับการยอมรับจากทางตะวันตกอย่างสหภาพยุโรป เพื่อผลักดันให้เกิดการหยุดยิงทั่วประเทศและสร้างสันติภาพถาวรขึ้นในพม่า
แต่การเสริมกำลังของกองกำลังว้าแดงซึ่งมีจีนสนับสนุน โดยเห็นจากสิ่งที่เกิดขึ้นกับการปะทะระหว่างทหารรัฐบาลพม่ากับกองกำลังโกก้าง MNDAA ที่เพิ่งลงนามหยุดยิงไปข้างต้น
และล่าสุดกับกองกำลังกระเหรี่ยง DKBA(Democratic Karen Benevolent Army หรือเดิมคือกระเหรี่ยงพุทธ Democratic Karen Buddhist Army ) และ KNLA(Karen National Liberation Army) ที่มีตั้งแต่ช่วงต้นเดือนกรกฎาคม
โดยที่กองทัพรัฐบาลพม่าได้รับการสนับสนุนจากกองกำลังพิทักษ์ชายแดน(กาก่วยเย BGF: Border Guard Force) กลุ่มชาติพันธุ์กระเหรี่ยงที่สนับสนุนรัฐบาลกลางพม่าสู้กับกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกัน
และล่าสุดกับการปะทะครั้งใหม่กองกำลังคะฉิ่น KIA (Kachin Independence Army)ในช่วงกลางเดือนกรกฎาคมนั้น ยิ่งดูจะเป็นการตอกย้ำว่าสงครามระหว่ากองทัพรัฐบาลพม่ากับกองกำลังชนกลุ่มน้อยจะยิ่งมีแนวโน้มที่รุนแรงมากขึ้น
UWSA ZFB05 4x4 Light Armored Vehicle
ถ้าจีนส่งปืนใหญ่สนามมาให้ว้าแดงใช้ได้ ในอนาคตถ้าว้าแดงจะมีรถถัง(รุ่นเก่าๆจากจีน)นอกจากยานเกราะล้อยางที่มีใช้บ้างแล้วส่วนหนึ่ง จนถึง ฮ.Mi-17 ที่จีนจัดหาให้พร้อมอาวุธ หรืออากาศยานแบบอื่นๆเพิ่มก็คงไม่น่าแปลกใจแล้ว
ซึ่งยิ่งถ้าเกิดการรบระหว่างกองทัพรัฐบาลพม่ากับกองกำลังชนกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้และรุนแรงด้วยการใช้อาวุธหนักที่ทันสมัยมากยิ่งขึ้น ไทยคงย่อมได้รับผลกระทบตามมาอย่างเลี่ยงไม่ได้ครับ
วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
ญี่ปุ่นเปิดเผยข้อมูลเรือพิฆาตแบบใหม่ 27DD รวมถึงการพัฒนาระบบปืน Railgun และระบบป้องกันระยะประชิด Laser
http://www.mod.go.jp/epco/supply/kouji/koubo/27-kouji-dai41go.pdf
JAXA High-Calibre Railgun
TRDI Laser CIWS
http://www.mod.go.jp/j/yosan/2015/gaisan.pdf
กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นได้เปิดเผยข้อมูลเอกสารขอข้อเสนอสำหรับการประมูลผู้รับสัญญาจ้างในโครงการเรือพิฆาตแบบ 27DD ซึ่งจะเป็นเรือพิฆาต AEGIS ชั้นใหม่รุ่นที่สามต่อจากเรือพิฆาตชั้น Kongo 4ลำ และเรือพิฆาตชั้น Atago 2ลำ
เรือพิฆาตแบบ 27DD นั้นมีแบบแผนเรือพัฒนาต่อจากเรือพิฆาตชั้น Atago โดยเรือแบบ 27DD มีระวางขับน้ำประมาณ 8,200tons ซึ่งทำให้เรือมีขนาดและพื้นที่มากขึ้นสำหรับรองรับระบบใหม่ๆ (เรือชั้น Atago มีระวางขับน้ำ 7,700tons)
ระบบขับเคลื่อนของเรือแบบ 27DD จะเป็นแบบ CODLAG(Combined Gas turbine Electric And Gas turbine) ส่วนระบบตรวจจับที่จะติดตั้งมีระบบรุ่นใหม่ที่ทันสมัยหลายแบบเช่น
Radar ตรวจการณ์พื้นน้ำใหม่แบบ Northrop Grumman AN/SPQ-9B ระบบ Multi-Static Sonar สำหรับการค้นหาใต้น้ำ และระบบอำนวยการรบแบบ AEGIS รุ่นล่าสุดที่อาจจะติดตั้งระบบ Cooperative Engagement Capability เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ
ส่วนระบบอาวุธนั้นนอกจากระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำแบบใหม่และแท่นยิง VLS สำหรับระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ และระบบอาวุธต่อต้านเรือดำน้ำแล้ว
ตามรายงานแผนงบประมาณประจำปี 2015 ของกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นยังได้มีการลงข้อมูลแผนการพัฒนาระบบอาวุธประจำเรือผิวน้ำใหม่ซึ่งทั้งหมดกำลังอยู่ระหว่างการวิจัยศึกษาและพัฒนาโดยญี่ปุ่นเองด้วยคือ
ปืนใหญ่เรือ Mk45 Mod4 ขนาด 5"/62 อาจจะถูกแทนที่ด้วยปืน Railgun ซึ่งพัฒนาโดยสำนักงานสำรวจการบินและอวกาศญี่ปุ่น (JAXA: Japan Aerospace Exploration Agency)
และระบบป้องกันระยะประชิด Phalanx ขนาด 20mm อาจจะถูกแทนที่ด้วยระบบป้องกันระยะประชิด Laser ที่พัฒนาโดยสถาบันพัฒนาและวิจัยทางเทคนิค (TRDI: Technical Research and Development Institute) ของกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่น เป็นต้น
คาดว่าเรือพิฆาตแบบ 27DD ทั้งสองลำจะสามารถสร้างเสร็จเข้าประจำการในกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลได้ภายในปี 2020 และปี 2021 ครับ
วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
กองทัพอากาศอียิปต์รับมอบเครื่องบินขับไล่ Rafale ชุดแรกจากฝรั่งเศส
Egypt receives first Rafale fighters
Egypt has received its first three Rafale fighters just five months after the deal was announced. Source: Dassault
http://www.janes.com/article/53097/egypt-receives-first-rafale-fighters
Egypt Receives First Delivery of Three Rafales
Egyptian pilots, trained by the French Air Force, will fly the first three aircraft to Cairo. The new fighters are expected to take part in the inauguration of the expanded Suez Canal, August 6th. Photo: Dassault Aviation
http://defense-update.com/20150720_egyptian_rafales.html
http://www.defens-aero.com/2015/07/les-premieres-photos-des-rafale-de-la-force-aerienne-egyptienne.html
http://www.defens-aero.com/2015/07/photo-trois-rafale-dm-egyptiens-en-formation.html
วันที่ 20 กรกฎาคมที่ผ่านมา Dassault Aviation ฝรั่งเศสได้ทำพิธีส่งมอบเครื่องบินขับไล่ Rafale ชุดแรกจำนวน 3เครื่องให้กองทัพอากาศอียิปต์
โดยทูตอียิปต์ประจำฝรั่งเศส นาย Ehab Badawy และประธานผู้บริหารบริษัท Dassault Aviation นาย Eric Trappier ได้เข้าร่วมพิธีรับมอบเครื่องขับไล่ Rafale DM รุ่นสองที่นั่งที่ศูนย์ทดสอบการบินของ Dassault ที่ Istres
ซึ่งก่อนหน้านี้นักบินขับไล่และช่างซ่อมบำรุงชุดแรกของกองทัพอากาศอียิปต์ ได้ทำการฝึกกับเครื่อง Rafale โดยกองทัพอากาศฝรั่งเศสมาแล้วตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ หลังจากที่มีการประกาศจัดหา
ทั้งนี้เครื่อง Rafale DM ทั้ง 3เครื่องจะทำการบินนักบินอียิปต์ไปยังกรุง Cairo ในวันที่ 21 กรกฎาคม และจะเข้าร่วมพิธีการฉลองการเปิดการขยายคลอง Suez ใหม่ในวันที่ 6 สิงหาคมนี้
Rafale นับเป็นอากาศยานแบบที่สี่ของ Dassault Aviation ที่สามารถส่งออกให้กองทัพอากาศอียิปต์ได้นับตั้งแต่ตั้งแต่ปี 1970s คือ เครื่องบินขับไล่ Mirage 5 เครื่องบินฝึกโจมตีเบา Alpha Jet และเครื่องบินขับไล่ Mirage 2000
ซึ่งปัจจุบันกองทัพอากาศอียิปต์มีเครื่องบินรบจากหลากแบบหลายค่ายประจำการอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น เครื่องบินขับไล่ F-4E Phantom II และ F-16A/B/C/D Fighting Falcon จากสหรัฐฯ, เครื่องขับไล่ MiG-21MF/UM จากรัสเซีย และ F-7B จากจีน
ในการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Rafale จำนวน 24เครื่องของกองทัพอากาศอียิปต์วงเงิน $6 billion ซึ่งประกอบด้วย Rafale DM รุ่นสองที่นั่ง 16เครื่อง และ Rafale EM รุ่นที่นั่งเดียว 8เครื่อง พร้อมระบบอาวุธเช่น
อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้นำวิถีคลื่นความร้อน MICA IR และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลางนำวิถี Radar แบบ MICA RF(EM)
อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น Safran/MBDA Armament Air-Sol Modulair (AASM) Hammer (Highly Agile Modular Munition Extended Range)
อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำ AM39 Exocet และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นร่อนพิสัยไกล MBDA SCALP ซึ่งติดหัวรบสำหรับโจมตีเป้าหมายตามแบบ เป็นต้น
เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างกันของอียิปต์และฝรั่งเศส โดยการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Rafale เป็นการเพิ่มงานให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมอากาศยานของฝรั่งเศส
ทั้ง Dassault Aviation ที่มีคนงานกว่า 8,000คน, Thales ผู้ผลิตระบบ Avionic ทั้ง Radar ระบบตรวจจับ และระบบสงคราม Electronic, Snecma ผู้ผลิตเครื่องยนต์ M88 รวมถึงผู้รับเหมาสัญญารายย่อยอีกกว่า 500รายด้วย
มีการตั้งข้องสังเกตว่ากองทัพอากาศอียิปต์เลือกจัดหาเครื่องแบบสองที่นั่งเป็นจำนวนมากกว่ารุ่นที่นั่งเดียว เพราะจะมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติโจมตีภาคพื้นดินสูงกว่าถ้าใช้นักบินสองนาย
โดยนักบินที่นั่งหลังจะควบคุมระบบอาวุธในการทำภารกิจ ขณะที่นักบินที่นั่งหน้าจะทำการควบคุมการบินของเครื่อง
ทั้งนี้อียิปต์นับเป็นประเทศแรกที่จัดหา Rafale ไปประจำการนอกจากฝรั่งเศส ซึ่งนับเป็นการเพิ่มขีดความสามารถของกองทัพอากาศอียิปต์ที่กำลังเผชิญกับภัยคุกคามจากกลุ่มติดอาวุธก่อการร้าย
เช่นกรณีการโจมตีเรือตรวจการณ์ของกองทัพเรืออียิปต์ที่ทะเลคาบสมุทร Sinai ด้วยอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม ที่ผ่านมา
โดยมีการตั้งข้อสังเกตว่าการรับมอบเครื่องที่เป็นไปอย่างรวดเร็วเพียง 5เดือนหลังจากมีการประกาศการจัดหา อาจจะเป็นการนำเครื่องในสายการผลิตที่เดิมที่จะเป็นของกองทัพฝรั่งเศสเปลี่ยนมาให้กับกองทัพอากาศอียิปต์
เช่นเดียวกับการส่งมอบเรือฟริเกต FREMM ชั้น Aquitaine คือ FFG-1001 Tahya Misr ที่เดิมคือเรือ D651 Normandie ของกองทัพเรือฝรั่งเศส จาก DCNS ตามที่ได้รายงานไปครับ
Egypt has received its first three Rafale fighters just five months after the deal was announced. Source: Dassault
http://www.janes.com/article/53097/egypt-receives-first-rafale-fighters
Egypt Receives First Delivery of Three Rafales
Egyptian pilots, trained by the French Air Force, will fly the first three aircraft to Cairo. The new fighters are expected to take part in the inauguration of the expanded Suez Canal, August 6th. Photo: Dassault Aviation
http://defense-update.com/20150720_egyptian_rafales.html
http://www.defens-aero.com/2015/07/les-premieres-photos-des-rafale-de-la-force-aerienne-egyptienne.html
http://www.defens-aero.com/2015/07/photo-trois-rafale-dm-egyptiens-en-formation.html
วันที่ 20 กรกฎาคมที่ผ่านมา Dassault Aviation ฝรั่งเศสได้ทำพิธีส่งมอบเครื่องบินขับไล่ Rafale ชุดแรกจำนวน 3เครื่องให้กองทัพอากาศอียิปต์
โดยทูตอียิปต์ประจำฝรั่งเศส นาย Ehab Badawy และประธานผู้บริหารบริษัท Dassault Aviation นาย Eric Trappier ได้เข้าร่วมพิธีรับมอบเครื่องขับไล่ Rafale DM รุ่นสองที่นั่งที่ศูนย์ทดสอบการบินของ Dassault ที่ Istres
ซึ่งก่อนหน้านี้นักบินขับไล่และช่างซ่อมบำรุงชุดแรกของกองทัพอากาศอียิปต์ ได้ทำการฝึกกับเครื่อง Rafale โดยกองทัพอากาศฝรั่งเศสมาแล้วตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ หลังจากที่มีการประกาศจัดหา
ทั้งนี้เครื่อง Rafale DM ทั้ง 3เครื่องจะทำการบินนักบินอียิปต์ไปยังกรุง Cairo ในวันที่ 21 กรกฎาคม และจะเข้าร่วมพิธีการฉลองการเปิดการขยายคลอง Suez ใหม่ในวันที่ 6 สิงหาคมนี้
Rafale นับเป็นอากาศยานแบบที่สี่ของ Dassault Aviation ที่สามารถส่งออกให้กองทัพอากาศอียิปต์ได้นับตั้งแต่ตั้งแต่ปี 1970s คือ เครื่องบินขับไล่ Mirage 5 เครื่องบินฝึกโจมตีเบา Alpha Jet และเครื่องบินขับไล่ Mirage 2000
ซึ่งปัจจุบันกองทัพอากาศอียิปต์มีเครื่องบินรบจากหลากแบบหลายค่ายประจำการอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น เครื่องบินขับไล่ F-4E Phantom II และ F-16A/B/C/D Fighting Falcon จากสหรัฐฯ, เครื่องขับไล่ MiG-21MF/UM จากรัสเซีย และ F-7B จากจีน
ในการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Rafale จำนวน 24เครื่องของกองทัพอากาศอียิปต์วงเงิน $6 billion ซึ่งประกอบด้วย Rafale DM รุ่นสองที่นั่ง 16เครื่อง และ Rafale EM รุ่นที่นั่งเดียว 8เครื่อง พร้อมระบบอาวุธเช่น
อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้นำวิถีคลื่นความร้อน MICA IR และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลางนำวิถี Radar แบบ MICA RF(EM)
อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น Safran/MBDA Armament Air-Sol Modulair (AASM) Hammer (Highly Agile Modular Munition Extended Range)
อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำ AM39 Exocet และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นร่อนพิสัยไกล MBDA SCALP ซึ่งติดหัวรบสำหรับโจมตีเป้าหมายตามแบบ เป็นต้น
เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างกันของอียิปต์และฝรั่งเศส โดยการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Rafale เป็นการเพิ่มงานให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมอากาศยานของฝรั่งเศส
ทั้ง Dassault Aviation ที่มีคนงานกว่า 8,000คน, Thales ผู้ผลิตระบบ Avionic ทั้ง Radar ระบบตรวจจับ และระบบสงคราม Electronic, Snecma ผู้ผลิตเครื่องยนต์ M88 รวมถึงผู้รับเหมาสัญญารายย่อยอีกกว่า 500รายด้วย
มีการตั้งข้องสังเกตว่ากองทัพอากาศอียิปต์เลือกจัดหาเครื่องแบบสองที่นั่งเป็นจำนวนมากกว่ารุ่นที่นั่งเดียว เพราะจะมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติโจมตีภาคพื้นดินสูงกว่าถ้าใช้นักบินสองนาย
โดยนักบินที่นั่งหลังจะควบคุมระบบอาวุธในการทำภารกิจ ขณะที่นักบินที่นั่งหน้าจะทำการควบคุมการบินของเครื่อง
ทั้งนี้อียิปต์นับเป็นประเทศแรกที่จัดหา Rafale ไปประจำการนอกจากฝรั่งเศส ซึ่งนับเป็นการเพิ่มขีดความสามารถของกองทัพอากาศอียิปต์ที่กำลังเผชิญกับภัยคุกคามจากกลุ่มติดอาวุธก่อการร้าย
เช่นกรณีการโจมตีเรือตรวจการณ์ของกองทัพเรืออียิปต์ที่ทะเลคาบสมุทร Sinai ด้วยอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม ที่ผ่านมา
โดยมีการตั้งข้อสังเกตว่าการรับมอบเครื่องที่เป็นไปอย่างรวดเร็วเพียง 5เดือนหลังจากมีการประกาศการจัดหา อาจจะเป็นการนำเครื่องในสายการผลิตที่เดิมที่จะเป็นของกองทัพฝรั่งเศสเปลี่ยนมาให้กับกองทัพอากาศอียิปต์
เช่นเดียวกับการส่งมอบเรือฟริเกต FREMM ชั้น Aquitaine คือ FFG-1001 Tahya Misr ที่เดิมคือเรือ D651 Normandie ของกองทัพเรือฝรั่งเศส จาก DCNS ตามที่ได้รายงานไปครับ
วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
Lockheed Martin เข้าซื้อกิจการ Sikorsky
Lockheed secures Sikorsky in USD9 billion acquisition
Lockheed Martin has announced that it is buying Sikorsky, maker of the UH-60 Black Hawk, from UTC for USD9 billion. Source: IHS/Patrick Allen
http://www.janes.com/article/53079/lockheed-secures-sikorsky-in-usd9-billion-acquisition
United Technologies Corporation (UTC) สหรัฐฯได้ทำการประกาศข้อตกลงในการขายกิจการการสร้างเฮลิคอปเตอร์ของบริษัทในเครือคือ Sikorsky ให้บริษัท Lockheed Martin เป็นวงเงิน $9 billion
ทั้งนี้คาดว่าราคาในการเข้าซื้อกิจการจริงจะลดลงมาเหลือที่ $7.1 billion ตามที่ Lockheed Martin จะได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีหลังการทำธุรกรรมทางการเงินของบริษัท
ทาง Lockheed Martin กล่าวว่าการเข้าซื้อกิจการจะเสร็จสิ้นภายในช่วงปลายปี 2015 หรือต้นปี 2016 ซึ่ง Sikorsky จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของแผนก Mission System และส่วนธุรกิจการฝึก
การประกาศนี้มีขึ้นหลังจากที่ทาง UTC ได้ประกาศที่จะออกจากธุรกิจการสร้างเฮลิคอปเตอร์ตามแผนการประเมินยุทธศาสตร์ของบริษัทใหม่ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน
ตามรายงานประจำปีของ UTC องค์กรซึ่งมีคนงาน 15,264คนและประสบความสำเร็จในยอดขายสุทธิ $7.5 billion พร้อมกำไรจากการดำเนินงาน $219 million และอัตรากำไร 2.9%
ขณะที่ยอดขายระหว่่างปี 2012 ถึงปี 2014 เพิ่มขึ้น 9.72% จาก $6.8 billion การทำกำไรโดยรวมของบริษัทลดลงขณะที่อัตรากำไรลดลงจาก 10.5% อยู่ที่ 2.9% ในช่วงเดียวกัน
โดยรายได้ส่วนที่ได้จาก Sikorsky นั้นคิดเป็นเพียง 11% ของรายได้รวมทั้งหมดของ UTC ในปี 2014
และเมื่อเร็วๆนี้รายได้ของ Sikorsky ได้ปรับลดลงจากความต้องการที่ลดลงในส่วนภาคอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซที่บริษัทให้บริการขายเฮลิคอปเตอร์สำหรับใช้เดินทางไปแท่นขุดเจาะน้ำมันนอกชายฝั่ง
ทั้งนี้การขายกิจการของ Sikorsky ให้ Lockheed Martin จะต้องผ่านขั้นตอนการอนุมัติและตรวจสอบตามกฎระเบียบจากหน่วยงานสอบสวนต่อต้านการผูกขาดทางธุรกิจของรัฐบาลสหรัฐฯ
ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีรายงานว่ามีกลุ่มบริษัทด้านอุตสาหกรรมอากาศยานหลายแห่งให้ความสนใจที่จะเข้าซื้อกิจการของ Sikorsky เช่น Airbus, Boeing และ Textron ครับ
Lockheed Martin has announced that it is buying Sikorsky, maker of the UH-60 Black Hawk, from UTC for USD9 billion. Source: IHS/Patrick Allen
http://www.janes.com/article/53079/lockheed-secures-sikorsky-in-usd9-billion-acquisition
United Technologies Corporation (UTC) สหรัฐฯได้ทำการประกาศข้อตกลงในการขายกิจการการสร้างเฮลิคอปเตอร์ของบริษัทในเครือคือ Sikorsky ให้บริษัท Lockheed Martin เป็นวงเงิน $9 billion
ทั้งนี้คาดว่าราคาในการเข้าซื้อกิจการจริงจะลดลงมาเหลือที่ $7.1 billion ตามที่ Lockheed Martin จะได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีหลังการทำธุรกรรมทางการเงินของบริษัท
ทาง Lockheed Martin กล่าวว่าการเข้าซื้อกิจการจะเสร็จสิ้นภายในช่วงปลายปี 2015 หรือต้นปี 2016 ซึ่ง Sikorsky จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของแผนก Mission System และส่วนธุรกิจการฝึก
การประกาศนี้มีขึ้นหลังจากที่ทาง UTC ได้ประกาศที่จะออกจากธุรกิจการสร้างเฮลิคอปเตอร์ตามแผนการประเมินยุทธศาสตร์ของบริษัทใหม่ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน
ตามรายงานประจำปีของ UTC องค์กรซึ่งมีคนงาน 15,264คนและประสบความสำเร็จในยอดขายสุทธิ $7.5 billion พร้อมกำไรจากการดำเนินงาน $219 million และอัตรากำไร 2.9%
ขณะที่ยอดขายระหว่่างปี 2012 ถึงปี 2014 เพิ่มขึ้น 9.72% จาก $6.8 billion การทำกำไรโดยรวมของบริษัทลดลงขณะที่อัตรากำไรลดลงจาก 10.5% อยู่ที่ 2.9% ในช่วงเดียวกัน
โดยรายได้ส่วนที่ได้จาก Sikorsky นั้นคิดเป็นเพียง 11% ของรายได้รวมทั้งหมดของ UTC ในปี 2014
และเมื่อเร็วๆนี้รายได้ของ Sikorsky ได้ปรับลดลงจากความต้องการที่ลดลงในส่วนภาคอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซที่บริษัทให้บริการขายเฮลิคอปเตอร์สำหรับใช้เดินทางไปแท่นขุดเจาะน้ำมันนอกชายฝั่ง
ทั้งนี้การขายกิจการของ Sikorsky ให้ Lockheed Martin จะต้องผ่านขั้นตอนการอนุมัติและตรวจสอบตามกฎระเบียบจากหน่วยงานสอบสวนต่อต้านการผูกขาดทางธุรกิจของรัฐบาลสหรัฐฯ
ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีรายงานว่ามีกลุ่มบริษัทด้านอุตสาหกรรมอากาศยานหลายแห่งให้ความสนใจที่จะเข้าซื้อกิจการของ Sikorsky เช่น Airbus, Boeing และ Textron ครับ
วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นอาจจะส่งเรือลาดตระเวนในทะเลจีนใต้เพื่อลดการขยายการอ้างสิทธิน่านน้ำของจีน
Japan's JMSDF May Patrol South China Sea to Limit China's Claims and Island Expansions
The Izumo Helicopter Destroyer could be used to patrol the South China Sea to conduct both surface and under sea surveillance. Picture: JMSDF
A picture released by the Philippines military shows construction by China at a reef in the disputed Spratley Islands in the South China Sea in February.
http://www.navyrecognition.com/index.php?option=com_content&task=view&id=2913
พลเรือเอก คัทสึโทชิ คาวาโนะ ผู้บัญชาการคณะเสนาธิการร่วมกองกำลังป้องกันตนเองและอดีตผู้บัญชาการกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเล
ได้ประกาศถึงกรณีที่จีนมีการอ้างสิทธิเหนือน่านน้ำในทะเลจีนใต้และการถมทะเลเพื่อสร้างเกาะเทียมเป็นฐานทัพนั้น
เป็นการนำให้ญี่ปุ่นอาจจะตัดสินใจส่งเรือในสังกัดกองกำลังป้องกันตนเองทาทะเลเข้าร่วมปฏิบัติการลาดตระเวนตรวจการณ์ในทะเลจีนใต้
ซึ่งแนวทางการตัดสินใจนี้เกิดขึ้นเมื่อผู้นำระดับสูงของกองกำลังป้องกันตนเองเดินทางไปเยือน Washington สหรัฐฯอย่างเป็นทางการ
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาจีนได้อ้างกรรมสิทธิเหนือน่านน้ำและหมู่เกาะในทะเลจีนใต้ซึ่งสร้างความขัดแย้งกับประเทศในกลุ่ม ASEAN หลายชาติ
ทั้งเวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย บูรไน แม้แต่อินโดนีเซียซึ่งมีความสัมพันธ์ทางทหารอันดีกับจีนมาก่อน รวมถึงข้อพิพาทในทะเลจีนตะวันออกกับอีกหลายชาติโดยเฉพาะกับญี่ปุ่น
นโยบายของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น นาย ชินโซะ อาเบะ ซึ่งมีแนวคิดชาตินิยมได้ดำเนินการผลักดันการแก้ไขกฎหมายในสภาล่างเพื่อให้ญี่ปุ่นสามารถส่งทหารออกไปปฏิบัติการในสงครามนอกประเทศได้
ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนนับตั้งแต่มีการบังคับใช้รัฐธรรมนูญสันติภาพหลังจากที่ญี่ปุ่นเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่สองเมื่อ 70ปีก่อน
การที่ญี่ปุ่นมีแนวคิดจะส่งเรือของกองกำลังป้องกันตนเองไปลาดตระเวนในทะเลจีนใต้เพื่อภารกิจเชิงรับเช่นการปราบเรือดำน้ำนั้น ถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงกำลังในการช่วยเหลือประเทศพันธมิตรของญี่ปุ่นใน ASEAN
"ความรู้สึกของผมแนวโน้มของสถานการณ์นี้ที่จะดำเนินต่อไปในอนาคต โดยที่จีนจะไปไกลเกินกว่าหมู่เกาะในแปซิฟิก ถ้าเป็นเช่นนั้นผมเชื่อว่าสถานการณ์จะเลวร้ายลง" พลเรือเอก คัทสึโทชิ คาวาโนะกล่าว
กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯหรือ Pentagon ยังได้รายงานถึงการที่จีนกำลังยุ่งกับการถมทะเลสร้างเกาะเทียมในเขตทะเลจีนใต้เป็นจำนวนมากในพื้นที่น่านน้ำที่อ้างกรรมสิทธิ์
โดยการก่อสร้างหมู่เกาะเทียมดังกล่าวของจีนเป็นเครือข่ายที่ประกอบไปด้วยฐานทัพ ระบบสาธาณูปโภค อุปกรณ์และโรงงานขนาดหนักจำนวนมาก เช่นสนามบินความยาวกว่า 3,000หลา ซึ่งก่อสร้างไปราวครึ่งทางแล้ว
เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลของกองทัพเรือสหรัฐฯแบบ P-8A Poseidon ได้บินสังเกตการณ์ใกล้กับหมู่เกาะเทียมของจีนในทะเลจีนใต้ และถูกแจ้งเตือนทางวิทยุให้ออกไปครับ
The Izumo Helicopter Destroyer could be used to patrol the South China Sea to conduct both surface and under sea surveillance. Picture: JMSDF
A picture released by the Philippines military shows construction by China at a reef in the disputed Spratley Islands in the South China Sea in February.
http://www.navyrecognition.com/index.php?option=com_content&task=view&id=2913
พลเรือเอก คัทสึโทชิ คาวาโนะ ผู้บัญชาการคณะเสนาธิการร่วมกองกำลังป้องกันตนเองและอดีตผู้บัญชาการกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเล
ได้ประกาศถึงกรณีที่จีนมีการอ้างสิทธิเหนือน่านน้ำในทะเลจีนใต้และการถมทะเลเพื่อสร้างเกาะเทียมเป็นฐานทัพนั้น
เป็นการนำให้ญี่ปุ่นอาจจะตัดสินใจส่งเรือในสังกัดกองกำลังป้องกันตนเองทาทะเลเข้าร่วมปฏิบัติการลาดตระเวนตรวจการณ์ในทะเลจีนใต้
ซึ่งแนวทางการตัดสินใจนี้เกิดขึ้นเมื่อผู้นำระดับสูงของกองกำลังป้องกันตนเองเดินทางไปเยือน Washington สหรัฐฯอย่างเป็นทางการ
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาจีนได้อ้างกรรมสิทธิเหนือน่านน้ำและหมู่เกาะในทะเลจีนใต้ซึ่งสร้างความขัดแย้งกับประเทศในกลุ่ม ASEAN หลายชาติ
ทั้งเวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย บูรไน แม้แต่อินโดนีเซียซึ่งมีความสัมพันธ์ทางทหารอันดีกับจีนมาก่อน รวมถึงข้อพิพาทในทะเลจีนตะวันออกกับอีกหลายชาติโดยเฉพาะกับญี่ปุ่น
นโยบายของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น นาย ชินโซะ อาเบะ ซึ่งมีแนวคิดชาตินิยมได้ดำเนินการผลักดันการแก้ไขกฎหมายในสภาล่างเพื่อให้ญี่ปุ่นสามารถส่งทหารออกไปปฏิบัติการในสงครามนอกประเทศได้
ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนนับตั้งแต่มีการบังคับใช้รัฐธรรมนูญสันติภาพหลังจากที่ญี่ปุ่นเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่สองเมื่อ 70ปีก่อน
การที่ญี่ปุ่นมีแนวคิดจะส่งเรือของกองกำลังป้องกันตนเองไปลาดตระเวนในทะเลจีนใต้เพื่อภารกิจเชิงรับเช่นการปราบเรือดำน้ำนั้น ถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงกำลังในการช่วยเหลือประเทศพันธมิตรของญี่ปุ่นใน ASEAN
"ความรู้สึกของผมแนวโน้มของสถานการณ์นี้ที่จะดำเนินต่อไปในอนาคต โดยที่จีนจะไปไกลเกินกว่าหมู่เกาะในแปซิฟิก ถ้าเป็นเช่นนั้นผมเชื่อว่าสถานการณ์จะเลวร้ายลง" พลเรือเอก คัทสึโทชิ คาวาโนะกล่าว
กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯหรือ Pentagon ยังได้รายงานถึงการที่จีนกำลังยุ่งกับการถมทะเลสร้างเกาะเทียมในเขตทะเลจีนใต้เป็นจำนวนมากในพื้นที่น่านน้ำที่อ้างกรรมสิทธิ์
โดยการก่อสร้างหมู่เกาะเทียมดังกล่าวของจีนเป็นเครือข่ายที่ประกอบไปด้วยฐานทัพ ระบบสาธาณูปโภค อุปกรณ์และโรงงานขนาดหนักจำนวนมาก เช่นสนามบินความยาวกว่า 3,000หลา ซึ่งก่อสร้างไปราวครึ่งทางแล้ว
เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลของกองทัพเรือสหรัฐฯแบบ P-8A Poseidon ได้บินสังเกตการณ์ใกล้กับหมู่เกาะเทียมของจีนในทะเลจีนใต้ และถูกแจ้งเตือนทางวิทยุให้ออกไปครับ
วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
กองทัพอากาศพม่าทำพิธีเข้าประจำการอากาศยานหลายแบบ
Myanmar commissions helos, transport aircraft
A lineup of new aircraft for Myanmar during a 24 June 2015 commissioning ceremony at Meikthilla Air Force Base.
The 6812 serial on the Mi-35P would suggest that this is the 12th aircraft in a series of helicopters that have been delivered since 2010 or so by Rosvertol. Source: Myanmar Armed Forces
An Airbus Helicopters AS365 Dauphin at a 24 June 2015 commissioning ceremony at Meikthilla Air Force Base, Myanmar. (Myanmar Armed Forces)
At least half of 20 Grob G-120TP basic trainers on order have been delivered to Myanmar. (Myanmar Armed Forces)
http://www.janes.com/article/53049/myanmar-commissions-helos-transport-aircraft
ตามรายงานเมื่อวันที่ 24 มิถุนายนที่ผ่านมา กองทัพอากาศพม่า(Tatmadaw Lay) ได้ทำพิธีเข้าประจำการของอากาศยานหลายแบบ ณ ศูนย์ฝึกการบิน ฐานทัพอากาศ Meikhtilla (Shante)
โดยพลเอกอาวุโส Min Aung Hlaing ผู้บัญชาการสูงสุดกองทัพพม่า(Defence Services) ได้เยี่ยมชมอากาศยานที่กองทัพอากาศพม่านำเข้าประจำการหลายแบบที่ฐานทัพอากาศ Meikhtilla เช่น
เฮลิคอปเตอร์โจมตี Mil Mi-35P ที่ NATO กำหนดรหัสว่า "Hind-F" หมายเลข 6812 ซึ่งแสดงว่านับตั้งแต่กองทัพอากาศพม่าสั่งจัดหา ฮ.โจมตี Mi-35P จากรัสเซียในปี 2010 ปัจจุบันได้รับมอบแล้วอย่างน้อย 12เครื่อง
รวมถึงเฮลิคอปเตอร์จากบริษัทตะวันตกคือ ฮ.ลำเลียงเบา Bell 206 Jetranger III ซึ่งจะนำมาใช้เป็น ฮ.ฝึกขั้นต้นสำหรับนักบินเฮลิคอปเตอร์ที่จะไปทำการบินกับ ฮ.ลำเลียง Mi-2, Mi-17 และ ฮ.โจมตี Mi-35 ต่อไป
และ ฮ.ลำเลียงกลาง Airbus Helicopters AS365 Dauphin ซึ่งจะนำมาใช้ในภารกิจค้นหากู้ภัยทางอากาศ การส่งกลับทางสายแพทย์ และการลาดตระเวนทางทะเล
นอกจากนี้ยังมีการตั้งแสดงเครื่องบินลำเลียงเบา Beechcraft 1900D ซึ่งก่อนหน้านี้วันที่ 25 กุมภาพันธ์ ได้มีการตั้งแสดงเครื่อง Beechcraft 1900D สองเครื่อง กับเครื่องบินฝึกไอพ่นโจมตีเบา K-8W จำนวน 6เครื่อง และเครื่องบินลำเลียง ATR 42
โดยเครื่อง Beechcraft 1900D จะถูกนำมาใช้ในภารกิจลาดตระเวนทางอากาศ ค้นหากู้ภัยทางอากาศ และการฝึกนักบินลำเลียงที่จะไปทำการบินกับ บ.ลำเลียง ATR 42, ATR 72, Y-8 และเครื่องบินโดยสารของ Airbus ต่อไป
ในส่วนของเครื่องบินฝึกอีกแบบคือ Grob G 120TP จากจำนวนที่กองทัพพม่าสั่งจัดหา 20เครื่อง ไม่มีข้อมูลว่าได้รับมอบเล้วกี่เครื่อง แต่คาดว่าน่าจะได้รับมอบอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของจำนวนที่สั่งจัดหา
ซึ่งในพิธีรับมอบเครื่องเดือนมิถุนายนที่ผ่านมานี้ เครื่องบินฝึกขั้นต้น Grob G 120TP จำนวนหนึ่งยังได้ทำการแสดงการบินสาธิตให้คณะผู้ชมงานด้วย
"ไม่เพียงแต่เป็นการเพิ่มความแข็งแกร่งทางนภานุภาพให้กองทัพอากาศของเรา แต่ยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถด้านการป้องกันประเทศให้กองทัพแห่งชาติ(Tatmadaw)เราด้วย" พลเอกอาวุโส Min Aung Hlaing กล่าว
ตามข้อมูลจากการให้สัมภาษณ์ กองทัพอากาศพม่าได้ประจำการอากาศยานใหม่จำนวน 36เครื่องในช่วง4ปีนี้ โดย 29เครื่องเป็นอากาศยานปีกตรึงรวมสี่แบบ และ 7เครื่องเป็นอากาศยานปีกหมุนรวมสามแบบ
ซึ่งอากาศยานส่วนหนึ่งมีการทำการประกอบภายในฐานซ่อมบำรุงและผลิตอากาศยานของกองทัพอากาศพม่าที่ Meikhtilla ด้วยครับ
A lineup of new aircraft for Myanmar during a 24 June 2015 commissioning ceremony at Meikthilla Air Force Base.
The 6812 serial on the Mi-35P would suggest that this is the 12th aircraft in a series of helicopters that have been delivered since 2010 or so by Rosvertol. Source: Myanmar Armed Forces
An Airbus Helicopters AS365 Dauphin at a 24 June 2015 commissioning ceremony at Meikthilla Air Force Base, Myanmar. (Myanmar Armed Forces)
At least half of 20 Grob G-120TP basic trainers on order have been delivered to Myanmar. (Myanmar Armed Forces)
http://www.janes.com/article/53049/myanmar-commissions-helos-transport-aircraft
ตามรายงานเมื่อวันที่ 24 มิถุนายนที่ผ่านมา กองทัพอากาศพม่า(Tatmadaw Lay) ได้ทำพิธีเข้าประจำการของอากาศยานหลายแบบ ณ ศูนย์ฝึกการบิน ฐานทัพอากาศ Meikhtilla (Shante)
โดยพลเอกอาวุโส Min Aung Hlaing ผู้บัญชาการสูงสุดกองทัพพม่า(Defence Services) ได้เยี่ยมชมอากาศยานที่กองทัพอากาศพม่านำเข้าประจำการหลายแบบที่ฐานทัพอากาศ Meikhtilla เช่น
เฮลิคอปเตอร์โจมตี Mil Mi-35P ที่ NATO กำหนดรหัสว่า "Hind-F" หมายเลข 6812 ซึ่งแสดงว่านับตั้งแต่กองทัพอากาศพม่าสั่งจัดหา ฮ.โจมตี Mi-35P จากรัสเซียในปี 2010 ปัจจุบันได้รับมอบแล้วอย่างน้อย 12เครื่อง
รวมถึงเฮลิคอปเตอร์จากบริษัทตะวันตกคือ ฮ.ลำเลียงเบา Bell 206 Jetranger III ซึ่งจะนำมาใช้เป็น ฮ.ฝึกขั้นต้นสำหรับนักบินเฮลิคอปเตอร์ที่จะไปทำการบินกับ ฮ.ลำเลียง Mi-2, Mi-17 และ ฮ.โจมตี Mi-35 ต่อไป
และ ฮ.ลำเลียงกลาง Airbus Helicopters AS365 Dauphin ซึ่งจะนำมาใช้ในภารกิจค้นหากู้ภัยทางอากาศ การส่งกลับทางสายแพทย์ และการลาดตระเวนทางทะเล
นอกจากนี้ยังมีการตั้งแสดงเครื่องบินลำเลียงเบา Beechcraft 1900D ซึ่งก่อนหน้านี้วันที่ 25 กุมภาพันธ์ ได้มีการตั้งแสดงเครื่อง Beechcraft 1900D สองเครื่อง กับเครื่องบินฝึกไอพ่นโจมตีเบา K-8W จำนวน 6เครื่อง และเครื่องบินลำเลียง ATR 42
โดยเครื่อง Beechcraft 1900D จะถูกนำมาใช้ในภารกิจลาดตระเวนทางอากาศ ค้นหากู้ภัยทางอากาศ และการฝึกนักบินลำเลียงที่จะไปทำการบินกับ บ.ลำเลียง ATR 42, ATR 72, Y-8 และเครื่องบินโดยสารของ Airbus ต่อไป
ในส่วนของเครื่องบินฝึกอีกแบบคือ Grob G 120TP จากจำนวนที่กองทัพพม่าสั่งจัดหา 20เครื่อง ไม่มีข้อมูลว่าได้รับมอบเล้วกี่เครื่อง แต่คาดว่าน่าจะได้รับมอบอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของจำนวนที่สั่งจัดหา
ซึ่งในพิธีรับมอบเครื่องเดือนมิถุนายนที่ผ่านมานี้ เครื่องบินฝึกขั้นต้น Grob G 120TP จำนวนหนึ่งยังได้ทำการแสดงการบินสาธิตให้คณะผู้ชมงานด้วย
"ไม่เพียงแต่เป็นการเพิ่มความแข็งแกร่งทางนภานุภาพให้กองทัพอากาศของเรา แต่ยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถด้านการป้องกันประเทศให้กองทัพแห่งชาติ(Tatmadaw)เราด้วย" พลเอกอาวุโส Min Aung Hlaing กล่าว
ตามข้อมูลจากการให้สัมภาษณ์ กองทัพอากาศพม่าได้ประจำการอากาศยานใหม่จำนวน 36เครื่องในช่วง4ปีนี้ โดย 29เครื่องเป็นอากาศยานปีกตรึงรวมสี่แบบ และ 7เครื่องเป็นอากาศยานปีกหมุนรวมสามแบบ
ซึ่งอากาศยานส่วนหนึ่งมีการทำการประกอบภายในฐานซ่อมบำรุงและผลิตอากาศยานของกองทัพอากาศพม่าที่ Meikhtilla ด้วยครับ
วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
ญี่ปุ่นลงนามสัญญาจัดหา V-22 ชุดแรก 5เครื่อง
First five Japanese V-22s placed on contract
Japan has placed five V-22s on contract for delivery by June 2018. Source: IHS/Peter Felstead
http://www.janes.com/article/53031/first-five-japanese-v-22s-placed-on-contract
วันที่ 14 กรกฎาคมที่ผ่านมากระทรวงกลาโหมสหรัฐฯหรือ Pentagon ได้แถลงข่าวว่า บริษัทร่วม Boeing-Bell ได้รับการลงนามสัญญาจัดหาอากาศยานใบพัดกระดกแบบ V-22B Block C Osprey จากญี่ปุ่นชุดแรกจำนวน 5เครื่องวงเงิน $332.5 million
ทาง Mitch Snyder รองประธานฝ่ายเฮลิคอปเตอร์ทางทหารของ Bell Helicopter ได้กล่าวในงานแถลงว่า
"ทีมของ Bell-Boeing รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ญี่ปุ่นเป็นลูกค้าต่างประเทศรายแรกสำหรับ V-22" โดย Pentagon ได้ให้ข้อมูลว่า V-22 Osprey ชุดแรก 5เครื่องจะส่งมอบให้กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นได้ภายในเดือนมิถุนายน ปี 2018
องค์กรความร่วมมือด้านการป้องกันความมั่นคงสหรัฐ DSCA(Defense Security Cooperation Agency) ได้เผยแพร่เอกสารแสดงความความเป็นไปได้ที่ญี่ปุ่นจะขอจัดซื้อ V-22 จากรัฐบาลสหรัฐฯเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
ระบุว่าญี่ปุ่นต้องการจัดหา V-22 จำนวน 17เครื่องพร้อมเครื่องยนต์ Rolls-Royce 40เครื่อง วงเงิน $3 billion เป็นงบประมาณผูกพัน 5ปี ซึ่งญี่ปุ่นจะนำไปใช้ในภารกิจช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม การบรรเทาภัยพิบัติ และสนับสนุนปฏิบัติการยกพลขึ้นบก
ทั้งนี้กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นได้ประกาศการเลือกแบบอากาศยานใบพัดกระดก V-22 Osprey เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2014 ตามแผนความต้องการปีงบประมาณ 2015
ซึ่ง V-22 จะถูกนำมาสนับสนุนหน่วยปฏิบัติการยกพลขึ้นบกที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่สองกองพลและสองกองพลน้อยของกองกำลังป้องกันตนเอง สำหรับรองรับปฏิบัติการยึดหมู่เกาะที่ห่างไกลในเขตอธิปไตยของญี่ปุ่นคืนจากบุกยึดของกองกำลังต่างชาติที่รุกราน
โดยแนวคิดนี้ได้ประกาศขึ้นตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี 2013 เมื่อญี่ปุ่นต้องเผชิญหน้ากับจีนในข้อพิพาทด้านเขตแดนเหนือหมู่เกาะเซนกากุ หรือเตียวหยู่ ที่สร้างความขัดแย้งรุนแรงของทั้งสองประเทศมากขึ้นในช่วงหลายปีมานี้
อีกทั้งรัฐบาลญี่ปุ่นภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี ชินโซะ อาเบะ ยังได้ผ่านมติในรัฐสภา เพื่อผลักดันการแก้ไขกฎหมายให้ทหารกองกำลังป้องกันตนเองสามารถส่งกำลังออกไปปฏิบัติภารกิจสงครามนอกประเทศได้
เป็นการสร้างกระแสต่อต้านจากกลุ่มพรรคการเมืองฝ่ายค้านและการประท้วงของประชาชนญี่ปุ่นที่ไม่พอใจรัฐบาล ที่ถูกมองว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญสันติภาพและจะพาญี่ปุ่นเข้าสู่สงครามอีกครั้งหลังจากที่เป็นผู้แพ้ในสงครามโลกครั้งที่สองเมื่อ70ปีก่อนครับ
Japan has placed five V-22s on contract for delivery by June 2018. Source: IHS/Peter Felstead
http://www.janes.com/article/53031/first-five-japanese-v-22s-placed-on-contract
วันที่ 14 กรกฎาคมที่ผ่านมากระทรวงกลาโหมสหรัฐฯหรือ Pentagon ได้แถลงข่าวว่า บริษัทร่วม Boeing-Bell ได้รับการลงนามสัญญาจัดหาอากาศยานใบพัดกระดกแบบ V-22B Block C Osprey จากญี่ปุ่นชุดแรกจำนวน 5เครื่องวงเงิน $332.5 million
ทาง Mitch Snyder รองประธานฝ่ายเฮลิคอปเตอร์ทางทหารของ Bell Helicopter ได้กล่าวในงานแถลงว่า
"ทีมของ Bell-Boeing รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ญี่ปุ่นเป็นลูกค้าต่างประเทศรายแรกสำหรับ V-22" โดย Pentagon ได้ให้ข้อมูลว่า V-22 Osprey ชุดแรก 5เครื่องจะส่งมอบให้กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นได้ภายในเดือนมิถุนายน ปี 2018
องค์กรความร่วมมือด้านการป้องกันความมั่นคงสหรัฐ DSCA(Defense Security Cooperation Agency) ได้เผยแพร่เอกสารแสดงความความเป็นไปได้ที่ญี่ปุ่นจะขอจัดซื้อ V-22 จากรัฐบาลสหรัฐฯเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
ระบุว่าญี่ปุ่นต้องการจัดหา V-22 จำนวน 17เครื่องพร้อมเครื่องยนต์ Rolls-Royce 40เครื่อง วงเงิน $3 billion เป็นงบประมาณผูกพัน 5ปี ซึ่งญี่ปุ่นจะนำไปใช้ในภารกิจช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม การบรรเทาภัยพิบัติ และสนับสนุนปฏิบัติการยกพลขึ้นบก
ทั้งนี้กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นได้ประกาศการเลือกแบบอากาศยานใบพัดกระดก V-22 Osprey เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2014 ตามแผนความต้องการปีงบประมาณ 2015
ซึ่ง V-22 จะถูกนำมาสนับสนุนหน่วยปฏิบัติการยกพลขึ้นบกที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่สองกองพลและสองกองพลน้อยของกองกำลังป้องกันตนเอง สำหรับรองรับปฏิบัติการยึดหมู่เกาะที่ห่างไกลในเขตอธิปไตยของญี่ปุ่นคืนจากบุกยึดของกองกำลังต่างชาติที่รุกราน
โดยแนวคิดนี้ได้ประกาศขึ้นตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี 2013 เมื่อญี่ปุ่นต้องเผชิญหน้ากับจีนในข้อพิพาทด้านเขตแดนเหนือหมู่เกาะเซนกากุ หรือเตียวหยู่ ที่สร้างความขัดแย้งรุนแรงของทั้งสองประเทศมากขึ้นในช่วงหลายปีมานี้
อีกทั้งรัฐบาลญี่ปุ่นภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี ชินโซะ อาเบะ ยังได้ผ่านมติในรัฐสภา เพื่อผลักดันการแก้ไขกฎหมายให้ทหารกองกำลังป้องกันตนเองสามารถส่งกำลังออกไปปฏิบัติภารกิจสงครามนอกประเทศได้
เป็นการสร้างกระแสต่อต้านจากกลุ่มพรรคการเมืองฝ่ายค้านและการประท้วงของประชาชนญี่ปุ่นที่ไม่พอใจรัฐบาล ที่ถูกมองว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญสันติภาพและจะพาญี่ปุ่นเข้าสู่สงครามอีกครั้งหลังจากที่เป็นผู้แพ้ในสงครามโลกครั้งที่สองเมื่อ70ปีก่อนครับ
วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
ยูเครนรับมอบรถถังหลัก T-80 ที่ปรับปรุงใหม่ชุดแรก
Ukraine receives first modernised T-80 MBTs
Ukraine's Kharkiv armoured plant delivered 8 modernised T-80 main battle tanks to the Ukrainian military on 13 July Source: Ukraine MoD
http://www.janes.com/article/53010/ukraine-receives-first-modernised-t-80-mbts
Ukraine's Kharkiv armoured plant delivered 8 modernised T-80 main battle tanks to the Ukrainian military on 13 July Source: Ukraine MoD
http://www.janes.com/article/53010/ukraine-receives-first-modernised-t-80-mbts
เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคมที่ผ่านมาที่โรงงานยานเกราะ Kharkiv กองทัพยูเครนได้รับมอบรถถังหลัก T-80BV ที่ผ่านการปรับปรุงโดย KMDB(Kharkiv Morozov Machine Building Design Bureau) ชุดแรกจำนวน 8คัน
ซึ่งการปรับปรุงรถถังหลัก T-80 นี้เป็นไปตามกำหนดการณ์ โดยการปรับปรุงหลักๆคือการปรับเปลี่ยนระบบในป้อมปืน ตัวถัง และติดตั้งเกราะปฏิกิริยาระเบิด ERA(Explosive Reactive Armour) แบบ Kontakt
ตามการให้ข้อมูลของ Ukroboronprom หน่วยงานจัดการด้านยุทโธปกรณ์ของยูเครน T-80 ที่ปรับปรุงใหม่นี้จะถูกส่งเข้าสู่ "พื้นที่ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้าย"(ATO: zone of the antiterrorist operation)
ที่รัฐบาลยูเครนใช้เรียกเขตสงครามกับกลุ่มติดอาวุธนิยมรัสเซียในภาค Donbass ทางตะวันออกของยูเครน ทางกระทรวงกลาโหมยูเครนมีข้อมูลเช่นกันว่ารถถัง T-80 จะถูกส่งมอบให้หน่วยยานเกราะของกองกำลังพลร่มกองทัพยูเครน
และช่วงเวลาเดียวกับที่ส่งมอบ ถ.T-80 ที่ปรับปรุงแล้ว 8คันให้กองทัพยูเครนนั้น กระทรวงกลาโหมยูเคนและ KMBD ก็ได้เปิดตัวรถเกราะล้อยาง Dozor-B 4x4 ซึ่งจะส่งมอบรถคันแรกในเดือนกันยายนตามที่ได้เคยรายงานไปครับ
วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
KMDB ยูเครนเปิดตัวรถเกราะล้อยาง 4x4 Dozor B รุ่นล่าสุด
KMDB of Ukraine has presented the latest version of the Dozor B 4x4 armoured personnel carrier
The new Dozor B was presented July 14, 2015 in Lviv, Ukraine.
http://www.armyrecognition.com/july_2015_global_defense_security_news_uk/kmdb_of_ukraine_has_presented_the_latest_version_of_the_dozor_b_4x4_armoured_personnel_carrier_11507151.html
KMDB ยูเครนได้เปิดตัวรถหุ้มเกราะล้อยางแบบ Dozor B รุ่นล่าสุดที่โรงงานยานเกราะ Lviv เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคมที่ผ่านมา
โดยนาย Roman Romanov ผู้อำนวยการทั่วไปของ Ukroboronprom หน่วยงานด้านการจัดการยุทโธปกรณ์ของยูเครนได้กล่าวว่า กองทัพยูเครนจะได้รับมอบรถเกราะ Dozor B คันแรกภายในเดือนกันยายนนี้
Dozor B เป็นรถหุ้มเกราะล้อยางลำเลียงพลเบา 4x4 ซึ่งออกแบบโดย KMDB(Kharkiv Morozov Machine Building Design Bureau) บริษัทด้านอุตสาหกรรมยานรบของยูเครน
รถเกราะ Dozor รุ่นแรกได้เปิดตัวในงาน IDEX 2007 ที่ Abu Dhabi สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งออกแบบมาสำหรับการลำเลียงพลและภารกิจอื่นๆ เช่น การสนับสนุนหน่วยปฏิบัติการพิเศษ และการรักษากฎหมาย
โดย Dozor B สามารถป้องกันตนเองได้จากกับระเบิดต่อต้านรถถังและอาวุธประจำกายขนาดเบา ซึ่งตัวถังรถสามารถปกป้องกำลังพลในรถจากการยิงของกระสุนขนาด 7.62mm ได้
รถเกราะ Dozor B ติดตั้งเครื่องยนต์สี่ลูกสูบพร้อม Turbocharger ของ IVECO และระบบส่งกำลัง บนหลังคารถยังติดตั้งป้อมปืน Remote ที่ทำการควบคุมการยิงภายในตัวรถ ซึ่งใช้ปืนกลหนักขนาด 12.7mm ด้วย
ในเดือนมกราคม 2015 ประธานาธิบดียูเครนนาย Petro Poroshenko ได้เปิดตัวรถเกราะ Dozor B รุ่นใหม่ ซึ่งตามข้อมูลกองทัพยูเครนได้ทำการทดสอบ Dozor B เรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่ได้นำรถเข้าประจำการแต่อย่างใดครับ
The new Dozor B was presented July 14, 2015 in Lviv, Ukraine.
http://www.armyrecognition.com/july_2015_global_defense_security_news_uk/kmdb_of_ukraine_has_presented_the_latest_version_of_the_dozor_b_4x4_armoured_personnel_carrier_11507151.html
KMDB ยูเครนได้เปิดตัวรถหุ้มเกราะล้อยางแบบ Dozor B รุ่นล่าสุดที่โรงงานยานเกราะ Lviv เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคมที่ผ่านมา
โดยนาย Roman Romanov ผู้อำนวยการทั่วไปของ Ukroboronprom หน่วยงานด้านการจัดการยุทโธปกรณ์ของยูเครนได้กล่าวว่า กองทัพยูเครนจะได้รับมอบรถเกราะ Dozor B คันแรกภายในเดือนกันยายนนี้
Dozor B เป็นรถหุ้มเกราะล้อยางลำเลียงพลเบา 4x4 ซึ่งออกแบบโดย KMDB(Kharkiv Morozov Machine Building Design Bureau) บริษัทด้านอุตสาหกรรมยานรบของยูเครน
รถเกราะ Dozor รุ่นแรกได้เปิดตัวในงาน IDEX 2007 ที่ Abu Dhabi สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งออกแบบมาสำหรับการลำเลียงพลและภารกิจอื่นๆ เช่น การสนับสนุนหน่วยปฏิบัติการพิเศษ และการรักษากฎหมาย
โดย Dozor B สามารถป้องกันตนเองได้จากกับระเบิดต่อต้านรถถังและอาวุธประจำกายขนาดเบา ซึ่งตัวถังรถสามารถปกป้องกำลังพลในรถจากการยิงของกระสุนขนาด 7.62mm ได้
รถเกราะ Dozor B ติดตั้งเครื่องยนต์สี่ลูกสูบพร้อม Turbocharger ของ IVECO และระบบส่งกำลัง บนหลังคารถยังติดตั้งป้อมปืน Remote ที่ทำการควบคุมการยิงภายในตัวรถ ซึ่งใช้ปืนกลหนักขนาด 12.7mm ด้วย
ในเดือนมกราคม 2015 ประธานาธิบดียูเครนนาย Petro Poroshenko ได้เปิดตัวรถเกราะ Dozor B รุ่นใหม่ ซึ่งตามข้อมูลกองทัพยูเครนได้ทำการทดสอบ Dozor B เรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่ได้นำรถเข้าประจำการแต่อย่างใดครับ
วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
กองทัพเรือรัสเซียจะทดสอบแนวคิดแบบแผนเรือรบทรง Trimaran ใหม่
Russian Navy to Test a New Trimaran Vessel Concept Similar to LCS by Zelenodolsk Design Bureau
Zelenodolsk Design Bureau (ZPKB) Trimaran Vessel Concept (SAR) could be Russia's future Littoral Combat Ship (LCS)
Zelenodolsk Design Bureau (ZPKB) Trimaran Vessel Concept (SAR) could be Russia's future Littoral Combat Ship (LCS)
http://www.navyrecognition.com/index.php?option=com_content&task=view&id=2897
สำนักออกแบบ Zelenodolsk (ZPKB: Zelenodolsk Design Bureau) ได้ทำการพัฒนาแนวคิดเรือรบผิวน้ำทรง Trimaran สำหรับกองทัพเรือรัสเซียซึ่งพร้อมที่จะทดสอบเรือแบบจำลองย่อส่วนเพื่อพิสูจน์ความเป็นไปได้ของแนวคิด
โดยแบบเรือที่มีความคล้ายคลึงกับเรือ LCS (Littoral Combat Ship) ชั้น Freedom และชั้น Independence ของกองทัพเรือสหรัฐฯนี้ ทาง ZPKB ได้พัฒนาแบบแผนจากพื้นฐานเรือ RUSICH-2.2 ที่ใช้ในงานพลเรือน
แบบเรือนี้ได้รับงบประมาณจากกระทรวงกลาโหมรัสเซียตั้งแต่เดือนเมษายนในการออกแบบสร้างแบบจำลองทดสอบพร้อมระบบขับเคลื่อนความเร็วสูงในตัวที่กำหนดแบบว่า SAR โดย ZPKB
ถ้าแบบเรือนี้ได้รับการยอมรับก็อาจจะนำไปสู่ความเป็นไปได้ในการสร้างเรือตรวจการณ์แบบใหม่ของกองทัพเรือรัสเซียและส่งออกให้ต่างประเทศที่สนใจในอนาคต
จากภาพแสดงแนวคิดแนวคิดของเรือรบทรง Trimaran แบบ SAR ของ ZPKB รัสเซียนั้น ตัวเรือมีระวางขับน้ำ 1,500tons ทำความเร็วได้สูงสุด 35knots
ระบบอาวุธมีปืนใหญ่เรือ A-192 ขนาด 130mm, แท่นยิงแนวดิ่ง VLS แบบ UKSK หรือ Redut, Torpedo แบบ Paket-NK, ระบบป้องกันระยะประชิด AK-630M-2 Duet, แท่นยิงเป้าลวง PK-10
Radar แบบ Furke และ Mini-Poliment(จากเรือคอร์เวต Project 20385 ชั้น Gremyashchy), ระบบ Sonar ในลำตัวเรือแบบ Zarya-2 และ Sonar ปรับความลึกได้(VDS: Variable Depth Sonar) แบบ Vinietka
Radar ความคุมการยิง 5P-10 Puma รวมถึงลานจอดเฮลิคอปเตอร์ซึ่งมีโรงเก็บใต้ดาดฟ้าภายในลำตัวเรือรองรับ ฮ.Ka-27 หรือ ฮ.ขนาดใกล้เคียงกันครับ
Zelenodolsk Design Bureau (ZPKB) Trimaran Vessel Concept (SAR) could be Russia's future Littoral Combat Ship (LCS)
Zelenodolsk Design Bureau (ZPKB) Trimaran Vessel Concept (SAR) could be Russia's future Littoral Combat Ship (LCS)
http://www.navyrecognition.com/index.php?option=com_content&task=view&id=2897
สำนักออกแบบ Zelenodolsk (ZPKB: Zelenodolsk Design Bureau) ได้ทำการพัฒนาแนวคิดเรือรบผิวน้ำทรง Trimaran สำหรับกองทัพเรือรัสเซียซึ่งพร้อมที่จะทดสอบเรือแบบจำลองย่อส่วนเพื่อพิสูจน์ความเป็นไปได้ของแนวคิด
โดยแบบเรือที่มีความคล้ายคลึงกับเรือ LCS (Littoral Combat Ship) ชั้น Freedom และชั้น Independence ของกองทัพเรือสหรัฐฯนี้ ทาง ZPKB ได้พัฒนาแบบแผนจากพื้นฐานเรือ RUSICH-2.2 ที่ใช้ในงานพลเรือน
แบบเรือนี้ได้รับงบประมาณจากกระทรวงกลาโหมรัสเซียตั้งแต่เดือนเมษายนในการออกแบบสร้างแบบจำลองทดสอบพร้อมระบบขับเคลื่อนความเร็วสูงในตัวที่กำหนดแบบว่า SAR โดย ZPKB
ถ้าแบบเรือนี้ได้รับการยอมรับก็อาจจะนำไปสู่ความเป็นไปได้ในการสร้างเรือตรวจการณ์แบบใหม่ของกองทัพเรือรัสเซียและส่งออกให้ต่างประเทศที่สนใจในอนาคต
จากภาพแสดงแนวคิดแนวคิดของเรือรบทรง Trimaran แบบ SAR ของ ZPKB รัสเซียนั้น ตัวเรือมีระวางขับน้ำ 1,500tons ทำความเร็วได้สูงสุด 35knots
ระบบอาวุธมีปืนใหญ่เรือ A-192 ขนาด 130mm, แท่นยิงแนวดิ่ง VLS แบบ UKSK หรือ Redut, Torpedo แบบ Paket-NK, ระบบป้องกันระยะประชิด AK-630M-2 Duet, แท่นยิงเป้าลวง PK-10
Radar แบบ Furke และ Mini-Poliment(จากเรือคอร์เวต Project 20385 ชั้น Gremyashchy), ระบบ Sonar ในลำตัวเรือแบบ Zarya-2 และ Sonar ปรับความลึกได้(VDS: Variable Depth Sonar) แบบ Vinietka
Radar ความคุมการยิง 5P-10 Puma รวมถึงลานจอดเฮลิคอปเตอร์ซึ่งมีโรงเก็บใต้ดาดฟ้าภายในลำตัวเรือรองรับ ฮ.Ka-27 หรือ ฮ.ขนาดใกล้เคียงกันครับ
วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
แคนาดายกเลิกสัญญาจัดหา Radar ประจำฐานทัพอากาศสำหรับสนับสนุนเครื่องบินขับไล่ CF-18
Canada's CF18 bases won't have radar units replaced as $55M deal cancelled
A military mobile radar unit in Resolute Bay, Nunavut. The government is terminating its contract with Thales Canada Ltd., which was to supply new radar units to support CF-18 fighter jet squadrons
http://www.cbc.ca/news/politics/canada-s-cf18-bases-won-t-have-radar-units-replaced-as-55m-deal-cancelled-1.3145196
รัฐบาลแคนาดาของนายกรัฐมนตรี Stephen Harper ได้สั่งยกเลิกโครงการจัดหา Radar สนับสนุนฐานทัพอากาศของกองทัพอากาศแคนาดาที่ปฏิบัติการด้วยเครื่องบินขับไล่ CF-18
โดยเดิมทีแคนาดาได้ลงนามกับ Thales Canada Ltd., ในการจัดหา Radar ควบคุมทางยุทธวิธีแบบ Ground Master 400 จำนวน 2ระบบ วงเงิน $55 million ในปี 2010 และจะได้รับมอบระบบในปี 2013
ซึ่งระบบ Thales Ground Master 400 ได้ถูกส่งออกให้กับหลายประเทศ เช่น เยอรมนี ฟินแลนด์ และมาเลเซีย
แต่ได้เกิดความล่าช้าในโครงการจนปี 2013 งบประมาณได้พุ่งขึ้นไปเป็น $78 million ประกอบกับการเจรจาหาข้อตกลงระหว่างกันในเดือนกุมภาพันธ์ 2015 ไม่เป็นผล รัฐบาลแคนาดาจึงตัดสินใจยกเลิกโครงการในที่สุด
"ยังไม่มีรายละเอียดขั้นสุดท้ายในการเจรจาขณะนี้ ดังนั้นทาง Thales จึงยังไม่ขอให้ความเห็นเพิ่มเติมตอนนี้"
Siegfried Usal โฆษกของ Thales Canada ได้ให้ข้อมูลต่อสื่อผ่านการสัมภาษณ์ทาง E-Mail
กองทัพอากาศแคนาดามีความต้องการจัดหา Radar ประจำฐานทัพอากาศแบบใหม่ทดแทนระบบ Westinghouse AN/TPS-70 ตั้งแต่ปี 2008 เนื่องจากการให้บริการสนับสนุนระบบจากผู้ผลิตได้ยุติลง
(Northrop Grumman ได้ซื้อกิจการ Westinghouse ในปี 1996 จัดตั้งเป็น Northrop Grumman Electronic Systems)
ทำให้กองทัพอากาศแคนดาต้องการจัดหาระบบ Radar ใหม่สำหรับสนับสนุนเครือข่ายป้องกันภัยทางอากาศ NORAD(North American Aerospace Defense Command) ที่สามารถตรวจการณ์ห้วงอากาศครอบคลุมได้ 450km
อย่างไรก็ตามการยกเลิกโครงการจัดหา Radar ประจำฐานทัพอากาศใหม่กับ Thales ส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถของกองทัพแคนาดาที่ยังมีโครงการที่ต้องนำงบประมาณมาใช้อีกมาก
เช่น โครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35 ทดแทน CF-18 เฮลิคอปเตอร์ CH-148 Cyclone ทดแทน Sea King ในอนาคต รวมถึงการซ่อมบำรุงเรือดำน้ำชั้น Victoria หรือชั้น Upholder มือสองจากอังกฤษ 4ลำ
ซึ่งรัฐบาลแคนาดาได้ตัดลดงบประมาณกลาโหมลงอย่างต่อเนื่องหลายปีเพื่อลดค่าใช้จ่ายของภาครัฐลงครับ
A military mobile radar unit in Resolute Bay, Nunavut. The government is terminating its contract with Thales Canada Ltd., which was to supply new radar units to support CF-18 fighter jet squadrons
http://www.cbc.ca/news/politics/canada-s-cf18-bases-won-t-have-radar-units-replaced-as-55m-deal-cancelled-1.3145196
รัฐบาลแคนาดาของนายกรัฐมนตรี Stephen Harper ได้สั่งยกเลิกโครงการจัดหา Radar สนับสนุนฐานทัพอากาศของกองทัพอากาศแคนาดาที่ปฏิบัติการด้วยเครื่องบินขับไล่ CF-18
โดยเดิมทีแคนาดาได้ลงนามกับ Thales Canada Ltd., ในการจัดหา Radar ควบคุมทางยุทธวิธีแบบ Ground Master 400 จำนวน 2ระบบ วงเงิน $55 million ในปี 2010 และจะได้รับมอบระบบในปี 2013
ซึ่งระบบ Thales Ground Master 400 ได้ถูกส่งออกให้กับหลายประเทศ เช่น เยอรมนี ฟินแลนด์ และมาเลเซีย
แต่ได้เกิดความล่าช้าในโครงการจนปี 2013 งบประมาณได้พุ่งขึ้นไปเป็น $78 million ประกอบกับการเจรจาหาข้อตกลงระหว่างกันในเดือนกุมภาพันธ์ 2015 ไม่เป็นผล รัฐบาลแคนาดาจึงตัดสินใจยกเลิกโครงการในที่สุด
"ยังไม่มีรายละเอียดขั้นสุดท้ายในการเจรจาขณะนี้ ดังนั้นทาง Thales จึงยังไม่ขอให้ความเห็นเพิ่มเติมตอนนี้"
Siegfried Usal โฆษกของ Thales Canada ได้ให้ข้อมูลต่อสื่อผ่านการสัมภาษณ์ทาง E-Mail
กองทัพอากาศแคนาดามีความต้องการจัดหา Radar ประจำฐานทัพอากาศแบบใหม่ทดแทนระบบ Westinghouse AN/TPS-70 ตั้งแต่ปี 2008 เนื่องจากการให้บริการสนับสนุนระบบจากผู้ผลิตได้ยุติลง
(Northrop Grumman ได้ซื้อกิจการ Westinghouse ในปี 1996 จัดตั้งเป็น Northrop Grumman Electronic Systems)
ทำให้กองทัพอากาศแคนดาต้องการจัดหาระบบ Radar ใหม่สำหรับสนับสนุนเครือข่ายป้องกันภัยทางอากาศ NORAD(North American Aerospace Defense Command) ที่สามารถตรวจการณ์ห้วงอากาศครอบคลุมได้ 450km
อย่างไรก็ตามการยกเลิกโครงการจัดหา Radar ประจำฐานทัพอากาศใหม่กับ Thales ส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถของกองทัพแคนาดาที่ยังมีโครงการที่ต้องนำงบประมาณมาใช้อีกมาก
เช่น โครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35 ทดแทน CF-18 เฮลิคอปเตอร์ CH-148 Cyclone ทดแทน Sea King ในอนาคต รวมถึงการซ่อมบำรุงเรือดำน้ำชั้น Victoria หรือชั้น Upholder มือสองจากอังกฤษ 4ลำ
ซึ่งรัฐบาลแคนาดาได้ตัดลดงบประมาณกลาโหมลงอย่างต่อเนื่องหลายปีเพื่อลดค่าใช้จ่ายของภาครัฐลงครับ
วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
ภาพประกอบนวนิยายตำนานเจ้าคีรี ปิศาจจิ้งจอกขาว
ปกติไม่เคยวาดตัวละครในลักษณะ Fantasy อย่างปิศาจญี่ปุ่น เช่น "นางปิศาจจิ้งจอกขาวห้าหาง" (白の五尾狐 Shiro no Gobi Kitsune) นี่มาก่อน
เพราะโดยมากทั้ง Comics การ์ตูนเรื่องสั้น การ์ตูนเรื่องยาว หรือนิยายที่เคยแต่งมาจะเป็นแนวสมจริง
แต่ก็พอมีประสบการณ์มาบ้างช่วงที่เคยเข้าร่วมกิจกรรม TCM CF(Thai Comic Magazine Comic Fighting)
ซึ่งมักต้องเจอตัวละครที่เป็นแนว Fantasy ในการวาดแข่งขันต่อสู้ หรือดำเนินเรื่องราวในเมือง CF City อยู่ตลอด
(ตอนนี้ติดตามกิจกรรม CF ต่อไม่ได้แล้วหลัง tcmcfx.bth.cc ยกเลิกการใช้ แล้วย้ายไปอยู่ใน Group บน Facebook)
สำหรับนวนิยายเรื่อง "ตำนานเจ้าคีรี" นี่ในฐานะผู้แต่งแล้ว พอลองกลับมาย้อนอ่านดูอีกทีนี่นับว่าตลกมาก
คือเนื้อหาในบทครึ่งแรกของเรื่องเป็นแนวสงครามและการเมืองช่วงสงครามโลกครั้งที่๒ แบบสมจริง
แต่พอมาถึงเนื้อหาช่วงครึ่งหลังของเรื่องนี่กลายเป็นแนวเหนือธรรมชาติโม้หลุดโลกไปแล้ว
ก็ไม่ทราบเหมือนว่า Manga ญี่ปุ่นเองเคยมีเรื่องไหนมีเนื้อเรื่องประมาณเดียวกันนี้ว่า
มีนักพรตนักเวทองเมียวและปิศาจญี่ปุ่นรบให้กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกครั้งที่๒ รึเปล่า
(ส่วนตัวคิดว่ามีนะ แต่แค่ไม่ทราบไม่เคยอ่าน แนวสงคราม Tech vs Magic นี่ไม่ใช่แนวที่อ่าน)
หมายเหตุ: เพิ่งสังเกตุว่าตัวละครในเรื่องยาวนี้ส่วนใหญ่เครื่องแต่งกายยืนสีแดงเป็นพื้น
อย่างไรก็ช่วยติดตามนวนิยาย "ตำนานเจ้าคีรี" ตอนใหม่ได้ทุกวันจันทร์ของสัปดาห์ด้วยครับที่
http://writer.dek-d.com/aagth1/writer/view.php?id=1308077
วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
กองทัพอากาศสหรัฐฯใกล้เลือกแบบโครงการเครื่องบินทิ้งระเบิด LRS-B
B-52 fleet will be replace by Long-Range Strike Bomber (LRS-B).
LRS-B selection nears
http://www.janes.com/article/52904/lrs-b-selection-nears
William LaPlante รองเลขานุการด้านการบริการส่วนฝ่ายจัดหาได้กล่าวในข้อมูลที่ศูนย์ยุทธศาสตร์และการศึกษานานาชาติใน Washington DC
เกี่ยวกับโครงการเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ Long-Range Strike Bomber (LRS-B) สำหรับกองทัพอากาศสหรัฐฯว่า
จะมีการเลือกแบบผู้ชนะในสัญญาจัดหาเพื่อพัฒนาเครื่องภายในสามเดือนข้างหน้าระหว่างทีมของ Northrop Grumman และทีมของ Lockheed Martin ร่วมกับ Boeing
"โครงการจะเสร็จเมื่อมันเสร็จ" นาย LaPlante ยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า "มันสำคัญกว่ามากที่จะดำเนินการภายใต้วิธีการในเวลาที่เหมาะสมและเราจะทำให้ถูกต้อง"
โครงการ Long-Range Strike Bomber ของกองทัพอากาศสหรัฐฯเป็นโครงการพัฒนาเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์แบบใหม่ทดแทนเครื่องบินทิ้งระเบิดเก่าที่ประจำการมานาน
โดยเฉพาะ B-52 Stratofortress รวมถึง B-1 Lancer และอาจจะรวม B-2 Spirit ในอนาคตด้วย
ซึ่งแบบแผนเครื่องเบื้องต้นจะมีคุณสมบัติตรวจจับได้ยาก Stealth บรรทุกอาวุธโจมตีภาคพื้นดินได้เป็นจำนวนมากทั้งแบบธรรมดาและนำวิถีความแม่นยำสูง รวมถึงความสามารถในการใช้อาวุธนิวเคลียร์ด้วย
กองทัพอากาศสหรัฐฯวางแผนจะจัดหาเครื่องบินทิ้งระเบิด LRS-B อย่างน้อย 100เครื่อง โดยคาดว่าจะมีความพร้อมปฏิบัติการขั้นต้นราวกลางปี 2020s ครับ
LRS-B selection nears
http://www.janes.com/article/52904/lrs-b-selection-nears
William LaPlante รองเลขานุการด้านการบริการส่วนฝ่ายจัดหาได้กล่าวในข้อมูลที่ศูนย์ยุทธศาสตร์และการศึกษานานาชาติใน Washington DC
เกี่ยวกับโครงการเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ Long-Range Strike Bomber (LRS-B) สำหรับกองทัพอากาศสหรัฐฯว่า
จะมีการเลือกแบบผู้ชนะในสัญญาจัดหาเพื่อพัฒนาเครื่องภายในสามเดือนข้างหน้าระหว่างทีมของ Northrop Grumman และทีมของ Lockheed Martin ร่วมกับ Boeing
"โครงการจะเสร็จเมื่อมันเสร็จ" นาย LaPlante ยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า "มันสำคัญกว่ามากที่จะดำเนินการภายใต้วิธีการในเวลาที่เหมาะสมและเราจะทำให้ถูกต้อง"
โครงการ Long-Range Strike Bomber ของกองทัพอากาศสหรัฐฯเป็นโครงการพัฒนาเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์แบบใหม่ทดแทนเครื่องบินทิ้งระเบิดเก่าที่ประจำการมานาน
โดยเฉพาะ B-52 Stratofortress รวมถึง B-1 Lancer และอาจจะรวม B-2 Spirit ในอนาคตด้วย
ซึ่งแบบแผนเครื่องเบื้องต้นจะมีคุณสมบัติตรวจจับได้ยาก Stealth บรรทุกอาวุธโจมตีภาคพื้นดินได้เป็นจำนวนมากทั้งแบบธรรมดาและนำวิถีความแม่นยำสูง รวมถึงความสามารถในการใช้อาวุธนิวเคลียร์ด้วย
กองทัพอากาศสหรัฐฯวางแผนจะจัดหาเครื่องบินทิ้งระเบิด LRS-B อย่างน้อย 100เครื่อง โดยคาดว่าจะมีความพร้อมปฏิบัติการขั้นต้นราวกลางปี 2020s ครับ
วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
ภาพถ่ายดาวเทียมยืนยันการเยือนปากีสถานของเรือดำน้ำชั้น Yuan จีน
IMINT confirms Type 041 visit to Karachi
China has marketed the Type 041 overseas as the S20 submarine. (IHS/Patrick Allen)
http://www.janes.com/article/52843/imint-confirms-type-041-visit-to-karachi
ข่าวใหญ่หนึ่งที่สื่ออินเดียและต่างประเทศมีการรายงานไปเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา คือการเดินทางเยือนเมืองท่า Karachi ที่ตั้งฐานทัพหลักของกองทัพเรือปากีสถาน ของเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้า Type 041 Yuan กองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน
ซึ่งสร้างความตื่นตัวให้กับกองทัพเรืออินเดียอย่างมาก เพราะมีรายงานว่าเรือดำน้ำจีนนั้นเดินทางไปยังเมือง Karachi ปากีสถานได้โดยที่กองทัพเรืออินเดียไม่ทราบข่าวล่วงหน้าหรือตรวจจับได้ขณะเดินทางผ่านมหาสมุทรอินเดีย
ล่าสุดรายงานนี้ได้รับการยืนยันจากภาพถ่ายดาวเทียม(IMINT: Imagery Intelligence) ของ Airbus Defence and Space เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคมที่ผ่านมา บริเวณท่าเรือพาณิชย์ห่างจากฐานทัพเรือกองทัพเรือปากีสถานใน Karachi ไม่กี่ร้อยเมตร
ซึ่งภาพแสดงถึงเรือดำน้ำ Type 041 Yuan และเรือพี่เลี้ยงชั้น Type 925 Dajiang ซึ่งเป็นเรือสนับสนุนจอดอยู่ใกล้กัน
โดยในปี 2014 เรือชั้น Type 925 หมายเลข 861 ชื่อ Changxingdao เคยเยือนกรุง Colombo ศรีลังกาพร้อมเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าชั้น Type 039 Song มาแล้ว
อย่างไรก็ตามทางเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลปากีสถานได้ให้ข้อมูลกับทาง Jane's เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคมว่า "เป็นการเยือนตามวงรอบปกติไม่มีอะไรมากกว่านี้"
อ้างอิงจากข้อมูลของหนังสือ Jane's Fighting Ships เรือดำน้ำชั้น Type 041 ที่ NATO กำหนดรหัสว่า Yuan เป็นเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้ารุ่นใหม่ล่าสุดของกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน
ซึ่งเรือดำน้ำชั้นนี้ติดตั้งระบบขับเคลื่อน AIP(Air Independent Propulsion) ที่มีพื้นฐานพัฒนาจากระบบ Stirling AIP ที่จีนจัดหาและทำการวิจัยเพื่อพัฒนาสร้างเองในประเทศ
อาวุธหลักของเรือชั้นนี้มีทั้ง Torpedo ที่มีพื้นฐานพัฒนาจาก Torpedo ของรัสเซียคือ Yu-3(SET-65E) นำวิถี Active/Passive Homing และ Yu-4(SAET-50) นำวิถี Passive Homing
(อาจรวมถึง Yu-6(Mk48 Mod4) นำวิถี Wire-Guidance, Wake homing, Active/Passive Homing ด้วย)
และอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ YJ-2(YJ-82) ที่ยิงจากท่อ Torpedo ขณะดำอยู่ใต้น้ำได้อีกด้วย
ทั้งนี้สื่ออินเดียได้รายงานการให้สัมภาษณ์ของเจ้าหน้ากองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนว่า หลังจากการเยือน Karachi ปากีสถานว่า
เรือดำน้ำ Type 041 จะเข้าร่วมภารกิจกับกองเรือนานาชาติในการปราบปรามโจรสลัดที่อ่าว Aden โซมาเลียด้วย
"ทำไมเรือดำน้ำจะมีส่วนร่วมในปฏิบัติการปราบปรามโจรสลัดไม่ได้? เมื่อเรือดำน้ำยังสามารถทำงานร่วมกับกองเรืออื่นๆในปฏิบัติการปราบปรามโจรสลัดได้"
นาวาเอกอาวุโส Wei Xiaodong เสนาธิการประจำสถานีเรือ Shanghai กล่าวต่อสื่ออินเดีย
ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา Jane's ได้รายงานข่าวรัฐบาลปากีสถานได้อนุมัติการจัดหาเรือดำน้ำแบบ S20 ซึ่งเป็นรุ่นส่งออกของเรือดำน้ำชั้น Type 041 Yuan จากจีนจำนวน 8ลำ
เช่นเดียวกับที่ได้รายงานในวันที่ 2 กรกฎาคมที่ผ่านมาถึงการที่กองทัพเรือไทยเลือกเรือดำน้ำจีนแบบ S26T ซึ่งเป็นรุ่นส่งออกที่มีพื้นฐานจากเรือชั้น Yuan เช่นกันจำนวน 3ลำ วงเงินราว $1 billion ครับ
CSOC(China Shipbuilding and Offshore International Company) S20 Conventional Submarine new Model at LIMA 2015 exhibition in Langkawi, Malaysia.
China has marketed the Type 041 overseas as the S20 submarine. (IHS/Patrick Allen)
http://www.janes.com/article/52843/imint-confirms-type-041-visit-to-karachi
ข่าวใหญ่หนึ่งที่สื่ออินเดียและต่างประเทศมีการรายงานไปเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา คือการเดินทางเยือนเมืองท่า Karachi ที่ตั้งฐานทัพหลักของกองทัพเรือปากีสถาน ของเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้า Type 041 Yuan กองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน
ซึ่งสร้างความตื่นตัวให้กับกองทัพเรืออินเดียอย่างมาก เพราะมีรายงานว่าเรือดำน้ำจีนนั้นเดินทางไปยังเมือง Karachi ปากีสถานได้โดยที่กองทัพเรืออินเดียไม่ทราบข่าวล่วงหน้าหรือตรวจจับได้ขณะเดินทางผ่านมหาสมุทรอินเดีย
ล่าสุดรายงานนี้ได้รับการยืนยันจากภาพถ่ายดาวเทียม(IMINT: Imagery Intelligence) ของ Airbus Defence and Space เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคมที่ผ่านมา บริเวณท่าเรือพาณิชย์ห่างจากฐานทัพเรือกองทัพเรือปากีสถานใน Karachi ไม่กี่ร้อยเมตร
ซึ่งภาพแสดงถึงเรือดำน้ำ Type 041 Yuan และเรือพี่เลี้ยงชั้น Type 925 Dajiang ซึ่งเป็นเรือสนับสนุนจอดอยู่ใกล้กัน
โดยในปี 2014 เรือชั้น Type 925 หมายเลข 861 ชื่อ Changxingdao เคยเยือนกรุง Colombo ศรีลังกาพร้อมเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าชั้น Type 039 Song มาแล้ว
อย่างไรก็ตามทางเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลปากีสถานได้ให้ข้อมูลกับทาง Jane's เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคมว่า "เป็นการเยือนตามวงรอบปกติไม่มีอะไรมากกว่านี้"
อ้างอิงจากข้อมูลของหนังสือ Jane's Fighting Ships เรือดำน้ำชั้น Type 041 ที่ NATO กำหนดรหัสว่า Yuan เป็นเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้ารุ่นใหม่ล่าสุดของกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน
ซึ่งเรือดำน้ำชั้นนี้ติดตั้งระบบขับเคลื่อน AIP(Air Independent Propulsion) ที่มีพื้นฐานพัฒนาจากระบบ Stirling AIP ที่จีนจัดหาและทำการวิจัยเพื่อพัฒนาสร้างเองในประเทศ
อาวุธหลักของเรือชั้นนี้มีทั้ง Torpedo ที่มีพื้นฐานพัฒนาจาก Torpedo ของรัสเซียคือ Yu-3(SET-65E) นำวิถี Active/Passive Homing และ Yu-4(SAET-50) นำวิถี Passive Homing
(อาจรวมถึง Yu-6(Mk48 Mod4) นำวิถี Wire-Guidance, Wake homing, Active/Passive Homing ด้วย)
และอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ YJ-2(YJ-82) ที่ยิงจากท่อ Torpedo ขณะดำอยู่ใต้น้ำได้อีกด้วย
ทั้งนี้สื่ออินเดียได้รายงานการให้สัมภาษณ์ของเจ้าหน้ากองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนว่า หลังจากการเยือน Karachi ปากีสถานว่า
เรือดำน้ำ Type 041 จะเข้าร่วมภารกิจกับกองเรือนานาชาติในการปราบปรามโจรสลัดที่อ่าว Aden โซมาเลียด้วย
"ทำไมเรือดำน้ำจะมีส่วนร่วมในปฏิบัติการปราบปรามโจรสลัดไม่ได้? เมื่อเรือดำน้ำยังสามารถทำงานร่วมกับกองเรืออื่นๆในปฏิบัติการปราบปรามโจรสลัดได้"
นาวาเอกอาวุโส Wei Xiaodong เสนาธิการประจำสถานีเรือ Shanghai กล่าวต่อสื่ออินเดีย
ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา Jane's ได้รายงานข่าวรัฐบาลปากีสถานได้อนุมัติการจัดหาเรือดำน้ำแบบ S20 ซึ่งเป็นรุ่นส่งออกของเรือดำน้ำชั้น Type 041 Yuan จากจีนจำนวน 8ลำ
เช่นเดียวกับที่ได้รายงานในวันที่ 2 กรกฎาคมที่ผ่านมาถึงการที่กองทัพเรือไทยเลือกเรือดำน้ำจีนแบบ S26T ซึ่งเป็นรุ่นส่งออกที่มีพื้นฐานจากเรือชั้น Yuan เช่นกันจำนวน 3ลำ วงเงินราว $1 billion ครับ
CSOC(China Shipbuilding and Offshore International Company) S20 Conventional Submarine new Model at LIMA 2015 exhibition in Langkawi, Malaysia.
วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
รัสเซียอาจจะขายเรือฟริเกต Project 11356 ให้อินเดียในสภาพที่ไม่มีเครื่องยนต์
Admiral Grigorovich Frigate at Kaliningrad
Russian frigates left without engines prepared for transfer to India
http://in.rbth.com/news/2015/07/03/russian_frigates_left_without_engines_prepared_for_transfer_to_india_44041.html
สื่อได้มีการเปิดเผยข้อมูลของโครงการต่อเรือฟริเกต Project 11356 ชั้น Admiral Grigorovich ของกองทัพเรือรัสเซียว่ามีความเป็นไปได้ที่จะขายเรือที่ยังสร้างไม่เสร็จแก่อินเดีย
เนื่องจากการตัดความสัมพันธ์ทางทหารระหว่างรัสเซียและยูเครนหลังการที่รัสเซียผนวกไครเมียและแทรกแซงสงครามภายในเขต Donbass ของยูเครน
ทำให้ยูเครนไม่ส่งมอบเครื่องยนต์ Gas Turbine ซึ่งเป็นระบบสำคัญในการก่อสร้างเรือฟริเกตชั้น Admiral Grigorovich ที่กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างในอู่ Yantar ที่ Kaliningrad
นอกจากเรือสามลำแรกที่จะส่งมอบให้กองทัพเรือรัสเซียคือ Admiral Grigorovich, Admiral Essen และ Admiral Makarov แล้ว
รัสเซียได้มองความเป็นไปได้ที่จะขายเรือลำที่สี่และลำที่ห้าที่ยังสร้างไม่เสร็จคือ Admiral Butakov และ Admiral Istomin ให้กับอินเดีย
ซึ่งเรือทั้งสองลำที่จะส่งมอบนั้นยังไม่ได้ทำการติดตั้งเครื่องยนต์ Gas Turbine จากยูเครน โดยทางอินเดียจะทำการติดตั้งเครื่องยนต์และสร้างเรือต่อให้เสร็จสมบูรณ์เอง
เนื่องจากอินเดียยังมีความสัมพันธ์ทางการทหารในระดับที่ดีกับยูเครนอยู่ เช่นจากโครงการปรับปรุงเครื่องบินลำเลียง An-32RE ของ Antonov ให้กองทัพอากาศอินเดียเป็นต้น
และกองทัพเรืออินเดียเองก็ได้ประจำการเรือฟริเกตชั้น Talwar ซึ่งมีพื้นฐานจากเรือฟริเกต Project 11356 ชั้น Admiral Grigorovich อยู่แล้วด้วย
F51 INS Trikand, Talwar Class Frigate at Portsmouth, UK, 12 July 2013
อย่างก็ตามแม้ว่าทางรัฐมนตรีกลาโหมรัสเซียนาย Sergei Shoigu จะแสดงความกังวลในปัญหาโครงการเรือฟริเกตชั้น Admiral Grigorovich
แต่ทาง Anatoly Shlemov ประธาน United Shipbuilding Corporation(USC) ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทอุตสาหกรรมการต่อเรือของรัสเซียได้กล่าวต่อสื่อว่า
เรือฟริเกตชั้น Admiral Grigorovich สามลำแรกจะมีกำหนดส่งมอบตรงเวลา และขณะนี้เรือสองลำที่กำลังก่อสร้างอยู่จะเข้าประจำการในกองทัพเรือรัสเซีย
นอกจากนี้การที่ยูเครนไม่ส่งมอบเครื่องยนต์สำหรับเรือจะไม่ส่งผลกระทบต่อโครงการเรือฟริเกตใหม่คือ Project 22350 ชั้น Admiral Gorshkov ที่จะเข้าประจำการ 7ลำภายในปี 2021
โดยในงานแสดงด้านความมั่นคงทางทะเล IMDS 2015(International Maritime Defense Show) ที่จัดขึ้นมหานคร Saint Petersburg เมื่อวันที่ 1-5 กรกฎาคมที่ผ่านมานั้น
ผู้บัญชาการกองทัพเรือรัสเซีย พลเรือเอก Viktor Chirkov ได้ระบุุว่ามีการออกค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับความล่าช้าของการก่อสร้างเรือฟริเกตชั้น Admiral Grigorovich แล้ว
และโครงการสร้างเรือคอร์เวตติดอาวุธปล่อยนำวิถีแบบใหม่คือ Project 22800 จำนวนราว 18ลำที่เริ่มมีการก่อสร้างเรือลำแรกแล้วนั้นก็จะเป็นไปตามแผนด้วยครับ
Russian frigates left without engines prepared for transfer to India
http://in.rbth.com/news/2015/07/03/russian_frigates_left_without_engines_prepared_for_transfer_to_india_44041.html
สื่อได้มีการเปิดเผยข้อมูลของโครงการต่อเรือฟริเกต Project 11356 ชั้น Admiral Grigorovich ของกองทัพเรือรัสเซียว่ามีความเป็นไปได้ที่จะขายเรือที่ยังสร้างไม่เสร็จแก่อินเดีย
เนื่องจากการตัดความสัมพันธ์ทางทหารระหว่างรัสเซียและยูเครนหลังการที่รัสเซียผนวกไครเมียและแทรกแซงสงครามภายในเขต Donbass ของยูเครน
ทำให้ยูเครนไม่ส่งมอบเครื่องยนต์ Gas Turbine ซึ่งเป็นระบบสำคัญในการก่อสร้างเรือฟริเกตชั้น Admiral Grigorovich ที่กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างในอู่ Yantar ที่ Kaliningrad
นอกจากเรือสามลำแรกที่จะส่งมอบให้กองทัพเรือรัสเซียคือ Admiral Grigorovich, Admiral Essen และ Admiral Makarov แล้ว
รัสเซียได้มองความเป็นไปได้ที่จะขายเรือลำที่สี่และลำที่ห้าที่ยังสร้างไม่เสร็จคือ Admiral Butakov และ Admiral Istomin ให้กับอินเดีย
ซึ่งเรือทั้งสองลำที่จะส่งมอบนั้นยังไม่ได้ทำการติดตั้งเครื่องยนต์ Gas Turbine จากยูเครน โดยทางอินเดียจะทำการติดตั้งเครื่องยนต์และสร้างเรือต่อให้เสร็จสมบูรณ์เอง
เนื่องจากอินเดียยังมีความสัมพันธ์ทางการทหารในระดับที่ดีกับยูเครนอยู่ เช่นจากโครงการปรับปรุงเครื่องบินลำเลียง An-32RE ของ Antonov ให้กองทัพอากาศอินเดียเป็นต้น
และกองทัพเรืออินเดียเองก็ได้ประจำการเรือฟริเกตชั้น Talwar ซึ่งมีพื้นฐานจากเรือฟริเกต Project 11356 ชั้น Admiral Grigorovich อยู่แล้วด้วย
F51 INS Trikand, Talwar Class Frigate at Portsmouth, UK, 12 July 2013
อย่างก็ตามแม้ว่าทางรัฐมนตรีกลาโหมรัสเซียนาย Sergei Shoigu จะแสดงความกังวลในปัญหาโครงการเรือฟริเกตชั้น Admiral Grigorovich
แต่ทาง Anatoly Shlemov ประธาน United Shipbuilding Corporation(USC) ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทอุตสาหกรรมการต่อเรือของรัสเซียได้กล่าวต่อสื่อว่า
เรือฟริเกตชั้น Admiral Grigorovich สามลำแรกจะมีกำหนดส่งมอบตรงเวลา และขณะนี้เรือสองลำที่กำลังก่อสร้างอยู่จะเข้าประจำการในกองทัพเรือรัสเซีย
นอกจากนี้การที่ยูเครนไม่ส่งมอบเครื่องยนต์สำหรับเรือจะไม่ส่งผลกระทบต่อโครงการเรือฟริเกตใหม่คือ Project 22350 ชั้น Admiral Gorshkov ที่จะเข้าประจำการ 7ลำภายในปี 2021
โดยในงานแสดงด้านความมั่นคงทางทะเล IMDS 2015(International Maritime Defense Show) ที่จัดขึ้นมหานคร Saint Petersburg เมื่อวันที่ 1-5 กรกฎาคมที่ผ่านมานั้น
ผู้บัญชาการกองทัพเรือรัสเซีย พลเรือเอก Viktor Chirkov ได้ระบุุว่ามีการออกค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับความล่าช้าของการก่อสร้างเรือฟริเกตชั้น Admiral Grigorovich แล้ว
และโครงการสร้างเรือคอร์เวตติดอาวุธปล่อยนำวิถีแบบใหม่คือ Project 22800 จำนวนราว 18ลำที่เริ่มมีการก่อสร้างเรือลำแรกแล้วนั้นก็จะเป็นไปตามแผนด้วยครับ
วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
สโลวาเกียจัดหารถเกราะ KTO Rosomak จากโปแลนด์
https://dennikn.sk/178121/fico-siel-na-nakupy-do-polska-bez-sutaze-objednal-31-transporterov/
สโลวาเกียทำสัญญาลงนามจัดหารถหุ้มเกราะล้อยาง 8x8 แบบ KTO Rosomak จากโปแลนด์จำนวน 31คันวงเงิน $31 million โดยเป็นส่วนหนึ่งของแผนการปรับปรุงกองทัพสโลวาเกีย
รถเกราะ KTO Rosomak สำหรับกองทัพบกสโลวาเกียนี้จะได้รับการติดตั้งป้อมปืนแบบใหม่คือ TURRA 30 ที่สร้างโดย EVPU Nova Dubnica สโลวาเกียเอง
ซึ่งจะติดตั้งแทนป้อมปืน Oto Melara Hitfist-30P ที่ติดตั้งปืนใหญ่กล ATK Mk44 ขนาด 30x173m และปืนกลร่วมแกน UKM-2000C ขนาด 7.62x51mm ที่กองทัพบกโปแลนด์ใช้
โดยป้อมปืน TURRA 30 สามารถเลือกระบบอาวุธที่ติดตั้งได้ระหว่าปืนใหญ่กล 2A42 30x165mm หรือ ATK Mk44, ปืนกลร่วมแกน PKT 7.62x54mm หรือ FN Minimi 7.62x51mm รวมถึงอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง 9M113 Konkurs หรือ Spike ด้วย
ทั้งนี้ตามข้อตกลงสัญญาสโลวาเกียจะให้บริการดูแลซ่อมบำรุงปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง SpGH DANA M-77 ขนาด 152mm ที่โปแลนด์จัดหามาจากอดีตเชคโกสโลวาเกีย 111ระบบด้วย
โดยมีความเป็นไปได้ว่าสโลวาเกียอาจจะจัดหารถเกราะ KTO Rosomak เพิ่มเติมอีกราว 70คันในอนาคตโดยจะกำหนดการเรียบแบบว่า Scipio ครับ
วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
พิธีวางกระดูกงูเรือฝึกการเดินเรือของโรงเรียนนายเรือ
ผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรือ เป็นประธานในพิธีวางกระดูกงูเรือฝึกการเดินเรือของโรงเรียนนายเรือ
พลเรือโท พงษ์เทพ หนูเทพ ผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรือ เป็นประธานในการวางกระดูกงู ของเรือฝึกการเดินเรือ สำหรับโรงเรียนนายเรือ ณ อู่ต่อเรือ บริษัท มาร์ซัน จำกัด ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๘
เมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ โรงเรียนนายเรือ และบริษัท มาร์ซัน จำกัด ได้มีข้อตกลงการประสานความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกันทางด้านการวิจัยพัฒนา ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรม การบริการ การส่งเสริมให้มีกิจกรรมพิเศษร่วมกันตามความเหมาะสม อันจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาศักยภาพทางวิทยาการสมัยใหม่ และทรัพยากรของทั้งโรงเรียนนายเรือและบริษัท มาร์ซัน จำกัด
นับตั้งแต่นั้นได้มีความร่วมมือระหว่างคณะอาจารย์ นักเรียน และทีมงานวิศวกรของบริษัทมาร์ซัน ร่วมมือกัน จนได้แบบเรือฝึกการเดินเรือฯ แบบ General Arrangement ที่ตรงตามความต้องการของโรงเรียนนายเรือ ซึ่งจะเป็นเรือฝึกสำหรับนักเรียนนายเรือ ในการฝึกวิชาชีพทหารเรือ อาทิ การฝึกเดินเรือ การฝึกการเรือ การฝึกศูนย์ยุทธการและแปรขบวน การฝึกการสื่อสารและทัศนสัญญาณ การฝึกกการกล อีกทั้งยังต้องตอบสนองในการฝึกเพื่อพัฒนาความรู้ในการจัดตั้งหมู่เรือฝึกของนักเรียนนายเรือ ในหัวข้อตามพรรค-เหล่าได้
http://www3.navy.mi.th/index.php/today/detail/content_id/8588
ก่อนหน้านี้หนึ่งวันคือวันที่ ๒ กรกฎาคมที่ผ่านมาก็มีการลงนามในสัญญาจ้างต่อเรือฝึกอเนกประสงค์โรงเรียนนายเรือร่วมระหว่างโรงเรียนนายเรือและและบริษัท MARSUN ตามข่าวนี้
ผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรือ และ ผู้แทน บริษัท มาร์ซัน จำกัด ร่วมลงนามในสัญญาจ้างต่อเรือฝึกอเนกประสงค์โรงเรียนนายเรือ
พลเรือโท พงษ์เทพ หนูเทพ ผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรือ และ นายภัทรวิน จงวิศาล ผู้แทน บริษัท มาร์ซัน จำกัด ร่วมลงนามในสัญญาจ้างต่อเรือตามแบบสำหรับ โครงการวิจัยต่อเรือฝึกอเนกประสงค์โรงเรียนนายเรือ ณ ห้องรับรอง ๑ โรงเรียนนายเรือ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๕๘
http://www3.navy.mi.th/index.php/today/detail/content_id/8572
ซึ่งที่มาของโครงการต่อเรือฝึกการเดินเรือของโรงเรียนนายเรือนี้ได้เริ่มต้นจากข้อตกลงโครงการวิจัยต่อเรือฝึกอเนกประสงค์โรงเรียนนายเรือ ระหว่างโรงเรียนนายเรือและบริษัท MARSUN เมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา
โรงเรียนนายเรือ กับบริษัทมาร์ซัน จำกัด ทำสัญญาลงนามในข้อตกลงโครงการวิจัยต่อเรือฝึกอเนกประสงค์โรงเรียนนายเรือ
พลเรือโท พงษ์เทพ หนูเทพ ผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรือ และ พลเรือเอก วีรพล วรานนท์ ประธานบริษัทมาร์ซัน จำกัด ร่วมทำสัญญาลงนามในข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง โรงเรียนนายเรือ กับ บริษัทมาร์ซัน จำกัด เพื่อเริ่มโครงการวิจัยต่อเรือฝึกอเนกประสงค์สำหรับโรงเรียนนายเรืออย่างเป็นทางการ โดยมี นายทหารชั้นผู้ใหญ่สังกัดโรงเรียนนายเรือ ร่วมพิธีลงนาม ณ ห้องประชุมชั้น ๓ กองบัญชาการโรงเรียนนายเรือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
http://www3.navy.mi.th/index.php/main/detail/content_id/7325
เรื่องการต่อเรือฝึกสำหรับการฝึกนักเรียนนายเรือของโรงเรียนนายเรือนี่ก็มีการพูดคุยถึงแนวทางกันมาหลายปีมากแล้วครับ
เพราะที่ผ่านมาการฝึกภาคทะเลของนักเรียนนายเรือจะต้องมีการจัดกำลังทางเรือจากเรือในสังกัดกองเรือยุทธการ
ซึ่งส่วนใหญ่จะมีปัญหาว่าเรือเหล่านั้นอย่างเรือฟริเกตหรือล่าสุดเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งเช่น ชุด ร.ล.ปัตตานี และชุด ร.ล.กระบี่ เป็นเรือที่สร้างมาสำหรับใช้ในการรบโดยตรง
ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับใช้ในการฝึกนักเรียนนายเรือ เช่น ระบบอุปกรณ์การสอน ห้องพัก หรือห้องประชุมสำหรับรองรับ นนร.จำนวนมากทุกชั้นปี
การมีเรือสำหรับใช้ในการฝึกในส่วนของโรงเรียนนายเรือจะช่วยลดภาระของการนำเรือที่เป็นกำลังหลักได้มากมาใช้ในการฝึก
เช่นการจะจัดเรือมาตามวงรอบที่จะออกฝึกภาคทะเลใหญ่ที่ออกเดินเรือไปเยี่ยมต่างประเทศของ นนร.ทุกชั้นปีได้ โดยลดเวลาที่ต้องแบ่งเรือไปทำภารกิจตรวจการณ์ตามปกติได้มากขึ้น
ซึ่งโครงการวิจัยต่อเรือฝึกของโรงเรียนนายเรือนี่มีสิ่งที่น่ายินดีมากคือเป็นความร่วมมือระหว่างโรงเรียนนายเรือกับบริษัท MARSUN ของคนไทย
และถือว่าความคืบหน้าโครงการนี้เร็วมากทีเดียครับ คือลงนามสัญญาวิจัยพัฒนาในเดือนกุมภาพันธ์ ต่อมาวันที่ ๓ กรกฎาคม ผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรือทำพิธีวางกระดูกงูเรือแล้ว
ขณะที่กองทัพเรือหลายประเทศในแถบ ASEAN จะต่อเรือฝึกลักษณะนั้นมักจะต้องว่าจ้างหรือขอซื้อสิทธิบัตรแบบเรือจากบริษัทต่างประเทศ
แต่การที่เราจะออกแบบและต่อเรือใช้เองโดยคนไทยนับเป็นเรื่องดีมากครับ
ใน Website ของ Marsun ตอนเองยังไม่มีการลงข้อมูลของเรือฝึกการเดินเรือของโรงเรียนนายเรือครับ
จึงยังไม่ทราบรายละเอียดของขนาดเรือว่า มีขนาดระวางขับน้ำกี่ตัน มีระบบอุปกรณ์ หรือคุณสมบัติอะไรบ้าง เป็นเรือขนาดเล็กหรือขนาดกลาง ระวางขับน้ำและความยาวเรือเท่าใด
โดยส่วนตัวคาดเดาจากที่เห็นได้ภาพแบบจำลองสามมิติของเรือที่แสดงในจอภาพ(แม้ว่าจะมีขนาดเล็ก)ว่า
เรือฝึกการเดินเรือของโรงเรียนนายเรือนั้นมีรูปแบบลักษณะเดียวกับเรือฝึกของศูนย์พาณิชย์นาวี ซึ่งเป็นเรือที่ออกแบบมาสำหรับวัถุประสงค์ในการฝึกหลักสูตรการเดินเรือให้กับนักเรียนนายเรือ โดยดูแล้วจะไม่น่าจะมีการติดอาวุธอย่าง
เรือวิสูตรสาคร ขนาด 1089tons ยาว 61m
เรือสาครวิสัย ขนาด 4200tons ยาว 92m
หรืออาจจะเป็นเรือที่เล็กกว่านั้นเช่นมีขนาดพอๆกับเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งที่บริษัท Marsun เคยต่อให้กองทัพเรือคือตัวเรือประมาณ 35-40m เป็นต้น
ตรงนี้ก็คงต้องรอรายละเอียดความคืบหน้าของโครงการที่จะมีออกมาภายหลังจากนี้ครับ
พลเรือโท พงษ์เทพ หนูเทพ ผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรือ เป็นประธานในการวางกระดูกงู ของเรือฝึกการเดินเรือ สำหรับโรงเรียนนายเรือ ณ อู่ต่อเรือ บริษัท มาร์ซัน จำกัด ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๘
เมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ โรงเรียนนายเรือ และบริษัท มาร์ซัน จำกัด ได้มีข้อตกลงการประสานความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกันทางด้านการวิจัยพัฒนา ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรม การบริการ การส่งเสริมให้มีกิจกรรมพิเศษร่วมกันตามความเหมาะสม อันจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาศักยภาพทางวิทยาการสมัยใหม่ และทรัพยากรของทั้งโรงเรียนนายเรือและบริษัท มาร์ซัน จำกัด
นับตั้งแต่นั้นได้มีความร่วมมือระหว่างคณะอาจารย์ นักเรียน และทีมงานวิศวกรของบริษัทมาร์ซัน ร่วมมือกัน จนได้แบบเรือฝึกการเดินเรือฯ แบบ General Arrangement ที่ตรงตามความต้องการของโรงเรียนนายเรือ ซึ่งจะเป็นเรือฝึกสำหรับนักเรียนนายเรือ ในการฝึกวิชาชีพทหารเรือ อาทิ การฝึกเดินเรือ การฝึกการเรือ การฝึกศูนย์ยุทธการและแปรขบวน การฝึกการสื่อสารและทัศนสัญญาณ การฝึกกการกล อีกทั้งยังต้องตอบสนองในการฝึกเพื่อพัฒนาความรู้ในการจัดตั้งหมู่เรือฝึกของนักเรียนนายเรือ ในหัวข้อตามพรรค-เหล่าได้
http://www3.navy.mi.th/index.php/today/detail/content_id/8588
ก่อนหน้านี้หนึ่งวันคือวันที่ ๒ กรกฎาคมที่ผ่านมาก็มีการลงนามในสัญญาจ้างต่อเรือฝึกอเนกประสงค์โรงเรียนนายเรือร่วมระหว่างโรงเรียนนายเรือและและบริษัท MARSUN ตามข่าวนี้
ผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรือ และ ผู้แทน บริษัท มาร์ซัน จำกัด ร่วมลงนามในสัญญาจ้างต่อเรือฝึกอเนกประสงค์โรงเรียนนายเรือ
พลเรือโท พงษ์เทพ หนูเทพ ผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรือ และ นายภัทรวิน จงวิศาล ผู้แทน บริษัท มาร์ซัน จำกัด ร่วมลงนามในสัญญาจ้างต่อเรือตามแบบสำหรับ โครงการวิจัยต่อเรือฝึกอเนกประสงค์โรงเรียนนายเรือ ณ ห้องรับรอง ๑ โรงเรียนนายเรือ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๕๘
http://www3.navy.mi.th/index.php/today/detail/content_id/8572
ซึ่งที่มาของโครงการต่อเรือฝึกการเดินเรือของโรงเรียนนายเรือนี้ได้เริ่มต้นจากข้อตกลงโครงการวิจัยต่อเรือฝึกอเนกประสงค์โรงเรียนนายเรือ ระหว่างโรงเรียนนายเรือและบริษัท MARSUN เมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา
โรงเรียนนายเรือ กับบริษัทมาร์ซัน จำกัด ทำสัญญาลงนามในข้อตกลงโครงการวิจัยต่อเรือฝึกอเนกประสงค์โรงเรียนนายเรือ
พลเรือโท พงษ์เทพ หนูเทพ ผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรือ และ พลเรือเอก วีรพล วรานนท์ ประธานบริษัทมาร์ซัน จำกัด ร่วมทำสัญญาลงนามในข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง โรงเรียนนายเรือ กับ บริษัทมาร์ซัน จำกัด เพื่อเริ่มโครงการวิจัยต่อเรือฝึกอเนกประสงค์สำหรับโรงเรียนนายเรืออย่างเป็นทางการ โดยมี นายทหารชั้นผู้ใหญ่สังกัดโรงเรียนนายเรือ ร่วมพิธีลงนาม ณ ห้องประชุมชั้น ๓ กองบัญชาการโรงเรียนนายเรือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
http://www3.navy.mi.th/index.php/main/detail/content_id/7325
เรื่องการต่อเรือฝึกสำหรับการฝึกนักเรียนนายเรือของโรงเรียนนายเรือนี่ก็มีการพูดคุยถึงแนวทางกันมาหลายปีมากแล้วครับ
เพราะที่ผ่านมาการฝึกภาคทะเลของนักเรียนนายเรือจะต้องมีการจัดกำลังทางเรือจากเรือในสังกัดกองเรือยุทธการ
ซึ่งส่วนใหญ่จะมีปัญหาว่าเรือเหล่านั้นอย่างเรือฟริเกตหรือล่าสุดเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งเช่น ชุด ร.ล.ปัตตานี และชุด ร.ล.กระบี่ เป็นเรือที่สร้างมาสำหรับใช้ในการรบโดยตรง
ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับใช้ในการฝึกนักเรียนนายเรือ เช่น ระบบอุปกรณ์การสอน ห้องพัก หรือห้องประชุมสำหรับรองรับ นนร.จำนวนมากทุกชั้นปี
การมีเรือสำหรับใช้ในการฝึกในส่วนของโรงเรียนนายเรือจะช่วยลดภาระของการนำเรือที่เป็นกำลังหลักได้มากมาใช้ในการฝึก
เช่นการจะจัดเรือมาตามวงรอบที่จะออกฝึกภาคทะเลใหญ่ที่ออกเดินเรือไปเยี่ยมต่างประเทศของ นนร.ทุกชั้นปีได้ โดยลดเวลาที่ต้องแบ่งเรือไปทำภารกิจตรวจการณ์ตามปกติได้มากขึ้น
ซึ่งโครงการวิจัยต่อเรือฝึกของโรงเรียนนายเรือนี่มีสิ่งที่น่ายินดีมากคือเป็นความร่วมมือระหว่างโรงเรียนนายเรือกับบริษัท MARSUN ของคนไทย
และถือว่าความคืบหน้าโครงการนี้เร็วมากทีเดียครับ คือลงนามสัญญาวิจัยพัฒนาในเดือนกุมภาพันธ์ ต่อมาวันที่ ๓ กรกฎาคม ผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรือทำพิธีวางกระดูกงูเรือแล้ว
ขณะที่กองทัพเรือหลายประเทศในแถบ ASEAN จะต่อเรือฝึกลักษณะนั้นมักจะต้องว่าจ้างหรือขอซื้อสิทธิบัตรแบบเรือจากบริษัทต่างประเทศ
แต่การที่เราจะออกแบบและต่อเรือใช้เองโดยคนไทยนับเป็นเรื่องดีมากครับ
ใน Website ของ Marsun ตอนเองยังไม่มีการลงข้อมูลของเรือฝึกการเดินเรือของโรงเรียนนายเรือครับ
จึงยังไม่ทราบรายละเอียดของขนาดเรือว่า มีขนาดระวางขับน้ำกี่ตัน มีระบบอุปกรณ์ หรือคุณสมบัติอะไรบ้าง เป็นเรือขนาดเล็กหรือขนาดกลาง ระวางขับน้ำและความยาวเรือเท่าใด
โดยส่วนตัวคาดเดาจากที่เห็นได้ภาพแบบจำลองสามมิติของเรือที่แสดงในจอภาพ(แม้ว่าจะมีขนาดเล็ก)ว่า
เรือฝึกการเดินเรือของโรงเรียนนายเรือนั้นมีรูปแบบลักษณะเดียวกับเรือฝึกของศูนย์พาณิชย์นาวี ซึ่งเป็นเรือที่ออกแบบมาสำหรับวัถุประสงค์ในการฝึกหลักสูตรการเดินเรือให้กับนักเรียนนายเรือ โดยดูแล้วจะไม่น่าจะมีการติดอาวุธอย่าง
เรือวิสูตรสาคร ขนาด 1089tons ยาว 61m
เรือสาครวิสัย ขนาด 4200tons ยาว 92m
หรืออาจจะเป็นเรือที่เล็กกว่านั้นเช่นมีขนาดพอๆกับเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งที่บริษัท Marsun เคยต่อให้กองทัพเรือคือตัวเรือประมาณ 35-40m เป็นต้น
ตรงนี้ก็คงต้องรอรายละเอียดความคืบหน้าของโครงการที่จะมีออกมาภายหลังจากนี้ครับ