Two USMC F-35Bs conduct take-offs, landings from JS Izumo
The two USMC F-35Bs that conducted take-offs and landings on 3 October from JS
Izumo , which is being converted into a fully-fledged aircraft carrier.
(JMSDF)
กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นประกาศเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2021
ว่าเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจ Lockheed Martin F-35B Lightning II
นาวิกโยธินสหรัฐฯ(USMC: US Marine Corps) สองเครื่อง
ได้ทำการบินขึ้นและลงจอดครั้งแรกจากเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ DDH-183 JS Izumo
กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น(JMSDF: Japan Maritime Self Defense Force)
เครื่องบินขับไล่ F-35B ฝูงบินขับไล่โจมตีนาวิกโยธิน(Marine Fighter Attack
Squadron) VMFA-242 'Bats' ซึ่งปฏิบัติการจากสถานีอากาศนาวิกโยธิน(MCAS: Marine
Corps Air Station) Iwakuni ดำเนินการทดสอบบนเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ DDH-183
Izumo
ซึ่งได้รับการเปลี่ยนแบบเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินเต็มรูปแบบ(https://aagth1.blogspot.com/2020/10/izumo-ski-jump-f-35b.html)
ขณะปฏิบัติการนอกชายฝั่งเกาะ Shikoku ญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2021
โฆษกกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกล่าวกับ Janes ในอีกสองวันให้หลัง
รัฐมนตรีกลาโหมญี่ปุ่น Nobuo Kishi กล่าวในการประชุมสื่อเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม
2021 ว่าการทดสอบยืนยันว่าเครื่องบินขับไล่ F-35B
สามารถปฏิบัติการจากเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ JS Izumo ได้
โดยเสริมว่าความเคลื่อนไหวนี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่กำลังดำเนินอยู่ของญี่ปุ่นที่จะปรับปรุงขีดความสามารถของตนในภาคทางทะเละและทางอากาศ
กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นในนครหลวง Tokyo
กล่าวว่าการเปลี่ยนแบบเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo
ทั้งสองลำคือเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ DDH-183 JS Izumo
และเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ DDH-184 JS Kaga
ไปเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินที่สามารถรองรับการปฏิบัติการเครื่องบินขับไล่ F-35B
ได้กำลังมีขึ้นในสองระยะหลัก
ที่มีเพื่อให้ตรงกับที่จะสอดคล้องกับห้วงเวลาโครงการซ่อมบำรุงเล็ก(refit)และซ่อมทำใหญ่(overhaul)ของเรือซึ่งมีขึ้นทุกๆ
5ปี
เรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo ความยาว 248m ระวางขับน้ำ 24,000tonne
ได้ถูกสร้างขึ้นโดยพิจารณาถึงน้ำหนักสำหรับเครื่องบินขับไล่ F-35B ในหลายส่วน
รวมถึงโรงเก็บอากาศยาน, Lift ยกอากาศยาน และดาดฟ้าบิน
อย่างไรก็ตามการดัดแปลงเรือเพิ่มเติมมีความจำเป็น ที่สำคัญที่สุดอย่างเช่น
การเสริมความแข็งแรงดาดฟ้าบินเพื่อรองรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น
การติดตั้งไฟส่องสว่างนำทางเพิ่มเติม
และติดตั้งจุดลงจอดบนดาดฟ้าบินแบบทนความร้อนกับเรือ
เรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo ที่บรรทุกอากาศยานได้รวม 28เครื่อง
โดยมีจุดลงจอดบนดาดฟ้าบิน 5จุด คาดว่าจะรองรับ F-35B ได้ 12เครื่อง
พร้อมกับเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ Mitsubishi SH-60J/SH-60K/SH-60L Seahawk
กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นจำนวน 8เครื่อง
และอากาศยานใบพัดกระดก Bell Boeing MV-22B Osprey
กองกำลังป้องกันตนเองทางบกญี่ปุ่น(JGSDF: Japanese Ground Self-Defence Force)
จำนวน 8เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2021/05/sh-60l.html,
https://aagth1.blogspot.com/2020/05/mv-22b-osprey.html)
กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นมีแผนการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35 รวม
147เครื่องสำหรับกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น(JASDF: Japan Air
Self-Defense Force) ทำให้ญี่ปุ่นกลายผู้ใช้งาน F-35
รายใหญ่อันดับสองของโลกรองจากสหรัฐฯ(https://aagth1.blogspot.com/2020/07/f-35.html)
ประกอบด้วยเครื่องบินขับไล่ F-35A CTOL(Conventional Take-Off and Landing) จำนวน 105เครื่อง และเครื่องบินขับไล่ F-35B STOVL(Short Take-Off Vertical Landing) จำนวน 42เครื่องครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/07/f-35a-f-35b-105.html)