วันเสาร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2560

กองทัพเรือไทยทำพิธีปลดประจำการเรือฟริเกต ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก


Decommissioning Ceremony of FFG-461 HTMS Phutthayotfa Chulalok (former FF-1095 USS Truett Knox-class frigate) in 28 September 2017
HTMS Phutthayotfa Chulalok to Decommissioned at last fiscal year 2017 in 30 September 2017  follow her sister FFG-462 HTMS Phutthaloetla Naphalai which was Decommissioned in 1 April 2015










ปฏิบัติการรบผิวน้ำ พิชิตน่าฟ้านภากาศ
พิฆาตใต้น้ำมหาสมุทร พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2560 ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้จัดพิธีทำบุญเนื่องในวาระก่อนปลดประจำการ หลังจากที่ได้อยู่คู่กับกองทัพเรือภายใต้ร่มธงราชนาวี เป็นระยะเวลายาวนานถึง 23 ปี และทำพิธีปลดระวางประจำการในวันที่ 28 กันยายน 2560

สำหรับประวัติความเป็นมาของ ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก นั้น กองทัพเรือไทยจัดหาเรือฟริเกตชั้น Knox มือสองจากกองทัพเรือสหรัฐฯ จำนวน 2 ลำ คือ 
ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก หรือเดิมคือ FF-1095 USS Truett ซึ่งเข้าประจำการเมื่อเดือนกรกฎาคม ปี พ.ศ.2537 และ ร.ล.พุทธเลิศหล้านภาลัย หรือเดิมคือ FF-1077 USS Ouellet ซึ่งเข้าประจำการเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ.2539 
ซึ่งเรือชุด ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทั้งสองลำนั้นเป็นเรือฟริเกตชั้น Knox รุ่นที่ติดตั้งระบบป้องกันตัวระยะประชิด CIWS แบบ Phalanx ขนาด 20mm ซึ่งเดิมทีนั้น กองทัพเรือมีความต้องการในการจัดหาเรือฟริเกตชั้น Knox จำนวน 4-6 ลำ ในช่วงก่อน ปี 2540 แต่ได้ปรับลดเหลือเพียง 2 ลำ 

โดยก่อนหน้านั้นกองทัพเรือต้องการจัดหาเรือพิฆาตชั้น Charles F. Adams มือสองจากสหรัฐฯ ซึ่งปลดประจำการในช่วงใกล้เคียงกัน เนื่องจากต้องการเรือที่มีแท่นยิง Mk13 สำหรับยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศแบบ RIM-66 Standard SM-1 
แต่ทางสหรัฐฯได้เสนอเรือฟริเกตชั้น Knox ซึ่งตัวเรือมีอายุการใช้งานน้อยกว่าให้กองทัพเรือแทน ทั้งนี้สหรัฐฯ ยังได้ปฏิเสธที่จะเสนอเรือฟริเกตชั้น Knox ที่เป็นรุ่นติดตั้งแท่นยิง Mk25 สำหรับ RIM-7 Sea Sparrow ด้วย

เหตุผลที่กองทัพเรือปลดประจำการ ร.ล.พุทธเลิศหล้านภาลัย ก่อน ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ก็เนื่องจากอายุการใช้งานตัวเรือโดยรวมที่มากกว่า 
เพราะเดิมนั้น FF-1077 USS Ouellet นั้นเข้าประจำการในกองทัพเรือสหรัฐฯช่วงปี 1970–1993 ซึ่งตัวเรือได้ผ่านการปรับปรุงตัวเรือใหม่มาระยะหนึ่ง ก่อนที่จะส่งมอบให้กองทัพเรือไทยประจำการเป็น ร.ล.พุทธเลิศหล้านภาลัย 
ขณะที่ FF-1095 USS Truett นั้นเข้าประจำการในกองทัพเรือสหรัฐฯช่วงปี 1974–1994 และส่งมอบให้กองทัพเรือไทยแบบ Hot Transfer ในปีเดียวกันที่ปลดคือ พ.ศ.2537

คุณสมบัติทั่วไป
ประเภทเรือ : FAST FRIGATE ,FF
หมายเลข : 461
วางกระดูกงู : 27 เม.ย. 2515
ปล่อยเรือลงน้ำ : 3 ก.พ. 2516
ขึ้นระวางประจำการที่สหรัฐฯ : 1 พ.ค. 2517
ขึ้นระวางประจำการที่ไทย : 30 ก.ค.2537
ผู้สร้าง : Avondale Shipyard, Bridge City, Louisiana สหรัฐอเมริกา
ระวางขับน้ำ : ปกติ ๓,๐๐๐ ตัน เต็มที่ ๔,๒๖๐ ตัน
ขนาด : ยาว ๑๓๓.๕ เมตร กว้าง ๑๔.๒ เมตร
กินน้ำลึก : หัวเรือ ๗.๘ เมตร ท้ายเรือ ๔.๖ เมตร
ความเร็ว : สูงสุด ๒๘ นอต มัธยัสถ์ ๑๕ นอต
รัศมีทำการที่ : ความเร็วสูงสุด ๓,๓๐๔ ไมล์ - ความเร็วมัธยัสถ์ ๕,๕๕๐ ไมล์
ลานจอดและโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ สำหรับ ฮ. Super Lynx 300 1 เครื่อง

ระบบตรวจการณ์
เรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ AN/SPS-10
เรดาร์ตรวจการณ์ทางอากาศ AN/SPS-40B
เรดาร์ควบคุมการยิง AN/SPG-53
เรดาร์เดินเรือ Marconi LN-66
โซนาร์หัวเรือ AN/SQS-26CX
โซนาร์ชักหย่อน AN/SQS-35 (V)
โซนาร์ลากท้าย AN/SQR-18A (V) 1
ระบบ ESM AN/SLQ-32 (V) 2

ระบบอาวุธ
ปืนใหญ่เรือ Mk 42 ขนาด 5"/54 จำนวน ๑ กระบอก
ปืนกลขนาด .50 จำนวน ๔ กระบอก
ระบบป้องกันตัวระยะประชิด (CIWS) ๑ ระบบ
ระบบ ASROC ใช้ยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้น สู่ พื้น ฮาร์พูน ๔ ท่อยิง
ระบบ ASROC ใช้ยิง จรวดปราบเรือดำน้ำ ได้ ๔ ท่อยิง
แท่นยิง TORPEDO MK.32 ใช้ยิงTORPEDO MK.44 TORPEDO MK.46
แท่นยิงเป้าลวง Mk.137 2 แท่น แท่นละ 6 ท่อยิง
เป้าลวงตอร์ปิโด AN/SLQ-25 1
ชุดระบบยิงเป้าลวง Mk.36 SRBOC

ตราประจำเรือ
ประกอบด้วย รูปเรืออยู่ภายใต้เลข ๑ ที่หมายถึงองค์รัชกาลที่ ๑ ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ภายใต้เรือมีรัศมีครึ่งวงกลมหมายถึงขีดความสามารถในการปราบเรือดำน้ำด้วยโซนาร์ที่มีประสิทธิภาพสูงร่วมกับเฮลิคอปเตอร์ประจำเรือ 
ทั้งหมดอยู่ในเกลียวเชือกอันหมายถึงความสามัคคีกลมเกลียวของกำลังพลประจำเรือ โดยอยู่ภายใต้พระมหามงกุฏแสดงถึงความพร้อมในการปกป้องรักษาอธิปไตย และองค์พระมหากษัตริย์ไทย
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1338591096262802&set=p.1338591096262802
https://www.facebook.com/palmphattanan/posts/738976412975770
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1338591096262802&set=p.1338591096262802
https://th-th.facebook.com/เรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก-168872353155220/

สำหรับเรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งเป็นเรือฟริเกตชั้น Knox ลำแรกของชุดที่เข้าประจำการในกองเรือไทยมาตั้งแต่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๗(1994) ซึ่งเดิมคือเรือฟริเกต FFG-1095 USS Truett กองทัพเรือสหรัฐฯที่ส่งมอบในรูปแบบ Hot Transfer นั้น
ล่าสุดวันที่ ๒๘ กันยายน ที่ผ่านมา ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้มีการทำพิธีปลดประจำการเรือแล้วตามแผนที่วางไว้ว่าจะปลดในช่วงสิ้นสุดปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐ คือ ๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๐(2017) ตามเรือหลวงพุทธเลิศหล้านภาลัยที่ปลดประจำการไปก่อนเมื่อ ๑ เมษายน ๒๕๕๘(2015)(http://aagth1.blogspot.com/2015/04/blog-post_17.html)
ตามที่มีข้อมูลกองทัพเรือมีแผนนำ ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และ ร.ล.พุทธเลิศหล้านภาลัย ไปจอดบนบกเพื่อจัดทำเป็นเรือพิพิธภัณฑ์เช่นเดียวกับเรือที่เคยประจำการในกองทัพเรือหลายลำที่ปลดประจำการไปก่อนหน้านี้

ถ้านับอายุราชการในกองทัพเรือไทยแล้ว ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จะประจำการมาได้ ๒๓ปี แต่ถ้านับอายุการใช้งานตัวเรือตั้งแต่เข้าประจำการในกองทัพเรือสหรัฐฯเมื่อ ๑ มิถุนายน ๒๕๑๗(1974) เรือจะมีอายุการใช้งานถึง ๔๓ปี ซึ่งเก่าและมีระบบอาวุธและอุปกรณ์ที่ล้าสมัยแล้วในปัจจุบัน
โดยตามกำหนดในปี พ.ศ.๒๕๖๑(2018) กองทัพเรือไทยจะได้รับมอบเรือฟริเกตสมรรถนะสูงลำแรกคือ ร.ล.ท่าจีน(ลำที่๓) ที่กำลังอยู่ระหว่างการติดตั้งระบบเพิ่มเติมที่อู่เรือบริษัท Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering(DSME) สาธาณรัฐเกาหลี 
และมีแผนสร้างเรือฟริเกตชุด ร.ล.ท่าจีน อีก ๑ลำภายในไทยโดยการถ่ายทอด Technology แบบเรือฟริเกต DW3000F จาก DSME เกาหลีใต้ เป็นการทดแทนในส่วน กองเรือฟริเกตที่๑ ครับ

วันศุกร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2560

ภาพ Oplot-T ที่ยูเครนล่าสุด-๑๗



Oleg Lyshko Ukrainian politician and journalist visited Malyshev plant at Kharkiv Ukraine in 27 September 2017
Photos and Videos showed Production line and Transport of Oplot-T Main Battle Tanks that probably for Royal Thai Army
https://andrei-bt.livejournal.com/610142.html



Oleg Lyashko นักการเมืองและนักข่าวยูเครนได้เยี่ยมชมโรงงาน Malyshev ที่ Kharkiv ยูเครนเมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ที่ผ่านมานั้น
นอกจาการปรับปรุงรถถังหลัก T-64BM Bulat, T-84 Object 478DU9 และ T-84 Oplot-M ต้นแบบสำหรับกองทัพยูเครนเองแล้ว
ในชุดภาพวีดิทัศน์ยังแสดงสายการผลิต การทดสอบ และการเตรียมขนส่งรถถังหลัก Oplot-T ซึ่งน่าจะเป็นของกองทัพบกไทยด้วย

สายการผลิตในโรงงาน Malyshev จะเห็นรถถังหลัก Oplot-T ที่ประกอบเกือบเสร็จสมบูรณ์แล้วอย่างน้อย ๑คัน, ส่วนตัวรถแคร่ฐาน ๒-๓คัน และป้อมปืนมากกว่า ๒-๓ป้อม
นาย Oleg Lyashko ยังได้ขึ้นนั่งรถถังหลัก Oplot-T ๑คันที่สร้างเสร็จแล้วทำการขับเคลื่อนสาธิตสมรรนะการเคลื่อนที่
รวมถึงภาพของรถถังหลัก Oplot-T อย่างน้อย ๓คันที่เสร็จสมบูรณ์และท่าสีพราง Digital ถูกบรรทุกเตรียมเคลื่อนย้ายบนรถไฟด้วย

กองทัพบกไทยได้สั่งจัดหารถถังหลัก Oplot-T จำนวน ๔๙คัน วงเงิน ๗,๒๐๐ล้านบาท($240 million) จาก Ukroboronprom รัฐวิสาหกิจด้านการจัดการอุตสาหกรรมความมั่นคงยูเครน ในปี พ.ศ.๒๕๕๔(2011)
แต่ผลจากการที่รัสเซียผนวก Crimea และสนับสนุนกลุ่มติดอาวุธในภาค Donbass ทำสงครามกับกองกำลังความมั่นคงรัฐบาลยูเครน ทำให้ยูเครนได้ส่งมอบรถถังหลัก Oplot-T เข้าประจำการใน กองพันทหารม้าที่๒ กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ ขณะนี้ ๒๐-๒๕คันเท่านั้น
จึงเป็นที่ชัดเจนว่ารถถังหลัก Oplot อีกราว ๒๔-๒๙คันที่ยูเครนจำเป็นต้องส่งมอบให้กองทัพบกไทยเพื่อให้ครบตามสัญญาที่ล่าช้ามากนั้น จะยังไม่เสร็จสิ้นได้ภายในก่อนสิ้นปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017) นี้ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2560

ช.ทวี ทำพิธีปล่อยชิ้นส่วนเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ร.ล.ตรัง กองทัพเรือไทย


Transporting Mast Block Ceremony of under construction OPV-552 HTMS Trang Royal Thai Navy second Krabi class Offshore Patrol Vessel from CHO Thavee PLC. Khon Kaen to Mahidol Adulyadej Naval Dockyard Sattahip Chonburi, 26 September 2017

พิธีปล่อยชิ้นส่วนเรือ จาก ขอนแก่น สู่ สัตหีบ
บมจ.ช ทวี ได้รับเกียรติ จากท่านผู้ว่าราชการขอนแก่น ท่านพงษ์ศักดิ์ ปรีชาวิทย์ เพื่อเป็นประธานในพิธีปล่อยชิ่้นส่วนเรือ "เรือหลวงตรัง" (OPV552) ที่มีการประกอบชิ้นส่วนบนสุดของเรือ ที่โรงงานจังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2560 ที่ผ่านมา 
โดยมีแขกผู้เกียรติร่วมแสดงความยินดี ที่ ช ทวี และจังหวัดขอนแก่นสามารถสร้าง ประกอบชิ้นส่วนเรือขนาดใหญ่ได้ ที่ขอนแก่น โดยชิ้นส่วนเรือหลวงดังกล่าว จะได้มีการขนย้ายไปประกอบเป็นลำเรือ ที่ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลเดช อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ต่อไป
https://www.facebook.com/chothavee/posts/1525598900819836

โครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงกระบี่ลำที่๒ เรือหลวงตรังนั้นเป็นโครงการสร้างเรือรบเองในประเทศไทยโดยมีความร่วมมือระหว่างบริษัทอู่กรุงเทพ(Bangkok Dock) รัฐวิสาหกิจในความควบคุมของกองทัพเรือไทยและภาคอุตสาหกรรมเอกชนไทยอีกหลายส่วน
หนึ่งในความก้าวหน้าของการดำเนินการโครงการนี้การที่ บริษัท ช.ทวี จำกัด มหาชน(CHO Thavee PLC.) ได้ประกอบชิ้นส่วนบนสุดของ ร.ล.ตรัง ที่โรงงานในขอนแก่น และมีการขนส่งมาดำเนินประกอบตัวเรือที่อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ ฐานทัพเรือสัตหีบ

วิธีการกระจายงานให้บริษัทผลิตชิ้นส่วนตัวเรือเป็นชิ้น Block ย่อย แล้วขนส่งนำมาประกอบด้วยกันจนตัวเรือเสร็จสมบูรณ์นั้น ถือว่าเป็นรูปแบบการดำเนินแบบใหม่ที่จะลดระยะเวลาในการดำเนิน และกระจายความเสี่ยงไม่ให้งานกองในจุดเดียวกันมาเกินไปด้วย
ซึ่งวิธีการสร้างเรือแบบนี้มีการปฏิบัติมาได้เป็นระยะเวลาหลายสิบปีแล้วในภาคส่วนอุตสาหกรรมทางเรือชั้นนำในต่างประเทศ เช่นที่ยุโรป อย่างรายงานการสร้างเรือฟริเกตชั้น F125 ของเยอรมนีครับ(http://aagth1.blogspot.com/2017/05/f125-f225-rheinland-pfalz.html)

Rheinmetall เยอรมนีจะปรับปรุงมาตรฐานรถถังหลัก Leopard 2A7V 104คัน

Major order for Rheinmetall
104 German Leopard 2 MBTs to be modernized
https://www.rheinmetall-defence.com/en/rheinmetall_defence/public_relations/news/latest_news/index_14912.php

Leopard 2A7V Main Battle Tank at Eurosatory 2016 Exhibition in Paris France.
https://fighting-vehicles.com/leopard-2a7v-tank

บริษัท Rheinmetall เยอรมนีจะดำเนินการปรับปรุงรถถังหลัก Leopard 2 ที่ประจำการในกองทัพเยอรมนี(Bundeswehr) ซึ่งเป็นมาตรฐานการปรับปรุงที่ครอบคลุมอย่างครบทุกส่วน
รถถังหลัก Leopard 2 รุ่นต่างๆของกองทัพบกเยอรมนี(Heer) จำนวน 104คันจะได้รับการปรับปรุงเป็นมาตรฐานรถถังหลัก Leopard 2A7V วงเงินรวม 118 million Euros

กลุ่มอุตสาหกรรมด้านยานยนต์และความมั่นคงซึ่งมีที่ตั้งใน Düsseldorf นี้จะรับผิดชอบส่วนสำคัญของโครงการปรับปรุงสมรรถนะการรบที่จะทำให้ ถ.หลัก Leopard 2 104คันมีสถานะเป็นระบบที่ออกแบบให้ล้ำสมัย
รถถังหลักรุ่นมาตรฐาน Leopard 2A7V คันแรกที่ได้รับการปรับปรุงเสร็จแล้วจะเริ่มการส่งมอบให้กองทัพบกเยอรมนีได้ในปี 2020 การสั่งจัดหาเป็นการเน้นย้ำอีกครั้งของ Rheinmetall ในฐานะผู้นำการออกแบบระบบอาวุธหลักและระบบชิ้นส่วน Electronic สำหรับรถรบสมัยใหม่

โดย Rheinmetall จะดำเนินการปรับปรุงรถถังหลัก Leopard 2A4 68คัน, Leopard 2A6 16คัน(เดิมประจำการในกองทัพบกเนเธอร์แลนด์ภายหลังปลดประจำการและส่งกลับเยอรมนี) และ Leopard 2A7 20คัน ให้เป็นมาตรฐาน Leopard 2A7V
ในขั้นตอนนี้ผู้เชี่ยวชาญของ Rheinmetall จะโละทิ้งคุณสมบัติที่ล้าสมัยในระบบ Computer ควบคุมการยิง และแผงควบคุม เช่นเดียวกับการติดตั้ง Laser วัดระยะใหม่ และกล้องสร้างภาพความร้อนใหม่

นอกจากนี้ Rheinmetall จะทำการติดตั้งปืนใหญ่รถถัง L55A1 120mm แทน ปถ.เดิม L44 120mm สำหรับ ถ.หลัก Leopard 2A4 68คันที่จะได้รับการปรับปรุง
ถ.หลัก Leopard 2A7V ทั้ง 104คันจะมีความสามารถในการยิงกระสุนเจาะเกราะพลังงานจลน์ KE2020 รุ่นใหม่ล่าสุดซึ่งมีแรงดันสูงขึ้น รวมถึงกระสุนระเบิดแรงสูงแตกอากาศ(HE ABM: High Explosive Air Bursting Munition)เอนกประสงค์ที่ตั้งค่าได้แบบ DM11 ของ Rheinmetall ด้วย

Leopard 2A7V เป็นรถถังหลักรุ่นล่าสุดของเยอรมนีในตระกูล Leoprad 2 ซึ่งเปิดตัวครั้งแรกในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Eurosatory 2016 ที่ Paris ฝรั่งเศส เมื่อเดือนมิถุนายน 2016
Leopard 2A7V ติดตั้งเกราะ Modular รุ่นใหม่ล่าสุดในส่วนแผ่นเกราะด้านบนของตัวถังรถ และยังติดตั้งระบบแหล่งกำเนิดพลังงานเสริม(APU: Auxiliary Power Unit) ใหม่ซึ่งมีกำลังสูงกว่าที่ใช้กับ Leopard 2A7 ครับ

วันพุธที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2560

เยอรมนีและนอร์เวย์จัดหาเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ Airbus A330 MRTT สำหรับ NATO


Germany and Norway place firm order for fleet of five NATO-owned Airbus A330 MRTT tankers
Madrid, 25 September 2017 – Airbus Defence and Space has received a firm order for five Airbus A330 MRTT Multi Role Tanker Transports from Europe’s organisation for the management of cooperative armament programmes – OCCAR – on behalf of NATO Support & Procurement Agency (NSPA) and funded by Germany and Norway.
http://www.airbus.com/newsroom/press-releases/en/2017/09/Germany-and-Norwa-place-firm-order.html
https://www.defensie.nl/

บริษัท Airbus Defence and Space ได้รับสัญญาการจัดหาเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ Airbus A330 MRTT(Multi Role Tanker Transport) จำนวน 5เครื่อง
จากฝ่ายบริหารจัดการความร่วมมือโครงการจัดหายุทโธปกรณ์ OCCAR ในนามของสำนักงานสนับสนุนและจัดซื้อจัดจ้างของ NATO และได้รับงบประมาณโดยเยอรมนีและนอร์เวย์

สัญญานี้มีขึ้นตามการประกาศบันทึกความเข้าใจ(Memorandum of Understanding) เมื่อ 29 มิถุนายนที่ผ่านมาในการจัดหาเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศร่วมของกลุ่มชาติสมาชิก NATO
ซึ่งเยอรมนีและนอร์เวย์ทั้งสองชาติจะเข้าร่วมในโครงการ European/NATO Multinational Multi-Role Tanker Transport Fleet(MMF) ร่วมกับเนเธอร์แลนด์และลักเซมเบิร์ก

การแก้ไขสัญญาที่ลงนามที่สำนักงานใหญ่ OCCAR ใน Bonn เยอรมนี เมื่อ 25 กันยายนที่ผ่านมา ได้เพิ่มการจัดหาเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ Airbus A330 MRTT อีก 5เครื่อง จากที่ก่อนหน้าเนเธอร์แลนด์และลักเซมเบิร์กได้สั่งจัดหาแล้ว 2เครื่อง
และได้รวมทางเลือกในการจัดหา A330 MRTT เพิ่มเติมอีก 4เครื่อง สำหรับชาติสมาชิก NATO อื่นที่อาจจะเข้าร่วมโครงการ MMF ในอนาคต ซึ่งรวมการสนับสนุนขั้นต้น 2ปีด้วย

โครงการจัดหาเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศร่วม NATO MFF ได้รับวงเงินจากสี่ชาติสมาชิก NATO ผู้ซึ่งจะได้รับสิทธิพิเศษในการปฏิบัติงานอากาศยานของ NATO ในการจัดการ่วมกัน
อากาศยานจะได้รับการปรับแต่งสำหรับการเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ, การขนส่งผู้โดยสารและสัมภาระ และการบินส่งกลับทางสายแพทย์

เครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ A330 MRTT 2เครื่องแรกที่สั่งจัดหาจะถูกส่งมอบโดยสายการเปลี่ยนแบบอากาศยานของ Airbus Defence and Space ใน Getafe ใกล้ Madrid สเปน
และ Airbus A330 MRTT ทั้ง 7เครื่องคาดว่าจะถูกส่งมอบได้ในช่วงระหว่างปี 2020-2022

"คำสั่งจัดหาใหม่เพิ่มเติมนี้ได้แสดงให้เห็นว่า A330 MRTT ได้อยู่ในฐานะเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศและขนส่งชั้นนำของโลกเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างความั่นคงให้กับโครงการ MMF ในฐานะโครงการความร่วมมือที่สำคัญที่สุดของยุโรป
และยังเป็นแบบอย่างสำหรับโครงการกลาโหมของยุโรปในอนาคตซึ่งคาดว่าจะเริ่มในอีกหลายปีข้างหน้า" Fernando Alonso หัวหน้าแผนกอากาศยานทางทหารของ Airbus Defence and Space กล่าวครับ

วันอังคารที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2560

ลาวแสดงความสนใจจะจัดหาอาวุธปืนจาก PT Pindad อินโดนีเซีย

Laos shows interest to buy small weapons from PT Pindad of Indonesia
Indonesian-made PT Pindad G2 elite pistol

Indonesian-made PT Pindad SPR 2 sniper rifle
https://www.armyrecognition.com/september_2017_global_defense_security_news_industry/laos_show_interest_to_buy_small_weapons_from_pt_pindad_of_indonesia.html



กระทรวงป้องกันประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวแสดงความสนใจที่จะจัดซื้ออาวุธปืนจาก PT Pindad รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมความมั่นคงของรัฐบาลอินโดนีเซีย
ประกอบด้วยปืนพก G2 Elite ขนาด 9mm และปืนซุ่มยิง SPR 2 ขนาด 12.7mm พร้อมกระสุน ตามที่ Ridi Djajakusuma รองประธานเพื่อการส่งออกของบริษัท Pindad อินโดนีเซียกล่าว

"อีกครั้งที่เราได้แนะนำและประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ของ PT Pindad แก่กระทรวงป้องกันประเทศลาว เราได้รับความสนใจในการจัดหาซื้ออาวุธแบบอื่นจาก Pindad เช่น ปืนเล็กสั้น และกระสุน
การเข้าพบของเรากับกระทรวงป้องกันประเทศลาวเมื่อวันที่ 21 กันยายน พวกเขาได้แสดงความสนใจในการจัดซื้อปืนพก G2 Elite, ปืนซุ่มยิง SPR 2 และกระสุนจาก Pindad" Djajakusuma กล่าวเมื่อเร็วๆนั้น

โดยในปี 2014 กระทรวงป้องกันประเทศลาวได้มีการจัดหาอาวุธปืนและอุปกรณ์อื่นๆพร้อมกระสุนจาก PT Pindad มาแล้ว
ประกอบด้วย ปืนพก G2 Combat 9mm จำนวน 60กระบอก, ปืนเล็กสั้น SS1-V2 ขนาด 5.56x45mm 35กระบอก และ ปืนเล็กยาวซุ่มยิง SS1-V4 ขนาด 5.56x45mm 35กระบอก

ปืนพก Pindad G2 เป็นปืนพกกึ่งอัตโนมัติระบบ Single-Action ขนาด 9x19mm Parabellum ความจุซองกระสุนที่ด้ามปืน 15นัด น้ำหนักปืนเปล่าประมาณ 950g
ปืนพก G2 Elite เป็นรุ่นความยาวลำกล้อง 127mm และปืนพก G2 Combat เป็นรุ่นความยาวลำกล้อง 114mm

ปืนซุ่มยิง Pindad SPR 2 เป็นปืนเล็กยาวซุ่มยิงหนักต่อต้านอมภัณฑ์(Anti-Materiel Rifle) ขนาด .50BMG(12.7x99mm) ความจุซองกระสุน 5นัด
เป็นหนึ่งในตระกูลปืนเล็กยาวซุ่มยิงระบบลูกเลื่อน Pindad SPR ร่วมกับปืนซุ่มยิง SPR 1 ขนาด 7.62x51mm ความจุ 1นัด และปืนซุ่มยิง SPR 3 7.62mm ความจุซองกระสุน 10นัด

รายงานยังระบุว่าความคืบหน้าของสัญญาการจัดหาอาวุธปืนและกระสุนครั้งใหม่นี้น่าจะมีความคืบหน้าได้ในการเจรจาระหว่างลาวและอินโดนีเซีย
ซึ่งนายกรัฐมนตรีลาวคาดว่าจะมีการเยี่ยมชมบริษัท PT Pindad ระหว่างการเยือนประเทศอินโดนีเซียในเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้ครับ

วันจันทร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2560

แผนปรับปรุงรถถังหลัก T-80BVM และ T-90M รัสเซียสร้างความเสี่ยงต่อโครงการ Armata

Russian plans to upgrade T-80 and T-90 jeopardise Armata programme
Russian plans to upgrade the T-80 and T-90 could jeopardise the Armata programme, which includes the T-14 MBT (artist's impression). Source: Russian MoD
http://www.janes.com/article/74263/russian-plans-to-upgrade-t-80-and-t-90-jeopardise-armata-programme

กระทรวงกลาโหมรัสเซียประกาศเมื่อวันที่ 7 กันยายนยนที่ผ่านมาว่าได้มีการปรับปรุงแผนใหม่ในการกำจัดยานเกราะ 10,000คันออกจากคลังอาวุธอย่างถาวร และปรับปรุงรถถังหลักตระกูล T-80 และ T-90 ที่อาจส่งผลด้านความเสี่ยงของอนาคตของโครงการ Armata
การประกาศนี้มีพร้อมกับการลดจำนวนการสั่งซื้อที่เป็นไปได้สำหรับรถถังหลัก T-14 Armata และการลดค่าใช้จ่ายกลาโหมของรัสเซียลงอย่างต่อเนื่องนี้ทำให้แหล่งข่าวบางแห่งอ้างว่าโครงการ Armata ได้ถูกยกเลิกแล้ว

ภายใต้แผนก่อนหน้ายานเกราะที่สำรองไว้ 10,000คัน ที่ถูกนำกลับมาใช้ใหม่ได้หลังการลดขนาดของกองทัพรัสเซียจะเริ่มถูกกำจัดทิ้งภายในปี 2020 แผนที่ปรับปรุงใหม่ระบุว่าจะมียานเกราะเพียง 4,000คันที่ถูกนำไปกำจัดทิ้ง โดยยังคงเก็บอีก 6,000คันเพื่อการสำรองทางยุทธศาสตร์
รัสเซียยังมีแผนปรับปรุงรถถังหลัก T-80 และ T-90 เป็นมาตรฐานรุ่น T-80BVM และ T-90M ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งสัญญาวงเงิน $417 million ที่ลงนามไปก่อนหน้าในปีนี้ตามที่ได้รายงานไป(http://aagth1.blogspot.com/2017/09/t-90m-t-80bvm-bmpt-72-terminator2.html)

โดยแบบแผนการปรับปรุงรถถังหลัก T-80BVM ได้ร่วมการปรับปรุงเกราะแบบใหม่โดยเฉพาะ รวมถึงกล้องเล็งและระบบควบคุมการยิงใหม่ และการปรับปรุงเครื่องยนต์ Gas Turbine
และแบบแผนการปรับปรุงรถถังหลัก T-90M มีการนำระบบที่พัฒนามาสำหรับรถถังหลัก T-14 มาใช้หลายส่วน เช่น กล้องผู้บังคับการรถ รวมกับการบูรณาการป้อมปืน Remote Weapon Station และระบบป้องกันเชิงรุก(APS: Active Protection System)

การจัดตั้งการพัฒนาโครงการ Armata นั้นถูกเริ่มต้นด้วยความหวังสูง แต่การการประมาณจำนวนของรถที่จะถูกจัดหาได้ลงลงต่ำไปเรื่อยๆนับตั้งแต่ที่รถถังหลัก T-14 และรถรบทหาราบ T-15 เปิดตัวครั้งแรกในวันสวนสนามประกาศชัยสงครามโลกครั้งที่สองปี 2015
ซึ่งในปี 2015 นาย Oleg Sienko ผู้อำนวยการบริหาร UralVagonZavod(UVZ) ผู้พัฒนาและผลิตรถถังหลักของรัสเซียประกาศว่าจะผลิตรถถังหลัก T-14 Armata รวมถึงรถเกราะในตระกูลได้ 2,300คันในปี 2020

ต่อมาในปี 2016 รองรัฐมนตรีกลาโหมรัสเซีย Yuri Borisov ประกาศว่าจะมีการผลิตรถถังหลัก T-14 Armata 100คันก่อนปี 2020 และหลังจากนั้นจำนวนลงลงเป็นเพียง 70 เมื่อถึงกำหนดในสิ้นปี 2019
ล่าสุดรองรัฐมนตรีกลาโหม Borisov ประกาศเมื่อเดือนสิงหาคม 2017 ว่าได้ปรับจำนวนรถที่จะมีการผลิตเป็น 100คันภายในปี 2020 แม้ว่าน่าจะรวมรถประมาณ 20คันที่กำลังทำการทดสอบในกองทัพรัสเซียแล้วก็ตามครับ

วันอาทิตย์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2560

สหรัฐฯปลดประจำการเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวน OH-58D Kiowa Warrior เครื่องสุดท้าย

US Army retires final Kiowa Warrior
The final Kiowa Warrior flight took place on 19 September from Felker Army Airfield in Virginia. (US Air Force)
http://www.janes.com/article/74277/us-army-retires-final-kiowa-warrior

กองทัพบกสหรัฐฯ(US Army)ได้ทำการบินเที่ยวสุดท้ายของเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธ Bell OH-58D Kiowa Warrior นำไปสู่การสิ้นสุดของขั้นตอนการปลดประจำการอากาศยานรุ่นนี้ที่ใช้เวลา 3ปีครึ่ง
การบินเที่ยวสุดท้ายมีขึ้นในวันที่ 19 กันยายน จากสนามบินกองทัพบก Felker ที่ฐานทัพร่วม Langley-Eustis ในมลรัฐ Virginia
เป็นเวลา 40เดือนหลังจาก ฮ.Kiowa Warrior เครื่องแรกปลดประจำการในเดือนพฤษภาคม 2014 ตามแผนปรับโครงสร้างหน่วยการบิน(ARI: Aviation Restructure Initiative) ของกองทัพบกสหรัฐฯ

นับจากครั้งแรกที่เฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวน OH-58A ถูกนำเข้าประจำการในช่วงสงครามเวียดนาม ฮ.ตระกูล Kiowa ได้ถูกใช้งานในฐานะระบบอากาศยานสอดแนมและลาดตระเวนหลักของกองทัพบกสหรัฐฯมาตลอดเกือบ 50ปี
โดยที่โครงสร้างอากาศยานเครื่องชุดแรกนั้นย้อนไปถึงปี 1960s กองทัพบกสหรัฐฯได้พยายามที่จะจัดหาอากาศยานแบบใหม่ทดแทน ฮ.Kiowa มาตั้งแต่ต้นปี 1980s แต่จบลงด้วยประสบการณ์ที่เจ็บปวดยืดเยื้อที่ได้เห็นการถูกยกเลิกไปสี่โครงการ
นับตั้งแต่โครงการเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนโจมตี Boeing-Sikorsky RAH-66 Comanche, เฮลิคอปเตอร์โจมตีลาดตระเวน Bell ARH-70 Arapaho, โครงการ Armed Aerial Scout(AAS) และล่าสุดโครงการปรับปรุง OH-58F

การตัดสินใจยกเลิกขั้นตอนในแต่โครงการส่วนใหญ่เป็นเรื่องงบประมาณ และมีการเรียกเก็บคืนงบประมาณในปี 2013 ที่นั่นเป็นเสียงมรณะสุดท้ายสำหรับแผนเฮลิคอปเตอร์สอดแนมของกองทัพบกสหรัฐฯ
ด้วยการโยนทิ้งความพยายามสุดท้ายในการเปลี่ยนแบบไปเป็นเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวน OH-58F กองทัพบกสหรัฐฯตัดสินใจที่จะทดแทนภารกิจลาดตระเวนสอดแนมด้วยระบบ Manned/Unmanned Teaming(MUM-T)
ซึ่ง MUT-T เป็นชุดการผสานการทำงานร่วมกันระหว่างอากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle) และเฮลิคอปเตอร์โจมตี Boeing AH-64E Apache Guardian

นอกจากกองทัพบกสหรัฐฯ, กองทัพอากาศแคนาดา(Royal Canadian Air Force) และกองทัพบกออสเตรเลีย(Australian Army) ที่ปลดประจำการแล้ว ยังมีหลายประเทศที่ยังคงใช้งาน ฮ.ลาดตระเวนตระกูล Kiowa อยู่
เช่น กองทัพอากาศออสเตรีย(Austrian Air Force), กองทัพบกไต้หวัน( Republic of China Army), กองทัพบกตุรกี(Turkish Land Forces), กองทัพบกซาอุดิอาระเบีย(Royal Saudi Land Forces), กองทัพอากาศโดมินิกัน(Dominican Air Force)
ทั้งนี้สหรัฐฯได้ขาย ฮ.OH-58D ส่วนเกินที่ปลดไปในรูปแบบ Excess Defense Article และ Foreign Military Sale ให้กับกองทัพอากาศโครเอเชีย(Croatian Air Force) 16เครื่อง ส่งมอบชุดแรกในปี 2016, กองทัพอากาศตูนิเซีย(Tunisian Air Force) 24เครื่องได้รับมอบชุดแรกในปี 2017 ครับ

วันเสาร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2560

กองทัพเรือสหรัฐฯลงนามสัญญาเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธ SSBN ชั้น Columbia

US Navy, General Dynamics Electric Boat ink USD5.1 billion SSBN deal
Twelve next-generation SSBNs (shown in an artist's rendering) are to enter service in the 2030s and operate into the 2080s. Source: General Dynamics Electric Boat
http://www.janes.com/article/74311/us-navy-general-dynamics-electric-boat-ink-usd5-1-billion-ssbn-deal

วันที่ 21 กันยายนที่ผ่านมา บริษัท General Dynamics Electric Boat(GDEB) ได้รับการสัญญาวงเงิน $5.1 billion โดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ(Pentagon) เพื่อเสร็จสิ้นการออกแบบสำหรับเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธ(SSBN: ballistic missile submarine) ชั้น Columbia ลำแรก
เรือดำน้ำนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธชั้น Columbia ใหม่ 12ลำจะถูกนำมาเป็นอาวุธขั้นสุดท้ายตามแผนเพื่อทดแทนเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธชั้น Ohio 14ลำที่มีอายุการใช้งานมานานของกองทัพเรือสหรัฐฯ(US Navy)
โดยเรือดำน้ำนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธชั้น Ohio จะถูกเริ่มปลดประจำการในปี 2029 โดยเรือลำสุดท้ายของชั้นมีกำหนดปลดประจำการในปี 2039

กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯอธิบายข้อตกลงกับ GDEB ในฐานะ "ค่าธรรมเนียมแรงจูงใจค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมกับสัญญาจูงใจพิเศษ" สำหรับการออกแบบบูรณาการการผลิตและขั้นตอนการพัฒนา(IPPD: Integrated Product and Process Development) ของเรือชั้น Columbia
"สัญญายังรวมถึงส่วนประกอบและการพัฒนา Technology, ส่วนท่อยิงอาวุธปล่อยนำวิถี, การทำต้นแบบผนังกั้นห้องเตาปฏิกรณ์, และการดำเนินการผลิต
และชุดการผลิตระบบสนันสนุนระบบอาวุธยุทธศาสตร์สหราชอาณาจักร(United Kingdom Strategic Weapon Support System) สำหรับเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธชั้น Columbia" Pentagon กล่าว

มีการเพิ่มเติมว่ารายการข้อตกลงสำหรับการขาย foreign military sale ต่อสหราชอาณาจักร และนั่นการลงทุนจากอังกฤษวงเงิน $175.1 million ได้รับการผูกพันแล้ว
GDEB กล่าวว่าสัญญาควรจะถูกลงลงทุนใน "ส่วนประกอบและการพัฒนา Technology เช่นเดียวกับห้องอาวุธปล่อยนำวิถีร่วม(Common Missile Compartment)
ซึ่งจะถูกนำมาบูรณาการกับทั้งเรือ SSBN ใหม่ของกองทัพเรือสหรัฐฯ และเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ชั้น Dreadnought ใหม่ของกองทัพเรือสหราชอาณาจักร(Royal Navy)"

คาดว่าจะเสร็จสิ้นในเดือนธันวาคม 2031 โดย GDEB จะเริ่มการสร้างเรือลำแรกของชั้น Columbia ที่มีกำหนดการเริ่มต้นในปลายปี 2020 ชั้น
ต้นปี 2016 มีการประกาศว่า GDEB ได้ได้รับเป็นผู้รับสัญญาหลักของเรือชั้น Columbia ภายใต้ข้อตกลงร่วมกับบริษัท Huntington Ingalls Industries(HII)
GDEB และ HII เป็นอู่ต่อเรือสองบริษัทของสหรัฐฯที่มีขีดความสามารถในการสร้างเรือพลังงานนิวเคลียร์

GDEB และ HII จะทำการภายใต้ยุทธศาสตร์การสร้างเรือดำน้ำเป็นหนึ่งเดียว(Submarine Unified Build Strategy)ของกองทัพเรือสหรัฐฯเพื่อส่งมอบเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธชั้นใหม่
ดำเนินการควบคู่ไปกับโครงการสร้างเรือดำน้ำโจมตีพลังงานนิวเคลียร์(SSN) ชั้น Virginia ซึ่งทั้งสองอู่ต่อเรือกำลังดำเนินการแบ่งงานต่อเรือให้กองทัพเรือสหรัฐฯอยู่
ทั้งนั้นเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธชั้น Columbia จะถูกนำเข้าประจำการในปี 2030s และจะปฏิบัติการไปจนถึงปี 2080s ครับ

วันศุกร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2560

กองทัพเรือไทยจัดหาชุดนำวิถีของ Torpedo เบา Mk54 Mod 0 สหรัฐฯ

Northrop Grumman Systems Corp is being awarded an $18,608,828 for the production of MK54 Mod 0 lightweight torpedo (LWT) array kits
This contract combines purchases for the Navy (84 percent); the governments of the United Kingdom (11 percent); and Thailand (5 percent), under the Foreign Military Sales (FMS) program.
https://www.defense.gov/News/Contracts/Contract-View/Article/1316834/

Mark 54 Torpedo aboard DDG-71 USS Ross in March 2008.(wikipedia.org)

กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯประกาศเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายนที่ผ่านมาว่าบริษัท Northrop Grumman Systems Corp ใน Annapolis มลรัฐ Maryland สหรัฐฯ ได้รับสัญญาวงเงิน $18,608,828 แก้ไขเพิ่มจากสัญญาก่อนหน้า เพื่อดำเนินการเป็นเวลา ๔ปี
ในการผลิตชุดนำวิถี(Array Kit) ของ Torpedo เบา Mk54 Mod 0 Lightweight Torpedo(LWT) พร้อมการผลิตอมภัณฑ์สนับสนุน, การวิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง และสิ่งอุปกรณ์การบริการซ่อมเพื่อปรับปรุง Mk54 ของกองทัพเรือ
สัญญาแบ่งเป็นการจัดหาของกองทัพเรือสหรัฐฯ(US Navy) ร้อยละ๘๔, รัฐบาลสหราชอาณาจักรร้อยละ๑๑ และรัฐบาลไทยร้อยละ๕ ภายใต้รูปแบบโครงการขาย Foreign Military Sale(FMS) ซึ่งคาดว่าการทำงานจะเสร็จสิ้นในเดือนพฤศจิกายนปี 2020

Mk54 Mod 0 LWT เป็น Torpedo เบาต่อต้านเรือดำน้ำ(Anti-Submarine Lightweight Torpedo) แบบล่าสุดที่ประจำการในกองทัพเรือสหรัฐฯ และมีการส่งออกไปใช้งานในหลายประเทศ
เช่น กองทัพเรือออสเตรเลีย(Royal Australian Navy) และเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล Boeing P-8A Poseidon ของกองทัพอากาศออสเตรเลีย(Royal Australian Air Force) และเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล P-8I Neptune ของกองทัพเรืออินเดีย(Indian Navy)
โดย Torpedo เบา Mk54 ขนาด 324mm นี้สามารถถูกติดตั้งได้กับเรือผิวน้ำโดยใช้ยิงจากแท่นยิงแฝดสาม Mk32 Surface Vessel Torpedo Tubes(SVTT), เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ, หรือเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล(MPA: Maritime Patrol Aircraft) เช่น P-3C Orion

ก่อนหน้าบริษัท Raytheon สหรัฐฯได้ประกาศการจัดซื้อ Torpedo เบา Mk54 Mod 0 วงเงิน $37,723,774 แบ่งเป็นในส่วนที่กองทัพสหรัฐฯจัดหาเองร้อยละ๙๘
และส่วนที่กองทัพเรือไทย(Royal Thai Navy)สั่งจัดหาร้อยละ๒ ในรูปแบบ FMS เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๙(2016) ที่ผ่านมา(http://aagth1.blogspot.com/2016/08/torpedo-mk-54.html)
ดังนั้นการจัดหาชุดนำวิถี Array Kits สำหรับ Torpedo เบา Mk54 Mod 0 ในส่วนของกองทัพเรือไทยเองจึงน่าจะเป็นระบบของลูก Torpedo ที่สั่งจัดหามาก่อนหน้าแล้ว

แม้ว่าจะยังไม่มีการเปิดเผยที่ชัดเจนว่ากองทัพเรือไทยได้สั่งจัดหา Torpedo เบาปราบเรือดำน้ำ Mk54 Mod 0 มาจำนวนกี่นัด แต่กองทัพเรือไทยมีระบบอาวุธที่สามารถปรับปรุงหรือทำการติดตั้ง Mk54 Torpedo ได้หลายแบบ
เช่น ในส่วนเรือรบผิวน้ำอย่าง เรือฟริเกตสมรรถนะสูงใหม่ชุด ร.ล.ท่าจีน(ลำที่๓) ,เรือฟริเกตชุด ร.ล.นเรศวร และเรือคอร์เวต ร.ล.รัตนโกสินทร์ รวมถึงอากาศยาน เช่น เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ ฮ.ปด.๑ SH-60B เป็นต้น
สำหรับอังกฤษการจัดหา Array Kits สำหรับ Torpedo เบา Mk54 Mod 0 น่าจะเพื่อนำมาใช้งานเป็นอาวุธปราบเรือดำน้ำของเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล P-8A ที่ถูกสั่งจัดหา ๙เครื่องสำหรับกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร(Royal Air Force) ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2560

Tengoen จีนเปิดตัวอากาศยานไร้คนขับ UAV ติดอาวุธหลายแบบ

Chinese company Tengoen unveils several armed UAVs









Chinese company Tengoen unveiled a series of armed reconnaissance UAVs at the 14th China–ASEAN Expo in Nanning from 12 to 15 September, including two VTOL and two fixed-wing UAVs.
This image shows the company’s TA001, 10 m-long TB001, HA001 and HB001 UAVs. Source: Via Read01.com website
http://www.janes.com/article/74208/chinese-company-tengoen-unveils-several-armed-uavs

บริษัท Tengoen สาธารณรัฐประชาชนจีนได้เปิดตัวอากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle) ใหม่หลายแบบในงานแสดงอากาศยานปีกหมุน China–ASEAN Expo ครั้งที่14 ที่ Nanning ทางตอนใต้ของจีน ระหว่างวันที่ 12-15 กันยายนที่ผ่านมา
ประกอบไปด้วย UAV รูปแบบอากาศยานปีกตรึงไร้คนขับ 2ระบบ และอากาศยานปีกหมุนขึ้นลงทางดิ่ง(VTOL: Vertical Take-Off and Landing) 2ระบบ

ระบบหนึ่งที่เปิดตัวในงานคือ TB001 'แมงป่องสองหาง' ซึ่งทางบริษัทอ้างว่าเป็นระบบอากาศยานไร้คนขับ(UAS: Unmanned Aerial System) สองเครื่องยนต์สองแพนหางของจีนแบบเดียวในตลาด
TB001 UAV ใช้เครื่องยนต์ลูกสูบสองระบบ ตัวเครื่องยาว 10m ปีกกว้าง 20m น้ำหนักบินขึ้นสูงสุด 2,800kg ระยะเวลาทำการบินนาน 35ชั่วโมง และมีพิสัยทำการไกลสุด 6,000km

TB001 UAV ติดตั้งระบบเชื่อมโยงการควบคุมด้วยดาวเทียมและระบบชี้เป้าหมายกล้อง Electro-Optical ใต้ลำตัวเครื่อง ปีกมีตำบลอาวุธรวม 4ตำบล สามารถติดรางยิงอาวุธแบบคู่สำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีหรือระเบิดขนาดเล็กได้ โดยแต่ละตำบลรับน้ำหนักอาวุธได้ถึง 100kg
TB001ทำการตลาดร่วมกับระบบอาวุธที่พัฒนาโดย China Aerospace Science and Technology Corporation(CASC) สำหรับระเบิดนำวิถีตระกูล FT ภาพประกอบและแบบจำลองในงานยังแสดงถึงการติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นตระกูล Blue Arrow ของ Norinco รวม 8นัดด้วย

บริษัท Tengoen ยังได้เปิดตัวอากาศยานไร้คนขับเครื่องยนต์เดียวแบบ TA001 ที่มีขนาดเล็กกว่า มีตำบลอาวุธใต้ปีก 2ตำบล และระบบชี้เป้าหมาย Electro-Optical ใต้ลำตัวเครื่อง
ตามข้อมูลในงานแสดง TA001 UAV มีน้ำหนักบินขึ้นสูงสุด 1,200kg และมีระยะเวลาทำการบินนาน 24ชั่วโมง

ระบบอากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่ง Tengoen ได้เปิดตัว VTOL UAV สองระบบในงานคือ HA001 น้ำหนักบินขึ้น 450kg ระยะทำการบินนาน 6ชั่วโมง และ HB001 น้ำหนักบินขึ้น 280kg ระยะทำการบินนาน 5ชั่วโมง ทั้งสองระบบติดตั้งระบบชี้เป้าหมายกล้อง electro-optical ใต้หัวเครื่อง
HA001 VTOL UAV โดยมีคานติดอาวุธข้างลำตัว 2ตำบล สำหรับอาวุธปล่อยนำวิถี และใต้ลำตัว2 ตำบลสำหรับระเบิดขนาดเล็ก ส่วน HB001 VTOL UAV มีคานติดอาวุธข้างลำตัว 2ตำบลสำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีขนาดเล็กครับ

วันพุธที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2560

รัสเซียปฏิเสธเฮลิคอปเตอร์โจมตี Ka-52 ยิงใส่กลุ่มนักข่าวในการฝึก Zapad 2017

Russian Ka-52 gunship accidentally hits target on ground (VIDEO)
Mikhail Golub @golub / Twitter
https://www.rt.com/news/403780-zapad-helicopter-error-strike/

Western Military District refutes rumors of journalists hit at Zapad-2017 exercise
Zapad-2017 military drills /Anton Novoderezhkin/TASS
Earlier, some media claimed that a Ka-52 helicopter accidentally fired missiles at spectators near the Luzhsky proving ground
http://tass.com/defense/966304





กรณีข่าวลือที่เฮลิคอปเตอร์โจมตี Kamov Ka-52 กองทัพอากาศรัสเซีย(VKS: Russian Aerospace Force) เกิดยิงอาวุธพลาดไปถูกกลุ่มผู้สื่อข่าวระหว่างการฝึกซ้อมรบร่วม Zapad 2017 ระหว่างรัสเซียและเบลารุส ที่สนามฝึกใช้อาวุธ Luzhsky ใกล้มหานคร St.Petersbuurg นั้น
กองบัญชาการกองทัพภาคตะวันตกกองทัพรัสเซียได้แถลงปฏิเสธข่าวลือนี้โดยสิ้นเชิงโดยระบุว่าเป็นการสร้างข่าวเท็จและยั่วยุปลุกปั่นของบรรดาสื่อปลอม

"มันไม่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นกับอากาศยานของกองทัพระหว่างชุดการฝึกทางยุทธศาสตร์ Zepad 2017 ในวันที่ 18 กันยายน สื่อหลักรัสเซียและต่างชาติหลายร้อยคนเช่นเดียวกับทูตทหารจากมากกว่า 50ประเทศกำลังชมการฝึกร่วมนี้
ข่าวลือทั้งหมดใน Social Network เกี่ยวกับการยิงอาวุธเป็นชุดใส่กลุ่มนักข่าวและมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก เป็นทั้งการปลุกปั่นโดยเจตนาหรือเป็นเพียงกระทำที่โง่เขลาของใครบางคน" กองทัพภาคตะวันตกรัสเซียแถลง

กองทัพภาคตะวันตกรัสเซียยังได้กล่าวถึงวีดีทัศน์ที่ถูก Upload สู่ Social Network ที่แสดงถึงเหตุการณ์ที่ต่างออกไป ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อนักบินทั้งสองนายของ ฮ.โจมตี Ka-52 กำลังฝึกการใช้อาวุธต่อเป้าหมายภาคพื้นดิน
"ระบบอาวุธนำวิถีของเฮลิคอปเตอร์หนึ่งในสองเครื่องจับเป้าหมายผิดโดยความผิดพลาด อาวุธปล่อยนำวิถีที่ไม่ถูกนำวิถียิงถูกรถบรรทุก แต่ไม่มีใครอยู่ข้างในนั้น" กองทัพภาคตะวันตกรัสเซียกล่าว

อย่างไรก็ตามภาพวิดีทัศน์ต่างๆที่ปรากฎในสื่อสังคม Online นั้นดูจะไม่สอดคล้องกับการที่กองทัพรัสเซียแถลงที่ไม่ออกความเห็นให้รายละเอียดใดๆในกรณีอุบัติเหตุนี้
โดยวีดิทัศน์ที่ปรากฎแสดงถึงภาพบันทึกจากกล้องของ ฮ.โจมตี Ka-52 หนึ่งในสองเครื่องกำลังฝึกโจมตีเป้าหมายภาคพื้นดินด้วยจรวดอากาศสู่พื้น S-8 ขนาด 80mm เป็นชุดหลายนัด ซึ่งในจุดยิงมีรถยนต์พลเรือนจอดอยู่หลายคัน

วีดิทัศน์อีกภาพกลุ่มสื่อมวลชนที่กำลังบันทึกภาพการฝึก โดยมี ฮ.โจมตี Ka-52 สองเครื่องบินเข้าหาและทำการยิงใส่จรวดเป็นชุดใส่รถบรรทุกทหารที่มีการติดตั้งสายอากาศสัญญาณ ใกล้กันนั้นเป็นกลุ่มรถยนต์พลเรือน และนักข่าว
และวีดิทัศน์อีกภาพที่แสดงการล้อมที่เกิดเหตุซึ่งแสดงความเสียหายของอำนาจการทำลายจากกลุ่มจรวดที่ยิงจาก ฮ.โจมตี Ka-52 โดยมีรายงานว่ามีนักข่าวอย่างน้อยสองถึงสามคนได้รับบาดเจ็บสาหัสถูกส่งตัวไปโรงพยาบาลครับ

วันอังคารที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2560

กาตาร์จะจัดหาเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon อังกฤษ

Qatar to buy Eurofighter Typhoons
Qatar has declared its intent to buy 24 new Typhoons, in addition to the Eagles it has also agreed to buy and the Rafales it has already bought. Source: IHS Markit/Gareth Jennings
http://www.janes.com/article/74142/qatar-to-buy-eurofighter-typhoons

กาตาร์ได้ลงนามจดหมายแสดงความจำนง(LOI: Letter of Intent) สำหรับการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon ตามที่รัฐบาลสหราชอาณาจักรประกาศเมื่อ 17 กันยายนที่ผ่านมา
LOI ซึ่งได้ถูกลงนามที่กาตาร์ระหว่างการเข้าพบของรัฐมนตรีกลาโหมสหราชอาณาจักร Sir Michael Fallon และรัฐมนตรีกลาโหมกาตาร์ Khalid bin Mohammed al Attiyah มีเพื่อการเสนอการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ Typhoon 24เครื่อง
อย่างไรก็ตามไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดของข้อเสนอในสัญญาที่ลงนาม หรือกำหนดการส่งมอบเครื่องออกมาแต่อย่างใด

การจัดหาเครื่องบินขับไล่ Typhoon 24เครื่องของกาตาร์นี้มีขึ้นสามเดือนหลังจากที่กาตาร์ได้ลงนามข้อตกลงในการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Boeing F-15QA(Qatar Advanced) ในตระกูล F-15E Strike Eagle ใหม่จำนวน 36เครื่องจากสหรัฐฯ
ซึ่งก่อนหน้านั้นสองปีกาตาร์ได้ลงนามสัญญาจัดหาเครื่องบินขับไล่ Dassault Rafale ฝรั่งเศสจำนวน 24เครื่อง ทำให้กองทัพอากาศกาตาร์(QEAF: Qatar Emiri Air Force) จะมีเครื่องบินขับไล่ใหม่สามแบบรวมกัน 84เครื่อง
โดยเป็นเป็นที่ทราบก่อนหน้านี้ว่ากองทัพอากาศกาตาร์มีความต้องการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ 72เครื่องทดแทนเครื่องบินขับไล่ Dassault Mirage 2000-5 จากฝรั่งเศส 12เครื่องที่มีอายุการใช้มานาน

เป็นเวลาหลายปีที่กาตาร์ได้สร้างขีดความสามารถกำลังรบทางอากาศโดยการจัดหาระบบอากาศยานวิทยาการใหม่ล่าสุด การเพิ่มขนาดกำลังของเครื่องบินขับไล่แนวหน้าจาก 12เครื่องเป็น 84เครื่องของกองทัพอากาศกาตาร์เป็นตัวบ่งชี้การเพิ่มจำนวนและขีดความสามารถโดยเฉพาะอย่างมาก
ขณะที่การเพิ่มจำนวนเครื่องบินขับไล่ของกาตาร์เป็นในแนวทางเดียวการเพิ่มขึ้นของพันธกรณีของประเทศในปฏิบัติการระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
และกับการที่กาตาร์พบว่าตนเองอยู่ในตำแหน่งที่ค่อนข้างอันตราย(ในภูมิภาคที่เป็นเต็มไปด้วยความรุนแรงล้อมรอบด้วยประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นมิตรน้อยกว่า) การตัดสินใจทดแทนเครื่องบินขับไล่เดิมด้วยเครื่องบินขับไล่ใหม่สามแบบจึงเป็นสิ่งที่ดูน่าสงสัยชอบกล

ทั้งนี้กองทัพอากาศกาตาร์นับเป็นลูกค้าส่งออกรายล่าสุดของเครื่องบินขับไล่ Typhoon ในกลุ่มประเทศอ่าว Persian Gulf ต่อจากประเทศแรกคือ ซาอุดิอาระเบียที่จัดหา Typhoon 72เครื่องกับ BAE Systems สหราชอาณาจักรซึ่งได้รับมอบเครื่องสุดท้ายครบเมื่อเดือนมิถุนายน 2017
ประเทศที่สองคือโอมานที่สั่งจัดหาเครื่องบินขับไล่  Typhoon 12เครื่องกับ BAE Systems เมื่อเดือนธันวาคม 2012 ซึ่งมีการเปิดตัวเครื่องชุดแรกในสายการผลิตเมื่อเดือนพฤษาคม 2017 และเข้าประจำการในปี 2017 นี้
และประเทศที่สามคือคูเวตที่สั่งจัดหาเครื่องบินขับไล่  Typhoon 28เครื่องกับ Leonardo อิตาลีเมื่อเดือนเมษายน 2016 โดยจะได้รับมอบเครื่องในปี 2019 ครับ

วันจันทร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2560

แนวทางการจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตีใหม่ของกองทัพบกไทย

Royal Thai Army AH-1F EDA Attack Helicopters of 3rd Aviation Battalion, Aviation Regiment, Army Aviation Center in firing range flight(unknow photo source)

นับตั้งแต่ที่กองทัพบกไทยได้จัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตีแบบแรกคือ ฮ.จ.๑ Bell AH-1F Cobra สหรัฐฯสร้างใหม่จากโรงงานจำนวน ๔เครื่องเข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๓๔(1991)
โดยมี ๑เครื่องสูญเสียไปจากอุบัติเหตุระหว่างการฝึกบินที่หุบเขาในจังหวัดเชียงรายวันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๓(2000) ซึ่งมีนักบินเสียชีวิตหนึ่งนายและเครื่องได้รับความเสียหายมากจนต้องทำการจำหน่าย
ต่อมามีการจัดหา AH-1F EDA(Excess Defense Article) ที่เดิมเป็นเครื่องที่เคยประจำการในกองทัพบกสหรัฐฯมาก่อนแล้วถูกปรับปรุงสภาพใหม่เพิ่มเติมอีก ๔เครื่องในปี พ.ศ.๒๕๕๕(2012) นั้น

ฮ.จ.๑ AH-1F ทั้ง ๗เครื่องที่ปัจจุบันประจำการในกองพันบินที่๓(กองบินปีกหมุนที่๓ เดิมที่เปลี่ยนนามหน่วยตามโครงสร้างใหม่) กรมบิน ศูนย์การบินทหารบก นับเป็นเฮลิคอปเตอร์ติดอาวุธที่มีขีดความสามารถสูงที่สุดของกองทัพบกไทย
ที่ได้แสดงถึงอำนาจการยิงจากปืนใหญ่อากาศสามลำกล้องหมุน M197 ขนาด 20mm, จรวด Hydra 70 2.75"(70mm) และอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังอากาศสู่พื้น BGM-71 TOW(แท่นยิง M65) ในการฝึกซ้อมรบด้วยกระสุนจริงมาแล้วหลายครั้งเป็นเวลานานกว่า ๒๕ปี
แม้ว่าต่อมาจะมีการจัดหา ฮ.ติดอาวุธแบบอื่น เช่น เฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธ ฮ.ลว./อว.๕๕๐ Airbus Helicopters AS550 C3 แต่ ฮ.โจมตี และฮ.ลาดตระเวน นั้นเป็น ฮ.ที่ใช้งานคนละรูปแบบกัน
(ฮ.โจมตีเหมือนรถถังหลักที่ใช้ในการยิงทำลายข้าศึกโดยตรง ฮ.ลาดตระเวนเหมือนยานยนต์ลาดตระเวนที่ใช้ในการสอดแนมและเป็นฉากกำบังต่อข้าศึก)

อย่างไรก็ตามก็เช่นเดียวกับเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๑ Bell UH-1H ที่มีมีอายุการใช้งานมานานมากถึง ๔๐กว่าปีที่ได้มีการทยอยปลดประจำการลงทั้งหมดในอนาคตอันใกล้นี้เนื่องจากเหตุผลด้านความปลอดภัยทางการบินและชิ้นส่วนอะไหล่อุปกรณ์ที่ไม่มีสายการผลิตอีกแล้ว
ฮ.โจมตี AH-1F ที่มีพื้นฐานโครงสร้างหลายส่วนร่วมกันกับ UH-1 เช่นระบบเครื่องยนต์ก็จะอยู่ในสภาพเช่นเดียวกันคือไม่มีอะไหล่และโครงสร้างอากาศยานหมดอายุการใช้งาน
ดังนั้นถ้ากองทัพบกไทยยังมีความต้องการที่จะคงการมีเฮลิคอปเตอร์โจมตีใช้งานก็จำเป็นจะต้องดำเนินการเช่นเดียวกับกองทัพหลายประเทศทั่วโลกที่มี ฮ.โจมตีตระกูล Cobra เครื่องยนต์เดี่ยวอย่าง AH-1S และ AH-1F
คือการตั้งโครงการคัดเลือกและจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตีแบบใหม่มาทดแทน ฮ.โจมตี Cobra รุ่นเก่าของตน

ล่าสุดกองทัพบกไทยได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกแบบเฮลิคอปเตอร์โจมตีแบบใหม่ เพื่อทดแทน ฮ.จ.๑ AH-1F และ AH-1F EDA ทั้ง ๗เครื่อง โดยมีการกำหนดคุณสมบัติความต้องการเบื้องต้น เช่น

ระบบอากาศยาน
-เครื่องยนต์ Gas Turbine อย่างน้อย ๒เครื่องยนต์
-น้ำหนักบรรทุกสูงสุด(Payload) ไม่น้อยกว่า 1,000kg
-ความเร็วเดินทางไม่น้อยกว่า 120knots (222km/h)
-มีเพดานบินไม่น้อยกว่า 10,000ft.(3,000m)
-มีระยะเวลาในการบินนานไม่น้อยกว่า ๒ชั่วโมง ๓๐นาที
-มีเครื่องช่วยเดินอากาศยานในระบบ VOR, DME, IFF และ GPS ที่เป็นไปตาม มาตรฐานสากลใน Cockpit ของที่นั่งนักบินทั้ง ๒ตำแหน่ง
-มีระบบวิทยุติดต่อสื่อสารที่สามารถใช้งานร่วมกับวิทยุติดต่อสื่อสารที่มีใช้อยู่ ในอากาศยานที่ประจำการใน ทบ. ในปัจจุบัน
-สามารถทำการบินได้ทั้งเวลากลางวันและกลางคืน และสามารถใช้งานร่วมกับ กล้องช่วยมองเห็นในเวลากลางคืนได้

ระบบอาวุธ
-ติดตั้งระบบอาวุธปืนขนาดกว้างปากลำกล้องไม่น้อยกว่า 20mm
-ติดตั้งระบบอาวุธจรวดขนาดไม่น้อยกว่า 70mm และสามารถติดตั้ง กระเปาะจรวดได้ไม่น้อยกว่า ๒กระเปาะ
-สามารถติดตั้งอาวุธนำวิถีต่อสู้รถถังหรืออาวุธนำวิถีอากาศสู่พื้น และ/หรือ ติดตั้งอาวุธนำวิถีอากาศสู่อากาศ แบบนำวิถีด้วย Laser หรือติดตามความร้อน(Infrared)ได้

ระบบควบคุมการยิง
-ที่นั่งนักบินทั้ง ๒ตำแหน่ง สามารถทำการค้นหาเป้าหมาย การเล็ง และ การควบคุมการยิงระบบอาวุธได้ทุกชนิดที่ติดตั้งในอากาศยาน
-ติดตั้งระบบกล้องกลางวันและกลางคืน (EO และ IR: Electro-Optical and Infrared) พร้อมทั้งมี Laser วัดระยะ (Laser Range Finder) เพื่อใช้ในการเล็งเป้าหมายทั้งในเวลากลางวันและเวลากลางคืน
-หมวกนักบินของนักบินทั้ง ๒ตำแหน่ง สามารถทำการเล็งและควบคุม ทิศทางการยิงอาวุธปืนของ ฮ.โจมตี ได้ หรือมีระบบควบคุมการยิงอาวุธปืนที่เทียบเท่าหรือดีกว่า

ระบบป้องกันตนเอง
-ติดตั้งอุปกรณ์แจ้งเตือนตรวจจับอากาศยานจาก Radar ป้องกันภัยทางอากาศ (Radar Warning)
-ติดตั้งอุปกรณ์ยิงเป้าลวงอาวุธต่อต้านอากาศยานที่นำวิถีด้วยความร้อน (Flare)
-ติดตั้งอาวุธยิงเป้าลวงอาวุธต่อต้านอากาศยานที่นำวิถีด้วย Radar (Chaff)

มีประจำการในกองทัพประเทศผู้ผลิต
ไม่เป็นเครื่องที่อยู่ในระหว่างการพัฒนาเพื่อการผลิต (Production Prototype)

AH-64E Apache Guardian from 1st Battalion, 25th Aviation Regiment, 25th Combat Aviation Brigade, US Army conducts landing qualifications on flight deck of amphibious assault ship LHA-5 USS Peleliu Exercise RIMPAC 2014(wikipedia.org)

ตัวเลือกเฮลิคอปเตอร์โจมตีแบบใหม่ทดแทน ฮ.จ.๑ AH-1F Cobra ที่กองทัพบกไทยเคยมองมาตลอดคือ Boeing AH-64 Apache ที่เป็นม้างานของกองทัพบกสหรัฐฯและหลายประเทศทั่วโลกที่ได้จัดหาไปใช้งานแล้ว 
เช่น กองทัพอากาศอิสราเอล, กองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์, กองทัพบกกรีซ, กองทัพบกซาอุดิอาระเบีย, กองทัพอากาศคูเวต, กองทัพอากาศสหรัฐอาหรับเอมิเรนตส์, กองทัพอากาศอียิปต์, 
กองกำลังป้องกันตนเองทางบกญี่ปุ่น, กองทัพบกไต้หวัน, กองทัพบกเกาหลีใต้, กองทัพอากาศอินเดีย, กองทัพอากาศกาตาร์(กำลังสั่งจัดหา) 
เช่นเดียวกับกลุ่มประเทศอาเซียนคือ กองทัพอากาศสิงคโปร์ที่มีการนำ AH-64D มาวางกำลังฝึกใช้พื้นที่ในไทยบ่อยครั้ง และกองทัพบกอินโดนีเซียซึ่งจะได้รับมอบ AH-64E 8เครื่องในเร็วๆนี้(http://aagth1.blogspot.com/2017/05/ah-64e-apache-guardian.html
รวมถึงกองทัพบกสหราชอาณาจักรสำหรับรุ่น AgustaWestland WAH-64D Apache AH1 ที่ติดตั้งเครื่องยนต์ Turbo Shaft Rolls-Royce/Turbomeca RTM322 แทนเครื่องยนต์ Turbo Shaft ตระกูล General Electric T700-701 
พร้อมระบบอุปกรณ์เฉพาะตามความต้องการของอังกฤษหลายแบบ โดยกองทัพบกอังกฤษจะมีการจัดหาและปรับปรุงเครื่องที่ให้มีเป็นมาตรฐาน AH-64E ต่อไปในอนาคต

Apache AH Mk 1 British Army Air Corps takes off from L12 HMS Ocean during Operation Ellamy and the 2011 military intervention in Libya(wikipedia.org)

คงเป็นที่ทราบดีถึงสมรรถนะของ ฮ.โจมตี Apache ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากนับตั้งแต่ที่เครื่องรุ่นแรก AH-64A ถูกนำไปใช้ในปฏิบัติการรบจริงครั้งแรกที่ปานามาในยุทธการ Just Cause ปี 1989 ตามด้วยสงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งที่๑ ยุทธการ Dessert Strom ปี 1991 
ฮ.รุ่นที่สอง AH-64D Apache Longbow ได้ถูกนำไปใช้ในปฏิบัติการรบที่อัฟกานิสถานตั้งแต่ยุทธการ Enduring Freedom ปี 2001และอิรักตั้งแต่ยุทธการ Iraqi Freedom ปี 2003 
จนถึงการโจมตีทางอากาศต่อลิเบียในปี 2011 ที่อังกฤษได้ใช้ ฮ.Apache AH1 ของกองการบินทหารบกวางกำลังปฏิบัติจากเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ L12 HMS Ocean กองทัพเรือสหราชอาณาจักร 
ซึ่ง ฮ.โจมตี Apache ของอังกฤษนั้นถูกออกแบบมาสำหรับปฏิบัติการจากเรือในทะเลได้(ก่อนหน้านั้นอังกฤษได้ปลดประจำการเครื่องบินโจมตีขึ้นลงทางดิ่ง Harrier GR9A รวมถึงเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Invincible ที่เริ่มทยอยปลดประจำการลงในช่วงใกล้เคียงกัน) 
โดย ฮ.โจมตี Apache ของแต่ละประเทศนั้นมีอัตราการสูญเสียเครื่องและมีนักบินเสียชีวิตในปฏิบัติการรบจริงน้อยมาก (ส่วนใหญ่การสูญเสียจะมาจากสาเหตุอื่นที่ไม่เกี่ยวกับการรบโดยตรง เช่น อุบัติเหตุระหว่างการฝึก) 
จากผู้ใช้งานจำนวนมากในข้างต้นจึงเป็นการพิสูจน์ถึงความสำเร็จของ ฮ.รุ่นนี้เป็นอย่างดี ซึ่งหลายประเทศที่กล่าวมาก็ได้จัดหา ฮ.Apache มาทดแทน ฮ.Cobra รุ่นเก่าของตน

เฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64E Apache Guardian รุ่นล่าสุดที่มีสายการผลิตในปัจจุบันจึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่จะทดแทน ฮ.จ.๑ AH-1F ของกองทัพบกไทย 
โดยระบบเครื่องยนต์ GE T700 สองเครื่องที่ใช้ใน ฮ.Apache นั้นเป็นตระกูลเดียวที่ใช้ในเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.60 UH-60L และ UH-60M  Black Hawk ที่ประจำการในกองพันบินที่๙(กองบินปีกหมุนที่ 9 ผสม เดิม) 
ระบบอาวุธและระบบสนับสนุนก็เป็นมาตรฐานกองทัพสหรัฐฯซึ่งเจ้าหน้าที่ไทยมีความคุ้นเคยโดยมีอาวุธบางแบบจาก ฮ.โจมตี Cobra ที่สามารถใช้ร่วมกับ ฮ.Apache ได้ เช่น กระเปาะจรวด M261 ความจุ ๑๙นัดสำหรับจรวด Hydra 2.75"(70mm) 
แต่อาวุธหลายแบบสำหรับ ฮ.Apache ก็จำเป็นที่ต้องมีการจัดหามาใหม่ เช่น ปืนใหญ่อากาศ M230 ขนาด 30x113mm ความจุ ๑,๒๐๐นัด, อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ AIM-92 Air To Air Stinger(ATAS) 
และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น AGM-114 Hellfire ทั้งรุ่นนำวิถีด้วย Laser(SALH: Semi-Active Laser Homing) และรุ่นนำวิถีด้วยเรดาห์ที่ใช้ร่วมกับเรดาห์ควบคุมการยิงแบบ AN/APG-78 Longbow ที่ติดบนยอดแกนใบพัดประธาน 
ซึ่งอาวุธปล่อยนำวิถี Hellfire มีระยะยิง 8km มากกว่าอาวุธปล่อยนำวิถี TOW ที่นำวิถีผ่านเส้นลวดแบบเล็งตามเป้ากึ่งอัตโนมัติ(Wire-Guided SACLOS: Semi-Automatic Command Line of Sight) ที่มีระยะยิงเพียง 3.75km เป็นสองเท่า

US Marine Corps AH-1Z Viper assigned to Marine Medium Helicopter Squadron HMM-268 takes off from amphibious assault ship LHD-8 USS Makin Island(wikipedia.org)

ดังนั้นตัวเลือกอีกแบบที่มีความเข้ากันได้กับ ฮ.จ.1 Cobra ที่กองทัพบกไทยมีใช้อยู่มากกว่า ฮ.Apache ก็คือ Bell AH-1Z Viper ซึ่งเป็นเฮลิคอปเตอร์โจมตีตระกูล Cobra รุ่นสองเครื่องยนต์แบบล่าสุดที่เข้าประจำการในหน่วยนาวิกโยธินสหรัฐฯ 
ซึ่ง ฮ.โจมตี AH-1Z ใช้เครื่องยนต์ T700-GE-401C ตระกูลเดียวกับที่ใช้ใน UH-60 เช่นกัน ระบบอาวุธประจำเครื่องคือปืนใหญ่อากาศ M197 20mm ความจุ ๗๕๐นัด ก็เป็นแบบเดียวกับ AH-1F 
ทำให้อาวุธใหม่ที่จะต้องจัดหาเพิ่มเติมอาจจะมีเพียงอาวุธปล่อยนำวิถี AGM-114 Hellfire และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ AIM-9 Sidewinder เท่านั้น 

อย่างไรก็ตามปัจจุบันนี้ผู้ใช้งาน ฮ.โจมตี Viper นอกจากนาวิกโยธินสหรัฐฯเองก็มีเพียงกองทัพบกปากีสถานที่ได้สั่งจัดหา AH-1Z จำนวน ๑๒เครื่องซึ่งจะได้รับมอบในราวปี 2017-2018 ตามที่ได้รายงานไป(http://aagth1.blogspot.com/2017/09/mi-35m-ah-1z.html)
นอกนั้นบริษัท Bell กำลังหาลูกค้ารายใหม่หลังจากที่พ่ายแพ้ให้กับ ฮ.โจมตีแบบอื่นในโครงการจัดหาของหลายประเทศ 
เช่นที่ล่าสุดได้เสนอ AH-1Z Viper แก่กองทัพบกออสเตรเลียเพื่อทดแทนเฮลิคอปเตอร์โจมตี Tiger ARH พร้อมกับเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป UH-1Y Venom ที่จะมีโครงการจัดหาในราวกลางปี 2020s(http://aagth1.blogspot.com/2017/03/bell-ah-1z-viper-tiger-arh-uh-1y-venom.html
โดย Bell ได้นำเสนอว่า AH-1Z เป็น ฮ.โจมตีที่ออกแบบมาสำหรับปฏิบัติการจากเรือในทะเลได้แต่แรกถ้าเทียบกับ ฮ.โจมตี Tiger ARH ที่ ทบ.ออสเตรเลียนำไปทดสอบการปฏิบัติการบนเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Canberra กองทัพเรือออสเตรเลียทั้ง 2ลำ 
ซึ่งก็มีข้อจำกัดอย่างการพับใบพัดเข้าโรงเก็บในตัวเรือไม่ได้ เช่นเดียวกับที่กองทัพบกสเปนทดสอบ ฮ.โจมตี Tiger HAD จากเรืออู่ยกพลขึ้นบกจู่โจม Juan Carlos I กองทัพเรือสเปน(เรือชั้น Canberra ออสเตรเลียมีแบบพื้นฐานจากเรือของสเปน)

ถ้าดูจากการจัดหาเฮลิคอปเตอร์แบบต่างๆของกองทัพบกไทยในช่วงสิบปีมานี้มีการจัดหาจากแหล่งอื่นนอกจากสหรัฐฯที่เคยกำลังอากาศยานหลักแล้ว 
เช่น เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๑๓๙ Leonardo(AgustaWestland เดิม) AW139 และ ฮ.ท.๑๔๙ AW149 อิตาลี-อังกฤษ, ฮ.ท.๑๔๕ Airbus Helicopters H145 ฝรั่งเศส-เยอรมนี และ ฮ.ท.๑๗ Mil Mi-17V5 รัสเซีย
เฮลิคอปเตอร์โจมตีแบบอื่นก็น่าจะมีโอกาสเป็นตัวเลือกทดแทน ฮ.จ.๑ AH-1F ได้เช่นกัน


Australian Army Tiger ARH conduct testing operational on flight deck of Royal Australian Navy L02 HMAS Canberra(www.navy.gov.au)

สำหรับเฮลิคอปเตอร์โจมตี Airbus Helicopters(Eurocopter เดิม) Tiger นั้นประเทศผู้ผลิตและใช้งานหลักคือ กองทัพบกฝรั่งเศส, กองทัพบกเยอรมนี และกองทัพบกสเปนได้พิสูจน์ขีดความสามารถของ ฮ.รุ่นนี้ในการรบจริงมาแล้ว 
ทั้งการสนับสนุนภารกิจกองกำลังช่วยเหลือการรักษาความมั่นคงนานาชาติ(ISAF: International Security Assistance Force) ของฝรั่งเศส, เยอรมนี และสเปนในอัฟกานิสถาน 
การโจมตีทางอากาศต่อลิเบียซึ่งฝรั่งเศสนำ ฮ.โจมตี Tiger ปฏิบัติการบนเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Mistral คือ L9014 Tonnerre 
และปฏิบัติการสนับสนุนกองกำลังรักษาสันติภาพสหประชาชาติต่อต้านกลุ่มติดอาวุธก่อการร้ายในประเทศมาลี โดยฝรั่งเศสตั้งแต่ปี 2013 และล่าสุดเยอรมนีในปี 2017 ซึ่งมีอุบัติเหตุจนสูญเสียไป ๑เครื่องพร้อมนักบินทั้ง ๒นาย(http://aagth1.blogspot.com/2017/08/tiger.html)

ด้านความเหมาะสมกับกองทัพบกไทยแล้วระบบอาวุธบางแบบที่ใช้กับ ฮ.ลว./อว.๕๕๐ AS550 C3 เช่น กระเปาะจรวด FZ220 หรือ FZ223(Forges de Zeebrugge เบลเยียม) ขนาด 70mm(Hydra 70) ความจุ ๗ และ ๑๒นัด สามารถใช้งานร่วมกับ ฮ.โจมตี Tiger ได้
โดยระบบอาวุธและอุปกรณ์ประจำเครื่องสามารถเลือกได้ตามความต้องการ เช่น ปืนใหญ่อากาศ GIAT 30 M781 ขนาด 30x113mm ความจุ ๔๕๐นัด 
อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นต่อสู้รถถังสามารถเลือกใช้ได้ทั้ง Hellfire สหรัฐฯ, PARS 3LR เยอรมนี หรือ SPIKE ER อิสราเอล รวมถึงอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ Stinger และ Mistral 

อย่างไรก็ตาม ฮ.Tiger ไม่ได้ประสบความสำเร็จในการส่งออกนัก โดยประเทศนอกยุโรปที่จัดหาไปมีเพียงออสเตรเลีย โดยโครงการคัดเลือก ฮ.โจมตี AIR 87 ของกองทัพบกออสเตรเลียเพื่อทดแทน OH-58 Kiowa และ UH-1 รุ่น Gunship นั้น 
ในการสาธิตของ ฮ.Tiger ออสเตรเลียมีอุบัติเหตุที่ทำให้ ฮ.ตกกระแทกพื้นแต่นักบินประจำเครื่องทั้งสองนายสามารถออกจากเครื่องได้อย่างปลอดภัยโดยไม่ได้รับบาดเจ็บ 
ทำให้กองทัพบกออสเตรเลียประกาศเลือก ฮ.Tiger ARH (Armed Reconnaissance Helicopter) จำนวน ๒๒เครื่องเมื่อ ๒๑ ธันวาคม 2001 
แต่ทว่าหลังจากที่รับมอบ ๒เครื่องแรกเมื่อเดือนธันวาคม 2004 จนถึงเครื่องชุดสุดท้ายเมื่อเดือนมิถุนายน 2010 (มี ๑๘เครื่องที่ทำการประกอบในออสเตรเลีย) 
กว่าที่ ฮ.Tiger ARH จะมีความพร้อมปฏิบัติการตามแผนก็เป็นเดือนธันวาคมปี 2011 และเพิ่งเข้าสู่ความพร้อมปฏิบัติการรบขั้นสุดท้ายเมื่อ ๑๘ เมษายน 2016 
นั่นทำให้กองทัพบกออสเตรเลียมองการหา ฮ.โจมตีแบบใหม่ในอนาคต ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่กองทัพบกไทยน่าจะต้องพิจารณาในการจัดหา ฮ.โจมตี Tiger ว่าจะมีปัญหาตามมาภายหลังหรือไม่

ด้านเฮลิคอปเตอร์โจมตี Agusta A129 Mangusta มีผู้ใช้งานหลักคือกองทัพบกอิตาลีที่ได้รับมอบมาตั้งแต่ปี 1990-2004 จำนวนรวม ๖๖เครื่อง ฮ.โจมตี Mangusta ได้รับการปรับปรุงความทันสมัยมาหลายครั้ง 
เช่น การติดปืนใหญ่อากาศ M197 20mm ความจุกระสุน ๕๐๐นัด(ฮ.A129 รุ่นแรกไม่ติดปืนที่ตัวเครื่อง) อาวุธที่ติดตั้งได้เป็นแบบเดียวกับ ฮ.โจมตีสหรัฐฯ เช่น จรวด 2.75" อาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง TOW และ Hellfire 
ซึ่งอิตาลีก็ได้นำ ฮ.โจมตี A129 ร่วมปฏิบัติการรบจริงมาแล้วเช่นที่ภารกิจรักษาสันติภาพของสหประชาชาติที่มาซีโดเนีย, โซมาเลีย และแองโกลา รวมถึงสงครามในอัฟกานิสถานและอิรัก

Turkish Aerospace Industries(TAI)/AgustaWestland(now Leonardo) T129 ATAK Attack Helicopters in flight(www.tai.com.tr/en)

ด้านการส่งออกนั้นเมื่อ ๓๐ มีนาคม 2007 กองทัพบกตุรกีได้เลือกแบบเฮลิคอปเตอร์โจมตี T129 ATAK ๕๐เครื่อง 
ซึ่งมีพื้นฐานจาก A129 ที่ดำเนินการประกอบสร้างโดย Turkish Aerospace Industries(TAI) ในตุรกีภายใต้ความร่วมมือการถ่ายทอดเทคโนโลยีจาก Leonardo(AgustaWestland เดิม) 
ฮ.โจมตี T129 ตุรกีได้พัฒนาขึ้นจากต้นแบบโดยติดตั้งเครื่องยนต์ Turboshaft LHTEC CTS800-4N สองเครื่องซึ่งผลิตในตุรกีโดย TEI รุ่นเดียวที่ใช้กับเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทางทะเล Super Lynx 300 ที่กองทัพเรือไทย(Royal Thai Navy) มี ๒เครื่อง และ AW159 Wildcat 
เช่นเดียวกับระบบอื่นที่ออกแบบผลิตในตุรกี เช่น กล้องตรวจการณ์ชี้เป้าหมายของ ASELSAN อาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง UMTAS และจรวดนำวิถี Laser แบบ Cirit 70mm ของ Rocketsan รวมถึงอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ Stinger หรือ Mistral หรือ Sidewinder 
ทั้งนี้ TAI ตุรกีได้มองแนวทางส่งออก ฮ.โจมตี T129 ให้ต่างประเทศ เช่น ปากีสถาน ที่เสนอพร้อมสายการผลิตที่โรงงานอากาศยาน Pakistan Aeronautical Complex(PAC) ของปากีสถานด้วย

แต่สำหรับกองทัพบกไทยแล้วนอกจากสายการผลิตของอิตาลีที่ปิดไปสิบกว่าปีแล้วทาง Leonardo ได้ประกาศเมื่อ ๑๒ มกราคม 2017 ว่า
ได้รับสัญญาโครงการพัฒนาเฮลิคอปเตอร์สำรวจและคุ้มกันใหม่ (NEES: New Exploration and Escort Helicopter) ให้กองทัพบกอิตาลีเพื่อทดแทน ฮ.A129 Mangusta ที่มีแผนจะปลดประจำการในปี 2025(http://aagth1.blogspot.com/2017/01/leonardo-a129-mangusta-m345-het.html
ด้านตุรกีเองก็ยังไม่เคยประสบความสำเร็จในการส่งออกอาวุธให้ไทยด้วย ดังนั้นโอกาสของ ฮ.โจมตี A129/T129 ในไทยจึงอาจจะมีไม่มากนัก
แต่ในช่วงหลายปีหลังมานี้ตุรกีเข้ามาทำการตลาดอาวุธยุทโธปกรณ์ของตนในภูมิภาค ASEAN อย่างมากและประสบความสำเร็จการขายในบางประเทศแล้ว เช่น มาเลเซีย และอินโดนีเซีย สำหรับไทยจึงอาจจะต้องจับตามองระบบอาวุธตุรกีไว้บ้าง

New Mil Mi-28NM Attack Helicopter for Russian Air Force(russianplanes.net)

เฮลิคอปเตอร์โจมตี Mil Mi-28 (NATO กำหนดรหัส Havoc) รัสเซียเป็นตัวเลือกอีกแบบที่ถูกกล่าวถึงบ่อยขึ้นในช่วงไม่กี่ปีหลังมานี้ นอกจากกองทัพอากาศรัสเซียที่มีการจัดหาและพัฒนาเครื่องรุ่นใหม่คือ Mi-28NM ที่มีการทดสอบบินครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคม 2016 
ฮ.โจมตี Mi-28NE รุ่นส่งออกก็ได้รับการจัดหาจากต่างประเทศคือกองทัพบกอิรัก และกองทัพอากาศแอลจีเรีย กับกองทัพอากาศเวเนซุเอลาในอนาคต 
โดย ฮ.โจมตี Mi-28 ได้เข้าร่วมปฏิบัติการรบจริงครั้งแรกโดยกองทัพบกอิรักในสงครามต่อต้านกลุ่มติดอาวุธก่อการร้ายภายในประเทศตั้งแต่ปี 2015 และกองทัพอากาศรัสเซียได้วางกำลัง ฮ.Mi-28 ของตนในซีเรียเพื่อสนับสนุนการโจมตีทางอากาศต่อกลุ่มติดอาวุธต่อต้านรัฐบาลซีเรีย 
มีรายงานว่ารัสเซียสูญเสีย ฮ.โจมตี Mi-28 ๑เครื่องเมื่อ ๑๒ เมษายน 2016 โดยนักบิน ๒นายเสียชีวิตคาดว่าเป็นอุบัติเหตุจากความขัดข้องทางเทคนิค(http://aagth1.blogspot.com/2016/04/mi-28n_16.html)

เมื่อมองความเหมาะสมของ ฮ.โจมตี Mi-28 สำหรับกองทัพบกไทยแล้ว Mi-28 นั้นเครื่องยนต์แบบ Klimov TV3-117VMA สองเครื่องแบบเดียวกับที่ใช้ในเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๑๗ Mil Mi-17V5 ทั้ง ๕เครื่องที่ประจำการในกองพันบินที่๔๑ (กองบินสนับสนุนทั่วไปเดิม) 
ตั้งแต่จัดหามาในปี พ.ศ.๒๕๕๔(2011) กองทัพบกไทยดูจะพอใจกับประสิทธิภาพของ Mi-17 มากโดยมีแผนจะจัดหาเพิ่มเติมอีกจำนวนหนึ่ง โดยกำลังอยู่ระหว่างการจัดหาเพิ่มเติม ๒เครื่อง โดยต้องการทั้งหมดรวมที่มีอยู่เดิมเป็น ๑๒เครื่อง 
เพื่อทดแทนภารกิจในส่วนของเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง ฮ.ล.๔๗ Boeing CH-47D ๖เครื่องที่ประจำการมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๔(1991) ที่จะปลดประจำการลงในอนาคตอันใกล้(http://aagth1.blogspot.com/2017/01/blog-post_17.html

แต่อย่างไรก็ตามนอกจากกระสุนปืนใหญ่ขนาด 30x165mm สำหรับปืนใหญ่อากาศ 2A42 ความจุ ๒๕๐นัด ซึ่งเป็นแบบเดียวที่ใช้กับปืนใหญ่กล ZTM-1ของยานเกราะล้อยาง BTR-3E1 ของกองทัพบกไทยและนาวิกโยธินไทย ซึ่งไทยสามารถผลิตกระสุนขนาดนี้ได้เองแล้ว 
ระบบอาวุธอื่นๆนั้นต้องจัดหามาใหม่หมด เช่น จรวด S-8 ขนาด 80mm พร้อมกระเปาะจรวด B-8 ความจุ ๒๐นัด และอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง 9M120M Ataka นำวิถีผ่านคลื่นวิทยุเล็งตามเป้ากึ่งอัตโนมัติ(Radio SACLOS) ระยะยิง 6-8km 
รวมถึงอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ R-73 แต่อาจจะยกเว้นอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ Igla-V ซึ่งกองทัพบกไทยมีรุ่นอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศแบบประทับบ่ายิง Igla-S MANPADS ประจำการอยู่ก่อนแล้ว

first Egyptian Air Force K-52 attack helicopter, June 2017(https://www.facebook.com/pg/EGYDEFPORTAL)

ตัวเลือกแบบอื่นของรัสเซียอย่างเฮลิคอปเตอร์จู่โจม Mil Mi-35(รุ่นส่งออกของ Mi-24 NATO กำหนดรหัส Hind) ซึ่งมีกองทัพชาติอาเซียนใช้งานหลายประเทศ เช่น กองทัพอากาศประชาชนเวียดนาม, กองทัพบกอินโดนีเซีย และกองทัพอากาศพม่านั้น
เป็น ฮ.ที่ไม่เหมาะกับหลักนิยมการใช้กำลังอากาศยานปีกหมุนของไทยที่ต้องการ ฮ.โจมตีที่มีความคล่องตัวสูงและไม่จำเป็นต้องสามารถลำเลียงกำลังพลได้ แม้ว่า ฮ.Hind จะติดอาวุธพร้อมกับบรรทุกทหารได้ ๘นาย แต่มีความคล่องตัวต่ำและเริ่มล้าสมัยแล้วในสงครามยุคใหม่
ส่วนเฮลิคอปเตอร์โจมตี Kamov Ka-52(NATO กำหนดรหัส Hokum B)นั้นเป็น ฮ.โจมตีที่มีสมรรถนะสูงสุดทั้งความคล่องตัว ระบบตรวจจับ อาวุธ และเป็น ฮ.แบบเดียวในโลกที่นักบินสามารถสละเครื่องได้ด้วยเก้าอี้ดีดตัว ที่ได้ถูกนำไปใช้จริงที่ซีเรียแล้วเช่นกัน 
โดยรัสเซียได้ส่งออก Ka-52 ให้ลูกค้ารายแรกคือกองทัพอากาศอียิปต์ ๔๖เครื่องที่เครื่องชุดแรกในสายการผลิตทำการบินทดสอบแล้วและส่งมอบได้ภายในปี 2017 นี้(http://aagth1.blogspot.com/2017/06/ka-52k.html
แต่ก็เช่นเดียวกับ Mi-28 ที่ระบบอาวุธส่วนใหญ่ต้องจัดหามาใหม่หมด และอาจจะรวมถึงความเข้ากันได้กับระบบสื่อสารของกองทัพบกไทย นั่นทำให้การพิจารณาจัดหา ฮ.โจมตีจากรัสเซียจะต้องมองความเหมาะสมด้านการจัดการและสนับสนุนในภาพรวม

People's Liberation Army Ground Force new Z-10K Attack Helicopter at Zhuhai Airshow(Airshow China) 2016, November 2016

ตัวเลือกแบบสุดท้ายที่เพิ่งถูกกล่าวถึงเมื่อเร็วๆนี้คือ Changhe Aircraft Industries Corporation(CAIC) Z-10 ซึ่งเป็นเฮลิคอปเตอร์โจมตีแท้แบบแรกที่ออกแบบสร้างในจีน(มีข้อมูลว่า Kamov รัสเซียให้ความช่วยเหลือในการออกแบบ) 
หลังการทดสอบและพัฒนามาเป็นเวลานาน ฮ.โจมตี Z-10 ถูกนำเข้าประจำการในกองทัพบกกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนที่อ้างว่ามีการสั่งจัดหาเป็นจำนวนมากกว่า ๑๘๐เครื่อง และมีการพัฒนาเครื่องรุ่นใหม่ที่ออกมาต่อเนื่อง 
ฮ.Z-10 ติดตั้งเครื่องยนต์ Turboshaft WZ-9 สองเครื่อง ระบบอาวุธมีปืนใหญ่อากาศขนาด 30x165mm(ลอกแบบ 2A72 รัสเซีย), จรวดขนาด 57mm และ 90mm, อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ TY-90 ระยะยิง 6km, อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ PL-9 ระยะยิง 22km, 
อาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง HJ-10 หรือ AKD-10 ที่อ้างว่ามีระยะยิงถึง 10กิโลเมตรโดยมีระบบนำวิถีหลายแบบทั้งกล้อง TV, กล้องสร้างภาพ Infrared , Laser และ Radar 
รุ่นส่งออกของ HJ-10 คืออาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น Blue Arrow7 กับ Blue Arrow9 ที่ส่งออกให้กองทัพบกปากีสถาน อีกแบบหนึ่งคืออาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น AR-1 ที่เป็นอาวุธของอากาศยานรบไร้คนขับ(UCAV: Unmanned Combat Aerial Vehicle) CH-3 
เช่นที่ส่งออกให้กองทัพอากาศพม่า, ไนจีเรีย และปากีสถาน (สร้างเองในชื่อ Burraq) กับ CH-4 ที่ส่งออกให้อียิปต์ อิรัก และซาอุดิอาระเบีย (มีรุ่นที่พัฒนาในประเทศชื่อ Saqr1)

ถึงแม้ว่าในช่วงไม่กี่ปีหลังมานี้กองทัพบกไทยจะมีการจัดหาอาวุธจากจีนหลายโครงการ เช่น รถถังหลัก VT4 และยานเกราะล้อยาง VN1 แต่อากาศยานจีนนั้นยังไม่เคยได้รับการจัดหาโดยกองทัพไทยมาก่อน 
โดยเฉพาะอากาศยานรบที่ระบบอาวุธต้องจัดหาใหม่แทบทั้งหมด รวมถึงความเข้ากันได้กับระบบสื่อสารของกองทัพบกเช่นเดียวกับอากาศยานรบรัสเซีย 
รวมถึง Z-10 เองก็เป็น ฮ.โจมตีแบบเดียวในปัจจุบันที่ไม่เคยถูกนำไปปฏิบัติการรบจริง ด้านการส่งออกจีนได้ส่ง ฮ.Z-10 ให้กองทัพบกปากีสถานทดลองใช้ ๓เครื่อง 
แต่ทางปากีสถานเองก็ได้สั่งจัดหา ฮ.โจมตี AH-1Z และ ฮ.จู่โจม Mi-35M 4เครื่อง โดยยังไม่มีรายงานการสั่งซื้อ ฮ.โจมตี Z-10 กับจีนเพิ่มเติม 
ดังนั้นเฮลิคอปเตอร์โจมตี Z-10 จีน จึงอาจจะเป็นได้ทั้งม้ามืดและตัวเลือกไม่ค่อยเหมาะสมสำหรับกองทัพบกไทย


Royal Thai Army Bell 212 of 1st Air Mobile Company(now 1st Aviation Battalion, Aviation Regiment, Army Aviation Center) on flight deck of CVH-911 HTMS Chakri Naruebet Royal Thai Navy helicopter carrier

ทั้งนี้จากการฝึกซ้อมรบร่วมกองทัพไทยในช่วงไม่กี่ปีหลังมานี้ที่มีการนำกำลังอากาศยานของกองทัพอากาศไทย และรถถัง ยานเกราะของกองทัพบกไทยปฏิบัติการร่วมกับกองทัพเรือ 
ถ้าจะมีการฝึกให้กองทัพบกไทยนำเฮลิคอปเตอร์โจมตีของตนวางกำลังปฏิบัติการได้จาก ร.ล.จักรีนฤเบศร ก็จะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถการสนับสนุนปฏิบัติการอย่างการยกพลขึ้นบกได้มากถ้ากองทัพบกไทยเลือกจัดหา ฮ.โจมตีที่ออกแบบมาใช้งานร่วมกับเรือได้แต่แรก 
แม้ว่าการนำ ฮ.ขึ้นลงบนดาดฟ้าเรือจำเป็นต้องมีการฝึกบินเป็นการเฉพาะ ซึ่งนักบินของกองการบินทหารเรือจะได้รับการฝึกด้านนี้โดยตรง ขณะที่นักบินศูนย์การบินทหารบกมักจะไม่ได้มีการฝึกบินด้านนี้ 
แต่ที่จริงแล้วนักบิน ฮ.ของกองทัพเรือส่วนใหญ่มักจะจบหลักสูตรการบินจากโรงเรียนการบินทหารบก(กองทัพเรือไม่มีโรงเรียนการบินของตนเองต้องฝากฝึกกับเหล่าทัพอื่น) ฉะนั้นการจะให้นักบิน ทบ.ฝึกบินลงจอดดาดฟ้าเรือจึงเป็นเรื่องที่ทำได้และเคยมีการทำมาแล้ว 
โดย ฮ.โจมตีหลายแบบที่กล่าวมาทั้ง AH-64E กองทัพบกสหรัฐฯและกองทัพบกอังกฤษ, AH-1Z นาวิกโยธินสหรัฐฯ และ Ka-52K กองทัพเรือรัสเซีย ก็ได้รับการออกแบบให้สามารถปฏิบัติการบนดาดฟ้าบินของเรือได้

ขณะที่ ฮ.จ.๑ AH-1F ทั้ง ๗เครื่องใกล้ที่จะหมดอายุการใช้งานในอนาคตอันใกล้ ศูนย์การบินทหารบกจึงมีแผนความต้องการจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตีแบบใหม่ทดแทนหนึ่งกองร้อยบินคือ ๘เครื่อง ตามที่มีการตั้งคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกแบบในข้างต้น
แต่อย่างไรก็ตามความต้องการอากาศยานปีกหมุนทดแทนในส่วนเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป และเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงนั้นมีความจำเป็นที่เร่งด่วนกว่า ฮ.โจมตีมาก 
ดังที่เห็นได้จาการจัดหา ฮ.ท.๗๒ UH-72A Dakota, ฮ.ท.๑๔๕ H145 และ ฮ.ท.๑๔๙ AW149 เพื่อทดแทน ฮ.เก่าที่จำเป็นต้องปลดประจำการไปทั้ง ฮ.ท.๑ UH-1H และ ฮ.ท.๒๐๖ Bell 206A Jet Ranger เป็นต้น 
ซึ่งการจัดหา ฮ.ใหม่ในช่วงสิบปีหลังมานี้ก็เป็นงบประมาณผูกพันแต่ละปีระยะเพียงชุดละ ๕-๖เครื่อง อีกทั้ง ฮ.โจมตีสมัยใหม่ของตะวันตกก็มีราคาแพงพอๆกับเครื่องบินรบไอพ่น คือเครื่องเปล่าเครื่องละ $30-35 million ขึ้นไป 
ถ้ามาพร้อมระบบอุปกรณ์และอาวุธครบอาจจะมีราคารวมทั้งโครงการเฉลี่ยเครื่องละถึง $65 million หรือมากกว่า ฮ.โจมตีรัสเซีย หรือ ฮ.โจมตีจีนอาจจะมีราคาถูกกว่าบ้างแต่ก็ไม่มากนักคือที่เครื่องละ $20 million ขึ้นไป 
ฉะนั้นด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณกลาโหมของกองทัพบกไทยในปัจจุบัน ก็ต้องติดตามว่าโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตีใหม่ล่าสุดของกองทัพบกไทยนี้จะมีผลสรุปออกมาในแนวทางใดครับ