Pakistan holds keel-laying and cutting-steel ceremonies for the Hangor-class
submarines
The indigenous submarine development project in Pakistan has reached another
milestone. The keel laying of the first HANGOR-class submarine (5th
overall) and the steel cutting of the second submarine (6th overall) were carried out
at Karachi Shipyard & Engineering Works (KS&EW) on December 24,
2022.
โครงการพัฒนาเรือดำน้ำภายในประเทศของปากีสถานได้มาถึงอีกเหตุการณ์สำคัญ
พิธีวางกระดูกงูเรือของเรือดำน้ำชั้น Hangor ลำที่5 ที่เป็นลำแรกที่สร้างในประเทศ
และพิธีตัดเหล็กแผ่นแรกของเรือดำน้ำชั้น Hangor ลำที่6
เป็นลำที่สองที่สร้างในประเทศ
ได้รับการดำนินการ ณ อู่เรือ Karachi Shipyard & Engineering
Works(KS&EW) เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2022(https://aagth1.blogspot.com/2017/12/blog-post_14.html,
https://aagth1.blogspot.com/2016/10/type-091-han-8.html)
ข้อตกลงกลาโหมระหว่างปากีสถานและจีนรวมถึงการพัฒนาเรือดำน้ำชั้น Hangor จำนวน 8ลำ
ที่รวมเรือดำน้ำ 4ลำภายใต้การสร้างที่อู่เรือ Wuchang Shipbuilding Industry
Group(WSIG) ในจีน
และอีก 4ลำที่ได้รับการสร้างที่อู่เรือ KS&EW
ปากีสถานภายใต้ข้อตกลงการถ่ายทอดวิทยาการ(ToT: Transfer of Technology)(https://aagth1.blogspot.com/2016/08/8-2028.html)
งานการสร้างเรือดำน้ำชั้น Hangor ลำที่5 เป็นลำแรกในปากีสถาน เรือดำน้ำ PNS
Tasnim ได้มีพิธีตัดเหล็กแผ่นแรก ณ อู่เรือ KS&EW ในเดือนธันวาคม 2021
และตอนนี้พิธีวางกระดูกงูเรือได้รับการทำแล้ว
ซึ่งเป็นเหตุการณ์สำคัญหลักในประวัติศาสตร์ของเรือลำใดๆที่ถูกสร้างขึ้น
ควบคู่กับงานการสร้างของเรือดำน้ำชั้น Hangor ลำที่6 เป็นลำที่สองในปากีสถาน
ได้เริ่มต้นโดยพิธีตัดเหล็กแผ่นแรกในอู่เรือเดียวกัน
เรือดำน้ำชั้น Hangor
มีขีดความสามารถที่จะดำเนินภารกิจที่หลากหลายตามที่มีการกำหนดแต่ละคำสั่งปฏิบัติการ
เรือมีคุณสมบัติตรวจจับได้ยากขั้นก้าวหน้าและติดตั้งระบบอาวุธและระบบตรวจจับต่างๆที่ทันสมัย
ที่จะปฏิบัติการภายใต้สภาพแวดล้อมภัยคุกคามที่หลากหลาย
และสามารถโจมตีได้หลายเป้าหมายที่นอกระยะโจมตีของฝ่ายตรงข้าม(https://aagth1.blogspot.com/2017/01/babur-3.html)
ในโอกาสนี้
หัวหน้าแขกผู้มีเกียรติได้กล่าวว่าเป็นเรื่องที่น่าภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้เป็นสักขีพยานต่อการวางกระดูกงูเรือและตัดเหล็กของเรือดำน้ำทั้งสองลำพร้อมๆกัน
เขาเสริมว่ากองทัพเรือปากีสถาน(PN: Pakistan Navy)
ได้ตระหนักถึงพัฒนาการสถานะการณ์ภูมิยุทธศาสตร์ในภูมิภาคเอเชียใต้
และจะเดินหน้าที่จะพัฒนาศักยภาพทางเรือ,
ปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกการสร้างเรือและติดตั้งระบบด้วยอาวุธ/ระบบตรวจจับขั้นก้าวหน้า
ที่จะต่อต้านภัยคุกคามตามแบบเช่นเดียวกับภัยคุกคามอสมมาตรต่างๆ
นายพลเรือผู้นำกองทัพเรือปากีสถานได้แสดงความมั่นใจว่า เรือดำน้ำชั้น Hangor
เหล่านี้จะมีบทบาทภารกิจการนำในการมอบความพึ่งพอใจแก่ความจำเป็นด้านการปฏิบัติการของกองทัพเรือปากีสถาน
ก่อนหน้านี้ตัวแทนจาก China Shipbuilding Offshore Company(CSOC)
รัฐวิสาหกิจการสร้างเรือของสาธารณรัฐประชาชนจีน
ได้กล่าวแสดงความขอบคุณสำหรับพิธีวางกระดูงูเรือและตัดเหล็กแผ่นแรก
ตัวแทน CSOC
จีนเสริมว่าบริษัทของเขาจะสร้างความมั่นใจในการมอบทรัพยากร/การสนับสนุนทั้งหมดอย่างไร้รอยต่อเพื่อการสร้างที่ราบลื่นของเรือดำน้ำในปากีสถาน
เขากล่าวเพิ่มเติมว่ามิตรภาพปากีสถาน-จีนได้หยั่งรากลึกและแบ่งปันเป้าหมายร่วมกัน
พิธียังได้เชิญตัวแทนอื่นๆของ CSOC จีน
และนายทหารระดับสูงรวมถึงแขกผู้มีเกียรติจากสถานทูตจีนประจำปากีสถาน,
กระทรวงการผลิตทางกลาโหมปากีสถาน, กองทัพเรือปากีสถาน และอู่เรือ KS&EW
ปากีสถาน
เรือดำน้ำชั้น Hangor ปากีสถานเป็นรุ่นส่งออกของเรือดำน้ำชั้น Type 039A/B(NATO
กำหนดรหัสชั้น Yuan) ที่ประจำการในกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People’s
Liberation Army Navy)
ปากีสถานยอมรับการจัดซื้อเรือดำน้ำ 8ลำจากจีนในเดือนเมษายน 2015
ตามข้อตกลงเรือดำน้ำ 4ลำหลังจะถูกสร้างในอู่เรือ KS&EW ปากีสถาน
ในเวลาเดียวกับที่เรือดำน้ำ 4ลำแรกจะถูกสร้างในจีน
เรือดำน้ำชั้น Hangor จำนวน 8ลำมีกำหนดที่จะส่งมอบในระหว่างปี 2022-2028
หัวหน้าผู้อำนวยการของโครงการเปิดเผยในเดือนสิงหาคม 2016 ว่า
เรือดำน้ำ 4ลำแรกจะถูกส่งมอบในช่วงปี 2022-2023 โดยเรือ
4ลำสุดท้ายจะส่งมอบตามมาในปี 2028
กองทัพเรือปากีสถานไม่ได้ให้รายละเอียดใดๆเกี่ยวกับระบบย่อยหรือระบบอาวุธเฉพาะของเรือดำน้ำชั้น
Hangor
ระบบขับเคลื่อนแบบไม่ใช้อากาศ(AIP: Air Independent Propulsion)
ถูกใช้ในแบบเรือดำน้ำ S26T ของ CSOC จีน
ซึ่งผู้เชี่ยวชาญหลายรายสันนิษฐานว่าเรือดำน้ำชั้น Hangor มีพื้นฐานมา
แต่ทางการปากีสถานไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะเกี่ยวกับระบบขับเคลื่อนของเรือดำน้ำชั้น
Hangor
ตามข้อมูลจาก blog ด้านความมั่นคงของปากีสถาน Quwa เรือดำน้ำชั้น Hangor
มีความยาวเรือ 76m และมีระวางขับน้ำที่ 2800tons ทำให้เรือมีขนาดสั้นกว่าเล็กน้อย
และมีระวางขับน้ำหนักกว่าแบบเรือดำน้ำ S26T เดิม
ปัจจุบันกองทัพเรือปากีสถานมีประจำการด้วยเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้าชั้น
Khalid(Agosta 90B) ทีมีระบบ AIP จำนวน 3ลำ และเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้าชั้น
Hashmat(Agosta 70) จำนวน 2ลำ
เรือดำน้ำแบบ Agosta 90B 3ลำได้รับการปรับปรุงครึ่งอายุภายใต้สัญญาที่ลงนามในปี
2016 กับบริษัท STM ตุรกีในฐานะผู้รับสัญญาหลัก(https://aagth1.blogspot.com/2016/06/agosta-90b.html)
STM ตุรกีได้ส่งมอบเรือดำน้ำชั้น Khalid ที่ได้รับการปรับปรุงแล้วลำแรก เรือดำน้ำ
S139 PNS Hamza ในปี 2020 ขอบเขตของการปรับปรุงความทันสมัยของเรือดำน้ำคือ
การเปลี่ยนระบบควบคุมการยิง(FCS: Fire Control System), ชุด Sonar, ระบบสงคราม
electronic(EWS: Electronic Warfare System), Radar และระบบกล้องตามเรือ(นำร่อง
และโจมตี)
เรือดำน้ำชั้น Hangor ทั้ง
8ลำจะสร้างความแข็งแกร่งอย่างมีนัยสำคัญแก่กองทัพเรือปากีสถาน
ปากีสถานน่าจะที่จะเพิ่มขีดความสามารถต่อต้านการเข้าถึง/ปฏิเสธการใช้พื้นที่(A2/AD:
Anti-Access/Area Denial) ในภูมิภาคหลังโครงการเสร็จสมบูรณ์
ตามที่ยังไม่มีการยืนยันเป็นทางการว่าเรือมีระบบอาวุธอะไรบ้าง
เป็นที่ชัดเจนว่าปากีสถานจะได้รับขีดความสามารถการโจมตีทางลึกถ้าเรือดำน้ำชั้น
Hangor ได้รับการติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนยิงจากเรือดำน้ำ Babur-3 (SLCM:
Submarine-Launched Cruise Missile) ครับ