Brazil Gives Up Modernization Plans for Aircraft Carrier Sao Paulo, Prepares for Decommissioning
Sao Paulo at sea, December 2013. Picture: Rob Schleiffert
View of the forward flight deck of the Brazilian aircraft carrier Sao Paulo in 2003. Four McDonnell Douglas AF-1 (A-4) Skyhawk fighters and an Argentine Navy Grumman S-2T Tracker are visible. Picture: US Navy.
http://navyrecognition.com/index.php/news/defence-news/2017/february-2017-navy-naval-forces-defense-industry-technology-maritime-security-global-news/4895-brazil-gives-up-modernization-plans-for-aircraft-carrier-sao-paulo-prepares-for-decommissioning.html
ตามรายงานของหนังสือพิมพ์บราซิล Estado กองทัพเรือบราซิล(Marinha do Brasil) ได้ตัดสินใจที่จะปลดประจำการเรือบรรทุกเครื่องบิน A12 Sao Paulo หรือเดิมคือเรือบรรทุกเครื่องบิน Foch ของกองทัพเรือฝรั่งเศสที่บราซิลจัดหามาในปี 2000
บราซิลได้ใช้ระยะเวลายาวนานในการพิจารณาปรับปรุงเรือบรรทุกเครื่องบินที่มีอยู่ลำเดียวของตนโดยบริษัทผู้สร้างเรือคือ DCNS ฝรั่งเศส แต่ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงเรือนั้นถูกพิจารณาว่ามากเกินไปโดยเจ้าหน้าที่กองทัพเรือบราซิล จึงต้องล้มเลิกความตั้งใจในที่สุด
โดยแผนการปรับปรุงเรือนั้นได้รวมการเปลี่ยนระบบเครื่องยนต์ขับเคลื่อนใหม่ทั้งหมด, รางดีดส่งอากาศยาน catapult และระบบอำนวยการรบ ซึ่งต้องใช้งบประมาณเกินกว่า 1 billion Brazilian Reals (ประมาณ $324 million)
ขั้นตอนการปลดประจำการนั้นถูกตั้งให้เริ่มต้นทันทีและเสร็จสิ้นภายในปี 2020 กระบวนการอีกสามลำดับขั้นจะต้องใช้เวลาทำงานอีก 10ปี โดยเครื่องบินโจมตี A-4 Skyhawk ซึ่งถูกใช้เป็นเครื่องบินขับไล่ประจำเรือ Sao Paulo จะยังคงประจำการต่อไปที่ฐานบิน Sao Pedro da Aldeia
วาระสุดท้ายของเรือบรรทุกเครื่องบิน Sao Paulo ยังไม่ได้มีการกำหนดตอนนี้ โดยเรือบรรทุกเครื่องบิน A11 Minas Gerais(ชั้น Colossus ชื่อ R71 HMS Vengeance อังกฤษเดิม) ที่ปลดประจำการไปก่อนในปี 2001 นั้นถูกขายไปแยกชิ้นส่วนในตลาดนานาชาติ
A12 Sao Paulo เดิมคือเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Clemenceau ชื่อ Foch ของกองทัพเรือฝรั่งเศสที่เข้าประจำการครั้งแรกในปี 1963 และถูกขายต่อให้บราซิลในปี 2000 และได้เป็นเรือธงของกองทัพเรือบราซิล
เรือบรรทุกเครื่องบิน Sao Paulo มีระวางขับน้ำ 32,800tons ตัวเรือยาว 265m กำลังพลประจำเรือ 1,920นาย บรรทุกอากาศยานไปกับเรือได้ 39เครื่อง แบ่งเป็นเครื่องบินปีกตรึงไอพ่น 22เครื่อง และเฮลิคอปเตอร์ 17เครื่อง
โดยกำลังอากาศยานประจำเรือบรรทุกเครื่องบินของกองทัพเรือบราซิลประกอบด้วย เครื่องบินโจมตี A-4KU Skyhawk, เฮลิคอปเตอร์ AS532SC Cougar, HB350 และ HB355 Ecureuil และ SH-3 Sea King
ระหว่างปี 2005-2010 ซึ่งเรือได้ถูกพิจารณาโครงการปรับปรุง การปรับปรุงเรือประกอบด้วย การตรวจสอบและซ่อมเครื่องยนต์กังหันไอน้ำการซ่อมบำรุงเครื่องควบแน่น(surface condenser), เปลี่ยนท่อหม้อต้มน้ำใหม่(boiler), ซ่อมเครื่องอัดความดันสูง(high-pressure compressor) 2ตัว, แก้ไขเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ, จัดซื้ออะไหล่, ซ่อมบำรุงปั๊ม, วาล์ว, เพิ่มเครื่องแยกน้ำ-น้ำมัน, ติดตั้งระบบเครื่องทำน้ำเย็น, ปรับปรุงเครื่องสร้าง oxygen เคมี, ซ่อมและรักษาสภาพถังน้ำมัน, ทดแทนระบบข้อมูลทางยุทธวิธีทางเรือ(Naval Tactical Data System)ใหม่, ติดตั้งระบบกล้องวงจรปิด, ติดตั้งตัวส่งสัญญาณพิสูจน์ฝ่าย IFF, ติดตั้งระบบ MAGE(ESM), ตรวจสอบดาดฟ้าบิน ซ่อม และทาสีใหม่, ปรับปรุงระบบปฏิบัติการลงจอด(Optical Landing System) และแก้ไขรางดีดส่งอากาศยานขึ้นบิน(catapult)
อย่างไรก็ตามข้อบกพร่องในส่วนระบบเครื่องยนต์, ระบบขับเคลื่อนใบจักร, และรางดีดส่งนั้นมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ทำให้เรือ Sao Paulo ออกทะเลน้อยครั้งมากตั้งแต่ปี 2012 เป็นต้นมา
บริษัท SAAB สวีเดนเคยเสนอเครื่องบินขับไล่ Sea Gripen หรือในปัจจุบันชื่อ Gripen M แก่กองทัพเรือบราซิลเพื่อทดแทน A-4 Skyhawk หรือเครื่องบินขับไล่โจมตี AF-1 ตามการกำหนดแบบของกองทัพบราซิล
แต่การจะปลดประจำการเรือบรรทุกเครื่องบิน Sao Paulo ทำให้ลูกค้าที่เป็นไปได้รายเดียวของเครื่องบินขับไล่ Gripen M คือกองทัพเรืออินเดียในโครงการ MRCBF(Multi-Role Carrier Borne Fighters) ตามที่เคยรายงานไป
โดย SAAB ยังมองความเป็นไปได้ในการเสนอเครื่องบินขับไล่ Gripen E/F ในโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่เบาใหม่ของกองทัพอากาศอินเดีย และการปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ Tejas LCA ด้วย AESA radar รุ่น Compact
ทั้งนี้ปัจจุบันการให้ลำดับความสำคัญใหม่ของกองทัพเรือบราซิลถูกมุ่งไปยังโครงการจัดหาและสร้างเรือดำน้ำภายในประเทศที่ร่วมเป็นหุ้นส่วนกับ DCNS ฝรั่งเศส
ทั้งการจัดหาและสร้างเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าแบบ Scorpene 4ลำ และการสร้างเรือดำน้ำโจมตีพลังงานนิวเคลียร์ลำแรกของกองทัพเรือบราซิลครับ