US keeps persuading Turkey not to buy Russian missile systems — Pentagon
"We have an open dialogue on this issue," a US Department of Defense spokesperson said
Vitaly Nevar/TASS
http://tass.com/defense/983752
รัฐบาลสหรัฐฯยังคงพยายามโน้มน้าวตุรกีไม่ให้จัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ S-400 Triumf(NATO กำหนดรหัส SA-21 Growler) จากรัสเซีย
ตามที่ Johnny Michael โฆษกกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯหรือ Pentagon กล่าวกับ TASS ในการแสดงความเห็นต่อข้อตกลงระหว่างตุรกี-รัสเซียในการจัดหาระบบ S-400 เมื่อเร็วๆนี้
"เราได้ถ่ายทอดความกังวลของเราไปยังทางการตุรกีเกี่ยวกับการจัดซื้อ S-400 ระบบอาวุธปล่อยนำวิถีป้องกันภัยทางอากาศที่เข้ากันได้กับ NATO ยังคงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการป้องกันตุรกีจากภัยคุกคามทุกระยะอย่างเต็มรูปแบบในภูมิภาคของตน
เราได้เปิดการประชุมหารือเกี่ยวกับประเด็นนี้ และได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการคงรักษาความเข้ากันได้กับ NATO ในโครงการจัดระบบทางความมั่นคงหลักใดๆก็ตาม" โฆษกของ Pentagon สหรัฐฯกล่าว
โฆษกกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯยังได้กล่าวต่อไปว่า ตุรกีและรัสเซียมี "ความเข็มแข็งและนัยสำคัญ" ทางด้านความสัมพันธ์การค้าทางความมั่นคงและการขายทางการทหาร
"ตุรกียังคงเดินหาแสวงหาระบบป้องกันอาวุธปล่อยนำวิถีจากพันธมิตร NATO รวมถึงระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ Patriot ของสหรัฐฯ สำหรับขยายความจำเป็นด้านการป้องกันภัยทางอากาศในระยะยาว สหรัฐฯมุ่งมั่นที่เร่งการส่งมอบการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ให้ตุรกีเมื่อเป็นไปได้" เขากล่าว
ก่อนหน้านี้ไม่กี่วันรัสเซียและตุรกีได้ลงนานข้อตกลงการกู้ยืมเงินสำหรับการจัดซื้อระบบ S-400 จากรัสเซียของตุรกี สถานีโทรทัศน์ Haberturk TV รายงานเมื่อวันที่ 29 ธันวาคมที่ผ่านมา ตามหนังสือพิมพ์ Hurriyet daily ว่า
รัฐบาลตุรกีจะจ่ายวงเงินส่วนหนึ่งจากทั้งหมดจากงบประมาณของตนเอง และการทำสัญญากู้ยืมกับรัสเซียสำหรับวงเงินส่วนที่เหลือ โดยเฉพาะวงเงินกู้ยืมนั้นจะเป็นสกุลเงิน Ruble
เมื่อ 12 กันยายน 2017 ประธานาธิบดีตุรกี Recep Tayyip Erdogan กล่าวว่ารัฐบาลตุรกีลงนามสัญญาจัดหาระบบ S-400 กับรัฐบาลรัสเซีย โดยมีการจ่ายวงเงินล่วงหน้าไปแล้ว
ต่อมา 2 พฤศจิกายน 2017 Sergei Chemezov ผู้อำนวยการทั่วไปของ Rostec กลุ่มอุตสาหกรรมความมั่นคงรัสเซีย กล่าวกับ TASS ว่าสัญญาการขายระบบ S-400 ให้ตุรกีมีวงเงินเกิน $2.5 billion คาดว่าการส่งมอบระบบให้ตุรกีจะเริ่มขึ้นในอีก 2ปีหรือราวเดือนมีนาคมปี 2020
S-400 Triumf เป็นระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยไกลซึ่งเข้าประจำการในกองทัพรัสเซียเมื่อปี 2007 โดยถูกออกแบบมาเพื่อทำลายอากาศยาน, อาวุธปล่อยนำวิถีร่อน และขีปนาวุธ รวมถึงอาวุธปล่อยนำวิถีพิสัยกลาง และเป้าหมายภาคพื้นดิน
S-400 สามารถโจมตีเป้าหมายหลายเป้าหมายได้พร้อมกันในระยะยิงไกลถึง 400km และที่เพดานยิงสูงถึง 30km
ทั้งนี้นอกจากตุรกีแล้ว คาดว่ารัสเซียจะได้รับการลงนามสัญญาจัดหาระบบ S-400 จากอินเดียในเร็วๆนี้ หลังจากที่มีเบลารุสเป็นลูกค้าส่งออกรายแรก และจีนที่สั่งจัดหา S-400 จำนวน 6ระบบ และซาอุดิอาระเบียที่กำลังเจรจาจะจัดหา(http://aagth1.blogspot.com/2017/10/thaad-s-400.html)
สำหรับกลุ่ม NATO แล้ว กรีซเป็นประเทศแรกได้มีการจัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ S-300PMU1 จากรัสเซียเมื่อปี 1999 โดยทำการยิงจริงครั้งแรกในการฝึก White Eagle 2013 ครับ
วันอาทิตย์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560
วันเสาร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2560
กาตาร์ลงนามจัดหาเครื่องบินขับไล่ Boeing F-15QA สหรัฐฯ 36เครื่อง
Boeing awarded USD6.17 billion for 36 F-15QA fighters for Qatar
The Advanced Eagle has been designated F-15QA for Qatar. The Gulf state has signed a contract for 36 such aircraft to be delivered by the end of 2022. Source: Boeing
http://www.janes.com/article/76660/boeing-awarded-usd6-17-billion-for-36-f-15qa-fighters-for-qatar
บริษัท Boeing สหรัฐฯได้รับการลงนามสัญญาวงเงิน $6.17 billion เพื่อทำการผลิตและส่งมอบเครื่องบินขับไล่ F-15QA Advanced Eagle จำนวน 36เครื่องให้กองทัพอากาศกาตาร์(QEAF: Qatar Emiri Air Force)
ภายใต้สัญญาการขายรูปแบบ Foreign Military Sale(FMS) ที่ประกาศโดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯเมื่อ 22 ธันวาคม 2017 เครื่องบินขับไล่ F-15QA จะถูกส่งมอบให้กาตาร์ในวันที่ 30 ธันวาคม 2022
สัญญาตามข้อตกลงนี้ได้นับการลงนามโดยกาตาร์และสหรัฐฯเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาสำหรับเครื่องบินขับไล่ F-15 Advanced Eagle รุ่นใหม่ล่าสุดที่ Boeing สร้าง แม้ว่าข้อตกลงนี้ได้ถูกรายงานเพื่อการจัดหา F-15QA 36เครื่อง ขณะที่วงเงินที่ได้รับจากรัฐบาลกาตาร์อยู่ที่ $12 billion
ทำให้มีข้อสังเกตถึงความเป็นไปได้ว่าอาจจะมีการจัดหา F-15QA อีก 36เครื่องตามมาภายหลัง หรือไม่ข้อตกลงในขั้นต้นดังกล่าวนี้อาจจะยังไม่ได้รวมในส่วนการจัดหาระบบอาวุธหลักต่างๆที่จะมาใช้ร่วมกับ F-15QA ซึ่งยังไม่มีการประกาศตอนนี้
ขณะที่แน่นอนว่ากาตาร์ไม่ต้องการ F-15QA เพิ่มเติมอีก 36เครื่องนอกจากสัญญาจัดหา 36เครื่องที่มีตอนนี้แล้ว(ซึ่งยังเป็นคำถามว่าชาติขนาดเล็กในกลุ่มอ่าวเปอร์เซียเช่นกาตาร์จะมีกำลังพลเพียงพอรองรับการขยายกำลังรบของกองทัพอากาศของตนระดับนี้หรือไม่)
การพัฒนาการเช่นนี้ไม่สามารถจะลดจำนวนลงได้มาจากประวัติศาสตร์การจัดหาที่ผ่านมาของประเทศได้ ซึ่งโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่แบบต่างๆล่าสุดของกาตาร์เป็นที่โดดเด่นในแง่กรอบของขอบเขตและความทะเยอทะยานของพวกเขา
กองทัพอากาศกาตาร์ได้ลงนามสัญญาจัดหาเครื่องบินขับไล่ Dassault Rafale จากฝรั่งเศส โดยสัญญาแรกลงนามเมื่อ 4 พฤษภาคม 2015 สำหรับจัดหาเครื่องบินขับไล่ Rafale 24เครื่องวงเงิน 6.3 billion Euros
และสัญญาที่สองลงนามเมื่อ 7 ธันวาคม สำหรับการจัดหา Rafale เพิ่มอีก 12เครื่องวงเงิน 1.1 billion Euros รวมกาตาร์จัดหา Rafale ทั้งหมด 36เครื่องรวมวงเงินราว 7.4 billion Euros($8.8 billion)(http://aagth1.blogspot.com/2017/12/rafale-12.html)
และเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon จำนวน 24เครื่องจากบริษัท BAE Systems สหราชอาณาจักรวงเงิน 5 billion British Pound($6.7 billion)
โดยจะมีการสร้างและส่งมอบเครื่องบินขับไล่ Typhoon Tranche 3 จำนวน 24เครื่องให้กองทัพอากาศกาตาร์ ได้ในปลายปี 2022(http://aagth1.blogspot.com/2017/12/eurofighter-typhoon-24.html)
การจัดหาเครื่องบินขับไล่ Rafale ฝรั่งเศส 36เครื่อง, เครื่องบินขับไล่ Typhoon อังกฤษ 24เครื่อง และเครื่องบินขับไล่ F-15QA Advanced Eagle สหรัฐฯ 36เครื่อง รวมทั้งหมดถึง 96เครื่องนั้น
กองทัพอากาศกาตาร์จะนำมาเพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ Dassault Mirage 2000 ฝรั่งเศสที่มีอายุการใช้งานมานานที่มีประจำการเพียง 12เครื่องครับ
The Advanced Eagle has been designated F-15QA for Qatar. The Gulf state has signed a contract for 36 such aircraft to be delivered by the end of 2022. Source: Boeing
http://www.janes.com/article/76660/boeing-awarded-usd6-17-billion-for-36-f-15qa-fighters-for-qatar
บริษัท Boeing สหรัฐฯได้รับการลงนามสัญญาวงเงิน $6.17 billion เพื่อทำการผลิตและส่งมอบเครื่องบินขับไล่ F-15QA Advanced Eagle จำนวน 36เครื่องให้กองทัพอากาศกาตาร์(QEAF: Qatar Emiri Air Force)
ภายใต้สัญญาการขายรูปแบบ Foreign Military Sale(FMS) ที่ประกาศโดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯเมื่อ 22 ธันวาคม 2017 เครื่องบินขับไล่ F-15QA จะถูกส่งมอบให้กาตาร์ในวันที่ 30 ธันวาคม 2022
สัญญาตามข้อตกลงนี้ได้นับการลงนามโดยกาตาร์และสหรัฐฯเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาสำหรับเครื่องบินขับไล่ F-15 Advanced Eagle รุ่นใหม่ล่าสุดที่ Boeing สร้าง แม้ว่าข้อตกลงนี้ได้ถูกรายงานเพื่อการจัดหา F-15QA 36เครื่อง ขณะที่วงเงินที่ได้รับจากรัฐบาลกาตาร์อยู่ที่ $12 billion
ทำให้มีข้อสังเกตถึงความเป็นไปได้ว่าอาจจะมีการจัดหา F-15QA อีก 36เครื่องตามมาภายหลัง หรือไม่ข้อตกลงในขั้นต้นดังกล่าวนี้อาจจะยังไม่ได้รวมในส่วนการจัดหาระบบอาวุธหลักต่างๆที่จะมาใช้ร่วมกับ F-15QA ซึ่งยังไม่มีการประกาศตอนนี้
ขณะที่แน่นอนว่ากาตาร์ไม่ต้องการ F-15QA เพิ่มเติมอีก 36เครื่องนอกจากสัญญาจัดหา 36เครื่องที่มีตอนนี้แล้ว(ซึ่งยังเป็นคำถามว่าชาติขนาดเล็กในกลุ่มอ่าวเปอร์เซียเช่นกาตาร์จะมีกำลังพลเพียงพอรองรับการขยายกำลังรบของกองทัพอากาศของตนระดับนี้หรือไม่)
การพัฒนาการเช่นนี้ไม่สามารถจะลดจำนวนลงได้มาจากประวัติศาสตร์การจัดหาที่ผ่านมาของประเทศได้ ซึ่งโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่แบบต่างๆล่าสุดของกาตาร์เป็นที่โดดเด่นในแง่กรอบของขอบเขตและความทะเยอทะยานของพวกเขา
กองทัพอากาศกาตาร์ได้ลงนามสัญญาจัดหาเครื่องบินขับไล่ Dassault Rafale จากฝรั่งเศส โดยสัญญาแรกลงนามเมื่อ 4 พฤษภาคม 2015 สำหรับจัดหาเครื่องบินขับไล่ Rafale 24เครื่องวงเงิน 6.3 billion Euros
และสัญญาที่สองลงนามเมื่อ 7 ธันวาคม สำหรับการจัดหา Rafale เพิ่มอีก 12เครื่องวงเงิน 1.1 billion Euros รวมกาตาร์จัดหา Rafale ทั้งหมด 36เครื่องรวมวงเงินราว 7.4 billion Euros($8.8 billion)(http://aagth1.blogspot.com/2017/12/rafale-12.html)
และเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon จำนวน 24เครื่องจากบริษัท BAE Systems สหราชอาณาจักรวงเงิน 5 billion British Pound($6.7 billion)
โดยจะมีการสร้างและส่งมอบเครื่องบินขับไล่ Typhoon Tranche 3 จำนวน 24เครื่องให้กองทัพอากาศกาตาร์ ได้ในปลายปี 2022(http://aagth1.blogspot.com/2017/12/eurofighter-typhoon-24.html)
การจัดหาเครื่องบินขับไล่ Rafale ฝรั่งเศส 36เครื่อง, เครื่องบินขับไล่ Typhoon อังกฤษ 24เครื่อง และเครื่องบินขับไล่ F-15QA Advanced Eagle สหรัฐฯ 36เครื่อง รวมทั้งหมดถึง 96เครื่องนั้น
กองทัพอากาศกาตาร์จะนำมาเพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ Dassault Mirage 2000 ฝรั่งเศสที่มีอายุการใช้งานมานานที่มีประจำการเพียง 12เครื่องครับ
วันศุกร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ญี่ปุ่นลงนามจัดหาเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ KC-46A Pegasus สหรัฐฯ
Japan signs for KC-46A tanker
A pair of Boeing KC-46A Pegasus tanker aircraft parked at Paine Field near Seattle. Japan has become the first export customer, having signed for a single aircraft. Source: IHS Markit/Gareth Jennings
http://www.janes.com/article/76662/japan-signs-for-kc-46a-tanker
บริษัท Boeing สหรัฐฯได้รับสัญญาจัดหาเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ KC-46A Pegasus จากลูกค้าต่างประเทศรายแรกคือกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น(JASDF: Japan Air Self Defense Force) ที่ลงนามจัดหา KC-46A จำนวน 1เครื่อง
ในรูปแบบการขายแบบ Foreign Military Sale(FMS) วงเงิน $279 million ที่ถูกประกาศโดย Boeing เมื่อ 22 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยสัญญานอกจาก KC-46A 1เครื่องแล้วยังครอบคลุมถึงการสนับสนุนต่างๆ
ญี่ปุ่นได้เลือก Boeing KC-46A Pegasus เป็นผู้ชนะในโครงการจัดหาเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ KC-X เมื่อเดือนตุลาคม 2015
โดยกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่นกำลังมองการจัดหาเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศใหม่ 4เครื่อง เพื่อเสริมการทำงานร่วมกับเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศแบบ Boeing KC-767J ที่มีประจำการอยู่ก่อนแล้ว 4เครื่อง
การขายเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ KC-46A 4เครื่องให้ญี่ปุ่นได้รับการอนุมัติโดยรัฐบาลสหรัฐฯเมื่อเดือนกันยายน 2016 โดยมีวงเงินรวมโครงการในเวลาดังกล่าวราว $1.9 billion
ขณะที่มีการประกาศสัญญาล่าสุดนี้ไม่ได้มีการเปิดเผยกำหนดการว่าญี่ปุ่นจะได้รับมอบเครื่องเมื่อไร โดยตามแผนโครงการ KC-X ที่มีการประกาศก่อนหน้านี้ กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่นจะได้รับมอบ KC-46A เครื่องแรกในปี 2020
แต่ด้วยความล่าช้าในโครงการของ Boeing ในการส่งมอบเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ KC-46A จำนวน 179เครื่องให้กองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) ทำให้เป็นไปได้ว่ากำหนดการขั้นต้นดังกล่าวนี้จะถูกผลักให้ล่าช้าออกไป
KC-46A ถูกพัฒนามาจากเครื่องบินขนส่งสินค้าไอพ่น Boeing 767-2C ซึ่งมีพื้นฐานจากเครื่องบินโดยสารไอพ่น Boeing 767-400(เครื่องรุ่นนี้ติดตั้งจอแสดงผลขนาดใหญ่ของ Rockwell Collins แบบเดียวกับเครื่องบินโดยสารไอพ่น Boeing 787)
จากการทำการบินครั้งแรกเมื่อ 25 กันยายน 2015(http://aagth1.blogspot.com/2015/09/boeing-kc-46.html) Boeing อยู่ในสัญญาที่จะส่งมอบ KC-46A จำนวน 34เครื่องจากแผน 179เครื่อง
ซึ่งรวมถึงเครื่องของกองทัพอากาศสหรัฐฯในโครงการจัดหาเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ KC-X ของตน โดยกำหนดการส่งมอบ KC-46A ชุดแรกจะมีขึ้นในไม่กี่สัปดาห์นี้คือภายในต้นปี 2018
ทั้งนี้ Boeing อาจจะยังได้สร้างเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ KC-46A มากกว่าร้อยเครื่อง ตามที่กองทัพอากาศสหรัฐฯกำลังมองหาเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศใหม่ทดแทนเครื่องแบบเก่าที่มีอายุการใช้งานมานานจำนวนมาก
ทั้งเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ Boeing KC-135 Stratotanker ราว 400เครื่อง และ McDonnell Douglas KC-10 Extender 59เครื่อง ตามสัญญาโครงการ KC-X ตามด้วยโครงการ KC-Y และโครงการ KC-Z ที่มีคุณสมบัติตรวจจับได้ยาก(Stealth) ในอนาคตครับ
A pair of Boeing KC-46A Pegasus tanker aircraft parked at Paine Field near Seattle. Japan has become the first export customer, having signed for a single aircraft. Source: IHS Markit/Gareth Jennings
http://www.janes.com/article/76662/japan-signs-for-kc-46a-tanker
บริษัท Boeing สหรัฐฯได้รับสัญญาจัดหาเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ KC-46A Pegasus จากลูกค้าต่างประเทศรายแรกคือกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น(JASDF: Japan Air Self Defense Force) ที่ลงนามจัดหา KC-46A จำนวน 1เครื่อง
ในรูปแบบการขายแบบ Foreign Military Sale(FMS) วงเงิน $279 million ที่ถูกประกาศโดย Boeing เมื่อ 22 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยสัญญานอกจาก KC-46A 1เครื่องแล้วยังครอบคลุมถึงการสนับสนุนต่างๆ
ญี่ปุ่นได้เลือก Boeing KC-46A Pegasus เป็นผู้ชนะในโครงการจัดหาเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ KC-X เมื่อเดือนตุลาคม 2015
โดยกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่นกำลังมองการจัดหาเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศใหม่ 4เครื่อง เพื่อเสริมการทำงานร่วมกับเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศแบบ Boeing KC-767J ที่มีประจำการอยู่ก่อนแล้ว 4เครื่อง
การขายเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ KC-46A 4เครื่องให้ญี่ปุ่นได้รับการอนุมัติโดยรัฐบาลสหรัฐฯเมื่อเดือนกันยายน 2016 โดยมีวงเงินรวมโครงการในเวลาดังกล่าวราว $1.9 billion
ขณะที่มีการประกาศสัญญาล่าสุดนี้ไม่ได้มีการเปิดเผยกำหนดการว่าญี่ปุ่นจะได้รับมอบเครื่องเมื่อไร โดยตามแผนโครงการ KC-X ที่มีการประกาศก่อนหน้านี้ กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่นจะได้รับมอบ KC-46A เครื่องแรกในปี 2020
แต่ด้วยความล่าช้าในโครงการของ Boeing ในการส่งมอบเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ KC-46A จำนวน 179เครื่องให้กองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) ทำให้เป็นไปได้ว่ากำหนดการขั้นต้นดังกล่าวนี้จะถูกผลักให้ล่าช้าออกไป
KC-46A ถูกพัฒนามาจากเครื่องบินขนส่งสินค้าไอพ่น Boeing 767-2C ซึ่งมีพื้นฐานจากเครื่องบินโดยสารไอพ่น Boeing 767-400(เครื่องรุ่นนี้ติดตั้งจอแสดงผลขนาดใหญ่ของ Rockwell Collins แบบเดียวกับเครื่องบินโดยสารไอพ่น Boeing 787)
จากการทำการบินครั้งแรกเมื่อ 25 กันยายน 2015(http://aagth1.blogspot.com/2015/09/boeing-kc-46.html) Boeing อยู่ในสัญญาที่จะส่งมอบ KC-46A จำนวน 34เครื่องจากแผน 179เครื่อง
ซึ่งรวมถึงเครื่องของกองทัพอากาศสหรัฐฯในโครงการจัดหาเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ KC-X ของตน โดยกำหนดการส่งมอบ KC-46A ชุดแรกจะมีขึ้นในไม่กี่สัปดาห์นี้คือภายในต้นปี 2018
ทั้งนี้ Boeing อาจจะยังได้สร้างเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ KC-46A มากกว่าร้อยเครื่อง ตามที่กองทัพอากาศสหรัฐฯกำลังมองหาเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศใหม่ทดแทนเครื่องแบบเก่าที่มีอายุการใช้งานมานานจำนวนมาก
ทั้งเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ Boeing KC-135 Stratotanker ราว 400เครื่อง และ McDonnell Douglas KC-10 Extender 59เครื่อง ตามสัญญาโครงการ KC-X ตามด้วยโครงการ KC-Y และโครงการ KC-Z ที่มีคุณสมบัติตรวจจับได้ยาก(Stealth) ในอนาคตครับ
วันพฤหัสบดีที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้อาจปรับปรุงเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ของตนให้รองรับเครื่องบินขับไล่ F-35B ซึ่งจีนแถลงตอบโต้
Japan, South Korea may refit naval ships for F-35 fighters
An F-35B Lightning II takes off on the flight deck of USS Wasp (LHD-1) during routine daylight operations, a part of Operational Testing 1, May 22. (Marine Corps photo by Cpl. Anne K. Henry/RELEASED)
https://www.defensenews.com/global/asia-pacific/2017/12/26/japan-south-korea-may-refit-naval-ships-for-f-35-fighters/
China urges Japan to ‘act cautiously’ on considerations to refit Izumo class for F-35Bs
Japan’s first Izumo-class helicopter carrier, JS Izumo (DDH-183) Source: JMSDF
http://www.janes.com/article/76659/china-urges-japan-to-act-cautiously-on-considerations-to-refit-izumo-class-for-f-35bs
ท่ามกลางความตึงเครียดที่เพิ่มสูงขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ทั้งญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลีได้มีรายงานออกมาว่า
ทั้งสองประเทศกำลังตรวจสอบแนวทางเลือกที่จะนำเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35B Lightning II Joint Strike Fighter รุ่นบินขึ้นระยะสั้นขึ้นลงทางดิ่ง STOVL(Short Take-Off Vertical Landing) มาปฏิบัติการบนเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ของตน
ตามรายงานที่อ้างจากแหล่งข่าวที่ไม่ระบุชื่อของทั้งสองประเทศ สำนักข่าว Kyodo ญี่ปุ่น และสำนักข่าว Yonhap สาธารรัฐเกาหลีได้รายงานว่า เครื่องบินขับไล่ F-35B STOVL กำลังถูกนำมาพิจารณาสำหรับการปฏิบัติการร่วมกับ
เรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo ของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น(JMSDF: Japan Maritime Self-Defense Force) และเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Dokdo ของกองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลี(ROKN: Republic of Korea Navy) เพื่อเปลี่ยนให้เรือทั้งสองชั้นเป็นเรือบรรทุกเครื่องบิน
Kyodo ญี่ปุ่นยังได้รายงานว่าเครื่องบินขับไล่ F-35B สามารถที่จะนำมาใช้ปกป้องญี่ปุ่นในพื้นที่หมู่เกาะที่ห่างไกลทางตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งสนามบินในพื้นที่มีความยาวทางวิ่งไม่รองรับปฏิบัติการของเครื่องบินขับไล่ขึ้นลงตามแบบ CTOL(Conventional Take-Off and Landing)
ยุทธศาสตร์ดังกล่าวถูกพิจารณาว่าเพื่อเป็นตอบสนองภัยคุกคามจากขีปนาวุธและอาวุธนิวเคลียร์ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี เช่นเดียวกับการปรับปรุงความทันสมัยและขยายแสนยานุภาพทางทหารของจีนที่มีขึ้นอย่างรวดเร็ว ที่ต่างเป็นภัยคุกคามหลักของทั้งญี่ปุ่นและเกาหลีใต้
เมื่อถามเกี่ยวกับรายงานของสื่อเมื่อวันที่ 26 ธันวาคมที่ผ่านมา รัฐมนตรีกลาโหมญี่ปุ่น Itsunori Onodera รายงานปฏิเสธแผนใดๆที่จะทำการดัดแปลงให้เรือชั้น Izumo สามารถปฏิบัติการ F-35B ได้
ก่อนที่จะไปไกลกว่านั้นกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นได้ยืนยันมาโดยตลอดถึง "การดำเนินการประเมินค่าการศึกษาต่างๆของขีดความสามารถในการป้องกันประเทศของญี่ปุ่น"
การดัดแปลงเรือเพื่อรองรับการปฏิบัติการกับ F-35B จะเป็นเพิ่มความอ่อนตัวและขยายพิสัยทำการของภารกิจ ตามที่ Yonhap เกาหลีใต้ได้อ้างจากแหล่งข่าวที่กล่าวว่ากองทัพสาธารณรัฐเกาหลีกำลังมองไปยัง "การทำให้เรือมีขีดความสามารถด้านคุณค่าทางยุทธศาสตร์สูงสุด"
โดยในปฏิบัติการปกติเรือทั้งสองชั้นจะบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ไปกับเรือได้หลายเครื่อง ซึ่งเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo ถูกออกแบบให้บรรทุกเฮลิคอปเตอร์ได้สูงสุด 14เครื่อง และเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Dokdo สามารถบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ได้สูงสุด 10เครื่อง
อย่างไรก็ตามทั้งเรือชั้น Izumo ญี่ปุ่นและเรือชั้น Dokdo เกาหลีใต้จำเป็นที่จะต้องได้รับการดัดแปลงอย่างทั้งภายในและภายนอกตัวเรือเพื่อรองรับการปฏิบัติการของเครื่องบินขับไล่ F-35B
ที่รวมการเคลือบสารป้องกันความร้อนที่พื้นผิวของดาดฟ้าบินของเรือให้ทนทานต่อความร้อนจากไอพ่นของ F-35B ขณะทำการลงจอดในแนวดิ่ง และเป็นไปได้ที่จะปรับเปลี่ยนรูปแบบดาดฟ้าบินเพื่อช่วยในการวิ่งขึ้นของเครื่องให้ดีขึ้น
เรือทั้งสองชั้นยังจำเป็นที่จะต้องมีคลังเก็บอาวุธ-กระสุนที่ได้รับการหุ้มเกราะป้องกันและมีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อรองรับระบบอาวุธของ F-35B ขณะที่คลังเก็บเชื้อเพลิงอากาศยานของเรือน่าจะยังจำเป็นต้องขยายให้ใหญ่ขึ้นเพื่อรองรองการใช้เชื้อเพลิงที่สิ้นเปลืองมากกว่าเมื่อเทียบกับเฮลิคอปเตอร์
สำนักข่าว Reuters สหราชอาณาจักรได้ให้ข้อสังเกตว่าการติดตั้งทางวิ่ง Ski-Jump ที่หัวเรืออาจจะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการปรับปรุงเรือชั้น Izumo ญี่ปุ่นให้รองรับ F-35B ซึ่งน่าจะเป็นไปได้เช่นเดียวกันกับเรือชั้น Dokdo เกาหลีใต้
อย่างไรก็ตามเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo ญี่ปุ่นที่มีความยาวเรือ 248m และเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Dokdo เกาหลีใต้ที่มีความยาวเรือ 199m เรือทั้งสองชั้นต่างมีดาดฟ้าบินที่มีความยาวมากพอสำหรับรองรับการบินขึ้นของ F-35B โดยไม่จำเป็นต้องใช้ Ski-Jump
เช่นเดียวกับ F-35B นาวิกโยธินสหรัฐฯ(USMC: US Marine Corps) ที่ปฏิบัติการจากเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Wasp (LHD: Landing Helicopter Dock) และเรือยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์จู่โจมชั้น America (LHA: Landing Helicopter Assault) ของกองทัพเรือสหรัฐฯ(US Navy)
ปัจจุบันกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นมีเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo ประจำการแล้ว 2ลำคือลำแรก DDH-183 JS Izumo เข้าประจำการเมื่อ 25 มีนาคม 2015 และลำที่สอง DDH-184 JS Kaga เข้าประจำการเมื่อ 22 มีนาคม 2017(http://aagth1.blogspot.com/2017/03/izumo-ddh-184-kaga.html)
ส่วนกองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลีมีเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Dokdo ประจำการแล้ว 1ลำคือ LPH-6111 ROKS Dokdo เข้าประจำการเมื่อ 3 กรกฎาคม 2007 โดยลำที่สอง LPH-6112 ROKS Marado กำลังอยู่ระหว่างการสร้างคาดว่าจะเข้าประจำการได้ในปี 2020
ทั้งญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ต่างเป็นผู้ใช้งานเครื่องบินขับไล่ F-35A CTOL อยู่แล้ว โดยกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น(JASDF: Japan Air Self Defense Force) ได้สั่งจัดหา F-35A 42เครื่องพร้อมสิทธิบัตรการผลิตในญี่ปุ่น(http://aagth1.blogspot.com/2017/06/f-35a.html)
ขณะที่กองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลี(ROKAF: Republic of Korea Air Force) ได้สั่งจัดหา F-35A 40เครื่อง และกำลังมองแผนการจัดหาเพิ่มเติมอีก 20เครื่อง(http://aagth1.blogspot.com/2017/12/f-35a.html)
นอกจากนี้ญี่ปุ่นถึงยังพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการที่จะอนุญาตให้นาวิกโยธินสหรัฐฯนำเครื่องบินขับไล่ F-35B ของตนร่วมปฏิบัติการบนเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ของญี่ปุ่นเพื่อใช้เป็นสถานีเติมเชื้อเพลิงกลางทะเล
ซึ่งสหรัฐฯและญี่ปุ่นได้มีความร่วมมือในการปฏิบัติการรวมกันอยู่ก่อนแล้ว เช่นการนำอากาศยานใบพัดกระดก MV-22B Osprey นาวิกโยธินสหรัฐฯปฏิบัติการบนเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Hyuga ญี่ปุ่น โดยญี่ปุ่นเองก็ได้จัดหา V-22 5เครื่องที่ได้รับมอบในอนาคตอันใกล้
การมีเรือบรรทุกเครื่องบินในครอบครองของญี่ปุ่นจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในการวางตัวด้านการป้องกันประเทศ และน่าจะกลายเป็นประเด็นที่เป็นที่ถกเถียงในการวิจารณ์ว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญสันติภาพของญี่ปุ่นที่ไม่อนุญาตให้ญี่ปุ่นจัดหาสิ่งที่ถูกเรียกว่า 'ศักย์สงคราม'(War Potential)
แต่ Corey Wallace ผู้ที่จบการศึกษาตามหลัง Albert Einstein จากบัณฑิตวิทยาลัยการศึกษาเอเชียตะวันออก ของมหาวิทยาลัย Freie Universitat ใน Berlin เยอรมนี ได้เขียนในการประชุมเอเชียตะวันออกว่า
รัฐธรรมนูญของญี่ปุ่นไม่ได้กำหนดการห้ามอย่างชัดเจนในทางขีดความสามารถเฉพาะว่าเป็นเชิงรุกหรืออย่างอื่นหรือไม่ ดูเหมือนว่ารัฐบาลญี่ปุ่นจะตีความคำว่า 'ศักย์สงคราม' ในการกล่าวถึงภาพรวมความแข็งแกร่งของกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น(JSDF: Japan’s Self-Defence Forces) ทั้งหมด
เมื่อเทียบภัยคุกคามที่เป็นไปได้และสภาพการณ์ต่างๆในระดับนานาชาติ และไม่เกี่ยวว่าจะเป็นการนำไปสู่การมีขีดความสามารถเป็นการรุกหรือการรับเป็นส่วนใหญ่
รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนได้แสดงท่าทีตอบโต้ญี่ปุ่นต่อกรณีที่ญี่ปุ่นอาจจะกำลังพิจารณาให้เรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo ของตนสามารถรองรับปฏิบัติการของ F-35B ได้
โดยโฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน Hua Chunying ได้แถลงการณ์อย่างแข็งกร้าวเรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นดำเนินการใดๆ 'ด้วยความระมัดระวัง' ต่อประเด็นทางการทหารที่ส่งผลต่อสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย โดยขอให้ญี่ปุ่นเรียนรู้จากบทเรียนของประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา
ท่าทีตอบโต้ของรัฐมนตรีกลาโหมญี่ปุ่น Itsunori Onodera นั้นกล่าวว่าตนไม่ได้ให้ความสำคัญรายงานที่ออกมาจากสื่อตามข้างต้น แต่จากแถลงการณ์ของรัฐบาลจีนที่แข็งกร้าวต่อกรณีนี้แสดงให้เห็นว่าจีนมีความรู้สึกอ่อนไหวต่ออากาศยาน STOVL
ทั้งนี้กองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People's Liberation Army Navy)มีเรือบรรทุกเครื่องบินประจำการแล้วลำแรกคือ Type 001 CV-16 Liaoning โดยลำที่2 Type 001A CV-17 ใกล้เสร็จเข้าประจำการในอนาคตอันใกล้ และลำที่3 Type 002 กำลังอยู่ระหว่างสร้างครับ
An F-35B Lightning II takes off on the flight deck of USS Wasp (LHD-1) during routine daylight operations, a part of Operational Testing 1, May 22. (Marine Corps photo by Cpl. Anne K. Henry/RELEASED)
https://www.defensenews.com/global/asia-pacific/2017/12/26/japan-south-korea-may-refit-naval-ships-for-f-35-fighters/
China urges Japan to ‘act cautiously’ on considerations to refit Izumo class for F-35Bs
Japan’s first Izumo-class helicopter carrier, JS Izumo (DDH-183) Source: JMSDF
http://www.janes.com/article/76659/china-urges-japan-to-act-cautiously-on-considerations-to-refit-izumo-class-for-f-35bs
ท่ามกลางความตึงเครียดที่เพิ่มสูงขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ทั้งญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลีได้มีรายงานออกมาว่า
ทั้งสองประเทศกำลังตรวจสอบแนวทางเลือกที่จะนำเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35B Lightning II Joint Strike Fighter รุ่นบินขึ้นระยะสั้นขึ้นลงทางดิ่ง STOVL(Short Take-Off Vertical Landing) มาปฏิบัติการบนเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ของตน
ตามรายงานที่อ้างจากแหล่งข่าวที่ไม่ระบุชื่อของทั้งสองประเทศ สำนักข่าว Kyodo ญี่ปุ่น และสำนักข่าว Yonhap สาธารรัฐเกาหลีได้รายงานว่า เครื่องบินขับไล่ F-35B STOVL กำลังถูกนำมาพิจารณาสำหรับการปฏิบัติการร่วมกับ
เรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo ของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น(JMSDF: Japan Maritime Self-Defense Force) และเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Dokdo ของกองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลี(ROKN: Republic of Korea Navy) เพื่อเปลี่ยนให้เรือทั้งสองชั้นเป็นเรือบรรทุกเครื่องบิน
Kyodo ญี่ปุ่นยังได้รายงานว่าเครื่องบินขับไล่ F-35B สามารถที่จะนำมาใช้ปกป้องญี่ปุ่นในพื้นที่หมู่เกาะที่ห่างไกลทางตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งสนามบินในพื้นที่มีความยาวทางวิ่งไม่รองรับปฏิบัติการของเครื่องบินขับไล่ขึ้นลงตามแบบ CTOL(Conventional Take-Off and Landing)
ยุทธศาสตร์ดังกล่าวถูกพิจารณาว่าเพื่อเป็นตอบสนองภัยคุกคามจากขีปนาวุธและอาวุธนิวเคลียร์ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี เช่นเดียวกับการปรับปรุงความทันสมัยและขยายแสนยานุภาพทางทหารของจีนที่มีขึ้นอย่างรวดเร็ว ที่ต่างเป็นภัยคุกคามหลักของทั้งญี่ปุ่นและเกาหลีใต้
เมื่อถามเกี่ยวกับรายงานของสื่อเมื่อวันที่ 26 ธันวาคมที่ผ่านมา รัฐมนตรีกลาโหมญี่ปุ่น Itsunori Onodera รายงานปฏิเสธแผนใดๆที่จะทำการดัดแปลงให้เรือชั้น Izumo สามารถปฏิบัติการ F-35B ได้
ก่อนที่จะไปไกลกว่านั้นกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นได้ยืนยันมาโดยตลอดถึง "การดำเนินการประเมินค่าการศึกษาต่างๆของขีดความสามารถในการป้องกันประเทศของญี่ปุ่น"
การดัดแปลงเรือเพื่อรองรับการปฏิบัติการกับ F-35B จะเป็นเพิ่มความอ่อนตัวและขยายพิสัยทำการของภารกิจ ตามที่ Yonhap เกาหลีใต้ได้อ้างจากแหล่งข่าวที่กล่าวว่ากองทัพสาธารณรัฐเกาหลีกำลังมองไปยัง "การทำให้เรือมีขีดความสามารถด้านคุณค่าทางยุทธศาสตร์สูงสุด"
โดยในปฏิบัติการปกติเรือทั้งสองชั้นจะบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ไปกับเรือได้หลายเครื่อง ซึ่งเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo ถูกออกแบบให้บรรทุกเฮลิคอปเตอร์ได้สูงสุด 14เครื่อง และเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Dokdo สามารถบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ได้สูงสุด 10เครื่อง
อย่างไรก็ตามทั้งเรือชั้น Izumo ญี่ปุ่นและเรือชั้น Dokdo เกาหลีใต้จำเป็นที่จะต้องได้รับการดัดแปลงอย่างทั้งภายในและภายนอกตัวเรือเพื่อรองรับการปฏิบัติการของเครื่องบินขับไล่ F-35B
ที่รวมการเคลือบสารป้องกันความร้อนที่พื้นผิวของดาดฟ้าบินของเรือให้ทนทานต่อความร้อนจากไอพ่นของ F-35B ขณะทำการลงจอดในแนวดิ่ง และเป็นไปได้ที่จะปรับเปลี่ยนรูปแบบดาดฟ้าบินเพื่อช่วยในการวิ่งขึ้นของเครื่องให้ดีขึ้น
เรือทั้งสองชั้นยังจำเป็นที่จะต้องมีคลังเก็บอาวุธ-กระสุนที่ได้รับการหุ้มเกราะป้องกันและมีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อรองรับระบบอาวุธของ F-35B ขณะที่คลังเก็บเชื้อเพลิงอากาศยานของเรือน่าจะยังจำเป็นต้องขยายให้ใหญ่ขึ้นเพื่อรองรองการใช้เชื้อเพลิงที่สิ้นเปลืองมากกว่าเมื่อเทียบกับเฮลิคอปเตอร์
สำนักข่าว Reuters สหราชอาณาจักรได้ให้ข้อสังเกตว่าการติดตั้งทางวิ่ง Ski-Jump ที่หัวเรืออาจจะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการปรับปรุงเรือชั้น Izumo ญี่ปุ่นให้รองรับ F-35B ซึ่งน่าจะเป็นไปได้เช่นเดียวกันกับเรือชั้น Dokdo เกาหลีใต้
อย่างไรก็ตามเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo ญี่ปุ่นที่มีความยาวเรือ 248m และเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Dokdo เกาหลีใต้ที่มีความยาวเรือ 199m เรือทั้งสองชั้นต่างมีดาดฟ้าบินที่มีความยาวมากพอสำหรับรองรับการบินขึ้นของ F-35B โดยไม่จำเป็นต้องใช้ Ski-Jump
เช่นเดียวกับ F-35B นาวิกโยธินสหรัฐฯ(USMC: US Marine Corps) ที่ปฏิบัติการจากเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Wasp (LHD: Landing Helicopter Dock) และเรือยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์จู่โจมชั้น America (LHA: Landing Helicopter Assault) ของกองทัพเรือสหรัฐฯ(US Navy)
ปัจจุบันกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นมีเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo ประจำการแล้ว 2ลำคือลำแรก DDH-183 JS Izumo เข้าประจำการเมื่อ 25 มีนาคม 2015 และลำที่สอง DDH-184 JS Kaga เข้าประจำการเมื่อ 22 มีนาคม 2017(http://aagth1.blogspot.com/2017/03/izumo-ddh-184-kaga.html)
ส่วนกองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลีมีเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Dokdo ประจำการแล้ว 1ลำคือ LPH-6111 ROKS Dokdo เข้าประจำการเมื่อ 3 กรกฎาคม 2007 โดยลำที่สอง LPH-6112 ROKS Marado กำลังอยู่ระหว่างการสร้างคาดว่าจะเข้าประจำการได้ในปี 2020
ทั้งญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ต่างเป็นผู้ใช้งานเครื่องบินขับไล่ F-35A CTOL อยู่แล้ว โดยกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น(JASDF: Japan Air Self Defense Force) ได้สั่งจัดหา F-35A 42เครื่องพร้อมสิทธิบัตรการผลิตในญี่ปุ่น(http://aagth1.blogspot.com/2017/06/f-35a.html)
ขณะที่กองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลี(ROKAF: Republic of Korea Air Force) ได้สั่งจัดหา F-35A 40เครื่อง และกำลังมองแผนการจัดหาเพิ่มเติมอีก 20เครื่อง(http://aagth1.blogspot.com/2017/12/f-35a.html)
นอกจากนี้ญี่ปุ่นถึงยังพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการที่จะอนุญาตให้นาวิกโยธินสหรัฐฯนำเครื่องบินขับไล่ F-35B ของตนร่วมปฏิบัติการบนเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ของญี่ปุ่นเพื่อใช้เป็นสถานีเติมเชื้อเพลิงกลางทะเล
ซึ่งสหรัฐฯและญี่ปุ่นได้มีความร่วมมือในการปฏิบัติการรวมกันอยู่ก่อนแล้ว เช่นการนำอากาศยานใบพัดกระดก MV-22B Osprey นาวิกโยธินสหรัฐฯปฏิบัติการบนเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Hyuga ญี่ปุ่น โดยญี่ปุ่นเองก็ได้จัดหา V-22 5เครื่องที่ได้รับมอบในอนาคตอันใกล้
การมีเรือบรรทุกเครื่องบินในครอบครองของญี่ปุ่นจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในการวางตัวด้านการป้องกันประเทศ และน่าจะกลายเป็นประเด็นที่เป็นที่ถกเถียงในการวิจารณ์ว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญสันติภาพของญี่ปุ่นที่ไม่อนุญาตให้ญี่ปุ่นจัดหาสิ่งที่ถูกเรียกว่า 'ศักย์สงคราม'(War Potential)
แต่ Corey Wallace ผู้ที่จบการศึกษาตามหลัง Albert Einstein จากบัณฑิตวิทยาลัยการศึกษาเอเชียตะวันออก ของมหาวิทยาลัย Freie Universitat ใน Berlin เยอรมนี ได้เขียนในการประชุมเอเชียตะวันออกว่า
รัฐธรรมนูญของญี่ปุ่นไม่ได้กำหนดการห้ามอย่างชัดเจนในทางขีดความสามารถเฉพาะว่าเป็นเชิงรุกหรืออย่างอื่นหรือไม่ ดูเหมือนว่ารัฐบาลญี่ปุ่นจะตีความคำว่า 'ศักย์สงคราม' ในการกล่าวถึงภาพรวมความแข็งแกร่งของกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น(JSDF: Japan’s Self-Defence Forces) ทั้งหมด
เมื่อเทียบภัยคุกคามที่เป็นไปได้และสภาพการณ์ต่างๆในระดับนานาชาติ และไม่เกี่ยวว่าจะเป็นการนำไปสู่การมีขีดความสามารถเป็นการรุกหรือการรับเป็นส่วนใหญ่
รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนได้แสดงท่าทีตอบโต้ญี่ปุ่นต่อกรณีที่ญี่ปุ่นอาจจะกำลังพิจารณาให้เรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo ของตนสามารถรองรับปฏิบัติการของ F-35B ได้
โดยโฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน Hua Chunying ได้แถลงการณ์อย่างแข็งกร้าวเรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นดำเนินการใดๆ 'ด้วยความระมัดระวัง' ต่อประเด็นทางการทหารที่ส่งผลต่อสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย โดยขอให้ญี่ปุ่นเรียนรู้จากบทเรียนของประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา
ท่าทีตอบโต้ของรัฐมนตรีกลาโหมญี่ปุ่น Itsunori Onodera นั้นกล่าวว่าตนไม่ได้ให้ความสำคัญรายงานที่ออกมาจากสื่อตามข้างต้น แต่จากแถลงการณ์ของรัฐบาลจีนที่แข็งกร้าวต่อกรณีนี้แสดงให้เห็นว่าจีนมีความรู้สึกอ่อนไหวต่ออากาศยาน STOVL
ทั้งนี้กองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People's Liberation Army Navy)มีเรือบรรทุกเครื่องบินประจำการแล้วลำแรกคือ Type 001 CV-16 Liaoning โดยลำที่2 Type 001A CV-17 ใกล้เสร็จเข้าประจำการในอนาคตอันใกล้ และลำที่3 Type 002 กำลังอยู่ระหว่างสร้างครับ
วันพุธที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2560
เกาหลีใต้กำลังมองการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A เพิ่ม
South Korea reportedly looking to buy additional F-35s
http://www.janes.com/article/76587/south-korea-reportedly-looking-to-buy-additional-f-35s
กองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลี(ROKAF: Republic of Korea Air Force) กำลังวางแผนที่จะจัดหาเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35A Lightning II จากสหรัฐฯเพิ่มอีก 20เครื่อง
จากที่สั่งได้สั่งจัดหาแล้วก่อนหน้า 40เครื่องรวมเป็น 60เครื่อง ตามรายงานจากหนังสือพิมพ์ Joongang Ilbo เมื่อ 21 ธันวาคมที่ผ่านมา
ตามการอ้างจากแหล่งข่าวรายงานกล่าวว่าสำนักงานกลาโหมเพื่อเทคโนโลยีและคุณภาพ(DTaQ: Defense Agency of Technology and Quality) ภายใต้สำนักงานโครงการจัดหากลาโหม(DAPA: Defense Acquisition Program Administration) สาธารณรัฐเกาหลี
DTaQ จะรับหน้าที่ทำการศึกษาเบื้องต้นเพื่อสนับสนุนโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ยุคหน้าของกองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลีในระยะต่อไป
ภายใต้การจัดหระยะก่อนหน้าที่ดำเนินการในปี 2014 กองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลีได้สั่งจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A จำนวน 40เครื่องวงเงิน 7.3 trillion Korean Won($6.7 billion) ซึ่งมีกำหนดจะส่งมอบให้เกาหลีใต้ได้ในปี 2018
ตามรายงานการศึกษาของ DTaQ จะประเมินถึงแนวโน้มการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ของต่างประเทศ, แบบแผนการส่งเสริมธุรกิจ, และแผนการจัดหา
โดยเสริมว่าคุณสมบัติแผนการจัดหาเครื่องบินขับไล่ 20เครื่องที่มีคุณสมบัติตรวจจับได้ยาก(Stealth) ซึ่งเป็นความต้องการที่จะทำให้กองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลีสามารถโจมตีโรงงานสิ่งปลูกสร้างหลักในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีได้
จากการอ้างแหล่งข่าวรายงานระบุว่าเครื่องบินขับไล่ F-35A เป็นอากาศยานแบบเดียวที่ตรงตามความต้องการของกองทัพอากาศเกาหลีใต้ในการโจมตีตอบโต้เกาหลีเหนือ แต่ ณ เวลาที่เผยแพร่นี้ โฆษกของ DAPA ไม่ได้ตอบคำถามใดๆจาก Jane's ในเรื่องนี้
โครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ยุคหน้า(next-generation fighter aircraft) ของกองทัพอากาศสาธาณรัฐเกาหลีที่ได้เริ่มในปี 2012 เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ Northrop F-5E และเครื่องบินขับไล่ McDonnell Douglas F-4 Phantom II นั้นมีการเสนอความต้องการจัดหาที่ 60เครื่อง
ทั้งนี้เกาหลีใต้เป็นประเทศที่สองในเอเชียตะวันออกต่อจากกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น(JASDF: Japan Air Self-Defense Force) ที่จัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A เข้าประจำการครับ
http://www.janes.com/article/76587/south-korea-reportedly-looking-to-buy-additional-f-35s
กองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลี(ROKAF: Republic of Korea Air Force) กำลังวางแผนที่จะจัดหาเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35A Lightning II จากสหรัฐฯเพิ่มอีก 20เครื่อง
จากที่สั่งได้สั่งจัดหาแล้วก่อนหน้า 40เครื่องรวมเป็น 60เครื่อง ตามรายงานจากหนังสือพิมพ์ Joongang Ilbo เมื่อ 21 ธันวาคมที่ผ่านมา
ตามการอ้างจากแหล่งข่าวรายงานกล่าวว่าสำนักงานกลาโหมเพื่อเทคโนโลยีและคุณภาพ(DTaQ: Defense Agency of Technology and Quality) ภายใต้สำนักงานโครงการจัดหากลาโหม(DAPA: Defense Acquisition Program Administration) สาธารณรัฐเกาหลี
DTaQ จะรับหน้าที่ทำการศึกษาเบื้องต้นเพื่อสนับสนุนโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ยุคหน้าของกองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลีในระยะต่อไป
ภายใต้การจัดหระยะก่อนหน้าที่ดำเนินการในปี 2014 กองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลีได้สั่งจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A จำนวน 40เครื่องวงเงิน 7.3 trillion Korean Won($6.7 billion) ซึ่งมีกำหนดจะส่งมอบให้เกาหลีใต้ได้ในปี 2018
ตามรายงานการศึกษาของ DTaQ จะประเมินถึงแนวโน้มการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ของต่างประเทศ, แบบแผนการส่งเสริมธุรกิจ, และแผนการจัดหา
โดยเสริมว่าคุณสมบัติแผนการจัดหาเครื่องบินขับไล่ 20เครื่องที่มีคุณสมบัติตรวจจับได้ยาก(Stealth) ซึ่งเป็นความต้องการที่จะทำให้กองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลีสามารถโจมตีโรงงานสิ่งปลูกสร้างหลักในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีได้
จากการอ้างแหล่งข่าวรายงานระบุว่าเครื่องบินขับไล่ F-35A เป็นอากาศยานแบบเดียวที่ตรงตามความต้องการของกองทัพอากาศเกาหลีใต้ในการโจมตีตอบโต้เกาหลีเหนือ แต่ ณ เวลาที่เผยแพร่นี้ โฆษกของ DAPA ไม่ได้ตอบคำถามใดๆจาก Jane's ในเรื่องนี้
โครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ยุคหน้า(next-generation fighter aircraft) ของกองทัพอากาศสาธาณรัฐเกาหลีที่ได้เริ่มในปี 2012 เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ Northrop F-5E และเครื่องบินขับไล่ McDonnell Douglas F-4 Phantom II นั้นมีการเสนอความต้องการจัดหาที่ 60เครื่อง
ทั้งนี้เกาหลีใต้เป็นประเทศที่สองในเอเชียตะวันออกต่อจากกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น(JASDF: Japan Air Self-Defense Force) ที่จัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A เข้าประจำการครับ
วันจันทร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2560
กองทัพเรือพม่าประจำการเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง UMS Inlay OPV ใหม่
70th Anniversary of Myanmar Navy, Senior General Min Aung Hlaing commander-in-chief of the Myanmar Armed Forces was attended Commissioned Ceremony of
new Offshore Patrol Vessel UMS Inlay (54), two 56 meter Landing Craft Utility (1614 and 1615) and four 29 meter Landing Craft Mechanized (1713, 1714, 1715 and 1716), 24 December 2017.
https://www.facebook.com/www.myanmarnavy.org/
https://www.facebook.com/seniorgeneralminaunghlaing
Clip: 70th Anniversary of Myanmar Navy, 24 December 2017
https://www.facebook.com/seniorgeneralminaunghlaing/videos/1814502275250919/
วันที่ 24 ธันวาคมที่ผ่านมา ณ ฐานทัพเรือ Yangon ซึ่งเป็นวันครบรอบการก่อตั้งกองทัพอากาศพม่า(Tatmadaw Yay) ครบรอบปีที่70
พลเอกอาวุโส(Senior General) Min Aung Hlaing ผู้บัญชาการสูงสุดกองทัพพม่าได้เป็นประธานในพิธีขึ้นระวางประจำการเรือใหม่รวม 7ลำเข้าประจำการในกองทัพเรือพม่า(Myanmar Navy)
เรือใหม่ลำแรกคือเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง(OPV: Offshore Patrol Vessel) UMS Inlay หมายเลขเรือ 54 ซึ่งถูกสร้างโดยอู่ต่อเรือ Thanlyin ของกองทัพเรือพม่า ซึ่งตัวเรือถูกปล่อยลงน้ำไปเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2015(http://aagth1.blogspot.com/2015/12/blog-post_2.html)
โดยเรือถูกตั้งชื่อตามทะเลสาบอินเลในรัฐฉาน หรือหนองอางเลในภาษาไทใหญ่ เป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศ(เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของพม่า ในการชมความเป็นอยู่ของชาวอินทาที่ใช้ชีวิตในหมู่บ้านกลางน้ำและทำการเกษตรบนเกาะวัชพืชลอยน้ำ)
เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง UMS Inlay มีตัวเรือยาวราว 81m กว้างราว 12.5m ระวางขับน้ำประมาณ 1,500tons ระบบอาวุธหลักติดตั้งป้อมปืนใหญ่กลแบบ Type 66 ขนาด 57mm แฝดสอง(น่าจะปรับปรุงจากป้อมปืนที่ถอดจากเรือตรวจการณ์ปราบเรือดำน้ำ Type 037 Hainan ที่พม่าจัดหามาจากจีนช่วงต้นปี 1990s)
ท้ายเรือมีปืนกลหนัก 2กระบอก(น่าจะขนาด 14.5mm หรือ 12.7mm) มีลานจอดและโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ในตัวเรือ และจากภาพสะพานเดินเรือมีการติดตั้งอุปกรณ์นำร่องและเดินเรือยุคใหม่ที่มีความทันสมัย ที่มีข้อมูลว่าได้รับความช่วยเหลือทางเทคนิคและอุปกรณ์จากบริษัทสัญชาติสิงคโปร์
มีรายงานว่าอู่เรือกองทัพเรือพม่ากำลังดำเนินการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งขนาด 80m อยู่ 1ลำ ซึ่งน่าจะเป็นเรือลำที่สองในชั้น Inlay OPV นี้ โดยเรือ OPV ใหม่ 2ลำน่าจะถูกนำเข้าประจำการทดแทนเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งแบบ Osprey Class-50 ที่จัดหาจากเดนมาร์ก 2ลำตั้งแต่ปี 1982
คือ UMS Indaw หมายเลขเรือ 55(ตั้งชื่อตามทะเลสาบอินดอว์ เมืองอินดอว์ในภาคสะกาย ซึ่งเป็นทะเลสาบที่ขนาดเล็กกว่าทะเลสาบอินดอว์คยีทางตอนเหนือในรัฐคะฉิ่นที่เป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดของพม่า) และ UMS Inya หมายเลขเรือ 57(ตั้งชื่อตามทะเลสาบอินยา กลางเมืองย่างกุ้ง)
ทั้งนี้ในวันเดียวกันกองทัพเรือพม่ายังได้ทำพิธีขึ้นระวางประจำการเรือระบายพลขนาดใหญ่(LCU: Landing Craft Utility) ขนาด 56m 2ลำ คือหมายเลขเรือ 1614 และ 1615
และเรือระบายพลขนาดกลาง(LCM: Landing Craft Mechanized) ขนาด 29m 4ลำ คือหมายเลขเรือ 1713, 1714, 1715 และ 1716 ซึ่งเรือเรือระบายพลใหม่ทั้งหมด 6ลำนี้ถูกสร้างโดยอู่ต่อเรือของพม่าเช่นกัน(กองทัพเรือพม่ามีเรือ LCU ใหม่รวม 5ลำ และและเรือ LCM ใหม่รวม 16ลำแล้ว)
เรือระบายพล LCU และ LCM ทั้ง 6ลำที่จอดเทียบท่าในพิธีนั้นยังได้ทำการบรรทุกรถรบของกองทัพบกพม่า(Myanmar Army)ไปกับเรือหลายแบบ เช่น รถถังเบาสะเทินน้ำสะเทินบก Type 63, ยานเกราะล้อยางลำเลียงพล BTR-3U และยานเกราะล้อยางติดปืนใหญ่รถถัง PTL-02 ขนาด 105mm
ซึ่งในช่วงหลายสิบปีมานี้กองทัพเรือพม่าได้มีการสร้างเรือที่ต่อเองในประเทศทั้งเรือตรวจการณ์ เรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถี เรือคอร์เวต เรือฟริเกต และเรือระบายพลขนาดต่างๆ เป็นต้นเป็นจำนวนมากครับ
นอร์เวย์จะจัดหาปืนใหญ่อัตตาจร K9 Thunder เกาหลีใต้
Norway will purchase South Korean K9 155mm howitzers
South Korean K9 155mm tracked self-propelled howitzer during trial tests in Norway (Picture source Video Print Screen Mogens Rasmus Mogensen YouTube account)
https://armyrecognition.com/december_2017_global_defense_security_news_industry/norway_will_purchase_south_korean_k9_155mm_howitzers.html
20 ธันวาคมที่ผ่านมา กระทรวงกลาโหมนอร์เวย์ได้ประกาศการจัดหาปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน K9 Thunder ขนาด 155 mm/52calibre ที่ออกแบบและผลิตโดยบริษัท Hanwha Land Systems สาธารณรัฐเกาหลี
สัญญาจัดหาวงเงิน 245.2 billion Korean Won($227 million) สำหรับการจัดหา ป.อัตตาจรสายพาน K9 24ระบบ และรถจ่ายกระสุนสายพาน K10 6ระบบ
การส่งมอบปืนใหญ่อัตตาจร K9 Thunder ให้กองทัพบกนอร์เวย์(Norwegian Army) จะเริ่มขึ้นได้ในปี 2019 และจะเสร็จสิ้นครบภายในปี 2020-2021
สัญญายังรวมถึงการสนับสนุนการส่งกำลังบำรุง ซึ่ง Hanwha จะสนับสนุนการจัดตั้งโรงงานทางเทคนิคในนอร์เวย์ รวมถึงทางเลือกในการจัดหา ป.อจ.K9 เพิ่มเติมอีก 24ระบบ
ก่อนหน้านี้ในช่วงปี 2016 เกาหลีใต้ได้ส่งปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน K9 Thunder ไปทำการทดสอบจริงในฤดูหนาวของนอร์เวย์และฟินแลนด์มาแล้ว
โดยกองทัพบกฟินแลนด์(Finnish Army, Maavoimat) ได้ประกาศจัดหาปืนใหญ่อัตตาจร K9 48ระบบที่เคยประจำการในกองทัพบกสาธารณรัฐเกาหลี วงเงิน 146 million Euros($155 million)(http://aagth1.blogspot.com/2017/02/k9.html)
การเลือกจัดหาปืนใหญ่อัตตาจร K9 Thunder ของนอร์เวย์ซึ่งเป็นประเทศที่สองในกลุ่ม Scandinavia ต่อจากฟินแลนด์นั้นถือเป็นความสำเร็จอย่างมากของ Hanwha เกาหลีใต้ สำหรับกองทัพกลุ่มประเทศยุโรป
ซึ่งเอสโตเนียจะเป็นอีกประเทศที่ร่วมกับฟินแลนด์ที่จะการจัดหาปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน K9 Thunder เกาหลีใต้ อย่างน้อย 12ระบบ ซึ่งจะส่งมอบได้ในปี 2021 ด้วย(http://aagth1.blogspot.com/2017/02/k9-thunder.html)
นับจากความสำเร็จครั้งแรกในปี 2001 ที่ Samsung TechWin สาธาณรัฐเกาหลีผู้ออกแบบผลิต K9 เดิมได้มีความร่วมมือในการถ่ายทอด Technology พัฒนาปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน T-155 Fırtına ให้ตุรกี
โดย ป.อัตตาจร T-155 ชุดแรก 8ระบบถูกสร้างที่เกาหลีใต้ได้ถูกส่งมอบให้ตุรกีในปี 2004 และอีกมากกว่า 300ระบบถูกผลิตในตุรกีและส่งออกให้อาเซอร์ไบจาน
เกาหลีใต้ยังประสบความสำเร็จใจการส่งออกปืนใหญ่อัตตาจร K9 พร้อมการถ่ายทอดสิทธิบัตรการผลิตให้กองทัพบกอินเดีย(Indian Army) ในชื่อ K9 Vajra(http://aagth1.blogspot.com/2015/10/k9.html)
รวมถึงโปแลนด์ที่ใช้รถแคร่ฐานของ K9 ในการพัฒนาสร้างปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน Krab ของตนเอง โดยส่งออกปืนใหญ่อัตตาจร K9 ในปี 2017 นี้มีวงเงินสูงเกือบ $720 million แล้ว ภายใต้การสนับสนุนแผนยุทธศาสตร์การส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ของรัฐบาลสาธารณรัฐเกาหลีครับ
South Korean K9 155mm tracked self-propelled howitzer during trial tests in Norway (Picture source Video Print Screen Mogens Rasmus Mogensen YouTube account)
https://armyrecognition.com/december_2017_global_defense_security_news_industry/norway_will_purchase_south_korean_k9_155mm_howitzers.html
20 ธันวาคมที่ผ่านมา กระทรวงกลาโหมนอร์เวย์ได้ประกาศการจัดหาปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน K9 Thunder ขนาด 155 mm/52calibre ที่ออกแบบและผลิตโดยบริษัท Hanwha Land Systems สาธารณรัฐเกาหลี
สัญญาจัดหาวงเงิน 245.2 billion Korean Won($227 million) สำหรับการจัดหา ป.อัตตาจรสายพาน K9 24ระบบ และรถจ่ายกระสุนสายพาน K10 6ระบบ
การส่งมอบปืนใหญ่อัตตาจร K9 Thunder ให้กองทัพบกนอร์เวย์(Norwegian Army) จะเริ่มขึ้นได้ในปี 2019 และจะเสร็จสิ้นครบภายในปี 2020-2021
สัญญายังรวมถึงการสนับสนุนการส่งกำลังบำรุง ซึ่ง Hanwha จะสนับสนุนการจัดตั้งโรงงานทางเทคนิคในนอร์เวย์ รวมถึงทางเลือกในการจัดหา ป.อจ.K9 เพิ่มเติมอีก 24ระบบ
ก่อนหน้านี้ในช่วงปี 2016 เกาหลีใต้ได้ส่งปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน K9 Thunder ไปทำการทดสอบจริงในฤดูหนาวของนอร์เวย์และฟินแลนด์มาแล้ว
โดยกองทัพบกฟินแลนด์(Finnish Army, Maavoimat) ได้ประกาศจัดหาปืนใหญ่อัตตาจร K9 48ระบบที่เคยประจำการในกองทัพบกสาธารณรัฐเกาหลี วงเงิน 146 million Euros($155 million)(http://aagth1.blogspot.com/2017/02/k9.html)
การเลือกจัดหาปืนใหญ่อัตตาจร K9 Thunder ของนอร์เวย์ซึ่งเป็นประเทศที่สองในกลุ่ม Scandinavia ต่อจากฟินแลนด์นั้นถือเป็นความสำเร็จอย่างมากของ Hanwha เกาหลีใต้ สำหรับกองทัพกลุ่มประเทศยุโรป
ซึ่งเอสโตเนียจะเป็นอีกประเทศที่ร่วมกับฟินแลนด์ที่จะการจัดหาปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน K9 Thunder เกาหลีใต้ อย่างน้อย 12ระบบ ซึ่งจะส่งมอบได้ในปี 2021 ด้วย(http://aagth1.blogspot.com/2017/02/k9-thunder.html)
นับจากความสำเร็จครั้งแรกในปี 2001 ที่ Samsung TechWin สาธาณรัฐเกาหลีผู้ออกแบบผลิต K9 เดิมได้มีความร่วมมือในการถ่ายทอด Technology พัฒนาปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน T-155 Fırtına ให้ตุรกี
โดย ป.อัตตาจร T-155 ชุดแรก 8ระบบถูกสร้างที่เกาหลีใต้ได้ถูกส่งมอบให้ตุรกีในปี 2004 และอีกมากกว่า 300ระบบถูกผลิตในตุรกีและส่งออกให้อาเซอร์ไบจาน
เกาหลีใต้ยังประสบความสำเร็จใจการส่งออกปืนใหญ่อัตตาจร K9 พร้อมการถ่ายทอดสิทธิบัตรการผลิตให้กองทัพบกอินเดีย(Indian Army) ในชื่อ K9 Vajra(http://aagth1.blogspot.com/2015/10/k9.html)
รวมถึงโปแลนด์ที่ใช้รถแคร่ฐานของ K9 ในการพัฒนาสร้างปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน Krab ของตนเอง โดยส่งออกปืนใหญ่อัตตาจร K9 ในปี 2017 นี้มีวงเงินสูงเกือบ $720 million แล้ว ภายใต้การสนับสนุนแผนยุทธศาสตร์การส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ของรัฐบาลสาธารณรัฐเกาหลีครับ
วันอาทิตย์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2560
อินโดนีเซียลดความต้องการเรือดำน้ำจาก 12ลำเหลือ 8ลำ
Indonesia reduces submarine requirements from 12 to 8 in revised modernisation plan
Indonesia's second Cakra (Type 209/1300)-class submarine, KRI Nanggala. (TNI-AL)
http://www.janes.com/article/76542/indonesia-reduces-submarine-requirements-from-12-to-8-in-revised-modernisation-plan
กองทัพเรืออินโดนีเซีย(TNI-AL: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Laut) ได้ลดจำนวนความต้องการเรือดำน้ำของตนที่จะจัดหาภายใต้แผนโครงร่างการปรับปรุงกองทัพ 'กองกำลังที่จำเป็นขั้นต่ำ'(MEF: Minimum Essential Force)
หลายแหล่งข่าวจากภายในกองบัญญาการกองทัพเรืออินโดนีเซียใน Cilangkap, East Jakarta ผู้ที่มีข้อมูลรายละเอียดลับเฉพาะของการประชุมที่ดำเนินโดยนายทหารระดับสูงของกองทัพเรืออินโดนีเซีย ได้ยืนยันกับ Jane's ว่า
แผนความต้องการที่จะมีเรือดำน้ำประจำการรวม 12ลำภายในปี 2024 ตามที่กำหนดให้แผนโครงร่าง MEF ขณะนี้ถูกลดจำนวนลงเหลือเป็น 8ลำแล้ว
ทำให้การแก้ไขแผนความต้องการดังกล่าวกองทัพเรืออินโดนีเซียขณะนี้จำต้องที่จะมีการจัดหาเรือดำน้ำเพิ่มเติมอีกเพียง 3ลำภายใต้เส้นตายที่กำหนดภายใต้แผน MEF
ปัจจุบันกองทัพเรืออินโดนีเซียมีเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้า(SSK) ชั้น Cakra(Type 209/1300) จากเยอรมนี 2ลำคือ KRI Cakra 401 และ KRI Nanggala 402 โดยเข้าประจำการมาตั้งแต่ปี 1981
และเรือดำน้ำชั้น Nagapasa(DSME 1400 หรือ Type 209/1400) ที่สั่งจัดหา 3ลำจากบริษัท Daewoo Shipbuilding and Marine Engineering(DSME) สาธารณรัฐเกาหลี
เรือดำน้ำชั้น Nagapasa ลำแรกคือ KRI Nagapasa 403 ที่สร้างโดยอู่เรือ DSME เกาหลีใต้ได้ถูกส่งมอบเข้าประจำการในกองทัพเรืออินโดนีเซียตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม 2017 แล้ว(http://aagth1.blogspot.com/2017/07/dsme1400.html)
อีกสองลำคือลำที่สอง KRI Ardadedali 404 มีกำหนดจะเข้าประจำการตามมาในปี 2018 และลำที่สาม KRI Alugoro 405 จะสร้างในอินโดนีเซียโดยรัฐวิสาหกิจอู่ต่อเรือ PT PAL ใน Surabaya ซึ่งมีกำหนดเข้าประจำการในปี 2021
และขณะนี้ได้มีขั้นตอนการจัดตั้งความต้องการสุดท้ายที่จะนำไปสู่งโครงการจัดหาเรือดำน้ำใหม่เพิ่มเติมแล้ว ตามที่ Jane's ได้รายงานไปตั้งแต่เดือนเมษายน 2017 กองทัพเรืออินโดนีเซียได้รับข้อเสนอในการเข้าแข่งขันโครงการจัดหาเรือดำน้ำจากหลายประเทศ
เช่น อู่เรือ Gölcük ตุรกีที่ส่งเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้าชั้น Reis(Type 2014) พร้อมระบบขับเคลื่อนแบบไม่ใช้อากาศ AIP(air-independent Propulsion)(http://aagth1.blogspot.com/2017/05/type-214-aip.html)
ตัวเลือกแบบเรือดำน้ำอื่นที่อยู๋ในการพิจารณายังมีเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าโจมตีชั้น Project 636 Varshavyanka(NATO กำหนดรหัส Improved Kilo) จากรัสเซีย(http://aagth1.blogspot.com/2017/08/kilo-type-209.html)
และเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าโจมตีแบบ Scorpène 1000 จากบริษัท Naval Group ฝรั่งเศส(http://aagth1.blogspot.com/2017/04/dcns-pt-pal-dsme.html)
การแก้ไขแผนความต้องการการจัดหาเรือดำน้ำเหลือรวม 8ลำนั้น เป็นการเปลี่ยนความสำคัญมุ่งเน้นไปที่การจัดหาเรือผิวน้ำขนาดใหญ่จำนวนมากขึ้น ตามที่กองทัพเรืออินโดนีเซียตัดสินใจเลื่อนการปลดประจำการเรือฟริเกตชั้น Ahmad Yani ทั้ง 6ลำออกไป
เพื่อที่กองทัพเรืออินโดนีเซียจะสามารถปฏิบัติการประจำสถานีในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ(EEZ: exclusive economic zones) ของตนโดยเฉพาะในทะเลจีนใต้ได้อย่างเพียงพอครับ(http://aagth1.blogspot.com/2017/10/ahmad-yani.html)
Indonesia's second Cakra (Type 209/1300)-class submarine, KRI Nanggala. (TNI-AL)
http://www.janes.com/article/76542/indonesia-reduces-submarine-requirements-from-12-to-8-in-revised-modernisation-plan
กองทัพเรืออินโดนีเซีย(TNI-AL: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Laut) ได้ลดจำนวนความต้องการเรือดำน้ำของตนที่จะจัดหาภายใต้แผนโครงร่างการปรับปรุงกองทัพ 'กองกำลังที่จำเป็นขั้นต่ำ'(MEF: Minimum Essential Force)
หลายแหล่งข่าวจากภายในกองบัญญาการกองทัพเรืออินโดนีเซียใน Cilangkap, East Jakarta ผู้ที่มีข้อมูลรายละเอียดลับเฉพาะของการประชุมที่ดำเนินโดยนายทหารระดับสูงของกองทัพเรืออินโดนีเซีย ได้ยืนยันกับ Jane's ว่า
แผนความต้องการที่จะมีเรือดำน้ำประจำการรวม 12ลำภายในปี 2024 ตามที่กำหนดให้แผนโครงร่าง MEF ขณะนี้ถูกลดจำนวนลงเหลือเป็น 8ลำแล้ว
ทำให้การแก้ไขแผนความต้องการดังกล่าวกองทัพเรืออินโดนีเซียขณะนี้จำต้องที่จะมีการจัดหาเรือดำน้ำเพิ่มเติมอีกเพียง 3ลำภายใต้เส้นตายที่กำหนดภายใต้แผน MEF
ปัจจุบันกองทัพเรืออินโดนีเซียมีเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้า(SSK) ชั้น Cakra(Type 209/1300) จากเยอรมนี 2ลำคือ KRI Cakra 401 และ KRI Nanggala 402 โดยเข้าประจำการมาตั้งแต่ปี 1981
และเรือดำน้ำชั้น Nagapasa(DSME 1400 หรือ Type 209/1400) ที่สั่งจัดหา 3ลำจากบริษัท Daewoo Shipbuilding and Marine Engineering(DSME) สาธารณรัฐเกาหลี
เรือดำน้ำชั้น Nagapasa ลำแรกคือ KRI Nagapasa 403 ที่สร้างโดยอู่เรือ DSME เกาหลีใต้ได้ถูกส่งมอบเข้าประจำการในกองทัพเรืออินโดนีเซียตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม 2017 แล้ว(http://aagth1.blogspot.com/2017/07/dsme1400.html)
อีกสองลำคือลำที่สอง KRI Ardadedali 404 มีกำหนดจะเข้าประจำการตามมาในปี 2018 และลำที่สาม KRI Alugoro 405 จะสร้างในอินโดนีเซียโดยรัฐวิสาหกิจอู่ต่อเรือ PT PAL ใน Surabaya ซึ่งมีกำหนดเข้าประจำการในปี 2021
และขณะนี้ได้มีขั้นตอนการจัดตั้งความต้องการสุดท้ายที่จะนำไปสู่งโครงการจัดหาเรือดำน้ำใหม่เพิ่มเติมแล้ว ตามที่ Jane's ได้รายงานไปตั้งแต่เดือนเมษายน 2017 กองทัพเรืออินโดนีเซียได้รับข้อเสนอในการเข้าแข่งขันโครงการจัดหาเรือดำน้ำจากหลายประเทศ
เช่น อู่เรือ Gölcük ตุรกีที่ส่งเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้าชั้น Reis(Type 2014) พร้อมระบบขับเคลื่อนแบบไม่ใช้อากาศ AIP(air-independent Propulsion)(http://aagth1.blogspot.com/2017/05/type-214-aip.html)
ตัวเลือกแบบเรือดำน้ำอื่นที่อยู๋ในการพิจารณายังมีเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าโจมตีชั้น Project 636 Varshavyanka(NATO กำหนดรหัส Improved Kilo) จากรัสเซีย(http://aagth1.blogspot.com/2017/08/kilo-type-209.html)
และเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าโจมตีแบบ Scorpène 1000 จากบริษัท Naval Group ฝรั่งเศส(http://aagth1.blogspot.com/2017/04/dcns-pt-pal-dsme.html)
การแก้ไขแผนความต้องการการจัดหาเรือดำน้ำเหลือรวม 8ลำนั้น เป็นการเปลี่ยนความสำคัญมุ่งเน้นไปที่การจัดหาเรือผิวน้ำขนาดใหญ่จำนวนมากขึ้น ตามที่กองทัพเรืออินโดนีเซียตัดสินใจเลื่อนการปลดประจำการเรือฟริเกตชั้น Ahmad Yani ทั้ง 6ลำออกไป
เพื่อที่กองทัพเรืออินโดนีเซียจะสามารถปฏิบัติการประจำสถานีในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ(EEZ: exclusive economic zones) ของตนโดยเฉพาะในทะเลจีนใต้ได้อย่างเพียงพอครับ(http://aagth1.blogspot.com/2017/10/ahmad-yani.html)
วันเสาร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2560
Boeing สหรัฐฯกำลังเจรจาเพื่อเข้าควบรวมกิจการ Embraer บราซิล
Here’s how a Boeing takeover of Embraer could play out
An Embraer KC-390 aircraft is seen during a roll-out ceremony at the company's production facility in Gaviao Peixoto, some 310 kilometers from Sao Paulo, Brazil, on Oct. 21, 2014. (Nelson Almeida/AFP via Getty Images)
https://www.defensenews.com/air/2017/12/21/boeings-potential-embraer-acquisition-would-widen-its-defense-portfolio/
บริษัท Boeing สหรัฐฯกำลังเข้าร่วมการเจรจากับบริษัท Embraer บราซิลในการเข้าควบรวมกิจการบริษัทอุตสาหกรรมการบินของบราซิลนี้ตามที่ Boeing ได้ยืนยันเมื่อวันที่ 21 ธันวาคมที่ผ่านมา
ถ้าสามารถดำเนินการตามนี้ได้ Boeing สหรัฐฯนอกจากจะมีผลิตภัณฑ์เครื่องบินโดยสารหลายขนาดเพิ่มขึ้นแล้ว จะยังรวมถึงอากาศยานทางทหารของ Embraer บราซิลทั้งเครื่องฝึก/โจมตีใบพัด EMB 314 Super Tucano และเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีไอพ่น KC-390 ด้วย
นักวิเคราะห์ยังลังเลที่จะกล่าวว่านี่ควรจะเป็นผลประโยชน์ที่แท้จริงสำหรับภาคธุรกิจความมั่นคงของ Boeing แต่มันจะเป็นการขยายความเป็นยักษ์ใหญ่ของธุรกิจอากาศยานของสหรัฐฯให้มีผลงานมากขึ้นในแนวทางที่ไม่คาดถึงมาก่อน
ทั้งสองบริษัทกำลังหารือข้อตกลงอย่างมีนัยว่าจะลงเงินซื้อ Embraer ที่มีมูลค่าทางตลาดถึง $3.7 billion ตามที่หนังสือพิมพ์ Wall Street Journal ซึ่งได้ลงข่าวนี้ในวันที่ 21 ที่ผ่านมาอ้างข้อมูลจากการพูดคุยกับแหล่งข่าวที่มีความคุ้นเคย
Wall Street Journal กล่าวว่า เรื่องนี้ได้ถูกพักไว้ก่อนโดยที่ทั้งสองบริษัทจะต้องรอการอนุมัติจากรัฐบาลบราซิลก่อน โดย Boeing และ Embraer ได้แถลงยืนยันว่าทั้งสองบริษัท
"กำลังอยู่ในการหารือเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการควบรวมกัน ซึ่งหลักพื้นฐานยังคงอยู่ภายใต้การหารืออยู่ การทำธุรกรรมใดๆควรจะเป็นหัวข้อที่อนุมัติจากรัฐบาลบราซิลและหน่วยงานที่ควบคุม, คณะกรรมการของทั้งสองบริษัท และผู้ถือหุ้นของ Embraer"
แต่ดูเหมือนว่าการอนุมัติดังกล่าวอาจจะเป็นชัยชนะที่มาได้ยากถ้ามันเป็นตามนั้นทั้งหมด ตามข่าวจากหนังสือพิมพ์ Fohla de Sao Paolo บราซิลนั้น
หลังจากที่ได้รับทราบความเป็นไปได้ในการเข้าซื้อกิจการ ประธานาธิบดีบราซิล Michel Temer กล่าวว่าเขาจะเปิดทางให้เพียงข้อตกลงที่จะไม่ทำให้ Boeing สามารถเข้าควบคุม Embraer ได้อย่างเต็มรูปแบบเท่านั้น
ข้อตกลงนี้ควรจะสร้างประโยชน์แก่ทาง Embraer มากกว่า Boeing ในฐานะที่จะทำให้บริษัทอากาศยานบราซิลนี้จะควบคุมอำนาจการตลาดและเข้าถึงการเป็นบริษัทอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้ Byron Callan นักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงของ Capital Alpha Partners กล่าว
แต่มันก็ควรจะเป็นข้อได้เปรียบสำคัญสำหรับ Boeing เช่นเดียวกันด้วย "มันควรจะเป็นการขยายสายการผลิตที่น่าเชื่อถือ คุณกำลังไม่ได้พูดถึงตัวเลขจำนวนใหญ่ในมุมมองทางการเงิน แต่จากมุมมองทางยุทธศาสตร์ แน่นอนมันจะเป็นการขยายสายการผลิตที่ยังไม่มีใครทำได้ตอนนี้" Callan กล่าว
แม้ว่าประธานาธิบดี Temer อาจจะเปลี่ยนความคิดของเขา แต่ Boeing อาจจะตัดสินใจถอนตนเองออกจากข้อตกลงเนื่องจากวงเงินที่สูงที่จะนำมาลงให้กับ Embraer ตามที่ Richard Aboulafia นักวิเคราะห์ด้านอากาศยานของ Teal Group กล่าว
"จากทางฝั่งความมั่นคง สิ่งที่น่าสนใจที่สุดคือการที่ Boeing จะขายเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธี KC-390 ให้กับทั้งกองทัพสหรัฐฯ และต่างประเทศ นั่นควรจะเป็นความสำคัญ" Aboulafia กล่าว
Embraer ได้ประสบความสำเร็จในการที่มีกองทัพอากาศบราซิลเป็นลูกค้ารายแรกของ KC-390 เครื่องบินลำเลียงสองเครื่องยนต์ไอพ่นนี้ถูกออกแบบให้สามารถทำภารกิจได้ทั้งการขนส่งกำลังพล, การเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ และการยิงสนับสนุน
ขณะที่ KC-390 เพิ่งจะเข้าสู่ความพร้อมปฏิบัติการขั้นต้น(IOC: Initial Operational Capability)เมื่อวันที่ 20 ธันวาคมที่ผ่านมา และจะเข้าประจำการในกองทัพอากาศบราซิลในปี 2018 แต่บริษัท Embraer ได้พยายามที่จะหาลูกค้าที่จะจัดหา KC-390 เพิ่มเติม
ก่อนหน้านี้ Boeing และ Embraer ได้บรรลุข้อตกลงในปี 2016 เพื่อร่วมทำการตลาด KC-390 ในระดับนานาชาติ แต่ทว่า Boeing นั้นได้ดำเนินบทบาทนี้ในเบื้องหลังอย่างไกลๆ
"Boeing ได้นำเครื่องบินที่ว่า(KC-390) และอาจจะทำตลาดเชิงรุกมากว่านี้ในสหรัฐฯหรือไม่? ถ้าคุณคิดเกี่ยวกับการเข้าถึงตลาดทั่วโลกของ Boeing และมันน่าจะทำให้เครื่องที่ว่าสามารถแข่งขันกับเครื่องบินลำเลียง C-130J ได้มากกว่านี้ในตลาดสากล" Callan กล่าว
การจะให้กองทัพอากาศประเทศใหญ่ทั่วโลกลงนามสัญญาจัดหาควรจะเป็นเรื่องในระยะยาว จากการที่หลายกองทัพเลือกจัดหาเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธี Lockheed Martin C-130 Hercules มาอย่างยาวนาน
แต่มันอาจสามารถจะทำตลาดในสหรัฐฯได้จากกองบัญชาการปฏิบัติการพิเศษ(SOCOM: Special Operations Command) นั่นจะเป็นการรับรองต่อเครื่องที่ดีมาก" Aboulafia กล่าว
การเข้าซื้อกิจการจะยังให้กลุ่มลูกค้าของ KC-390 เข้าสู่อุตสาหกรรมที่ยั่งยืนมั่นคงของ Boeing ซึ่งควรจะเป็นจุดขาย อย่างไรก็ตาม Aboulafia และ Callan ได้แย้งว่าอากาศยานทางทหารอื่นๆของ Embraer จะพิสูจน์ถึงความเท่าเทียมกันได้หรือไม่
"ผมคิดถึงตลาดทางทหารของบราซิล ซึ่งจากจุดยืนของ Boeing เคยให้ความสำคัญมากกว่านี้เมื่อพวกเขา(บราซิล)จะซื้อเครื่องบินขับไล่ แต่พวกเขาปฏิเสธ Boeing F/A-18E/F Super Hornet และเลือกจัดหาเครื่องบินขับไล่ SAAB Gripen E/F สวีเดน" Aboulafia กล่าว
Embraer กำลังเริ่มต้นการจัดตั้งการประกอบขั้นสุดท้ายของ Gripen E/F ที่บราซิล รวมถึงความร่วมมือกับ Saab สวีเดนก่อนหน้านี้ในการติดตั้งระบบ Radar แจ้งเตือนทางอากาศ ERIEYE เข้ากับเครื่องบินโดยสาร Embraer E-99 และเครื่องบินโดยสารทางธุรกิจแบบอื่นๆ
นั่นน่าจะเป็นการเปิดประตูความร่วมมือที่ยิ่งใหญ่ขึ้นระหว่าง Boeing สหรัฐฯ และ Saab สวีเดน ซึ่งได้มีความร่วมมือกันในการพัฒนาเครื่องบินฝึกไอพ่น Boeing T-X แข่งขันในโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่นทดแทน T-38 Talon ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ(US Air Force) อยู่แล้ว
"คุณสามารถเชื่อมต่อจุด มันจะมีข้อตกลงอื่นเกิดขึ้นอีกหรือไม่ ผมไม่รู้ว่า Beoing จะเข้ามาเป็นเจ้าของ Saab หรือไม่ แต่คุณสร้างการลงทุนใน Saab และรอบนี้หรือไม่?
ถ้าคุณกำลังสร้างสายการผลิตเครื่องบินขับไล่ขั้นก้าวหน้าในบราซิลกับ Gripen E คุณจะไปที่ไหนกับอะไรนั่น?" Callan กล่าว
ขณะเดียวกันเครื่องฝึก/โจมตีใบพัด Embraer Super Tucano ควรจะเป็นอีกหนึ่งความเป็นไปได้ใหญ่ของทั้งสองบริษัท ที่กองทัพอากาศสหรัฐฯจะพิจารณาว่าจะจัดซื้อในโครงการจัดหาเครื่องบินโจมตีที่มีค่าใช้จ่ายต่ำหรือ OA-X หรือไม่
เครื่องบินโจมตีใบพัด A-29 Super Tucano ในการทำตลาดในสหรัฐฯโดยบริษัท Sierra Nevada Corporation สหรัฐฯซึ่งเป็นหุ้นส่วนกับ Embraer และเครื่องได้ทำชุดการทดลองหลายรายการในเดือนสิงหาคมที่ฐานทัพอากาศ Holloman ในมลรัฐฯ New Mexico
A-29 Super Tucano ถูกคาดว่าอย่างกว้างขว้างจะเป็นผู้ชนะในทุกการประเมินค่าของโครงการ OA-X ตามที่เครื่องได้ถูกจัดหาเข้าประจำการในกองทัพอากาศอัฟกานิสถานและกองทัพอากาศเลบานอนแล้ว
อย่างไรก็ตาม Aboulafia ชี้ว่าการขายเครื่องบินเพียงไม่กี่ร้อยเครื่องจะส่งผลกระทบที่น้อยต่อยอดบัญชีรายรับโดยรวมของ Boeing "ผมยากที่จะคิดว่าทำไม Boeing จะต้องใส่ใจด้วย" เขากล่าว
ถ้าข้อตกลงบรรลุผลจะเป็นการเข้าซื้อกิจการครั้งสำคัญที่สองในรอบไม่กี่เดือนหลังจากที่ Boeing ได้เข้าซื้อกิจการ Aurora Flight Sciences เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
ข้อตกลงในการซื้อ Embraer จะทำให้ Boeing สามารถสวนกลับคู่แข่งรายใหญ่ในตลาดอากาศยานพลเรือนคือบริษัท Airbus ยุโรป ซึ่งล่าสุดเพิ่งจะบรรลุความเป็นหุ้นส่วนกับบริษัท Bombardier แคนาดาต่อเครื่องบินโดยสารตระกูล C Series ที่ Boeing มีข้อพิพาทตามที่ได้รายงานไปครับ
An Embraer KC-390 aircraft is seen during a roll-out ceremony at the company's production facility in Gaviao Peixoto, some 310 kilometers from Sao Paulo, Brazil, on Oct. 21, 2014. (Nelson Almeida/AFP via Getty Images)
https://www.defensenews.com/air/2017/12/21/boeings-potential-embraer-acquisition-would-widen-its-defense-portfolio/
บริษัท Boeing สหรัฐฯกำลังเข้าร่วมการเจรจากับบริษัท Embraer บราซิลในการเข้าควบรวมกิจการบริษัทอุตสาหกรรมการบินของบราซิลนี้ตามที่ Boeing ได้ยืนยันเมื่อวันที่ 21 ธันวาคมที่ผ่านมา
ถ้าสามารถดำเนินการตามนี้ได้ Boeing สหรัฐฯนอกจากจะมีผลิตภัณฑ์เครื่องบินโดยสารหลายขนาดเพิ่มขึ้นแล้ว จะยังรวมถึงอากาศยานทางทหารของ Embraer บราซิลทั้งเครื่องฝึก/โจมตีใบพัด EMB 314 Super Tucano และเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีไอพ่น KC-390 ด้วย
นักวิเคราะห์ยังลังเลที่จะกล่าวว่านี่ควรจะเป็นผลประโยชน์ที่แท้จริงสำหรับภาคธุรกิจความมั่นคงของ Boeing แต่มันจะเป็นการขยายความเป็นยักษ์ใหญ่ของธุรกิจอากาศยานของสหรัฐฯให้มีผลงานมากขึ้นในแนวทางที่ไม่คาดถึงมาก่อน
ทั้งสองบริษัทกำลังหารือข้อตกลงอย่างมีนัยว่าจะลงเงินซื้อ Embraer ที่มีมูลค่าทางตลาดถึง $3.7 billion ตามที่หนังสือพิมพ์ Wall Street Journal ซึ่งได้ลงข่าวนี้ในวันที่ 21 ที่ผ่านมาอ้างข้อมูลจากการพูดคุยกับแหล่งข่าวที่มีความคุ้นเคย
Wall Street Journal กล่าวว่า เรื่องนี้ได้ถูกพักไว้ก่อนโดยที่ทั้งสองบริษัทจะต้องรอการอนุมัติจากรัฐบาลบราซิลก่อน โดย Boeing และ Embraer ได้แถลงยืนยันว่าทั้งสองบริษัท
"กำลังอยู่ในการหารือเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการควบรวมกัน ซึ่งหลักพื้นฐานยังคงอยู่ภายใต้การหารืออยู่ การทำธุรกรรมใดๆควรจะเป็นหัวข้อที่อนุมัติจากรัฐบาลบราซิลและหน่วยงานที่ควบคุม, คณะกรรมการของทั้งสองบริษัท และผู้ถือหุ้นของ Embraer"
แต่ดูเหมือนว่าการอนุมัติดังกล่าวอาจจะเป็นชัยชนะที่มาได้ยากถ้ามันเป็นตามนั้นทั้งหมด ตามข่าวจากหนังสือพิมพ์ Fohla de Sao Paolo บราซิลนั้น
หลังจากที่ได้รับทราบความเป็นไปได้ในการเข้าซื้อกิจการ ประธานาธิบดีบราซิล Michel Temer กล่าวว่าเขาจะเปิดทางให้เพียงข้อตกลงที่จะไม่ทำให้ Boeing สามารถเข้าควบคุม Embraer ได้อย่างเต็มรูปแบบเท่านั้น
ข้อตกลงนี้ควรจะสร้างประโยชน์แก่ทาง Embraer มากกว่า Boeing ในฐานะที่จะทำให้บริษัทอากาศยานบราซิลนี้จะควบคุมอำนาจการตลาดและเข้าถึงการเป็นบริษัทอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้ Byron Callan นักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงของ Capital Alpha Partners กล่าว
แต่มันก็ควรจะเป็นข้อได้เปรียบสำคัญสำหรับ Boeing เช่นเดียวกันด้วย "มันควรจะเป็นการขยายสายการผลิตที่น่าเชื่อถือ คุณกำลังไม่ได้พูดถึงตัวเลขจำนวนใหญ่ในมุมมองทางการเงิน แต่จากมุมมองทางยุทธศาสตร์ แน่นอนมันจะเป็นการขยายสายการผลิตที่ยังไม่มีใครทำได้ตอนนี้" Callan กล่าว
แม้ว่าประธานาธิบดี Temer อาจจะเปลี่ยนความคิดของเขา แต่ Boeing อาจจะตัดสินใจถอนตนเองออกจากข้อตกลงเนื่องจากวงเงินที่สูงที่จะนำมาลงให้กับ Embraer ตามที่ Richard Aboulafia นักวิเคราะห์ด้านอากาศยานของ Teal Group กล่าว
"จากทางฝั่งความมั่นคง สิ่งที่น่าสนใจที่สุดคือการที่ Boeing จะขายเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธี KC-390 ให้กับทั้งกองทัพสหรัฐฯ และต่างประเทศ นั่นควรจะเป็นความสำคัญ" Aboulafia กล่าว
Embraer ได้ประสบความสำเร็จในการที่มีกองทัพอากาศบราซิลเป็นลูกค้ารายแรกของ KC-390 เครื่องบินลำเลียงสองเครื่องยนต์ไอพ่นนี้ถูกออกแบบให้สามารถทำภารกิจได้ทั้งการขนส่งกำลังพล, การเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ และการยิงสนับสนุน
ขณะที่ KC-390 เพิ่งจะเข้าสู่ความพร้อมปฏิบัติการขั้นต้น(IOC: Initial Operational Capability)เมื่อวันที่ 20 ธันวาคมที่ผ่านมา และจะเข้าประจำการในกองทัพอากาศบราซิลในปี 2018 แต่บริษัท Embraer ได้พยายามที่จะหาลูกค้าที่จะจัดหา KC-390 เพิ่มเติม
ก่อนหน้านี้ Boeing และ Embraer ได้บรรลุข้อตกลงในปี 2016 เพื่อร่วมทำการตลาด KC-390 ในระดับนานาชาติ แต่ทว่า Boeing นั้นได้ดำเนินบทบาทนี้ในเบื้องหลังอย่างไกลๆ
"Boeing ได้นำเครื่องบินที่ว่า(KC-390) และอาจจะทำตลาดเชิงรุกมากว่านี้ในสหรัฐฯหรือไม่? ถ้าคุณคิดเกี่ยวกับการเข้าถึงตลาดทั่วโลกของ Boeing และมันน่าจะทำให้เครื่องที่ว่าสามารถแข่งขันกับเครื่องบินลำเลียง C-130J ได้มากกว่านี้ในตลาดสากล" Callan กล่าว
การจะให้กองทัพอากาศประเทศใหญ่ทั่วโลกลงนามสัญญาจัดหาควรจะเป็นเรื่องในระยะยาว จากการที่หลายกองทัพเลือกจัดหาเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธี Lockheed Martin C-130 Hercules มาอย่างยาวนาน
แต่มันอาจสามารถจะทำตลาดในสหรัฐฯได้จากกองบัญชาการปฏิบัติการพิเศษ(SOCOM: Special Operations Command) นั่นจะเป็นการรับรองต่อเครื่องที่ดีมาก" Aboulafia กล่าว
การเข้าซื้อกิจการจะยังให้กลุ่มลูกค้าของ KC-390 เข้าสู่อุตสาหกรรมที่ยั่งยืนมั่นคงของ Boeing ซึ่งควรจะเป็นจุดขาย อย่างไรก็ตาม Aboulafia และ Callan ได้แย้งว่าอากาศยานทางทหารอื่นๆของ Embraer จะพิสูจน์ถึงความเท่าเทียมกันได้หรือไม่
"ผมคิดถึงตลาดทางทหารของบราซิล ซึ่งจากจุดยืนของ Boeing เคยให้ความสำคัญมากกว่านี้เมื่อพวกเขา(บราซิล)จะซื้อเครื่องบินขับไล่ แต่พวกเขาปฏิเสธ Boeing F/A-18E/F Super Hornet และเลือกจัดหาเครื่องบินขับไล่ SAAB Gripen E/F สวีเดน" Aboulafia กล่าว
Embraer กำลังเริ่มต้นการจัดตั้งการประกอบขั้นสุดท้ายของ Gripen E/F ที่บราซิล รวมถึงความร่วมมือกับ Saab สวีเดนก่อนหน้านี้ในการติดตั้งระบบ Radar แจ้งเตือนทางอากาศ ERIEYE เข้ากับเครื่องบินโดยสาร Embraer E-99 และเครื่องบินโดยสารทางธุรกิจแบบอื่นๆ
นั่นน่าจะเป็นการเปิดประตูความร่วมมือที่ยิ่งใหญ่ขึ้นระหว่าง Boeing สหรัฐฯ และ Saab สวีเดน ซึ่งได้มีความร่วมมือกันในการพัฒนาเครื่องบินฝึกไอพ่น Boeing T-X แข่งขันในโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่นทดแทน T-38 Talon ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ(US Air Force) อยู่แล้ว
"คุณสามารถเชื่อมต่อจุด มันจะมีข้อตกลงอื่นเกิดขึ้นอีกหรือไม่ ผมไม่รู้ว่า Beoing จะเข้ามาเป็นเจ้าของ Saab หรือไม่ แต่คุณสร้างการลงทุนใน Saab และรอบนี้หรือไม่?
ถ้าคุณกำลังสร้างสายการผลิตเครื่องบินขับไล่ขั้นก้าวหน้าในบราซิลกับ Gripen E คุณจะไปที่ไหนกับอะไรนั่น?" Callan กล่าว
ขณะเดียวกันเครื่องฝึก/โจมตีใบพัด Embraer Super Tucano ควรจะเป็นอีกหนึ่งความเป็นไปได้ใหญ่ของทั้งสองบริษัท ที่กองทัพอากาศสหรัฐฯจะพิจารณาว่าจะจัดซื้อในโครงการจัดหาเครื่องบินโจมตีที่มีค่าใช้จ่ายต่ำหรือ OA-X หรือไม่
เครื่องบินโจมตีใบพัด A-29 Super Tucano ในการทำตลาดในสหรัฐฯโดยบริษัท Sierra Nevada Corporation สหรัฐฯซึ่งเป็นหุ้นส่วนกับ Embraer และเครื่องได้ทำชุดการทดลองหลายรายการในเดือนสิงหาคมที่ฐานทัพอากาศ Holloman ในมลรัฐฯ New Mexico
A-29 Super Tucano ถูกคาดว่าอย่างกว้างขว้างจะเป็นผู้ชนะในทุกการประเมินค่าของโครงการ OA-X ตามที่เครื่องได้ถูกจัดหาเข้าประจำการในกองทัพอากาศอัฟกานิสถานและกองทัพอากาศเลบานอนแล้ว
อย่างไรก็ตาม Aboulafia ชี้ว่าการขายเครื่องบินเพียงไม่กี่ร้อยเครื่องจะส่งผลกระทบที่น้อยต่อยอดบัญชีรายรับโดยรวมของ Boeing "ผมยากที่จะคิดว่าทำไม Boeing จะต้องใส่ใจด้วย" เขากล่าว
ถ้าข้อตกลงบรรลุผลจะเป็นการเข้าซื้อกิจการครั้งสำคัญที่สองในรอบไม่กี่เดือนหลังจากที่ Boeing ได้เข้าซื้อกิจการ Aurora Flight Sciences เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
ข้อตกลงในการซื้อ Embraer จะทำให้ Boeing สามารถสวนกลับคู่แข่งรายใหญ่ในตลาดอากาศยานพลเรือนคือบริษัท Airbus ยุโรป ซึ่งล่าสุดเพิ่งจะบรรลุความเป็นหุ้นส่วนกับบริษัท Bombardier แคนาดาต่อเครื่องบินโดยสารตระกูล C Series ที่ Boeing มีข้อพิพาทตามที่ได้รายงานไปครับ
วันศุกร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2560
มาเลเซียเปิดเผยรายชื่อแบบเครื่องในโครงการจัดหาเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลใหม่
Malaysia discloses line of aircraft shortlisted for maritime patrol requirements
The ATR 72MP, one of four options currently being evaluated by the Royal Malaysian Air Force for its maritime patrol aircraft requirement (Leonardo)
http://www.janes.com/article/76539/malaysia-discloses-line-of-aircraft-shortlisted-for-maritime-patrol-requirements
กองทัพอากาศมาเลเซีย(RMAF: Royal Malaysian Air Force, TUDM: Tentera Udara Diraja Malaysia) ได้เปิดเผยรายชื่อแบบอากาศยานที่กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาสำหรับความต้องการโครงการจัดหาเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล(MPA: Maritime Patrol Aircraft) ใหม่
ระหว่างการนำเสนอในการสัมมนาความมั่นคงทางทะเลที่สิงคโปร์ หัวหน้าฝ่ายเสนาธิการกองบัญชาการทางอากาศภาคที่1 กองทัพอากาศมาเลเซีย พลอากาศจัตตวา Yazid Bin Arshad ได้แสดงแผ่นภาพถึงเครื่องบิน 4แบบ
ตามที่ พล.อ.จ.Yazid หยุดอธิบายรายชื่อเครื่องบินในตัวเลือก Jane's ได้ระบุว่าทั้ง 4เครื่องมี Airbus C-295 สเปน, Leonardo ATR 72MP อิตาลี, Boeing P-8 Poseidon สหรัฐฯ และ CN-235
ซึ่งสำหรับ CN-235 นั้นเป็นไปได้ว่าจะจัดหามาจากเครื่องที่สร้างโดย PT Dirgantara รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมอากาศยานของอินโดนีเซียที่ Bandung
"สี่เครื่องเหล่านี่คือรายชื่อตัวเลือก อย่างไรก็ตามประตูยังคงไม่ปิดในตอนนี้" นายพลอากาศ Yazid กล่าว โดยเขาเสริมว่ากองทัพอากาศมาเลเซียยังคงเปิดให้มีการส่งข้อเสนอจากผู้ผลิตอากาศยานรายอื่นที่จะเติมเต็มความต้องการด้านการปฏิบัติการและงบประมาณได้
อย่างไรก็ตามสำหรับขณะนี้กองทัพอากาศมาเลเซียได้จัดตั้งทีมพิเศษเพื่อการประเมินแบบเครื่องบินทั้ง 4ตัวเลือกต่อไป วงเงินสำหรับโครงการจัดหาเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลใหม่ 4เครื่องได้รับการอนุมัติในงบประมาณประจำปี 2018 ของรัฐบาลมาเลเซีย
"เครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลของเรา Beechcraft 200 มีอายุ 23ปีแล้ว และพวกมันมีขีดความสามารถที่จำกัด ดังนั้นนี่จึงเป็นเวลาที่เหมาะสมสำหรับกองทัพอากาศมาเลเซียในการพิจารณาไม่กี่ทางเลือกที่สามารถขยายขีดความสามารถในการตรวจการณ์ทางทะเลของเรา"
นายพลอากาศ Yazid เสริมในการอ้างถึงเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล Beechcraft 200 ที่กองทัพอากาศมาเลเซียมีประจำการ 3เครื่อง
"กองทัพอากาศมาเลเซียต้องการทุ่มเทการจัดหาเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลที่มีขีดความสามารถในการรวบรวมข่าวกรอง, การตรวจการณ์ และการลาดตระเวนด้วยขีดความสามารถจากระบบตรวจจับ Synthetic Aperture Radar
เครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลจำเป็นต้องสามารถทำสงครามต่อต้านเรือดำน้ำ(Anti-Submarine Warfare), ค้นหาและกู้ภัย และรวมถึงข่าวกรอง electronic" นายพลอากาศ Yazid กล่าวในการบรรยายสรุปภาพรวมความต้องการโครงการ
ทั้งนี้กองทัพอากาศมาเลเซียได้เลือกที่จะระงับโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ MRCA(Multirole Combat Aircraft) เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ที่มีอายุการใช้งานมานาน เช่น MiG-29N ไปก่อน
และเลือกที่จะจัดหาเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลใหม่ เพื่อรับมือกับภัยคุกคามจากกลุ่มติดอาวุธก่อการร้ายที่กำลังเพิ่มขึ้นในภูมิภาค ASEAN ครับ(http://aagth1.blogspot.com/2017/07/mrca.html)
The ATR 72MP, one of four options currently being evaluated by the Royal Malaysian Air Force for its maritime patrol aircraft requirement (Leonardo)
http://www.janes.com/article/76539/malaysia-discloses-line-of-aircraft-shortlisted-for-maritime-patrol-requirements
กองทัพอากาศมาเลเซีย(RMAF: Royal Malaysian Air Force, TUDM: Tentera Udara Diraja Malaysia) ได้เปิดเผยรายชื่อแบบอากาศยานที่กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาสำหรับความต้องการโครงการจัดหาเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล(MPA: Maritime Patrol Aircraft) ใหม่
ระหว่างการนำเสนอในการสัมมนาความมั่นคงทางทะเลที่สิงคโปร์ หัวหน้าฝ่ายเสนาธิการกองบัญชาการทางอากาศภาคที่1 กองทัพอากาศมาเลเซีย พลอากาศจัตตวา Yazid Bin Arshad ได้แสดงแผ่นภาพถึงเครื่องบิน 4แบบ
ตามที่ พล.อ.จ.Yazid หยุดอธิบายรายชื่อเครื่องบินในตัวเลือก Jane's ได้ระบุว่าทั้ง 4เครื่องมี Airbus C-295 สเปน, Leonardo ATR 72MP อิตาลี, Boeing P-8 Poseidon สหรัฐฯ และ CN-235
ซึ่งสำหรับ CN-235 นั้นเป็นไปได้ว่าจะจัดหามาจากเครื่องที่สร้างโดย PT Dirgantara รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมอากาศยานของอินโดนีเซียที่ Bandung
"สี่เครื่องเหล่านี่คือรายชื่อตัวเลือก อย่างไรก็ตามประตูยังคงไม่ปิดในตอนนี้" นายพลอากาศ Yazid กล่าว โดยเขาเสริมว่ากองทัพอากาศมาเลเซียยังคงเปิดให้มีการส่งข้อเสนอจากผู้ผลิตอากาศยานรายอื่นที่จะเติมเต็มความต้องการด้านการปฏิบัติการและงบประมาณได้
อย่างไรก็ตามสำหรับขณะนี้กองทัพอากาศมาเลเซียได้จัดตั้งทีมพิเศษเพื่อการประเมินแบบเครื่องบินทั้ง 4ตัวเลือกต่อไป วงเงินสำหรับโครงการจัดหาเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลใหม่ 4เครื่องได้รับการอนุมัติในงบประมาณประจำปี 2018 ของรัฐบาลมาเลเซีย
"เครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลของเรา Beechcraft 200 มีอายุ 23ปีแล้ว และพวกมันมีขีดความสามารถที่จำกัด ดังนั้นนี่จึงเป็นเวลาที่เหมาะสมสำหรับกองทัพอากาศมาเลเซียในการพิจารณาไม่กี่ทางเลือกที่สามารถขยายขีดความสามารถในการตรวจการณ์ทางทะเลของเรา"
นายพลอากาศ Yazid เสริมในการอ้างถึงเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล Beechcraft 200 ที่กองทัพอากาศมาเลเซียมีประจำการ 3เครื่อง
"กองทัพอากาศมาเลเซียต้องการทุ่มเทการจัดหาเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลที่มีขีดความสามารถในการรวบรวมข่าวกรอง, การตรวจการณ์ และการลาดตระเวนด้วยขีดความสามารถจากระบบตรวจจับ Synthetic Aperture Radar
เครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลจำเป็นต้องสามารถทำสงครามต่อต้านเรือดำน้ำ(Anti-Submarine Warfare), ค้นหาและกู้ภัย และรวมถึงข่าวกรอง electronic" นายพลอากาศ Yazid กล่าวในการบรรยายสรุปภาพรวมความต้องการโครงการ
ทั้งนี้กองทัพอากาศมาเลเซียได้เลือกที่จะระงับโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ MRCA(Multirole Combat Aircraft) เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ที่มีอายุการใช้งานมานาน เช่น MiG-29N ไปก่อน
และเลือกที่จะจัดหาเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลใหม่ เพื่อรับมือกับภัยคุกคามจากกลุ่มติดอาวุธก่อการร้ายที่กำลังเพิ่มขึ้นในภูมิภาค ASEAN ครับ(http://aagth1.blogspot.com/2017/07/mrca.html)
วันพฤหัสบดีที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2560
การจัดหาเรือฟริเกตใหม่จาก Hyundai เกาหลีใต้อาจมีปัญหาหลัง ผบ.กองทัพเรือฟิลิปปินส์ถูกสั่งย้ายกะทันหัน
Spotlight falls on Philippine frigates acquisition programme after navy chief’s sudden removal
A computer generated image of the Philippine Navy's new frigates. Source: Hyundai Heavy Industries
http://www.janes.com/article/76541/spotlight-falls-on-philippine-frigates-acquisition-programme-after-navy-chief-s-sudden-removal
ตามคำสั่ง(Acting on instructions)จากกระทรวงกลาโหมฟิลิปปินส์(DND: Department of National Defense) กองทัพแห่งชาติฟิลิปปินส์(AFP: Armed Forces of the Philippines)
ได้มีคำสั่งสั่งย้าย พลเรือโท Ronald Joseph Mercado จากตำแหน่งผู้บัญชาการกองทัพเรือฟิลิปปินส์(PN: Philippine Navy) ซึ่งเป็นการสั่งย้ายอย่างกะทันหันโดยที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อน
ความคืบหน้าในกรณีนี้ได้รับการยืนยันโดยโฆษกกองทัพฟิลิปปินส์ พันเอก Edgard Arevalo เมื่อวันที่ 19 ธันวาคมที่ผ่านมา และคำสั่งย้ายมีผลทันทีในวันเดียวกัน
โดยพลเรือโท Mercado ได้เข้ารับตำแหน่งผู้บัญญาการทหารเรือฟิลิปปินส์มาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2016
เป็นที่คาดว่านายพลเรือ Mercado จะถูกย้ายไปรับตำแหน่งในกองบัญชาการกองทัพฟิลิปปินส์ที่ Manila ที่ซึ่งเขาจะประจำอยู่จนถึงกำหนดเกษียณอายุภาคบังคับของเขาในเดือนมีนาคม 2018 ที่จะมาถึง
โดยตามข้อกำหนดปกติของกองทัพฟิลิปปินส์ กำลังพลในกองทัพจะมีกำหนดเกษียณเมื่อมีอายุถึง 56ปี
อย่างไรก็ตามตำแหน่งที่แน่นอนของพลเรือโท Mercado ที่จะมีการแต่งตั้งใน บก.กองทัพฟิลิปปินส์ยังไม่มีการประกาศจากกองทัพฟิลิปปินส์ในเวลาที่เขียนอยู่นี้
ซึ่งผู้ที่จะมาเป็นว่าที่ผู้บัญชาการกองทัพเรือฟิลิปปินส์แทนคือ พลเรือตรี Robert Empedrad ที่เคยดำรงตำแหน่งรองเจ้ากรมการผู้เกษียณและกำลังสำรอง(Retirees and Reservists Affairs) มาก่อน
การสั่งย้ายผู้บัญชาการทหารเรือฟิลิปปินส์ซึ่งถูกมองว่าเขาขาดความน่าเชื่อถือและไว้วางใจแล้วนั้น ทำให้ความสนใจถูกจับจ้องไปยังโครงการจัดหาเรือฟริเกตเบาใหม่ 2ลำของกองทัพเรือฟิลิปินส์ ที่ถูกพบว่ามีความผิดปกติเป็นจำนวนมาก
ก่อนหน้านี้ในเดือนพฤษภาคม 2016 ฟิลิปปินส์ได้เลือกบริษัท Garden Reach Shipbuilders & Engineers Ltd.(GRSE) อินเดียเป็นผู้ชนะในโครงการจัดหาเรือฟริเกตเบา เพราะยื่นราคาให้ต่ำที่สุด(http://aagth1.blogspot.com/2016/05/ssv-2.html)
แต่ต่อมาเมื่อ 29 มิถุนายน 2016 กระทรวงกลาโหมฟิลิปปินส์ได้ประกาศตัดสิทธิ์บริษัท GRSE อินเดียออกจากโครงการจัดหาเรือฟริเกตของกองทัพเรือฟิลิปปินส์ เนื่องจากขาดคุณสมบัติตามความต้องการของโครงการที่กำหนดไว้
โดย Fernando Manalo ปลัดกระทรวงกลาโหมฟิลิปปินส์ในเวลานั้นกล่าวว่าอู่ต่อเรือของอินเดียนั้น "ไม่มีความสามารถทางการเงินเท่าตามการคำนวณขีดความสามารถการทำสัญญาจัดหาเงินทุนสุทธิของตัวบริษัท"(http://aagth1.blogspot.com/2016/07/blog-post_2.html)
ทำให้บริษัท Hyundai Heavy Industries(HHI) สาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งเป็นผู้ยื่นราคาต่ำสุดเป็นอันดับสองในกลุ่มผู้ประมูล ได้ถูกเลือกให้เป็นผู้ชนะรายใหม่ในโครงการจัดหาเรือฟริเกตใหม่ของกองทัพเรือฟิลิปปินส์
เหนือผู้เข้าแข่งขันรายอื่นที่เหลือคือ บริษัท Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering สาธารณรัฐเกาหลี กับบริษัท Navantia สเปน
ทำให้แบบเรือฟริเกตเอนกประสงค์ HDF-3000 ของ HHI เกาหลีใต้ ที่มีพื้นฐานจากเรือฟริเกตติดอาวุธปล่อยนำวิถีชั้น Incheon(FFX-I) ของกองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลี(ROKN: Republic of Korea Navy)
ได้รับสัญญาวงเงิน 15,744,571,584 Philippine Peso($311 million) จากกระทรวงกลาโหมฟิลิปปินส์สำหรับการจัดหาเรือฟริเกตใหม่ 2ลำของกองทัพเรือฟิลิปปินส์เมื่อปี 2016 โดยมีกำหนดส่งมอบในปี 2020 ครับ(http://aagth1.blogspot.com/2016/10/hyundai-dsme.html)
A computer generated image of the Philippine Navy's new frigates. Source: Hyundai Heavy Industries
http://www.janes.com/article/76541/spotlight-falls-on-philippine-frigates-acquisition-programme-after-navy-chief-s-sudden-removal
ตามคำสั่ง(Acting on instructions)จากกระทรวงกลาโหมฟิลิปปินส์(DND: Department of National Defense) กองทัพแห่งชาติฟิลิปปินส์(AFP: Armed Forces of the Philippines)
ได้มีคำสั่งสั่งย้าย พลเรือโท Ronald Joseph Mercado จากตำแหน่งผู้บัญชาการกองทัพเรือฟิลิปปินส์(PN: Philippine Navy) ซึ่งเป็นการสั่งย้ายอย่างกะทันหันโดยที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อน
ความคืบหน้าในกรณีนี้ได้รับการยืนยันโดยโฆษกกองทัพฟิลิปปินส์ พันเอก Edgard Arevalo เมื่อวันที่ 19 ธันวาคมที่ผ่านมา และคำสั่งย้ายมีผลทันทีในวันเดียวกัน
โดยพลเรือโท Mercado ได้เข้ารับตำแหน่งผู้บัญญาการทหารเรือฟิลิปปินส์มาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2016
เป็นที่คาดว่านายพลเรือ Mercado จะถูกย้ายไปรับตำแหน่งในกองบัญชาการกองทัพฟิลิปปินส์ที่ Manila ที่ซึ่งเขาจะประจำอยู่จนถึงกำหนดเกษียณอายุภาคบังคับของเขาในเดือนมีนาคม 2018 ที่จะมาถึง
โดยตามข้อกำหนดปกติของกองทัพฟิลิปปินส์ กำลังพลในกองทัพจะมีกำหนดเกษียณเมื่อมีอายุถึง 56ปี
อย่างไรก็ตามตำแหน่งที่แน่นอนของพลเรือโท Mercado ที่จะมีการแต่งตั้งใน บก.กองทัพฟิลิปปินส์ยังไม่มีการประกาศจากกองทัพฟิลิปปินส์ในเวลาที่เขียนอยู่นี้
ซึ่งผู้ที่จะมาเป็นว่าที่ผู้บัญชาการกองทัพเรือฟิลิปปินส์แทนคือ พลเรือตรี Robert Empedrad ที่เคยดำรงตำแหน่งรองเจ้ากรมการผู้เกษียณและกำลังสำรอง(Retirees and Reservists Affairs) มาก่อน
การสั่งย้ายผู้บัญชาการทหารเรือฟิลิปปินส์ซึ่งถูกมองว่าเขาขาดความน่าเชื่อถือและไว้วางใจแล้วนั้น ทำให้ความสนใจถูกจับจ้องไปยังโครงการจัดหาเรือฟริเกตเบาใหม่ 2ลำของกองทัพเรือฟิลิปินส์ ที่ถูกพบว่ามีความผิดปกติเป็นจำนวนมาก
ก่อนหน้านี้ในเดือนพฤษภาคม 2016 ฟิลิปปินส์ได้เลือกบริษัท Garden Reach Shipbuilders & Engineers Ltd.(GRSE) อินเดียเป็นผู้ชนะในโครงการจัดหาเรือฟริเกตเบา เพราะยื่นราคาให้ต่ำที่สุด(http://aagth1.blogspot.com/2016/05/ssv-2.html)
แต่ต่อมาเมื่อ 29 มิถุนายน 2016 กระทรวงกลาโหมฟิลิปปินส์ได้ประกาศตัดสิทธิ์บริษัท GRSE อินเดียออกจากโครงการจัดหาเรือฟริเกตของกองทัพเรือฟิลิปปินส์ เนื่องจากขาดคุณสมบัติตามความต้องการของโครงการที่กำหนดไว้
โดย Fernando Manalo ปลัดกระทรวงกลาโหมฟิลิปปินส์ในเวลานั้นกล่าวว่าอู่ต่อเรือของอินเดียนั้น "ไม่มีความสามารถทางการเงินเท่าตามการคำนวณขีดความสามารถการทำสัญญาจัดหาเงินทุนสุทธิของตัวบริษัท"(http://aagth1.blogspot.com/2016/07/blog-post_2.html)
ทำให้บริษัท Hyundai Heavy Industries(HHI) สาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งเป็นผู้ยื่นราคาต่ำสุดเป็นอันดับสองในกลุ่มผู้ประมูล ได้ถูกเลือกให้เป็นผู้ชนะรายใหม่ในโครงการจัดหาเรือฟริเกตใหม่ของกองทัพเรือฟิลิปปินส์
เหนือผู้เข้าแข่งขันรายอื่นที่เหลือคือ บริษัท Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering สาธารณรัฐเกาหลี กับบริษัท Navantia สเปน
ทำให้แบบเรือฟริเกตเอนกประสงค์ HDF-3000 ของ HHI เกาหลีใต้ ที่มีพื้นฐานจากเรือฟริเกตติดอาวุธปล่อยนำวิถีชั้น Incheon(FFX-I) ของกองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลี(ROKN: Republic of Korea Navy)
ได้รับสัญญาวงเงิน 15,744,571,584 Philippine Peso($311 million) จากกระทรวงกลาโหมฟิลิปปินส์สำหรับการจัดหาเรือฟริเกตใหม่ 2ลำของกองทัพเรือฟิลิปปินส์เมื่อปี 2016 โดยมีกำหนดส่งมอบในปี 2020 ครับ(http://aagth1.blogspot.com/2016/10/hyundai-dsme.html)
วันพุธที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2560
อากาศยานใบพัดกระดก Bell V-280 Valor ทำการบินขึ้นครั้งแรก
Bell V-280 Valor Achieves First Flight
Bell Helicopter today announced that its V-280 Valor has achieved first flight.
The V-280 Valor is a next-generation tiltrotor that is designed to provide unmatched agility, speed, range and payload capabilities at an affordable cost.
This milestone represents exceptional progress on the V-280 development program and brings Bell Helicopter one step closer to creating the next generation of vertical lift aircraft for the U.S. military.
http://news.bellhelicopter.com/en-US/162449-bell-v-280-valor-achieves-first-flight
วันที่ 18 ธันวาคม 2017 บริษัท Bell Helicopter สหรัฐฯในเครือบริษัท Textron Inc. ได้ประกาศว่า V-280 Valor ได้ประสบความสำเร็จในการทำการบินครั้งแรก
Bell V-280 Valor เป็นอากาศยานใบพัดกระดกยุคหน้าที่ถูกออกมามาเพื่อมอบขีดความสามารถที่ไม่อาจหาใดเทียบได้ทั้งความคล่องตัว, ความเร็ว, พิสัยทำการ และการบรรทุกในราคาที่เหมาะสม
หลักสำคัญนี้ได้แสดงถึงความคืบหน้าที่เป็นพิเศษของโครงการพัฒนา V-280 และนำให้ Bell Helicopter ใกล้เข้าไปอีกหนึ่งก้าวในการสร้างอากาศยานลำเลียงทางดิ่งยุคอนาคตสำหรับกองทัพสหรัฐฯ
"นี่เป็นเวลาที่น่าตื่นเต้นสำหรับ Bell Helicopter และผมไม่สามารถภูมิใจไปมากว่านั้นในความคืบหน้าที่เราได้ทำกับเที่ยวบินแรกของ Bell V-280 การบินสาธิตครั้งแรกนี้เรามุ่งมั่นที่จะสนับสนุนความเป็นผู้นำของกระทรวงกลาโหมของลำดับความสำคัญการปรับปรุงความทันสมัยและการริเริ่มการปฏิรูปการจัดหา
Valor ได้ถูกออกแบบเพื่อการปฏิวัติอากาศยานลำเลียงขึ้นลงทางดิ่งสำหรับกองทัพบกสหรัฐฯ(US Army) และแสดงถึงอากาศยานเปลี่ยนรูปแบบได้สำหรับทุกภารกิจที่ท้าทายที่ร้องขอให้กองทัพเราจัดการ
เรารู้สึกระทึกที่ได้แบ่งปันความสำเร็จนี้ของการบินครั้งแรกของ V-280 กับ Team Valor, V-280 มุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนรูปแบบอะไรที่เป็นไปได้โดยสมบูรณ์สำหรับกองทัพเมื่อมันมาถึงการวางแผนการรบและปฏิบัติการส่วนหน้า" Mitch Snyder ประธานและผู้อำนวยการบริหาร Bell Helicopter กล่าว
โครงการ Bell V-280 Valor เป็นส่วนหนึ่งของการจัดตั้งโครงการ Joint Multi Role Technology Demonstrator(JMR-TD) โดยโครงการ JMR-TD จะเป็นตัวตั้งต้นสาธิตทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับโครงการ Future Vertical Lift(FVL) ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ
โครงการ V-280 ได้นำทรัพยากรทางวิศวกรรมและขีดความสามารถทางอุตสาหกรรมร่วมกันของ Bell Helicopter, Lockheed Martin, GE, Moog, IAI, TRU Simulation & Training, Astronics, Eaton, GKN Aerospace, Lord, Meggitt และ Spirit AeroSystems ซึ่งเรียกรวมกันว่า Team Valor
โดยอากาศยานที่ชนะในโครงการจะถูกนำมาพัฒนาเพื่อทดแทนอากาศยานปีกหมุนหลายแบบที่ประจำการในกองทัพสหรัฐฯปัจจุบัน เช่น เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปแบบ Sikorsky UH-60 Black Hawk
Bell V-280 เป็นการวางตัวเพื่อทำให้กองทัพบกสหรัฐฯมีระดับสูงที่สุดของความสมบูรณ์และความพร้อมทางเทคนิค อากาศยานถูกออกแบบมาเพื่อมีมูลค่าดีที่สุดในการจัดหา, การปฏิบัติการและการสนับสนุน, และโครงสร้างกำลัง
ขณะที่มอบขีดความสามารถด้านสมรรถนะที่ก้าวกระโดด ด้วยการเพิ่มความน่าเชื่อถือในการซ่อมบำรุงและความเหมาะสมให้กับกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ
ด้วยความเร็วที่มากกว่าและพิสัยทำการที่ไกลกว่าเฮลิคอปเตอร์ทั่วไปเป็นสองเท่า Valor ถูกออกแบบให้ผู้บัญการการดำเนินกลยุทธ์มีความคล่องตัวในการปฏิบัติการอย่างไม่มีที่ใดเปรียบในการวางกำลังด้วยตนเอง
และ V-280 ยังแสดงตัวเป็นอากาศยานลำเลียงทางดิ่งพหุภารกิจที่ปัจจุบันไม่สามารถจะทำให้ได้สำเร็จโดยอากาศยานเพียงแบบเดียว
Bell V-280 เป็นตัวทวีกำลังรบด้วยความเหนือกว่าทั้งสมรรถนะ, การบรรทุก, ความอยู่รอด และความน่าเชื่อถือ เพื่อให้นักรบสงครามมีความได้เปรียบอย่างเด็ดขาด
ทั้งนี้คู่แข่งของ V-280 ในโครงการ JMR-TD/FVL คืออากาศยานใบพัดร่วมแกน Sikorsky-Boeing SB>1 Defiant กำหนดการทำการบินครั้งแรกคาดว่าจะเป็นในปี 2018 ครับ
Bell Helicopter today announced that its V-280 Valor has achieved first flight.
The V-280 Valor is a next-generation tiltrotor that is designed to provide unmatched agility, speed, range and payload capabilities at an affordable cost.
This milestone represents exceptional progress on the V-280 development program and brings Bell Helicopter one step closer to creating the next generation of vertical lift aircraft for the U.S. military.
http://news.bellhelicopter.com/en-US/162449-bell-v-280-valor-achieves-first-flight
วันที่ 18 ธันวาคม 2017 บริษัท Bell Helicopter สหรัฐฯในเครือบริษัท Textron Inc. ได้ประกาศว่า V-280 Valor ได้ประสบความสำเร็จในการทำการบินครั้งแรก
Bell V-280 Valor เป็นอากาศยานใบพัดกระดกยุคหน้าที่ถูกออกมามาเพื่อมอบขีดความสามารถที่ไม่อาจหาใดเทียบได้ทั้งความคล่องตัว, ความเร็ว, พิสัยทำการ และการบรรทุกในราคาที่เหมาะสม
หลักสำคัญนี้ได้แสดงถึงความคืบหน้าที่เป็นพิเศษของโครงการพัฒนา V-280 และนำให้ Bell Helicopter ใกล้เข้าไปอีกหนึ่งก้าวในการสร้างอากาศยานลำเลียงทางดิ่งยุคอนาคตสำหรับกองทัพสหรัฐฯ
"นี่เป็นเวลาที่น่าตื่นเต้นสำหรับ Bell Helicopter และผมไม่สามารถภูมิใจไปมากว่านั้นในความคืบหน้าที่เราได้ทำกับเที่ยวบินแรกของ Bell V-280 การบินสาธิตครั้งแรกนี้เรามุ่งมั่นที่จะสนับสนุนความเป็นผู้นำของกระทรวงกลาโหมของลำดับความสำคัญการปรับปรุงความทันสมัยและการริเริ่มการปฏิรูปการจัดหา
Valor ได้ถูกออกแบบเพื่อการปฏิวัติอากาศยานลำเลียงขึ้นลงทางดิ่งสำหรับกองทัพบกสหรัฐฯ(US Army) และแสดงถึงอากาศยานเปลี่ยนรูปแบบได้สำหรับทุกภารกิจที่ท้าทายที่ร้องขอให้กองทัพเราจัดการ
เรารู้สึกระทึกที่ได้แบ่งปันความสำเร็จนี้ของการบินครั้งแรกของ V-280 กับ Team Valor, V-280 มุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนรูปแบบอะไรที่เป็นไปได้โดยสมบูรณ์สำหรับกองทัพเมื่อมันมาถึงการวางแผนการรบและปฏิบัติการส่วนหน้า" Mitch Snyder ประธานและผู้อำนวยการบริหาร Bell Helicopter กล่าว
โครงการ Bell V-280 Valor เป็นส่วนหนึ่งของการจัดตั้งโครงการ Joint Multi Role Technology Demonstrator(JMR-TD) โดยโครงการ JMR-TD จะเป็นตัวตั้งต้นสาธิตทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับโครงการ Future Vertical Lift(FVL) ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ
โครงการ V-280 ได้นำทรัพยากรทางวิศวกรรมและขีดความสามารถทางอุตสาหกรรมร่วมกันของ Bell Helicopter, Lockheed Martin, GE, Moog, IAI, TRU Simulation & Training, Astronics, Eaton, GKN Aerospace, Lord, Meggitt และ Spirit AeroSystems ซึ่งเรียกรวมกันว่า Team Valor
โดยอากาศยานที่ชนะในโครงการจะถูกนำมาพัฒนาเพื่อทดแทนอากาศยานปีกหมุนหลายแบบที่ประจำการในกองทัพสหรัฐฯปัจจุบัน เช่น เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปแบบ Sikorsky UH-60 Black Hawk
Bell V-280 เป็นการวางตัวเพื่อทำให้กองทัพบกสหรัฐฯมีระดับสูงที่สุดของความสมบูรณ์และความพร้อมทางเทคนิค อากาศยานถูกออกแบบมาเพื่อมีมูลค่าดีที่สุดในการจัดหา, การปฏิบัติการและการสนับสนุน, และโครงสร้างกำลัง
ขณะที่มอบขีดความสามารถด้านสมรรถนะที่ก้าวกระโดด ด้วยการเพิ่มความน่าเชื่อถือในการซ่อมบำรุงและความเหมาะสมให้กับกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ
ด้วยความเร็วที่มากกว่าและพิสัยทำการที่ไกลกว่าเฮลิคอปเตอร์ทั่วไปเป็นสองเท่า Valor ถูกออกแบบให้ผู้บัญการการดำเนินกลยุทธ์มีความคล่องตัวในการปฏิบัติการอย่างไม่มีที่ใดเปรียบในการวางกำลังด้วยตนเอง
และ V-280 ยังแสดงตัวเป็นอากาศยานลำเลียงทางดิ่งพหุภารกิจที่ปัจจุบันไม่สามารถจะทำให้ได้สำเร็จโดยอากาศยานเพียงแบบเดียว
Bell V-280 เป็นตัวทวีกำลังรบด้วยความเหนือกว่าทั้งสมรรถนะ, การบรรทุก, ความอยู่รอด และความน่าเชื่อถือ เพื่อให้นักรบสงครามมีความได้เปรียบอย่างเด็ดขาด
ทั้งนี้คู่แข่งของ V-280 ในโครงการ JMR-TD/FVL คืออากาศยานใบพัดร่วมแกน Sikorsky-Boeing SB>1 Defiant กำหนดการทำการบินครั้งแรกคาดว่าจะเป็นในปี 2018 ครับ
วันอังคารที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2560
สวีเดนแก้ไขสัญญาจัดหาเครื่องบินขับไล่ Gripen E ให้สร้างใหม่แทนการปรับปรุงจาก Gripen C
Gripen E contract amended to new-build rather than remanufactured
While previously Saab was to reuse certain items form the Gripen C for the Gripen E, it will now build the aircraft completely from new. Source: Saab
http://www.janes.com/article/76467/gripen-e-contract-amended-to-new-build-rather-than-remanufactured
เครื่องบินขับไล่ SAAB Gripen E จะไม่ใช้โครงสร้างที่นำมาจากซากเครื่องบินขับไล่ Gripen C ที่ปลดประจำการแล้วอีกต่อไป โดย Gripen E แต่ละเครื่องจะถูกสร้างขึ้นมาใหม่ทั้งหมดทุกส่วน
บริษัท SAAB สวีเดนประกาศเมื่อวันที่ 18 ธันวาคมว่า สำนักงานจัดหาอมภัณฑ์กลาโหมสวีเดน(FMV) ได้ทำสัญญาวงเงิน 400 million Swedish Krona($47 million) เพื่อแก้ไขสัญญาเดิมวงเงิน 57.9 billion Swedish Krona ที่ลงนามไปเมื่อปี 2013 ก่อนหน้า
การแก้ไขสัญญาครอบคลุมการผลิตชิ้นส่วนใหม่สำหรับเครื่องบินขับไล่ Gripen E ที่จากเดิมจะใช้ชิ้นส่วนที่นำมาจากเครื่องบินขับไล่ Gripen C ที่ปลดประจำการแล้ว
"สัญญาเดิมซึ่งลงนามกับ FMV ช่วงปี 2013 เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและดัดแปลงของ Gripen E บนพื้นฐานในกรอบว่าอุปกรณ์บางส่วนจากฝูงบินอากาศยานที่ประจำการอยู่หรือเก็บรักษาไว้ในกองทัพสวีเดน(Swedish Armed Forces )ควรจะถูกนำกลับมาใช้ใหม่
สัญญาใหม่นี้มีความหมายว่าอุปกรณ์ที่ควรนำกลับมาใช้ใหม่จะถูกแทนที่การจัดหาอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นมาใหม่ นี้มีจุดประสงค์เพื่อรักษาความพร้อมที่ว่ากองทัพสวีเดนสามารถคงให้ Gripen C/D ประจำการปฏิบัติการต่อไปได้
ขณะที่ Gripen E กำลังเริ่มส่งมอบและเริ่มนำเข้าสู่การประจำการในกองทัพอากาศสวีเดน(Swedish Air Force)" Saab กล่าวในการแถลง
ภายใต้กรอบของสัญญาจัดหาการผลิตเดิมในเดือนธันวาคม 2013 Saab เคยจะได้ทำการเปลี่ยนแบบเครื่องบินขับไล่ Gripen C รุ่นที่นั่งเดี่ยวจำนวน 60เครื่องของกองทัพอากาศสวีเดนเป็นรุ่น Gripen E ใหม่ล่าสุด
(กองทัพอากาศสวีเดนจะยังคงประจำการเครื่องบินขับไล่ Gripen D รุ่นสองที่นั่งจำนวน 25เครื่องจะยังคงทำหน้าที่เป็นเครื่องฝึกนักบินขับไล่จนกว่าฝูงบิน Gripen E จะถูกส่งมอบเข้าประจำการครบเต็มอัตราในสิ้นปี 2026)
โดยเครื่องบินขับไล่ JAS-39E Gripen E ต้นแบบเครื่องแรกได้ทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 มิถุนายนที่ผ่านมา(http://aagth1.blogspot.com/2017/06/saab-gripen-e.html)
อย่างไรก็ตามย้อนกลับไปในเดือนมีนาคม 2014 เจ้าหน้าที่ของ SAAB ได้บรรยายสรุปต่อ Jane's และสื่อด้านอากาศยานความมั่นคงรายอื่นๆว่า Gripen C และ Gripen E มีการใช้ส่วนโครงสร้างและระบบต่างๆที่ร่วมกันน้อยมาก
ตามข้อมูลจาก Saab ชิ้นส่วนเพียงไม่อย่างที่สามารถนำมาใช้งานข้ามกันได้คือ กระจกหน้าและฝาครอบห้องนักบิน, ปีกแก้เอียงคู่นอก, เก้าอี้ดีดตัว, ปืนใหญ่อากาศภายในลำตัวและระบบป้อนกระสุน และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องอื่นๆบางส่วนเท่านั้น
เช่นที่ว่ามาจึงเป็นไปตามนี้ว่าสัญญาเดิมในปี 2013 จึงจำเป็นที่จะต้องได้รับการแก้ไขเพื่อสะท้อนถึงกรณีที่เกิดขึ้นดังกล่าวครับ
While previously Saab was to reuse certain items form the Gripen C for the Gripen E, it will now build the aircraft completely from new. Source: Saab
http://www.janes.com/article/76467/gripen-e-contract-amended-to-new-build-rather-than-remanufactured
เครื่องบินขับไล่ SAAB Gripen E จะไม่ใช้โครงสร้างที่นำมาจากซากเครื่องบินขับไล่ Gripen C ที่ปลดประจำการแล้วอีกต่อไป โดย Gripen E แต่ละเครื่องจะถูกสร้างขึ้นมาใหม่ทั้งหมดทุกส่วน
บริษัท SAAB สวีเดนประกาศเมื่อวันที่ 18 ธันวาคมว่า สำนักงานจัดหาอมภัณฑ์กลาโหมสวีเดน(FMV) ได้ทำสัญญาวงเงิน 400 million Swedish Krona($47 million) เพื่อแก้ไขสัญญาเดิมวงเงิน 57.9 billion Swedish Krona ที่ลงนามไปเมื่อปี 2013 ก่อนหน้า
การแก้ไขสัญญาครอบคลุมการผลิตชิ้นส่วนใหม่สำหรับเครื่องบินขับไล่ Gripen E ที่จากเดิมจะใช้ชิ้นส่วนที่นำมาจากเครื่องบินขับไล่ Gripen C ที่ปลดประจำการแล้ว
"สัญญาเดิมซึ่งลงนามกับ FMV ช่วงปี 2013 เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและดัดแปลงของ Gripen E บนพื้นฐานในกรอบว่าอุปกรณ์บางส่วนจากฝูงบินอากาศยานที่ประจำการอยู่หรือเก็บรักษาไว้ในกองทัพสวีเดน(Swedish Armed Forces )ควรจะถูกนำกลับมาใช้ใหม่
สัญญาใหม่นี้มีความหมายว่าอุปกรณ์ที่ควรนำกลับมาใช้ใหม่จะถูกแทนที่การจัดหาอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นมาใหม่ นี้มีจุดประสงค์เพื่อรักษาความพร้อมที่ว่ากองทัพสวีเดนสามารถคงให้ Gripen C/D ประจำการปฏิบัติการต่อไปได้
ขณะที่ Gripen E กำลังเริ่มส่งมอบและเริ่มนำเข้าสู่การประจำการในกองทัพอากาศสวีเดน(Swedish Air Force)" Saab กล่าวในการแถลง
ภายใต้กรอบของสัญญาจัดหาการผลิตเดิมในเดือนธันวาคม 2013 Saab เคยจะได้ทำการเปลี่ยนแบบเครื่องบินขับไล่ Gripen C รุ่นที่นั่งเดี่ยวจำนวน 60เครื่องของกองทัพอากาศสวีเดนเป็นรุ่น Gripen E ใหม่ล่าสุด
(กองทัพอากาศสวีเดนจะยังคงประจำการเครื่องบินขับไล่ Gripen D รุ่นสองที่นั่งจำนวน 25เครื่องจะยังคงทำหน้าที่เป็นเครื่องฝึกนักบินขับไล่จนกว่าฝูงบิน Gripen E จะถูกส่งมอบเข้าประจำการครบเต็มอัตราในสิ้นปี 2026)
โดยเครื่องบินขับไล่ JAS-39E Gripen E ต้นแบบเครื่องแรกได้ทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 มิถุนายนที่ผ่านมา(http://aagth1.blogspot.com/2017/06/saab-gripen-e.html)
อย่างไรก็ตามย้อนกลับไปในเดือนมีนาคม 2014 เจ้าหน้าที่ของ SAAB ได้บรรยายสรุปต่อ Jane's และสื่อด้านอากาศยานความมั่นคงรายอื่นๆว่า Gripen C และ Gripen E มีการใช้ส่วนโครงสร้างและระบบต่างๆที่ร่วมกันน้อยมาก
ตามข้อมูลจาก Saab ชิ้นส่วนเพียงไม่อย่างที่สามารถนำมาใช้งานข้ามกันได้คือ กระจกหน้าและฝาครอบห้องนักบิน, ปีกแก้เอียงคู่นอก, เก้าอี้ดีดตัว, ปืนใหญ่อากาศภายในลำตัวและระบบป้อนกระสุน และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องอื่นๆบางส่วนเท่านั้น
เช่นที่ว่ามาจึงเป็นไปตามนี้ว่าสัญญาเดิมในปี 2013 จึงจำเป็นที่จะต้องได้รับการแก้ไขเพื่อสะท้อนถึงกรณีที่เกิดขึ้นดังกล่าวครับ
วันจันทร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2560
แคนาดาจะจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่โดยไม่ซื้อ F/A-18E/F สหรัฐฯ และจะนำ F/A-18A/B ออสเตรเลียมาใช้ชั่วคราว
Canada to launch future fighter competition, acquire Australian Hornets
A Royal Canadian Air Force CF-18 Hornet on the flightline Kuwait. Source: Canadian Department of National Defence
http://www.janes.com/article/76349/canada-to-launch-future-fighter-competition-acquire-australian-hornets
Canada opts out of Super Hornet buy
Canada will not be pursuing the Boeing F/A-18E/F Super Hornet to replace its F/A-18 (CF-18/CF-188) Hornet fleet, seen here on exercise in Romania. Source: NATO/Caporal Jean-Roch Chabot
http://www.janes.com/article/76327/canada-opts-out-of-super-hornet-buy
บริษัท Boeing สหรัฐฯจะไม่มีแผนขายการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F/A-18E/F Super Hornet 18เครื่องให้แคนาดา(http://aagth1.blogspot.com/2017/09/fa-18ef-super-hornet.html) ตามที่บริษัทประกาศเมื่อ 8 ธันวาคมเป็นผ่านมา
เป็นการส่งสัญญาณถึงความเสียหายที่สำคัญจากการพิพาทระหว่างตัวแทนของรัฐบาลและอุตสาหกรรมการบินที่เกี่ยวข้องของทั้งสองประเทศ
แทนที่การจัดหาเครื่องบินขับไล่ Super Hornet ที่สร้างใหม่ ตามที่มีการอนุมัติการขายในเดือนกันยายนที่ผ่านมารัฐบาลแคนานดาจะจัดหาเครื่องบินขับไล่ F/A-18A/B Hornet มือสองจากกองทัพอากาศออสเตรเลียมา(RAAF: Royal Australian Air Force) ใช้คั่นระยะชั่วคราว
ขณะที่การปฏิบัติการ Hornet ต่อไปของแคนาดาจะไม่มีความหมายทางลบสำหรับ Boeing มันได้ถึงเวลาที่รัฐบาลแคนาดาและรัฐบาลสหรัฐฯได้เข้ามามีส่วนร่วมในข้อพิพาทระหว่างบริษัท Bombardier แคนาดา Boeing ในประเด็นการขายอากาศยานพลเรือน
บริษัท Bombardier ได้ถูกสอบสวนทางการค้าจากหน่วยงานสหรัฐฯ ตามที่บริษัท Boeing ได้ยื่นฟ้องโดยอ้างว่าการขายเครื่องบินโดยสารตระกูล C-Series ให้สายการบิน Delta สหรัฐฯในปี 2016 นั้นไม่มีความเป็นธรรม
โดย Bombardier ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลท้องถิ่น Quebec แคนาดา ในการสร้างเครื่องบินโดยสารในแบบต่อต้านการแข่งขันเนื่องจากเครื่องมีราคาที่ถูกมาก จน Boeing แข่งราคาสู้ไม่ได้
รัฐบาลแคนาดาได้ยืนหนุนหลังบริษัทอากาศยานของตน เช่นเดียวกับที่รัฐบาลสหราชอาณาจักรได้ให้ Bombardier ทำการผลิตชิ้นส่วนอากาศยานในโรงงานที่ Northern Ireland
และมันถูกเผยแพร่เป็นอย่างดีว่าการสอบสวนนี้น่าจะมีผลทางลบกับข้อเสนอโครงการจัดหากลาโหมในอนาคตระหว่างแคนาดาและสหรัฐฯ รวมถึงการขาย Super Hornet
อย่างไรก็ตาม Boeing ที่อยู่เบื้องหลังการอ้างนี้ได้แสดงความมีน้ำใจตอบสนองต่อข่าวล่าสุดนี้อย่างสุภาพ
"บริษัท Boeing เคารพการตัดสินใจของรัฐบาลแคนาดา และปรบมือให้แคนาดายังคงทางเลือกใช้เครื่องบินขับไล่สองเครื่องยนต์ต่อไป ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการป้องกันพรมแดน Artic ตอนเหนือของพวกเขา
ความร่วมมือกับกองบัญชาการป้องกันภัยห้วงอากาศอเมริกาเหนือ (NORAD:North American Aerospace Defense Command) และการรักษาความปลอดภัยรอบชายฝั่ง
แม้ว่าเราจะไม่มีโอกาสที่จะเติบโตฐานอุปทานของเรา หุ้นส่วนอุตสาหกรรมและงานในแคนาดาเป็นทางที่เราจะมอบให้ถ้าแคนาดาจัดซื้อ Super Hornet ใหม่ เราจะยังคงดำเนินการมองหาแนวทางประสิทธิผลในการทำงานร่วมกันต่อไปในอนาคต" Boeing แถลงตอบการตัดสินใจที่แคนาดาจะจัดหาเครื่องบินขับไล่ Hornet มือสองมาใช้ต่อ
เมื่อวันที่ 12 ธันวาคมที่ผ่านมา รัฐบาลแคนาดาจะเริ่มโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ในอนาคตอย่างเป็นทางการเพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ Boeing CF-18 (F/A-18) Hornet กองทัพอากาศแคนาดา(RCAF: Royal Canadian Air Force)
เจ้าหน้าที่กลาโหมระดับสูงกล่าวว่าแคนาดาจะเริ่มการแข่งขันเพื่อคัดเลือกการจัดหาเครื่องขับไล่ขั้นก้าวหน้าใหม่จำนวน 88เครื่องวงเงินมากว่า C$19 billion
การประชุมพิจารณาร่วมกับภาคอุตสาหกรรมจะเริ่มในเดือนมกราคม 2018 การยื่นเอกสารแสดงความสนใจ(expressions of interest)อย่างเป็นทางการจะมีในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2018
เอกสารขอข้อเสนอ(request for proposal)อย่างเป็นทางการคาดว่าจะมีในช่วงกลางปี 2019 และการคัดเลือกแบบจะมีตามมาในช่วงต้นปี 2022 เครื่องบินขับไล่ใหม่คาดว่าจะส่งมอบได้ในปี 2025 ตามทีททางการแคนาดากล่าว
ข้อเสนอจากภาคอุตสาหกรรมจะต้องได้รับการประเมินจากพื้นฐานความต้องการทางเทคนิคและมูลค่า และต้องเป็นไปตามนโยบายทางผลประโยชน์ด้านอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีของแคนาดา
ที่จะมอบการเพิ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจต่อแคนาดาผ่านผู้เข้าแข่งขันที่จะลงทุนกับภาคอุตสาหกรรมท้องถิ่นของแคนาดา
มากกว่านั้น กองบริการสาธารณะและการจัดซื้อจัดจ้างแคนาดา(PSPC: Public Services and Procurement Canada) กล่าวว่าจะมีการประเมินการดำเนินธุรกิจของผู้เข้าแข่งขันในโครงการ
"ผู้เข้าแข่งขันใดๆที่ต้องรับผิดชอบสำหรับความเสี่ยงต่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของแคนาดาจะต้ออยู่ในข้อเสียเปรียบที่ชัดเจน" PSPC กล่าว
รัฐมนตรีกองบริการสาธารณะและการจัดซื้อจัดจ้างแคนาดา Carla Qualtrough กล่าวว่า "การประเมินนี้จะมีขึ้นในช่วงการยื่นเข้าแข่งขัน" และนโยบายดังกล่าวควจะะถูกนำมาใช้กับโครงการจัดหาในอนาคต
ขณะที่ขั้นตอนการคัดเลือกการเปลี่ยนแบบเครื่องบินขับไล่ใหม่โดยถาวรกำลังดำเนินไป รัฐบลแคนาดาจะจัดหาเครื่องบินขับไล่ F/A-18A/B มือสอง 18เครื่องพร้อมอะไหล่สนับสนุนจากออสเตรเลียเพื่อเสริมฝูงบินเครื่องขับไล่ CF-18 ที่มีอยู่(http://aagth1.blogspot.com/2017/10/gripen-ef-fa-18ab.html)
ตามที่แผนการจัดหา F/A-18E/F Super Hornet ใหม่จาก Boeing สหรัฐฯถูกล้มเลิกเนื่องจากข้อพิพาททางการค้าระหว่าง Boeing และ Bombardier แคนาดาในข้างต้น
การเสริมเครื่องบินขับไล่ Hornet ออสเตรเลียที่เป็นรุ่นและมีอายุการใช้งานที่ใกล้เคียงกับเครื่องของแคนาดา จะช่วยให้กองทัพอากาศแคนาดายังคงปฏิบัติการตามพันธกรณีของตนต่อ NATO และ NORAD ได้ครับ
A Royal Canadian Air Force CF-18 Hornet on the flightline Kuwait. Source: Canadian Department of National Defence
http://www.janes.com/article/76349/canada-to-launch-future-fighter-competition-acquire-australian-hornets
Canada opts out of Super Hornet buy
Canada will not be pursuing the Boeing F/A-18E/F Super Hornet to replace its F/A-18 (CF-18/CF-188) Hornet fleet, seen here on exercise in Romania. Source: NATO/Caporal Jean-Roch Chabot
http://www.janes.com/article/76327/canada-opts-out-of-super-hornet-buy
บริษัท Boeing สหรัฐฯจะไม่มีแผนขายการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F/A-18E/F Super Hornet 18เครื่องให้แคนาดา(http://aagth1.blogspot.com/2017/09/fa-18ef-super-hornet.html) ตามที่บริษัทประกาศเมื่อ 8 ธันวาคมเป็นผ่านมา
เป็นการส่งสัญญาณถึงความเสียหายที่สำคัญจากการพิพาทระหว่างตัวแทนของรัฐบาลและอุตสาหกรรมการบินที่เกี่ยวข้องของทั้งสองประเทศ
แทนที่การจัดหาเครื่องบินขับไล่ Super Hornet ที่สร้างใหม่ ตามที่มีการอนุมัติการขายในเดือนกันยายนที่ผ่านมารัฐบาลแคนานดาจะจัดหาเครื่องบินขับไล่ F/A-18A/B Hornet มือสองจากกองทัพอากาศออสเตรเลียมา(RAAF: Royal Australian Air Force) ใช้คั่นระยะชั่วคราว
ขณะที่การปฏิบัติการ Hornet ต่อไปของแคนาดาจะไม่มีความหมายทางลบสำหรับ Boeing มันได้ถึงเวลาที่รัฐบาลแคนาดาและรัฐบาลสหรัฐฯได้เข้ามามีส่วนร่วมในข้อพิพาทระหว่างบริษัท Bombardier แคนาดา Boeing ในประเด็นการขายอากาศยานพลเรือน
บริษัท Bombardier ได้ถูกสอบสวนทางการค้าจากหน่วยงานสหรัฐฯ ตามที่บริษัท Boeing ได้ยื่นฟ้องโดยอ้างว่าการขายเครื่องบินโดยสารตระกูล C-Series ให้สายการบิน Delta สหรัฐฯในปี 2016 นั้นไม่มีความเป็นธรรม
โดย Bombardier ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลท้องถิ่น Quebec แคนาดา ในการสร้างเครื่องบินโดยสารในแบบต่อต้านการแข่งขันเนื่องจากเครื่องมีราคาที่ถูกมาก จน Boeing แข่งราคาสู้ไม่ได้
รัฐบาลแคนาดาได้ยืนหนุนหลังบริษัทอากาศยานของตน เช่นเดียวกับที่รัฐบาลสหราชอาณาจักรได้ให้ Bombardier ทำการผลิตชิ้นส่วนอากาศยานในโรงงานที่ Northern Ireland
และมันถูกเผยแพร่เป็นอย่างดีว่าการสอบสวนนี้น่าจะมีผลทางลบกับข้อเสนอโครงการจัดหากลาโหมในอนาคตระหว่างแคนาดาและสหรัฐฯ รวมถึงการขาย Super Hornet
อย่างไรก็ตาม Boeing ที่อยู่เบื้องหลังการอ้างนี้ได้แสดงความมีน้ำใจตอบสนองต่อข่าวล่าสุดนี้อย่างสุภาพ
"บริษัท Boeing เคารพการตัดสินใจของรัฐบาลแคนาดา และปรบมือให้แคนาดายังคงทางเลือกใช้เครื่องบินขับไล่สองเครื่องยนต์ต่อไป ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการป้องกันพรมแดน Artic ตอนเหนือของพวกเขา
ความร่วมมือกับกองบัญชาการป้องกันภัยห้วงอากาศอเมริกาเหนือ (NORAD:North American Aerospace Defense Command) และการรักษาความปลอดภัยรอบชายฝั่ง
แม้ว่าเราจะไม่มีโอกาสที่จะเติบโตฐานอุปทานของเรา หุ้นส่วนอุตสาหกรรมและงานในแคนาดาเป็นทางที่เราจะมอบให้ถ้าแคนาดาจัดซื้อ Super Hornet ใหม่ เราจะยังคงดำเนินการมองหาแนวทางประสิทธิผลในการทำงานร่วมกันต่อไปในอนาคต" Boeing แถลงตอบการตัดสินใจที่แคนาดาจะจัดหาเครื่องบินขับไล่ Hornet มือสองมาใช้ต่อ
เมื่อวันที่ 12 ธันวาคมที่ผ่านมา รัฐบาลแคนาดาจะเริ่มโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ในอนาคตอย่างเป็นทางการเพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ Boeing CF-18 (F/A-18) Hornet กองทัพอากาศแคนาดา(RCAF: Royal Canadian Air Force)
เจ้าหน้าที่กลาโหมระดับสูงกล่าวว่าแคนาดาจะเริ่มการแข่งขันเพื่อคัดเลือกการจัดหาเครื่องขับไล่ขั้นก้าวหน้าใหม่จำนวน 88เครื่องวงเงินมากว่า C$19 billion
การประชุมพิจารณาร่วมกับภาคอุตสาหกรรมจะเริ่มในเดือนมกราคม 2018 การยื่นเอกสารแสดงความสนใจ(expressions of interest)อย่างเป็นทางการจะมีในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2018
เอกสารขอข้อเสนอ(request for proposal)อย่างเป็นทางการคาดว่าจะมีในช่วงกลางปี 2019 และการคัดเลือกแบบจะมีตามมาในช่วงต้นปี 2022 เครื่องบินขับไล่ใหม่คาดว่าจะส่งมอบได้ในปี 2025 ตามทีททางการแคนาดากล่าว
ข้อเสนอจากภาคอุตสาหกรรมจะต้องได้รับการประเมินจากพื้นฐานความต้องการทางเทคนิคและมูลค่า และต้องเป็นไปตามนโยบายทางผลประโยชน์ด้านอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีของแคนาดา
ที่จะมอบการเพิ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจต่อแคนาดาผ่านผู้เข้าแข่งขันที่จะลงทุนกับภาคอุตสาหกรรมท้องถิ่นของแคนาดา
มากกว่านั้น กองบริการสาธารณะและการจัดซื้อจัดจ้างแคนาดา(PSPC: Public Services and Procurement Canada) กล่าวว่าจะมีการประเมินการดำเนินธุรกิจของผู้เข้าแข่งขันในโครงการ
"ผู้เข้าแข่งขันใดๆที่ต้องรับผิดชอบสำหรับความเสี่ยงต่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของแคนาดาจะต้ออยู่ในข้อเสียเปรียบที่ชัดเจน" PSPC กล่าว
รัฐมนตรีกองบริการสาธารณะและการจัดซื้อจัดจ้างแคนาดา Carla Qualtrough กล่าวว่า "การประเมินนี้จะมีขึ้นในช่วงการยื่นเข้าแข่งขัน" และนโยบายดังกล่าวควจะะถูกนำมาใช้กับโครงการจัดหาในอนาคต
ขณะที่ขั้นตอนการคัดเลือกการเปลี่ยนแบบเครื่องบินขับไล่ใหม่โดยถาวรกำลังดำเนินไป รัฐบลแคนาดาจะจัดหาเครื่องบินขับไล่ F/A-18A/B มือสอง 18เครื่องพร้อมอะไหล่สนับสนุนจากออสเตรเลียเพื่อเสริมฝูงบินเครื่องขับไล่ CF-18 ที่มีอยู่(http://aagth1.blogspot.com/2017/10/gripen-ef-fa-18ab.html)
ตามที่แผนการจัดหา F/A-18E/F Super Hornet ใหม่จาก Boeing สหรัฐฯถูกล้มเลิกเนื่องจากข้อพิพาททางการค้าระหว่าง Boeing และ Bombardier แคนาดาในข้างต้น
การเสริมเครื่องบินขับไล่ Hornet ออสเตรเลียที่เป็นรุ่นและมีอายุการใช้งานที่ใกล้เคียงกับเครื่องของแคนาดา จะช่วยให้กองทัพอากาศแคนาดายังคงปฏิบัติการตามพันธกรณีของตนต่อ NATO และ NORAD ได้ครับ
วันอาทิตย์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2560
เปิดเผยรายละเอียดระบบของรถถังหลัก T-90MS รัสเซีย
T-90MS details emerge
The T-90MS builds on the T-90 and advanced models of the T-72B3 obr. 2016. Source: Rosboronexport
http://www.janes.com/article/76369/t-90ms-details-emerge
Jane's ได้ทราบรายละเอียดของระบบจัดการภารกิจที่ติดตั้งในรถถังหลัก T-90MS รัสเซียที่ประกอบด้วย ระบบควบคุมการยิง(FCS: Fire Control System), กล้องเล็งและกล้องตรวจการณ์ และระบบป้องกันตัวรถ
ส่วนประกอบของระบบควบคุมการยิง Kalina FCS ซึ่งใช้เชื่อมโยงกับระบบอาวุธของ T-90MS คือ ปืนใหญ่รถถังลำกล้องเรียบ 2A46M-5 ขนาด 125mm และป้อมปืน Remote Operated Weapon Station(Remotely Operated Weapon Station) แบบ UDP T05BV-1 สำหรับปืนกล 7.62mm
ประกอบด้วยระบบพิสูจน์ฝ่าย(IFF: Identification Friend or Foe) แบบ Remeshok, ระบบควบคุมปืน รักษาการทรงตัว และกล้อง electro-optical
ภายในระบบควบคุมการยิง การส่งข้อมูลระหว่างระหว่างอุปกรณ์ประกอบที่แตกต่างกันจะดำเนินการผ่านช่องสัญญาณข้อมูล MKIO multiplex data channel
Kalina FCS เชื่อมโยงกับกล้องเล็งพลยิง multichannel แบบ Sosna-U และกล้องเล็งผู้บังคับการรถ panoramic แบบ Falcon Eye รวมถึงยังติดตั้งกล้องตรวจการณ์โดยตรงสำรองไว้
กล้องเล็ง Sosna-U สามารถใช้ช่องสัญญาณ Laser เพื่อนำวิถีอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง รวมทั้งยังมีกำลังขยาย 4x และ 12x และระบบรักษาการทรงตัวแบบสองแกน
กล้องเล็งตรวจการณ์ Falcon Eye มีระบบรักษาการทรงตัวเช่นเดียวกัน และมีคุณบับัติทำงาได้ทั้งกลางวันและกลางคืน
ทั้งกล้อง Sosna-U และกล้อง Falcon Eye สามารถใช้ Laser วัดระยะได้ที่ระยะ 7,500m และสามารถพิสูจน์ทราบเป้าหมายรถถังในสภาพแสงกลางวันที่ 5,000m และที่ 3,000m ในสภาพแสงแย่
Jane's ได้ทราบว่าระบบ Laser วัดระยะที่ใช้กับกล้องเล็งทั้งสองแบบนั้นประกอบด้วย matrix ต่างประเทศที่ไม่ทราบที่มาต้นกำเนิด
ระบบกล้องเล็งทำงานควบคู่กับ Computer ควบคุมการยิง 1V528-2 ประกอบด้วยข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยาจากเสาเครื่องตรวจวัดลมและอุณหภูมิบนหลังคาป้อมปืน และเครื่องตรวจวัดความดันบรรยากาศภายในและอุณหภูมิกระสุน
นอกจากนี้ Computer ยังใช้ข้อมูลจากระบบ Computer การเลือกชนิดกระสุนแบบ 1V216-2 เพื่อให้สามารถใช้ข้อมูลจากกระสุนแบบต่างๆทำงานร่วม Computer ควบคุมการยิง 1V528-2 ได้
ข้อมูลทั้งหมดจะจัดแสดงและเปลี่ยนแปลงผลผ่านทางแป้นส่วนติดต่อแบบ BV1-2 ซึ่งอนุญาตให้ ผบ.รถ สามารถเปลี่ยนแปลงการนำข้อมูลเข้าระบบได้ด้วยมือถ้าต้องการ เช่นเดียวกับการปฏิบัติการกับระบบตรวจการและชี้เป้าหมายที่แตกต่างกันรวมถึงกล้อง Panoramic ป้อมปืน Remote
นอกจากนี้ระบบควบคุมการยิง Kalina ยังเป็นระบบแบบแรกของรัสเซียที่ทำงานกับระบบตรวจการณ์ภายนอกแบบบูรณาการด้วย
ระบบป้องกันตัวของ T-90MS ยังประกอบไปด้วยเกราะปฏิกิริยาแรงระเบิด(ERA: Explosive Reactive Armour) แบบ Relikt รุ่นใหม่ที่ติดตั้งกับรถถังหลัก T-90AM และ T-72B3 obr.2016 รุ่นปรับปรุงใหม่ของกองทัพรัสเซีย
โดยเกราะ Relikt ERA สามารถป้องกันหัวรบแบบสองชั้น(Tandem) และลดอำนาจการเจาะเกราะของกระสุนเจาะเกราะสลัดครอบแบบมีครีบทรงตัว(APFSDS: Armour-Piercing Fin-Stabilised Discarding Sabot) ครับ
The T-90MS builds on the T-90 and advanced models of the T-72B3 obr. 2016. Source: Rosboronexport
http://www.janes.com/article/76369/t-90ms-details-emerge
Jane's ได้ทราบรายละเอียดของระบบจัดการภารกิจที่ติดตั้งในรถถังหลัก T-90MS รัสเซียที่ประกอบด้วย ระบบควบคุมการยิง(FCS: Fire Control System), กล้องเล็งและกล้องตรวจการณ์ และระบบป้องกันตัวรถ
ส่วนประกอบของระบบควบคุมการยิง Kalina FCS ซึ่งใช้เชื่อมโยงกับระบบอาวุธของ T-90MS คือ ปืนใหญ่รถถังลำกล้องเรียบ 2A46M-5 ขนาด 125mm และป้อมปืน Remote Operated Weapon Station(Remotely Operated Weapon Station) แบบ UDP T05BV-1 สำหรับปืนกล 7.62mm
ประกอบด้วยระบบพิสูจน์ฝ่าย(IFF: Identification Friend or Foe) แบบ Remeshok, ระบบควบคุมปืน รักษาการทรงตัว และกล้อง electro-optical
ภายในระบบควบคุมการยิง การส่งข้อมูลระหว่างระหว่างอุปกรณ์ประกอบที่แตกต่างกันจะดำเนินการผ่านช่องสัญญาณข้อมูล MKIO multiplex data channel
Kalina FCS เชื่อมโยงกับกล้องเล็งพลยิง multichannel แบบ Sosna-U และกล้องเล็งผู้บังคับการรถ panoramic แบบ Falcon Eye รวมถึงยังติดตั้งกล้องตรวจการณ์โดยตรงสำรองไว้
กล้องเล็ง Sosna-U สามารถใช้ช่องสัญญาณ Laser เพื่อนำวิถีอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง รวมทั้งยังมีกำลังขยาย 4x และ 12x และระบบรักษาการทรงตัวแบบสองแกน
กล้องเล็งตรวจการณ์ Falcon Eye มีระบบรักษาการทรงตัวเช่นเดียวกัน และมีคุณบับัติทำงาได้ทั้งกลางวันและกลางคืน
ทั้งกล้อง Sosna-U และกล้อง Falcon Eye สามารถใช้ Laser วัดระยะได้ที่ระยะ 7,500m และสามารถพิสูจน์ทราบเป้าหมายรถถังในสภาพแสงกลางวันที่ 5,000m และที่ 3,000m ในสภาพแสงแย่
Jane's ได้ทราบว่าระบบ Laser วัดระยะที่ใช้กับกล้องเล็งทั้งสองแบบนั้นประกอบด้วย matrix ต่างประเทศที่ไม่ทราบที่มาต้นกำเนิด
ระบบกล้องเล็งทำงานควบคู่กับ Computer ควบคุมการยิง 1V528-2 ประกอบด้วยข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยาจากเสาเครื่องตรวจวัดลมและอุณหภูมิบนหลังคาป้อมปืน และเครื่องตรวจวัดความดันบรรยากาศภายในและอุณหภูมิกระสุน
นอกจากนี้ Computer ยังใช้ข้อมูลจากระบบ Computer การเลือกชนิดกระสุนแบบ 1V216-2 เพื่อให้สามารถใช้ข้อมูลจากกระสุนแบบต่างๆทำงานร่วม Computer ควบคุมการยิง 1V528-2 ได้
ข้อมูลทั้งหมดจะจัดแสดงและเปลี่ยนแปลงผลผ่านทางแป้นส่วนติดต่อแบบ BV1-2 ซึ่งอนุญาตให้ ผบ.รถ สามารถเปลี่ยนแปลงการนำข้อมูลเข้าระบบได้ด้วยมือถ้าต้องการ เช่นเดียวกับการปฏิบัติการกับระบบตรวจการและชี้เป้าหมายที่แตกต่างกันรวมถึงกล้อง Panoramic ป้อมปืน Remote
นอกจากนี้ระบบควบคุมการยิง Kalina ยังเป็นระบบแบบแรกของรัสเซียที่ทำงานกับระบบตรวจการณ์ภายนอกแบบบูรณาการด้วย
ระบบป้องกันตัวของ T-90MS ยังประกอบไปด้วยเกราะปฏิกิริยาแรงระเบิด(ERA: Explosive Reactive Armour) แบบ Relikt รุ่นใหม่ที่ติดตั้งกับรถถังหลัก T-90AM และ T-72B3 obr.2016 รุ่นปรับปรุงใหม่ของกองทัพรัสเซีย
โดยเกราะ Relikt ERA สามารถป้องกันหัวรบแบบสองชั้น(Tandem) และลดอำนาจการเจาะเกราะของกระสุนเจาะเกราะสลัดครอบแบบมีครีบทรงตัว(APFSDS: Armour-Piercing Fin-Stabilised Discarding Sabot) ครับ
วันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2560
กองทัพอากาศพม่าประจำการเครื่องบินฝึกไอพ่น Yak-130 เครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล ATR 42 MPA และเครื่องบินลำเลียง Fokker 70
70th Anniversary of Myanmar Air Force, Senior General Min Aung Hlaing commander-in-chief of the Myanmar Armed Forces was attended Commissioned Ceremony of
6 Yakolev Yak-130 advanced jet trainer, 2 ATR 42 MPA(Maritime Patrol Aircraft) and 2 Fokker 70 regional airliner transport, 15 December 2017.
https://www.facebook.com/seniorgeneralminaunghlaing/posts/1804782859556194
วันที่ 15 ธันวาคมที่ผ่านมา ณ ฐานทัพอากาศ Meiktila ซึ่งเป็นวันครบรอบการก่อตั้งกองทัพอากาศพม่า(Tatmadaw Lay) ครบรอบปีที่70
พลเอกอาวุโส(Senior General) Min Aung Hlaing ผู้บัญชาการสูงสุดกองทัพพม่าได้เป็นประธานในพิธีรับมอบอากาศยานใหม่เข้าประจำการในกองทัพอากาศพม่า(Myanmar Air Force)
ประกอบด้วยเครื่องบินฝึกไอพ่นสองที่นั่ง Yakolev Yak-130 จำนวน 6เครื่อง, เครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล ATR 42 MPA จำนวน 2เครื่อง และเครื่องบินลำเลียง Fokker 70 จำนวน 2เครื่อง
กองทัพอากาศพม่าได้ลงนามสัญญาจัดหาเครื่องบินฝึกรบไอพ่นขั้นก้าวหน้า Yak-130 6เครื่องจาก ROSOBORONEXPORT รัฐวืสาหกิจด้านการส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ของรัสเซียในปี 2015
โดยเครื่องชุดแรก 6เครื่องได้มีการส่งมอบในช่วงปี 2017 นี้แล้วตามที่ได้รายงานไป(http://aagth1.blogspot.com/2017/02/yak-130.html, http://aagth1.blogspot.com/2017/11/t-90s-yak-130-6.html)
ซึ่งกองทัพอากาศพม่าได้ลงนามสัญญาจัดหา Yak-130 เพิ่มเติมอีก 6เครื่องในปี 2016 โดยมีเครื่องหมายเลข 07 ที่ทำการบินทดสอบแล้ว คาดว่าจะเริ่มส่งมอบได้ในปี 2018 จนครบ 12เครื่อง
ทั้งนี้กองทัพอากาศพม่ายังได้แสดงเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล ATR 42 MPA ที่ดัดแปลงจากเครื่องบินลำเลียงสองเครื่องยนต์ใบพัดแบบ ART 72-320 ฝรั่งเศส/อิตาลี
ATR 42 MPA ได้ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจการณ์จากบริษัท Israel Aerospace Industries อิสราเอล เช่น Radar ตรวจการณ์พื้นน้ำของ Elta Systems
รวมถึงได้มีการแสดงเครื่องบินลำเลียงสองเครื่องยนต์ไอพ่น Fokker 70 เนเธอร์แลนด์ ที่เป็นเครื่องบินโดยสารสำหรับบุคคลสำคัญ VIP ใหม่ของกองทัพอากาศพม่าครับ
วันศุกร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2560
เครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon สำหรับคูเวตเข้าสู่สายการผลิตแล้ว
Production started for the Eurofighter Typhoon for the State of Kuwait
With the innovative Captor-E E-Scan radar and several new additions to the weapon system, the aircraft will put the Kuwait Air Force at the front-line of the fighter technology when the aircraft enters into service.
https://www.eurofighter.com/news-and-events/2017/12/production-started-for-the-eurofighter-typhoon-for-the-state-of-kuwait
ตามการลงนามสัญญาจัดหาของรัฐคูเวต กับบริษัท Leonardo อิตาลีและกลุ่มบริษัทหุ้นส่วนของ Eurofighter อื่นๆในปี 2016 สายการผลิตของเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon จำนวน 28เครื่องสำหรับกองทัพอากาศคูเวต(Kuwait Air Force)ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว
ที่จะเป็นเครื่องบินขับไล่ Typhoon รุ่นที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดที่เคยสร้างมา ด้วยชุดขีดความสามารถที่จะสร้างขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพจากโครงการขยายขีดความสามารถที่มีอยู่ในปัจจุบัน
ด้วยนวัตกรรม Radar AESA(Active Electronically Scanned Array Radar) แบบ Captor-E และระบบอาวุธเพิ่มเติมอีกหลายรายการ เครื่องขับไล่ Typhoon จะผลักดันให้กองทัพอากาศคูเวตอยู่ในแถวหน้าของวิทยาการเครื่องบินขับไล่ เมื่อเครื่องได้เข้าประจำการ
งานการผลิตได้เริ่มต้นขึ้นในคำสั่งเพื่อสอดคล้องกับสัญญาและความคาดหมายของลูกค้า การจัดหาสิ่งอุปกรณ์ในระยะยาวได้มีการดำเนินการในทันที และห่วงโซ่อุปทานได้มีการรวบรวมขึ้นมาแล้ว
Giancarlo Mezzanatto รองประธานหน่วยโครงการ Eurofighter ของแผนกอากาศยานบริษัท Leonardo กล่าวว่า "งานการผลิตได้เริ่มต้นในครึ่งหลังปี 2016 และกำลังอยู่ในสายกับแผนพื้นฐาน และในบางกรณีได้เดินหน้าตามกำหนดการ
พื้นผิวปีกเครื่องของปีกด้านซ้ายที่สร้างโดย Leonardo อิตาลี และปีกด้านขวาที่สร้างโดย Airbus Defence & Space สเปน ปีกชุดแรกได้เสร็จพร้อมแล้ว และขั้นตอนการประกอบจะเริ่มต้นก่อนสิ้นปี2017"
"ส่วนลำตัวเครื่องด้านท้ายแรกกำลังเข้าสู่การเริ่มในขั้นตอนการประกอบระยะที่2 ที่ Leonardo ในต้นปี 2018 ขณะที่การประกอบระยะที่1 ได้ดำเนินการแล้วที่ BAE Systems สหราชอาณาจักร สำหรับ 5เครื่องแรก
ลำตัวเครื่องด้านกลางดำเนินการสร้างโดย Airbus Defence & Space เยอรมนี ที่จะเริ่มต้นครึ่งแรกปี 2018 ได้พร้อมที่จะดำเนินในขั้นการเตรียมการประกอบตามแผน" Mezzanatto กล่าว
แบบจำลองย่อส่วน และภาพวาดประกอบบนกำแพงได้แสดงว่า Eurofighter Typhoon มีขีดความสามารถในการจัดการกับสถานการณ์ที่หลายหลายรูปแบบพร้อมกันได้อย่างไร
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของส่วนจัดแสดงของ Eurofighter-Leonardo ในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Gulf Defence & Aerospace 2017(GDA 2017) ที่ Kuwait City ระหว่างวันที่ 12-14 ธันวาคมที่ผ่านมา
"ชุดขีดความสามารถสำหรับคูเวตจะร่วมการบูรณาการอาวุธปล่อยนำวิถีร่อน Storm Shadow, อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น Brimstone และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นแบบอื่นๆ
คุณสมบัติเหล่านี้เสริมสร้างคุณลักษณะพหุบทบาทของเครื่องขยายระบบอาวุธในบทบาท ซึ่ง Typhoon ทำได้อย่างยอดเยี่ยมตั้งแต่ปี 2011 ในปฏิบัติการที่ลิเบีย จนถึงที่ซีเรียและอิรักในตอนนี้" Mezzanatto กล่าว
"การปรับแต่งนี้เล็งเห็นถึงการบูรณาของกระเปาะชี้เป้าหมาย Laser ขั้นก้าวหน้าใหม่(Lockheed Martin Sniper สหรัฐฯ) ที่จะขยายแบบกระเปาะชี้เป้าที่ Typhoon รองรับ,
การนำกระเปาะฝึกการรบ DRS-Cubic ACMI P5 มาใช้, การเพิ่มขีดความสามารถระบบช่วยนำร่อง(VOR) และ radar CAPTOR-E พร้อมสายอากาศแบบ repositioner" Mezzanatto กล่าว
การจัดตั้งโครงสร้างพื้นฐานในคูเวตเพื่อสนับสนุนปฏิบัติการของ Typhoon กำลังอยู่ในขั้นการดำเนินการตามแผน รายละเอียดการออกแบบได้เสร็จสิ้นพร้อมกับการสรุปผลชุดข้อมูลทั้งหมด โดยการก่อสร้างได้เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2017 แล้ว
ทั้งนี้กองทัพอากาศคูเวตจะเริ่มได้รับมอบเครื่องบินขับไล่ Typhoon รุ่นที่นั่งเดี่ยว 22เครื่อง และรุ่นสองที่นั่ง 6เครื่องในปี 2019 โดยปัจจุบันคูเวตมีเครื่องบินขับไล่ Boeing F/A-18C/D อยู่ 34เครื่องซึ่งประจำการมาตั้งแต่ปี 1991-1993 ครับ
With the innovative Captor-E E-Scan radar and several new additions to the weapon system, the aircraft will put the Kuwait Air Force at the front-line of the fighter technology when the aircraft enters into service.
https://www.eurofighter.com/news-and-events/2017/12/production-started-for-the-eurofighter-typhoon-for-the-state-of-kuwait
ตามการลงนามสัญญาจัดหาของรัฐคูเวต กับบริษัท Leonardo อิตาลีและกลุ่มบริษัทหุ้นส่วนของ Eurofighter อื่นๆในปี 2016 สายการผลิตของเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon จำนวน 28เครื่องสำหรับกองทัพอากาศคูเวต(Kuwait Air Force)ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว
ที่จะเป็นเครื่องบินขับไล่ Typhoon รุ่นที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดที่เคยสร้างมา ด้วยชุดขีดความสามารถที่จะสร้างขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพจากโครงการขยายขีดความสามารถที่มีอยู่ในปัจจุบัน
ด้วยนวัตกรรม Radar AESA(Active Electronically Scanned Array Radar) แบบ Captor-E และระบบอาวุธเพิ่มเติมอีกหลายรายการ เครื่องขับไล่ Typhoon จะผลักดันให้กองทัพอากาศคูเวตอยู่ในแถวหน้าของวิทยาการเครื่องบินขับไล่ เมื่อเครื่องได้เข้าประจำการ
งานการผลิตได้เริ่มต้นขึ้นในคำสั่งเพื่อสอดคล้องกับสัญญาและความคาดหมายของลูกค้า การจัดหาสิ่งอุปกรณ์ในระยะยาวได้มีการดำเนินการในทันที และห่วงโซ่อุปทานได้มีการรวบรวมขึ้นมาแล้ว
Giancarlo Mezzanatto รองประธานหน่วยโครงการ Eurofighter ของแผนกอากาศยานบริษัท Leonardo กล่าวว่า "งานการผลิตได้เริ่มต้นในครึ่งหลังปี 2016 และกำลังอยู่ในสายกับแผนพื้นฐาน และในบางกรณีได้เดินหน้าตามกำหนดการ
พื้นผิวปีกเครื่องของปีกด้านซ้ายที่สร้างโดย Leonardo อิตาลี และปีกด้านขวาที่สร้างโดย Airbus Defence & Space สเปน ปีกชุดแรกได้เสร็จพร้อมแล้ว และขั้นตอนการประกอบจะเริ่มต้นก่อนสิ้นปี2017"
"ส่วนลำตัวเครื่องด้านท้ายแรกกำลังเข้าสู่การเริ่มในขั้นตอนการประกอบระยะที่2 ที่ Leonardo ในต้นปี 2018 ขณะที่การประกอบระยะที่1 ได้ดำเนินการแล้วที่ BAE Systems สหราชอาณาจักร สำหรับ 5เครื่องแรก
ลำตัวเครื่องด้านกลางดำเนินการสร้างโดย Airbus Defence & Space เยอรมนี ที่จะเริ่มต้นครึ่งแรกปี 2018 ได้พร้อมที่จะดำเนินในขั้นการเตรียมการประกอบตามแผน" Mezzanatto กล่าว
แบบจำลองย่อส่วน และภาพวาดประกอบบนกำแพงได้แสดงว่า Eurofighter Typhoon มีขีดความสามารถในการจัดการกับสถานการณ์ที่หลายหลายรูปแบบพร้อมกันได้อย่างไร
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของส่วนจัดแสดงของ Eurofighter-Leonardo ในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Gulf Defence & Aerospace 2017(GDA 2017) ที่ Kuwait City ระหว่างวันที่ 12-14 ธันวาคมที่ผ่านมา
"ชุดขีดความสามารถสำหรับคูเวตจะร่วมการบูรณาการอาวุธปล่อยนำวิถีร่อน Storm Shadow, อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น Brimstone และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นแบบอื่นๆ
คุณสมบัติเหล่านี้เสริมสร้างคุณลักษณะพหุบทบาทของเครื่องขยายระบบอาวุธในบทบาท ซึ่ง Typhoon ทำได้อย่างยอดเยี่ยมตั้งแต่ปี 2011 ในปฏิบัติการที่ลิเบีย จนถึงที่ซีเรียและอิรักในตอนนี้" Mezzanatto กล่าว
"การปรับแต่งนี้เล็งเห็นถึงการบูรณาของกระเปาะชี้เป้าหมาย Laser ขั้นก้าวหน้าใหม่(Lockheed Martin Sniper สหรัฐฯ) ที่จะขยายแบบกระเปาะชี้เป้าที่ Typhoon รองรับ,
การนำกระเปาะฝึกการรบ DRS-Cubic ACMI P5 มาใช้, การเพิ่มขีดความสามารถระบบช่วยนำร่อง(VOR) และ radar CAPTOR-E พร้อมสายอากาศแบบ repositioner" Mezzanatto กล่าว
การจัดตั้งโครงสร้างพื้นฐานในคูเวตเพื่อสนับสนุนปฏิบัติการของ Typhoon กำลังอยู่ในขั้นการดำเนินการตามแผน รายละเอียดการออกแบบได้เสร็จสิ้นพร้อมกับการสรุปผลชุดข้อมูลทั้งหมด โดยการก่อสร้างได้เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2017 แล้ว
ทั้งนี้กองทัพอากาศคูเวตจะเริ่มได้รับมอบเครื่องบินขับไล่ Typhoon รุ่นที่นั่งเดี่ยว 22เครื่อง และรุ่นสองที่นั่ง 6เครื่องในปี 2019 โดยปัจจุบันคูเวตมีเครื่องบินขับไล่ Boeing F/A-18C/D อยู่ 34เครื่องซึ่งประจำการมาตั้งแต่ปี 1991-1993 ครับ
วันพฤหัสบดีที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2560
จีนตั้งเป้าตลาดส่งออกแบบเรือดำน้ำใหม่ล่าสุด หลังประสบความสำเร็จกับไทยและปากีสถาน
China targets export market with latest submarine designs
The 1100T is a multirole diesel-electric submarine design that will be capable of performing a diverse range of missions, from anti-ship and submarine attack to patrol and reconnaissance. Source: Jane's sources
http://www.janes.com/article/76304/china-targets-export-market-with-latest-submarine-designs
ด้วยประสบการณ์นับหลายทศวรรษจากการออกแบบและสร้างเรือดำน้ำสำหรับกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People’s Liberation Army Navy) กลุ่มอุตสาหกรรมทางเรือจีนนำโดย China Shipbuilding Industry Corporation(CSIC) รัฐวิสาหกิจทางเรือของรัฐบาลจีน
กำลังมองหาการขยายการนำเสนอแบบเรือดำน้ำสำหรับส่งออกที่จีนพัฒนาเองในระดับโลก หลังจากที่ประสบความสำเร็จอย่างงดงามในการได้รับการสั่งจัดหาเรือดำน้ำจากกองทัพเรือไทย(Royal Thai Navy) และกองทัพเรือปากีสถาน(Pakistan Navy)
ปากีสถานกำลังจัดหาเรือดำน้ำโจมตีตามแบบดีเซล-ไฟฟ้าแบบ S20P จำนวน 8ลำที่มีพื้นฐานจากเรือดำน้ำชั้น Type 039A(NATO กำหนดรหัสชั้น Yuan) ที่เรือชุดแรก 4ลำจะสร้างในจีนและเริ่มส่งมอบให้กองทัพเรือปากีสถานได้ในปี 2022
ขณะที่เรือชุดที่สองอีก 4ลำจะดำเนินการสร้างที่อู่เรือ Karachi Shipbuilding and Engineering Works (KSEW) ในปากีสถานโดยการถ่ายทอด Technology จากจีน
ขณะที่กองทัพเรือไทยได้ลงนามสัญญาจัดหาวงเงินเกือบ ๑๓,๕๐๐ล้านบาท($390 million) กับ China Shipbuilding and Offshore International Corporation(CSOC) ภาคส่วนการค้ายุทโธปกรณ์นานาชาติของ CSIC ในการจัดหาเรือดำน้ำโจมตีตามแบบดีเซล-ไฟฟ้าแบบ S26T ๑ลำ
ซึ่งเรือดำน้ำแบบ S26T มีพื้นฐานจากเรือดำน้ำชั้น Type 039B ที่เป็นเรือรุ่นที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดของเรือดำน้ำชั้น Yuan ที่สร้างเข้าประจำการในกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน โดยจะเข้าประจำการในกองทัพเรือไทยราวปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023)
คาดว่ากองทัพเรือไทยจะมีการสั่งจัดหาเรือดำน้ำแบบ S26T เพิ่มอีก ๒ลำในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โดยที่ทางกองทัพเรือไทยตั้งเป้าที่จะมีเรือดำน้ำประจำครบทั้งชุดจำนวน ๓ลำภายในปี พ.ศ.๒๕๖๙(2026)
โดยโครงการจัดหาเรือดำน้ำของกองทัพเรือไทยจะมีวงเงินรวมทั้งหมดราว ๓๖,๐๐๐ล้านบาท($1.1billion) ถ้าหากการจัดซื้อที่มีตามมาจะมีผลเป็นรูปธรรมจริงๆ
"เป็นเวลาถึง 60ปีของการออกแบบและพัฒนาเรือดำน้ำที่เริ่มต้นจากชั้น Romeo, ชั้น Ming, ชั้น Song และชั้น Yuan จีนมีขีดความสามารถที่จะวิจัยและพัฒนาเรือดำน้ำด้วยตนเองอย่างอิสระ
รวมถึงการออกแบบและสร้างระบบเรือดำน้ำ และอุปกรณ์เกี่ยวข้องที่หลากหลายอย่างเต็มรูปแบบ, ระบบตรวจจับ และระบบอาวุธ" โฆษกของบริษัท CSOC กล่าวกับ Jane's
ตามข้อมูลจาก CSIC เรือดำน้ำแบบ S20 และเรือดำน้ำแบบ S26T เป็นการออกแบบด้วยตนเองของจีนโดยสมบูรณ์ ซึ่งยกระดับจากประสบการณ์ของบริษัทในการพัฒนาเรือดำน้ำชั้น Type 039A Yuan ซึ่งปล่อยเรือลงน้ำครั้งแรกที่อู่เรือ Wuchang ใน Wuhan เมื่อเดือนพฤษภาคม 2004
จากภาพที่พบเรือชั้น Yuan มี2-3รุ่นหลักคือ Type 039A รุ่นแรก, Type 039B ที่ปรับปรุงรูปแบบตัวเรือเล็กน้อยและเพิ่มระบบใหม่ๆ เช่น Sonar ข้างลำตัว และ Type 039B รุ่นปรับปรุง(หรือ Type 039C) ที่มีหอเรือทรงโค้งมนที่ดูจะได้รับอิทธิพลเรือดำน้ำโจมตีนิวเคลียร์ชั้น Virginia สหรัฐฯ
อย่างไรก็ตามสำหรับอนาคตนั้น CSIC จีนได้เปิดตัวแบบเรือดำน้ำใหม่สามแบบใหม่ ที่ตั้งเป้าหมายการพัฒนาออกแบบสำหรับการส่งออกต่างประเทศโดยตรง ซึ่งกำลังได้รับความสนใจมากขึ้นจากหลายประเทศทั่วโลก
ซึ่งจุดเปลี่ยนแปลงหลักคือแบบเรือดำน้ำใหม่ทั้งสามแบบนี้เป็นแบบตัวเรือชั้นเดียว(Single-Hull) เหมือนเรือดำน้ำตะวันตก ขณะที่ S20 และ S26T ที่มีพื้นฐานจากเรือชั้น Type 039A/B เป็นแบบตัวเรือสองชั้น(Double-Hull) เหมือนเรือดำน้ำชั้น Project 636 Improved Kilo รัสเซียที่ส่งออกไปในหลายประเทศ
ทั้งนี้บริษัท CSOC จีนได้เปิดตัวแบบจำลองและข้อมูลเรือดำน้ำใหม่ทั้งสามแบบที่ประกอบด้วย เรือดำน้ำแบบ S1100 ขนาดระวางขับน้ำ 1,100tons, แบบ S600 ขนาดระวางขับน้ำ 600tons และเรือดำน้ำขนาดเล็ก(Midget Submarine) แบบ MS200 ขนาดระวางขับน้ำ 200tons
เป็นครั้งแรกในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Defense and Security 2017 ตามที่ได้มีรายงานพิเศษถึงข้อมูลรายละเอียดของแบบเรือดำน้ำใหม่ดังกล่าวไปครับ(http://aagth1.blogspot.com/2017/11/csoc-s26t.html)
The 1100T is a multirole diesel-electric submarine design that will be capable of performing a diverse range of missions, from anti-ship and submarine attack to patrol and reconnaissance. Source: Jane's sources
http://www.janes.com/article/76304/china-targets-export-market-with-latest-submarine-designs
ด้วยประสบการณ์นับหลายทศวรรษจากการออกแบบและสร้างเรือดำน้ำสำหรับกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People’s Liberation Army Navy) กลุ่มอุตสาหกรรมทางเรือจีนนำโดย China Shipbuilding Industry Corporation(CSIC) รัฐวิสาหกิจทางเรือของรัฐบาลจีน
กำลังมองหาการขยายการนำเสนอแบบเรือดำน้ำสำหรับส่งออกที่จีนพัฒนาเองในระดับโลก หลังจากที่ประสบความสำเร็จอย่างงดงามในการได้รับการสั่งจัดหาเรือดำน้ำจากกองทัพเรือไทย(Royal Thai Navy) และกองทัพเรือปากีสถาน(Pakistan Navy)
ปากีสถานกำลังจัดหาเรือดำน้ำโจมตีตามแบบดีเซล-ไฟฟ้าแบบ S20P จำนวน 8ลำที่มีพื้นฐานจากเรือดำน้ำชั้น Type 039A(NATO กำหนดรหัสชั้น Yuan) ที่เรือชุดแรก 4ลำจะสร้างในจีนและเริ่มส่งมอบให้กองทัพเรือปากีสถานได้ในปี 2022
ขณะที่เรือชุดที่สองอีก 4ลำจะดำเนินการสร้างที่อู่เรือ Karachi Shipbuilding and Engineering Works (KSEW) ในปากีสถานโดยการถ่ายทอด Technology จากจีน
ขณะที่กองทัพเรือไทยได้ลงนามสัญญาจัดหาวงเงินเกือบ ๑๓,๕๐๐ล้านบาท($390 million) กับ China Shipbuilding and Offshore International Corporation(CSOC) ภาคส่วนการค้ายุทโธปกรณ์นานาชาติของ CSIC ในการจัดหาเรือดำน้ำโจมตีตามแบบดีเซล-ไฟฟ้าแบบ S26T ๑ลำ
ซึ่งเรือดำน้ำแบบ S26T มีพื้นฐานจากเรือดำน้ำชั้น Type 039B ที่เป็นเรือรุ่นที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดของเรือดำน้ำชั้น Yuan ที่สร้างเข้าประจำการในกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน โดยจะเข้าประจำการในกองทัพเรือไทยราวปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023)
คาดว่ากองทัพเรือไทยจะมีการสั่งจัดหาเรือดำน้ำแบบ S26T เพิ่มอีก ๒ลำในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โดยที่ทางกองทัพเรือไทยตั้งเป้าที่จะมีเรือดำน้ำประจำครบทั้งชุดจำนวน ๓ลำภายในปี พ.ศ.๒๕๖๙(2026)
โดยโครงการจัดหาเรือดำน้ำของกองทัพเรือไทยจะมีวงเงินรวมทั้งหมดราว ๓๖,๐๐๐ล้านบาท($1.1billion) ถ้าหากการจัดซื้อที่มีตามมาจะมีผลเป็นรูปธรรมจริงๆ
"เป็นเวลาถึง 60ปีของการออกแบบและพัฒนาเรือดำน้ำที่เริ่มต้นจากชั้น Romeo, ชั้น Ming, ชั้น Song และชั้น Yuan จีนมีขีดความสามารถที่จะวิจัยและพัฒนาเรือดำน้ำด้วยตนเองอย่างอิสระ
รวมถึงการออกแบบและสร้างระบบเรือดำน้ำ และอุปกรณ์เกี่ยวข้องที่หลากหลายอย่างเต็มรูปแบบ, ระบบตรวจจับ และระบบอาวุธ" โฆษกของบริษัท CSOC กล่าวกับ Jane's
ตามข้อมูลจาก CSIC เรือดำน้ำแบบ S20 และเรือดำน้ำแบบ S26T เป็นการออกแบบด้วยตนเองของจีนโดยสมบูรณ์ ซึ่งยกระดับจากประสบการณ์ของบริษัทในการพัฒนาเรือดำน้ำชั้น Type 039A Yuan ซึ่งปล่อยเรือลงน้ำครั้งแรกที่อู่เรือ Wuchang ใน Wuhan เมื่อเดือนพฤษภาคม 2004
จากภาพที่พบเรือชั้น Yuan มี2-3รุ่นหลักคือ Type 039A รุ่นแรก, Type 039B ที่ปรับปรุงรูปแบบตัวเรือเล็กน้อยและเพิ่มระบบใหม่ๆ เช่น Sonar ข้างลำตัว และ Type 039B รุ่นปรับปรุง(หรือ Type 039C) ที่มีหอเรือทรงโค้งมนที่ดูจะได้รับอิทธิพลเรือดำน้ำโจมตีนิวเคลียร์ชั้น Virginia สหรัฐฯ
อย่างไรก็ตามสำหรับอนาคตนั้น CSIC จีนได้เปิดตัวแบบเรือดำน้ำใหม่สามแบบใหม่ ที่ตั้งเป้าหมายการพัฒนาออกแบบสำหรับการส่งออกต่างประเทศโดยตรง ซึ่งกำลังได้รับความสนใจมากขึ้นจากหลายประเทศทั่วโลก
ซึ่งจุดเปลี่ยนแปลงหลักคือแบบเรือดำน้ำใหม่ทั้งสามแบบนี้เป็นแบบตัวเรือชั้นเดียว(Single-Hull) เหมือนเรือดำน้ำตะวันตก ขณะที่ S20 และ S26T ที่มีพื้นฐานจากเรือชั้น Type 039A/B เป็นแบบตัวเรือสองชั้น(Double-Hull) เหมือนเรือดำน้ำชั้น Project 636 Improved Kilo รัสเซียที่ส่งออกไปในหลายประเทศ
ทั้งนี้บริษัท CSOC จีนได้เปิดตัวแบบจำลองและข้อมูลเรือดำน้ำใหม่ทั้งสามแบบที่ประกอบด้วย เรือดำน้ำแบบ S1100 ขนาดระวางขับน้ำ 1,100tons, แบบ S600 ขนาดระวางขับน้ำ 600tons และเรือดำน้ำขนาดเล็ก(Midget Submarine) แบบ MS200 ขนาดระวางขับน้ำ 200tons
เป็นครั้งแรกในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Defense and Security 2017 ตามที่ได้มีรายงานพิเศษถึงข้อมูลรายละเอียดของแบบเรือดำน้ำใหม่ดังกล่าวไปครับ(http://aagth1.blogspot.com/2017/11/csoc-s26t.html)
วันพุธที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2560
กองทัพอากาศเยอรมนีถูกกลาโหมบอกว่าควรจัดหาเครื่องบินขับไล่ Typhoon เพิ่มไม่ใช่ F-35
German MoD says Luftwaffe should get more Eurofighters, not F-35s
With Germany a partner nation and already operating the type, the Luftwaffe should procure additional Eurofighters to replace its Tornados, the MoD has said. Source: Airbus
The Luftwaffe service chief has said that he wants to replace the Tornado with the F-35, seen here in German markings at the recent Berlin Security Conference. (IHS Markit / Gareth Jennings)
http://www.janes.com/article/76326/german-mod-says-luftwaffe-should-get-more-eurofighters-not-f-35s
กระทรวงกลาโหมเยอรมนีได้โต้แย้งผู้บัญชาการกองทัพอากาศเยอรมนี(Luftwaffe) โดยประกาศว่าเครื่องบินขับไล่ Panavia Tornado ควรจะถูกแทนที่ด้วยเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon มากกว่าเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35A Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) สหรัฐฯ
Reuters ได้รายงานเมื่อ 11 ธันวาคมว่า กระทรวงกลาโหมเยอรมนีได้แถลงจุดยืนว่าควรจะมีการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Typhoon เพิ่มเติมทดแทน Tornado ในปี 2025 โดยเครื่องบินขับไล่ Boeing F-15 Eagle และ F/A-18E/F Super Hornet สหรัฐฯจะเป็นอีกทางเลือกที่ต้องการ
การประกาศซึ่งมีรายงานมาจากจดหมายต่อสมาชิกรัฐสภาเยอรมันที่เป็นความขัดแย้งที่ตรงกันข้ามโดยตรงกับมุมมองที่แสดงโดยผู้บัญชาการทหารอากาศเยอรมนี พลอากาศโท Karl Muellner
ผู้ซึ่งกล่าวก่อนหน้านี้ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาว่า ความชื่นชอบของเขาคือการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35 เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ Tornado
"มุมมองที่ระบุมาจากผู้บัญชาการกองทัพอากาศว่า F-35 Lightning II มีความเหมาะสมเป็นพิเศษที่จะมาสืบทอดแทน Tornado นั้นไม่ใช่จุดยืนของรัฐบาลสหพันธรัฐเยอรมนี"
ข้อความของรองรัฐมนตรีกลาโหมเยอรมนี Ralf Brauksiepe ได้ถูกอ้างโดย Reuters ตามจดหมายในข้างต้น
จากการพูดในการสัมนาเครื่องบินขับไล่นานาชาติ IQPC International Fighter conference ที่ Berlin ก่อนหน้านี้ พล.อ.ท.Muellner กล่าวว่า F-35 จะทำให้เยอรมนีสามารถที่จะเติมเต็มสามเป้าหมายหลักสำหรับการทดแทน Tornado ของตนได้
ที่มันพร้อมจะตอบสนองตามความต้องการทางทหารของกองทัพอากาศเยอรมนี เสริมสร้างความร่วมมือกับกลุ่มยุโรปผ่านการทำงานร่วมกันกับประเทศลูกค้าอื่นๆ และช่วยให้เกิดสมดุลของดุลการค้าของเยอรมนีที่เกินดุลกับสหรัฐฯ
นายพล Muellner ย้ำว่าเครื่องที่จะมาแทน Tornado ต้องมีความสามารถครบครันทั้งภารกิจการตอบโต้ทางอากาศเชิงรุก(OCA: Offensive Counter Air) และการขัดขวางทางอากาศ(Air Interdiction), การกดดันระบบป้องกันภัยทางอากาศข้าศึก(SEAD: Suppression of Enemy Air Defences),
การสนับสนุนทางอากาศใกล้ชิด(CAS: Close Air Support), การลาดตระเวนทางยุทธวิธี(Tactical Reconnaissance), สงคราม Electronic(EW: Electronic Warfare) และการป้องปรามทางนิวเคลียร์(Nuclear Deterrent)
เครื่องบินขับไล่ใหม่ยังจะต้องตรงกับภัยคุกคามในอนาคต และสามารถอยู่รอดในสภาพแวดล้อมขัดแย้งรุนแรงด้วยการวางกำลังพร้อมวิทยาการที่ทำให้ถูกตรวจพบได้ยาก(Stealth) เช่นเดียวกับระบบตรวจจับและอาวุธพิสัยไกล
"กองทัพอากาศเยอรมนีพิจารณาขีดความสามารถของ F-35 ในฐานะมาตรฐานสำหรับขั้นตอนการเลือกเพื่อการทดแทน Tornado และผมคิดว่าผมได้แสดงออกชัดเจนเพียงพอว่าอะไรเป็นที่ชื่นชอบของกองทัพอากาศ" พลอากาศโท Muellner กล่าวครับ
With Germany a partner nation and already operating the type, the Luftwaffe should procure additional Eurofighters to replace its Tornados, the MoD has said. Source: Airbus
The Luftwaffe service chief has said that he wants to replace the Tornado with the F-35, seen here in German markings at the recent Berlin Security Conference. (IHS Markit / Gareth Jennings)
http://www.janes.com/article/76326/german-mod-says-luftwaffe-should-get-more-eurofighters-not-f-35s
กระทรวงกลาโหมเยอรมนีได้โต้แย้งผู้บัญชาการกองทัพอากาศเยอรมนี(Luftwaffe) โดยประกาศว่าเครื่องบินขับไล่ Panavia Tornado ควรจะถูกแทนที่ด้วยเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon มากกว่าเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35A Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) สหรัฐฯ
Reuters ได้รายงานเมื่อ 11 ธันวาคมว่า กระทรวงกลาโหมเยอรมนีได้แถลงจุดยืนว่าควรจะมีการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Typhoon เพิ่มเติมทดแทน Tornado ในปี 2025 โดยเครื่องบินขับไล่ Boeing F-15 Eagle และ F/A-18E/F Super Hornet สหรัฐฯจะเป็นอีกทางเลือกที่ต้องการ
การประกาศซึ่งมีรายงานมาจากจดหมายต่อสมาชิกรัฐสภาเยอรมันที่เป็นความขัดแย้งที่ตรงกันข้ามโดยตรงกับมุมมองที่แสดงโดยผู้บัญชาการทหารอากาศเยอรมนี พลอากาศโท Karl Muellner
ผู้ซึ่งกล่าวก่อนหน้านี้ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาว่า ความชื่นชอบของเขาคือการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35 เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ Tornado
"มุมมองที่ระบุมาจากผู้บัญชาการกองทัพอากาศว่า F-35 Lightning II มีความเหมาะสมเป็นพิเศษที่จะมาสืบทอดแทน Tornado นั้นไม่ใช่จุดยืนของรัฐบาลสหพันธรัฐเยอรมนี"
ข้อความของรองรัฐมนตรีกลาโหมเยอรมนี Ralf Brauksiepe ได้ถูกอ้างโดย Reuters ตามจดหมายในข้างต้น
จากการพูดในการสัมนาเครื่องบินขับไล่นานาชาติ IQPC International Fighter conference ที่ Berlin ก่อนหน้านี้ พล.อ.ท.Muellner กล่าวว่า F-35 จะทำให้เยอรมนีสามารถที่จะเติมเต็มสามเป้าหมายหลักสำหรับการทดแทน Tornado ของตนได้
ที่มันพร้อมจะตอบสนองตามความต้องการทางทหารของกองทัพอากาศเยอรมนี เสริมสร้างความร่วมมือกับกลุ่มยุโรปผ่านการทำงานร่วมกันกับประเทศลูกค้าอื่นๆ และช่วยให้เกิดสมดุลของดุลการค้าของเยอรมนีที่เกินดุลกับสหรัฐฯ
นายพล Muellner ย้ำว่าเครื่องที่จะมาแทน Tornado ต้องมีความสามารถครบครันทั้งภารกิจการตอบโต้ทางอากาศเชิงรุก(OCA: Offensive Counter Air) และการขัดขวางทางอากาศ(Air Interdiction), การกดดันระบบป้องกันภัยทางอากาศข้าศึก(SEAD: Suppression of Enemy Air Defences),
การสนับสนุนทางอากาศใกล้ชิด(CAS: Close Air Support), การลาดตระเวนทางยุทธวิธี(Tactical Reconnaissance), สงคราม Electronic(EW: Electronic Warfare) และการป้องปรามทางนิวเคลียร์(Nuclear Deterrent)
เครื่องบินขับไล่ใหม่ยังจะต้องตรงกับภัยคุกคามในอนาคต และสามารถอยู่รอดในสภาพแวดล้อมขัดแย้งรุนแรงด้วยการวางกำลังพร้อมวิทยาการที่ทำให้ถูกตรวจพบได้ยาก(Stealth) เช่นเดียวกับระบบตรวจจับและอาวุธพิสัยไกล
"กองทัพอากาศเยอรมนีพิจารณาขีดความสามารถของ F-35 ในฐานะมาตรฐานสำหรับขั้นตอนการเลือกเพื่อการทดแทน Tornado และผมคิดว่าผมได้แสดงออกชัดเจนเพียงพอว่าอะไรเป็นที่ชื่นชอบของกองทัพอากาศ" พลอากาศโท Muellner กล่าวครับ
วันอังคารที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2560
กาตาร์ลงนามจัดหาเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon อังกฤษ 24เครื่อง
Qatar agrees contract for Typhoon aircraft
BAE Systems and the Government of the State of Qatar have entered into a contract, valued at approximately 5 billion Pound, for the supply of Typhoon aircraft to the Qatar Emiri Air Force along with a bespoke support and training package.
http://www.baesystems.com/en/article/qatar-agrees-contract-for-typhoon-aircraft
บริษัท BAE Systems สหราชอาณาจักร และรัฐบาลกาตาร์ได้เข้าสู่การลงนามสัญญาวงเงินประมาณ 5 billion British Pound($6.7 billion) ในการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon 24เครื่องสำหรับกองทัพอากาศกาตาร์(Qatar Emiri Air Force)
พร้อมทั้งการสั่งชุดการสนับสนุนและการฝึกล่วงหน้า สัญญานี้มีหัวข้อเงื่อไขด้านเงินทุนและใบเสร็จการรับเงินโดยการจ่ายครั้งแรกของบริษัท ซึ่งคาดว่าจะเสร็จสิ้นได้ภายในไม่เกินกลางปี 2018
ตามที่ก่อนหน้านี้กาตาร์ได้ลงนามจดหมายแสดงความจำนง(LOI: Letter of Intent) เพื่อจัดหาเครื่องบินขับไล่ Typhoon ต่อรัฐบาลสหราชอาณาจักรเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา(http://aagth1.blogspot.com/2017/09/eurofighter-typhoon.html)
โดยสัญญานี้จะมีการสร้างและจัดส่งเครื่องบินขับไล่ Typhoon Tranche 3 จำนวน 24เครื่องให้กองทัพอากาศกาตาร์ ที่คาดว่าจะดำเนินการส่งมอบได้ในปลายปี 2022
BAE Systems อังกฤษได้เป็นผู้รับสัญญาหลักสำหรับทั้งการให้บริการอากาศยานและการบรรลุข้อตกลงสำหรับการสนับสนับระหว่างประจำการและการจัดการฝึกเริ่มต้น โดย Charles Woodburn ผู้อำนวยการบริหาร BAE Systems กล่าวว่า
"เรามีความดีใจยิ่งที่ได้เริ่มต้นบทใหม่ในการพัฒนาความสัมพันธ์ระยะยาวกับรัฐกาตาร์และกองทัพกาตาร์ และเรามองไปข้างหน้าเพื่อทำงานร่วมกันกับลูกค้าของเราเช่นที่พวกกำลังดำเนินการพัฒนาขีดความสามารถทางทหารของตน"
Eurofighter Typhoon เป็นเครื่องบินขับไล่ที่ได้รับการสั่งจัดหาจากกลุ่มประเทศอ่าวเปอร์เซียในตะวันออกกลางหลายประเทศ เช่น กองทัพอากาศซาอุดิอาระเบีย(Royal Saudi Air Force) ที่เป็นลูกค้าส่งออกนอกยุโรปประเทศแรกที่ได้รับมอบครบ 72เครื่องแล้ว
กองทัพอากาศโอมาน(Royal Air Force of Oman)ซึ่งเพิ่งได้รับมอบ Typhoon ชุดแรกจากที่สั่งจัดหา 12เครื่องกับ BAE Systems ในปี 2017 นี้ และกองทัพอากาศคูเวต(Kuwait Air Force) ที่สั่งจัดหา 28เครื่องกับ Leonardo อิตาลี โดยจะได้รับมอบเครื่องชุดแรกในปี 2019
ทั้งนี้กาตาร์เพิ่งจะลงนามสัญญาจัดหาเครื่องบินขับไล่ Dassault Rafale ฝรั่งเศสเพิ่มอีก 12เครื่องจากที่สั่งจัดหาแล้ว24เครื่องรวมทั้งหมด 36เครื่อง(http://aagth1.blogspot.com/2017/12/rafale-12.html) เช่นเดียวกับเครื่องบินขับไล่ Boeing F-15QA(Qatar Advanced) สหรัฐฯ 36เครื่อง
ทำให้ในอนาคตกองทัพอากาศกาตาร์จะมีเครื่องบินขับไล่ใหม่ประจำการสามแบบรวมทั้งหมด 96เครื่อง ซึ่งจะมาทดแทนเครื่องบินขับไล่ Dassault Mirage 2000-5 จากฝรั่งเศส 12เครื่องที่มีอายุการใช้มานาน
แม้ว่าจะว่าจะยังไม่มีการกล่าวถึงในประกาศนี้ แต่มีการเปิดเผยความตั้งใจก่อนหน้านี้ว่ากองทัพอากาศกาตาร์มีความต้องการจะจัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่น Hawk จาก BAE Systems จำนวน 6เครื่อง ที่น่าจะมาทดแทนเครื่องบินฝึก/โจมตีเบาไอพ่น Alpha Jet ที่มี 6เครื่องด้วย
ทั้งนี้ทาง BAE Systems กล่าวว่าโรงงานอากาศยานของบริษัท(Warton Aerodrome ใน Lancashire ที่เดียวกับ Typhoon แทน Brough Aerodrome ใน Yorkshire ที่จะปิดตัว)พร้อมที่จะเปิดสายการผลิตระดับต่ำทันทีที่มีการลงนามสัญญาจัดหาจากทางกาตาร์ครับ
BAE Systems and the Government of the State of Qatar have entered into a contract, valued at approximately 5 billion Pound, for the supply of Typhoon aircraft to the Qatar Emiri Air Force along with a bespoke support and training package.
http://www.baesystems.com/en/article/qatar-agrees-contract-for-typhoon-aircraft
บริษัท BAE Systems สหราชอาณาจักร และรัฐบาลกาตาร์ได้เข้าสู่การลงนามสัญญาวงเงินประมาณ 5 billion British Pound($6.7 billion) ในการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon 24เครื่องสำหรับกองทัพอากาศกาตาร์(Qatar Emiri Air Force)
พร้อมทั้งการสั่งชุดการสนับสนุนและการฝึกล่วงหน้า สัญญานี้มีหัวข้อเงื่อไขด้านเงินทุนและใบเสร็จการรับเงินโดยการจ่ายครั้งแรกของบริษัท ซึ่งคาดว่าจะเสร็จสิ้นได้ภายในไม่เกินกลางปี 2018
ตามที่ก่อนหน้านี้กาตาร์ได้ลงนามจดหมายแสดงความจำนง(LOI: Letter of Intent) เพื่อจัดหาเครื่องบินขับไล่ Typhoon ต่อรัฐบาลสหราชอาณาจักรเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา(http://aagth1.blogspot.com/2017/09/eurofighter-typhoon.html)
โดยสัญญานี้จะมีการสร้างและจัดส่งเครื่องบินขับไล่ Typhoon Tranche 3 จำนวน 24เครื่องให้กองทัพอากาศกาตาร์ ที่คาดว่าจะดำเนินการส่งมอบได้ในปลายปี 2022
BAE Systems อังกฤษได้เป็นผู้รับสัญญาหลักสำหรับทั้งการให้บริการอากาศยานและการบรรลุข้อตกลงสำหรับการสนับสนับระหว่างประจำการและการจัดการฝึกเริ่มต้น โดย Charles Woodburn ผู้อำนวยการบริหาร BAE Systems กล่าวว่า
"เรามีความดีใจยิ่งที่ได้เริ่มต้นบทใหม่ในการพัฒนาความสัมพันธ์ระยะยาวกับรัฐกาตาร์และกองทัพกาตาร์ และเรามองไปข้างหน้าเพื่อทำงานร่วมกันกับลูกค้าของเราเช่นที่พวกกำลังดำเนินการพัฒนาขีดความสามารถทางทหารของตน"
Eurofighter Typhoon เป็นเครื่องบินขับไล่ที่ได้รับการสั่งจัดหาจากกลุ่มประเทศอ่าวเปอร์เซียในตะวันออกกลางหลายประเทศ เช่น กองทัพอากาศซาอุดิอาระเบีย(Royal Saudi Air Force) ที่เป็นลูกค้าส่งออกนอกยุโรปประเทศแรกที่ได้รับมอบครบ 72เครื่องแล้ว
กองทัพอากาศโอมาน(Royal Air Force of Oman)ซึ่งเพิ่งได้รับมอบ Typhoon ชุดแรกจากที่สั่งจัดหา 12เครื่องกับ BAE Systems ในปี 2017 นี้ และกองทัพอากาศคูเวต(Kuwait Air Force) ที่สั่งจัดหา 28เครื่องกับ Leonardo อิตาลี โดยจะได้รับมอบเครื่องชุดแรกในปี 2019
ทั้งนี้กาตาร์เพิ่งจะลงนามสัญญาจัดหาเครื่องบินขับไล่ Dassault Rafale ฝรั่งเศสเพิ่มอีก 12เครื่องจากที่สั่งจัดหาแล้ว24เครื่องรวมทั้งหมด 36เครื่อง(http://aagth1.blogspot.com/2017/12/rafale-12.html) เช่นเดียวกับเครื่องบินขับไล่ Boeing F-15QA(Qatar Advanced) สหรัฐฯ 36เครื่อง
ทำให้ในอนาคตกองทัพอากาศกาตาร์จะมีเครื่องบินขับไล่ใหม่ประจำการสามแบบรวมทั้งหมด 96เครื่อง ซึ่งจะมาทดแทนเครื่องบินขับไล่ Dassault Mirage 2000-5 จากฝรั่งเศส 12เครื่องที่มีอายุการใช้มานาน
แม้ว่าจะว่าจะยังไม่มีการกล่าวถึงในประกาศนี้ แต่มีการเปิดเผยความตั้งใจก่อนหน้านี้ว่ากองทัพอากาศกาตาร์มีความต้องการจะจัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่น Hawk จาก BAE Systems จำนวน 6เครื่อง ที่น่าจะมาทดแทนเครื่องบินฝึก/โจมตีเบาไอพ่น Alpha Jet ที่มี 6เครื่องด้วย
ทั้งนี้ทาง BAE Systems กล่าวว่าโรงงานอากาศยานของบริษัท(Warton Aerodrome ใน Lancashire ที่เดียวกับ Typhoon แทน Brough Aerodrome ใน Yorkshire ที่จะปิดตัว)พร้อมที่จะเปิดสายการผลิตระดับต่ำทันทีที่มีการลงนามสัญญาจัดหาจากทางกาตาร์ครับ
วันจันทร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2560
บราซิลหวังจะซื้อเรือยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ HMS Ocean อังกฤษประจำการในปี 2018
Brazil hopes to buy, commission UK’s HMS Ocean by June 2018
The UK Royal Navy HMS Ocean helicopter carrier may next be heading to Brazilian service. (Crown Copyright/UK Ministry of Defence)
http://www.janes.com/article/76245/brazil-hopes-to-buy-commission-uk-s-hms-ocean-by-june-2018
Brazilian government authorises purchase of UK’s HMS Ocean
http://www.janes.com/article/76187/brazilian-government-authorises-purchase-of-uk-s-hms-ocean
กองทัพเรือบราซิล(Brazilian Navy) กำลังมองหาทางที่จะประจำการเรือยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์(LPH: Landing Platform Helicopter) L12 HMS Ocean กองทัพเรือสหราชอาณาจักร(Royal Navy) ในเดือนมิถุนายน 2018 ตามที่ Jane's ได้ข้อมูลเมื่อวันที่ 6ธันวาคมที่ผ่านมา
กองทัพเรือบราซิลได้รับการอนุมัติที่จะเจรจากับสหราชอาณาจักรสำหรับการจัดหาเรือยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ HMS Ocean วงเงิน 84.6 million British Pound($113 million) โดยการอนุมัติจากกระทรวงกลาโหมบราซิลมีขึ้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคมที่ผ่านมา
กองทัพเรือบราซิล(Marinha do Brasil)ได้ร้องขอการอนุมัติจัดซื้อเรือยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ L12 HMS Ocean ต่อจากอังฤษ หลังจากที่ตัดสินใจปลดประจำการเรือบรรทุกเครื่องบิน A12 NAe Sao Paulo ของตน
ที่เดิมคือเรือบรรทุกเครื่องบิน Foch กองทัพเรือฝรั่งเศสที่ประจำการครั้งแรกในปี 1963 ที่บราซิลจัดหามาในปี 2000 โดยมีอายุการใช้งานตัวเรือเกิน 54ปี และปัจจุบันอยู่ในสถานะไม่ออกเรือปฏิบัติการแล้ว(http://aagth1.blogspot.com/2017/02/sao-paulo.html)
ตามแผนยุทธศาสตร์ของกระทรวงกลาโหมสหราชอาณาจักร กองทัพเรืออังกฤษกล่าวว่าเรือ LPH HMS Ocean ที่ประจำการมาตั้งแต่ 30 กันยายน 1998 จะพร้อมเสนอขายให้มิตรประเทศหลังจากปลดประจำการโดยไม่มีเรือแบบเดียวกันมาทดแทนในเดือนมีนาคม 2018
โดยกองทัพเรือสหราชอาณาจักรเพิ่งจะทำพิธีขึ้นระวางประจำการเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Queen Elizabeth ลำแรกคือ R08 HMS Queen Elizabeth ไปเมื่อ 7 ธันวาคม ที่ผ่านมา และลำที่สอง R09 HMS Prince of Wales ที่ทำพิธีตั้งชื่อเรือไปเมื่อ 8 กันยายนที่ผ่านมา(http://aagth1.blogspot.com/2017/09/hms-prince-of-wales-f-35b.html, http://aagth1.blogspot.com/2017/12/hms-queen-elizabeth.html)
ช่วงระหว่างการรับมอบเรือ, การซ่อมบำรุง และกิจกรรมการฝึกจะมีขึ้นในสหราชอาณาจักร ตามที่กองทัพเรือบราซิลวางไว้ข้อตกลงการจัดหาเรือจะเสร็จสิ้นภายในปี 2018 ตามมาด้วยการยกเครื่องเรือในปี 2019 และพร้อมเข้าประจำการในปี 2020
HMS Ocean ระวางขับน้ำ 22,000tons สามารถรองรับเฮลิคอปเตอร์ที่มีประจำการในกองทัพเรือบราซิลได้ทั้ง Super Cougar, Super Puma, Super Lynx และ Sea Hawk รวมถึงมีโรงเก็บยานพาหนะความจุ 40คัน พร้อมทหารนาวิกโยธิน 830นาย และเรือระบายพลขนาดเล็ก(LCVP) 4ลำ
HMS Ocean จะได้รับการตรวจรับมอบโดยเจ้าหน้าที่กองทัพเรือบราซิลก่อน ขณะที่การขออนุมัติจากรัฐบาลสหรัฐฯยังต้องมีความจำเป็นสำหรับระบบอุปกรณ์และอาวุธบางอย่างบนเรือที่สร้างโดยสหรัฐฯ
อย่างการส่งมอบระบบอาวุธป้องกันระยะประชิดปืนใหญ่กลหกลำกล้องหมุน Raytheon Mk15 Phalanx Block 1B CIWS(Close-In Weapon System)ขนาด 20mm 3ระบบบนเรือ ซึ่งกองทัพเรือบราซิลกล่าวว่าระบบนี้ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงกับอังกฤษครับ
The UK Royal Navy HMS Ocean helicopter carrier may next be heading to Brazilian service. (Crown Copyright/UK Ministry of Defence)
http://www.janes.com/article/76245/brazil-hopes-to-buy-commission-uk-s-hms-ocean-by-june-2018
Brazilian government authorises purchase of UK’s HMS Ocean
http://www.janes.com/article/76187/brazilian-government-authorises-purchase-of-uk-s-hms-ocean
กองทัพเรือบราซิล(Brazilian Navy) กำลังมองหาทางที่จะประจำการเรือยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์(LPH: Landing Platform Helicopter) L12 HMS Ocean กองทัพเรือสหราชอาณาจักร(Royal Navy) ในเดือนมิถุนายน 2018 ตามที่ Jane's ได้ข้อมูลเมื่อวันที่ 6ธันวาคมที่ผ่านมา
กองทัพเรือบราซิลได้รับการอนุมัติที่จะเจรจากับสหราชอาณาจักรสำหรับการจัดหาเรือยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ HMS Ocean วงเงิน 84.6 million British Pound($113 million) โดยการอนุมัติจากกระทรวงกลาโหมบราซิลมีขึ้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคมที่ผ่านมา
กองทัพเรือบราซิล(Marinha do Brasil)ได้ร้องขอการอนุมัติจัดซื้อเรือยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ L12 HMS Ocean ต่อจากอังฤษ หลังจากที่ตัดสินใจปลดประจำการเรือบรรทุกเครื่องบิน A12 NAe Sao Paulo ของตน
ที่เดิมคือเรือบรรทุกเครื่องบิน Foch กองทัพเรือฝรั่งเศสที่ประจำการครั้งแรกในปี 1963 ที่บราซิลจัดหามาในปี 2000 โดยมีอายุการใช้งานตัวเรือเกิน 54ปี และปัจจุบันอยู่ในสถานะไม่ออกเรือปฏิบัติการแล้ว(http://aagth1.blogspot.com/2017/02/sao-paulo.html)
ตามแผนยุทธศาสตร์ของกระทรวงกลาโหมสหราชอาณาจักร กองทัพเรืออังกฤษกล่าวว่าเรือ LPH HMS Ocean ที่ประจำการมาตั้งแต่ 30 กันยายน 1998 จะพร้อมเสนอขายให้มิตรประเทศหลังจากปลดประจำการโดยไม่มีเรือแบบเดียวกันมาทดแทนในเดือนมีนาคม 2018
โดยกองทัพเรือสหราชอาณาจักรเพิ่งจะทำพิธีขึ้นระวางประจำการเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Queen Elizabeth ลำแรกคือ R08 HMS Queen Elizabeth ไปเมื่อ 7 ธันวาคม ที่ผ่านมา และลำที่สอง R09 HMS Prince of Wales ที่ทำพิธีตั้งชื่อเรือไปเมื่อ 8 กันยายนที่ผ่านมา(http://aagth1.blogspot.com/2017/09/hms-prince-of-wales-f-35b.html, http://aagth1.blogspot.com/2017/12/hms-queen-elizabeth.html)
ช่วงระหว่างการรับมอบเรือ, การซ่อมบำรุง และกิจกรรมการฝึกจะมีขึ้นในสหราชอาณาจักร ตามที่กองทัพเรือบราซิลวางไว้ข้อตกลงการจัดหาเรือจะเสร็จสิ้นภายในปี 2018 ตามมาด้วยการยกเครื่องเรือในปี 2019 และพร้อมเข้าประจำการในปี 2020
HMS Ocean ระวางขับน้ำ 22,000tons สามารถรองรับเฮลิคอปเตอร์ที่มีประจำการในกองทัพเรือบราซิลได้ทั้ง Super Cougar, Super Puma, Super Lynx และ Sea Hawk รวมถึงมีโรงเก็บยานพาหนะความจุ 40คัน พร้อมทหารนาวิกโยธิน 830นาย และเรือระบายพลขนาดเล็ก(LCVP) 4ลำ
HMS Ocean จะได้รับการตรวจรับมอบโดยเจ้าหน้าที่กองทัพเรือบราซิลก่อน ขณะที่การขออนุมัติจากรัฐบาลสหรัฐฯยังต้องมีความจำเป็นสำหรับระบบอุปกรณ์และอาวุธบางอย่างบนเรือที่สร้างโดยสหรัฐฯ
อย่างการส่งมอบระบบอาวุธป้องกันระยะประชิดปืนใหญ่กลหกลำกล้องหมุน Raytheon Mk15 Phalanx Block 1B CIWS(Close-In Weapon System)ขนาด 20mm 3ระบบบนเรือ ซึ่งกองทัพเรือบราซิลกล่าวว่าระบบนี้ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงกับอังกฤษครับ