วันอาทิตย์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2566

จีนเสร็จสิ้นการรับรองมาตรฐานเครื่องยนต์ดีเซลกำเนิดพลังงานไฟฟ้า CHD620V16H6 สำหรับเรือดำน้ำ





"The type certification test of CHD620V16H6 diesel engine was successfully completed"
Henan Diesel Engine Co., Ltd (HND) subsidiary of China Shipbuilding Industry Corporation (CSIC) was passing certification for National Military Standard (GJB: Guo-jia Jun-yong) of its CHD620V16H6 diesel generator engine on 27 July 2023, HND publish photo of certification ceremony on it website on 8 August 2023. (http://www.hnd.com.cn)
The CHD620V16H6 is variant of HND's CHD 620 diesel generator engine for Submarine used, replaced the MTU16V396SE84 that Germany refused to export to China since 2020 for fitting on export variants of People’s Liberation Army Navy (PLAN) Type 039B SSK included one of Royal Thai Navy (RTN) S26T submarine and 8 of Pakistan Navy (PN) Hangor-class submarines. (eng.chinamil.com.cn)

บริษัท Henan Diesel Engine Co., Ltd(HND) ผู้พัฒนาผลิตเครื่องยนต์ดีเซลสำหรับใช้งานทางเรือในเครือ China Shipbuilding Industry Corporation(CSIC) กลุ่มรัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมทางเรือของสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้เผยแพร่ข่าวและภาพถ่ายใน Website ของตนว่า
เครื่องยนต์ดีเซลกำเนิดพลังงานไฟฟ้าแบบ CHD620V16H6 ได้ประสบความสำเร็จในการผ่านการรับรองมาตรฐานทางทหารแห่งชาติ(National Military Standard) หรือมาตรฐาน GJB(Guo-jia Jun-yong) แล้วเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2023 โดยลงข่าวในวันที่ 8 สิงหาคม 2023
CHD620V16H6 เป็นรุ่นสำหรับใช้งานในเรือดำน้ำของเครื่องยนต์ดีเซลกำเนิดพลังงานไฟฟ้า CHD620 ของ HND จีนซึ่งถูกระบุได้ดำเนินการพัฒนามาเป็นเวลากว่า 5ปีแล้ว(2018) อย่างไรก็ตามขณะที่เขียนบทความนี้ไม่สามารถเข้าถึงข่าวและภาพใน website ทางการของ HND ได้แล้ว

Weibo สื่อสังคม online ของจีนได้มีผู้ใช้คัดลอกภาพและเผยแพร่ข่าวต่อได้ นักวิเคราะห์ทางทหารต่างประเทศเชื่อว่าเครื่องยนต์ดีเซล CHD620V16H6 จีนจะถูกนำมาทดแทนเครื่องยนต์ดีเซลกำเนิดพลังงานไฟฟ้า MTU 16V 396 SE84 สำหรับเรือดำน้ำจากเยอรมนี
โดยเยอรมนีได้ปฏิเสธที่จะส่งออกสิ่งอุปกรณ์ที่ใช้งานได้สองทาง(dual use) แก่จีนตามการเข้มงวดมาตรการคว่ำบาตรของสหภาพยุโรป(EU: European Union) ในปี 2020 ทั้งนี้บริษัท MTU เยอรมนีได้กล่าวกับสื่อว่าตนได้ยุติสายการผลิตเครื่องยนต์ดีเซล MTU 396 ทุกรุ่นแล้วตั้งแต่ปี 2020 เช่นกัน
นั่นทำให้เรือดำน้ำตามแบบของจีนที่ติดตั้งระบบขับเคลื่อนเครื่องยนต์ดีเซล MTU16V396SE84 เช่นเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าโจมตี(SSK) ชั้น Type 039A/B/C/D(NATO กำหนดรหัสชั้น Yuan) ที่สร้างหลังจากนี้จะต้องเปลี่ยนไปใช้เครื่องยนต์ดีเซล CHD620V16H6 แทน(https://aagth1.blogspot.com/2022/08/type-039c.html)

จีนได้อ้างว่าเครื่องยนต์ดีเซลกำเนิดพลังงานไฟฟ้า CHD 620 ได้ถูกนำมาใช้ในเรือรบผิวน้ำของกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People's Liberation Army Navy) เช่นเรือบรรทุกเครื่องบินที่จีนสร้างเองแล้ว(อย่าง Type 002 CV-17 Shandong และ Type 003 CV-18 Fujian)(https://aagth1.blogspot.com/2023/04/wargames.html, https://aagth1.blogspot.com/2022/12/pentagon.html)
อย่างไรก็ตามน่าเชื่อว่าเครื่องยนต์ดีเซลกำเนิดพลังงานไฟฟ้า CHD620V16H6 จะถูกนำมาติดตั้งในเรือดำน้ำชั้น Hangor จำนวน 8ลำของกองทัพเรือปากีสถาน(PN: Pakistan Navy) ที่มีพื้นฐานจากเรือดำน้ำชั้น Type 039B(https://aagth1.blogspot.com/2022/12/hangor-pns-tasnim.html)
ตามที่เยอรมนีปฏิเสธการส่งออกเครื่องยนต์ MTU 396 แก่จีน การสร้างเรือดำน้ำชั้น Hangor 4ลำแรกที่อู่เรือ Wuchang Shipbuilding Industry Group(WSIG) ในจีน และ 4ลำหลังที่อู่เรือ Karachi Shipyard & Engineering Works(KS&EW) ในปากีสถานมีความล่าช้าจากการรอติดตั้งเครื่องยนต์

เช่นเดียวเรือดำน้ำ S26T สำหรับกองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) ที่ตั้งแต่วางกระดูกงูเรือลำแรกเมื่อวันที่ ๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๒(2019)(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/s26t.html) การสร้างเรือก็ล่าช้าจากการระบาดของ Covid-19 ในปี พ.ศ.๒๕๖๓(2020)
ต่อมาก็มีปัญหาเครื่องยนต์ MTU 396 เยอรมนี(https://aagth1.blogspot.com/2022/04/s26t-mtu.html) ผลของการเจรจาและศึกษาและตรวจสอบมายาวนาน ในเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๖(2023) ก็มีรายงานว่ากองทัพเรือไทยได้ยอมรับเครื่องยนต์ CHD 620 เช่นเดียวกับปากีสถาน
แต่ถึงแม้จะยอมรับเครื่องยนต์ CHD620 สำหรับเรือดำน้ำ S26T แล้วก็ตาม การสร้างเรือจะยังล่าช้าไม่ต่ำกว่า ๔๐เดือนจากกำหนดส่งมอบเดิมในปี ๒๕๖๖ นี้่เป็นถึงปี พ.ศ.๒๕๗๐(2027) และการแก้ไขสัญญาแบบรัฐต่อรัฐที่ลงนามไว้ก็ต้องรอรัฐมนตรีกลาโหมและรัฐบาลไทยชุดใหม่เป็นผู้ทำการตัดสินใจด้วยครับ