วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2562

ภาพพิธีวางกระดูกงูเรือดำน้ำ S26T กองทัพเรือไทยลำแรกที่จีน







Brahmin in keel laying ceremony of the first S26T Submarine for Royal Thai Navy at Wuhan, China, 5 September 2019.

"เช้านี้อากาศดีฝนพรำให้เล็กน้อยก่อนทำพิธีทั้งที่ไม่มีเมฆฝนเลย ถือว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีและการดำเนินการก็สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีครับ" เรือเอก จิรศิษฏ์ แสงวิลัย(https://www.facebook.com/people/จิรศิษฏ์-แสงวิลัย/100001825214786)

ชุดภาพของพราหมณ์ผู้ทำการบวงสรวงในพิธีวางกระดูกงูเรือเรือดำน้ำแบบ S26T ลำแรกสำหรับกองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) ณ อู่เรือ Wuchang Shipbuilding Industry Group Co.,Ltd (WS) ใน Wuhan สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ ๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๒(2019)
เป็นความคืบหน้าล่าสุดของการสร้างตัวเรือในโครงการจัดหาเรือดำน้ำ S26T ระยะที่๑ จำนวน ๑ลำ ที่ได้ทำพิธีตัดเหล็กแผ่นแรกในวันที่ ๔ กันยายน ๒๔๖๑(2018) ซึ่งเป็น 'วันเรือดำน้ำไทย' นับเป็นเวลาราวเมื่อหนึ่งปีที่แล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2018/09/s26t.html)

แม้ว่าการสร้างเรือรบสมัยใหม่ในปัจจุบันจะไม่มีการวาง 'กระดูกงูเรือ' เป็นแกนลำตัวเรือจริงๆแล้วก็ตามโดยเปลี่ยนไปใช้การสร้างในรูปแบบการประกอบชิ้นส่วน Block ลำตัวเรือแทน แต่กองทัพเรือทั่วโลกยังคงเรียพิธีการประกอบ Block เรือชิ้นแรกว่าพิธีวางกระดูกงู(keel laying ceremony) อยู่
ก่อนหน้านี้มีรายงานว่า พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือและคณะได้เดินทางไปจีนเพื่อทำพิธีวางกระดูกงูเรือดำน้ำ S26T ลำแรก ตามที่กองทัพเรือกำลังผลักดันการจัดหาเรือดำน้ำ S26T ระยะที่๒ เป็นลำที่๒(https://aagth1.blogspot.com/2019/08/s26t-lpd.html)

เมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๐(2017) คณะรัฐมนตรีรัฐบาลไทยในขณะนั้นได้อนุมัติการจัดซื้อเรือดำน้ำ S26T ระยะที่๑ ลำแรกจากจีนวงเงินราว ๑๓,๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($410 million)(https://aagth1.blogspot.com/2017/05/s26t-updated.html)
ต่อมาวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐ กองทัพเรือไทยได้ลงนามสัญญาจัดหาเรือดำน้ำ S26T ระยะที่๑ จำนวน ๑ลำกับบริษัท China Shipbuilding & offshore International Co., Ltd.(CSOC) จีน(https://aagth1.blogspot.com/2017/05/s26t.html)

มีการให้ข้อมูลว่า S26T ลำแรกของกองทัพเรือไทยนั้นมีพื้นฐานจากเรือดำน้ำชั้น Type 039B ที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดที่สร้างเข้าประจำการในกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People’s Liberation Army Navy)(https://aagth1.blogspot.com/2017/12/blog-post_14.html)
น่าจะมีคุณสมบัติผสมผสานระบบอุปกรณ์ ระบบอำนวยการรบ และระบบอาวุธจากจีนและตะวันตก(https://aagth1.blogspot.com/2018/02/s26t.html) คาดว่าจะสามารถปล่อยลงน้ำ(launching) ในราวปี พ.ศ.๒๕๖๕(2022) และถูกส่งมอบ(delivering) เข้าประจำการได้ในปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023)

พิธีการวางกระดูกงูเรือดำน้ำ S26T ลำแรกของกองทัพเรือไทยนั้น ตามมาด้วยการลงนามสัญญาจัดหาเรืออู่ยกพลขึ้นบก(LPD: Landing Platform Dock) ชั้น Type 071E จำนวน ๑ลำ วงเงิน ๖,๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($200,460,066.6) เมื่อวันที่ ๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๒
การลงนามสัญญาระหว่างกองทัพเรือไทยและบริษัท China State Shipbuilding Corporation(CSSC) จีนนับเป็นการส่งออกครั้งแรกของเรือยกพลขึ้นบกชั้น Type 071 ที่เข้าประจำการในกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนเช่นกัน(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/type-071e-lpd.html)

นอกจากที่ Type 071E จีนที่คาดว่าจะได้รับมอบในต้นปี 2020s(ราวปี 2022-2023) ซึ่งจะถูกนำเข้าประจำการ ณ กองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ กองเรือยุทธการ(Amphibious Squadron, Royal Thai Fleet) โดยมีรายงานบ้างแหล่งว่าอาจจะมีชื่อเรือว่า 'เรือหลวงช้าง(ลำที่๓)'
จะเป็นเรืออู่ยกพลขึ้นบกชุดที่สองของกองทัพเรือไทย ที่จะช่วยแบ่งเบาภาระเรือหลวงอ่างทอง(ลำที่๓) ซึ่งเป็นเรือ LPD ชุดแรกและลำเดียวของกองทัพเรือไทยในขณะนี้ ที่จะถูกใช้ในการฝึก, การส่งกำลังบำรุงและการขนส่งกำลังพล และการบรรเทาภัยพิบัติต่างๆแก่ประชาชนแล้ว

มีข้อสังเกตุว่าแบบจำลองสามมิติของเรือ Type 071E LPD ในพิธีลงนามแสดงถึงตัวเรือมี Crane ขนาดใหญ่ที่หน้าโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ และมีเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าแบบ S26T จอดเทียบข้างกราบขวาเรือท้ายเรือโดยมีลูกโป่งยางกันกระแทก(Balloon Mooring Rubber Fenders) สองจุดนั้น
ทำให้ข้อมูลที่ว่ากองทัพเรือไทยมีแผนที่จะให้เรืออู่ยกขึ้นบก Type 071E LPD จีนถูกใช้เป็นเรือพี่เลี้ยงเรือดำน้ำ(Submarine Tender) ด้วย นับว่าเป็นโครงการจัดหาเรือจากจีนทั้งสองโครงการของกองทัพเรือไทยมีความคุ้มค่าครบวงจรอย่างยิ่ง ต่างจากที่มีผู้ไม่หวังดีพยายามใส่ร้ายกองทัพเรือครับ