วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2565

ไทยอาจจะยกเลิกการจัดหาเรือดำน้ำ S26T จีนจากปัญหาเครื่องยนต์ MTU เยอรมนี







Two tugboats attached to a submarine flotilla with the People's Liberation Army Navy (PLAN) under the PLA Northern Theater Command jointly tow a Type 039B submarine to bear off a port for the maritime combat training drills in late March, 2022. (eng.chinamil.com.cn/Photo by Wu Haodong)

Thailand may cancel a $400 million deal to buy a Yuan-class submarine from China because the sub has no engine. 
China told Thailand that the sub would have a German propulsion system, but the German company refused to sell it because of the EU weapons embargo imposed on China.

โครงการจัดหาเรือดำน้ำ S26T ระยะที่๑ ลำแรกของกองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) กับ China Shipbuilding & offshore International Co., Ltd.(CSOC) รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมต่อเรือสาธารณรัฐประชาชนจีน(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/s26t.html)
กำลังเผชิญปัญหาสำคัญนอกจากสัญญาสร้างเรือดำน้ำ S26T ลำแรกวงเงินราว ๑๓,๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($400 million) ที่กำลังสร้าง ณ อู่เรือ Wuchang ใน Wuhan จีนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๖๒(2019) ที่ได้รับผลกระทบล่าช้าในการสร้างเรือจากการระบาดของ Covid-19 ในปี พ.ศ.๒๕๖๓(2020)
และการชำระวงเงินโครงการที่ถูกเลื่อนมาสี่ครั้งจากการตัดงบประมาณกลาโหมปี ๒๕๖๓-๒๕๖๖(2020-2023) ที่มีการจ่ายไปเพียง ๗๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($208.9 million) แล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2022/03/covid-19.html) ล่าสุดยังมีปัญหาที่เยอรมนีไม่อนุญาตส่งออกเครื่องยนต์ MTU สำหรับเรือด้วย

เรือดำน้ำชั้น Type 039B(NATO กำหนดรหัสชั้น Yuan) ซึ่งเป็นเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้า SSK เรือดำน้ำตามแบบที่ทันสมัยที่สุดในประจำการกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People's Liberation Army Navy)(https://aagth1.blogspot.com/2021/07/type-039c-sonar.html)
ซึ่งถูกอธิบายว่าเป็นแบบพื้นฐานในรุ่นส่งออกสำหรับเรือดำน้ำ S26T สำหรับกองทัพเรือไทย และเรือดำน้ำชั้น Hangor กองทัพเรือปากีสถาน(PN: Pakistan Navy) ที่สั่งจัดหา ๔ลำ โดย ๔ลำหลังจะทำการสร้าง ณ อู่เรือ Karachi Shipyard and Engineering Works(KS&EW) ใน Karachi ปากีสถานนั้น
เรือดำน้ำชั้น Type 039(NATO กำหนดรหัสชั้น Song) รุ่นก่อนหน้า และเรือดำน้ำชั้น Type 039A/B/C Yuan ที่กองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนใช้เองถูกระบุว่าติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซล MTU 16V 396 SE84 เยอรมนีลำละ ๓เครื่องเป็นระบบขับเคลื่อนที่ผิวน้ำและประจุไฟฟ้าแก่ Battery ก่อนดำใต้น้ำ

อย่างไรก็ตามเยอรมนีได้ปฏิเสธที่จะส่งออกสิทธิบัตรเครื่องยนต์ดีเซล MTU 396 จีนเพื่อการใช้งานทางทหาร เป็นการตอบสนองต่อการเพิ่มความเข้มงวดการคว่ำบาตรจีนของสหภาพยุโรป(EU: European Union) ที่เยอรมนีประเทศสมาชิกเริ่มบังคับใช้อย่างเข้มงวดในปี พ.ศ.๒๕๖๔(2021) เป็นต้นมา
ชาติยุโรปได้มีมติคว่ำบาตรการส่งออกสิ่งอุปกรณ์เพื่อใช้งานทางทหารแก่จีนตั้งแต่เหตุประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมินในปี พ.ศ.๒๕๓๒(1989) อย่างไรก็ตามสิ่งอุปกรณ์ที่สามารถใช้งานได้สองทาง(dual use) รวมถึงเครื่องยนต์เรือใช้งานทางทะเลถูกละเว้นในการส่งออกแก่จีนมาตลอดเป็นเวลานาน
ตามที่เรือฟริเกตชุดเรือหลวงเจ้าพระยา ทั้ง ๔ลำ และเรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวร ทั้ง ๒ลำ ที่กองทัพเรือไทยสั่งต่อจากจีนเข้าประจำการในช่วงปี พ.ศ.๒๕๓๔-๒๕๓๘(1991-1995) ติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซล MTU 20V 1163 TB 83 เยอรมนีเป็นระบบขับเคลื่อนในส่วนเครื่องจักรใหญ่ในเรือทั้งสองชุด

ในส่วนเรืออู่ยกพลขึ้นบกชุดเรือหลวงช้าง(ลำที่๓) ที่ถูกปล่อยเรือลงน้ำเมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๔ และกำลังอยู่ระหว่างการติดตั้งอุปกรณ์ที่อู่เรือ Hudong-Zhonghua Shipbuilding Group(HZ) ใกล้มหานคร Shanghai จีนนั้น(https://aagth1.blogspot.com/2021/12/type-071e-lpd.html)
ขณะที่เรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น Type 071(LPD: Landing Platform Dock) ที่กองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนใช้เองติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซลระบบ CODAD(Combined Diesel and Diesel) แบบ Shaanxi 16 PC2.6 V400 สิทธิบัตรบริษัท SEMT Pielstick ฝรั่งเศส จำนวน ๔เครื่อง
แต่รุ่นส่งออก Type 071E สำหรับกองทัพเรือไทยนั้น China State Shipbuilding Corporation Limited(CSSC) รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมการสร้างเรือของสาธารณรัฐประชาชนจีนให้ข้อมูลว่า จะติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซลของ MTU เยอรมนีตามความต้องการของไทย

ขณะนี้ยังไม่มีรายงานถึงปัญหาที่เยอรมนีไม่ส่งมอบเครื่องยนต์ MTU สำหรับเรืออู่ยกพลขึ้นบก ร.ล.ช้าง(ลำที่๓) ของไทย ทำให้มองได้สองทางคือ หนึ่งเยอรมนีไม่มีปัญหาในการส่งออกเครื่องยนต์ dual use สำหรับเรือผิวน้ำแก่จีน สองเครื่องยนต์ถูกส่งมอบก่อนการเข้มงวดการคว่ำบาตรในปี 2020
สำหรับเครื่องยนต์ MTU 396 สำหรับเรือดำน้ำ S26T ของไทยนั้น ดูเหมือนเป็นสิ่งที่ไม่คาดคิดสำหรับทั้งกองทัพเรือไทยที่ที่ผ่านมาก็สั่งต่อเรือจากจีนที่ติดตั้งเครื่องยนต์เยอรมันมาได้ตลอด และทางจีนที่มีการจัดหาเครื่องยนต์ MTU เยอรมันมาติดตั้งในเรือดำน้ำของตนเองได้มาตลอดเช่นกัน
จากการที่เยอรมนีจะไม่มีการพูดคุยประเด็นกับจีนอีกแล้ว จึงเป็นความรับผิดชอบของฝ่ายจีนที่จะต้องแก้ไขปัญหาให้ถ้าไม่สามารถส่งมอบเรือดำน้ำ S26T ลำแรกภายในปี พ.ศ.๒๕๖๗(2024) ซึ่งล่าช้าจากกำหนดการเดิมในปี ๒๕๖๖(2023) ไม่เช่นนั้นจะถือว่าจีนผิดสัญญาและต้องจ่ายค่าปรับให้แก่ไทย

กองทัพเรือไทยได้ยืนยันชัดเจนว่าต้องการเครื่องยนต์ MTU เยอรมนีสำหรับเรือดำน้ำ S26T ของตนเท่านั้น ทำให้แนวทางที่จีนจะเสนอตัวเลือกเรือดำน้ำ Type 035(NATO กำหนดรหัสชั้น Ming) เช่นที่มอบให้กองทัพเรือพม่า(MN: Myanmar Navy)(https://aagth1.blogspot.com/2021/12/type-035-ums-minye-kyaw-htin.html)
หรือเรือดำน้ำชั้น Type 039 Song ที่ปลดประจำการจากกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน ชั้นใดชั้นหนึ่งจำนวน ๒ลำจะถูกปฏิเสธจากกองทัพเรือไทย ยกเว้นแต่ว่าจีนจะเสนอเป็นเรือดำน้ำชั้น Type 039A Yuan ที่ใกล้เคียงกับ S26T ที่สุดแก่ไทย ๒ลำ ซึ่งมองว่ามีความเป็นไปได้น้อยมากจีนที่จะยอม
แนวการแก้ปัญหาอีกทางของจีนที่ไม่ต้องการให้ไทยยกเลิกสัญญาคือการเปลี่ยนไปใช้เครื่องยนต์แบบอื่นทดแทนเครื่องยนต์ MTU 396 ซึ่งปัญหาเกี่ยวกับเครื่องยนต์เช่นเดียวกันที่เกิดกับเรือดำน้ำชั้น Hangor ของปากีสถานที่เปิดเผยจากนายทหารระดับสูงของปากีสถานก็มีแนวโน้มที่จะเป็นไปในทางนี้

มีแบบเครื่องยนต์ทางเลือกสามรายสำหรับทดแทนเครื่องยนต์ MTU 396 เรือดำน้ำ S26T ไทย แบบหนึ่งที่ถูกเปิดเผยชื่อบริษัทและชื่อรุ่นคือเครื่องยนต์ดีเซล DEUTZ MWM TBD 620 V16 เยอรมนี อีกแบบคือเครื่องยนต์ดีเซลของบริษัท Caterpillar สหรัฐฯที่ไม่ทราบรุ่น
Shaanxi Diesel Engine Heavy Industry และ Henan Diesel Engine Industry Company สองรัฐวิสาหกิจผู้ผลิตเครื่องยนต์ดีเซลเรือในเครือ CSSC จีน มีสิทธิบัตรการผลิตเครื่องยนต์จากทั้ง MTU เยอรมนี MAN เยอรมนี และ SEMT Pielstick ฝรั่งเศส และ DEUTZ MWM เยอรมนีตามลำดับ
อย่างไรก็ตามเครื่องยนตร์ดีเซลของ DEUTZ MWM หรือ Caterpillar เหล่านี้ไม่มีแบบใดเลยที่ถูกใช้ในเรือดำน้ำมาก่อน อีกทั้งเป็นที่น่าสงสัยว่าถ้าเยอรมนีมีการเข้มงวดการคว่ำบาตรการส่งออกเครื่องยนต์สำหรับใช้ในเรือดำน้ำจริง ก็ต้องรวมถึงเครื่องยนต์จากทุกบริษัทของเยอรมนีไม่ใช่แค่ MTU

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีไทยและรัฐมนตรีกลาโหมไทย ได้ตอบคำถามจากสื่อว่า ถ้าเรือดำน้ำไม่มีเครื่องยนต์จะเอามาทำไม ถ้าหาเครื่องยนตร์ไม่ได้ก็ต้องแก้ไขสัญญาหรือยกเลิกสัญญา ซึ่งการแก้ไขหรือยกเลิกสัญญาจะไม่ส่งผลกระทบกับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีน
อย่างไรก็ตาม พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีไทยและอดีตรัฐมนตรีกลาโหมไทย ซึ่งมีความสัมพันธ์อันดีกับทางจีน ให้สัมภาษณ์กับสื่อสั้นๆว่า เรือดำน้ำจะมีเครื่องยนต์ และเป็นเครื่องยนต์เยอรมัน ไม่มีการยกเลิกสัญญา ทั้งนี้ไม่มีรายละเอียดเพิ่มเติมใดๆออกมาอีก
ความชัดเจนจะมีขึ้นในปลายเดือนเมษายน ๒๕๖๕ นี้ หลังการเจรจาระหว่างกองทัพเรือไทยและ CSOC จีนเพื่อหาข้อสรุปและแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว แต่ถ้ามีการยกเลิกโครงการเรือดำน้ำ S26T จริง นี่อาจจะเป็นความพยายามในการจัดหาเรือดำน้ำครั้งสุดท้ายในประวัติศาสตร์กองทัพเรือไทยครับ