วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

กองทัพอากาศไทยเปิดตัวเครื่องบินขับไล่ F-5TH Super Tigris ติดอาวุธปล่อยนำวิถี IRIS-T






Royal Thai Air Force's F-5E and F-5F, 211st Squadron, Wing 21 Ubon Ratchathani upgraded to F-5TH Super Tigris with IRIS-T short-range air to air missile.(https://www.facebook.com/groups/441463545871708/permalink/3545626388788726/)




Commander in Chief of Royal Thai Air Force Air Chief Marshal Manaat Wongwat weared DASH IV Helmet on F-5F serial number 21105 with upgraded to F-5TH Super Tigris.




Royal Thai Air Force commissioned ceremony two F-5TH Super Tigris and 17 RTAF U1 domestic Tacticl Tactical UAS(Unmanned Aerial System) by Thailand company RV Connex in 14 November 2019.(http://rach1968.blogspot.com/2019/11/f-5th-rtaf-u1.html)

พลอากาศเอก มานัต วงษ์วาทย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้ทำการบินกับเครื่องบินแบบ บ.ข.๑๘ ข/ค (F-5 TH) ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจ ของพี่น้องกองทัพอากาศ และคนไทยทุกคน ที่คนไทยมีส่วนร่วมในการออกแบบ พัฒนาระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย
https://www.facebook.com/RTAFpage/posts/2947508475278723

กองทัพอากาศ จัดพิธีบรรจุประจำการเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๘ ข/ค (F-5TH) และอากาศยานไร้คนขับแบบ RTAF U1

ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ พลอากาศเอก มานัต วงษ์วาทย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นประธานในพิธีบรรจุประจำการเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๘ ข/ค หรือเครื่องบินแบบ F-5TH 
และอากาศยานไร้คนขับแบบ RTAF U1 (อาร์-ที-เอ-เอฟ-ยู-วัน) ณ ท่าอากาศยานทหาร ๒ กองบิน ๖ ดอนเมือง

กองทัพอากาศมีวิสัยทัศน์ที่จะเป็นกองทัพอากาศชั้นนำในภูมิภาค ด้วยการพัฒนาขีดความสามารถทั้ง ๓ มิติ ได้แก่ มิติทางอากาศ มิติไซเบอร์ และมิติอวกาศ โดยเน้นวางรากฐานการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน รวมถึงการสร้างความร่วมมือกับสรรพกำลังของชาติทุกภาคส่วน 
ในการพัฒนากำลังของกองทัพอากาศ และการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ตามยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ซึ่งจะทำให้กองทัพอากาศสามารถปฏิบัติภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยั่งยืน 
กองทัพอากาศตระหนักถึงการใช้ขีดความสามารถในการป้องกันประเทศอย่างมีประสิทธิภาพตามโครงสร้างกำลังรบ ภายใต้กรอบงบประมาณของกองทัพอากาศที่มีอยู่อย่างจำกัด

ซึ่งกองทัพอากาศ ได้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างอากาศยาน และเพิ่มขีดความสามารถของเครื่องบินแบบ F-5TH จำนวนทั้งสิ้น ๑๔ เครื่อง โดยปรับปรุงติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และระบบ Avionics ที่ทันสมัย ระบบป้องกันตนเอง ระบบเรดาร์ใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจจับเป้าหมาย รวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถในการใช้อาวุธสมัยใหม่ที่มีความแม่นยำสูงและระยะยิงไกล อีกทั้งยังมีขีดความสามารถในการปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (Network Centric Operation) ระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี (Tactical Data Link) 
เพื่อรองรับการใช้งานระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี (Link-T) เทียบเท่าเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๒๐/ก หรือ เครื่องบินแบบ GRIPEN 39 C/D ในยุค ๔.๕

นอกจากนี้กองทัพอากาศ ยังได้ร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศในการสนับสนุน และร่วมมือกันผลิต อากาศยานไร้คนขับแบบ RTAF U1 จำนวน ๑๗ เครื่อง ซึ่งได้รับการออกแบบและผลิตตามมาตรฐาน รวมถึงข้อกำหนดความสมควรเดินอากาศสากล 
โดยสามารถปฏิบัติภารกิจได้ต่อเนื่อง ๘ ชั่วโมง ในรัศมีปฏิบัติการ ๑๐๐ กิโลเมตร และสามารถวิ่งขึ้นและร่อนลงสนามบินด้วยระบบอัตโนมัติ มีสมรรถนะ และขีดความสามารถในการปฏิบัติการทางทหาร และการปฏิบัติการทางทหารนอกเหนือจากสงคราม

โดยพิธีบรรจุอากาศยานทั้ง ๒ แบบ เข้าประจำการในวันนี้ ถือเป็นประวัติศาสตร์ก้าวสำคัญของกองทัพอากาศ ในการดำเนินการตามแนวทางการพึ่งพาตนเอง การระดมสรรพกำลังความร่วมมือของชาติ
ทุกภาคส่วน และการใช้บุคลากรของกองทัพอากาศในการดำเนินการเป็นส่วนใหญ่ ทำให้บุคลากรดังกล่าวสามารถเข้าถึงและได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีโดยตรง ซึ่งทำให้สามารถนำวิทยาการดังกล่าวมาประยุกต์ พัฒนา และต่อยอดเทคโนโลยีกำลังทางอากาศ 
ทำให้กองทัพอากาศมีขีดความสามารถสูงขึ้นในการป้องกันประเทศ และสามารถเผชิญภัยคุกคามได้ในทุกรูปแบบ เพื่อเป็นกองทัพอากาศที่สามารถปฏิบัติภารกิจได้อย่างชาญฉลาดและมีความยั่งยืน รวมถึงเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดในการจัดหา 
พร้อมการพัฒนาให้กับประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เพื่อร่วมกันพัฒนาและขับเคลื่อนกองทัพอากาศให้ก้าวสู่กองทัพอากาศชั้นนำในภูมิภาค “One of the Best Air Forces in ASEAN” และการพัฒนากองทัพอากาศภายใต้การพึ่งพาตนเองได้ในอนาคตอย่างเป็นรูปธรรม
https://www.facebook.com/rtafnews.mi.th/posts/1436887203154217

โครงการปรับปรุงความทันสมัยครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๘ข/ค Northop F-5E/F-5F Tiger II ฝูงบิน๒๑๑ กองบิน๒๑ อุบลราชธานี ๑๔เครื่องเป็น F-5TH Super Tigris โดยบริษัท Elbit System อิสราเอล และบริษัท อุตสาหกรรมการบิน Thai Aviation Industries(TAI) ไทย(https://aagth1.blogspot.com/2018/05/f-5ef-super-tigris.html)
ล่าสุดได้มีการแสดงถึงเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๘ข F-5E หมายเลข 21137 ในสีพรางใหม่ที่ผ่านการปรับปรุงแล้วติดอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ Diehl IRIS-T เยอรมนีที่ตำบลอาวุธปลายปีกเป็นครั้งแรก(https://aagth1.blogspot.com/2018/06/f-5st-super-tigris-iris-t.html)

ซึ่ง พลอากาศเอก มานัต วงษ์วาทย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศก็ได้สวมหมวกนักบินติดจอแสดงผล DASH IV ทำการบินกับเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๘ค F-5F หมายเลข 21105 ซึ่งเป็นเครื่องแรกที่ผ่านการปรับปรุงตามโครงการไปแล้วที่ปลายปีกติดอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศพิสัยใกล้ AIM-9 Sidewinder
โดย F-5E หมายเลข 21137 ทะเบียน ๓๗/๓๑ serial No.74-1575(ผลิตปี 1974 เข้าประจำการ 1988) และ F-5F หมายเลข 21105 ทะเบียน ๕/๒๔ serial No.79-1692(ผลิตปี 1979 เข้าประจำการ 1981) ที่ผ่านการปรับปรุงนี้จะสามารถประจำการต่อไปได้อีก ๑๕ปีถึงราวปี พ.ศ.๒๕๗๕(2032)

การปรับปรุง F-5TH Super Tigris จะสามารถใช้อาวุธอากาศสู่อากาศนอกระยะสายตา(BVR: Beyond Visual-Range missile) แบบ Rafael I-Derby อิสราเอล รวมถึงกระเป้าชี้เป้า Rafael Litening III อิสราเอล, ระเบิดนำวิถี Laser แบบ Elbit Systems LIZARD อิสราเอล
กระเปาะสงคราม Electronic แบบ Rafael Sky Shield อิสราเอล และการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายผ่าน Datalink แบบ Link-T ที่พัฒนาในไทย ทำให้มีขีดความสามารถเทียบเท่าเครื่องบินขับไล่ยุคที่ 4.5 เช่นเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐ Saab Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ สุราษฎร์ธานี

ในวันเดียวันกองทัพอากาศไทยยังได้ทำพิธีประจำการระบบอากาศยานไร้นักบินทางยุทธวิธีขนาดกลาง RTAF U1 จำนวน ๑๗เครื่องที่เข้าใจว่าจะเข้าประการในฝูงบิน๒๐๖ วัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว ซึ่งมีพื้นฐานพัฒนาจากระบบอากาศยานไร้นักบิน Sky Scout ของบริษัท RV Connex ไทยด้วย
โดยอากาศยานไร้คนขับ RTAF U1 เป็นผลงานที่ออกแบบและผลิตเองในไทยถึงร้อย๙๐ โดยทั้งโครงการ F-5TH และ U1 UAV(Unmanned Aerial Vehicle) เป็นสองโครงการแรกที่ดำเนินตามนโยบาย "จัดหาและพัฒนา" แนวทาง Purchase and Development (P&D) ครับ