วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2567

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๗-๒








The Royal Thai Air Force (RTAF) Saab Gripen C 70106 of 701st Sqaudron, Wing 7 Surat Thani displayed at the Singapore Airshow 2024 during 20-25 February 2024. (Royal Thai Air Force, Sompong Nondhasa, Defense Info, Kelvin Wong, Dzirhan Mahadzir)



JAS-39C RTAF in Singapore Airshow 2024

RTAF gripen @singaporeairshow2024
รู้จักเครื่องบิน gripen (JAS-39C/D) ของกองทัพอากาศที่เข้าร่วมงาน singapore air show 2024 ณ ท่าอากาศยานนานาชาติชางงี สิงคโปร์

พล.อ.อ.พันธ์ภักดี พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศถ่ายภาพร่วมกับคณะผู้สื่อข่าวไทย หน้า Gripen ในงานสิงคโปร์ แอร์โชว์ 2024 วันนี้...ขอขอบคุณทริปนี้ที่ทอ.จัดให้เป็นพิเศษครับ ...พรุ่งนี้ชมภาพในงานครับ

กองทัพอากาศไทยได้เข้าร่วมงานแสดงการบินนานาชาติ Singapore Airshow 2024 ระหว่างวันที่ ๒๐-๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๗(2024) ที่สิงคโปร์ โดยส่งเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐ Saab Gripen C หมายเลข 70106 และ บ.ข.๒๐/ก Gripen D หมายเลข 70102 ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ สุราษฎร์ธานี
นอกจากการจัดแสดง บ.ข.๒๐ Gripen C 70106 ภาคพื้นดินแล้ว คณะนายทหารของกองทัพอากาศไทยนำโดยผู้บัญชาการทหารอากาศไทย พลอากาศเอก พันธ์ภักดี พัฒนกุล ยังได้เชิญคณะสื่อมวลชนของไทยเดินทางมาพร้อมกันเพื่อดูงาน Singapore Airshow 2024 ที่จัดขึ้นทุกสองปีนี้ด้วย
คณะนายทหารระดับสูงของกองทัพอากาศไทยและสื่อมวลชนไทยได้ชมการจัดแสดงของบริษัทต่างๆในงาน รวมถึงบริษัท Saab สวีเดนผู้ผลิตเครื่องบินขับไล่ Gripen ที่ได้สาธิตขีดความสามารถเครื่องบินขับไล่ Gripen E รุ่นล่าสุดของตนผ่านเครื่องจำลองการบิน Gripen E Simulator ด้วย(ยังเห็นบริษัท Boeing สหรัฐฯนำเครื่องจำลองการบินเครื่องบินขับไล่ F-15EX Eagle II มาแสดงด้วย)

หลังจากกองทัพอากาศไทยได้พาคณะสื่อมวลชนเยี่ยมชมกิจการของกองบิน๗ ไปเมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๗ มีข้อมูลตามว่ากองทัพอากาศไทยมีแผนจะเชิญสื่อมวลชนไปเยี่ยมชมกิจการของกองบินที่ประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙ F-16 กองบิน๑ โคราชหรือ กองบิน๔ ตาคลี
ต่อมาในการสัมมนาเชิงวิชาการ RTAF Symposium 2024 ณ พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ เมื่อวันที่๒๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๗ กองทัพอากาศไทยได้เปิดเผยสมุดปกขาวกองทัพอากาศไทย ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๗ RTAF White Paper 2024 ซึ่งเป็นฉบับล่าสุดหลัง RTAF White Paper 2020 ในปี พ.ศ.๒๕๖๓(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/2020.html)
ซึ่งได้ให้รายละเอียดแผนยุทธศาสตร์โครงการต่างๆที่ชัดเจนในระยะยาว ตั้งแต่โครงการจัดจากต่างประเทศที่ต้องมีข้อตกลงชดเชย offset ที่จะได้ประโยชน์ โครงการจัดหาที่มีความร่วมมือกับอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของรัฐและเอกชน และโครงการวิจัยและพัฒนาของกองทัพอากาศไทยเอง

นอกจากการนำโครงการพัฒนาอากาศยานไร้คนขับ M Solar X UAV โดยโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช เข้าสู่สายการผลิตแล้ว โครงสำคัญที่ถูกจับตาโครงกาจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่จำนวน ๑๒-๑๔เครื่องทดแทน บ.ข.๑๙/ก F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ ที่โอนย้ายไปฝูงบิน๑๐๓ แล้ว
ในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๘-๒๕๗๗(2025-2034) โดยเป็นทราบกันแล้วว่าตัวเลือกที่เป็นไปได้ล่าสุดมีสองแบบคือเครื่องบินขับไล่ Saab Gripen E/F สวีเดน และเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16C/D Block 70/72 สหรัฐฯ ซึ่งเป็นที่เข้าใจว่าต่างจะเสนอข้อเสนอที่ดีที่สุดแก่กองทัพอากาศไทย
โดยบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯนำเสนอ F-16 Block 70/72 ของตนผ่านเครื่องจำลองการบิน cockpit demonstrator ในงานต่างๆว่ากองทัพอากาศไทยที่เป็นผู้ใช้งานรายใหญ่ของเครื่องบินขับไล่ตระกูล F-16 ในภูมิภาค ASEAN จะสามารถเปลี่ยนผ่านไปใช้งานเครื่องรุ่นล่าสุดได้อย่างไร้รอยต่อ

บริษัท Saab สวีเดนที่ได้ให้สื่อมวลชนทดลองเครื่องจำลองการบิน Gripen E ซึ่งเป็นเครื่องที่ไม่ได้เป็นระบบฝึกทางทหารจริงที่สามารถเปิดเผยในงานต่อสาธารณชนได้ก็กล่าวว่าแม้ว่า Gripen E จะดูคล้าย Gripen C แต่มันเป็นเครื่องบินคนละแบบที่ต่างกันในด้านขีดความสามารถที่เหนือกว่า
โดยเฉพาะขีดความสามารถด้านการบูรณาการระบบตรวจจับ sensors และระบบสงคราม Electronic warfare ขั้นก้าวหน้าซึ่งเพิ่มการหยั่งรู้สถานการณ์และการปฏิบัติการเป็นเครือข่าย เช่นเดียวกับกองทัพอากาศสวีเดนที่ใช้งานทั้ง Gripen C/D และ Gripen E/F การเปลี่ยนแบบจะไม่มีความยุ่งยาก
งานสัมมนาเชิงวิชาการ RTAF Symposium 2024 ยังได้เห็นตัวแทนฝ่ายการเมืองจากคณะกรรมาธิการการทหารของรัฐสภา รัฐมนตรีกลาโหม และนายกรัฐมนตรีได้เข้าร่วมการบรรยายในงาน ซึ่งควรจะเป็นการเชื่อมระหว่างประชาชนและกองทัพอากาศไทยที่ดำเนินการด้วยความถูกต้องโปร่งใส่ครับ








Royal Thai Air Force (RTAF) held formal decommissioning ceremony for its Pilatus PC-9 Mustang trainer aircrafts at RTAF Flying Training School Kamphaeng Saen in Nakhon Pathom Province on 2 February 2024. (AirlineWeek)




Beechcraft AT-6E Wolverine registered N610AT callsign "TEX2" at RTAF Flying Training School Kamphaeng Saen in Nakhon Pathom Province.
The 8 of Beechcraft  AT-6TH Wolverine to be delivered to RTAF 411st Squadron, Wing 41 Chiang Mai in 2024. (Sompong Nondhasa)

พิธีปลดประจำการเครื่องบินฝึกแบบที่ 19 (PC-9 MUSTANG)
วันนี้ (วันศุกร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567) พลอากาศเอก พันธ์ภักดี  พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นประธานในพิธีปลดประจำการเครื่องบินฝึกแบบที่ 19 (บ.ฝ.19) หรือ PC-9 MUSTANG 
โดยมี นายทหารชั้นผู้ใหญ่ของกองทัพอากาศ และส่วนราชการใกล้เคียง ร่วมพิธีฯ ณ ลานจอดเฉลิมอากาศ โรงเรียนการบิน (กำแพงแสน)
ในการนี้ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้กล่าวให้โอวาทเกี่ยวกับภารกิจของเครื่องบินฝึกแบบที่ 19 (PC-9 MUSTANG) ที่ได้ประจำการในกองทัพอากาศ ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2534 จนถึงปัจจุบัน โดยประจำการมาเป็นเวลากว่า 32 ปี นั้น เกิดจากวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของอดีตผู้บังคับบัญชา 
ที่ได้เล็งเห็นถึงคุณประโยชน์ที่จะเกิดกับประเทศชาติ จึงได้เลือกเครื่องบินฝึกแบบที่ 19 (PC-9 MUSTANG) เข้าประจำการในกองทัพอากาศไทย ซึ่งใช้สำหรับภารกิจหลักในการฝึกศิษย์การบิน และการบินปฏิบัติการทางอากาศยุทธวิธี 
โดยตอบโจทย์การสร้างพื้นฐาน ในการผลิตนักรบทางอากาศได้อย่างดียิ่ง อีกทั้ง ยังสามารถดำรงขีดความสามารถ ในการบินจนครบอายุปลดประจำการ ตามโครงสร้างอากาศยาน นับเป็นการใช้เงินงบประมาณที่มาจากภาษีประชาชน ได้คุ้มค่าเป็นอย่างยิ่ง 
สมเป็นดั่งผู้สร้างนักรบและสร้างฝันให้แก่กองทัพอากาศตลอดมา และในวาระที่เครื่องบินฝึกแบบที่ 19 จะปลดประจำการประจำการ 
กองทัพอากาศจึงได้มอบโล่เกียรติยศ สำหรับเครื่องบินฝึกแบบที่ 19 (PC-9 MUSTANG) เพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงการปฏิบัติภารกิจจนบรรลุผลสำเร็จด้วยดีมาอย่างยาวนาน
เครื่องบินฝึกแบบที่ 19 (PC-9 MUSTANG) เป็นเครื่องบินฝึกเครื่องยนต์เทอร์โบพรอพเครื่องยนต์เดี่ยว สองที่นั่งเรียงกัน ผลิตโดยบริษัท พิลาตุส แอร์คราฟท์ (Pilatus Aircraft) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยเริ่มโครงการพัฒนามาจากเครื่องบินฝึกรุ่น PC-7 ของบริษัท 
ยังคงโครงสร้างเดิมของเครื่องบิน PC-7 ไว้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น กองทัพอากาศได้จัดซื้อเครื่องบินแบบที่ 19 (PC-9 MUSTANG) ครั้งแรก จำนวน 20 เครื่อง เพื่อนำมาใช้ฝึกศิษย์การบินชั้นมัธยมที่โรงเรียนการบิน เพื่อทดแทน บ.ฝ.18/ก (Fantrainer 600) 
และกำหนดแบบเป็น “เครื่องบินฝึกแบบที่ 19 (บ.ฝ.19) โดยเครื่องบินฝึกแบบที่ 19 (PC-9 MUSTANG) ได้เข้าประจำการในกองทัพอากาศ รวมทั้งหมด 26 เครื่อง
ภาพถ่ายโดย กิตติเดช สงวนทองคำ, เจนวิชญ์ เบญจพงศ์

AT-6

พิธีปลดประจำการเครื่องบินฝึกแบบที่๑๙ บ.ฝ.๑๙ Pilatus PC-9 Mustang อย่างเป็นทางการ ณ โรงเรียนการบิน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม มื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๗ เป็นการสิ้นสุดระยะเวลาประจำการในกองทัพอากาศไทยที่ยาวนานตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๔(1991) เป็นเวลา ๓๒ปีลง
เครื่องบินฝึก บ.ฝ.๑๙ PC-9 ที่กองทัพอากาศไทยจัดหาเข้าประจำการรวม ๒๖เครื่องได้ถูกแทนที่ด้วยเครื่องบินฝึกแบบที่๒๒ บ.ฝ.๒๒ Beechcraft T-6TH(T-6C) Texan II จำนวน ๑๒เครื่องที่ได้รับมอบครบใน พ.ศ.๒๕๖๖(2023)(https://aagth1.blogspot.com/2023/12/open-house-2023.html
กองทัพอากาศไทยยังมีกำหนดที่จะรับมอบเครื่องบินโจมตีและฝึกแบบที่๒๒ บ.จฝ.๒๒ AT-6TH Wolverine ที่จะประจำการ ณ ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ เชียงใหม่ ในปี พ.ศ.๒๕๖๗ ซึ่งเครื่องสาธิตรหัส N610AT ยังคงอยู่ที่โรงเรียนการบินกำแพงแสนสำหรับการทดสอบการบูรณาการระบบภายในไทยครับ







Royal Thai Air Force was concluded Air Tactical Operations Competition 2024 (ATOC 2024) at Chandy Range, Lopburi, Thailand in February 2024.



“การแข่งขันการใช้อาวุธทางอากาศยุทธวิธีประเภทระเบิด (Tactical)”  ATOC 2024

“If you're a true warrior, competition doesn't scare you. It makes you better.”
การแข่งขันการปฏิบัติการทางอากาศยุทธวิธี ประจำปี 2567 
มีวัตถุประสงค์ เพื่อตรวจสอบความพร้อมของหน่วยบิน หน่วยต่อสู้อากาศยาน และหน่วยสนับสนุนการรบ  อีกทั้งเป็นการประเมินขีดความสามารถในการใช้อาวุธของนักบิน และการปฏิบัติภารกิจของหน่วย
ซึ่งการแข่งขันทั้งสิ้น 23 ประเภทครอบคลุมภารกิจของ ทอ. ได้ผู้ชนะและเสร็จสิ้นแล้ว
ขอบคุณนักรบทางอากาศและผู้สนับสนุนทุกท่านที่ใช้เวลาฝึกฝนเพื่อปฏิบัติภารกิจที่สำคัญยิ่ง
กองทัพอากาศมีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่อย่างสุดความสามารถเพื่อประเทศ แล้วพบกันใหม่ ATOC2025 ครับ

Royal Thai Air Force Joint and Combined Exercise 2024

การฝึกร่วม/ผสม ของ กองทัพอากาศ ประจำปี 2567 ( 2024 )
เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติการทางอากาศร่วม/ผสม รวมถึงการกระชับความร่วมมือด้านการทหาร กับ มิตรประเทศเพื่อนำไปสู่ความมั่นคงของชาติและความมีเสถียรภาคในภูมิภาค
COBRA GOLD 24
COPE TIGER 2024
BALANCE /TEAK TORCH 24
ENDURING PARTNERS
AIR THAMAL
PITCH BLACK 2024
LION EFFORT
FALCON STRIKE 2024
AIR THAISING
SIAM BHARAT 24

ในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ กองทัพอากาศไทยได้เสร็จสิ้นการแข่งขันการปฏิบัติการทางอากาศยุทธวิธีประจำปี พ.ศ.๒๕๖๗ ซึ่งมีพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๖(2023) ที่สนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี(https://aagth1.blogspot.com/2023/12/atoc-2024.html)
โดยตลอดทั้งปี ๒๕๖๗ นี้กองทัพอากาศไทยยังมีการฝึกร่วมผสมทางอากาศกับมิตรประเทศอีกหลายรายการ ทั้งการฝึกประจำที่มีมายาวนานเช่นกับมิตรประเทศในภูมิภาคและชาติมหาอำนาจ เช่น สหรัฐฯ, ออสเตรเลีย, จีน, สิงคโปร์, มาเลเซีย ทั้งการฝึกประจำปีที่มีมายาวนานและที่เพิ่งมีขึ้นเมื่อไม่กี่ปี
รายการการฝึกที่น่าสนใจในปีนี้มีเช่น AIR THAISING ที่เป็นการฝึกระดับทวิภาคีระหว่างไทยและสิงคโปร์ที่กลับมาจัดขึ้นใหม่, LION EFFORT ที่ชัดว่าเป็นการฝึกของกลุ่มชาติผู้ใช้งานของเครื่องบินขับไล่ Gripen และ SIAM BHARAT 2024 ซึ่งจะเป็นการฝึกระหว่างไทยและอินเดียครั้งใหญ่ล่าสุดครับ




Royal Thai Air Force (RTAF) demonstrated capabilities of its Chiang Rai Airfield (416 Squadron) for supporting Humanitarian Assistance and Disaster Relief (HADR) with Airbus Helicopter H225M (EC725) of 203rd Squadron Wing 2 Lop Buri, and wildfire fighting with Basler BT-67 of 461st Squadron Wing 46 Phitsanulok on 16 February 2024. (Royal Thai Air Force)

การแสดงขีดความสามารถของฝูงบิน๔๑๖ เชียงราย ของกองทัพอากาศไทยเมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๗ นับเป็นครั้งที่สองที่ได้มีการแสดงการสาธิตครั้งแรกในเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๖(2023) โดยเน้นไปที่ภารกิจภารกิจการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ และการดับไฟป่า
จากที่ปัจจุบันเป็นสวนสาธารณะที่มีประชาชนในพื้นที่มาใช้เป็นสถานที่ออกกำลังกาย กองทัพอากาศไทยมองจะปรับปรุงฝูงบิน๔๑๖ เชียงราย ให้รองรับการปฏิบัติการของเฮลิคอปเตอร์และอากาศยานไร้คนขับ UAV ในส่วนทางวิ่ง, ทางขับ และลานจอดอากาศยาน ใหม่ให้เป็นไปตามมาตรฐาน ICAO
ซึ่งมีการดำเนินในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๖-๒๕๖๘(2023-2025) โดยคาดว่าจะมีความพร้อมปฏิบัติการในปี พ.ศ.๒๕๖๙(2026) ครบรอบ ๑๐๐ปีของสนามบินเก่าเชียงราย ทั้งนี้ภัยความมั่นคงทางภาคเหนือทั้งไฟป่าที่ก่อให้เกิดฝุ่นพิษและสงครามภายในพม่าต่างกำลังทวีความรุนแรงมากขึ้นครับ




Commander in chief of the Royal Thai Navy had an observe the operation of searching and decommissioning hazardous materials of HTMS Sukhothai
Today, February 22, 2567, at 09:15 AM, Admiral Adoong Pan-iam, Commander in chief of the Royal Thai Navy, conducted an observe of searching and decommissioning hazardous materials operation of HTMS Sukhothai 
onboard the Ocean Valor vessel in the Gulf of Thailand near the location where HTMS Sukhothai was reported missing, in the area of Bang Saphan District, Prachuap Khiri Khan Province.
Admiral Adoong Pan-iam traveled by helicopter to HTMS Angthong, where he was welcomed and accompanied by Admiral Chatchai Thongsaard, commander of the Royal Thai Fleet 
and CAPT Hugh Winkel US Naval Attache to Thailand and Chief of AttacheOperations. 
They observed the operations on the Ocean Valor, which is the main operational vessel for the search and decommission hazardous materials of HTMS Sukhothai. 
This provided an opportunity for Admiral Adoong Pan-iam to greet the naval personnel and officers from the United States Navy participating in this mission, closely observing their operations from preparation to underwater tasks.
Subsequently, the Commander of the United States Navy's diving unit demonstrated the communication system and displayed images from the underwater team's control room. 
Upon completion of the visit, Admiral Adoong Pan-iam and his team returned to the HTMS Angthong for media interviews regarding this collaborative mission between the Royal Thai Navy and the United States Navy, 
expressing gratitude to the latter for their assistance in this operation. 
The visit to observe the operations on the Ocean Valor showcased the challenges involved, from transporting diving equipment from Hawaii to Singapore and then to the dive site, all without any cost, highlighting the enduring friendship between the two navies, committed to the successful and safe execution of this mission.
Regarding the current mission, it will involve inspecting the vessel to capture external and internal photographs of the vessel, to be utilized for the investigation the cause of the shipwreck incident and searching for missing persons, 
including external and internal vessel inspection and search operations, estimated to take approximately five days before transitioning to recovery of weapons and disposal of hazardous materials over the next 14 days, 
along with retrieving any items of sentimental value for the naval personnel, Admiral Adoong Pan-iam announced that the first item to be retrieved from HTMS Sukhothai today will be its “nameplate”. 
The Royal Thai Navy will provide consistently updates on the progress of the operation.





The third day of searching and decommissioning hazardous materials of HTMS Sukhothai.
On February 24, 2024, which marked the third day of the search and decommissioning hazardous materials of HTMS Sukhothai. It is a joint operation between the Royal Thai Navy and the United States Navy aboard the Ocean Valor vessel 
operated in the Gulf of Thailand, close to the reported position of HTMS Sukhothai, in the area of Bang Saphan District, Prachuap Khiri Khan Province. The underwater exploration consisted of four dives, with significant findings as follows:
Dive 1: Survey the Commanding Officer's cabin.
Dive 2: Survey the compartment beneath the OTO Melara 76 mm gun and inspection of damage on the wave breaker.
Dive 3: Inspection the main engine’s hatch.
Dive 4: Opening the watertight door of the main engine room, the power generator room, and the Aspide‘s reloaded hatch.
The operations completed successfully without any obstacles, and ensuring the safety of all personnel.
Additionally, the Royal Thai Navy has released footage pictures of the vessel from yesterday's dive (February 23, 2024), where the dive team surveyed the bridge and retrieved a Buddha statue, along with some documents which will be used for further investigation.
For tomorrow's operations (February 25, 2024), there will be six dives aimed at surveying and photographing to collect evidence around the vessel and extract certain external equipment to the surface.
Further updates on the progress of tomorrow's operations will be informed in advance.

Day 4 of Searching and Decommissioning hazardous Operations of HTMS Sukhothai.
On February 25, 2024, marking the fourth day of the searching and  decommissioning hazardous of HTMS Sukhothai. 
Today's operations involved six dives using diving air tank and utilized HTMS Mannai as the operational base. Key tasks included searching for missing individuals in Radar Room 2, relocating mooring positions, retrieving a long-barreled M16 rifle, 
preparing to remove two 20mm caliber machine guns, and conducting overall photography around the vessel as planned. Additionally, some external equipments which can be extracted from the vessel were recovered as well.
The operations succeeded smoothly without any hindrances, and all personnel are safe.
Furthermore, Royal Thai Navy has released the latest images of HTMS Sukhothai which has been submerged in the sea for over 1 year and 2 months, including the survey of the Commanding officer's cabin and other areas inside the vessel to search for the deceased. However, as of now, no bodies have been found in those areas. Nonetheless, the joint operations team has plans to continue the search in the coming days.
For tomorrow's operations (February 26, 2024), which marks the fifth day of operations, there will be five dives aimed at surveying and searching for missing individuals in the main engine room, mess hall, pantry room, and the central corridor of the superstructure. The progress of tomorrow's operations will be reported in due course.



Day 5 of searching and decommissioning hazardous materials operations of HTMS Sukhothai : No missing sailors have been found 
On February 26, 2024, marking the fifth day of searching and decommissioning hazardous materials operations of HTMS Sukhothai. The combined operation of the Royal Thai Navy and the United States Navy aboard the Ocean Valor vessel, 
stationed near the location where the HTMS Sukhothai sank off at Prachuap Khiri Khan Province, conducted four dives. The missions included searching for missing sailors and examining evidence for investigation within various areas inside the vessel:
Dive 1: Entrance to the main engine room from the aft of the ship
Dive 2: Inside the main engine room
Dive 3: Inside the mess hall
Dive 4: Inside the pantry room
Dive 5: Canceled due to adverse weather conditions.
The operation succeeded smoothly, and all personnel are safe. As of now, no missing sailors have been found inside the vessel.
For tomorrow's operation, there will be coordinated diving operations totaling 5 dives, aimed at decommissioning of hazardous materials of HTMS Sukhothai, including the Harpoon missile system and the torpedo system.
Furthermore, Royal Thai Navy has released the latest images of HTMS Sukhothai's interior engine room to search for the deceased's remains. However, as of now, there have been no sightings of the missing sailors in the mentioned area.
Rear Admiral Veerudome Muangchean, the Royal Thai Navy spokesperson, revealed that the objectives of the joint operations between the Royal Thai Navy and US navy are to survey evidence to support the investigation, 
search for missing sailors who may be trapped inside the vessel, render U.S. ordnance inoperable, and retrieve some equipment and items of sentimental value to the personnel. 
In this operation with the United States, there are currently no plans to lift the entire vessel from underwater.
The current operations are proceeding as planned in consultation with the United States, with no changes or disruptions. Royal Thai Navy will provide updates on the operation's progress consistently.

The search and decommission of hazardous materials operation for HTMS Sukhothai on the 6th day involved the removal two of Harpoon missile launch tubes, which was successfully accomplished.
On February 27, 2024, marked the 6th day of searching and decommissioning hazardous materials operation of HTMS Sukhothai. The joint operation between the Royal Thai Navy and the United States Navy aboard the Ocean Valor vessel, 
stationed near the location where the HTMS Sukhothai sank off at Bang Saphan District, Prachuap Khiri Khan Province. 
The operation consisted of 4 diving sessions aimed at searching for missing sailors and conducting surveys and removal of Harpoon missile launch tubes to exterminate the weapons’ capability.
The operation succeeded smoothly, with no findings of missing sailors in the surveyed area. However, there was a change in the initial plan from   surveying and removal of torpedoes tubes to removal two Harpoon missile launch tubes. 
The removal of both Harpoon tubes was successfully and be brought to the Ocean Valor vessel without any obstacles. All personnel involved in today's operation were safe.
For tomorrow's operation, there will be another joint diving operation to search for missing sailors and remove torpedo launch tubes to neutralize their capabilities, totaling 4 diving sessions. 
The Royal Thai Navy will provide continuous updates on the operation's progress accordingly.

The search and decommission of hazardous materials operation for HTMS Sukhothai on the 7th day successfully recovered three port-sided torpedo launch tubes to the water surface.
On February 28, 2024, marked the 7th day of searching and decommissioning hazardous materials operation of HTMS Sukhothai. The combined operations between the Royal Thai Navy and the United States Navy aboard the Ocean Valor vessel, 
stationed near the location where HTMS Sukhothai sank in the gulf of Thailand. Today’s operation consisted of 4 diving sessions aimed at searching for missing sailors, conducting surveys and recover of torpedo launch tubes to exterminate the weapons’ capability.
The operation yielded no findings of missing sailors in the surveyed area. However, the recovery of three torpedo launch tubes to the Ocean Valor vessel were successfully completed. 
Operational challenges were encountered due to strong wind and waves, along with thunderstorms in the operational area. Nevertheless, all personnel remained safe during today's operation.
For tomorrow's operation, another combined diving operation will be conducted to search for missing sailors, conduct surveys, and recover starboard side torpedo launch tubes to neutralize their capabilities, totaling 4 diving sessions. The Royal Thai Navy will provide continuous updates on the operation's progress accordingly.
Office of the Royal Thai Navy Spokesperson

The search and decommission of hazardous materials operation for HTMS Sukhothai on the 8th day successfully recovered starboard sided torpedo launch tubes to the water surface. 
On February 29, 2024, marked the 8th day of searching and decommissioning hazardous materials operation of HTMS Sukhothai. The combined operations between the Royal Thai Navy and the United States Navy aboard the Ocean Valor vessel, 
stationed near the location where HTMS Sukhothai sank in the gulf of Thailand. There were five diving operations conducted. The operation included searching for missing sailors, surveying and recovering torpedo launchers, 
searching for missing sailors in the radar room, and removing the simulated weapon release system to disable its functionality.
The operation yielded no findings of missing sailors in the surveyed area (Radar room); however, the extraction of the starboard sided torpedo launcher (3 tubes) to the Ocean Valor was successful. 
The removal of the simulated weapon release system was also completed successfully. Despite challenging working conditions due to strong winds and waves measuring 1 - 1.5 meters, all personnel were safe.
The Royal Thai Navy has released underwater operation video showing the extraction of the Harpoon missile tubes and Torpedo launchers, which were conducted during 27-29 February.
For tomorrow's operation, there will be four combined diving operations to search for missing sailors in the Combat Information Center, as well as to disable the functionality and capabilities of the simulated Harpoon missile launcher system. 
The Royal Thai Navy will provide continuous updates on the operation's progress accordingly.
Office of the Royal Thai Navy Spokesperson

ผู้บัญชาการทหารเรือ ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติการค้นหาและปลดวัตถุอันตรายเรือหลวงสุโขทัย
วันนี้ 22 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09.15 น. พลเรือเอก อะดุง  พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ เดินทางไปตรวจเยี่ยมการปฏิบัติการค้นหาและปลดวัตถุอันตรายเรือหลวงสุโขทัย บนเรือ Ocean Valor บริเวณอ่าวไทยใกล้จุดที่เรือหลวงสุโขทัยอับปาง ในพื้นที่อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์   
ทั้งนี้ ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้เดินทางโดยเฮลิคอปเตอร์มายังเรือหลวงอ่างทอง โดยมีพลเรือเอก ชาติชาย  ทองสะอาด ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ ในฐานะประธานคณะกรรมการอำนวยการค้นหาและปลดอาวุธอันตรายเรือหลวงสุโขทัย และนาวาเอก Hugh Winkel ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารเรือสหรัฐฯ ประจำกรุงเทพมหานคร ให้การต้อนรับ และร่วมสังเกตุการณ์บนเรือ Ocean Valor ซึ่งเป็นเรือปฏิบัติการหลัก ในการค้นหาและปลดวัตถุอันตรายเรือหลวงสุโขทัย โอกาสนี้ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้ทักทายกำลังพลกองทัพเรือและกองทัพเรือสหรัฐ 
รวมถึงผู้บังคับการหน่วยดำน้ำกองทัพเรือสหรัฐฯ ที่เข้าร่วมปฏิบัติการในครั้งนี้ และสังเกตการณ์การปฏิบัติอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่ขั้นเตรียมการก่อนลงปฏิบัติการจนถึงขั้นการลงไปปฏิบัติงานใต้น้ำ
ในเวลาต่อมา ผู้บังคับการหน่วยดำน้ำกองทัพเรือสหรัฐฯ ได้นำผู้บัญชาการทหารเรือชมระบบติดต่อสื่อสารและแสดงภาพจากทีมชุดประดาน้ำ ภายในห้องควบคุม และเมื่อเสร็จสิ้นการตรวจเยี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือและคณะได้เดินทางกลับมายังเรือหลวงอ่างทอง 
เพื่อให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ถึงปฏิบัติการในครั้งนี้ โดยมีใจความสำคัญ “กองทัพเรือ ขอยืนยันว่า การปฏิบัติการครั้งนี้ตรงไปตรงมา และเอามาประกอบสิ่งที่ต้องการแถลงให้คนไทยทั้งประเทศ ทราบว่าเรือหลวงสุโขทัย จมไปเพราะอะไร ซึ่งต้องชัดเจน เมื่อฟังแล้วต้องเข้าใจ 
คำถามทั้งหมดต้องได้รับการอธิบาย ซึ่งจากการไปถ่ายรูปเรือหลวงสุโขทัยใต้น้ำ มีรอยปริบริเวณหัวเรือ ส่วนจะเกิดจากสาเหตุอะไรขอให้รอข้อมูล พร้อมยืนยันว่ารอยปริดังกล่าวไม่ได้ปริเนื่องจากสาเหตุการซ่อมบำรุง และต้องขอบคุณกองทัพเรือสหรัฐฯ ที่ได้ให้การช่วยเหลือในการปฏิบัติการครั้งนี้ เพราะการประมูลกู้เรือหลวงสุโขทัยทั้ง 2 ครั้ง ไม่สำเร็จ เพราะบริษัทฯ ที่เสนอตัวมา มีเอกสารรับรองคุณสมบัติไม่ครบตามที่กองทัพเรือต้องการ ส่วนงบประมาณที่เตรียมไว้กู้เรือนั้น ในส่วนที่รัฐบาลสนับสนุนมา 90 ล้านบาท จะนำส่งคืน เพื่อให้รัฐบาลนำไปช่วยเหลือประชาชน 
ส่วนงบประมาณที่เตรียมไว้บางส่วน จะนำมาใช้ในการปฏิบัติการครั้งนี้
การเยี่ยมชมการปฏิบัติงานบนเรือ Ocean Valor ในวันนี้ ได้เห็นถึงความยากลำบากในการปฏิบัติงาน ตั้งแต่ขั้นการลำเลียงอุปกรณ์ดำน้ำมาจากฐานทัพเรือในฮาวาย มาลงเรือที่สิงคโปร์ และนำเรือมายังจุดดำน้ำแห่งนี้ โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใด ๆ 
นับเป็นการแสดงออกถึงมิตรภาพอันยาวนานระหว่างกองทัพเรือของทั้งสองประเทศ ที่มุ่งมั่นในการปฏิบัติภารกิจในครั้งนี้ร่วมกัน ให้สำเร็จลุล่วงตามจุดประสงค์อย่างปลอดภัย 
สำหรับการปฏิบัติภารกิจในครั้งนี้ จะอยู่ในขั้นตอนการสำรวจตัวเรือและค้นหาผู้สูญหาย โดยจะทำการดำลงไปถ่ายภาพตัวเรือทั้งภายนอก และภายใน เพื่อใช้ในการสืบสวนสาเหตุการจมของเรือ รวมถึงสำรวจและค้นหาผู้สูญหาย โดยจะใช้ระยะเวลาในการปฏิบัติการประมาณ 5 วัน 
ก่อนที่จะเข้าสู่ขั้นตอนการเก็บกู้ยุทโธปกรณ์ และปลดวัตถุอันตรายในอีก 14 วัน รวมถึงการเก็บกู้สิ่งที่มีคุณค่าทางจิตใจของกำลังพลกองทัพเรือต่อไป 
ซึ่งในวันนี้ผู้บัญชาการทหารเรือได้แจ้งว่าสิ่งแรกที่จะนำขึ้นมาจากเรือหลวงสุโขทัยชิ้นแรกคือ “ป้ายชื่อเรือหลวงสุโขทัย” โดยรวมระยะเวลาในการปฏิบัติการทั้งสิ้น 19 วัน ทั้งนี้กองทัพเรือจะแจ้งความคืบหน้าในการปฏิบัติให้ทราบอย่างต่อเนื่อง

การปฏิบัติการค้นหาและปลดวัตถุอันตรายเรือหลวงสุโขทัย วันที่ 2 ยังคงภารกิจในการสำรวจและรวบรวมหลักฐานรอบตัวเรือ โดยนำป้ายชื่อเรือหลวงสุโขทัย เป็นของชิ้นแรกที่นำขึ้นจากน้ำ
วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 ซึ่งเป็นวันที่ 2 ของปฏิบัติการค้นหาและปลดวัตถุอันตรายเรือหลวงสุโขทัย ชุดปฏิบัติการของกองทัพเรือไทยและกองทัพเรือสหรัฐ ฯ บนเรือ Ocean Valor 
ที่จอดเรืออยู่บริเวณอ่าวไทยใกล้จุดที่เรือหลวงสุโขทัยอับปาง ในพื้นที่อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ยังคงปฏิบัติภารกิจอย่างต่อเนื่อง   
ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันแรกของปฏิบัติการ ชุดประดาน้ำผสมของกองทัพเรือไทยและกองทัพเรือสหรัฐ ฯ ได้ทำการปฏิบัติการ จำนวน 3 เที่ยว เป็นการถอดป้ายชื่อเรือหลวงสุโขทัยทางกราบขวา 
แต่ไม่สามารถปฏิบัติได้ เนื่องจากป้ายยึดแน่นจากการที่สัตว์ทะเลเกาะอยู่บริเวณพื้นผิว ประกอบกับเวลาปฏิบัติการใต้น้ำไม่เพียงพอ จึงเลื่อนการเก็บกู้ป้ายฯ ไปดำเนินการในวันถัดไป 
จากนั้นได้ทำการดำน้ำเพื่อถ่ายภาพบริเวณเครื่องกว้านสมอ ทางเข้า(ฝา Hatch )หน้าเครื่องกว้าน และรอยฉีกหน้าโครงกันคลื่น(Wave breaker) โดยการปฏิบัติการในวันแรก เป็นไปด้วยความเรียบร้อย สภาพทะเลและอากาศไม่เป็นอุปสรรคในการปฏิบัติงาน
ทั้งนี้ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 ชุดประดาน้ำผสมกองทัพเรือของทั้งสองประเทศ ได้วางแผนการดำน้ำ จำนวน 4 เที่ยว ประกอบด้วย
เที่ยวที่ 1 และ 2 เป็นการสำรวจตัวเรือภายนอก และดำน้ำเพื่อถอดป้ายชื่อเรือหลวงสุโขทัย
เที่ยวที่ 3 และ 4 เป็นการดำน้ำเพื่อตรวจวัดรอยทะลุบริเวณหัวเรือ และการตรวจสอบประตูผนึกกั้นน้ำบริเวณท้ายเรือ และบริเวณแท่นอาวุธปล่อย Aspide บริเวณท้ายเรือ
จากการดำน้ำในช่วงเช้าของวันนี้ ชุดประดาน้ำผสมของกองทัพเรือทั้งสองประเทศสามารถนำป้ายเรือหลวงสุโขทัย ซึ่งเป็นสิ่งของชิ้นแรกที่นำขึ้นมาจากเรือได้เป็นผลสำเร็จ  
สำหรับความคืบหน้าของผลการปฏิบัติในช่วงบ่าย กองทัพเรือจะชี้แจงให้ทราบในโอกาสต่อไป 

ผลปฏิบัติการค้นหาและปลดวัตถุอันตรายเรือหลวงสุโขทัย ในวันที่ 2 และกองทัพเรือเตรียมส่งเงินคืน จำนวน 90 ล้านบาท เพื่อให้รัฐบาลนำไปช่วยเหลือประชาชน
ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 ซึ่งเป็นวันที่ 2 ของปฏิบัติการค้นหาและปลดวัตถุอันตรายเรือหลวงสุโขทัย โดยชุดปฏิบัติการของกองทัพเรือไทยและกองทัพเรือสหรัฐ ฯ บนเรือ Ocean Valor ที่จอดเรืออยู่บริเวณอ่าวไทยใกล้จุดที่เรือหลวงสุโขทัยอับปาง ในพื้นที่อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยในวันนี้มีการดำน้ำ จำนวน 4 เที่ยว ดังนี้
ในเที่ยวที่ 1 ได้ดำเนินการถอดป้ายเรือหลวงสุโขทัย เป็นผลสำเร็จ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเริ่มต้นปฐมฤกษ์ที่ดี และเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่กำลังพลชุดดำน้ำของทั้ง 2 ประเทศ กับความสำเร็จในก้าวแรกของปฏิบัติการครั้งนี้
ในเที่ยวที่ 2 ทำการถ่ายภาพตรวจวัดตำบลที่รอยทะลุข้างตัวเรือกราบซ้าย
ในเที่ยวที่ 3 ทำการสำรวจสะพานเดินเรือ ซึ่งชุดปฏิบัติการได้ทำการถ่ายภาพและนำพระพุทธรูป และเอกสารบางส่วนบนสะพานเดินเรือ กลับขึ้นมายังผิวน้ำ เพื่อนำไปเก็บรักษา และใช้ประกอบการสอบสวนต่อไป
ในเที่ยวที่ 4 เป็นการดำลงไปตรวจสอบ โครงกันคลื่นบริเวณหน้าป้อมปืนซึ่งมีรอยฉีกขาด ซึ่งผลการปฏิบัติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
ทั้งนี้ พลเรือตรี วีรุดม ม่วงจีน โฆษกกองทัพเรือ ได้เปิดเผยว่า วันนี้ พลเรือเอก อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้มอบหมายให้ พลเรือโท ประกอบ สุขสมัย ปลัดบัญชีทหารเรือ ลงนามในหนังสือกองทัพเรือ เสนอสำนักงบประมาณ  
เพื่อนำส่งคืนงบประมาณจำนวน 90 ล้านบาท ที่ได้รับสำหรับการกู้และลำเลียงเรือหลวงสุโขทัย เพื่อให้รัฐบาลได้นำไปใช้ในการช่วยเหลือประชาชนต่อไป
สำหรับการปฏิบัติการในวันพรุ่งนี้ 24 กุมภาพันธ์ 2567 จะทำการดำน้ำสำรวจทั้งภายนอกและภายในเรือหลวงสุโขทัย ทั้งหมด 4 เที่ยว ดังนี้ 
ในเที่ยวที่ 1 สำรวจห้องผู้บังคับการเรือ
ในเที่ยวที่ 2 สำรวจห้องใต้ป้อมปืน 76/62 (OTO Melara 76 mm gun) และรอยฉีกบนเพดานใต้โครงกันคลื่น (Wave breaker)
ในเที่ยวที่ 3 สำรวจประตูทางลงห้องเครื่องจักรใหญ่ 
ในเที่ยวที่ 4 ดำลงไปเพื่อเปิดประตูผนึกน้ำท้ายเรือห้องเครื่องจักรใหญ่ ห้องเครื่องไฟฟ้าฉุกเฉิน และฝาทางเข้าช่องลำเอียงอาวุธปล่อยนำวิถีอัสปิเด (Hatch Reload Aspide)
ความคืบหน้าของผลการปฏิบัติในวันพรุ่งนี้กองทัพเรือจะชี้แจงให้ทราบในโอกาสต่อไป
สำนักงานโฆษกกองทัพเรือ

การปฏิบัติการค้นหาและปลดวัตถุอันตรายเรือหลวงสุโขทัย วันที่ 3  
วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2567 ซึ่งเป็นวันที่ 3 ของปฏิบัติการ ค้นหาและปลดวัตถุอันตรายเรือหลวงสุโขทัย ชุดปฏิบัติการของกองทัพเรือไทยและกองทัพเรือสหรัฐ ฯ บนเรือ Ocean Valor ที่จอดเรืออยู่บริเวณอ่าวไทยใกล้จุดที่เรือหลวงสุโขทัยอับปาง ในพื้นที่อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การดำน้ำ จำนวน 4 เที่ยว โดยมีผลการปฏิบัติที่สำคัญ ดังนี้
ในเที่ยวที่ 1 สำรวจห้องผู้บังคับการเรือ
ในเที่ยวที่ 2 สำรวจห้องใต้ป้อมปืน 76/62 โอโต้ เมลาร่า (OTO Melara 76 mm gun) และรอยฉีกบนเพดานใต้โครงกันคลื่น (Wave breaker)
ในเที่ยวที่ 3 สำรวจประตูทางลงห้องเครื่องจักรใหญ่ โดยเข้าทางประตูท้ายเรือซ้าย
ในเที่ยวที่ 4 ดำลงไปเพื่อเปิดประตูผนึกน้ำท้ายเรือห้องเครื่องจักรใหญ่ ห้องเครื่องไฟฟ้าฉุกเฉิน และฝาทางเข้าช่องลำเอียงอาวุธปล่อยนำวิถีอัสปิเด (Hatch Reload Aspide)
โดยผลการปฏิบัติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่มีอุปสรรคข้อขัดข้อง กำลังพลทุกนายปลอดภัย 
ทั้งนี้  กองทัพเรือได้ เผยแพร่ภาพการสำรวจตัวเรือ ในเที่ยวที่ 3 ของวานนี้ (วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567) ซึ่งชุด ประดาน้ำ ได้ทำการสำรวจสะพานเดินเรือ และนำพระพุทธรูป รวมถึงเอกสารบางส่วนบนสะพานเดินเรือ กลับขึ้นมายังผิวน้ำ เพื่อนำไปเก็บรักษาและใช้ประกอบการสอบสวนต่อไป
สำหรับการปฏิบัติการในวันพรุ่งนี้ (25 กุมภาพันธ์ 2567) จะเป็นการดำน้ำ จำนวน 6 เที่ยว เพื่อ สำรวจ ถ่ายภาพเพื่อรวบรวมหลักฐานรอบตัวเรือ และถอดถอนอุปกรณ์ภายนอกบางส่วนขึ้นมาจากน้ำ 
สำหรับ ความคืบหน้าของผลการปฏิบัติในวันพรุ่งนี้ กองทัพเรือจะชี้แจงให้ทราบในโอกาสต่อไป

การปฏิบัติการค้นหาและปลดวัตถุอันตรายเรือหลวงสุโขทัย วันที่ 4
วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2567 ซึ่งเป็นวันที่ 4 ของปฏิบัติการ ค้นหาและปลดวัตถุอันตรายเรือหลวงสุโขทัย
โดยการปฏิบัติในวันนี้  เป็นการดำน้ำแบบถังอากาศ จำนวน 6 เที่ยว โดยใช้เรือหลวงมันในเป็นฐานในการปฏิบัติการ มีการปฏิบัติที่สำคัญ คือ การค้นหาผู้สูญหาย บริเวณห้องเรดาร์ 2 การย้ายตำแหน่งผูกทุ่น การเก็บกู้ปืนเล็กยาว M16 การเตรียมการถอดถอน ปืนกลขนาด 20 มิลลิเมตร 
การถ่ายภาพโดยรวมรอบตัวเรือ โดยสามารถดำเนินการได้ตามแผนที่วางไว้  นอกจากนั้นยังได้มีการถอดถอนอุปกรณ์ที่สามารถทำการถอดถอนได้ภายนอกตัวเรือขึ้นมาจากน้ำ
โดยผลการปฏิบัติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่มีอุปสรรคข้อขัดข้อง กำลังพลทุกนายปลอดภัย  
ทั้งนี้  กองทัพเรือได้ เผยแพร่ภาพล่าสุดของเรือหลวงสุโขทัยที่จมอยู่ในทะเลนานกว่า 1 ปี 2 เดือน รวมถึงการสำรวจภายในห้องผู้บังคับการเรือ และการสำรวจพื้นที่อื่น ๆ ภายในเรือเพื่อค้นหาร่างของผู้เสียชีวิต แต่จนถึงปัจจุบัน ยังไม่ปรากฏว่ามีการพบร่างผู้สูญหายในบริเวณพื้นที่ดังกล่าว 
อย่างไรก็ตาม ชุดปฏิบัติการร่วมฯ มีแผนการปฏิบัติในการค้นหาในวันต่อๆ ไป 
การปฏิบัติการในวันพรุ่งนี้  (26 กุมภาพันธ์ 2567) ซึ่งเป็นวันที่ 5 ของการปฎิบัติการ จะเป็นการดำน้ำ จำนวน 5 เที่ยว โดยชุดปฏิบัติการจะทำการสำรวจและค้นหาผู้สูญหายในห้องเครื่องจักรใหญ่  ห้องเมสจ่า  ห้องเสมียนพลาธิการ รวมถึงช่องทางเดินกลางลำดาดฟ้า 1  
ซึ่งความคืบหน้าของผลการปฏิบัติในวันพรุ่งนี้ กองทัพเรือจะชี้แจงให้ทราบในโอกาสต่อไป

การปฏิบัติการค้นหาและปลดวัตถุอันตรายเรือหลวงสุโขทัย วันที่ 5 ยังไม่พบร่างกำลังพลที่สูญหาย
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2567 ซึ่งเป็นการปฏิบัติการ ค้นหาและปลดวัตถุอันตรายเรือหลวงสุโขทัย วันที่ 5 โดยชุดปฏิบัติการร่วมของกองทัพเรือไทยและกองทัพเรือสหรัฐ ฯ บนเรือ Ocean Valor ที่ลอยลำใกล้จุดที่เรือหลวงสุโขทัยอับปาง ในพื้นที่อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 
มีการดำน้ำ จำนวน 4 เที่ยว  โดยมีภารกิจค้นหาผู้สูญหาย และตรวจสอบหลักฐานประกอบการสอบสวน บริเวณต่างๆ  ภายในตัวเรือ ดังนี้
เที่ยวที่ 1 บริเวณทางเข้าประตูทางเข้าห้องเครื่องจักรใหญ่จากทางท้ายเรือ 
ที่ยวที่ 2  บริเวณภายในห้องเครื่องจักรใหญ่
เที่ยวที่ 3 บริเวณภายในห้องเมสจ่า
เที่ยวที่ 4 บริเวณภายในห้องเสมียนพลาธิการ
(เที่ยวที่ 5 ได้ถูกยกเลิกเนื่องจากติดสภาพอากาศ)
โดยผลการปฏิบัติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย กำลังพลทุกนายปลอดภัย จากการปฏิบัติการจนถึงปัจจุบัน ยังไม่พบผู้สูญหายติดอยู่ในเรือ
สำหรับการปฏิบัติการวันพรุ่งนี้ จะมีการปฏิบัติการดำน้ำร่วมกัน จำนวน 5 เที่ยว โดยเป็นการปลดวัตถุอันตราย ระบบอาวุธปล่อยนำวิถี Harpoon และระบบตอร์ปิโด ของเรือหลวงสุโขทัย  
ทั้งนี้ กองทัพเรือได้เผยแพร่ภาพล่าสุดของเรือหลวงสุโขทัย ภายในห้องเครื่องจักรใหญ่ เพื่อค้นหาร่างของผู้เสียชีวิต แต่จนถึงปัจจุบัน ยังไม่ปรากฏว่ามีการพบร่างผู้สูญหายในบริเวณพื้นที่ดังกล่าว
พลเรือตรี วีรุดม  ม่วงจีน โฆษกกองทัพเรือ เปิดเผยว่า การปฏิบัติร่วมฯ ระหว่างกองทัพเรือไทยและกองทัพเรือสหรัฐฯ ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ คือ สำรวจ ตรวจสอบวัตถุพยานและหลักฐานมาประกอบผลการสอบสวนข้อเท็จจริงของเหตุการณ์เรืออัปปาง การค้นหาผู้สูญหายที่อาจติดอยู่ในเรือ การทำให้ยุทโธปกรณ์ของสหรัฐฯ หมดความสามารถที่จะใช้งานต่อไป และการนำอุปกรณ์และยุทโธปกรณ์บางอย่าง รวมถึง การเก็บกู้สิ่งที่มีคุณค่าทางจิตใจของกำลังพล  สำหรับการปฎิบัติการร่วมกับสหรัฐฯ ในครั้งนี้จะยังไม่มีการกู้เรือทั้งลำขึ้นมาจากใต้น้ำ  
โดยการดำเนินการปัจจุบันยังเป็นไปแผนที่ได้หารือร่วมกับฝ่ายสหรัฐฯ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง หรือข้อขัดข้องในการปฏิบัติแต่อย่างใด  ทั้งนี้ กองทัพเรือ จะรายงานผลการปฏิบัติให้ทราบในโอกาสต่อไป
สำนักงานโฆษกกองทัพเรือ

การปฏิบัติการค้นหาและปลดวัตถุอันตรายเรือหลวงสุโขทัย วันที่ 6 ชุดปฏิบัติการร่วมได้ทำการถอดถอนท่อยิง อาวุธปล่อยนำวิถีฮาร์พูน จำนวน 2 ท่อยิง ได้สำเร็จ
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567 ซึ่งเป็นการปฏิบัติการค้นหาและปลดวัตถุอันตรายเรือหลวงสุโขทัย วันที่ 6 โดยชุดปฏิบัติการร่วมของกองทัพเรือไทยและกองทัพเรือสหรัฐ ฯ บนเรือ Ocean Valor ที่จอดเรืออยู่บริเวณอ่าวไทยใกล้จุดที่เรือหลวงสุโขทัยอับปาง 
ในพื้นที่อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีการดำน้ำ จำนวน 4 เที่ยว โดยมีภารกิจในการค้นหาผู้สูญหาย และทำการสำรวจและถอดถอนท่อยิงอาวุธปล่อยนำวิถีฮาร์พูน เพื่อทำลายขีดความสามารถของอาวุธดังกล่าว 
โดยผลการปฏิบัติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่พบผู้สูญหายบริเวณพื้นที่ที่สำรวจ โดยมีการเปลี่ยนแปลงจากแผนที่วางไว้ จากการสำรวจและถอดถอนท่อยิงตอร์ปิโด เป็นท่อยิงอาวุธปล่อยนำวิถีฮาร์พูน 
ผลการปฏิบัติสามารถทำการถอดถอนท่อยิงอาวุธปล่อยนำวิถีฮาร์พูนได้ทั้ง 2 ท่อ ขึ้นบนเรือ Ocean Valor ไม่มีอุปสรรคข้อขัดข้อง กำลังพลทุกนายปลอดภัยจากการปฏิบัติการในวันนี้
สำหรับการปฏิบัติการพรุ่งนี้ จะมีการปฏิบัติการดำน้ำร่วมกัน ในการถอดถอนท่อยิงตอร์ปิโด เพื่อทำลายขีดความสามารถ จำนวน 4 เที่ยว ทั้งนี้ กองทัพเรือ จะรายงานผลการปฏิบัติให้ทราบในโอกาสต่อไป
สำนักงานโฆษกกองทัพเรือ

การปฏิบัติการค้นหาและปลดวัตถุอันตรายเรือหลวงสุโขทัย วันที่ 7 สามารถถอดถอนแท่นยิงตอร์ปิโดกราบซ้าย 3 ท่อยิงขึ้น บนผิวน้ำได้สำเร็จ 
วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 ซึ่งเป็นการปฏิบัติการค้นหาและปลดวัตถุอันตรายเรือหลวงสุโขทัย วันที่ 7 โดยชุดปฏิบัติการร่วมของกองทัพเรือไทยและกองทัพเรือสหรัฐฯ บนเรือ Ocean Valor ที่จอดเรืออยู่บริเวณอ่าวไทยใกล้จุดที่เรือหลวงสุโขทัยอับปาง 
ในพื้นที่อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีการดำน้ำ จำนวน 4 เที่ยว โดยมีภารกิจในการค้นหาผู้สูญหาย และทำการสำรวจและถอดถอนท่อยิงตอร์ปิโด เพื่อทำลายขีดความสามารถของอาวุธ
โดยผลการปฏิบัติ ไม่พบผู้สูญหายบริเวณพื้นที่ที่สำรวจ และได้ทำการถอดถอนแท่นยิงตอร์ปิโดกราบซ้าย(3 ท่อยิง) ขึ้นบนเรือ Ocean Valor ได้สำเร็จ แต่เนื่องจากภาวะคลื่นลมแรง ความสูงคลื่น 1 – 1.5 เมตร ประกอบกับมีฝนฟ้าคะนองในพื้นที่ปฏิบัติการ เป็นอุปสรรคการปฏิบัติงาน 
โดยชุดปฏิบัติการจะปรับแผนการปฏิบัติในส่วนที่ไม่สามารถดำเนินการได้ปฏิบัติในวันต่อไป 
สำหรับการปฏิบัติการพรุ่งนี้ จะมีการปฏิบัติการดำน้ำร่วมกัน ในการค้นหาผู้สูญหาย สำรวจและถอดถอนท่อยิงตอร์ปิโดกราบขวา เพื่อทำลายขีดความสามารถ จำนวน 4 เที่ยว ทั้งนี้ กองทัพเรือ จะรายงานผลการปฏิบัติให้ทราบในโอกาสต่อไป
สำนักงานโฆษกกองทัพเรือ

วันที่ 8 ของการปฏิบัติการค้นหาและปลดวัตถุอันตรายเรือหลวงสุโขทัย สามารถถอดถอนแท่นยิงตอร์ปิโดกราบขวา และระบบจำลองลูกอาวุธปล่อยนำวิถีได้สำเร็จ 
วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 ซึ่งเป็นการปฏิบัติการค้นหาและปลดวัตถุอันตรายเรือหลวงสุโขทัย เป็นวันที่ 8 โดยชุดปฏิบัติการร่วมของกองทัพเรือไทยและกองทัพเรือสหรัฐฯ บนเรือ Ocean Valor ที่จอดเรืออยู่บริเวณอ่าวไทยใกล้จุดที่เรือหลวงสุโขทัยอับปาง 
โดยมีการดำน้ำ จำนวน 5 เที่ยว มีภารกิจในการค้นหาผู้สูญหาย บริเวณตัวเรือและห้องเรดาร์ การสำรวจและถอดถอนท่อยิงตอร์ปิโด และถอดถอนระบบจำลองลูกอาวุธปล่อยนำวิถี เพื่อทำลายขีดความสามารถ 
โดยผลการปฏิบัติ ยังไม่พบผู้สูญหายบริเวณพื้นที่ที่สำรวจ สามารถถอดถอนแท่นยิงตอร์ปิโดกราบขวา(3 ท่อยิง) ขึ้นบนเรือ Ocean Valor ได้สำเร็จ และถอดถอนระบบจำลองลูกอาวุธปล่อยนำวิถีได้สำเร็จ กำลังพลทุกนายปลอดภัย 
โดยพื้นที่ปฏิบัติงานมีภาวะคลื่นลมแรง ความสูงคลื่น 1 – 1.5 เมตร ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน
ทั้งนี้ กองทัพเรือได้เปิดเผยภาพการปฏิบัติการใต้น้ำในการถอดถอนท่อยิงอาวุธปล่อยนำวิถีฮาร์พูน และแท่นยิงตอร์ปิโด ซึ่งชุดปฏิบัติการร่วมได้ดำเนินการระหว่างวันที่ 27-29 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา 
สำหรับการปฏิบัติการในวันพรุ่งนี้ จะยังคงมีการปฏิบัติการดำน้ำร่วมกันจำนวน 4 เที่ยว ในการค้นหาผู้สูญหาย บริเวณห้องศูนย์ยุทธการภายในตัวเรือ รวมถึงทำการปลดขีดความสามารถของระบบจำลองของอาวุธปล่อยนำวิถีฮาร์พูน โดยผลการปฏิบัติจะแจ้งให้ทราบในโอกาสต่อไป
สำนักงานโฆษกกองทัพเรือ












Royal Thai Navy (RTN)'s OPV-552 HTMS Prachuap Khiri Khan, the Krabi-class offshore patrol vessel conducted 37th INDO-THAI CORPAT and involved Multilateral Naval Exercise MILAN 2024 with Indian Navy along participation of 50+ nations, 35 warships & submarines during 19-27 February 2024. (Royal Thai Navy/Indian Navy)

เริ่มแล้ว !!! “Sea Phase MILAN 2024”
เรือรบชาติต่างๆ ได้ทะยอยกันเดินทางออกจากท่าเทียบเรือ ไปยังจุดนัดพบ เพื่อทำการฝึกผสมในทะเล “ MILAN 2024” ซึ่งกำหนดห้วงเวลาการฝึกไว้ 4 วัน ระหว่าง 24-27 กุมภาพันธ์ 2567




Royal Thai Navy (RTN) held keel laying ceremony of the new Oceanographic Survey Ship at Asian Marine Service PCL (ASIMAR) shipyard in Samut Prakan Province, Thailand on 27 February 2024. (Royal Thai Navy) 

การกู้เรือคอร์เวตชุดเรือหลวงรัตนโกสินทร์เรือหลวงสุโขทัยแบบจำกัดร่วมกันระหว่างกองทัพเรือไทยและกองทัพเรือสหรัฐฯระหว่างวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์-๑๙ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๗ ซึ่งกองทัพเรือไทยจะส่งคืนงบประมาณวงเงิน ๙๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($2,509,761) คืนกลับสู่คลังสำนักงบประมาณแผ่นดิน
โดยจากที่ร้องขอวงเงิน ๒๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($5,575,612) จะมีการใช้วงเงินที่เหลืออีก ๑๑๐,๐๐๐,๐๐๐บาท(3,066,587) ในการดำเนินการต่างๆต่อไป แต่ทว่าผู้ไม่หวังดีต่อชาติและสื่อไร้จรรยาบรรณก็ยังคงโจมตีใส่ร้ายกองทัพเรือว่าพยายามปกปิดสาเหตุการจมของเรือ โดยไม่ฟังเหตุผลที่เป็นข้อแนะนำจากกองทัพเรือสหรัฐฯการกู้เรืออาจจะทำให้ตัวเรือที่พบว่ามีรอยแตกที่หัวเรือหักซึ่งเคยเกิดขึ้นมาแล้วอันจะเป็นการทำลายหลักฐานได้อยู่ดี
ขณะเดียวกันที่กองทัพเรือไทยได้ส่งเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงกระบี่เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ไปร่วมการฝึก MILAN 2024 ที่อินเดีย หรือพิธีวางกระดูกงูเรือปฏิบัติการอุทกศาสตร์ลำใหม่โดยอู่เรือ ASIMAR ไทยเมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๗ กลับไม่ได้รับความสนใจจากสื่อหลักเลยครับ








One of 4 Chinese Norinco's SR4 122mm self-propelled multiple rocket launcher (SPMRL) of 711th Artillery Battalion, 71st Artillery Regiment, Artillery Division, Royal Thai Army (RTA). (Sompong Nondhasa) 
Royal Thai Army planned to procure additional 2 of SR4 from Norinco to equip its SR4 MRL battery at full capacity of 6 systems.

SR4 เครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องขนาด 122 มม. … SR4 เป็นเครื่องยิงจรวดแบบหลายลำกล้อง ขนาด 122 มม. มี 40 ท่อยิง ติดตั้งอยู่บนรถบรรทุกล้อยาง 6x6 ผลิตโดย NORINCO ประเทศจีน ซึ่งเป็นโรงงานผลิตอาวุธขนาดใหญ่ มีความเชื่อถือได้ 
โดย NORINCO มีพนักงานกว่า 3 แสนคน ผลิตอาวุธให้กับกองทัพจีนและเพื่อการส่งออกขายต่างประเทศ จุดมุ่งหมายของ SR4 คือใช้เป็นอาวุธโจมตี กองกำลังทหาร บังเกอร์ จุดที่ตั้งทางทหาร กองบัญชาการ และสถานที่สำคัญ 
เมื่อรวมอำนาจการยิงแล้ว จะสามารถทำลายเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เครื่องยิงติดตั้งระบบควบคุมการยิงที่ทันสมัย มีระบบนำทางและกำหนดตำแหน่งที่แม่นยำ สามารถบรรจุจรวดชนิดต่างๆได้หลายแบบ มีความแม่นยำและความเชื่อถือได้สูง 
มีระยะยิงไกล 15-50 กม. มีใช้ในกองทัพบกจีนกว่า 350 ระบบ โดยใช้ชื่อว่า PHL-11 มีระบบส่งกำลังบำรุงที่ดีและมีอะหลั่ยย่างเพียงพอในการซ่อมบำรุงและยังมีการใช้งานอยู่ในปัจจุบัน
กองทัพบกไทยจัดหาเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้อง SR4 มาประจำการในหน่วยทหารปืนใหญ่ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2556 จำนวน 4 ระบบ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา 10 ปี SR4 นับว่าเป็นเครื่องยิงจรวดที่ดีและมีประสิทธิภาพมาก สามารถใช้งานได้ผลจริง มีการซ่อมบำรุงอย่างสม่ำเสมอง่ายและสะดวก 
และมีอะหลั่ยอย่างเพียงพอ ราคาไม่แพง ซึ่งกองทัพบกมีความพึงพอใจเป็นอย่างมาก SR4 จึงนับเป็นเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องที่เหมาะสมในภารกิจการใช้งานสำหรับทหารปืนใหญ่ ที่สอดคล้องกับงบประมาณในวงเงินจำกัด สมควรที่จะจัดหามาเพิ่มเติมให้เต็มอัตรากำลังในอนาคต

การที่ทบ.ตัดสินใจซื้อ SR4 ในปี 55 นั้นถือว่าเป็นจรวดหลายลำกล้อง(ไม่นำวิถี)ที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดแล้ว ในราคางบประมาณที่จำกัด ในช่วงนั้น เดิมทีต้องการ 1 กองร้อย 6 แท่นยิง แต่มีงป.ซื้อแค่ 4 จึงมีความต้องการอีก 2 ระบบ ซึ่งกว่าจะได้รับอนุมัติมาก็ล่วงเลยมา 10 ปีแล้ว 
การซื้อเพิ่มให้ครบอัตราประจำการจึงเป็นเรื่องปกติ ถ้าอนาคตจะซื้อแบบอื่นมันก็เป็นคนละโครงการ อย่าโยงผูกกันครับ อีกทั้งราคาจรวดรุ่นใหม่ของ DTI นั้นมีราคาแพงกว่ากันมาก ทบ.ต้องตั้งงป.ใหม่ครับ สำหรับ SR5 มันเป็นรุ่นใช้จรวดนำวิถีได้ ดีกว่า แต่ราคาก็แพงกว่า SR4 แน่นอน 
การจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์สิ่งสำคัญคือว่าเราจะเอาอาวุธประเภทใด ราคาเท่าใดเป็นสิ่งสำคัญ แล้วค่อยจัดหาครับ สำหรับ SR4 แอดมินเคยชมการยิงมาหลายครั้งแล้ว มีความแม่นยำ อีกทั้งผู้ใช้ก็พึงพอใจ ส่วนจรวด 122 มม.ของ DTI ก็เห็นการยิงมาแล้ว แต่ไม่ขอวิจารณ์ครับ

เครื่องยิงจรวดหลายลำกล้อง จลก.๕๖ SR4 122mm ซึ่งผลิตโดย Norinco จีนที่กองทัพบกไทยจัดหาจำนวน ๔ระบบเข้าประจำการใน กองพันทหารปืนใหญ่ที่๗๑ กรมทหารปืนใหญ่ที่๗๑ กองพลทหารปืนใหญ่ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๖(2013) มีแผนที่จะจัดหาเพิ่มอีก ๒ระบบเพื่อให้ครบหนึ่งกองร้อย ๖ระบบ
จรวดหลายลำกล้อง จลก.๕๖ SR4 ที่ใช้จรวดแบบ SHE-30 และ SHE-40 ขนาด 122mm มีความเข้ากันได้กับจรวด DTI-2 ขนาด 122mm ที่สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สปท. DTI(Defence Technology Institute) พัฒนาเองในไทยทั้งหมดเป็นการพึ่งพาตนเองลดการนำเข้าลงได้
การจัดหา SR4 เพิ่มเติมเพื่อทดแทนจรวดหลายลำกล้อง จลก.๓๑ บนรถสายพานลำเลียง รสพ.๓๐ Type 85 จึงเป็นแนวทางประหยัดกว่าในลดจำนวนระบบที่ซ้ำซ้อนกันลง โดยกองทัพบกไทยก็ยังคงสนับสนุนระบบจรวดที่พัฒนาโดย DTI ไทยอย่าง D11A เช่นเดียวกันครับ(https://aagth1.blogspot.com/2023/12/dti-csah2-105mm.html)








Royal Thai Army's Army Research and Development Office (ARDO) with Khon Kaen University have tested domestic Lithium-ion battery on RTA VT4 main battle tanks and Stingray light tanks of 6th Cavalry Battalion, 6th Cavalry Regiment, 3rd Cavalry Division at Sripatcharin Camp, Khon Kaen Province, Thailand on 2 February 2024, followed concluded programme on 15 February 2024.
Li-ion battery research and development (R&D) programme fund from Office of the Permanent Secretary of the Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation of Thailand (OPS MHESI) on Fiscal Year 2022 budget. (Royal Thai Army)



เมื่อวันที่ 2 ก.พ. 67 : พ.อ. อำนาจ สารันต์ ผอ.กวพ.สวพ.ทบ. เป็นผู้แทน สวพ.ทบ. เข้าร่วมการทดสอบการใช้งานแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนสำหรับรถถัง ในโครงการ “ชุดแบตเตอรี่ชนิด ลิเทียมไอออน สำหรับการใช้งานในรถถังรุ่น VT4 และรถถังเบารุ่น Commando Stringray” 
ซึ่งได้รับทุนวิจัยจาก สป.อว. ปี 65 โดยมี รศ.ดร.นงลักษณ์ มีทอง สังกัด มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นหัวหน้าโครงการ ดำเนินการทดสอบ ณ ม.6 พัน.6 พล.ร.3 ค่ายศรีพัชรินทร์ จว.ข.ก. 
ผลการทดสอบ : ชุดแบตเตอรี่จากงานวิจัยฯ สามารถจ่ายพลังงานให้กับรถถัง VT4 และ Commando Stringray ได้ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ภายใต้สภาพการทำงานของแบตเตอรี่ในเกณฑ์ปกติ  
โครงการดังกล่าวจะเข้ารับการประเมินปิดโครงการกับแหล่งทุน สป.อว. โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในวันที่ 15 ก.พ. 67 นี้

วันที่ 15 ก.พ. 67 : พล.ต. ระวี ตั้งพิทักษ์กุล ผอ.สวพ.ทบ. และ พ.อ.มนต์ชัย ดวงปัญญา รอง ผอ.สวพ.ทบ. เข้าร่วมการประชุมติดตามพิจารณาปิดโครงการร่วมกับคณะกรรมการ สป.อว. 
โครงการ “ชุดแบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออนสำหรับการใช้งานในรถถังรุ่น VT4 และรถถังเบารุ่น Commando Stringray” ซึ่งได้รับทุนการวิจัยจาก สป.อว. ปี 65 
โดยมี รศ.ดร.นงลักษณ์ มีทอง สังกัด มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นหัวหน้าโครงการตรวจประเมิน ณ ม.6 พัน.6 พล.ร.3 ค่ายศรีพัชรินทร์ จว.ข.ก. 
ผลการประเมิน : ชุดแบตเตอรี่จากงานวิจัยฯ สามารถใช้งานได้กับรถถัง VT4 และ Commando Stringray ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ คณะกรรมการ สป.อว. เห็นควรให้ปิดโครงการกับแหล่งทุน และเข้าปิดโครงการกับ ทบ. 
โดยมีข้อเสนอแนะให้ ทบ. นำเข้าสู่กระบวนการทดสอบเพื่อ รับรองมาตรฐานทางทหาร และนำไปใช้งานใน ทบ. ต่อไป

โครงการวิจัยพัฒนาชุด Lithium-ion battery โดย สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพบก สวพ.ทบ.(ARDO: Army Research and Development Office) กองทัพบกไทย ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ทดสอบกับรถถังหลัก ถ.๖๐ VT4 และรถถังเบา ถ.เบา๓๒ Stingray นั้น
เป็นหนึ่งในหลายๆโครงการวิจัยการพัฒนาและสร้าง Li-ion battery ภายในประเทศไทย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อจะพัฒนาและสร้างนวัตกรรม Li-ion battery ด้วยตนเองของไทยเพื่อใช้ในหลากหลายรูปแบบตั้งแต่เป็นแหล่งพลังงานของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าจนถึงรถยนต์พลังงานไฟฟ้าเป็นต้น
รถถังหลัก VT4 และรถถังเบา Stingray ที่ประจำการในกองพันทหารม้าที่๖ กรมทหารม้าที่๖ กองพลทหารม้าที่๓ นั้นดั้งเดิมใช้ Battery ตะกั่ว-กรด(Lead–acid) ตามแบบที่ใช้กับยานยนต์หนักทั่วไปในการจ่ายพลังงานไฟฟ้าแก่รถ การทดลองใช้ Li-Ion Battery ทำให้เห็นถึงการพึ่งพาตนเองด้วยการพัฒนาระบบพลังงานไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าครับ








Royal Thai Army Special Warfare Command and US Army Special Forces of 1st Special Forces Group (Airborne) was concluded joint exercise Balance Torch 24-3 on 15 February 2024.
Balance Torch 24-3 was taking place in 2nd Army Area, Royal Thai Army at northeastern of Thailand during 21 January to 15 February 2024. (Royal Thai Army)

กองทัพบกไทยและกองทัพบกสหรัฐฯได้เสร็จสิ้นการฝึกผสม Balance Torch 24-3 เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๗ ซึ่งดำเนินมาตั้งแต่วันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๖๗ โดยมีกองพันทหารราบที่๒ กรมทหารราบที่๓ ร.๓ พัน.๒ กองพลทหารราบที่๓ พล.ร.๓ กองทัพภาคที่๒ ทภ.๒ เป็นหน่วยพื้นที่การฝึก
การฝึกผสม Balance Torch 24-3 เป็นส่วนหนึ่งของการฝึกผสม Balance Torch 2024 ซึ่งการฝึกผสม Balance Torch 24-1 โดยกรมรบพิเศษที่๒ รพศ.๒ กองพลรบพิเศษ ในพื้นที่กองทัพภาคที่๑ ทภ.๑ จังหวัดลพบุรีและสระบุรีได้เสร็จสิ้นไปแล้วระหว่างวันที่ ๑๕ มกราคม-๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๗
ยังคงมีการฝึกผสม Balance Torch 24-4 ในพื้นที่กองทัพภาคที่๔ ทภ.๔ ที่จะดำเนินไปจนถึงวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๗ และการฝึกผสม Balance Torch 24-2 โดยกรมรบพิเศษที่๕ รพศ.๕ ในพื้นที่กองทัพภาคที่๓ ทภ.๓ จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ ๕ เมษายน-๑๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๗ ครับ




Cobra Gold 2024 Opening Ceremony
On February 27, 2024, at 09.30 a.m., Thailand Chief of Defence Forces General Songwit Noonpakdee, U.S. Ambassador to Thailand Robert F. Godec and 
Commanding General of I Corps and Joint Base Lewis-McChord Lieutenant General Xavier T. Brunson presided over the Cobra Gold 2024 Opening Ceremony at the Royal Thai Naval Airbase, Royal Thai Air Fleet in Rayong province. 
Also attending the ceremony were Ambassador of Singapore to Thailand, Ambassador of Indonesia to Thailand, Ambassador of the Republic of Korea to Thailand, Ambassador of Japan to Thailand, and Ambassador of Malaysia to Thailand.
 Cobra Gold is the largest and longest-running joint military exercise in Southeast Asia, co-hosted annually in Thailand by the Royal Thai Armed Forces (RTARF) and the U.S. Indo-Pacific Command.  
This year’s exercise is the 43rd iteration with seven countries participating in the main drills – Thailand, the United States, Singapore, Indonesia, Japan, the Republic of Korea, and Malaysia. 
Two additional countries are joining the humanitarian assistance trainings – the PRC and India; and one additional country is joining the Command Post Exercise – Australia.  
Ten countries are joining the Multinational Planning Augmentation team (MPAT) – Bangladesh, Canada, France, Mongolia, Nepal, New Zealand, Philippines, Fiji, United Kingdom, and Brunei; 
and 10 countries are joining the Combined Observer Liaison team (COLT) – Cambodia, Laos, Brazil, Pakistan, Vietnam, Germany, Sweden, the Hellenic Republic (Greece), Kuwait, and Sri Lanka. 
There is a total of 30 participating countries and 9,590 participating personnel.  The objectives of the exercise are to develop good military relations between participating allies; 
to enhance the capacity of conducting joint and multilateral operations by adapting mobilization in various emergencies; and to practice following standard operating procedures for a multinational force. 
The exercises will be held from February 27-March 8, 2024, with the following main exercises:
 1.The Command Post Exercise (CPX) is a total force training exercise to handle all domain operations – land, sea, air, cyber, and space.  
This year’s exercise is based on a completed operations order (OPORD) and concept of operations (CONOP) developed from the procedure which the director of the Joint Operations Division 
chose based on the Military Decision Making Process-Multinational (MDMP-M), a product of last year’s STAFFEX.
 2.The Humanitarian/Civic Assistance (HCA) includes multipurpose building construction projects in five sites and the Humanitarian Assistance and Disaster Relief Tabletop Exercise (HADR-TTX) 
which shows the role of the military in responding to natural disasters at regional and international levels.  The HADR-Demo showcases station-by-station operations including search and rescue, emergency response, medical evacuation, 
chemical leak response, and firefighting. 
 3. The Field Training Exercise (FTX) includes cross-training exercises, and field training for the army, navy, and air force. These include an amphibious exercise, strategic airborne operations, non-combatant evacuation, and a live fire exercise. 
 Cobra Gold 2024 increases the capacity of participating troops from Thailand and allies though the exchange of knowledge, expertise, and military technologies.  
It increases the experience of joint and multilateral operations for the Thai and allied forces, and the capacity and efficiency of disaster management and mitigation. 
It also strengthens bonds between soldiers from Thailand and other participating nations, as well as the locals in exercise locations. CG24 builds a good image of Thailand in the eyes of our allies and the international community.



พิธีเปิดการฝึกคอบร้าโกลด์ ๒๐๒๔
วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา พลเอก ทรงวิทย์  หนุนภักดี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด นาย โรเบิร์ต เอฟ. โกเดค (Robert F. Godec) เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย และ พลโท ซาเวียร์  บรันสัน (Xavier T. Brunson) แม่ทัพน้อยที่ ๑ กองทัพบกสหรัฐอเมริกา 
เป็นประธานร่วมในพิธีเปิดการฝึกคอบร้าโกลด์ ๒๐๒๔ ณ สนามบินอู่ตะเภา กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ จังหวัดระยอง โดยมีเอกอัครราชทูตสิงคโปร์ประจำประเทศไทย เอกอัครราชทูตอินโดนีเซียประจำประเทศไทย 
เอกอัครราชทูตเกาหลีใต้ประจำประเทศไทย อัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย และอัครราชทูตมาเลเซียประจำประเทศไทย เข้าร่วมพิธีฯ
 การฝึกคอบร้าโกลด์ เป็นการฝึกร่วมผสมทางทหารขนาดใหญ่และมีประวัติยาวนานที่สุดการฝึกหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งกองทัพไทย และกองกำลังสหรัฐอเมริกา ภาคพื้นอินโดแปซิฟิก 
ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดการฝึกในประเทศไทยเป็นประจำทุกปี การฝึกร่วม/ผสม คอบร้าโกลด์ ๒๐๒๔ ในปีนี้ นับเป็นครั้งที่ ๔๓ โดยมีประเทศเข้าร่วมการฝึกหลัก จำนวน ๗ ประเทศ ประกอบด้วย ไทย สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี และมาเลเซีย 
ประเทศที่เข้าร่วมการฝึกเพิ่มเติมในโครงการช่วยเหลือประชาชน จำนวน ๒ ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน อินเดีย ประเทศที่เข้าร่วมการฝึกเพิ่มเติมในการฝึกการควบคุมและบังคับบัญชา คือ ออสเตรเลีย 
สำหรับกลุ่มประเทศที่หมุนเวียนเข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่ ประเทศในโครงการเสนาธิการผสมส่วนเพิ่มนานาชาติ หรือ MPAT (Multinational Planning Augmentation Team) จำนวน ๑๐ ประเทศ 
ประกอบด้วย บังกลาเทศ แคนาดา ฝรั่งเศส มองโกเลีย เนปาล นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ ฟิจิ สหราชอาณาจักร และ บรูไน และประเทศที่เข้าร่วมในโครงการสังเกตการณ์ฝึก (Combined Observer Liaison Team) : COLT) จำนวน ๑๐ ประเทศ 
ได้แก่ กัมพูชา ลาว บราซิล ปากีสถาน เวียดนาม เยอรมนี สวีเดน สาธารณรัฐเฮลเลนิก (กรีซ) คูเวต และศรีลังกา รวมทั้งสิ้น ๓๐ ประเทศ ผู้เข้าร่วมการฝึกฯ จำนวน ๙,๕๙๐ นาย 
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการพัฒนาความสัมพันธ์ทางทหารที่ดี ระหว่างมิตรประเทศที่เข้าร่วมการฝึกฯ และเป็นการพัฒนาขีดความสามารถในการอำนวยการยุทธ์ร่วมและผสม โดยการประยุกต์ใช้กำลังรบในสถานการณ์วิกฤตต่าง ๆ 
อีกทั้งเพื่อฝึกการใช้ระเบียบปฏิบัติประจำกองกำลังผสมนานาชาติ โดยกำหนดการฝึกหลัก ระหว่างวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ถึง ๘ มีนาคม ๒๕๖๗ ประกอบด้วย การฝึกที่สำคัญดังนี้
 ๑.การฝึกการควบคุมและบังคับบัญชา สำหรับปีนี้เป็นวงรอบการฝึกปัญหาที่บังคับการ (Command Post Exercise : CPX) ซึ่งเป็นการฝึกอำนวยการยุทธ์ของกำลังรบขนาดใหญ่ เพื่อรองรับภัยคุกคามทุกรูปแบบ ในทุกมิติ (All Domain Operations) 
ได้แก่ ทางบก ทางทะเล ทางอากาศ ทางด้านไซเบอร์ และทางอวกาศ สำหรับการฝึกร่วม/ผสม คอบร้าโกลด์ ปี ๒๐๒๔ เป็นการฝึกบนพื้นฐานของแผนยุทธการ (OPORD)  และแนวความคิดในการปฏิบัติ (CONOP) 
โดยพัฒนาตามหนทางปฏิบัติที่ ผู้บัญชาการกองกำลังร่วมผสม นานาชาติ ตกลงใจเลือก ตามกระบวนการแสวงข้อตกลงใจทางทหารแบบนานาชาติ (MDMP-M) ซึ่งเป็นผลผลิตที่สำคัญของการฝึกฝ่ายเสนาธิการ (STAFFEX) ในวงรอบการฝึกร่วม/ผสม คอบร้าโกลด์ ๒๓ ที่ผ่านมา
 ๒.โครงการช่วยเหลือประชาชน (Humanitarian Civic Assistance: HCA) ได้แก่ โครงการก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์สำหรับโรงเรียนในพื้นที่การฝึก จำนวน ๕ พื้นที่ การฝึกการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ ประกอบด้วย 
การฝึกแก้ปัญหาบนโต๊ะ (HADR-TTX) ในหัวข้อบทบาททางทหาร  ในการรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ ภายใต้กลไกลการตอบสนองในระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ เพื่อเตรียมการฝึกสาธิตฯ (HADR-Demo) ซึ่งเป็นการฝึกสาธิตแนวทางในการปฏิบัติเป็นสถานี 
ได้แก่ การค้นหาช่วยเหลือผู้ประสบภัย การแพทย์ฉุกเฉิน การส่งกลับสายแพทย์ สารเคมีรั่วไหล และการดับเพลิง ของประเทศต่าง ๆ   ที่เข้าร่วมการฝึกฯ
 ๓.การฝึกภาคสนาม (Field Training Exercise: FTX) ประกอบด้วย การฝึกแลกเปลี่ยน CTX  และการฝึกภาคสนามของกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ โดยมีกิจกรรมที่สำคัญ ได้แก่ การฝึกปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบก การฝึกกระโดดร่มทางยุทธศาสตร์ 
การฝึกอพยพประชาชนออกจากพื้นที่ขัดแย้ง และการฝึกดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริง 
 การฝึกร่วม/ผสม คอบร้าโกลด์ ๒๐๒๔ นอกจากจะเป็นการพัฒนาขีดความสามารถของกำลังพลที่เข้าร่วมการฝึกในส่วนของกองทัพไทย และกองทัพมิตรประเทศ โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ ความชำนาญ และเทคโนโลยีทางทหาร 
รวมทั้งเพิ่มพูนประสบการณ์ให้กับกำลังพลของกองทัพไทย และกองทัพมิตรประเทศ ในการปฏิบัติการร่วมและผสมแล้ว ยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการงานด้านการบรรเทาสาธารณภัยในภูมิภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
ก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างทหารไทย และทหารมิตรประเทศ กับประชาชนในพื้นที่การฝึกฯ และเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยในสายตามิตรประเทศ และประชาคมโลกต่อไป