วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

พิธีครบรอบ ๔๐ปีเครื่องบินขับไล่ F-5E/F และเปิดตัวการปรับปรุง Super Tigris กองทัพอากาศไทย


Royal Thai Air Force Ceremony of 40th Anniversary F-5E/F since 1978 and Roll out newest upgraded F-5 Super Tigris at 211st Squadron, Wing 21 Ubon Ratchathani, 23 May 2018
https://www.facebook.com/sompong.nondhasa/posts/1244728528963589
https://www.facebook.com/sompong.nondhasa/posts/1244758728960569


Royal Thai Air Force's F-5E/F Tiger II first upgraded in 1988 with HUD/WAC(Head-Up Display/Weapon Aiming Computer) and Python-3 Air-to-Air Missile


Royal Thai Air Force's F-5T Tigris second upgraded 2000 with one Multi-Function Display in Cockpit, HOTAS(Hands On Throttle and Stick), Head-Up Display, DASH III(Display and Sight Helmet System) and Python-4 Air-to-Air Missile


Royal Thai Air Force's F-5ST Super Tigris third upgraded 2014 with Glass Cockpit 3 color Multi-Function Display, DASH IV Helmet and Python-5 and I-Derby Air-to-Air Missile

F-5 Super Tigris
“เพิ่มประสิทธิภาพในการรบ”



ปัจจุบันเครื่องบินขับไล่แบบ F-5E/F ของกองทัพอากาศ เป็น บ.ขับไล่ในยุคที่ 3 ซึ่งมีขีดความสามารถจำกัด ไม่สามารถใช้อาวุธไกลเกินระยะสายตา ประกอบกับมีเทคโนโลยีล้าสมัยไม่สามารถเผชิญกับภัยคุกคามในปัจจุบันได้
การปรับปรุงขีดความสามารถของ บ.ที่มีใช้งานอยู่ให้มีสมรรถนะสูงขึ้น จึงเป็นทางเลือกหนึ่งของ ทอ.ในการดำรงขีดความสามารถในการป้องกันประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง



ปรับปรุงขีดความสามารถ ให้สามารถใช้งานระบบอาวุธสมัยใหม่ที่มีความแม่นยำสูง มีระยะยิงไกล รวมทั้งติดตั้งระบบเรดาร์ที่มีประสิทธิภาพในการตรวจจับเป้าหมายเพียงพอต่อการปฏิบัติภารกิจ และเตรียมการติดตั้งระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี (Tactical Data Link) 
เพื่อใช้งานร่วมกับเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์สมรรถนะสูงแบบอื่นๆ ของ ทอ.และระบบป้องกันทางอากาศของ ทอ.ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
โดยจะต้องคำนึงถึงการส่งกำลัง และซ่อมบำรุงตลอดอายุการใช้งานของเครื่องบินที่ได้รับการปรับปรุงดังกล่าวหรืออย่างน้อย 15 ปี หลังการปรับปรุงแล้วเสร็จ



รายละเอียดของการปรับปรุง
- Mission Computer (MC) สามารถประมวลผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และติดตั้งซอฟต์แวร์ที่ทันสมัย
- มีระบบแสดงข้อมูล Color Moving Map บนจอ Horizontal Situation Display รวมทั้งติดตั้งจอภายในห้องนักบิน แบบ Multi Function Color Display (MFCD) จำนวน 2 จอ
- ติดตั้งเครื่องรับ-ส่งวิทยุ ให้มีระบบป้องกันการรบกวนทางอิเล็กทรอนิกส์ (ECCM) แบบ HAVE QUICK II
- ปรับปรุง Head Up Display (HUD) และติดตั้ง Up Front Control Panel (UFCP)
- ติดตั้งระบบ Digital Video and Data Recorder (DVDR) สามารถบันทึกภาพและเสียง รวมทั้งมีระบบบรรยายสรุปหลังการบิน (Debriefing System)
- ปรับปรุงระบบไฟฟ้าและระบบ Environment Control System (ECS) ของ บ.รวมทั้งระบบอื่นที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงขีดความสามารถ



ระบบอาวุธ
- สามารถใช้งานระบบอาวุธนำวิถีอากาศสู่อากาศ ที่ทันสมัยในระยะสายตา (Within Visual Range) ที่ ทอ.มีใช้งานในปัจจุบัน และติดตั้ง Software อาวุธนำวิถีอากาศสู่อากาศ ระยะไกลเกินสายตา (Beyond Visual Range) สำหรับรองรับ การใช้งานในอนาคต
- ติดตั้งอุปกรณ์ให้รองรับการใช้งาน Navigation/Targeting Pod ซึ่ง ทอ.มีการใช้งานอยู่ในปัจจุบัน
- สามารถใช้งานระบบอาวุธที่ ทอ.มีใช้งานในปัจจุบัน และจะจัดหาในอนาคตได้
- ระบบป้องกันตนเองโดยติดตั้งระบบ Electronics Warfare ที่ทันสมัย ซึ่งประกอบด้วย อุปกรณ์ Radar Warning Receiver (RWR) และ Countermeasure Dispenser System



Data Link
- ติดตั้ง ระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี (Tactical Data Link : TDL) แบบ Link -T ที่สามารถใช้งานในระบบบัญชาการและควบคุมหรือใช้ในระบบการปฏิบัติการทางอากาศของ ทอ.
- ติดตั้งระบบ Embedded GPS/INS แบบ Fiber Optic Gyro พร้อมด้วย GPS Antenna เพื่อความถูกต้อง และแม่นยำในการเดินอากาศ



Radar
- ติดตั้งระบบเรดาร์ที่ทันสมัย โดยมีขีดความสามารถตรวจจับเป้าหมายระยะไกล สามารถตรวจจับเป้าหมายที่เป็น บ.ขับไล่ ได้ระยะทางไม่ต่ำกว่า 40 ไมล์ทะเล รวมทั้งสนับสนุนใช้งานระบบอาวุธสมัยใหม่และมีขีดความสามารถ Synthetic Aperture Radar (SAR)



F-5E/F: Generation
ปัจจุบันเครื่องบินขับไล่ทั่วโลกส่วนใหญ่อยู่ในยุค 4 ถึง 5 แต่ F-5E/F ของ ทอ.จัดอยู่ในยุค 3 ซึ่งมีขีดความสามารถจำกัด ไม่พร้อมรับกับภัยคุกคาม 
โดยเมื่อทำการอัพเกรด จะมีระบบอาวุธเทียบเท่า เครื่องบินขับไล่ในยุค 4.5 ที่มีระบบเรดาร์ระยะไกล และระบบอาวุธระยะไกลเกินสายตา ตลอดจนระบบ Data Link



ด้านการฝึกอบรม
- ดำเนินการฝึกอบรม Difference Training สำหรับ นบ.พร้อมกำหนด
หลักสูตรและคู่มือการฝึกบินให้กับ ทอ.
- ดำเนินการฝึกอบรม Maintenance Training สำหรับ จนท.สนับสนุนการบิน และ จนท.การซ่อมบำรุงอากาศยาน บ.ข.๑๘ ข/ค 
โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่ได้รับการปรับปรุงหรือเปลี่ยนใหม่ (Modified or Replaced) รวมทั้งการฝึกอบรมให้เกิดความคุ้นเคย (Familiarization Course) ต่อระบบที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ด้วย



การถ่ายทอดเทคโนโลยี
เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนา ทอ.ในด้านต่างๆ ได้แก่ การพัฒนาด้านบุคลากรให้เท่าทันเทคโนโลยีปัจจุบันและอนาคต การถ่ายทอดเทคโนโลยีของอากาศยาน การฝึกศึกษาเพื่อให้สามารถดูแล และบำรุงรักษาอากาศยานได้บนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเอง 
ทอ.จะต้องสามารถพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีของอากาศยาน ระบบอาวุธ ระบบสื่อสารโทรคมนาคม หรือระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะช่วยให้สามารถพึ่งพาและพัฒนาได้ด้วยตนเองต่อไป
https://www.facebook.com/RTAFpage/posts/2050105961685650

นับตั้งแต่ที่เครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๘ ข/ค บ.ข.๑๘ข/ค Northorp F-5E/F-5F Tiger II ฝูงแรกเข้าประจำการใน ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ โคราช(รุ่น Round Nose) ปี พ.ศ.๒๕๒๑(1978) และฝูงที่สองเข้าประจำการใน ฝูงบิน๔๐๓ กองบิน๔ ตาคลี(รุ่น Shark Nose) ปี พ.ศ.๒๕๒๔(1981)
โดยต่อมาได้มีการปรับย้าย บ.ข.๑๘ F-5E/F จาก ฝูงบิน๑๐๒ ไป ฝูงบิน๗๑๑ กองบิน๗๑ สุราษฎร์ธานี ที่ต่อมาเปลี่ยนนามเป็นฝูงบิน ๗๐๑ กองบิน๗ และย้าย F-5E/F จากฝูงบิน๔๐๓ ไป ฝูงบิน๒๑๑ กองบิน๒๑ อุบลราชธานี
รวมถึง F-5E/F ที่เคยประจำการร่วมฝูงกับ บ.ข.๑๘/ก F-5A/F-5B ฝูงบิน๒๓๑ ระยะหนึ่งด้วยนั้น ก่อนที่เครื่องบินขับไล่ F-5E/F ทั้งหมดจะมารวมประจำที่ฝูงเดียวในปัจจุบันคือ ฝูงบิน๒๑๑
นับเป็นเวลาถึง ๔๐ปีแล้วที่เครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๘ข/ค F-5E/F ได้เข้าประจำการในกองทัพอากาศไทย และมีส่วนร่วมในการใช้กำลังทางอากาศปกป้องอธิปไตยของชาติในสงครามตามแนวชายแดนจริงหลายต่อหลายครั้ง นับเป็นอากาศยานที่มีความคุ้มค่าในการจัดหาอย่างมากแบบหนึ่ง

การปรับปรุงความทันสมัย F-5ST Super Tigris ที่ดำเนินการโดยบริษัท Elbit อิสราเอลในปี พ.ศ.๒๕๕๗(2014) ด้วยห้องนักบินแบบ Glass Cockpit พร้อมอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ Python-5 และ I-Derby ซึ่งได้มีการดำเนินการปรับปรุงโดยถ่ายทอด Technology ให้กับไทย
นับเป็นการปรับปรุงความทันสมัยหลักครั้งที่สามของ F-5E/F กองทัพอากาศไทย ตั้งแต่การปรับปรุงครั้งแรกในปี พ.ศ.๒๕๓๑(1988) โดยติดจอแสดงผลตรงหน้า/คอมพิวเตอร์ช่วยเล็ง HUD/WAC(Head-Up Display/Weapon Aiming Computer) และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ Python-3
การปรับปรุงครั้งที่สองในปี พ.ศ.๒๕๔๓(2000) แล้วเสร็จช่วงปี ๒๕๔๕-๒๕๔๖(2002-2003) ติดตั้ง HUD และ UFC(Up Front Control) ใหม่, จอแสดงผล Multi-Function Display ๑จอ, คันบังคับ HOTAS(Hands On Throttle and Stick) และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ Python-4
และล่าสุดครั้งที่สามที่ได้มีการเปิดตัวเครื่องต้นแบบ บ.ข.๑๘ค F-5F หมายเลข 21105 ไปพร้อมกับพิธีครบรอบ ๔๐ปีการเข้าประจำการนี้(http://aagth1.blogspot.com/2017/08/f-5-super-tigris.html)
ซึ่งเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๘ข/ค F-5E/F ฝูงบิน๒๑๑ ที่ผ่านการปรับปรุงในโครงการระยะที่๑ จำนวน ๑๐เครื่อง และระยะที่๒ จำนวน ๔เครื่อง รวม ๑๔เครื่อง จะประจำการต่อไปได้อีก ๑๕ปี ถึงปี พ.ศ.๒๕๗๖(2033) หรือมีอายุการใช้งานราว ๕๐-๕๕ปีขึ้นไปครับ