วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2567

นิทรรศการผลงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ทางทหารกองทัพบกไทย ๒๕๖๗ แสดงระบบ Smart ที่พัฒนาในประเทศหลายแบบ












Army Research and Development Office (ARDO), Royal Thai Army (RTA) held ARMY RESEARCH AND DEVELOPMENT EXHIBITION 2024 at RTA Command and General Staff College (CGSC) in Bangkok, Thailand on 9 August 2024.
Exhibition shown wide range of domestic military research and delovelopment programme from Royal Thai Armed Forces (RTARF), Ministry of Defence of Thailand and government agencies, educational institutions and private sector; included Domestic mechanical prosthetic arm for disabled soldiers, reconnaissance vertical take-off and landing (VTOL) unmanned aerial vehicle (UAV) and Attack VTOL UAV, detection radar and Counter-Unmanned Aircraft Systems (C-UAS) jammer system, and Defence Technology Institute (DTI)'s D-Iron RCV (Robotic Combat Vehicle) base on Estonian Milrem Robotics THeMIS Combat UGV (Unmanned Ground Vehicle) and D-EMPIR and Explosive Ordnance Disposal (EOD) robots. (Royal Thai Army)





นิทรรศการผลงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ทางทหารของกองทัพบก 
วันที่ 9 สิงหาคม 67 พล.อ. เจริญชัย หินเธาว์ ผู้บัญชาการทหารบก ได้กรุณามอบหมายให้ พล.อ. อุกฤษฎ์  บุญตานนท์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก เป็นประธาน ในงานจัดแสดงนิทรรศการผลงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ทางทหารของกองทัพบก ประจำปี 2567 ณ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก กรุงเทพมหานคร

 โดยภายในงาน สวพ.ทบ. ได้คัดเลือกผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ สามาถใช้งานได้ และเป็นประโยชน์ต่อกองทัพบก จำนวน 14 ผลงาน ซึ่งผลงานส่วนใหญ่เป็นผลงานที่มีศักยภาพพร้อมเข้าสู่สายการผลิต และบางส่วนอยู่ระหว่างกระบวนการทดสอบเพื่อให้ได้มาตรฐาน มีรายการจัดแสดงดังนี้
1. การพัฒนาแขนเทียมกลหยิบจับสิ่งของได้โดยใช้การควบคุมแขนเทียมกลด้วยชีวสัญญาณ (มทส.)
2.การพัฒนาระบบแบตเตอรี่แบบอัดประจุไฟฟ้าใหม่สำหรับอุปกรณ์สื่อสาร RT-710 (มช.)
3. การพัฒนาต้นแบบระบบแบตเตอรี่ชนิดลิเทียมและเครื่องอัดประจุแบตเตอรี่รถถังแบบ OPLOT (มช.)
4.การวิจัยชุดแบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออนสำหรับรถถัง VT-4 และรถถังเบา Commando Stingray (มข.)
5. การพัฒนาต้นแบบการผลิตเครื่องกรองอากาศสำหรับหน้ากากป้องกันแก๊สพิษ (มก.)
6. การวิจัยและพัฒนาระบบ Smart Alert Sensor ด้วยกระบวนการ Machine Learning (ขกท.)
7. ระบบอากาศยานขึ้นลงแนวดิ่งสำหรับงานลาดตระเวน (มทส.)
8. การดำรงสภาพยุทโธปกรณ์ระบบเรดาร์ DR-172 ADV (มกท.)
9.การพัฒนาต้นแบบชุดเชื่อมต่อระบบสื่อสารติดตามทางยุทธวิธีด้วยวิทยุสื่อสารระบบเรดิโอโอเวอร์ไอพี (สส.)
10. หุ่นยนต์ยุทธวิธี (D-IRON) (สทป.)
11. หุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด (EOD ROBOT) (สทป.)
12. ศูนย์ฝึกอบรมระบบอากาศยานไร้คนขับ DTI-UTC (สทป.)
13. การพัฒนาระบบเรดาร์ตรวจจับอากาศยานไร้คนขับและระบบตัดสัญญาณควบคุมอากาศยานไร้คนขับ (มทส.)
14. โดรนโจมตีทิ้งระเบิด (หน่วยเฉพาะกิจราชมนู กกล.นเรศวร)

นอกจากนี้ ยังมี การสาธิต การใช้งานระบบเรดาร์ตรวจจับอากาศยานไร้คนขับและระบบตัดสัญญาณควบคุมอากาศยานไร้คนขับ ซึ่งเป็นผลงานที่ได้รับ "รางวัลชนะเลิศ" การประกวดผลงานวิจัยดีเด่นกองทัพบก ประจำปี 2567 และโดรนโจมตีทิ้งระเบิด ซึ่งเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ได้รับ "รางวัลชนะเลิศ" การประกวดสิ่งประดิษฐ์ทางทหาร ประจำปี 2567 เช่นกัน
ในโอกาสนี้ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ยังได้กรุณา #มอบใบประกาศเกียรติคุณและโล่รางวัล แก่คณะนักวิจัยและผู้บังคับหน่วยที่ให้การสนับสนุนการทำงานวิจัย ที่ได้รับรางวัลการประกวดผลงานวิจัยดีเด่นกองทัพบก ประจำปี 2567 ทั้งด้านยุทโธปกรณ์และด้านหลักการ รวม 10 รางวัล

งานแสดงนิทรรศการผลงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ทางทหารของกองทัพบก ประจำปี ๒๕๖๗(Army Research and Development Exhibition 2024) โดย สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพบก สวพ.ทบ.(ARDO: Army Research and Development Office) กองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army) ที่จัดขึ้น ณ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก(CGSC: Command and General Staff College) ในกรุงเทพมหานคร 
เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๗(2024) ที่ผ่านมา ได้มีการนำเสนอนวัตกรรมผลงานวิจัยและพัฒนาและสิ่งประดิษฐ์ทางทหารต่างๆจากหน่วยงานในกองทัพไทย(RTARF: Royal Thai Armed Forces), กระทรวงกลาโหมไทย, สถาบันทางการศึกษาของไทย และภาคเอกชนไทยหลายแบบ ซึ่งส่่วนใหญ่เป็นการแสดงถึงการนำระบบไร้คนขับอัจฉริยะ(Smart Unmanned Systems) มาใช้ประโยชน์

นอกจากโครงการที่ได้มีการเปิดตัวไปก่อนหน้าแล้วเช่นของสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สปท. DTI(Defence Technology Institute) ไทยอย่างหุ่นยนต์ยุทธวิธี D-IRON RCV(https://aagth1.blogspot.com/2023/11/defense-security-2023-dti-d-iron.html) และหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดตระกูล D-EMPIR EOD(Explosive Ordnance Disposal) Robot
ระบบ Lithium-Ion battery สำหรับรถถังหลัก Oplot-T โดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่(Chiang Mai University) และสำหรับรถถังหลัก VT4 และรถถังเบาแบบ๓๒ ถ.เบา.๓๒ Commando Stingray โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น(Khon Kaen University)(https://aagth1.blogspot.com/2024/03/blog-post.html) และวิทยุสื่อสารระบบ Radio over IP(RoIP) โดยกรมการทหารสื่อสาร สส.ทบ.(Army Sinal Department) แล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2024/06/blog-post.html)

โครงการอื่นๆยังรวมถึง แขนเทียมกล(mechanical prosthetic arm)ควบคุมด้วยชีวสัญญาณ(biosignal) สำหรับทหารที่ทุพลภาพ, ระบบอากาศยานขึ้นลงทางดิ่ง(VTOL UAV: Vertical Take-Off and Landing) สำหรับลาดตระเวน และระบบ Radar ตรวจจับและตัดสัญญาณควบคุมอากาศยานไร้คนขับ(C-UAS: Counter-Unmanned Aircraft Systems) โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี(Suranaree University of Technology)
ระบบตรวจจับ Smart Alert Sensor พร้อมปัญญาประดิษฐ์ Machine Learning Artificial intelligence(AI) โดยหน่วยข่าวกรองทางทหาร ขกท.ทบ.(Army Military Intelligence Command) และอากาศยานไร้คนขับโจมตีทิ้งระเบิด(Attack quadcopter UAV) โดยหน่วยเฉพาะกิจราชมนู(Ratchamanu Task Force) กองกำลังนเรศวร(Naresuan Task Force) กองทัพภาคที่๓(3rd Army Area) ที่มีการนำไปทดลองใช้จริงบ้างแล้วครับ