วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
ความคืบหน้าโครงการสร้างเรือตรวจการณ์ปืนเรือหลวงแหลมสิงห์ที่อู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า กรกฎาคม ๒๕๕๙
"ไพรีพินาศ"
ร.ล.แหลมสิงห์ (H.T.M.S. Laem Sing) เรือตรวจการณ์ปืน หมายเลข 561 (Patrol Gun Boat : PGB-561) ขณะกำลังติดตั้งอาวุธประจำเรือ โดยช่างจาก กรมสรรพาวุธทหารเรือเป็นผู้ดำเนินการ
และคาดว่าจะขึ้นระวางประจำการได้วนห้วง ปลายเดือน ก.ย.59 นี้อย่างแน่นอนครับ (ตามแผนงานที่วางโครงการไว้)
กองทัพเรือให้ความสำคัญกับองค์ความรู้ ควบคู่ไปกังความพร้อมขององค์วัตถุ และ องค์ยุทธวิธีเสมอ โดยในโครงการต่างๅ จะมีการเพิ่มเติมการส่งผ่านองค์ความรู้ระหว่างผู้ผลิต ให้กับคนในกองทัพเรือ หรือที่เรียกว่า Knowledge Transfer / Technology Transfer นั่นเองครับ
ร.ล.แหลมสิงห์ (H.T.M.S. Laem Sing) เรือตรวจการณ์ปืน หมายเลข 561 (Patrol Gun Boat : PGB-561) ความสง่างามเมื่อติดตั้งระบบอาวุธบนเรือ
ใกล้พร้อมประจำการสำหรับความภูมิใจของการสร้างเรือด้วยฝีมือกำลังพลของกองทัพเรือ ซึ่งเป็นการพึ่งพาตนเองของพวกเราชาวดอกประดู่
ปืน 76 พร้อม!!!!
สอบถามกันมาหลายท่านว่าปืนหัว ซึ่งเป็นระบบปืนหลักของเรือตรวจการณ์ปืน หรือ ร.ล.แหลมสิงห์ (PGB-561) เป็นปืนอะไร
คำตอบก็คือ ปืน 76/62 มม. Oto Melera รุ่น Compact ครับ โดยปืนกระบอกนี้เป็นปืนมือสอง (ผ่านการใช้งานแล้ว) แต่บริษัทผู้ขายได้ทำการซ่อมปรับปรุงให้ใหม่ (Refurbished) ก่อนการส่งมอบ ซึ่งมีคณะกรรมการตรวจการจ้าง ไปตรวจรับตั้งแต่ ในโรงงานกันเลยทีเดียวครับ
ความพิเศษคือ เรือหลวงลำนี้นอกจากจะต่อด้วยฝีมือคนไทย ระบบอาวุธแม้ขีดความสามารถในการผลิตปืนเรือเองของเรายังไม่มี แต่การติดตั้งปืน ดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่สรรพาวุธของกองทัพเรือ ซึ่งมีความชำนาญ
ขั้นตอนหลังจากนี้จะต้องดำเนินการปรับแต่งค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ระหว่าง ปืน กับ ระบบควบคุมการยิง แบบ Thales Mirador เพื่อเตรียมทดสอบทดลองขั้นต่อไปครับ
เรือหลวงแหลมสิงห์ จะขึ้นระวางประจำการในห้วงเดือน ก.ย. โดยจะสังกัด กองเรือตรวจอ่าว ครับ
มารู้จักกับ ปืนหลัก...ของ ร.ล.แหลมสิงห์ กันดีกว่า
ใครๆ ก็ทราบดีว่า ร.ล.แหลมสิงห์ เป็นเรือที่ต่อโดยกองทัพเรือ ร่วมกับ ภาคเอกชนอย่างบริษัท มาร์ซัน
โดยเป็นเรือตรวจการณ์ปืน (เรือ ตกป.) หรือ Patrol Gun Boat : PGB โดยมีหมายเลขประจำเรือ คือ 561 โดยเลข 5 แสดงประเภท เป็นเรือประเภทเรือตรวจการณ์ หมายเลข 6 เป็นเรือตรวจการณ์ชุดที่ 6 และ หมายเลข 1 ตัวสุดท้าย คือ เป็นเรือลำแรก ของชุดดังกล่าวครับ
มาเข้าเรื่องของเรากันเลย ... เรือตรวจการณ์ปืน มันก็ต้องเริ่มจากรู้จักกับ ปืนหลัก กันก่อนเลย
ปืนหลักของ ร.ล.แหลมสิงห์ (Main Gun) ติดตั้งบริเวณหัวเรือ คือ ปืนเรือขนาด 76/62 Oto Melara รุ่น Compact ซึ่งเป็นปืนเรือที่เรียกได้ว่าเป็นที่นิยมมากที่สุดในโลกเลยก็ว่าได้
ทั้งนี้ปืน 76/62 ของ ร.ล.แหลมสิงห์ เป็นปืน Refurbished คือ เป็นปืนมือสอง ที่ทางบริษัทรับซื้อต่อจากประเทศที่มีการเปลี่ยนแบบปืน (เนื่องจาก มีปืน 76/62 Oto Melara รุ่นใหม่มาติดตั้งแทน) มาเปลี่ยนชิ้นส่วนอะไหล่ที่สำคัญ ด้วยของใหม่ครับ
ตัวเลข 76 หมายถึง ความกว้างปากกระบอกมีหน่วยเป็นมิลลิเมตร /62 เป็นความยาวกระบอกปืน มีหน่วยเป็นเท่าของคาลิเบอร์ โดยคาลิเบอร์เท่ากับความกว้างปากกระบอกนั่นเองครับ (ปืน 40 มม. หนึ่งคาลิเบอร์เท่ากับ 40 มม. , ปืน 155 มม. หนึ่งคาลิเบอร์ เท่ากับ 155 มม.)
สำหรับคุณลักษณะโดยทั่วไปของปืน
-ปืนมีระยะยิงไกลสุด 16300 เมตร (สำหรับลูกปืนแบบทั่วไป)
-ความเร็วต้นปากกระบอก (Muzzle Velocity) ประมาณ 925 เมตร/วินาที (ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดของลูกปืน)
-อัตราเร็วในการยิงสามารถปรับเต่งได้ สูงสุดที่ 80 นัดต่อนาที
-บรรจุลูกปืนได้สูงสุด 80 นัด
-ระบบหันปืนเป็นแบบ Inverse Slewing ทำให้มีการจำกัดมุมหัน (กล่าวคือ เมื่อหมดมุมหัน จะต้องหันปืนกลับมาทางเดิมเพื่อไปหาเป้าครับ) ส่วนอีกแบบคือ Slip Ring สามารถหันรอบตัวเองได้ไม่จำกัดรอบครับ
-กระบอกปืนหล่อเย็นด้วยน้ำทะเล ทำความสะอาดด้วยน้ำจืด และมีระบบไล่เขม่าด้วยอากาศธาตุ
-พลประจำปืนน้อยที่สุด ใช้จำนวน 3 นาย
ซึ่งมีหลายท่านได้ให้ความเห็นว่า ปืนขนาด 76/62 นั้นอาจจะดูใหญ่เกินตัวเกินไปสำหรับเรือตรวจการณ์ปืน ซึ่งเป็นไปได้ว่าเกิดการเปรียบเทียบกับเรือตรวจการณ์ปืนประเทศอื่นๆ ครับ
ซึ่งแน่นอนว่ามันมีเหตุผลบางอย่างแน่นอน นั่นก็คือ เรือตรวจการณ์ปืนทุกลำ ของกองทัพเรือ มีภารกิจในการยิงสนับสนุนฝั่งด้วยปืนเรือ (Naval Gun Fire Support : NGFS) นั่นเอง
ซึ่งหากเลือกใช้ปืน 57 มม. หรือ ปืน 40 มม. นั้น จะทำให้ไม่สามารถยิงสนับสนุนฝั่งด้วยปืนเรือได้นั่นเองครับ
สำหรับ ร.ล.แหลมสิงห์ จะใช้การควบคุมการยิง ด้วยเครื่องควบคุมการยิงแบบ Thales MIRADOR ซึ่งแอดมินจะขอติดไว้ มาเล่าให้ฟังวันหลังแล้วกันนะครับ ^^
ป.ล. ... ปืน 76/62 Oto MELARA ที่กล่างถึงในคอลัมน์นี้ เป็นแบบ COMPACT เท่านั้นนะครับ อย่าสับสนกับ Super Rapid ที่มีติดตั้งบน ร.ล.อ่างทอง และ เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.ปัตตานี นะครับ
ถามกันมามาก กับ ปืน 76/62 Oto Melara Compact ของ ร.ล.แหลมสิงห์ ที่ว่าเป็นปืน Refurbished มีการสอบถามครับ ทำไมไม่ซื้อมือหนึ่ง หลายท่านบอกว่าเงินเราไม่พอ ถูกส่วนหนึ่งแต่ไม่ทั้งหมดครับ
ความต้องการเราคือ 76/62 Compact เพียงพอต่อการใช้งาน ซึ่งรุ่น Compact บริษัท Finmeccanica ผู้ Takeover Otomelara ไปนั้น ยกเลิกสายการผลิต
แปลว่า ถ้าอยากได้รุ่น Compact ไม่มี มือหนึ่งขายครับ ครั้นจะซื้อ Super Rapid ก็ต้องเพิ่มเงินมากเกือบ 2 เท่า จึงเลือกเอาปืน Refurbished รุ่น Compact
ซึ่งเจ้าปืน Refurbished นั้น เป็นปืนจาก USN ที่มีแนวทางการใช้งานคือ ราวๆ 5 ปี แล้วไม่ซ่อมบำรุงแต่ขายคืน Otomelara แล้วซื้อของใหม่แทน
แปลว่า ปืนกระบอกนี้ เป็นปืนที่ผ่านการใช้งานมา 5 ปีครับ และได้การเปลี่ยนอะไหล่ชิ้นสำคัญไปหลายชิ้น โดยจริงแล้วอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นปืน 76/62 ลูกผสมก็ว่าได้
ใน ทร. มีปืน 76/62 ทั้งหมด 4 แบบ หลัก
1. Compact mod 6
2. Compact mod 7
3. Compact mod 8 (Rapid)
4. Super rapid
ซึ่งกระบอกนี้ เรียกกันเล่นๆ ว่า 76/62 Oto Melara mod 6.5 Semi Super Rapid ก็แล้วกันครับ ^^
By Admin WO634
https://www.facebook.com/NavyForLifePage/posts/1063560483681845
https://www.facebook.com/NavyForLifePage/posts/1065425356828691
https://www.facebook.com/NavyForLifePage
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10207629816796740&set=p.10207629816796740
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10207676430082043&set=p.10207676430082043
https://www.facebook.com/M58PGB/posts/850501641751173
https://www.facebook.com/M58PGB
ความคืบหน้าล่าสุดของโครงการสร้างเรือตรวจการณ์ปืนชุด ร.ล.แหลมสิงห์ นั้นได้มีการติดตั้งระบบอาวุธประจำเรือหลักคือ ปืนใหญ่เรือ OTO Melara 76/62 และปืนใหญ่กล MSI DS30MR ไปเรียบร้อยแล้วในช่วงต้นเดือนกรกฎาคมนี้
ตามข้อมูลในข้างต้นพิธีขึ้นระวางประจำการ ร.ล.แหลมสิงห์ คาดว่าจะมีขึ้นในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้ครับ
วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
กองทัพเรือเกาหลีใต้ทำพิธีปล่อยเรือเร็วโจมตี PKMR Chamsuri-211 ลงน้ำ
Navy launches new patrol boat to counter N. Korean hovercrafts
In this photo taken on July 28, 2016, officials from the Navy and Hanjin Heavy Industries pose for a photo after the launch ceremony of a new patrol boat 'Chamsuri 211' at the Youngdo shipyard in Busan, 453 kilometers south of Seoul. (Yonhap)
http://english.yonhapnews.co.kr/national/2016/07/28/33/0301000000AEN20160728004100315F.html
http://english.yonhapnews.co.kr/national/2016/07/28/33/0301000000AEN20160728004151315F.html
เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคมที่ผ่านมา กองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลีได้ทำพิธีปล่อยเรือเร็วโจมตีแบบใหม่คือเรือเร็วโจมตี PKMR(Patrol Boat Killer Medium, Rocket) ชื่อ Chamsuri-211 ที่อู่ต่อเรือ Youngdo บริษัท Hanjin Heavy Industries เมือง Busan 453km ทางใต้ของ Seoul
โดยเรือเร็วโจมตีชั้นใหม่ที่เดิมรู้จักในชื่อ PKX-B(Patrol Killer eXperimental-B) ซึ่งอยู่ในสายการพัฒนาของเรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีชั้น Gumdoksuri(PKX-A) นี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อทดแทนเรือเร็วโจมตีปืนชั้น Chamsuri เดิมที่ประจำการมากว่า 20ปี
ในการตอบสนองภารกิจตรวจการณ์ทางทะเลในน่านน้ำใกล้พรมแดนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีที่เรียกว่า 'เส้นจำกัดเขตเหนือ'(Northern Limit Line) ซึ่งเกาหลีเหนือไม่ยอมรับ และต่อต้านกองกำลังยกพลขึ้นบกของกองทัพประชาชนเกาหลีที่จะเข้าโจมตีเกาหลีใต้
ซึ่งเรือเร็วโจมตี Chamsuri-211 จะดำเนินการทดสอบตัวเรือในทะเลก่อนจะเข้าประจำการอย่างเป็นทางการในราวครึ่งหลังปี 2017 โดยกองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลีมีความต้องการเรือเร็วโจมตีชุดใหม่นี้ขั้นต้นรวม 16ลำ
LIG Nex1 LOGIR 130mm turret 1/8 model at KDEC 2016
เรือเร็วโจมตี Chamsuri-211 มีระวางขับน้ำ 210tons ตัวเรือยาว 44m กว้าง 7m มีกำลังพลประจำเรือ 20นาย
ติดตั้งเครื่องยนต์ CODAG(Combined Diesel and Gas Turbine) ประกอบด้วยเครื่องยนต์ Gas Turbine General Electric LM500 กำลัง 6,000HP และเครื่องยนต์ดีเซล Caterpillar Marine Cat C32 ระบบขับเคลื่อน Water jet ทำความเร็วได้สูงสุด 40knots
อาวุธประจำเรือประกอบด้วยปืนใหญ่เรือ OTO Melara 76mm/62caliber Super Rapid ,ป้อมปืนกลหนัก Remote ขนาด 12.7mm 2กระบอก และจรวดนำวิถีแบบ LOGIR(Low-Cost Guided Imaging Rocket) ขนาด 130mm หนึ่งแท่นยิงหลายลำกล้อง(MLRS)จำนวน 12นัด
ซึ่งจรวดนำวิถี LOGIR 130mm นี้จะถูกใช้เป็นอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำความเร็วสูงสำหรับโจมตีเป้าหมายอย่างยานเบาะอากาศ (Hovercraft or Air-Cushion Vehicles) เกาหลีเหนือที่มีความเร็วสูงยากต่อการยิงด้วยปืนเรือ รวมถึงใช้ต่อต้านเรือขนาดเล็กและอาวุธปล่อยนำวิถีได้
ทางกองทัพเรือเกาหลีใต้กล่าวว่าเมื่อเทียบกับเรือเร็วโจมตี PKM(Patrol Boat Killer Medium)ชั้น Chamsuri เก่าที่ประจำการอยู่ขณะนี้ เรือเร็วโจมตี PKMR มีขนาดใหญ่กว่า เร็วกว่า และมีอาวุธดีกว่า โดยใช้กำลังพลประจำเรือน้อยกว่าด้วยการนำระบบอัตโนมัติมาใช้
ซึ่งเรือเร็วโจมตีปืนชั้น Chamsuri เดิมมีกำลังพลประจำเรือมากกว่า 30นาย และต้องมีพลปืนควบคุมป้อมปืนใหญ่กล 30-40mm และป้อมปืนใหญ่กล Sea Vulcan 20mm ซึ่งไม่เพียงพอต่อการต่อต้านเป้าหมายความเร็วสูงอย่างยานเบาะอากาศของเกาหลีเหนือ
โดยเหตุการณ์การปะทะระหว่างหมู่เรือกองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลีและกองทัพเรือประชาชนเกาหลีในยุทธนาวี Yeonpyeong ครั้งที่1 ปี1999 และครั้งที่2 ปี2002 และยุทธนาวี Daecheong ปี2009 นั้น
รวมแล้วมีเรือรบของเกาหลีใต้ได้รับความเสียหายและมีทหารเรือเกาหลีใต้เสียชีวิตไปหลายสิบนายจากการยิงปืนเรือใส่กันของทั้งสองฝ่ายครับ
วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
"Aircraft Carrier Ibuki"(Kuubo Ibuki) ผลงานการ์ตูนเรื่องใหม่ของ Kaiji Kawaguchi
空母いぶき Aircraft Carrier Ibuki(Kuubo Ibuki) Volume 1-4 by Kaiji Kawaguchi かわぐち かいじ
พอดีเมื่อเร็วๆนี้ได้ไปเดินแถวสยาม-สีลมแล้วแวะไปดูที่ร้านหนังสือญี่ปุ่นจึงเผอิญเห็นผลงานการ์ตูน(Manga) เรื่องใหม่ของอาจารย์ ไคจิ คาวางูจิ(Kaiji Kawaguchi) ในร้าน คือเรื่อง "Kuubo Ibuki" ซึ่งแปลตรงตัวว่า "เรือบรรทุกเครื่องบินอิบุกิ"(Aircraft Carrier Ibuki)
ซึ่งครั้งนี้ อ.ไคจิ คาวางูจิ ผู้เคยได้รางวัลการ์ตูนยอดเยี่ยม Kodansha Manga Award สามครั้ง และ Shogakukan Manga Award กลับมาเขียนเรื่องเกี่ยวกับสงครามยุคใหม่อีกครั้งในประเด็นที่อ่อนไหวทางการเมืองระหว่างประเทศ(สำหรับญี่ปุ่น)มากขึ้น
เนื้อเรื่อคราวๆของ Kuubo Ibuki จาก Wikipedia ภาษาญี่ปุ่นที่แปลโดย Google Translate นั้น(ข้อมูลอาจจะไม่ถูกต้องต้องขออภัย)
กล่าวถึงสงครามระหว่างกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นกับกองทัพปลดปล่อยประชาชนสาธารณรัฐประชาชนจีนในอนาคตอันใกล้ (People's Liberation Army vs Japan Self-Defense Forces)
CV-16 Liaoning PLAN's Aircraft Carrier launch three J-15 Fighther with YJ-91 Anti-Ship Missile to warn shot fire JMSDF's Destroyers DDG-177 Atago and DD-116 Teruzuki (Kuubo Ibuki Vol.1)
โดยเหตุการณ์กรณีพิพาทเริ่มขึ้นในเดือนตุลาคม ปี20XX เมื่อมีชาวประมงจากจีนนำเรือประมงฝ่าพายุขึ้นฝั่งบนเกาะ Minamikojima ในหมู่เกาะเซนกากุ(Senkaku)ในภาษาญี่ปุ่นหรือหมู่เกาะเตียวหยู(Diaoyu)ในภาษาจีน
ซึ่งหมู่เกาะนี้เป็นพื้นที่พิพาททางพรมแดนทางทะเลที่ทั้งสองประเทศที่อ้างอธิปไตยความเป็นเจ้าของของตนเหนือหมู่เกาะ ชาวประมงจีนได้ชักธงชาติจีนและป้ายข้อความแสดงความเป็นเจ้าของหมู่เกาะ
จนเรือตรวจการณ์ของหน่วยยามฝั่งญี่ปุ่นได้ส่งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการพิเศษของหน่วยยามฝั่งญี่ปุ่นข้ามาช่วยเหลือและผลักดันกลุ่มเรือชาวประมงจีน จนเกิดการยิงเตือนชนปะทะกับเรือตรวจการณ์หน่วยยามฝั่งจีน และเรือรบของกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนก็เข้าในพื้นที่และยิงขู่ตอบโต้กัน
แต่การปะทะนั้นทำให้มีชาวจีนเสียชีวิต ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลจีนและประชาชนจีนที่โกรธแค้นต่อกรณีทีมีชาวจีนเสียชีวิตในพื้นที่ที่ตนอ้างอธิปไตยนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่เลวร้ายระหว่างจีนและญี่ปุ่น จนเกิดการตอบโต้ทั้งการประท้วง การจารกรรม และการก่อวินาศกรรม
รัฐบาลญี่ปุ่นรับรู้ถึงภัยคุกคามจากจีนว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นว่าเป็นเพียงจุดเริ่มต้น จึงดำเนินแผนการ Pegasus ที่จะใช้กองกำลังป้องกันตนเองในการปกป้องเขตอธิปไตยของญี่ปุ่น
ซึ่งแผนการนี้ได้รวมถึงการสร้างเรือพิฆาตบรรทุกเครื่องบิน(Aircraft Carrier Destroyer) DDV-192 Ibuki ของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเล(เป็นเรือที่ถูกสมมุติขึ้นในเรื่อง) ในวงเงิน 300,000,000ล้านเยน
PLAAF's IL-76 Strategic Transport Aircrafts drop PLA's Paratroopers to capture JSDF's base at Yonaguni Island (Kuubo Ibuki Vol.2)
ในเดือนเมษายน ปี 20XY หรือหนึ่งปีหลังจากเหตุพิพาทระหว่างที่เรือบรรทุกเครื่องบิน Ibuki ที่สร้างเสร็จแล้วได้เข้าร่วมการซ้อมรบร่วมสามเหล่าทัพของกองกำลังป้องกันตนเองเป็นครั้งแรกที่บริเวณหมู่เกาะ Senkaku ในการแสดงกำลังป้องปรามนั้น
กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนได้เปิดยุทธการ Shuguang(รุ่งอรุณ) ส่งกำลังบุกทั้งทางบกทางเรือและทางอากาศเข้ายึดพื้นที่หมู่เกาะ Senkaku หรือหมู่เกาะเตี้ยวหยูที่ญี่ปุ่นครอบครองทั้งหมด
ผลการปะทะทำให้ทหารกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นเสียชีวิตและถูกจับเป็นเชลยศึกจำนวนหนึ่ง เป็นครั้งแรกที่กองกำลังป้องกันตนเองมีเจ้าหน้าที่เสียชีวิตจากสงครามนับตั้งแต่ก่อตั้งมากว่า 60ปี
และนี่คือจุดเริ่มต้นของสงครามที่แท้จริงครั้งแรกของกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นกับกองทัพประเทศอภิมหาอำนาจนับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง
แม้ว่าจะไม่ได้ซื้อหนังสือมาอ่านแต่จากข้อมูลใน Wikipedia ระดับสงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่นในเรื่องนี้น่าจะรุนแรงมากครับ
กลุ่มตัวละครจะเน้นหลักๆไปที่เจ้าหน้ากองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น(Japan Maritime Self-Defense Force) ที่เป็นกำลังพลของเรือบรรทุกเครื่องบิน Ibuki ทั้งนายทหารประจำเรือ ลูกเรือ และนักบินเครื่องบินขับไล่ขึ้นลงทางดิ่ง F-35JB และเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ SH-60K
เรือพิฆาตบรรทุกเครื่องบิน DDV-192 Ibuki นั้นถูกสมมุติอ้างอิงจากเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Hyuga และชั้น Izumo แต่เพิ่ม Ski-Jump เหมือนเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Invincible ของกองทัพอังกฤษที่ปลดประจำการแล้ว
เรือพิฆาตบรรทุกเครื่องบิน DDV-192 Ibuki มีระวางขับน้ำประมาณ 26,000tons อาวุธประจำเรือมี ปืนใหญ่กล Phalanx CIWS 20mm 2กระบอก อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ SeaRAM 2แท่นยิง บรรทุก F-35JB ได้ 15เครื่องพร้อม ฮ.SH-60K ประมาณ 8-12เครื่อง
(ชื่อเรือถูกตั้งมาจากเรือบรรทุกเครื่องบินเบา Ibuki สมัยสงครามโลกครั้งที่สองที่ดัดแปลงมาจากเรือลาดตระเวนหนัก Ibuki ในปี 1943 แต่สร้างไม่เสร็จจนถูกแยกชิ้นส่วนที่อู่ทหารเรือ Sasebo ในปี 1946 หลังญี่ปุ่นแพ้สงคราม)
Display show data of DDV-192 Ibuki (Kuubo Ibuki Vol.1)
F-35JB on Flight Deck of DDV-192 Ibuki (Kuubo Ibuki Vol.4)
โดย DDV-192 Ibuki ร่วมปฏิบัติการกับกองเรือคุ้มกันที่5(Escort Flotilla 5) ตามแผนยุทธการ Hayabusa
ประกอบด้วยเรือพิฆาต DDG-177 Atago,เรือพิฆาตชั้น Kongo DDG-176 Chokai เรือพิฆาตชั้น Asagiri DD-153 Yugiri, เรือดำน้ำชั้น Soryu SS-504 Kenryu และเรือส่งกำลังบำรุงชั้น Mashu AOE-426 Omi
และมีเรืออีกหลายลำร่วมสงครามทั้งเรือพิฆาตชั้น Akizuki DD-116 Teruzuki, เรือดำน้ำชั้น Oyashio SS-599 Setoshio, เรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ชั้น Osumi LST-4002 Shimokita และ LST-4003 Kunisaki
กองกำลังป้องตนเองทางบกญี่ปุ่น(Japan Ground Self-Defense Force) มีหน่วยยกพลขึ้นบกและหน่วยรบพิเศษ รถสะเทินน้ำสะเทินบก AAV7A1, รถหุ้มเกราะล้อยาง Komatsu LAV 4x4, รถยนต์บรรทุก HMV,
เฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64DJP Apache, เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง UH-60JA และอากาศยานใบพัดกระดก MV-22B ร่วมปฏิบัติการ
กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น(Japan Air Self-Defense Force) มีเครื่องบินขับไล่ F-35JA, เครื่องบินตรวจการณ์ขับไล่ RF-4EJ ซึ่งบินจากสนามบินเมือง Naha หมู่เกาะ Okinawa ไปสอดแนมเหนือเกาะ Taramajima แล้วถูกเครื่องบินขับไล่ J-20 จีนยิงตก, เครื่องบินควบคุมแจ้งเตือนทางอากาศ E-767 และเครื่องบินลำเลียง C-2 ร่วมปฏิบัติการ
PLAN's CV-17 Guangdong Aircraft Carrier launch J-20 Carrier Stealth Fighter (Kuubo Ibuki Vol.3)
ส่วนกำลังรบฝ่ายกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนที่เข้าร่วมสงครามกับญี่ปุ่นก็มีจำนวนมากทีเดียวครับ
กำลังทางเรือของกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(People's Liberation Army Navy)ก็มีทั้งเรือบรรทุกเครื่องบิน CV-17 Guangdong (เป็นเรือที่ถูกสมมุติขึ้นเช่นกัน) ซึ่งคล้ายกับเรือบรรทุกเครื่องบิน CV-16 Liaoning ที่ขยายขนาดใหญ่ขึ้นโดยบรรทุกเครื่องบินขับไล่ J-20 รุ่นใช้งานบนเรือบรรทุกเครื่องบินได้ 60เครื่อง
โดยจีนเปิดฉากการรบตามแผนยุทธการรุ่งอรุณ(Shuguang) ด้วยการโจมตีทางอากาศถล่มฐาน Radar ของกองกำลังป้องกันตนเองทางบกญี่ปุ่นบนเกาะ Yonaguni และทำการรบยุทธเวหากับ F-35JB กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นเหนือเกาะ Taramajima
ซึ่งผลการรบดุเดือดมากเพราะตามข้อมูลจาก Wikipedia ในเรื่อง F-35 มีสมรรถนะทางการบินด้อยกว่า J-20 แต่ J-20 มีคุณสมบัติตรวจจับได้ยาก(Stealth)ด้อยกว่า F-35 รวมถึงนักบินจีนมีประสบการณ์รบน้อยกว่านักบินญี่ปุ่นที่ฝึกซ้อมรบกับมิตรประเทศเช่นสหรัฐฯบ่อยครั้งกว่า ต่างฝ่ายจึงใช้อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศอย่าง AIM-120 กับ PL-12 ยิงตกกันระนาวทั้งสองฝ่าย
เรืออื่นของจีนก็มีเรือบรรทุกเครื่องบิน Liaoning ที่เป็นเรือธงของกองเรือทะเลเหนือ กองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน มีบทบาทตั้งแต่กรณีพิพาทในปี 20XX,
เรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น Type 071 คือ 989 Changbai Shan (ที่เคยมาฝึก Blue Strike 2016 กับกองทัพเรือไทยในไทย) เป็นเรือที่ส่งกองกำลังนาวิกโยธินจีนยกพลขึ้นบกยึดหมู่เกาะ Senkaku,
SS-599 Setoshio JMSDF's Submarine Intercept PLAN's Type 039A Yuan class Submarine (Kuubo Ibuki Vol.4)
เรือดำน้ำชั้น Type 039A Yuan หมายเลข102 และ 103 สอดแนมและเข้ายิง Torpedo โจมตีกองเรือคุ้มกันที่5 ญี่ปุ่นโดยมีเป้าหมายหลักคือเรือบรรทุกเครื่องบิน Ibuki จนกองเรือญี่ปุ่นได้รับความเสียหาย
เรือดำน้ำญี่ปุ่น Setoshio เข้าสกัดโดยการชนเรือดำน้ำชั้น Yuan หมายเลข 102 จีนจนเสียหายต้องลอยลำฉุกเฉิน ส่วนเรือดำน้ำชั้น Yuan หมายเลข 103 สู้กับเรือดำน้ำญี่ปุ่น Kenryu และเรือดำน้ำจีนหมายเลข 103 ถูก ฮ.ปราบเรือดำน้ำญี่ปุ่นใช้ Torpedo ปราบเรือดำน้ำโจมตีจนจม,
เรือพิฆาตชั้น Type 052 DDG-112 Harbin และเรือฟริเกตชั้น Type 053H3 FFG-527 Luoyang เป็นส่วนหนึ่งของกำลังรบในยุทธนาวีเกาะ Taramajima ซึ่งรวมกันโจมตีเรือพิฆาตญี่ปุ่น Chokai จนจม
แต่เรือพิฆาต Harbin และเรือฟริเกต Luoyang จีนก็ถูกปืนใหญ่เรือ Oto Melara 127mm/54cal ของเรือพิฆาต Chokai ญี่ปุ่นที่แม่นยำกว่าระดมยิงได้รับความเสียหายจนระบบอาวุธขัดข้อง,
เครื่องบินขับไล่ J-15 กองบินกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(People's Liberation Army Naval Air Force) ประจำการบนเรือบรรทุกเครื่องบิน Liaoning ถูกส่งเข้าโจมตีเรือพิฆาตญี่ปุ่น Atago,
เครื่องบินแจ้งควบคุมเตือนภัยทางอากาศ KJ-500 กองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีน(People's Liberation Army Air Force) ถูกคุ้มกันโดย J-15 เพื่อสนับสนุนยุทธการเหนือเกาะ Taramajima โดนยิงตกพร้อมกับ J-15 อีกสองเครื่อง,
เครื่องบินลำเลียงทางยุทธศาสตร์ IL-76 กองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีน ส่งทหารพลร่มจีนพร้อมรถรบทหารราบส่งทางอากาศ Type 03(ZBD-03) และอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศยานอัตตาจร HQ-7 โดดร่มลงยึดเกาะ Yonaguni ซึ่งเป็นฐานกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น,
อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำความเร็วเหนือเสียงFL-2(C-101) ถูกติดตั้งเป็นระบบยิงจากฝั่งป้องกันเกาะ Taramajima หลังจากที่กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนยึดเกาะได้
เรือพิฆาตญี่ปุ่น Chokai ล่อฐานยิง FL-2 จนเปิดเผยตำแหน่ง ญี่ปุ่นส่ง F-35JB จากเรือบรรทุกเครื่องบิน Ibuki เข้าโจมตีหลายตำแหน่งทั่วเกาะจนได้รับความเสียหาย แต่ F-35JB ญี่ปุ่นก็ถูกยิงตกไปจำนวนหนึ่ง
รวมถึงกำลังรบจากนาวิกโยธินกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน(People's Liberation Army Marine Corps) และกองทัพบกปลดปล่อยประชาชนจีน(People's Liberation Army Ground Force) ที่เป็นกำลังทางบกในสงครามด้วย
A spokesperson of the Chinese government is broadcasting statement (Kuubo Ibuki Vol.2 honz.jp/articles/-/42020)
ด้านรัฐบาลญี่ปุ่นซึ่งมีตัวละครนายกรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่รัฐบาลต่างๆเดินเรื่องนั้น ก็แสดงถึงเนื้อเรื่องในการดำเนินมาตรการทางการต่างประเทศที่มีความตึงเครียดสูง
เพราะที่อ่านดูเหมือนทางญี่ปุ่นต้องการให้สหรัฐฯเข้ามาช่วยเหลือในระยะยาว แต่ก็ต้องการให้ระดับของสงครามกับจีนหยุดแค่เป็นเพียงสงครามจำกัดเขต ไม่ขยายเป็นสงครามเบ็ดเสร็จ ซึ่งจะสร้างความเสียหายเกินที่ญี่ปุ่นจะรับได้(แต่ก็มีฝ่ายชาตินิยมในญี่ปุ่นสนับสนุนการรบกับจีนให้ถึงที่สุด)
ขณะที่จีนก็ดำเนินแผนทางยุทธการทางทหารและการทูตระหว่างประเทศโน้มน้าวต่อนานาชาติเพื่อประกาศว่าหมู่เกาะเตียวหยูเป็นของตนอย่างชอบธรรมและญี่ปุ่นเป็นฝ่ายผิดตั้งแต่แรก
อีกทั้งตัวละครที่เป็นทหารกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นทั้งสามเหล่าทัพก็ทำการรบอย่างมีข้อจำกัด คือช่วงต้นของสงครามกองกำลังป้องกันตนเองจะเปิดฉากยิงอาวุธใส่ฝ่ายตรงข้ามก่อนไม่ได้ถ้ายังไม่ถูกยิงใส่ก่อน ซึ่งผลคือความสูญเสียของกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น
รวมถึงเรื่องการขาดประสบการณ์รบในสงครามตามแบบจริงของญี่ปุ่นที่ขาดหายไปตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองมา 70กว่าปีด้วย
แต่ถ้าถามว่าการ์ตูนเรื่อง Kuubo Ibuki นี้จะมีโอกาสถูกซื้อลิขสิทธิ์มาแปลตีพิมพ์ในไทยหรือไม่ คงตอบได้ว่าน่าจะยากครับ
เพราะเรื่องนี้ถูกลงตีพิมพ์ในนิตยสารการ์ตูนรายปักษ์ Big Comic ของสำนักพิมพ์ Shogakukan ซึ่งตีพิมพ์มาตั้งแต่ฉบับที่ 24 ปี2014
ซึ่งการ์ตูนของอาจารย์ Kaiji ที่เขียนให้ Shogakukan ลงนิตยสาร Big Comic ที่มีลิขสิทธิ์ในไทยก็มี "Eagle" กับ "ยุทธการจุดตะวัน"(A Spirit of The Sun) ที่พิมพ์โดยสำนักพิมพ์บุรพัฒน์ คอมิคส์(Burapat Comics)
ก็อย่างที่ทราบว่าจากสถานการณ์สื่อสิ่งพิมพ์ในไทยปัจจุบันโดยเฉพาะการ์ตูนไม่สู้ดีนักคือทุกค่ายออกการ์ตูนเล่มใหม่แต่ละเดือนน้อยลงไปมากๆ ประกาศลิขสิทธิ์เรื่องใหม่ก็น้อยลงด้วยเช่นกัน
ทางบุรพัฒน์ก็ไม่ได้ประกาศลิขสิทธิ์การ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องใหม่มานานมากแล้ว(เน้นขายการ์ตูนจีนฮ่องกง)
นอกนั้นอย่างสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ(Vibulkij) ถึงจะเคยพิมพ์การ์ตูนของ อ.Kaiji จบมาแล้วสองเรื่องคือ "ยุทธการใต้สมุทร"(The Silent Service) และ Zipang แต่สองเรื่องนี้ก็ลงในนิตยสารการ์ตูนรายสัปดาห์ Morning ของสำนักพิมพ์ Kodansha
เพราะฉะนั้นอาจจะติดต่อขอลิขสิทธิ์มาลงอาจจะเป็นไปได้น้อย ยิ่งตอนนี้วิบูลย์กิจเน้นออก E-Book เป็นหลักด้วยยิ่งยาก
สำนักพิมพ์อื่นอย่างสยามอินเตอร์คอมิกส์(Siam Inter Comics) หรือบงกช(Bongkoch Publishing) หรืออื่นๆก็ยาก เพราะการ์ตูนแนวนี้มีคนอ่านในไทยน้อยมากๆ แถมมีศัพท์เฉพาะทางทหารจำนวนมากแปลให้ดียากด้วย
ฉะนั้นทำใจล่วงหน้าได้เลยว่าคงไม่มีโอกาสได้อ่านเรื่องนี้ได้ถ้าไม่ซื้อฉบับรวมเล่มจากญี่ปุ่นซึ่งเล่มที่4 เพิ่งออกไปเมื่อเดือนมิถุนายน 2016 ครับ
(ลองสั่งซื้อได้จาก www.amazon.co.jp ทั้งแบบรูปเล่มและ E-Book ที่ได้นำภาพประกอบจากหน้าตัวอย่างลองอ่าน หรือสั่งทางร้านหนังสือญี่ปุ่นในไทยอย่าง Kinokuniya ดูครับ
เรื่องนี้ไม่แน่ใจว่าจะมี RAW SCAN หรือไม่แต่ SCAN แปลไทยแปลอังกฤษคงยากจะมีครับ เพราะแปลยากและเรื่องไม่เป็นที่รู้จักและนิยมแพร่หลาย ถึงจะมีถ้าเป็นไปได้ก็อย่าไปอ่านการ์ตูนละเมิดลิขสิทธิ์ผิดกฎหมายเลย)
http://comics.shogakukan.co.jp
http://comic-soon.shogakukan.co.jp
ปล.๑ เป็นครั้งแรกที่แนะนำการ์ตูนญี่ปุ่นที่นี่ครับ
ปล.๒ คิดว่าถ้าเป็นนักเขียนการ์ตูนไทยไม่น่าจะมีใครกล้าเขียนเรื่องแนวนี้แล้วได้รับการตีพิมพ์หรอกครับ
วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
สิงคโปร์เตรียมนำรถยนต์บรรทุกหุ้มเกราะ PCSV Paramount Marauder เข้าประจำการในปี 2017
Singapore preps Paramount Marauder for 2017 rollout
The Singapore Army is set to boost its battlefield logistics operations with the 4x4 Paramount Marauder protected vehicle. Source: MINDEF
http://www.janes.com/article/62589/singapore-preps-paramount-marauder-for-2017-rollout
กองทัพสิงคโปร์มีแผนที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการส่งกำลังบำรุงแบบมีการป้องกันด้วยการนำรถยนต์สนับสนุนการรบแบบมีเกราะกัน Protected Combat Support Vehicle (PCSV) 4x4 ขนาด 20tons เข้าประจำการในปี 2017
รถยนต์บรรทุกหุ้มเกราะ PCSV มีพื้นฐานมาจากรถยนต์หุ้มเกราะป้องกันการซุ่มโจมตีด้วยทุ่นระเบิด (MRAP: Mine Resistant Ambush Protected) แบบ Paramount Marauder แอฟริกาใต้
โดยรถเกราะ PCSV ถูกออกแบบมาเพื่อให้หน่วยส่งกำลังบำรุงสามารถทำการสนับสนุนทหารราบยานยนต์รถรบของกองทัพในสภาพแวดล้อมที่มีภัยคุกคามสูงได้
ตามข้อมูลคุณสมบัติอย่างเป็นทางการจากกระทรวงกลาโหมสิงคโปร์ รถยนต์บรรทุกหุ้มเกราะ PCSV 4x4 ปฏิบัติการด้วยกำลังพล 2นายในห้องโดยสารหุ้มเกราะป้องกัน สามารถบรรทุกสัมภาระได้หนัก 4,000kg หรือบรรทุกทหารได้ 8นาย
การออกแบบแบบ Modular ในพื้นที่ส่วนท้ายรถทำให้รถสามารถปรับแต่งให้รองรับได้หลายภารกิจ เช่น รถบรรทุกเครื่องยิงลูกระเบิด, รถส่งกลับทางสายแพทย์ และรถส่งกำลังบำรุง ซึ่งมีแผนรองรับแล้ว
ไม่เหมือนกับรถยนต์บรรทุก MAN 4x4 ขนาด 5tons ที่ไม่มีเกราะที่กองทัพสิงคโปร์ใช้งานในการส่งกำลังบำรุงปัจจุบันนี้ รถยนต์บรรทุกหุ้มเกราะ PCSV มีเกราะป้องกันเชิงรับที่ทนต่อการถูกยิงด้วยกระสุนปืนและการโจมตีจากทุ่นระเบิดได้
จากข้อมูลที่ทางกระทรวงกลาโหมสิงคโปร์ไม่ได้เปิดเผย รถเกราะ PCSV สามารถเพิ่มการป้องกันตนเองด้วยการติดตั้งป้อมปืน Remote พร้อมปืนกล FN MAG 7.62mm ที่หลังคารถ กับเครื่องยิงลูกระเบิดควัน 6ท่อยิงได้
ตามข้อมูลจากกระทรวงกลาโหมสิงคโปร์ รถเกราะ PCSV จะติดตั้งระบบควบคุมและบังคับบัญชาที่ทำให้กำลังพลเข้าถึงระบบสื่อสารด้วยเสียงและข้อมูลในเครือข่าย Army Battlefield Internet(ABI) ของกองทัพสิงคโปร์ได้
ทำให้รถยนต์บรรทุกหุ้มเกราะ PCSV สามารถปฏิบัติการดำเนินกลยุทธ์ร่วมกับรถรบทหารราบล้อยาง Terrex 8x8 ของกองทัพบกสิงคโปร์อย่างบูรณาการได้
เป็นที่เชื่อว่ามีการจัดส่งรถยนต์บรรทุกหุ้มเกราะ PCSV 12คันให้กองทัพสิงคโปร์ในช่วงปี 2013-2014 สำหรับการทดสอบภายใน ทั้งนี้ทางกระทรวงกลาโหมสิงคโปร์ปฏิเสธที่จะเปิดเผยรายละเอียดการส่งมอบรถเพิ่มเติม
โครงการรถยนต์บรรทุกหุ้มเกราะ PCSV เริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน ปี2012 เมื่อ Singapore Technologies Kinetics(ST Kinetics) แผนกระบบทางบกของบริษัท ST Engineering สิงคโปร์ ร่วมกับบริษัท Paramount แอฟริกาใต้ มีข้อตกลงร่วมในการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ยานยนต์ของตนในสิงคโปร์และภูมิภาคนี้
ทั้งรถหุ้มเกราะล้อยาง Terrex 8x8 ของ ST Kinetics, รถรักษาความปลอดภัย Maverick 4x4, รถยนต์หุ้มเกราะป้องกันทุ่นระเบิด Matador และ Marauder 4x4 และรถรบหุ้มเกราะล้อยาง Mbombe 6x6 ของ Paramount ครับ
The Singapore Army is set to boost its battlefield logistics operations with the 4x4 Paramount Marauder protected vehicle. Source: MINDEF
http://www.janes.com/article/62589/singapore-preps-paramount-marauder-for-2017-rollout
กองทัพสิงคโปร์มีแผนที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการส่งกำลังบำรุงแบบมีการป้องกันด้วยการนำรถยนต์สนับสนุนการรบแบบมีเกราะกัน Protected Combat Support Vehicle (PCSV) 4x4 ขนาด 20tons เข้าประจำการในปี 2017
รถยนต์บรรทุกหุ้มเกราะ PCSV มีพื้นฐานมาจากรถยนต์หุ้มเกราะป้องกันการซุ่มโจมตีด้วยทุ่นระเบิด (MRAP: Mine Resistant Ambush Protected) แบบ Paramount Marauder แอฟริกาใต้
โดยรถเกราะ PCSV ถูกออกแบบมาเพื่อให้หน่วยส่งกำลังบำรุงสามารถทำการสนับสนุนทหารราบยานยนต์รถรบของกองทัพในสภาพแวดล้อมที่มีภัยคุกคามสูงได้
ตามข้อมูลคุณสมบัติอย่างเป็นทางการจากกระทรวงกลาโหมสิงคโปร์ รถยนต์บรรทุกหุ้มเกราะ PCSV 4x4 ปฏิบัติการด้วยกำลังพล 2นายในห้องโดยสารหุ้มเกราะป้องกัน สามารถบรรทุกสัมภาระได้หนัก 4,000kg หรือบรรทุกทหารได้ 8นาย
การออกแบบแบบ Modular ในพื้นที่ส่วนท้ายรถทำให้รถสามารถปรับแต่งให้รองรับได้หลายภารกิจ เช่น รถบรรทุกเครื่องยิงลูกระเบิด, รถส่งกลับทางสายแพทย์ และรถส่งกำลังบำรุง ซึ่งมีแผนรองรับแล้ว
ไม่เหมือนกับรถยนต์บรรทุก MAN 4x4 ขนาด 5tons ที่ไม่มีเกราะที่กองทัพสิงคโปร์ใช้งานในการส่งกำลังบำรุงปัจจุบันนี้ รถยนต์บรรทุกหุ้มเกราะ PCSV มีเกราะป้องกันเชิงรับที่ทนต่อการถูกยิงด้วยกระสุนปืนและการโจมตีจากทุ่นระเบิดได้
จากข้อมูลที่ทางกระทรวงกลาโหมสิงคโปร์ไม่ได้เปิดเผย รถเกราะ PCSV สามารถเพิ่มการป้องกันตนเองด้วยการติดตั้งป้อมปืน Remote พร้อมปืนกล FN MAG 7.62mm ที่หลังคารถ กับเครื่องยิงลูกระเบิดควัน 6ท่อยิงได้
ตามข้อมูลจากกระทรวงกลาโหมสิงคโปร์ รถเกราะ PCSV จะติดตั้งระบบควบคุมและบังคับบัญชาที่ทำให้กำลังพลเข้าถึงระบบสื่อสารด้วยเสียงและข้อมูลในเครือข่าย Army Battlefield Internet(ABI) ของกองทัพสิงคโปร์ได้
ทำให้รถยนต์บรรทุกหุ้มเกราะ PCSV สามารถปฏิบัติการดำเนินกลยุทธ์ร่วมกับรถรบทหารราบล้อยาง Terrex 8x8 ของกองทัพบกสิงคโปร์อย่างบูรณาการได้
เป็นที่เชื่อว่ามีการจัดส่งรถยนต์บรรทุกหุ้มเกราะ PCSV 12คันให้กองทัพสิงคโปร์ในช่วงปี 2013-2014 สำหรับการทดสอบภายใน ทั้งนี้ทางกระทรวงกลาโหมสิงคโปร์ปฏิเสธที่จะเปิดเผยรายละเอียดการส่งมอบรถเพิ่มเติม
โครงการรถยนต์บรรทุกหุ้มเกราะ PCSV เริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน ปี2012 เมื่อ Singapore Technologies Kinetics(ST Kinetics) แผนกระบบทางบกของบริษัท ST Engineering สิงคโปร์ ร่วมกับบริษัท Paramount แอฟริกาใต้ มีข้อตกลงร่วมในการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ยานยนต์ของตนในสิงคโปร์และภูมิภาคนี้
ทั้งรถหุ้มเกราะล้อยาง Terrex 8x8 ของ ST Kinetics, รถรักษาความปลอดภัย Maverick 4x4, รถยนต์หุ้มเกราะป้องกันทุ่นระเบิด Matador และ Marauder 4x4 และรถรบหุ้มเกราะล้อยาง Mbombe 6x6 ของ Paramount ครับ
วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
เกาหลีเหนือกำลังสร้างฐานเรือดำน้ำขนาดใหญ่แห่งใหม่
North Korea building new, larger submarine pens
Airbus Defence and Space imagery from 3 October 2014 showing continuing construction of a possible ballistic missile submarine base near Sinpo, North Korea. Source: CNES 2014, Distribution Airbus DS / 2016 IHS
http://www.janes.com/article/62516/north-korea-building-new-larger-submarine-pens
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีกำลังก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างที่มั่นแข็งแรงใกล้กับเมืองท่า Sinpo ซึ่งอาจจะเป็นอู่เรือดำน้ำแบบป้อมปราการปกปิดแข็งแรง(Submarine Pens) ซึ่งอาจจะเป็นฐานทัพเรือดำน้ำติดขีปนาวุธ(SSB)
สถานที่ดังกล่าวตั้งอยู่ทางตอนใต้อู่เรือ Sinpo ระยะทาง 2.25km ใกล้กับฐานทัพเรือ Mayang-do ทางฝั่งตะวันออกของประเทศ ฐานทัพใหม่นี้อาจจะเป็นโครงการก่อสร้างทางทหารที่ใหญ่ที่สุดของเกาหลีเหนือในตอนนี้
Airbus Defence and Space imagery ได้แสดงพัฒนาการก่อสร้างจากภาพถ่ายดาวเทียมตั้งแต่เดือนสิงหาคม ปี2012 เทียบกับภาพใน Google Earth ปี2009 (ครอบคลุมพื้นที่ 6,000ตารางเมตร) ที่พื้นที่อ่าวเริ่มถูกปิดกั้นด้วยกำแพงในทะเลและส่วนเนินล้อมรอบถมเต็มไปด้วยวัสดุ
พื้นที่อ่าวถูกถมเกือบเต็มในเดือนตุลาคม ปี2013 การขุดตักในส่วนที่เป็นอู่เรือเริ่มดำเนินการ และการก่อสร้างท่าเรือใหม่เริ่มขึ้น อู่เรือเริ่มเป็นรูปเป็นร่างเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2014 เมื่อเกาหลีเหนือพร้อมเทพื้นฐานคอนกรีต
กลางปี 2015 สิ่งก่อสร้างโลหะถูกสร้างขึ้นเหนืออู่เรือเป็นรูปร่างและแผ่นคอนกรีตถูกวางขึ้นรูปเป็นหลังคาอู่เรือดำน้ำ อู่เรือดำน้ำสองอู่มีขนาดโดยประมาณ ยาว 150m กว้าง 10m และห่างจากกัน 14m
ภาพถ่ายดาวเทียมจาก Airbus Defence and Space imagery เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2016 เปิดเผยว่าการก่อสร้างอู่เรือดำน้ำดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วในตำแหน่งขยายบางส่วนที่ปกคลุมด้วยพื้นดิน
การก่อสร้างยังคงดำเนินการต่อไปด้านข้าของทั้งสองอู่เรือดำน้ำและท่าจอดเรือที่ติดกับกำแพงเขื่อนทะเล ท่าเรือใหม่ขณะนี้มีความยาว 137m และกว้าง 13m ซึ่งใกล้จะเสร็จสมบูรณ์แล้ว
กองทัพเรือประชาชนเกาหลีมีฐานที่กำบังเรือดำน้ำอยู่หลายแห่งซึ่งบางส่วนสามารถรองรับเรือดำน้ำโจมตีดีเซลไฟฟ้าชั้น Romeo ที่เก่าล้าสมัยได้ โดยมีรายงานว่ากองทัพเรือเกาหลีเหนือมีเรือดำน้ำชั้นนี้อยู่ราว 20ลำ
นอกจากเรือดำน้ำขนาดเล็กชั้น Sang-O ที่สร้างเองในประเทศราว 40ลำแล้ว เกาหลีเหนือยังได้พัฒนาสร้างเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้า(SSK)และเรือดำน้ำติดขีปนาวุธดีเซล-ไฟฟ้า(SSB) ด้วยตนเองซึ่งถูกเรียกในรายงานว่าชั้น Sinpo ซึ่งดูเหมือนจะได้อิทธิพลการออกแบบจากเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้าชั้น Heroj และ Sava ของอดีตยูโกสลาเวียเพื่อทดแทนเรือดำน้ำชั้น Romeo รุ่นเก่าของตน
กองทัพประชาชนเกาหลีได้มีการทดสอบขีปนาวุธยิงจากเรือดำน้ำ(SLBM) แบบ KN-11 ที่ทำการยิงจากเรือดำน้ำติดขีปนาวุธชั้น Sipo มาแล้ว 10ครั้งตั้งแต่ปลายปี 2014 จนถึงล่าสุดเมื่อ 9 กรกฎาคม 2016 ที่ผ่านมา แต่การทดสอบยิงถูกรายงานมีว่าหลายครั้งที่ประสบความล้มเหลวครับ
Airbus Defence and Space imagery from 3 October 2014 showing continuing construction of a possible ballistic missile submarine base near Sinpo, North Korea. Source: CNES 2014, Distribution Airbus DS / 2016 IHS
http://www.janes.com/article/62516/north-korea-building-new-larger-submarine-pens
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีกำลังก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างที่มั่นแข็งแรงใกล้กับเมืองท่า Sinpo ซึ่งอาจจะเป็นอู่เรือดำน้ำแบบป้อมปราการปกปิดแข็งแรง(Submarine Pens) ซึ่งอาจจะเป็นฐานทัพเรือดำน้ำติดขีปนาวุธ(SSB)
สถานที่ดังกล่าวตั้งอยู่ทางตอนใต้อู่เรือ Sinpo ระยะทาง 2.25km ใกล้กับฐานทัพเรือ Mayang-do ทางฝั่งตะวันออกของประเทศ ฐานทัพใหม่นี้อาจจะเป็นโครงการก่อสร้างทางทหารที่ใหญ่ที่สุดของเกาหลีเหนือในตอนนี้
Airbus Defence and Space imagery ได้แสดงพัฒนาการก่อสร้างจากภาพถ่ายดาวเทียมตั้งแต่เดือนสิงหาคม ปี2012 เทียบกับภาพใน Google Earth ปี2009 (ครอบคลุมพื้นที่ 6,000ตารางเมตร) ที่พื้นที่อ่าวเริ่มถูกปิดกั้นด้วยกำแพงในทะเลและส่วนเนินล้อมรอบถมเต็มไปด้วยวัสดุ
พื้นที่อ่าวถูกถมเกือบเต็มในเดือนตุลาคม ปี2013 การขุดตักในส่วนที่เป็นอู่เรือเริ่มดำเนินการ และการก่อสร้างท่าเรือใหม่เริ่มขึ้น อู่เรือเริ่มเป็นรูปเป็นร่างเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2014 เมื่อเกาหลีเหนือพร้อมเทพื้นฐานคอนกรีต
กลางปี 2015 สิ่งก่อสร้างโลหะถูกสร้างขึ้นเหนืออู่เรือเป็นรูปร่างและแผ่นคอนกรีตถูกวางขึ้นรูปเป็นหลังคาอู่เรือดำน้ำ อู่เรือดำน้ำสองอู่มีขนาดโดยประมาณ ยาว 150m กว้าง 10m และห่างจากกัน 14m
ภาพถ่ายดาวเทียมจาก Airbus Defence and Space imagery เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2016 เปิดเผยว่าการก่อสร้างอู่เรือดำน้ำดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วในตำแหน่งขยายบางส่วนที่ปกคลุมด้วยพื้นดิน
การก่อสร้างยังคงดำเนินการต่อไปด้านข้าของทั้งสองอู่เรือดำน้ำและท่าจอดเรือที่ติดกับกำแพงเขื่อนทะเล ท่าเรือใหม่ขณะนี้มีความยาว 137m และกว้าง 13m ซึ่งใกล้จะเสร็จสมบูรณ์แล้ว
กองทัพเรือประชาชนเกาหลีมีฐานที่กำบังเรือดำน้ำอยู่หลายแห่งซึ่งบางส่วนสามารถรองรับเรือดำน้ำโจมตีดีเซลไฟฟ้าชั้น Romeo ที่เก่าล้าสมัยได้ โดยมีรายงานว่ากองทัพเรือเกาหลีเหนือมีเรือดำน้ำชั้นนี้อยู่ราว 20ลำ
นอกจากเรือดำน้ำขนาดเล็กชั้น Sang-O ที่สร้างเองในประเทศราว 40ลำแล้ว เกาหลีเหนือยังได้พัฒนาสร้างเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้า(SSK)และเรือดำน้ำติดขีปนาวุธดีเซล-ไฟฟ้า(SSB) ด้วยตนเองซึ่งถูกเรียกในรายงานว่าชั้น Sinpo ซึ่งดูเหมือนจะได้อิทธิพลการออกแบบจากเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้าชั้น Heroj และ Sava ของอดีตยูโกสลาเวียเพื่อทดแทนเรือดำน้ำชั้น Romeo รุ่นเก่าของตน
กองทัพประชาชนเกาหลีได้มีการทดสอบขีปนาวุธยิงจากเรือดำน้ำ(SLBM) แบบ KN-11 ที่ทำการยิงจากเรือดำน้ำติดขีปนาวุธชั้น Sipo มาแล้ว 10ครั้งตั้งแต่ปลายปี 2014 จนถึงล่าสุดเมื่อ 9 กรกฎาคม 2016 ที่ผ่านมา แต่การทดสอบยิงถูกรายงานมีว่าหลายครั้งที่ประสบความล้มเหลวครับ
วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
ST Kinetics สิงคโปร์ขยายการนำเสนอรถรบทหารราบล้อยางตระกูล Terrex โดยมองที่ความต้องการของนานาประเทศ
ST Kinetics showcases expanded Terrex IFV family with an eye on international requirements
All three members of the ST Kinetics 8x8 Terrex armoured vehicle family pictured together for the very first time.
From left: the 24-tonne Terrex 1 which is in service with the Singapore Army; the 35-tonne Australian Land 400 Phase 2 contender Terrex 3/Sentinel II; and the 30-tonne Terrex 2 that has been optimised for amphibious operations,
one of the two finalists downselected for the US Marine Corps ACV 1.1 programme. Source: IHS/Kelvin Wong
http://www.janes.com/article/62508/st-kinetics-showcases-expanded-terrex-ifv-family-with-an-eye-on-international-requirements
Singapore Technologies Kinetics แผนกระบบภาคพื้นดินในเครือ ST Engineering บริษัทด้านอุตสาหกรรมความมั่นคงในความควบคุมของรัฐบาลสิงคโปร์ กำลังมองหาการขยายสู่ตลาดรถหุ้มเกราะล้อยาง 8x8 ทั่วโลกด้วยรถรบทหารราบตระกูล Terrex ซึ่งขณะนี้ประกอบด้วยรถสามรุ่นซึ่งมีน้ำหนักรถแตกต่างกันในช่วง 24-35tons
ผู้บริหารระดับสูงของ ST Kinetics อ้างระหว่างการบรรยายต่อสื่อเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งยังเป็นโอกาสที่รถหุ้มเกราะล้อยางตระกูล Terrex ทั้งสามรุ่นคือ Terrex1, Terrex2 และ Terrex3 ถูกจัดแสดงพร้อมกันเป็นครั้งแรกว่า
บริษัทมีความพยายามอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาขีดความสามารถที่ทำให้ตอบสนองตรงตามขอบเขตที่เพิ่มขึ้นของความต้องการปฏิบัติการของลูกค้านานาชาติ
Winston Toh รองประธานบริหารและหัวหน้าฝ่ายการตลาดของ ST Kinetics ได้ให้ข้อมูลกับ Jane's ในการแยกสัมภาษณ์ว่า ระบบรถหุ้มเกราะล้อยาง 8x8 ของบริษัทได้รับความสนใจหลายๆประเทศในตะวันออกกลาง เช่นเดียวกับอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้
นอกจากนั้นยังเข้าแข่งขันในโครงการ Project Land 400 Phase 2 กองทัพบกออสเตรเลีย และ Amphibious Combat Vehicle Phase 1 Increment 1 (ACV 1.1) นาวิกโยธินสหรัฐฯ ซึ่งเป็นการแสวงการเข้าหาหุ้นส่วนอุตสาหกรรมในต่างประเทศขณะนี้ด้วย
"เราได้นำเสนอรูปแบบธุรกิจที่แตกต่างกันเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ตัวอย่างเช่น เราคือผู้ผลิตรถแบบ OEM แต่เราก็ได้ส่งมอบ(ต่อหุ้นส่วนของเราด้วย) การออกแบบและขีดความสามารถทางวิศวกรรมเพื่อสนับสนุนการผลิตในประเทศ ซึ่งช่วยจัดการราคาและความเสี่ยงให้กับลูกค้า" Toh อธิบาย
Toh ยอมรับว่าขณะที่ Terrex ยังไม่ได้สร้างเส้นทางเข้าสู่ตลาดภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนอกสิงคโปร์
แต่ ST Kinetics ได้ยกระดับประสบการณ์ของ Terrex ในการให้ช่วยเหลือทางเทคนิคและให้คำแนะนำต่อสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ(สทป. DTI: Defence Technology Institute) ประเทศไทย
ในการออกแบบพัฒนายานเกราะล้อยาง Black Widow Spider 8x8 ขนาด 24tons ของไทยสำหรับกองทัพบกไทยมาแล้วครับ
All three members of the ST Kinetics 8x8 Terrex armoured vehicle family pictured together for the very first time.
From left: the 24-tonne Terrex 1 which is in service with the Singapore Army; the 35-tonne Australian Land 400 Phase 2 contender Terrex 3/Sentinel II; and the 30-tonne Terrex 2 that has been optimised for amphibious operations,
one of the two finalists downselected for the US Marine Corps ACV 1.1 programme. Source: IHS/Kelvin Wong
http://www.janes.com/article/62508/st-kinetics-showcases-expanded-terrex-ifv-family-with-an-eye-on-international-requirements
Singapore Technologies Kinetics แผนกระบบภาคพื้นดินในเครือ ST Engineering บริษัทด้านอุตสาหกรรมความมั่นคงในความควบคุมของรัฐบาลสิงคโปร์ กำลังมองหาการขยายสู่ตลาดรถหุ้มเกราะล้อยาง 8x8 ทั่วโลกด้วยรถรบทหารราบตระกูล Terrex ซึ่งขณะนี้ประกอบด้วยรถสามรุ่นซึ่งมีน้ำหนักรถแตกต่างกันในช่วง 24-35tons
ผู้บริหารระดับสูงของ ST Kinetics อ้างระหว่างการบรรยายต่อสื่อเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งยังเป็นโอกาสที่รถหุ้มเกราะล้อยางตระกูล Terrex ทั้งสามรุ่นคือ Terrex1, Terrex2 และ Terrex3 ถูกจัดแสดงพร้อมกันเป็นครั้งแรกว่า
บริษัทมีความพยายามอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาขีดความสามารถที่ทำให้ตอบสนองตรงตามขอบเขตที่เพิ่มขึ้นของความต้องการปฏิบัติการของลูกค้านานาชาติ
Winston Toh รองประธานบริหารและหัวหน้าฝ่ายการตลาดของ ST Kinetics ได้ให้ข้อมูลกับ Jane's ในการแยกสัมภาษณ์ว่า ระบบรถหุ้มเกราะล้อยาง 8x8 ของบริษัทได้รับความสนใจหลายๆประเทศในตะวันออกกลาง เช่นเดียวกับอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้
นอกจากนั้นยังเข้าแข่งขันในโครงการ Project Land 400 Phase 2 กองทัพบกออสเตรเลีย และ Amphibious Combat Vehicle Phase 1 Increment 1 (ACV 1.1) นาวิกโยธินสหรัฐฯ ซึ่งเป็นการแสวงการเข้าหาหุ้นส่วนอุตสาหกรรมในต่างประเทศขณะนี้ด้วย
"เราได้นำเสนอรูปแบบธุรกิจที่แตกต่างกันเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ตัวอย่างเช่น เราคือผู้ผลิตรถแบบ OEM แต่เราก็ได้ส่งมอบ(ต่อหุ้นส่วนของเราด้วย) การออกแบบและขีดความสามารถทางวิศวกรรมเพื่อสนับสนุนการผลิตในประเทศ ซึ่งช่วยจัดการราคาและความเสี่ยงให้กับลูกค้า" Toh อธิบาย
Toh ยอมรับว่าขณะที่ Terrex ยังไม่ได้สร้างเส้นทางเข้าสู่ตลาดภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนอกสิงคโปร์
แต่ ST Kinetics ได้ยกระดับประสบการณ์ของ Terrex ในการให้ช่วยเหลือทางเทคนิคและให้คำแนะนำต่อสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ(สทป. DTI: Defence Technology Institute) ประเทศไทย
ในการออกแบบพัฒนายานเกราะล้อยาง Black Widow Spider 8x8 ขนาด 24tons ของไทยสำหรับกองทัพบกไทยมาแล้วครับ
วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
AVIC จีนเปิดตัวเครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบก AG600
Amphibious aircraft AG600 rolls off a production line in Zhuhai, south China's Guangdong Province, July 23, 2016. The AG600 is by far the world's largest amphibian aircraft, about the size of a Boeing 737. (Xinhua/Lu Hanxin)
World's largest amphibious aircraft made in China
http://news.xinhuanet.com/english/2016-07/24/c_135536247.htm
Aviation Industry Corporation of China (AVIC) รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมอากาศยานของสาธารณรัฐประชาชนจีนได้เปิดตัวเครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบกแบบ AG600 เครื่องแรกที่ประกอบสร้างเสร็จจากโรงงานอากาศยานใน Zhuhai มณฑล Guangdong เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคมที่ผ่านมา
เครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบก AG600 มีตัวเครื่องยาว 37m ปีกกว้าง 38.8m น้ำหนักบินขึ้นสูงสุด 53.5tons ใช้เครื่องยนต์ใบพัดหกกลีบสี่เครื่อง มีความเร็วเดินทางสูงสุด 500km/h มีพิสัยทำการไกลสุด 4,500km
นอกเหนือจากการบินขึ้นลงในทางวิ่งสนามบินตามปกติ AG600 สามารถบินขึ้นจากน้ำเช่นทะเลหรือทะเลสาบได้ โดยต้องการพื้นที่ทางน้ำยาวอย่างน้อย 1,500m กว้าง 200m และลึก 2.5m
ซึ่งทาง Geng Ruguang รองผู้จัดการทั่วไป AVIC ให้ข้อมูลว่า AG600 นั้นเป็นเครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีขนาดใกล้เคียงกับเครื่องบินโดยสาร Boeing 737
ภารกิจของเครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบก AG600 จะนำมาใช้ในการดับไฟป่าและกู้ภัยทางทางทะเล ซึ่ง AG600 มีความคล่องตัวและน่าเชื่อถือสูง ในภารกิจดับไฟสามารถบรรทุกน้ำได้หนัก 12,000tons และในภารกิจกู้ภัย AG600 สามารถรองรับผู้ประสบภัยได้ถึง 50คน
"AG600 เหมือนเรือที่บินได้ ด้วยวิทยาการวิศวกรรมพลวัตก๊าซ-น้ำและการทนทานการกักกร่อนใต้น้ำ" Huang Lingcai หัวหน้าฝ่ายออกแบบอากาศยานกล่าว
ตามข้อมูลของ AVIC เครื่อง AG600 จะตั้งเป้าทำการตลาดภายในประเทศจีนเป็นหลัก โดยคาดว่าจะได้รับการสั่งจัดหาในอนาคต
ซึ่งการเปิดตัวของ AG600 มีขึ้นไม่นานหลังจากที่เครื่องบินลำเลียงหนักทางยุทธศาสตร์ Y-20 เข้าประจำการในกองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีน ซึ่งการพัฒนาอากาศยานเหล่านี้แสดงถึงความก้าวหน้าล่าสุดด้านการพัฒนาขีดความสามารถด้านอุตสาหกรรมอากาศยานของจีนครับ
วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
ญี่ปุ่นจัดหา MV-22 เพิ่มเติม 4เครื่อง
Japan orders additional MV-22 tiltrotors
Japan has now ordered just over half of the 17 MV-22Bs that the MoD says it requires to respond 'without delay in case of any invasion of any remote islands'. Source: US Navy
http://www.janes.com/article/62478/japan-orders-additional-mv-22-tiltrotors
ญี่ปุ่นได้ลงนามสัญญาจัดหาอากาศยานใบพัดกระดก Bell-Boeing MV-22B Osprey เพิ่มเติม 4เครื่องจาก 5เครื่องที่ได้ลงนามสัญญาจัดหาไปก่อนหน้านี้ตามข้อมูลที่เปิดเผยโดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคมที่ผ่านมา
สัญญาดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขงบประมาณวงเงิน $544.7 million ตามการประกาศปีงบประมาณผูกผันหลายปีของรัฐบาลสหรัฐฯในการสั่งซื้อการผลิต V-22 จำนวน 17-21เครื่อง ซึ่ง 9เครื่องเป็น MV-22B ของญี่ปุ่นที่ได้ลงนามจัดหาแล้วจากความต้องการจัดหา 17เครื่อง
โดยตามบันทึกสัญญาเป็นการจัดหาในรูปแบบ FMS(Foreign Military Sales) วงเงิน $302.9 million ซึ่งครอบคลุมการจัดหาวัสดุการผลิตในระยะยาว เช่นเดียวกับการจัดส่งอากาศยานซึ่งคาดว่าจะเสร็จสิ้นในเดือนพฤษภาคม ปี2020
นอกเหนือจาการจัดหาเครื่องเพิ่มเติม ญี่ปุ่นยังได้ลงนามสัญญาจัดหาเครื่องฝึกจำลองการบินหนึ่งระบบ คือ MV-22 Tiltrotor Containerized Flight Training Device วงเงิน $9.6 million ซึ่งจะส่งมอบในสิ้นเดือนตุลาคม ปี 2017
ญี่ปุ่นได้สั่งจัดหา MV-22B ชุดแรก 5เครื่องเมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2015 วงเงิน $332.5million โดยมีกำหนดส่งมอบในเดือนมิถุนายน 2018
วงเงินทั้งของแผนการจัดหา MV-22B จำนวน 17เครื่องที่ระบุโดยสำนักงานความร่วมมือความมั่นคงกลาโหมสหรัฐฯ(DSCA: Defense Security Co-operation Agency) อยู่ที่ $3 billion
ญี่ปุ่นจะนำ MV-22B เข้าประจำการในหน่วยยกพลขึ้นบกสองกองพลและสองกองพลน้อยที่ถูกจัดตั้งขึ้นโดยกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นเพื่อตอบสนองการยึดคืนหมู่เกาะห่างไกลในกรณีที่ถูกกองกำลังต่างชาติรุกรานโดยทันที
ซึ่งภารกิจของ MV-22B ญี่ปุ่นยังขยายขอบเขตรวมถึงการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติด้วยครับ
Japan has now ordered just over half of the 17 MV-22Bs that the MoD says it requires to respond 'without delay in case of any invasion of any remote islands'. Source: US Navy
http://www.janes.com/article/62478/japan-orders-additional-mv-22-tiltrotors
ญี่ปุ่นได้ลงนามสัญญาจัดหาอากาศยานใบพัดกระดก Bell-Boeing MV-22B Osprey เพิ่มเติม 4เครื่องจาก 5เครื่องที่ได้ลงนามสัญญาจัดหาไปก่อนหน้านี้ตามข้อมูลที่เปิดเผยโดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคมที่ผ่านมา
สัญญาดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขงบประมาณวงเงิน $544.7 million ตามการประกาศปีงบประมาณผูกผันหลายปีของรัฐบาลสหรัฐฯในการสั่งซื้อการผลิต V-22 จำนวน 17-21เครื่อง ซึ่ง 9เครื่องเป็น MV-22B ของญี่ปุ่นที่ได้ลงนามจัดหาแล้วจากความต้องการจัดหา 17เครื่อง
โดยตามบันทึกสัญญาเป็นการจัดหาในรูปแบบ FMS(Foreign Military Sales) วงเงิน $302.9 million ซึ่งครอบคลุมการจัดหาวัสดุการผลิตในระยะยาว เช่นเดียวกับการจัดส่งอากาศยานซึ่งคาดว่าจะเสร็จสิ้นในเดือนพฤษภาคม ปี2020
นอกเหนือจาการจัดหาเครื่องเพิ่มเติม ญี่ปุ่นยังได้ลงนามสัญญาจัดหาเครื่องฝึกจำลองการบินหนึ่งระบบ คือ MV-22 Tiltrotor Containerized Flight Training Device วงเงิน $9.6 million ซึ่งจะส่งมอบในสิ้นเดือนตุลาคม ปี 2017
ญี่ปุ่นได้สั่งจัดหา MV-22B ชุดแรก 5เครื่องเมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2015 วงเงิน $332.5million โดยมีกำหนดส่งมอบในเดือนมิถุนายน 2018
วงเงินทั้งของแผนการจัดหา MV-22B จำนวน 17เครื่องที่ระบุโดยสำนักงานความร่วมมือความมั่นคงกลาโหมสหรัฐฯ(DSCA: Defense Security Co-operation Agency) อยู่ที่ $3 billion
ญี่ปุ่นจะนำ MV-22B เข้าประจำการในหน่วยยกพลขึ้นบกสองกองพลและสองกองพลน้อยที่ถูกจัดตั้งขึ้นโดยกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นเพื่อตอบสนองการยึดคืนหมู่เกาะห่างไกลในกรณีที่ถูกกองกำลังต่างชาติรุกรานโดยทันที
ซึ่งภารกิจของ MV-22B ญี่ปุ่นยังขยายขอบเขตรวมถึงการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติด้วยครับ
วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
NORINCO จีนเสร็จสิ้นการพัฒนาปืนใหญ่ลากจูง AH4 155mm
China completes development of 155 mm AH4 howitzer
An AH4 155 mm/39 calibre LGH shown deployed in its firing position with the stabilisers presented. Source: NORINCO
http://www.janes.com/article/62341/china-completes-development-of-155-mm-ah4-howitzer
China North Industries Corporation หรือ NORINCO สาธารณรัฐประชาชนจีนได้ยืนยันว่า การพัฒนาปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้งลากจูง(LGH: Lightweight Gun Howitzer )แบบ AH4 ขนาด 155mm/39caliber ได้เสร็จสิ้นแล้ว และทางบริษัทพร้อมที่จะเริ่มสายการผลิตเมื่อมีคำสั่งซื้อ
มีการตั้งข้อสังเกตว่าปืนใหญ่ลากจูง AH4 155mm ของจีนนั้นมีแนวคิดเดียวกับปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้ง(LH: Lightweight Howitzer) BAE Systems M777 ขนาด 155mm/39calibre ซึ่งเดิมพัฒนาโดย Vickers Shipbuilding and Engineering Limited(VSEL) สหราชอาณาจักร
และปัจจุบันปืนใหญ่ลากจูง M777 155mm มีประจำการอยู่ในออสเตรเลีย, แคนาดา และกองทัพบกสหรัฐฯและนาวิกโยธินสหรัฐฯ
NORINCO ให้ข้อมูลว่า ปืนใหญ่ AH4 มีน้ำหนักพร้อมรบ 4,500kg ซึ่งรวมระบบรับแรงถอย Hydro Pneumatic ทำให้ปืนใหญ่สามารถทำการตั้งยิงได้ใน 3นาที และกลับเป็นท่าเตรียมเดิมได้ในเวลา 2นาที ซึ่งลากจูงทางปากกระบอกปืนติดกับท้ายรถยนต์บรรทุก
ปืนใหญ่ AH4 ยังมีมุมยิงและมุมส่ายที่ใกล้เคียงกับปืนใหญ่ M777 คือ มีมุมยิงต่ำสุดและมุมยิงสูงสุด -3 ถึง 72องศา และมีมุมส่ายซ้ายขวา 22.5องศา โดยประมาณ ปืนใหญ่ AH4 มีพลประจำปืน 7นาย
ปืนใหญ่ AH4 มีระยะยิงไกลสุด 25km เมื่อใช้กระสุนระเบิดแรงสูงต่อระยะ 155mm ERFB-HB/HE(Extended-Range Full-Bore Hollow-Base High-Explosive) และเพิ่มเป็น 30km เมื่อระเบิดแรงสูงต่อระยะ ERFB-Base Bleed/HE
และสามารถเพิ่มระยะยิงเป็น 40km เมื่อใช้กระสุนระเบิดแรงสูงต่อระยะ ERFB-BB-Rocket Assist/HE รุ่นล่าสุด แต่เมื่อใช้กระสุนแบบนี้ความแม่นยำจะลดลง
NORINCO ได้ยืนยันว่าปืนใหญ่ AH4 ยังสามารถยิงกระสุนนำวิถีขนาด 155mm (PGM: Precision Guided Munition) ได้หลายแบบซึ่งรวมถึงกระสุนนำวิถี Laser 155mm (LGP: Laser Guided Projectile) แบบ GP6 รุ่นล่าสุด
โดยกระสุนนำวิถี Laser แบบ GP6 155mm มีระยะยิงไกลสุด 25km มีอัตราการยิงถูกเป้าหมายภายในนัดแรกที่ร้อยละ90 และสามารถโจมตีได้ทั้งเป้าหมายประจำที่และเป้าหมายเคลื่อนที่
โดยกระสุนนำวิถี Laser แบบ GP1 155mm รุ่นก่อนหน้านี้อ้างว่าทนทานต่อการถูกลวง(Jamming)สูง และด้วย Technology Multiple Laser Coding ทำให้สามารถใช้ยิงโจมตีประสานงานร่วมกันได้หลายเป้าหมายพร้อมๆกันครับ
An AH4 155 mm/39 calibre LGH shown deployed in its firing position with the stabilisers presented. Source: NORINCO
http://www.janes.com/article/62341/china-completes-development-of-155-mm-ah4-howitzer
China North Industries Corporation หรือ NORINCO สาธารณรัฐประชาชนจีนได้ยืนยันว่า การพัฒนาปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้งลากจูง(LGH: Lightweight Gun Howitzer )แบบ AH4 ขนาด 155mm/39caliber ได้เสร็จสิ้นแล้ว และทางบริษัทพร้อมที่จะเริ่มสายการผลิตเมื่อมีคำสั่งซื้อ
มีการตั้งข้อสังเกตว่าปืนใหญ่ลากจูง AH4 155mm ของจีนนั้นมีแนวคิดเดียวกับปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้ง(LH: Lightweight Howitzer) BAE Systems M777 ขนาด 155mm/39calibre ซึ่งเดิมพัฒนาโดย Vickers Shipbuilding and Engineering Limited(VSEL) สหราชอาณาจักร
และปัจจุบันปืนใหญ่ลากจูง M777 155mm มีประจำการอยู่ในออสเตรเลีย, แคนาดา และกองทัพบกสหรัฐฯและนาวิกโยธินสหรัฐฯ
NORINCO ให้ข้อมูลว่า ปืนใหญ่ AH4 มีน้ำหนักพร้อมรบ 4,500kg ซึ่งรวมระบบรับแรงถอย Hydro Pneumatic ทำให้ปืนใหญ่สามารถทำการตั้งยิงได้ใน 3นาที และกลับเป็นท่าเตรียมเดิมได้ในเวลา 2นาที ซึ่งลากจูงทางปากกระบอกปืนติดกับท้ายรถยนต์บรรทุก
ปืนใหญ่ AH4 ยังมีมุมยิงและมุมส่ายที่ใกล้เคียงกับปืนใหญ่ M777 คือ มีมุมยิงต่ำสุดและมุมยิงสูงสุด -3 ถึง 72องศา และมีมุมส่ายซ้ายขวา 22.5องศา โดยประมาณ ปืนใหญ่ AH4 มีพลประจำปืน 7นาย
ปืนใหญ่ AH4 มีระยะยิงไกลสุด 25km เมื่อใช้กระสุนระเบิดแรงสูงต่อระยะ 155mm ERFB-HB/HE(Extended-Range Full-Bore Hollow-Base High-Explosive) และเพิ่มเป็น 30km เมื่อระเบิดแรงสูงต่อระยะ ERFB-Base Bleed/HE
และสามารถเพิ่มระยะยิงเป็น 40km เมื่อใช้กระสุนระเบิดแรงสูงต่อระยะ ERFB-BB-Rocket Assist/HE รุ่นล่าสุด แต่เมื่อใช้กระสุนแบบนี้ความแม่นยำจะลดลง
NORINCO ได้ยืนยันว่าปืนใหญ่ AH4 ยังสามารถยิงกระสุนนำวิถีขนาด 155mm (PGM: Precision Guided Munition) ได้หลายแบบซึ่งรวมถึงกระสุนนำวิถี Laser 155mm (LGP: Laser Guided Projectile) แบบ GP6 รุ่นล่าสุด
โดยกระสุนนำวิถี Laser แบบ GP6 155mm มีระยะยิงไกลสุด 25km มีอัตราการยิงถูกเป้าหมายภายในนัดแรกที่ร้อยละ90 และสามารถโจมตีได้ทั้งเป้าหมายประจำที่และเป้าหมายเคลื่อนที่
โดยกระสุนนำวิถี Laser แบบ GP1 155mm รุ่นก่อนหน้านี้อ้างว่าทนทานต่อการถูกลวง(Jamming)สูง และด้วย Technology Multiple Laser Coding ทำให้สามารถใช้ยิงโจมตีประสานงานร่วมกันได้หลายเป้าหมายพร้อมๆกันครับ
วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
เรือฟริเกต F125 ลำแรกของกองทัพเรือเยอรมนี F222 Baden-Württemberg ทำการทดสอบในทะเล
http://www.navyrecognition.com/index.php/news/defence-news/2016/july-2016-navy-naval-forces-defense-industry-technology-maritime-security-global-news/4219-video-german-navys-first-f125-frigate-baden-wuerttemberg-in-sea-trials.html
กองทัพเรือเยอรมนี(Deutsche Marine) กองทัพเยอรมนี(Bundeswehr)ได้เผยแพร่วิดีทัศน์การทดสอบเรือฟริเกตชั้น F125 ลำแรกคือ F222 Baden-Württemberg ขณะทำการเดินเรือทดสอบในทะเลบริเวณชายฝั่งเดนมาร์ก
โดยการทดสอบตัวเรือในทะเลซึ่งมีกำลังพลจากทั้งกองทัพเรือเยอรมนีและวิศวกรพลเรือนของบริษัท TKMS(ThyssenKrupp Marine Systems) ได้มีการดำเนินการหลายอย่าง ทั้งการเดินเรือเลี้ยวฉกาจด้วยความเร็วสูง และการทดสอบระบบ AESA Radar แบบ TRS-4D
มีการคาดการณ์ว่าการส่งมอบเรือให้กับหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างของกองทัพเยอรมนี(BAAIN สำนักงานยุทโธปกรณ์กองทัพ, เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสนับสนุนบริการแห่งสหพันธรัฐ) จะมีขึ้นภายในเดือนนี้
เรือฟริเกตแบบ F125 หรือเรือฟริเกตชั้น Baden-Württemberg ถูกสร้างโดยกลุ่มร่วมทุน ARGE F125 ที่นำโดยบริษัท ThyssenKrupp Marine Systemsโดยมี Blohm+Voss ซึ่งอยู่ในเครือ TKMS ร่วมกับ Nordsweerke และ Lürssen Werf
โดยจะทำการสร้างเรือทั้งหมด 4ลำเพื่อทดแทนเรือฟริเกตชั้น F122 Bremen 8ลำ ซึ่งเรือลำแรกของชั้นคือ Baden-Württemberg มีกำหนดส่งมอบภายในปี 2016 นี้
เรืออีก3ลำคือ F223 Nordrhein-Westfalen, F224 Sachsen-Anhalt และ F225 Rheinland-Pfalz จะทยอยสร้างส่งมอบจนครบ 4ลำภายในปี 2019
ซึ่งเรือฟริเกตชั้นนี้ถูกออกแบบมาสำหรับรองรับหลากหลายภารกิจ ทั้งภารกิจการรบในสงครามตามแบบจนถึงการช่วยเหลือทางมนุษยธรรม
เรือฟริเกตชั้น F125 มีระวางขับน้ำ 7,200tons ความยาวเรือ 149.5m ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ CODLAG กำลังพลประจำเรือประมาณ 150นาย
ระบบอาวุธมีปืนใหญ่เรือ Oto Melara 127/64LW 1กระบอก, ปืนใหญ่กล Remote แบบ Rheinmetall MLG27 2กระบอก, ป้อมปืนกลหนัก Remote แบบ HITROLE 12.7mm 5กระบอก,
อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ RGM-84 Harpoon 8นัด, ระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศป้องกันระยะประชิด RIM-116 RAM 2แท่นยิง และระบบอาวุธที่ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิตจำนวนหนึ่งครับ
วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
กองทัพอากาศฝรั่งเศสจะปรับปรุงครึ่งอายุเครื่องบินขับไล่ Mirage 2000D และ SAAB สวีเดนเสนอเครื่องบินขับไล่ Gripen ต่อกองทัพอากาศอินโดนีเซีย
Dassault contracted to conduct Mirage 2000D MLU
The French Air Force is to upgrade 55 of its Mirage 2000D all-weather combat aircraft to keep them in service through to 2030. Source: Frederic Lert
http://www.janes.com/article/62390/dassault-contracted-to-conduct-mirage-2000d-mlu
กองทัพอากาศฝรั่งเศสจะดำเนินการแผนปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ Dassault Mirage 2000D ซึ่งได้รับการอนุมัติจากกระทรวงกลาโหมฝรั่งเศสเมื่อปลายปี 2015
สัญญาการปรับปรุงครึ่งอายุ(MLU: Mid Life Upgrade) ถูกประกาศโดยบริษัท Dassault ฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งบริษัทจะเป็นผู้รับงานหลักในส่วนระบบ Avionic และระบบอาวุธ
ตามที่ Jane's ได้รายงานไปก่อนหน้านี้งานปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ Mirage 2000D จะรวมถึงการจัดการ Radar และระบบ Avionic ที่มีปัญหาเสื่อมสภาพ
เช่นเดียวกับการเปลี่ยนอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้จาก MBDA R550 Magic 2 ที่ปลดประจำการแล้วให้สามารถใช้อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ MBDA MICA IR(InfraRed) ใหม่แทน และการติดตั้งกระเปาะปืนใหญ่อากาศสำหรับการโจมตีอากาศสู่พื้นและอากาศสู่อากาศ
นอกจากนั้นระบบอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น Sagem AASM Hammer PGM(Precision Guided Munition) จะถูกนำบูรณาการเข้ากับเครื่อง และเครื่องยังถูกปรับปรุงให้ใช้กระเปาะชี้เป้า Laser แบบ Thales Talios เช่นเดียวกับที่ติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่ Dassault Rafale
แต่ยังไม่มีการประกาศถึงความเป็นไปได้ที่จะนำกระเปาะข่าวกรอง Electronic แบบ Astec ที่เคยใช้กับเครื่องบินขับไล่ Dassault Mirage F1 ที่ปลดประจำการไปแล้วและถูกทดลองใช้กับ Mirage 2000D มาใช้ด้วยหรือไม่
Dassault ไม่ได้ประกาศวงเงินของสัญญาและระยะเวลาดำเนินงาน แต่ทาง Jane's เข้าใจว่า Mirage 2000D ที่ผ่านการปรับปรุง MLU เครื่องแรกจะเสร็จภายในปี 2019
เครื่องบินขับไล่ Mirage 2000D เข้าประจำการในกองทัพอากาศฝรั่งเศสตั้งแต่ปี 1993 จำนวน 63เครื่อง ซึ่งจะมี 55เครื่องที่จะได้รับการปรับปรุง MLU ซึ่งหลังการปรับปรุง Mirage 2000D จะยังคงประจำการต่อไปจนถึงปี 2030 ครับ
The French Air Force is to upgrade 55 of its Mirage 2000D all-weather combat aircraft to keep them in service through to 2030. Source: Frederic Lert
http://www.janes.com/article/62390/dassault-contracted-to-conduct-mirage-2000d-mlu
กองทัพอากาศฝรั่งเศสจะดำเนินการแผนปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ Dassault Mirage 2000D ซึ่งได้รับการอนุมัติจากกระทรวงกลาโหมฝรั่งเศสเมื่อปลายปี 2015
สัญญาการปรับปรุงครึ่งอายุ(MLU: Mid Life Upgrade) ถูกประกาศโดยบริษัท Dassault ฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งบริษัทจะเป็นผู้รับงานหลักในส่วนระบบ Avionic และระบบอาวุธ
ตามที่ Jane's ได้รายงานไปก่อนหน้านี้งานปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ Mirage 2000D จะรวมถึงการจัดการ Radar และระบบ Avionic ที่มีปัญหาเสื่อมสภาพ
เช่นเดียวกับการเปลี่ยนอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้จาก MBDA R550 Magic 2 ที่ปลดประจำการแล้วให้สามารถใช้อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ MBDA MICA IR(InfraRed) ใหม่แทน และการติดตั้งกระเปาะปืนใหญ่อากาศสำหรับการโจมตีอากาศสู่พื้นและอากาศสู่อากาศ
นอกจากนั้นระบบอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น Sagem AASM Hammer PGM(Precision Guided Munition) จะถูกนำบูรณาการเข้ากับเครื่อง และเครื่องยังถูกปรับปรุงให้ใช้กระเปาะชี้เป้า Laser แบบ Thales Talios เช่นเดียวกับที่ติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่ Dassault Rafale
แต่ยังไม่มีการประกาศถึงความเป็นไปได้ที่จะนำกระเปาะข่าวกรอง Electronic แบบ Astec ที่เคยใช้กับเครื่องบินขับไล่ Dassault Mirage F1 ที่ปลดประจำการไปแล้วและถูกทดลองใช้กับ Mirage 2000D มาใช้ด้วยหรือไม่
Dassault ไม่ได้ประกาศวงเงินของสัญญาและระยะเวลาดำเนินงาน แต่ทาง Jane's เข้าใจว่า Mirage 2000D ที่ผ่านการปรับปรุง MLU เครื่องแรกจะเสร็จภายในปี 2019
เครื่องบินขับไล่ Mirage 2000D เข้าประจำการในกองทัพอากาศฝรั่งเศสตั้งแต่ปี 1993 จำนวน 63เครื่อง ซึ่งจะมี 55เครื่องที่จะได้รับการปรับปรุง MLU ซึ่งหลังการปรับปรุง Mirage 2000D จะยังคงประจำการต่อไปจนถึงปี 2030 ครับ
Saab submits Gripen bid for Indonesian fighter requirement
Indonesia has been offered the Gripen C fighter aircraft fitted with the latest MS20 capability upgrade, which is now operational on all Swedish jets and is the baseline standard for future Gripen exports.
New capabilities in this version include the MBDA Meteor beyond-visual-range air-to-air missile and the Boeing GBU-39 Small-Diameter Bomb.) Source: Saab
บริษัท SAAB สวีเดนได้ยื่นข้อเสนอต่อเจ้าหน้าที่อินโดนีเซียในการจัดส่งเครื่องบินขับไล่ JAS-39 Gripen เข้าแข่งขันในโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ของกองทัพอากาศอินโดนีเซีย(TNI-AU) Peter Carlqvist หัวหน้าบริษัท Saab Indonesia ได้ยืนยันกับ Jane's โดยเขากล่าวว่า
ข้อเสนอนี้มีความยืดหยุ่นในรุ่นของเครื่อง Gripen ที่จะจัดหาให้กองทัพอากาศอินโดนีเซีย แต่บริษัทยังคงมุ่นมั่น "100%" ที่จะตอบสนองความต้องการมีส่วนร่วมของภาคอุตสาหกรรมท้องถิ่นของอินโดนีเซีย
ข้อเสนอนี้ได้ถูกส่งไปก่อนหน้าในปีนี้ โดยทางนาย Carlqvist กล่าวว่าบริษัทยังคงรอกระบวนการแข่งขันอย่างเป็นทางการให้เริ่มต้นขึ้น ซึ่งมีรายงานว่าอินโดนีเซียจะลงนามจัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-35 จากรัสเซียขั้นต้น 8เครื่องภายในปีนี้ออกมาก่อนหน้านี้
กองทัพอากาศอินโดนีเซียมีความต้องการเป็นระยะเวลานานในการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ทดแทนเครื่องบินขับไล่ Northrop F-5E Tiger II ที่เข้าประจำการมาตั้งแต่ปี 1980
โดยโครงการมีความต้องการเครื่องบินขับไล่ขั้นต้น 16เครื่องวงเงินราว $1.5 billion แต่สามารถขยายเพิ่มได้ในอนาคต ซึ่งเป็นการตอบสนองกองทัพอากาศอินโดนีเซียต่อความขัดแย้งด้านอาณาเขตที่เพิ่มขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นาย Carlqvist กล่าวว่า SAAB ได้เสนอเครื่องบินขับไล่ Gripen C/D รุ่นปัจจุบันให้อินโดนีเซีย แต่ก็ยังเปิดโอกาสในการเสนอเครื่องบินขับไล่ Gripen E รุ่นล่าสุดที่เพิ่งเปิดตัวไปที่โรงงานอากาศยานใน Linkoping สวีเดนเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาตามที่เคยรายงานไปด้วย
โดย Gripen E มีขีดความสามารถเหนือกว่า Gripen C/D ทั้งความอยู่รอด, ระบบตรวจจับ, ระบบทั่วไป, การบรรทุก, การสื่อสาร, สมรรถนะ, พิสัยทำการ และระบบ Avionic
"SAAB ได้ยื่นข้อเสนองบประมาณสำหรับฝูงบินขับไล่ Gripen รุ่นล่าสุดหนึ่งฝูงบิน ตั้งแต่เราทราบว่าการส่งมอบที่รวดเร็วเป็นสิ่งสำคัญของกองทัพอากาศอินโดนนีเซีย Gripen C/D จึงเป็นรุ่นที่เราเสนอ แต่ถ้ามีการยอมรับระยะเวลาการส่งมอบให้ยาวนานขึ้น Gripen E ก็จะถูกเสนอ"
นาย Carlqvist ยังกล่าวอีกว่าหลักสำคัญของข้อเสนอคือกฎหมายอุตสาหกรรมความมั่นคงปี 2012 ของอินโดนีเซีย(ที่รู้จักในชื้อ 'กฎหมายหมายเลข16') ที่ต้องการให้ผู้รับสัญญาต่างประเทศเข้ามามีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมท้องถิ่นของอินโดนีเซียอย่างเต็มที่
"กฎหมายหมายเลข16 จะเป็นศูนย์กลางโดยสมบูรณ์ของทุกสิ่งที่เราเสนอให้อินโดนีเซีย" นาย Carlqvist กล่าวครับ
วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
เรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ HMAS Canberra ออสเตรเลียฝึกรับการลงจอดของเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง CH-53E สหรัฐฯ
RIMPAC 2016: RAN further expands range of deployable aircraft on board HMAS Canberra with CH-53E landing
A CH-53E helicopter landing on HMAS Canberra at 'RIMPAC' 2016. Source: Commonwealth of Australia/Royal Australian Navy
http://www.janes.com/article/62367/rimpac-2016-ran-further-expands-range-of-deployable-aircraft-on-board-hmas-canberra-with-ch-53e-landing
กองทัพเรือออสเตรเลีย(RAN: Royal Australian Navy) ได้เพิ่มเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหนัก Sikorsky CH-53E Super Stallion เข้าไปในรายการอากาศยานที่ปฏิบัติการร่วมกับเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ L02 HMAS Canberra ได้
หลังจากที่เฮลิคอเตอร์ลำเลียงหนัก CH-53E ของนาวิกโยธินสหรัฐฯ(USMC: United States Marine Corps) ฝูงบินเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหนักนาวิกโยธินที่463(HMH-463) ได้ทำการฝึกลงจอดบนดาดฟ้าเรือ HMAS Canberra ในการฝึก RIMPAC 2016 ที่น่านน้ำใกล้ Hawaii สหรัฐฯ
การประกาศการฝึกลงจอดในครั้งนี้มีขึ้นเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม โดยเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกร่วมกองทัพเรือนานาชาติ Rim of the Pacific (RIMPAC) 2016 ที่จะมีถึงวันที่ 4 สิงหาคม
"การฝึกลงจอดนี้เป็นจุดประสงค์หลักหนึ่งในการฝึก RIMPAC ซึ่งจะทำให้มั่นใจได้ว่าเฮลิคอปเตอร์ขนาดใหญ่สามารถปฏิบัติการได้จากเรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น Canberra ในอนาคต
และเสริมแนวทางหลักสำคัญของการฝึกในปีนี้ด้านการพัฒนาขีดความสามารถการปรับเปลี่ยนความเป็นหุ้นส่วนระหว่างกัน" ฝ่ายประชาสัมพันธ์กองทัพเรือออสเตรเลียกล่าวในช่องทางสื่อสังคม Online
ก่อนหน้าการฝึกลงจอดของ ฮ.ลำเลียงหนัก CH-53E นั้นเรือ Canberra ได้ฝึกการลงจอดร่วมกับเครื่องบินปีกกระดก MV-22 Osprey ของนาวิกโยธินสหรัฐฯในการฝึกเดียวกันก่อนหน้านี้มาแล้ว
การฝึก RIMPAC 2016 เป็นการเปิดตัวเข้าร่วมการฝึกต่างประเทศเป็นครั้งแรกของเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Canberra กองทัพเรือออสเตรเลีย ซึ่งเป็นการขยายขีดความสามารถของกองทัพเรือออสเตเลียในการปฏิบัติการร่วมกับกองกำลังมิตรประเทศเช่นสหรัฐฯ
เรือชั้น Canberra มีพื้นฐานจากเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์จู่โจมชั้น Juan Carlos I กองทัพเรือสเปน โดยตัวเรือถูกสร้างที่อู่ต่อเรือบริษัท Navantia ใน Ferrol สเปน และดำเนินการสร้างต่อจนสมบูรณ์ที่อู่เรือบริษัท BAE Systems Australia ใน Williamstown ออสเตรเลีย
โดยเรือลำแรกของชั้นคือ L02 HMAS Canberra เข้าประจำการเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2014 และเรือลำที่สองคือ L01 HMAS Adelaide เข้าประจำการเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2015 ครับ
A CH-53E helicopter landing on HMAS Canberra at 'RIMPAC' 2016. Source: Commonwealth of Australia/Royal Australian Navy
http://www.janes.com/article/62367/rimpac-2016-ran-further-expands-range-of-deployable-aircraft-on-board-hmas-canberra-with-ch-53e-landing
กองทัพเรือออสเตรเลีย(RAN: Royal Australian Navy) ได้เพิ่มเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหนัก Sikorsky CH-53E Super Stallion เข้าไปในรายการอากาศยานที่ปฏิบัติการร่วมกับเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ L02 HMAS Canberra ได้
หลังจากที่เฮลิคอเตอร์ลำเลียงหนัก CH-53E ของนาวิกโยธินสหรัฐฯ(USMC: United States Marine Corps) ฝูงบินเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหนักนาวิกโยธินที่463(HMH-463) ได้ทำการฝึกลงจอดบนดาดฟ้าเรือ HMAS Canberra ในการฝึก RIMPAC 2016 ที่น่านน้ำใกล้ Hawaii สหรัฐฯ
การประกาศการฝึกลงจอดในครั้งนี้มีขึ้นเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม โดยเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกร่วมกองทัพเรือนานาชาติ Rim of the Pacific (RIMPAC) 2016 ที่จะมีถึงวันที่ 4 สิงหาคม
"การฝึกลงจอดนี้เป็นจุดประสงค์หลักหนึ่งในการฝึก RIMPAC ซึ่งจะทำให้มั่นใจได้ว่าเฮลิคอปเตอร์ขนาดใหญ่สามารถปฏิบัติการได้จากเรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น Canberra ในอนาคต
และเสริมแนวทางหลักสำคัญของการฝึกในปีนี้ด้านการพัฒนาขีดความสามารถการปรับเปลี่ยนความเป็นหุ้นส่วนระหว่างกัน" ฝ่ายประชาสัมพันธ์กองทัพเรือออสเตรเลียกล่าวในช่องทางสื่อสังคม Online
ก่อนหน้าการฝึกลงจอดของ ฮ.ลำเลียงหนัก CH-53E นั้นเรือ Canberra ได้ฝึกการลงจอดร่วมกับเครื่องบินปีกกระดก MV-22 Osprey ของนาวิกโยธินสหรัฐฯในการฝึกเดียวกันก่อนหน้านี้มาแล้ว
การฝึก RIMPAC 2016 เป็นการเปิดตัวเข้าร่วมการฝึกต่างประเทศเป็นครั้งแรกของเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Canberra กองทัพเรือออสเตรเลีย ซึ่งเป็นการขยายขีดความสามารถของกองทัพเรือออสเตเลียในการปฏิบัติการร่วมกับกองกำลังมิตรประเทศเช่นสหรัฐฯ
เรือชั้น Canberra มีพื้นฐานจากเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์จู่โจมชั้น Juan Carlos I กองทัพเรือสเปน โดยตัวเรือถูกสร้างที่อู่ต่อเรือบริษัท Navantia ใน Ferrol สเปน และดำเนินการสร้างต่อจนสมบูรณ์ที่อู่เรือบริษัท BAE Systems Australia ใน Williamstown ออสเตรเลีย
โดยเรือลำแรกของชั้นคือ L02 HMAS Canberra เข้าประจำการเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2014 และเรือลำที่สองคือ L01 HMAS Adelaide เข้าประจำการเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2015 ครับ
วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
กองทัพเรือฝรั่งเศสปลดประจำการเครื่องบินโจมตี Super Etendard
French Navy retires Super Etendard
The French Navy's last Super Etendard Modernise (SEM) maritime strike aircraft back on the ground for good after they completed their final flight on 12 July.
Aircraft No.1 is painted in the camouflage scheme used when the Super Etendard first entered service in 1978. Source: Frederic Lert
http://www.janes.com/article/62317/french-navy-retires-super-etendard
กองการบินทหารเรือ(Aeronavale) กองทัพเรือฝรั่งเศส(Marine) ได้แถลงอย่างเป็นทางการว่าเครื่องบินโจมตีประจำเรือบรรทุกเครื่องบินแบบ Super Etendard Modernise ได้ถูกปลดประจำการแล้วเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคมที่ผ่านมา
โดยเครื่องชุดสุดท้าย 5เครื่องที่เคยทำการบินในฝูงบิน Flottille 17F จะถูกเก็บรักษาไว้ในระยะยาว ทั้งนี้ความเป็นไปได้ที่เครื่องเหล่านี้จะถูกนำกลับมาทำการบินอีกครั้งดูไม่น่าจะเป็นไปได้มากนัก
เครื่องบินโจมตี Super Etendard ถูกนำเข้าประจำการในกองทัพเรือฝรั่งเศสตั้งแต่ปี 1978 และได้รับการปรับปรุงมาหลายครั้งโดยโครงการปรับปรุงสุดท้ายคือ Standard 5 จำนวน 35เครื่อง
กองการบินทหารเรือฝรั่งเศสได้เริ่มการทำงานเพื่อปลดประจำการเครื่องบินโจมตี Super Etendard มาเป็นเวลาหลายปี ตั้งแต่การตัดสินใจยุติขีดความสามารถการซ่อมบำรุงเครื่องระดับอุตสาหกรรม
เดือนตุลาคม 2015 เครื่องบินโจมตี Super Etendard 8เครื่องยังคงถูกใช้งานและประจำการบนเรือบรรทุกเครื่องบิน Charles de Gaulle ร่วมกับเครื่องบินขับไล่ Dassault Rafale 18เครื่อง ในยุทธการ Chammal เพื่อโจมตีทางอากาศต่อกองกำลังติดอาวุธก่อการร้าย DAESH
โดย Super Etendard 3เครื่องได้หมดอายุการใช้งานลงเมื่อเรือบรรทุกเครื่องบิน Charles de Gaulle เดินทางกลับมา Toulon เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ทำใหเหลือ Super Etendard เพียง 5เครื่องที่ยังทำการบินได้
การปลดประจำการเครื่องบินโจมตี Super Etendard ทำให้กำลังอากาศยานรบประจำเรือบรรทุกเครื่องบินกองทัพเรือฝรั่งเศสเป็นเครื่องบินขับไล่ Rafale M ที่ร้อยละ100 เครื่องบินขับไล่ประจำเรือบรรทุกเครื่องบิน Rafale M จำนวน 48เครื่องได้ถูกส่งมอบตั้งแต่ปี 2001
โดยมี 4เครื่องสูญเสียในอุบัติเหตุ, 3เครื่องทำการบินที่ St Dizier (ร่วมกับเครื่องของกองทัพอากาศฝรั่งเศส Armee de l'Air) ในหน่วยฝึกบินเปลี่ยนแบบ และอีกเครื่องอยู่ที่ศูนย์ทดสอบกองทัพเรือ Hyeres
ทำให้เครื่องบินขับไล่ Rafale M จำนวน 40เครื่องถูกนำเข้าประจำการในฝูงบิน Flottille 11F, Flottille 12F และ Flottille 17F ซึ่งทั้งหมดมีที่ตั้งใน Landivisiau แคว้น Brittany โดยมีจำนวนเฉลี่ยฝูงบินละ 12เครื่อง
ฝูงบิน Flottille 17F ได้เริ่มทำการฝึกนักบินและช่างเครื่องสำหรับเครื่องบินขับไล่ Rafale แล้ว แต่ฝูงบินจะไม่ถูกพิจารณาว่ามีความพร้อมปฏิบัติการเต็มอัตราก่อนปี 2018
ซึ่งรวมถึงฝูงบินจะได้รับการอนุมัติให้มีขีดความสามารถในการใช้อาวุธนิวเคลียร์โจมตีด้วยอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น ASMP-A ที่เป็นขีดความสามารถที่หายไปจากเครื่องบินโจมตี Super Etendard เมื่อทศวรรษที่แล้ว
ทั้งนี้เมื่อฝูงบิน Rafale ทั้งสามฝูงมีความพร้อมนำมาวางกำลังปฏิบัติการบนเรือบรรทุกเครื่องบิน Charles de Gaulle ได้แล้วนั้น
กองทัพเรือฝรั่งเศสก็สามารถที่จะวางกำลังฝูงบิน Rafale สองฝูงบนเรือบรรทุกเครื่องบิน Charles de Gaulle ได้ในเวลาเดียว โดยที่ฝูงที่สามจะยังคงวางกำลังที่ Landivisiau เพื่อการฝึกและสำรองการปฏิบัติการครับ
The French Navy's last Super Etendard Modernise (SEM) maritime strike aircraft back on the ground for good after they completed their final flight on 12 July.
Aircraft No.1 is painted in the camouflage scheme used when the Super Etendard first entered service in 1978. Source: Frederic Lert
http://www.janes.com/article/62317/french-navy-retires-super-etendard
กองการบินทหารเรือ(Aeronavale) กองทัพเรือฝรั่งเศส(Marine) ได้แถลงอย่างเป็นทางการว่าเครื่องบินโจมตีประจำเรือบรรทุกเครื่องบินแบบ Super Etendard Modernise ได้ถูกปลดประจำการแล้วเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคมที่ผ่านมา
โดยเครื่องชุดสุดท้าย 5เครื่องที่เคยทำการบินในฝูงบิน Flottille 17F จะถูกเก็บรักษาไว้ในระยะยาว ทั้งนี้ความเป็นไปได้ที่เครื่องเหล่านี้จะถูกนำกลับมาทำการบินอีกครั้งดูไม่น่าจะเป็นไปได้มากนัก
เครื่องบินโจมตี Super Etendard ถูกนำเข้าประจำการในกองทัพเรือฝรั่งเศสตั้งแต่ปี 1978 และได้รับการปรับปรุงมาหลายครั้งโดยโครงการปรับปรุงสุดท้ายคือ Standard 5 จำนวน 35เครื่อง
กองการบินทหารเรือฝรั่งเศสได้เริ่มการทำงานเพื่อปลดประจำการเครื่องบินโจมตี Super Etendard มาเป็นเวลาหลายปี ตั้งแต่การตัดสินใจยุติขีดความสามารถการซ่อมบำรุงเครื่องระดับอุตสาหกรรม
เดือนตุลาคม 2015 เครื่องบินโจมตี Super Etendard 8เครื่องยังคงถูกใช้งานและประจำการบนเรือบรรทุกเครื่องบิน Charles de Gaulle ร่วมกับเครื่องบินขับไล่ Dassault Rafale 18เครื่อง ในยุทธการ Chammal เพื่อโจมตีทางอากาศต่อกองกำลังติดอาวุธก่อการร้าย DAESH
โดย Super Etendard 3เครื่องได้หมดอายุการใช้งานลงเมื่อเรือบรรทุกเครื่องบิน Charles de Gaulle เดินทางกลับมา Toulon เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ทำใหเหลือ Super Etendard เพียง 5เครื่องที่ยังทำการบินได้
การปลดประจำการเครื่องบินโจมตี Super Etendard ทำให้กำลังอากาศยานรบประจำเรือบรรทุกเครื่องบินกองทัพเรือฝรั่งเศสเป็นเครื่องบินขับไล่ Rafale M ที่ร้อยละ100 เครื่องบินขับไล่ประจำเรือบรรทุกเครื่องบิน Rafale M จำนวน 48เครื่องได้ถูกส่งมอบตั้งแต่ปี 2001
โดยมี 4เครื่องสูญเสียในอุบัติเหตุ, 3เครื่องทำการบินที่ St Dizier (ร่วมกับเครื่องของกองทัพอากาศฝรั่งเศส Armee de l'Air) ในหน่วยฝึกบินเปลี่ยนแบบ และอีกเครื่องอยู่ที่ศูนย์ทดสอบกองทัพเรือ Hyeres
ทำให้เครื่องบินขับไล่ Rafale M จำนวน 40เครื่องถูกนำเข้าประจำการในฝูงบิน Flottille 11F, Flottille 12F และ Flottille 17F ซึ่งทั้งหมดมีที่ตั้งใน Landivisiau แคว้น Brittany โดยมีจำนวนเฉลี่ยฝูงบินละ 12เครื่อง
ฝูงบิน Flottille 17F ได้เริ่มทำการฝึกนักบินและช่างเครื่องสำหรับเครื่องบินขับไล่ Rafale แล้ว แต่ฝูงบินจะไม่ถูกพิจารณาว่ามีความพร้อมปฏิบัติการเต็มอัตราก่อนปี 2018
ซึ่งรวมถึงฝูงบินจะได้รับการอนุมัติให้มีขีดความสามารถในการใช้อาวุธนิวเคลียร์โจมตีด้วยอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น ASMP-A ที่เป็นขีดความสามารถที่หายไปจากเครื่องบินโจมตี Super Etendard เมื่อทศวรรษที่แล้ว
ทั้งนี้เมื่อฝูงบิน Rafale ทั้งสามฝูงมีความพร้อมนำมาวางกำลังปฏิบัติการบนเรือบรรทุกเครื่องบิน Charles de Gaulle ได้แล้วนั้น
กองทัพเรือฝรั่งเศสก็สามารถที่จะวางกำลังฝูงบิน Rafale สองฝูงบนเรือบรรทุกเครื่องบิน Charles de Gaulle ได้ในเวลาเดียว โดยที่ฝูงที่สามจะยังคงวางกำลังที่ Landivisiau เพื่อการฝึกและสำรองการปฏิบัติการครับ
วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
ภาพเปิดเผยความน่าจะเป็นไปได้ของเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ Type 094 จีนรุ่นใหม่
Images show possible new variant of China's Type 094 SSBN
This image of a what appears to be modified Chinese Type 094 SSBN reveals a sail that seems to have incorporated changes from the modified Type 093 sail. Source: Via Guancha.com
http://www.janes.com/article/62282/images-show-possible-new-variant-of-china-s-type-094-ssbn
หลังจากที่มีภายเผยแพร่ในสื่อสังคม Online ของจีนสำหรับเรือดำน้ำโจมตีพลังงานนิวเคลียร์(SSN)ชั้น Type 093 (NATO กำหนดรหัส Shang) รุ่นใหม่เมื่อปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมานี้ โดยถูกเรียกว่าชั้น Type 093B SSN
ล่าสุดก็มีภาพเผยแพร่ออกมาน่าจะเป็นไปได้ว่ากองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนน่าจะมีเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์(SSBN) ชั้น Type 094 (NATO กำหนดรหัส Jin) รุ่นใหม่อย่างน้อยหนึ่งลำ โดยถูกเรียกว่าชั้น Type 094A SSBN
ภาพของเรือดำน้ำโจมตีนิวเคลียร์ Type 093B ที่ออกมาเมื่อปลายเดือนที่แล้วแสดงถึงการปรับเปลี่ยนออกแบบปรับปรุงรูปทรงตัวเรือที่มีผลทางอุทกพลศาสตร์ในหลายส่วนเช่น
หอเรือที่เป็นทรงโค้งมนด้านบนด้านหน้าเหนือหน้าต่างนำร่องสังเกตุการณ์ และแนวลาดเอียงทำมุมขยายออกที่ฐานหน้าหอเรือ เพื่อลดเสียงที่เกิดจากการไหลของกระแสน้ำขณะเคลื่อนที่ใต้น้ำเป็นต้น
ซึ่งภาพเรือดำน้ำนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ชั้น Type 094 สองภาพที่ปรากฎใน Online Forum Haohanfw.com จีนนั้นแสดงถึงการปรับปรุงตัวเรือที่คล้ายคลึงกันในส่วนหอเรือจนถึงโหนกหลังหอเรือที่ติดตั้งท่อยิงขีปนาวุธ JL-2 จำนวน 12นัด
จากฉากหลังที่ปรากฎดูเหมือนว่าภาพเรือดำน้ำนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธใหม่นี้อาจจะถูกถ่ายที่ฐานทัพเรือ Sanya ที่เกาะ Hainan ทะเลจีนใต้ แต่ก็ไม่สามารถยืนยันได้(มีบางรายงานระบุว่าเป็นภาพตัดต่อเช่นกัน)
ตามข้อมูลที่มีการคาดเดาใน Online Forum ของจีนเช่นกันระบุว่า เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ชั้น Type 094 ลำที่สี่ได้มีการถูกสร้างขึ้นมาแล้ว
ซึ่งตั้งแต่ปี 2008 กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ Pentagon ได้รายงานว่ามีการประเมินว่ากองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนจะมีการจัดหาเรือดำน้ำนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ชั้น Jin เข้าประจำการถึง 5ลำ
จีนมีแรงจูงใจอย่างมากที่จะปรับปรุงเรือดำน้ำนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ของตนที่เชื่อว่ามี 'เสียงดัง' โดยในปี 2009 สำนักข่าวกรองทางเรือสหรัฐฯได้แสดงการจัดทำแผนผังระบุว่า
เรือดำน้ำนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ชั้น Type 094 จีนซึ่งปล่อยลงน้ำครั้งแรกเมื่อปี 2004 นั้นมีเสียงดังกว่าเรือดำน้ำนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ชั้น Project 667BDR (NATO กำหนดรหัส Delta III) รัสเซียที่ปล่อยลงน้ำครั้งแรกเมื่อปี 1976
ดังนั้นการปรับปรุงเรือดำน้ำโจมตีพลังงานนิวเคลียร์ Type 093 และเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ Type 094 จึงเป็นจุดหนึ่งในการที่จีนได้มีความพยายามพัฒนากำลังเรือดำน้ำนิวเคลียร์ของตน
รายงานจาก Pentagon สหรัฐฯระบุว่าเรือดำน้ำนิวเคลียร์ยุคที่3ของจีนคือเรือดำน้ำโจมตีพลังงานนิวเคลียร์ Type 095 SSN และเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ Type 096 SSBN จะเริ่มเข้าประจำการในช่วงปี 2020s
โดยรายงานของ Pentagon ล่าสุดระบุว่าจีนกำลังพัฒนาขีปนาวุธยิงจากเรือดำน้ำ(SLBM: Submarine-Launched Ballistic Missile) แบบ JL-3 ใหม่ที่จะถูกนำมาใช้กับเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ Type 096 ครับ
This image of a what appears to be modified Chinese Type 094 SSBN reveals a sail that seems to have incorporated changes from the modified Type 093 sail. Source: Via Guancha.com
http://www.janes.com/article/62282/images-show-possible-new-variant-of-china-s-type-094-ssbn
หลังจากที่มีภายเผยแพร่ในสื่อสังคม Online ของจีนสำหรับเรือดำน้ำโจมตีพลังงานนิวเคลียร์(SSN)ชั้น Type 093 (NATO กำหนดรหัส Shang) รุ่นใหม่เมื่อปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมานี้ โดยถูกเรียกว่าชั้น Type 093B SSN
ล่าสุดก็มีภาพเผยแพร่ออกมาน่าจะเป็นไปได้ว่ากองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนน่าจะมีเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์(SSBN) ชั้น Type 094 (NATO กำหนดรหัส Jin) รุ่นใหม่อย่างน้อยหนึ่งลำ โดยถูกเรียกว่าชั้น Type 094A SSBN
ภาพของเรือดำน้ำโจมตีนิวเคลียร์ Type 093B ที่ออกมาเมื่อปลายเดือนที่แล้วแสดงถึงการปรับเปลี่ยนออกแบบปรับปรุงรูปทรงตัวเรือที่มีผลทางอุทกพลศาสตร์ในหลายส่วนเช่น
หอเรือที่เป็นทรงโค้งมนด้านบนด้านหน้าเหนือหน้าต่างนำร่องสังเกตุการณ์ และแนวลาดเอียงทำมุมขยายออกที่ฐานหน้าหอเรือ เพื่อลดเสียงที่เกิดจากการไหลของกระแสน้ำขณะเคลื่อนที่ใต้น้ำเป็นต้น
ซึ่งภาพเรือดำน้ำนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ชั้น Type 094 สองภาพที่ปรากฎใน Online Forum Haohanfw.com จีนนั้นแสดงถึงการปรับปรุงตัวเรือที่คล้ายคลึงกันในส่วนหอเรือจนถึงโหนกหลังหอเรือที่ติดตั้งท่อยิงขีปนาวุธ JL-2 จำนวน 12นัด
จากฉากหลังที่ปรากฎดูเหมือนว่าภาพเรือดำน้ำนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธใหม่นี้อาจจะถูกถ่ายที่ฐานทัพเรือ Sanya ที่เกาะ Hainan ทะเลจีนใต้ แต่ก็ไม่สามารถยืนยันได้(มีบางรายงานระบุว่าเป็นภาพตัดต่อเช่นกัน)
ตามข้อมูลที่มีการคาดเดาใน Online Forum ของจีนเช่นกันระบุว่า เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ชั้น Type 094 ลำที่สี่ได้มีการถูกสร้างขึ้นมาแล้ว
ซึ่งตั้งแต่ปี 2008 กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ Pentagon ได้รายงานว่ามีการประเมินว่ากองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนจะมีการจัดหาเรือดำน้ำนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ชั้น Jin เข้าประจำการถึง 5ลำ
จีนมีแรงจูงใจอย่างมากที่จะปรับปรุงเรือดำน้ำนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ของตนที่เชื่อว่ามี 'เสียงดัง' โดยในปี 2009 สำนักข่าวกรองทางเรือสหรัฐฯได้แสดงการจัดทำแผนผังระบุว่า
เรือดำน้ำนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ชั้น Type 094 จีนซึ่งปล่อยลงน้ำครั้งแรกเมื่อปี 2004 นั้นมีเสียงดังกว่าเรือดำน้ำนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ชั้น Project 667BDR (NATO กำหนดรหัส Delta III) รัสเซียที่ปล่อยลงน้ำครั้งแรกเมื่อปี 1976
ดังนั้นการปรับปรุงเรือดำน้ำโจมตีพลังงานนิวเคลียร์ Type 093 และเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ Type 094 จึงเป็นจุดหนึ่งในการที่จีนได้มีความพยายามพัฒนากำลังเรือดำน้ำนิวเคลียร์ของตน
รายงานจาก Pentagon สหรัฐฯระบุว่าเรือดำน้ำนิวเคลียร์ยุคที่3ของจีนคือเรือดำน้ำโจมตีพลังงานนิวเคลียร์ Type 095 SSN และเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ Type 096 SSBN จะเริ่มเข้าประจำการในช่วงปี 2020s
โดยรายงานของ Pentagon ล่าสุดระบุว่าจีนกำลังพัฒนาขีปนาวุธยิงจากเรือดำน้ำ(SLBM: Submarine-Launched Ballistic Missile) แบบ JL-3 ใหม่ที่จะถูกนำมาใช้กับเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ Type 096 ครับ
วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
Meteor เข้าประจำการในกองทัพอากาศสวีเดนสำหรับเครื่องบินขับไล่ Gripen และ Brimstone2 เข้าประจำการและทดสอบยิงจากเฮลิคอปเตอร์โจมตี Apache สำหรับกองทัพอังกฤษ
Farnborough 2016: Meteor enters service on Sweden's Gripens
The Gripen is now in operational service with the MBDA Meteor BVRAAM. Source: MBDA
http://www.janes.com/article/62243/farnborough-2016-meteor-enters-service-on-sweden-s-gripens
อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศแบบ MBDA Meteor ได้ถูกนำเข้าประจำการในกองทัพอากาศสวีเดนสำหรับเครื่องบินขับไล่ SAAB JAS-39 Gripen ทำให้ Gripen เป็นเครื่องบินขับไล่แบบแรกที่มีอาวุธปล่อยนำวิถีพิสัยยิงไกลมาก(มากกว่า 100km) รุ่นนี้ใช้งาน
การพัฒนาอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยยิงนอกระยะสายตา(BVRAAM: Beyond Visual Range Air to Air Missile) ของบริษัท MBDA ถูกนำมาเป็นส่วนหนึ่งของแผนการปรับปรุง MS20 สำหรับเครื่องบินขับไล่ Gripen
ซึ่งยังรวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถใหม่อื่นๆของ Gripen เช่นระเบิดนำวิถีดาวเทียม Boeing GBU-39 Small Diameter Bomb (SDB), ระบบเครือข่าย Datalink แบบ Link 16 แบบเต็มความสามารถ เช่นเดียวกับการเพิ่มขีดความสามารถของ Radar และระบบอื่นๆ
พลอากาศตรี Mats Helgesson ผู้บัญชาการทหารอากาศสวีเดนได้กล่าวแถลงในงานแสดงอากาศยานนานาชาติ Farnborough 2016 ที่ Hampshire สหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคมที่ผ่านมาว่า
"Meteor เป็นที่รับรู้ของเราว่าเป็นอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศนำวิถีด้วย Radar ที่อันตรายที่สุดที่มีประจำการในโลก และกองทัพอากาศสวีเดนเป็นผู้ใช้งานเพียงรายเดียวในตอนนี้
เมื่อร่วมกับอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศนำวิถีความร้อน IRIS-T ทำให้เรามีอาวุธอากาศสู่อากาศที่ดีที่สุดเท่าที่คุณจะหาได้ในโลกนี้"
Meteor ถูกนำเสนอว่าเป็นผู้เปลี่ยนเกมโดยกองทัพและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาอาวุธปล่อยนำวิถี เนื่องจาก Meteor มีระยะยิงที่ไกลมากๆจากระบบขับเคลื่อนจรวดคู่และ Ramjet ซึ่งให้กำลังขับอย่างต่อเนื่องและเร่งไปได้ถึงระยะยิงไกลสุด
ขณะที่ระบบขับเคลื่อนจรวดของอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศโดยทั่วไปจะให้กำลังขณะที่ทำการบินเมื่อยิงออกไปในช่วงต้นเท่านั้น จากนั้นประสิทธิภาพจะลดลงเมื่อจรวดเข้าสู่ระยะสุดท้ายเมื่อใกล้เป้าหมายในระยะยิงไกลสุดของจรวด
"ด้วยการปฏิวัติขีดความสามารถของ Meteor นี้ Gripen สามารถโจมตีเป้าหมายโดยมีความเสี่ยงน้อยต่อนักบินเรา นี่ไม่ใช่เพียงเพราะสมรรถนะทางจลนศาสตร์ที่เหนือกว่าเท่านั้น ยังเพราะอาวุธปล่อยนำวิถีมีพื้นที่เป้าหมายที่ไม่สามารถหลบหนี(no escape zone)ได้เหนือกว่าด้วย
ระบบควบคุมอัจฉริยะของเครื่องยนต์ Ramjet ได้เพิ่มประสิทธิภาพวิถีโคจรและความเร็วที่ขึ้นกับสถานการณ์ในการสั่งการเพื่อเพิ่มพื้นที่ไร้ทางหลบหนีได้สูงสุด" พลอากาศตรี Helgesson กล่าวอธิบายครับ
Farnborough 2016: Brimstone 2 enters service, begins Apache trials
Firing trials of the Brimstone missile have been conducted for the first time from an Apache attack helicopter, MBDA announced at the Farnborough Air Show. Source: Boeing
http://www.janes.com/article/62277/farnborough-2016-brimstone-2-enters-service-begins-apache-trials
บริษัท MBDA ประกาศเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคมในงานแสดงอากาศยานนานาชาติ Farnborough 2016 ว่า
อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นแบบ MBDA Brimstone 2 ได้เข้าประจำการในกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร(RAF: Royal Air Force) สำหรับเครื่องบินขับไล่โจมตี Tornado GR4
การประกาศยังรวมถึงการยิงครั้งแรกของอาวุธปล่อยนำวิถี Brimstone จากเฮลิคอปเตอร์โจมตี Boeing AH-64 Apache ที่มีขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
และการเสร็จสิ้นการทดสอบติดตั้งขั้นต้นของ Brimstone กับเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon ที่ทำการทดสอบติดตั้งกับจรวดเครื่อง ทำการบิน และทดสอบการเชื่อมโยงใช้งานอาวุธด้วย
Brimstone 2 เป็นอาวุธปล่อยนำวิถีตระกูล Brimstone รุ่นล่าสุดซึ่งรวมถึง Brimstone รุ่นดั้งเดิมและรุ่นระบบค้นหาเป้าหมายคู่ Dual-Mode Brimstone
โดย Brimstone 2 ได้รับการปรับปรุงให้เป็นอาวุธแบบ Insensitive Munition(IM) ที่ไม่ไวต่อการทำให้เกิดการระเบิดอย่างไม่ถูกต้อง และปรับปรุงระบบค้นหาเป้าหมายให้ดีขึ้น
ซึ่งการปรับปรุงนี้ Brimstone 2 ใช้เครื่องยนต์ Motor จรวด Roxel ใหม่และหัวรบ TDW ใหม่ซึ่งมีคุณสมบัติในการใช้อุปกรณ์จุดชนวนห้ามไกแบบ Electronic
โครงสร้างตัวจรวดของ Brimstone 2 ยังถูกออกแบบใหม่ให้ "ยกระดับความทนทานต่อสภาพแวดล้อมมากขึ้น" ซึ่งนั่นทำให้ "เพิ่มจำนวนชั่วโมงที่ติดตั้งจรวดกับอากาศยานในอากาศได้มากขึ้น"
ตามข้อมูลของ Adrian Monk หัวหน้าอาวุธโจมตีภาคพื้นดินพิสัยใกล้ของ MBDA กล่าวเพิ่มเติมว่า
ระบบค้นหาเป้าหมายคู่(Semi-Active Laser และ Millimetric Wave Radar) นั้น "ได้มีการเปลี่ยนแปลงในส่วน Hardware และ Software จำนวนมาก" รวมถึงการขยายขีดความสามารถของระบบ Autopilot ที่ทำให้ Brimstone 2 "เพิ่มสมรรถนะการบินนอกแกนและระยะยิงไกลสุดของอาวุธ"
MBDA ยังได้ประกาศถึงความสำเร็จในการทดสอบการยิงครั้งแรกของอาวุธปล่อยนำวิถี Brimstone จาก ฮ.โจมตี Apache ซึ่งเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาระบบ ซึ่งการทดสอบมีขึ้นที่สนามทดสอบอาวุธใน Yuma มลรัฐ Arizona สหรัฐฯ เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
ซึ่งอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น Brimstone จะถูกนำมาใช้กับเฮลิคอปเตอร์โจมตี Boeing AH-64E Apache Guardian ของกองทัพบกอังกฤษ(British Army) ซึ่งได้ลงนามจัดหาจำนวน 50เครื่องเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคมที่ผ่านมาตามที่ได้รายงานไป
ทั้งนี้อาวุธปล่อยนำวิถี Brimstone สำหรับ ฮ.โจมตี Apache จะถูกประเมินค่าและพัฒนาเพิ่มเติม โดย MBDA จะทำการตลาดในฐานะระบบอาวุธเฮลิคอปเตอร์โจมตียุคอนาคต(FAHW: Future Attack Helicopter Weapon)
อีกทั้งในการทดสอบติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถี Brimstone 2 กับเครื่องบินขับไล่ Typhoon ตามแผนการเพิ่มขีดความสามารถด้านอาวุธ P3E นั้นได้ทำการทดสอบบินขั้นไปแล้ว และคาดว่าจะมีการทดสอบยิงในราวไตรมาสแรกของปี 2017 ครับ
The Gripen is now in operational service with the MBDA Meteor BVRAAM. Source: MBDA
http://www.janes.com/article/62243/farnborough-2016-meteor-enters-service-on-sweden-s-gripens
อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศแบบ MBDA Meteor ได้ถูกนำเข้าประจำการในกองทัพอากาศสวีเดนสำหรับเครื่องบินขับไล่ SAAB JAS-39 Gripen ทำให้ Gripen เป็นเครื่องบินขับไล่แบบแรกที่มีอาวุธปล่อยนำวิถีพิสัยยิงไกลมาก(มากกว่า 100km) รุ่นนี้ใช้งาน
การพัฒนาอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยยิงนอกระยะสายตา(BVRAAM: Beyond Visual Range Air to Air Missile) ของบริษัท MBDA ถูกนำมาเป็นส่วนหนึ่งของแผนการปรับปรุง MS20 สำหรับเครื่องบินขับไล่ Gripen
ซึ่งยังรวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถใหม่อื่นๆของ Gripen เช่นระเบิดนำวิถีดาวเทียม Boeing GBU-39 Small Diameter Bomb (SDB), ระบบเครือข่าย Datalink แบบ Link 16 แบบเต็มความสามารถ เช่นเดียวกับการเพิ่มขีดความสามารถของ Radar และระบบอื่นๆ
พลอากาศตรี Mats Helgesson ผู้บัญชาการทหารอากาศสวีเดนได้กล่าวแถลงในงานแสดงอากาศยานนานาชาติ Farnborough 2016 ที่ Hampshire สหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคมที่ผ่านมาว่า
"Meteor เป็นที่รับรู้ของเราว่าเป็นอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศนำวิถีด้วย Radar ที่อันตรายที่สุดที่มีประจำการในโลก และกองทัพอากาศสวีเดนเป็นผู้ใช้งานเพียงรายเดียวในตอนนี้
เมื่อร่วมกับอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศนำวิถีความร้อน IRIS-T ทำให้เรามีอาวุธอากาศสู่อากาศที่ดีที่สุดเท่าที่คุณจะหาได้ในโลกนี้"
Meteor ถูกนำเสนอว่าเป็นผู้เปลี่ยนเกมโดยกองทัพและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาอาวุธปล่อยนำวิถี เนื่องจาก Meteor มีระยะยิงที่ไกลมากๆจากระบบขับเคลื่อนจรวดคู่และ Ramjet ซึ่งให้กำลังขับอย่างต่อเนื่องและเร่งไปได้ถึงระยะยิงไกลสุด
ขณะที่ระบบขับเคลื่อนจรวดของอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศโดยทั่วไปจะให้กำลังขณะที่ทำการบินเมื่อยิงออกไปในช่วงต้นเท่านั้น จากนั้นประสิทธิภาพจะลดลงเมื่อจรวดเข้าสู่ระยะสุดท้ายเมื่อใกล้เป้าหมายในระยะยิงไกลสุดของจรวด
"ด้วยการปฏิวัติขีดความสามารถของ Meteor นี้ Gripen สามารถโจมตีเป้าหมายโดยมีความเสี่ยงน้อยต่อนักบินเรา นี่ไม่ใช่เพียงเพราะสมรรถนะทางจลนศาสตร์ที่เหนือกว่าเท่านั้น ยังเพราะอาวุธปล่อยนำวิถีมีพื้นที่เป้าหมายที่ไม่สามารถหลบหนี(no escape zone)ได้เหนือกว่าด้วย
ระบบควบคุมอัจฉริยะของเครื่องยนต์ Ramjet ได้เพิ่มประสิทธิภาพวิถีโคจรและความเร็วที่ขึ้นกับสถานการณ์ในการสั่งการเพื่อเพิ่มพื้นที่ไร้ทางหลบหนีได้สูงสุด" พลอากาศตรี Helgesson กล่าวอธิบายครับ
Farnborough 2016: Brimstone 2 enters service, begins Apache trials
Firing trials of the Brimstone missile have been conducted for the first time from an Apache attack helicopter, MBDA announced at the Farnborough Air Show. Source: Boeing
http://www.janes.com/article/62277/farnborough-2016-brimstone-2-enters-service-begins-apache-trials
บริษัท MBDA ประกาศเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคมในงานแสดงอากาศยานนานาชาติ Farnborough 2016 ว่า
อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นแบบ MBDA Brimstone 2 ได้เข้าประจำการในกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร(RAF: Royal Air Force) สำหรับเครื่องบินขับไล่โจมตี Tornado GR4
การประกาศยังรวมถึงการยิงครั้งแรกของอาวุธปล่อยนำวิถี Brimstone จากเฮลิคอปเตอร์โจมตี Boeing AH-64 Apache ที่มีขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
และการเสร็จสิ้นการทดสอบติดตั้งขั้นต้นของ Brimstone กับเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon ที่ทำการทดสอบติดตั้งกับจรวดเครื่อง ทำการบิน และทดสอบการเชื่อมโยงใช้งานอาวุธด้วย
Brimstone 2 เป็นอาวุธปล่อยนำวิถีตระกูล Brimstone รุ่นล่าสุดซึ่งรวมถึง Brimstone รุ่นดั้งเดิมและรุ่นระบบค้นหาเป้าหมายคู่ Dual-Mode Brimstone
โดย Brimstone 2 ได้รับการปรับปรุงให้เป็นอาวุธแบบ Insensitive Munition(IM) ที่ไม่ไวต่อการทำให้เกิดการระเบิดอย่างไม่ถูกต้อง และปรับปรุงระบบค้นหาเป้าหมายให้ดีขึ้น
ซึ่งการปรับปรุงนี้ Brimstone 2 ใช้เครื่องยนต์ Motor จรวด Roxel ใหม่และหัวรบ TDW ใหม่ซึ่งมีคุณสมบัติในการใช้อุปกรณ์จุดชนวนห้ามไกแบบ Electronic
โครงสร้างตัวจรวดของ Brimstone 2 ยังถูกออกแบบใหม่ให้ "ยกระดับความทนทานต่อสภาพแวดล้อมมากขึ้น" ซึ่งนั่นทำให้ "เพิ่มจำนวนชั่วโมงที่ติดตั้งจรวดกับอากาศยานในอากาศได้มากขึ้น"
ตามข้อมูลของ Adrian Monk หัวหน้าอาวุธโจมตีภาคพื้นดินพิสัยใกล้ของ MBDA กล่าวเพิ่มเติมว่า
ระบบค้นหาเป้าหมายคู่(Semi-Active Laser และ Millimetric Wave Radar) นั้น "ได้มีการเปลี่ยนแปลงในส่วน Hardware และ Software จำนวนมาก" รวมถึงการขยายขีดความสามารถของระบบ Autopilot ที่ทำให้ Brimstone 2 "เพิ่มสมรรถนะการบินนอกแกนและระยะยิงไกลสุดของอาวุธ"
MBDA ยังได้ประกาศถึงความสำเร็จในการทดสอบการยิงครั้งแรกของอาวุธปล่อยนำวิถี Brimstone จาก ฮ.โจมตี Apache ซึ่งเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาระบบ ซึ่งการทดสอบมีขึ้นที่สนามทดสอบอาวุธใน Yuma มลรัฐ Arizona สหรัฐฯ เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
ซึ่งอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น Brimstone จะถูกนำมาใช้กับเฮลิคอปเตอร์โจมตี Boeing AH-64E Apache Guardian ของกองทัพบกอังกฤษ(British Army) ซึ่งได้ลงนามจัดหาจำนวน 50เครื่องเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคมที่ผ่านมาตามที่ได้รายงานไป
ทั้งนี้อาวุธปล่อยนำวิถี Brimstone สำหรับ ฮ.โจมตี Apache จะถูกประเมินค่าและพัฒนาเพิ่มเติม โดย MBDA จะทำการตลาดในฐานะระบบอาวุธเฮลิคอปเตอร์โจมตียุคอนาคต(FAHW: Future Attack Helicopter Weapon)
อีกทั้งในการทดสอบติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถี Brimstone 2 กับเครื่องบินขับไล่ Typhoon ตามแผนการเพิ่มขีดความสามารถด้านอาวุธ P3E นั้นได้ทำการทดสอบบินขั้นไปแล้ว และคาดว่าจะมีการทดสอบยิงในราวไตรมาสแรกของปี 2017 ครับ
วันเสาร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
Leonardo อิตาลีเปิดตัวเครื่องบินฝึกไอพ่น M-346FT รุ่นติดอาวุธ และ T-100 สำหรับกองทัพอากาศสหรัฐฯ
Farnborough 2016: Leonardo unveils armed M-346 FT aircraft
Leonardo debuted their armed M346 FT trainer/strike aircraft at Farnborough 2016. Source: Luca Peruzzi
http://www.janes.com/article/62231/farnborough-2016-leonardo-unveils-armed-m-346-ft-aircraft
บริษัท Leonardo อิตาลี(Finmeccanica เดิม)ได้เปิดตัวเครื่องบินฝึกไอพ่น M-346 รุ่นติดอาวุธในงานแสดงอากาศยานนานาชาติ Farnborough 2016 ที่ Hampshire สหราชอาณาจักร
เครื่องบินขับไล่ฝึกไอพ่น M-346FT(Fighter Trainer) นี้มีขีดความสามารถทวิประสงค์ทั้งการปฏิบัติการรบและการฝึก ทาง Leonardo กล่าวว่าเครื่องบินรุ่นนี้ซึ่งมีพื้นฐานจาก M-346 จะมีราคาถูกพร้อมผลิตส่งมอบได้ภายในสองปีข้างหน้า
โดยเครื่องบินฝึกขั้นก้าวหน้า M-346 (LIFT: lead-in fighter/trainer)มีการสั่งจัดหาจากประเทศต่างๆแล้ว 68เครื่อง ทั้งอิตาลี, สิงคโปร์, อิสราเอล และโปแลนด์ โดยมีการส่งมอบแล้ว 48เครื่อง
"เครื่องรุ่นใหม่นี้ถูกสร้างขึ้นโดยนำข้อได้เปรียบของโอกาสในตลาดเพิ่มเติม ด้วยการเสนอกรอบระยะเวลาสองปีจากตอนนี้ในแนวทางการผลิตเครื่องที่มีขีดความสามารถปฏิบัติการรบ เช่นเดียวกับ M-346AJT(Advanced Jet Trainer) ที่ระบบผ่านการรับรองแล้ว"
Filippo Bagnato หัวหน้าแผนกอากาศยานของบริษัท Leonardo(Alenia Aermacchi เดิมซึ่งถูกรวมเป็นแผนกอากาศยานแล้ว) กล่าวด้วยความคาดหวัง
อย่างไรก็ตามทาง Leonardo จะยังทำการตลาดทั้งรุ่นเครื่องบินฝึกไอพ่น M-346AJT และเครื่องบินขับไล่ฝึก M-346FT เช่นเดียวกับที่เสนอการปรับปรุงขีดความสามารถทวิประสงค์ของเครื่องรุ่น M-346FT ให้กับเครื่องรุ่น M-346AJT ที่มีอยู่และที่จะขายเพิ่มในอนาคตด้วย
"เครื่องรุ่น M-346FT มีขีดความสามารถที่ทำได้ทั้งการฝึกและปฏิบัติการรบ ในพื้นฐานทางเลือกที่มีราคาต่ำบนระบบเดียวกัน ทั้งโครงการอากาศยาน, ระบบ Avionic, ระบบเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ และตำบลอาวุธใต้ปีกและใต้ลำตัวเช่นเดียวกับเครื่องรุ่น AJT"
Enrico Scarabotto หัวหน้านักบินทดสอบของแผนกอากาศยานบริษัท Leonardo กล่าว
Leonardo ได้ระบุภารกิจหลักสามประเภทที่เครื่องบินขับไล่ฝึก M-346FT จะถูกนำมาใช้ปฏิบัติการได้คือ การสนับสนุนทางอากาศใกล้ชิดในเขตเมืองและสนามรบ, การรักษาความมั่นคงภายใน และการลาดตระเวนทางยุทธวิธี
"ในการขยายระยะปฏิบัติการเพิ่มเติมเครื่องสามารถบรรทุกอาวุธหรืออุปกรณ์ที่ตำบลอาวุธภายนอกลำตัว 5ตำแหน่งเช่นเดียวกับเครื่องรุ่น AJT
M-346 สามารถติดตั้งระบบเครื่องข่าย Datalink ทางยุทธวิธีเช่น Link 16 เช่นเดียวกับระบบย่อยช่วยเหลือป้องกันเพื่อเพิ่มการหยั่งรู้สถานการณ์และการป้องกันตนเอง เช่นเดียวกับระบบวิทยุเข้ารหัสหลายความถี่สำหรับกลุ่มเครือข่าย
M-346FT จะไม่มีระบบ Radar แต่ Leonardo ได้ศึกษาการประยุกต์เพื่อนำใช้กับเครื่องแล้ว ถ้าลูกค้าต้องการ" Lucio Valerio Cioffi หัวหน้าฝ่ายวิศวกรแผนกอากาศยานของบริษัท Leonardo กล่าวครับ
Farnborough 2016: T-X bids take shape, in the open and behind closed doors
The M-346-based T-100, which the team led by Raytheon is bidding for the US Air Force's T-X future trainer requirement, was the only T-X contender on the official briefing schedule at this year's Farnborough. Source: IHS/Peter Felstead
http://www.janes.com/article/62308/farnborough-2016-t-x-bids-take-shape-in-the-open-and-behind-closed-doors
ในงานแสดงอากาศยานนานาชาติ Farnborough 2016 เช่นกัน Leonardo ยังได้เปิดตัวเครื่องบินฝึกไอพ่น T-100 สำหรับเข้าแข่งขันในโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่น T-X ของกองทัพอากาศสหรัฐฯเพื่อทดแทนเครื่องบินฝึกไอพ่น T-38 Talon ที่ใช้งานมานานหลายสิบปีด้วย
โดยบริษัท Leonardo อิตาลี และบริษัท Raytheon สหรัฐฯได้ร่วมเป็นหุ้นส่วนในการนำเสนอเครื่องบินฝึกไอพ่น T-100 ซึ่งพัฒนามาจากเครื่องบินฝึกไอพ่น M-346 Advanced Jet Trainer
ยังมี CAE ร่วมทีมกับ Raytheon ในการเสนอระบบเครื่องฝึกจำลองการบินภาคพื้นดิน และบริษัท Honeywell Aerospace ผู้ผลิตเครื่องยนต์ไอพ่น Turbofan แบบ F124 สองเครื่องที่ติดตั้งกับ T-100 ด้วย(เช่นเดียวกับที่ติดตั้งกับ M-346 ที่เป็นแบบพื้นฐาน)
แม้ว่า T-100 จะไม่ใช้เครื่องบินที่ทำความเร็วเหนือเสียงได้ แต่ทาง Raytheon เชื่อว่ามันจะมีคุณลักษณะทางประสิทธิภาพที่สำคัญ(KPP: Key Performance Parameter) เช่นที่กองทัพอากาศสหรัฐระบุไว้
โดย KPP ได้ระบุความต้องการความคล่องแคล่วทางการบินในมุมปะทะสูงซึ่งรวมถึงการรับแรง G ได้ต่ำสุด 6.5G อีกทั้งกองทัพอากาศสหรัฐฯยังต้องการเครื่องที่มีระบบเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ(AAR: Air to Air Refuelling)แบบ Boom ซึ่งนั่นหมายความว่าต้องมีการปรับเปลี่ยนจาก M-346 ที่ใช้ระบบเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศแบบ Probe and Drogue
ในการบรรยายสรุปแก่สื่อมวลชนในงาน Farnborough 2016 เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคมที่ผ่านมา Dan Darnell รองประธานฝ่ายความริเริ่มทางยุทธศาสตร์ในแผนกธุรกิจระบบทางอวกาศและอากาศยานของ Raytheon กล่าวว่า
สำหรับโครงการ T-X บริษัทมีข้อเสนอ "ทางเลือกแบบบูรรณาการครบวงจรที่สามารถนำศิษย์การบินผ่านทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอากาศได้"
หลักสำคัญของระบบบูรณาการดังกล่าวของ Raytheon คือระบบการฝึก Blended Live Virtual Constructive(BLVC) ที่เป็นการอำนวยการรวมทั้งการฝึกบินจริงและการฝึกบินจำลอง
ที่จะทำให้ในแต่ละเที่ยวบินฝึกนั้น ศิษย์การบินที่ทำการบินในเครื่องจริงจะได้เห็นและมีปฏิสัมพันธ์เชื่อมโยงกับศิษย์การบินคนอื่นๆที่ทำการฝึกบินกับเครื่องจำลองการบินด้วย
ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนธันวาคมปี 2015 บริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯ และบริษัท Korea Aerospace Industries สาธารณรัฐเกาหลีก็ได้เปิดตัวเครื่องบินฝึกไอพ่น T-50A สำหรับเข้าแข่งขันในโครงการ T-X ของกองทัพอากาศสหรัฐฯเช่นกัน โดย T-50A ได้ทำการบินทดสอบเที่ยวแรกเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน ที่ผ่านมา
ทำให้ขณะนี้ผู้เข้าแข่งขันในโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่น T-X ที่คาดว่าจะเปิดการยื่นเอกสารขอข้อเสนอ(RFP: Request for Proposals) ภายในสิ้นปีนี้นั้น มีผู้เข้าแข่งขันที่มีเครื่องต้นแบบจริงแล้วสองรายคือ Lockheed Martin T-50A และ Raytheon T-100 ครับ
Leonardo debuted their armed M346 FT trainer/strike aircraft at Farnborough 2016. Source: Luca Peruzzi
http://www.janes.com/article/62231/farnborough-2016-leonardo-unveils-armed-m-346-ft-aircraft
บริษัท Leonardo อิตาลี(Finmeccanica เดิม)ได้เปิดตัวเครื่องบินฝึกไอพ่น M-346 รุ่นติดอาวุธในงานแสดงอากาศยานนานาชาติ Farnborough 2016 ที่ Hampshire สหราชอาณาจักร
เครื่องบินขับไล่ฝึกไอพ่น M-346FT(Fighter Trainer) นี้มีขีดความสามารถทวิประสงค์ทั้งการปฏิบัติการรบและการฝึก ทาง Leonardo กล่าวว่าเครื่องบินรุ่นนี้ซึ่งมีพื้นฐานจาก M-346 จะมีราคาถูกพร้อมผลิตส่งมอบได้ภายในสองปีข้างหน้า
โดยเครื่องบินฝึกขั้นก้าวหน้า M-346 (LIFT: lead-in fighter/trainer)มีการสั่งจัดหาจากประเทศต่างๆแล้ว 68เครื่อง ทั้งอิตาลี, สิงคโปร์, อิสราเอล และโปแลนด์ โดยมีการส่งมอบแล้ว 48เครื่อง
"เครื่องรุ่นใหม่นี้ถูกสร้างขึ้นโดยนำข้อได้เปรียบของโอกาสในตลาดเพิ่มเติม ด้วยการเสนอกรอบระยะเวลาสองปีจากตอนนี้ในแนวทางการผลิตเครื่องที่มีขีดความสามารถปฏิบัติการรบ เช่นเดียวกับ M-346AJT(Advanced Jet Trainer) ที่ระบบผ่านการรับรองแล้ว"
Filippo Bagnato หัวหน้าแผนกอากาศยานของบริษัท Leonardo(Alenia Aermacchi เดิมซึ่งถูกรวมเป็นแผนกอากาศยานแล้ว) กล่าวด้วยความคาดหวัง
อย่างไรก็ตามทาง Leonardo จะยังทำการตลาดทั้งรุ่นเครื่องบินฝึกไอพ่น M-346AJT และเครื่องบินขับไล่ฝึก M-346FT เช่นเดียวกับที่เสนอการปรับปรุงขีดความสามารถทวิประสงค์ของเครื่องรุ่น M-346FT ให้กับเครื่องรุ่น M-346AJT ที่มีอยู่และที่จะขายเพิ่มในอนาคตด้วย
"เครื่องรุ่น M-346FT มีขีดความสามารถที่ทำได้ทั้งการฝึกและปฏิบัติการรบ ในพื้นฐานทางเลือกที่มีราคาต่ำบนระบบเดียวกัน ทั้งโครงการอากาศยาน, ระบบ Avionic, ระบบเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ และตำบลอาวุธใต้ปีกและใต้ลำตัวเช่นเดียวกับเครื่องรุ่น AJT"
Enrico Scarabotto หัวหน้านักบินทดสอบของแผนกอากาศยานบริษัท Leonardo กล่าว
Leonardo ได้ระบุภารกิจหลักสามประเภทที่เครื่องบินขับไล่ฝึก M-346FT จะถูกนำมาใช้ปฏิบัติการได้คือ การสนับสนุนทางอากาศใกล้ชิดในเขตเมืองและสนามรบ, การรักษาความมั่นคงภายใน และการลาดตระเวนทางยุทธวิธี
"ในการขยายระยะปฏิบัติการเพิ่มเติมเครื่องสามารถบรรทุกอาวุธหรืออุปกรณ์ที่ตำบลอาวุธภายนอกลำตัว 5ตำแหน่งเช่นเดียวกับเครื่องรุ่น AJT
M-346 สามารถติดตั้งระบบเครื่องข่าย Datalink ทางยุทธวิธีเช่น Link 16 เช่นเดียวกับระบบย่อยช่วยเหลือป้องกันเพื่อเพิ่มการหยั่งรู้สถานการณ์และการป้องกันตนเอง เช่นเดียวกับระบบวิทยุเข้ารหัสหลายความถี่สำหรับกลุ่มเครือข่าย
M-346FT จะไม่มีระบบ Radar แต่ Leonardo ได้ศึกษาการประยุกต์เพื่อนำใช้กับเครื่องแล้ว ถ้าลูกค้าต้องการ" Lucio Valerio Cioffi หัวหน้าฝ่ายวิศวกรแผนกอากาศยานของบริษัท Leonardo กล่าวครับ
Farnborough 2016: T-X bids take shape, in the open and behind closed doors
The M-346-based T-100, which the team led by Raytheon is bidding for the US Air Force's T-X future trainer requirement, was the only T-X contender on the official briefing schedule at this year's Farnborough. Source: IHS/Peter Felstead
http://www.janes.com/article/62308/farnborough-2016-t-x-bids-take-shape-in-the-open-and-behind-closed-doors
ในงานแสดงอากาศยานนานาชาติ Farnborough 2016 เช่นกัน Leonardo ยังได้เปิดตัวเครื่องบินฝึกไอพ่น T-100 สำหรับเข้าแข่งขันในโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่น T-X ของกองทัพอากาศสหรัฐฯเพื่อทดแทนเครื่องบินฝึกไอพ่น T-38 Talon ที่ใช้งานมานานหลายสิบปีด้วย
โดยบริษัท Leonardo อิตาลี และบริษัท Raytheon สหรัฐฯได้ร่วมเป็นหุ้นส่วนในการนำเสนอเครื่องบินฝึกไอพ่น T-100 ซึ่งพัฒนามาจากเครื่องบินฝึกไอพ่น M-346 Advanced Jet Trainer
ยังมี CAE ร่วมทีมกับ Raytheon ในการเสนอระบบเครื่องฝึกจำลองการบินภาคพื้นดิน และบริษัท Honeywell Aerospace ผู้ผลิตเครื่องยนต์ไอพ่น Turbofan แบบ F124 สองเครื่องที่ติดตั้งกับ T-100 ด้วย(เช่นเดียวกับที่ติดตั้งกับ M-346 ที่เป็นแบบพื้นฐาน)
แม้ว่า T-100 จะไม่ใช้เครื่องบินที่ทำความเร็วเหนือเสียงได้ แต่ทาง Raytheon เชื่อว่ามันจะมีคุณลักษณะทางประสิทธิภาพที่สำคัญ(KPP: Key Performance Parameter) เช่นที่กองทัพอากาศสหรัฐระบุไว้
โดย KPP ได้ระบุความต้องการความคล่องแคล่วทางการบินในมุมปะทะสูงซึ่งรวมถึงการรับแรง G ได้ต่ำสุด 6.5G อีกทั้งกองทัพอากาศสหรัฐฯยังต้องการเครื่องที่มีระบบเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ(AAR: Air to Air Refuelling)แบบ Boom ซึ่งนั่นหมายความว่าต้องมีการปรับเปลี่ยนจาก M-346 ที่ใช้ระบบเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศแบบ Probe and Drogue
ในการบรรยายสรุปแก่สื่อมวลชนในงาน Farnborough 2016 เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคมที่ผ่านมา Dan Darnell รองประธานฝ่ายความริเริ่มทางยุทธศาสตร์ในแผนกธุรกิจระบบทางอวกาศและอากาศยานของ Raytheon กล่าวว่า
สำหรับโครงการ T-X บริษัทมีข้อเสนอ "ทางเลือกแบบบูรรณาการครบวงจรที่สามารถนำศิษย์การบินผ่านทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอากาศได้"
หลักสำคัญของระบบบูรณาการดังกล่าวของ Raytheon คือระบบการฝึก Blended Live Virtual Constructive(BLVC) ที่เป็นการอำนวยการรวมทั้งการฝึกบินจริงและการฝึกบินจำลอง
ที่จะทำให้ในแต่ละเที่ยวบินฝึกนั้น ศิษย์การบินที่ทำการบินในเครื่องจริงจะได้เห็นและมีปฏิสัมพันธ์เชื่อมโยงกับศิษย์การบินคนอื่นๆที่ทำการฝึกบินกับเครื่องจำลองการบินด้วย
ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนธันวาคมปี 2015 บริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯ และบริษัท Korea Aerospace Industries สาธารณรัฐเกาหลีก็ได้เปิดตัวเครื่องบินฝึกไอพ่น T-50A สำหรับเข้าแข่งขันในโครงการ T-X ของกองทัพอากาศสหรัฐฯเช่นกัน โดย T-50A ได้ทำการบินทดสอบเที่ยวแรกเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน ที่ผ่านมา
ทำให้ขณะนี้ผู้เข้าแข่งขันในโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่น T-X ที่คาดว่าจะเปิดการยื่นเอกสารขอข้อเสนอ(RFP: Request for Proposals) ภายในสิ้นปีนี้นั้น มีผู้เข้าแข่งขันที่มีเครื่องต้นแบบจริงแล้วสองรายคือ Lockheed Martin T-50A และ Raytheon T-100 ครับ
วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
สองล้านแล้วครับ!!
หลังจากที่ยอดผู้ชม Blog นี้มีถึงหนึ่งล้านไปเมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว ยังไม่ครบหนึ่งปีก็เพิ่มเป็นเท่าตัวในราว ๙เดือน คือยอดผู้ชมเป็นสองล้านในกลางเดือนกรกฎาคมนี้แล้ว
ก็ต้องขอขอบคุณทุกท่านอีกครั้งที่ติดตามกันมาตลอดตั้งแต่สมัย EXTEEN จนถึง Blogspot นี้ครับ
วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
อังกฤษจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64E Apache Guardian ใหม่ 50เครื่อง
MOD orders new fleet of cutting-edge Apache helicopters for Army
A predecessor of the new Apache AH-64E flying over London in 2015(wikipedia.org)
The Ministry of Defence has today announced a $2.3 billion deal to secure 50 of the latest generation Apache attack helicopters for the British Army.
https://www.gov.uk/government/news/mod-orders-new-fleet-of-cutting-edge-apache-helicopters-for-army
กระทรวงกลาโหมสหราชอาณาจักรได้ประกาศเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคมที่ผ่านมาในงานแสดงอากาศยานนานาชาติ Farnborough 2016 ที่ Hampshire ว่า
กองทัพบกสหราชอาณาจักร(British Army) ได้สั่งจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตี Boeing AH-64E Apache Guardian Block III รุ่นใหม่ล่าสุดจำนวน 50เครื่อง จากสหรัฐฯวงเงิน $2.3billion
เพื่อเข้าประจำการในกองบินทหารบก(AAC: Army Air Corps) ทดแทนเฮลิคอปเตอร์โจมตี AgustaWestland-Boeing WAH-64D Block I Apache Longbow AH.1 รุ่นก่อนจำนวน 66เครื่อง
ซึ่ง ฮ.โจมตี AH-64E Apache Guardian รุ่นใหม่นี้ใช้ Technology นำสมัยล่าสุดที่สามารถติดตั้งอาวุธแบบใหม่ได้มากกว่า, ใช้เชื้อเพลิงได้มีประสิทธิภาพมากกว่า และสามารถปฏิบัติการในสภาวะต่างๆได้ยาวนานกว่า
เฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64E รุ่นใหม่ถูกสร้างโดยบริษัท Boeing สหรัฐฯซึ่งมีประจำการในกองทัพบกสหรัฐฯแล้ว โดยกระทรวงกลาโหมอังกฤษได้สั่งซื้อ ฮ.โจมตี Apache Guardian ผ่านการจัดซื้อแบบ FMS(Foreign Military Sale) กับรัฐบาลสหรัฐฯ
เลขาธิการกระทรวงกลาโหมสหราชอาณาจักร นาย Michael Fallon ได้กล่าวว่า
"การจัดซื้อครั้งนี้จะทำให้กองทัพบกสหราชอาณาจักรมีเฮลิคอปเตอร์ที่ยอดเยี่ยมซึ่งดีคุ้มค่าต่อเงินที่ผู้เสียภาษีชาวอังกฤษจ่าย
มันเป็นส่วนหนึ่งของแผนของเราในการจัดหาเรือจำนวนมาก,อากาศยานจำนวนมาก กำลังรบจำนวนมากที่จำเป็นต่อความพร้อม, ยุทโธปกรณ์ที่ดีกว่าสำหรับหน่วยรบพิเศษ และงบประมาณจำนวนมากที่จะนำไปในสงคราม Cyber
แผนนี้จะหนุนโดยการเพิ่มขึ้นของบประมาณกลาโหมที่จะอนุมัติข้อตกลงของเราตามจำนวนภัยคุกความต่อประเทศเราที่เพิ่มมากขึ้น"
เฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64E Apache Guardian ที่อังกฤษสั่งจัดหาจะถูกสร้างในสหรัฐฯ โดยจะมีบริษัทอังกฤษใน Gloucestershire, Hampshire, Bedfordshire, Cheshire และ Gwent ที่เป็นผู้รับสัญญาย่อยจาก Boeing สำหรับสายการสนับสนุน ฮ.Apache ร้อยละ5 ทั่วโลก
การเตรียมการข้อตกลงด้านการสนับสนุนและการฝึกสำหรับ ฮ.โจมตี AH-64E Apache ใหม่โดยผู้รับเหมาสัญญาของอังกฤษจะเสร็จสิ้นภายในปีหน้า และจะมีระยะสัญญาต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นสุดทศวรรษ
ซึ่งข้อตกลงในอนาคตนี้จะสนับสนุนงานกว่า 350ตำแหน่งตามความต้องการที่จำเป็นในการสนับสนุนฝูงบิน ฮ.โจมตี Apache ที่มีอยู่
โดย Leonardo Helicopters (AgustaWestland เดิม) จะยังดำเนินการข้อตกลงในการสนับสนุนเฮลิคอปเตอร์โจมตี WAH-64D Apache Longbow ที่ยังคงประจำการอยู่ต่อไป (ฮ.โจมตี WAH-64D ถูกสร้างที่โรงงานของ Westland Helicopters ใน Yeovil อังกฤษ)
ทั้งนี้หลังสิ้นสุดปฏิบัติการในอัฟกานิสถาน กองทัพบกอังกฤษได้เก็บสำรอง ฮ.โจมตี Apache AH.1 จำนวน 16เครื่องเมื่อต้นปี 2015 โดย ฮ.โจมตี WAH-64D ที่เหลือจะยังคงประจำการต่อไปจนปลดประจำการในราวปี 2023-2024
เลขาธิการกระทรวงกลาโหมอังกฤษ นาย Michael Fallon ได้กล่าวอีกว่า
"ในระยะยาวผมต้องการ ฮ.Aphache ใหม่เหล่านี้เพื่อทำการบำรุงรักษาในอังกฤษและเพื่อให้บริษัทของอังกฤษมีงานทำมากกว่านี้
นี่รวมถึง Leonado Helicopters ผู้พัฒนาองค์ความรู้ที่เป็นรูปธรรมและประสบการณ์ในการสนับสนุนฝูงบิน ฮ.Apache เราที่มีขณะนี้ไปจนถึงท้ายทศวรรษและจะดำเนินการสนับสนุน ฮ.ต่อไปจนถึงช่วงที่เราประเมินการปลดประจำการในอีก 8ปีข้างหน้า"
การจัดซื้อ ฮ.โจมตี AH-64E ซึ่งเป็นระบบที่มีในตลาดพร้อมแล้วทำให้อังกฤษมีข้อได้เปรียบจากที่รัฐบาลสหรัฐฯมีการสั่งซื้อ ฮ.ในสายการผลิตจำนวนมากในโรงงานของ Boeing ที่ Mesa มลรัฐ Arizona อยู่แล้ว ทำให้อังกฤษประหยัดงบประมาณลงและรับประกันความคุ้มค่าใช้จ่าย
อีกทั้งระบบที่ใช้ในเฮลิคอปเตอร์โจมตี WAH-64D ที่ประจำการอยู่เดิม เช่น ระบบค้นหาและชี้เป้าหมาย Modernised Target Acquisition & Designation System และ Radar ควบคุมการยิง Longbow ก็สามารถนำมาใช้กับ ฮ.ที่จัดหามาใหม่ได้
ผู้อำนวยการบริหารสำนักงานจัดซื้อจัดจ้างกระทรวงกลาโหมสหราชอาณาจักร (DE&S: Defence Equipment and Support) นาย Tony Douglas ได้กล่าวว่า
"นี่เป็นวันที่สำคัญยิ่งสำหรับกองทัพสหราชอาณาจักรด้วยเฮลิคอปเตอร์ยุคใหม่ล่าสุดเหล่านี้จะนำให้กองกำลังของเรามีขีดความสามารถในการเอาชนะทั่วโลกในทศวรรษหน้าที่จะมาถึง
ข้อตกลงของกระทรวงกลาโหมอังกฤษกับสหรัฐฯจะนำผลประโยชน์ให้อังกฤษด้วยในการที่บริษัทของอังกฤษจะได้ผลประโยชน์จากการทำงานในโครงการ ฮ.Apache ทั่วโลกและข้อตกลงการสนับสนุนและการฝึกของ ฮ.โจมตีใหม่ ที่นำโอกาสที่น่าสนใจสำหรับอุตสาหกรรมอังกฤษ"
ผู้บัญชาการทหารบกสหราชอาณาจักร(Chief of the General Staff) พลเอก Sir Nick Carter ได้กล่าวว่า
"ฝูงบิน Apache ใหม่นี้จะนำให้กองทัพบกสหราชอาณาจักรมีองค์ประกอบการรบที่มีศักยภาพสูงสำหรับกำลังรบอนาคต 2025(Future Force 2025) ฮ.โจมตี Apache ได้พิสูจน์คุณค่าในปฏิบัติการที่ลิเบียและอัฟกานิสถานในการสนับสนุนกองกำลังสหราชอาณาจักรและพันธมิตรมาแล้ว
และ ฮ.รุ่นใหม่นี้จะทำให้นักบินเฮลิคอปเตอร์โจมตีของเราเร็วขึ้น, มีการตอบสนองดีขึ้น และมีขีดความสามารถมากขึ้น นั่นจะเพิ่มพูนให้มีความล้ำหน้าในการปกป้องสหราชอาณาจักรและผลประโยชน์ของเราทั้งในบ้านและนอกประเทศ"
ข้อตกลงการจัดซื้อระหว่างรัฐบาลอังกฤษและรัฐบาลสหรัฐฯได้รวมถึงสัญญาการสนับสนุนขั้นต้นสำหรับการซ่อมบำรุง ฮ.ใหม่ ตลอดจนชิ้นส่วนอะไหล่ และเครื่องฝึกจำลองการบินสำหรับฝึกนักบินอังกฤษ
ฮ.โจมตี AH-64E Apache Guardian ใหม่นี้ได้รับการติดตั้ง Computer ที่มีสมรรถนะสูงขึ้น, ระบบตรวจจับรุ่นใหม่ซึ่งสามารถปรับปรุงเพิ่มเติมได้ในอนาคตด้วย Technology ล้ำสมัยล่าสุด
เฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64E เครื่องแรกของกองทัพบกสหราชอาณาจักรจะออกจากสายการผลิตที่โรงงาน Boeing ในสหรัฐฯราวต้นปี 2020 และจะเข้าประจำการในกองทัพบกสหราชอาณาจักรได้ภายในปี 2022 ครับ
A predecessor of the new Apache AH-64E flying over London in 2015(wikipedia.org)
The Ministry of Defence has today announced a $2.3 billion deal to secure 50 of the latest generation Apache attack helicopters for the British Army.
https://www.gov.uk/government/news/mod-orders-new-fleet-of-cutting-edge-apache-helicopters-for-army
กระทรวงกลาโหมสหราชอาณาจักรได้ประกาศเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคมที่ผ่านมาในงานแสดงอากาศยานนานาชาติ Farnborough 2016 ที่ Hampshire ว่า
กองทัพบกสหราชอาณาจักร(British Army) ได้สั่งจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตี Boeing AH-64E Apache Guardian Block III รุ่นใหม่ล่าสุดจำนวน 50เครื่อง จากสหรัฐฯวงเงิน $2.3billion
เพื่อเข้าประจำการในกองบินทหารบก(AAC: Army Air Corps) ทดแทนเฮลิคอปเตอร์โจมตี AgustaWestland-Boeing WAH-64D Block I Apache Longbow AH.1 รุ่นก่อนจำนวน 66เครื่อง
ซึ่ง ฮ.โจมตี AH-64E Apache Guardian รุ่นใหม่นี้ใช้ Technology นำสมัยล่าสุดที่สามารถติดตั้งอาวุธแบบใหม่ได้มากกว่า, ใช้เชื้อเพลิงได้มีประสิทธิภาพมากกว่า และสามารถปฏิบัติการในสภาวะต่างๆได้ยาวนานกว่า
เฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64E รุ่นใหม่ถูกสร้างโดยบริษัท Boeing สหรัฐฯซึ่งมีประจำการในกองทัพบกสหรัฐฯแล้ว โดยกระทรวงกลาโหมอังกฤษได้สั่งซื้อ ฮ.โจมตี Apache Guardian ผ่านการจัดซื้อแบบ FMS(Foreign Military Sale) กับรัฐบาลสหรัฐฯ
เลขาธิการกระทรวงกลาโหมสหราชอาณาจักร นาย Michael Fallon ได้กล่าวว่า
"การจัดซื้อครั้งนี้จะทำให้กองทัพบกสหราชอาณาจักรมีเฮลิคอปเตอร์ที่ยอดเยี่ยมซึ่งดีคุ้มค่าต่อเงินที่ผู้เสียภาษีชาวอังกฤษจ่าย
มันเป็นส่วนหนึ่งของแผนของเราในการจัดหาเรือจำนวนมาก,อากาศยานจำนวนมาก กำลังรบจำนวนมากที่จำเป็นต่อความพร้อม, ยุทโธปกรณ์ที่ดีกว่าสำหรับหน่วยรบพิเศษ และงบประมาณจำนวนมากที่จะนำไปในสงคราม Cyber
แผนนี้จะหนุนโดยการเพิ่มขึ้นของบประมาณกลาโหมที่จะอนุมัติข้อตกลงของเราตามจำนวนภัยคุกความต่อประเทศเราที่เพิ่มมากขึ้น"
เฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64E Apache Guardian ที่อังกฤษสั่งจัดหาจะถูกสร้างในสหรัฐฯ โดยจะมีบริษัทอังกฤษใน Gloucestershire, Hampshire, Bedfordshire, Cheshire และ Gwent ที่เป็นผู้รับสัญญาย่อยจาก Boeing สำหรับสายการสนับสนุน ฮ.Apache ร้อยละ5 ทั่วโลก
การเตรียมการข้อตกลงด้านการสนับสนุนและการฝึกสำหรับ ฮ.โจมตี AH-64E Apache ใหม่โดยผู้รับเหมาสัญญาของอังกฤษจะเสร็จสิ้นภายในปีหน้า และจะมีระยะสัญญาต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นสุดทศวรรษ
ซึ่งข้อตกลงในอนาคตนี้จะสนับสนุนงานกว่า 350ตำแหน่งตามความต้องการที่จำเป็นในการสนับสนุนฝูงบิน ฮ.โจมตี Apache ที่มีอยู่
โดย Leonardo Helicopters (AgustaWestland เดิม) จะยังดำเนินการข้อตกลงในการสนับสนุนเฮลิคอปเตอร์โจมตี WAH-64D Apache Longbow ที่ยังคงประจำการอยู่ต่อไป (ฮ.โจมตี WAH-64D ถูกสร้างที่โรงงานของ Westland Helicopters ใน Yeovil อังกฤษ)
ทั้งนี้หลังสิ้นสุดปฏิบัติการในอัฟกานิสถาน กองทัพบกอังกฤษได้เก็บสำรอง ฮ.โจมตี Apache AH.1 จำนวน 16เครื่องเมื่อต้นปี 2015 โดย ฮ.โจมตี WAH-64D ที่เหลือจะยังคงประจำการต่อไปจนปลดประจำการในราวปี 2023-2024
"ในระยะยาวผมต้องการ ฮ.Aphache ใหม่เหล่านี้เพื่อทำการบำรุงรักษาในอังกฤษและเพื่อให้บริษัทของอังกฤษมีงานทำมากกว่านี้
นี่รวมถึง Leonado Helicopters ผู้พัฒนาองค์ความรู้ที่เป็นรูปธรรมและประสบการณ์ในการสนับสนุนฝูงบิน ฮ.Apache เราที่มีขณะนี้ไปจนถึงท้ายทศวรรษและจะดำเนินการสนับสนุน ฮ.ต่อไปจนถึงช่วงที่เราประเมินการปลดประจำการในอีก 8ปีข้างหน้า"
การจัดซื้อ ฮ.โจมตี AH-64E ซึ่งเป็นระบบที่มีในตลาดพร้อมแล้วทำให้อังกฤษมีข้อได้เปรียบจากที่รัฐบาลสหรัฐฯมีการสั่งซื้อ ฮ.ในสายการผลิตจำนวนมากในโรงงานของ Boeing ที่ Mesa มลรัฐ Arizona อยู่แล้ว ทำให้อังกฤษประหยัดงบประมาณลงและรับประกันความคุ้มค่าใช้จ่าย
อีกทั้งระบบที่ใช้ในเฮลิคอปเตอร์โจมตี WAH-64D ที่ประจำการอยู่เดิม เช่น ระบบค้นหาและชี้เป้าหมาย Modernised Target Acquisition & Designation System และ Radar ควบคุมการยิง Longbow ก็สามารถนำมาใช้กับ ฮ.ที่จัดหามาใหม่ได้
ผู้อำนวยการบริหารสำนักงานจัดซื้อจัดจ้างกระทรวงกลาโหมสหราชอาณาจักร (DE&S: Defence Equipment and Support) นาย Tony Douglas ได้กล่าวว่า
"นี่เป็นวันที่สำคัญยิ่งสำหรับกองทัพสหราชอาณาจักรด้วยเฮลิคอปเตอร์ยุคใหม่ล่าสุดเหล่านี้จะนำให้กองกำลังของเรามีขีดความสามารถในการเอาชนะทั่วโลกในทศวรรษหน้าที่จะมาถึง
ข้อตกลงของกระทรวงกลาโหมอังกฤษกับสหรัฐฯจะนำผลประโยชน์ให้อังกฤษด้วยในการที่บริษัทของอังกฤษจะได้ผลประโยชน์จากการทำงานในโครงการ ฮ.Apache ทั่วโลกและข้อตกลงการสนับสนุนและการฝึกของ ฮ.โจมตีใหม่ ที่นำโอกาสที่น่าสนใจสำหรับอุตสาหกรรมอังกฤษ"
ผู้บัญชาการทหารบกสหราชอาณาจักร(Chief of the General Staff) พลเอก Sir Nick Carter ได้กล่าวว่า
"ฝูงบิน Apache ใหม่นี้จะนำให้กองทัพบกสหราชอาณาจักรมีองค์ประกอบการรบที่มีศักยภาพสูงสำหรับกำลังรบอนาคต 2025(Future Force 2025) ฮ.โจมตี Apache ได้พิสูจน์คุณค่าในปฏิบัติการที่ลิเบียและอัฟกานิสถานในการสนับสนุนกองกำลังสหราชอาณาจักรและพันธมิตรมาแล้ว
และ ฮ.รุ่นใหม่นี้จะทำให้นักบินเฮลิคอปเตอร์โจมตีของเราเร็วขึ้น, มีการตอบสนองดีขึ้น และมีขีดความสามารถมากขึ้น นั่นจะเพิ่มพูนให้มีความล้ำหน้าในการปกป้องสหราชอาณาจักรและผลประโยชน์ของเราทั้งในบ้านและนอกประเทศ"
ข้อตกลงการจัดซื้อระหว่างรัฐบาลอังกฤษและรัฐบาลสหรัฐฯได้รวมถึงสัญญาการสนับสนุนขั้นต้นสำหรับการซ่อมบำรุง ฮ.ใหม่ ตลอดจนชิ้นส่วนอะไหล่ และเครื่องฝึกจำลองการบินสำหรับฝึกนักบินอังกฤษ
ฮ.โจมตี AH-64E Apache Guardian ใหม่นี้ได้รับการติดตั้ง Computer ที่มีสมรรถนะสูงขึ้น, ระบบตรวจจับรุ่นใหม่ซึ่งสามารถปรับปรุงเพิ่มเติมได้ในอนาคตด้วย Technology ล้ำสมัยล่าสุด
เฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64E เครื่องแรกของกองทัพบกสหราชอาณาจักรจะออกจากสายการผลิตที่โรงงาน Boeing ในสหรัฐฯราวต้นปี 2020 และจะเข้าประจำการในกองทัพบกสหราชอาณาจักรได้ภายในปี 2022 ครับ