วันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565

นักบินกองทัพอากาศไทยในอดีต เรืออากาศเอก เคียง จุฑาเกตุ




Breguet 14 of 3rd Wing Nakhon Ratchasima air base, Royal Siamese Flying Corps during 1920s-1930s.

ครั้งนี้จะมาเขียนเล่าถึงเรื่องราวของต้นตระกูลของผู้เขียนบ้าง เพราะหาโอกาสมานานตั้งแต่กลางปีแล้ว แต่ก็ติดขัดเรื่องเวลาประกอบกับข่าวสารในแวดวงวิทยาการความมั่นคงมีเรื่องสำคัญใหม่ๆมาตลอดทั้งปี จนได้มีเวลาได้เขียนล่าสุดนี้
ตั้งแต่สมัยที่ยังเรียนมัธยมอยู่ผู้เขียนเคยถูกญาติผู้ใหญ่บอกตอนที่คุยกันถึงว่าผู้เขียนมีความตั้งใจจะไปสอบเข้าโรงเรียนเตรียทหารโดยเลือกโรงเรียนนายเรือเป็นอันดับ๑ และโรงเรียนนายเรืออากาศเป็นอันดับ๒ โดยหวังจะเป็นไปนักบินทหารว่า
"แกจะไปเป็นนักบินเอาอย่างตาเคียงหรือ?"
ซึ่งผู้เขียนก็เพิ่งมาทราบตอนงานรวมญาติเมื่อไม่นานมาในปี ๒๕๖๕ นี้ว่า ตาเคียงท่านนี้คือ เรืออากาศเอก เคียง จุฑาเกตุ นักบินกองทัพอากาศไทยเก่าที่ล่วงลับไปนานมากแล้ว

ต้องเล่าย้อนไปถึงสายสาแหรกของต้นตระกูลผู้เขียนก่อน คือต้นตระกูลสายจุฑาเกตุ ที่เป็นญาติทางสายย่าที่ผู้เขียนทราบจากญาติผู้ใหญ่จะเริ่มจาก
ตาเคลือบ แต่งงานกับ ยายตลิบ มีลูกเจ็ดคน คือ
นายเคียง หรือ เรืออากาศเอก เคียง จุฑาเกตุ เป็นคนโต
นายแคร หรือครูแคร เป็นคนรอง ท่านนี้ทราบว่าเป็นศิลปินพื้นบ้าน เป็นโขน เป็นหนังใหญ่ เป็นลำตัดและเพลงพื้นบ้านต่างๆ
นายเดช กับ นายดัด สองท่านนี้ไม่ทราบว่าใคนเป็นพี่เป็นน้องเพราะหน้าคล้ายกันมาก
นางแหนง เป็นลูกคนที่ห้า ซึ่งเป็นย่าผู้เขียนที่แต่งงานกับปู่เสนาะเข้าบ้านนาคพุ่ม
นางยิ้ม
และนายริด
ท่านๆเหล่านี้เสียชีวิตกันไปหมดหลายสิบปีก่อนที่ผู้เขียนจะเกิดแล้ว

ที่ญาติผู้ใหญ่เล่ากันมาคือ เรืออากาศเอก เคียง จุฑาเกตุ เป็นนักบินอยู่ฐานบินนครราชสีมา สมัย ๙๐ปีที่แล้ว ที่ผู้เขียนสืบค้นเพิ่มเติมจากประวัติกองทัพอากาศไทยจะพอได้เค้าว่า น่าจะเป็นนักบินมาตั้งแต่ยศชั้นประทวน 
ในสมัยกองบินใหญ่ที่๓ กรมอากาศยานสยาม ซึ่งประจำการด้วยเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ เบร์เกต์ ๑๔ ซึ่งจะตรงกับเรื่องที่เล่ากันในบ้านไร่สายตระกูลนาคพุ่มที่หมู่บ้านหนองตะแบกลพบุรีว่า
สมัยญาติๆยังอยู่บ้านทุ่งเก่าทางตะวันตกของเมืองลพบุรีติดสิงห์บุรีกับอ่างทอง ปู่เคียงเคยขับเครื่องบินบินผ่านบ้านย่าแหนงที่เป็นน้องสาวแล้วโยนหีบเหล็กลงมาจากเครื่องบินตรงลานหน้าบ้าน ในหีบใส่เสื้อผ้าที่ซื้อมาจากเมืองไว้
ก็เข้าใจได้ว่าต้องเป็นเครื่องขนาดใหญ่พอที่จะใส่สัมภาระขนาดพอประมาณได้อย่าง เบร์เกต์ ๑๔ ที่เป็นเครื่องบินทิ้งระเบิด ญาติผู้ใหญ่หลายท่านเคยเล่าว่าตอนแกยังเด็กๆ สมัยปี พ.ศ.๒๔๙๐ กว่าๆ ยังเคยเห็นและเล่นหีบเหล็กใบนี้อยู่

ปู่เคียง รับราชการมาจนได้เลื่อนยศเป็นนายทหารสัญญาบัตรในยุคกองบินน้อยที่๓ โคราช ที่มีการยกฐานะกรมอากาศยานเป็น กรมทหารอากาศ และเป็นกองทัพอากาศไทย ในปี พ.ศ.๒๔๘๐ จนถึงปัจจุบัน และได้เข้าร่วมกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส พ.ศ.๒๔๘๓-๒๔๘๔ 
นายเรืออากาศตรี เคียง จุฑาเกตุ ได้รับพระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา ๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๔ หลังกลับจากปฏิบัติราชการชายแดนสนับสนุนกองทัพบูรพาที่จังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดอุบลราชธานี
จนเกษียณอายุราชการในยศ เรืออากาศเอก หลังจากนั้นกองทัพอากาศไทยก็มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง กองบิน๓ โคราช เป็นฝูงบินเฮลิคอปเตอร์ก่อนยุบในปี พ.ศ.๒๕๒๐ เป็นที่ตั้งโรงเรียนการบินเก่าก่อนย้ายไป กำแพงแสน นครปฐมในปี พ.ศ.๒๕๑๒ (กองบิน๓ ปัจจุบันตั้งใหม่ที่ฐานบินวัฒนานคร)
ปัจจุบันผู้เขียนทราบว่าญาติในสายตระกูลจุฑาเกตุส่วนใหญ่พำนักอยู่ในตัวเมืองนครราชสีมา ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งกองบิน๑ โคราช ปัจจุบัน แต่ผู้เขียนก็ยังไม่เคยเยี่ยมเยือนด้วยตนเอง ท่านใดก็เป็นลูกหลานของตาเคียงหรือรู้จักท่านก็เข้ามาคุยกันได้ครับ

วันศุกร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2565

งานดัดแปลงเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo ลำที่สอง DDH-184 Kaga เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินใกล้เสร็จสิ้น

Modification work on JS Kaga nears Completion

JS Kaga with its deck modifications. 


The new bow of JS Kaga following the modifications. Picture by @betafujihara.

JS Kaga with sporting its new bow. JSMDF Picture.

งานการดัดแปลงที่จะเปลี่ยนเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo ลำที่สองของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น(JMSDF: Japan Maritime Self Defense Force) เรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ DDH-184 JS Kaga
เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินเครื่องบินขับไล่ F-35B Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) ใกล้เสร็จสิ้นแล้ว ณ อู่เรือในเมือง Kure จังหวัด Hiroshima ทางภาคตะวันตกของเกาะ Honshu ญี่ปุ่น(https://aagth1.blogspot.com/2022/04/izumo-ddh-184-js-kaga.html)

เรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo ได้รับการออกแบบหลักเพื่อจะบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทางทะเล SH-60J/SH-60K Seahawk และจะปฏิบัติการในฐานะเรือหลักในสงครามปราบเรือดำน้ำ(ASW: Anti-Submarine Warfare)
อย่างไรก็ตามในปี 2018 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ทำการตัดสินใจที่จะดัดแปลงเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo เพื่อที่จะทำให้พวกเธอสามารถที่จะปฏิบัติการด้วยเครื่องบินขับไล่ F-35B ได้

จุดประสงค์หลักของการดัดแปลงนี้คือเพื่อที่จะเสริมความแข็งแกร่งขีดความสามารถการป้องกันภัยทางอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก(https://aagth1.blogspot.com/2021/10/f-35b-ddh-183-js-izumo.html)
และเพื่อเสริมต่อการปฏิบัติการของเครื่องบินขับไล่ F-35B โดยเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Wasp LHD(Landing Helicopter Dock) และเรือยกพลขึ้นบกจู่โจมบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น America LHA(Landing Helicopter Assault) ของกองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy)

ยังเป็นที่เชื่อว่าเพื่อที่จะมุ่งเป้าที่การเสริมความแข็งแกร่งการแสดงตนของญี่ปุ่นในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ในโอกาสการวางกำลังอินโด-แปซิฟิก(IPD: Indo-Pacific Deployment)
การวางกำลังระยะยาวของเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo และเรือพิฆาตอื่นๆในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ที่ได้รับการปฏิบัติเป็นเวลาหลายปีที่ผ่านมา

การดัดแปลงเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo จะเกี่ยวข้องโดยหลักในการเปลี่ยนแปลงรูปทรงของส่วนหัวเรือจากปัจจุบันที่เป็นทรงสี่เหลี่ยมคางหมูเป็นทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส และนำการเคลือบสารป้องกันความร้อนมาใช้บนดาดฟ้าบิน
เรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo ลำแรก เรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ DDH-183 JS Izumo ได้เสร็จสิ้นการดัดแปลงครั้งแรกของตนในปี 2021 และยังได้เสร็จสิ้นการทดสอบลงจอดและบินขึ้นของเครื่องบินขับไล่ F-35B ของนาวิกโยธินสหรัฐฯ(USMC: US Marine Corps)

การดัดแปลงเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ DDH-183 Izumo ถูกแบ่งเป็นสองระยะ ในระยะแรกดาดฟ้าจะได้รับการเคลือบสารป้องกันความร้อน และระยะที่สองรูปทรงของส่วนหัวเรือจะได้รับการดัดแปลง
การดัดแปลงเรือระยะที่สองมีกำหนดการที่จะเริ่มต้นในเดือนมีนาคม 2025 โดยงานจะเสร็จสิ้นภายในต้นปี 2027(https://aagth1.blogspot.com/2020/10/izumo-ski-jump-f-35b.html)

ในอีกแง่หนึ่งการดัดแปลงเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo ลำที่สอง เรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ DDH-184 Kaga กำลังอยู่ในงานขั้นระยะแรก ซึ่งรวมถึงการเคลือบสารป้องกันความร้อนและเปลี่ยนรูปทรงในส่วนหัวเรือ งานดัดแปลงเรือนี้คาดว่าจะเสร็จสิ้นในเดือนมีนาคม 2023 
นอกเหนือจากนี้ตัวเรือจะถูกปรับสมดุลใหม่และเสริมความแข็งแกร่งทางโครงสร้างที่จะสอดคล้องกับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น และงานเหล่านี้คาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในเดือนมีนาคม 2024 โดยการดัดแปลงเรือระยะที่สองต่อเนื่องจะมีการดำเนินการระหว่างปีงบประมาณ 2026-2027

เครื่องบินขับไล่ F-35B รุ่นบินขึ้นระยะสั้นลงจอดทางดิ่ง STOVL(Short Take-Off Vertical Landing) ที่จะวางกำลังบนเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo จะประจำการในสังกัดกองกำลังป้องกันป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น(JASDF: Japan Air Self-Defense Force)
เครื่องบินขับไล่ F-35B จำนวน 6เครื่องแรกจะวางกำลังในปีงบประมาณ 2024 และ 2เครื่องในปีงบประมาณ 2025 สำหรับจำนวนรวมทั้งหมด 42เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2022/10/f-15j-f-35b.html)

ตามชุดภาพที่มอบให้ Naval News โดยผู้ถ่ายภาพในญี่ปุ่น เรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ DDH-184 Kaga ได้เสร็จสิ้นงานที่จะเปลี่ยนรูปทรงส่วนหัวเรือแล้ว และกำลังอยู่ในขั้นตอนการเคลือบสร้างป้องกันความร้อนบนดาดฟ้าบิน
การเคลือบสารป้องกันความร้อนได้ถูกนำมาใช้ในส่วนด้านหลังของดาดฟ้าบินเพื่อให้ทนต่อความร้อนจากท่อไอเสียที่เกิดขึ้นขณะเครื่องบินขับไล่ F-35B ทำการลงจอดทางดิ่ง

นอกจากนี้เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2022 กองเรือคุ้มกันที่4(Escort Flotilla 4) กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น ได้เผยแพร่ภาพในบัญชี Twitter ของตน
ถึงภาพแรกของมุมส่วนหน้าของเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ DDH-184 JS Kaga ตั้งแต่ที่ส่วนหน้าของเรือได้รับการปรับรูปทรงใหม่ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/07/izumo-f-35b.html)

วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2565

DTI ไทยทดสอบการยิงป้อมปืน EOS R150S บนยานเกราะล้อยางป้องกันทุ่นระเบิดและซุ่มโจมตี D-Lion 4x4








Thailand's Defence Technology Institute (DTI) has test firing Electro Optic Systems Defence (EOS Defence)'s R150S ultra light remote weapons systems (RWS) with M2 .50calibre (12.7x99mm) heavy machineguns
fitted on D-Lion 4x4 Mine-Resistant Ambush Protected (MRAP) vehicle (a Thai version of the Mbombe 4 mine-resistant armoured fighting vehicle from South Africa firm Paramount Group)
and D-Tiger 4x4 tactical vehicle (DTI's base on First Win MPV: Multi-Purpose Vehicle of Thailand company Chaiseri) at Thung Prong firing range, Naval Ordnance Department, Royal Thai Navy (RTN) during 6-8 December 2022.



เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 ธันวาคม 2565
สทป. ดำเนินการยิงทดสอบป้อมปืน ขนาด 12.7 มม. สำหรับยานเกราะล้อยาง 4x4 (D-lion) และ ยานเกราะล้อยาง 4x4 (D-Tiger) ณ พื้นที่ทุ่งโปรง สพ.ทร. อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี

สทป. โดยโครงการยานเกราะล้อยาง (D61) ได้ปฏิบัติภารกิจการฝึกอบรมการใช้งานและการยิงทดสอบป้อมปืน 12.7 มม. จำนวน 2 ป้อม ที่ติดตั้งบนยานเกราะล้อยาง 4x4 ป้องกันทุ่นระเบิดและซุ่มโจมตี  (D-lion) และยานเกราะล้อยาง 4x4 อเนกประสงค์ (D-Tiger) 
โดยทดสอบในห้วงวันที่ 6-8 ธ.ค. 65 ณ พื้นที่ทุ่งโปรง สพ.ทร. อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี

โดยในครั้งนี้ไฮไลท์ของการทดสอบคือ การยิงทดสอบปืนขนาด 12.7 มม. ยิงใส่เป้าหมายอยู่นิ่งและเป้าหมาย แบบเคลื่อนที่ ในระยะ 400 ม. รูปแบบการยิงคือ ยิงทีละนัด และยิงเป็นชุด แบบรถอยู่นิ่ง และยิงในขณะที่รถเคลื่อนที่
โดยมี พ.อ. สุเทพ เขียวภักดี รอง เสธ.ศตก. พร้อมคณะได้เข้าร่วมสังเกตการณ์ และร่วมทดสอบป้อมปืนฯ ซึ่งผลการทดสอบเป็นไปตามความต้องการตามบันทึกข้อตกลงการวิจัยและพัฒนาร่วมยานเกราะล้อยาง 4x4 (ป้องกันทุ่นระเบิดและซุ่มโจมตี) ระหว่าง สทป. และ บก.ทท.

การยิงทดสอบป้อมปืนขนาด 12.7mm ที่ติดตั้งบนยานเกราะล้อยางป้องกันทุ่นระเบิดและซุ่มโจมตีแบบ D-Lion 4x4 และยานเกราะล้อยางอเนกประสงค์แบบ D-Tiger 4x4 โดย สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป. DTI(Defence Technology Institute)
ณ สนามฝึกยิงอาวุธหาดยาวทุ่งโปรง กรมสรรพาวุธทหารเรือ(Naval Ordnance Department) กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) ในอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ระหว่างวันที่ ๖-๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๕(2022) นั้น

มีขึ้นก่อนหน้าทดสอบมาตรฐานรถเกราะล้อยางป้องกันทุ่นระเบิดและซุ่มโจมตี D-Lion 4x4 แก่ กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม(DSTD: Defence Science and Technology Department) กระทรวงกลาโหมไทย(Ministry of Defence of Thailand) 
ณ สนามฝึกขับและทดสอบยานพาหนะ กรมการขนส่งทหารบก(Army Transportation Department) กองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Amy) ในอำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๕(https://aagth1.blogspot.com/2022/12/dti-d-lion-4x4.html)

ยานเกราะล้อยางป้องกันทุ่นระเบิดและซุ่มโจมตี DTI D-Lion 4x4 มีพื้นฐานจากรถรบหุ้มเกราะล้อยางป้องกันทุ่นระเบิด Mbombe 4 ของบริษัท Paramount Group แอฟริกาใต้ ในความเป็นหุ้นส่วนกับ DTI ไทย และ บริษัท จตุนภัส จำกัด(Jatunapas CO., LTD) ไทย
ซึ่งได้มีการเปิดตัวในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์นานาชาติ Defense & Security 2022 ณ Impact เมืองทองธานี กรุงเทพฯ ประเทศไทย ระหว่างวันที่ ๒๙ สิงหาคม-๑ กันยายน ๒๕๖๕(https://aagth1.blogspot.com/2022/09/defense-security-2022-dti-d-lion-4x4.html)

ยานเกราะล้อยางอเนกประสงค์ DTI D-Tiger 4x4 มีพื้นฐานจากรถหุ้มเกราะล้อยาง Chaiseri First Win MPV(Multi-Purpose Vehicle) 4x4 ซึ่งได้เปิดตัวในงานแสดง Defense & Security 2022 เช่นกัน(https://aagth1.blogspot.com/2022/08/defense-security-2022-chaiseri-dti-d.html)
โดยรถหุ้มเกราะล้อยาง D-Tiger 4x4 เป็นยานยนต์คันแรกที่จะได้รับการพัฒนาโดย บริษัท Thai Defense Industry(TDI) ไทย กิจการร่วมค้าที่จัดตั้งขึ้นโดย DTI และ Chaiseri ก่อนหน้าในปี ๒๕๖๕(https://aagth1.blogspot.com/2022/05/dti-chaiseri-first-win-4x4.html)

เห็นได้จากชุดภาพและวีดิทัศน์การทดสอบบนรถเกราะล้อยางป้องกันทุ่นระเบิดและซุ่มโจมตี DTI D-Lion 4x4 ว่าเป็นป้อมปืน Remote(RWS: Remote Weapons System) แบบ R150S ของบริษัท Electro Optic Systems(EOS) ออสเตรเลีย สำหรับปืนกลหนัก ปก.๙๓ M2 .50cal 
โดยป้อมปืน Remote อีกแบบของ EOS ออสเตรเลียคือ R400S-Mk2-HD RWS พร้อมปืนใหญ่กล Northrop Grumman M230LF ขนาด 30mm ได้ถูกนำมาติดตั้งกับยานยนต์รบไร้คนขับ DTI D-Iron(https://aagth1.blogspot.com/2022/02/milrem-robotics-themis-d-iron-ugv-dti.html)

รถหุ้มเกราะล้อยางตระกูล First Win 4x4 ของบริษัท ชัยเสรี เม็ททอล แอนด์ รับเบอร์ จำกัด(Chaiseri metal & rubber Co. Ltd.) ก่อนหน้านี้ถูกพบว่าได้รับการติดตั้งป้อมปืน RWS ตระกูล IMI WAVE 2000 และ Elbit Samson อิสราเอลตั้งแต่ปืนกลหนัก 12.7mm และปืนกลร่วมแกนขนาด 5.56mm การติดตั้งและทดสอบป้อมปืน EOS R150S บนรถเกราะล้อยาง DTI D-Tiger 4x4 จึงเป็นการเพิ่มแบบระบบอาวุธล่าสุดของรถเกราะตระกูล Chaiseri First Win 4x4 นี้(https://aagth1.blogspot.com/2022/09/defense-security-2022-chaiseri-first-win.html)

รถเกราะล้อยางป้องกันทุ่นระเบิดและซุ่มโจมตี DTI D-Lion 4x4 ถูกพัฒนาสำหรับความต้องการใน ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล ศตก.(CTOC: Counter Terrorism Operations Center) หน่วยปฏิบัติการพิเศษของกองทัพไทย(RTARF: Royal Thai Armed Forces)
พร้อมกับยานรบ 4x4 (ลาดตระเวน) และยานรบ 4x2 (ลาดตระเวน) แบบ DTI D-Wildcat(D-WC 4x4 และ D-WC 4x2) ซึ่งมีพื้นฐานจากยานยนต์วิบาก Chaborz M6 4x4 และ Chaborz M3 4x2 จาก Chechen รัสเซีย ซึ่งรถทั้งสามแบบ DTI ได้มีการส่งมอบให้ CTOC ไปทดลองใช้งานแล้วครับ

วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2565

รัสเซียทำพิธีปล่อยเรือดำน้ำชั้น Lada ลำที่สามลงน้ำ B-587 Velikie Luki

Admiralty Shipyard launches 3rd Lada-class submarine “Velikie Luki” 



Project 677M Lada-class submarine Velikie Luki at launching ceremony (Credit: Admiralty Shipyard)



เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2022 อู่เรือ Admiralty Shipyards ได้ทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำของเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้าชั้น Project 677M Lada ลำที่สาม เรือดำน้ำ B-587 Velikie Luki สำหรับกองทัพเรือรัสเซีย(Russian Navy, VMF) ในมหานคร St. Petersburg 
เรือดำน้ำ Velikie Luki ได้ถูกวางกระดูกงูเรือในเดือนมีนาคม 2015 ระหว่างพิธี Alexander Buzakov ผู้อำนวยการทั่วไปของ Admiralty Shipyards ระบุว่า เรือดำน้ำชั้น Project 677 เป็นอนาคตไม่ใช่เฉพาะสำหรับบริษัทแต่สำหรับกองทัพเรือรัสเซีย

"Velikie Luki เป็นเรือดำน้ำยุคที่4 ที่แตกต่างจากเรือดำน้ำชั้น Project 636(NATO กำหนดรหัสชั้น Improved Kilo) หลักๆในแง่ความเป็นระบบอัตโนมัติ เรือเหล่านี้เป็นแบบตัวเรือชั้นเดียว(single-hull) เรือมีความคล่องแคล่วการเคลื่อนที่และกะทัดรัดกว่า
เป้าหมายของเราวันนี้คือที่จะเติมเต็มหน้าที่กำหนดโดยกองทัพเรือรัสเซีย ดั้งนั้นชุดเรือดำน้ำชั้น Project 677 สามารถนำเข้าสู่ประจำการได้ตามเวลา" Buzakov กล่าว(https://aagth1.blogspot.com/2018/09/lada-b-586-kronshtadt.html)

Aleksey Rakhmanov ผู้อำนวยการทั่วไปของ United Shipbuilding Corporation(USC) กลุ่มรัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมการสร้างเรือของรัสเซีย ซึ่งอู่เรือ Admiralty Shipyards อยู่ในเครือเน้นว่า การปล่อยเรือดำน้ำ Velikie Luki ลงน้ำเป็นเหตการณ์สำคัญสำหรับการสร้างเรือ
"มันเป็นสัญลักษณ์การสิ้นสุดขั้นระยะสำคัญที่แน่ชัด และแน่นอนรักษาสัญญาของเราต่อก้าวย่างสุดท้ายที่ประสบความสำเร็จจำนวนมากในการสร้างของเราและส่งมอบแก่กองทัพเรือรัสเซีย" หัวหน้า USC กล่าว

เรือดำน้ำ Velikie Luki ถูกวางกระดูกงูเรือ ณ อู่เรือ Admiralty Shipyards ในเดือนมีนาคม 2015 บริษัทกำลังสร้างเรือในความสอดคล้องกับการปรับเปลี่ยนโครงการบนพื้นฐานของผลการทดลองปฏิบัติการของเรือดำน้ำชั้น Project 677 ลำแรก เรือดำน้ำ B-585 St. Petersburg
ระบบควบคุมทางเทคนิค, ระบบขับเคลื่อนไฟฟ้า และระบบนำร่องได้รับการปรับปรุงความทันสมัยจากเรือดำน้ำลำแรก(https://aagth1.blogspot.com/2016/04/lada-2016.html)

บริษัทยังเดินหน้าการสร้างเรือดำน้ำชั้น Project 677 เพิ่มอีกสองลำ เรือดำน้ำ Vologda และเรือดำน้ำ Yaroslavl เรือทั้งสองลำได้รับการวางกระดูกงูเรือพร้อมกันในเดือนมิถุนายน 2022
สัญญาการสั่งสร้างเรือได้รับการบรรลุผลระหว่างอู่เรือ Admiralty Shipyards และกระทรวงกลาโหมสหพันธรัฐรัสเซียในเดือนมิถุนายน 2019 ระหว่างงานแสดงอาวุธและสัมมนาทางทหาร Army-2019

เรือดำน้ำชั้น Project 677 Lada เป็นเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าตามแบบยุคที่4 และตอนนี้พิจารณาได้ว่ามีความทันสมัยมากที่สุดและโดดเด่นที่สุดสำหรับเรือดำน้ำที่ไม่ใช่เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ที่สร้างในรัสเซีย
ทั้งในแง่พลังงานการรบและคุณลักษณะสมรถถนะอื่นๆ อู่เรือ Admiralty Shipyards ในเครือ USC เป็นสถานที่สร้างเรือรายเดียวสำหรับเรือดำน้ำชั้น Project 677 Lada นี้(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/blog-post_24.html)

ทว่าหลังพิธีปล่อยเรือลงน้ำของเรือดำน้ำชั้น Project 677M Lada ลำที่สาม เรือดำน้ำ B-587 Velikie Luki เพียงวันเดียว Alexander Buzakov ผู้อำนวยการทั่วไปของ Admiralty Shipyards ถูกรายงานว่าได้เสียชีวิตแล้ว
Alexander Buzakov อายุ 66ปี ถูกพบว่าเสียชีวิตอย่างกะทันหันเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2022 อย่างไรก็ตามแถลงการณ์แสดงความเสียใจของ USC รัสเซียไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดสาเหตุของการเสียชีวิตของเขาครับ

วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ปากีสถานทำพิธีวางกระดูกงูเรือดำน้ำชั้น Hangor ลำที่ห้า PNS Tasnim ที่สร้างในประเทศลำแรก

Pakistan holds keel-laying and cutting-steel ceremonies for the Hangor-class submarines 







The indigenous submarine development project in Pakistan has reached another milestone. The keel laying of the first HANGOR-class submarine (5th overall) and the steel cutting of the second submarine (6th overall) were carried out at Karachi Shipyard & Engineering Works (KS&EW) on December 24, 2022. 





โครงการพัฒนาเรือดำน้ำภายในประเทศของปากีสถานได้มาถึงอีกเหตุการณ์สำคัญ พิธีวางกระดูกงูเรือของเรือดำน้ำชั้น Hangor ลำที่5 ที่เป็นลำแรกที่สร้างในประเทศ และพิธีตัดเหล็กแผ่นแรกของเรือดำน้ำชั้น Hangor ลำที่6 เป็นลำที่สองที่สร้างในประเทศ
ได้รับการดำนินการ ณ อู่เรือ Karachi Shipyard & Engineering Works(KS&EW) เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2022(https://aagth1.blogspot.com/2017/12/blog-post_14.html, https://aagth1.blogspot.com/2016/10/type-091-han-8.html)

ข้อตกลงกลาโหมระหว่างปากีสถานและจีนรวมถึงการพัฒนาเรือดำน้ำชั้น Hangor จำนวน 8ลำ ที่รวมเรือดำน้ำ 4ลำภายใต้การสร้างที่อู่เรือ Wuchang Shipbuilding Industry Group(WSIG) ในจีน
และอีก 4ลำที่ได้รับการสร้างที่อู่เรือ KS&EW ปากีสถานภายใต้ข้อตกลงการถ่ายทอดวิทยาการ(ToT: Transfer of Technology)(https://aagth1.blogspot.com/2016/08/8-2028.html)

งานการสร้างเรือดำน้ำชั้น Hangor ลำที่5 เป็นลำแรกในปากีสถาน เรือดำน้ำ PNS Tasnim ได้มีพิธีตัดเหล็กแผ่นแรก ณ อู่เรือ KS&EW ในเดือนธันวาคม 2021 และตอนนี้พิธีวางกระดูกงูเรือได้รับการทำแล้ว 
ซึ่งเป็นเหตุการณ์สำคัญหลักในประวัติศาสตร์ของเรือลำใดๆที่ถูกสร้างขึ้น ควบคู่กับงานการสร้างของเรือดำน้ำชั้น Hangor ลำที่6 เป็นลำที่สองในปากีสถาน ได้เริ่มต้นโดยพิธีตัดเหล็กแผ่นแรกในอู่เรือเดียวกัน

เรือดำน้ำชั้น Hangor มีขีดความสามารถที่จะดำเนินภารกิจที่หลากหลายตามที่มีการกำหนดแต่ละคำสั่งปฏิบัติการ เรือมีคุณสมบัติตรวจจับได้ยากขั้นก้าวหน้าและติดตั้งระบบอาวุธและระบบตรวจจับต่างๆที่ทันสมัย
ที่จะปฏิบัติการภายใต้สภาพแวดล้อมภัยคุกคามที่หลากหลาย และสามารถโจมตีได้หลายเป้าหมายที่นอกระยะโจมตีของฝ่ายตรงข้าม(https://aagth1.blogspot.com/2017/01/babur-3.html)

ในโอกาสนี้ หัวหน้าแขกผู้มีเกียรติได้กล่าวว่าเป็นเรื่องที่น่าภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้เป็นสักขีพยานต่อการวางกระดูกงูเรือและตัดเหล็กของเรือดำน้ำทั้งสองลำพร้อมๆกัน เขาเสริมว่ากองทัพเรือปากีสถาน(PN: Pakistan Navy) ได้ตระหนักถึงพัฒนาการสถานะการณ์ภูมิยุทธศาสตร์ในภูมิภาคเอเชียใต้ 
และจะเดินหน้าที่จะพัฒนาศักยภาพทางเรือ, ปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกการสร้างเรือและติดตั้งระบบด้วยอาวุธ/ระบบตรวจจับขั้นก้าวหน้า ที่จะต่อต้านภัยคุกคามตามแบบเช่นเดียวกับภัยคุกคามอสมมาตรต่างๆ

นายพลเรือผู้นำกองทัพเรือปากีสถานได้แสดงความมั่นใจว่า เรือดำน้ำชั้น Hangor เหล่านี้จะมีบทบาทภารกิจการนำในการมอบความพึ่งพอใจแก่ความจำเป็นด้านการปฏิบัติการของกองทัพเรือปากีสถาน
ก่อนหน้านี้ตัวแทนจาก China Shipbuilding Offshore Company(CSOC) รัฐวิสาหกิจการสร้างเรือของสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้กล่าวแสดงความขอบคุณสำหรับพิธีวางกระดูงูเรือและตัดเหล็กแผ่นแรก

ตัวแทน CSOC จีนเสริมว่าบริษัทของเขาจะสร้างความมั่นใจในการมอบทรัพยากร/การสนับสนุนทั้งหมดอย่างไร้รอยต่อเพื่อการสร้างที่ราบลื่นของเรือดำน้ำในปากีสถาน เขากล่าวเพิ่มเติมว่ามิตรภาพปากีสถาน-จีนได้หยั่งรากลึกและแบ่งปันเป้าหมายร่วมกัน
พิธียังได้เชิญตัวแทนอื่นๆของ CSOC จีน และนายทหารระดับสูงรวมถึงแขกผู้มีเกียรติจากสถานทูตจีนประจำปากีสถาน, กระทรวงการผลิตทางกลาโหมปากีสถาน, กองทัพเรือปากีสถาน และอู่เรือ KS&EW ปากีสถาน

เรือดำน้ำชั้น Hangor ปากีสถานเป็นรุ่นส่งออกของเรือดำน้ำชั้น Type 039A/B(NATO กำหนดรหัสชั้น Yuan) ที่ประจำการในกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People’s Liberation Army Navy) 
ปากีสถานยอมรับการจัดซื้อเรือดำน้ำ 8ลำจากจีนในเดือนเมษายน 2015 ตามข้อตกลงเรือดำน้ำ 4ลำหลังจะถูกสร้างในอู่เรือ KS&EW ปากีสถาน ในเวลาเดียวกับที่เรือดำน้ำ 4ลำแรกจะถูกสร้างในจีน

เรือดำน้ำชั้น Hangor จำนวน 8ลำมีกำหนดที่จะส่งมอบในระหว่างปี 2022-2028 หัวหน้าผู้อำนวยการของโครงการเปิดเผยในเดือนสิงหาคม 2016 ว่า
เรือดำน้ำ 4ลำแรกจะถูกส่งมอบในช่วงปี 2022-2023 โดยเรือ 4ลำสุดท้ายจะส่งมอบตามมาในปี 2028 กองทัพเรือปากีสถานไม่ได้ให้รายละเอียดใดๆเกี่ยวกับระบบย่อยหรือระบบอาวุธเฉพาะของเรือดำน้ำชั้น Hangor 

ระบบขับเคลื่อนแบบไม่ใช้อากาศ(AIP: Air Independent Propulsion) ถูกใช้ในแบบเรือดำน้ำ S26T ของ CSOC จีน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญหลายรายสันนิษฐานว่าเรือดำน้ำชั้น Hangor มีพื้นฐานมา แต่ทางการปากีสถานไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะเกี่ยวกับระบบขับเคลื่อนของเรือดำน้ำชั้น Hangor
ตามข้อมูลจาก blog ด้านความมั่นคงของปากีสถาน Quwa เรือดำน้ำชั้น Hangor มีความยาวเรือ 76m และมีระวางขับน้ำที่ 2800tons ทำให้เรือมีขนาดสั้นกว่าเล็กน้อย และมีระวางขับน้ำหนักกว่าแบบเรือดำน้ำ S26T เดิม

ปัจจุบันกองทัพเรือปากีสถานมีประจำการด้วยเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้าชั้น Khalid(Agosta 90B) ทีมีระบบ AIP จำนวน 3ลำ และเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้าชั้น Hashmat(Agosta 70) จำนวน 2ลำ
เรือดำน้ำแบบ Agosta 90B 3ลำได้รับการปรับปรุงครึ่งอายุภายใต้สัญญาที่ลงนามในปี 2016 กับบริษัท STM ตุรกีในฐานะผู้รับสัญญาหลัก(https://aagth1.blogspot.com/2016/06/agosta-90b.html

STM ตุรกีได้ส่งมอบเรือดำน้ำชั้น Khalid ที่ได้รับการปรับปรุงแล้วลำแรก เรือดำน้ำ S139 PNS Hamza ในปี 2020 ขอบเขตของการปรับปรุงความทันสมัยของเรือดำน้ำคือ
การเปลี่ยนระบบควบคุมการยิง(FCS: Fire Control System), ชุด Sonar, ระบบสงคราม electronic(EWS: Electronic Warfare System), Radar และระบบกล้องตามเรือ(นำร่อง และโจมตี)

เรือดำน้ำชั้น Hangor ทั้ง 8ลำจะสร้างความแข็งแกร่งอย่างมีนัยสำคัญแก่กองทัพเรือปากีสถาน ปากีสถานน่าจะที่จะเพิ่มขีดความสามารถต่อต้านการเข้าถึง/ปฏิเสธการใช้พื้นที่(A2/AD: Anti-Access/Area Denial) ในภูมิภาคหลังโครงการเสร็จสมบูรณ์
ตามที่ยังไม่มีการยืนยันเป็นทางการว่าเรือมีระบบอาวุธอะไรบ้าง เป็นที่ชัดเจนว่าปากีสถานจะได้รับขีดความสามารถการโจมตีทางลึกถ้าเรือดำน้ำชั้น Hangor ได้รับการติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีร่อนยิงจากเรือดำน้ำ Babur-3 (SLCM: Submarine-Launched Cruise Missile) ครับ

วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2565

DTI ไทยทดสอบรถเกราะล้อยางป้องกันทุ่นระเบิดและซุ่มโจมตี D-Lion 4x4




Thailand's Defence Technology Institute (DTI) has testing D-Lion 4x4 Mine-Resistant Ambush Protected (MRAP) vehicle from Thai company's JATUNAPAS CO., LTD. to Defence Science and Technology Department, Ministry of Defence of Thailand at Army Transportation Department, Royal Thai Army (RTA)'s Tha Muang test range, Kanchanaburi Province . (DTI)




DTI D-Lion is a Thai version of the Mbombe 4 mine-resistant armoured fighting vehicle from South Africa firm Paramount Group, also unveiled at the Defense & Security 2022. (DTI)



เมื่อวันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม 2566
สทป. ให้บริการทดสอบมาตรฐานรถเกราะล้อยาง 4x4 ป้องกันทุ่นระเบิดและซุ่มโจมตี รุ่น Mbombe4 (D-Lion) ของ บริษัท จตุนภัส จำกัด ให้กับ กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม

กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม โดย กองตรวจและทดสอบมาตรฐานทางทหาร ขอรับการสนับสนุนการทดสอบรถเกราะล้อยาง 4x4 ป้องกันทุ่นระเบิดและซุ่มโจมตี รุ่น Mbombe4 (D-Lion) ของ บริษัท จตุนภัส จำกัด 
จากหน่วยตรวจตามมาตรฐาน ISO/IEC 17020:2012 ของ สทป. โดยมีหัวข้อในการทดสอบเสียงภายในห้องโดยสาร และการทดสอบอุณหภูมิภายในห้องโดยสาร 
ซึ่งผลการทดสอบเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด โดยการทดสอบในวันนี้เพื่อก้าวสู่ศูนย์ทดสอบมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ สำหรับนำเข้ารับการรับรองมาตรฐานทางทหารของกระทรวงกลาโหมต่อไป 
ณ สนามฝึกขับและทดสอบยานพาหนะ กรมการขนส่งทหารบก อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี

วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๕(2022) สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป. DTI(Defence Technology Institute) ได้ทำการทดสอบมาตรฐานรถเกราะล้อยางป้องกันทุ่นระเบิดและซุ่มโจมตี D-Lion 4x4 ของบริษัท จตุนภัส จำกัด(Jatunapas CO., LTD) ไทย
แก่ กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม(DSTD: Defence Science and Technology Department) กระทรวงกลาโหมไทย ณ สนามฝึกขับและทดสอบยานพาหนะ กรมการขนส่งทหารบก กองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Amy) ในอำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี 

รถเกราะล้อยางป้องกันทุ่นระเบิดและซุ่มโจมตี DTI D-Lion 4x4 มีพื้นฐานจากรถรบหุ้มเกราะล้อยางป้องกันทุ่นระเบิด Mbombe 4 ของบริษัท Paramount Group แอฟริกาใต้ ในความเป็นหุ้นส่วนกับ DTI ไทยและบริษัทจตุนภัส ไทย
ซึ่งได้มีการเปิดตัวในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์นานาชาติ Defense & Security 2022 ณ Impact เมืองทองธานี กรุงเทพฯ ประเทศไทย ระหว่างวันที่ ๒๙ สิงหาคม-๑ กันยายน ๒๕๖๕(https://aagth1.blogspot.com/2022/09/defense-security-2022-dti-d-lion-4x4.html

รถเกราะล้อยางป้องกันทุ่นระเบิดและซุ่มโจมตี DTI D-Lion 4x4 ถูกพัฒนาสำหรับความต้องการใน ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล ศตก.(CTOC: Counter Terrorism Operations Center) หน่วยปฏิบัติการพิเศษของกองทัพไทย(RTARF: Royal Thai Armed Forces)
ตามที่มีการเริ่มต้นการทดสอบแล้วในปี ๒๕๖๕ ถ้ารถเกราะล้อยางป้องกันทุ่นระเบิดและซุ่มโจมตี D-Lion 4x4 ชนะคำสั่งจัดหาจาก ศตก.CTOC บริษัท Jatunapas วางแผนที่จะสร้างรถที่โรงงานของตนในจังหวัดชลบุรี โดยใช้ชิ้นส่วนประกอบและระบบย่อยที่สร้างภายในไทย

ในงาน D&S2022 ตัวแทนบริษัท Jatunapas กล่าวว่าความเป็นไปได้ในการจัดส่งยานเกราะล้อยางป้องกันทุ่นระเบิดและซุ่มโจมตี D-Lion 4x4 แก่กองทัพบกไทยยังได้รับการสำรวจ การส่งออกให้แก่ประเทศในกลุ่มชาติ ASEAN เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังเป็นเป้าหมายด้วย
ถ้าโครงการ D-Lion ประสบความสำเร็จ Jatunapas ไทยวางแผนที่จะส่งเสริมยานเกราะล้อยาง Mbombe 6 6x6 และยานเกราะล้อยาง Mbombe 8 8x8 ของ Paramount แอฟริกาใต้แก่ไทยและประเทศอื่นในภูมิภาคด้วย

รถรบหุ้มเกราะล้อยาง Mbombe 4 ขนาด 16tonne สามารถติดระบบอาวุธได้หลากหลายรูปแบบและบรรจุกระสุนพร้อม, บรรทุกกำลังพล และสิ่งอุปกรณ์ รถมีน้ำหนักบรรทุกได้ที่ 2.3 tonnes มีพิสัยทำการที่ 800km และเร่งการทำความเร็วได้ที่ 140km/h
ในเดือนตุลาคม 2021 Paramount Group แอฟริกาใต้เปิดเผยชุดเกราะเสริมที่เพิ่มการป้องกันตัวรถในระดับมาตรฐาน NATO STANAG 4569 Level 3 เต็มรูปแบบสำหรับการป้องกันกระสุน ด้วยการรับรองที่ได้รับการมอบให้โดย Armscor แอฟริกาใต้ครับ

วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ญี่ปุ่นวางแผนระยะใกล้สำหรับการจัดหารถเกราะล้อยาง Patria AMV ฟินแลนด์

Japan lays out near-term plan for Patria AMVs procurement



Japan has selected Patria's Armoured Modular Vehicle (pictured above) to replace the JGSDF's existing Type 96 APCs. (Patria)




Patria 8x8 AMVs to replace the JGSDF's ageing fleet of Komatsu Type 96 8x8 APCs (pictured) . (JGSDF)



กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นได้วางเค้าโครงแผน 5ปีที่จะจัดหารถเกราะล้อยาง AMV(Armoured Modular Vehicle) ของบริษัท Patria ฟินแลนด์
สำหรับโครงการรถเกราะลำเลียงพลล้อยาง(WAPC: Wheeled Armoured Personnel Carrier) ของกองกำลังป้องกันตนเองทางบกญี่ปุ่น(JGSDF: Japan Ground Self-Defense Force)

โฆษกกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกล่าวกับ Janes ว่า ภายใต้การกำหนดแบบแผนใหม่ "โครงการเสริมสร้างทางกลาโหม" กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกำลังว่าแผนที่จะจัดหารถเกราะล้อยาง Patria AMV 8x8 ประมาณ 140คันใน 5ปี
ในปีงบประมาณ 2023 กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นวางแผนที่จะจัดหารถเกราะล้อยาง Patria AMV จำนวน 29คันวงเงิน 23.2 billion Yen($176 million) โฆษกกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นเสริม

"เรา(กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่น) กำลังวางแผนที่จะจัดซื้อและทดสอบรุ่นของรถเกราะล้องยาง AMV ตามที่อ้างอิงในปีงบประมาณ 2023 
แต่จำนวนที่แน่ชัดของรถเกราะล้อยางที่จะจัดหายังคงอยู่ภายใต้การพิจารณา และเราไม่สามารถให้คำตอบ ณ จุดนี้ได้" โฆษกกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกล่าว

เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2022 สำนักงานจัดซื้อจัดจ้าง, วิทยาการ และการส่งกำลังบำรุง(ATLA: Acquisition, Technology & Logistics Agency) กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นได้เลือกรถเกราะล้อยาง Patria AMV 8x8 
เพื่อทดแทนรถเกราะล้อยางลำเลียงพล Komatsu Type 96 8x8 APC(Armoured Personnel Carrier) ที่มีอายุการใช้งานมานานของกองกำลังป้องกันตนเองทางบกญี่ปุ่น

บริษัท Patria เสนอสิทธิบัตรการผลิตของรถเกราะล้อยาง AMV 8x8 ในญี่ปุ่นกับบริษัทภาคเอกชน ATLA ญี่ปุ่นเสริม "ปัจจุบัน Patria กำลังเจรจากับบริษัทของญี่ปุ่นที่จะเป็นหุ้นส่วนสัญญาที่จะได้สิทธิบัตรผลิต AMV ในญี่ปุ่น
อย่างไรก็ตามข้อตกลงยังไม่สรุปผลเสร็จสิ้นในตอนนี้ ดังนั้นเราไม่สามารถเอ่ยชื่อบริษัทได้" โฆษกกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกล่าว(https://aagth1.blogspot.com/2016/01/patria-amv.html)

Janne Räkköläinen รองประธานอาวุโสบริษัท Patria กล่าวกับ Janes ว่า บริษัทได้เริ่มต้น "การหารือรายละเอียดการให้สิทธิบัตรกับภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นรวมถึงกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่น การหารือคาดว่าจะได้ข้อสรุปในครึ่งแรกของปี 2023"
รายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับสายการผลิตจะเสร็จสิ้นระหว่างการหารือสิทธิบัตรและสัญญา Räkköläinen เสริมครับ(https://aagth1.blogspot.com/2014/01/patria-amv.html)

วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2565

เยอรมนีระงับการจัดหารถรบทหารราบ Puma หลังรถพังหลายคันในการฝึกเตรียมพร้อม NATO

Germany suspends Puma procurement, Marder to continue serving with VJTF







Germany suspended procurement of the Puma IFV on 19 December after 18 of the vehicles broke down in an exercise preparing for their first assignment to the NATO VJTF in January 2023. (Rheinmetall)



เยอรมนีระงับการจัดหารถรบทหารราบ Puma IFV(Infantry Fighting Vehicle) เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2022 หลังรถ 18คันพังในการฝึกเตรียมพร้อมสำหรับการวางกำลังประจำการครั้งแรกของพวกตน
ต่อกองกำลังตอบโต้ NATO(NATO Response Force) กองกำลังเฉพาะกิจร่วมความพร้อมสูงมาก(VJTF: Very High Readiness Joint Task Force) ในเดือนมกราคม 2023 เมื่อเยอรมนีรับหน้าที่การบัญชาการกองกำลังเฉพาะกิจ NATO

นาวาเอก David Helmhold กองทัพเรือเยอรมนี(German Navy, DM: Deutsche Marine) โฆษกกระทรวงกลาโหมเยอรมนีกล่าวในการประชุมสื่อรัฐบาลสหพันธรัฐเยอรมนีในนครหลวง Berlin เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2022 ว่า
สาเหตุของการพังของรถรบทหารราบ Puma กำลังได้รับการสอบสวน และนั่นเป็นรถรบทหารราบ Puma ในจำนวน 42คันที่ได้รับการปรับปรุงเป็นมาตรฐาน VJTF อาจจะได้รับผลกระทบ

นาวาเอก Helmhold เสริมว่า รถรบทหารราบ Puma จำนวนทั้งหมด 350คันได้ถูกส่งมอบแล้วจนถึงตอนนี้ เขากล่าวว่ารถรบทหารราบ Marder IFV
จะถูกวางกำลังประจำในกองกำลัง VJTF แทนรถรบทหารราบ Puma IFV(https://aagth1.blogspot.com/2020/01/rheinmetall-marder.html

แถลงการณ์ร่วมที่เผยแพร่ภายหลังเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2022 โดยกระทรวงกลาโหมเยอรมนี, บริษัท Krauss Maffei-Wegmann(KMW) เยอรมนี และบริษัท Rheinmetall เยอรมนีกล่าวว่า
ผู้เชี่ยวชาญจากบริษัท KMW และบริษัท Rheinmetall ทั้งสองบริษัทกำลังตรวจสอบข้อบกพร่องบางอย่างของรถรบทหารราบ Puma ที่พังจากภาพความเสียหาย ดังนั้นรถที่พังสามารถที่จะได้รับการซ่อมแซมในสองสัปดาห์หรือสูงสุดสามสัปดาห์

แถลงการณ์ร่วมอธิบายความเสียหายว่าเป็น "ความเด่นชัดมาก" และกล่าวว่าภาคอุตสากรรมได้รับการวิเคราะห์มันตั้งแต่เกิดขึ้น ในความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับกระทรวงกลาโหมเยอรมนี และกองทัพสหพันธรัฐเยอรมนี(Bundeswehr)
บุคลากรของบริษัท KMW และบริษัท Rheinmetall ได้ถูกส่งไปยังตำแหน่งที่ตั้งกองทัพเยอรมนี ที่ซึ่งรถรบทหารราบ Puma ที่พังกำลังตั้งอยู่ รวมถึงโรงงาน Unterlüß ของบริษัท Rheinmetall ซึ่งอยู่ใกล้กับพื้นที่ฝึก Munster ที่ซึ่งรถรบทหารราบ Puma IFV เหล่านี้พัง 

เดิมหน่วยทหารราบยานเกราะ(Panzergrenadier) กองทัพบกเยอรมนี(German Army, Deutsches Heer) มีแผนที่จะทดแทนรถรบทหารราบ Marder ที่เข้าประจำการตั้งแต่ปี 1971 ด้วยรถรบทหารราบ Puma
ในเดือนมกราคม 2020 บริษัท Rheinmetall ประกาศว่าตนได้รับสัญญาจากกองทัพเยอรมนี ในการปรับปรุงความทันสมัยรถรบทหารราบ Marder 1A5 เพื่อยืดอายุการใช้งานในกรอบระยะเวลา 2020-2023 ครับ