วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559

Airbus Helicopters ส่งมอบเฮลิคอปเตอร์ H145M ชุดแรก ๒เครื่องให้กองทัพเรือไทย


Airbus Helicopters hands over first two H145M to Royal Thai Navy
http://www.airbushelicopters.com/website/en/press/Airbus-Helicopters-hands-over-first-two-H145M-to-Royal-Thai-Navy_1957.html

วันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๙ ที่ Donauwörth เยอรมนี บริษัท Airbus Helicopters ได้ส่งมอบเฮลิคอปเตอร์ทางทหารเอนกประสงค์แบบ H145M ๒เครื่องแรกจากจำนวนที่สั่งจัดหา ๕เครื่องให้กองทัพเรือไทย
เป็นเหตุการณ์สำคัญในโครงการจัดหา ฮ.H145M โดย ฮ.H145M จะมีการตรวจรับมอบและเข้าประจำการใน กองการบินทหารเรือ กองทัพเรือ ภายในสิ้นปี พ.ศ.๒๕๕๙(2016)

คณะตัวแทนจากกองทัพเรือไทยและผู้อำนวยการบริหาร Airbus Helicopters เยอรมนี นาย Wolfgang Schoder ได้เข้าร่วมพิธีที่โรงงาน Airbus Helicopters ใน Donauwörth
"หลังจากที่ ฮ.H145M ได้เข้าสู่ตลาดโดยเริ่มต้นจากกองทัพอากาศเยอรมนีเมื่อสิ้นปีที่แล้ว เรามีความภาคภูมิใจอย่างมากที่กองทัพเรือไทยได้เป็นผู้ใช้งานอีกรายของ ฮ.H145M ใหม่นี้
เฮลิคอปเตอร์รุ่นนี้มีความก้าวหน้าสูงที่สุดสำหรับการเพิ่มความต้องการที่ท้าทายมากขึ้นสำหรับลูกค้ากองทัพของเราในภารกิจยุคใหม่ของวันนี้
มันเป็นส่วนผสมของวิทยาการที่ล้าสมัย มีสมรรถนะที่โดดเด่น และมีขีดความสามารถเอนกประสงค์อย่างแท้จริง ขณะที่ยังคงความคล่องแคล่วที่สูงมาก และมีค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการที่ต่ำ" นาย Wolfgang Schoder กล่าว

เฮลิคอปเตอร์ H145M เป็นรุ่นใช้งานทางทหารที่พัฒนาจาก ฮ.H145 รุ่นพลเรือนที่เข้าประจำการครั้งแรกเมื่อกลางปี 2014 และมีชั่วโมงบินรวมแล้ว ๑๕,๐๐๐ชั่วโมงบินโดยลูกค้าผู้ใช้งาน
ด้วยน้ำหนักบินขึ้นสูงสุด 3.7tons ฮ.H145M สามารถใช้ในปฏิบัติการทางทหารได้หลากหลายรูปแบบทั้งปฏิบัติการทางเรือ, งานธุรการ, ลาดตระเวน, ค้นหาและกู้ภัย, ส่งกลับทางสายแพทย์, และสอดแนมติดอาวุธ
เฮลิคอปเตอร์ H145M ของกองทัพเรือไทย ได้ถูกติดตั้งคานอาวุธและอุปกรณ์เอนกประสงค์(Multi-Purpose Pylons) ประกอบด้วยส่วนครอบอากาศพลศาสตร์(aerodynamic fairings), ตะขอเกี่ยวสัมภาระ(cargo hooks), รอกกว้าน(hoists)
วิทยุความถี่สูง(HF) สำหรับภารกิจค้นหาและกู้ภัย(SAR: Search and Rescue), Radar ตรวจการณ์อากาศ, ระบบถังเชื้อเพลิงภายในความจุสูงสำหรับปฏิบัติการบินพิสัยไกล และแท่นติดตรึงสำหรับรองรับการปรับปรุงเพื่อการปฏิบัติการพิเศษในอนาคต

เฮลิคอปเตอร์ H145M ถูกออกแบบมาเป็น ฮ.ทางทหารเอนกประสงค์อย่างแท้จริง ฮ.H145M ได้เสนอรูปแบบระบบเดียวที่สามารถปฏิบัติภารกิจได้ทั้งกลางวันและกลางคืนในสภาพอากาศเลวร้ายและภูมิประเทศที่ยากลำบาก
สามารถติดตั้งอุปกรณ์สำหรับภารกิจที่หลากหลายตามความต้องการใช้งานของลูกค้า เพิ่มความยืดหยุ่นในการปฏิบัติภารกิจของผู้ใช้งานสูง
ฮ.ติดตั้งชุดระบบ Digital Avionic แบบ Helionix รองรับระบบ Autopilot แบบสี่แกนที่ออกแบบเพื่อลดภาระของนักบินขณะที่ยังคงระดับความปลอดภัยสูงและเพิ่มการหยั่งรู้สถานการณ์
ฮ.H145M ใช้เครื่องยนต์ไอพ่น Turboshaft แบบ Turbomeca Arriel 2E ควบคุมการทำงานด้วยระบบ FADEC(Full Authority Digital Engine) มีระดับเสียงที่เงียบต่ำที่สุดสำหรับกลุ่มเฮลิคอปเตอร์ในชั้นนี้

เฮลิคอปเตอร์ในตระกูล H145 ได้รับการพิสูจน์ถึงคุณค่าของพวกมันในหลายกองทัพผู้ใช้งานตลอดหลายปีที่ผ่านมา อาทิกองทัพเยอรมนี(Bundeswehr) ที่เป็นลูกค้ารายแรกที่จัดหา ฮ.H145M จำนวน ๑๕เครื่องสำหรับสนับสนุนหน่วยรบพิเศษที่เครื่องที่สามจะได้รับมอบในเร็วๆนี้
ฮ.H145M ทั้ง ๒เครื่องจะยังคงอยู่ที่เยอรมนีเพื่อทำการฝึกนักบินชุดแรกของ กองการบินทหารเรือ กองทัพเรือไทย ที่ศูนย์ฝึกของ Airbus Helicopters โดยเฮลิคอปเตอร์ H145M ทั้งหมด ๕เครื่องจะมีกำหนดการถูกส่งมอบให้กองทัพเรือไทยในเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๕๙(2016) นี้ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2559

เรือฟริเกตชั้น Gepard 3.9 ลำที่3ของกองทัพเรือเวียดนามถูกปล่อยลงน้ำแล้ว

Russian shipyard floats out third Gepard-3.9-class frigate for Vietnam
Egor Aleev/TASS
http://tass.ru/en/defense/872815

Third Vietnam People's Navy's Gepard 3.9 class Frigate at Zelenodolsk Shipyard
http://tatarstan.ru/rus/press/photo.htm/photoreport/1228187.htm

วันที่ 27 เมษายน ได้มีการทำพิธีปล่อยเรือฟริเกตชั้น Project 11661 Gepard 3.9 ลำที่3 ของกองทัพเรือประชาชนเวียดนาม ลงน้ำ ณ อู่ต่อเรือ Zelenodolsk ใน Tatarstan เขต Volga
"เราได้เติมเต็มตามพันธกรณีต่อกองทัพเวียดนามตามเวลาและอย่างเหมาะสม" นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐ Tatarstan(เขตปกครองในส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐรัสเซีย) Ildar Khalikov กล่าว
ด้านรองผู้บัญชาการกองทัพประชาชนเวียดนาม พลเรือโท Pham Ngoc Minh ก็ได้กล่าวในงานว่าเรือฟริเกตชั้น Gepard 3.9 สองลำแรกที่จัดหาจากรัสเซียนั้น "ได้รับการพิสูจน์ความมีประสิทธิภาพเป็นอย่างดี"

HQ-011 Dinh Tien Hoang and HQ-012 Ly Thai To, Project 11661 Gepard 3.9 class Frigate Vietnam People's Navy

อู่ต่อเรือ Zelenodolsk ได้ทำการสร้างและส่งมอบเรือฟริเกตชั้น Project 11661 Gepard 3.9 จำนวน 2ลำให้กองทัพเรือประชาชนเวียดนามเมื่อปี 2011 คือ HQ-011 Dinh Tien Hoang และ HQ-012 Ly Thai To
ในปี 2012 เวียดนามได้ลงนามสัญญาจัดหาเรือฟริเกตชั้น Gepard 3.9 เพิ่มอีก 2ลำโดยเรือใหม่ทั้งสองลำได้ทำพิธีวางกระดูกงูเรือเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2013
โดยกองทัพเรือประชาชนเวียดนามมีกำหนดจะรับมอบเรือฟริเกตใหม่สองลำในปี 2017 (ลำที่4กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างจะปล่อยลงน้ำเร็วๆนี้) มีรายงานว่ากองทัพเรือประชาชนเวียดนามมีแผนที่จะจัดหาเรือฟริเกต Gepard 3.9 เพิ่มอีก 2ลำ

การพัฒนากำลังรบของกองทัพเรือประชาชนเวียดนามนอกจากเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้า Project 636M Varshavyanka หรือ NATO กำหนดรหัสชั้น Improved Kilo ที่สั่งจัดหาจากรัสเซีย 6ลำซึ่งจะได้รับมอบครบทั้งหมดในราวปี 2016 แล้ว
เวียดนามกำลังอยู่ระหว่างการต่อเรือคอร์เวตชั้น Project 12418 Molniya (NATO กำหนดรหัสชั้น Tarantul) จำนวน 10ลำภายในประเทศหลังจัดหาจากรัสเซียก่อนหน้านี้แล้ว 2ลำรวมเป็น 12ลำ โดยเรือ 2ลำแรกที่ต่อในเวียดนามได้รับมอบในปี 2015 และ 2ลำล่าสุดปล่อยลงน้ำเมื่อกลางเดือนเมษายน 2016 ที่ผ่านมา
ส่วนการจัดหาเรือฟริเกตแบบ Sigma 9814 จากเนเธอร์แลนด์ 2ลำ ซึ่งเวียดนามมีแผนจะต่อในประเทศ 2ลำนั้นตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลความคืบหน้าเพิ่มเติมครับ

วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2559

DCNS ฝรั่งเศสได้รับเลือกเป็นผู้ชนะในโครงการจัดหาเรือดำน้ำใหม่ของกองทัพเรือออสเตรเลีย

Shortfin Barracuda Block 1A 3D model
http://dcnsgroup.com.au/news/dcns-at-pacific-2015/

Australia Chooses French Design for Future Submarine
http://www.defensenews.com/story/defense-news/2016/04/26/australia-chooses-french-design-future-submarine/83532778/

วันที่ 26 เมษายนที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย นาย Malcolm Turnbull ได้แถลงประกาศว่า บริษัท DCNS ฝรั่งเศสเป็นผู้ชนะในการคัดเลือกแบบโครงการจัดหาเรือดำน้ำ SEA 1000 ของกองทัพเรือออสเตรเลียวงเงิน A$50 billion($38.54 billion)
"DCNS ได้ถูกรับเลือกในฐานะหุ้นส่วนนานาชาติที่เป็นที่ต้องการของเราสำหรับการออกแบบเรือดำน้ำในอนาคต 12ลำ, หัวข้อในการหารืออื่นๆจะเป็นเรื่องเชิงพาณิชย์" นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียกล่าว
การประกาศเลือกแบบเรือดำน้ำนี่เป็นไปตามการแข่งขันคัดเลือกประเมินค่าจากตัวแทนบริษัทประเทศต่างๆคือ DCNS ฝรั่งเศส, TKMS เยอรมนีเสนอเรือดำน้ำแบบ Type 216 และรัฐบาลญี่ปุ่นเสนอเรือดำน้ำที่มีพื้นฐานจากเรือดำน้ำชั้น Soryu

แบบเรือดำน้ำของ DCNS ที่ได้รับเลือกคือ Shortfin Barracuda Block 1A ซึ่งเป็นเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าที่มีพื้นฐานจากเรือดำน้ำโจมตีพลังงานนิวเคลียร์ชั้น Barracuda ที่จะประจำการในกองทัพเรือฝรั่งเศสในอนาคต โดยงานออกแบบจะเริ่มต้นภายหลังภายในปีนี้
ซึ่งนายกรัฐมนตรี Turnbull ได้กล่าวว่าแบบเรือดำน้ำของ DCNS นั้นตรงความต้องการของออสเตรเลียดีที่สุดด้านพิสัยทำการสำหรับเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าที่จะมาทดแทนเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าชั้น Collins ทั้ง 6ลำที่ประจำการในกองทัพเรือออสเตรเลียปัจจุบัน
"นี่ยังรวมถึงสมรรถนะของระบบตรวจจับที่เหนือกว่าและคุณสมบัติการตรวจจับได้ยากเช่นเดียวกับพิสัยทำการและระยะเวลาปฏิบัติการเหมือนเรือดำน้ำชั้น Collins รัฐบาลได้พิจารณารวมถึง ราคา กำหนดการ การดำเนินงานโครงการ จนถึงการสนับสนุนตลอดอายุการใช้งาน และการมีส่วนร่วมของอุตสาหกรรมของออสเตรเลีย" นายกรัฐมนตรี Turnbull กล่าว

ทั้งนี้ผู้เข้าแข่งขันในโครงการจัดหาเรือดำน้ำ SEA 1000 แต่ละรายได้เสนอแผนยุทธศาสตร์การสร้างเรือดำน้ำใหม่สำหรับกองทัพเรือออสเตรเลียสามแนวทางคือ
หนึ่งการให้เรือทั้งหมดสร้างโดยอู่ต่อเรือที่ประเทศของตน, สองการสร้างเรือแบบผสมผสานคือให้เรือลำแรกต่อที่อู่ประเทศผู้ออกแบบโดยให้เรือที่เหลือต่อในอู่ของออสเตรเลีย และสามให้เรือทั้งหมดต่อที่อู่ของออสเตรเลีย
อย่างไรก็ตาม Marise Payne โฆษกรัฐมนตรีกลาโหมออสเตรเลียได้กล่าวว่ายืนยันว่าเรือดำน้ำใหม่ทั้ง 12ลำจะต่อที่อู่ต่อเรือ Adelaide ของ ASC(Australian Submarine Corporation เดิมเป็นบริษัทต่อเรือซึ่งมีรัฐบาลออสเตรเลียเป็นเจ้าของ) ในออสเตรเลียครับ

เวียดนามอาจมีแผนปรับปรุงปืนต่อสู้รถถังอัตตาจร ASU-85

DSA 2016: Vietnam may update Soviet era ASU-85s
Vietnam apparently acquired some Soviet ASU-85 airborne SPATGs after the 1979 war with China, which recently have been brought out of storage. Source: Via Bao Dat Viet 

Minotor-Service Corporation เบลารุสได้ให้ข้อมูลกับ Jane's ในงานแสดงยุทโธปกรณ์ Defense Services Asia 2016 ที่จัดขึ้นที่ Kuala Lumpur มาเลเซีย ระหว่างวันที่ 18-21 เมษายน ที่ผ่านมาว่า
กองทัพประชาชนเวียดนามให้ความสนใจอย่างมากที่จะจัดซื้อชุดปรับปรุงของบริษัท Minotor เบลารุสในการปรับปรุงระบบปืนต่อสู้รถถังอัตตาจรส่งทางอากาศ(Airborne SPATG: Self-Propelled Anti-Tank Gun) แบบ ASU-85 ที่เวียดนามจัดหาจากรัสเซียสมัยอดีตสหภาพโซเวียต
โดยชุดปรับปรุงของบริษัท Minortor เบลารุสประกอบด้วยเครื่องยนต์ใหม่ซึ่งจะทำให้ความเร็วของปืนต่อสู้รถถังอัตตาจร ASU-85 เพิ่มขึ้นจาก 45km/h เป็น 60km/h และเพิ่มพิสัยทำการจาก 400km เป็น 450km
มีการเปิดเผยว่ากองทัพบกประชาชนเวียดนามมีระบบปืนต่อสู้รถถังอัตตาจร ASU-85 ประจำการตามการเผยแพร่ภาพของรถขณะทำการฝึกซ้อมรบเมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 2015 ใน Website Bao Dat Viet เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2016  
แหล่งข้อมูลได้ให้ข้อมูลกับทาง Jane's ว่าปืนต่อสู้รถถังอัตตาจร ASU-85 ได้ถูกกองทัพประชาชนเวียดนามนำมาใช้หลังจากเกิดสงครามจีน-เวียดนามปี 1979 แล้ว

ปืนต่อสู้รถถังอัตตาจร ASU-85 มีน้ำหนักรถ 15.5tons มีพื้นฐานจากแคร่ฐานรถถังเบาสะเทินน้ำสะเทินบก PT-76 อาวุธหลักคือปืนใหญ่รถถัง D-70 ขนาด 85mm ติดด้านหน้าของรถแบบไม่เป็นป้อมปืนหมุนได้รอบคัน ความจุกระสุน 45นัด ระยะยิงไกลสุด 10km
ปตถ.อจ.ASU-85 ถูกนำเข้าประจำการในหน่วยทหารพลร่มโซเวียต(VDV)ตั้งแต่ปี 1959 สามารถเคลื่อนที่ทางอากาศด้วยการขนส่งไปกับเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหนัก Mi-6 (NATO กำหนดรหัส Hook) ซึ่งกองทัพอากาศประชาชนเวียดนามมีประจำการมาตั้งแต่ต้นปี 1990s
โดยปืนต่อสู้รถถังอัตตาจร ASU-85 จำนวนอย่างน้อย 25คันเป็นส่วนหนึ่งของการจัดหายุทโธปกรณ์จำนวนมากของกองทัพบกประชาชนเวียดนามทั้งรถถังหลัก T-62, T-55, T-54 และรถรบทหารราบ BMP-1 จากรัสเซียตั้งแต่ช่วงปี 1970s
ในการแปรสภาพ กองพลทหารราบที่304 กองพลทหารราบที่308 และกองพลทหารราบที่320 ให้เป็นกองพลทหารราบปืนเล็กยานยนต์ตามอัตราจัดกองทัพบกโซเวียต มีความเป็นไปได้ว่า ASU-85 จะถูกเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีเมื่อดูจากสภาพของรถตามที่มีภาพปรากฏ 
มีแหล่งข้อมูลของเวียดนามว่ารายงานรถถูกนำออกมาจากคลังเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการใช้งานในภูมิประเทศที่ยากลำบากครับ

วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2559

กองทัพเรือไทยทำพิธีวางกระดูกงูเรือตรวจการณ์ชายฝั่งชุดใหม่จำนวน ๕ลำ








พิธีวางกระดูกงูเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง ชุดใหม่ จำนวน 5 ลำ

วันนี้ (25 เมษายน 2559) เวลา 13.39 น. พลเรือเอก ณะ อารีนิจ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีวางกระดูกงูเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง ชุดใหม่ จำนวน 5 ลำ ณ อู่ต่อเรือ บริษัท มาร์ซัน จำกัด ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
ตามยุทธศาสตร์ ทร. พ.ศ.2551-2560 กำหนดความต้องการเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง (ตกช.) รวม 24 ลำ เพื่อใช้ในภารกิจต่าง ๆ โดยมีแผนปลดเรือ ตกช. ที่ใช้ราชการมานานและครบกำหนดปลดระวาง ตั้งแต่ปี 2558 - 2560 รวม 14 ลำ 
จึงมีความจำเป็นต้องการจัดหาเรือ ตกช. ทดแทนเรือที่จะปลดระวาง ซึ่งการจัดหาครั้งนี้เป็นการจัดหาเรือ ตกช. เพิ่มเติมให้เพียงพอต่อการใช้งาน 
เพื่อตอบสนองต่อภารกิจตามยุทธศาสตร์ ทร. สำหรับการจัด และเตรียมกาลังสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของทัพเรือภาคและหน่วยเฉพาะกิจของ กร. และให้การสนับสนุนอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง

การดำเนินโครงการจัดหาเรือ ตกช. ที่ผ่านมา ทร. ได้ทยอยจัดหาเรือ ตกช. ทดแทนมาอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือ 
โครงการจัดหาเรือ ตกช. ชุดเรือ ต.228 (ต.228, ต.229 และ ต.230) จำนวน 3 ลำ ผูกพันงบประมาณ 3 ปี (2554 – 2556) ได้รับมอบตามสัญญาฯ เรียบร้อยแล้ว เมื่อ ปี พ.ศ.2556 
โครงการจัดหาเรือ ตกช. จำนวน 6 ลำ ผูกพันงบประมาณ 3 ปี (2557-2559) ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินโครงการฯ มีกำหนดรับมอบเรือ ภายใน 27 ตุลาคม 2559 
และโครงการจัดหาเรือ ตกช. จำนวน 4 ลำ ผูกพันงบประมาณ 3 ปี (2558-2560) ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินโครงการฯ มีกำหนดรับมอบเรือ ภายใน 11 กรกฎาคม 2560

สำหรับการจัดหาเรือ ตกช. โดยการว่าจ้างให้ บริษัท มาร์ซัน จำกัด เป็นผู้ดำเนินการ นับได้ว่าเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมการต่อเรือภายในประเทศ อีกทั้งยังเป็นการประหยัดงบประมาณมากกว่าการจัดหาจากต่างประเทศ 
โดยเรือทั้ง 10 ลำ จะเข้าประจำการใน กองเรือยามฝั่ง กองเรือยุทธการ
มีภารกิจในการตรวจการณ์ สกัดกั้น ลาดตระเวน ป้องกันการแทรกซึมทางทะเลและชายฝั่ง คุ้มครองเรือประมงและเรือพาณิชย์ ป้องกันและคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติบริเวณชายฝั่งทะเลในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน 
รักษากฎหมายในทะเลตามอำนาจหน้าที่ที่กองทัพเรือได้รับมอบหมาย รวมถึงการถวายความปลอดภัยแด่พระบรมวงศานุวงศ์

ขีดความสามารถปฏิบัติการรบ (Combat Capabilities) 
สามารถปฏิบัติภารกิจได้ครอบคลุมพื้นที่ปฏิบัติการบริเวณชายฝั่งในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน สามารถตรวจจับ ติดตาม และพิสูจน์ทราบเป้าผิวน้ำ 
สามารถป้องกันตนเองจากเรือผิวน้ำและอากาศยานข้าศึกได้ตามสมรรถนะของอาวุธประจำเรือ สามารถปฏิบัติการทางเรืออย่างต่อเนื่อง โดยไม่ต้องรับการส่งกำลังบำรุงเพิ่มเติมได้ไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง 
สามารถปฏิบัติงานได้ในสภาพทะเลไม่น้อยกว่า Sea State 2 สามารถตรวจค้นเรือที่ต้องสงสัย ค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ และมีความสามารถการทรงตัวที่ดีในการบังคับเรือ และบังคับเลี้ยวในการปฏิบัติงานที่ความเร็วสูง (Maneuverability)

คุณลักษณะทั่วไปของเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง (Ship System Performance)
ระวางขับน้ำเต็มที่โดยประมาณ 45 ตัน 
ขนาดของเรือ ความยาวตลอดลำ 21.40 เมตร ความกว้างสูงสุดของเรือ 5.56 เมตร ความลึกของเรือ (Molded Depth) 3.15 เมตร กินน้ำลึกตัวเรือ (Molded Draught) 1.05 เมตร 
ความเร็วสูงสุดต่อเนื่อง ที่ระวางขับน้ำเต็มที่ไม่น้อยกว่า 30 นอต กำลังพลประจำเรือ 9 นาย สามารถปฏิบัติงานในทะเลได้ต่อเนื่องได้ไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง โดยไม่ต้องรับการส่งกำลังบำรุง ระยะปฏิบัติการไม่น้อยกว่า 350 ไมล์ทะเล 
ด้วยความเร็วเดินทางมัธยัสถ์ (15 นอต) ที่ระวางขับน้ำเต็มที่ (Full Load Displacement) 
ขนาดและสัดส่วนของโครงสร้างตัวเรือได้รับการตรวจสอบ และรับรองจากสมาคมจัดชั้นเรือ DNV แห่งประเทศนอร์เวย์ 
โดยโครงสร้างตัวเรือและแผ่นเปลือกเรือทำด้วยอลูมินัมอัลลอยเกรดที่ใช้ในการต่อเรือโดยเฉพาะ (Marine Grade) 
ระบบขับเคลื่อนประกอบด้วย เครื่องจักรใหญ่ดีเซลเรือตราอักษร MAN รุ่น D2862 LE463 พร้อมเพลาใบจักร จำนวน 2 ชุด ซึ่งผลิตกำลังได้เครื่องละ 1,029 กิโลวัตต์ ทำให้มีกำลังเครื่องจักรรวม 2,058 กิโลวัตต์ 
ขับเพลาใบจักรและใบจักรผ่านชุดคลัชท์และเกียร์ทด จำนวน 2 ชุด โดยที่ระบบเพลาและใบจักรซ้าย-ขวาเป็นแบบ Fixed Pitch Propeller (FPP) จำนวน 2 ชุด

อาวุธประจำเรือ
อาวุธปืนหลัก ปืนกลขนาด 20 มิลลิเมตร จำนวน 1 กระบอก บริเวณหัวเรือ
อาวุธปืนรอง ปืนกลขนาด .50 นิ้ว จำนวน 1 กระบอก 
พร้อมกับเครื่องยิงลูกระเบิด 81 มิลลิเมตร ร่วมแกน จำนวน 1 กระบอก ติดตั้งบริเวณท้ายเรือ

ที่มา กองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ
https://www.facebook.com/prthainavy/posts/1161971390520882
https://www.facebook.com/prthainavy/

การสร้างเรือตรวจการณ์ชายฝั่งใหม่โดยบริษัท MARSUN คือแบบเรือ M21 ชุดเรือ ต.228 เพื่อทดแทนเรือเก่าที่ประจำการมานานมีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องหลายปี
นับตั้งแต่ชุดแรกคือจำนวน ๓ลำ ประกอบด้วยเรือ ต.228, เรือ ต.229 และเรือ ต.230 ขึ้นระวางประจำการเมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๖
ชุดที่สองจำนวน ๖ลำ ประกอบด้วยเรือ ต.232, เรือ ต.233, เรือ ต.234, เรือ ต.235, เรือ ต.236 และ เรือ ต. 237 ซึ่งกองทัพเรือจัดพิธีปล่อยเรือลงน้ำเมื่อวันที่ ๔ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๙ ที่ผ่านมา โดยมีกำหนดจะรับมอบเรือภายในวันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๙
(หมายเหตุ: เรือ ต.231 คือเรือ Hysucat 18 ที่สร้างโดย Technautic Intertrading ประเทศไทย เข้าประจำการเมื่อ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ เป็นเรือต้นแบบทดสอบสาธิต Technology ใหม่ในสมัยนั้น)









ที่มา กองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ
https://www.facebook.com/prthainavy/photos/pcb.1148283998556288/1148283495223005/
https://www.facebook.com/prthainavy/

MARSUN M21 Patrol Boat Model (My Own Photo)

เรือ ตกช.ชุดต่อไปที่กำลังดำเนินการสร้างจำนวน ๔ลำ ได้พิธีวางกระดูกงูเรือไปเมื่อวันที่ ๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๘ มีกำหนดจะรับมอบเรือภายในวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
และชุดล่าสุดจำนวน ๕ลำที่ทำพิธีวางกระดูงูเรือไปวันนี้ครับ

วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2559

Instalaza สเปนเปิดตัวอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังแบบใหม่ C90-CS

Instalaza from Spain showcased its new C90-CS man portable anti-tank missile system at DSA
C90-CS man portable anti-tank missile system
http://www.armyrecognition.com/dsa_2016_official_online_show_daily_news/instalaza_from_spain_showcased_its_new_c90-cs_man_portable_anti-tank_missile_system_at_dsa_32104161.html

บริษัท Instalaza S.A.สเปนได้เปิดตัวระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังแบบ C90-CS ในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์นานาชาติ DSA 2016 ที่จัดขึ้นที่ Kuala Lumpur มาเลเซีย ระหว่างวันที่ 18-21 เมษายน ที่ผ่านมา
อาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง C90-CS เป็นระบบที่ไม่ต้องการการบำรุงรักษาตลอดอายุการใช้งาน มีความพร้อมใช้งานสูง น้ำหนักเบา มีขนาดสั้น และใช้งานง่าย เหมาะสำหรับส่งมอบให้ทุกหน่วยพร้อมใช้งานในทุกๆสนามรบ

ระบบอาวุธประกอบไปด้วย ส่วนหัวรบ, ชุดห้ามไกและชุดเล็งยิง และระบบรักษาเสถียรภาพ ซึ่งชนิดหัวรบของ C90-CS มีให้เลือกใช้หลายรุ่นตามความต้องการของผู้ใช้งาน
เช่น C90-RB-CS ใช้หัวรบดินโพรง Shaped Charge สำหรับเจาะเกราะหนาขนาดหนัก, C90-AM-CS ใช้หัวรบดินโพรงและส่วนบรรจุพิเศษที่จะระเบิดแตกสะเก็ดเพื่อต่อต้านเป้าหมายบุคคล
หัวรบสองชั้น Tandem สำหรับต่อต้านที่มั่นดัดแปลงแข็งแรง สามารถเจาะเกราะทำลายที่มั่นดัดเแปลงในชั้นแรกและจุดระเบิดแตกสะเก็ดทำลายเป้าหมายบุคคลที่อยู่ภายในที่กำบัง

อาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง C90-CS มีระบบรักษาห้ามไกและชุดยิงที่มีมาตรฐานปลอดภัย ใช้ระบบขับเคลื่อนแบบ Counter-Mass Launch Motor(ใช้หลักการเดียวกับ Davis gun)
สามารถทำการยิงได้จากภายในอาคาร อย่างบ้านพักอาศัยขนาดเล็ก หรือที่กำบังได้ตามมาตรฐาน NATO STANAG 44536 อีกทั้งยังสามารถทำการยิงในเวลากลางคืนโดยติดตั้งกล้องมองกลางคืน VN38-C ด้วยครับ

วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2559

เครื่องบินขับไล่ต้นแบบ Mitsubishi X-2 Shinshin ญี่ปุ่นขึ้นบินเป็นครั้งแรก

PICTURE: Mitsubishi X-2 completes maiden sortie

https://www.flightglobal.com/news/articles/picture-mitsubishi-x-2-completes-maiden-sortie-424499/


วันที่ 22 เมษายน 2016 เครื่องบินขับไล่ต้นแบบ Mitsubishi X-2 หรือเดิมที่รู้จักในชื่อ ATD-X Shinshin ได้ทำการบินขึ้นเป็นครั้งแรกจากสนามบิน Nagoya เวลา 0850 และลงจอดที่ฐานทัพอากาศ Gifu เวลา 0913
ถือเป็นความสำเร็จก้าวสำคัญของโครงการหลังจากที่มีการทดสอบและเลื่อกำหนดการบินขึ้นครั้งแรกในระยะสั้นเนื่องจากปัญหาสภาพอากาศ โดยนักบินทดสอบได้ให้ข้อมูลหลังจากการบินว่าเครื่องมีเสถียรภาพในการบินสูงมาก

เครื่องบินขับไล่ X-2 พัฒนาโดยบริษัท Mitsubishi Heavy Industries(MHI) ตามโครงการของกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นในการสร้างเครื่องบินขับไล่ต้นแบบเพื่อศึกษาการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ยุคที่5ด้วยตนเอง
โดยจะเข้าประจำการในกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศ(JASDF: Japan Air Self-Defense Force) ทดแทนเครื่องบินขับไล่ Mistubishi F-2 ซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นจะตัดสินใจโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ทดแทน F-2 ในเดือนมีนาคม 2019
ซึ่ง Mitsubishi X-2 Shinshin เป็นเครื่องบินต้นแบบเครื่องแรกของญี่ปุ่นที่มี Technology Stealth ตรวจจับได้ยาก มีความคล่องตัวสูง มีโครงสร้างอากาศยาน เครื่องยนต์ และระบบขั้นก้าวหน้าสูงที่จะนำมาใช้ในเครื่องบินขับไล่ยุคอนาคตของญี่ปุ่น

เครื่องบินขับไล่ต้นแบบ Mitsubishi X-2 มีความยาวลำตัว 14.2m ปีกกว้าง 9.1m ใช้เครื่องยนต์ Turbofan แบบ IHI XF5-1 แบบ low-bypass ปรับแรงขับท่อท้ายได้ กำลัง 11,023lbf สองเครื่อง
ทั้งนี้หลังจากทำการประเมินผลข้อมูลที่ได้จากเครื่องบินขับไล่ต้นแบบ X-2 แล้ว ถ้าญี่ปุ่นตัดสินใจที่จะอนุมัติการสร้างเครื่องบินขับไล่ยุคที่5ในประเทศ ก็จะมีการสร้างเครื่องต้นแบบที่ขนาดและเครื่องยนต์ใหญ่ขึ้น3เท่าและติดอาวุธได้ครับ

จีนเปิดเผยข้อมูลอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนต่อต้านเรือผิวน้ำยิงจากเรือดำน้ำใหม่และเรือระบายพลขนาดใหญ่รุ่นเก่าสำหรับส่งออก

DSA 2016: China details new sub-launched ASCM and old LCU
The 290 km range CM708UNB submarine launched ASCM was revealed at DSA 2016. Source: Via China National Precision Machinery Import and Export Corporation
http://www.janes.com/article/59687/dsa-2016-china-details-new-sub-launched-ascm-and-old-lcu

งานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์นานาชาติ DSA 2016 ที่จัดขึ้นที่ Kuala Lumpur มาเลเซีย ระหว่างวันที่ 18-21 เมษายน ที่ผ่านมานั้น
จีนได้เปิดเผยข้อมูลของอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนต่อต้านเรือผิวน้ำ(ASCM: Anti-Ship Cruise Missile) แบบยิงจากเรือดำน้ำ และข้อมูลของเรือระบายพลขนาดใหญ่(LCU: Landing Craft Utillity) รุ่นเก่าเพื่อประชาสัมพันธ์สำหรับส่งออก

China Aerospace Science and Industry Corporation (CASIC) ได้แสดงและเปิดเผยข้อมูลผลิตภัณฑ์ใหม่ของตนคืออาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำแบบยิงจากเรือดำน้ำ CM-708UNB ใช้ระบบขับเคลื่อน Turbojet ระยะยิง 290km
ขณะที่อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำแบบยิงจากเรือดำน้ำรุ่นก่อนคือ CM-708UNA ที่เปิดตัวในงาน Zhuhai Airshow 2014 น่าจะพัฒนามาจากอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ YJ-82(C-802)
โดย CM-708UNB ใหม่น่าจะพัฒนามาจากอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ YJ-82 หรือ YJ-83(C-803) รุ่นใหม่ที่มีระยะยิงไกลกว่า
CM-708UNB ใช้ชุดบรรจุรูปแบบ Torpedo ขนาด 1,200kg ความยาว 5.05m ตัวจรวดหนัก 700kg ทำความเร็วได้ที่ Mach 0.08-0.09 ใช้ระบบนำวิถี INS/ดาวเทียม และ Millimeter Wave Radar หัวรบหนัก 155kg เมื่อเข้าใกล้เป้าหมายขั้นสุดท้ายจะบินเรี่ยผิวน้ำ 5-7m

ผลิตภัณฑ์อีกแบบที่จีนเปิดตัวในงาน DSA 2016 คือเรือระบายพลขนาดใหญ่แบบ LC63 ขนาด 693ton ยาว 63m ซึ่งเป็นรุ่นส่งออกของเรือระบายพลขนาดใหญ่ชั้น Type 074A Yubei ทรง catamaran
ซึ่งเรือระบายพลขนาดใหญ่ชั้นนี้มีภาพปรากฎออกมาครั้งแรกใน Web จีนเมื่อช่วงต้นปี 2000s แต่มีการตั้งข้อสังเกตว่าเรือระบายพลขนาดใหญ่ชั้นนี้น่าจะเข้าประจำการในกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนตั้งแต่ต้นปี 1995 แล้ว
ทางการจีนได้ให้ข้อมูลกับ Jane's ว่าเรือระบายพลขนาดใหญ่ LC63 ได้ถูกส่งออกให้มิตรประเทศของจีนนอกเอเชียแล้ว
คุณสมบัติของเรือระบายพลขนาดใหญ่ LC63 สามารถทนทะเลได้ในระดับ Sea State 5 พิสัยทำการ 500nm ที่ความเร็ว 14knots มีระยะปฏิบัติการ 5วัน และใช้ท่อไอเสียแบบด้านข้างเพื่อลดสัญญาณ Infrared ติดอาวุธปืนกลหนัก 14.5mm 2กระบอก บรรทุกสัมภาระได้หนัก 250tons ประกอบด้วยรถถังหลัก Type 96 3คัน, รถถังเบาสะเทินน้ำสะเทินบก Type 63 6คัน หรือทหารราบติดอาวุธยุโธปกรณ์หนักพร้อมรบเต็มอัตรา 250นายครับ

วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2559

Finmeccanica อิตาลีและ Weststar มาเลเซียร่วมมือเพื่อเสนอเฮลิคอปเตอร์ AW159 ให้กองทัพเรือมาเลเซีย

DSA 2016: Finmeccanica and Weststar to offer AW159 to Malaysian navy
Finmeccanica and Global Komited jointly distribute the AgustaWestland AW159 maritime and utility aircraft in Malaysia. Source: AgustaWestland
http://www.janes.com/article/59658/dsa-2016-finmeccanica-and-weststar-to-offer-aw159-to-malaysian-navy

Global Komited ซึ่งเป็นบริษัทย่อยในเครือบริษัท Weststar Defence Industries มาเลเซียได้ลงนามความร่วมมือกับบริษัท Finmeccanica อิตาลีจัดตั้งทีมร่วมเพื่อนำเสนอเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทางทะเลและธุรการ AgustaWestland AW159 ให้กองทัพเรือมาเลเซีย
บันทึกความเข้าใจ(MoU: Memorandum of Understanding)ระหว่างสองบริษัทถูกลงนามเมื่อวันที่ 20 เมษายนที่ผ่านมาในงานแสดงยุทโธปกรณ์ Defence Services Asia (DSA 2016) ที่จัดขึ้นที่ Kuala Lumpur ระหว่างวันที่ 18-21 เมษายน
โดยครอบคลุมความร่วมมือในการประชาสัมพันธ์และจัดจำหน่าย รวมถึงความเป็นไปได้ในการให้บริการบำรุงรักษา ซ่อม และยกเครื่อง หาก ฮ.AW159 ได้รับเลือกจากกองทัพเรือมาเลเซียที่มีความต้องการเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ 6เครื่อง
ทั้งนี้ในส่วนการจัดการเพิ่มเติมยังรวมถึงแผนที่จะสนับสนุนให้ Global Komited ดำเนินโครงการปรับปรุงเฮลิคอปเตอร์ AgustaWestland Super Lynx 300 6เครื่องที่กองทัพเรือมาเลเซียมีประจำการอยู่แล้ว
ที่จัดหามานำเพื่อปฏิบัติการร่วมกับเรือฟริเกตชั้น Lekiu ซึ่ง ฮ.Super Lynx 300 ได้เข้าประจำการในกองทัพเรือมาเลเซียตั้งแต่ปี 2003 หลังจากที่ได้รับคำสั่งจัดหาในปี 1999

บันทึกความเข้าใจระหว่าง Finmeccanica อิตาลีและ Global Komited มาเลเซียมีผู้ร่วมเป็นสักขีพยานคือรัฐมนตรีทบวงการจัดซื้อจัดจ้างกลาโหม(Minister for Defence Procurement)สหราชอาณาจักร นาย Philip Dunne และรัฐมนตรีกลาโหมมาเลเซีย นาย Hishammuddin Hussein
ภายหลังการลงนามรัฐมนตรี Dunne ได้กล่าวกับ Jane's ว่าการลงนามครั้งนี้เป็นการกระชับความร่วมมือระหว่างสองประเทศให้แนบแน่นมากยิ่งขึ้น
"นี่เป็นส่วนทั้งหมดที่นำอุตสาหกรรมมาเลเซียและอุตสาหกรรมสหราชอาณาจักรร่วมกันเพื่อส่งมอบให้กองทัพมาเลเซีย นี่เป็นตัวอย่างจำนวนหนึ่งที่เราสามารถจะช่วยเหลือการปรับปรุงการบริการจัดหาระบบสำหรับที่นี่ Weststar เป็นหนึ่งในผู้รับสัญญาความั่นคงที่กำลังรุ่งโรจน์ที่มาเลเซียนี้ และ AgustaWestland ก็เป็นหนึ่งในผู้สร้างระบบที่มีการจัดตั้งมาอย่างยอดเยี่ยมในสหราชอาณาจักร
Weststar กำลังมองหาผู้ที่จะมอบการบริการที่มากกว่าสำหรับกองทัพอากาศและกองทัพเรือในภูมิภาคนี้ และนี่เป็นตัวอย่างที่ดีว่าอุตสาหกรรมของทั้งสองประเทศสามารถทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุความต้องการของกองทัพได้อย่างไร" รัฐมนตรี Dunneกล่าว
ในภูมิภาค ASEAN นั้นกองทัพเรือฟิลิปปินส์เป็นลูกค้ารายแรกของ AgustaWestland ที่เลือกจัดหาเฮลิคอปเตอร์ AW159 จำนวน 2เครื่องตามที่ได้เคยรายงานไปครับ

วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2559

จีนเปิดตัวระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังใหม่ Sagittar

Poly Defence of China unveils Sagittar a new portable anti-tank missile weapon system at DSA 2016.
New Sagittar portable anti-tank missile weapon system from Poly Defence of China.
http://www.armyrecognition.com/dsa_2016_official_online_show_daily_news/poly_defence_of_china_unveils_sagittar_a_new_portable_anti-tank_missile_weapon_system_at_dsa_2016_11904161.html

ในงานแสดงยุทโธปกรณ์นานาชาติ DSA 2016 ที่ Kuala Lumpur มาเลเซีย ระหว่างวันที่ 18-21 เมษายน บริษัท Poly Defence จีนได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังแบบพกพาใหม่คือ Sagittar
อาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง Sagittar เป็นระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นที่ออกแบบมาสำหรับหลายรูปแบบเป้าหมายทั้งเป้าประจำที่ภาคพื้นดินและยานยนต์หุ้มเกราะเบาจนถึงรถถังหลัก

ระบบ Sagittar ประกอบด้วยสามส่วนหลักคือ แท่นยิงอาวุธปล่อยนำวิถี,ชุดเล็ง และขาหยั่ง โดย Sagittar เป็นอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังยุคที่4 ที่มีความสามารถ "ยิงแล้วลืม" ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ระบบนำวิถีหลังทำการยิงจรวดออกไปแล้ว ทั้งการฉายแสง Laser หรือควบคุมด้วยเส้นลวด
ระบบ Sagittar สามารถยิงถูกเป้าหมายได้โดยที่ชุดยิงไม่จำเป็นต้องมีแนวเล็งเห็นเป้าหมาย ซึ่ง Sagittar ใช้ระบบนำวิถีแบบกล้องสร้างภาพ Infrared แบบไม่หล่อเย็นโดยใช้แสง IR จับเป้าและติดตามเป้าหมาย
Sagittar ยังใช้ CCD Matrix Sensor และชุดคำสั่งประมวลผลยุคใหม่ซึ่งยากต่อการต่อต้านด้วยมาตรการลวงทาง Electronic และมีความสามารถสูงในการประมวลผลเพื่อค้นหา ติดตาม และยิงทำลายเป้าหมาย

อาวุธปล่อยนำต่อสู้รถถัง Sagittar มีระยะยิง 200-2,500m ให้หัวรบแบบดินโพรงสองชั้น Tandem Shaped Charge ที่มีประสิทธิภาพในการต่อต้านเกราะปฏิกิริยา Reactive Armour
โดยเจาะทำลายเกราะนอกก่อนโดยไม่ระเบิดแล้วทำลายเกราะหลักด้วยหัวรบชุดสอง หรือเลือกระเบิดทำลายแผ่นเกราะตามระยะเวลาที่ตั้งเพื่อต่อต้านการระเบิดที่ล้มเหลว ซึ่ง Sagittar สามารถเจาะเกราะได้หนาถึง 800mm ครับ

วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2559

กองทัพเรืออินโดนีเซียเลือกระบบป้องกันระยะประชิด Type 730 จีนสำหรับเรือเร็วโจมตี KCR-60M

DSA 2016: Indonesia selects Type 730 CIWS for KCR-60M attack craft
The Type 730 CIWS on the TNI-AL's Kapitan Pattimura-class corvette, KRI Sultan Thaha Syaifuddin. The vessel was used as a platform to evaluate the Type 730's effectiveness.
The weapon system has now been selected for the first the TNI-AL's first two KCR-60M-class attack craft. Source: TNI-AL
http://www.janes.com/article/59568/dsa-2016-indonesia-selects-type-730-ciws-for-kcr-60m-attack-craft

งานแสดงยุทโธปกรณ์ DSA 2016 ที่จัดขึ้นที่ Kuala Lumpur มาเลเซีย ระหว่างวันที่ 18-21 เมษายนนั้น มีการเปิดเผยข้อมูลกับ Jane's ว่า
กองทัพเรืออินโดนีเซีย(TNI-AL: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Laut) ได้เลือกระบบป้องกันระยะประชิด(CIWS: Close-In Weapon System) แบบ Type 730 จีนสำหรับการปรับปรุงเรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีชั้น KCR-60M
โดยเรือเร็วโจมตี KCR-60M สองลำแรกจากสามลำในชั้นคือ KRI Sampari(628) และ KRI Tombak(629) จะได้รับการติดตั้งป้อมปืนใหญ่กล Type 730 ที่ท้ายเรือแทนปืนใหญ่กล Denel Vector G12 ขนาด 20mm 2กระบอกที่ติดตั้งอยู่ในปัจจุบัน
ทั้งนี้เรือ KRI Sampari และ KRI Tombak มีกำหนดการที่จะเข้ารับการปรับปรุงเรือซึ่งรวมถึงการติดตั้งระบบอำนวยการรบและอาวุธใหม่ที่อู่ PT PAL ใน Surabaya ที่เป็นอู่ต่อเรือรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลอินโดนีเซียในเดือนกันยายน 2016 นี้
ซึ่งก่อนหน้านี้กองทัพเรืออินโดนีเซียได้เคยทดลองติดตั้ง Type 730 CIWS กับเรือคอร์เวตปราบเรือดำน้ำชั้น Kapitan Pattimura (เรือคอร์เวตชั้น Project 133 Parchim เยอรมันตะวันออก/รัสเซีย) คือ KRI Sultan Thala Syafuddin(376) มาแล้ว

ระบบป้องกันระยะประชิด Type 730 CIWS เป็นปืนใหญ่กล Gatling 7ลำกล้องหมุนขนาด 30mm ควบคุมการยิงด้วย Radar ออกแบบมาสำหรับการสกัดกั้นเพื่อป้องกันอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำและอาวุธนำวิถีแบบต่างๆที่จะเข้าโจมตีเรือ
(ซึ่งระบบ Type 730 CIWS มีรูปแบบที่คล้ายคลึงกับระบบป้องกันระยะประชิด Goalkeeper CIWS ของ Thales เนเธอร์แลนด์ที่มีใช้งานในเรือหลายชั้นทั่วโลกมาก )
โดยกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนได้ติดตั้ง Type 730 CIWS ในเรือของตนหลายชั้น เช่น เรือพิฆาตชั้น Type 051C (Luzhou), Type 052B (Luyang I) และ Type 052C (Luyang II) และเรือฟริเกตชั้น Type 054A (Jiangkai II) เป็นต้น
ตามแผนการปรับปรุงเรือเร็วโจมตี KCR-60M ทั้งสองลำที่จะติดตั้งระบบอำนวยการรบใหม่ของจีนซึ่งจะเชื่อมโยงระบบอาวุธปืนใหญ่เรือ Bofors 57mm กับ Type 730 CIWS และอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ C-705 จีนนั้น เป็นสัญญาณถึงการนำระบบอาวุธจีนมาติดตั้งใช้งานในเรือรบของกองทัพเรืออินโดนีเซียมากขึ้นครับ

วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2559

อิหร่านเปิดตัวรถถังหลัก Tiam ที่พัฒนาเองในประเทศ

Iran unveils Tiam tank
The Tiam tank unveiled on 13 April along with the Bahman seen in background. Source: IRNA
http://www.janes.com/article/59551/iran-unveils-tiam-tank


กองทัพบกอิหร่านได้เปิดตัวยานยนต์หลายแบบที่พัฒนาเองในประเทศต่อสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 13 เมษายนที่ผ่าน รวมถึงรถถังหลัก Tiam ที่อิหร่านพัฒนาเองในประเทศซึ่งมีพื้นฐานระบบจากทั้งสหรัฐฯและจีนหลายส่วนผสมกัน
รถถังหลัก Tiam ใช้แคร่รถฐานของรถถังหลัก M47M ซึ่งเป็นแคร่ฐานรถถังหลัก M47 สหรัฐฯที่ใช้เครื่องยนต์ของรถถังหลัก M60A1 โดยอิหร่านได้ทำการผลิตรถถังหลัก M47M ในประเทศตั้งแต่ช่วงต้นปี 1970s
และอิหร่านได้เปิดตัวรถถังหลัก Sabalan ที่พัฒนาดัดแปลงมาจากรถถังหลัก M47M เมื่อเดือนเมษายน 2014 โดยรถถังหลัก Sabalan ติดตั้งปืนใหญ่รถถังที่ดูเหมือนปืนใหญ่รถถัง L7 ขนาด 105mm แทนปืนใหญ่รถถัง 90mm เดิม
รถถังหลัก Tiam ติดตั้งปืนใหญ่รถถัง 105mm เช่นกัน แต่ใช้ป้อมปืนที่มีรูปทรงคล้ายป้อมปืนของรถถังหลัก Type 59/Type 69 จีนที่ลอกแบบจาก T-54/T-55 รัสเซีย
ซึ่งรถถังหลัก Type 59/69 บางรุ่นได้รับการปรับปรุงติดตั้ง ปถ.105mm ที่ลอกแบบมาจาก ปถ.L7 แทนปืนใหญ่รถถังขนาด 100mm เดิม(เช่นรถถังหลัก Type 69-II กองทัพบกไทยที่ปรับปรุงใหม่และรถถังหลัก Type 59M กองทัพบกพม่า)
โดยพื้นที่ส่วนพื้นบนของตัวแคร่ฐานรถ M47M ดูเหมือนจะถูกยกให้สูงขึ้นเพื่อรองรับตะกร้าใส่สัมภาระขนาดใหญ่ที่ติดกับป้อมปืน รวมถึงเกราะปฏิกิริยาแรงระเบิด ERA ที่ติดกับส่วนหน้าป้อมปืนและแคร่รถด้วย

ในงานเดียวกันกองทัพบกอิหร่านยังได้เปิดตัวระบบปืนใหญ่อัตตาจรล้อยางแบบ Bahman
ซึ่งเป็นการนำป้อมปืนระบบปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน ZSU-57-2 ขนาด57mm แฝดรัสเซียติดตั้งกับรถบรรทุก KrAZ 6x6 พร้อมแท่นยึด Hydraulic 4ตัวเพื่อยึดตัวรถกับพื้นให้มั่นคงขณะทำการยิง
และระบบตรวจจับนิวเคลียร์ ชีวะ เคมี อัตตาจร (นชค./NBC) แบบ Shahram ซึ่งติดตั้งระบบตรวจจับบนรถหุ้มเกราะล้อยาง BTR-60
นอกนั้นระบบยานยนต์และระบบอาวุธอื่นๆที่แสดงในงานก็มีรถถังหลัก Shir ซึ่งมีพื้นฐานจากรถถังหลัก Chieftain ที่อิหร่านพัฒนาเองและรถถังหลัก T-62 ที่ปรับปรุงใหม่
อย่างไรก็ตามรถถังหลัก Karrar ที่ได้เคยรายงานไปก่อนหน้ายังไม่ได้เปิดตัวในงานนี้ ซึ่งรัฐมนตรีกลาโหมอิหร่านได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับรถถังหลักใหม่นี้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาว่ามีประสิทธิภาพอย่างน้อยเทียบเท่ารถถังหลัก T-90 รัสเซีย
ทั้งนี้ผู้บัญชาการทหารบกอิหร่าน พลจัตวา Ahmad Reza Pourdastan ได้กล่าวต่อสื่อมวลชนในงานว่ารถถังหลัก Karrar น่าจะเปิดตัวได้ภายในเดือนหน้าครับ

วันเสาร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2559

เฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-28N รัสเซียที่เกิดอุบัติเหตุตกในซีเรียอาจจะมีสาเหตุจากความขัดข้องทางเทคนิคของตัวเครื่อง

Russian combat helicopter in Syria may have crashed due to technical malfunction
Rostislav Koshelev/ITAR-TASS
Terrorists can`t have shot down the helicopter they do not have effective air defense weapons
http://tass.ru/en/defense/869959

ฝ่ายประชาสัมพันธ์กระทรวงกลาโหมรัสเซียได้ให้ข้อมูลต่อกรณีที่เฮลิคอปเตอร์โจมตีแบบ Mil Mi-28N Night Hunter (NATO กำหนดรหัส Havoc) กองทัพอากาศรัสเซีย(VKS: Aerospace Force)
เกิดอุบัติเหตุตกระหว่างปฏิบัติการรบในซีเรียโดยนักบินประจำเครื่องทั้งสองนายเสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 เมษายนว่า กำลังอยู่ในระหว่างการสอบสวนสาเหตุ โดยศพของนักบินทั้งสองนายได้เก็บกู้และส่งมาที่ฐานทัพอากาศ Humaymim แล้ว

ทั้งนี้จากแหล่งข้อมูลในรัสเซียหลายแห่งความขัดข้องทางเทคนิคของตัวอากาศยานน่าจะเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุ
"พวกผู้ก่อการร้ายไม่สามารถจะยิงเฮลิคอปเตอร์ให้ตกได้ พวกนี้ไม่มีระบบอาวุธต่อสู้อากาศยานที่มีประสิทธิภาพพอ มันมีโอกาสน้อยกับระบบอาวุธต่อสู้อากาศยานแบบประทับบ่ายิง(MANPADS: Man Portable Air Defense Systems)ที่มีอายุการใช้งานมากหรือล้าสมัย
ที่พวกผู้ก่อการร้ายมีใช้งานอย่างเช่น 9K32 Strela-2 (NATO กำหนดรหัส SA-7 Grail) และ 9K310 Igla-1 (NATO กำหนดรหัส SA-16 Gimlet) รัสเซีย หรือ HN-5 จีน
ที่จะทำลายเกราะของ ฮ.โจมตี Mi-28N ที่ป้องกันกระสุนปืนใหญ่ขนาด 12.7mm, 14.5mm และ 23mm พร้อมระบบลวงต่อต้าน(Jammer) ได้ ด้วยเหตุนี้ความขัดข้องทางเทคนิคจึงน่าจะเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุ"
แหล่งข้อมูลภายในส่วนอุตสาหกรรมความั่นคงของรัสเซียรายหนึ่งกล่าวโดยให้ข้อมูลเสริมอีกว่า หลังจากที่ ฮ.โจมตี Mi-28N เกิดอุบัติเหตุตกในงานแสดง Aviadarts 2015 เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2015 ซึ่งมีนักบินประเครื่องเสียชีวิตหนึ่งนายนั่น
มีการนำชิ้นส่วนประกอบต่างๆชุดใหม่ถูกส่งไปติดตั้งเสริมกับ ฮ.โจมตี Mi-28N ทุกเครื่องหลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว

ทั้งนี้ความขัดข้องทางเทคนิค(หรือมักถูกเรียกรวมว่า 'ปัจจัยจากมนุษย์') มักจะเป็นสาเหตุหลักส่วนใหญ่ของการเกิดอุบัติเหตุของเฮลิคอปเตอร์ที่ใช้งานโดยกองทัพต่างๆทั่วโลก
ตามข้อมูลของ Joint Aircraft Survivability Program Office ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯนั้น
กองทัพสหรัฐฯได้สูญเสียเฮลิคอปเตอร์รบระหว่างยุทธการ Iraqi Freedom ในอิรัก และยุทธการ Enduring Freedom ในอัฟกานิสถานรวม 83เครื่อง ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2001 ถึงกันยายน 2009
ซึ่งรวมถึงเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64A Apache และ AH-64D Apache Longbow 68เครื่อง และเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-1/AH-1W Super Cobra 15เครื่อง

มี ฮ.โจมตี Apache เพียง 11เครื่องหรือร้อยละ16 เท่านั้นที่ถูกยิงตกจากข้าศึก(แม้แต่จากการถูกยิงด้วยกระสุนปืนเล็กยาว AK ขนาด 7.62x39mm)
สาเหตุการสูญเสียที่มาจากความขัดข้องทางเทคนิคและความผิดพลาดของนักบินของ ฮ.โจมตี AH-64 Apache มีเป็นจำนวน 31เครื่องหรือร้อยละ45 นอกนั้นอีก 26เครื่องหรือร้อยละ39 มาจากสาเหตุอื่นๆในสนามรบ
ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่ามี ฮ.โจมตี Apache 42เครื่องหรือร้อยละ61 ที่สูญเสียจากเหตุความขัดข้องทางเทคนิคเป็นสาเหตุหลักมากที่สุด
ในส่วนของเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-1/AH-1W Super Cobra ที่กองทัพสหรัฐฯวางกำลังในอิรักและอัฟกานิสถานั้น
มีเพียง 5เครื่องหรือร้อยละ33 ที่ถูกทำลายจากปฏิบัติการรบจากสาเหตุทั้งจากอุบัติเหตุและความขัดข้องทางเทคนิค โดยมี 5เครื่องที่สูญเสียโดยไม่ได้อยู่ระหว่างทำการรบ

รวมแล้วกองทัพสหรัฐฯสูญเสียอากาศยานปีกหมุน 375เครื่องจาก 496กรณี ในอิรักและอัฟกานิสถานตั้งแต่เดือนตุลาคม 2001 ถึงกันยายน 2009
โดยสูญเสียร้อยละ81หรือ 304เครื่องจากหลายสาเหตุ แต่มีเพียงร้อยละ19 หรือ71เครื่องที่เกิดจากการยิงของข้าศึกในสนามรบ
ซึ่งมีทั้งอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ MANPADS และเครื่องยิงจรวดต่อสู้รถถัง RPG-7 เป็นภัยคุกคามหลักของอากาศยานปีกหมุน
อัตราการสูญเสียที่ไม่ได้มาจากข้าศึกโดยตรงรวมเป็น 2.71ต่อ 100,000ชั่วโมงบิน เกินอัตราการสูญเสียจากข้าศึกเพียงเล็กน้อย

ดังนั้นสำหรับกรณีอุบัติเหตุของ ฮ.โจมตี Mi-28N รัสเซียที่ตกในซีเรียล่าสุดนั้น นักวิเคราะห์ทางทหารรัสเซียจึงให้ความเห็นว่าน่าจะมีสาเหตุจากความขัดข้องทางเทคนิคของเครื่องหรือความผิดพลาดของนักบิน
ที่เป็นสาเหตุหลักส่วนใหญ่ของอุบัติเหตุที่เกิดกับอากาศยานปีกหมุนของกองทัพในสนามรบยุคปัจจุบันครับ

เครื่องบินขับไล่ PAK-FA รัสเซียเริ่มการทดสอบการติดตั้งระบบอาวุธอย่างเข้มข้น

Russian PAK-FA carries out intensive weapon testing
A PAK-FA prototype seen carrying external weapons during ongoing tests. Source: Piotr Butowski
http://www.janes.com/article/59509/russian-pak-fa-carries-out-intensive-weapon-testing

อดีผู้บัญชาการกองทัพห้วงอากาศและอวกาศรัสเซีย(VKS) พลอากาศเอก Vladimir Mikhailov  ได้กล่าวให้ข้อมูลกับสื่อโทรทัศน์รัสเซียว่า
เครื่องบินขับไล่ยุคที่5 แบบ Sukhoi T-50 PAK-FA ได้มีการดำเนินการทดสอบการติดตั้งและปล่อยอาวุธจากห้องเก็บอาวุธภายในตัวเครื่องเป็นครั้งแรก
แต่ทั้งนี้ตามการแถลงของนายพล Mikhailov นั้นยังไม่ได้รับการยืนยันจะแหล่งข้อมูลอื่นๆ รวมถึงภาพการทดสอบการติดตั้งและปล่อยอาวุธใดๆในขณะนี้ด้วย

ปัจจุบันเครื่องบินขับไล่ PAK-FA เครื่องต้นแบบจำนวน 3เครื่องจาก 5เครื่อง ได้ถูกดำเนินการทดสอบที่ศูนย์ฝึกกระทรวงกลาโหมรัสเซียที่ Akhtubinsk สำหรับการทดสอบระบบภารกิจและอาวุธทางอากาศ
โดยเครื่องต้นแบบที่ทดสอบที่ศูนย์ดังกล่าวดังกล่าวมี T-50-3, T-50-4 และ T-50-5R ซึ่งเป็นเครื่องต้นแบบเครื่องเดียวที่ติดตั้ง Radar และระบบตรวจจับเป้าหมาย
ขณะเดียวกันเครื่องต้นแบบ T-50-1 และ T-50-2 ก็กำลังอยู่ในการดำเนินการทดสอบที่ Zhukovsky สำหรับการติดตั้วระบบอาวุธที่ตำบลภายนอกลำตัวเครื่อง





จากภาพที่ปรากฎใน Website russianplanes.net  ล่าสุดในเดือนเมษายนที่ผ่านมาจะเห็นเครื่องต้นแบบดังกล่าวติดตั้งระบบอาวุธหลายแบบ
เช่น อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น Kh-31 2นัด อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ R-73 2นัด และระเบิดธรรมดาขนาด 250kg 6ลูก
ตามข้อมูลที่ไม่ยืนยันเครื่องต้นแบบเครื่องที่6จะออกจากโรงงานประกอบที่ Komsomolsk-on-Amur ในสิ้นเดือนเมษายนนี้ ซึ่งจะเป็นเครื่องแรกของเครื่องต้นแบบชุดที่สองที่มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญในส่วนโครงสร้างอากาศยานหลายส่วนครับ

วันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2559

เดนมาร์กเลือกผู้แข่งขัน 5รายสำหรับโครงการจัดหาปืนใหญ่อัตตาจร

Denmark picks five bidders for artillery procurement
Denmark has prequalified five companies to bid to replace its M109A3 artillery pieces. Source: Royal Danish Army
http://www.janes.com/article/59456/denmark-picks-five-bidders-for-artillery-procurement

สำนักงานจัดซื้อจัดจ้างกลาโหมนอร์เวย์(FMI) ได้ประกาศข้อมูลออกมาว่า เดนมาร์กได้เลือกตัวแทนผู้เข้าแข่งขัน 5รายสำหรับโครงการจัดหาปืนใหญ่อัตตาจรของตน
ซึ่งโครงการนี้เป็นการจัดหาระบบปืนใหญ่อัตตาจรแบบใหม่เพื่อทดแทนปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน M109A3 155mm ของกองทัพบกเดนมาร์ก
ตามรายงานของ FMI ตัวแทนทั้ง 5รายคือ BAE Systems, Elbit Systems, Hanwha Techwin, Huta Stalowa Wola (HSW) และ Nexter Systems

การคัดเลือกก่อนตัวแทนที่จะเข้าแข่งขันในโครงการปืนใหญ่อัตตาจรนี้จะมีการประเมินขีดความสามารถในการผลิตและความต้องการอื่นๆมากกว่าการประเมินค่าตัวระบบที่จะนำเสนอ ดังนั้นจึงไม่มีข้อมูลของระบบที่ผู้เข้าแข่งขันจะเสนอในโครงการออกมา
โดยระบบที่เป็นไปได้ว่าจะมีการเสนอสำหรับโครงการคือ ปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง Autonomous Truck Mounted howitzer System (ATMOS) จาก Elbit, ปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง CAESAR จาก Nexter
และปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน K9 Thunder จาก Huta Techwin ขณะเดียวกัน HSW อาจจะเสนอปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน Krab(ระบบของโปแลนด์ที่ผสมระหว่าง K9 และ AS90 อังกฤษ) หรือปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง Kryl (เป็นรุ่นหนึ่งของระบบ ATMOS)
ทาง BAE Systems น่าจะเสนอปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน M109 รุ่นปรับปรุงใหม่(อย่าง M109A7 รุ่นล่าสุดของกองทัพบกสหรัฐฯ) หรือปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง Archer
ซึ่งจากการพูดคุยเมื่อวันที่ 12 เมษายนที่ผ่านมา ทาง Jane's ยังไม่ได้รับการยืนยันแบบระบบที่ทาง BAE Systems จะเสนอในโครงการ

ทั้งนี้โครงการจัดหาปืนใหญ่อัตตาจรของกองทัพบกเดนมาร์กเพื่อทดแทน M109A3 นี้เป็นการจัดหาครั้งที่สองที่มีการตั้งขึ้นมา
โดยโครงการจัดหาปืนใหญ่อัตตาจรใหม่ขั้นต้น 21ระบบครั้งแรกนั้นถูกยกเลิกไปเมื่อเดือนเมษายน 2015 เนื่องจากเหตุผลติดขัดด้านงบประมาณที่ชัดเจนครับ

วันพุธที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2559

เรือฟริเกต Type 125 ลำแรกของกองทัพเรือเยอรมนีดำเนินการทดสอบในทะเล

Germany's first Type 125 frigate begins sea trials
The German Navy's first Type 125 frigate, the future FGS Baden-Württemberg, has begun sea trials. Source: ThyssenKrupp Marine Systems
http://www.janes.com/article/59438/germany-s-first-type-125-frigate-begins-sea-trials

เรือฟริเกตแบบ Type 125 ลำแรกของกองทัพเรือเยอรมนี F222 FGS Baden-Württemberg ได้ทำการเดินเรือทดสอบในทะเลเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 เมษายนที่ผ่านมา นับเป็นขั้นตอนสำคัญของโครงการนี้
การออกแบบและแนวคิดการปฏิบัติการของเรือฟริเกตชั้นที่สร้างออกมาสำหรับกองทัพเรือเยอรมนีนี้คือ การออกแบบใช้ระบบเครื่องยนต์ขับเคลื่อนแบบ CODLAG(Combined Diesel-Electric and Gas Turbine)
ในส่วนของการปฏิบัติการเรือฟริเกตชั้นนี้ถูกออกแบบให้มีจุดประสงค์หลักเพื่อรองรับการสนับสนุนปฏิบัติการรักษาเสถียรภาพและวางกำลังในทะเลได้อย่างน้อยสองปีในช่วงเวลาซึ่งใช้การหมุนเวียนกำลังพลประจำเรือตามปกติ

โครงการเรือฟริเกต F125 ได้เริ่มต้นขึ้นในปี 2004 โดยมีการลงนามสัญญาการสร้างเรือในชื่อ ARGE F125 กับบริษัท ThyssenKrupp Marine Systems, Lürssen และ PeeneWerft(ตอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของ Lürssen) ในเดือนมิถุนายน 2007
ตามแผนเดิมของกองทัพเยอรมนี(Bundeswehr) ในปี 2008 จะมีการส่งมอบเรือให้กองทัพเรือเยอรมนีในช่วงปลายปี 2014 ถึงปี 2017 วงเงินที่ลงทุนในโครงการโดยรวมอยู่ที่ 2.69 billion Euros
เรือลำแรกของชั้นคือ Baden-Württemberg ได้รับการตั้งชื่อเมื่อเดือนธันวาคม 2013 และถูกปล่อยลงน้ำเมื่อเดือนมีนาคม 2014 โดยจะมีการทดสอบเรือในทะเลเหนือและทะเล Baltic ทั้งระบบขับเคลื่อนและระบบต่างๆที่ติดตั้ง คาดว่าจะส่งมอบเรือได้ในราวกลางปี 2017

ทั้งนี้เรือลำที่สองของชั้นคือ Nordrhein-Westfalen ถูกปล่อยลงน้ำเมื่อปี 2015 คาดว่าจะเข้าประจำการได้ในปี 2018
ส่วนเรือลำที่สามของชั้นคือ Sachsen-Anhalt มีกำหนดการจะเข้าประจำการได้ในช่วงต้นปี 2019
และเรือลำที่สี่ของชั้นคือ Rheinland-Pfalz จะเข้าประจำการตามในช่วงต้นปี 2020 ครับ

วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2559

เฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-28 รัสเซียตกในซีเรีย นักบินสองนายเสียชีวิต

Russia loses Mi-28N to Syrian accident
A Russian Mi-28N attack helicopter crashed near the city of Homs in Syria on 12 April, killing both crew members. Source: Piotr Butowski
http://www.janes.com/article/59441/russia-loses-mi-28n-to-syrian-accident

สื่อรัสเซียได้รายงานว่าเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mil Mi-28N Night Hunter (NATO กำหนดรหัส Havoc) ซึ่งกองทัพอากาศรัสเซียนำไปวางกำลังเพื่อภารกิจโจมตีทางอากาศในซีเรียนั้นเกิดอุบัติเหตุตกทำให้นักบินบนเครื่องทั้ง 2นายเสียชีวิต
โดย ฮ.โจมตี Mi-28N เกิดอุบัติเหตุตกใกล้กับเมือง Homs จากความผิดพลาดของระบบเครื่องซึ่งยังไม่เป็นที่เปิดเผย สำนักข่าว RT รัสเซียได้รายงานการให้สัมภาษณ์ของรัฐมนตรีกลาโหมรัสเซียว่า
ศพของนักบิน ฮ.โจมตี Mi-28N ทั้ง 2นายถูกพบและเก็บกู้ได้อย่างรวดเร็วโดยเจ้าหน้าที่กองทัพรัสเซียภายในไม่กี่ชั่วโมงของวันที่ 12 เมษายนนี้
กองทัพอากาศรัสเซียได้นำเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-28N วางกำลังปฏิบัติการในซีเรียร่วมกับเฮลิคอปเตอร์โจมตี Kamov Ka-50 และ Ka-52 Alligator (NATO กำหนดรหัส Hokum/Hokum-B)
เพื่อใช้ปฏิบัติการแทนเฮลิคอปเตอร์จู่โจม Mi-24 (NATO กำหนดรหัส Hind) ที่ประจำการมาตั้งแต่ยุคอดีตสหภาพโซเวียต ซึ่ง ฮ.โจมตีรุ่นใหม่เหล่านี้ถูกวางกำลังที่ฐานทัพอากาศ Al-Shayrat ที่ห่างออกไป 30km ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมือง Homs



ฮ.โจมตี Mi-28N สามารถติดตั้งอาวุธได้หลายแบบ โดยมีปืนใหญ่อากาศ 2A42 ขนาด 30mm ที่ล่างหัวเครื่อง และตำบลติดตั้งอาวุธสองจุดในปีกคานอาวุธข้างตัวเครื่องทั้งสองข้าง แต่ละตำบลรองรับอาวุธได้หนัก 480kg
อาวุธที่ติดตั้งได้มีเช่น อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นต่อสู้รถถังนำวิถีด้วยคลื่นวิทยุ 9M114 Shturm C (NATO กำหนดรหัส AT-6 Spiral), กระเปาะจรวดแบบ UB-20 สำหรับจรวดไม่นำวิถี S-8 ขนาด 80mm หรือ จรวดไม่นำวิถี S-13 ขนาด 122mm,
กระเปาะปืนใหญ่อากาศ UPK-23-250V สำหรับปืนใหญ่อากาศ GSh-23L ขนาด 23mm พร้อมกระสุน 250นัด, อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นต่อสู้รถถัง Shipunov 9M120/9M121F Vikhr/Ataka-V (NATO กำหนดรหัส AT-12 Swinger) และ 9A-2200,
อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ 9M39 Igla-V (NATO กำหนดรหัส SA-16 'Gimlet) และ R-73 (NATO กำหนดรหัส AA-11 Archer)
ฮ.โจมตี Mi-28 ฝูงแรกของกองทัพอากาศรัสเซียมีความพร้อมในการปฏิบัติการเมื่อปี 2009 ปัจจุบันมีการสั่งจัดหาแล้ว 120เครื่องซึ่งจะส่งมอบจนถึงปี 2018 (คาดว่าได้รับมอบแล้วประมาณ 50เครื่อง) โดยมีแผนระยะยาวที่จะมีการสั่งจัดหารวมราว 300-500เครื่องครับ

กองทัพบกแคนาดาจะได้รับมอบรถเกราะล้อยาง TAPV ใหม่ภายในสิ้นปี 2016

Canada to receive new TAPVs by end of 2016
A pre-production Canadian TAPV is shown with applique armour package and the Kongsberg Protector remote weapon station. Source: Textron Marine & Land Systems
http://www.janes.com/article/59421/canada-to-receive-new-tapvs-by-end-of-2016

กองทัพบกแคนาดาจะได้รับมอบรถเกราะล้อยาง 4x4 แบบ Textron Tactical Armoured Patrol Vehicle (TAPV) ภายในสิ้นปี 2016 หลังจากมีความล่าช้ามาสองปี
รถเกราะล้อยาง TAPV จำนวน 500คันจะถูกส่งมอบให้ตามฐานทัพ 7แห่ง สำหรับ24หน่วย ซึ่งกองพลแคนาเดียนที่2(2nd Canadian Division) มีกำหนดการเป็นหน่วยแรกที่จะเป็นผู้ใช้งานรถเกราะ TAPV
โดยกองทัพบกแคนาดาแถลงเมื่อวันที่ 8 เมษายนที่ผ่านมาว่า รถเกราะล้อยาง TAPV จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการครั้งแรกในการฝึกเตรียมความพร้อมรบขั้นสูงตามวงรอบ Maple Resolve 2018
ทั้งนี้การประกาศความพร้อมปฏิบัติการเต็มอัตราของรถเกราะล้อยาง TAPV คาดว่าจะเป็นช่วงกลางปี 2020 หลังจากที่หน่วยที่รับมอบใช้งานทุกหน่วยได้ผ่านการฝึก ทดสอบโดยผู้ใช้ และร่วมปฏิบัติการฝึกภาคสนามเสร็จสิ้น

กองทัพบกแคนาดาได้ให้ข้อมูลว่ากำหนดการของโครงการจัดหารถเกราะล้อยางนี้มีความล่าช้าไปสองปี แต่ทางบริษัท Textron ซึ่งดำเนินการทดสอบและรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ของตนนั้นระบุว่า
"ปัจจุบันลุล่วงไปมากว่าร้อยละ50แล้ว และมีแผนที่จะเสร็จสิ้นภายในเดือนพฤษภาคม 2016"
ซึ่งรองผู้ช่วยรัฐมนตรีฝ่ายยุทธภัณฑ์กระทรวงป้องกันประเทศเป็นผู้ตรวจดูงานการทดสอบเหล่านี้
ภายหลังการรับรองรถเกราะล้อยาง TAPV จะเริ่มส่งมอบได้ภายในช่วงเดือนสิงหาคม 2016 และการส่งมอบรถเกราะทั้งหมดจะเสร็จสิ้นภายในระยะเวลา 17เดือนหลังจากนั้น

รถเกราะ TAPV มีพื้นฐานมาจากรถเกราะล้อยางตระกูล COMMANDO ของบริษัท Textron Systems ซึ่งมีรูปแบบใกล้เคียงกับรถเกราะล้อยาง COMMANDO Elite โดยติดตั้งป้อมปืน remote ที่ติดเครื่องยิงลูกระเบิดอัตโนมัติ 40mm และปืนกล C6(FN MAG 7.62x51mm)
กองทัพบกแคนาดามีความต้องการรถเกราะล้อยาง TAPV ในรุ่นรถธุรการทั่วไป 300คัน และรุ่นลาดตระเวน 200คัน เพื่อทดแทนรถเกราะล้อยาง 8x8 LAV-25 Coyote ซึ่งความแตกต่างของรถแต่ละรุ่นมีเพียงการออกแบบภายในและอุปกรณ์ภายในเท่านั้น
ซึ่งรถเกราะล้อยาง TAPV รุ่นลาดตระเวนจะถูกนำเข้าประจำการในหมู่ยานเกราะลาดตระเวน หมวดทหารราบลาดตระเวน และโรงเรียนยานเกราะ(Royal Canadian Armoured Corps School) กองทัพบกแคนาดา
จำนวนรถเกราะล้อยาง TAPV ทั้งหมด 500คันจะถูกใช้ภารกิจหลายแบบในสนามรบ ทั้งการรักษษความปลอดภัย การควบคุมและบัญชาการ การลำเลียงสิ่งของ และลำเลียงกำลังพลครับ

อิหร่านยืนยันว่าได้รับมอบระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-300 ชุดแรกจากรัสเซียแล้ว

Iran confirms delivery of first batch of Russia’s S-300 air defense missile systems
Vitaliy Nevar/TASS
"The first batch of the Russian S-300 air defense missile systems has arrived in Iran," the TASNIM news agency of Iran quotes the ministry official as saying
http://tass.ru/en/defense/868633

วันที่ 11 เมษายนที่ผ่านมา Hossein Jaber Ansari โฆษกกระทรวงการต่างประเทศอิหร่านได้แถลงว่ากองทัพอิหร่านได้รับมอบระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศแบบ S-300 ชุดแรกจากรัสเซียแล้ว
"ระบบอาวุธปล่อยนำวิถีป้องกันภัยทางอากาศ S-300 ของรัสเซียชุดแรกได้มาถึงอิหร่านแล้ว" สำนักข่าว TASNIM อิหร่านรายงานคำแถลงทางการของกระทรวงการต่างประเทศอิหร่าน

รัสเซียและอิหร่านได้ลงนามสัญญาจัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-300 จำนวน 5กองพันตั้งแต่ปี 2007 อย่างไรก็ตามในฤดูใบไม้ร่วง ปี2010 นาย Dmitry Medvedev ประธานาธิบดีรัสเซียในขณะนั้นได้สั่งยกเลิกสัญญาดังกล่าวตามมติคว่ำบาตรต่ออิหร่านของสหประชาชาติ
สัญญาวงเงิน $800 million จึงถูกยกเลิกไปพร้อมกับที่รัสเซียได้ส่งเงินที่จ่ายล่วงหน้าคืนให้อิหร่าน ต่อมาอิหร่านได้ยื่นฟ้องเป็นเงิน $4 billion ต่อศาลระหว่างประเทศใน Geneva ให้หน่วยงานด้านส่งออกยุทโธปกรณ์ของรัสเซียชดใช้ที่ผิดสัญญา
ตามที่รองนายกรัฐมนตรีรัสเซีย นาย Dmitry Rogozin กล่าวว่าเป็นการ "ผ่านการเจรจาที่ยาวนานและซับซ้อน" รัสเซียประสบความสำเร็จในการยุติข้อพิพาทนี้่ในศาล
ต่อมาในฤดูใบไม้ผลิ ปี2015 ประธานาธิบดีรัสเซีย Vladimir Putin ได้ยกเลิกการระงับการส่งมอบระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-300 ต่ออิหร่าน

Kremlin does not comment on deliveries of S-300 missile system to Iran
Iran’s TASNIM news agency reported earlier on Monday that the first batch of the S-300 air defense missile system has been delivered to Iran
Dmitriy Rogulin/ITAR-TASS
http://tass.ru/en/politics/868666


อย่างไรก็ตามทางรัฐบาลรัสเซียได้ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นต่อกรณีการเริ่มส่งมอบระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-300 ให้อิหร่านดังกล่าว
"ผมจะผ่านมันไปโดยไม่ให้ความเห็น" นาย Dmitry Peskov โฆษกประจำประธานาธิบดีรัสเซียกล่าวต่อสื่อในการแถลง
ซึ่งสถานีโทรทัศน์รัฐบาลอิหร่านได้เผยแพร่ภาพการส่งมอบระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-300 ชุดแรกซึ่งมีขบวนรถบรรทุกขนาดใหญ่ที่ทำการเคลื่อนย้ายระบบอาวุธที่ถูกปกคลุมด้วยการพรางผ้าปกปิดไว้อย่างน้อย 8คัน
ระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ S-300 (NATO กำหนดรหัส SA-10 Grumble) ถูกออกแบบให้เป็นระบบป้องกันทางอากาศพิสัยไกลสำหรับต่อต้านเป้าหมายทางอากาศทั้งอากาศยานปีกตรึง อากาศยานปีกหมุน อาวุธปล่อยนำวิถีร่อน และขีปนาวุธครับ

วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2559

ญี่ปุ่นจัดซื้อรถสะเทินน้ำสะเทินบก AAV7A1 ใหม่จาก BAE Systems

Japan buys new BAE Systems AAV7A1 amphibious assault vehicles
Japan's order for AAV7A1s will restart BAE Systems' production line for the long-serving amphibious tractors. (BAE Systems)
http://www.janes.com/article/59391/japan-buys-new-bae-systems-aav7a1-amphibious-assault-vehicles

BAE Systems ได้ประกาศเมื่อวันที่ 7 เมษายนที่ผ่านมาว่าบริษัทได้รับสัญญาจากกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นในการจัดหารถเกราะสายพานสะเทินน้ำสะเทินบกลำเลียงพลแบบ AAV7A1 จำนวน 30คัน
BAE Systems กล่าวว่ารถสะเทินน้ำสะเทินบกที่ญี่ปุ่นสั่งจัดหาเป็นรุ่น AAV7A1 Reliability, Availability, and Maintainability/Rebuild to Standard (RAM/RS) และสัญญาได้รวมถึงเครื่องมือและอุปกรณ์การฝึกเช่นเดียวกับให้การสนับสนุนกการฝึกอบรม

"AAV7A1 RAM/RS รุ่นนี้จะมีเครื่องยนต์ที่มีกำลังขับมากกว่าและระบบขับเคลื่อน เช่นเดียวกับการปรับปรุงระบบกันกระเทือนใหม่ ทำให้รถรุ่นใหม่มีสมรรถนะเหนือกว่ารถ AAV7A1 รุ่นดั้งเดิม" บริษัท BAE Systems กล่าว
ซึ่งตามข้อมูลจาก Jane's Land Warfare Platforms รถรุ่น RAM/RS จะติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซลของ Cummins กำลัง 525HP และระบบกันกระเทือนใหม่ซึ่งนำมาจากรถรบทหารราบ Bradley ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของ BAE Systems
อีกทั้ง BAE Systems จะเปิดสายการผลิตรถสะเทินน้ำสะเทินบก AAV7A1 RAM/RS ที่ประกอบสร้างใหม่ทั้งคัน ซึ่งรถสะเทินน้ำสะเทินบก AAV7 นั้นถูกนำเข้าประจำการมาตั้งแต่ปี 1972 ในหลายประเทศทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน
เช่น นาวิกโยธินสหรัฐฯที่มีโครงการปรับปรุงสมรรถนะโดยบริษัท SAIC (AAV Survivability Upgrade) ซึ่งจะยืดอายุการใช้งานของรถไปอีกไม่ต่ำกว่า 20ปี โดยญี่ปุ่นเองได้มีการจัดหารถสะเทินน้ำสะเทินบก AAV7A1 จำนวน 6คัน มาทดลองใช้งานก่อนการสั่งจัดหาครั้งนี้

การจัดหารถสะเทินน้ำสะเทินบก AAV7A1 เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนากองกำลังป้องกันตนเองทางบกญี่ปุ่น(JGSDF: Japan Ground Self-Defense Force)ด้านขีดความสามารถในการปฏิบัติการรบยกพลขึ้นบก เพื่อรองรับกรณีที่ญี่ปุ่นต้องใช้กำลังทหารเข้ายึดหมู่เกาะที่เป็นพื้นที่พิพาททางพรมแดนคืนจากฝ่ายตรงข้าม
คาดว่า BAE Systems จะเริ่มเปิดสายการผลิตรถสะเทินน้ำสะเทินบก AAV7A1 RAM/RS ใหม่ที่โรงงานใน York มลรัฐ Pennsylvania ราวเดือนสิงหาคมนี้ โดยกองกำลังป้องกันตนเองทางบกญี่ปุ่นจะได้รับมอบรถภายในปีหน้าจนครบทั้งหมดในราวสิ้นปี 2017
โดยโครงการจัดหารถสะเทินน้ำสะเทินบก AAV7A1 จำนวน 30คันนี้มีวงเงิน $149 million โดยเป็นส่วนหนึ่งของงบประมาณประจำปี 2015 ของกระทรวงการคลังญี่ปุ่นวงเงิน 20.3พันล้านเยน($187 million) ครับ

วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2559

Heckler & Koch เยอรมนีได้รับสัญญาจากกองทัพบกสหรัฐฯสำหรับปืนซุ่มยิงใหม่

Heckler & Koch to build new US Army sniper rifle
Heckler & Koch G28 7.62 mm Designated Marksman Rifle in 'Patrol' configuration Source: H&K
http://www.janes.com/article/59331/heckler-koch-to-build-new-us-army-sniper-rifle

ตามการประกาศเมื่อวันที่ 1 เมษายน บริษัท Heckler & Koch เยอรมนีได้รับสัญญาจากกองทัพบกสหรัฐฯให้เป็นผู้ชนะในโครงการปืนซุ่มยิง Compact Semi-Automatic Sniper System (CSASS) ที่คาดว่าจะมีวงเงินสัญญาขั้นต้น $44.5 million
บริษัท HK เยอรมนีที่เป็นบริษัทสาขาในสหรัฐฯเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับผู้เข้าแข่งขันในโครงการนี้รายอื่นอีก 7ราย โดยเข้าใจว่าปืนซุ่มยิงที่ได้รับเลือกคือ Heckler & Koch G28 (Gewehr-28) Designated Marksman Rifle ขนาด 7.62x51mm
ซึ่งจะถูกจัดหามาเสริมปืนซุ่มยิง M110 Semi-Automatic Sniper System (SASS) ขนาด 7.62x51mm ที่มีใช้งานในกองทัพบกสหรัฐฯปัจจุบัน
ภายใต้ข้อตกลงกองทัพบกสหรัฐฯอาจจะจัดหาปืนซุ่มยิง CSASS ถึง 3,643กระบอก หลังจากที่มีการรับรองขั้นต้นและการทดสอบการใช้ปฏิบัติงานของปืนซุ่มยิง CSASS ขั้นต้นจำนวน 30กระบอก

ตามการแจ้งประกาศชักชวนก่อนของโครงการที่ออกมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2014 กองทัพบกสหรัฐฯต้องการปืนซุ่มยิง CSASS ที่เพียงพอจะ"เทียบเท่า M110 ที่มีอยู่ตามวัตถุประสงค์ความต้องการของกองทัพบก" โดยไม่มากไปกว่า 3,643กระบอก
"ปืนซุ่มยิง CSASS จะมีประสิทธิภาพการดำเนินการที่เป็นผลในวงกว้างของภารกิจ" มากกว่า M110 เอกสารแจ้งยังกล่าวอีกว่า "ปืนซุ่มยิง CSASS จะเพิ่มการปรับปรุงดังต่อไปนี้คือ ความน่าเชื่อถือมากขึ้น, ความแม่นยำมากขึ้น, ความเหมาะสมทางสรีรศาสตร์ที่ดีขึ้น โดยลดน้ำหนักและความยาวตัวปืน การเคลือบชั้นสูง กล้องเล็งที่ดีขึ้น ลดแรงถีบขณะยิง เพิ่มประสิทธิภาพของท่อเก็บเสียง เพิ่มขีดความสามารถของรางติดตั้งอุปกรณ์เสริม ปรับปรุงขาทราย, ไกปืน ด้ามปืน และพานท้ายให้ดีขึ้น"
ตามข้อมูลใน Jane's Infantry Weapons ปืนซุ่มยิง HK G28 นั้นพัฒนามาจากปืนเล็กยาวสำหรับการแข่งขันของพลเรือนแบบ MR308 (หรือที่รู้จักในชื่อ Distinguished Match Rifle - DMR762) ซึ่งปัจจุบันปืนซุ่มยิง G28 มีใช้งานในกองทัพเยอรมนี(Bundeswehr) ครับ