วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

กองทัพอากาศไทยและสิงคโปร์ทำพิธีปิดการฝึกผสม AIR THAISING 2024












Formation Flight of the Royal Thai Air Force (RTAF)'s Lockheed Matin F-16B Block 15 OCU of 103rd Squdron, Wing 1 Korat and F-16BM of of 403rd Squdron, Wing 4 Takhli; the Republic of Singapore Air Force (RSAF) Boeing F-15SG of 149 Squadron "Shikra" and F-16C Block 52 of 143 Squadron "Phoenix" from Establishment of a Fighter Training Detachment (EFTD) Thailand at Wing 23 Udon Thani RTAF base during closing ceremony for exercise AIR THAISING 2024 on 18 July 2024. 
RTAF and RSAF concluded renew exercise AIR THAISING 2024 at Wing 1 Korat RTAF base, Thailand on 8-18 July 2024. (Royal Thai Air Force/Noppasin poompo)

Friendship Through Cooperation
Closing Ceremony Air ThaiSing 2024
กองทัพอากาศไทยจัด 2 เครื่องบินขับไล่โจมตีแบบ F-16 จากฝูงบิน 103 และ 403 ขึ้นบินประกอบหมู่กับเครื่องบินขับไล่โจมตีแบบ F-15 และ F-16 ของประเทศสิงคโปร์ โดยมีผู้อำนวยการฝึกของทั้งสองชาติขึ้นร่วมทำการบิน และปิดการฝึกผสม Air ThaiSing 2024 อย่างเป็นทางการ นับเป็นการสานสัมพันธ์มิตรภาพผ่านการฝึกในครั้งนี้

การฝึกผสม AIR THAISING 2024
กองทัพอากาศ ร่วมกับ กองทัพอากาศสิงคโปร์ฝึกผสม AIR THAISING 2024 ณ กองบิน 1 จังหวัดนครราชสีมา โดยมี นาวาอากาศเอก สิทธิพล  ป้อมตรี รองผู้อำนวยการสำนักยุทธการและการฝึก กรมยุทธการทหารอากาศ เป็นผู้อำนวยการกองอำนวยการฝึกผสม ฯ ฝ่ายกองทัพอากาศ และ Colonel Jonavan Ang เป็นผู้อำนวยการกองอำนวยการฝึกผสม ฯ ฝ่ายกองทัพอากาศสิงคโปร์ 
สำหรับการฝึกผสม ฯ นี้ใช้ระยะเวลาฝึกร่วมกันทั้งสิ้น 11 วัน (ระหว่างวันที่ 8 - 18 กรกฎาคม 2567) โดยมีนักบินและกำลังพลของทั้งสองประเทศเข้าร่วมการฝึก ฯ กว่า 300 นาย อากาศยานกว่า 16 ลำ เข้าร่วมการฝึกในครั้งนี้
การฝึกผสม AIR THAISING เป็นการฝึกประกอบกำลังทางอากาศขนาดใหญ่ ระหว่าง 2 ชาติ คือ กองทัพอากาศไทย (Royal Thai Air Force: RTAF) และกองทัพอากาศสิงคโปร์ (Republic of Singapore Air Force: RSAF) โดยใช้สนามบินกองบิน 1 เป็นฐานหลักในการฝึก มีพื้นที่การฝึกครอบคลุมพื้นที่การฝึกของกองบิน 1, กองบิน 4 และสนามใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล โดยมีการฝึกบินทั้งหมด 7 วัน 
ประกอบด้วย การบินแบบ Work up Training (WUT) เพื่อเป็นการสร้างความคุ้นเคย (Familization) ให้กับผู้เข้ารับการฝึก ในส่วนของพื้นที่การฝึก การติดต่อวิทยุ และขั้นตอนการปฏิบัติ นอกจากนั้นแล้วยังมีการฝึกบินแบบประกอบกำลังขนาดใหญ่ (Large Force Employment: LFE) โดยแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย ประกอบกำลังร่วมกันวางแผนปฏิบัติภารกิจตามวัตถุประสงค์ที่ถูกกำหนดจาก Joint Mission Commander Course (JMCC) 
มีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกผู้ทำหน้าที่ Mission Commander ให้มีขีดความสามารถในการวางแผนภารกิจตามขั้นตอนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการฝึกครั้งนี้มีผู้เข้ารับการฝึกเพื่อทำหน้าที่ Mission Commander จำนวนชาติละ 2 คน ใน ในแต่ละ LFE จะมีการกำหนด Mission Commander (MC) Functional Team Lead (FTL) ซึ่งแต่ละชาติจะได้รับมอบหมายให้เป็นตำแหน่งต่างๆ กันในการบินประกอบกำลังร่วมกัน 
ภายหลังจากสำเร็จการฝึก ผู้เข้ารับการฝึกจะได้รับมอบประกาศนียบัตร (Mission Commander Qualification) ที่ได้รับการรับรองจาก Exercise Director ทั้ง 2 ชาติ

กองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) และกองทัพอากาศสิงคโปร์(RSAF: Republic of Singapore Air Force) ได้ทำพิธีปิดการฝึกผสมทางอากาศ AIR THAISING 2024 เมื่อ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๗(2024) ณ กองบิน๑ โคราช เป็นเวลา ๑๑วันหลังจากมีพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๗(https://aagth1.blogspot.com/2024/07/air-thaising-2024-open.html)
การฝึกผสม AIR THAISING 2024 ระหว่างวันที่ ๘-๑๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๗ เป็นการฝึกระดับทวิภาคีระหว่างกองทัพอากาศไทยและและกองทัพอากาศสิงคโปร์ที่ได้กลับมาจัดการฝึกอีกครั้งหลังยุติไปเมื่อเริ่มการฝึกผสมไตรภาคี Cope Tiger ครั้งแรกระหว่างไทย, สิงคโปร์ และกองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) ในปี พ.ศ.๒๕๓๙(1996)(https://aagth1.blogspot.com/2024/03/cope-tiger-2024.html)

กองทัพอากาศไทยได้นำอากาศยานเข้าร่วมการฝึกรวมถึง เครื่องบินขับไล่แบบที่๑๙/ก บ.ข.๑๙/ก Lockheed Martin F-16A/B Block 15 OCU/ADF ฝูงบิน๑๐๓ กองบิน๑ โคราช ในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน ๔เครื่อง และเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๙/ก บ.ข.๑๙/ก Lockheed Martin F-16AM/BM EMLU ฝูงบิน๔๐๓ กองบิน๔ ตาคลี ในจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน ๔เครื่อง โดยมีฐานทัพอากาศโคราชเป็นสถานที่ฝึกหลัก
กองทัพอากาศสิงคโปร์ได้ส่งเครื่องบินขับไล่ Boeing F-15SG Strike Eagle ฝูงบิน149(149 Squadron) จำนวน ๔เครื่อง, เครื่องบินขับไล่ F-16C/D Block 52 Fighting Falcon ฝูงบิน143(143 Squadron) จำนวน ๒เครื่อง และและ F-16D Block 52+ ฝูงบิน145(145 Squadron) จำนวน ๒เครื่อง จากหน่วยฝึกบินขับไล่(EFTD: Establishment of a Fighter Training Detachment) ที่วางกำลัง ณ กองบิน๒๓ อุดรธานี

การฝึกผสม AIR THAISING 2024 ยังได้จัดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับที่กองทัพอากาศไทยได้ส่งเครื่องบินขับไล่แบบที่๒๐/ก บ.ข.๒๐ Saab Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ สุราษฎร์ธานี จำนวน ๕เครื่อง เข้าร่วมการฝึกผสมทางอากาศนานาชาติ Pitch Black 2024 ที่ออสเตรเลีย ระหว่างวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ถึง ๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๗(https://aagth1.blogspot.com/2024/07/gripen-e.html)
เช่นเดียวกับที่กองทัพอากาศสิงคโปร์ได้ส่งเครื่องบินขับไล่ F-15SG และเครื่องบินขับไล่ F-16C/D Block 52/Block 52+ เข้าร่วมการฝึกผสม Pitch Black 2024 ที่ออสเตรเลียเช่นเดียวกัน แสดงถึงขีดความสามารถของกองทัพอากาศทั้งสองชาติที่สามารถดำเนินการฝึกผสมทางอากาศสองการฝึกในประเทศของตนและที่ต่างประเทศไปคู่ขนานพร้อมกันได้ครับ