วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

กองทัพอากาศไทยและสิงคโปร์ทำพิธีเปิดการฝึกผสม AIR THAISING 2024








The Republic of Singapore Air Force (RSAF) 4 F-15SG of 149 Squadron "Shikra", 2 F-16C Block 52 of 143 Squadron "Phoenix" and 2 F-16D Block 52 plus of 145 Squadron "Hornet" from Establishment of a Fighter Training Detachment (EFTD) Thailand at Wing 23 Udon Thani Royal Thai Air Force (RTAF) base, arrived Wing 1 Korat RTAF base, Thailand for exercise AIR THAISING 2024 on 5 July 2024, renew AIR THAISING 2024 held on 8-18 July 2024. (Royal Thai Air Force/Noppasin poompo)

Welcome F15 & F16 From RSAF 
นับถอยหลังสู่การฝึกผสม AIR THAISING 2024
กองทัพอากาศโดย น.อ.สิทธิพล ป้อมตรี Exercise Director (Th) ให้การต้อนรับฝูงบิน จาก The Republic of Singapore Air Force (RSAF) อย่างอบอุ่นในโอกาสที่ได้เดินทางมาฝึกผสม Air ThaiSing 2024
วันนี้ (วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม 2567) เวลา 12.45 น. กองทัพอากาศสิงคโปร์ได้มีการวางกำลังเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าร่วมการฝึกกับกองทัพอากาศ ภายใต้รหัสการฝึก AIR THAISING 2024 
โดยได้นำเครื่องบินขับไล่ F-16 จำนวน 4 ลำ จากหน่วย EFTD (กองบิน 23) และเครื่องบินขับไล่ F-15 จำนวน 4 ลำ จากฝูง 149 Paya Lebar Air Base เข้าที่ตั้ง ณ กองบิน 1 จังหวัดนครราชสีมา โดยการปฏิบัติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
สำหรับการฝึก AIR THAISING 2024 ในครั้งนี้ ถือเป็นการกลับมาฝึกอีกครั้งในรอบ 30 ปี ของทั้งกองทัพอากาศไทยและกองทัพอากาศสิงค์โปร์ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 8 - 18 กรกฎาคม 2567 และกำหนดพิธีเปิดการฝึกในวันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม 2567 ณ กองบิน 1 จังหวัดนครราชสีมา
ภาพโดย : Noppasin poompo

การกลับมาอีกครั้งของ การฝึกผสม AIR THAISING 2024 
เมื่อปี ค.ศ.1986 กองทัพอากาศไทยและสิงคโปร์ มีข้อตกลงร่วมกันในการจัดการฝึกผสมทางอากาศขึ้นโดยเริ่มจากการฝึกปัญหาที่บังคับการ (Command Post Exercise : CPX) และพัฒนาขึ้นเป็นการฝึกปฏิบัติการทางอากาศ 
จนกระทั่งในปี ค.ศ.1996 คณะรัฐมนตรี เห็นชอบให้มีการจัดการฝึกผสมในระดับพหุภาคีในรหัส “Cope Tiger” ซึ่งทำให้ตั้งแต่นั้นมาการฝึกภายใต้รหัส “AIR THAISING” ถูกยกเลิกไปโดยปริยาย 
จนถึงปี ค.ศ.2024 การฝึกผสมนี้ได้ถูกพิจารณาให้จัดขึ้นอีกครั้งภายใต้รหัส “AIR THAISING 2024” ระหว่างวันที่ 8 - 18 ก.ค.2024 ณ กองบิน 1 โคราช โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
Improve Interoperability between two Air Forces
Learning and sharing skill, knowledge and experiences among both Operators  
Strengthen the Relationship between RTAF and RSAF 
นับเป็นโอกาสอันดีในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ เพื่อสร้างกองกำลังทางอากาศที่แข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพต่อไป

พิธีเปิดการฝึกผสม AIR THAISING 2024
เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2567 นาวาอากาศเอก สิทธิพล  ป้อมตรี รองผู้อำนวยการสำนักยุทธการและการฝึก กรมยุทธการทหารอากาศ ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการฝึกผสม ฯ ฝ่ายกองทัพอากาศ และ Colonel Jonavan Ang ผู้อำนวยการกองอำนวยการฝึกผสม ฯ ฝ่ายกองทัพอากาศสิงคโปร์ เป็นประธานร่วมในพิธีเปิดการฝึกผสม AIR THAISING 2024
การฝึกผสม AIR THAISING เป็นการฝึกร่วมกันระหว่างกองทัพอากาศไทย และกองทัพอากาศสิงคโปร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กำลังพลของกองทัพอากาศทั้งสองประเทศได้เรียนรู้แนวคิด กระบวนการวางแผน การปฎิบัติ 
รวมถึงการฝึกการบรรยายสรุปก่อนและหลังทำการบินของผู้ที่ทำหน้าที่ Mission Commander (MC) ในการบินประกอบกำลัง (LFE) ที่มีความแตกต่างของขีดความสามารถทางเทคโนโลยี ความแตกต่างทางด้านภาษา แนวคิด และวัฒนธรรม 
อีกทั้งยังเป็นการฝึกเพิ่มพูนศักย์การบิน พร้อมทั้งประสบการณ์ของนักบินอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อดำรงความพร้อมรบของผู้ที่เข้ารับการฝึกและพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติทางอากาศผสม รวมถึงกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างมิตรประเทศที่เข้าร่วมการฝึก
ทั้งนี้ กองทัพอากาศไทยเริ่มต้นเข้าร่วมการฝึกกับกองทัพอากาศสิงคโปร์ครั้งแรก เมื่อปี 2526 ภายใต้รหัสการฝึก “AIR THAISING 1/83” ซึ่งครั้งนั้นได้ทำการฝึกภาคบังคับการ (Command Post Exercise – CPX) ณ ฐานทัพอากาศ PAYA LEBAR ประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 10-26 สิงหาคม 2526 
และทำการฝึกปฏิบัติภาคอากาศ (Air Maneuvering Exercise – AMX) ณ กองบิน 1 จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 19-23 กันยายน 2526 โดยกองทัพอากาศสิงคโปร์ได้ส่งเครื่องบินขับไล่โจมตีแบบ HUNTER เข้าร่วมการฝึกกับเครื่องบินแบบ F-5 ของกองทัพอากาศไทย จากนั้นได้ทำการฝึกร่วมกันรวมทั้งสิ้น 12 ครั้ง โดยผลัดกันเป็นเจ้าภาพ 
คือ การฝึกที่บังคับการ (Command Post Exercise – CPX) จะทำการฝึก ณ ประเทศสิงคโปร์ ส่วนการฝึกภาคปฏิบัติ (Air Maneuvering Exercise – AMX) จะทำการฝึกที่ประเทศไทย 
ต่อมากองทัพอากาศทั้งสองประเทศก็ได้เข้าร่วมการฝึกอื่น ๆ มาอย่างต่อเนื่อง อาทิ การฝึกผสม Cope Thunder และการฝึกผสม Cope Tiger ทำให้กำลังพลของทั้งสองประเทศ ทั้งในส่วนของผู้ทำการบินและฝ่ายสนับสนุน ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และสร้างความสัมพันธ์อันดีมาจนถึงปัจจุบัน
สำหรับการฝึกในครั้งนี้ ถือเป็นการกลับมาฝึกอีกครั้งในรอบ 30 ปี ของทั้งกองทัพอากาศไทยและกองทัพอากาศสิงคโปร์ ใช้ชื่อรหัสการฝึกว่า AIR THAISING 2024 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-18 กรกฎาคม 2567 ณ กองบิน 1 จังหวัดนครราชสีมา

การฝึกผสมทางอากาศ AIR THAISING 2024 การฝึกระดับทวิภาคีระหว่างกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) และกองทัพอากาศสิงคโปร์(RSAF: Republic of Singapore Air Force) ซึ่งได้กลับมาจัดอีกครั้งหลังมีการฝึกครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ.๒๕๓๘(1995) หลังจากเริ่มการฝึกผสมไตรภาคี Cope Tiger ครั้งแรกระหว่างไทย, สิงคโปร์ และกองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) ในปี พ.ศ.๒๕๓๙(1996)
การฝึกผสม AIR THAISING 2024 ระหว่างวันที่ ๘-๑๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๗(2024) ซึ่งมีพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ณ กองบิน๑ โคราช ในจังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย กองทัพอากาศสิงคโปร์ได้ส่งเครื่องบินขับไล่ Boeing F-15SG Strike Eagle ฝูงบิน149(149 Squadron) ๔เครื่อง, เครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16C/D Block 52 Fighting Falcon ฝูงบิน143(143 Squadron) จำนวน ๒เครื่อง
และ F-16D Block 52+ ฝูงบิน145(145 Squadron) จำนวน ๒เครื่อง จากหน่วยฝึกบินขับไล่(EFTD: Establishment of a Fighter Training Detachment) ที่วางกำลัง ณ กองบิน๒๓ อุดรธานี ส่วนกองทัพอากาศไทยน่าจะส่งเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๙/ก บ.ข.๑๙ F-16A/B Block 15 OCU/ADF ฝูงบิน๑๐๓ กองบิน๑ เข้าร่วมการฝึก ตามที่ฝูงบินมีฐานที่ตั้งในฐานทัพอากาศโคราชอยู่แล้ว และน่าจะรวมถึงอากาศยานอื่นๆ 
ทั้งนี้กองทัพอากาศไทยยังได้ส่งเครื่องบินขับไล่แบบที่๒๐/ก บ.ข.๒๐ Saab Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ สุราษฎร์ธานี จำนวน ๕เครื่อง และเครื่องบินลำเลียงแบบที่๘ บ.ล.๘ Lockheed Martin C-130H Hercules ฝูงบิน๖๐๑ กองบิน๖ ดอนเมือง จำนวน ๑เครื่อง เข้าร่วมการฝึกผสมทางอากาศนานาชาติ Pitch Black 2024 ที่ออสเตรเลีย ระหว่างวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ถึง ๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๗ ด้วยครับ