Naval Acquisition Management Office (NAMO), Royal Thai Navy (RTN) announced to
procure new Combat Management System (CMS), Surveillance System (search
radar), Fire Control System (FCS), Weapon Systems and Gyro system to be fitted
on LPD-792 HTMS Chang(III), the Type 071ET Landing Platform Dock (LPD) for
920,000,000 Baht ($25,330,406). (Royal Thai Navy)
Naval Acquisition Management Office (NAMO), Royal Thai Navy announced to
enhanced capabilities for its two Pattani-class Offshore Patrol Vessel (OPV),
OPV-511 HTMS Pattani and OPV-512 OPV-512 HTMS Naratiwat with new Combat
Management System (CMS) and related systems for 2,829,554,000 Baht
($78,229,302). (Royal Thai Navy)
Thailand announces USD77.6 million upgrade for Pattani-class OPVs
โครงการจัดซื้อสำคัญของกองทัพเรือไทยที่คาดว่าจะได้รับการอนุมัติในปีงบประมาณ
พ.ศ.๒๕๖๗(2024)
นี้รวมถึงโครงการซื้อระบบการรบและระบบอื่นๆที่เกี่ยวข้องสำหรับปรับปรุงขีดความสามารถเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงปัตตานี
ทั้ง ๒ลำคือ ร.ล.ปัตตานี และเรือหลวงนราธิวาส ซึ่งเดิมควรจะเริ่มในปีงบประมาณ
พ.ศ.๒๕๖๖(2023) แต่ได้ถูกตัดลดงบประมาณลง(https://aagth1.blogspot.com/2022/01/2023.html)
เข้าใจว่าจะเป็นการปรับปรุงในส่วนการติดตั้งระบบอำนวยการรบ(CMS: Combat
Management System) ใหม่ จากรายชื่่อหกบริษัทที่เป็นแหล่งที่มาของราคากลางวงเงิน
๒,๗๗๐,๗๙๗,๘๐๘บาท($76,604,745) คือบริษัท Leonardo อิตาลี, บริษัท Thales
Nedeland เนเธอร์แลนด์, บริษัท Navantia สเปน, บริษัท ASELSAN ตุรกี, บริษัท SAAB
สวีเดน, และบริษัท Elbit Naval Systems อิสราเอล
ต่างมีผลิตภัณฑ์ระบบอำนวยการรบ CMS ของตนเอง โดยส่วนบริษัท Thales ยุโรป ซึ่ง
Thales Nedeland
อยู่ในเครือนั้นได้มีความพยายามที่จะนำเสนอการปรับปรุงความทันสมัยของเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด
ร.ล.ปัตตานี แก่กองทัพเรือไทยมาอย่างต่อเนื่อง ตามที่เห็นได้จากงาน
Defense&Security ในไทยมาหลายครั้ง
ไม่รวมการเพิ่มการติดอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือเช่น Harpoon Block II หรือ
Exocet MM40 Block 3
โครงการซื้อระบบอำนวยการรบ ระบบตรวจการณ์ ระบบควบคุมการยิง ระบบอาวุธ และระบบไยโร
พร้อมอุปกรณ์สนับสนุนที่เกี่ยวข้อง
สำหรับโครงการเพิ่มขีดความสามารถระบบการรบสำหรับการปฏิบัติการทางเรือ วงเงิน
๙๒๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($25,330,406)
ก็เป็นที่เข้าใจว่าจะเป็นโครงการสำหรับเรือยกพลขึ้นบกอู่ลอย เรือหลวงช้าง(ลำที่๓)
ที่มองจะได้รับการติดตั้งระบบต่างๆเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการรบอย่างเต็มรูปแบบ
ทั้งระบบอำนวยการรบ CMS, radar ตรวจการณ์, ระบบควบคุมการยิง(FCS: Fire Control
System) และระบบอาวุธและเครื่องยิงเป้าลวง ซึ่งปัจจุบัน ร.ล.ช้าง
ได้รับการติดตั้งปืนกลหนัก M2 .50cal ๔กระบอก และปืนกล 20mm
๒แท่นยิงสำหรับป้องกันตัวพื้นฐานในไทยไปแล้ว
ถ้าอ้างอิงจากแหล่งที่มาของราคากลางจากเจ็ดบริษัทคือ Leonardo
อิตาลีชัดเจนว่าเป็นปืนเรือตระกูล 76/62
ที่ใช้ในเรือหลายลำของกองทัพเรือไทย
ขณะที่ Thales ยุโรป, Navantia สเปน, ASELSAN ตุรกี, บริษัท IAI อิสราเอล, บริษัท
Hartech อิสราเอล และบริษัท Rafael อิสราเอล ก็ต่างมีระบบ CMS, Radar, FCS,
ระบบอาวุธตั้งแต่ป้อมปืน remote 30mm หรือ 40mm จนถึงอาวุธปล่อยนำวิถี,
เครื่องยิงเป้าลวง และ Gyro หลายแบบ
จึงเข้าใจว่าโครงการเพิ่มขีดความสามารถระบบการรบของ ร.ล.ช้าง
จะมีการจัดหาระบบต่างๆจากแหล่งที่มาหลายบริษัท
อย่างไรก็ตามโครงการจัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสูงใหม่เชื่อว่าจะถูกเลื่อนออกไปเป็นปีงบประมาณ
พ.ศ.๒๕๖๙(2026)
เป็นอย่างน้อยก็จะทำให้การเสริมสร้างกำลังรบทางเรือทดแทนเรือที่ใกล้ปลดประจำการหรือสูญเสียไปล่าช้าลง
เช่น เรือคอร์เวตชุดเรือหลวงรัตนโกสินทร์ลำแรก ร.ล.รัตนโกสินทร์
หรือเรือฟริเกตชุดเรือหลวงเจ้าพระยาสองลำแรก ร.ล.เจ้าพระยา และเรือหลวงบางปะกง
ที่มีแผนจะปลดประจำการในปี พ.ศ.๒๕๖๙
เช่นเดียวกับที่การปรับปรุงขีดความสามารถเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.ปัตตานี
และเรือยกพลขึ้นบกอู่ลอยเรือหลวงช้างที่จะดำเนินการติดตั้งระบบต่างๆในไทยเช่นเดียวกับเรือชุดต่างๆก่อนหน้า
กองทัพเรือไทยตั้งใจที่จะจัดหาและสร้างเรือฟริเกตใหม่โดยการถ่ายทอดวิทยาการในไทยซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่การพัฒนาอุตสาหกรรมการสร้างเรือของไทยอย่างมาก
แต่ก็ไม่ได้รับการสนับสนุนจากผู้อนุมัติงบประมาณแต่อย่างใด
โครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ปืนใหม่ ๒ลำ
ซึ่งควรจะเป็นการจัดหาเรือตรวจการณ์ปืนชุดเรือหลวงแหลมสิงห์สองลำใหม่ที่สร้งโดยบริษัท
Marsun ไทยก็ยังไม่มีความคืบหน้าว่าจะได้รับการอนุมัติเมื่อไร
ทั้งที่เรือต่างๆในกองเรือตรวจอ่าว กตอ.ทั้งเรือเร็วโจมตีปืนชุดเรือหลวงชลบุรี
๓ลำที่ต้องปลดประจำการลงในอนาคตอันใกล้ และเรือตรวจการณ์ปืนชุดเรือหลวงสัตหีบ
๖ลำที่ลำแรก รล.สัตหีบประจำการมาเกือบ ๔๐ปีแล้วเป็นต้นครับ
Pakistan Navy's first Hangor-class submarine at the launching ceremony in
China. (Pakistan Navy)
Henan Diesel Engine Co., Ltd (HND) subsidiary of China Shipbuilding Industry
Corporation (CSIC) was passing certification for National Military Standard
(GJB: Guo-jia Jun-yong) of its CHD620V16H6 diesel generator engine on 27
July 2023, followed by British Lloyd's Register (LR) classification and
certification in 2024.
China was sent large delegation from Chinese government and Ministry of
National Defense of People's Rebublic of China to Thailand on 14-15 May 2024
likely to finalized discussed on long delay S26T Submarine issues.
Royal Thai Navy has accepted Chinese CHD620V16H6 diesel generator engine to
replaced Germany's embargo MTU 16V396 SE84 for its S26T since 2023 as same
as launched Pakistan Navy's 1st Hangor-class Submarine,
However the decision-making authority to amend the Government-to-Government
contract related on engines and extend delivery period for another 1,217
days depend on Thailand's Cabinet, according to decision of the Attorney
General of Thailand.
ข่าวจาก Bangkok Post โดยวาสนา นาน่วม รายงานว่า
...สำหรับการแก้ปัญหาเรือดำน้ำที่ยืดเยื้อมายาวนานหลายปี นั้น
มีรายงานเบื้องต้น ว่า พลเอก สมศักดิ์ รุ่งสิตา ที่ปรึกษา รมว.กลาโหม
ในฐานะประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาเรือดำน้ำจีน ของกลาโหม ได้รับมอบหมายจาก
นายสุทิน คลังแสง รมว.กลาโหม ให้ เป็นหัวหน้าคณะในการเจรจาหาทางออก กับ ตัวแทน
รัฐบาลจีน และกลาโหม จีน ที่ กระทรวงกลาโหม เมื่อ14-15 พค.2567
ฝ่ายจีน นำโดย พันเอก พิเศษ Shi Xionning รอง ผอ.กรมการพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์
และเทคโนโลยีทางทหาร หรือ BOMETEC หลังจาก เมื่อ 14 พค. 2567 ที่ผ่านมา
มีการคุยนอกรอบ ของคณะตัวแทนรัฐบาลจีน กับ กองทัพเรือ ที่ ทร. นำโดย พลเรือเอก
ชลธิศ นาวานุเคราะห์ ผช.ผบ.ทร. แล้ว จากนั้น มาประขุม
กับคณะกรรมการเรือดำน้ำของกองทัพเรือ
...ผลการหารือ แบบเต็มคณะ อย่างเป็นทางการ มีรายงานว่า ทั้ง 2 ฝ่าย
เห็นพ้องที่จะเดินหน้า ต่อเรือดำน้ำจีน S26T ลำแรก ต่อไป และ กองทัพเรือ
พร้อมที่จะเปลี่ยนเครื่องยนต์เรือดำน้ำ เป็นเครื่องยนต์ จีน CHD 620 ทดแทน MTU
396 ที่เยอรมัน ไม่ขายให้จีน มาใส่เรือดำน้ำ ที่ต่อให้ ทร.ไทย ทั้งนี้ ทร.
เคยส่งคณะทำงาน ไปร่วมทดสอบ สมรรถนะเครื่องยนต์จีน CHD620 มาแล้ว
แม้จะเป็นเครื่องยนต์ ที่จีนพัฒนาเองและเป็นเครื่องต้นแบบ
ที่ยังไม่เคยใส่ในเรือดำน้ำของชาติใด แม้แต่ของกองทัพเรือจีน ก็ตาม
แต่กระทรวงกลาโหมจีน ก็ได้ออกใบรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมให้แล้ว อีกทั้ง
กองทัพเรือปากีสถาน ก็ ได้ยอมรับที่จะให้จีนใส่เครื่องเครื่องยนต์จีน
แทนแล้ว
จากนี้ กลาโหม จะนำเข้าขั้นตอน เพื่ิอเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี
เพื่อขออนุมัติในการขยายกรอบเวลา ในการต่อเรือดำน้ำลำแรก อีก 1,217 วัน
ส่วนการเปลี่ยนเครื่องยนต์นั้น กองทัพเรือ
ได้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความแล้วระบุว่า แม้จะเป็นสาระสำคัญ
แต่ให้แค่ ครม.รับทราบ แล้วเป็นอำนาจของกองทัพเรือ
สามารถดำเนินการในการแก้ไขข้อตกลง เปลี่ยนเครื่องยนต์ได้เอง
ก่อนหน้านีั นายสุทิน เผยว่า ได้ให้กับคณะกรรมการ 3 ข้อ คือ
1.ไม่ว่าจะได้ทางออกทางใด ประเทศและประชาชนต้องได้ประโยชน์ 2.
ให้ตรงความต้องการของกองทัพเรือ 3. ไม่กระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อีกทั้ง
ทางบริษัท CSOC ที่ต่อเรือดำน้ำ ไม่เห็นด้วย ที่จะให้ยกเลิกเรือดำน้ำแล้ว
เปลี่ยนเป็นเรือฟริเกต หรือเรือผิวน้ำ
อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีรายงานที่ ชัดเจนว่าทางการจีน
จะชดเชยอะไรให้ทางกองทัพเรือไทยมากขึ้น จากที่เสนอมาเดิม รวมมูลค่า 200
ล้านบาท...
แม้ทางการจีนรวมถึง CSOC(China Shipbuilding & Offshore International Co.
Ltd) กลุ่มรัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมสร้างเรื่อของจีนผู้สร้างเรือดำน้ำ S26T
ไม่ได้ออกมาให้ความเห็นเกี่ยวกับปัญหาและจุดยืนของตนต่อปัญหาโครงการในประเด็นเครื่องยนต์ดีเซลกำเนิดพลังงานไฟฟ้าก็จริง
โดยประเด็นสำคัญอยู่ที่การแก้ไขสัญญาแบบรัฐต่อรัฐในการยืดระยะเวลาการส่งมอบออกไปอีด
๑,๒๑๗วัน ที่ต้องพิจารณาในระดับคณะรัฐมนตรี
อย่างไรก็ตามบทความในสื่อของจีน(ซึ่งเป็นที่ทราบว่าอยู่ในความควบคุมของรัฐบาลจีน)ออกมาวิจารณ์ไทยเกี่ยวกับโครงการเรือดำน้ำหลายครั้ง
เช่นว่า
จีนไม่ควรขายเรือดำน้ำที่มีวิทยาการระดับสูงที่กองทัพเรือปลดปลดปล่อยประชาชนจีนใช้เองให้ไทยซึ่งใกล้ชิดกับชาติตะวันตกแต่แรกบ้าง
การที่ไทยยังค้างชำระค่าใช้จ่ายให้จีนเป็นบทเรียนที่จีนต้องทบทวนว่าถ้าจะขายอาวุธให้ประเทศไหนต้องให้อีกฝ่ายจ่ายเงินให้ครบก่อนบ้าง
และการปล่อยเรือดำน้ำชั้น Hangor ลำแรกของปากีสถานลงน้ำเมื่อเดือนเมษายน
พ.ศ.๒๕๖๗(2024)
ที่หมายถึงการยอมรับและได้ทำการติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซลกำเนิดพลังงานไฟฟ้า
CHD620 จีนทดแทน MTU 396 เยอรมนีแล้ว ซึ่งเรือดำน้ำชั้น Hangor ทั้ง
๘ลำของปากีสถาน และ S26T ของไทยต่างมีพื้นฐานเป็นรุ่นส่งออกเรือดำน้ำชั้น Type
039B ที่จีนใช้เอง และมีรายงานว่าสมาคมจัดชั้นเรือ Lloyd's Register(LR)
สหราชอาณาจักรยังได้รับรองเครื่องยนต์ CHD620 จีนแล้วด้วย
ทำให้จีนมองว่าไทยไม่ควรจะหาเหตุผลว่าเครื่องยนต์ของจีนไม่น่าเชื่อถือเพื่อจะผิดสัญญาทำให้จีนเสียเปรียบจากการสร้างเรือไปแล้วมากกว่าร้อยละ๕๐
แค่รอติดเครื่องยนต์เท่านั้นด้วย
จึงมองไม่เห็นแนวทางแก้ไขปัญหาเลยว่าจีนจะยอมรับทางเลือกอื่นที่ไทยเสนอสำหรับการยกเลิกโครงการจัดหาเรือดำน้ำ
S26T ได้ ทั้งการเปลี่ยนเป็นเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง เรือคอร์เวต หรือเรือฟริเกต
เพราะจีนมองว่าตนไม่ได้ทำอะไรผิด
และไทยเรียกร้องมากเกินไปและพยายามจะผิดสัญญากับจีน
ซึ่งการเจรจากับตัวแทนจีนนำโดย พันเอกพิเศษ(Senior Colonel) Shi Xionning
ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือยุทธปกรร์และวิทยาการทางทหาร(BOMETEC: Bureau of
Military Equipment and Technology Cooperation) กระทรวงกลาโหมจีนเมื่อวันที่
๑๔-๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๘
ได้ยืนยันที่จะเดินหน้าโครงการต่อโดยไม่มีการยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงแบบเรือ
ทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายจีนจึงเห็นพ้องร่วมกันว่าควรเดินหน้าโครงการเรือดำน้ำ S26T
ต่อเพื่อรักษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
และเนื่องจากการเปลี่ยนโครงการเป็นเรือแบบอื่นจะสร้างปัญหาให้กับไทยมากกว่าจะเป็นผลดี
รวมทั้งหากยกเลิกสัญญาจะไม่สามารถคืนเงินได้ทั้งหมด
โดยขอให้ฝ่ายไทยเร่งแก้ไขสัญญาในสองหัวข้อสำคัญคือการเปลี่ยนเครื่องยนต์และการขยายระยะเวลาสัญญาออกไปอีก
๑,๒๑๗วันเพื่อความชัดเจน
ซึ่งการแก้ไขแบบรัฐต่อรัฐในระดับคณะรัฐมนตรี คณะกรรมาธิการกลาโหม
และรัฐสภาเพื่อยืดระยะเวลาสัญญาอีกราว
๓ปีจะมีประเด็นตามมาถ้าหากว่ามีการแก้ไขสัญญาแล้ว เรือดำน้ำ S26T ระยะที่๑
ลำแรก จะตามมาด้วยระยะที่๒ และระยะที่๓ ตามที่ตั้งใจไว้แต่แรกหรือไม่
เพราะถ้ามีแค่ลำเดียวและยุติแค่นั้นก็คงจะใช้เป็นแค่เรือฝึกที่ใช้ปฏิบัติการหลักไม่ได้แบบเดียวกับเรือดำน้ำชั้น
Kilo รัสเซียเก่าลำเดียวของโรมาเนียหรือโปแลนด์
ความล่าช้าจากประเด็นต่างๆเหล่านี้จะเห็นได้จากที่แม้ว่ากองทัพเรือไทยจะมีการคัดเลือกกำลังพลชุดรับเรือไปแล้วก่อนกำหนดรับมอบเรือล่าสุดในปี
พ.ศ.๒๕๗๐(2027)
แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีรายงานว่าได้ส่งกำลังพลไปฝึกศึกษาด้านเรือดำน้ำที่จีนแต่อย่างใด
อีกทั้งการสนับสนุนอุปกรณ์และเครื่องฝึกเรือดำน้ำเป็นวงเงินราว
๒๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($5,529,444)
ก็เป็นสิ่งที่ต้องมีมาในการจัดหาอยู่แล้วจึงจะเรียกว่าการชดเชยไม่ได้
อีกประเด็นการรับซื้อสินค้าทางเกษตรแทนการชำระค่าใช้จ่ายบางส่วนก็ต้องเป็นเรื่องที่จะต้องมีการเจรจากันต่อไปเพราะทุกประเทศรวมถึงจีนต้องการเงินสดมากกว่า
ซึ่งแม้ว่าฝ่ายไทยจะผ่านการแก้ไขสัญญาแบบรัฐต่อรัฐแล้วก็ตาม
แต่ถ้ายังมีปัญหาการชำระค่าใช้จ่ายในโครงการอยู่ การรับมอบเรือดำน้ำ S26T
ระยะที่๑ ลำแรกก็จะยังค้างคาต่อไป และระยะที่๒ และระยะที่๓
ลำที่สองและลำที่สามก็ยากที่จะมีการอนุมัติตามมาด้วย
แต่อีกแง่หนึ่งถ้ามีการการยกเลิกโครงการ S26T
ไปจริงตามที่สามารถปฏิเสธการรับมอบเรือได้
ก็คงเป็นไปได้ยากเช่นกันที่จะสามารถตั้งโครงการจัดหาเรือดำน้ำขึ้นมาใหม่ได้
เพราะเรือดำน้ำได้กลายเป็นประเด็นขัดแย้งระหว่างทหารเรือกับประชาชนที่รุนแรงจนไม่สามารถจะประสานความแตกหักได้แล้ว
จึงไม่สามารถจะสร้างความน่าเชื่อถือให้ประชาชนได้เลยว่าโครงการที่เกี่ยวกับเรือดำน้ำใดๆของกองทัพเรือจะไม่มีปัญหาตามมาอีก
ต่อให้เป็นเรือดำน้ำจากตะวันตกที่มีมาตรฐานความน่าเชื่อสูงและมีผู้ใช้งานหลายรายทั่วโลก
หรือแม้แต่การออกแบบสร้างเรือดำน้ำเองในไทยก็ตามที่เห็นได้ว่าถูกขัดขวางจากการตัดงบประมาณโดยรัฐบาลที่ต้องการนำเงินไปแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจมากกว่าและไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนมาตลอด
และท้ายที่สุดจะทำให้ทั้งหมดนี้กลายเป็นความพยายามในการจัดหาเรือดำน้ำครั้งสุดท้ายในประวัติศาสตร์ของไทย
หลังจากการเจรจาเรื่องปัญหาเรือดำน้ำ S26T กับจีนครั้งสุดท้ายนี้
นอกจากโครงการจัดหาเรือฟริเกตใหม่ที่ถูกเลื่อนออกไปเป็นปีงบประมาณ
พ.ศ.๒๕๖๙(2026) เป็นอย่างเร็ว
กองทัพเรือไทยยังได้รับการอนุมัติเฉพาะการปรับปรุงเรือที่มีอยู่เช่น
โครงการเพิ่มขีดความสามารถระบบการรบของเรือยกพลขึ้นบกอู่ลอยเรือหลวงช้าง
และโครงการปรับปรุงขีดความสามารถเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงปัตตานี
๒ลำในข้างต้นครับ
Royal Thai Navy's CVH-911 HTMS Chakri Naruebet helicopter carrier, FFG-471
HTMS Bhumibol Adulyadej guided missile frigate and FFG-421 HTMS Naresuan
guided-missile frigate during Field Training Exercise (FTX)/Sea phase as
part of Naval Exercise Fiscal Year 2024 on 23 May 2024. (Royal Thai Navy)
Turkish Navy F-514 TCG Kınalıada at Chao Phraya River, Thailand 23-24 MAY
2024. (Royal Thai Naval Academy, Royal Thai Navy)
โรงเรียนนายเรือทำการส่งเรือ TCG Kinaliada (F-514)
จากกองทัพเรือตุรกี
เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2567 เวลา 14.00 น. โรงเรียนนายเรือทำการส่งเรือ TCG
Kinaliada (F-514) จากกองทัพเรือตุรกี
ที่ได้ออกเดินทางจากท่าเรือกรุงเทพฯ ผ่านโรงเรียนนายเรือ
ภายหลังเสร็จสิ้นภารกิจเยี่ยมเมืองท่าประเทศไทย ระหว่างวันที่ 23 - 24
พฤษภาคม 2567
โดยจัดนักเรียนนายเรือยืนแถวรายกราบ บริเวณเขื่อนกั้นแม่น้ำเจ้าพระยา
เพื่อโบกหมวกอำลา และชักธงประมวลสากล ตีธงสองมือ แสดงข้อความ "BONVOYAGE"
รวมทั้งติดต่อสื่อสารทางวิทยุ เพื่ออวยพรให้เรือ TCG Kinaliada
(F-514) เดินทางโดยสวัสดิภาพ
"การโบกหมวกอำลา" ถือเป็นประเพณีชาวเรือที่สำคัญอย่างหนึ่ง
ที่ทหารเรือทั่วโลกยึดถือปฏิบัติสืบเนื่องกันมา
เพื่อเป็นการแสดงออกถึงมิตรไมตรีในฐานะประเทศเจ้าบ้าน
ซึ่งโรงเรียนนายเรือได้ใช้โอกาสที่เรือรบมิตรประเทศผ่านโรงเรียนนี้
ปลูกฝังและถ่ายทอดให้นักเรียนนายเรือได้ซึมซับประเพณีชาวเรือที่ดีดังกล่าว
กองทัพเรือไทยยังคงมีกิจกรรมต่างๆตลอดห้วงเดือนพฤษภาคม
รวมถึงการฝึกภาคสนาม/ภาคทะเล(FTX: Field Training Exercise)
การฝึกกองทัพเรือประจำปี พ.ศ.๒๕๖๗ เมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๗
โดยมีเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์เรือหลวงจักรีนฤเบศรเป็นเรือธง
และเป็นครั้งแรกที่เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ ฮ.ปด.๑ SH-60B Seahawk
ฝึกยิงtorpedo เบา Mk46 ร่วมกับเรือฟริเกตเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดชด้วย
ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช ยังมีกำหนดที่จะทำการฝึกยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ
RIM-162 ESSM เป็นครั้งแรกในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๗ นี้
คาดว่าอาจจะเป็นในช่วงการฝึกผสม CARAT 2024 ร่วมกับกองทัพเรือสหรัฐฯ
และกองทัพเรือสิงคโปร์
ซึ่งจะเป็นการพิสูจน์ถึงขีดความสามารถสงครามปราบเรือดำน้ำและสงครามต่อต้านภัยทางอากาศของ
ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช ในการป้องกันหมู่เรือ ร.ล.จักรีนฤเบศร ได้เป็นอย่างดี
อีกกิจกรรมสำคัญคือเรือคอร์เวตชั้น Ada(MILGEM) กองทัพเรือตุรกี เรือคอร์เวต
F-514 TCG Kinaliada ก็ได้เดินทางเยือนไทยโดยมาจอดที่ท่าเรือคลองเตย กรุงเทพฯ
ระหว่างวันที่ ๒๓-๒๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๗ โดยก่อนหน้านั้นเรือคอร์เวต TCG
Kinaliada พึ่งจะเสร็จสิ้นการเยือนมาเลเซียและอินโดนีเซียก่อนจะมาไทย
และเดินทางต่อไปยังจีน, สาธาณรัฐเกาหลี และญี่ปุ่น
ตามแผนการวางกำลังฝึกในเอเชีย-แปซิฟิกครับ
Enduring Partners aims to improve readiness & combined & joint
interoperability between the RTAF & Washington Air National Guard. This
year focused on cyber training, homeland assistance disaster response,
medical care, joint terminal air control & ground-controlled
interception. (US Air Force)
The second iteration of Enduring Partners commenced with an opening ceremony
officiated by Royal Thai Air Force Group Captain Sithipol Pomtri, Enduring
Partners Exercise Director,
and U.S. Air Force Brig. Gen. Gent Welsh, Washington Air National Guard
Commander, at Camp Murray, WA. on April 30.
Although the opening ceremony looked like a standard military function, it
was an unprecedented event.
Last year Washington and Oregon Air Guardsmen traveled to Thailand for the
inaugural Enduring Partners engagement. For EP 24, while RTAF Airmen were
hosted in Washington state, Washington Air National Guardsmen were
simultaneously hosted in Thailand.
It was an airman exchange between the two countries.
“For the last eight years at Airman-to-Airman events, I would close out my
remarks to say, ‘In the future, we’ll have a day where we fly Washington Air
National Guardsmen to Thailand and bring Thai Air Force members to
Washington state,’” Welsh said.
“That day is today… This is a wonderful experience.”
Approximately 30 Washington Air National Guardsmen onboard a KC-135
Stratotanker arrived at Don Mueang Royal Thai Air Force Base, Bangkok April
26.
A day later, the KC-135 and WA ANG aircrew from the 141st Air Refueling
Wing, Fairchild Air Force Base, WA, lifted off again, returning to Joint
Base Lewis-McChord with approximately 30 members from the Royal Thai Air
Force.
EP 24 is designed to build upon EP 23’s success and consists of five lines
of effort: humanitarian assistance and disaster relief and medical; tactical
air control party and joint terminal attack controller and combat control
team;
cyber; ground controlled interception; and space operations.
“Over the next two weeks, you’re going to have some great opportunities to
learn a lot of things, but the primary thing that you’re going to do is
build relationships,” Welsh said. “This is about the future. This is about a
partnership that really has no limits.”
The engagement runs through May 10.
More are photos available at
https://www.dvidshub.net/feature/EnduringPartners.
194th Wing | Western Air Defense Sector | Washington National Guard
https://www.facebook.com/WAANGCC/posts/pfbid034adcade7H8QswB1PkZhnyzMFUQ8PSx2HGXHuGrRN1HRxjPEDMhzJW3u4UxwXgKqHl
U.S. Air Force (US) and Royal Thai Air Force (RTAF) concluded the exercise
Enduring Partners 2024 at Thailand and Washington Air National Guard (ANG)
in Washington state, U.S.A., during 29 April to 10 May 2024.
พิธีปิดการฝึกผสม ENDURING PARTNERS 2024 ในส่วนผู้เข้าร่วมการฝึกผสม ฯ ณ
สหรัฐอเมริกา
นาวาอากาศเอก สิทธิพล ป้อมตรี รองผู้อำนวยการสำนักยุทธการและการฝึก
กรมยุทธการทหารอากาศ เป็นประธานร่วมกับ Brigadier General Gent Welsh,
Commander of Washington Air National Guard ณ อาคาร 118 Camp Murray
เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2567
ทั้งนี้ Washington Air National Guard ได้เชิญ พลอากาศตรี อนุรักษ์
รมณารักษ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน กรมยุทธการทหารอากาศ และ
นาวาอากาศเอก ปรัชญา ทิพยรัตน์ ผู้ช่วยทูตทหารอากาศไทย/วอชิงตัน
เข้าร่วมเพื่อเป็นเกียรติในพิธีปิดการฝึกผสม ฯ
Forces of Operations testing exercise of Royal Thai Air Force and Joint
Operation with Royal Thai Army on 8-30 May 2024. (Royal Thai Air
Force/Sukasom Hiranphan)
การดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริง (CALFEX)
ในการปฏิบัติการร่วมกองทัพบก-กองทัพอากาศ
Photo : Sukasom Hiranphan
https://www.facebook.com/RTAFpage/posts/pfbid02ChLkzQdwAhzZCyJTePsKH9sX9cHUWfRuGZtNFL8cnWzT9g2wXMRCaKYMdaj7crQBl
ผู้บัญชาการทหารอากาศเยือนราชอาณาจักรสวีเดน
พลอากาศเอก พันธ์ภักดี พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศ และภริยา
พร้อมคณะ เดินทางเยือนราชอาณาจักรสวีเดนอย่างเป็นทางการ ในฐานะแขกของ
กองทัพอากาศสวีเดน ตามคำเชิญของ พลอากาศตรี Jonas Wikman ผบ.ทอ.สวีเดน
เพื่อกระชับความสัมพันธ์
และหารือแนวทางขยายความร่วมมือด้านความมั่นคงกองทัพอากาศ - กองทัพอากาศสวีเดน
ระหว่าง 15 - 21 พฤษภาคม 2567
การนี้ ผู้บัญชาการทหารอากาศและภริยา พร้อมคณะ เข้าร่วมงานเลี้ยงรับรองโดย
ผู้บัญชาการทหารอากาศสวีเดน และภริยาเป็นเจ้าภาพ
รวมถึงร่วมพิธีต้อนรับอย่างเป็นทางการ ณ กองบัญชาการกองทัพอากาศสวีเดน โดยมี
พลอากาศจัตวา Tommy Petersson รองผู้บัญชาการทหารอากาศสวีเดน
(ผู้แทนผู้บัญชาการทหารอากาศสวีเดน ให้การต้อนรับ)
ผบ.ทอ.ชมโรงงานผลิต F-16 ที่ กรีนวิลล์
...ตามหมายกำหนดการคณะของผู้บัญชาการทหารอากาศจะไปชมโรงงานผลิต F-16 Block
70/72 ของล็อคฮีด มาร์ติน ที่เมืองกรีนวิลล์ รัฐเซาท์แคโรไลนา ในวันนี้ (28
พ.ค.) คาดว่าจะได้มีการเจรจาในขั้นสุดท้ายของข้อเสนอขาย F-16 Block 70
เพื่อให้ทอ.ไทยพิจารณาด้วย
ซึ่งจะนำมาเปรียบเทียบกับ Gripen ของ Saab ประเทศสวีเดน
พร้อมคัดเลือกหาผู้ชนะในเดือนมิถุนายนนี้
...แอดมินก็ขอนำเสนอที่มาของโรงงานแห่งใหม่ของล็อคฮีด มาร์ติน ที่ผลิต F-16
Block 70/72 โดยเฉพาะ ซึ่งเป็นรุ่นส่งออกและจะเป็น F-16 รุ่นสุดท้าย
คร่าวๆดังนี้
F-16 ถูกสร้างขึ้นภายในโรงงานที่ยาวหนึ่งไมล์ในฟอร์ตเวิร์ธ นับตั้งแต่ทศวรรษ
1970 แม้ว่ากองทัพอากาศสหรัฐฯ จะสั่ง F-16 เป็นครั้งสุดท้ายในปี 1999
แต่การผลิตที่นั่นยังคงดำเนินต่อไปสำหรับพันธมิตรอเมริกัน
แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา สายการผลิต F-16
ได้หดตัวลงเนื่องจากคำสั่งซื้อลดน้อยลง ...
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา สายการผลิต F-35 ได้เข้ายึดครองพื้นที่ที่เคยสร้าง
F-16 อย่างช้าๆ เมื่อการผลิต F-35 ขยายตัว การผลิต F-16
ก็หดตัวลงไปยังส่วนเล็กๆ ...ในช่วงรุ่งเรือง โรงงานในฟอร์ตเวิร์ธของล็อคฮีด
มา์ตินมีกำลังผลิต F-16 หนึ่งเครื่องต่อวัน
แต่ตอนนี้เหลือผู้มีโอกาสเป็นลูกค้าเพียงไม่กี่รายเท่านั้น
มีรายงานว่าบาห์เรนต้องการเครื่องบินมากถึง 19 เครื่อง
และคาดว่าจะได้รับคำสั่งซื้อเพิ่มเติมจากอินโดนีเซียและโคลอมเบีย
เครื่องบินเหล่านั้นทั้งหมดจะถูกสร้างขึ้นในกรีนวิลล์ โรงงานผลิต F-16
ที่กรีนวิลล์นี้ สามารถผลิต F-16 ได้เดือนละ 4 เครื่อง หรือปีละ 48 เครื่อง
ซึ่งขณะนี้ มีการสั่งซื้อ F-16 Block 70/72 แล้วกว่า 135 เครื่อง
สำหรับ F-16 Block 70/72 มีการปรับปรุงให้มีความทันสมัยในทุกๆด้าน
โครงสร้างมีอายุการใช้งานได้ 12,000 ชั่วโมง ที่จะสามารถปฎิบัติการได้ถึง 40
ปีทีเดียว… F-16
ได้พิสูจน์ตัวเองแล้วว่าเป็นหนึ่งในเครื่องบินรบที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา
มันเป็นเครื่องบินขับไล่ที่ค่อนข้างเล็ก มีความสามารถสูง ราคาไม่แพง
และใช้งานได้หลากหลาย
ซึ่งกองทัพอากาศขนาดกลางหรือเล็กจำนวนมากสามารถปฏิบัติการได้ ...F-16
ทั้งใหม่และมือสองยังคงเป็นที่ต้องการทั่วโลก!
Royal Thai Air Force joint as observer for Gripen users exercise LION EFFORT
2024 with Czech Air Force, Swedish Air Force and Hungarian Air Force at
Caslav Air Force Base, Czech Republic on 13-24 MAY 2024.
กองทัพอากาศ ร่วมสังเกตการณ์การฝึกผสม LION EFFORT ณ Caslav Air Force
Base สาธารณรัฐเช็ก
การฝึกผสม LION EFFORT เป็นการฝึกผสมระหว่างกลุ่มประเทศผู้ใช้งานเครื่องบิน
Gripen
มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติการระหว่างกลุ่มประเทศผู้ใช้งานเครื่องบิน
Gripen มีวงรอบจัดการฝึกผสม ฯ ทุก 3 ปี โดยการฝึกผสม LION EFFORT 2024
กองทัพอากาศสาธารณรัฐเช็กเป็นเจ้าภาพในการจัดการฝึกผสม ฯ ณ Caslav Air Force
Base สาธารณรัฐเช็ก
มีประเทศหลักที่เข้าร่วมการฝึกผสม ฯ ได้แก่ กองทัพอากาศเช็ก
กองทัพอากาศสวีเดน และ กองทัพอากาศฮังการี ระหว่าง วันที่ 13 - 24 พฤษภาคม
2567 ซึ่งกองทัพอากาศได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมการสังเกตการณ์การฝึกผสม ฯ
จำนวน 6 คน โดยมี นาวาอากาศเอก สิทธิพล ป้อมตรี
รองผู้อำนวยการสำนักยุทธการและการฝึก กรมยุทธการทหารอากาศ
เป็นหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่สังเกตการณ์การฝึกผสม ฯ
ทั้งนี้การสังเกตการณ์การฝึกผสม ฯ ดังกล่าว
สามารถเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์
ในด้านการปฏิบัติการทางอากาศผสมด้วยกำลังทางอากาศขนาดใหญ่ในสภาวะสงครามอีเล็กทรอนิกส์
โดยเน้นการตอบโต้ทางอากาศเชิงรุก การควบคุมและสั่งการ รวมถึงเรียนรู้หลักนิยม
ยุทธวิธีการรบ ระบบอาวุธ
และเทคโนโลยีที่ใช้ในการปฏิบัติการทางอากาศโดยเครื่องบิน Gripen
ตลอดจนเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติการทางอากาศ
และพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติการผสมร่วมกับประเทศในกลุ่มองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ
(NATO)
ตลอดช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๗
ที่ผ่านมากองทัพอากาศไทยก็มีการจัดการฝึกต่างๆของตนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่การฝึกผสม
Enduring Partners 2024 ร่วมกับกองกำลังรักษาดินแดนทางอากาศ(ANG: Air National
Guard) กองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) ระหว่างวันที่ ๒๙ เมษายน-๑๐
พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๗ ในไทยและสหรัฐฯ
แม้ว่าการฝึกปีนี้จะไม่เน้นการนำอากาศยานเข้าร่วมเป็นจำนวนมากก็ตาม
และการทดสอบใช้กำลังของกองทัพอากาศประจำปี พ.ศ.๒๕๖๗ ระหว่างวันที่ ๘-๓๐ พฤษภาคม
พ.ศ.๒๕๖๗
ซึ่งเป็นการฝึกเพื่อทดสอบความพร้อมของทุกหน่วยในกองทัพอากาศไทยทั่วประเทศ
ทั้งหน่วยใช้กำลังเช่น ฐานบิน ฝูงบิน และอากาศโยธิน จนถึงหน่วยสนับสนุน
และส่วนบัญชาการ
และฝึกบูรณาการร่วมปฏิบัติการกับเหล่าทัพอื่นคือกองทัพบกไทยนอกเหนือจากการฝึกร่วม
พลเรือน ทหาร ตำรวจ ก่อนหน้าด้วย
ในเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๗ เช่นกัน
ผู้บัญชาการทหารอากาศไทยและคณะนายทหารของกองทัพอากาศไทยก็เดินทางเยือนสวีเดนและสหรัฐฯ
รวมถึงการส่งเจ้าหน้าที่ ๖นายเป็นผู้สังเกตุการณ์การฝึกผสม LION EFFORT 2024
ซึ่งเป็นการฝึกของกลุ่มผู้ใช้เครื่องบินขับไล่ Gripen
ที่กองทัพอากาศสาธารณรัฐเช็กเป็นเจ้าภาพร่วมกับกองทัพอากาศสวีเดน
และกองทัพอากาศฮังการีชาติสมาชิก NATO ที่ใช้ Gripen C/D
นอกจากเพื่อกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือด้านความมั่นคง ยังมี Workshop
ที่จะถูกนำไปใช้ในการตัดสินใจเลือกแบบเครื่องบินขับไล่โจมตีใหม่ระยะที่๑ จำนวน
๔เครื่อง ระหว่างเครื่องบินขับไล่ Saab Gripen E/F สวีเดน(https://aagth1.blogspot.com/2024/05/gripen-e.html) หรือเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16C/D Block 70/72 สหรัฐฯ
ที่คาดว่าจะมีขึ้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๗ นี้
ตามข้อมูลล่าสุดที่ทำเสนอในสื่อของไทย
ข้อเสนอของสวีเดนสำหรับโครงการเครื่องบินขับไล่โจมตีใหม่แทดแทน บ.ข.๑๙/ก
F-16A/B กองบิน๑ โคราช นอกจากเครื่องบินขับไล่ Gripen E/F จำนวน ๑๒-๑๔เครื่อง
ยังจะรวมถึงข้อเสนอชดเชย offset และการค้าต่างตอบแทน counter trade/barter
trade และการถ่ายทอดวิทยาการต่างๆ แก่ไทยอย่างบูรณาการ
ในส่วนของกองทัพอากาศไทยจะรวมถึงการปรับปรุงความทันสมัยของเครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือนทางอากาศแบบที่๑
บ.ค.๑ Saab 340 ERIEYE AEW(Airborne Early Warning) ฝูงบิน๗๐๒ กองบิน๗
วงเงินราว ๕,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($136,556,050) หากเลือก Gripen E/F ขณะที่ F-16
Block 70/72
สหรัฐฯจะเน้นจุดเด่นเรื่องผู้ใช้จำนวนมากทั่วโลกและความง่ายในการเปลี่ยนมาใช้ที่เข้ากันได้กับกองบิน๑
อยู่แล้วครับ
Army Research and Development Office (ARDO), Royal Thai Army (RTA) tatical
Radio over IP (RoIP) programme funded by National Research Council of
Thailand (NRCT) was tested prototype with 2nd Signal Battalion, 2nd
Infantry Division Queen Guard
in Prachinburi Province, Thailand on 30 April 2024.
Seen BTR-3E1 8x8 armored personnel carriers (APCs) and mortar carrier
variant of 1st Infantry Battalion, 2nd Infantry Regiment, 2nd Infantry
Division Queen Guard during testing. (Royal Thai Army)
30 เม.ย.67 : พ.อ. วชิรธร ครองสุข รอง ผอ.สวพ.ทบ.(2) ร่วมกับคณะทำงาน วช.
ประชุมตรวจเยี่ยมและทดสอบต้นแบบงานวิจัยฯ
โครงการการศึกษาและพัฒนาต้นแบบชุดเชื่อมต่อระบบสื่อสารทางยุทธวิธีด้วยวิทยุสื่อสารระบบเรดิโอโอเวอร์ไอพี
ซึ่งมี พ.ต. อนุรักษ์ วงษ์พระจันทร์ สังกัด สส.
เป็นนายทหารโครงการ
โครงการฯ
ดังกล่าวเป็นโครงการภายใต้แผนงานการวิจัยและพัฒนาเพื่อดำรงสภาพยุทโธปกรณ์ของกองทัพ
สำหรับอุตสาหกรรมความมั่นคงและป้องกันประเทศ
ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณการวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
ประจำปี 2566
ประกอบด้วยการบรรยายสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
และชมการสาธิตชุดเชื่อมต่อระบบสื่อสารติดตามทางยุทธวิธีด้วยวิทยุสื่อสารระบบเรดิโอโอเวอร์ไอพี
(RoIP) ประกอบยานเกราะล้อยางประจำหน่วย ณ ส.พัน.2 พล.ร.2 รอ.
จว.ปราจีนบุรี
ผลการทดสอบเป็นไปวัตถุประสงค์ของโครงการฯ
และจะดำเนินการปิดโครงการกับแหล่งทุน วช. ต่อไป
กองพันทหารสื่อสารที่๒ ส.พัน.๒ เป็นเหล่าทหารสื่อสารหน่วยขึ้นตรงของ
กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ พล.ร.๒ รอ.
ซึ่งเป็นกองพลทหารราบยานเกราะ(Mechanized infantry) ประกอบด้วย
กรมทหารราบที่๑๒ รักษาพระองค์ ร.๑๒ รอ. ใช้รถสายพานลำเลียง รสพ.M113A3 APC
และกรมทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ ร.๒ รอ. และกรมทหารราบที่๒๑ รักษาพระองค์
ร.๒๑ รอ. ใช้ยานเกราะล้อยาง BTE-3E1 8x8
ในชุดภาพการทดสอบต้นแบบระบบสื่อสารทางยุทธวิธีด้วยวิทยุสื่อสารระบบ Radio
over IP(RoIP) โดยสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพบก สวพ.ทบ.
BTE-3E1 ในรุ่นลำเลียงพล และรุ่นอื่นเช่นรถเกราะติดเครื่องยิงลูกระเบิด 81mm
BTR-3M1 และ 120mm BTR-3M2 ได้รับการติดตั้งระบบวิทยุของ Tadiran
อิสราเอลซึ่งเป็นวิทยุมาตรฐานของกองทัพบกไทยมาเกือบ๒๐ปีแล้ว
โครงการศึกษาพัฒนาวิทยุทางยุทธวิธี RoIP
นี้ก็เป็นอีกการพึ่งพาตนเองด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทยครับ
General Sanitchanog Sangkachantra the Permanent Secretary for Defence of
Ministry of Defence of Thailand inspected production line of domestic 100
of MOD2020 5.56x45mm assault rifles for Royal Thai Armed Forces
Headquarters and 40 of NIN9 9mm submachine guns for Royal Forest
Department and National Park, Wildlife and Plant Conservation
Department at Weapon Research and Development Plant (WRDP), Weapon Production Center
(WPC), Defence Industry and Energy Center (DIEC) in Lopburi Province,
Thailand on 23 May 2024. (Cook BulletRuning)
23/05/67
พลเอก สนิธชนก สังขจันทน์ ปลัดกลาโหม เข้าตรวจเยี่ยมโครงการ สายการผลิต ปลย. MOD2020 และ ปกม.NIN9 ณ โรงงานต้นแบบการวิจัยและพัฒนาอาวุธ ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ จังหวัดลพบุรี
https://www.facebook.com/cook.bulletrunning/posts/pfbid0ch7WsnQEsEFted6DMAche969nUqMQBRVD2goQSqUd1ZAuL2st5dzBTB1D1QCzDyul
ทดสอบภาคโรงงาน ปกม.NIN9 เช้ายันดึก
Thai Defense Industry Co., Ltd. (TDI), jonit venture of Thailand's Defence
Technology Institute (DTI) and Thailand's company Chaiseri metal &
rubber Co. Ltd. hand over 10 First Win 4x4 ATV (Armored Tactical
Vehicle) and Weapons Manufacture Industries Co., Ltd. (WMI), jonit venture of Thai
Defence Technology Institute and Israeli EMTAN hand over 200 MI-47
7.62x39mm carbines and 30 MI-9 9x19mm pistols to Kingdom Bhutan for United
Nations Mission in the Central African Republic (MINUSCA) Peacekeeping on
27 May 2024. (Defense and Security)
ความคืบหน้าสำคัญของภาคอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทยในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๗
คือ โรงงานต้นแบบการวิจัยพัฒนาอาวุธ รง.ตวพ. ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ
ศูนย์อุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ศอว.ศอพท.
กำลังเปิดสายการผลิตปืนเล็กยาวจู่โจม ปลย.MOD2020
ภายใต้โครงการผลิตปืนเล็กยาวขนาด 5.56mm
เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ
ปลย.MOD2020 จำนวน ๑๐๐กระบอกวงเงิน ๖,๑๗๖,๑๐๐บาท($168,570)
คาดว่าจะถูกนำเข้าประจำการในหน่วยขึ้นตรงของกองบัญชาการกองทัพไทย บก.ทท.
และสายการผลิตปืนกลมือ ปกม.NIN9 ภายใต้โครงการผลิต ปลย.ขนาด 9mm
ให้กับกรมป่าไม้ และกรมอุทยาน, สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จำนวน ๔๐กระบอก วงเงิน
๖๔๒,๖๐๐บาท($17,541) ซึ่งปืนทั้งสองแบบออกแบบโดย MITECH
ไทย(บนพื้นฐานปืนตระกูล AR15)
บริษัท อุตสาหกรรมผลิตอาวุธ จำกัด WMI
ซึ่งเป็นกิจการร่วมทุนของสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สปท. DTI กับ EMTAN
อิสราเอลและเอกชนไทย ได้ส่งมอบปืนเล็กสั้น MI-47 ขนาด 7.62x39mm จำนวน
๒๐๐กระบอก และปืนพก MI-9 ขนาด 9mm จำนวน
๓๐กระบอกที่ผลิตในไทยแก่ภูฏานเพื่อนำไปใช้ในภารกิจรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ
UN ในสาธารณรัฐแอฟริกากลางเมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๗
วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๗ เช่นเดียวกัน บริษัท Thai Defense Industry(TDI)
ซึ่งเป็นกิจการร่วมทุนระหว่าง DTI ไทยและบริษัท Chaiseri
ไทยก็ได้ส่งมอบยานเกราะล้อยาง First Win 4x4 ATV จำนวน
๑๐คันแก่ภูฏานสำหรับภารกิจรักษาสันติภาพในสาธารณรัฐแอฟริกากลาง
เพิ่มเติมต่อยานเกราะล้อยาง First Win 4x4 จำนวน
๑๕คันที่ส่งมอบให้ภูฏานเพื่อภารกิจเดียวกันเมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน
พ.ศ.๒๕๖๔(2021)
ก่อนหน้านี้ในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์นานาชาติ DSA 2024
ที่มาเลเซียระหว่างวันที่ ๖-๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๗ บริษัท Chaiseri
ไทยได้ลงนามลงนามบันทึกความเข้าใจ MOU กับบริษัท Widad Group Berhad
มาเลเซียเพื่อสนับสนุนการนำเสนอรถรบปฏิบัติการพิเศษ Wildcat HMV 4x4
แบบใหม่ล่าสุดของตนแก่กองทัพบกมาเลเซียด้วย(https://aagth1.blogspot.com/2024/05/chaiseri-wildcat-hmv-4x4.html)
ทั้งหมดเป็นความสำเร็จด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทยในการส่งออกต่างประเทศล่าสุดนอกเหนือจากการพัฒนาเพื่อพึ่งพาตนเองและสร้างงานภายในประเทศให้คนไทย
ซึ่งจะเห็นได้ประเทศเล็กๆที่รักสงบเช่นภูฏานมองประเทศไทยเป็นต้นแบบในการนำมาพัฒนาประเทศของตน
ต่างจากผู้ไม่หวังดีต่อชาติที่จ้องแต่จะทำลายภาพลักษณ์ของประเทศไทยให้ดูแย่ในสายตาประชาคมโลกรวมถึงเรื่องการส่งออกอาวุธนี้ครับ