วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2559

ญี่ปุ่นเตรียมที่จะทำการบินครั้งแรกของเครื่องบินขับไล่ ATD-X เร็วๆนี้

Japan prepares for ATD-X maiden flight
The Mitsubishi Heavy Industries Advanced Technology Demonstrator - Experimental (ATD-X) fifth-generation fighter technology demonstrator being presented to Japanese media on 28 January.
A first flight is expected shortly. Source: JiJi Press/YouTube
http://www.janes.com/article/57537/japan-prepares-for-atd-x-maiden-flight


ญี่ปุ่นเตรียมจะดำเนินการทำการบินครั้งแรกของเครื่องบินขับไล่ยุคที่5ต้นแบบสาธิต Advanced Technology Demonstrator-Experimental(ATD-X) ซึ่งพัฒนาสร้างโดย Mitsubishi Heavy Industries ในเร็วๆนี้จากการเปิดตัวต่อสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 28 มกราคมที่ผ่านมา
ก่อนหน้าที่เครื่องบินขับไล่ ATD-X จะออกจากโรงงานเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2014 นั้นกำหนดการบินขึ้นครั้งแรกถูกตั้งไว้ที่เดือนมกราคม 2015 แต่ก็ต้องล้าช้าออกไปเนื่องจากปัญหาข้อบกพร่องของระบบชุดคำสั่งควบคุมการติดเครื่องยนต์ใหม่อัตโนมัติ
ขณะที่การเปิดตัวก่อนหน้านี้ที่ไม่มีการเชิญสื่อมวลชนเข้ามาทำข่าวต่างจากการเปิดตัวอย่างเป็นทางการต่อสื่อล่าสุดครั้งนี้ที่โรงงาน Mitsubishi Heavy Industries ที่ Komaki ทำให้มีข้อสังเกตุว่าความเชื่อมั่นในตัวโครงการ ATD-X ขณะนี้มีสูงมาก

เครื่องบินขับไล่ ATD-X Shinshin(心神 จิตวิญญาณ) ถูกสร้างขึ้นมาเป็นเครื่องสาธิตทาง Technology มากกว่าที่เป็นเครื่องบินขับไล่ต้นแบบที่จะนำไปใช้ปฏิบัติการจริง
โดย ATD-X ถูกออกแบบให้มีคุณสมบัติตรวจับได้ยาก STEALTH และมีความคล่องตัวทางการบินสูง ตัวเครื่องสร้างจากวัสดุผสม co-cured และวัสดุดูดกลืนสัญญาณ Radar ที่เรียกว่า smart skin sensors
ปลายหัวเครื่องติดตั้ววิทยุความถี่เชิงรับ(RF) และระบบตรวจจับ IR ความแม่นยำสูง ระบบ Avionic และระบบตรวจจับอื่นๆของเครื่องยังไม่เป็นที่เปิดเผยในขณะนี้แต่จากรายละเอียดที่ปรากฎออกมาบ้างคาดว่าน่าจะมีการติดตั้ง AESA Radar
ติดตั้งเครื่องยนต์ Turbofan ของ Ishikawajima-Harima Heavy Industries (IHI) แบบ XF5-1 สองเครื่องเป็นเครื่องยนต์แบบปรับแรงขับด้านท้ายได้(thrust-vectoring) ซึ่งพัฒนามาสำหรับเครื่องบินขับไล่ ATD-X โดยเฉพาะ
สมรรถนะเบื้องต้นทีมีการเปิดเผย ATD-X มีน้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด 13tons มีเพดานบินสูงสุด 65,000ft ทำความเร็วได้สูงสุด 2.25MACH (1.82 MACH แบบ Supercruise)
รัศมีการรบ 411nmi หรือพิสัยการบินไกลสุด 1,566nmi (เมื่อติดถังเชื้อเพลิงสำรองสองถัง) และพิสัยการบินเดินทางไกลสุด 1,728nmi

ยังไม่มีข้อมูลอย่างเป็นทางการในขณะนี้ว่าเครื่องบินขับไล่ ATD-X Shinshin จะทำการบินครั้งแรกเมื่อไร แต่มีข้อสังเกตุว่าน่าจะเป็นภายในเร็วๆนี้คือตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไปครับ

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์จัดซื้อรถหุ้มเกราะล้อยาง Patria AMV ฟินแลนด์

UAE orders Patria AMVs
One of the three AMV hulls already completed by Rosomak SA. Source: Rosomak SA
http://www.janes.com/article/57535/uae-orders-patria-amvs

บริษัท Patria ฟินแลนด์ประกาศเมื่อวันที่ 28 มกราคมว่าบริษัทได้รับคำสั่งซื้อรถหุ้มเกราะล้อยาง 8x8 แบบ Patria AMV จากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์(UAE)
"รถเกราะเหล่านี้จะถูกประกอบสร้างโดยโปแลนด์ที่เป็นหุ้นส่วนของเราในกำหนดการตามเวลาที่กระชั้นชิดมาก" Mika Kari ประธานฝ่ายธุรกิจภาคพื้นดินบริษัท Patria กล่าว ทั้งนี้ทาง Patria ไม่ได้ให้ข้อมูลรายละเอียดใดๆของสัญญาจัดหานี้เนื่องจากเป็นความลับ

แต่อย่างไรก็ตาม บริษัท Rosomak SA โปแลนด์ที่ได้สิทธิบัตรในการผลิตรถเกราะ Patria AMV นั้นได้ให้ข้อมูลกับ Jane's ว่า
สัญญาดังกล่าวมีมูลค่าวงเงิน 170 million Polish Zloty ($41 million) สำหรับการสร้างรถเกราะ Patria AMV 40คันให้ UAE โดยสัญญารวมทางเลือกเพิ่มเติมสำหรับการสั่งสร้างรถเกราะอีก 50คัน ซึ่งจะเพิ่มวงเงินเป็น 550 million Polish Zloty($135 million)
แหล่งข่าวยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่ารถเกราะดังกล่าวนั้นจะด้อยคุณสมบัติด้านขีดความสามารถการเคลื่อนที่สะเทินน้ำสะเทินบกเช่นเดียวกับรถเกราะ AMV ที่ Rosomak สร้างให้กองทัพโปแลนด์ แต่จะมีการเพิ่มเกราะเพิ่มเติมและเสริมการป้องกันทุ่นระเบิดมากขึ้น
จากรถจำนวน 40คันแรกนั้น มี 3คันที่ประกอบเสร็จแล้ว โดยรถเกราะ AMV จะได้รับการติดตั้งป้อมปืน remote weapon station สำหรับปืนกลหนัก 12.7mm หรือเครื่องยิงลูกระเบิดอัตโนมัติ 40mm
ส่วนรถเกราะที่อาจจะสั่งเพิ่มอีก 50คันจะเป็นรุ่นลำตัวยาว Patria AMV 8x8L ซึ่งจะได้รับการติดการติดตั้งระบบอาวุธขนาดลำกล้องใหญ่ซึ่งยังไม่ระบุแบบ
แหล่งข่าวของ Rosomak ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมด้วยว่าบริษัทอาจจะได้รับสัญญาจัดหารถเกราะ Patria AMV เพิ่มอีก 20-30คันจากประเทศเพื่อนบ้านในตะวันออกกลางของ UAE อีกประเทศ

ฟินแลนด์ได้ให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายกิจการลดอาวุธ UN ว่ารถเกราะ Patria AMV 2คันที่ส่งออกให้ UAE เมื่อปี 2008 ซึ่งมีความยาวตัวรถ 3.5m นั้นสามารถติดตั้งป้อมปืนของรถรบทหารราบ BMP-3 ที่มีประจำการในกองทัพ UAE ได้
โดยป้อมปืนรถรบทหารราบ BMP-3 ติดตั้งปืนใหญ่รถถัง 2A70 100mm, ปืนใหญ่กล 2A72 และปืนกล PKT 7.62ทท ซึ่มีภาพจากกองกำลังพิทักษ์ประธานาธิบดีสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ว่ามีการส่งรถเกราะ AMV ไปปฏิบัติการร่วมกับกองกำลัง ISAF ที่อัฟกานิสถานมาแล้วครับ

วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2559

จอร์เจียเตรียมส่งมอบรถหุ้มเกราะล้อยาง Didgori ชุดแรกให้ซาอุดิอาระเบีย

Georgia prepares to ship the first lot of armored personnel carrier to Saudi Arabia
(http://www.armyrecognition.com)
http://en.azeridefence.com/georgia-prepares-to-ship-the-first-lot-of-armored-transporters-to-saudi-arabia/

จอร์เจียเตรียมส่งมอบรถหุ้มเกราะล้อยาง 4x4 แบบ Didgori ชุดแรกจำนวน 12คันให้กับซาอุดิอาระเบียในช่วงวันที่ 30 มกราคมนี้ โดยคาดว่ารถชุดแรกนี้จะเป็นรุ่นรถหุ้มเกราะส่งกลับทางสายแพทย์ MEDEVAC
ซาอุดิอาระเบียได้ลงนามสัญญากับจอร์เจียในการจัดหารถหุ้มเกราะล้อยาง Didgori จำนวน 100คัน ในหลายรุ่นวงเงินมากกว่า 100 Million Lari ($40-$60 million)
โดยรถหุ้มเกราะล้อยาง Didgori เป็นผลงานออกแบบโดยศูนย์วิจัยเทคนิควิทยาศาสตร์ทางทหาร Delta กระทรวงกลาโหมจอร์เจีย ซึ่งมีการพัฒนารถหลายรูปแบบเช่น


(wikipedia.org)

รถหุ้มเกราะล้อยางลำเลียงพล Didgori-2 APC ใช้เครื่องยนต์ดีเซล V8 twin turbo 356HP ทำความเร็วได้สูงสุด 120km/h ติดตั้งเกราะ Armox 500 และแผ่นเกราะเหล็กกล้าสองชั้น มาตรฐาน NATO STANAG 4569 ระดับ2
ติดตั้งปืนกลหกลำกล้องหมุน M134 Minigun 7.62mm หรือปืนกลหนัก NSV 12.7mm ได้1กระบอก กำลังพลประจำรถ 2+5นาย
รถหุ้มเกราะล้อยางลาดตระเวนสอดแนม Didgori-2 Scout ติดตั้งระบบตรวจจับกล้อง FLIR เครื่องยนต์ เกราะป้องกัน และอาวุธ แบบเดียวกับรุ่น APC
รถหุ้มเกราะล้อยางส่งกลับทางสายแพทย์ Didgori-2 MEDEVAC มีเกราะป้องกันกำลังพลด้านหน้ารถ ด้านท้ายรถมีอุปกรณ์ทางการแพทย์
และรถหุ้มเกราะล้อยางที่บังคับการและสื่อสาร Didgori Command/Communications เป็นต้นครับ

วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2559

ST Marine สิงคโปร์ทำพิธีวางกระดูกงูเรือ LMV ชั้น Independence ลำที่3

ST Marine lays keel for Singapore's third Littoral Mission Vessel
The RSN's first-of-class LMV, Independence, during its launch ceremony on 3 July 2015. Third vessel in the class was launched on 26 November 2015. Source: IHS/Ridzwan Rahmat
http://www.janes.com/article/57428/st-marine-lays-keel-for-singapore-s-third-littoral-mission-vessel

Jane's ได้รับข้อมูลจาก บริษัท ST Marine สิงคโปร์ เมื่อวันที่ 25 มกราคมว่า ST Marine ได้ทำพิธีวางกระดูงูเรือ Littoral Mission Vessels(LMV) ชั้น Independence ลำที่3
พิธีวางกระดูงูเรือตรวจการณ์ LMV นี้มีขึ้นที่อู่ของ ST Marine ใน Jurong เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2015 โดยมีผู้บัญชาการทหารสูงสุดกองทัพสิงคโปร์ พลตรี Perry Lim และผู้บัญชาการทหารเรือสิงคโปร์ พลเรือตรี Lai Chung Han เข้าร่วมพิธี

ST Marine สิงคโปร์ได้รับสัญญาจากรัฐบาลตั้งแต่เดือนมกราคม 2013 ในการสร้างเรือตรวจการณ์ LMV ชั้น Independence จำนวน 8ลำ ส่งมอบให้กองทัพเรือสิงคโปร์เพื่อทดแทนเรือตรวจการณ์ชั้น Fearless จำนวน 11ลำที่เข้าประจำการมาตั้งกลางปี 1990s
เรือตรวจการณ์ LMV เป็นโครงการออกแบบร่วมระหว่าง ST Marine สิงคโปร์ และ Saab Kockums AB สวีเดน มีความยาวตัวเรือ 80m ความกว้างตัวเรือ 12m ตัวเรือกินน้ำลึก 3m ระวางขับน้ำ 1,200tons มีกำลังพลประจำเรือ 23นาย รวมนายทหาร 5นาย
เรือตรวจการณ์ LMV ชั้น Independence ติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซล MTU 20V 4000 M93 สองเครื่องกำลังเครื่องละ 5,770shp ทำความเร็วได้สูงสุด 27knots และมีพิสัยทำการที่ 3,500nmi ที่ความเร็วมัธยัสถ์ 15knots  ปฏิบัติการต่อเนื่องได้ 14วัน
เรือตรวจการณ์ชั้น Independence ติดตั้งระบบอาวุธ ปืนใหญ่เรือ Oto Melara 76/62 Super Rapid 1กระบอก ปืนกลหนัก Oto Melara Hitrole Remote-Controlled Weapon Station 12.7mm 2กระบอกด้านกราบซ้ายและกราบขวา
ปืนใหญ่กล Rafael Typhoon 25mm 1กระบอกที่ท้ายเรือ และยังติดตั้งแท่นยิงแนวดิ่ง VLS 12ท่อยิงด้านหน้าเรือสำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ MBDA VL MICA 12นัด
เรือตรวจการณ์ LMV ชั้น Independence มีลานจอดเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางได้1เครื่องที่ท้ายเรือ สามารถนำเรือยางท้องแข็ง RHIB 2ลำ หรือยานผิวน้ำไร้คนขับ USV แบบ Protector ของ Rafael อิสราเอลติดตั้งที่ท้ายเรือได้

ST Marine ได้ทำพิธีปล่อยเรือตรวจการณ์ LMV ชั้น Independence ลำแรกของชั้นคือ RSS Independence ลงน้ำเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2015
โดยกองทัพเรือสิงคโปร์จะได้รับมอบเรือตรวจการณ์ LMV ชั้น Independence เข้าประจำการครบ 8ลำภายในปี 2020 ครับ

วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2559

กองทัพเรือพม่าทำพิธีวางกระดูกงูเรือระบายพลใหม่

Myanmar Navy New Landing Craft Keel Laying Ceremony
https://www.facebook.com/www.myanmarnavy.org/posts/1023324974376324

Myanmar Navy Land Craft Mechanized 1611, 1612 and 1613

Myanmar Navy Land Craft Mechanized 1701, 1702, 1703, 1704, 1705 and 1706

วันที่ 21 มกราคมที่ผ่านมากองทัพเรือพม่าได้ทำพิธีวางกระดูงูเรือระบายพลขนาดใหญ่ (LCU: Landing Craft Utility) ขนาด 56m จำนวน 2ลำ และเรือระบายพลขนาดกลาง(LCM: Landing Craft Mechanized) ขนาด 29m จำนวน 6ลำ
เรือระบายพลเหล่านี้เป็นเรือที่กองทัพเรือพม่าออกแบบและต่อเองในประเทศเป็นชุดที่4และชุดที่5แล้ว นับจากเรือระบายพลขนาดกลาง LCM 1611 ที่เข้าประจำการในปี 2005, เรือ LCM 1612 และ 1613 ที่เข้าประจำการในปี 2013
และล่าสุดคือเรือ LCM 1701, 1702, 1703, 1704, 1705 และ 1706 ล่าสุดที่เข้าประจำการในวันที่ 24 ธันวาคม 2015 ซึ่งเป็นวันครบรอบ68ปีการก่อตั้งกองทัพเรือพม่า

Myanmar Navy Landing Craft Utility 603

ในส่วนเรือระบายพลขนาดใหญ่ LCU นั้นกองทัพเรือพม่ามีเรือ LCU 603 ที่จัดหาจากสหรัฐฯเข้าประจำการมาตั้งแต่ปี 1960s ซึ่งคาดว่าน่าจะปลดประจำการแล้ว และเรือ LCU 605 ที่พม่าต่อเองเข้าประจำการมาตั้งแต่ปี 1984 ซึ่งมีอายุการใช้งานมากเช่นกัน
คาดว่าเรือ LCU ใหม่ขนาด 56m ที่จะต่อใหม่ขึ้น2ลำน่าจะมาทดแทนในส่วนเรือ LCU เก่าในข้างต้น
การที่กองทัพเรือพม่าต่อเรือระบายพลเพิ่มขึ้นนั้นจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติการยกพลขึ้นบก เคลื่อนย้ายยุทโธปกรณ์และกำลังพล รวมถึงสนับสนุนการส่งกำลังบำรุงได้มากยิ่งขึ้นครับ

วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2559

เบลเยียมจัดซื้อรถยนต์บรรทุก Fox 4x4 จำนวน 108คัน สำหรับหน่วยรบพิเศษ

Belgium orders 108 Fox special forces vehicles from Jankel
Belgium has ordered 108 Fox Rapid Reaction Vehicles from Jankel. (Jankel)
http://www.janes.com/article/57417/belgium-orders-108-fox-special-forces-vehicles-from-jankel

บริษัท Jankel สหราชอาณาจักรได้ประกาศเมื่อวันที่ 19 มกราคมที่ผ่านมาว่า เบลเยียมได้สั่งจัดซื้อรถยนต์บรรทุกแบบ Fox 4x4 Rapid Reaction Vehicles (RRV) จำนวน 108คันกับบริษัท
รถยนต์บรรทุก Fox RRV นั้นเป็นเป็นรถยนต์ขับเคลื่อนสี่ล้อใช้งานทางทหารที่พัฒนามาจากรถยนต์ Toyota Land Cruiser 79 series โดยออกแบบมารองรับภารกิจจู่โจมเบา ลาดตระเวน และตรวจการณ์
คาดว่าเบลเยียมจะนำ Fox RRV มาทดแทนรถยนต์บรรทุกเบา Volkswagen Iltis 4x4 ที่ใช้งานมานาน สำหรับใช้ในหน่วยรบพิเศษ(Special Forces Group) และหน่วยพลร่ม(กองพันคอมมานโดที่2 และกองพันพลร่มที่3) ของกองทัพบกเบลเยียม
สำหรับรถยนต์บรรทุก Fox RRV ทั้ง 108คันนั้นเบลเยียมได้สั่งจัดหาชุดเกราะป้องกันแบบถอดออกได้ 38ชุด และแท่นยิงวงแหวน 60ชุด สำหรับติดตั้งอาวุธหนักเช่นปืนกลหนัก 12.7mm หรือเครื่องยิงลูกระเบิดอัตโนมัติ 40mm (Fox RRV ทั้ง 108คันสามารถติดตั้งปืนกล 7.62mm ได้)
รวมถึงบริษัท Jankel ยังจะจัดส่งเครื่องยิงลูกระเบิดควันขนาด 76mm, สายอากาศสื่อสาร และชุดติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารตามความต้องการใช้งานสำหรับหน่วยงานรัฐบาลให้กับรถ Fox RRV ของเบลเยียมอีกด้วย

รถยนต์บรรทุก Fox RRV นั้นเป็นรถยนต์บรรทุกในแบบย่อยที่พัฒนาจากรถยนต์บรรทุก Al-Thalab(ภาษาอาหรับแปลว่าจิ้งจอก) Long-Range Patrol Vehicle (LRPV) ที่มีประจำการในกองทัพจอร์แดนและกองทัพมอริเตเนีย
ซึ่งรถยนต์บรรทุก Al-Thalab LRPV เป็นผลงานร่วมของบริษัท Jankel กับสำนักออกแบบและพัฒนาพระราชาอับดุลลอฮ์ที่2 (KADDB: King Abdullah II Design & Development Bureau) จอร์แดน ที่มีพื้นฐานจากรถยนต์ Toyota Land Cruiser 79 series เช่นกัน
โดยรถยนต์บรรทุก Al-Thalab LRPV ถูกออกแบบบรรทุกสัมภาระและกำลังพลได้หลายรูปแบบ สามารถติดตั้งเกราะเสริมตามความต้องการ และสามารถบรรทุกไปกับเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง Boeing CH-47 Chinook ได้ด้วย
รถยนต์บรรทุก Al-Thalab LRPV มีน้ำหนักรถ 2.35tons สามารถบรรทุกได้หนัก 2tons มีพิสัยทำการ 1,200km และบรรทุกกำลังได้ 9นาย(ขึ้นอยู่กับรูปแบบการปรับแต่การใช้งานตัวรถ)
ทั้งนี้ Jankel เพิ่งจะทำการเปิดตัวรถยนต์บรรทุก Fox RRV ในงาน DSEI 2015 ที่อังกฤษเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว โดยในส่วนการจัดหาของเบลเยียมตัดสินใจเลือกรถ Fox RRV เป็นผู้ชนะเหนือผู้แข่งขันอีกสองรายเมื่อเดือนธันวาคม 2015 ครับ

วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2559

กองทัพเรือรัสเซียปฏิเสธข่าวการยุติการสร้างเรือดำน้ำชั้น Lada

Russian Navy rejects reports of plans to stop construction of Lada-class submarines
Vadim Zhernov/ITAR-TASS
The construction of two Lada-class submarines continues in St. Petersburg
http://tass.ru/en/defense/851184

รองผู้บัญชาการกองทัพเรือรัสเซีย พลเรือโท Alexander Fedotenkov ได้กล่าวต่อสื่อเมื่อวันที่ 21 มกราคมที่ผ่านมาว่า กองทัพเรือรัสเซียไม่มีแผนที่จะยุติการก่อสร้างเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าชั้น Lada
"ตามผลการทดสอบการปฏิบัติการของเรือดำน้ำ Kronstadt และ Velikiye Luki กองทัพเรือจะเป็นผู้พิจารณาจำนวนความต้องการสำหรับเรือดำน้ำ Project 677 Lada การยุติโครงการก่อสร้างเรือดำน้ำชั้นนี้ยังไม่ได้ถูกพิจารณาในขณะนี้" พลเรือโท Fedotenkov กล่าว

จากรายงานของบางสื่อก่อนหน้านี้ระบุว่ากองทัพเรือรัสเซียจะนำงบประมาณมุ่งเน้นไปที่โครงการพัฒนาเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าชั้น Project Kalina หลังจากที่เรือดำน้ำชั้น Lada ที่กำลังก่อสร้างสองลำคือ B-586 Kronshtadt และ B-587 Velikiye Luki
เรือดำน้ำชั้น Lada ทั้งสองลำนั้นถูกต่อที่อู่เรือ Admiralty Wharves ในมหานคร Saint Petersburg ทางตะวันตกเฉียงเหนือของรัสเซีย เช่นเดียวกับเรือลำแรกของชั้น B-585 Sankt Peterburg
ซึ่งเรือ Sankt Peterburg นั้นมีความล่าช้าในการสร้างตั้งแต่ปี 1997-2010 และกองทัพเรือรัสเซียไม่ยอมรับเรือเข้าประจำการจากผลการประเมินการทดสอบตัวเรือในปี 2011 จนมีการปรับปรุงเรือให้ก่อนรับเข้าประจำการในกองเรือทะเลเหนือในปี 2014
โดยเรือ Kronshtadt นั้นอยู่ในขั้นติดตั้งอุปกรณ์และเตรียมทำการเชื่อมตัวเรือเป็นชิ้นเดียวกันทั้งลำ ส่วนเรือ Velikiye Luki อยู่ในขั้นสร้างขึ้นส่วนห้องภายในตัวเรือและทดสอบระบบ Hydraulic ซึ่งเรือมีการปรับเปลี่ยนการออกแบบเป็นจำนวนมากจากผลที่ได้จากการทดสอบเรือลำแรก
ทั้งนี้ตามบางแหล่งข่าวเรือดำน้ำชั้น Lada ทั้งสองลำจะมีกำหนดการเข้าประจำการล่าสุดเลื่อนไปเป็นราวปี 2019 ขณะที่แผนการก่อสร้างเรือดำน้ำชั้น Lada เพิ่มเติมจะถูกยุติ ซึ่งทางกองทัพเรือรัสเซียได้ปฏิเสธข่าวการยุติโครงการเรือดำน้ำชั้น Lada

ในปี 2016 นั้นเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าชั้น Project 636.3 Varshavyanka หรือที่ NATO กำหนดรหัสว่า Improved Kilo อีกสองลำคือ B-268 Veliky Novgorod และ B-271 Kolpino จะสร้างเสร็จปล่อยลงน้ำภายในปี 2016 นี้
เรือดำน้ำชั้น Project 636.3 ทั้งหมด 6ลำจะถูกนำเข้าประจำการในกองเรือทะเลดำครบตามจำนวนที่จัดหาของเรือในชุดนี้ครับ

วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2559

กองทัพเรือฝรั่งเศสศึกษาความเป็นไปได้ที่จะนำเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องมาติดตั้งทำการยิงจากเรือ LHD ชั้น Mistral

French Navy Looking to Deploy Army MLRS from LHDs for Coastal Fire Support Missions 
Artist impression: An MLRS launching a rocket from a Mistral class LHD's deck.
Airbus Defence & Space picture via www.opex360.com
http://www.navyrecognition.com/index.php/news/defence-news/2016/january-2016-navy-naval-forces-defense-industry-technology-maritime-security-global-news/3479-french-navy-looking-to-deploy-army-mlrs-from-lhds-for-coastal-fire-support-missions.html

จากรายงานของ Website ข่าวทางทหารและความมั่นคงฝรั่งเศส opex360.com รายงานว่ากองทัพเรือฝรั่งเศส(Marine Nationale) กำลังมองหาแนวทางในการเพิ่มขีดความสามารถในการยิงสนับสนุนและโจมตีเป้าหมายชายฝั่งให้สูงยิ่งขึ้น
โดยสำนักงานจัดหาด้านความมั่นคงฝรั่งเศส(DGA)ได้ลงนามสัญญากับบริษัท Airbus Defence & Space สำหรับการศึกษาความเป็นไปได้ในการนำระบบเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้อง (MLRS: Multiple Launch Rocket System) ของกองทัพบกฝรั่งเศส
มาติดตั้งและทำการยิงบนเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์(LHD: Landing Helicopter Dock)ชั้น Mistral ของกองทัพเรือฝรั่งเศส

สัญญาว่าจ้างระหว่าง DGA และ Airbus Defence & Space ถูกเผยแพร่ในรายการบันทึกการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐบาลฝรั่งเศส (http://www.francemarches.com/appel-offre/3-boamp-15142381/adaptation-conduite-systeme-utilisation) ตั้งแต่เดือนกันยายน 2015
ซึ่งระบุว่าสัญญาดังกล่าวถูกลงนามตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม 2014 โดย Airbus Defence & Space ได้รับสัญญาเป็นวงเงิน 333,330 Euros
ในการดัดแปลงระบบเครื่องยิงจรวดลำกล้อง LRU พร้อมระบบควบคุมการยิงสำหรับใช้บนเรือ BPC(เรือ LHD ตามการกำหนดแบบเรือของกองทัพเรือฝรั่งเศส)

The LRU (Lance Roquette Unitaire) is based on U.S. made M270 MLRS (Multiple Launch Rocket System)

ทั้งนี้ LRU เป็นระบบเครื่องจรวดหลายลำกล้องอัตตาจรสายพานที่มีพื้นฐานจากระบบเครื่องจรวดหลายลำกล้องอัตตาจรสายพานแบบ M270 ขนาดลำกล้อง 227mm ของสหรัฐฯ
โดย DGA ฝรั่งเศสได้ลงนามสัญญากับ Krauss-Maffei Wegmann เยอรมนี, Airbus Defence and Space, Sagem และ Thales ฝรั่งเศส เมื่อเดือนกันยายน 2011 สำหรับการปรับปรุงเครื่องจรวดหลายลำกล้องอัตตาจรสายพาน LRM(M270) ให้รุ่นมาตรฐาน LRU จำนวน 13ระบบ
เดิมทีกองทัพบกฝรั่งเศสมีระบบเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้อง LRM อยู่ 55ระบบ ซึ่งนอกจากเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้อง LRU ที่ได้รับการปรับปรุงแล้วระบบ LRM ที่เหลือได้ถูกปลดประจำการไป
ซึ่งการปรับปรุงระบบเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้อง LRU มีเช่น ระบบควบคุมการใหม่และจรวดแบบใหม่คือ M31 GUMLRS (Guided Unitary Multiple Launch Rocket System) ผลิตระบบโดย Lockheed Martin สหรัฐฯ และ Roxel ฝรั่งเศสในส่วนเครื่องยนต์
จรวดแบบ M31 มีน้ำหนักหัวรบระเบิดแรงสูง(HE: High Explosive) 90kg นำวิถีด้วย GPS/INS ระยะยิง 70km มีค่าความคลาดเคลื่อนจากเป้าหมาย (CEP: Circular Error Probable) ที่น้อยกว่า 10m

Navy Recognition ได้วิเคราะห์ว่าเหตุผลที่กองทัพเรือฝรั่งเศสต้องการจะศึกษาความเป็นไปได้ในการนำระบบเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องมาติดตั้งทำการยิงจากเรือ LHD ชั้น Mistral
น่าจะมาจากผลของประสบการณ์ที่ได้จากการปฏิบัติการในลิเบียปี 2011 ซึ่งระบบปืนใหญ่เรือและกระสุนที่กองทัพเรือฝรั่งเศสมีทั้งขนาด 76mm และ 100mm นั้นมีพิสัยการยิงและอำนาจการทำลายน้อยเกินไปสำหรับการสนับสนุนการยิงชายฝั่ง
แต่อย่างไรก็ตามกองทัพเรือในมิตรประเทศกลุ่ม NATO นั้นจะเลือกใช้กระสุนต่อระยะแบบนำวิถีเป็นระบบยิงสนับสนุนชายฝั่งสมัยใหม่ เช่น สำหรับปืนใหญ่เรือ Mk45 ขนาด 5"(127mm) ที่ติดตั้งบนเรือพิฆาต Arleigh Burke กองทัพเรือสหรัฐฯ
ก็มีการพัฒนาระบบกระสุน Raytheon Excalibur N5, BAE Systems Standard Guided Projectile(SGP) และ Hyper Velocity Projectile(HVP), BAE/Lockheed Martin Long Range Land Attack Projectile (LRLAP) เป็นต้น
ถ้าจะมีแบบระบบที่ใกล้เคียงก็มีกองทัพเรือรัสเซียที่ติดตั้งระบบเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องแบบ A-215 Grad-M ขนาด 122mm 40ลำกล้อง บนเรือคอร์เวตชั้น Buyan บางลำครับ

วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2559

กองทัพเรือรัสเซียจะจัดหาเรือดำน้ำ Kilo รุ่นใหม่ 6ลำเข้าประจำการในกองเรือแปซิฟิก

Six conventional submarines to be built for Pacific Fleet - Russia's Navy
http://tass.ru/en/defense/850127

กองเรือรัสเซียมีแผนจะสั่งสร้างเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าชั้น Project 636 Varshavyanka หรือที่ NATO กำหนดแบบว่า Improved Kilo จำนวน 6ลำเข้าประจำการในกองเรือแปซิฟิก
รายงานนี้ได้รับการเปิดเผยจาก นาวาเอก(Captain 1st Rank) Vladimir Tryapichnikov ผู้บัญชาการกองบริหารการสร้างเรือของกองทัพเรือรัสเซียขณะให้สัมภาษณ์สถานีวิทยุข่าวของรัสเซีย
"ในมุมมองของกองทัพเรือคือการสร้างความพยายามและทำให้ชัดเจนว่า พวกเขาควรจะยืนยันการสร้างเรือดำน้ำ(project 636) เพิ่มอีก 6ลำ ที่จะไปประจำการในกองเรือแปซิฟิก" นาวาเอก Tryapichnikov กล่าว

กองเรือแฟซิฟิกเคยมีเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าชั้น Project 877 Kilo รุ่นแรกประจำการอยู่ 7ลำ ซึ่งเข้าประจำการในช่วงต้นปี 1980 ซึ่งต้นปี 1990
โดยปัจจุบันเรือดำน้ำ Kilo เหล่านี้ถูกเก็บสำรองหรือปลดประจำการไปหลายลำแล้ว กองทัพเรือรัสเซียจึงมีความจำเป็นที่จะต้องจัดหาเรือดำน้ำใหม่เข้าประจำการแทน
ทั้งนี้ในส่วนเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าชั้น Project 677 Lada ที่มีความล่าช้าในการพัฒนาและสั่งสร้างมานานนั้น ล่าสุดกองทัพเรือรัสเซียจะยุติโครงการโดยสั่งต่อเรือดำน้ำชั้น Lada ที่เพียง 3ลำเท่านั้น
ซึ่งรัสเซียจะนำงบประมาณไปใช้ในโครงการพัฒนาเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าชั้น Project Kalina ใหม่ต่อไปครับ

วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559

กองทัพเรือไทยทำพิธีวางกระดูกงูเรือลากจูงขนาดกลาง














วันนี้ (19 มกราคม 2559) เวลา 10.45 น. พลเรือเอก ณะ อารีนิจ
ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีวางกระดูกงูเรือลากจูงขนาดกลาง (ลจก.) ณ อู่ต่อเรือ บริษัท อิตัลไทย มารีน จำกัด ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
กองทัพเรือได้ว่าจ้างสร้างเรือลากจูงขนาดกลาง (ลจก.) จำนวน 1 ลำ จากบริษัท อิตัลไทย มารีน จำกัด ซึ่งจากการดำเนินโครงการนี้เป็นการจัดหาเรือลากจูงเพื่อทดแทนเรือเก่า 
และให้มีเรือลากจูงขนาดกลางในจำนวนที่เพียงพอ รวมทั้งให้สอดคล้องกับการสนับสนุนเรือต่างๆ ในทุกพื้นที่รับผิดชอบของกองทัพเรือ 
ทั้งนี้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้อนุมัติ กรอบงบประมาณให้กองทัพเรือก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณโครงการจัดหาเรือลากจูงขนาดกลาง โดยผูกพันปีงบประมาณ 2558 – 2559 
และ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ยังได้ผ่านร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณปี 2558 ซึ่งมีงบประมาณของโครงการจัดหาเรือลากจูงขนาดกลางรวมอยู่ด้วย 
กองทัพเรือ จึงได้ว่าจ้าง บริษัท อิตัลไทย มารีน จำกัด ดำเนินการจัดสร้างเรือลากจูง ขนาดกลาง ดังกล่าว

คุณลักษณะของเรือลากจูงขนาดกลาง
เป็นไปตามที่กองทัพเรือกำหนด แบบเรือออกแบบโดย บริษัท Robert Allan Ltd., Naval Architects and Marine Engineering ประเทศแคนาดา ซึ่งเป็นผู้ออกแบบเรือลากจูงที่มีชื่อเสียงระดับโลก 
แบบเรือที่ใช้คือ RAmparts 3200CL เป็นแบบเรือมาตรฐาน RAmparts 3200 Series ของ Robert Allan ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ได้ผ่านการสร้างโดยอู่ต่อเรือต่าง ๆ ทั่วโลก และ เป็นที่ยอมรับของเจ้าของเรือมาแล้วเป็นจำนวนมากกว่า 100 ลำ
แบบเรือ RAmparts 3200 ของ Robert Allan Ltd. ได้ปรับปรุงให้ตรงกับความต้องการของกองทัพเรือ ตัวเรือทำด้วยเหล็ก ประสานด้วยการเชื่อม ความหนาของแผ่นเหล็ก 
ออกแบบให้หนากว่าความต้องการขั้นต่ำของสมาคมจัดชั้นเรือ และเรือออกแบบให้เป็นเรือที่ให้บริการบริเวณท่าเรือประเภท ship – assist tug ลากจูง (Towing) ส่วนการทำงานใช้ดึง และดันทางด้านหัวเรือเป็นหลัก 
โดยมี กว้านลากจูง และกว้านเก็บเชือก ระบบขับเคลื่อนเป็นแบบ Azimuth Stem Drive (ASD)หรือ Z – drive ชนิดสองใบจักร ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ดีเซล และติดตั้งระบบดับเพลิงภายนอกเรือ ที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ดีเซลที่แยกต่างหากจากเครื่องจักรใหญ่

สมรรถนะของเรือ
เรือมีกำลังเพียงพอที่จะทำให้เรือมีกำลังดึงไม่น้อยกว่า 53 เมตริกตัน และวงหันหมุนรอบตัวเอง (360 องศา) ใช้เวลาไม่เกิน 60 วินาที

ลักษณะโดยทั่วไป
ขนาดของเรือ
1. ความยาวตลอดลำเฉพาะตัวเรือ 32.00 เมตร
2. ความกว้าง 12.40 เมตร
3. กินน้ำลึกสูงสุด 4.59 เมตร
4. ระยะตั้งฉากจากหัวเรือถึงเก๋ง 9.10 เมตร
ความจุถัง (อัตราการบรรทุก)
1. น้ำมันเชื้อเพลิง 149.2 ลูกบาศก์เมตร
2. น้ำจืด 49.00 ลูกบาศก์เมตร
3. ถังน้ำถ่วงเรือ 56.00 ลูกบาศก์เมตร
4. ถังบรรจุของเสีย 5.90 ลูกบาศก์เมตร
5. ถังเก็บน้ำมันที่สกปรกปนเปื้อน 5.90 ลูกบาศก์เมตร
6. ถังน้ำยาดับเพลิงโฟมเคมี 6.90 ลูกบาศก์เมตร
7. ถังบรรจุสารเคมีกำจัดคราบน้ำมัน 6.90 ลูกบาศก์เมตร

ความเร็วเรือ
ความเร็วสูงสุดต่อเนื่องที่ระวางขับน้ำเต็มที่ ไม่ต่ำกว่า 12 นอต โดยกำลังเครื่องยนต์ไม่เกินร้อยละ 100 ของ MCR (Maximum Continuous Rating)

ระยะปฏิบัติการ
ระยะปฏิบัติการไม่น้อยกว่า 2500 ไมล์ทะเล ด้วยความเร็ว 8 นอต ที่ระวางขับน้ำเต็มที่ (Full Load Displacement) โดยใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ไม่เกินร้อยละ 95 ของความจุน้ำมันเชื้อเพลิงเต็มถัง

กำลังพลประจำเรือ
นายทหาร จำนวน 3 นาย
พันจ่า จำนวน 3 นาย
จ่า จำนวน 6 นาย
พลทหาร จำนวน 4 นาย
รวมพลประจำเรือทั้งหมด จำนวน 16 นาย

กองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ
https://th-th.facebook.com/prthainavy/posts/1093746967343325
https://th-th.facebook.com/prthainavy
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1126215814057701.1073742212.546940131985275
https://www.facebook.com/RTNI2459/

ปัจจุบันตามข้อมูลที่ปรากฎกองทัพเรือไทยมีเรือลากจูงขนาดกลางอยู่สองชุดคือ
ชุด ร.ล.ริ้น ประกอบด้วย ร.ล.ริ้น 853 และ ร.ล.รัง ต่อที่สิงคโปร์ เข้าประจำการตั้งแต่ ๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๔
และชุด ร.ล.แสมสาร ประกอบด้วย ร.ล.แสมสาร 855 และ ร.ล.แรด ต่อภายในไทย เข้าประจำการตั้งแต่ ๒๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๗ และ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๗
จะเห็นได้ว่าเรือ ลจก.ทั้งสองชุดโดยเฉพาะ ชุด ร.ล.ริ้น นั้นมีอายุการใช้งานมากแล้วจึงจำเป็นที่ต้องมีการจัดสร้างเรือใหม่เข้าประจำการทดแทนต่อไปครับ

วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559

อิสราเอลนำจรวดนำวิถีแบบ Romah ยิงจากเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้อง M270 เข้าประจำการ

New guided artillery rocket to enter Israeli service
The Romah will be fired from the IDF's M270 MLRS instead of the 227 mm rockets that are currently used. Source: PA Photos
http://www.janes.com/article/57201/new-guided-artillery-rocket-to-enter-israeli-service

กองทัพอิสราเอล(IDF: Israel Defense Forces) เตรียมประกาศความพร้อมปฏิบัติการระบบจรวดนำวิถีแบบใหม่ Romah เข้าประจำการในกองทัพบกอิสราเอลเร็วๆนี้
จรวดนำวิถี Romah พัฒนาโดย IMI(Israel Military Industries) เป็นจรวดขนาด 227mm ติดตั้งทำการยิงจากเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องอัตตาจรสายพานแบบ M270 ที่ประจำการในกองทัพน้อยปืนใหญ่(Artillery Corps) ซึ่งเป็นหน่วยปืนใหญ่ของกองทัพบกอิสราเอล
ชุดบรรจุของจรวดนำวิถี Romah จะแตกต่างจากจรวด 227mm แบบปกติของ คจลก.M270 โดยจรวด Romah นำวิถีด้วยดาวเทียม GPS มีพิสัยยิงไกล 35km หัวรบหนัก 20kg และมีความแม่นยำค่าความคลาดเคลื่อนจากเป้าหมาย(CEP: Circular Error Probable)ที่น้อยกว่า 10m
"ถ้าพื้นที่ที่ประสบเหตุการณ์ต้องเพิ่มระดับการรักษาความปลอดภัย ระบบอาวุธยิงแบบนี้สามารถถูกเรียกใช้งานได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้นเมื่อเทียบกับเฮลิคอปเตอร์ติดอาวุธที่ต้องแย่งกันเรียกใช้ และระบบนี้ยังแม่นยำกว่าปืนใหญ่ด้วย"
Eli Reiter หัวหน้าแผนกระบบจรวดของ IMI กล่าว โดยเขาเพิ่มเติมอีกว่าจรวดแบบใหม่นี้จะทำให้กองทัพอิสราเอลมีขีดความสามารถในการโจมตีเป้าหมายข้าศึกได้รวดเร็วและแม่นยำ ซึ่งจรวดสามารถถูกตั้งค่าพิกัดเป้าหมายล่วงหน้าและพร้อมยิงทันทีในเวลาไม่กี่วินาทีเมื่อได้รับคำสั่งครับ

วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2559

ภาพ Oplot-T ที่ยูเครนล่าสุด-๔













http://www.sq.com.ua/rus/news/ekonomika/14.01.2016/oploty_dlya_tailanda_proverili_v_polevyh_usloviyah/%D0%BE%D0%BF%D0%BB%D0%BE%D1%82/
http://www.malyshevplant.com/
http://andrei-bt.livejournal.com/399654.html

รายงานภาพล่าสุดของรถถังหลัก Oplot ของกองทัพบกไทย ที่โรงงาน Malyshev ยูเครนนั้น ตามข่าวในข้างต้นมีรายละเอียดว่า

คณะตัวแทนจากกองทัพบกไทยได้เดินทางมาดูงานที่โรงงาน Malyshev ตั้งแต่ปลายปี 2015(พ.ศ.๒๕๕๘) แล้ว ซึ่งทางคณะดูงานของกองทัพบกไทยยังคงยืนยันที่จะคงสัญญาการจัดหารถถังหลัก Oplot กับยูเครนอยู่
ซึ่งจากการประเมินการประกอบสร้างรถในโรงงานและการทดสอบสมรรถนะของรถที่ประกอบเสร็จแล้ว ทางคณะตัวแทนกองทัพบกไทยมีความพอใจอย่างมาก
และโรงงาน Malyshev และบริษัท KMDB จะปรับปรุงประสิทธิภาพในการเพิ่มกำลังสายการผลิตให้ทันสมัยและมีดียิ่งขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป และจะปรับปรุงการจัดการคลังอุปกรณ์ชิ้นส่วนต่างๆให้รวดเร็วและน่าเชื่อถือมากขึ้น
โดยในอนาคตอันใกล้ทางยูเครนมีแผนที่เสริมสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงกับไทยให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ในส่วนของสัญญาจัดหากับไทยตอนนี้ยังเป็นการทำงานในระดับปกติเช่นเดียวกับลูกค้าต่างประเทศรายอื่นๆ

ซึ่งถ้าดูจากชุดภาพในโรงงานและการทดสอบรถ มีรถถังหลัก Oplot อย่างน้อย ๑คันที่ประกอบเสร็จสมบูรณ์แล้ว มีอีก ๓คันที่ใกล้ประกอบเสร็จในโรงงาน และยังมีชิ้นส่วนตัวถังรถและป้อมปืนอีกราว ๔คันขึ้นไป
สรุปในเบื้องต้นกองทัพบกไทยคงยังไม่ยกเลิกสัญญาการจัดหารถถังหลัก Oplot กับยูเครนและน่าจะมีการทดสอบรถชุดใหม่และส่งมอบให้ไทยภายในปี 2016(พ.ศ.๒๕๕๙) นี้อีกจำนวนหนึ่งครับ

ยูเครนเสนอความร่วมมือกับโปแลนด์ในการปรับปรุงรถถังหลัก PT-91

Ukrainian firms look to upgrade business on Polish PT-91s
Poland and Ukraine are looking to collaborate on upgrading the PT-91 Twardy. Source: Christopher F Foss
http://www.janes.com/article/57177/ukrainian-firms-look-to-upgrade-business-on-polish-pt-91s

UkrOboronProm รัฐวิสาหกิจด้านยุทโธปกรณ์ความมั่นคงของยูเครนได้เจรจากับโปแลนด์ในการมีส่วนร่วมความร่วมมือด้านความมั่นคงร่วมกันของทั้งสองประเทศ โดยมุ่งเน้นไปที่ความเป็นไปได้ในการปรับปรุงรถถังหลัก PT-91 Twardy(ภาษาโปแลนด์แปลว่า "แข็ง")
ตามที่ UkrOboronProm ได้แถลงและจากรายงานของสำนักข่าว Interfax ยูเครน ทาง UkrOboronProm จะดำเนินการเจรจาตลอดเดือนมกราคมกับ Polski Holding Obronny (PHO: Polish Defence Holdings) บริษัทด้านยุทโธปกรณ์ของโปแลนด์
ส่วนหนึ่งของหัวข้อการหารือคือคาดว่าทาง PHO จะมีการดูงานโรงงานยานเกราะ Lviv ทางตะวันตกของยูเครน ซึ่งเป็นโรงงานที่ทำงานซ่อมบำรุง ปรับปรุง และยกระดับให้ทันสมัยของรถถังหลัก T-72 ในยูเครน

รถถังหลัก PT-91 โปแลนด์เป็นรถถังที่พัฒนาจากรถถังหลัก T-72M1 รัสเซียซึ่งเป็นรุ่นส่งออกที่ลดสมรรถนะลง โดยโปแลนด์ได้รับสิทธิบัตรในการผลิตรถถังหลัก T-72 ภายในประเทศเช่นเดียวกับหลายประเทศอดีตกลุ่ม Warsaw Pact จนถึงปี 1994
ปัจจุบันกองทัพบกโปแลนด์มีรถถังหลัก PT-91 และ PT-91M ประจำการอยู่ประมาณ 232คัน ซึ่งสายการผลิตของรถทั้งหมดจากโรงงานของบริษัท Zaklady Mechaniczne (ZM) Bumar-Labedy (ตอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของ PHO) ได้เสร็จสิ้นไปครบหมดแล้ว
ซึ่งรถถังหลักรุ่นนี้ได้ถูกทำการปรับปรุงให้ทันสมัยเป็นมาตรฐาน PT-91M เป็นอย่างน้อย ซึ่งโปแลนด์ได้ส่งออกรถถังหลัก PT-91M จำนวน 48คันให้กองทัพบกมาเลเซีย

การหารืออื่นนอกจากรถถังหลัก PT-91 นั้น ทาง Kharkov Machine Building Plant FED ซึ่งเป็นบริษัทอุตสาหกรรมย่อยในเครือ UkrOboronProm เปิดเผยว่า
ได้มองหาความร่วมมือกับส่วนอุตสาหกรรมความมั่นคงของโปแลนด์ในการดำเนินงานหลังการขาย การติดตั้งส่วนประกอบ และซ่อมบำรุง แก่เครื่องบินขับไล่ MiG-29 (Nato กำหนดรหัส Fulcrum) กองทัพอากาศโปแลนด์
โดยทาง Kharkov Machine Building Plant FED นั้นมีผลิตภัณฑ์ในส่วน Servo, Thrust Reverser และระบบ Hydraulic ที่สามารถนำมาใช้กับตัวอากาศยานและเครื่องยนต์ของ MiG-29 ได้ครับ

วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

รัสเซียจัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-35S เพิ่ม ดำเนินโครงการเครื่องบินลำเลียง IL-214 โดยไม่มีอินเดีย และจัดหาเครื่องบินลำเลียง IL-76MD-90 เพิ่ม

Russia orders 50 Su-35S multirole fighters
Russia is understood to have ordered 50 more Su-35S fighter aircraft from UAC. Source: IHS/Patrick Allen
http://www.janes.com/article/57187/russia-orders-50-su-35s-multirole-fighters

สำนักข่าว TASS รัสเซียรายงานว่า กองทัพอากาศและอวกาศรัสเซีย(VKS) ได้สั่งจัดหาเครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-35S (NATO กำหนดรหัส Flanker E) เพิ่มเติมจำนวน 50เครื่อง เมื่อปลายเดือนธันวาคม 2015
ตามแหล่งข้อมูลการสั่งจัดหาชุดใหม่นี้มีวงเงินมากกว่า 60 billion Ruble ($788 Million) และโรงงานอากาศยาน Komsomolsk-on-Amur(KnAAZ) ซึ่งเป็นหนึ่งในโรงงานสร้างอากาศยานของ Sukhoi จะเป็นผู้สร้าง Su-35S ส่งมอบจนถึงปี 2020
ในส่วนคำสั่งจัดหา Su-35S เพิ่มเติมนั้น ทางบริษัทกำลังรอการอนุมัติการจัดหาจากจีน จำนวน 24เครื่อง และหวังที่จะให้อินโดนีเซียลงนามสัญญาจัดหาจำนวน 12เครื่องในเร็วๆนี้
ซึ่งจะทำให้ยอดสายการผลิตเครื่องขั้นต้นที่จะได้รับการสร้างของโรงงานมี 72เครื่อง และถ้าอินโดนีเซียลงนามสัญญาก็จะรวมเป็น 134เครื่องที่จะส่งมอบให้ลูกค้าได้ภายในก่อนปี 2020

ตามแหล่งข้อมูลของ United Aircraft Corporation (UAC) กลุ่มบริษัทอุตสาหกรรมอากาศยานรัสเซีย รัสเซียกำลังมีการเจรจากับแอลจีเรียในขายเครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิด Sukhoi Su-32 ซึ่งเป็นรุ่นส่งออกของ Su-34 (NATO กำหนดรหัส Fullback)
การเจรจากับแอลจีเรียมีความคืบหน้าเป็นอย่างดี โดยกองทัพอากาศอาจจะจัดหา Su-32 ถึง 40เครื่อง
กองทัพอากาศรัสเซียได้สั่งจัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-35S จำนวน 48เครื่อง ตั้งแต่ปี 2009 ซึ่งปัจจุบันได้รับมอบประจำการแล้วประมาณ 40เครื่อง
ซึ่งกองทัพอากาศรัสเซียได้นำ Su-35S เข้าประจำการในกรมบินขับไล่ประจำภาคทหารตะวันออกตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคม 2015 โดยอีกกรมบินขับไล่ในภูมิภาค Primorsky จะได้รับมอบเครื่องภายในปี 2016

Su-35S เป็นเครื่องบินขับไล่ที่พัฒนาจากเครื่องบินขับไล่ยุคที่4 Su-27 โดยมีการปรับปรุงขีดความสามารถหลักด้วย Technology เครื่องบินขับไล่ยุคที่5หลายอย่าง
ทั้งเครื่องยนต์ไอพ่น Turbofan Saturn 117S (AL-41F1S) แบบปรับทิศทางแรงขับท่อไอพ่นสามมิติ (3D thrust vectoring nozzle), Irbis-E passive phased array radar สมรรถนะสูง
ห้องนักบินแบบ Glass Cockpit, ระบบ Avionic ระบบอำนวยการรบ และระบบจัดการข้อมูลแบบ Digital, รองรับระบบอาวุธอากาศสู่อากาศและอากาศสู่พื้นที่มีความแม่นยำสูงได้เป็นจำนวนมาก
ทำให้ Su-35S เป็นเครื่องขับไล่เอนกประสงค์ที่มีความคล่องตัวในการบินสูงสุด และมีประสิทธิภาพการรบทางอากาศและการโจมตีภาคพื้นดินสูงสุดที่ประจำการในกองทัพอากาศและอวกาศรัสเซียปัจจุบันครับ

Russia 'freezes' India out of MTA project, to proceed alone as Il-214
A model of the MTA showing the basic twin-engined design concept. Russia has decided to drop its Indian partner and to go it alone with the rest of the project, which it has designated the Il-214. Source: Paul Jackson
http://www.janes.com/article/57169/russia-freezes-india-out-of-mta-project-to-proceed-alone-as-il-214

อีกรายงานจากสื่อสำนักข่าว TASS รัสเซียเมื่อวันที่ 13 มกราคมคือ รัสเซียกำลังมองแนวทางการดำเนินงานโครงการเครื่องลำเลียงเอนกประสงค์ IL-214 MTA(Multirole Transport Aircraft) ต่อด้วยตนเอง
หลังจากที่ Ilyushin ผู้ออกแบบเครื่องประกาศยุติความร่วมมือในโครงการร่วมกับอินเดีย โดยการออกแบบเบื้องต้นของเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีสองเครื่องยนต์ไอพ่นแบบใหม่นี้ยังไม่เสร็จสิ้นทั้งหมด
ทั้งนี้ทาง UAC ต้องการจะดำเนินขั้นตอนการออกแบบรายละเอียดของ IL-214 ให้เป็นที่รู้เฉพาะภายในรัสเซียเท่านั้น
รวมถึงการผลิตอากาศยานทางรัสเซียจะดำเนินการโดยที่ Hindustan Aeronautics Limited (HAL) ที่เป็นอุตสาหกรรมอากาศยานของอินเดียจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยอีก
"โครงการร่วมระหว่างรัสเซีย-อินเดียนี้ถูกระงับแล้ว" Sergey Velmozhkin ผู้อำนวยการบริหารของ Ilyushin กล่าวต่อสื่อ

ขณะที่ยังไม่มีรายงานการให้เหตุผลของโครงการในตอนนี้ แต่จากรายงานเมื่อเดือนธันวาคม 2015 นั้น UAC รัสเซีย และ HAL อินเดีย ไม่สามารถหาข้อตกลงกันได้ในเรื่องเครื่องยนต์ที่จะนำมาติดตั้งกับ IL-214
โดยเดิมมีการเสนอเครื่องยนต์ไอพ่นแบบ PD-14M ซึ่งพัฒนามาจากเครื่องยนต์ไอพ่นแบบ Aviadvigtel PS-90A-76 ซึ่งถูกใช้ในเครื่องบินลำเลียงทางยุทธศาสตร์สี่เครื่องยนต์ไอพ่น IL-76 (NATO กำหนดรหัส Candid)
และภายหลังมีความต้องการเครื่องยนต์ที่ออกแบบใหม่ทั้งหมดที่ใช้ระบบควบคุมการทำงานเครื่องยนต์แบบ Digital หรือ FADEC(Full Authority Digital Engine Control)
"เครื่องยนต์ PS-90 ไม่ได้มีระบบ FADEC แต่ความจำเป็นของระบบลักษณะนี้ไม่ได้อยู่ในข้อกำหนดทางเทคนิคเบื้องต้น มันจะถูกเพิ่มในภายหลัง ความต้องการทางเทกนิค(สำหรับประสิทธิผล) มีความเข้ากันได้เต็มที่กับเครื่องยนต์ PS-90
ดังนั้นสถานะอย่างเป็นทางการคือเราได้เสร็จสิ้นขั้นตอนการออกแบบเบื้องต้นขั้นก้าวหน้ามาเป็นปีแล้ว (และ)นั่นต้องเป็นที่ยอมรับจากทางอินเดีย เราหวังว่าพวกเขาจะยอมรับการออกแบบและก้าวต่อไปข้างหน้า" Yury Slyusar ประธาน UAC กล่าวต่อสื่ออินเดีย The Economic Times

สมรรถนะของเครื่องบินลำเลียง IL-214 คาดว่าจะสามารถบรรทุกได้หนักระหว่าง 15-20tons มีพิสัยทำการ 2,500-2,700km อยู่ในระดับเดียวกับ Lockheed Martin C-130 Hercules สหรัฐฯ (22tons) และ Embraer KC-390 บราซิล (23tons) ครับ

Russia to fill gap left by An-70 with more Il-76MD-90A airlifters
The Russian Air Force is to receive an undisclosed number of additional Il-76MD-90A airlifters to offset to gap left by the loss of the An-70, which it will not now receive as originally planned. Source: Aviastar
http://www.janes.com/article/57172/russia-to-fill-gap-left-by-an-70-with-more-il-76md-90a-airlifters

กองทัพอากาศและอวกาศรัสเซียมีแผนที่จะอุดช่องว่างในส่วนกำลังเครื่องบินลำเลียงทางยุทธศาสตร์หลังจากที่โครงการเครื่องบินลำเลียง Antonov An-70 ที่ร่วมกับยูเครนถูกยกเลิกไป โดยการสั่งจัดหาเครื่องบินลำเลียง Ilyushin IL-76MD-90A เพิ่ม
ซึ่งจากข้อมูลของ พลอากาศโท Victor Benedictine ผู้บัญชาการกองบินลำเลียงทางทหาร ที่ได้กล่าวต่อสื่อมวลชนรัสเซียนั้น
กองทัพอากาศรัสเซียจะจัดหาเครื่องบินลำเลียงทางยุทธศาสตร์ IL-76MD-90A เพิ่มขึ้นโดยไม่ระบุจำนวน แต่คาดว่าน่าจะอย่างน้อย 60เครื่องแทนในส่วนของ An-70 ที่มีเดิมมีแผนจะนำเข้าประจำการ โดยจะมีการส่งมอบ IL-76MD-90 มากกว่า 12เครื่องภายในปี 2020

โครงการเครื่องบินลำเลียงทางยุทธศาสตร์สี่เครื่องยนต์ใบพัด Antonov An-70 ซึ่งเป็นโครงการร่วมระหว่างรัสเซียและยูเครนนั้นได้ถูฏยกเลิกไปในช่วงต้นปี 2014 จากการตัดความสัมพันธ์ทางทหารระหว่างทั้งสองประเทศ
ซึ่งเป็นผลมาจากการประท้วงขับไล่อดีตประธานาธิบดียูเครน Viktor Yanukovych ออกจากตำแหน่ง ตามด้วยการที่รัสเซียผนวก Crimea เป็นส่วนหนึ่งของตนและแทรงแซงสนับสนุนกองกำลังติดอาวุธนิยมรัสเซียในเขต Donbass ของยูเครน
ซึ่งในช่วงสองปีที่ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศไม่มีท่าทีว่าจะดีขึ้น รัสเซียจึงต้องยกเลิกการจัดหาเครื่องบินลำเลียงทางยุทธศาสตร์ An-70 และเริ่มแนวทางการปรับปรุงและจัดหาเครื่องบินลำเลียงทางยุทธศาสตร์ของตนคือ IL-76

กองทัพอากาศรัสเซียจะได้รับมอบเครื่องบินลำเลียงทางยุทธศาสตร์ IL-76MD-90A เครื่องแรกจากที่สั่งจัดหา 30เครื่องภายในปี 2020 ซึ่งเครื่องบินลำเลียง IL-76MD-90A หรือเดิม IL-476 เป็นรุ่นปรับปรุงใหม่ของเครื่องบินลำเลียง IL-76MD ที่ใช้งานมาตั้งแต่สมัยอดีตสหภาพโซเวียต
โดย L-76MD-90A ได้ติดตั้งห้องนักบิน Digital Glass Cockpit ระบบการบิน นำร่อง และระบบสื่อสารได้รับการปรับปรุงใหม่ ปรับปรุงโครงสร้างตัวเครื่องทั้งปีกและฐานล้อลงจอดให้ดีขึ้น และใช้เครื่องยนต์ใหม่ Aviadvigatel PS-90
ทำให้ IL-76MD-90A บรรทุกได้หนักสุด 60tons (จากรุ่นก่อน 40tons) และประหยัดเชื้่อเพลิงขึ้นร้อยละ12 เพิ่มพิสัยการบินเป็น 8,500km เมื่อบรรทุกหนัก 20tons หรือ 4,100km เมื่อบรรทุกหนัก 50tons
ซึ่งสูงกว่า An-70 ที่มีพิสัยการบินที่ 6,598km เมื่อบรรรทุกหนัก 20tons และมีน้ำหนักบรรทุกสูงสุด 47tons

ทั้งนี้กองทัพอากาศและอวกาศรัสเซียมีความต้องการเครื่องในตระกูลนี้ 100เครื่อง
คือเครื่องบินลำเลียง IL-76MD-90A และเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ IL-478 อย่างละ 40เครื่อง และเครื่องบินแจ้งเตือนภัยและควบคุมทางอากาศ(AWACS: Airborne Warning And Control System) A-100 อีก 20เครื่อง
โดยขณะนี้มีการสั่งจัดหาแล้ว 30เครื่องครับ

วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2559

General Atomics เปิดตัวปืน Railgun สำหรับเรือ LCS

SNA 2016: General Atomics Unveils Multi Mission Medium Range Railgun for LCS 
Poster on General Atomics stand at SNA 2016 showing a Freedom variant LCS fitted with the Multi-mission Medium Range Railgun Weapon System
http://www.navyrecognition.com/index.php?option=com_content&task=view&id=3455

การประชุมวิชาการแห่งชาติของสมาคมกองทัพเรือผิวน้ำ (SNA: Surface Navy Association) ประจำปี 2016 ซึ่งจัดขึ้นใกล้ Washington DC สหรัฐฯนั้น
General Atomics Electromagnetics สหรัฐฯได้เปิดตัวระบบอาวุธปืนแม่เหล็กไฟฟ้ารางคู่พิสัยกลางพหุภารกิจ หรือ Multi-mission Medium Range Railgun
โดยจากสื่อแผ่นพับและใบปิดที่แสดงในงาน SNA 2016 นั้นแสดงถึงภาพปืนใหญ่ Railgun ที่ถูกติดตั้งบนเรือ LCS (Littoral Combat Ship) ชั้น Freedom กองทัพเรือสหรัฐฯ ซึ่งออกแบบโดย Lockheed Martin

จากข้อมูลในแผ่นพับและใบปิด ระบบปืน Railgun ดังกล่าวจะใช้กระสุนที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใกล้เคียงเท่ากับกระป๋อง Coke โดยใช้รูปแบบตัวปืนและป้อมปืนเหมือนปืนใหญ่เรือ BAE Systems 57mm
General Atomics กล่าวว่าได้มีการศึกษาพื้นที่บนดาดฟ้าเรือแล้วว่าสามารถติดตั้งระบบนี้ได้ เช่นเดียวกันที่แหล่งกำเนิดพลังงานของเรือ LCS นั้นเพียงพอสำหรับระบบปืน Railgun อย่างไรก็ตามยังจำเป็นต้องมีการติดตั้ง Battery เพิ่มใต้ดาดฟ้าเรือ
ระบบปืนใหญ่ Railgun พิสัยกลางพหุภารกิจมีขีดความสามารถในการยิงสกัดกั้นอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนต่อต้านเรือผิวน้ำและขีปนาวุธต่อต้านเรือผิวน้ำด้วยอัตรายิง 10นัดต่อนาทีเพื่อเพิ่มอัตราสังหารเป้าหมายหลายนัดแบบต่อเนื่อง แต่ทั้งนี้ยังไม่มีการเปิดเผยข้อมูลที่มากกว่านี้ในขณะนี้ครับ

Lockheed Martin เริ่มการสร้างเครื่องบินขับไล่ F-35A Adir ของอิสราเอลเครื่องแรก

First F-35A “Adir” for Israel Taking Shape in Fort Worth 
https://www.f35.com/news/detail/first-f-35a-adir-for-israel-taking-shape-in-fort-worth

บริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯ และกระทรวงกลาโหมอิสราเอล ได้ทำพิธีการเริ่มการประกอบสร้างเครื่องบินขับไล่ F-35A Adir(ภาษาฮีบรูแปลว่า "ผู้ทรงฤทธา") เครื่องแรกของกองทัพอากาศอิสราเอลเมื่อวันที่ 7 มรกราคมที่ผ่านมา
F-35A รหัส AS-1 ซึ่งเป็นเครื่องแรกได้เริ่มการประกอบชิ้นส่วนหลักสี่ชิ้นเข้าด้วยกันที่สถานี Electronic Mate และสถานีประกอบเพื่อขึ้นเป็นโครงสร้างอากาศยานดำเนินการจนเสร็จสมบูรณ์ทั้งเครื่องที่โรงงาน Fort Worth มลรัฐ Texas
คาดว่า F-35A AS-1 จะออกจากโรงงานได้ในราวเดือนมิถุนายนและส่งมอบให้กองทัพอากาศอิสราเอลได้ภายในปี 2016 นี้

"เครื่องบินขับไล่ยุคที่5เหล่านี้เป็นการขยายขีดความสามารถของกองทัพอากาศอิสราเอลเป็นอย่างยิ่งในการป้องกันประเทศอิสราเอลจากภัยคุกคามร้ายแรงที่เราเผชิญ"
Aharon Marmarosh ผู้อำนวยการภารกิจการเยือน New York กระทรวงกลาโหมอิสราเอลกล่าว
"วันนี้เป็นจุดเริ่มต้นใหม่ของอากาศยานทางยุทธวิธีสำหรับอิสราเอล Lockheed Martin มีความภาคภูมิใจในประวัติและสายสัมพันธ์อันยาวนานระหว่าเรากับกองทัพอิสราเอล
F-35A Adir เป็นความแข็งแกร่งของความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นของเรากับกองทัพอากาศอิสราเอลและมั่นใจได้ว่าอุตสาหกรรมอากาศยานอิสราเอลจะยังมีความแข็งแรงไปตลอดทศวรรษหน้าที่จะมาถึง"
Jeff Babione ผู้จัดการโครงการ F-35 ของ Lockheed Martin กล่าว

อิสราเอลได้ลงนามสัญญาจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A Adir รุ่นขึ้นลงตามแบบ(CTOL: Conventional Take Off and Landing) จำนวน 33เครื่องกับรัฐบาลสหรัฐฯในรูปแบบโครงการ FMS(Foreign Military Sales) ซึ่งส่วนอุตสาหกรรมความมั่นคงอิสราเอลมีส่วนร่วมในโครงการ F-35
มีทั้ง Israel Aerospace Industries ที่ผลิตส่วนปีกของ F-35A, Elbit Systems ที่สร้างระบบหมวกนักบินแสดงผลข้อมูลยุคที่3 (Helmet Mounted Display) ซึ่งนักบิน F-35 ทุกนายจะใช้งาน และ Elbit Systems-Cyclone ที่จะทำการผลิตชิ้นส่วนวัสดุผสมส่วนกลางลำตัวเครื่อง
F-35A Adir นับเป็นเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 ซึ่งจะเป็นกำลังทางอากาศหลักของกองทัพอากาศอิสราเอลในอนาคตที่มีศักยภาพสูงและขีดความสามารถที่ล้ำหน้าสูงสุดทุกด้านในภูมิภาคตะวันออกกลางครับ

วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2559

กองทัพบกไทยจะจัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศ Rheinmetall Oerlikon Skyguard 3

Rheinmetall will supply the Royal Thai Army with four latest-generation Skyguard systems
Oerlikon Skyguard III Air Defense System
http://www.armyrecognition.com/january_2016_global_defense_security_news_industry/rheinmetall_will_supply_the_royal_thai_army_with_four_latest-generation_skyguard_systems_31101162.html

Rheinmetall Air Defence สวิสเซอร์แลนด์ซึ่งเป็นบริษัทย่อยในกลุ่มบริษัท Rheinmetall AG เยอรมนี ได้รับสัญญาจากกองทัพบกไทยในการจัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศรุ่นใหม่ล่าสุดแบบ Skyguard 3 วงเงินหลาย Million Euros
ระบบป้องกันภัยทางอากาศที่ Rheinmetall จะส่งมอบให้กองทัพบกไทยประกอบด้วย ระบบ Radar ควบคุมการยิงแบบ Skyguard 3 รุ่นใหม่ล่าสุด จำนวน ๔ระบบ และปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน Oerlikon GDF007 ลำกล้องแฝดสองขนาด 35mm จำนวน ๘กระบอก
ซึ่งการจัดหาได้รวมถึงกระสุนแบบ AHEAD(Advanced Hit Efficiency And Destruction) 35mm ซึ่งเป็นกระสุนแตกอากาศที่สามารถตั้งค่าในการระเบิดแตกสะเก็ดเข้าใกล้เป้าหมายทางอากาศจากระบบควบคุมการยิงเพื่อเพิ่มอัตราการสังหารสูงสุด
โดยระบบควบคุมการยิง Skyguard 3 หนึ่งระบบสามารถเชื่อมโยงกับปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน Oerlikon GDF007 35mm ได้สองกระบอกสำหรับการป้องกันภัยทางอากาศพิสัยใกล้ และสามารถเชื่อมกับระบบแท่นยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศเพิ่มระยะการยิงได้ด้วย

สำหรับ Rheinmetall Air Defence แล้วกองทัพบกไทยถือเป็นลูกค้ารายใหม่ในกลุ่มประเทศเอเชียที่จัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศจากตน ซึ่งเป็นครั้งแรกที่กองทัพบกไทยได้เลือกจัดหาระบบปืนใหญ่อากาศยานขนาด 35mm เข้าประจำการ
โดยประเทศในกลุ่ม ASEAN ที่จัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศจาก Rheinmetall ก็เช่น อินโดนีเซียซึ่งจัดหาระบบ Oerlikon Skyshield ซึ่งเป็นระบบปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน Revolver อัตราการยิงสูงมากขนาด 35mm
ทั้งนี้ก็เป็นไปตามที่ได้รายงานข่าวจากงานแสดงแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Defense & Security 2015 เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๘ ที่มาข่าวกองทัพบกไทยเลือกจัดหาระบบ Skyguard 3 จาก Rheinmetall โดยจะมีการส่งมอบในปลายปี 2017(พ.ศ.๒๕๖๐)
ซึ่ง กองพลปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน นั้น มีแผนที่จะปลดประจำการระบบปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานเก่าที่ล้าสมัยหลายแบบจาก กองพันปืนใหญ่ต่อสู้อากาศ ที่เป็นหน่วยขึ้นตรงกองพล โดยเฉพาะระบบ ปตอ.จีนอย่าง Type 74 37mm แฝดสอง และ Type 59 57mm ครับ

วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2559

พม่าอาจจะจัดซื้อเครื่องบินฝึกไอพ่น Yak-130 จากรัสเซีย

Yak-130 at MAKS-2011(wikipedia.org)

http://zakupki.gov.ru/223/plan/public/plan/info/position-view.html?planId=242544&planInfoId=848748&planInfoPositionId=73957312&versioned=&activeTab=5&pos=true&epz=true
http://zakupki.gov.ru/223/plan/public/plan/info/position-view.html?planId=242544&planInfoId=848748&planInfoPositionId=73957314&versioned=&activeTab=5&pos=true&epz=true

จากการอ้างอิงสองเอกสารใน website สำนักงานจัดซื้อจัดจ้างรัฐบาลสหพันธรัฐรัสเซียข้างต้นนั้นระบุว่า บริษัท Irkut Corporation ซึ่งมีสำนักออกแบบ Yakovlev ในเครือบริษัท โดยเป็นหนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมอากาศยาน United Aircraft Corporation รัสเซียนั้น
มีการลงนามสัญญาจัดซื้อเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2015 ลำดับ No P / 1510411150511 สำหรับจัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่น Yak-130 และผู้รับมอบกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินรหัส GP104 ซึ่งระบุว่าหมายถึงพม่า วงเงิน 809053.87 Euros(ต่อเครื่อง?)
ตามเอกสารยังกล่าวถึงการส่งมอบระบบเครื่องฝึกบินจำลองการรบ(Combat Training Simulator) วงเงิน $200000(ไม่เข้าใจเรื่องค่าเงิน?) ด้วย แต่ไม่มีรายละเอียดเพิ่มเติมทั้งจำนวนเครื่อง อุปกรณ์ อาวุธ และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการยืนยันข้อมูลอย่างเป็นทางการขณะนี้
แต่คาดว่าถ้าดูจากระยะเวลาในการส่งมอบเครื่อง Yak-130 ของกองทัพอากาศบังคลาเทศชุดแรก 6เครื่องในวันที่ 20 กันยายน 2015 จากที่สั่งจัดหา 16เครื่องเมื่อเดือนมกราคม 2014
จึงเป็นไปได้ว่าถ้าการจัดหานี้เป็นความจริงกองทัพอากาศพม่าจะได้รับมอบ Yak-130 และระบบที่เกี่ยวข้องภายในช่วงเดือนธันวาคมปี 2016-2017 โดยพม่านับเป็นประเทศที่สี่ที่จัดหา Yak-130 จากรัสเซียที่ส่งออกให้ แอลจีเรีย เบลารุส และบังคลาเทศ แล้ว


กองทัพอากาศพม่าปัจจุบันในส่วนของเครื่องบินฝึกไอพ่นนั้นประจำการด้วยเครื่องบินฝึกไอพ่น Hongdu K-8 จากจีน 12เครื่องที่จัดหาในปี 1998 และจัดหาเพิ่มเติมอีกในช่วงปี 2000s รวมราว 32-50เครื่อง
โดยกองทัพอากาศพม่าได้นำเครื่องบินฝึกไอพ่น K-8 ติดอาวุธปฏิบัติการในภารกิจโจมตีกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ เช่นที่ปรากฏภาพในยุทธการโจมตีกองกำลังคะฉิ่น KIA ในรัฐคะฉิ่นทางตอนเหนือของประเทศช่วงปี 2012-2013
ซึ่งเดิมกองทัพอากาศพม่าได้จัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่น Soko G-4 Super Galeb จากอดีตยูโกสลาเวียในช่วงปี 1991 ประมาณ 20เครื่อง ซึ่งถูกนำมาติดอาวุธโจมตีกองกำลังชนกลุ่มชาติพันธุ์เช่นกัน (ปัจจุบันน่าเหลืออยู่ 4เครื่องซึ่งไม่น่าจะทำการบินแล้วเนื่องจากขาดแคลนอะไหล่)
ทั้งนี้กองทัพอากาศพม่ากำลังอยู่ในช่วงที่จะต้องมีการจัดหาเครื่องบินขับไล่และเครื่องบินโจมตีแบบใหม่เพื่อทดแทนเครื่องรุ่นเก่าที่ล่าสมัยเช่น เครื่องบินขับไล่ F-7M 62เครื่อง และเครื่องบินโจมตี A-5M 36เครื่อง ที่จัดหามาจากจีนช่วงปี 1990-2000

Nigeria to become first JF-17 export operator
http://www.janes.com/article/57080/nigeria-to-become-first-jf-17-export-operator



ปัจจุบันกองทัพอากาศพม่ามีกำลังรบหลักเป็นเครื่องบินขับไล่ MiG-29 จากรัสเซียประกอบด้วย รุ่นที่นั่งเดียว MiG-29B 20เครื่อง และ MiG-29SE 6เครื่อง และรุ่นฝึกสองที่นั่ง MiG-29UB 6เครื่อง (มี MiG-29 ตกจากอุบัติเหตุ 1เครื่องในปี 2014) รวม 31เครื่อง
นอกจากข่าวความสนใจเครื่องบินขับไล่ CAC/PAC JF-17 Thunder หรือ FC-1 ซึ่งเป็นโครงการร่วมของปากีสถานกับจีน ซึ่งปัจจุบัน JF-17 ประจำการในกองทัพอากาศปากีสถานเท่านั้น
โดยเครื่องบินขับไล่ JF-17 ปากีสถานอาจจะกำลังมีลูกค้าที่ส่งออกได้รายแรกคือไนจีเรีย จำนวน 3เครื่องวงเงิน $25 million พร้อมเครื่องบินฝึกใบพัดขั้นประถม PAC Super Mushshak  10เครื่อง วงเงิน $10 million (ยังไม่ยืนยันในขณะนี้)
นอกจากที่กองทัพอากาศพม่าสนใจการจัดตั้งสายการประกอบเครื่องบินขับไล่ JF-17 ภายในประเทศด้วยแล้ว ถ้ามีการยืนยันว่าพม่าจะจัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่น Yak-130 จริงจะนับเป็นก้าวสำคัญของการพัฒนากำลังทางอากาศของกองทัพอากาศพม่าในอนาคต

Myanmar expands defence industrial production capabilities
http://www.janes.com/article/57093/myanmar-expands-defence-industrial-production-capabilities

แผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงของรัฐบาลพม่าล่าสุดได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจเมื่อวันที่ 7 มกราคมที่ผ่านมาในการโอนย้ายโรงงานอุตสาหกรรมหนักที่เป็นของกระทรวงอุตสาหกรรมพม่าห้าแห่งให้เป็นของกระทรวงกลาโหมพม่า
โดยโรงงานทั้งห้าแห่งประกอบด้วย โรงงานอุตสาหกรรมหนักหมายเลข11 ย่างกุ้ง, หมายเลข12 โตนีโบ, หมายเลข13 มาเกว, หมายเลข25 เมียง และโรงงานย่อยที่มยินจาน
ทั้งนี้พม่ามีแผนจะขยายขนาดและปรับปรุงโรงงานเหล่านี้เพื่อรองรับระบบอุตสาหกรรมด้านความมั่นคงของพม่าให้มีประสิทธิภาพสูงมากยิ่งขึ้นครับ