วันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2560

สวิสเซอร์แลนด์จัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง Saab NLAW สวีเดน

Saab snags $120M Swiss contract for its next-gen anti-tank weapon
LONDON — Switzerland has become the latest customer for the Anglo-Swedish developed Next generation Light Anti-tank Weapon or NLAW in a deal announced by Saab on Wednesday. (Photo Credit: Saab)
http://www.defensenews.com/articles/saab-snags-120m-swiss-contract-for-its-next-gen-anti-tank-weapon-system


สวิสเซอร์แลนด์ได้เป็นลูกค้ารายล่าสุดสำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง NLAW(Next generation Light Anti-tank Weapon) ตามการประกาศโดยบริษัท Saab สวีเดนเมื่อวันที่ 28 มิถุนายนที่ผ่านมา
สัญญาจัดหาวงเงิน 1.035 billion Swedish Krona ($120 million) นั้นได้ร่วมถึงตัวระบบอาวุธและอุปกรณ์สนับสนุนการฝึกจะถูกส่งมอบให้กองทัพสวิสเซอร์แลนด์ได้ในช่วงปี 2018-2021
นอกจากนี้ยังมีข้อตกลงกรอบการทำงานที่กว้างขึ้นระหว่าง Saab และ Armasuisse สำนักงานการจัดซื้อจัดจ้างกลาโหมของรัฐบาลสมาพันธรัฐสวิสในการอนุญาตให้มีการจัดหาเพิ่มเติมจนถึงปี 2030

อาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง NLAW จะเข้ามาเติมช่องว่างด้านขีดความสามารถที่มีผลจากการปลดประจำการอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง M47 Dragon สหรัฐฯในปี 2008 โดยที่ไม่มีระบบใหม่มาทดแทน
สำหรับตอนนี้กองทัพสวิสเซอร์แลนด์มีเพียงเครื่องยิงจรวดต่อสู้รถถังแบบ Panzerfaust 3 ใช้งานซึ่งขณะนี้ก็ใกล้ที่จะเข้าสู่การหมดอายุการใช้งานแล้ว
การจัดหา NLAW ได้ถูกยืนยันในตามข้อตกลงโครงการจัดหายุทธภัณฑ์ของสวิเซอร์แลนด์ปี 2016 ซึ่งเป็นการสั่งจัดซื้ออาวุธยิงประทับบ่าเอนกประสงค์สามแบบภายในปี 2019

สัญญาทำให้เห็นว่า Saab เลือกที่จะย้ายสายการผลิต NLAW จากสถานที่ประกอบผลิตในปัจจุบันซึ่งดำเนินการโดย Thales UK ในไอร์แลนด์เหนือตามที่ผู้บริหารชาวสวีเดนที่รับผิดชอบในโครงการนี้กล่าว
NLAW เป็นอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังที่พัฒนาโดย Saab สวีเดน และผลิตโดย Thales UK สหราชอาณาจักร ในโครงการจัดหาร่วมระหว่างกองทัพบกสหราชอาณาจักรและกองทัพบกสวีเดนที่เริ่มในปี 2009 สำหรับอาวุธยิงพิสัยใกล้ใหม่ที่สามารถทำลายรถถังหลักได้
Görgen Johansson หัวหน้าภาคธุรกิจของ Saab Dynamics กล่าวตามว่ายังไม่มีการตัดสินใจเกิดขึ้นว่าจะทำอย่างไรเมื่อ NLAW ของสวิสเซอร์แลนด์จะไม่ถูกประกอบโดยโรงงานของ Thales UK นอก Belfast ไอร์แลนด์เหนือ

"ความปราถนาของผมคือจะต้องดำเนินสายการผลิต NLAW ในไอร์แลนด์เหนือต่อไป แต่เรากำลังมองหาทางเลือกอื่น" Johansson กล่าว
ผู้บริหาร Saab ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นถึงโรงงานผลิตแห่งอื่น แต่กล่าวว่าการตัดสินใจที่จะคงการประกอบในไอร์แลนด์เหนือจะขึ้นอยู่กับประเด็นต่างๆเช่นการส่งมอบและราคา Thales UK ยืนยันการเจรจาที่เล็งการคงการผลิต NLAW ที่โรงงานเดินยังคงเดินหน้าอยู่
"เรากำลังหารือกับ Saab เรื่องสายการผลิต NLAW ที่ Belfast และหวังว่าจะได้รับการยืนยันการผลิตอาวุธนี้ต่อไปในไอร์แลนด์เหนือ" โฆษก Thales UK กล่าว

สายการผลิต NLAW ถูกระงับลงไปตั้งแต่ต้นปี 2015 เพื่อรอคำสั่งซื้อใหม่ ห่วงโซ่อุปทานของ NLAW ส่วนใหญ่จะอยู่ในอังกฤษ แต่บางระบบที่รวมถึงหัวรบที่ผลิตโดย Saab Bofors Dynamics Switzerland มีที่มาจากแหล่งอื่น
การสั่งจัดหาของสวิสเซอร์แลนด์นั้นเป็นการเพิ่มจำนวนประเทศลูกค้าของ NLAW เป็นห้ารายที่มี สวีเดน สหราชอาณาจักร ฟินแลนด์ และลักเซมเบิร์ก ที่จัดหาไปก่อน สื่อบางแหล่งยังรายงานว่า อินโดนีเซีย และซาอุดิอารเบีย ยังเป็นลูกค้าของ NLAW ด้วย
Johansson ปฏิเสธที่จะระบุลูกค้าที่ไม่มีการประกาศนอกเหนือจากการยืนยันว่ามีอยู่บ้าง แต่กล่าวว่า Saab ได้พูดคุยกับผู้ใช้งานที่มีความเป็นไปได้รายอื่นที่ภายหลังให้ความสนใจที่ตัวอาวุธตามการเพิ่มขึ้นของภัยคุกคามจากยานเกราะครับ

วันพฤหัสบดีที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2560

จีนทำพิธีปล่อยเรือพิฆาตชั้น Type 055 ลำแรกลงน้ำ

China launches largest surface combatant to date


China's first Type 055 destroyer during its launch ceremony on 28 June 2017. Source: Chinese internet sources via cjdby.net
http://www.janes.com/article/71903/china-launches-largest-surface-combatant-to-date


วันที่ 28 มีนาคม กองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People's Liberation Army Navy) ได้ทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำเรือพิฆาตติดอาวุธปล่อยนำวิถีชั้น Type 055 ลำแรกที่อู่ต่อเรือ Jiangnan ใกล้ Shanghai
ตามรายงานจาก Website จีนที่กองทัพปลดปล่อยประชาชนให้การสนับสนุนในวันเดียวกัน เรือพิฆาตชั้น Type 055 ระวางขับน้ำ 10,000tons นี้จะเป็นเรือรบผิวน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาที่จะจีนจะนำเข้าประการ
Type 055 เป็นเรือพิฆาตที่ออกแบบใหม่โดยปรากฎตัวชัดเจนเมื่อมีภาพการสร้างแบบจำลองบนบกเผยแพร่ใน Internet Forums ของจีนเมื่อปี 2014 แบบจำลองเรือดังกล่าวตั้งอยู่ที่ศูนย์ออกแบบและวิจัยเรือจีน ที่มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Wuhan
คาดว่าเรือพิฆาตชั้นนี้จะเป็นเครื่องมือที่มีบทบาทในความทะเยอทะยานที่จะมีกองเรือบรรทุกเครื่องบินจู่โจมของจีน ปัจจุบันจีนมีเรือบรรทุกเครื่องบินประจำการแล้ว 1ลำคือ Type 001 CV-16 Liaoning และอีก 1ลำในอนาคตคือ Type 001A ที่ปล่อยเรือลงน้ำไปเมื่อเดือนเมษายน
(http://aagth1.blogspot.com/2017/04/type-001a_26.html)

ตามข้อมูลจาก Jane's Fighting Ships เรือพิฆาตชั้น Type 055 มีความยาวเรือ 180m กว้าง 19m และกินน้ำลึก 6.6m เชื่อว่าทำความเร็วสูงสุดได้ 30knots มีพิสัยทำการปกติที่ 5,000nmi ที่ความเร็วมัธยัสถ์ 12knots กำลังพลประจำเรือ 280นาย รวมนายทหาร 30นาย
แม้ว่าข้อมูลเหล่านี้จะยังเป็นเพียงการคาดเดา สถานีโทรทัศน์ CCTV(China Central Television) จีนได้อ้างอิงการสัมภาษณ์นักวิเคราะห์ทางทหารว่าตามที่ Jane's ได้รายงานไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2015 ว่า
เรือพิฆาต Type 055 จะติดตั้งท่อยิงแนวดิ่ง(VLS: Vertical Launching System) รวม 128ท่อยิง แบ่งเป็นสองชุดชุดละ 64ท่อยิง ที่ตำแหน่งหน้าเรือและท้ายเรือ
เช่นเดียวกับอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนต่อต้านเรือผิวน้ำพิสัยไกล YJ-100, อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือดำน้ำ และอาวุธปล่อยนำวิถีป้องกันภัยทางอากาศ
รวมถึงปืนใหญ่เรือ H/PJ38 ขนาด 130mm และระบบอาวุธป้องกันระยะประชิด(CIWS: Close-In Weapon System) ปืนใหญ่กล Type 1130(H/PJ11) ขนาด 30mm 11ลำกล้อง ที่พบการติดตั้งบนเรือแล้วครับ

วันพุธที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2560

กองทัพไทยมองแนวทางการจัดหาระบบอาวุธยุทโธปกรณ์จากสหรัฐฯ

Thailand looks to acquire US platforms
The Royal Thai Armed Forces is preparing a list of military equipment to procure from the United States as part of efforts to strengthen bilateral defence ties.
http://www.janes.com/article/71786/thailand-looks-to-acquire-us-platforms

Sikorsky UH-60M Black Hawk of 9th Aviation Battalion, Aviation Regiment, Army Aviation Center, Royal Thai Army

Sikorsky MH-60S Knighthawk of 2nd Squadron, Chakri Naruebet Wing,  Naval Air Division, Royal Thai Navy

กองทัพไทย(Royal Thai Armed Forces)กำลังเตรียมจัดทำตารางรายการอาวุธยุทโธปกรณ์ที่จะดำเนินการจัดหาจากสหรัฐฯในฐานะส่วนหนึ่งของการเสริมสร้างความแข็งแกร่งเพื่อการกระชับความมั่นคงระดับทวิภาคีของทั้งสองประเทศ
พลตรี คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหมไทยกล่าวเมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายนหลังการประชุมซึ่งมี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมไทยเป็นประธานว่า กองทัพไทยได้รับการร้องขอให้จัดทำรายการทางการของกลุ่มเป้าหมายการจัดซื้อล่วงหน้า ตามที่ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีไทยจะเดินทางเยือน Washington สหรัฐในเดือนกรกฏาคมนี้

กลุ่มเป้าหมายระบบอาวุธยุทโธปกรณ์สหรัฐฯที่จะมีการพิจารณานั้นกองทัพไทยน่าจะสามารถจัดหาได้ผ่านทางกลไกลการช่วยเหลือเช่นโครงการจัดหายุทโธปกรณ์ส่วนเกินของกองทัพสหรัฐฯ EDA(Excess Defense Articles)
รายการวาระที่มีความเป็นไปได้สูงน่าจะเป็นชิ้นส่วนอะไหล่เพื่อสนับสนุนระบบอาวุธสหรัฐฯโดยเฉพาะเฮลิคอปเตอร์สหรัฐฯที่มีประจำการในกองทัพไทยทั้งสามเหล่าทัพหลายแบบเป็นจำนวนมากตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

เช่น กองทัพบกไทย(Royal Thai Army) มีเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปแบบ ฮ.ท.๑ UH-1H Huey, ฮ.ท.๒๐๖ Bell 206A Jet Ranger, ฮ.ท.๒๑๒ Bell 212 EDA, ฮ.ท.๖๐ UH-60L/UH-60M Black Hawk และ ฮ.ท.๗๒ UH-72A Lakota
เฮลิคอปเตอร์ฝึกแบบ ฮ.ฝ.๓๐๐ SCHWEIZER S-300C และ ฮ.ฝ.480 Enstrom 480B เฮลิคอปเตอร์ลำเลียงแบบ ฮ.ล.๔๗ CH-47D และเฮลิคอปเตอร์โจมตีแบบ ฮ.จ.๑ AH-1F/AH-1F EDA เป็นต้น

กองทัพเรือไทย(Royal Thai Navy) มีเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงแบบ ฮ.ลล.๒ Bell 212, ฮ.ลล.๓ Bell 214ST, ฮ.ลล.๔ Sikorsky S-76B และ ฮ.ลล.๕ MH-60S Knighthawk และเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำแบบ ฮ.ปด.๑ SH-70B Seahawk เป็นต้น
กองทัพอากาศไทย(Royal Thai Air Force) มีเฮลิคอปเตอร์แบบ ฮ.๖ UH-1H, ฮ.๖ข Bell 412, ฮ.๖ค Bell 412SP/Bell 412HP, ฮ.๖ง Bell 412EP และ ฮ.๑๐ Sikorsky S-92A เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าแม้ว่าในช่วงระยะสิบกว่าปีหลังมานี้กองทัพไทยทั้งสามเหล่าทัพจะได้มีการจัดหาเฮลิคอปเตอร์จากกลุ่มประเทศอื่นเช่นยุโรปตะวันออกหรือรัสเซียมากขึ้น แต่เฮลิคอปเตอร์สหรัฐฯยังคงเป็นกำลังใช้งานหลักในกองทัพไทยอยู่
ซึ่ง ฮ.ส่วนหนึ่งที่มีอายุการใช้งานมานานจำเป็นที่จะต้องมีการจัดหาทดแทน การเยือนสหรัฐฯที่นายกรัฐมนตรีไทยจะเข้าพบประธานาธิบดีสหรัฐฯ Donald Trump นั้นอาจจะรวมถึงการหารือที่เกี่ยวข้องกับระบบอาวุธยุทโธปกรณ์แบบอื่นๆของสหรัฐฯด้วยครับ

วันอังคารที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2560

เครื่องบินขับไล่ MiG-35 รัสเซียจะเสร็จสิ้นการทดสอบในปลายปี 2017 หรือต้นปี 2018

UAC on course to complete MiG-35 trials in late 2017/early 2018
The MiG-35 is the latest iteration of the venerable MiG-29 'Fulcrum' family of fighters. Source: MiG
http://www.janes.com/article/71752/uac-on-course-to-complete-mig-35-trials-in-late-2017-early-2018

United Aircraft Corporation(UAC) กลุ่มอุตสาหกรรมอากาศยานรัสเซียกำลังอยู่ในเส้นทางสู่การเสร็จสิ้นการทดสอบเครื่องบินขับไล่ MiG-35 (NATO กำหนดรหัส Fulcrum-F) รุ่นใหม่ล่าสุดในช่วงสิ้นปีนี้ถึงต้นปีหน้าก่อนมุ่งหน้าเข้าสู่สายการผลิตได้ในปี 2018
ตามที่ตัวแทนอาวุโสของบริษัทคือ Ilia Tarasenko ผู้อำนวยการทั่วไปของ MiG กล่าวกับ Jane's ในงานแสดงการบิน Paris Air Show 2017 ที่ฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 19-25 มิถุนายน ที่ผ่านมาว่า
การบินทดสอบที่เริ่มขึ้นในเดือนมกราคมจะเสร็จในระยะอันสั้น และการเปิดสายการผลิตได้ในปี 2018 นั้นเป็นเครื่องหมายของการรับเครื่องบินขับไล่ตระกูล Fulcrum รุ่นล่าสุดมาใช้งานโดยกระทรวงกลาโหมรัสเซีย

"ตั้งแต่มกราคม 2017 ขั้นตอนการทดสอบได้เริ่มดำเนินการขึ้น และเรากำลังวางแผนว่าพวกมันจะเสร็จสิ้นภายในสิ้นปี 2017 หรือต้นปี 2018 เราคาดว่าเครื่องจะเข้าสู่สายการผลิตและส่งมอบให้กองทัพได้ในปี 2018 ตอนนี้เราสามารถกล่าวได้ว่ากระทรวงกลาโหมเป็นที่พอใจกับการทดสอบ
เราไม่สามารถบอกจำนวนที่ชัดเจนของเครื่องที่กระทรวงกลาโหมจะสั่งภายใต้โครงการนี้ แต่วันนี้ผู้บัญชาการกองทัพอากาศรัสเซีย(VKS: Russian Aerospace Force) กล่าวแล้วว่าพวกเขากำลังวางแผนที่จะทยอยเปลี่ยนเครื่องบินขับไล่ MiG-29 ที่มีทั้งหมดเป็นรุ่น MiG-35 ใหม่"
ตามที่ Tarasenko กล่าวสัญญาการจัดหาเครื่องบินขับไล่ MiG-35 ของกระทรวงกลาโหมรัสเซียจะถูกรวมอยู่ในโครงการอาวุธยุทโธปกรณ์รัฐที่จะมีการดำเนินการในปี 2018

ในเดือนมกราคมที่ผ่านมาผู้บัญชาการทหารอากาศรัสเซีย พลอากาศโทพิเศษ(Colonel General) Viktor Bondarev กล่าวว่าเครื่องบินขับไล่เบาที่ประจำการในกองทัพอากาศรัสเซียจะถูกแทนที่ด้วย MiG-35 ภายในปีหน้าที่จะมาถึง
ตามข้อมูลจาก Jane's World Air Forces ปัจจุบันกองทัพอากาศรัสเซียมี MiG-29 อยู่ราว 350เครื่อง(ซึ่งประมาณ 200เครื่องมีแนวคิดที่จะเก็บสำรองไว้) ซึ่ง MiG-29 ถูกจัดว่าเป็นเครื่องขับไล่เบาสำหรับรัสเซียถ้าเทียบกับเครื่องขับไล่ตระกูล Sukhoi Su-27 (NATO กำหนดรหัส Flanker) และเครื่องบินขับไล่ MiG-31 (NATO กำหนดรหัส Foxhound)
ทั้งนี้ตามการส่งมอบเครื่องบินขับไล่ MiG-35 ให้กองทัพอากาศรัสเซียที่จะมีขึ้นในปี 2018 Tarasenko เน้นว่าลูกค้าส่งออกต่างประเทศสามารถจะเริ่มได้รับมอบเครื่อง MiG-35 ได้โดยเร็วที่สุดในปี 2020

Paris Air Show 2017: MiG-35 dubbed 'transitional link' between fourth- and fifth-gen fighters
http://www.janes.com/article/71714/paris-air-show-2017-mig-35-dubbed-transitional-link-between-fourth-and-fifth-gen-fighters

ในงาน Paris Air Show 2017 ที่ฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน ที่ผ่านมา Viktor Chernov รองผู้อำนวยการทั่วไปของ RSK-MiG ได้อธิบายย้ำกับ Jane's ว่าเครื่องบินขับไล่ MiG-35 ว่าเป็นระบบสะพานเชื่อมการเปลี่ยนผ่านระหว่างเครื่องบินขับไล่ยุคที่4และเครื่องบินขับไล่ยุคที่5
Chernov ได้ย้ำว่า MiG-35 ได้ขยายการใช้วัสดุผสมกับตัวเครื่องเป็นอย่างมาก ซึ่งปรากฎเพียงเล็กน้อยใน MiG-29, ประกอบไปด้วยถึงร้อยละ15จากปริมาณวัสดุทั้งหมดของตัวเครื่อง
นี่ทำให้น้ำหนักตัวเครื่อเปล่าของ MiG-35 ลดลงจนน้อยกว่า MiG-29 ต้นแบบที่ออกแบบไว้เดิม ทำให้ MiG-35 สามารถบรรทุกได้หนักเพิ่มมากขึ้นอีก 6tons ครับ

วันจันทร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2560

บราซิลเปิดตัวเครื่องบินลำเลียง Embraer KC-390 ในงาน Paris Air Show 2017

Paris Air Show 2017: Embraer's KC-390 makes Paris Air Show debut
Powered by two International Aero Engines V2500 turbofans, the KC-390 can carry up to 26 tonnes of cargo at a maximum speed of 470 kt (870 km/h). Source: IHS Markit/Patrick Allen

The Embraer KC-390 tanker-transport aircraft made its debut at Le Bourget this year, with the second flying prototype performing daily as part of the show's flight schedule. (IHS Markit/Patrick Allen)
http://www.janes.com/article/71650/paris-air-show-2017-embraer-s-kc-390-makes-paris-air-show-debut


เครื่องบินลำเลียง-เติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ Embraer KC-390 บราซิลได้เปิดตัวครั้งแรกในงานแสดงการบิน Paris Air Show 2017 ปีนี้ โดยเป็นเครื่องต้นแบบที่สองซึ่งได้ร่วมทำการแสดงการบินตามกำหนดการประจำวันของานที่ฝรั่งเศสระหว่างวันที่ 19-25 มิถุนายน
รายละเอียดของการพัฒนาเครื่องต่อผู้สื่อข่าวที่สนามบิน Le Bourget เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน โดย Paul Gastao Silva ผู้อำนวยการโครงการ KC-390 ของ Embraer บราซิลกล่าวว่า
เครื่องต้นแบบที่ทำการบินทั้งสองเครื่องนั้นได้ทำชั่วโมงบินเกิน 1,000ชั่วโมงบินในอากาศแล้ว และการรณรงค์ทดสอบนั้นได้ "สาธิตให้เห็นว่าแบบแผนเครื่องนั้นถูกต้อง"

การส่งมอบเครื่องบินลำเลียง KC-390 เครื่องแรกของกองทัพอากาศบราซิล(FAB: Força Aérea Brasileira) จาก 28เครื่องที่ได้มีการสั่งจัดหานั้นจะมีขึ้นในปีหน้าตามที่นาย Silva กล่าวและเสริมว่าเครื่องที่สองและที่สามของกองทัพอากาศบราซิลได้กำลังอยู่ในสายการผลิตแล้ว
ขณะเดียวกัน KC-390 เครื่องต้นแบบทดสอบที่สามหมายเลข 801 และที่สี่หมายเลข 802 กำลังอยู่ในการประกอบในสายการการผลิตของเครื่อง KC-390  โดยกำลังทำขั้นตอนโครงการทดสอบภาคพื้นดิน/ประจำที่
ตามข้อมูลของนาย Silva KC-390 จะประสบความสำเร็จในการ "ผ่านการปฏิบัติการขั้นต้น" ในครึ่งหลังปีนี้ โดยการ"ผ่านการปฏิบัติการเต็มอัตรา" จะประสบความสำเร็จได้ภายในสิ้นปีหน้า ยังไม่ปรากฎการเทียบเคียงว่าฝูงบิน KC-390 ของกองทัพอากาศบราซิลจะมีความพร้อมปฏฺิบัติการเมื่อไร

อย่างไรก็ตามตั้งแต่ที่นาย Silva อธิบายว่าจะมี 2เครื่องที่จะส่งมอบให้กองทัพอากาศบราซิลในปีหน้า กับเครื่องที่สามที่จะมาถึงในปี 2019 แม้เขาได้ย้ำว่าจุดนี้ KC-390 ควรจะประสบความสำเร็จใน "ขีดความสามารถทางทหารเต็มอัตรา" ของมัน
ปัญหาประเด็นงบประมาณในบราซิลได้บังคับให้ Embraer ปรับความทะเยอทะยานของตนให้น้อยลงสำหรับกำหนดการส่งมอบ KC-390 ให้ช้ากว่าตามแผนเดิมที่วางไว้ โครงการ KC-390 เริ่มขึ้นในปี 2009 เมื่อกองทัพอากาศบราซิลทำสัญญากับ Embraer ในการพัฒนาอากาศยานลำเลียง
ต่อมาเครื่องต้นเครื่องแรกทำการบินคั้งแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2015 การทดสอบการบินที่เริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนตุลาคม 2015 และได้ประสบความสำเร็จในหลักขั้นสำคัญจำนวนมากครับ

วันอาทิตย์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ภาพ Oplot-T ที่ยูเครนล่าสุด-๑๖











Oplot Main Battle Tanks include welded Turret and Chassis for Royal Thai Army at Malyshev Plant, Kharkiv, Ukraine,
http://turchynov.com/photos/details/o-turchinov-vidvidav-dp-zavod-im-vo-malisheva-u-harkivskij-oblasti
https://www.facebook.com/dmitriy.brook.ua/

https://www.facebook.com/oung.apicha/videos/10207380346626687/




5 Oplot-T Main Battle Tanks arrival from Sattahip Naval Base to 2nd Cavalry Battalion, 2nd Infantry Division, Queen's Guard, Royal Thai Army on November 2016
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10207380334866393&set=pcb.1926919010886113
https://www.facebook.com/oung.apicha

ภาพล่าสุดจากโรงงาน Malyshev ที่ยูเครนแสดงให้เห็นว่าการสร้างรถถังหลัก Oplot-T สำหรับกองทัพบกไทยนั้นยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยในชุดภาพจะเห็นรถถังหลัก Oplot ๑-๒คันที่ประกอบเกือบเสร็จสมบูรณ์แล้วกำลังทดสอบการเคลื่อนที่
รวมถึงส่วนป้อมปืนที่ประกอบเสร็จแล้ว ๑-๒ ป้อมเช่นป้อมปืนหมายเลข No.38  ตัวรถแคร่ฐานที่ประกอบเกือบเสร็จแล้ว ๒-๓คันเช่นรถแคร่ฐานหมายเลข No.35 และการเชื่อมและประกอบสร้างป้อมปืนทรงเหลี่ยมและรถแคร่ฐานที่กำลังประกอบส่วนโครงเสร็จและติดตั้งอุปกรณ์แล้วจำนวนมาก

อย่างไรก็ตามในชุดภาพเดียวกันนั้นจะเห็นว่าโรงงาน Malyshev นั้นไม่ได้ทำงานสร้าง Oplot ให้กองทัพบกไทยอย่างเดียว แต่มีงานซ่อมประบปรุงรถถังหลัก T-64, T-80 และ T-84 Oplot Object 478DU-9 ซึ่งเป็นรุ่นของกองทัพยูเครนที่สร้างออกมาก่อนของไทย
โดย Ukroboronprom รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมความมั่นคงยูเครนได้มีการสั่งจัดซื้อระบบหน่วยพลังงานเสริม APU(Auxiliary Power Unit) สำหรับการปรับปรุง ถ.หลัก T-84 Object 478DU-9 ของตนไปด้วย

สำหรับชุดภาพการขนส่งรถถังหลัก Oplot-T ชุดใหม่ ๕คัน ที่มีการนำเสนอไปช่วงต้นเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๐(2017) ที่ผ่านมานั้น มีการยืนยันแล้วว่าเป็นภาพการขนส่งรถในชุดเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๙(2016) ที่ได้เคยรายงานไปแล้ว
ทำให้ยืนยันได้ในเบื้องต้นว่า รถถังหลัก Oplot ที่ กองพันทหารม้าที่๒ กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ ได้รับมอบแล้วขณะนี้ยังมีจำนวนที่ ๒๐คันอยู่ ทางยูเครนจึงต้องส่งรถมาอีก ๒๙คัน อย่างไรก็ตามถ้าดูจากกำลังการผลิตที่โรงงานเชื่อว่าไม่น่าจะส่งได้ครบทั้งหมดในปีนี้่(2017)ครับ

วันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2560

กองทัพเรือไทยทำพิธีวางกระดูกงูเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.กระบี่ ลำที่สอง ร.ล.ตรัง







Royal Thai Navy second Krabi class Offshore Patrol Vessel HTMS Trang Keel laying ceremony on 26 June 2017

Long Live The King and Long Live The Princess

พิธีวางกระดูกงู เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 (ร.ล.ตรัง) กับ กำลังพลรับเรือบางส่วน ร่วมรับเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี มาทรงเป็นประธานในพิธีในวันนี้
เพจ Navy For Life ขอแสดงความยินดีกับกองทัพเรือ ที่กำลังจะประสบความสำเร็จในการต่อเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง อีก 1 ลำ ด้วยฝีมือของคนไทย และกำลังพลรับเรือที่จะได้ปฏิบัติงานบนเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง
ที่สร้างขึ้นด้วยพระราชปณิธานของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทรงมีพระราชดำริ ให้คนไทยต่อเรือรบใช้เอง

By Admin ต้นปืน561
https://www.facebook.com/NavyForLifePage/posts/1380326378671919
https://www.facebook.com/NavyForLifePage

พิธีวางกระดูกงูเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 เพื่อเฉลิมพระเกียรติ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงวางกระดูกงูเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ลำที่ 2 เพื่อเฉลิมพระเกียรติ 
ในวันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน 2560 เวลา 14.00 น. ณ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

โครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 เพื่อเฉลิมพระเกียรติ เป็นโครงการที่กองทัพเรือขออนุมัติกระทรวงกลาโหมดำเนินการต่อขึ้นจากแบบเรือที่กองทัพเรือมีใช้ราชการ 
ด้วยการน้อมนำและยึดถือการพึ่งพาตนเองตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ตามกระแสพระราชดำรัสที่ทรงรับสั่งแก่ผู้บังคับหมู่เรือรักษาการณ์วังไกลกังวล และผู้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ ณ วังไกลกังวล 
เกี่ยวกับการใช้เรือของกองทัพเรือ เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2545 ที่ว่า “กองทัพเรือจึงควรใช้เรือที่มีขนาดเหมาะสมและสร้างได้เอง ซึ่งเมื่อสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.91 ได้แล้ว ควรขยายแบบเรือให้ใหญ่ขึ้นและสร้างเพิ่มเติม” 
ซึ่งกองทัพเรือได้แต่งตั้งคณะทำงานศึกษาแบบเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งที่กองทัพเรือมีใช้ในราชการ โดยมีมติให้ใช้แบบเรือของเรือหลวงกระบี่ ที่กองทัพเรือได้ต่อขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสที่ทรงมีพระชนมพรรษา 84 พรรษา เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2554 
เป็นแบบพื้นฐานในการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำใหม่พร้อมกับเสนอแนะให้ปรับปรุงข้อบกพร่องในส่วนต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้นกับเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงปัตตานี และเรือหลวงกระบี่ เพื่อให้เรือลำใหม่มีคุณลักษณะที่เหมาะสมมากขึ้นในการตอบสนองภารกิจของกองทัพเรือ 
โดยกองทัพเรืออนุมัติให้โครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 เป็นโครงการเพื่อเฉลิมพระเกียรติ

ทั้งนี้ โครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 เฉลิมพระเกียรติฯ เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนากำลังรบตามยุทธศาสตร์กองทัพเรือ 
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของกองทัพเรือในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล การรักษากฎหมายในทะเล และการปฏิบัติการรบผิวน้ำ รวมทั้งการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล
และสนับสนุนการปฏิบัติการทางเรืออื่น ๆ เพื่อให้เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 นี้ปฏิบัติการตามภารกิจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย สอดคล้องกับพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร 
ที่พระราชทาน ในพิธีวางกระดูกงูเรือ ต.91 เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2510 ณ กรมอู่ทหารเรือ ที่ว่า
 “การป้องกันประเทศทางทะเลเป็นหน้าที่โดยตรงและสำคัญที่สุดของกองทัพเรือ หน้าที่นี้เป็นภาระหนักที่ต้องอาศัยทหารซึ่งมีความรู้ความสามารถและเรือรบจะมีคุณภาพดี ประกอบพร้อมกันไป บรรดาเรือรบที่ใช้ในราชการเป็นเรือที่สั่งทำจากต่างประเทศ 
การที่ทางราชการกองทัพเรือสามารถเริ่มต่อเรือยนต์รักษาฝั่งขึ้นใช้ในราชการได้เช่นนี้ จึงควรจะเป็นที่น่ายินดี และน่าสนับสนุนอย่างยิ่ง นับว่าเป็นความเจริญก้าวหน้าสำคัญก้าวหนึ่งของกองทัพเรือ”

สำหรับการดำเนินโครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 เฉลิมพระเกียรติฯ มีระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2558 - 2561 แบ่งออกเป็น 2 ระยะ 
โดยระยะที่ 1 เป็นการจัดหาเฉพาะระบบตัวเรือ จำนวน 1 ลำ ประกอบด้วยแบบและพัสดุในการสร้างเรือ พร้อมระบบสนับสนุนการส่งกำลังบำรุงรวมและการบริการทางด้านเทคนิค ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ.2558 – 2561 
ระยะที่ 2 การจัดหาระบบควบคุมบังคับบัญชาและตรวจการณ์ และระบบอาวุธ ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ.2559 – 2561 โดยจะดำเนินการสร้างเรือ ณ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช 
จึงอาจกล่าวได้ว่า กองทัพเรือได้ใช้ศักยภาพและความรู้ความสามารถของกำลังพลกองทัพเรือ ในการดำเนินการติดตั้ง ทดสอบ ได้อย่างเต็มภาคภูมิ แม้ว่าจะใช้แบบเรือของต่างประเทศ แต่ถือเป็นการสร้างเรือขนาดใหญ่ด้วยการพึ่งพาตนเอง 
โดยอู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช นับได้ว่าเป็นอู่ซ่อมเรือที่มีขนาดใหญ่มากแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถให้บริการซ่อมบำรุงเรือทุกขนาดที่กองทัพเรือมีประจำการ

คุณลักษณะเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 เพื่อเฉลิมพระเกียรติ
- ความยาวตลอดลำ 90.50 เมตร กว้าง 13.50 เมตร
- กินน้ำลึก 3.70 เมตร
- ระวางขับน้ำเต็มที่ 1,969 ตัน
- ความเร็วสูงสุด 23 นอต
- รัศมีทำการที่ความเร็ว 15 นอต ได้ถึงระยะ 3,500 ไมล์ทะเล
- อาวุธประจำเรือที่สำคัญ คือ ปืนขนาด 76 มิลลิเมตร แบบอัตโนมัติ และปืนขนาด 30 มิลลิเมตร แท่นเดี่ยว จำนวน 2 กระบอก
- ระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้น ฮาร์พูน จำนวน 2 แท่น แท่นละ 4 ท่อ ยิง
โดยเรือสามารถปฏิบัติการในทะเลเปิด ต่อเนื่องได้อย่างน้อย 14 วัน โดยไม่ต้องรับการส่งกำลังบำรุงและสามารถปฏิบัติการได้ในสภาวะทะเลระดับ SEA STATE 5

ข้อมูลจำเพาะพิธีวางกระดูกงูเรือ
พิธีวางกระดูงูเรือ เป็นพิธีแรกในการสร้างเรือ คำว่า “กระดูกงู” ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2525 หมายถึง ตัวไม้หรือเหล็กที่ทอดตลอดลำเรือสำหรับตั้งกง 
ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าพิธีวางกระดูกงูเรือจึงเป็นพิธีที่สำคัญพิธีหนึ่งในการเริ่มสร้างเรือมานับตั้งแต่สมัยโบราณทั้งของไทยและของต่างประเทศ ส่วนพิธีการอาจจะแตกต่างกันไปบ้างขึ้นอยู่กับความเชื่อของแต่ละชาติ
พิธีวางกระดูกงูเรือของไทยนั้น คงจะสืบเนื่องมาจากการนับถือเทพธิดา (นางไม้) เพราะในสมัยโบราณถือกันว่าการเข้าป่าตัดไม้ต้องทำพิธีบวงสรวงเทพารักษ์ (พฤกษเทวดา) เสียก่อนจึงจะหาตัวเรือไม้แม่ย่านางและมาดเรือได้ดี 
และเป็นไม้ที่นายช่างผู้ชำนาญการต่อเรือได้พิจารณาเลือกคัดเอาแต่ที่อย่างเอก ๆ เป็นไม้ที่ดีที่หนึ่ง เมื่อได้ไม้มาแล้วก่อนจะทำการโกลนและเปิดมาดขึ้นกง (การปรับแต่งตัวเรือและขึ้นโครงเรือเฉพาะเรือไม้) ก็ทำพิธีบวงสรวงเชิญเทวพฤกษ์มาสิงสถิตปกปักรักษา 
พิธีนี้ก็เห็นจะเนื่องมาจากพิธีของพราหมณ์ดังกล่าวมาแล้ว
สำหรับราชนาวีไทยคงได้ประกอบพิธีมาตั้งแต่สมัยเรือรบที่สร้างตัวเรือด้วยไม้ ต่อมาได้เปลี่ยนการสร้างจากตัวเรือไม้มาเป็นตัวเรือเหล็ก สำหรับเรือรบที่สร้างด้วยเหล็กตามหลักฐาน ได้มีพิธีวางกระดูกงูเรือหลวงสัตหีบเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2499 
โดย กรมอู่ทหารเรือเป็นผู้สร้าง ได้มีพิธีทางศาสนาพุทธ พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ และพิธีพราหมณ์ประกอบการบูชากฤษ์ 
มี ฯพณฯ จอมพลเรือ ป.พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานประกอบพิธีย้ำหมุดเป็นปฐมฤกษ์ และมี จอมพลเรือ ป.ยุทธศาสตร์โกศล ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นผู้กล่าวเชิญประกอบพิธี ในปัจจุบันได้กำหนดพิธีวางกระดูกงูของราชนาวีไทย พอสังเขปดังนี้
พิธี ประกอบด้วย การเจิมกระดูกงู คล้องพวงมาลัย แล้วทำพิธีวางกระดูกงูโดยใช้ค้อนตอกย้ำหมุดตัวแรก หรือกดปุ่มสวิตช์ทำการประสานกระดูกงูด้วยไฟฟ้า
ผู้ประกอบพิธี ในประเทศอาจเป็น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้บังคับบัญชาระดับสูงในกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารเรือ หรือผู้แทนต่างประเทศ 
อาจเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในประเทศนั้น ๆ ผู้บัญชาการทหารเรือ หรือผู้แทนตามที่กองทัพเรือจะพิจารณากำหนดพิธี แล้วแต่ฤกษ์
https://www.facebook.com/prthainavy/posts/1572843932766957
https://www.facebook.com/prthainavy/

สำหรับเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.กระบี่ ลำที่สองคือ ร.ล.ตรัง ที่ได้มีการทำพิธีวางกระดูกงูเรือไปนี้คาดว่าจะมีพิธีปล่อยเรือลงน้ำในปี พ.ศ.๒๕๖๑(2018) และเข้าประจำการได้ในปี พ.ศ.๒๕๖๒(2019)
ซึ่งในส่วนงบประมาณการก่อสร้างเรือที่มีการอนุมัติการลงนามสัญญาไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๙(2016) รวมวงเงิน ๕,๕๐๐ล้านบาท($170 million)นั้นแบ่งเป็นสองส่วนคือ
๑.วงเงิน ๒,๘๕๐ล้านบาท เฉพาะตัวเรือประกอบด้วยแบบเรือและพัสดุในการสร้างเรือพร้อมการสนับสนุน  ระยะเวลาดำเนินการ พ.ศ.๒๕๕๘-๒๕๖๑(2015-2018)
๒.วงเงิน ๒,๖๕๐ล้านบาท ในส่วนระบบควบคุมบังคับบัญชา,ระบบตรวจการณ์ และระบบอาวุธ ประกอบด้วย ระบบอำนวยการรบของ Thales Nederland B.V. ๑ระบบ, แท่นยิงเป้าลวง ๒แท่นยิง,
ปืนใหญ่เรือ OTO Melara 76/62 Vulcano Super Rapid ๑กระบอก, ปืนใหญ่กล MSI DS30MR 30mm ๒กระบอก, ปืนกลหนัก M2 .50cal ๒กระบอก และอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำ RGM-84 Harpoon Block II ๘นัด

มีข้อมูลเพิ่มเติมส่วนหนึ่งว่า กองทัพเรือไทยวางแผนที่จะต่อเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.กระบี่ ลำที่สามในอนาคต โดยกำลังรอการบรรจุโครงการในแผนการดำเนินเพื่อให้มีการอนุมัติในงบประมาณประจำปีตามขั้นตอนต่อไป
อย่างไรก็ตามมีการให้ข้อมูลว่า กองทัพเรือไทยจะจะต่อเรือ ตกก.ชุด ร.ล.กระบี่ ที่ใช้แบบแผนเรือ 90m Offshore Patrol Vessel ของบริษัท BAE Systems สหราชอาณาจักร ที่บริษัทอู่บางกอก(Bangkok Dock) ซื้่อสิทธิบัตรมาเพียง ๓ลำเท่านั้น
โดยกองทัพเรือไทยมีความต้องการเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งเพื่อทดแทนเรือเก่าทั้งหมดรวมอย่างน้อย ๖ลำ ซึ่งปัจจุบันกองทัพเรือไทยมีเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งประจำการแล้ว ๒ชุด รวม ๓ลำคือ
เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.ปัตตานี ประกอบด้วย ร.ล.ปัตตานี และ ร.ล.นราธิวาส ซึ่งต่อที่สาธารณรัฐประชาชนจีน กับ เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.กระบี่ คือ ร.ล.กระบี่ที่ต่อในไทย และ ร.ล.ตรัง ที่จะเข้าประจำการในอนาคต
นั่นทำให้เมื่อรวมกับแผนการจัดหาเรือตรวจการณ์ไกลชุด ร.ล.กระบี่ลำที่สาม ทำให้กองทัพเรือไทยมีเรือ ตกก.รวม ๕ลำ ซึ่งเรือ ตกก.ลำต่อไปนั้นอาจจะเปลี่ยนแบบเรือเป็นชุดใหม่ โดยอู่บางกอกก็กำลังพิจารณาศึกษาแบบเรือจากบริษัทต่างๆตามที่ได้เคยรายงานไปครับ

รถหุ้มเกราะล้อยาง Chaiseri First Win 2 ไทยรุ่นใหม่ได้รับการจัดหาโดย กอ.รมน.

Thailand’s First Win MVP secures new deal
Thai military vehicle manufacturer Chaiseri has secured an order from the military government’s Internal Security Operations Command (ISOC) to supply an updated version of its 4x4 First Win multipurpose vehicle (MPV).
http://www.janes.com/article/71655/thailand-s-first-win-mvp-secures-new-deal

Chaiseri's First Win Infantry Fighting Vehicle for Malaysian Army as DEFTECH AV4 at Defense & Security 2015(My Own Photo)

Chaiseri developed First Win II 4x4 for Internal Security Operations Command(based on First Win IFV)
https://www.facebook.com/pinit.meesad

บริษัท Chaiseri ผู้ผลิตยานพาหนะทางทหารไทยได้รับสัญญาจัดหาจากหน่วยงานของรัฐบาลไทยคือ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร กอ.รมน.(ISOC: Internal Security Operations Command) สำหรับรถหุ้มเกราะล้อยางเอนกประสงค์ First Win 2 4x4 รุ่นใหม่
สัญญาดังกล่าวจะเป็นการผลิตรถหุ้มเกราะล้อยาง 4x4 First Win II จำนวน ๑๓คัน ซึ่งจะถูกใช้งานโดย กอ.รมน.ในการนำไปใช้เพื่อภารกิจรักษาความปลอดภัยและงานของกองกำลังกึ่งทหารในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ตามที่ Jane's เข้าใจ
รถหุ้มเกราะ First Win II นี้เป็นรุ่นปรับปรุงใหม่ที่มีพื้นฐานจากรถรุ่นดั้งเดิมโดยเพิ่มคุณสมบัติระบบการป้องกันมากขึ้น ซึ่งมีพื้นฐานพัฒนาต่อยอดจากรุ่นรถรบทหารราบล้อยาง First Win IFV ที่ส่งออกให้กองทัพบกมาเลเซียในชื่อรถหุ้มเกราะล้อยาง AV4 พร้อมสิทธิบัตรการผลิต

ยังไม่มีการเปิดเผยว่าสัญญาจัดหารถหุ้มเกราะ First Win II ที่จะมีในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐(2017) นี้เป็นจำนวนวงเงินเท่าไร โดยกองทัพบกไทยได้มีการจัดหารถหุ้มเกราะล้อยาง First Win 4x4 จาก Chaiseri ไปใช้งานแล้วจำนวนหนึ่ง รวมถึงหน่วยงานความมั่นคงอื่นๆของรัฐบาลไทย
เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติไทย(Royal Thai Police), กรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม(DSI: Department of Special Investigation), สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด, สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ และกรมราชทัณฑ์
ทั้งนี้กองทัพบกไทยได้มีการนำรถหุ้มเกราะล้อยาง First Win ไปทดลองใช้งานในพื้นที่ชายแดนภาคใต้แล้วโดยมีความพอใจในสมรรถนะของรถอย่างมาก อีกทั้งกระทรวงกลาโหมไทยเองก็มีแผนในการพัฒนาเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมความมั่นคงภายในประเทศไทยด้วย

ข้อมูลการจัดหารถหุ้มเกราะล้อยาง First Win II จำนวน ๑๓คันนี้ถูกเปิดเผยครั้งแรกโดยข้อมูลที่โฆษกกองทัพบกไทย พันเอก วินธัย สุวารี ชี้แจงต่อสื่อมวลชนเรื่องที่คณะรัฐมนตรีไทยอนุมัติการจัดหายานเกราะล้อยาง VN1 จาก NORINCO สาธาณรัฐประชาชนจีน ๓๔คันเมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายนว่า
สำหรับรถหุ้มเกราะล้อยาง First Win 4x4 ที่ผลิตโดย Chaiseri ไทย มีคุณลักษณะเฉพาะทางทหารไม่ตรงกับที่กองทัพบกกำหนด เนื่องจาก First Win เป็นรถเกราะป้องกันทุ่นระเบิด(MRAP: Mine Resistant Ambush Protected)
ไม่ใช่รถรบทหารราบ(IFV: Infantry Fighting Vehicle) ที่มีความต้องการเพื่อทดแทนรถหุ้มเกราะล้อยาง V-150 ในส่วนของกองพันทหารม้าลาดตระเวน หน่วยขึ้นตรงใน กองพลทหารม้าที่๑ ที่ใช้งานมานานเกือบ ๕๐ปีครับ

วันพฤหัสบดีที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2560

Safran ฝรั่งเศสและบริษัทอุตสาหกรรมการบิน TAI ไทยลงนามข้อตกลงเครื่องยนต์เฮลิคอปเตอร์ของกองทัพไทย

Safran and Thai Aviation Industries sign helicopter engine accord
Safran Helicopter Engines (Safran HE) has signed an agreement with Thai Aviation Industries (TAI) to support powerplants fitted onto helicopters operated by the Royal Thai Armed Forces.
http://www.janes.com/article/71608/safran-and-thai-aviation-industries-sign-helicopter-engine-accord

Airbus Helicopters EC725(H225M) 203 Squadron, Wing2, Royal Thai Air Force
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1081517148565858.1073742484.243966748987573
https://www.facebook.com/wing2RTAF/

Airbus Helicopters H145M Royal Thai Navy commissioning ceremony and Search and Rescue(SAR) demonstration, 10 November 2016
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=330149777357287&set=gm.1433634846654568
https://www.facebook.com/krit.swangnet

Airbus Helicopters H145(EC145 T2) 41st Aviation Battalion, Aviation Regiment, Army Aviation Center, Royal Thai Army
https://www.facebook.com/GeneralSupportAviationBattalion/videos/1330487587028649/

Royal Thai Police Aviation Division AS365 N3+ Dauphin Search and Rescue Helicopter

บริษัท Safran Helicopter Engines(Safran HE หรือ Turbomeca เดิม) ได้ลงนามข้อตกลงร่วมกับ บริษัทอุตสาหกรรมการบิน(TAI: Thai Aviation Industries) ไทยในการสนับสนุนเครื่องยนต์ที่ติดตั้งกับเฮลิคอปเตอร์ที่ประจำการในกองทัพไทย
ภายใต้บันทึกความเข้าใจ(MOU: Memorandum of Understanding) ที่ลงนามเมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายนที่ฝ่ายมาในงานแสดงการบิน Paris Air Show 2017 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๙-๒๕ มิถุนายนที่ฝรั่งเศส

ทั้งสองบริษัทจะร่วมงานกันในการให้บริการแบบGSP(Global Support Package)เพื่อการบำรุงรักษา, ซ่อมแซม และยกเครื่องใหม่ต่อระบบเฮลิคอปเตอร์ของบริษัท Airbus Helicopters ที่ใช้งานโดยกองทัพไทยและหน่วยงานของรัฐบาลไทยอื่นๆ เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติไทย
รูปแบบความร่วมมือในบันทึกความเข้าใจมีในการส่งมอบสายการบำรุงรักษาเครื่องยนต์เฮลิคอปเตอร์, โรงซ่อม, การจัดการคลังวัสดุ และการสนับสนุนทางเทคนิค เพื่อให้มั่นใจว่าเครื่องยนต์ของ Safran HE จะมีความพร้อมใช้งานได้ในไทย

ปัจจุบันกองทัพไทยทั้งสามเหล่าทัพมีการจัดหาเฮลิคอปเตอร์จาก Airbus Helicopters ซึ่งใช้เครื่องยนต์ของ Safran HE เป็นจำนวนมากหลายแบบ เช่น
กองทัพบกไทยมี เฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวน/ติดอาวุธ ฮ.ลว./อว.๕๕๐ AS550 C3(H125M), เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๗๒ UH-72A Lakota และ ฮ.ท.๑๔๕ EC145 T2(H145) ที่ใช้เครื่องยนต์ Turboshaft แบบ Arriel,

กองทัพเรือไทยมี เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง ฮ.ลล.๖ H145M(EC645 T2) และกองทัพอากาศไทยมี เฮลิคอปเตอร์แบบ๑๑  ฮ.๑๑ EC725(H225M) ที่ใช้เครื่องยนต์ Turboshaft แบบ Makila 2A1
รวมถึง กองบินตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติไทยมี เฮลิคอปเตอร์ค้นหาและช่วยชีวิต AS365 N3+ Dauphin และเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป EC155B-1(H155) ที่ใช้ ย.Turboshaft แบบ Arriel เป็นต้นครับ

วันพุธที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2560

Ilyushin รัสเซียจะทำการบินเครื่องบินลำเลียง IL-112V ครั้งแรกในปี 2018 และกำลังพัฒนาเครื่องบินลำเลียงแบบใหม่

Russia’s new military transport plane to perform its debut flight in 2018
Il-112V military transport plane/Marina Lystseva/TASS
The debut flight’s rescheduling "is largely due to equipment" and won’t affect the start of the plane’s serial construction, the chief designer said
http://tass.com/defense/952262

การทำการบินครั้งแรกของเครื่องบินลำเลียง Ilyushin IL-112V ใหม่ได้ถูกเปลี่ยนกำหนดการใหม่เป็นช่วงต้นปี 2018 ตามที่หัวหน้านักออกแบบของ Ilyushin นาย Nikolai Talikov กล่าวกับ TASS เมื่อวันที่ 20 มิถุนายนในงานแสดงการบิน Paris Air Show 2017 ที่ฝรั่งเศส 19-25 มิถุนายน
"แผนเดิมของเราคือสิ้นปีนี้ อย่างไรก็ตามการบินครั้งแรกจะดูเหมือนถูกเปลี่ยนกำหนดการใหม่สำหรับการเริ่มต้นในปีหน้า การเปลี่ยกำหนดการบินครั้งแรกมีผลส่วนใหญ่จากอุปกรณ์ และไม่มีผลในการเริ่มสายการผลิตของเครื่อง
เราคาดเดาว่าการทดสอบนี้จะใช้เวลาอีกไม่น้อยกว่าสองปี แผนอื่นสำหรับสายการผลิตยังคงเป็นไปก่อนหน้านี้ เราจะไม่แบ่งแยกเครื่องบินต้นแบบและเครื่องในสายการผลิต ในบัญชีสุดท้ายโชคชะตาของโครงการนี้จะถูกกำหนดหลังเครื่องต้นแบบที่สองหรือสามถูกสร้าง" เขากล่าว

การเตรียมสายการผลิตสำหรับเครื่องบินลำเลียง IL-112V ที่โรงงานอากาศยาน Voronezh ได้ถูกเริ่มขึ้นตามการผลิตเครื่องบินลำเลียงต้นแบบ IL-112V เครื่องแรก
IL-112V เป็นเครื่องบินลำเลียงใบพัดทางยุทธวิธีขนาดเบาซึ่งมีน้ำหนักบบรทุกสูงสุด 5tons ถูกออกแบบมาสำหรับการขนส่งกำลังพล, ยุทโธปกรณ์ทางทหาร, กระสุนและสัมภาระอื่นๆหลายแบบ โดยถูกพัฒนาขึ้นเพื่อทดแทนเครื่องบินลำเลียงใบพัด Antonov An-26 และ An-24
IL-112V สามารถทำการบินได้จากสนามบินที่ไม่มีการเตรียมการทั้งแบบทางวิ่งปูคอนกรีตและดินอัด IL-112 มีแผนที่จะสร้างสองรุ่นคือ IL-112T รุ่นพลเรือน และ IL-112V รุ่นใช้งานทางทหาร มีรายงานก่อนหน้าว่ากระทรวงกลาโหมรัสเซียต้องการสั่งจัดหา IL-112 จำนวน 62เครื่องครับ

Ilyushin aircraft company developing new transport plane for Russia’s Defense Ministry
Il-76 plane/Sergei Bobylev/TASS
The new military transport plane will have a lifting capacity of 20 tonnes
http://tass.com/defense/952265

วันที่ 20 มิถุนายนในงานแสดงการบิน Paris Air Show 2017 หัวหน้านักออกแบบของ Ilyushin นาย Nikolai Talikov กล่าวกับ TASS ว่า Ilyushin กำลังพัฒนาเครื่องบินลำเลียงใหม่ที่สามารถบรรทุกได้หนักถึง 20ton
"ตอนนี้เราเพิ่งจะจัดตั้งพัสดุสำหรับเครื่องบินลำเลียงขนาดกลาง เครื่องน้ำหนักบรรทุก 20tons นี้มีมิติภาคหน้าตัดขวางเช่นเดียวกับเครื่องบินลำเลียงหนัก IL-76 เราได้พร้อมเริ่มงานกับเครื่องนี้แล้ว การมอบหมายทางเทคนิคได้ถูกกำหนดและได้รับการอนุมัติจริงและจากนั้นทุกขั้นตอนจะตามมา"
ตอนนี้มันอาจจะถูกใช้ชื่อที่ค่อนข้างต่างกัน มันเป็นเครื่องบินลำเลียงสองเครื่องยนต์สำหรับภารกิจลำเลียงขนาดกลางที่ลำตัวสั้นกว่า IL-76" หัวหน้านักออกแบบกล่าวว่าชื่อเครื่องบินลำเลียงใหม่อาจจะถูกเปลี่ยนจากที่รู้จักเดิมในชื่อ IL-214

Ilyushin ยังได้เสนอเครื่องบินลำเลียงหนัก IL-76MF รุ่นใหม่สำหรับกระทรวงกลาโหมรัสเซียซึ่งปรับปรุงจาก IL-76 โดยเพิ่มความยาวตัวเครื่องขึ้น 6.6m
เมื่อกล่าวถึงเครื่องบินลำเลียงหนัก IL-106 หัวหน้านักออกแบบของ Ilyushin กล่าวถึงคุณสมบัติของมันว่า "ได้รับการเห็นชอบจากกองทัพแล้ว แต่ปัญหาด้านการจัดหางบประมาณยังไม่ได้รับการแก้ไข"
ตามรายงานก่อนหน้า Ilyushin ได้ดำเนินการพัฒนาเครื่องบินลำเลียงขนาดกลาง IL-214 ต่อด้วยตนเอง ซึ่งเดิมเป็นโครงการพัฒนาร่วมกับ HAL อินเดียในชื่อ MTA(Medium Transport Aircraft) แต่การระงับโครงการหลังที่อินเดียถอนตัวไปยังไม่มีการรายงานอย่างเป็นทางการครับ

วันอังคารที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2560

สิงคโปร์ให้รายละเอียดการปรับปรุงรถถังหลัก Leopard 2SG

Singapore details ongoing upgrades to Leopard 2SG MBTs
An unspecified number of the Singapore Army's Leopard 2SG MBTs have received a new sighting system for the vehicle commander.
At least two upgraded examples were shown at the Army Open House 2017 exhibition in May. Source: IHS Markit/Kelvin Wong
http://www.janes.com/article/71518/singapore-details-ongoing-upgrades-to-leopard-2sg-mbts

กองทัพสิงคโปร์(SAF: Singapore Armed Forces) กำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรบของรถถังหลัก Leopard 2SG ซึ่งเดิมเป็นรถถังหลัก Leopard 2A4 ที่เคยประจำการในกองทัพเยอรมนี(Bundeswehr)
การปรับปรุงเพิ่มเติมที่เปิดเผยออกมาล่าสุดคือการติดตั้งระบบกล้องเล็ง Panoramic ใหม่สำหรับผู้บังคับการรถ โดยมี Leopard 2SG ของกองทัพบกสิงคโปร์(Singapore Army)อย่างน้อย 2คันที่ติดตั้งระบบกล้องเล็งใหม่แบบ COAPS(Commander's Open Architecture Panoramic Sight) ซึ่งได้มีการเปิดตัวในงาน Army Open House 2017(AOH 2017) ระหว่างวันที่ 27-29 พฤษภาคมที่ผ่านมา

"COAPS เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของกองทัพสิงคโปร์เพื่อการปรับปรุง Leopard 2SG ตั้งแต่ปี 2010 การปรับปรุงอื่นที่กำลังดำเนินการอยู่รวมถึง ระบบอำนวยการสนามรบ(BMS: Battlefield Management System), ระบบทำความเย็นในห้องกำลังพล,
หน่วยพลังงานเสริม(APU: Auxiliary Power Unit), กล้องมองหลัง, ระบบไฟฟ้าภายในรถ และการดัดแปลงระบบควบคุมการยิง(FCS: Fire Control System)" กระทรวงกลาโหมสิงคโปร์เปิดเผยต่อ Jane's ในการแถลงเมื่อวันที่ 18 มิถุนายนที่ผ่านมา

กำลังพลของกองทัพบกสิงคโปร์ซึ่งเป็นผู้ที่พูดกับ Jane's ในงาน AOH 2017 ว่า ระบบกล้องเล็งใหม่ถูกจัดส่งให้โดย STELOP ซึ่งเป็นบริษัทย่อยใน Singapore Technologies Electronics
ซึ่ง ST Electronics เป็นแผนกพัฒนาอุปกรณ์ไฟฟ้าและการสื่อสารของระบบอาวุธของบริษัท ST Engineering กลุ่มอุตสาหกรรมความมั่นคงหลักของสิงคโปร์

อย่างไรก็ตามแหล่งข้อมูลในอุตสาหกรรมความมั่นคงบอกกับ Jane's ว่า STELOP กำลังผลิตกล้องเล็ง COAPS ภายสิทธิบัตรจากระบบกล้องเล็ง Elbit Systems Electro-optics(ELOP) อิสราเอล ซึ่งเปิดตัวเสนอขายในตลาดนานาชาติตั้งแต่เดือนมีนาคม 2010
ตามข้อมูลของ Elbit อิสราเอล COAPS เป็นกล้องเล็งแบบรักษาการทรงตัวสองแกน Modular ที่ตั้งเป้าเป็นการเฉพาะสำหรับการประยุกต์ใช้กับยานรบหุ้มเกราะ(AFV: Armoured Fighting Vehicle) และรถถังหลัก(MBT: Main Battle Tank)

กล้องเล็ง COAPS มีพื้นฐานการออกแบบสถาปัตยกรรมเปิด สามารถปรับแต่งให้ใช้ระบบตรวจจับที่แตกต่างกันได้หลายแบบ รวมถึงกล้องสร้างภาพความร้อน 3-5micron หรือ 8-12micron,
กล้องกลางวันและกลางคืน CCD(Charge Coupled Device) และ Laser วัดระยะแบบปลอดภัยต่อดวงตา(Eye Safe) เพื่อให้เหมาะกับความต้องการของภารกิจครับ

วันจันทร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2560

จีนปล่อยเรืออู่ยกพลขึ้นบก Type 071 LPD ลำที่ห้าลงน้ำ และพัฒนารถสะเทินน้ำสะเทินบกความเร็วสูง 4x4

China launches fifth LPD for PLAN



China's fifth Type 071 LPD was launched on 15 June at the Hudong-Zhonghua shipyard in Shanghai. Source: Via Hobby Shanghai - HSH
http://www.janes.com/article/71491/china-launches-fifth-lpd-for-plan

เรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น Type 071 LPD(Landing Platform Dock) หรือชั้น Yuzhao ลำที่ห้า ซึ่งเป็นลำใหม่ล่าสุดของกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People's Liberation Army Navy) ถูกปล่อยลงน้ำเมื่อวันที่ 15 มิถุนายนที่อู่ต่อเรือ Hudong-Zhonghua ใน Shanghai
การติดตั้งระบบของเรือและการทดลองเรือในทะเลของเรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น Type 071 ลำที่สร้างก่อนหน้านี้ใช้เวลา 12เดือน เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าเรือ Type 071 ลำใหม่ล่าสุดนี้น่าจะเข้าประจำการได้ในราวเดือนมิถุนายน 2018

เรืออู่ยกพลขึ้นบก Type 071 LPD มีความยาวตัวเรือ 210m และมีระวางขับน้ำมากกว่า 20,000tons มีโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ภายในเรือรองรับ ฮ.ขนาดกลางได้ 4เครื่องเช่นเฮลิคอปเตอร์ Harbin Z-8
Type 071 LPD มีอู่ลอย(Well Deck) รองรับยานเบาะอากาศชั้น Type 726(ชั้น Yuyi) LCAC(Landing Craft Air Cushion) ได้ 4ลำ สำหรับปฏิบัติการยกพลขึ้นบก Type 071 LPD น่าจะรองรับกำลังพลได้ระหว่าง 600-800นาย

เรือชั้น Type 071 ลำแรกคือ LPD-998 Kunlun Shan เข้าประจำการเมื่อปี 2007 ลำที่สอง LPD-999 Jinggang Shan เข้าประจำการปี 2011 ลำที่สาม LPD-989 Changbai Shan เข้าประจำการปี 2012 โดยเรือสามลำแรกนี้เข้าประจำการในกองเรือทะเลใต้ กองทัพเรือปลดปล่อยประชนจีน
หลังจากนั้นเป็นเวลาสีปี เรือลำที่สี่ของชั้นคือ LPD-988 Yimeng Shan ได้เข้าประจำการในกองเรือทะเลตะวันออกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2016 จึงคาดว่าเรือ Type 071 LPD ลำที่ห้านี้น่าจะเข้าประการในกองเรือทะเลตะวันออกเช่นกัน

เรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น Type 071 ทุกลำนั้นถูกต่อที่อู่ต่อเรือ Hudong-Zhonghua ซึ่งมีรายงานว่ากองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนมีแผนจะจัดหาเริอชั้นนี้รวม 6ลำ
และจากภาพถ่ายดาวเทียมล่าสุดแสดงถึงชิ้นส่วนของเรือ LPD จำนวนที่อู่ต่อเรือ เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าการประกอบตัวเรือของเรือชั้น Type 071 ลำที่หกน่าจะมีขึ้นในระเวลาอันใกล้นี้ครับ

China has developed the fastest 4x4 amphibious armoured vehicle in the world. 
The prototype of Chinese 4x4 amphibious armoured vehicle
The new Chinese-made 4x4 vehicle can reach a top speed of 50 km/h in the water
http://armyrecognition.com/june_2017_global_defense_security_news_industry/china_fastest_4x4_amphibious_armoured_vehicle_in_the_world_11706172.html

จีนได้พัฒนารถสะเทินน้ำสะเทินบก 4x4 ที่มีความเร็วขณะเคลื่อนที่ในน้ำสูงถึง 50km/h โดยรถสะเทินน้ำสะเทินบกต้นแบบสาธิตนี้ถูกพัฒนาโดยสถาบันวิจัยยานพาหนะเหนือจีน(China North Vehicle Research Institute) ใน Beijing ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Norinco(China North Industries Group Corporation) รัฐวิสาหกิจด้านอุตสาหกรรมความั่นคงของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน

รูปทรงของรถสะเทินน้ำสะเทินบก 4x4 จีนนี้มีรูปแบบเดียวกับยานเกราะล้อยางลำเลียงพล 4x4 สมัยใหม่ทุกแบบ โดยมีสถานีพลประจำรถที่ส่วนหน้าและส่วนบรรทุกทหารราบที่ด้านท้ายของรถ
รถที่ตัวถังด้านล่างแบบทรง V-Shaped ซึ่งช่วยป้องกันกำลังพลจากการถูกโจมตีด้วยทุ่นระเบิดได้ดีขึ้น มีเครื่องยนต์ใบพัด Pump Jet ขนาดกะทัดรัดติดกับล้อทั้งสี่เพื่อช่วยลดแรงต้านเมื่อเคลื่อนที่ในน้ำด้วยความเร็วสูงที่ทำได้ถึง 50km/h
ตัวรถที่ไม่มีเกราะป้องกันมีน้ำหนักที่ 5.5tons เมื่อเพิ่มเกราะป้องกันและสถานีป้อมอาวุธที่ด้านบนของตัวรถแล้วความเร็วขณะเคลื่อนที่ในน้ำจะลดลงเป็น 20-29km/h

การทดสอบรถต้นแบบสาธิตนี้เป็นการแสดงให้เห็นถึงสมรรถนะของรถสะเทินน้ำสะเทินบก 4x4ของจีนที่มีความเร็วเหนือกว่ารถในลักษณะเดียวกันของยุโรปหรือสหรัฐฯทั้งหมดที่มีขายอยู่ในตลาดอาวุธยุทโธปกรณ์ทั่วโลกในปัจจุบันนี้ครับ

วันอาทิตย์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2560

เครื่องบินขับไล่ Su-30MKM กองทัพอากาศมาเลเซียทดสอบทิ้งระเบิดนำวิถี Laser GBU-12

Malaysia adapts Russian-built jets to drop US-made bombs
MELBOURNE, Australia — Malaysia has adapted its Russian-built Sukhoi Su-30 multi-role combat aircraft to drop U.S. laser-guided bombs, with a successful release of a live weapon at the end of last year.
(Photo Credit: Mike Yeo/Staff)
http://www.defensenews.com/articles/malaysia-adapts-russian-build-jets-to-drop-us-made-bombs

https://malaysiamilitarypower.blogspot.com/2017/06/malaysian-su-30mkm-super-flankers.html


กองทัพอากาศมาเลเซีย(RMAF: Royal Malaysian Air Force, TUDM: Tentera Udara Diraja Malaysia) ได้ประสบความสำเร็จในการทดสอบการดัดแปลงเครื่อบินขับไล่ Sukhoi Su-30MKM รัสเซียให้สามารถทิ้งระเบิดนำวิถี Laser ตระกูล GBU สหรัฐฯได้
ตามภาพวิดีทัศน์ประชาสัมพันธ์ครอบรอบการก่อตั้งกองทัพอากาศมาเลเซียปีที่59 เมื่อ 2 มิถุนายน 2017 นั้น มีภาพเครื่องบินขับไล่ Su-30MKM ทำการทิ้งระเบิดนำวิถี Laser แบบ GBU-12 ขนาด 500lbs ซึ่งทดสอบเมื่อเดือนพฤษภาคม 2016 ที่สนามฝึกใช้อาวุธ Kota Belud ในรัฐ Sabah
อย่างไรก็ตามภายหลังชุดภาพเคลื่อนไหวในส่วนการทดสอบ Su-30MKM ทดสอบทิ้งระเบิด GBU-12 นั้นถูกลบออกไปจากวีดิทัศน์ที่ถูกเผยแพร่อย่างเป็นทางการ

ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่ากองทัพอากาศมาเลเซียใช้วิธีใดในการนำวิถี GBU-12 ระหว่างการทิ้งจากเครื่อง โดยเครื่องบินขับไล่ Su-30MKM ที่มาเลเซียจัดหาจากรัสเซีย 18เครื่องเป็นรุ่นได้รับการติดตั้งระบบอุปกรณ์จากตะวันตกหลายอย่าง
รวมถึงกระเปาะนำร่องและชี้เป้าแบบ Thales Damocles ฝรั่งเศสซึ่งถูกใช้ในการนำวิถีระบบอาวุธของรัสเซียที่ติดตั้งกับเครื่องทั้งระเบิดนำวิถี Laser ตระกูล KAB และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นนำวิถี Laser แบบ Kh-29TE
อีกแนวทางหนึ่งคือหน่วยรบพิเศษของกองทัพมาเลเซีย เช่น PASKAU(Pasukan Khas Udara) ของกองทัพอากาศมาเลเซียจะเป็นผู้ชี้เป้า Laser นำวิถีระเบิดนำวิถี GBU เข้าสู่เป้าหมาย

ในปี 2012 กองทัพอากาศมาเลเซียได้จัดหากระเปาะชี้เป้าแบบ AN/ASQ-228 ATFLIR(Advanced Targeting Forward-Looking Infrared)จาก Raytheon สหรัฐฯ 6ระบบเพื่อก่ารปรับปรุงขีดคสามสามารถของเครื่องบินขับไล่ Boeing F/A-18D Hornet ที่มี 8เครื่อง
ซึ่งกองทัพอากาศมาเลเซียได้เคยนำเครื่องบินขับไล่ F/A-18D ติดระเบิดนำวิถี Laser GBU-12 โจมตีทางอากาศต่อกลุ่มติดอาวุธ Sultanate of Sulu ที่เข้ามาก่อความไม่สงบยึดเมือง Lahad Datu ในรัฐ Sabah เมื่อปี 2013
โดยทั้งเครื่องบินขับไล่ Su-30MKM ทั้ง 18เครื่อง และเครื่องบินขับไล่ F/A-18D ทั้ง 8เครื่อง ต่างถูกใช้เป็นกำลังทางอากาศหลักของกองทัพอากาศมาเลเซียครับ

วันเสาร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ออสเตรเลียรับมอบเรือพิฆาตป้องกันภัยทางอากาศชั้น Hobart ลำแรก

Australian DoD receives first Hobart-class air warfare destroyer
The Australian DoD has provisionally accepted Hobart (seen here), the first of three AWDs on order for the RAN. (AWD Alliance)
http://www.janes.com/article/71494/australian-dod-receives-first-hobart-class-air-warfare-destroyer

กระทรวงกลาโหมออสเตรเลียได้ยอมรับมอบเป็นการชั่วคราวสำหรับเรือพิฆาตป้องกันภัยทางอากาศ(AWD: Air Warfare Destroyer) ติดระบบอำนวยการรบ Aegis ชั้น Hobart ลำแรกที่สั่งจัดหาสำหรับกองทัพเรือออสเตรเลีย(RAN: Royal Australian Navy)
เรือพิฆาต DDGH 39 HMAS Hobart ซึ่งได้ถูกสร้างและบูรณาการระบบโดยหุ้นส่วนพันธมิตรในโครงการ AWD ซึ่งประกอบไปด้วยกระทรวงกลาโหมออสเตรเลีย,  Raytheon Australia และ ASC ออสเตรเลีย ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก Navantia สเปน
ได้ส่งมอบเรือในพิธีรับมอบเรือซึ่งจัดขึ้นที่อู่ต่อเรือ Osborne ใน Adelaide เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน โดยในเดือนหน้าเรือพิฆาต HMAS Hobart จะเคลื่อนย้ายจาก Adelaideไปยัง Sydney ที่ซึ่งคาดว่าจะมัการทำพิธีขึ้นระวางประจำการโดยกองทัพเรือออสเตรเลียภายหลังในปีนี้

DDGH 39 HMAS Hobart มีความยาวตัวเรือ 146.7m มีระวางขับน้ำสูงสุด 6,350tons และมีความเร็วสูงสุด 28knots ถูกวางกระดูกงูเรือเมื่อเดือนกันยายน 2012 และถูกปล่อยลงน้ำเมื่อเดือนพฤษภาคม 2015
ในเดือนมีนาคม HMAS Hobart ได้เสร็จสิ้นการทดลองยอมรับเรือในทะเลเป็นเวลา 21วันที่ชายฝั่งห่างจาก South Australia ซึ่งรวมถึงการทดสอบระบบเรือประมาณ 20ระบบ และระบบการรบบนเรือประมาณ 45ระบบ
"การยอมรับเรือลำแรกของชั้นนี้เป็นการแสดงต่อไปของความสำเร็จของการริ่เริมปฏิรูปที่นำโดยรัฐบาล ด้วยโครงการที่ตรงตามงบประมาณและเป้าหมายกำหนดการ" รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมกลาโหมออสเตรเลีย Christopher Pyne กล่าวแถลง

รัฐมนตรีอุตสาหกรรมกลาโหมเสริมว่ายอมรับมอบเป็นการชั่วคราวของเรือพิฆาตชั้น Hobart แสดงถึง "บางส่วนของสำเร็จที่ซับซ้อนและมีนวัตกรรมอย่างที่สุดด้านวิศกรรมที่เคยมีมาที่เคยดำเนินงานในออสเตรเลีย"
เรือลำที่สองของชั้นคือ DDGH 41 HMAS Brisbane คาดว่าผู้สร้างเรือจะดำเนินการทดลองเรือในทะเลได้ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2017 โดยส่งมอบให้กองทัพเรือออสเตรเลียได้ตามกำหนดการในเดือนกันยายน 2018
และเรือลำที่สามของชั้นคือ DDGH 42 HMAS Sydney ที่กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างคาดว่าจะส่งมอบให้กองทัพเรือออสเตรเลียได้ในเดือนธันวาคม 2019 ครับ

วันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2560

เครื่องบินขับไล่ SAAB Gripen E สวีเดนทำการบินครั้งแรก





First flight success for Gripen E
Defence and security company Saab today completed a successful first flight of the next generation smart fighter, Gripen E. The media are invited to join an online press briefing later today and joining details are below.
http://saabgroup.com/Media/news-press/news/2017-06/first-flight-success-for-gripen-e/

Gripen E makes maiden flight
The Gripen E prototype aircraft 39-8 made its maiden flight on 15 June. Source: Saab
http://www.janes.com/article/71452/gripen-e-makes-maiden-flight

วันที่ 15 มิถุนายน เวลา 1032 บริษัท SAAB สวีเดนประสบความสำเร็จในการทำการบินครั้งแรกของเครื่องบินขับไล่ JAS-39E Gripen E ซึ่งทำการบินโดยนักบินทดสอบของ SAAB
เครื่องบินขับไล่ Gripen E (หมายเลข 39-8) ทำการบินจากสนามบินทดสอบของโรงงานอากาศยาน SAAB ใน Linköping ไปทางตะวันออกบินผ่านพื้นที่ Östergötland เป็นเวลา 40นาที
ระหว่างการบินเครื่องได้ดำเนินการกระทำหลายอย่างเพื่อเป็นการสาธิตการทดสอบที่สำหรับหลายรูปแบบ ที่รวมถึงการเก็บและกางฐานล้อลงจอด

"การบินเป็นไปตามที่คาดไว้ ซึ่งสมรรถนะของเครื่องตรงตามประสบการณ์ในการจำลองของเรา สมรรถนะของมันที่เพิ่งสูงขึ้นนเป็นที่น่าประทับใจด้วยการควบคุมที่นุ่มนวล คงไม่จำเป็นจะต้องพูดว่าผมมีความสุขอย่างมากที่ได้เป็นนักบินของเที่ยวบินแรกนี้" Marcus Wandt นักบินทดสอบของ SAAB กล่าว
"วันนี้เราได้ทำการบินเครื่องบินขับไล่ชั้นนำของโลกนี้เป็นครั้งแรก เราประสบความสำเร็จในการนำชุดคำสั่งคุณภาพสูงเต็มรูปแบบสำหรับการปฏิวัติระบบ Avionic นี่คือสิ่งที่จะมอบให้ลูกค้าของเราระบบเครื่องบินขับไล่อัจฉริยะพร้อมการออกแบบแห่งอนาคตจากจุดเริ่มต้น
กิจกรรมการบินทดสอบจะดำเนินต่อไปจากความสำเร็จที่ได้สร้างขึ้นมานี้ โดยโครงการจะติดตามไปจนสำเร็จในการส่งมอบเครื่องตามกำหนดการให้กองทัพอากาศสวีเดน และกองทัพอากาศบราซิล ในปี 2019" Jonas Hjelm รองประธานอาวุโสและหัวหน้าภาคธุรกิจภาคการบินของ SAAB กล่าว

การทำการบินครั้งแรกของ Gripen E หมายเลข 39-8 นี้ล่าช้ากว่ากำหนดเดิมในปลายปี 2016 ตามที่ SAAB ตัดสินใจที่จะให้การพัฒนาชุดคำสั่งทั้งหมดเสร็จสมบูรณ์ก่อนจะเริ่มขั้นตอนการบินทดสอบเพื่อลดความเสี่ยงของโครงการ
ซึ่งเครื่องหมายเลข 39-8 จะถูกใช้ในการทดสอบระบบควบคุมการบินทั่วไปเป็นหลัก ส่วนเครื่องต้นแบบเครื่องที่สองหมายเลข 39-9 จะถูกใช้ในการทดสอบระบบทางยุทธวิธี และเครื่องต้นแบบเครื่องที่สามหมายเลข 39-10 ที่เป็นเครื่องสุดท้ายจะถูกใช้เป็นเครื่องมาตรฐานสำหรับสายการผลิตจริง
เครื่องบินขับไล่ต้นแบบสาธิตสองที่นั่ง Gripen NG demonstrator (หมายเลข 39-7) ที่สร้างออกมาก่อนซึ่งช่วยลดความเสี่ยงที่สำคัญต่อโครงการ Gripen E โดยเครื่องจะถูกใช้ต่อไปในฐานะระบบทดสอบทั่วไปตลอดการบินทดสอบที่จะมีตามมา

SAAB ได้เน้นย้ำก่อนหน้านี้ว่า Gripen E ได้ถูกขยายให้เหนือกว่า Gripen C/D รุ่นก่อนเป็นหมวดหมู่ในด้าน ความอยู่รอด, ระบบตรวจับ, ระบบทั่วไป, การบบรรทุก, การสื่อสาร, สมรรถนะ, พิสัย, Avionic และการหลอมรวมส่วนติดต่อผู้ใช้/ระบบตรวจจับ
กองทัพอากาศสวีเดนจะได้รับเครื่องบินขับไล่ Gripen E ชุดแรกจาก 60เครื่องในปี 2019(อาจจะเพิ่มเป็น 70เครื่องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐบาลสวีเดนที่ตามมา) และการส่งมอบจะมีต่อเนื่องจนครบจำนวนที่สั่งจัดหาในปี 2026
กองทัพอากาศสวีเดนได้มีการเริ่มการพัฒนา ยุทธวิธี, เทคนิค และขั้นตอน(TTP: Tactics, Techniques and Procedures) ที่จะนำมาใช้กับ Gripen E แล้ว

จากการพูดต่อผู้สื่อข่าวที่ฝูงบินทดสอบการปฏิบัติการและประเมินค่า(OT&E: Operational Test and Evaluation) ที่มีที่ตั้งในฐานทัพอากาศ Malmen ทางใต้ของสวีเดน ของ นาวาตรี Johan Jeppsson ผู้อำนวยการปฏิบัติการของหน่วยเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมว่า
"เราเห็นว่ายุทธวิธีใหม่น่าจะเป็นสิ่งที่จำเป็น และเราจึงนำสิ่งเหล่านี้ให้ฝูงบินปฏิบัติการ เราส่งมอบองค์ความรู้ให้แก่ฝูงบิน, กองบัญชาการ และรวมถึงสำนักงานจัดหายุทธภัณฑ์กลาโหม(FMV)"
ตามที่ฝูงบิน OT&E ซึ่งเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบของระบบ และการร่าง TTP ขึ้นมา เครื่องบินขับไล่ Gripen E จะถูกนำไปใช้ประจำการในฝูงบินปฏิบัติการต่างๆครับ