Government of Thailand - Evolved Seasparrow Missiles (ESSM)
http://www.dsca.mil/major-arms-sales/government-thailand-evolved-seasparrow-missiles-essm
GULF OF THAILAND (Aug. 30, 2015) The Royal Thai Navy ship HTMS Naresuan launches a missile at a BQM-74E target drone during Cooperation Afloat Readiness and Training (CARAT) Thailand 2015.
In its 21st year, CARAT is an annual, bilateral exercise series with the U.S. Navy, U.S. Marine Corps and the armed forces of nine partner nations including
Bangladesh, Brunei, Cambodia, Indonesia, Malaysia, the Philippines, Singapore, Thailand and Timor-Leste. (U.S. Navy photo by Mass Communication Specialist 2nd Class Will Gaskill/Released)
http://www.navy.mil/view_image.asp?id=202802
วันที่ ๒๘ ตุลาคม องค์การความร่วมมือด้านการรักษาความปลอดภัยและความมั่นคงสหรัฐฯ(DSCA:Defense Security Cooperation Agency) ได้เผยแพร่เอกสารความเป็นไปได้ที่กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯผ่านทางสภา Congress จะพิจารณาอนุมัติการขายยุทโธปกรณ์ให้รัฐบาลไทยแบบ FMS (Foreign Military Sale)
คืออาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ RIM-162 ESSM (Evolved Seasparrow Missiles) พร้อมอุปกรณ์ ชิ้นส่วน และการสนับสนุนพื้นฐาน สำหรับกองทัพเรือไทย วงเงิน $26.9 million
โดยวงเงินในส่วนสิ่งอุปกรณ์ความมั่นคงหลักมีมูลค่า $18,570,385 และวงเงินในการจัดหาทั้งหมดมีมูลค่า $26,943,445 ซึ่งระบบหลักที่จะมีการจัดหาประกอบด้วย
อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ RIM-162 ESSM จำนวน ๑๖นัด แบ่งเป็นอาวุธปล่อยนำวิถีทางยุทธวิธี ๑๔นัด และแบบมีระบบสัญญาณติดตาม(telemetry missiles) ๒นัด,
ชุดบรรจุอาวุธปล่อยนำวิถี MK25 Quad Pack canisters สำหรับบรรจุได้ชุดละ ๔นัด รวม ๓ชุด ๑๒นัด และชุดบรรจุสำหรับการขนส่ง MK783 shipping containers
โดยบริษัทที่เป็นผู้รับสัญญาในโครงการประกอบด้วย Raytheon Missile Systems, BAE Systems, Lockheed Martin สหรัฐฯ สำหรับระบบอาวุธ ส่วนบรรจุ และแท่นยิงหลัก และ SAAB สวีเดน สำหรับระบบอำนวยการรบ 9LV MK4
ล่าสุดนี้ กองเรือฟริเกตที่๒ กองเรือยุทธการ กองทัพเรือ ก็ได้ทำการส่ง ร.ล.นเรศวร และ ร.ล.สายบุรี ออกเดินทางไปฐานทัพเรือ Changi สิงคโปร์ เพื่อเข้าร่วมการฝึก SINGSIAM 2015 ระหว่างกองทัพเรือไทยและกองทัพเรือสิงคโปร์
โดยการฝึก SINGSIAM 2015 ปีนี้เป็นปีแรกที่กองทัพเรือสิงคโปร์จะนำเรือดำน้ำชั้น Archer คือ RSS Archer เข้าร่วมการฝึกด้วย นอกจากเรือฟริเกตชั้น Formidable คือ RSS Intrepid และเรือคอร์เวตชั้น Victory คือ RSS Vigour
ความเป็นไปได้ในการจัดหา ESSM เพิ่มเติมก็น่าจะเป็นการเพิ่มความพร้อมด้านระบบอาวุธของ ร.ล.นเรศวร ที่ได้รับการปรับปรุงเสร็จสมบูรณ์แล้ว และ ร.ล.ตากสินที่กำลังจะเสร็จสิ้นการปรับปรุงตามมาในอนาคตอันใกล้ครับ
วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2558
Northrop Grumman ได้รับสัญญาโครงการเครื่องบินทิ้งระเบิด LRS-B กองทัพอากาศสหรัฐฯ
Northrop Grumman B-2 Spirit(wikipedia.org)
Pentagon awards Northrop Grumman stealth bomber contract
http://edition.cnn.com/2015/10/27/politics/long-range-strike-bomber-northrop-grumman/
กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ หรือ Pentagon ได้แถลงการประกาศเมื่อวันที่ 27 ตุลาคมที่ผ่านมาว่า บริษัท Northrop Grumman เป็นผู้ชนะได้รับสัญญาในโครงการจัดหาเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ LRS-B (Long Range Strike Bomber)
รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ นาย Ashton Carter กล่าวว่า เครื่องบินทิ้งระเบิดแบบใหม่นี้จะเป็นกระดูกสันหลังของกองทัพอากาศสหรัฐฯในการแสดงแสนยานุภาพทั่วโลกในปัจจุบันและอนาคต
"ฝูงเครื่องบินทิ้งระเบิดของเราในปัจจุบันถึงอายุขัยที่จะต้องใช้กระบวนการคิดใหม่และสร้างขีดความสามารถใหม่ การสร้างเครื่องบินทิ้งระเบิดจะเป็นการลงทุนทางยุทธศาสตร์ต่อไปอีก 50ปีข้างหน้า" นาย Carter กล่าว
ยังไม่มีการเปิดเผยคุณสมบัติสมรรถนะของเครื่องบินทิ้งระเบิด LRS-B อย่างเป็นทางการในขณะนี้ แต่เบื้องต้นเครื่องบินทิ้งระเบิดใหม่จะเป็นอากาศยานที่มีคุณสมบัติตรวจจับได้ยาก(STEALTH)
สามารถบรรทุกอาวุธได้ทั้งอาวุธตามแบบและอาวุธนิวเคลียร์ และเป็นไปได้ว่าจะสามารถปฏิบัติการได้ทั้งมีนักบินบังคับหรือไร้นักบินในเครื่อง
เลขานุการกองทัพอากาศ นางสาว Deborah Lee James กล่าวว่า เครื่องบินทิ้งระเบิดพิสัยไกลแบบใหม่นี้จะเพิ่มขีดความสามารถของสหรัฐฯในการส่งออกไปปฏิบัติการโจมตีเป้าหมายได้ทุกแห่งทั่วโลก
โดยมีขีดความสามารถในการหลบหลีจากระบบต่อสู้อากาศยานขั้นก้าวหน้าที่มีประจำการในประเทศคู่ขัดแย้งหรือภัยคุกคามเกิดใหม่ที่จะเป็นศัตรูที่เป็นไปได้ของสหรัฐฯ
บริษัท Northrop Grumman ซึ่งเป็นผู้ชนะในโครงการ LRS-B เป็นผู้พัฒนาเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ B-2 Spirit ที่มีคุณสมบัติตรวจจับได้ยากที่ประจำการในกองทัพอากาศสหรัฐฯปัจจุบัน
ซึ่ง Northrop Grumman สามารถเอาชนะคู่แข่งขันคือ Boeing ที่ร่วมกับ Lockheed Martin ในการเสนอแบบเครื่องบินทิ้งระเบิดของตนในโครงการ LRS-B ได้
"กองทัพอากาศได้ตัดสินใจถูกต้องสำหรับความมั่นคงของชาติเรา เช่นเดียวกับที่บริษัทได้พัฒนาและส่งมอบเครื่องบินทิ้งระเบิด Stealth คือ B-2 Spirit
เราจะมุ่งหน้าเพื่อให้บริการกองทัพอากาศด้วยเครื่องบินทิ้งระเบิดโจมตีพิสัยไกลยุคใหม่ที่มีขีดความสามารถสูงและมีราคาที่เหมาะสม" นาย Wes Bush ประธานกรรมการ, ผู้บริหารสูงสุด และประธานบริษัท Northrop Grumman กล่าวแถลง
เช่นเดียวกับโครงการเครื่องบินขับไล่ F-35 Joint Strike Fighter และเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ KC-46 โครงการเครื่องบินทิ้งระเบิด LRS-B เป็นหนึ่งในโครงการปรับปรุงขีดความสามารถของกองทัพอากาศสหรัฐฯที่มีความสำคัญสูง
"เรากำลังเผชิญหน้ากับสถานการณ์ความมั่นคงที่ซับซ้อน มันมีความจำเป็นที่กองทัพอากาศเราจะต้องลงทุนกับผู้คนที่ถูกต้อง Technology ขีดความสามารถและการฝึก เพื่อปกป้องชาติและผลประโยชน์ของประเทศ ในราคาที่ยอมรับได้"
เลขานุการกองทัพอากาศ นางสาว Deborah Lee James กล่าว
Pentagon กล่าวว่าสัญญาการจัดหาโครงการ LRS-B นั้นแบ่งเป็นสองส่วน เพื่อที่จะทำให้มั่นใจได้ว่าผู้รับสัญญาจะสามรถดำเนินการได้ตรงตามกำหนดการในกรอบงบประมาณที่ตั้งไว้
ส่วนแรกของสัญญาครอบคลุมด้านการพัฒนาทางวิศวกรรมและการผลิตของอากาศยาน และรวมการกระตุ้นการลดเหตุที่จะให้ผู้รับสัญญาเกิดการควบคุมค่าใช้จ่ายไม่ได้และความล่าช้าของกำหนดการให้น้อยที่สุด
โดยตามค่าเงิน Dollar สหรัฐฯปี 2010 วงเงินในส่วนนี้จะอยู่ที่ราว $21.4 billion ตลอดทั้งอายุโครงการ ส่วนที่สองของสัญญาครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการสร้างอากาศยาน โดยจำนวนเครื่องที่จะสร้าง 100เครื่องเป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้
ตามการประเมินเค้าโครงของสัญญาเครื่องบินทิ้งระเบิดใหม่จะมีราคาที่เครื่องละ $511 million ตามค่าเงิน Dollar ปี 2010 ซึ่งอยู่ในกรอบที่ไม่เกินเครื่องละ $550 million ตามที่ กระทรวงกลาโหมสหรับฯตั้งไว้
"เรามีความมุ่งมั่นต่อชาวอเมริกันที่จะสร้างความมั่นคงในท้องฟ้า สมดุลกับความรับผิดชอบต่อผู้จ่ายภาษีอย่างเหมาะสมกับสิ่งที่ทำ โครงการนี้จะมอบความมั่นใจในขณะที่เราเผชิญหน้ากับภัยคุกคามอุบัติใหม่ที่คลุมเครือในอนาคต" พลอากาศเอก Mark A. Welsh ผู้บัญชาการกองทัพอากาศสหรัฐฯกล่าว
โครงการนี้มีค่าใช้จ่ายหนึ่งในสามของโครงการ B-2 ที่ผ่านมา โดยเป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มขีดความสามารถกองทัพอากาศสหรัฐฯ เช่นเดียวกับโครงการ JSF ในการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A Lightning II ที่ล่าช้า มี Technology ผิดพลาด และค่าใช้จ่ายสูงขึ้นครับ
Pentagon awards Northrop Grumman stealth bomber contract
http://edition.cnn.com/2015/10/27/politics/long-range-strike-bomber-northrop-grumman/
กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ หรือ Pentagon ได้แถลงการประกาศเมื่อวันที่ 27 ตุลาคมที่ผ่านมาว่า บริษัท Northrop Grumman เป็นผู้ชนะได้รับสัญญาในโครงการจัดหาเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ LRS-B (Long Range Strike Bomber)
รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ นาย Ashton Carter กล่าวว่า เครื่องบินทิ้งระเบิดแบบใหม่นี้จะเป็นกระดูกสันหลังของกองทัพอากาศสหรัฐฯในการแสดงแสนยานุภาพทั่วโลกในปัจจุบันและอนาคต
"ฝูงเครื่องบินทิ้งระเบิดของเราในปัจจุบันถึงอายุขัยที่จะต้องใช้กระบวนการคิดใหม่และสร้างขีดความสามารถใหม่ การสร้างเครื่องบินทิ้งระเบิดจะเป็นการลงทุนทางยุทธศาสตร์ต่อไปอีก 50ปีข้างหน้า" นาย Carter กล่าว
ยังไม่มีการเปิดเผยคุณสมบัติสมรรถนะของเครื่องบินทิ้งระเบิด LRS-B อย่างเป็นทางการในขณะนี้ แต่เบื้องต้นเครื่องบินทิ้งระเบิดใหม่จะเป็นอากาศยานที่มีคุณสมบัติตรวจจับได้ยาก(STEALTH)
สามารถบรรทุกอาวุธได้ทั้งอาวุธตามแบบและอาวุธนิวเคลียร์ และเป็นไปได้ว่าจะสามารถปฏิบัติการได้ทั้งมีนักบินบังคับหรือไร้นักบินในเครื่อง
เลขานุการกองทัพอากาศ นางสาว Deborah Lee James กล่าวว่า เครื่องบินทิ้งระเบิดพิสัยไกลแบบใหม่นี้จะเพิ่มขีดความสามารถของสหรัฐฯในการส่งออกไปปฏิบัติการโจมตีเป้าหมายได้ทุกแห่งทั่วโลก
โดยมีขีดความสามารถในการหลบหลีจากระบบต่อสู้อากาศยานขั้นก้าวหน้าที่มีประจำการในประเทศคู่ขัดแย้งหรือภัยคุกคามเกิดใหม่ที่จะเป็นศัตรูที่เป็นไปได้ของสหรัฐฯ
บริษัท Northrop Grumman ซึ่งเป็นผู้ชนะในโครงการ LRS-B เป็นผู้พัฒนาเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ B-2 Spirit ที่มีคุณสมบัติตรวจจับได้ยากที่ประจำการในกองทัพอากาศสหรัฐฯปัจจุบัน
ซึ่ง Northrop Grumman สามารถเอาชนะคู่แข่งขันคือ Boeing ที่ร่วมกับ Lockheed Martin ในการเสนอแบบเครื่องบินทิ้งระเบิดของตนในโครงการ LRS-B ได้
"กองทัพอากาศได้ตัดสินใจถูกต้องสำหรับความมั่นคงของชาติเรา เช่นเดียวกับที่บริษัทได้พัฒนาและส่งมอบเครื่องบินทิ้งระเบิด Stealth คือ B-2 Spirit
เราจะมุ่งหน้าเพื่อให้บริการกองทัพอากาศด้วยเครื่องบินทิ้งระเบิดโจมตีพิสัยไกลยุคใหม่ที่มีขีดความสามารถสูงและมีราคาที่เหมาะสม" นาย Wes Bush ประธานกรรมการ, ผู้บริหารสูงสุด และประธานบริษัท Northrop Grumman กล่าวแถลง
เช่นเดียวกับโครงการเครื่องบินขับไล่ F-35 Joint Strike Fighter และเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ KC-46 โครงการเครื่องบินทิ้งระเบิด LRS-B เป็นหนึ่งในโครงการปรับปรุงขีดความสามารถของกองทัพอากาศสหรัฐฯที่มีความสำคัญสูง
"เรากำลังเผชิญหน้ากับสถานการณ์ความมั่นคงที่ซับซ้อน มันมีความจำเป็นที่กองทัพอากาศเราจะต้องลงทุนกับผู้คนที่ถูกต้อง Technology ขีดความสามารถและการฝึก เพื่อปกป้องชาติและผลประโยชน์ของประเทศ ในราคาที่ยอมรับได้"
เลขานุการกองทัพอากาศ นางสาว Deborah Lee James กล่าว
Pentagon กล่าวว่าสัญญาการจัดหาโครงการ LRS-B นั้นแบ่งเป็นสองส่วน เพื่อที่จะทำให้มั่นใจได้ว่าผู้รับสัญญาจะสามรถดำเนินการได้ตรงตามกำหนดการในกรอบงบประมาณที่ตั้งไว้
ส่วนแรกของสัญญาครอบคลุมด้านการพัฒนาทางวิศวกรรมและการผลิตของอากาศยาน และรวมการกระตุ้นการลดเหตุที่จะให้ผู้รับสัญญาเกิดการควบคุมค่าใช้จ่ายไม่ได้และความล่าช้าของกำหนดการให้น้อยที่สุด
โดยตามค่าเงิน Dollar สหรัฐฯปี 2010 วงเงินในส่วนนี้จะอยู่ที่ราว $21.4 billion ตลอดทั้งอายุโครงการ ส่วนที่สองของสัญญาครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการสร้างอากาศยาน โดยจำนวนเครื่องที่จะสร้าง 100เครื่องเป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้
ตามการประเมินเค้าโครงของสัญญาเครื่องบินทิ้งระเบิดใหม่จะมีราคาที่เครื่องละ $511 million ตามค่าเงิน Dollar ปี 2010 ซึ่งอยู่ในกรอบที่ไม่เกินเครื่องละ $550 million ตามที่ กระทรวงกลาโหมสหรับฯตั้งไว้
"เรามีความมุ่งมั่นต่อชาวอเมริกันที่จะสร้างความมั่นคงในท้องฟ้า สมดุลกับความรับผิดชอบต่อผู้จ่ายภาษีอย่างเหมาะสมกับสิ่งที่ทำ โครงการนี้จะมอบความมั่นใจในขณะที่เราเผชิญหน้ากับภัยคุกคามอุบัติใหม่ที่คลุมเครือในอนาคต" พลอากาศเอก Mark A. Welsh ผู้บัญชาการกองทัพอากาศสหรัฐฯกล่าว
โครงการนี้มีค่าใช้จ่ายหนึ่งในสามของโครงการ B-2 ที่ผ่านมา โดยเป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มขีดความสามารถกองทัพอากาศสหรัฐฯ เช่นเดียวกับโครงการ JSF ในการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A Lightning II ที่ล่าช้า มี Technology ผิดพลาด และค่าใช้จ่ายสูงขึ้นครับ
วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2558
เฮลิคอปเตอร์ Sikorsky CH-53K King Stallion นาวิกโยธินสหรัฐฯทำการบินขึ้นครั้งแรก
https://www.facebook.com/SikorskyAircraft
USMC CH-53K conducts first test flight
A computer-generated impression of the CH-53K in USMC service. The aircraft completed its first test flight on 27 October. Source: Sikorsky
http://www.janes.com/article/55571/usmc-ch-53k-conducts-first-test-flight
วันที่ 27 ตุลาคมที่ผ่านมา บริษัท Sikorsky ร่วมกับนาวิกโยธินสหรัฐฯ ได้ประสบความสำเร็จในการทดสอบการบินขึ้นครั้งแรกของเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหนัก CH-53K King Stallion
พันเอก Hank Vanderborght นาวิกโยธินสหรัฐฯได้กล่าวว่านี่เป็นกุญแจสำคัญของขั้นตอนก้าวหน้าสู่ขีดความสามารถใหม่
ซึ่งเฮลิคอปเตอร์รุ่นนี้จะเพิ่มขีดความสามารถของปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบกให้สามารถเคลื่อนย้ายสัมภาระจากเรือสู่ฝั่งเช่นในภารกิจบรรเทาภัยพิบัติได้มากยิ่งขึ้น
นาวิกโยธินสหรัฐฯมีแผนจัดหาเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหนัก CH-53K จาก Sikorsky จำนวน 200เครื่อง วงเงินประมาณ $29 billion คาดว่าฝูงบินแรกจะมีความพร้อมปฏิบัติการขั้นต้นในราวปี 2019
อย่างไรก็ตามกำหนดการบินทดสอบครั้งนี้ได้ถูกเลื่อนให้ล่าช้ามาเป็นเวลา 7เดือน เนื่องจากมีการพบปัญหาในชุดส่งกำลังและ Gear Box หลักของเครื่อง
โดยพันเอก Vanderborght ได้กล่าวว่าปัญหาเรื่องระบบ Gear Box ของเครื่องนั้นจะทำให้สายการผลิตระดับต่ำของเครื่องล่าช้าไปอีก 5เดือน คือราวเดือนมกราคม 2017 ครับ
USMC CH-53K conducts first test flight
A computer-generated impression of the CH-53K in USMC service. The aircraft completed its first test flight on 27 October. Source: Sikorsky
http://www.janes.com/article/55571/usmc-ch-53k-conducts-first-test-flight
วันที่ 27 ตุลาคมที่ผ่านมา บริษัท Sikorsky ร่วมกับนาวิกโยธินสหรัฐฯ ได้ประสบความสำเร็จในการทดสอบการบินขึ้นครั้งแรกของเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหนัก CH-53K King Stallion
พันเอก Hank Vanderborght นาวิกโยธินสหรัฐฯได้กล่าวว่านี่เป็นกุญแจสำคัญของขั้นตอนก้าวหน้าสู่ขีดความสามารถใหม่
ซึ่งเฮลิคอปเตอร์รุ่นนี้จะเพิ่มขีดความสามารถของปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบกให้สามารถเคลื่อนย้ายสัมภาระจากเรือสู่ฝั่งเช่นในภารกิจบรรเทาภัยพิบัติได้มากยิ่งขึ้น
นาวิกโยธินสหรัฐฯมีแผนจัดหาเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหนัก CH-53K จาก Sikorsky จำนวน 200เครื่อง วงเงินประมาณ $29 billion คาดว่าฝูงบินแรกจะมีความพร้อมปฏิบัติการขั้นต้นในราวปี 2019
อย่างไรก็ตามกำหนดการบินทดสอบครั้งนี้ได้ถูกเลื่อนให้ล่าช้ามาเป็นเวลา 7เดือน เนื่องจากมีการพบปัญหาในชุดส่งกำลังและ Gear Box หลักของเครื่อง
โดยพันเอก Vanderborght ได้กล่าวว่าปัญหาเรื่องระบบ Gear Box ของเครื่องนั้นจะทำให้สายการผลิตระดับต่ำของเครื่องล่าช้าไปอีก 5เดือน คือราวเดือนมกราคม 2017 ครับ
กองทัพเรือสหรัฐฯจะติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นให้เรือ LCS ในปีหน้า
LCS To Get Missiles for Next Deployment
A Kongsberg Naval Strike Missile was launched in September 2014 from the littoral combat ship Coronado in a simple test demonstration.
Operational installations of the NSM and the Boeing Harpoon are expected to be made on the LCSs that will deploy in 2016.(Photo: MC2 Zachary Bell/US Navy)
http://www.defensenews.com/story/defense/naval/ships/2015/10/25/lcs-littoral-combat-ship-fanta-mission-module-surface-warfare-missile-harpoon-naval-strike-missile-kongsberg-norwegian-fort-worth-freedom-coronado-independence-navy/74477482/
กองทัพเรือสหรัฐฯมีแผนจะเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติการรบของเรือแบบ Littoral Combat Ship (LCS) ทั้งเรือ LCS ชั้น Freedoom และเรือ LCS ชั้น Independence
ด้วยการติดตั้งระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นที่มีขีดความสามารถในการยิงโจมตีเป้าหมายไกลเกินระยะเส้นขอบฟ้า (OTH: Over The Horizon) บนเรือ LCS
พลเรือตรี Pete Fanta ผู้อำนวยการแผนกสงครามผิวน้ำ(Surface Warfare) ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ หรือ Pentagon ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 17 กันยายน ที่ผ่านมา
ได้กล่าวถึงแผนการติดตั้งระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นระยะยิงไกลเกินเส้นขอบฟ้าไม่ระบุแบบกับเรือ LCS-1 USS Freedom และเรือ LCS-4 USS Coronado เมื่อถึงกำหนดการวางกำลังครั้งต่อไป
โดยตามกำหนดการแล้ว USS Freedom จะเข้าประจำการเพื่อวางกำลังในเขตมหาสมุทรแปซิฟิคตะวันช่วงไตรมาสแรกของปี 2016
ส่วน USS Coronado มีกำหนดการวางกำลังตามมาในช่วงไตรมาสสองหรือไตรมาสสามของปี 2016 เช่นกัน
"วัตถุประสงค์คือการติดตั้งระบบอาวุธปล่อยนำวิถี OTH กับเรือ LCS ทุกลำที่เข้าประจำการวางกำลังในฐานปฏิบัติการส่วนหน้า เริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ 2016
เช่นเดียวกันกับเรือ LCS ทุกลำที่กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างก่อนหน้าที่จะเข้าพิธีขึ้นระวางประจำการของเรือแต่ละลำ" พลเรือตรี Fanta กล่าว
เรือ LCS ของกองทัพเรือสหรัฐฯ ทั้งชั้น Freedoom และชั้น Independence ยังไม่ได้รับการติดตั้งระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้น
หลังจากการยกเลิกโครงการระบบอาวุธปล่อยนำวิถี NLOS (Non-Line-of-Sight) ร่วมกับกองทัพบกสหรัฐฯ ในปี 2010
กองทัพเรือจึงตั้งโครงการความต้องการจัดหาระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นสำหรับติดตั้งกับเรือ LCS แต่ก็ยังไม่มีการเลือกแบบแต่อย่างใด
แม้ว่าจะไม่มีการระบุแบบระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นที่จะติดตั้งกับเรือ LCS ว่าเป็นแบบใดในขณะนี้
แต่แหล่งข่าวเชื่อว่าระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นที่จะติดตั้งกับเรือ LCS ในขั้นต้นน่าจะเป็น Kongsberg NSM (Naval Strike Missile) นอร์เวย์ และ Boeing Harpoon สหรัฐฯ
ซึ่งแหล่งข่าวระบุว่าเป็นไปได้ที่กองทัพเรือจะทำการติดตั้งระบบอาวุธปล่อยนำวิถีทั้งสองแบบกับเรือ LCS ทุกลำ โดยเรือแต่ละลำจะเลือกติดเพียงระบบเดียวอย่างใดอย่างหนึ่ง
RGM-84 Harpoon ของ Boeing สหรัฐฯนั้นเป็นระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำ ซึ่งเป็นระบบอาวุธหลักของเรือรบผิวน้ำกองทัพเรือสหรัฐฯตั้งแต่ปี 1970s
ระบบอาวุธปล่อยนำวิถี Harpoon ได้มีการพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถในรุ่นใหม่ๆ ซึ่ง Boeing กำลังทำงานเพื่อพัฒนาระบบใหม่สำหรับการติดตั้งกับเรือและมีระยะยิงไกลขึ้น
ส่วน Kongsberg NSM นอร์เวย์นั้นเป็นระบบเดียวในขณะนี้ที่ทดสอบการยิงจริงจากเรือ LCS แล้ว ซึ่งมีการทดสอบการยิงจากแท่นยิงชั่วคราวที่ติดตั้งกับเรือ USS Coronado ไปเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2014
โดยมากเรือรบผิวน้ำจะติดตั้งระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำในแท่นยิงแบบแฝดสี่รวมสองชุด รวมมีจรวดทั้งหมด 8นัด แต่ขณะนี้ยังไม่ทราบว่าจะสามารถติดตั้งกับเรือ LCS ได้สูงสุดกี่นัด
การประเมินขั้นต้นต้องการจะติดตั้งได้อย่างน้อย 8นัดต่อเรือหนึ่งลำ ในแท่นยิงบนดาดฟ้าเรือ ทั้งนี้ Lockheed Martin ผู้พัฒนาเรือ LCS ชั้น Freedom และ Austral ผู้พัฒนาเรือชั้น Independence ยังได้เสนอการติดตั้งแท่นยิงแนวดิ่ง VLS สำหรับแบบเรือ LCS ของตน
อย่างไรก็ตามการติดตั้วระบบอาวุธปล่อยนำวิถีแบบชุดบรรจุกล่องบนดาดฟ้าเรือนั้นจะมีค่าใช้จ่ายในการพัฒนาติดตั้งน้อยที่สุด ซึ่งเรือ LCS ยังจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงติดตั้งระบบสงครามต่อต้านเรือดำน้ำและทุ่นระเบิดเพิ่มเติมด้วย
เรือ LCS ที่กำลังดำเนินการก่อสร้างในขณะนี้ทั้งเรือชั้น Freedom คือ LCS-5 USS Milwaukee มีกำหนดเข้าประจำการในวันที่ 21 พฤศจิกายน และเรือชั้น Independence คือ LCS-6 USS Jackson จะเข้าประจำการในวันที่ 5 ธันวาคม
โดยเรือ LCS ลำอื่นๆในเรือทั้งสองชั้นที่กำลังต่อเพิ่มคือชั้น Freedom กำลังถูกต่อที่อู่ Fincantieri Marinette Marine ใน Marinette มลรัฐ Wisconsin และชั้น Independence ที่อู่ Austal USA ใน Mobile มลรัฐ Alabama ครับ
A Kongsberg Naval Strike Missile was launched in September 2014 from the littoral combat ship Coronado in a simple test demonstration.
Operational installations of the NSM and the Boeing Harpoon are expected to be made on the LCSs that will deploy in 2016.(Photo: MC2 Zachary Bell/US Navy)
http://www.defensenews.com/story/defense/naval/ships/2015/10/25/lcs-littoral-combat-ship-fanta-mission-module-surface-warfare-missile-harpoon-naval-strike-missile-kongsberg-norwegian-fort-worth-freedom-coronado-independence-navy/74477482/
กองทัพเรือสหรัฐฯมีแผนจะเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติการรบของเรือแบบ Littoral Combat Ship (LCS) ทั้งเรือ LCS ชั้น Freedoom และเรือ LCS ชั้น Independence
ด้วยการติดตั้งระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นที่มีขีดความสามารถในการยิงโจมตีเป้าหมายไกลเกินระยะเส้นขอบฟ้า (OTH: Over The Horizon) บนเรือ LCS
พลเรือตรี Pete Fanta ผู้อำนวยการแผนกสงครามผิวน้ำ(Surface Warfare) ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ หรือ Pentagon ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 17 กันยายน ที่ผ่านมา
ได้กล่าวถึงแผนการติดตั้งระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นระยะยิงไกลเกินเส้นขอบฟ้าไม่ระบุแบบกับเรือ LCS-1 USS Freedom และเรือ LCS-4 USS Coronado เมื่อถึงกำหนดการวางกำลังครั้งต่อไป
โดยตามกำหนดการแล้ว USS Freedom จะเข้าประจำการเพื่อวางกำลังในเขตมหาสมุทรแปซิฟิคตะวันช่วงไตรมาสแรกของปี 2016
ส่วน USS Coronado มีกำหนดการวางกำลังตามมาในช่วงไตรมาสสองหรือไตรมาสสามของปี 2016 เช่นกัน
"วัตถุประสงค์คือการติดตั้งระบบอาวุธปล่อยนำวิถี OTH กับเรือ LCS ทุกลำที่เข้าประจำการวางกำลังในฐานปฏิบัติการส่วนหน้า เริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ 2016
เช่นเดียวกันกับเรือ LCS ทุกลำที่กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างก่อนหน้าที่จะเข้าพิธีขึ้นระวางประจำการของเรือแต่ละลำ" พลเรือตรี Fanta กล่าว
เรือ LCS ของกองทัพเรือสหรัฐฯ ทั้งชั้น Freedoom และชั้น Independence ยังไม่ได้รับการติดตั้งระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้น
หลังจากการยกเลิกโครงการระบบอาวุธปล่อยนำวิถี NLOS (Non-Line-of-Sight) ร่วมกับกองทัพบกสหรัฐฯ ในปี 2010
กองทัพเรือจึงตั้งโครงการความต้องการจัดหาระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นสำหรับติดตั้งกับเรือ LCS แต่ก็ยังไม่มีการเลือกแบบแต่อย่างใด
แม้ว่าจะไม่มีการระบุแบบระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นที่จะติดตั้งกับเรือ LCS ว่าเป็นแบบใดในขณะนี้
แต่แหล่งข่าวเชื่อว่าระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นที่จะติดตั้งกับเรือ LCS ในขั้นต้นน่าจะเป็น Kongsberg NSM (Naval Strike Missile) นอร์เวย์ และ Boeing Harpoon สหรัฐฯ
ซึ่งแหล่งข่าวระบุว่าเป็นไปได้ที่กองทัพเรือจะทำการติดตั้งระบบอาวุธปล่อยนำวิถีทั้งสองแบบกับเรือ LCS ทุกลำ โดยเรือแต่ละลำจะเลือกติดเพียงระบบเดียวอย่างใดอย่างหนึ่ง
RGM-84 Harpoon ของ Boeing สหรัฐฯนั้นเป็นระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำ ซึ่งเป็นระบบอาวุธหลักของเรือรบผิวน้ำกองทัพเรือสหรัฐฯตั้งแต่ปี 1970s
ระบบอาวุธปล่อยนำวิถี Harpoon ได้มีการพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถในรุ่นใหม่ๆ ซึ่ง Boeing กำลังทำงานเพื่อพัฒนาระบบใหม่สำหรับการติดตั้งกับเรือและมีระยะยิงไกลขึ้น
ส่วน Kongsberg NSM นอร์เวย์นั้นเป็นระบบเดียวในขณะนี้ที่ทดสอบการยิงจริงจากเรือ LCS แล้ว ซึ่งมีการทดสอบการยิงจากแท่นยิงชั่วคราวที่ติดตั้งกับเรือ USS Coronado ไปเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2014
โดยมากเรือรบผิวน้ำจะติดตั้งระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำในแท่นยิงแบบแฝดสี่รวมสองชุด รวมมีจรวดทั้งหมด 8นัด แต่ขณะนี้ยังไม่ทราบว่าจะสามารถติดตั้งกับเรือ LCS ได้สูงสุดกี่นัด
การประเมินขั้นต้นต้องการจะติดตั้งได้อย่างน้อย 8นัดต่อเรือหนึ่งลำ ในแท่นยิงบนดาดฟ้าเรือ ทั้งนี้ Lockheed Martin ผู้พัฒนาเรือ LCS ชั้น Freedom และ Austral ผู้พัฒนาเรือชั้น Independence ยังได้เสนอการติดตั้งแท่นยิงแนวดิ่ง VLS สำหรับแบบเรือ LCS ของตน
อย่างไรก็ตามการติดตั้วระบบอาวุธปล่อยนำวิถีแบบชุดบรรจุกล่องบนดาดฟ้าเรือนั้นจะมีค่าใช้จ่ายในการพัฒนาติดตั้งน้อยที่สุด ซึ่งเรือ LCS ยังจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงติดตั้งระบบสงครามต่อต้านเรือดำน้ำและทุ่นระเบิดเพิ่มเติมด้วย
เรือ LCS ที่กำลังดำเนินการก่อสร้างในขณะนี้ทั้งเรือชั้น Freedom คือ LCS-5 USS Milwaukee มีกำหนดเข้าประจำการในวันที่ 21 พฤศจิกายน และเรือชั้น Independence คือ LCS-6 USS Jackson จะเข้าประจำการในวันที่ 5 ธันวาคม
โดยเรือ LCS ลำอื่นๆในเรือทั้งสองชั้นที่กำลังต่อเพิ่มคือชั้น Freedom กำลังถูกต่อที่อู่ Fincantieri Marinette Marine ใน Marinette มลรัฐ Wisconsin และชั้น Independence ที่อู่ Austal USA ใน Mobile มลรัฐ Alabama ครับ
วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558
เกมไทยที่ข้าพเจ้าเคยเล่น-๑
เกมไทยเกมแรกที่ผมเคยเล่นคือ "โมบิลซุลกันดั้มซีครอส ตอน การตัดสินครั้งสุดท้าย" (Mobile Suit Gundam ZX)
ซึ่งลงใน CD ของนิตยสาร Future Gamer ฉบับเดือนสิงหาคม ปี2000(พ.ศ.๒๕๔๓)
เกมนี้เป็นเกมที่เข้าประกวดในงานการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทยครั้งที่๒ พ.ศ.๒๕๔๓ ของ NECTEC
หรืองาน NSC(National Software Contest) ในงาน Thailand ICT Contest Festival ปัจจุบัน
"โมบิลซุลกันดั้มซีครอส ตอน การตัดสินครั้งสุดท้าย" เป็นเกมที่พัฒนาโดยนักศึกษาจากสถาบันราชภัฏธนบุรีคือ
คุณกษิดิศ วรรณุรักษ์, คุณอาษา ตั้งจิตสมคิด และคุณอาสาฬ ตั้งจิตสมคิด ด้วย CDX game Engine
ซึ่งในงาน NSC 2000 นั้น "โมบิลซุลกันดั้มซีครอส ตอน การตัดสินครั้งสุดท้าย" ไม่ได้รับรางวัลใดๆแต่อย่างใด
"โมบิลซุลกันดั้มซีครอส ตอน การตัดสินครั้งสุดท้าย" เป็นเกมแนว 2D Turn Based Strategy/Tactical Role Playing Game หรือที่มักจะเรียกว่าแนว Simulation RPG บนเครื่อง Console
หรืออธิบายให้ชัดกว่านี้เกมนี้เหมือนเกมในตระกูล Super Robot War ของ Banpresto นั่นเองเพียงแต่เกมนี้อยู่ในจักรวาล Mobile Suit Gundam (U.C. Universal Century) เท่านั้น
"โมบิลซุลกันดั้มซีครอส ตอน การตัดสินครั้งสุดท้าย" ที่ได้ทดลองเล่นเป็นเพียงฉบับ DEMO ที่มีให้เล่นเพียงฉากสองฉากเท่านั้น
เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับนักบิน Mobile Suit ใหม่ของกับสหพันธ์โลก(Earth Federation) สามนายที่ต้องต่อสู้กับการเกิดใหม่ของฝ่าย Neo Zeon
นอกจากภาพตัวละครที่ดูไม่ค่อยจะสวยงามเท่าไร ประกอบกับเสียงพากษ์ตัวละครขณะต่อสู้ที่ทีมพัฒนาน่าจะอัดเสียงกันเองแล้ว
ก็ไม่แน่ใจว่าภาพ Sprite ตัวหุ่นแบบ SD และ Icon ภาพประกอบ และเสียง Effect ต่างๆนั้นผู้พัฒนาได้วาดหรือทำเองทั้งหมดหรือไม่
เพราะว่า Video Intro เปิดตัวของเกมก็จับภาพมาจาก Animation ในชุด Mobile Suit Gundam ของ Sunrise เช่นเดียวกับฉากและภาพประกอบระหว่างการเล่าเรื่อง
เพลง Openning ของเกมคือ "Zettai ni Daremo" จาก Animation "Slam Dunk" และเพลงปิดคือ "Nanka Shiawase" จาก Animation "Flame of Recca" อีกต่างหาก
และเนื่องจากตัวเกมเป็นเพียง DEMO สั้นๆที่มีฉากต่อสู้เพียงราวหนึ่งถึงสองฉาก เนื้อเรื่องในเกมจึงไม่ค่อยมีอะไรมากนัก
นอกจากการแนะนำตัวของนักบินกองทัพสหพันธ์ฯสามนายกับผู้บัญชาการฐาน จนถึงการโจมตีฐานของฝ่าย Neo Zeon ทั้งในภาคพื้นและอวกาศ
(แต่เหมือนนักศึกษาวิชาทหารกับครูฝึกมากว่า มีเรื่องมุขยิงปืนไปโดนเป้าเพื่อนสุด Classic ด้วย)
โดยเนื้อเรื่องในเกมจบลงที่การแนะนำตัวละครนักบินสหพันธ์ใหม่ที่ชื่อยาวเฟื้อยซึ่งยังไม่ปรากฎตัวในเกม DEMO นี้
ถ้าถามว่าสมัยนั้นผมรู้สึกอย่างไรกับเกมนี้? ก็ต้องกล่าวตามตรงว่าเป็นเกมที่สร้างความไม่ประทับใจเป็นอย่างมากที่สุด
สมัยนั้น CD ของนิตยสาร Future Gamer ฉบับ ๙๕บาท จะมีการลง DEMO เกมหลากหลายมาก บางเกมก็สนุกจนอยากซื้อตัวเต็มมาเล่นต่อ บางเกมก็ไม่สนุกเลย
แต่เกมนี้ทำผมรู้สึกว่าถึงจะเป็นเพียงเกมตัวอย่าง แต่ก็เป็นเกมที่แย่ที่สุดผมที่เคยเล่นมาในสมัยนั้นจริงๆ
และก็เป็นที่แน่นอนด้วยว่าเหตุผลประกอบหนึ่งที่เกมนี้ไม่สามารถจะพัฒนาให้เสร็จสมบูรณ์เผยแพร่ในเชิงพาณิชย์ได้ ก็เนื่องจากเรื่องลิขสิทธิ์นั่นเอง
(ตรงนี้ไม่เกี่ยวที่ว่าเพราะเป็นเกมคนไทยทำนะครับ เกมจะสนุกหรือสนุกขึ้นอยู่กับคุณภาพงานของตัวเกมเอง ไม่ใช่สัญชาติของผู้พัฒนาเกม)
ผ่านมา ๑๕ปี ก็ได้เห็นว่าวงการเกมไทยมีแนวทางและทิศทางการพัฒนาที่ดีขึ้นมาบ้างระดับหนึ่ง
เช่น จากนักพัฒนาเกมที่เป็นคนรุ่นใหม่ และ Game Engine และเครื่องมือพัฒนาเกมสมรรถนะสูงต่างที่สามารถหามาใช้ได้ Free แบบถูกลิขสิทธิ์ซึ่งต่างจากสมัยก่อนมาก
(สมัยก่อนเครื่องมือในการพัฒนาเกมแบบ Free หรือราคาถูกมีแต่ระดับพอใช้ได้ยันห่วยไม่ได้เรื่อง เครื่องมือระดับชั้นนำก็มีราคาแพงระยับเกินความสามารถนักเรียนนักศึกษาที่จะหามาใช้อย่างถูกต้องได้)
ถึงแม้ว่าจะไม่มากอย่างที่ควรจะเป็นเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในภาพรวมของอุตสาหกรรมเกมระดับสากล แต่ก็ค่อนข้างดีขึ้นกว่าจากเมื่อ ๑๕ปีก่อนพอสมควรครับ
วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2558
ว่าที่นายกรัฐมนตรีแคนาดาคนใหม่อาจจะยกเลิกโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35 กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯคาดราคาเครื่องจะเพิ่มขึ้นอีก $1 million
Justin Trudeau, Canada's incoming prime minister, could axe F-35
Canada appeared to have postponed a final decision on F-35 purchases until after 2015 federal elections.
The leader of the Liberal Party, which will now form a majority government, is strongly opposed to the F-35. Source: Lockheed Martin
http://www.janes.com/article/55393/justin-trudeau-canada-s-incoming-prime-minister-could-axe-f-35
การเลือกตั้งของแคนาดาซึ่งมีขึ้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคมที่ผ่านมา ผลการลงคะแนนออกมาว่าแนวร่วมพรรคฝ่ายเสรีนิยมเป็นฝ่ายชนะพรรคแนวร่วมอนุรักษ์นิยมซึ่งเป็นรัฐบาลปัจจุบันที่มีอำนาจในรัฐสภาตลอด 10ปีที่ผ่านมา
ที่ผ่านมารัฐบาลฝ่ายอนุรักษ์นิยมของนายกรัฐมนตรี Stephen Harper นั้นมีนโยบายทางการทหารเข้าข้างสหรัฐฯและสหภาพยุโรปร่วมกลุ่ม NATO มาตลอด
เช่น การส่งเครื่องบินขับไล่ CF-18 จำนวน 6เครื่องเข้าร่วมปฏิบัติการโจมตีกลุ่มติดอาวุธก่อการร้ายในตะวันออกกลาง
การเข้าร่วมโครงการ JSF(Joint Strike Fighter) ในการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35A Lightning II ทดแทนเครื่องบินขับไล่ CF-18 Hornet (F/A-18A/B) ของกองทัพอากาศแคนาดา
และการจัดหายุทโธปกรณ์อื่นๆอย่าง เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง Boeing CH-47F Chinook เครื่องบินลำเลียงกลางทางยุทธวิธี Lockheed Martin C-130J Super Hercules เครื่องบินลำเลียงหนักทางยุทธศาสตร์ Boeing C-17 Globemaster III เป็นต้น
แต่ว่าที่นายกรัฐมนตรีแคนาดาคนใหม่คือ นาย Justin Trudeau วัย 43ปี ซึ่งจะเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 4 พฤศจิกายนนั้นได้ประกาศการปรับเปลี่ยนนโยบายด้านความมั่นคงของรัฐบาลแคนาดาในอนาคตใหม่หลายประการเช่น
การถอนกำลังเครื่องบินขับไล่ CF-18 ออกจากตะวันออกกลางและส่งกองกำลังช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแทน รวมถึงการเปิดรับผู้อพยพจากภัยสงครามเข้ามาอาศัยในแคนาดามากขึ้น
ทั้งนี้สำหรับโครงการ JSF นาย Trudeau ยังได้ประกาศเป็นหัวข้อหลักตั้งแต่ช่วงหาเสียงว่า "เราจะไม่ซื้อ F-35 และจะเปิดการแข่งขันโครงการจัดหาที่โปร่งใสแทน"
ซึ่งการยกเลิกโครงการจัดหา F-35A ที่ถูกมองว่าไม่มีความจำเป็นสำหรับการป้องกันน่านฟ้าแคนาดา และตั้งโครงการแข่งขันจัดหาเครื่องบินขับไล่แบบอื่นแทนนั้น จะทำให้รัฐบาลแคนาดาสามารถประหยัดงบประมาณลงได้หลายพันล้านเหรียญ
อย่างไรก็ตามโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่แบบใหม่เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ CF-18 นั้นตามของหัวหน้าพรรคประชาธิปไตยใหม่(New Democratic Party) Thomas Mulcair กล่าวว่าจะยังให้โอกาส F-35 เข้าแข่งขันในโครงการด้วย
Pentagon expects USD1 million unit price increase if Canada leaves F-35 programme
Canadian Liberal Party leader Justin Trudeau, who is set to become prime minister on 4 November, has said he would cancel the country's F-35 procurement effort if elected.
Such a move could increase the aircraft's unit cost by USD1 million for the remaining customers, according to the Pentagon. Source: Lockheed Martin
http://www.janes.com/article/55466/pentagon-expects-usd1-million-unit-price-increase-if-canada-leaves-f-35-programme
การที่รัฐบาลชุดใหม่ของแคนาดามีแนวโน้มที่จะถอนตัวออกจากโครงการเครื่องบินขับไล่ F-35 ทำให้ พลอากาศโท Chris Bogdan ผู้จัดการโครงการ F-35 ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯได้กล่าวต่อผู้ร่างกฎหมายเมื่อวันที่ 21 ตุลาคมที่ผ่านมาต่อกรณีนี้ว่า
"ถ้าหุ้นส่วนหรือภาคส่วนใดจะถอนตัวออกจากโครงการจัดหาอากาศยาน ราคาของอากาศยานสำหรับหุ้นส่วนและภาคส่วนอื่นๆก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย"
นายพล Bogdan กล่าวว่าในกรณีของแคนาดาที่อาจจะถอนตัวจากโครงการ JSF นั้นจะทำให้ราคาเครื่อง F-35 เพิ่มขึ้นอีกราวร้อยละ 0.7-1 หรือราวล้านเหรียญ
ซึ่งในบรรดาหุ้นส่วนนานาชาติของโครงการ JSF ส่วนแบ่งของแคนาดาคิดเป็นร้อยละ 2.1 ของค่าใช้จ่ายในการคงสภาพและสร้างความทันสมัยของโครงการ
อย่างไรก็ตามนายพล Bogdan กล่าวว่าการถอนตัวของแคนาดาจะไม่มีผลกระทบใดๆต่อการพัฒนา F-35 ซึ่งจะสิ้นสุดลงในปี 2017 โดยขณะนี้ทางรัฐบาล Ottawa ก็ยังไม่ได้มีการตัดสินใจดำเนินนโยบายใดๆในขณะนี้ครับ
Canada appeared to have postponed a final decision on F-35 purchases until after 2015 federal elections.
The leader of the Liberal Party, which will now form a majority government, is strongly opposed to the F-35. Source: Lockheed Martin
http://www.janes.com/article/55393/justin-trudeau-canada-s-incoming-prime-minister-could-axe-f-35
การเลือกตั้งของแคนาดาซึ่งมีขึ้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคมที่ผ่านมา ผลการลงคะแนนออกมาว่าแนวร่วมพรรคฝ่ายเสรีนิยมเป็นฝ่ายชนะพรรคแนวร่วมอนุรักษ์นิยมซึ่งเป็นรัฐบาลปัจจุบันที่มีอำนาจในรัฐสภาตลอด 10ปีที่ผ่านมา
ที่ผ่านมารัฐบาลฝ่ายอนุรักษ์นิยมของนายกรัฐมนตรี Stephen Harper นั้นมีนโยบายทางการทหารเข้าข้างสหรัฐฯและสหภาพยุโรปร่วมกลุ่ม NATO มาตลอด
เช่น การส่งเครื่องบินขับไล่ CF-18 จำนวน 6เครื่องเข้าร่วมปฏิบัติการโจมตีกลุ่มติดอาวุธก่อการร้ายในตะวันออกกลาง
การเข้าร่วมโครงการ JSF(Joint Strike Fighter) ในการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35A Lightning II ทดแทนเครื่องบินขับไล่ CF-18 Hornet (F/A-18A/B) ของกองทัพอากาศแคนาดา
และการจัดหายุทโธปกรณ์อื่นๆอย่าง เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง Boeing CH-47F Chinook เครื่องบินลำเลียงกลางทางยุทธวิธี Lockheed Martin C-130J Super Hercules เครื่องบินลำเลียงหนักทางยุทธศาสตร์ Boeing C-17 Globemaster III เป็นต้น
แต่ว่าที่นายกรัฐมนตรีแคนาดาคนใหม่คือ นาย Justin Trudeau วัย 43ปี ซึ่งจะเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 4 พฤศจิกายนนั้นได้ประกาศการปรับเปลี่ยนนโยบายด้านความมั่นคงของรัฐบาลแคนาดาในอนาคตใหม่หลายประการเช่น
การถอนกำลังเครื่องบินขับไล่ CF-18 ออกจากตะวันออกกลางและส่งกองกำลังช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแทน รวมถึงการเปิดรับผู้อพยพจากภัยสงครามเข้ามาอาศัยในแคนาดามากขึ้น
ทั้งนี้สำหรับโครงการ JSF นาย Trudeau ยังได้ประกาศเป็นหัวข้อหลักตั้งแต่ช่วงหาเสียงว่า "เราจะไม่ซื้อ F-35 และจะเปิดการแข่งขันโครงการจัดหาที่โปร่งใสแทน"
ซึ่งการยกเลิกโครงการจัดหา F-35A ที่ถูกมองว่าไม่มีความจำเป็นสำหรับการป้องกันน่านฟ้าแคนาดา และตั้งโครงการแข่งขันจัดหาเครื่องบินขับไล่แบบอื่นแทนนั้น จะทำให้รัฐบาลแคนาดาสามารถประหยัดงบประมาณลงได้หลายพันล้านเหรียญ
อย่างไรก็ตามโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่แบบใหม่เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ CF-18 นั้นตามของหัวหน้าพรรคประชาธิปไตยใหม่(New Democratic Party) Thomas Mulcair กล่าวว่าจะยังให้โอกาส F-35 เข้าแข่งขันในโครงการด้วย
Pentagon expects USD1 million unit price increase if Canada leaves F-35 programme
Canadian Liberal Party leader Justin Trudeau, who is set to become prime minister on 4 November, has said he would cancel the country's F-35 procurement effort if elected.
Such a move could increase the aircraft's unit cost by USD1 million for the remaining customers, according to the Pentagon. Source: Lockheed Martin
http://www.janes.com/article/55466/pentagon-expects-usd1-million-unit-price-increase-if-canada-leaves-f-35-programme
การที่รัฐบาลชุดใหม่ของแคนาดามีแนวโน้มที่จะถอนตัวออกจากโครงการเครื่องบินขับไล่ F-35 ทำให้ พลอากาศโท Chris Bogdan ผู้จัดการโครงการ F-35 ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯได้กล่าวต่อผู้ร่างกฎหมายเมื่อวันที่ 21 ตุลาคมที่ผ่านมาต่อกรณีนี้ว่า
"ถ้าหุ้นส่วนหรือภาคส่วนใดจะถอนตัวออกจากโครงการจัดหาอากาศยาน ราคาของอากาศยานสำหรับหุ้นส่วนและภาคส่วนอื่นๆก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย"
นายพล Bogdan กล่าวว่าในกรณีของแคนาดาที่อาจจะถอนตัวจากโครงการ JSF นั้นจะทำให้ราคาเครื่อง F-35 เพิ่มขึ้นอีกราวร้อยละ 0.7-1 หรือราวล้านเหรียญ
ซึ่งในบรรดาหุ้นส่วนนานาชาติของโครงการ JSF ส่วนแบ่งของแคนาดาคิดเป็นร้อยละ 2.1 ของค่าใช้จ่ายในการคงสภาพและสร้างความทันสมัยของโครงการ
อย่างไรก็ตามนายพล Bogdan กล่าวว่าการถอนตัวของแคนาดาจะไม่มีผลกระทบใดๆต่อการพัฒนา F-35 ซึ่งจะสิ้นสุดลงในปี 2017 โดยขณะนี้ทางรัฐบาล Ottawa ก็ยังไม่ได้มีการตัดสินใจดำเนินนโยบายใดๆในขณะนี้ครับ
วันเสาร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2558
ฟินแลนด์ประกาศตั้งโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ทดแทน F/A-18
An F/A-18 from the Finnish Air Force(wikipedia.org)
The Defence Forces get a mandate from the Minister of Defence to start the HX fighter project
http://www.defmin.fi/en/topical/press_releases/the_defence_forces_get_a_mandate_from_the_minister_of_defence_to_start_the_hx_fighter_project.6423.news
รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมฟินแลนด์ Jussi Niinisto ได้ประกาศจัดตั้งโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ HX เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ F/A-18C/D Hornet กองทัพอากาศฟินแลนด์ที่จะเริ่มปลดประจำการในปี 2025
โดยเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจดังกล่าวจะต้องมีคุณสมบัติและขีดความสามารถการปฏิบัติการในสภาพแวดล้อมและความต้องการของกองทัพฟินแลนด์ทดแทน F/A-18 ทั้งหมดก่อนสิ้นปี 2020s
ทั้งขีดความสามารถในการป้องกันภัยต่อต้านกองกำลังทางทหารที่เข้ารุกรานฟินแลนด์ ด้วยการป้องกันภัยทางอากาศ การยิงโจมตีสนับสนุนร่วมทั้งเป้าหมายภาคพื้นดินและในทะเล
อีกทั้งมีขีดความสามารถเพิ่มเติมด้านการสนับสนุนข่าวกรอง การลาดตระเวนตรวจการณ์ และระบบควบคุมและบัญชาการ(C2: Command and Control) ร่วมกับกองทัพฟินแลนด์
ปัจจุบันกองทัพอากาศฟินแลนด์มีเครื่องบินขับไล่ F/A-18C รุ่นที่นั่งเดียว 55เครื่อง และ F/A-18D รุ่นสองที่นั่ง 7เครื่อง รวมทั้งหมด 62เครื่อง
การใช้งานเครื่อง F/A-18 Hornet จะไม่สามารถยืดอายุออกไปได้เกินสิ้นปี 2020s เนื่องจากข้อจำกัดด้านโครงสร้างเครื่อง ขีดความสามารถในการปฏิบัติการ และอะไหล่สนับสนุน ซึ่งไม่คุ้มค่าที่จะเสียงบประมาณดำเนินการ
โครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ทดแทน F/A-18 ของกองทัพอากาศฟินแลนด์ได้มีการศึกษาในด้านคุณสมบัติเครื่องที่ต้องการ งบประมาณที่ต้องใช้ และระยะเวลาในการจัดหามา 15ปีแล้ว
จะมีการออกร่างโครงการในเดือนกุมภาพันธ์ 2016 ออกเอกสารขอข้อมูลในปี 2018 เลือกแบบเครื่องในเดือนกุมภาพันธ์ 2019 ลงนามสัญญาจัดหาในปี 2021 มีความพร้อมปฏิบัติการขั้นต้นในต้นปี 2025 และพร้อมปฏิบัติการเต็มอัตราในปี 2030
คาดว่าแบบเครื่องบินขับไล่ที่จะเข้าแข่งขันในโครงการอาจจะมีเช่น Boeing F/A-18E/F Super Hornet, Dassault Rafale, Eurofighter Typhoon, Lockheed Martin F-35 Lightning II และ Saab JAS-39 Gripen เป็นต้นครับ
The Defence Forces get a mandate from the Minister of Defence to start the HX fighter project
http://www.defmin.fi/en/topical/press_releases/the_defence_forces_get_a_mandate_from_the_minister_of_defence_to_start_the_hx_fighter_project.6423.news
รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมฟินแลนด์ Jussi Niinisto ได้ประกาศจัดตั้งโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ HX เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ F/A-18C/D Hornet กองทัพอากาศฟินแลนด์ที่จะเริ่มปลดประจำการในปี 2025
โดยเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจดังกล่าวจะต้องมีคุณสมบัติและขีดความสามารถการปฏิบัติการในสภาพแวดล้อมและความต้องการของกองทัพฟินแลนด์ทดแทน F/A-18 ทั้งหมดก่อนสิ้นปี 2020s
ทั้งขีดความสามารถในการป้องกันภัยต่อต้านกองกำลังทางทหารที่เข้ารุกรานฟินแลนด์ ด้วยการป้องกันภัยทางอากาศ การยิงโจมตีสนับสนุนร่วมทั้งเป้าหมายภาคพื้นดินและในทะเล
อีกทั้งมีขีดความสามารถเพิ่มเติมด้านการสนับสนุนข่าวกรอง การลาดตระเวนตรวจการณ์ และระบบควบคุมและบัญชาการ(C2: Command and Control) ร่วมกับกองทัพฟินแลนด์
ปัจจุบันกองทัพอากาศฟินแลนด์มีเครื่องบินขับไล่ F/A-18C รุ่นที่นั่งเดียว 55เครื่อง และ F/A-18D รุ่นสองที่นั่ง 7เครื่อง รวมทั้งหมด 62เครื่อง
การใช้งานเครื่อง F/A-18 Hornet จะไม่สามารถยืดอายุออกไปได้เกินสิ้นปี 2020s เนื่องจากข้อจำกัดด้านโครงสร้างเครื่อง ขีดความสามารถในการปฏิบัติการ และอะไหล่สนับสนุน ซึ่งไม่คุ้มค่าที่จะเสียงบประมาณดำเนินการ
โครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ทดแทน F/A-18 ของกองทัพอากาศฟินแลนด์ได้มีการศึกษาในด้านคุณสมบัติเครื่องที่ต้องการ งบประมาณที่ต้องใช้ และระยะเวลาในการจัดหามา 15ปีแล้ว
จะมีการออกร่างโครงการในเดือนกุมภาพันธ์ 2016 ออกเอกสารขอข้อมูลในปี 2018 เลือกแบบเครื่องในเดือนกุมภาพันธ์ 2019 ลงนามสัญญาจัดหาในปี 2021 มีความพร้อมปฏิบัติการขั้นต้นในต้นปี 2025 และพร้อมปฏิบัติการเต็มอัตราในปี 2030
คาดว่าแบบเครื่องบินขับไล่ที่จะเข้าแข่งขันในโครงการอาจจะมีเช่น Boeing F/A-18E/F Super Hornet, Dassault Rafale, Eurofighter Typhoon, Lockheed Martin F-35 Lightning II และ Saab JAS-39 Gripen เป็นต้นครับ
วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2558
อียิปต์อาจจะสั่งจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตี Ka-52 เพิ่มเป็นรวม 80เครื่อง
Egypt may increase order of Russian Ka-52 type helicopters to 80 — source
TASS/Alexandr Ryumin
http://tass.ru/en/defense/830287
หลังจากที่รายงานข่าวการที่อียิปต์จะจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตี Ka-52 Alligator (NATO กำหนดรหัสว่า Hokum B) จำนวน 50เครื่องก่อนหน้านี้นั้น
ล่าสุดแหล่งข่าวฝ่ายเทคนิคทางทหารของรัสเซียได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลต่อสำนักข่าว TASS รัสเซียว่า มีความเป็นไปได้ที่รัสเซียจะอนุมัติการขาย ฮ.โจมตี Ka-52 ให้อียิปต์เพิ่มอีกรวมเป็นราว 80เครื่อง
โดย ฮ.รุ่นที่ที่อิยิปต์จะจัดหามาเพิ่มเติมคือเฮลิคอปเตอร์โจมตี Ka-52K Katran ซึ่งเป็นรุ่นที่ออกแบบมาสำหรับปฏิบัติการทางทะเลร่วมกับเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์
หลังจากที่อียิปต์ลงนามสัญญาจัดหาเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Mistral 2ลำกับฝรั่งเศส ซึ่งเดิมเป็นเรือที่ต่อสำหรับกองทัพเรือรัสเซียอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 ตุลาคมที่ผ่านมา
อียิปต์ก็ได้มีการเจรจากับรัสเซียเพื่อจัดหา ฮ.โจมตี Ka-52K ซึ่งออกแบบมาสำหรับการปฏิบัติการร่วมกับเรือชั้น Mistral ที่ติดตั้งระบบอุปกรณ์สำหรับกองทัพเรือรัสเซีย
ทั้งนี้แหล่งข่าวกล่าวว่าสัญญาการจัดหา ฮ.โจมตี Ka-52 เพิ่มเติมจากชุดแรก 50เครื่องที่มีการลงนามสัญญาไปก่อนแล้ว โดยอียิปต์ตั้งใจจะจัดหา ฮ.โจมตี Ka-52K มาปฏิบัติการจากเรือชั้น Mistral ของตน
โดยกองทัพเรืออียิปต์จะวางกำลัง ฮ.โจมตี Ka-52K จำนวน 16เครื่องบนเรือแต่ละลำ ทำให้มียอดการจัดหา ฮ.โจมตี Ka-52K รวมอย่างน้อย 32เครื่อง
แหล่งข่าวยังกล่าวด้วยการลงนามสัญญาจัดหา ฮ.โจมตี Ka-52K Katran ระหว่างอียิปต์และรัสเซียนั้นคาดว่าจะมีขึ้นในราวไตรมาสแรกของปี 2016
กองทัพเรือรัสเซียได้ลงนามสัญญาจัดหาเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Mistral 2ลำกับบริษัท DCNS ฝรั่งเศส วงเงิน 1.12 billion Euros เมื่อเดือนมิถุนายน 2011
โดยตามกำหนดการเดิมฝรั่งเศสจะต้องทำการส่งมอบเรือลำแรกคือ Vladivostok ที่ปล่อยลงน้ำเมื่อเดือนตุลาคม 2013 ให้กองทัพเรือรัสเซียในเดือนพฤศจิกายน 2014 และเรือลำที่สองคือ Sevastopol ในเดือนตุลาคม 2015
แต่ฝรั่งเศสและรัสเซียได้ยกเลิกสัญญาการส่งมอบเรือเนื่องจากความขัดแย้งระหว่างสหภาพยุโรปและ NATO ต่อรัสเซียที่ทวีความรุนแรงขึ้นหลังรัสเซียผนวก Crimea และแทรกแซงสงครามในเขต Donbass ของยูเครนในปี 2014
ทั้งนี้หลังจากที่อียิปต์ลงนามข้อตกลงจัดหาเรือชั้น Mistral ทั้งสองลำจากฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2015 คาดจะมีการส่งมอบเรือให้อียิปต์ได้ในฤดูร้อนปี 2016 ครับ
TASS/Alexandr Ryumin
http://tass.ru/en/defense/830287
หลังจากที่รายงานข่าวการที่อียิปต์จะจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตี Ka-52 Alligator (NATO กำหนดรหัสว่า Hokum B) จำนวน 50เครื่องก่อนหน้านี้นั้น
ล่าสุดแหล่งข่าวฝ่ายเทคนิคทางทหารของรัสเซียได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลต่อสำนักข่าว TASS รัสเซียว่า มีความเป็นไปได้ที่รัสเซียจะอนุมัติการขาย ฮ.โจมตี Ka-52 ให้อียิปต์เพิ่มอีกรวมเป็นราว 80เครื่อง
โดย ฮ.รุ่นที่ที่อิยิปต์จะจัดหามาเพิ่มเติมคือเฮลิคอปเตอร์โจมตี Ka-52K Katran ซึ่งเป็นรุ่นที่ออกแบบมาสำหรับปฏิบัติการทางทะเลร่วมกับเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์
หลังจากที่อียิปต์ลงนามสัญญาจัดหาเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Mistral 2ลำกับฝรั่งเศส ซึ่งเดิมเป็นเรือที่ต่อสำหรับกองทัพเรือรัสเซียอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 ตุลาคมที่ผ่านมา
อียิปต์ก็ได้มีการเจรจากับรัสเซียเพื่อจัดหา ฮ.โจมตี Ka-52K ซึ่งออกแบบมาสำหรับการปฏิบัติการร่วมกับเรือชั้น Mistral ที่ติดตั้งระบบอุปกรณ์สำหรับกองทัพเรือรัสเซีย
ทั้งนี้แหล่งข่าวกล่าวว่าสัญญาการจัดหา ฮ.โจมตี Ka-52 เพิ่มเติมจากชุดแรก 50เครื่องที่มีการลงนามสัญญาไปก่อนแล้ว โดยอียิปต์ตั้งใจจะจัดหา ฮ.โจมตี Ka-52K มาปฏิบัติการจากเรือชั้น Mistral ของตน
โดยกองทัพเรืออียิปต์จะวางกำลัง ฮ.โจมตี Ka-52K จำนวน 16เครื่องบนเรือแต่ละลำ ทำให้มียอดการจัดหา ฮ.โจมตี Ka-52K รวมอย่างน้อย 32เครื่อง
แหล่งข่าวยังกล่าวด้วยการลงนามสัญญาจัดหา ฮ.โจมตี Ka-52K Katran ระหว่างอียิปต์และรัสเซียนั้นคาดว่าจะมีขึ้นในราวไตรมาสแรกของปี 2016
กองทัพเรือรัสเซียได้ลงนามสัญญาจัดหาเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Mistral 2ลำกับบริษัท DCNS ฝรั่งเศส วงเงิน 1.12 billion Euros เมื่อเดือนมิถุนายน 2011
โดยตามกำหนดการเดิมฝรั่งเศสจะต้องทำการส่งมอบเรือลำแรกคือ Vladivostok ที่ปล่อยลงน้ำเมื่อเดือนตุลาคม 2013 ให้กองทัพเรือรัสเซียในเดือนพฤศจิกายน 2014 และเรือลำที่สองคือ Sevastopol ในเดือนตุลาคม 2015
แต่ฝรั่งเศสและรัสเซียได้ยกเลิกสัญญาการส่งมอบเรือเนื่องจากความขัดแย้งระหว่างสหภาพยุโรปและ NATO ต่อรัสเซียที่ทวีความรุนแรงขึ้นหลังรัสเซียผนวก Crimea และแทรกแซงสงครามในเขต Donbass ของยูเครนในปี 2014
ทั้งนี้หลังจากที่อียิปต์ลงนามข้อตกลงจัดหาเรือชั้น Mistral ทั้งสองลำจากฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2015 คาดจะมีการส่งมอบเรือให้อียิปต์ได้ในฤดูร้อนปี 2016 ครับ
ซาอุดิอาระเบียวางแผนจัดหาเรือแบบแผนเรือชั้น Freedom ของ Lockheed Martin สหรัฐฯ 4ลำ
Saudi Arabia Set to Buy Four Lockheed Martin Freedom-Class Variants in $11.25B Deal
A Lockheed Martin concept for variations of the Freedom-class LCS design from corvette to Frigate sized hulls. Lockheed Martin Photo
http://news.usni.org/2015/10/20/saudi-arabia-set-to-buy-four-lockheed-martin-freedom-class-variants-in-11-25b-deal
สภา Congress สหรัฐฯได้พิจารณาความเป็นไปได้ในการที่ซาอุดิอาระเบียจะจัดซื้อแบบเรือรบผิวน้ำที่มีพื้นฐานจากเรือชั้น Freedom กองทัพเรือสหรัฐฯ 4ลำ เป็นส่วนหนึ่งการจัดซื้อแบบ FMS(Foreign Military Sale) วงเงิน $11.25 billion
โดยกองทัพเรือซาอุดิอาระเบียวางแผนที่จะนำเรือชั้น Freedom นี้เข้าประจำการเป็นกำลังหลักในกองเรือตะวันออก เป็นส่วนหนึ่งของแผนระยะยาวโครงการปรับปรุงขยายกำลังทางเรือ(SNEP II: Saudi Naval Expansion Program II)
ซึ่งวงเงินในโครงการ SNEP II กว่า $20 billion นี้จะเป็นการเสริมสร้างกำลังกองทัพเรือซาอุดิอาระเบียในการสนับสนุนกองทัพเรือสหรัฐฯในการปฏิบัติการในอ่าวเปอร์เซีย ตามข้อมูลในเอกสารประกาศว่า
"การจัดหานี้จะเสริมสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงทางทะเลในเขตทะเลคาบสมุทรอาระเบีย และสนับสนุนวัตถุประสงค์ทางยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ
ความเป็นไปได้ในการขายนี้จะทำให้ซาอุดิอาระเบียเพิ่มขีดความสามารถทางทะเลในปัจจุบันและอนาคตต่อภัยคุกคามจากระบบอาวุธข้าศึก
เรือรบผิวน้ำพหุภารกิจ(MMSC: Multi-Mission Surface Combatant) จะสร้างการป้องกันเชิงลึกต่อระบบโครงสร้างอุตสาหกรรมพื้นฐานที่สำคัญ และเส้นทางติดต่อขนส่งทางทะเล"
อย่างไรก็ตามเรือ MMSC ที่ซาอุดิอาระเบียจะจัดหา 4ลำจาก Lockheed Martin นี้จะไม่เหมือนเรือ LCS(Littoral Combat Ships) ชั้น Freedom Flight 0 ของกองทัพเรือสหรัฐฯ
โดยเรือของซาอุดิอาระเบียจะไม่มีส่วน modular mission package ซึ่งมีความยืดหยุ่นในการติดตั้งอุปกรณ์หรืออาวุธตามรูปแบบภารกิจ แต่จะติดตั้งระบบอาวุธพหุภารกิจแบบดั้งเดิมมากกว่า
"เรามีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้รับโอกาสจากราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบียในการจัดหาเรือ MMSC 4ลำ ซึ่งมีพื้นฐานจากเรือ LCS ชั้น Freedom
เรามองไปข้างหน้าถึงการทำงานร่วมมือกันระหว่างสองกองทัพเรือในการพัฒนาที่มีความเสี่ยงต่ำ มีประสิทธิภาพตามราคาสูง เป็นวิธีการเพื่อส่งมอบตามราคาที่ได้รับจากลูกค้า"ตัวแทนของ Lockheed Martin แถลง
ที่ผ่านมา Lockheed Martin ได้เสนอแบบแผนเรือ MMSC หลายขนาดสำหรับขายให้ลูกค้าในต่างประเทศ แต่ยังไม่ชัดเจนในขณะนี้ว่าซาอุดิอาระเบียจะเลือกเรือแบบใด
ตามเอกสารขององค์การความร่วมมือด้านการรักษาความปลอดภัยและความมั่นคงสหรัฐฯ(DSCA:Defense Security Cooperation Agency) ต่างๆก่อนหน้านี้ มีการระบุถึงความเป็นไปได้ในการจัดหาระบบยุทโธปกรณ์ซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกับการจัดหาเรือ MMSC 4ลำ เช่น
แท่นยิงแนวดิ่ง Mk 41 8-cell สองระบบ โดยมีรายงานสัญญาการจัดหากับกองบัญชาการะบบเรือทางทะเล(Naval Sea Systems Command) วงเงิน $93 million ในการจัดหา Mk 41 VLS จาก Lockheed Martin
รวมถึงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ RIM-162 ESSM ของ Raytheon อีก 532นัด ซึ่งถ้าเรือของซาอุดิอาระเบียติดตั้งแท่นยิง Mk 41 VLS รวมสี่ระบบ 16 cell จะติดตั้ง ESSM ได้ 64นัดในชุดบรรจุแบบสี่นัด
AESA radar ตรวจการณ์ทางอากาศ แบบ Airbus TRS-4D มีความเป็นไปได้ว่าเรือของซาอุดิอาระเบียจะติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ RGM-84 Harpoon Block II ของ Boeing,
Sonar และ Torpedo สำหรับระบบสงครามต่อต้านเรือดำน้ำ, ปืนใหญ่เรือ OTO Melara 76/62mm และระบบสงครามเครือข่าย LINK 16 ที่เชื่อมโยงกับกองกำลังสหรัฐฯในภูมิภาคตะวันออกกลางได้
อีกทั้งก่อนหน้านี้ในเดือนสิงหาคม สภา Congrees ยังได้พิจารณาอนุมัติความเป็นไปได้ในการขายเฮลิคอปเตอร์ Sikorsky MH-60R 10เครื่องวงเงิน $1.9 billion ให้ซาอุดิอาระเบียด้วย
ซึ่งตามแผนโครงการ SNEP II นอกจากเรือชั้น Freedom แล้วกองทัพเรือซาอุดิอาระเบียยังมีความสนใจแบบเรือ LCS ชั้น Independence ของ Austal
รวมถึงเรือพิฆาตชั้น Arleigh Burke และการปรับปรุงฐานทัพเรือ King Abdul-Aziz ในอ่าวเปอร์เซียให้ทันสมัยขึ้นด้วยครับ
A Lockheed Martin concept for variations of the Freedom-class LCS design from corvette to Frigate sized hulls. Lockheed Martin Photo
http://news.usni.org/2015/10/20/saudi-arabia-set-to-buy-four-lockheed-martin-freedom-class-variants-in-11-25b-deal
สภา Congress สหรัฐฯได้พิจารณาความเป็นไปได้ในการที่ซาอุดิอาระเบียจะจัดซื้อแบบเรือรบผิวน้ำที่มีพื้นฐานจากเรือชั้น Freedom กองทัพเรือสหรัฐฯ 4ลำ เป็นส่วนหนึ่งการจัดซื้อแบบ FMS(Foreign Military Sale) วงเงิน $11.25 billion
โดยกองทัพเรือซาอุดิอาระเบียวางแผนที่จะนำเรือชั้น Freedom นี้เข้าประจำการเป็นกำลังหลักในกองเรือตะวันออก เป็นส่วนหนึ่งของแผนระยะยาวโครงการปรับปรุงขยายกำลังทางเรือ(SNEP II: Saudi Naval Expansion Program II)
ซึ่งวงเงินในโครงการ SNEP II กว่า $20 billion นี้จะเป็นการเสริมสร้างกำลังกองทัพเรือซาอุดิอาระเบียในการสนับสนุนกองทัพเรือสหรัฐฯในการปฏิบัติการในอ่าวเปอร์เซีย ตามข้อมูลในเอกสารประกาศว่า
"การจัดหานี้จะเสริมสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงทางทะเลในเขตทะเลคาบสมุทรอาระเบีย และสนับสนุนวัตถุประสงค์ทางยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ
ความเป็นไปได้ในการขายนี้จะทำให้ซาอุดิอาระเบียเพิ่มขีดความสามารถทางทะเลในปัจจุบันและอนาคตต่อภัยคุกคามจากระบบอาวุธข้าศึก
เรือรบผิวน้ำพหุภารกิจ(MMSC: Multi-Mission Surface Combatant) จะสร้างการป้องกันเชิงลึกต่อระบบโครงสร้างอุตสาหกรรมพื้นฐานที่สำคัญ และเส้นทางติดต่อขนส่งทางทะเล"
อย่างไรก็ตามเรือ MMSC ที่ซาอุดิอาระเบียจะจัดหา 4ลำจาก Lockheed Martin นี้จะไม่เหมือนเรือ LCS(Littoral Combat Ships) ชั้น Freedom Flight 0 ของกองทัพเรือสหรัฐฯ
โดยเรือของซาอุดิอาระเบียจะไม่มีส่วน modular mission package ซึ่งมีความยืดหยุ่นในการติดตั้งอุปกรณ์หรืออาวุธตามรูปแบบภารกิจ แต่จะติดตั้งระบบอาวุธพหุภารกิจแบบดั้งเดิมมากกว่า
"เรามีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้รับโอกาสจากราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบียในการจัดหาเรือ MMSC 4ลำ ซึ่งมีพื้นฐานจากเรือ LCS ชั้น Freedom
เรามองไปข้างหน้าถึงการทำงานร่วมมือกันระหว่างสองกองทัพเรือในการพัฒนาที่มีความเสี่ยงต่ำ มีประสิทธิภาพตามราคาสูง เป็นวิธีการเพื่อส่งมอบตามราคาที่ได้รับจากลูกค้า"ตัวแทนของ Lockheed Martin แถลง
ที่ผ่านมา Lockheed Martin ได้เสนอแบบแผนเรือ MMSC หลายขนาดสำหรับขายให้ลูกค้าในต่างประเทศ แต่ยังไม่ชัดเจนในขณะนี้ว่าซาอุดิอาระเบียจะเลือกเรือแบบใด
ตามเอกสารขององค์การความร่วมมือด้านการรักษาความปลอดภัยและความมั่นคงสหรัฐฯ(DSCA:Defense Security Cooperation Agency) ต่างๆก่อนหน้านี้ มีการระบุถึงความเป็นไปได้ในการจัดหาระบบยุทโธปกรณ์ซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกับการจัดหาเรือ MMSC 4ลำ เช่น
แท่นยิงแนวดิ่ง Mk 41 8-cell สองระบบ โดยมีรายงานสัญญาการจัดหากับกองบัญชาการะบบเรือทางทะเล(Naval Sea Systems Command) วงเงิน $93 million ในการจัดหา Mk 41 VLS จาก Lockheed Martin
รวมถึงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ RIM-162 ESSM ของ Raytheon อีก 532นัด ซึ่งถ้าเรือของซาอุดิอาระเบียติดตั้งแท่นยิง Mk 41 VLS รวมสี่ระบบ 16 cell จะติดตั้ง ESSM ได้ 64นัดในชุดบรรจุแบบสี่นัด
AESA radar ตรวจการณ์ทางอากาศ แบบ Airbus TRS-4D มีความเป็นไปได้ว่าเรือของซาอุดิอาระเบียจะติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ RGM-84 Harpoon Block II ของ Boeing,
Sonar และ Torpedo สำหรับระบบสงครามต่อต้านเรือดำน้ำ, ปืนใหญ่เรือ OTO Melara 76/62mm และระบบสงครามเครือข่าย LINK 16 ที่เชื่อมโยงกับกองกำลังสหรัฐฯในภูมิภาคตะวันออกกลางได้
อีกทั้งก่อนหน้านี้ในเดือนสิงหาคม สภา Congrees ยังได้พิจารณาอนุมัติความเป็นไปได้ในการขายเฮลิคอปเตอร์ Sikorsky MH-60R 10เครื่องวงเงิน $1.9 billion ให้ซาอุดิอาระเบียด้วย
ซึ่งตามแผนโครงการ SNEP II นอกจากเรือชั้น Freedom แล้วกองทัพเรือซาอุดิอาระเบียยังมีความสนใจแบบเรือ LCS ชั้น Independence ของ Austal
รวมถึงเรือพิฆาตชั้น Arleigh Burke และการปรับปรุงฐานทัพเรือ King Abdul-Aziz ในอ่าวเปอร์เซียให้ทันสมัยขึ้นด้วยครับ
วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2558
Antonov ยูเครนเลือกเครื่องยนต์ Pratt & Whitney PW150A สำหรับเครื่องบินลำเลียง An-132
NEW ANTONOV AIRCRAFT WILL BE POWERED BY PRATT&WHITNEY CANADA
Oleksandr Kotsiuba, First Vice President of ANTONOV Company, (left) and Richard Dussault, Vice President, Marketing, P&WC, are signing the contract
http://www.antonov.com/news/421
บริษัท Antonov ผู้ผลิตอากาศยานของยูเครน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ UKROBORONPROM รัฐวิสาหกิจของรัฐบาลยูเครนด้านการจัดการอาวุธยุทโธปกรณ์
ได้ลงนามสัญญาจัดหาร่วมกับบริษัท Pratt & Whitney Canada (P&WC) ในการจัดหาเครื่องยนต์สำหรับเครื่องบินลำเลียงเบา AN-132D DEMO เครื่องต้นแบบสาธิต
โดย P&WC จะทำการจัดส่งเครื่องยนต์ใบพัดแบบ PW150A สองเครื่องให้ Antonov ในเดือนเมษายน 2016 คาดว่า An-132D จะขึ้นบินครั้งแรกได้ในราวปลายปี 2016
โครงการเครื่องบินลำเลียงเบาเอนกประสงค์ An-132 เป็นความร่วมือในการพัฒนาระหว่าง Antonov ยูเครนและ King Abdulaziz City for Science and Technology (KACST) ซาอุดิอาระเบีย
"นี่เป็นเหตุการณ์สำคัญของทั้งโครงการ An-132 และอุตสาหกรรมอากาศยานของยูเครนโดยภาพรวม ความต้องการในตลาดทั่วโลกสำหรับ An-132 คาดว่าจะอยู่ที่มากกว่า 200เครื่อง ระหว่างปี 2018-2025
เรากำลังเข้าใกล้ระดับใหม่ของการเป็นหุ้นส่วนนานาชาติและคุณภาพของอากาศยานของเรา เครื่องยนต์เป็นหัวใจของอากาศยานและเรามีความมั่นใจในความน่าเชื่อถือของเครื่องบินลำเลียงใหม่ของ Antonov"
Oleksandr Kotsiuba รองประธานลำดับหนึ่งของบริษัท Antonov กล่าว
"เรามีความยินดีที่ได้รับเลือกจาก Antonov ในการเป็นขุมกำลังของเครื่อง An-132D เครื่องยนต์ PW150A เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องยนต์ตระกูล PW100 ซึ่งเป็นม้างานที่ได้รับการพิสูจน์ด้านความทนทานและความน่าเชื่อถือ
เป็นที่น่าตื่นเต้นต่อโครงการที่มีศักยภาพสูงของทั้ง Antonov และ P&WC และเรามุ่งหวังความเป็นไปได้ในการพัฒนาอย่างเต็มรูปแบบต่อไปในอนาคต" Richard Dussault รองประธานฝ่ายการตลาด Pratt & Whitney Canada กล่าว
ความเป็นไปได้ในระยะยาวสำหรับโครงการนี้คาดว่า P&WC จะได้รับการสั่งซื้อเครื่องยนต์ PW150A จำนวน 400เครื่อง
An-132 เป็นเครื่องบินลำเลียงในเส้นทางระยะใกล้ถึงระยะกลาง ที่มีความหลากหลายในการปรับแต่งในส่วนห้องบรรทุกได้แตกต่างกันตามความต้องการ มีความเร็วเดินทางสูงสุด 500km/h ที่ความสูง 9,000m บรรทุกได้น้ำหนักสูงสุด 9.2tons
ซึ่งทาง Antonov คาดหวังว่าโครงการนี้สามารถทำการตลาดมียอดจัดหาได้ที่ 200เครื่องในช่วงปี 2018-2025
ส่วนเครื่องยนต์ตระกูล PW100 นั้นเป็นเครื่องยนต์ใบพัด Turboprop ที่ใช้ Technology ขั้นก้าวหน้าล่าสุด ที่ได้รับการพิสูจน์ด้านการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงและปล่อย Carbon ต่ำสุด
มีกำลังให้เลือกในช่วง 1,800shp-5,000shp โดยเครื่องยนต์ PW100 มีให้เลือก 38รุ่น ซึ่งมีความยืดหยุ่นสูงและมีความขีดความสามารถหลากหลายของที่ไม่สามารถหาเทียบได้
เครื่องยนต์ PW100 ถูกเลือกใช้เป็นขุมกำลังสำหรับอากาศยานในผู้ใช้รายต่างๆมากกว่า 500รายใน มากกว่า 130ประเทศ เครื่องยนต์ PW100/150 มากกว่า 8,000เครื่อง ได้ถูกสร้างขึ้นนับแต่ปี 1984 มีชั่วโมงบินรวมมากกว่า 165ล้านชั่วโมง
โดยเครื่องยนต์ PW100ถูกนำไปติดตั้งใช้งานกับอากาศยานหลากหลายรูปแบบ ทั้งเครื่องบินโดยสารสายการบิน เครื่องบินตรวจการณ์ชายฝั่ง เครื่องบินดับเพลิง และเครื่องบินลำเลียงขนส่ง เป็นต้นครับ
วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2558
รัสเซียพัฒนาระเบิดนำวิถีความแม่นยำสูง KAB-250
‘Drop-and-Forget’: Russia Develops Supersonic Smart Bomb
http://sputniknews.com/russia/20151018/1028696831/russia-supersonic-bomb.html
รัสเซียได้พัฒนาระเบิดนำวิถีตระกูล KAB แบบใหม่คือ KAB-250 ขนาด 250kg ซึ่งมีขนาดเล็กลงมาจากระเบิดนำวิถีตระกูล KAB-500 ขนาด 500kg ซึ่งใช้งานมานานหลายสิบปีก่อนหน้านี้ตั้งแต่สมัยกองทัพอากาศโซเวียต
ระเบิดนำวิถี KAB-250 ได้พัฒนาเพิ่มเติมจากประสบการณ์ในการพัฒนาและใช้งานระเบิด KAB-500 ให้มีความความแม่นยำในการโจมตีเป้าหมายภาคพื้นดินมากขึ้นและมีคุณสมบัติ "ทิ้งแล้วลืม" ได้มากขึ้น
ระเบิดนำวิถี KAB-250 มีสองแบบคือ แบบระเบิดนำวิถี Laser และแบบระเบิดนำวิถีดาวเทียม Glonass โดยใช้แรงเฉื่อยและครีบบังคับทิศทางหลังจากค้นหา กำหนดเป้าหมาย และทิ้งตัวระเบิดจากอากาศยานที่ติดตั้ง
เมื่อถูกทิ้งเข้าโจมตีเป้าหมายได้ในระยะห่าง 2-3km ระบบสร้างภาพความร้อนเพื่อชี้เป้าที่หัวระเบิด และระบบ computer ควบคุม จะทำการเปรียบเทียบเป้าหมายที่จับได้กับภาพเป้าหมายในหน่วยความจำก่อนจุดระเบิดตามที่ตั้งค่าไว้
โดยความค่าความคาดเคลื่อนของเป้าหมายสำหรับระเบิดนำวิถี KAB-250 นั้นจะมีไม่เกิน 3m ชนิดหัวรบที่ใช้เป็นระเบิดแรงสูงแตกสะเก็ดสามารถทำลายเป้าหมายอมภัณฑ์อ่อน ยานพาหนะผิวบาง และสิ่งอุปกรณ์ข้าศึกอื่นๆได้
ระเบิด KAB-250 มีขนาดยาว 10.5feet(3.2m) มีน้ำหนัก 565lbs(256kg) ส่วนหัวรบหนัก 365lbs(165kg) และส่วนวัตถุระเบิดหนัก 200lbs(90kg) สามารถโจมตีด้วยการทิ้่งมาลูกเดียวหรือได้หลายลูกพร้อมๆกัน
ระบบหางขนาดเล็ก ครีบบังคับทิศทางสีครีบ และปีกขนาดเล็กสามารถเพิ่มระยะทางในการร่อนเข้าหาเป้าหมายได้ไกลขึ้น และมีอัตราหล่นจากอากาศยานหลังทิ้งที่ 655-1,150 ft/s(200-350m/s)
ซึ่งระเบิดนำวิถี KAB-250 สามารถใช้งานได้ในเวลากลางวันได้ทุกสภาพอากาศ มีความเร็วในการโจมตี ระยะโจมตี และคล่องตัวสูง
ปัจจุบันมีรายงานว่าในการปฏิบัติโจมตีทางอากาศของกองทัพอวกาศรัสเซีย(Russian Aerospace Force) ในซีเรียเพื่อโจมตีกลุ่มต่อต้านรัฐบาลนั้นมีการใช้ระเบิดนำวิถี KAB-250 รุ่นใหม่นี้จากเครื่องบินขับไล่ Su-30 และเครื่องบินโจมตี Su-25 ด้วยครับ
http://sputniknews.com/russia/20151018/1028696831/russia-supersonic-bomb.html
รัสเซียได้พัฒนาระเบิดนำวิถีตระกูล KAB แบบใหม่คือ KAB-250 ขนาด 250kg ซึ่งมีขนาดเล็กลงมาจากระเบิดนำวิถีตระกูล KAB-500 ขนาด 500kg ซึ่งใช้งานมานานหลายสิบปีก่อนหน้านี้ตั้งแต่สมัยกองทัพอากาศโซเวียต
ระเบิดนำวิถี KAB-250 ได้พัฒนาเพิ่มเติมจากประสบการณ์ในการพัฒนาและใช้งานระเบิด KAB-500 ให้มีความความแม่นยำในการโจมตีเป้าหมายภาคพื้นดินมากขึ้นและมีคุณสมบัติ "ทิ้งแล้วลืม" ได้มากขึ้น
ระเบิดนำวิถี KAB-250 มีสองแบบคือ แบบระเบิดนำวิถี Laser และแบบระเบิดนำวิถีดาวเทียม Glonass โดยใช้แรงเฉื่อยและครีบบังคับทิศทางหลังจากค้นหา กำหนดเป้าหมาย และทิ้งตัวระเบิดจากอากาศยานที่ติดตั้ง
เมื่อถูกทิ้งเข้าโจมตีเป้าหมายได้ในระยะห่าง 2-3km ระบบสร้างภาพความร้อนเพื่อชี้เป้าที่หัวระเบิด และระบบ computer ควบคุม จะทำการเปรียบเทียบเป้าหมายที่จับได้กับภาพเป้าหมายในหน่วยความจำก่อนจุดระเบิดตามที่ตั้งค่าไว้
โดยความค่าความคาดเคลื่อนของเป้าหมายสำหรับระเบิดนำวิถี KAB-250 นั้นจะมีไม่เกิน 3m ชนิดหัวรบที่ใช้เป็นระเบิดแรงสูงแตกสะเก็ดสามารถทำลายเป้าหมายอมภัณฑ์อ่อน ยานพาหนะผิวบาง และสิ่งอุปกรณ์ข้าศึกอื่นๆได้
ระเบิด KAB-250 มีขนาดยาว 10.5feet(3.2m) มีน้ำหนัก 565lbs(256kg) ส่วนหัวรบหนัก 365lbs(165kg) และส่วนวัตถุระเบิดหนัก 200lbs(90kg) สามารถโจมตีด้วยการทิ้่งมาลูกเดียวหรือได้หลายลูกพร้อมๆกัน
ระบบหางขนาดเล็ก ครีบบังคับทิศทางสีครีบ และปีกขนาดเล็กสามารถเพิ่มระยะทางในการร่อนเข้าหาเป้าหมายได้ไกลขึ้น และมีอัตราหล่นจากอากาศยานหลังทิ้งที่ 655-1,150 ft/s(200-350m/s)
ซึ่งระเบิดนำวิถี KAB-250 สามารถใช้งานได้ในเวลากลางวันได้ทุกสภาพอากาศ มีความเร็วในการโจมตี ระยะโจมตี และคล่องตัวสูง
ปัจจุบันมีรายงานว่าในการปฏิบัติโจมตีทางอากาศของกองทัพอวกาศรัสเซีย(Russian Aerospace Force) ในซีเรียเพื่อโจมตีกลุ่มต่อต้านรัฐบาลนั้นมีการใช้ระเบิดนำวิถี KAB-250 รุ่นใหม่นี้จากเครื่องบินขับไล่ Su-30 และเครื่องบินโจมตี Su-25 ด้วยครับ
วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2558
ความเป็นไปได้ที่กองทัพเรือพม่าจะจัดหาเรือเร็วตรวจการณ์ Super Dvora Mk III จากอิสราเอล
Israel Tightening Security Ties With Myanmar, Despite Western Sanctions
http://www.haaretz.com/news/diplomacy-defense/.premium-1.676289
มีรายงานตั้งแต่ต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมาว่า พลเอกอาวุโส มิน ออง ไล (Min Aung Hlaing) ผู้บัญชาการสูงสุดกองทัพพม่าได้เยือนอิสราเอล เป็นผู้นำทหารพม่าคนแรกนับตั้งแต่สองประเทศสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันในปี 1955
โดยตลอกการเยือนสี่วัน พลเอกอาวุโส มิน ออง ไล ได้เยี่ยมชมและให้ความสนใจส่วนอุตสาหกรรมความมั่นคงของอิสราเอลหลายแห่ง ทั้ง Israel Aerospace Industries, Elbit และ Elta
รวมถึงได้เยือนฐานทัพอากาศกองทัพอากาศอิสราเอลใน Palmahim, ฐานทัพใน Gaza และฐานทัพเรือ Ashdod เป็นต้น
ด้วยซึ่งที่ฐานทัพเรือ Ashdod นี่เอง พลเอกอาวุโส มิน ออง ไล ได้เยี่ยมชมเรือตรวจการณ์ Super Dvora Mk III ของกองทัพเรืออิสราเอล และต่อมามีข่าวว่ากองทัพเรือพม่าจะจัดหาเรือ Super Dvora Mk III จำนวน ๖ลำในเดือนตุลาคม
Israeli navy Super Dvora Mk III(wikipedia.org)
Super Dvora Mk III เป็นเรือเร็วตรวจการณ์(Fast Patrol Boat) ออกแบบสร้างโดย IAI Ramta เข้าประจำการในกองทัพเรืออิสราเอลตั้งแต่ปี 2004 ซึ่งเป็นแบบเรือรุ่นล่าสุดในตระกูล Dvora
เรือ Super Dvora Mk III มีความยาวตัวเรือ 27.4m ระวางขับน้ำสูงสุด 60tons ใช้เครื่องยนต์ดีเซล Detroit Diesel MTU 12V-4000 ๒เครื่อง กำลังรวม 4,175HP กับระบบขับเคลื่อน Arneson Surface Drive-16 และ Kamewa 63SII water jet
ทำความเร็วได้สูงสุด 45knots มีพิสัยทำการ 700nm ที่ความเร็วมัธยัสถ์ 14knots กำลังพลประจำเรือ 9-12นาย มีระบบ Radar ตรวจการณ์ของ Raytheon และระบบชี้เป้าหมายแบบ Eletro-Optic ของ Elbit ที่เสากระโดงเรือใช้งานได้ทั้งกลางวัน-กลางคืน
ระบบอาวุธประจำเรือสามารถติดตั้งได้ตามความต้องการ เช่นเรือของกองทัพเรืออิสราเอลจะติดตั้งป้อมปืนใหญ่กล Remote Weapon Station แบบ Typhoon ขนาด 25mm ของ Rafael อิสราเอล
ซึ่งสามารถเลือกเปลี่ยนไปใช้ป้อมปืน Typhoon ขนาด 30mm หรือป้อมปืนใหญ่กล Oerlikon 20mm แบบใช้คนบังคับได้ รวมถึงมีการติดตั้งปืนรองขนาดต่างๆ เช่นปืนกลหนัก 12.7mm ๒กระบอก
อาวุธเสริมอื่นที่เสนอสำหรับการส่งออก เช่น การติดตั้งระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้น Hellfire หรือ SPIKE-ER ซึ่งติดกับป้อมปืนกล Typhoon ได้
นอกจากนี้เรือ Super Dvora Mk III ยังสามารถบรรทุกเรือยางท้องแบนสำหรับสนับสนุนการรับส่งหน่วยรบพิเศษเข้าสู่ชายฝั่งได้อีกด้วย
IAI to Supply Four Super Dvora Mk3 Boats to an African Customer
http://www.iai.co.il/2013/32981-46410-en/MediaRoom_News.aspx
เท่าที่มีข้อมูลในปัจจุบันนอกจากกองทัพเรืออิสราเอลที่มีเรือเร็วตรวจการณ์ Super Dvora Mk III อยู่ ๑๐ลำ แล้ว IAI Ramta ยังได้ส่งออกเรือ Super Dvora Mk III ให้กองทัพเรือศรีลังกา ๖ลำ และจะสร้างเพื่อส่งมอบประเทศหนึ่งในแอฟริกา ๔ลำในปี 2016
สำหรับกองทัพพม่าเองได้มีการจัดหาอาวุธจากอิสราเอลมาก่อนหน้านี้บ้างแล้วเช่น
ปืนกลมือ BA-94 โดยโรงงาน Ka Pa Sa ผลิตในประเทศซึ่งลอกแบบจากปืนกลมือ IMI Uzi ซึ่งพบเห็นใช้งานโดยหน่วยปฏิบัติการพิเศษกองทัพพม่า ปืนใหญ่ลากจูง Soltam M71 ขนาด 155mm ของกองทัพบกพม่าที่จัดหามาตั้งแต่ช่วงปี 1990s
รวมถึงในส่วนกองทัพเรือพม่าเองเรือรบที่พม่าต่อเองในประเทศช่วงสิบปีมานี้ก็มีการติดตั้งปืนใหญ่เรือขนาด 76mm ซึ่งมีข้อสังเกตุว่าคล้ายคลึงกับปืน OTO Melera 76/62 รุ่นที่มีใช้ในกองทัพเรืออิสราเอลและกองทัพเรือแอฟริกาใต้
แม้ว่าจะยังไม่มีข้อมูลยืนยันอย่างเป็นทางการเรื่องการจัดหาเรือเร็วตรวจการณ์ Super Dvora Mk III ๖ลำ ของกองทัพเรือพม่าว่ามีรายละเอียดอย่างไรบ้าง
แต่คาดว่ากองทัพเรือพม่าน่าจะนำเรือ Super Dvora Mk III มาทดแทนเรือตรวจการณ์ชายฝั่งเก่าที่มีอายุใช้งานมานานหลายสิบปีและล้าสมัยหลายสิบลำ
อย่างเรือตรวจการณ์ชายฝั่งชั้น PGM 43 ๖ลำที่จัดหาจากสหรัฐฯ และเรือตรวจการณ์ชายฝั่งชั้น Y ๑๐ลำ จากอดีตยูโกสลาเวีย ที่ใช้มาตั้งแต่ปลายปี 1950s ถึงต้นปี 1960s
ทั้งนี้กองทัพเรือพม่าก็มีขีดความสามารถในการต่อเรือรบผิวน้ำได้เองในประเทศ ตั้งแต่เรือตรวจการณ์ เรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถี จนถึงเรือคอร์เวต และเรือฟริเกต
ซึ่งตัวอย่างแบบเรือที่มีขนาดใกล้เคียงกับเรือ Super Dvora Mk III ที่ต่อออกมาล่าสุดก็เช่น เรือ Torpedo หมายเลข T201 ขนาด21m ทำความเร็วได้สูงสุด 35knots มีอาวุธเป็น Torpedo ไม่ทราบแบบ ๘นัดครับครับ
http://www.haaretz.com/news/diplomacy-defense/.premium-1.676289
มีรายงานตั้งแต่ต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมาว่า พลเอกอาวุโส มิน ออง ไล (Min Aung Hlaing) ผู้บัญชาการสูงสุดกองทัพพม่าได้เยือนอิสราเอล เป็นผู้นำทหารพม่าคนแรกนับตั้งแต่สองประเทศสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันในปี 1955
โดยตลอกการเยือนสี่วัน พลเอกอาวุโส มิน ออง ไล ได้เยี่ยมชมและให้ความสนใจส่วนอุตสาหกรรมความมั่นคงของอิสราเอลหลายแห่ง ทั้ง Israel Aerospace Industries, Elbit และ Elta
รวมถึงได้เยือนฐานทัพอากาศกองทัพอากาศอิสราเอลใน Palmahim, ฐานทัพใน Gaza และฐานทัพเรือ Ashdod เป็นต้น
ด้วยซึ่งที่ฐานทัพเรือ Ashdod นี่เอง พลเอกอาวุโส มิน ออง ไล ได้เยี่ยมชมเรือตรวจการณ์ Super Dvora Mk III ของกองทัพเรืออิสราเอล และต่อมามีข่าวว่ากองทัพเรือพม่าจะจัดหาเรือ Super Dvora Mk III จำนวน ๖ลำในเดือนตุลาคม
Israeli navy Super Dvora Mk III(wikipedia.org)
Super Dvora Mk III เป็นเรือเร็วตรวจการณ์(Fast Patrol Boat) ออกแบบสร้างโดย IAI Ramta เข้าประจำการในกองทัพเรืออิสราเอลตั้งแต่ปี 2004 ซึ่งเป็นแบบเรือรุ่นล่าสุดในตระกูล Dvora
เรือ Super Dvora Mk III มีความยาวตัวเรือ 27.4m ระวางขับน้ำสูงสุด 60tons ใช้เครื่องยนต์ดีเซล Detroit Diesel MTU 12V-4000 ๒เครื่อง กำลังรวม 4,175HP กับระบบขับเคลื่อน Arneson Surface Drive-16 และ Kamewa 63SII water jet
ทำความเร็วได้สูงสุด 45knots มีพิสัยทำการ 700nm ที่ความเร็วมัธยัสถ์ 14knots กำลังพลประจำเรือ 9-12นาย มีระบบ Radar ตรวจการณ์ของ Raytheon และระบบชี้เป้าหมายแบบ Eletro-Optic ของ Elbit ที่เสากระโดงเรือใช้งานได้ทั้งกลางวัน-กลางคืน
ระบบอาวุธประจำเรือสามารถติดตั้งได้ตามความต้องการ เช่นเรือของกองทัพเรืออิสราเอลจะติดตั้งป้อมปืนใหญ่กล Remote Weapon Station แบบ Typhoon ขนาด 25mm ของ Rafael อิสราเอล
ซึ่งสามารถเลือกเปลี่ยนไปใช้ป้อมปืน Typhoon ขนาด 30mm หรือป้อมปืนใหญ่กล Oerlikon 20mm แบบใช้คนบังคับได้ รวมถึงมีการติดตั้งปืนรองขนาดต่างๆ เช่นปืนกลหนัก 12.7mm ๒กระบอก
อาวุธเสริมอื่นที่เสนอสำหรับการส่งออก เช่น การติดตั้งระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้น Hellfire หรือ SPIKE-ER ซึ่งติดกับป้อมปืนกล Typhoon ได้
นอกจากนี้เรือ Super Dvora Mk III ยังสามารถบรรทุกเรือยางท้องแบนสำหรับสนับสนุนการรับส่งหน่วยรบพิเศษเข้าสู่ชายฝั่งได้อีกด้วย
IAI to Supply Four Super Dvora Mk3 Boats to an African Customer
http://www.iai.co.il/2013/32981-46410-en/MediaRoom_News.aspx
เท่าที่มีข้อมูลในปัจจุบันนอกจากกองทัพเรืออิสราเอลที่มีเรือเร็วตรวจการณ์ Super Dvora Mk III อยู่ ๑๐ลำ แล้ว IAI Ramta ยังได้ส่งออกเรือ Super Dvora Mk III ให้กองทัพเรือศรีลังกา ๖ลำ และจะสร้างเพื่อส่งมอบประเทศหนึ่งในแอฟริกา ๔ลำในปี 2016
สำหรับกองทัพพม่าเองได้มีการจัดหาอาวุธจากอิสราเอลมาก่อนหน้านี้บ้างแล้วเช่น
ปืนกลมือ BA-94 โดยโรงงาน Ka Pa Sa ผลิตในประเทศซึ่งลอกแบบจากปืนกลมือ IMI Uzi ซึ่งพบเห็นใช้งานโดยหน่วยปฏิบัติการพิเศษกองทัพพม่า ปืนใหญ่ลากจูง Soltam M71 ขนาด 155mm ของกองทัพบกพม่าที่จัดหามาตั้งแต่ช่วงปี 1990s
รวมถึงในส่วนกองทัพเรือพม่าเองเรือรบที่พม่าต่อเองในประเทศช่วงสิบปีมานี้ก็มีการติดตั้งปืนใหญ่เรือขนาด 76mm ซึ่งมีข้อสังเกตุว่าคล้ายคลึงกับปืน OTO Melera 76/62 รุ่นที่มีใช้ในกองทัพเรืออิสราเอลและกองทัพเรือแอฟริกาใต้
แม้ว่าจะยังไม่มีข้อมูลยืนยันอย่างเป็นทางการเรื่องการจัดหาเรือเร็วตรวจการณ์ Super Dvora Mk III ๖ลำ ของกองทัพเรือพม่าว่ามีรายละเอียดอย่างไรบ้าง
แต่คาดว่ากองทัพเรือพม่าน่าจะนำเรือ Super Dvora Mk III มาทดแทนเรือตรวจการณ์ชายฝั่งเก่าที่มีอายุใช้งานมานานหลายสิบปีและล้าสมัยหลายสิบลำ
อย่างเรือตรวจการณ์ชายฝั่งชั้น PGM 43 ๖ลำที่จัดหาจากสหรัฐฯ และเรือตรวจการณ์ชายฝั่งชั้น Y ๑๐ลำ จากอดีตยูโกสลาเวีย ที่ใช้มาตั้งแต่ปลายปี 1950s ถึงต้นปี 1960s
ทั้งนี้กองทัพเรือพม่าก็มีขีดความสามารถในการต่อเรือรบผิวน้ำได้เองในประเทศ ตั้งแต่เรือตรวจการณ์ เรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถี จนถึงเรือคอร์เวต และเรือฟริเกต
ซึ่งตัวอย่างแบบเรือที่มีขนาดใกล้เคียงกับเรือ Super Dvora Mk III ที่ต่อออกมาล่าสุดก็เช่น เรือ Torpedo หมายเลข T201 ขนาด21m ทำความเร็วได้สูงสุด 35knots มีอาวุธเป็น Torpedo ไม่ทราบแบบ ๘นัดครับครับ
วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2558
CZ สาธารณรัฐเชคเปิดตัวปืนเล็กยาวจู่โจม CZ806 ที่ได้รับการปรับปรุงใหม่
Ceska Zbrojovka unveils improved CZ 806 assault rifle
The new CZ 806 Bren 2 from Ceska Zbrojovka. Source: Ceska Zbrojovka
http://www.janes.com/article/55293/ceska-zbrojovka-unveils-improved-cz-806-assault-rifle
Ceska Zbrojovka (CZ) กลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตปืนสาธารณรัฐเชคได้เปิดตัวปืนเล็กยาวจู่โจมแบบใหม่ CZ806 Bren2 สำหรับกองทัพสาธารณรัฐเชค(ACR)
โดยปืนเล็กยาวจู่โจม CZ806 เป็นปืนรุ่นที่สองที่ได้รับการปรับปรุงจากปืนเล็กยาวจู่โจม CZ805 Bren ที่นำเข้าประจำการในกองทัพเชคเมื่อปี 2010 ซึ่งมีการปรับปรุงเพิ่มเติมหลายส่วนเช่น
ระบบกลไกการทำงานของปืนมีความแตกต่างจากปืนรุ่นแรกอย่าง ระบบก๊าซสามตำแหน่งแบบพื้นฐานใหม่ คันรั้งลูกเลื่อนแบบไม่เคลื่อนที่(non-reciprocating) และช่องเปิดสำหรับจับส่วนโครงนำลูกเลื่อนออก เป็นต้น
ปืนเล็กยาว CZ806 มีน้ำหนักที่เบากว่าปืนเล็กยาว CZ805 ลง 0.5kg และได้รับการปรับปรุงด้านสรีรศาสตร์ตัวปืนเพิ่มเติม เช่น สมดุลตัวปืน และใช้พานท้ายปืนแบบยืดหดและพับได้
ระบบคันบังคับการยิงของปืนเล็กยาว CZ806 ถูกปรับลดจากปืนเล็กยาว CZ805 โดยตัดการยิงแบบยิงชุดสองนัดออก เหลือการยิงแบบ ยิงทีละนัด และยิงอัตโนมัติเท่านั้น
ส่วนปุ่มปลดซองกระสุนและส่วนบังคับอื่นๆทั้งหมดของปืนถูกปรับให้สามารถควบคุมได้ทั้งสองด้าน(ซ้ายและขวา) ซึ่งการปรับปรุงนี้เป็นผลมาจากประสบการณ์ในการพัฒนาและใช้งานปืน CZ805 ที่ผ่านมา
เช่นเดียวกับปืนรุ่นแรก ปืน CZ806 มีขนาดความยาวลำกล้องสองรุ่นคือ ปืนเล็กยาว CZ806A1 รุ่นลำกล้องยาวมาตรฐาน และ ปืนเล็กสั้น CZ806A2 รุ่นลำกล้องสั้น ซึ่งทั้งหมดใช้กระสุนขนาด 5.56x45mm NATO
ปัจจุบันกองทัพเชคได้สั่งจัดหาปืน CZ805A1/A2 รวมมากกว่า 17,000กระบอกภายใต้สัญญาจัดหาสองชุดที่ลงนามในปี 2010 และ 2013 โดยภายในเดือนธันวาคมนี้คาดว่าจะทดแทนปืนเล็กยาว vz.58 รุ่นเก่าที่ใช้งานมานานได้ทั้งหมด
นอกจากกองทัพสาธารณรัฐเชคแล้ว ปืนเล็กยาว CZ805 ยังได้รับการจัดหาจากกองทัพสโลวาเกีย และตำรวจแม็กซิโก เป็นต้นด้วยครับ
The new CZ 806 Bren 2 from Ceska Zbrojovka. Source: Ceska Zbrojovka
http://www.janes.com/article/55293/ceska-zbrojovka-unveils-improved-cz-806-assault-rifle
Ceska Zbrojovka (CZ) กลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตปืนสาธารณรัฐเชคได้เปิดตัวปืนเล็กยาวจู่โจมแบบใหม่ CZ806 Bren2 สำหรับกองทัพสาธารณรัฐเชค(ACR)
โดยปืนเล็กยาวจู่โจม CZ806 เป็นปืนรุ่นที่สองที่ได้รับการปรับปรุงจากปืนเล็กยาวจู่โจม CZ805 Bren ที่นำเข้าประจำการในกองทัพเชคเมื่อปี 2010 ซึ่งมีการปรับปรุงเพิ่มเติมหลายส่วนเช่น
ระบบกลไกการทำงานของปืนมีความแตกต่างจากปืนรุ่นแรกอย่าง ระบบก๊าซสามตำแหน่งแบบพื้นฐานใหม่ คันรั้งลูกเลื่อนแบบไม่เคลื่อนที่(non-reciprocating) และช่องเปิดสำหรับจับส่วนโครงนำลูกเลื่อนออก เป็นต้น
ปืนเล็กยาว CZ806 มีน้ำหนักที่เบากว่าปืนเล็กยาว CZ805 ลง 0.5kg และได้รับการปรับปรุงด้านสรีรศาสตร์ตัวปืนเพิ่มเติม เช่น สมดุลตัวปืน และใช้พานท้ายปืนแบบยืดหดและพับได้
ระบบคันบังคับการยิงของปืนเล็กยาว CZ806 ถูกปรับลดจากปืนเล็กยาว CZ805 โดยตัดการยิงแบบยิงชุดสองนัดออก เหลือการยิงแบบ ยิงทีละนัด และยิงอัตโนมัติเท่านั้น
ส่วนปุ่มปลดซองกระสุนและส่วนบังคับอื่นๆทั้งหมดของปืนถูกปรับให้สามารถควบคุมได้ทั้งสองด้าน(ซ้ายและขวา) ซึ่งการปรับปรุงนี้เป็นผลมาจากประสบการณ์ในการพัฒนาและใช้งานปืน CZ805 ที่ผ่านมา
เช่นเดียวกับปืนรุ่นแรก ปืน CZ806 มีขนาดความยาวลำกล้องสองรุ่นคือ ปืนเล็กยาว CZ806A1 รุ่นลำกล้องยาวมาตรฐาน และ ปืนเล็กสั้น CZ806A2 รุ่นลำกล้องสั้น ซึ่งทั้งหมดใช้กระสุนขนาด 5.56x45mm NATO
ปัจจุบันกองทัพเชคได้สั่งจัดหาปืน CZ805A1/A2 รวมมากกว่า 17,000กระบอกภายใต้สัญญาจัดหาสองชุดที่ลงนามในปี 2010 และ 2013 โดยภายในเดือนธันวาคมนี้คาดว่าจะทดแทนปืนเล็กยาว vz.58 รุ่นเก่าที่ใช้งานมานานได้ทั้งหมด
นอกจากกองทัพสาธารณรัฐเชคแล้ว ปืนเล็กยาว CZ805 ยังได้รับการจัดหาจากกองทัพสโลวาเกีย และตำรวจแม็กซิโก เป็นต้นด้วยครับ
วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2558
Boeing จะทำการบินเฮลิคอปเตอร์ CH-47 Chinook Block II ด้วยใบพัดรุ่นใหม่ในปี 2016
Boeing to fly new CH-47 Chinook ‘Block II’ rotor blade in 2016
Advanced Chinook Rotor Blade (ACRB) in wind tunnel testing. Boeing
Boeing CH-47 Chinook
https://www.flightglobal.com/news/articles/boeing-to-fly-new-ch-47-chinook-block-ii-rotor-bla-417771/
Boeing สหรัฐฯกำลังพัฒนาใบพัดรุ่นก้าวหน้าใหม่สำหรับเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหนัก CH-47 Chinook Block II ซึ่งใช้ใบพัดคู่หมุนสวนทางกันที่ส่วนหัวเครื่องและท้ายเครื่อง
ใบพัดแบบใหม่ซึ่งต้นแบบเพิ่งสร้างเสร็จในสัปดาห์นี้นั้นจะเพิ่มขีดความสามารถในการบรรทุกของ ฮ.Chinook ขึ้นอีก 2,000lbs หรือ 900kg
ซึ่งทาง Boeing กล่าวว่าจะมีกำหนดการติดตั้งและทดสอบการบิน ฮ.Chinook กับใบพัดแบบใหม่ในปี 2016
การพัฒนาใบพัดแบบใหม่นี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Chinook Block II ของกองทัพบกสหรัฐฯ ซึ่งคาดว่าจะสามารถเข้าสู่สายการผลิตได้ในช่วงปี 2020s
แม้ว่าจะไม่มีการเปิดเผยข้อมูลการออกแบบปรับปรุงมากนักในขณะนี้ แต่นอกจากการปรับปรุงใบพัดและระบบขับเคลื่อนแล้ว ยังมีการปรับเปลี่ยนถังเชื้อเพลิงภายในตัวเครื่องจาก 6ถังเหลือ 2ถังด้วย
ทาง Boeing และเจ้าหน้าที่ในโครงการของรัฐบาลและกองทัพบกสหรัฐฯกล่าวว่าใบพัดรุ่นใหม่นี้มีความเข้ากันได้กับ ฮ.CH-47F ซึ่งเป็นรุ่นในสายการผลิตปัจจุบัน
โดยทางกองทัพบกสหรัฐฯต้องการจะนำใบพัดรุ่นใหม่มาติดตั้งกับ ฮ.Chinook II ที่ประกอบใหม่จากโรงงานและที่ปรับปรุงจากสายการผลิตเดิมได้ทันที เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านแรงงานคนงาน
"มันจะบินภายในปีหน้า แผนยุทธศาสตร์การบินครั้งแรกสำหรับเครื่อง Block II ถูกทำให้ช้าลง
เนื่องเพราะหลังจากเราประเมินคุณสมบัติของเครื่อง Block II แล้ว เราจะขยายผลให้ดำเนินการได้กับเครื่องรุ่น F ด้วย"
พันเอก Rob Barrie ผู้จัดการโครงการเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงของกองทัพบกสหรัฐฯกล่าว
Chinook Block II เป็นโครงการที่จะทำให้เฮลิคอปเตอร์ลำเลียงซึ่งออกแบบมานานกว่า 50ปี สามารถปฏิบัติการไปจนถึงปี 2060ได้
ซึ่งทางกองทัพบกสหรัฐฯกล่าวว่า ฮ.Chinook รุ่นเก่าจะเริ่มถูกแทนที่ด้วยเครื่องรุ่นใหม่ภายใต้สายการผลิตเดียวที่จะเริ่มภายในราวปี 2021
ตามที่ทางพันเอก Barrie กล่าว กองทัพบกสหรัฐฯมุ่งหมายที่จะให้เครื่อง BlockII (ซึ่งโครงการยังไม่ได้มีการบันทึกในขณะนี้) สามารถตัดสินใจออกเอกสารขอข้อเสนอได้ในต้นปี 2016
และคาดหวังว่าขั้นตอนการพัฒนาทางวิศวกรรมและการผลิตอีก 4ปี ตามแผนการพัฒนาขั้น Milestone B จะมีการตัดสินใจได้ในไตรมาสที่2ของปีงบประมาณ 2017
"เราพยายามที่จะนำประสิทธิภาพบางอย่างกลับคืนมา โดยหลักคือเรื่องน้ำหนักบรรทุก" พันเอก Barrie กล่าว
ทั้งนี้ทางกองทัพบกสหรัฐฯพยายามที่จะหาแนวทางร่วมกันที่จะให้เครื่องรุ่น CH-47F ที่ใช้ในกองทัพบกสหรัฐฯ และ MH-47G ที่ใช้ในหน่วยบัญชาการปฏิบัติการพิเศษ(USSOCOM:US Special Operations Command)
มีความแตกต่างกันน้อยลงเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนการปฏิบัติการของเครื่องลงด้วย
นาย Stephen Parker รองประธานแผนกเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงของ Boeing และหัวหน้าโครงการ ฮ.Chinook กล่าวว่าทางบริษัทกำลังจะส่งมอบ ฮ.Chinook จำนวน 57เครื่องภายในปีนี้
ซึ่งลูกค้าสำหรับเครื่องรุ่น CH-47F ขณะนี้ก็มีเช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรนต์ และตุรกี ซึ่งดำเนินสายการผลิตในโรงงานที่ Philadelphia มลรัฐ Pennsylvania ใช้เวลาตามการขายแบบ FMS(Foreign Military Sale) 36เดือน
โดย MH-47G เครื่องสุดท้ายสำหรับ USSOCOM ได้ถูกส่งมอบแล้ว และ Chinook HC Mark 6 สำหรับกองทัพอากาศสหราชอาณาจักรเครื่องสุดท้ายจะส่งมอบได้ภายในสิ้นปีนี้
หลังจากที่มีปัญหาล่าช้ามาระยะหนึ่งทาง Boeing ก็เพิ่งลงนามสัญญากับอินเดียในการผลิต ฮ.CH-47F Chinook ให้กองทัพอากาศอินเดียเป็นลูกค้ารายที่ 19 ของ ฮ.ตระกูลนี้
โดยนาย Parker คาดหวังว่าทาง Boeing จะสามารถหาลูกค้ารายใหม่สำหรับ CH-47 ที่จะลงนามจัดหาได้ในอีก 12เดือนข้างหน้า
ทั้งนี้กองทัพบกสหรัฐฯจะได้รับมอบ CH-47F เครื่องสุดท้ายในปี 2017 แม้ว่าจะไม่มีคำสั่งจัดหาเพิ่มในขณะนี้แต่ทาง Boeing กำลังมองหาความเป็นได้ที่ะได้รับคำสั่งจัดหาเครื่องเพิ่มอีก 150เครื่องเพื่อยืดสายการผลิตได้จนถึงปี 2022
และหวังว่าการสั่งจัดหาเครื่อง Chinook ใหม่จากลูกค้ารายต่างๆเพิ่มเติม จะสามารถทำให้สายการผลิตของโรงงานใน Philadelphia มลรัฐ Pennsylvania ดำเนินการได้จนถึงปี 2030s ครับ
Advanced Chinook Rotor Blade (ACRB) in wind tunnel testing. Boeing
Boeing CH-47 Chinook
https://www.flightglobal.com/news/articles/boeing-to-fly-new-ch-47-chinook-block-ii-rotor-bla-417771/
Boeing สหรัฐฯกำลังพัฒนาใบพัดรุ่นก้าวหน้าใหม่สำหรับเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหนัก CH-47 Chinook Block II ซึ่งใช้ใบพัดคู่หมุนสวนทางกันที่ส่วนหัวเครื่องและท้ายเครื่อง
ใบพัดแบบใหม่ซึ่งต้นแบบเพิ่งสร้างเสร็จในสัปดาห์นี้นั้นจะเพิ่มขีดความสามารถในการบรรทุกของ ฮ.Chinook ขึ้นอีก 2,000lbs หรือ 900kg
ซึ่งทาง Boeing กล่าวว่าจะมีกำหนดการติดตั้งและทดสอบการบิน ฮ.Chinook กับใบพัดแบบใหม่ในปี 2016
การพัฒนาใบพัดแบบใหม่นี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Chinook Block II ของกองทัพบกสหรัฐฯ ซึ่งคาดว่าจะสามารถเข้าสู่สายการผลิตได้ในช่วงปี 2020s
แม้ว่าจะไม่มีการเปิดเผยข้อมูลการออกแบบปรับปรุงมากนักในขณะนี้ แต่นอกจากการปรับปรุงใบพัดและระบบขับเคลื่อนแล้ว ยังมีการปรับเปลี่ยนถังเชื้อเพลิงภายในตัวเครื่องจาก 6ถังเหลือ 2ถังด้วย
ทาง Boeing และเจ้าหน้าที่ในโครงการของรัฐบาลและกองทัพบกสหรัฐฯกล่าวว่าใบพัดรุ่นใหม่นี้มีความเข้ากันได้กับ ฮ.CH-47F ซึ่งเป็นรุ่นในสายการผลิตปัจจุบัน
โดยทางกองทัพบกสหรัฐฯต้องการจะนำใบพัดรุ่นใหม่มาติดตั้งกับ ฮ.Chinook II ที่ประกอบใหม่จากโรงงานและที่ปรับปรุงจากสายการผลิตเดิมได้ทันที เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านแรงงานคนงาน
"มันจะบินภายในปีหน้า แผนยุทธศาสตร์การบินครั้งแรกสำหรับเครื่อง Block II ถูกทำให้ช้าลง
เนื่องเพราะหลังจากเราประเมินคุณสมบัติของเครื่อง Block II แล้ว เราจะขยายผลให้ดำเนินการได้กับเครื่องรุ่น F ด้วย"
พันเอก Rob Barrie ผู้จัดการโครงการเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงของกองทัพบกสหรัฐฯกล่าว
Chinook Block II เป็นโครงการที่จะทำให้เฮลิคอปเตอร์ลำเลียงซึ่งออกแบบมานานกว่า 50ปี สามารถปฏิบัติการไปจนถึงปี 2060ได้
ซึ่งทางกองทัพบกสหรัฐฯกล่าวว่า ฮ.Chinook รุ่นเก่าจะเริ่มถูกแทนที่ด้วยเครื่องรุ่นใหม่ภายใต้สายการผลิตเดียวที่จะเริ่มภายในราวปี 2021
ตามที่ทางพันเอก Barrie กล่าว กองทัพบกสหรัฐฯมุ่งหมายที่จะให้เครื่อง BlockII (ซึ่งโครงการยังไม่ได้มีการบันทึกในขณะนี้) สามารถตัดสินใจออกเอกสารขอข้อเสนอได้ในต้นปี 2016
และคาดหวังว่าขั้นตอนการพัฒนาทางวิศวกรรมและการผลิตอีก 4ปี ตามแผนการพัฒนาขั้น Milestone B จะมีการตัดสินใจได้ในไตรมาสที่2ของปีงบประมาณ 2017
"เราพยายามที่จะนำประสิทธิภาพบางอย่างกลับคืนมา โดยหลักคือเรื่องน้ำหนักบรรทุก" พันเอก Barrie กล่าว
ทั้งนี้ทางกองทัพบกสหรัฐฯพยายามที่จะหาแนวทางร่วมกันที่จะให้เครื่องรุ่น CH-47F ที่ใช้ในกองทัพบกสหรัฐฯ และ MH-47G ที่ใช้ในหน่วยบัญชาการปฏิบัติการพิเศษ(USSOCOM:US Special Operations Command)
มีความแตกต่างกันน้อยลงเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนการปฏิบัติการของเครื่องลงด้วย
นาย Stephen Parker รองประธานแผนกเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงของ Boeing และหัวหน้าโครงการ ฮ.Chinook กล่าวว่าทางบริษัทกำลังจะส่งมอบ ฮ.Chinook จำนวน 57เครื่องภายในปีนี้
ซึ่งลูกค้าสำหรับเครื่องรุ่น CH-47F ขณะนี้ก็มีเช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรนต์ และตุรกี ซึ่งดำเนินสายการผลิตในโรงงานที่ Philadelphia มลรัฐ Pennsylvania ใช้เวลาตามการขายแบบ FMS(Foreign Military Sale) 36เดือน
โดย MH-47G เครื่องสุดท้ายสำหรับ USSOCOM ได้ถูกส่งมอบแล้ว และ Chinook HC Mark 6 สำหรับกองทัพอากาศสหราชอาณาจักรเครื่องสุดท้ายจะส่งมอบได้ภายในสิ้นปีนี้
หลังจากที่มีปัญหาล่าช้ามาระยะหนึ่งทาง Boeing ก็เพิ่งลงนามสัญญากับอินเดียในการผลิต ฮ.CH-47F Chinook ให้กองทัพอากาศอินเดียเป็นลูกค้ารายที่ 19 ของ ฮ.ตระกูลนี้
โดยนาย Parker คาดหวังว่าทาง Boeing จะสามารถหาลูกค้ารายใหม่สำหรับ CH-47 ที่จะลงนามจัดหาได้ในอีก 12เดือนข้างหน้า
ทั้งนี้กองทัพบกสหรัฐฯจะได้รับมอบ CH-47F เครื่องสุดท้ายในปี 2017 แม้ว่าจะไม่มีคำสั่งจัดหาเพิ่มในขณะนี้แต่ทาง Boeing กำลังมองหาความเป็นได้ที่ะได้รับคำสั่งจัดหาเครื่องเพิ่มอีก 150เครื่องเพื่อยืดสายการผลิตได้จนถึงปี 2022
และหวังว่าการสั่งจัดหาเครื่อง Chinook ใหม่จากลูกค้ารายต่างๆเพิ่มเติม จะสามารถทำให้สายการผลิตของโรงงานใน Philadelphia มลรัฐ Pennsylvania ดำเนินการได้จนถึงปี 2030s ครับ
วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2558
บราซิลจะได้รับมอบปืนใหญ่อัตตาจร M109 ที่ปรับปรุงใหม่ชุดแรกในปี 2016
BAE Systems delivers the first modernized M109 howitzers to Brazil for 2016
M109 self-propelled howitzer
http://www.armyrecognition.com/october_2015_global_defense_security_news_uk/bae_systems_delivers_the_first_modernized_m109_howitzers_to_brazil_for_2016_41210151.html
BAE Systems บริษัทนานาชาติสหราชอาณาจักรจะส่งมอบปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน M109 ที่ทำการปรับปรุงใหม่ให้กองทัพบกบราซิลชุดแรก 16ระบบ ในปี 2016 โดยชุดที่สองจะถูกตามมาในปี 2018
กองทัพบกบราซิลมีปืนใหญ่อัตตาจร M109A5 ที่เดิมเคยประจำการอยู่ในกองทัพบกสหรัฐฯประมาณ 36ระบบ รวมกับปืนใหญ่อัตตาจร M109A3 ประมาณ 40ระบบ ที่เคยประจำการในกองทัพบกเบลเยียม
ปัจจุบันกองทัพบกบราซิลมีแผนที่จะปรับปรุงขีดความสามารถของกำลังยานเกราะของตน ตามแนวทางที่วางแผนศูนย์การฝึกหน่วยยานเกราะ CL Bld ใน Santa Maria
ซึ่งขณะนี้กำลังยานเกราะกองทัพบกบราซิลมุ่งไปยังแผน "Funcion Combate de Moviemento y Maniobra" "การเคลื่อนที่กระทำการต่อสู้" โดยมีกำลังหลักคือรถถังหลัก Leopard 1A5 ซึ่งจัดหาจากที่เคยประจำการในกองทัพบกเยอรมนีรวมราว 250คัน
และแผน "Funcion de Combate por Fuegos" "การกระทำการยิงต่อสู้" เพิ่มมิติการรบโดยจัดหาปืนใหญ่อัตตาจร M109A5+ ที่ปรับปรุงตามโครงการ VBCOAP
เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ OCOP "การจัดหาเพื่อขีดความสามารถในการปฏิบัติการเต็มอัตรา" ของกองทัพบกบราซิล
M109A5+ ที่ได้รับการปรับปรุงจะติดตั้งระบบ Radar ความเร็วปากกระบอกปืน V0 และ remote actuated travel lock เช่นเดียวกับ M109A6 Paladin ติดตั้งระบบวิทยุ Falcon III ของ Harris Corporation
ระบบวัดตำแหน่ง GPS, ระบบการเล็ง และระบบควบคุมการยิงมีการปรับปรุงเพื่อเพิ่มความแม่นยำในการยิงเป้าหมายมากขึ้น รวมถึงปรับปรุงให้สามารถป้องกันตนเองจากการถูกยิงตอบโต้ด้วยปืนใหญ่ดีขึ้น
ส่วนประกอบอื่นในรุ่น M109A5 บางส่วนที่ได้รับการซ่อมบำรุง เช่น M284 pipe, ระบบ Hydraulic และ T154 skate และทั้งระบบ Technology ใหม่ทั้งหมดจะมีความเข้ากันได้กับ AFATDS (Advanced Field Artillery Tactical Data System)
นอกจากนี้ตามแผนยุทธศาสตร์กองทัพบกบราซิล OCOP ยังมีการจัดหารถเกราะสายพานส่วนเกินจากกองทัพบกสหรัฐ ตามมาตรา EDAs (Excess Defense Articles) และผ่านการขายแบบ FMS (Foreign Military Sales) ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ
ซึ่งประกอบด้วย รถเกราะที่บังคับการ M577A2 ของ BAE Systems 34คัน, รถเกราะสายพานลำเลียงพล M113A2 จำนวน 12คัน และ รถกู้ซ่อม M88A1 จำนวน 4คัน รวทั้งหมด 50คัน
โดยรถเกราะทั้งหมดภายใต้สัญญาจัดหานี้จะไม่ได้รับการปรับปรุงทั้งก่อนจัดหาและหลังจัดส่งให้แก่บราซิลครับ
M109 self-propelled howitzer
http://www.armyrecognition.com/october_2015_global_defense_security_news_uk/bae_systems_delivers_the_first_modernized_m109_howitzers_to_brazil_for_2016_41210151.html
BAE Systems บริษัทนานาชาติสหราชอาณาจักรจะส่งมอบปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน M109 ที่ทำการปรับปรุงใหม่ให้กองทัพบกบราซิลชุดแรก 16ระบบ ในปี 2016 โดยชุดที่สองจะถูกตามมาในปี 2018
กองทัพบกบราซิลมีปืนใหญ่อัตตาจร M109A5 ที่เดิมเคยประจำการอยู่ในกองทัพบกสหรัฐฯประมาณ 36ระบบ รวมกับปืนใหญ่อัตตาจร M109A3 ประมาณ 40ระบบ ที่เคยประจำการในกองทัพบกเบลเยียม
ปัจจุบันกองทัพบกบราซิลมีแผนที่จะปรับปรุงขีดความสามารถของกำลังยานเกราะของตน ตามแนวทางที่วางแผนศูนย์การฝึกหน่วยยานเกราะ CL Bld ใน Santa Maria
ซึ่งขณะนี้กำลังยานเกราะกองทัพบกบราซิลมุ่งไปยังแผน "Funcion Combate de Moviemento y Maniobra" "การเคลื่อนที่กระทำการต่อสู้" โดยมีกำลังหลักคือรถถังหลัก Leopard 1A5 ซึ่งจัดหาจากที่เคยประจำการในกองทัพบกเยอรมนีรวมราว 250คัน
และแผน "Funcion de Combate por Fuegos" "การกระทำการยิงต่อสู้" เพิ่มมิติการรบโดยจัดหาปืนใหญ่อัตตาจร M109A5+ ที่ปรับปรุงตามโครงการ VBCOAP
เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ OCOP "การจัดหาเพื่อขีดความสามารถในการปฏิบัติการเต็มอัตรา" ของกองทัพบกบราซิล
M109A5+ ที่ได้รับการปรับปรุงจะติดตั้งระบบ Radar ความเร็วปากกระบอกปืน V0 และ remote actuated travel lock เช่นเดียวกับ M109A6 Paladin ติดตั้งระบบวิทยุ Falcon III ของ Harris Corporation
ระบบวัดตำแหน่ง GPS, ระบบการเล็ง และระบบควบคุมการยิงมีการปรับปรุงเพื่อเพิ่มความแม่นยำในการยิงเป้าหมายมากขึ้น รวมถึงปรับปรุงให้สามารถป้องกันตนเองจากการถูกยิงตอบโต้ด้วยปืนใหญ่ดีขึ้น
ส่วนประกอบอื่นในรุ่น M109A5 บางส่วนที่ได้รับการซ่อมบำรุง เช่น M284 pipe, ระบบ Hydraulic และ T154 skate และทั้งระบบ Technology ใหม่ทั้งหมดจะมีความเข้ากันได้กับ AFATDS (Advanced Field Artillery Tactical Data System)
นอกจากนี้ตามแผนยุทธศาสตร์กองทัพบกบราซิล OCOP ยังมีการจัดหารถเกราะสายพานส่วนเกินจากกองทัพบกสหรัฐ ตามมาตรา EDAs (Excess Defense Articles) และผ่านการขายแบบ FMS (Foreign Military Sales) ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ
ซึ่งประกอบด้วย รถเกราะที่บังคับการ M577A2 ของ BAE Systems 34คัน, รถเกราะสายพานลำเลียงพล M113A2 จำนวน 12คัน และ รถกู้ซ่อม M88A1 จำนวน 4คัน รวทั้งหมด 50คัน
โดยรถเกราะทั้งหมดภายใต้สัญญาจัดหานี้จะไม่ได้รับการปรับปรุงทั้งก่อนจัดหาและหลังจัดส่งให้แก่บราซิลครับ
วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2558
กองทัพบกอินเดียเลือกปืนใหญ่อัตตาจร K9 เกาหลีใต้
K9 selected for Indian Army SPH requirement
Larsen & Toubro will manufacture a version of the K9 Thunder for the Indian Army. Source: Samsung Techwin
http://www.janes.com/article/55127/k9-selected-for-indian-army-sph-requirement
กระทรวงกลาโหมอินเดียได้ประกาศผู้ชนะในโครงการจัดหาปืนใหญ่อัตตาจรของกองทัพบกอินเดียวงเงิน $800 million ซึ่งมีความล่าช้ามายาวนานคือ
ปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน Samsung Techwin K9 Thunder ขนาด 155mm/52cal จากสาธารณรัฐเกาหลี นับเป็นโครงการจัดหายุทโธปกรณ์ครั้งใหญ่ครั้งแรกๆระหว่างอินเดียและเกาหลีใต้
แหล่งข้อมูลภายในกล่าวว่าการเลือกแบบได้มีขึ้นเมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมาหลังจากการทดสอบในภูมิประเทศที่เป็นทะเลทรายและพื้นที่สูงในปี 2013 และต้นปี 2014
โดยปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน K9 สามารถเอาชนะปืนใหญ่อัตตาจร MSTA-SP (2S19) จากรัสเซียซึ่งดัดแปลงใช้ป้อมปืนใหญ่ขนาด 155mm/52cal เข้ากับแคร่ฐานรถถังหลัก T-72
ทางเจ้าหน้าอาวุโสของเหล่าทหารปืนกองทัพบกอินเดียกล่าวว่าระบบ K9 เกาหลีใต้มีประสิทธิภาพเหนือกว่าระบบของรัสเซีย ทั้งความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ ความเร็ว ความแม่นยำ และอัตราการยิงโดยรวม
ซึ่งระบบปืนใหญ่อัตตาจรยังได้รับการทดสอบการยอมรับคุณสมบัติการซ่อมบำรุงจากกองการวิศวกรรมเครื่องยนต์และ Electronic และคณะกรรมการฝ่ายรับรองคุณภาพด้วย
ตามนโยบาย"ซื้อและสร้าง" ในส่วนของขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างกระทรวงกลาโหม คาดว่ากระทรวงกลาโหมอินเดียจะมีการเปิดการเจรจากับรัฐบาลสาธารณรัฐเกาหลีในการจัดหาปืนใหญ่อัตตาจร K9 ในปี 2016
ทั้งนี้ Samsung-Techwin จะร่วมเป็นหุ้นส่วนกับ Larsen & Toubro (L&T) อินเดียในการพัฒนาประกอบปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน K9 Vajra ซึ่งเป็นรุ่นตามความต้องการของกองทัพบกอินเดีย
ในโรงงานที่ Pune, Talegaon และ Powai โดย L&T มีแผนจะสร้างชิ้นส่วนประกอบย่อยหลัก 13ระบบในอินเดีย เช่น ระบบควบคุมการยิง, ระบบควบคุมการบรรจุกระสุน, Radar ความเร็วปากกระบอกปืน และระบบป้องกันนิวเคลียร์ ชีวะ เคมี
โดยระบบที่จะทำการสร้างและประกอบภายในอินเดียจะคิดเป็นเต็มร้อยละ50 ซึ่งอีกร้อยละ30 ของการจัดหาจะมีการรับผิดชอบชดเชยต่อผลการผลิตภายในประเทศตามความต้องการในระดับที่สูง
ทั้งนี้กองทัพบกอินเดียมีความต้องการปืนใหญ่อัตตาจรสายพานไม่ต่ำกว่า 100ระบบ สำหรับกรมทหารปืนใหญ่ 3กรม ใน3กองพลยานเกราะ และอีกกรมทหารปืนใหญ่ สำหรับกองพลน้อยยานเกราะอิสระ
ซึ่งจะประกอบเป็นกำลังกองทัพน้อยโจมตีร่วมกับรถถังหลักเช่น T-90S เป็นกำลังหัวหอกในสงครามตามแบบด้วยการยิงสนับสนุนขนาดหนักแบบเต็มรูปแบบต่อแนวชายแดนประเทศที่มีความขัดแย้งอย่างปากีสถาน
Bhim Self Propelled Howitzer Prototype(wikipedia.org)
กองทัพบกอินเดียมีความต้องการโครงการจัดหาปืนใหญ่อัตตาจรใหม่มาเป็นเวลาเกือบ 20ปี เพื่อตอบสนองต่อการที่กองทัพบกปากีสถานจัดหาปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน M109A2/A3 จากสหรัฐฯ ราว 150ระบบในช่วงนั้น
โดยในปี 1999 องค์การพัฒนาและวิจัยด้านความมั่งคง (DRDO: Defence Research and Development Organisation) อินเดียได้ร่วมกับบริษัท Denel สาธารณรัฐแอฟริกาใต้
ในการพัฒนาระบบปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน Bhim โดยใช้ป้อมปืนใหญ่แบบ T-6 ของ Denel แอฟริกาใต้ติดตั้งกับแคร่ฐานรถถังหลัก Arjun ที่อินเดียพัฒนาเองในประเทศ
แต่ทว่าโครงการปืนใหญ่อัตตาจร Bhim ได้รับผลกระทบอย่างหนัก เนื่องจากในปี 2005 กระทรวงกลาโหมอินเดียได้ขึ้นบัญชีระงับการทำธุรกรรมระหว่างรัฐบาลต่อ Denel แอฟริกาใต้
เนื่องจากบริษัท Denel ถูกกล่าวหาว่ากระทำการผิดกฎหมายในสัญญาแยกต่างหากต่อการจัดซื้อปืนต่อต้านอมภัณฑ์จำนวน 400กระบอกกับกองทัพบกอินเดีย
แม้ว่าการขึ้นบัญชีจะถูกยกเลิกไปในปี 2014 โดยที่คณะกรมการสอบสวนกลางรัฐบาลอินเดียไม่สามารถพิสูจน์หลักฐานความผิดได้ แต่ก็สายเกินไปที่จะรื้นฟื้นโครงการปืนใหญ่อัตตาจร Bhim ขึ้นมาใหม่ครับ
Larsen & Toubro will manufacture a version of the K9 Thunder for the Indian Army. Source: Samsung Techwin
http://www.janes.com/article/55127/k9-selected-for-indian-army-sph-requirement
กระทรวงกลาโหมอินเดียได้ประกาศผู้ชนะในโครงการจัดหาปืนใหญ่อัตตาจรของกองทัพบกอินเดียวงเงิน $800 million ซึ่งมีความล่าช้ามายาวนานคือ
ปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน Samsung Techwin K9 Thunder ขนาด 155mm/52cal จากสาธารณรัฐเกาหลี นับเป็นโครงการจัดหายุทโธปกรณ์ครั้งใหญ่ครั้งแรกๆระหว่างอินเดียและเกาหลีใต้
แหล่งข้อมูลภายในกล่าวว่าการเลือกแบบได้มีขึ้นเมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมาหลังจากการทดสอบในภูมิประเทศที่เป็นทะเลทรายและพื้นที่สูงในปี 2013 และต้นปี 2014
โดยปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน K9 สามารถเอาชนะปืนใหญ่อัตตาจร MSTA-SP (2S19) จากรัสเซียซึ่งดัดแปลงใช้ป้อมปืนใหญ่ขนาด 155mm/52cal เข้ากับแคร่ฐานรถถังหลัก T-72
ทางเจ้าหน้าอาวุโสของเหล่าทหารปืนกองทัพบกอินเดียกล่าวว่าระบบ K9 เกาหลีใต้มีประสิทธิภาพเหนือกว่าระบบของรัสเซีย ทั้งความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ ความเร็ว ความแม่นยำ และอัตราการยิงโดยรวม
ซึ่งระบบปืนใหญ่อัตตาจรยังได้รับการทดสอบการยอมรับคุณสมบัติการซ่อมบำรุงจากกองการวิศวกรรมเครื่องยนต์และ Electronic และคณะกรรมการฝ่ายรับรองคุณภาพด้วย
ตามนโยบาย"ซื้อและสร้าง" ในส่วนของขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างกระทรวงกลาโหม คาดว่ากระทรวงกลาโหมอินเดียจะมีการเปิดการเจรจากับรัฐบาลสาธารณรัฐเกาหลีในการจัดหาปืนใหญ่อัตตาจร K9 ในปี 2016
ทั้งนี้ Samsung-Techwin จะร่วมเป็นหุ้นส่วนกับ Larsen & Toubro (L&T) อินเดียในการพัฒนาประกอบปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน K9 Vajra ซึ่งเป็นรุ่นตามความต้องการของกองทัพบกอินเดีย
ในโรงงานที่ Pune, Talegaon และ Powai โดย L&T มีแผนจะสร้างชิ้นส่วนประกอบย่อยหลัก 13ระบบในอินเดีย เช่น ระบบควบคุมการยิง, ระบบควบคุมการบรรจุกระสุน, Radar ความเร็วปากกระบอกปืน และระบบป้องกันนิวเคลียร์ ชีวะ เคมี
โดยระบบที่จะทำการสร้างและประกอบภายในอินเดียจะคิดเป็นเต็มร้อยละ50 ซึ่งอีกร้อยละ30 ของการจัดหาจะมีการรับผิดชอบชดเชยต่อผลการผลิตภายในประเทศตามความต้องการในระดับที่สูง
ทั้งนี้กองทัพบกอินเดียมีความต้องการปืนใหญ่อัตตาจรสายพานไม่ต่ำกว่า 100ระบบ สำหรับกรมทหารปืนใหญ่ 3กรม ใน3กองพลยานเกราะ และอีกกรมทหารปืนใหญ่ สำหรับกองพลน้อยยานเกราะอิสระ
ซึ่งจะประกอบเป็นกำลังกองทัพน้อยโจมตีร่วมกับรถถังหลักเช่น T-90S เป็นกำลังหัวหอกในสงครามตามแบบด้วยการยิงสนับสนุนขนาดหนักแบบเต็มรูปแบบต่อแนวชายแดนประเทศที่มีความขัดแย้งอย่างปากีสถาน
Bhim Self Propelled Howitzer Prototype(wikipedia.org)
กองทัพบกอินเดียมีความต้องการโครงการจัดหาปืนใหญ่อัตตาจรใหม่มาเป็นเวลาเกือบ 20ปี เพื่อตอบสนองต่อการที่กองทัพบกปากีสถานจัดหาปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน M109A2/A3 จากสหรัฐฯ ราว 150ระบบในช่วงนั้น
โดยในปี 1999 องค์การพัฒนาและวิจัยด้านความมั่งคง (DRDO: Defence Research and Development Organisation) อินเดียได้ร่วมกับบริษัท Denel สาธารณรัฐแอฟริกาใต้
ในการพัฒนาระบบปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน Bhim โดยใช้ป้อมปืนใหญ่แบบ T-6 ของ Denel แอฟริกาใต้ติดตั้งกับแคร่ฐานรถถังหลัก Arjun ที่อินเดียพัฒนาเองในประเทศ
แต่ทว่าโครงการปืนใหญ่อัตตาจร Bhim ได้รับผลกระทบอย่างหนัก เนื่องจากในปี 2005 กระทรวงกลาโหมอินเดียได้ขึ้นบัญชีระงับการทำธุรกรรมระหว่างรัฐบาลต่อ Denel แอฟริกาใต้
เนื่องจากบริษัท Denel ถูกกล่าวหาว่ากระทำการผิดกฎหมายในสัญญาแยกต่างหากต่อการจัดซื้อปืนต่อต้านอมภัณฑ์จำนวน 400กระบอกกับกองทัพบกอินเดีย
แม้ว่าการขึ้นบัญชีจะถูกยกเลิกไปในปี 2014 โดยที่คณะกรมการสอบสวนกลางรัฐบาลอินเดียไม่สามารถพิสูจน์หลักฐานความผิดได้ แต่ก็สายเกินไปที่จะรื้นฟื้นโครงการปืนใหญ่อัตตาจร Bhim ขึ้นมาใหม่ครับ
วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2558
Navantia สเปนเสนอแบบเรือ Avante และ F100 สำหรับโครงการเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งเละเรือฟริเกตของออสเตรเลีย
Pacific 2015: Navantia proposes Avante range for Australia's SEA 1180
A Venezuelan Navy Coast Guard Command's Guaicamacuto-class patrol ship which is based on the Avante 1400 design. Source: Navantia
http://www.janes.com/article/55110/pacific-2015-navantia-proposes-avante-range-for-australia-s-sea-1180
บริษัท Navantia สเปนได้เสนอแบบเรือตระกูล Avante สำหรับกองทัพเรือออสเตรเลีย(Royal Australian Navy) ในโครงการเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง(OPV: Offshore Patrol Vessel) SEA 1180
โดยโครงการ SEA 1180 เป็นโครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ใหม่ 26ลำ ทดแทนเรือเก่าของกองทัพเรือออสเตรเลีย ซึ่งรวมถึงเรือตรวจการณ์ชั้น Armidale 14ลำ วงเงิน A$ 1.5 billion($1.08 billion)
ในงานแสดงและสัมมนานานาชาติทางทะเล Pacific 2015 ซึ่งจัดขึ้นที่ Sydney ระหว่างวันที่ 6-8 ตุลาคมที่ผ่านมานั้น Jane's ได้ข้อมูลจาก Nick Kitching สถาปนิกเรือของ Navantia Australia ว่า
แบบเรือที่เป็นได้ที่จะเป็นตัวเลือกตอบสนองคุณสมบัติความต้องการของออสเตรเลียในโครงการนั้นคือแบบเรือ Avente 1400 และ Avente 3000
"แบบเรือตระกูล Avante มีต้นกำเนิดพัฒนาขึ้นเพื่อแทนเรือหลายแบบในวงกว้างเมื่อเรือเหล่านั้นใกล้หมดอายุขัยในกองทัพเรือสเปน" นาย Kitching กล่าว
ซึ่งแบบเรือในตระกูล Avante นั้นปัจจุบันได้เข้าประจำการในกองทัพเรือสเปนคือเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชั้น Meteoro (Avante 3000) หรือเรือ BAM (Buque de Accion Maritima)
และกองทัพเรือเวเนซุเอลาคือเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชั้น Guaicamacuto (Avante 1400) สังกัดในกองบัญชาการยามฝั่ง(Coast Guard Command)
ตามข้อมูลของ Navantia แบบเรือ Avante 1400 ตัวเรือยาว 79.9m ส่วนสูงที่สุดของเรือ 11.8m กว้าง 3.7m ระวางขับน้ำสูงสุดประมาณ 1,500tons มีส่วนประกอบแบ่งภายในตัวเรือ 35ส่วน และมีพื้นที่เพิ่มเติม 29ส่วน
ทำความเร็วได้สุงสุด 22knots มีพิสัยทำการไกลสุด 4,000nm ที่ความเร็วมัธยัสถ์ 16knots อาวุธประจำเรือ ปืนใหญ่เรือ Oto Melara 76/62 1กระบอก ปืนใหญ่กล Oerlikon Millennium 35mm 1ระบบ และมีลานจอดเฮลิคอปเตอร์ท้ายเรือ
ส่วนแบบเรือ Avante 3000 ตัวเรือยาว 93.9m ส่วนสูงสุดของเรือ 14.2m กว้าง 4.5m ระวางขับน้ำสูงสุด 2,840tons รองรับลูกเรือ 35นาย พร้อมพื้นที่เพิ่มเติมรองรับลูกเรือเพิ่มในจำนวนเท่ากัน
อาวุธประจำเรือ ปืนใหญ่เรือ Oto Melara 76/62 1กระบอก และปืนใหญ่กล 25mm 2กระบอก มีโรงเก็บและลานจอดเฮลิคอปเตอร์ท้ายเรือรองรับ ฮ.NH90
Pacific 2015: Navantia says F 100 design would meet Australian Sea 5000 Future Frigate requirement
http://www.janes.com/article/55131/pacific-2015-navantia-says-f-100-design-would-meet-australian-sea-5000-future-frigate-requirement
นอกจากนี้ Francisco Baron ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการในออสเตรเลียของ Navantia ได้กล่าวถึงการศึกษาทางวิศวกรรมเป็นเวลากว่า 10เดือน
ในการดัดแปลงเรือฟริเกตแบบ F100 ให้ตรงกับความต้องการในโครงการจัดหาเรือฟริเกต Sea 5000 ของกองทัพเรือออสเตรเลีย
โดยโครงการ Sea 5000 เป็นแผนการจัดหาเรือฟริเกตใหม่ทดแทนเรือฟริเกตชั้น ANZAC จำนวน 8ลำ ในอนาคต ซึ่งกระทรวงกลาโหมออสเตรเลียมีแผนงบประมาณวางไว้อยู่ แต่ยังไม่มีการประกาศการแข่งขันจัดหาแบบเรือในขณะนี้
ทั้งนี้แบบเรือฟริเกต F100 ของ Navantia เองก็ได้รับการเลือกจากออสเตรเลียในโครงการจัดหาเรือพิฆาตป้องกันภัยทางอากาศ SEA 4000 หรือเรือพิฆาตชั้น Hobart จำนวน 3ลำไปแล้ว
ที่ล่าสุดเรือลำแรกคือ DDGH-39 HMAS Hobart ถูกปล่อยลงน้ำตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2015 แล้วและจะเสร็จสมบูรณ์ส่งมอบเข้าประจำการได้ในราวเดือนมิถุนายนปี 2017
Pacific 2015: General Electric promotes LM2500 engine series for Australia's SEA 5000
http://www.janes.com/article/55129/pacific-2015-general-electric-promotes-lm2500-engine-series-for-australia-s-sea-5000
รวมถึงทาง General Electric สหรัฐฯ ยังได้เสนอเครื่องยนต์ Gas Turbine ตระกูล LM2500 สำหรับติดตั้งในเรือฟริเกตโครงการ Sea 5000 ในอนาคต
ซึ่งเครื่องยนต์ Gas Turbine แบบ LM2500 ก็มีใช้งานในเรือหลายชั้นกองทัพเรือของออสเตรเลีย
เช่น เรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Canberra, เรือพิฆาตชั้น Hobart และเรือฟริเกตชั้น ANZAC เป็นต้นครับ
A Venezuelan Navy Coast Guard Command's Guaicamacuto-class patrol ship which is based on the Avante 1400 design. Source: Navantia
http://www.janes.com/article/55110/pacific-2015-navantia-proposes-avante-range-for-australia-s-sea-1180
บริษัท Navantia สเปนได้เสนอแบบเรือตระกูล Avante สำหรับกองทัพเรือออสเตรเลีย(Royal Australian Navy) ในโครงการเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง(OPV: Offshore Patrol Vessel) SEA 1180
โดยโครงการ SEA 1180 เป็นโครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ใหม่ 26ลำ ทดแทนเรือเก่าของกองทัพเรือออสเตรเลีย ซึ่งรวมถึงเรือตรวจการณ์ชั้น Armidale 14ลำ วงเงิน A$ 1.5 billion($1.08 billion)
ในงานแสดงและสัมมนานานาชาติทางทะเล Pacific 2015 ซึ่งจัดขึ้นที่ Sydney ระหว่างวันที่ 6-8 ตุลาคมที่ผ่านมานั้น Jane's ได้ข้อมูลจาก Nick Kitching สถาปนิกเรือของ Navantia Australia ว่า
แบบเรือที่เป็นได้ที่จะเป็นตัวเลือกตอบสนองคุณสมบัติความต้องการของออสเตรเลียในโครงการนั้นคือแบบเรือ Avente 1400 และ Avente 3000
"แบบเรือตระกูล Avante มีต้นกำเนิดพัฒนาขึ้นเพื่อแทนเรือหลายแบบในวงกว้างเมื่อเรือเหล่านั้นใกล้หมดอายุขัยในกองทัพเรือสเปน" นาย Kitching กล่าว
ซึ่งแบบเรือในตระกูล Avante นั้นปัจจุบันได้เข้าประจำการในกองทัพเรือสเปนคือเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชั้น Meteoro (Avante 3000) หรือเรือ BAM (Buque de Accion Maritima)
และกองทัพเรือเวเนซุเอลาคือเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชั้น Guaicamacuto (Avante 1400) สังกัดในกองบัญชาการยามฝั่ง(Coast Guard Command)
ตามข้อมูลของ Navantia แบบเรือ Avante 1400 ตัวเรือยาว 79.9m ส่วนสูงที่สุดของเรือ 11.8m กว้าง 3.7m ระวางขับน้ำสูงสุดประมาณ 1,500tons มีส่วนประกอบแบ่งภายในตัวเรือ 35ส่วน และมีพื้นที่เพิ่มเติม 29ส่วน
ทำความเร็วได้สุงสุด 22knots มีพิสัยทำการไกลสุด 4,000nm ที่ความเร็วมัธยัสถ์ 16knots อาวุธประจำเรือ ปืนใหญ่เรือ Oto Melara 76/62 1กระบอก ปืนใหญ่กล Oerlikon Millennium 35mm 1ระบบ และมีลานจอดเฮลิคอปเตอร์ท้ายเรือ
ส่วนแบบเรือ Avante 3000 ตัวเรือยาว 93.9m ส่วนสูงสุดของเรือ 14.2m กว้าง 4.5m ระวางขับน้ำสูงสุด 2,840tons รองรับลูกเรือ 35นาย พร้อมพื้นที่เพิ่มเติมรองรับลูกเรือเพิ่มในจำนวนเท่ากัน
อาวุธประจำเรือ ปืนใหญ่เรือ Oto Melara 76/62 1กระบอก และปืนใหญ่กล 25mm 2กระบอก มีโรงเก็บและลานจอดเฮลิคอปเตอร์ท้ายเรือรองรับ ฮ.NH90
Pacific 2015: Navantia says F 100 design would meet Australian Sea 5000 Future Frigate requirement
http://www.janes.com/article/55131/pacific-2015-navantia-says-f-100-design-would-meet-australian-sea-5000-future-frigate-requirement
นอกจากนี้ Francisco Baron ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการในออสเตรเลียของ Navantia ได้กล่าวถึงการศึกษาทางวิศวกรรมเป็นเวลากว่า 10เดือน
ในการดัดแปลงเรือฟริเกตแบบ F100 ให้ตรงกับความต้องการในโครงการจัดหาเรือฟริเกต Sea 5000 ของกองทัพเรือออสเตรเลีย
โดยโครงการ Sea 5000 เป็นแผนการจัดหาเรือฟริเกตใหม่ทดแทนเรือฟริเกตชั้น ANZAC จำนวน 8ลำ ในอนาคต ซึ่งกระทรวงกลาโหมออสเตรเลียมีแผนงบประมาณวางไว้อยู่ แต่ยังไม่มีการประกาศการแข่งขันจัดหาแบบเรือในขณะนี้
ทั้งนี้แบบเรือฟริเกต F100 ของ Navantia เองก็ได้รับการเลือกจากออสเตรเลียในโครงการจัดหาเรือพิฆาตป้องกันภัยทางอากาศ SEA 4000 หรือเรือพิฆาตชั้น Hobart จำนวน 3ลำไปแล้ว
ที่ล่าสุดเรือลำแรกคือ DDGH-39 HMAS Hobart ถูกปล่อยลงน้ำตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2015 แล้วและจะเสร็จสมบูรณ์ส่งมอบเข้าประจำการได้ในราวเดือนมิถุนายนปี 2017
Pacific 2015: General Electric promotes LM2500 engine series for Australia's SEA 5000
http://www.janes.com/article/55129/pacific-2015-general-electric-promotes-lm2500-engine-series-for-australia-s-sea-5000
รวมถึงทาง General Electric สหรัฐฯ ยังได้เสนอเครื่องยนต์ Gas Turbine ตระกูล LM2500 สำหรับติดตั้งในเรือฟริเกตโครงการ Sea 5000 ในอนาคต
ซึ่งเครื่องยนต์ Gas Turbine แบบ LM2500 ก็มีใช้งานในเรือหลายชั้นกองทัพเรือของออสเตรเลีย
เช่น เรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Canberra, เรือพิฆาตชั้น Hobart และเรือฟริเกตชั้น ANZAC เป็นต้นครับ
วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2558
กองทัพบกไทยจัดหาเฮลิคอปเตอร์ AW139 เพิ่มเติม ๘เครื่อง
Thai Army Orders 8 AgustaWestland AW139 Helicopters
http://www.defenseworld.net/news/14244/Thai_Army_Orders_8_AgustaWestland_AW139_Helicopters
จากรายงานข่าวของงานแสดงเฮลิคอปเตอร์นานาชาติ Helitech International 2015 ซึ่งจัดขึ้นที่ London สหราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ ๖-๘ กันยายนที่ผ่านมานั้น
บริษัท AgustaWestland อิตาลี ได้แถลงเปิดตัวลูกค้ารายแรกของเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงสองเครื่องยนต์ขนาดกลาง ๑๐ที่นั่ง AW169 คือ Heliservices International GmbH ซึ่งจะนำใช้งานเขตนอกชายฝั่งทะเลเหนือแล้ว
AgustaWestland ยังได้ให้ข้อมูลต่อสื่อด้วยว่ากองทัพบกไทยได้สั่งจัดหา ฮ.ท.๑๓๙ AW139 เพิ่มเติมอีก ๘เครื่อง วงเงินประมาณ 140 million Euros
ทำให้ในช่วงปลายปี 2015 ถึงสิ้นปี 2016 AgustaWestland จะทำการผลิตและส่งมอบ ฮ.AW139 จำนวน ๑๐เครื่อง และ AW169 อีก ๑เครื่อง ให้ลูกค้า โดยเฉพาะ ฮ.AW139 นั้นมียอดการผลิตเพื่อสั่งซื้อไม่ต่ำกว่า ๑,๐๐๐เครื่องแล้ว
ก่อนหน้านี้ในเดือนเมษายนที่ผ่านมามีรายงานว่ากองทัพบกไทยต้องการจัดหา ฮ.ท.๑๓๙ AW139 เพิ่มเติม ๖เครื่อง วงเงินประมาณ ๒,๘๐๐ล้านบาท
หลังจากที่จัดหามาแล้ว ๒เครื่องเข้าประจำการใน กองการบิน กรมการขนส่งทหารบก (กบบ.ขส.ทบ.) สำหรับภารกิจขนส่งบุคคลสำคัญ
มีการประเมินว่า ฮ.ท.๑๓๙ AW139 ที่จัดหามาใหม่นั้นจะถูกนำมาบรรจุในหน่วยบินของกองทัพภาคสำหรับภารกิจธุรการ ลำเลียงทั่วไป และขนส่งบุคคล แทน ฮ.ใช้งานทั่วไป เช่น ฮ.ท.๒๐๖ Bell 206A หรือ ฮ.ท.๒๑๒ Bell 212 ที่ใช้งานมานาน
ซึ่งในส่วนของ ฮ.ท.๒๑๒ Bell 212 กองทัพบกมีแผนจะนำไปรวมที่หน่วยบินส่วนกลางคือ ศูนย์การบินทหาร (ศบบ.)
(แต่ตรงนี้ก็มีข้อสงสัยอยู่ว่า ฮ.ท.๒๑๒ ที่ประจำการอยู่ในส่วน กองทัพภาค นั้นถ้าถูกโอนกลับมาอยู่ในส่วนกลางคือ ศบบ.แล้ว กองทัพบกมีการจะปรับโครงสร้างอัตราจัดอย่างไรต่อ
เช่น จะปรับปรุงเป็น ฮ.ใช้งานทางยุทธวิธี เช่น ฮ.ท.๒๑๒ Bell 212 EDA ที่ปรับปรุงใหม่ที่ประจำใน กองบินปีกหมุนที่๒ หรือไม่)
ขณะนี้ยังไม่มีรายละเอียดเพิ่มเติม ซึ่งถ้ามีจะนำมารายงานต่อไปครับ
วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2558
กองทัพเรือรัสเซียเตรียมทดสอบระบบพรางตัวที่จะติดตั้งกับเรือฟริเกตชั้น Admiral Gorshkov
http://ria.ru/defense_safety/20151006/1297493603.html
สำนักข่าว RIA Novosti รัสเซียได้รายงานข้อมูลจากงานวันนวัตกรรมกระทรวงกลาโหมรัสเซียว่า OPK Oboronprom ซึ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมด้านความมั่นคงของรัสเซีย
จะมีการทดสอบติดตั้งระบบอุปกรณ์ใหม่บนเรือฟริเกตชั้น Project 22350 Admiral Gorshkov ภายในสองสัปดาห์หน้า โดยระบบตั้งกล่าวเป็นระบบที่จะใช้พรางตัวเรือไม่เรือข้าศึกมองเห็นได้
ระบบอุปกรณ์พิเศษดังกล่าวมีหลักการทำงานในการพรางตัวเรือจากสายตาบุคคลผ่านอุปกรณ์ตรวจจับทางสายตา(Optical Device) เช่นระบบตรวจการณ์ Opto-Elctronic อย่างกล้องมองกล้างคืน(Night Vision device) และระบบเล็งเป้าหมาย
ทำให้สามารถปฏิบัติการในเวลากลางคืนและยามใกล้ค่ำอย่างซ่อนพรางการยกพลขึ้นบกและหลีกเหลี่ยงการถูกตรวจพบและถูกยิงโดยตรงจากข้าศึกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทางโฆษกได้อธิบายกว่าการติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าวบนสถานีในเรือฟริเกต Admiral Gorshkov จะเริ่มขั้นตอนการทดสอบได้ในราวสองสัปดาห์หน้า ซึ่งระยะการทำงานของระบบจะขึ้นกับภาวะสภาพอากาศภายนอก
ทั้งนี้ระบบอุปกรณ์ดังกล่าวยังถูกออกแบบให้ติดตั้งประจำสถานีบนเรือผิวน้ำแบบอื่น เช่น เรือยกพลขึ้นบก ยานเบาะอากาศ(Hovercraft) เรือปีกน้ำ(Hydrofoil) และเรืออีกหลายประเภทด้วย
เรือฟริเกต Project 22350 Admiral Gorshkov มีระวางขับน้ำประมาณ 4,500tons ตัวเรือยาว 135m และกว้าง 15m
ขับเคลื่อนด้วยระบบเครื่องยนต์ CODAG สองเครื่องยนต์ดีเซลกำลังเครื่องละ 5,200shp และสองเครื่องยนต์ Gas Turbine กำลังเครื่องละ 27,500shp ทำความเร็วได้สูงสุด 29.5knots พิสัยทำการ 4,500nmi
ระบบอาวุธมีเช่น ปืนใหญ่เรือ A-192M ขนาด 130mm, อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ P-800 Oniks ติดตั้งในท่อยิงแนวดิ่ง UKSK VLS 8-cell 2ระบบ
แท่นยิงแนวดิ่ง Redut VLS 8-cell 4ระบบ รองรับการติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยไกลตระกูล 9M96 (S-400) หรืออาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้ 9M100 (S-350) ในชุดบรรจุยิงแบบ quad-packed สี่นัดต่อหนึ่งท่อยิง
แท่นยิง Torpedo ขนาด 330mm 4ท่อยิง 2ระบบสำหรับ Torpedo ต่อต้านเรือดำน้ำและต่อต้าน Torpedo แบบ Paket-NK, มีโรงเก็บและลาดจอดเฮลิคอปเตอร์รองรับ ฮ.Ka-27 ได้1เครื่อง กำลังพลประจำเรือ 180-210นาย
เรือลำแรกของชั้นคือ Admiral of the Fleet of the Soviet Union Gorshkov จะมีกำหนดเข้าประจำการในเดือนพฤศจิกายน ปี 2015 นี้ในกองเรือทะเลเหนือ โดยกองทัพเรือรัสเซียมีแผนจะต่อเรือฟริเกตชั้น Admiral Gorshkov ขั้นต้นราว 8ลำครับ
สำนักข่าว RIA Novosti รัสเซียได้รายงานข้อมูลจากงานวันนวัตกรรมกระทรวงกลาโหมรัสเซียว่า OPK Oboronprom ซึ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมด้านความมั่นคงของรัสเซีย
จะมีการทดสอบติดตั้งระบบอุปกรณ์ใหม่บนเรือฟริเกตชั้น Project 22350 Admiral Gorshkov ภายในสองสัปดาห์หน้า โดยระบบตั้งกล่าวเป็นระบบที่จะใช้พรางตัวเรือไม่เรือข้าศึกมองเห็นได้
ระบบอุปกรณ์พิเศษดังกล่าวมีหลักการทำงานในการพรางตัวเรือจากสายตาบุคคลผ่านอุปกรณ์ตรวจจับทางสายตา(Optical Device) เช่นระบบตรวจการณ์ Opto-Elctronic อย่างกล้องมองกล้างคืน(Night Vision device) และระบบเล็งเป้าหมาย
ทำให้สามารถปฏิบัติการในเวลากลางคืนและยามใกล้ค่ำอย่างซ่อนพรางการยกพลขึ้นบกและหลีกเหลี่ยงการถูกตรวจพบและถูกยิงโดยตรงจากข้าศึกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทางโฆษกได้อธิบายกว่าการติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าวบนสถานีในเรือฟริเกต Admiral Gorshkov จะเริ่มขั้นตอนการทดสอบได้ในราวสองสัปดาห์หน้า ซึ่งระยะการทำงานของระบบจะขึ้นกับภาวะสภาพอากาศภายนอก
ทั้งนี้ระบบอุปกรณ์ดังกล่าวยังถูกออกแบบให้ติดตั้งประจำสถานีบนเรือผิวน้ำแบบอื่น เช่น เรือยกพลขึ้นบก ยานเบาะอากาศ(Hovercraft) เรือปีกน้ำ(Hydrofoil) และเรืออีกหลายประเภทด้วย
เรือฟริเกต Project 22350 Admiral Gorshkov มีระวางขับน้ำประมาณ 4,500tons ตัวเรือยาว 135m และกว้าง 15m
ขับเคลื่อนด้วยระบบเครื่องยนต์ CODAG สองเครื่องยนต์ดีเซลกำลังเครื่องละ 5,200shp และสองเครื่องยนต์ Gas Turbine กำลังเครื่องละ 27,500shp ทำความเร็วได้สูงสุด 29.5knots พิสัยทำการ 4,500nmi
ระบบอาวุธมีเช่น ปืนใหญ่เรือ A-192M ขนาด 130mm, อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ P-800 Oniks ติดตั้งในท่อยิงแนวดิ่ง UKSK VLS 8-cell 2ระบบ
แท่นยิงแนวดิ่ง Redut VLS 8-cell 4ระบบ รองรับการติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยไกลตระกูล 9M96 (S-400) หรืออาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้ 9M100 (S-350) ในชุดบรรจุยิงแบบ quad-packed สี่นัดต่อหนึ่งท่อยิง
แท่นยิง Torpedo ขนาด 330mm 4ท่อยิง 2ระบบสำหรับ Torpedo ต่อต้านเรือดำน้ำและต่อต้าน Torpedo แบบ Paket-NK, มีโรงเก็บและลาดจอดเฮลิคอปเตอร์รองรับ ฮ.Ka-27 ได้1เครื่อง กำลังพลประจำเรือ 180-210นาย
เรือลำแรกของชั้นคือ Admiral of the Fleet of the Soviet Union Gorshkov จะมีกำหนดเข้าประจำการในเดือนพฤศจิกายน ปี 2015 นี้ในกองเรือทะเลเหนือ โดยกองทัพเรือรัสเซียมีแผนจะต่อเรือฟริเกตชั้น Admiral Gorshkov ขั้นต้นราว 8ลำครับ
อียิปต์ยังไม่ได้เลือกเฮลิคอปเตอร์สำหรับเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ Mistral
Egypt has yet to select helicopters for Mistrals
A Ka-52K with rotors and stub wings folded for storage at the MAKS air show in August. Source: Rostec
http://www.janes.com/article/55024/egypt-has-yet-to-select-helicopters-for-mistrals
วันที่ 30 กันยายนที่ผ่านมา นาย Sergei Chemezov ผู้อำนวยการทั่วไปของ Rostec กลุ่มเครือบริษัทด้านความมั่นคงของรัสเซียกล่าวยืนยันต่อสื่อว่า
อียิปต์ยังไม่ได้สั่งจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตี Ka-52K รุ่นปฏิบัติการทางทะเลสำหรับประจำการบนเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Mistral 2ลำที่ซื้อต่อจากฝรั่งเศสที่เดิมเป็นของรัสเซีย
"ถ้าอียิปต์ยังคงตัดสินใจจัดหาเรือ Mistral อยู่ เราจะเสนอขายเฮลิคอปเตอร์ของเราให้แน่นอน เพราะมันถูกสร้างและปรับแต่งขึ้นมาเป็นการเฉพาะสำหรับเรือลำนี้" นาย Chemezov กล่าวต่อสื่อ
นาย Chemezov ได้ให้ความเห็นนี้ภายหลังที่ฝรั่งเศสออกแถลงยืนยันเมื่อวันที่ 23 กันยายนที่ผ่านมาว่าอียิปต์จะจัดซื้อเรือ LHD ชั้น Mistral 2ลำจากฝรั่งเศส
ซึ่งเดิมเรือสองลำนี้เป็นของกองทัพเรือรัสเซีย แต่ได้ถูกระงับการส่งมอบให้เนื่องจากสหภาพยุโรปคว่ำบาตรัสเซียต่อกรณีการผนวก Crimea และแทรกแซงสงครามในเขต Donbass ของยูเครนตั้งแต่ปี 2014
จากรายงานที่อียิปต์สั่งจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตี Kamov Ka-52 จำนวน 50เครื่อง โดยมีเอกสารออกมาในเดือนสิงหาคมว่า
หน่วยความร่วมมือการวิจัยและผลิตระบบและอุปกรณ์ความแม่นยำสูง(SPC CPR) จะผลิตกล้องเล็ง Elctro-Optic แบบ OES-52 จำนวน 50ระบบสำหรับติดตั้งกับ ฮ.โจมตี Ka-52 ของอียิปต์
ตามรายงานของสื่อรัสเซียเช่นสำนักข่าว TASS นั้น กล่าวว่าอียิปต์ให้ความสนใจ ฮ.โจมตี Ka-52K ซึ่งเป็นรุ่นปฏิบัติการบนเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ ซึ่งเดิมกองทัพเรือรัสเซียมีแผนจัดหามาใช้กับเรือ LHD ชั้น Mistral
โดย Ka-52K มีการปรับปรุงจาก Ka-52 รุ่นพื้นฐานที่ใช้ในกองทัพอากาศรัสเซียในบางจุด เช่น สามารถพับใบพัดประธานแบบหมุนสวนทางและปีกคานอาวุธเพื่อลดพื้นที่ในการเก็บในโรงเก็บได้เป็นต้น
ซึ่งแหล่งข่าวกล่าวว่าถ้าอียิปต์สนใจ ฮ.โจมตี Ka-52K สำหรับใช้งานบนเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Mistral จริง รัสเซียก็พร้อมจะขายให้
ขณะเดียวกันทางสำนัก Technology วิทยุ-Elctronic (KRET) ก็ได้เสนอระบบป้องกัน Electonic 5P28 Pobeditelj แก่อียิปต์สำหรับติดตั้งบนเรือ LHD ชั้น Mistral ทั้งสองลำที่เดิมมีแผนจะติดสำหรับกองทัพเรือรัสเซีย
และทางกลุ่มเครือบรรษัท OPK ซึ่งกลุ่มอุตสาหกรรมด้านความมั่นคงของรัสเซีย ก็ได้เสนอที่จะปรับปรุงระบบควคุมและบัญชาการที่จะติดตั้งให้เรือ Mistral ของอียิปต์ด้วยครับ
A Ka-52K with rotors and stub wings folded for storage at the MAKS air show in August. Source: Rostec
http://www.janes.com/article/55024/egypt-has-yet-to-select-helicopters-for-mistrals
วันที่ 30 กันยายนที่ผ่านมา นาย Sergei Chemezov ผู้อำนวยการทั่วไปของ Rostec กลุ่มเครือบริษัทด้านความมั่นคงของรัสเซียกล่าวยืนยันต่อสื่อว่า
อียิปต์ยังไม่ได้สั่งจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตี Ka-52K รุ่นปฏิบัติการทางทะเลสำหรับประจำการบนเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Mistral 2ลำที่ซื้อต่อจากฝรั่งเศสที่เดิมเป็นของรัสเซีย
"ถ้าอียิปต์ยังคงตัดสินใจจัดหาเรือ Mistral อยู่ เราจะเสนอขายเฮลิคอปเตอร์ของเราให้แน่นอน เพราะมันถูกสร้างและปรับแต่งขึ้นมาเป็นการเฉพาะสำหรับเรือลำนี้" นาย Chemezov กล่าวต่อสื่อ
นาย Chemezov ได้ให้ความเห็นนี้ภายหลังที่ฝรั่งเศสออกแถลงยืนยันเมื่อวันที่ 23 กันยายนที่ผ่านมาว่าอียิปต์จะจัดซื้อเรือ LHD ชั้น Mistral 2ลำจากฝรั่งเศส
ซึ่งเดิมเรือสองลำนี้เป็นของกองทัพเรือรัสเซีย แต่ได้ถูกระงับการส่งมอบให้เนื่องจากสหภาพยุโรปคว่ำบาตรัสเซียต่อกรณีการผนวก Crimea และแทรกแซงสงครามในเขต Donbass ของยูเครนตั้งแต่ปี 2014
จากรายงานที่อียิปต์สั่งจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตี Kamov Ka-52 จำนวน 50เครื่อง โดยมีเอกสารออกมาในเดือนสิงหาคมว่า
หน่วยความร่วมมือการวิจัยและผลิตระบบและอุปกรณ์ความแม่นยำสูง(SPC CPR) จะผลิตกล้องเล็ง Elctro-Optic แบบ OES-52 จำนวน 50ระบบสำหรับติดตั้งกับ ฮ.โจมตี Ka-52 ของอียิปต์
ตามรายงานของสื่อรัสเซียเช่นสำนักข่าว TASS นั้น กล่าวว่าอียิปต์ให้ความสนใจ ฮ.โจมตี Ka-52K ซึ่งเป็นรุ่นปฏิบัติการบนเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ ซึ่งเดิมกองทัพเรือรัสเซียมีแผนจัดหามาใช้กับเรือ LHD ชั้น Mistral
โดย Ka-52K มีการปรับปรุงจาก Ka-52 รุ่นพื้นฐานที่ใช้ในกองทัพอากาศรัสเซียในบางจุด เช่น สามารถพับใบพัดประธานแบบหมุนสวนทางและปีกคานอาวุธเพื่อลดพื้นที่ในการเก็บในโรงเก็บได้เป็นต้น
ซึ่งแหล่งข่าวกล่าวว่าถ้าอียิปต์สนใจ ฮ.โจมตี Ka-52K สำหรับใช้งานบนเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Mistral จริง รัสเซียก็พร้อมจะขายให้
ขณะเดียวกันทางสำนัก Technology วิทยุ-Elctronic (KRET) ก็ได้เสนอระบบป้องกัน Electonic 5P28 Pobeditelj แก่อียิปต์สำหรับติดตั้งบนเรือ LHD ชั้น Mistral ทั้งสองลำที่เดิมมีแผนจะติดสำหรับกองทัพเรือรัสเซีย
และทางกลุ่มเครือบรรษัท OPK ซึ่งกลุ่มอุตสาหกรรมด้านความมั่นคงของรัสเซีย ก็ได้เสนอที่จะปรับปรุงระบบควคุมและบัญชาการที่จะติดตั้งให้เรือ Mistral ของอียิปต์ด้วยครับ
วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2558
"Saros Real Battle" 3D Action Fighting Game by Thai Developers
Saros Real Battle - First Teaser!!!
https://www.youtube.com/watch?v=CHyuwiOOUBI
เห็นพัฒนาการของเกมชุดนี้มานานมากครับ
นับตั้งแต่ที่เคยลงบทความสัมภาษณ์ในนิตยสาร Future Gamer เมื่อราว ๑๕ปีก่อน
(ตอนนั้นยังเห็นพัฒนาเป็นแนว 3D RPG แต่เห็นว่ายกเลิกการพัฒนาไปก่อนจะเสร็จ)
ต่อมาก็เป็น "Zaros X Battle" แนว 2D Fighting จัดจำหน่ายโดย C2 vision เมื่อราวปี พ.ศ.๒๕๕๐
เวลาผ่านไปก็เพิ่งจะได้อ่านในนิตยสาร Future Gamer ฉบับล่าสุด(ตุลาคม 2015)ครับว่า
Saros Real Battle เป็นเกมใหม่ในชุดที่กำลังพัฒนาให้เป็น 3D Fighting ซึ่งมีทีมนักพัฒนาและผู้สนับสนุนชั้นนำของไทยร่วมงาน
โดยส่วนตัวผมไม่มีความเห็นเกี่ยวกับเกมชุดนี้ครับ เพราะผมไม่เคยเล่นเลยสักเกม เพราะไม่ใช่เกมแนวที่ชอบครับ
ปล.มีใครจำ "ยุทธ"(Yuth) ของ Look-Kid Soft ได้ไหมครับ?
(พัฒนาด้วย LithTech Jupiter ซึ่งเป็น 3D Engine ของ Monolith ที่ใช้สร้าง ที่พัฒนา No One Live Forever 2 ที่ขายเมื่อปี 2002 นู่น)
ถ้าจำไม่ผิดออกวางตลาดช่วงเดียวกับ Zaros X Battle (2007) แถมขายราคาเท่ากันในตอนแรกคือ ๑๙๙บาท ด้วยครับ
Yuth เกมยุทธ์
https://www.youtube.com/watch?v=mHub1mYxjzE
https://www.youtube.com/watch?v=CHyuwiOOUBI
เห็นพัฒนาการของเกมชุดนี้มานานมากครับ
นับตั้งแต่ที่เคยลงบทความสัมภาษณ์ในนิตยสาร Future Gamer เมื่อราว ๑๕ปีก่อน
(ตอนนั้นยังเห็นพัฒนาเป็นแนว 3D RPG แต่เห็นว่ายกเลิกการพัฒนาไปก่อนจะเสร็จ)
ต่อมาก็เป็น "Zaros X Battle" แนว 2D Fighting จัดจำหน่ายโดย C2 vision เมื่อราวปี พ.ศ.๒๕๕๐
เวลาผ่านไปก็เพิ่งจะได้อ่านในนิตยสาร Future Gamer ฉบับล่าสุด(ตุลาคม 2015)ครับว่า
Saros Real Battle เป็นเกมใหม่ในชุดที่กำลังพัฒนาให้เป็น 3D Fighting ซึ่งมีทีมนักพัฒนาและผู้สนับสนุนชั้นนำของไทยร่วมงาน
โดยส่วนตัวผมไม่มีความเห็นเกี่ยวกับเกมชุดนี้ครับ เพราะผมไม่เคยเล่นเลยสักเกม เพราะไม่ใช่เกมแนวที่ชอบครับ
ปล.มีใครจำ "ยุทธ"(Yuth) ของ Look-Kid Soft ได้ไหมครับ?
(พัฒนาด้วย LithTech Jupiter ซึ่งเป็น 3D Engine ของ Monolith ที่ใช้สร้าง ที่พัฒนา No One Live Forever 2 ที่ขายเมื่อปี 2002 นู่น)
ถ้าจำไม่ผิดออกวางตลาดช่วงเดียวกับ Zaros X Battle (2007) แถมขายราคาเท่ากันในตอนแรกคือ ๑๙๙บาท ด้วยครับ
Yuth เกมยุทธ์
https://www.youtube.com/watch?v=mHub1mYxjzE
วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2558
กองทัพบกออสเตรเลียเลือกจัดหารถเกราะ Hawkei ทดแทนรถยนต์บรรทุก Land Rover
Hawkei: Army to spend $1.3 billion on Australian-made replacement for ageing Land Rover fleet
Photo: The new Hawkei armoured vehicles will be manufactured in Bendigo, Victoria. (Department of Defence)
Photo: Thales also makes the Bushmaster Infantry Mobility Vehicle, seen here in Afghanistan (Corporal Hamish Paterson, file photo: Australian Defence Force)
Photo: The Hawkei vehicles will replace some Land Rovers currently in use by the Army (Department of Defence)
http://www.abc.net.au/news/2015-10-05/federal-government-set-to-spend-13bn-on-new-army-vehicles/6827164
รัฐบาลกลางออสเตรเลียได้ประกาศผู้ชนะในโครงการจัดหารถหุ้มเกราะเบาลำเลียงทดแทนรถยนต์บรรทุก Land Rover ที่ใช้มานานวงเงิน $1.3 billio คือรถเกราะล้อยาง 4x4 แบบ Hawkei PMV-L ของ Thales Australia
โดยกองทัพบกออสเตรเลียจะสั่งจัดหารถเกราะ Hawkei จำนวน 1,100คัน ซึ่งอยู่ในชั้นยานยนต์เคลื่อนที่แบบมีการป้องกันขนาดเบา (light protected mobility vehicle)
ซึ่งรถเกราะ Hawkei ใช้ตัวถังแบบตัว V ที่สามารถป้องกันและลดระดับความเสียหายของกำลังพลภายในรถจากแรงระเบิดของกับระเบิดแสวงเครื่องได้
อีกทั้งรถเกราะ Hawkei ยังสามารถติดตั้งระบบอาวุธทั้งปืนกลหนักและเครื่องยิงลูกระเบิดได้ และมีน้ำหนักเบาพอที่จะขนย้ายด้วยเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง Chinook ด้วย
นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย นาย Malcolm Turnbull และรัฐมนตรีกลาโหมออสเตรเลีย นาง Marise Payne ได้แถลงการประกาศที่โรงงานทดสอบที่ Monegeetta ตอนเหนือของ Melbourne รัฐ Victoria ว่า
การจัดหาดังกล่าวจะเป็นการเพิ่มงานมากกว่า 170ตำแหน่ง และเป็นการคงสถานะของออสเตรเลียในฐานะผู้นำ Technology ด้านการขนส่งทางทหาร
กำลังพลทั้งชายและหญิงที่ประจำการในกองทัพออสเตรเลียก็ได้รับมอบยุทโธปกรณ์ที่ดีที่สุดเพื่อภารกิจในการป้องกันประเทศปกป้องผลประโยชน์ของชาติ
ซึ่งรถเกราะ Hawkei นั้นมีขนาดเล็กกว่ารถเกราะลำเลียงพล Bushmaster ของ Thales Australia ซึ่งกองทัพออสเตรเลียได้จัดหามาก่อนหน้านี้เพื่อใช้ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงภัยสูงมาก
และได้รับความสนใจจัดหาจากหลายประเทศ เช่น สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น และจาไมกา โดยทั้งรถเกราะ Bushmaster และรถเกราะ Hawkei นั้นมีสายการผลิตที่โรงงานของ Thales Australia ใน Bendigo รัฐ Victoria
Thales Australia ได้เข้าโครงการแข่งขันจัดหารถยนต์บรรทุกทดแทนรถยนต์บรรทุก Land Rover ของกองทัพออสเตรเลียตั้งแต่เดือนธันวาคม 2011 และมีการส่งรถเกราะ Hawkei คันต้นแบบแข่งขันกับรถเกราะ 4x4 แบบอื่น
เช่น Force Protection Ocelot(รถเกราะ Foxhound ในกองทัพสหราชอาณาจักร) และ Eagle 1V ของ General Dynamics Land Systems-Australia
ซึ่งได้มีการทดสอบตามขั้นตอนของโครงการจนถึงวันที่มีการประกาศเลือกแบบเมื่อวันที่ 5 ตุลาคมที่ผ่านมา
ทั้งนี้การที่รัฐบาลออสเตรเลียเลือกแบบรถเกราะ Hawkei นั้นจะเป็นการสร้างตำแหน่งงานและเงินหมุนเวียนภายท้องถิ่นของรัฐ Victoria ไม่ต่ำกว่า $1 billion
คาดว่ารถเกราะ Hawkei ชุดนำร่องจะประกอบเสร็จจากโรงงานในต้นปี 2016 ตามรถชุดแรกจะส่งมอบจริงในสิ้นปี 2017 และเข้าสู่สายผลิตเต็มอัตราในปี 2018 ครับ
Photo: The new Hawkei armoured vehicles will be manufactured in Bendigo, Victoria. (Department of Defence)
Photo: Thales also makes the Bushmaster Infantry Mobility Vehicle, seen here in Afghanistan (Corporal Hamish Paterson, file photo: Australian Defence Force)
Photo: The Hawkei vehicles will replace some Land Rovers currently in use by the Army (Department of Defence)
http://www.abc.net.au/news/2015-10-05/federal-government-set-to-spend-13bn-on-new-army-vehicles/6827164
รัฐบาลกลางออสเตรเลียได้ประกาศผู้ชนะในโครงการจัดหารถหุ้มเกราะเบาลำเลียงทดแทนรถยนต์บรรทุก Land Rover ที่ใช้มานานวงเงิน $1.3 billio คือรถเกราะล้อยาง 4x4 แบบ Hawkei PMV-L ของ Thales Australia
โดยกองทัพบกออสเตรเลียจะสั่งจัดหารถเกราะ Hawkei จำนวน 1,100คัน ซึ่งอยู่ในชั้นยานยนต์เคลื่อนที่แบบมีการป้องกันขนาดเบา (light protected mobility vehicle)
ซึ่งรถเกราะ Hawkei ใช้ตัวถังแบบตัว V ที่สามารถป้องกันและลดระดับความเสียหายของกำลังพลภายในรถจากแรงระเบิดของกับระเบิดแสวงเครื่องได้
อีกทั้งรถเกราะ Hawkei ยังสามารถติดตั้งระบบอาวุธทั้งปืนกลหนักและเครื่องยิงลูกระเบิดได้ และมีน้ำหนักเบาพอที่จะขนย้ายด้วยเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง Chinook ด้วย
นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย นาย Malcolm Turnbull และรัฐมนตรีกลาโหมออสเตรเลีย นาง Marise Payne ได้แถลงการประกาศที่โรงงานทดสอบที่ Monegeetta ตอนเหนือของ Melbourne รัฐ Victoria ว่า
การจัดหาดังกล่าวจะเป็นการเพิ่มงานมากกว่า 170ตำแหน่ง และเป็นการคงสถานะของออสเตรเลียในฐานะผู้นำ Technology ด้านการขนส่งทางทหาร
กำลังพลทั้งชายและหญิงที่ประจำการในกองทัพออสเตรเลียก็ได้รับมอบยุทโธปกรณ์ที่ดีที่สุดเพื่อภารกิจในการป้องกันประเทศปกป้องผลประโยชน์ของชาติ
ซึ่งรถเกราะ Hawkei นั้นมีขนาดเล็กกว่ารถเกราะลำเลียงพล Bushmaster ของ Thales Australia ซึ่งกองทัพออสเตรเลียได้จัดหามาก่อนหน้านี้เพื่อใช้ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงภัยสูงมาก
และได้รับความสนใจจัดหาจากหลายประเทศ เช่น สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น และจาไมกา โดยทั้งรถเกราะ Bushmaster และรถเกราะ Hawkei นั้นมีสายการผลิตที่โรงงานของ Thales Australia ใน Bendigo รัฐ Victoria
Thales Australia ได้เข้าโครงการแข่งขันจัดหารถยนต์บรรทุกทดแทนรถยนต์บรรทุก Land Rover ของกองทัพออสเตรเลียตั้งแต่เดือนธันวาคม 2011 และมีการส่งรถเกราะ Hawkei คันต้นแบบแข่งขันกับรถเกราะ 4x4 แบบอื่น
เช่น Force Protection Ocelot(รถเกราะ Foxhound ในกองทัพสหราชอาณาจักร) และ Eagle 1V ของ General Dynamics Land Systems-Australia
ซึ่งได้มีการทดสอบตามขั้นตอนของโครงการจนถึงวันที่มีการประกาศเลือกแบบเมื่อวันที่ 5 ตุลาคมที่ผ่านมา
ทั้งนี้การที่รัฐบาลออสเตรเลียเลือกแบบรถเกราะ Hawkei นั้นจะเป็นการสร้างตำแหน่งงานและเงินหมุนเวียนภายท้องถิ่นของรัฐ Victoria ไม่ต่ำกว่า $1 billion
คาดว่ารถเกราะ Hawkei ชุดนำร่องจะประกอบเสร็จจากโรงงานในต้นปี 2016 ตามรถชุดแรกจะส่งมอบจริงในสิ้นปี 2017 และเข้าสู่สายผลิตเต็มอัตราในปี 2018 ครับ
สวีเดนรับมอบปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง Archer ในสายการผลิตจริงชุดแรก
Sweden receives first series-produced Archer SPA
BAE Systems has delivered the first series-production Archer SPA to Sweden. Source: FMV
http://www.janes.com/article/54987/sweden-receives-first-series-produced-archer-spa
กองทัพบกสวีเดนเริ่มได้การรับมอบปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง FH-77 BW L52 Archer ขนาด 155mm/52cal บนรถบรรทุก 6x6 Volvo A30D จาก BAE Systems
ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายนที่ผ่านมา เป็นเวลาสองปีนับตั้งแต่ระบบแรกที่ประกอบก่อนเปิดสายการผลิตจริงถูกส่งมอบในเดือนกันยายน ปี 2013
สวีเดนได้สั่งจัดหาระบบปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง Archer จำนวน 24ระบบเพื่อทดแทนปืนใหญ่ลากจูง Haubits 77B (FH-77B) ขนาด 155mm
เดิมทีเป็นโครงการร่วมระหว่างสวีเดนและนอร์เวย์ที่ลงนามสัญญาจัดหาร่วมกันในเดือนมีนาคม ปี 2010 แต่เกิดความล่าช้าเนื่องมาหลายครั้ง
จนนอร์เวย์ถอนตัวจากการจัดหา ปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง Archer จำนวน 24ระบบของตนไปเมื่อเดือนธันวาคมปี 2013 และตั้งโครงการจัดหาปืนใหญ่อัตตาจรใหม่ตามที่เคยรายงานไป
รวมการยกเลิกการพิจารณาจัดหาของโครเอเชียที่เลือก PzH 2000 มือสอง 12ระบบจากเยอรมนีแทนด้วยครับ
BAE Systems has delivered the first series-production Archer SPA to Sweden. Source: FMV
http://www.janes.com/article/54987/sweden-receives-first-series-produced-archer-spa
กองทัพบกสวีเดนเริ่มได้การรับมอบปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง FH-77 BW L52 Archer ขนาด 155mm/52cal บนรถบรรทุก 6x6 Volvo A30D จาก BAE Systems
ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายนที่ผ่านมา เป็นเวลาสองปีนับตั้งแต่ระบบแรกที่ประกอบก่อนเปิดสายการผลิตจริงถูกส่งมอบในเดือนกันยายน ปี 2013
สวีเดนได้สั่งจัดหาระบบปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง Archer จำนวน 24ระบบเพื่อทดแทนปืนใหญ่ลากจูง Haubits 77B (FH-77B) ขนาด 155mm
เดิมทีเป็นโครงการร่วมระหว่างสวีเดนและนอร์เวย์ที่ลงนามสัญญาจัดหาร่วมกันในเดือนมีนาคม ปี 2010 แต่เกิดความล่าช้าเนื่องมาหลายครั้ง
จนนอร์เวย์ถอนตัวจากการจัดหา ปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง Archer จำนวน 24ระบบของตนไปเมื่อเดือนธันวาคมปี 2013 และตั้งโครงการจัดหาปืนใหญ่อัตตาจรใหม่ตามที่เคยรายงานไป
รวมการยกเลิกการพิจารณาจัดหาของโครเอเชียที่เลือก PzH 2000 มือสอง 12ระบบจากเยอรมนีแทนด้วยครับ
วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2558
กองทัพบกไทยเปิดตัวปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง ATMG หรือ ATMOS
Thailand unveils new 155 mm ATMOS self-propelled howitzer mounted on a TATRA 6x6 truck
Elbit Systems ATMOS 155 mm
http://www.armyrecognition.com/october_2015_global_defense_security_news_uk/thailand_unveils_new_155_mm_atmos_self-propulled_howitzer_mounted_on_a_tatra_6x6_truck_402102015.html
ตามที่ได้เคยรายงานไปก่อนหน้านี้ว่าเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา กองทัพบกไทยได้เปิดตัวระบบปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง ATMG หรือ ATMOS ขนาด 155mm/52cal ติดตั้งบนแคร่ฐานรถบรรทุก Tatra T815-7 6x6 ขนาด 10tons ของสาธารณรัฐเชค
ซึ่งกองทัพบกไทยได้ลงนามสัญญาจัดหาจาก Elbit Systems อิสราเอล ในการถ่ายทอด Technology ให้กับศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร (ศอว.ศอพท.) เพื่อการประกอบในไทย
โดยคาดว่าจะเข้าประจำการใน กองพันทหารปืนใหญ่ที่๗๒๑ กองพลทหารปืนใหญ่ แทนปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน ปกค.๓๗ M109A5 ขนาด 155mm ซึ่งย้ายไปประจำการที่กองพันทหารปืนใหญ่ที่๑๒ รักษาพระองค์ กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์
ทั้งนี้ตามแผนการจะมีการสร้างปืนใหญ่อัตตาจล้อยาง ATMG สองระยะคือ ปีงบประมาณ ๒๕๕๘ ๖ระบบ ส่งมอบภายในปีนี้ และปีงบประมาณ ๒๕๕๙ อีก ๖ระบบ รวม ๑๒ระบบ
ซึ่งคาดว่าจะเข้าประจำการใน กองพันทหารปืนใหญ่ที่๗๒๑ รวมกับระบบปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง Caesar จำนวน ๖ระบบที่จัดหามาก่อนหน้านี้เพื่อให้ครบอัตราหนึ่งกองพัน ๑๘ระบบครับ
Elbit Systems ATMOS 155 mm
http://www.armyrecognition.com/october_2015_global_defense_security_news_uk/thailand_unveils_new_155_mm_atmos_self-propulled_howitzer_mounted_on_a_tatra_6x6_truck_402102015.html
ตามที่ได้เคยรายงานไปก่อนหน้านี้ว่าเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา กองทัพบกไทยได้เปิดตัวระบบปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง ATMG หรือ ATMOS ขนาด 155mm/52cal ติดตั้งบนแคร่ฐานรถบรรทุก Tatra T815-7 6x6 ขนาด 10tons ของสาธารณรัฐเชค
ซึ่งกองทัพบกไทยได้ลงนามสัญญาจัดหาจาก Elbit Systems อิสราเอล ในการถ่ายทอด Technology ให้กับศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร (ศอว.ศอพท.) เพื่อการประกอบในไทย
โดยคาดว่าจะเข้าประจำการใน กองพันทหารปืนใหญ่ที่๗๒๑ กองพลทหารปืนใหญ่ แทนปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน ปกค.๓๗ M109A5 ขนาด 155mm ซึ่งย้ายไปประจำการที่กองพันทหารปืนใหญ่ที่๑๒ รักษาพระองค์ กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์
ทั้งนี้ตามแผนการจะมีการสร้างปืนใหญ่อัตตาจล้อยาง ATMG สองระยะคือ ปีงบประมาณ ๒๕๕๘ ๖ระบบ ส่งมอบภายในปีนี้ และปีงบประมาณ ๒๕๕๙ อีก ๖ระบบ รวม ๑๒ระบบ
ซึ่งคาดว่าจะเข้าประจำการใน กองพันทหารปืนใหญ่ที่๗๒๑ รวมกับระบบปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง Caesar จำนวน ๖ระบบที่จัดหามาก่อนหน้านี้เพื่อให้ครบอัตราหนึ่งกองพัน ๑๘ระบบครับ
กองทัพเรือฟินแลนด์เริ่มโครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งใหม่ และวีดิทัศน์ประชาสัมพันธ์กองทัพฟินแลนด์
FNS Porvoo Rauma-class missile boat(wikipedia.org)
FNS Hameenmaa minelayer(wikipedia.org)
Finland begins Squadron 2020 OPV programme
Concept image of the Finnish Navy's planned new 'Laivue 2020' (Squadron 2020) vessels, four of which will replace the country's existing Rauma-class and Hameenmaa-class vessels. Source: Finnish MoD
http://www.janes.com/article/54985/finland-begins-squadron-2020-opv-programme
กองทัพเรือฟินแลนด์เริ่มตั้งโครงการ Laivue 2020 (Squadron 2020) ซึ่งเป็นโครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งเอนกประสงค์ (OPV: Offshore Patrol Vessels)
โดยเรือตรวจการไกลฝั่งใหม่นี้จะเข้าประจำการแทนเรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีชั้น Rauma และเรือวางทุ่นระเบิดชั้น Hameenmaa ที่มีกำหนดปลดประจำการช่วงกลางปี 2020s
ซึ่งเรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีชั้น Rauma ทั้ง 4ลำ ประกอบด้วย FNS Rauma, FNS Raahe, FNS Porvoo และ FNS Naantali ซึ่งเข้าประจำการในช่วงปี 1990-1992
และเรือวางทุ่นระเบิดชั้น Hameenmaa ทั้ง 2ลำ คือ FNS Hameenmaa และ FNS Uusimaa ซึ่งเข้าประจำการในปี 1992 และได้รับการปรับปรุงใหม่ช่วงปี 2006-2008 นั้น
ตามข้อมูลของกระทรวงกลาโหมฟินแลนด์เรือทั้งสองชั้นนี้ไม่สามารถจะยืดอายุการใช้งานได้มากว่านี้แล้วด้วยเหตุผลด้านค่าใช้จ่าย
ทั้งนี้โฆษกกระทรวงกลาโหมฟินแลนด์ได้ให้ข้อมูลกับ Jane's ว่ากำหนดเวลาที่แน่นอนของช่วงกำหนดการหลักที่แตกต่างกันจะถูกกำหนดในขั้นตอนของโครงการ
แต่ขั้นแรกการขั้นตอนการส่งเอกสารการข้อข้อมูล (RFI: Request For Information) จะมีขึ้นในช่วงปี 2015-2016 และการก่อสร้างเรือคาดว่าจะเริ่มขึ้นในปี 2019-2024
เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งตามโครงการ Laivue 2020 ของกองเรือฟินแลนด์นี้จะเป็นเรือรบเอนกประสงค์อย่างแท้จริง โดยมีขีดความสามารถทั้งการต่อต้านเรือผิวน้ำ ต่อต้านเรือดำน้ำ ต่อต้านอากาศยาน และการวางทุ่นระเบิด
ทั้งในเขตทะเล Baltic รวมถึงปฏิบัติการร่วมเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจจัดการวิกฤตการณ์ระดับนานาชาติ ซึ่งกระทรวงกลาโหมฟินแลนด์ประเมินว่าจะใช้งบประมาณสำหรับเรือใหม่นี้ที่ราว 1.2 billion Euros ครับ
วีดิทัศน์แสดงขีดความสามารถกองทัพฟินแลนด์(Finnish Defence Forces) เพื่อประชาสัมพันธ์ในงานแสดงด้านความมั่นคงที่จัดขึ้นที่ Tampere ระหว่าง 4-6 กันยายน 2015
ในวีดิทัศน์จะเห็นปฏิบัติการของชุดทหารราบขนาดเล็กและยุทโธปกรณ์ต่างๆของกองทัพบกฟินแลนด์ในการต่อต้านการรุกรานของกองกำลังฝ่ายตรงข้าม เช่น
อาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง PSTOHJ 2000 (Spike-MR), อาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง 102 RSLPSTOHJ NLAW ,อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ ITO 15 (FIM-92F Stinger) และรถถังหลัก Leoprad 2A4 เป็นต้นครับ
FNS Hameenmaa minelayer(wikipedia.org)
Finland begins Squadron 2020 OPV programme
Concept image of the Finnish Navy's planned new 'Laivue 2020' (Squadron 2020) vessels, four of which will replace the country's existing Rauma-class and Hameenmaa-class vessels. Source: Finnish MoD
http://www.janes.com/article/54985/finland-begins-squadron-2020-opv-programme
กองทัพเรือฟินแลนด์เริ่มตั้งโครงการ Laivue 2020 (Squadron 2020) ซึ่งเป็นโครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งเอนกประสงค์ (OPV: Offshore Patrol Vessels)
โดยเรือตรวจการไกลฝั่งใหม่นี้จะเข้าประจำการแทนเรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีชั้น Rauma และเรือวางทุ่นระเบิดชั้น Hameenmaa ที่มีกำหนดปลดประจำการช่วงกลางปี 2020s
ซึ่งเรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีชั้น Rauma ทั้ง 4ลำ ประกอบด้วย FNS Rauma, FNS Raahe, FNS Porvoo และ FNS Naantali ซึ่งเข้าประจำการในช่วงปี 1990-1992
และเรือวางทุ่นระเบิดชั้น Hameenmaa ทั้ง 2ลำ คือ FNS Hameenmaa และ FNS Uusimaa ซึ่งเข้าประจำการในปี 1992 และได้รับการปรับปรุงใหม่ช่วงปี 2006-2008 นั้น
ตามข้อมูลของกระทรวงกลาโหมฟินแลนด์เรือทั้งสองชั้นนี้ไม่สามารถจะยืดอายุการใช้งานได้มากว่านี้แล้วด้วยเหตุผลด้านค่าใช้จ่าย
ทั้งนี้โฆษกกระทรวงกลาโหมฟินแลนด์ได้ให้ข้อมูลกับ Jane's ว่ากำหนดเวลาที่แน่นอนของช่วงกำหนดการหลักที่แตกต่างกันจะถูกกำหนดในขั้นตอนของโครงการ
แต่ขั้นแรกการขั้นตอนการส่งเอกสารการข้อข้อมูล (RFI: Request For Information) จะมีขึ้นในช่วงปี 2015-2016 และการก่อสร้างเรือคาดว่าจะเริ่มขึ้นในปี 2019-2024
เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งตามโครงการ Laivue 2020 ของกองเรือฟินแลนด์นี้จะเป็นเรือรบเอนกประสงค์อย่างแท้จริง โดยมีขีดความสามารถทั้งการต่อต้านเรือผิวน้ำ ต่อต้านเรือดำน้ำ ต่อต้านอากาศยาน และการวางทุ่นระเบิด
ทั้งในเขตทะเล Baltic รวมถึงปฏิบัติการร่วมเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจจัดการวิกฤตการณ์ระดับนานาชาติ ซึ่งกระทรวงกลาโหมฟินแลนด์ประเมินว่าจะใช้งบประมาณสำหรับเรือใหม่นี้ที่ราว 1.2 billion Euros ครับ
วีดิทัศน์แสดงขีดความสามารถกองทัพฟินแลนด์(Finnish Defence Forces) เพื่อประชาสัมพันธ์ในงานแสดงด้านความมั่นคงที่จัดขึ้นที่ Tampere ระหว่าง 4-6 กันยายน 2015
ในวีดิทัศน์จะเห็นปฏิบัติการของชุดทหารราบขนาดเล็กและยุทโธปกรณ์ต่างๆของกองทัพบกฟินแลนด์ในการต่อต้านการรุกรานของกองกำลังฝ่ายตรงข้าม เช่น
อาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง PSTOHJ 2000 (Spike-MR), อาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง 102 RSLPSTOHJ NLAW ,อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ ITO 15 (FIM-92F Stinger) และรถถังหลัก Leoprad 2A4 เป็นต้นครับ
วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2558
ลิทัวเนียจัดหาปืนใหญ่อัตตาจร PzH 2000 จากเยอรมนี
Lithuania orders German PzH 2000s
Lithuania has ordered 21 PzH 2000 SPAs from Germany, of which 16 will be used operationally by the Iron Wolf Brigade's artillery battalion, with the remainder for spares and training. Source: Bundeswehr
http://www.janes.com/article/54876/lithuania-orders-german-pzh-2000s
วันที่ 29 กันยายน ที่ผ่านมา ลิทัวเนียได้ลงนามสัญญากับเยอรมนีในการจัดหาปืนใหญ่อัตตาจรสายพานขนาด 155mm แบบ Panzerhaubitze 2000 (PzH 2000) จำนวน 21ระบบ วงเงิน 58.3 million Euros
โดยปืนใหญ่อัตตาจร PzH 2000 ที่จะจัดหานี้เดิมเป็นระบบที่เคยประจำการในกองทัพบกเยอรมนีมาก่อน ซึ่งกองทัพบกลิทัวเนียจะนำเข้าประจำการที่ กองพันทหารปืนใหญ่ General Romualdas Giedraitis
ทั้งนี้กองพันทหารปืนใหญ่ลิทัวเนียจะประจำการปืนใหญ๋อัตตาจร PzH 2000 16ระบบ อีก3ระบบเป็นอะไหล่ อีกหนึ่งระบบใช้ฝึกพลประจำปืน และอีกหนึ่งระบบใช้ฝึกพลขับ
นอกจากปืนใหญ่อัตตาจร PzH 2000 แล้วลิทัวเนียยังได้จัดหารถสนับสนุนอีก 32คันเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาการจัดซื้อด้วย
แบ่งเป็นรถสายพานที่บังคับการแบบ M577A2 จำนวน 26คัน(มีพื้นฐานจากรถสายพานลำเลียง M113) และรถกู้ซ้อม Bergepanzer 2 (BPZ-2) อีก 6คัน(ใช้พื้นฐานแคร่รถจากรถถังหลัก Leopard 1)
ตามกำหนดการของกระทรวงกลาโหมลิทัวเนีย ปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน PzH 2000 ระบบแรกจะถูกส่งมอบในปี 2016 ตามด้วยระบบอุปกรณ์ทั้งหมดในปี 2019
จากวงเงินในโครงการจัดหา 58.3 million Euros นั้นวงเงินจำนวน 16.2 million Euros จะถูกจ่ายให้กระทรวงกลาโหมเยอรมนีสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายอุปกรณ์ของตัวเอง
ที่เหลืออีก 42.1 million Euros จะถูกใช้เป็นค่าปรับปรุงระบบยุทโธปกรณ์ที่เก็บสำรองไว้ รวมถึงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและการฝึกสำหรับรองรับระบบใหม่ งานการปรับปรุงดังกล่าวจะรวมถึงการติดตั้งระบบบริหารจัดการสนามรบ และอุปกรณ์สื่อสารด้วย
โดยกองทัพบกเยอรมนีจะสนับสนุนโครงการนี้ด้วยการช่วยเหลือทาง Technic และฝึกกำลังพลของกองทัพบกลิทัวเนียที่โรงเรียนปืนใหญ่ของกองทัพเยอรมนีใน Idar-Oberstein
ปัจจุบันกองพันทหารปืนใหญ่ General Romualdas Giedraitis กองทัพบกลิทัวเนียยังคงประจำการด้วยปืนใหญ่วิถีโค้งลากจูงขนาด 105mm แบบ M101 ซึ่งจัดหาแบบมือสองมาจากเดนมาร์กตามข้อตกลงความมั่นคงร่วมช่วงต้นปี 2000s
ซึ่งทางกระทรวงกลาโหมลิทัวเนียกล่าวว่าปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน PzH 2000 ที่จะจัดหามานั้นมีระยะไกลสุด 40km ซึ่งเหนือกว่าปืนใหญ่ลากจูง M101 ที่มีระยะยิงเพียง 11km
Lithuania plans 35% increase in 2016 defence budget
Lithuania's defence budget (2007-16) (IHS)
http://www.janes.com/article/54928/lithuania-plans-35-increase-in-2016-defence-budget
ทั้งนี้ตามแผนจัดการงบประมาณประเทศของรัฐบาลลิทัวเนียที่ออกมาเมื่อวันที่ 28 กันยายนที่ผ่านมานั้น จะมีการเพิ่มงบประมาณกลาโหมในปีงบประมาณ 2016 อีกร้อยละ 35.2 คิดเป็นวงเงินราว 574 million Euros
คิดเป็นร้อยละ 1.5 จากผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ(GDP: Gross Domestic Product) เพิ่มจากร้อยละ 1.1 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศในปีงบประมาณ 2015
โดยนับตั้งแต่การประกาศของรัฐบาลลิทัวเนียภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี Algirdas Butkevicius ซึ่งมีข้อตกลงร่วมกับพรรคการเมืองในสภาว่างบประมาณกลาโหมลิทัวเนียจะเพิ่มเป็นร้อยละ 2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศภายในปี 2020
ซึ่งร้อยละ 50 ของบประมาณกลาโหมจะถูกใช้ครอบคลุมในการฟื้นระบบการเกณฑ์ทหารกองประจำการสำหรับกองทัพลิทัวเนีย โดยจะมียอดกำลังพลสำหรับรับใช้ชาติราว 3,00-3,500นาย เป็นเวลา 9เดือน
และอีกร้อยละ 20 จะเป็นงบประมาณในการจัดหายุทโธปกรณ์ใหม่ ซึ่งนอกจากปืนใหญ่อัตตาจร PzH 2000 แล้วกองทัพลิทัวเนียยังมีความต้องการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์อื่นในระยะสั้นอีกเป็๋นจำนวนมาก
เช่น รถรบทหารราบใหม่ ระบบอาวุธต่อสู้รถถัง ระบบต่อสู้อากาศยาน ระบบสื่อสาร และระบบตรวจการณ์น่านฟ้าเป็นต้น
เพื่อเป็นการตอบสนองต่อภัยคุกคามจากกองทัพรัสเซียในกลุ่มประเทศ Baltic สมาชิก NATO ทั้งลิทัวเนีย เอสโตเนีย แลทเวีย ที่รุนแรงมากขึ้นนับตั้งแต่การเข้าผนวก Crimea และแทรกแซงสงครามในเขต Donbass ตั้งแต่ปี 2014 ครับ
Lithuania has ordered 21 PzH 2000 SPAs from Germany, of which 16 will be used operationally by the Iron Wolf Brigade's artillery battalion, with the remainder for spares and training. Source: Bundeswehr
http://www.janes.com/article/54876/lithuania-orders-german-pzh-2000s
วันที่ 29 กันยายน ที่ผ่านมา ลิทัวเนียได้ลงนามสัญญากับเยอรมนีในการจัดหาปืนใหญ่อัตตาจรสายพานขนาด 155mm แบบ Panzerhaubitze 2000 (PzH 2000) จำนวน 21ระบบ วงเงิน 58.3 million Euros
โดยปืนใหญ่อัตตาจร PzH 2000 ที่จะจัดหานี้เดิมเป็นระบบที่เคยประจำการในกองทัพบกเยอรมนีมาก่อน ซึ่งกองทัพบกลิทัวเนียจะนำเข้าประจำการที่ กองพันทหารปืนใหญ่ General Romualdas Giedraitis
ทั้งนี้กองพันทหารปืนใหญ่ลิทัวเนียจะประจำการปืนใหญ๋อัตตาจร PzH 2000 16ระบบ อีก3ระบบเป็นอะไหล่ อีกหนึ่งระบบใช้ฝึกพลประจำปืน และอีกหนึ่งระบบใช้ฝึกพลขับ
นอกจากปืนใหญ่อัตตาจร PzH 2000 แล้วลิทัวเนียยังได้จัดหารถสนับสนุนอีก 32คันเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาการจัดซื้อด้วย
แบ่งเป็นรถสายพานที่บังคับการแบบ M577A2 จำนวน 26คัน(มีพื้นฐานจากรถสายพานลำเลียง M113) และรถกู้ซ้อม Bergepanzer 2 (BPZ-2) อีก 6คัน(ใช้พื้นฐานแคร่รถจากรถถังหลัก Leopard 1)
ตามกำหนดการของกระทรวงกลาโหมลิทัวเนีย ปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน PzH 2000 ระบบแรกจะถูกส่งมอบในปี 2016 ตามด้วยระบบอุปกรณ์ทั้งหมดในปี 2019
จากวงเงินในโครงการจัดหา 58.3 million Euros นั้นวงเงินจำนวน 16.2 million Euros จะถูกจ่ายให้กระทรวงกลาโหมเยอรมนีสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายอุปกรณ์ของตัวเอง
ที่เหลืออีก 42.1 million Euros จะถูกใช้เป็นค่าปรับปรุงระบบยุทโธปกรณ์ที่เก็บสำรองไว้ รวมถึงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและการฝึกสำหรับรองรับระบบใหม่ งานการปรับปรุงดังกล่าวจะรวมถึงการติดตั้งระบบบริหารจัดการสนามรบ และอุปกรณ์สื่อสารด้วย
โดยกองทัพบกเยอรมนีจะสนับสนุนโครงการนี้ด้วยการช่วยเหลือทาง Technic และฝึกกำลังพลของกองทัพบกลิทัวเนียที่โรงเรียนปืนใหญ่ของกองทัพเยอรมนีใน Idar-Oberstein
ปัจจุบันกองพันทหารปืนใหญ่ General Romualdas Giedraitis กองทัพบกลิทัวเนียยังคงประจำการด้วยปืนใหญ่วิถีโค้งลากจูงขนาด 105mm แบบ M101 ซึ่งจัดหาแบบมือสองมาจากเดนมาร์กตามข้อตกลงความมั่นคงร่วมช่วงต้นปี 2000s
ซึ่งทางกระทรวงกลาโหมลิทัวเนียกล่าวว่าปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน PzH 2000 ที่จะจัดหามานั้นมีระยะไกลสุด 40km ซึ่งเหนือกว่าปืนใหญ่ลากจูง M101 ที่มีระยะยิงเพียง 11km
Lithuania plans 35% increase in 2016 defence budget
Lithuania's defence budget (2007-16) (IHS)
http://www.janes.com/article/54928/lithuania-plans-35-increase-in-2016-defence-budget
ทั้งนี้ตามแผนจัดการงบประมาณประเทศของรัฐบาลลิทัวเนียที่ออกมาเมื่อวันที่ 28 กันยายนที่ผ่านมานั้น จะมีการเพิ่มงบประมาณกลาโหมในปีงบประมาณ 2016 อีกร้อยละ 35.2 คิดเป็นวงเงินราว 574 million Euros
คิดเป็นร้อยละ 1.5 จากผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ(GDP: Gross Domestic Product) เพิ่มจากร้อยละ 1.1 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศในปีงบประมาณ 2015
โดยนับตั้งแต่การประกาศของรัฐบาลลิทัวเนียภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี Algirdas Butkevicius ซึ่งมีข้อตกลงร่วมกับพรรคการเมืองในสภาว่างบประมาณกลาโหมลิทัวเนียจะเพิ่มเป็นร้อยละ 2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศภายในปี 2020
ซึ่งร้อยละ 50 ของบประมาณกลาโหมจะถูกใช้ครอบคลุมในการฟื้นระบบการเกณฑ์ทหารกองประจำการสำหรับกองทัพลิทัวเนีย โดยจะมียอดกำลังพลสำหรับรับใช้ชาติราว 3,00-3,500นาย เป็นเวลา 9เดือน
และอีกร้อยละ 20 จะเป็นงบประมาณในการจัดหายุทโธปกรณ์ใหม่ ซึ่งนอกจากปืนใหญ่อัตตาจร PzH 2000 แล้วกองทัพลิทัวเนียยังมีความต้องการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์อื่นในระยะสั้นอีกเป็๋นจำนวนมาก
เช่น รถรบทหารราบใหม่ ระบบอาวุธต่อสู้รถถัง ระบบต่อสู้อากาศยาน ระบบสื่อสาร และระบบตรวจการณ์น่านฟ้าเป็นต้น
เพื่อเป็นการตอบสนองต่อภัยคุกคามจากกองทัพรัสเซียในกลุ่มประเทศ Baltic สมาชิก NATO ทั้งลิทัวเนีย เอสโตเนีย แลทเวีย ที่รุนแรงมากขึ้นนับตั้งแต่การเข้าผนวก Crimea และแทรกแซงสงครามในเขต Donbass ตั้งแต่ปี 2014 ครับ
วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558
ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๕๘-๔
เดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๕๘ ที่ผ่านมาเป็นเดือนสุดท้ายของปีงบประมาณ ๒๕๕๘ ดังนั้นข่าวการจัดหายุทโธปกรณ์ในเดือนกันยายนที่ผ่านมาจึงมีข่าวใหม่ออกมามากพอสมควรครับ
https://www.facebook.com/dtithailand/posts/494896260670379
https://www.facebook.com/dtithailand/videos/496700107156661/
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา DTI ร่วมกับบริษัท ปรีชาถาวรอุตสาหกรรม และศูนย์การทหารราบ กองทัพบก ได้ทำการทดสอบคุณสมบัติเกราะกันระเบิด (Mine Blast Test) ของยานเกราะล้อยาง BWS 8x8
โดยทำการจุดระเบิดน้ำหนัก 6 กิโลกรัมที่ตำแหน่งกึ่งกลางใต้ท้องรถ และใต้ล้อ เพื่อทดสอบว่าเกราะและตัวถังของยานเกราะที่ออกแบบมานั้นสามารถกันการระเบิดตามที่ออกแบบไว้ได้หรือไม่
ซึ่งเป็นการทดสอบตามมาตรฐาน AEP-55 V.2 Edition 1 (STANAG 4569 Level 2a และ 2b) ของกลุ่มประเทศ NATO โดยผลการทดสอบประสบความสำเร็จด้วยดี
เริ่มจากในส่วนของโครงการยานเกราะล้อยางแห่งชาติ DTI BWS 8x8 Black Widow Spider ซึ่งสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ(Defence Technology Institute) ร่วมกับ บริษัท ปรีชาถาวรอุตสาหกรรม พัฒนาขึ้นมานั้น
ก็ได้มีการเปิดตัวรถต้นแบบจริงและมีการทดสอบระบบตัวรถและขีดความสามารถของเกราะไปแล้ว
รถเกราะล้อยาง DTI BWS 8x8 Black Widow Spider จะมีการนำมาเปิดตัวแสดงอย่างเป็นทางการในงาน Defense & Security 2015 ระหว่างวันที่ ๒-๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ณ IMPACT Exhibition Center เมืองทองธานีครับ
https://www.facebook.com/dtithailand/posts/494896260670379
https://www.facebook.com/dtithailand/videos/496700107156661/
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา DTI ร่วมกับบริษัท ปรีชาถาวรอุตสาหกรรม และศูนย์การทหารราบ กองทัพบก ได้ทำการทดสอบคุณสมบัติเกราะกันระเบิด (Mine Blast Test) ของยานเกราะล้อยาง BWS 8x8
โดยทำการจุดระเบิดน้ำหนัก 6 กิโลกรัมที่ตำแหน่งกึ่งกลางใต้ท้องรถ และใต้ล้อ เพื่อทดสอบว่าเกราะและตัวถังของยานเกราะที่ออกแบบมานั้นสามารถกันการระเบิดตามที่ออกแบบไว้ได้หรือไม่
ซึ่งเป็นการทดสอบตามมาตรฐาน AEP-55 V.2 Edition 1 (STANAG 4569 Level 2a และ 2b) ของกลุ่มประเทศ NATO โดยผลการทดสอบประสบความสำเร็จด้วยดี
เริ่มจากในส่วนของโครงการยานเกราะล้อยางแห่งชาติ DTI BWS 8x8 Black Widow Spider ซึ่งสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ(Defence Technology Institute) ร่วมกับ บริษัท ปรีชาถาวรอุตสาหกรรม พัฒนาขึ้นมานั้น
ก็ได้มีการเปิดตัวรถต้นแบบจริงและมีการทดสอบระบบตัวรถและขีดความสามารถของเกราะไปแล้ว
รถเกราะล้อยาง DTI BWS 8x8 Black Widow Spider จะมีการนำมาเปิดตัวแสดงอย่างเป็นทางการในงาน Defense & Security 2015 ระหว่างวันที่ ๒-๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ณ IMPACT Exhibition Center เมืองทองธานีครับ
DSEI 2015: Royal Thai Army orders additional Starstreak systems
ในส่วนของกองทัพบก บริษัท Thales ได้ให้ข้อมูลต่อสื่อในงาน DSEI 2015 ที่ London เมื่อเดือนที่ผ่านมาว่าได้รับการสั่งจัดหาระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้ Starstreak เพิ่มเติมจากกองทัพบกไทย
โดยเป็นการสั่งซื้อร่วมกับบริษัท DataGate ที่เป็นตัวแทนจัดจำหน่ายระบบของไทย แต่ไม่มีการให้รายละเอียดจำนวนและวงเงิน โดยคาดว่าจะมีกำหนดส่งมอบระบบ Starstreak ชุดใหม่ได้ในปี ๒๕๕๙-๒๕๖๐
กองทัพบกไทยได้มีการจัดหาระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้ Starstreak ชุดแรก ๘ชุดยิงพร้อมจรวด ๘๐นัด ในปี ๒๕๕๕ วงเงิน ๓๗๘ล้านบาท($12 million) ทดแทน ปตอ.12.7mm (M2 .50cal ติดแท่นยิงต่อสู้อากาศยาน)
ซึ่งมีการนำแท่นยิงไปติดตั้งกับรถยนต์บรรทุก 4x4 รยบ.๕๐ เป็นระบบอัตราจร ที่ไทยสร้างเอง ในส่วนของกองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่๑ เป็นต้น
DSEI 2015: Malaysia inks contract for Starstreak
ทั้งนี้ในงาน DSEI 2015 เช่นเดียวกัน Thales ได้ประกาศว่ากองทัพบกมาเลเซียได้ลงนาสัญญาจัดหาระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้ Starstreak เช่นกัน
เพื่อนำเข้าประการแทนระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้ Starburst ที่ผลิตมาตั้งแต่ปี 1993 ซึ่งจะปลดประจำการลงในอนาคตอันใกล้
แต่ก็เช่นเดียวกับสัญญาของกองทัพบกไทยที่ Thales ไม่เปิดเผยรายละเอียดจำนวนและวงเงิน แต่คาดว่าน่าจะอยู่ที่ราวเกือบ 100 million Pound ($154 million)
ซึ่งกองทัพบกสิงคโปร์มีแผนที่จะนำระบบแท่นยิง Starstreak ไปติดตั้งกับรถยนต์บรรทุก 4x4 ของ Global Komited ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ Weststar มาเลเซียเองด้วย
อีกส่วนคือโครงการจัดหารถถังหลัก Oplot-T จำนวน ๔๙คัน สำหรับกองพันทหารม้าที่๒ กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์นั้น
ก็ตามที่เคยรายงานไปครับว่าทาง Ukroboronprom ยูเครนจะเร่งรัดให้โรงงานรถถัง Malyshev ผลิตรถถังหลัก Oplot ชุดใหม่อีก ๕คันให้ทันส่งมอบให้ไทยก่อนเส้นตายในสัญญา ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๘ นี้
แต่ก็นั่นละว่าถ้าดูจากประสบการณ์ที่ผ่านๆมาทั้งการจัดส่งรถเกราะล้อยาง 8x8 BTR-3E1 และ ถ.หลัก Oplot สองชุดก่อนหน้านี้ที่ล่าช้าแล้ว ทางยูเครนจะทำตามที่ว่าได้จริงหรือไม่ก็ไม่อาจทราบได้ครับ
ผู้บัญชาการทหารเรือร่วมลงนามในสัญญาซื้อขายแบบและพัสดุ สำหรับสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง
พลเรือเอก ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ และ นาวาเอก พิชเยนทร์ ตันประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัทอู่กรุงเทพ จำกัด ร่วมลงนามในสัญญาซื้อขายแบบและพัสดุ สำหรับสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง
ณ ห้องรับรอง ชั้น ๒ กองบัญชาการกองทัพเรือ อาคารส่วนบัญชาการกองทัพเรือ พื้นที่วังนันทอุทยาน เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๘
โดยมี พลเรือเอก อนุทัย รัตตะรังสี ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพเรือ เป็นผู้ลงนามในฐานะพยานฝ่ายกองทัพเรือ และ พลเรือตรี เอกชัย ตรุศบรรจง รองผู้จัดการ (บริหาร) บริษัทอู่กรุงเทพ จำกัด เป็นผู้ลงนามในฐานะพยานฝ่ายบริษัทอิตัลไทย มารีน จำกัด
และมีนายทหารชั้นผู้ใหญ่กองทัพเรือและผู้แทนบริษัทอู่กรุงเทพ จำกัด เข้าร่วมพิธี
ผู้บัญชาการทหารเรือร่วมลงนามในสัญญาว่าจ้างสร้างเรือลากจูงขนาดกลาง
พลเรือเอก ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ และ นายวิรัตน์ ชนะสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อิตัลไทย มารีน จำกัด ร่วมลงนามในสัญญาจ้างสร้างเรือลากจูงขนาดกลาง
โดยมี พลเรือโท ไพฑูรย์ ประสพสิน รองเสนาธิการทหารเรือ เป็นผู้ลงนามในฐานะพยานฝ่ายกองทัพเรือ และ นายเชิดชัย ชาญวิทย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ผู้ลงนามในฐานะพยานฝ่ายบริษัท อิตัลไทย มารีน จำกัด
ณ ห้องรับรอง ชั้น ๒ กองบัญชาการกองทัพเรือ อาคารส่วนบัญชาการกองทัพเรือ พื้นที่วังนันทอุทยาน เขตบางกอกน้อย กรุงเทพ เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๘
ในส่วนของกองทัพเรือก็มีการลงนามสัญญาซื้อขายแบบและพัสดุสำหรับสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ชุด ร.ล.กระบี่ ลำที่สอง กับบริษัท อู่กรุงเทพ และเรือลากจูงขนาดกลาง กับบริษัท อิตัลไทย มารีน
โดยแบบแผนของเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งใหม่นี้จะเป็นการปรับปรุงเพิ่มเติมจาก ร.ล.กระบี่ ซึ่งบริษัท อู่กรุงเทพ ซื้อสิทธิบัตรแบบเรือจาก BAE Systems Surface Ships เช่นเดิม ในปีงบประมาณ ๒๕๕๘-๒๕๖๑ วงเงิน ๒,๘๕๐ล้านบาท
อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังไม่มีรายละเอียดข้อมูลของแบบเรือหรือแผนการก่อสร้างออกมาในขณะนี้ แต่จากเอกสารที่เคยหลุดออกมาเผยแพร่มีหลายๆอย่างที่พัฒนาปรับปรุงจากเรือ ตกก. ร.ล.กระบี่เดิมมากขึ้น
ตลอดทั้งเดือนกันยายนที่ผ่านมาซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายของปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๘ นั้นดูเหมือนว่าในการประชุมคณะรัฐมนตรีนั้นก็ไม่ได้มีวาระเรื่องโครงการจัดหาเรือดำน้ำของกองทัพเรือเข้าที่ประชุมแต่อย่างใด
ถ้าเป็นเช่นนั้นการผลักดันโครงการจัดหาเรือดำน้ำซึ่งคณะกรรมการของกองทัพเรือได้เลือกแบบเรือดำน้ำจีนแบบ S26T จำนวน ๓ลำ ก็คงต้องเป็นหน้าที่ของท่านผู้บัญชาการทหารเรือท่านใหม่ พลเรือเอก ณะ อารีนิจ ในปีงบประมาณต่อๆไปหลังจากนี้
อย่างไรก็ตามโดยความเห็นส่วนตัวแล้วคำถามที่ว่าเมื่อไรกองเรือดำน้ำจึงจะสามารถจะจัดหาเรือดำน้ำเข้าประจำการได้จริงๆเสียที อาจจะมีความยากพอๆกับคำถามว่าเมื่อไรฟุตบอลทีมชาติไทย(ชาย)จะได้ไปแข่ง FIFA World Cup ได้ครับ
กองทัพอากาศลงนามจัดซื้อเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นแบบ T-50TH กับบริษัท KAI สาธารณรัฐเกาหลี
เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๘ ที่กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง เสนาธิการทหารอากาศ ในฐานะประธานกรรมการจัดซื้อเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น
ได้เป็นผู้แทนกองทัพอากาศ ลงนามในสัญญาจัดซื้อเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นแบบ T-50TH จำนวน ๔ เครื่อง
พร้อมอะไหล่ขั้นต้น อุปกรณ์เครื่องมือที่จำเป็น การฝึกอบรมนักบินและ เจ้าหน้าที่เทคนิคที่เกี่ยวข้อง การถ่ายทอดเทคโนโลยีรวมทั้งข้อเสนอพิเศษ
กับ นาย Ha Sung Yong ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของบริษัท Korea Aerospace Industries (KAI) จำกัด
ในการจัดซื้อเครื่องบินดังกล่าวเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ ที่อนุมัติให้กองทัพอากาศดำเนินการจัดหาเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น (ระยะที่ ๑) ระยะเวลาดำเนินการ ๓ ปี
ตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๕๘ – ๒๕๖๐ และให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบอีกครั้งก่อนดำเนินการ ซึ่งกองทัพอากาศได้นำเรียนคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบผลการดำเนินการเมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๘
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้อนุมัติให้กองทัพอากาศดำเนินการจัดซื้อเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นตามโครงการ ฯ (ระยะที่๑) เมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๘
สำหรับเครื่องบินแบบ T-50TH เป็นเครื่องบินฝึกที่จะเข้ามาประจำการทดแทนเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่ ๑ (L-39) ของกองทัพอากาศที่มีแผนจะปลดประจำการซึ่งใช้งานมานาน มีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเพิ่มขึ้น และมีเทคโนโลยี ที่ล้าสมัย
ไม่สามารถฝึกนักบินให้ตอบสนองต่อความต้องการในการผลิตนักบินเพื่อไปปฏิบัติการบินกับเครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูงที่กองทัพอากาศได้จัดหามาแล้วและทำการปรับปรุง
คือ เครื่องบินขับไล่แบบที่ ๒๐ (Gripen 39 C/D) และเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๙ (F-16 MLU)
ทั้งนี้เครื่องบินแบบ T-50TH เป็นเครื่องบินฝึกสมรรถนะสูง ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เหมาะสมสำหรับการฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นให้สามารถปฏิบัติภารกิจกับเครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูงของกองทัพอากาศที่มีใช้งานในปัจจุบันต่อไปได้
มีระบบการฝึกอบรมและระบบสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจที่ทันสมัย ส่งผลให้การฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสามารถติดตั้งใช้งานระบบอาวุธที่กองทัพอากาศใช้งานในปัจจุบันได้
ทั้งนี้ในส่วนที่เป็นข้อเสนอพิเศษ ที่ประเทศไทยและกองทัพอากาศจะได้รับเพิ่มเติมได้แก่ ทุนการศึกษาในระดับปริญญาโท จำนวน ๘ ทุน และความร่วมมือ และการสนับสนุนในภาคอุตสาหกรรมการบิน ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อประเทศไทย
พลอากาศเอก มณฑล สัชฌุกร
โฆษกกองทัพอากาศ
๑๘ กันยายน ๒๕๕๘ เวลา ๑๔.๔๕ น.
ในส่วนของกองทัพอากาศก็มีการลงนามสัญญาจัดซื้อเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นแบบ T-50TH จาก KAI สาธารณรัฐเกาหลี ขั้นต้น ๔เครื่อง ตามที่เคยได้รายงานไปแล้ว
รัชต์ รัตนวิจารณ์
Royal Thai Air Force selects KAI T-50 as new jet trainer
ทั้งนี้ข่าวของ Jane's มีข้อมูลเพิ่มมาเล็กน้อยครับว่า การลงนามสัญญาจัดซื้อในขั้นสุดท้ายจะแบ่งเป็นสองส่วนภายในสิ้นปีนี้
นั่นอาจจะหมายความว่าการจัดงบประมาณในโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นแบบ จะถูกแบ่งใช้ไปตามช่วงปีงบประมาณคือตั้งแต่ งป.๒๕๕๘-งป.๒๕๖๐ หรือไม่
ซึ่งนี้อาจจะทำให้ข่าวของทางเกาหลีใต้ที่ระบุว่ากองทัพอากาศไทยอาจจะมีการจัดหา T-50TH เพิ่มเติมอีก ๒๐เครื่อง รวมเป็นอย่างน้อย ๒๔เครื่องมีความเป็นไปได้มากขึ้น
อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนออกมาจากกองทัพอากาศครับว่า จำนวนเครื่องทึ่จะจัดหาทั้งหมดว่ามีเท่าใด หรือรุ่นของ T-50TH ว่าเป็นเครื่องรุ่นใด
ตัวอย่างเช่น T-50I ของกองทัพอากาศอินโดนีเซียเป็นรุ่นฝึก T-50, T-50PH ของกองทัพอากาศฟิลิปปินส์เป็นรุ่นขับไล่ FA-50 และ T-50IQ ของกองทัพอากาศอิรักเป็นรุ่นโจมตี TA-50 เป็นต้น
คณะติดตามความก้าวหน้าโครงการปรับปรุงขีดความสามารถ บ.ข. ๑๘ ข/ค
พลอากาศโท สุทธิพงษ์ อินทรียงค์ รองเสนาธิการทหารอากาศ และคณะติดตามความก้าวหน้าโครงการปรับปรุง ขีดความสามารถ บ.ข. ๑๘ ข/ค (F-5E/F)
โดยมี นาวาอากาศเอก นิสิต โขเมษฐวัฒน์ ผู้บังคับการกองบิน ๒๑ ให้การต้อนรับ ระหว่างวันที่ ๒๔ - ๒๕ กันยายน ๒๕๕๘ ณ กองบิน ๒๑ จังหวัดอุบลราชธานี
ที่มา รัชต์ รัตนวิจารณ์
อีกส่วนคือโครงการปรับปรุงขีดความสามารถ บ.ข.๑๘ ข/ค(F-5E/F) ซึ่งปัจจุบันกองทัพอากาศมีประจำการที่ ฝูงบิน๒๑๑ กองบิน๒๑ อุบลราชธานี เพียงฝูงเดียวนั้น
ตามเอกสารที่ออกมาก่อนหน้านี้ถึงโครงการจ้างปรับปรุงโครงสร้างอากาศยานและระบบ Avionic รวมทั้งระบบอาวุธของ บ.ข.๑๘ ข/ค(F-5E/F) จำนวน๑๐เครื่อง วงเงิน ๒,๐๕๐ล้านบาท
ของกรมสรรพาวุธทหารอากาศที่มีการกำหนดราคากลางเมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๗ นั้น ก็มีการติดตามผลความคืบหน้าของโครงการปรับปรุงตามข้อมูลในต้น
ถึงแม้ว่าจะไม่มีรายละเอียดออกมาอย่างเป็นทางการ เช่นในส่วนของระบบ Radar ใหม่แทน AN/APQ-159 ที่ใช้อยู่เดิมตั้งแต่โครงการปรับปรุง F-5T Tigris มีปี พ.ศ.๒๕๔๕
รวมถึงหมวกนักบิน DASH รุ่นใหม่ และระบบอาวุธปล่อยนำวิถีรใหม่นอกจาก Python4 แล้ว ก็จะเห็นได้ว่ากองทัพอากาศมี่แผนที่จะปรับปรุงและยืดอายุการใช้งาน F-5E/F ต่อไปอีกยาวนานไม่ต่ำกว่า ๑๐ปีครับ